สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กรกฎาคม 2564

ข่าวการเมือง Tuesday July 6, 2021 17:22 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

		วันนี้ (6 กรกฎาคม 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย

		1.	เรื่อง	ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา              				ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ					วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
		2. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา                 				ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี				ราชมงคลตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
3. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา	 				ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ					เพชรบุรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
4. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความ				ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสี พ.ศ. ....
5. 	เรื่อง 	ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ 				เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่  และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ สังคม

6. 	เรื่อง 	ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการนำสายไฟ				ลงใต้ดินเพื่อส่งเสริมสภาพพื้นที่สำหรับเมืองการบินภาคตะวันออก
7. 	เรื่อง 	ความเห็นและข้อเสนอแนะตามรายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้าน					การทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม
หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (ยธ.)
8. 	เรื่อง 	รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 					270 ของรัฐธรรมนูญฯ (เดือนมกราคม - มีนาคม 2564)
9. 	เรื่อง 	รายงานผลการดำเนินงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 					และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ 				ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
10. 	เรื่อง 	ผลการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ครั้งที่ 1/2564
11. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ
คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
12. 	เรื่อง 	สรุปผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายแนว					ทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน : การบริหารและการจัดการ					ภาวะแล้ง ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ 				วุฒิสภา
13. 	เรื่อง 	ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการ				เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร				และโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า
14. 	เรื่อง 	ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง 					รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อควบคุมโรคลัมปี สกิน
ในโค กระบือ
15.	เรื่อง	การนำชุดแบบอักษรพระราชทาน ?จุฬาภรณ์ลิขิต? บรรจุเป็นชุดแบบอักษร					มาตรฐานราชการไทย แบบที่ 14
16. 	เรื่อง 	รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนเมษายน 2564
17.	เรื่อง 	สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนพฤษภาคม 2564
18. 	เรื่อง 	รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2564 และแนวโน้มไตรมาส
ที่ 2/2564 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2564
19. 	เรื่อง	สรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ
20. 	เรื่อง 	มาตรการสินเชื่ออิ่มใจ
21. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม    				ครั้งที่ 21/2564 ครั้งที่ 22/2564 และครั้งที่ 23/2564

ต่างประเทศ

22. 	เรื่อง 	การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานตำราจแห่งชาติ
และกระทรวงมหาดไทย แห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้ายการต่อต้านอาขญากรรม
ข้ามชาติและความร่วมมือด้านกิจการตำรวจ
23. 	เรื่อง 	รายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 14 				และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
24. 	เรื่อง 	ยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระดับประเทศระหว่างประเทศไทยและธนาคาร					พัฒนาเอเชีย ฉบับที่ 3 สำหรับปี 2564-2568
25.  	เรื่อง  	การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ				อาเซียน-รัสเซีย สมัยพิเศษ
26. 	เรื่อง 	ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมกลางวาระระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศ
ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด

แต่งตั้ง

27.	เรื่อง 	การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฝ่ายการเมือง)
และโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฝ่ายข้าราชการประจำ)
28. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(สำนักนายกรัฐมนตรี)
29. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ 					วิจัยและนวัตกรรม)
30. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านมนุษยศาสตร์ ในคณะกรรมการส่งเสริม					วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง
31. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว


สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
 		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
 		เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2558 เพื่อเป็นการกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาอุตสาหกรรมศาสตร์ และสาขาวิชารัฐศาสตร์ รวมทั้งสีประจำสาขาวิชาดังกล่าวเพิ่มขึ้น

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้  และให้ อว. รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
 		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
 		เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาระดับปริญญาโทและปริญญาเอกในสาขาวิชาการจัดการเพิ่มขึ้น และกำหนดสีประจำคณะและสถาบัน ของสถาบันเทคโนโลยีการบินและอวกาศ

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
 		เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี  พ.ศ. 2554 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชา และอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์เพิ่มขึ้น รวมทั้งกำหนดสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสี พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
		ทั้งนี้ รง. เสนอว่า
		1. โดยที่ได้มีพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เป็นกฎหมายเฉพาะสำหรับการกำหนดมาตรฐานการควบคุม กำกับดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน ซึ่งเป็นการนำความในหมวด 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยบทเฉพาะกาล มาตรา 74 บัญญัติให้ในระหว่างที่ยังมิได้ออกกฎกระทรวงเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นำกฎกระทรวงที่ออกตามหมวด 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
		2. ปัจจุบันการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงยังคงเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างและส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547 ที่ออกตามความในหมวด 8 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสี เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับรังสี พ.ศ. .... เพื่อนำมาใช้บังคับแทนกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547
		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
		1. กำหนดบทนิยามคำว่า ?รังสี? ?ต้นกำเนิดรังสี? ?วัสดุกัมมันตรังสี? ?เครื่องกำเนิดรังสี? และ ?กากกัมมันตรังสี?
		2. กำหนดให้นายจ้างที่มีไว้ในครอบครองซึ่งต้นกำเนิดรังสีและได้ขออนุญาตหรือได้แจ้งการครอบครองตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ ให้ส่งสำเนาการแจ้งนั้นต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่แจ้งตามกฎหมายว่าด้วยพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ
		3. กำหนดนายจ้างกำหนดพื้นที่ควบคุมโดยจัดทำรั้ว คอกกั้น หรือเส้นแสดงแนวเขต หรือวิธีการอื่นที่เหมาะสม และจัดให้มีป้ายสัญลักษณ์ทางรังสี ควบคุมดูแลมิให้ลูกจ้างซึ่งไม่มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีหรือบุคคลภายนอกเข้าไปในพื้นที่ควบคุม
		4. กำหนดให้มีมาตรการเพื่อป้องกันมิให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีได้รับปริมาณรังสีสะสมเกินปริมาณที่กำหนด โดยลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีต้องใช้อุปกรณ์บันทึกปริมาณรังสีประจำตัวบุคคลตลอดเวลาที่มีการปฏิบัติงาน และจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณรังสีสะสมที่ลูกจ้างได้รับ
		5. กำหนดให้นายจ้างที่มีไว้ในครอบครองซึ่งต้นกำเนิดรังสีจัดให้มีแผนการป้องกันและระงับอันตรายจากรังสี ในกรณีที่มีต้นกำเนิดรังสีรั่ว ไหล หก หล่น หรือฟุ้งกระจาย เกิดอัคคีภัยหรือเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสีอันอาจเป็นเหตุให้ลูกจ้างประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ให้นายจ้างสั่งให้ลูกจ้างทุกคนหยุดการทำงานและออกไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยทันที และให้นายจ้างดำเนินการตามแผนป้องกันและระงับอันตรายจากรังสีในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสีโดยทันที
		6. กำหนดให้มีสัญลักษณ์ทางรังสีและข้อความเตือนภัยจากรังสีแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนบริเวณพื้นที่ควบคุม โดยจัดให้มีสัญญาณไฟสีแดงหรือป้ายสัญลักษณ์เตือนภัยขณะที่มีการใช้งานต้นกำเนิดรังสี และจัดให้มีระบบสัญญาณฉุกเฉินในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางรังสี
		7. กำหนดให้นายจ้างจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น หมวกพลาสติก ถุงมือผ้าหรือยาง รองเท้า เสื้อคลุมที่ทำด้วยฝ้ายหรือยาง แว่นตา ที่กรองอากาศ เครื่องช่วยหายใจหรืออุปกรณ์อื่นที่จำเป็น จัดทำคู่มือหรือเอกสาร สาธิต และกำหนดมาตรการหรือข้อบังคับเกี่ยวกับประโยชน์ วิธีการใช้ และวิธีการบำรุงรักษาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

5. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่  และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด (ฉบับที่ ..)    พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
		ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า
		1. โดยที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีบทบัญญัติบางประการที่ทำให้การดำเนินมาตรการปราบปรามยาเสพติดยังไม่มีประสิทธิภาพเป็นช่องทางทำให้เกิดการทุจริตในการนำยาเสพติดมาจำหน่ายโดยไม่มีผู้ซื้อจริง (Demand เทียม) เพื่อหวังเงินค่าตอบแทน โดยเจ้าหน้าที่ไม่ได้มุ่งเน้นให้มีการสืบสวนสอบสวนขยายผลไปยังเจ้าของยาเสพติด เครือข่ายผู้เป็นนายทุน หรือผู้สั่งการที่อยู่เบื้องหลัง จึงเห็นควรแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าตอบแทนให้แก่เจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติงานยาเสพติดกรณียึดได้แต่ยาเสพติด และระยะเวลาการยื่นคำขอรับเงินค่าตอบแทนในกรณีดังกล่าว เพื่อปรับปรุงให้การปราบปรามยาเสพติดมีประสิทธิภาพและมุ่งเน้นให้มีการสืบสวนขยายผล ยธ. จึงได้เสนอร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนผู้แจ้งความนำจับ เงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ และเงินช่วยเหลือในการปฏิบัติงานยาเสพติด               (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ
		2. ยธ. ได้พิจารณาดำเนินการตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว เห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมร่างระเบียบฯ เป็นการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าตอบแทนกรณียึดได้แต่ยาเสพติด โดยจะจ่ายเงินค่าตอบแทนต่อเมื่อสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดและพนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหาหรือศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิดและเลขาธิการ ป.ป.ส. มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งนี้ เพื่อลดภาระด้านงบประมาณและไม่ก่อให้เกิดภาระทางการเงินการคลังแก่รัฐ รวมทั้งไม่ขัดหรือแย้งกับหลักเกณฑ์ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561
		สาระสำคัญของร่างระเบียบ
หลักเกณฑ์
ที่เสนอแก้ไข	ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
พ.ศ. 2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม	ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ
ที่เสนอแก้ไข
การจ่ายเงินค่าตอบแทนกรณียึดได้แต่ยาเสพติด	- ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนร้อยละ 25 ของจำนวนเงินที่คำนวณได้จากปริมาณยาเสพติด เมื่อพนักงานอัยการสั่งงดการสอบสวน สั่งไม่ฟ้อง หรือมีความเห็นว่าควรสั่งฟ้อง	- ให้จ่ายเงินค่าตอบแทนต่อเมื่อเจ้าพนักงานผู้สืบสวนจับกุมหรือพนักงานสอบสวนที่ดำเนินการจนสามารถจับกุมผู้กระทำความผิดและพนักงานอัยการสั่งฟ้องผู้ต้องหา หรือศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิดและเลขาธิการ ป.ป.ส. มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท โดยให้จ่ายค่าตอบแทนร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่คำนวณได้จากปริมาณยาเสพติด
ระยะเวลาการยื่นคำขอรับเงินค่าตอบแทน	- ให้ยื่นคำขอเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งเกี่ยวกับคดีหรือภายในกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา	- กรณีพนักงานอัยการมีคำสั่งเกี่ยวกับคดี
  ให้ยื่นคำขอภายในกำหนด 180 วัน เมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งเกี่ยวกับคดี
- กรณีศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิดและเลขาธิการ ป.ป.ส. มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด
  ให้ยื่นคำขอภายใน 180 วัน นับแต่ศาลออกหมายจับผู้กระทำความผิดและเลขาธิการ ป.ป.ส. มีคำสั่งให้ยึดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด

เศรษฐกิจ สังคม

6. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการนำสายไฟลงใต้ดินเพื่อส่งเสริมสภาพพื้นที่สำหรับเมืองการบินภาคตะวันออก
		คณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพิ่มเติม งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 451.36 ล้านบาท ให้กองทัพเรือ (ทร.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการนำสายไฟลงใต้ดินเพื่อส่งเสริมสภาพพื้นที่สำหรับเมืองการบินภาคตะวันออก (โครงการฯ) ในส่วนของงานจ้างนำสายไฟลงใต้ดิน จำนวน 3 เส้นทาง ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ดังนี้
เส้นทาง	ระยะทาง
(กิโลเมตร)	วงเงิน
(ล้านบาท)
จุดเริ่มต้น	จุดสิ้นสุด
1. ปากทางเข้าสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา	แยกวงเวียนอู่ตะเภา	2.2	190.17
2. แยกวงเวียนอู่ตะเภา	หน้าอาคารจอดรถอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2	1.0	88.55
3. แยกอู่ราชนาวีมหิดล	ท่าเรือจุกเสม็ด	2.0	172.64
รวมทั้งสิ้น	5.2	451.36
		สาระสำคัญของเรื่อง
		กห.รายงานว่า
		1. โครงการฯ เป็นการดำเนินการเพื่อสนับสนุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกให้สามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าหมายตามระยะเวลาที่กำหนด โดยเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 ทร. ได้รับทราบผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการปรับปรุงระบบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารในพื้นที่สัตหีบเป็นระบบท่อร้อยสาย และเห็นชอบแผนแม่บทโครงการปรับปรุงระบบสายไฟฟ้าและสายสื่อสารในพื้นที่สัตหีบเป็นระบบท่อร้อยสาย จำนวน 8 เส้นทาง (โดยเส้นทางที่ 2 จากแยกวงเวียนอู่ตะเภา ถึงหน้าอาคารจอดรถอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 และเส้นทางที่ 3 จากแยกอู่ราชนาวีมหิดล ถึงท่าเรือจุกเสม็ด เป็นเส้นทางที่อยู่ในแผนแม่บทฯ) ระยะทางรวม 46.24 กิโลเมตร โดยมีประมาณการค่าใช้จ่ายรวม 4,161.60 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 - 2565 รวม 2 ระยะ (ระยะละ 4 เส้นทาง)
		2. โครงการฯ ตามที่ กห. เสนอครั้งนี้ เป็นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการติดตั้งสายไฟฟ้า จากระบบเดินอากาศ (ปักเสาพาดสาย) เป็นแบบร้อยท่อฝังดิน ในพื้นที่ของ ทร. บริเวณฐานทัพเรือสัตหีบ จำนวน 3 เส้นทาง วงเงินรวม 451.36 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
เส้นทาง	ระยะทาง
(กิโลเมตร)	วงเงิน
(ล้านบาท)
1. จากปากทางเข้าสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ถึงแยกวงเวียนอู่ตะเภา	2.2	190.17
2. จากแยกวงเวียนอู่ตะเภา ถึงหน้าอาคารจอดรถอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2	1.0	88.55
3. จากแยกอู่ราชนาวีมหิดล ถึงท่าเรือจุกเสม็ด	2.0	172.64
รวม	5.2	451.36
		3. ทร. แจ้งว่า โดยที่โครงการดังกล่าวเป็นความต้องการนอกแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ของ ทร. ที่มีวงเงินในการดำเนินการค่อนข้างสูง ทร. จึงไม่สามารถปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวได้ รวมทั้ง ทร. ได้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มาดำเนินการแล้ว แต่ไม่ได้รับการสนับสนุน ดังนั้น ทร. จึงขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 451.36 ล้านบาท
		4. สำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีมีบัญชาเห็นชอบให้ กห. (ทร.) ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 451.36 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ จำนวน 3 เส้นทางแล้ว

7. เรื่อง ความเห็นและข้อเสนอแนะตามรายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและ                 การประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี (ยธ.)
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอความเห็นและข้อเสนอแนะตามรายงานคู่ขนานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี ซึ่ง ยธ. ได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน ก.พ. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะดังกล่าวของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ กสม.	สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม
1. กฎหมายอนุวัติการตามพันธกรณีตามอนุสัญญาฯ
ข้อเสนอแนะ :  ให้รัฐบาลปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... ที่เป็นกฎหมายอนุวัติการตามพันธกรณีของอนุสัญญาฯ ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการเยียวยาผู้เสียหายอย่างครบถ้วน
	หลักการและสาระสำคัญของอนุสัญญาทั้ง 2 ฉบับได้แก่ อนุสัญญาฯ และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ ได้ถูกนำมาบัญญัติไว้ในกฎหมายฉบับเดียวคือ
ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน
และการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. .... แล้ว และได้พิจารณาตามขั้นตอนและกระบวนการของกฎหมายตามลำดับ โดยได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563 และ ยธ. ได้ยืนยันร่างพระราชบัญญัติฯ ไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) แล้วเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ซึ่งปัจจุบัน สลค. ได้ส่งร่างพระราชบัญญัติป้องกันฯ ไปยังคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเรียบร้อยแล้ว
2. ปัญหาสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ข้อเสนอแนะ : ให้รัฐบาล (1) ทบทวนการประกาศใช้กฎหมายด้านความมั่นคง 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เท่าที่จำเป็นอย่างยิ่งและในระยะเวลาที่จำกัดเท่านั้น รวมถึงใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 แทน และ (2) ปรับปรุงแก้ไขพระราชกำหนดการบริหารราชการฯ เช่น มาตรา 5 อำนาจในการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และมาตรา 16 การให้ข้อพิพาทที่เกิดจากการใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการฯ อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลปกครอง หากเนื้อหาของคดีเป็นเรื่องทางปกครอง	การบังคับใช้กฎหมายด้านความมั่นคงยังมีความจำเป็น
ต่อการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกัน ระงับ ยับยั้ง และแสวงหาตัวผู้กระทำความผิดในเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการฯ เพื่อทบทวนความจำเป็น
ในการบังคับใช้กฎหมายด้านความมั่นคงดังกล่าวเป็นระยะ รวมทั้งมีการปรับลดพื้นที่อย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันคงเหลือเพียง 27 อำเภอ จากทั้งหมด 33 อำเภอที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ตามพระราชกำหนดการบริหารราชการฯ
3. นักปกป้องสิทธิมนุษยชน
ข้อเสนอแนะ : ให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการติดตามความคืบหน้าของคดีที่เกี่ยวกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่เสียชีวิตและหายสาบสูญ และมีมาตรการคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกาย และการใช้สิทธิและเสรีภาพในการปกป้องสิทธิของตนเองและผู้อื่น
	นักปกป้องสิทธิมนุษยชนเป็นกลุ่มเป้าหมายสำคัญที่ได้รับความคุ้มครองตามแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ.ศ.2562 - 2565) และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 - 2565) โดยที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บูรณาการการทำงานร่วมกับนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างใกล้ชิด และได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 161/1 และ 165/2 เพื่อป้องกันการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ และเพื่อยับยั้งการมีส่วนร่วมของประชาชน (Strategic Litigation Against Public Participation: SLAPP) รวมถึงการบังคับใช้มาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติองค์กรอัยการ และพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 เพื่อให้พนักงานอัยการสามารถเสนอความเห็นต่ออัยการสูงสุดในการสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์แก่สาธารณชน หรือจะมีผลกระทบต่อความปลอดภัยหรือความมั่นคงของชาติหรือต่อผลประโยชน์อันสำคัญของประเทศได้ นอกจากนี้ ยธ. ได้แก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. 2546 เพื่อขยายความคุ้มครองให้ครอบคลุมถึงบุคคลที่มีความเสี่ยงตกอยู่ในอันตราย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงด้วย [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (1 ธันวาคม 2563) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... แล้ว]
4. การตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขังบุคคล
ข้อเสนอแนะ : ให้รัฐบาลเชื่อมโยงและบูรณาการฐานข้อมูลของผู้ต้องขังเพื่อให้สามารถให้บริการทางสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ และพิจารณาแนวทางลดจำนวนผู้ต้องขังในเรือนจำ รวมถึงจัดสรรงบประมาณและบุคลากร ตลอดจนปรับปรุงสถานที่ให้เหมาะสมกับจำนวนผู้ต้องขัง	กระทรวงสาธารณสุข กรมราชทัณฑ์ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขสำหรับผู้ต้องขังในเรือนจำแล้วตั้งแต่ปี 2562 โดยมีการขึ้นทะเบียนสถานพยาบาลเรือนจำเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิ 141 แห่ง ขึ้นทะเบียนสถานพยาบาลเรือนจำอีก 2 แห่ง เป็นหน่วยบริการประจำ ส่งผลให้สถานพยาบาลเรือนจำดังกล่าวได้รับการส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานร่วมกันกับโรงพยาบาลแม่ข่ายและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด รวมทั้งได้มีการจัดทำระบบการลงทะเบียนสิทธิผู้ต้องขัง ซึ่งทำให้ผู้ต้องขังสามารถเข้าถึงบริการในระบบหลักประกันสุขภาพได้ทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ หน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เช่น กระทรวงกลาโหม ยธ. ตช. สำนักงานศาลยุติธรรมได้ร่วมกันส่งเสริมมาตรการลดการคุมขังที่ไม่จำเป็นในทุกขั้นตอนเพื่อลดความแออัดในเรือนจำ
5. การคุ้มครองผู้เสียหายจากการถูกกระทำทรมานและการเยียวยา
ข้อเสนอแนะ : ให้รัฐบาลขยายประเภทความผิดที่ผู้เสียหายอาจร้องขอค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 ให้ครอบคลุมความผิดฐานทรมาน (เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ               ป้องกันฯ)	ยธ. โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ มีแผนที่จะเพิ่มเติมความผิดฐานกระทำทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายให้เป็นฐานความผิดท้ายพระราชบัญญัติค่าตอบแทนฯ เพื่อให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้ขอรับค่าตอบแทนฯ ได้ต่อไป ภายหลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติป้องกันฯ มีผลบังคับใช้แล้ว
6. การเยียวยาผู้เสียหายในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ข้อเสนอแนะ : ให้รัฐบาลเร่งรัดการดำเนินการให้ผู้เสียหายจากการถูกกระทำทรมานโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการชดเชยและได้รับค่าสินไหมทดแทนอย่างทั่วถึงโดยเร็ว รวมถึงควรแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 16 ของพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ
เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้เสียหายจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยตามข้อ 2 วรรคสาม (ก) ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง	ผู้เสียหายในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้รับการชดเชยเยียวยาตามนัยมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 และระเบียบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา
จังหวัดชายแดนภาคใต้ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันสืบเนื่องมาจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555 อยู่แล้ว นอกจากนี้ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการเยียวยาด้านจิตใจให้กับผู้ได้รับผลกระทบด้วย

8. เรื่อง รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ (เดือนมกราคม - มีนาคม 2564)
		คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดือนมกราคม - มีนาคม 2564) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
		รายงานดังกล่าวประกอบด้วย รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการฯ และการดำเนินการในระยะต่อไป สรุปได้ดังนี้
		1. ความคืบหน้ากิจกรรมสำคัญตามแผนการปฏิรูปประเทศระหว่างเดือนมกราคม - มีนาคม 2564
			1.1 การขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) การใช้งานระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติสำหรับกิจกรรม Big Rock และการดำเนินงานในระยะต่อไป
				1.1.1 หลักการแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการถ่ายระดับการดำเนินงานตามขั้นตอนและวิธีการของกิจกรรม Big Rock ของแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) สู่การปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยมีหลักการสำคัญคือทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม Big Rock ต้องเข้าใจในเป้าหมาย ผลลัพธ์ และการดำเนินการ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock และให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
				1.1.2 การใช้งานระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) สำหรับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) เป็นรายละเอียดวิธีการใช้งานระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ในเบื้องต้นของส่วนการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามกิจกรรม Big Rock เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าใช้งานระบบเพื่อการกำกับ ติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของกิจกรรม Big Rock ตามเป้าหมายของแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock
				1.1.3 การดำเนินการในระยะต่อไป สศช. ได้แจ้งให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการของกิจกรรม Big Rock ประสานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อเร่งรัด และกำกับการดำเนินโครงการ/การดำเนินงานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในแผนขับเคลื่อน Big Rock โดยในการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงาน ทุกหน่วยงานของรัฐจะต้องนำเข้าระบบ eMENSCR ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2562
			1.2 แผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) 62 กิจกรรม โดยแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock มี 13 ด้าน รวม 62 แผนฯ ที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ได้บูรณาการการจัดทำร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศแต่ละด้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนและสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอย่างใกล้ชิด โดยแผนฯ ดังกล่าวได้ระบุ 1) หน่วยงานร่วมดำเนินการ 2) เป้าหมายความสำเร็จในแต่ละช่วงเวลา               3) ระยะเวลาที่แล้วเสร็จ และ 4) โครงการและการดำเนินงานที่ส่งผลต่อเป้าหมายของกิจกรรม Big Rock โดยได้แสดงเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละไตรมาสไว้ในเส้นระยะเวลาดำเนินการของแผนปฏิรูปประเทศ ทั้งนี้ สำหรับรายการโครงการ/การดำเนินงานที่รองรับการขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ซึ่งมีรายละเอียดการดำเนินงาน ระยะเวลาดำเนินการ แหล่งที่มาและวงเงินงบประมาณที่ใช้ โดยสามารถเรียกดูรายละเอียดดังกล่าวได้จากระบบ eMENSCR
			1.3 ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษซึ่งมีนัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนแผนการปฏิรูปประเทศ
				1.3.1 ด้านการเมือง ประเด็นปฏิรูป : การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กลยุทธ์ที่ 1 ให้มีการปฏิรูปและพัฒนาระบบการศึกษาตลอดหลักสูตร การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในทุกระดับชั้นฯ มีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินกิจกรรมยุวชนประชาธิปไตยเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนได้รับความรู้เชิงบูรณาการความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย วัฒนธรรมทางการเมือง ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาวชนในการปฏิรูปประเทศ และเป็นเครือข่ายด้านประชาธิปไตยในการพัฒนาประเทศ เป็นต้น
				1.3.2 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ประเด็นปฏิรูป : บริการภาครัฐสะดวก รวดเร็ว และตอบโจทย์ชีวิตประชาชน แผนงานที่ 1 บูรณาการหมายเลขแจ้งเหตุฉุกเฉินให้เหลือเพียงหมายเลขเดียวเพื่อให้ประชาชนแจ้งเหตุด่วน เหตุร้าย เหตุฉุกเฉินได้ทุกเรื่อง มีความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องคือ คณะกรรมการร่างขอบงาน (TOR) โครงการจัดตั้งศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉินแห่งชาติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับที่ปรึกษาโครงการฯ ดำเนินการเร่งปรับปรุง TOR ให้มีความเหมาะสมชัดเจน โดยประมาณการกำหนดแล้วเสร็จระหว่างวันที่ 22 เมษายน - 15 มิถุนายน 2564
				1.3.3 ด้านกฎหมาย ประเด็นปฏิรูป : มีกลไกให้การออกกฎหมายเป็นกฎหมายที่ดีและเท่าที่จำเป็น รวมทั้งกลไกการทบทวนกฎหมายที่มีผลใช้บังคับแล้วเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จัดทำอนุบัญญัติเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการรองรับการปฏิบัติตามกฎหมาย มีความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องคือ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีภาได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 โดยมีรายละเอียด เช่น (1) ให้หน่วยงานของรัฐประกาศกำหนดข้อมูลหน่วยงานที่รับผิดชอบการประเมินผลสัมฤทธิ์และระยะเวลาการประเมินผลสัมฤทธิ์ให้ถูกต้องและครบถ้วน และ (2) ให้หน่วยงานของรัฐเผยแพร่ข้อมูลกฎหมาย กฎเกณฑ์ และคำอธิบายกฎหมายให้ถูกต้องและครบถ้วน โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 เป็นต้น
				1.3.4 ด้านกระบวนการยุติธรรม ประเด็นปฏิรูป : การปฏิรูปการจัดการคดีค้างในกระบวนการยุติธรรม มีความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องคือ เมื่อวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2564 คณะกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรม และการตำรวจ เห็นชอบการพิจารณาศึกษาเรื่อง การปฏิรูปการจัดการคดีค้างในกระบวนการยุติธรรม และได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการคดีที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานตามร่างพระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. .... ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรอการตอบกลับของหน่วยงาน
				1.3.5 ด้านเศรษฐกิจ ประเด็นปฏิรูป : การจัดตั้ง Centre of Excellence สำหรับภาคการเกษตร มีความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องคือ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 คณะกรรมการบริหารการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคเกษตร ได้เห็นชอบแนวทางการดำเนินงานการขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) ทั้งส่วนกลาง และจังหวัด ในปี 2564 พร้อมมอบหมายให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนเทคโนโลยีและนวัตกรรม ปี 2564 และ 2565 เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีลงสู่เกษตรกร พร้อมเห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการจัดสรรงบประมาณ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ AIC ให้สัมฤทธิ์ผล ซึ่งปัจจุบันได้มีการจัดตั้งศูนย์ AIC แล้ว รวม 77 ศูนย์ ครบทั้ง 77 จังหวัด
				1.3.6 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเด็นปฏิรูป : ปฏิรูประบบและเครือข่ายฐานทรัพยากรท้องถิ่นให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมถึงเครือข่ายระดับประเทศและอาเซียนมีความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ปี 2564 กรมป่าไม้ได้ดำเนินการวางแผนการทำงานในการรวบรวมภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพของชุมชนรอบป่าสงวนแห่งชาติ ป่าละอุ่น และป่าราชกรูด จังหวัดระนอง ร่วมกับชุมชนตำบลในวงใต้ อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง และวิเคราะห์ความเชื่อมโยงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำไปสู่การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
				1.3.7 ด้านสาธารณสุข ประเด็นปฏิรูป : ร่างพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... มีความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง คือ กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการทบทวนรายละเอียดตามข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกา เช่น ประเด็นคณะกรรมการระดับชาติและกลไกการขับเคลื่อนที่ยังไม่สอดคล้องและบูรณาการกันอย่างเป็นรูปธรรม
				1.3.8 ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ประเด็นปฏิรูป : ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .... มีความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องคือ กรมประชาสัมพันธ์ได้ร่วมกับคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ดำเนินการยกร่างและผ่านการตรวจพิจารณาโดยคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วขณะนี้อยู่ในระหว่างการศึกษา วิเคราะห์ และเตรียมการประชุมคณะทำงานในไตรมาสที่ 3 เพื่อนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว รวม 5 หมวด 49 มาตรา ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา ทบทวน เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการต่อไป
				1.3.9 ด้านสังคม ประเด็นปฏิรูป : ระบบสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง กิจกรรมที่ 1 การปฏิรูประบบการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็งเชิงพื้นที่ มีความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องคือ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างเสริมชุมชนเข้มแข็ง ได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว และมีคำสั่งให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์โดยสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนไปทบทวนในประเด็นความซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่น
				1.3.10 ด้านพลังงาน ประเด็นปฏิรูป : การส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย มีความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงพลังงานได้ดำเนินการตามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้า โดยจัดประชุมคณะกรรมการ EV แห่งชาติ เพื่อ Kick off และมอบหมายคณะอนุกรรมการจัดทำข้อมูลเสนอแนวทางเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564
				1.3.11 ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประเด็นปฏิรูป : ด้านป้องปราม (2) กลยุทธ์ที่ 1 ผลักดันให้มีกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารสาธารณะภายใน 2 ปี ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยไม่ต้องร้องขอ มีความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องคือ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้เสนอและผลักดันกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารสาธารณะ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเสนอเข้าสู่รัฐสภา
				1.3.12 ด้านการศึกษา ประเด็นปฏิรูป : การปรับโครงสร้างของหน่วยงานในระบบการศึกษา เพื่อบรรลุเป้าหมายในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ประเด็นปฏิรูปที่ 6.1 สถานศึกษามีความเป็นอิสระในการบริหารและจัดการศึกษา มีความคืบหน้าของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินโครงการพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา (Education Sandbox) โดยปัจจุบัน ณ สิ้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 มีโรงเรียนที่เข้าร่วมพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จำนวน 413 โรงเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.26 จากข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินการพิจารณารายละเอียดของ ?แนวปฏิบัติในการใช้เงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในการจัดทำ คัดเลือก จัดหา หรือใช้ตำรา สื่อการเรียนการสอน หรือฐานข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสถานศึกษานำร่องในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา? เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้สถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมได้มีอิสระในการใช้งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรในการจัดทำ คัดเลือก จัดหา หรือใช้ตำรา สื่อการเรียนการสอนหรือฐานข้อมูลในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป
		2. การดำเนินการในระยะต่อไป
		   สศช. จะประสานและบูรณาการกับหน่วยงานผู้รับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการของกิจกรรม Big Rock อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินโครงการ/การดำเนินงานเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock และสามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และ สศช. จะเร่งติดตามให้หน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานตามแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ทุกไตรมาสอย่างต่อเนื่อง ผ่านระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ให้ทันตามกรอบระยะเวลาของรอบการรายงานความคืบหน้าฯ เพื่อที่ สศช. จะได้ประมวลข้อมูลและจัดทำรายงานความคืบหน้า ฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรายงานรัฐสภาทราบต่อไป

9. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
		คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดท้องหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. ผลการดำเนินงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และสถาบันส่งเสริมฯ 18 ตัวชี้วัด งบประมาณรวม 206.22 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
แผนงาน/กิจกรรม	ผลการดำเนินงาน
1.1 แผนการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบบูรณาการการแก้ไขปัญหาและพัฒนาเชิงพื้นที่
	- บรรลุเป้าหมาย 4 ตัวชี้วัด ใช้งบประมาณ 91.87 ล้านบาท เช่นหมู่บ้านเป้าหมายยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท พ.ศ. 2557 ? 2560 (ยุทธศาสตร์ที่ 1) โดยโครงการดังกล่าวได้ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดน่าน อุดรธานี และจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ผลการดำเนินงานเกิดจากการสนับสนุนโครงการซ่อมแซม ปรับปรุง เสริมฝาย อ่างเก็บน้ำ การส่งน้ำด้วยระบบท่อ ครัวเรือนได้รับประโยชน์ 53,336 ครัวเรือน และมีพื้นที่รับประโยชน์จากน้ำ 188,969 ไร่
1.2 แผนอบรมแบบปิดทองหลังพระฯ และการจัดการความรู้	- บรรลุเป้าหมาย 2 ตัวชี้วัด ใช้งบประมาณ 17.76 ล้านบาท เช่น ขยายผลโครงการร้อยใจรักษ์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคเหนือ ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา และแม่ฮ่องสอน โดยจัดการอบรมหลักสูตรการฝึกปฏิบัติจริงด้านการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มี อปท. เข้ารับการอบรม 37 แห่ง และมี อปท. 12 แห่ง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
1.3 แผนการส่งเสริมการรับรู้และเข้าใจแนวพระราชดำริ (การประชาสัมพันธ์ในสังคมวงกว้าง)	- บรรลุเป้าหมาย 4 ตัวชี้วัด ใช้งบประมาณ 16.39 ล้านบาท เช่น จัดกิจกรรมตามแนวพระราชดำริเพื่อเฉลิมพระเกียรติ และประชาสัมพันธ์
?โครงการคิดใหม่ ไทยก้าวต่อ? และจัดกิจกรรมเรียนรู้ของนักเรียนนักศึกษา เกษตรกรให้ผ่านการปฏิบัติจริงในพื้นที่ต้นแบบ รวมถึงการเรียนรู้ผ่านกลุ่มหรือชุมชนเข้มแข็ง

1.4 แผนการสื่อสารสาธารณะและภาคีสัมพันธ์ (ประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ต้นแบบและโดยรอบ)	- บรรลุเป้าหมาย 3 ตัวชี้วัด ใช้งบประมาณ 10.23 ล้านบาท เช่น โครงการสื่อประชาสัมพันธ์ภายใต้โครงการ ?ไม่ท้อ ไม่ถอย? เพื่อสร้าง
ความเชื่อมั่นในการก้าวข้ามวิกฤตโรคโควิด-19
1.5 แผนการบริหารจัดการ	- บรรลุเป้าหมาย 5 ตัวชี้วัด ใช้งบประมาณ 69.97 ล้านบาท โดยกลุ่มเป้าหมายมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของสถาบันส่งเสริมฯและกระบวนงานของสถาบันส่งเสริมฯ ได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพ

		2. ผลการดำเนินงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และสถาบันส่งเสริมฯ ที่สอดคล้องกับสถานการณ์และสนับสนุนนโยบายรัฐบาล
แผนงาน/กิจกรรม	ผลการดำเนินงาน
2.1 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพตามศาสตร์พระราชา ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
	- ส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพทุเรียนในจังหวัดยะลา ภายใต้แนวคิด
?ทุเรียนซิตี้? และขยายผลดำเนินงานครอบคลุมจนครบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยผลักดันไปสู่ตลาดระดับ Modern Trade ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ 645 ครัวเรือน (จังหวัดยะลา 447 ครัวเรือน ปัตตานี 77 ครัวเรือน และนราธิวาส 121 ครัวเรือน) ปฏิบัติตามแผนทุเรียนคุณภาพและส่งไปจำหน่ายที่สาธารณรัฐประชาชนจีน 1,687 ตัน เกษตรกรมีรายได้ 141.27 ล้านบาท
2.2 การประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริในพื้นที่ที่มีปัญหาการค้าและลำเลียงยาเสพติด บริเวณจังหวัดชายแดนภาคเหนือ	- ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติดชายแดนภาคเหนือแบบเบ็ดเสร็จ (พ.ศ. 2562 - 2565) ในพื้นที่เป้าหมาย 4 จังหวัดชายแดนภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน และพะเยา) โดยได้จัดอบรมและฝึกปฏิบัติการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริในพื้นที่ที่มีปัญหาการค้าและการลำเลียงยาเสพติดบริเวณชายแดนภาคเหนือ และจัดอบรมการฝึกปฏิบัติจริงด้านการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของ อปท.
2.3 โครงการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมฐานรากเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโรคโควิด-19	- เกษตรกรและผู้ว่างงานเรียนรู้การพัฒนาตามแนวพระราชดำริ เช่นการซ่อมแชมและเสริมประสิทธิภาพแหล่งน้ำ และการทำเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ว่างงานให้มีรายได้ โดยเริ่มจาก 3 จังหวัดพื้นที่ต้นแบบ (จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และกาพสินธุ์) ส่งผลให้มีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด 107 โครงการ ใน 43 อำเภอ โดยมีครัวเรือนได้รับประโยชน์ 5,320 ครัวเรือน มีพื้นที่รับประโยชน์จากระบบน้ำ 30,900 ไร่ และเกิดการจ้างงาน 369 คน


10. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ โดยในการดำเนินการครั้งต่อไป หากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมประสงค์จะนำข้อเสนอแนะของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินงานตามนโยบายและแผนระดับชาติ ว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
		สาระสำคัญของเรื่อง
		ดศ. รายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีผลการประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. เรื่องเพื่อทราบ (จำนวน 3 เรื่อง) ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติรับทราบเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
			1.1 ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการภายใต้พระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 (พระราชบัญญัติฯ) ได้แก่ (1) ผลการดำเนินงานตามมติที่ประชุมคณะกรรมการฯ เช่น การจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การดำเนินโครงการขยายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และแนวปฏิบัติจริยธรรมปัญญาประดิษฐ์ (2) ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล (3) ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ (4) ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
			1.2 การปรับแผนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ของสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ประกอบด้วย
การปรับแผนงบประมาณรายจ่าย	จำนวนเงิน (ล้านบาท)
1) ปรับลดงบประมาณรายจ่ายแผนงาน/โครงการ	762.56
2) จัดสรรงบประมาณเพื่อสมทบเงินงบกลางประจำปี 2563 (เพิ่มเติม)	566.56
3) สนับสนุนโครงการต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์ ให้แก่ศิริราชมูลนิธิ	196.00
4) อนุมัติโครงการใหม่ 3 โครงการ	66.67
			1.3 รายงานสถานะการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องดิจิทัลไอดี (Digital ID) ได้แก่ การจัดทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการใช้ดิจิทัลไอดีสำหรับประเทศไทย 3 ฉบับ การปรับปรุงและจัดทำกฎหมายเพื่อรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล และการพัฒนาระบบที่รองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
		2. เรื่องเพื่อพิจารณา (จำนวน 7 เรื่อง) คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบเรื่องต่าง ๆ ที่สำคัญ ดังนี้
			2.1 ร่างแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ข้อมูลของประเทศไทย (Thailand National Data Strategy) ดังนี้
				2.1.1 เห็นชอบให้ดำเนินการตามกรอบทิศทางการดำเนินการตามร่างแนวทางฯ เช่น ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อมูลด้วยการบูรณาการและแบ่งปันข้อมูลพัฒนาและออกแบบรากฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายของข้อมูล และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล รวมถึงการใช้เทคโนโลยีข้อมูลสมัยใหม่
				2.1.2 เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะด้านการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ข้อมูล ตามมาตรา 13 (3) แห่งพระราชบัญญัติฯ เพื่อจัดทำ เสนอแนะ และติดตามการดำเนินการตามนโยบายและแผนระดับชาติตามมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติฯ และดำเนินการตามกรอบแนวทางการจัดทำยุทธศาสตร์ข้อมูลของประเทศไทย
			2.2 กรอบการรับรองหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลของหน่วยงานภาครัฐ โดยเห็นชอบให้นำหลักเกณฑ์การรับรองหลักสูตรและการจัดการศึกษาที่ใช้รับรองหลักสูตรผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐและผู้ช่วยผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูงภาครัฐไปใช้ในการรับรองหลักสูตรการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลในข้าราชการและบุคลากรของรัฐให้ครอบคลุมทั้ง 6 กลุ่ม (จำแนกตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2560 เรื่อง ร่างแนวทางการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล)
			2.3 ร่างแผนปฏิบัติการด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2565-2570) มีเป้าหมายการพัฒนาในระยะแรก (พ.ศ. 2565) เพื่อมุ่งให้ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีการเชื่อมต่อและเข้าถึงในทุกสถานที่และสามารถเชื่อมต่อได้ด้วยความเชื่อมั่นและปลอดภัย และระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อให้ประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลที่สามารถเชื่อมต่ออย่างไร้รอยต่อ โดยเห็นชอบในหลักการต่อร่างแผนปฏิบัติการฯ และให้ปรับปรุงรายละเอียดตามข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ เช่น การเตรียมความพร้อมระบบในการให้บริการภาคเอกชน นักธุรกิจ นักลงทุน และประชาชน การจัดลำดับความสำคัญของโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการฯ ตามความจำเป็นเร่งด่วย และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามอบหมายให้หน่วยงานรับไปปฏิบัติต่อไป
			2.4 ร่างแผนปฏิบัติการด้านการสื่อสารแห่งชาติ เพื่อสนับสนุนภารกิจการป้องกันบรรเทาสาธารณภัย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. ....-....) โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพิจารณาทบทวนร่างแผนปฏิบัติการฯ ตามข้อสังเกตและความเห็นของคณะกรรมการฯ เช่น การพิจารณาจัดทำแผนไม่ให้ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น การมีเครือข่ายสื่อสารที่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างการเรียนรู้ให้กับประชาชนเกี่ยวกับสาธารณภัย
			2.5 การขออนุมัติหลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามมาตรา 26 (6) แห่งพระราชบัญญัติฯ โดยเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำหรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5G ของประเทศไทย เพื่อต่อยอดการใช้ประโยชน์ตามมาตรา 26 (6) แห่งพระราชบัญญัติฯ วงเงินงบประมาณ 500 ล้านบาท และเห็นชอบ (ร่าง) หลักเกณฑ์ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของกองทุนพัฒนาฯ ตามมาตรา 26 (6) แห่งพระราชบัญญัติฯ สำหรับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5G ของประเทศไทย เพื่อต่อยอดการใช้ประโยชน์
			2.6 การทบทวนหลักการเพื่อขอยกเลิกการเปิดรับข้อเสนอโครงการ/กิจกรรมสำหรับโครงการที่ช่วยเหลือ เยียวยา หรือฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมในสถานการณ์โควิด-19 ตามมาตรา 26 (6) แห่งพระราชบัญญัติฯ โดยรับทราบผลการดำเนินการเปิดรับข้อเสนอโครงการ/กิจกรรมสำหรับการจัดหาเทคโนโลยีหรืออุปกรณ์ด้านดิจิทัลที่สนับสนุนการช่วยเหลืองานด้านสาธารณสุขและการรักษาสุขภาพของประชาชนในสถานการณ์โควิด-19 และเห็นชอบให้ยกเลิกหลักการและกรอบวงเงินกองทุนพัฒนาฯ สำหรับโครงการฯ จำนวน 400 ล้านบาท
			2.7 การแต่งตั้งที่ปรึกษาในคณะกรรมการฯ (เพิ่มเติม) โดยเห็นชอบการแต่งตั้ง                    นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ เป็นที่ปรึกษาเพิ่มเติมในคณะกรรมการฯ

11. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
		คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
		เรื่องเดิม
		1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยมีข้อเสนอแนะกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ควรดำเนินการ 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านกฎหมาย 2) ด้านบุคลากรและงบประมาณ 3) การประชาสัมพันธ์และการตลาด และ 4) ด้านอื่น ๆ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและบูรณาการงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสริมสร้างประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มสตรีหรือองค์กรผู้รับเงินทุน
		2. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี พิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ มท. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงาน พร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งใหสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่งเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามคำสั่งรองนายกรัฐมนตรีตามข้อ 2 และได้สรุปผลการพิจารณาในภาพรวมเกี่ยวกับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว ดังนี้
ข้อเสนอแนะ	ผลการพิจารณาศึกษา
1) ด้านกฎหมาย ควรเร่งผลักดันนโยบายกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นกฎหมายว่าด้วยกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และควรแก้ไขกำหนดระยะเวลาการผ่อนชำระคืนเงินกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี	- ปัจจุบันกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีมีการบริหารภายใต้ พ.ร.บ. การบริหารเงินทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 และข้อบังคับคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ว่าด้วยการบริหารกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี พ.ศ. 2559 ทำให้การดำเนินงานมีความคล่องตัวและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2) ด้านบุคลากรและงบประมาณ ควรเพิ่มกรอบอัตรากำลังพนักงานกองทุนตำแหน่งนิติกร ควรกำหนดแนวทางในการส่งเสริมความมั่นคงในการทำงานให้กับลูกจ้างกองทุนในสำนักงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี และพิจารณาทบทวนจัดสรรงบเงินอุดหนุนและเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม	- ควรพิจารณาทบทวนจัดสรรงบเงินอุดหนุนและเงินทุนหมุนเวียนเพิ่มเติม เนื่องจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นกองทุนที่ดำเนินการโดยไม่แสวงหากำไรและจากการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เหลือร้อยละ 0.10 ต่อปี ทำให้กองทุนฯ ไม่มีรายได้สำหรับใช้จ่ายในการบริหารกองทุน และการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียน (เงินให้กู้ยืม) ให้กับสมาชิก โดยเฉพาะการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ทำให้มีผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น จึงมีสมาชิกที่ต้องการประกอบอาชีพเข้ามาเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนจากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเพิ่มมากขึ้นทำให้งบประมาณที่จัดสรรให้กับจังหวัดไม่เพียงพอ
3) ด้านการประชาสัมพันธ์และการตลาด ควรมีการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับกองทุนฯ อย่างต่อเนื่องและมากขึ้น รวมทั้งการให้ความรู้ในการเขียนและเสนอโครงการ และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีในสถาบันการศึกษา เพื่อให้เยาวชนสตรีได้รับทราบและสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนและกรมการพัฒนาชุมชนควรร่วมมือกับ พม. กษ. รง. พณ. และ อก. ในการจัดอบรมให้ความรู้ต่าง ๆ เพื่อสร้างโอกาสและช่องทางการตลาด	- จะบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น พณ. มีบทบาทในการสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับประชาชนที่สนใจทำการค้า และจัดฝึกอบรมพัฒนาทักษะด้านการตลาดให้กับประชาชนและผู้ประกอบการทั้งระดับประเทศและท้องถิ่น อก. ดำเนินการเกี่ยวกับการตลาดผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่เชื่อมโยงแหล่งเงินทุนและตลาดที่เหมาะสม โครงการสร้างความเข้มแข็งผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนสู่การประกอบการอย่างมืออาชีพ โครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาสู่สากล
4) ด้านอื่น ๆ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและบูรณาการงานร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เสริมสร้างประสิทธิภาพและเพิ่มขีดความสามารถของกลุ่มสตรีหรือองค์กรผู้รับเงินทุน กำหนดแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน และสร้างความรู้ความเข้าใจในกฎระเบียบ วิธีการ ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินงานอย่างละเอียดและต่อเนื่อง	- เสริมสร้างประสิทธิภาพและขีดความสามารถของกลุ่มสตรีหรือองค์กร ผู้รับเงินทุน และสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในกฎระเบียบ วิธีการ ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินงาน รวมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจผ่านสื่อต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง

12. เรื่อง สรุปผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน : การบริหารและการจัดการภาวะแล้ง ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา
		คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน : การบริหารและการจัดการภาวะแล้ง ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ วุฒิสภา ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
		สาระสำคัญของเรื่อง
		สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้เสนอสรุปผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน :  การบริหารและการจัดการภาวะแล้ง ของคณะกรรมาธิการการแก้ปัญหาความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำวุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยได้ดำเนินการรวบรวมผลการดำเนินงาน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคและแนวทางการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว สรุปได้ว่า
		1. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้จัดทำแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปี 2559 - 2565 แผนจัดสรรน้ำฤดูแล้ง ปี 2563/64 และอยู่ระหว่างเตรียมการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำในเขตลุ่มน้ำ แผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง และภาวะน้ำท่วม จัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี โดยได้มีการกำหนดกลยุทธ์การจัดการความต้องการ (เกษตร อุตสาหกรรม) และแผนจัดสรรน้ำและเพาะปลูกพืชทั้งฤดูแล้งและฤดูฝนให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน กำหนดกลไกและจัดทำคู่มือให้เกิดการจัดทำแผนงานบูรณาการในระดับตำบล มีการพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ ?โคก หนอง นา โมเดล? อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่ามีประเด็นปัญหาที่สำคัญ เช่น ในการจัดทำแผนและจัดการภัยแล้งเชิงพื้นที่ไม่สามารถรวบรวมข้อมูลนอกเขตชลประทานในระดับพื้นที่ได้อย่างครบถ้วน และการใช้น้ำและเพาะปลูกพืชไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้จึงไม่สามารถควบคุมแผนการจัดสรรน้ำได้ เป็นต้น จึงเห็นควรประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับผู้ใช้น้ำ กำหนดมาตรการควบคุมการใช้น้ำให้เป็นไปตามแผนสนับสนุนการทำนาใช้น้ำน้อย (เปียกสลับแห้ง) หรือส่งเสริมอาชีพอื่น ๆ ที่สร้างรายได้นอกภาคการเกษตรกรณีน้ำต้นทุนน้อย หรือส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย รวมทั้งผลักดันมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการใช้น้ำ
		2. ข้อเสนอแนะเชิงบริหารจัดการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติรายงานว่า ด้านการจัดการได้เตรียมพร้อมพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรผู้ใช้น้ำเพื่อการปรับตัวต่อภัยแล้งโดยจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำและคณะกรรมการลุ่มน้ำ มีการจัดตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจเพื่อบริหารจัดการสถานการณ์น้ำในภาวะวิกฤติ และมีการพัฒนาและบูรณาการระบบฐานข้อมูลด้านทรัพยากรน้ำ (Big data) ด้านการจัดหา มีการเผยแพร่แผนที่น้ำใต้ดิน จัดทำผังน้ำจำนวน 8 ลุ่มน้ำ ด้านอุปสงค์ (demand) จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ส่งเสริมการนำน้ำเสียที่ผ่านกระบวนการบำบัดแล้วมาใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม จากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่ามีประเด็นปัญหาสำคัญ ได้แก่ ข้อมูลเชิงสถิติมีความคลาดเคลื่อนส่งผลต่อการคาดการณ์สถานการณ์น้ำ ขาดหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการบูรณาการแหล่งน้ำขนาดเล็ก ขาดงบประมาณ และเกิดการต่อต้านการจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากภาคประชาชนในการบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น จึงเห็นควรปรับปรุงการคาดการณ์พยากรณ์โดยอาศัยปัจจัยด้านพื้นที่มาร่วมในการวิเคราะห์ บูรณาการกำหนดแผนผ่านกลไกคณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด  การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ และภาครัฐต้องเร่งขับเคลื่อนโครงการบำบัดน้ำเสียขนาดใหญ่
		3. ข้อเสนอแนะเชิงการขับเคลื่อน สร้าง Thailand team ปัจจุบันสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติรายงานว่า มีกลไกการบริหารจัดการน้ำอยู่ 2 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับประเทศ คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำ กำกับและขับเคลื่อน นโยบายการบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศ และ                2) ระดับพื้นที่ ได้แก่ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด และคณะกรรมการลุ่มน้ำ มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำ กำกับ ติดตาม ขับเคลื่อน และการบริหารจัดการน้ำในระดับจังหวัด และลุ่มน้ำ ซึ่งทำหน้าที่เป็นกลไกการบริหารจัดการน้ำทั้งในระดับชาติ และระดับพื้นที่อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาพบว่า กลไกคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำระดับพื้นที่ยังไม่มีอำนาจผลักดันแผนงานในพื้นที่ได้ทั้งหมด จึงเห็นควรผลักดันให้มีการจัดทำแผนแม่บท/แผนปฏิบัติการลุ่มน้ำเพื่อเป็นกรอบการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณประจำปี ผ่านกลไกคณะกรรมการลุ่มน้ำ      และคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด

13. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่าเป็นเงินทั้งสิ้น 140,277,426 บาท ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดำเนินการดังนี้
		1. ค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า ประกอบด้วย ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลาย ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2563 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2564 ตามมาตรา 13 (4) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 จำนวนเงิน 93,772,226 บาท ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการประเมินตามกฎกระทรวงกำหนดค่าชดใช้ราคาสัตว์ที่ถูกทำลายอันเนื่องจากเป็นโรคระบาดหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคระบาดหรือสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. 2560
		2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคตรวจวินิจฉัยและทำลายเชื้อโรคหรือซากสัตว์ จำนวนเงิน 46,505,200 บาท

14. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อควบคุมโรคลัมปี สกินในโค กระบือ
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อควบคุมโรคลัมปี สกินในโค กระบือ ตามข้อมูลที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ในวงเงินงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 684,218,000บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมโรคลัมปี สกิน ในโค กระบือ ดังนี้
		1. ค่าตอบแทนอาสาปศุสัตว์ จำนวน 14,510,000 บาท
		2. ค่าจัดซื้อวัคซีนโรคลัมปี สกิน จำนวน 5,000,000 โดส เป็นเงิน 230,138,000 บาท
		3. ค่าจัดซื้อเวชภัณฑ์เพื่อการฆ่าเชื้อในฟาร์มและพาหนะในการเคลื่อนย้ายสัตว์ จำนวน 24,000,000 บาท
		4. ค่าจัดซื้อเวชภัณฑ์เพื่อการรักษาโค กระบือ จำนวน 200,000 ตัว เป็นเงิน 361,000,000 บาท และเพื่อการฟื้นฟู บำรุงสุขภาพสัตว์เลี้ยงของเกษตรกร จำนวน 200,000 ตัวเป็นเงิน 39,800,000 บาท
		5. ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์เพื่อการแพทย์ สำหรับการเก็บตัวอย่าง ฉีดวัคซีนและรักษาเป็นเงิน 14,770,000 บาท

15. เรื่อง การนำชุดแบบอักษรพระราชทาน ?จุฬาภรณ์ลิขิต? บรรจุเป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย แบบที่ 14
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ชุดแบบอักษรพระราชทาน ?จุฬาภรณ์ลิขิต? เป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย แบบที่ 14 ตามที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เสนอ เพื่อเป็นการจารึกพระนามและเนื่องในวโรกาสครบรอบ 64 พรรษา ของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และในวโรกาสที่ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจนเผยแผ่พระเกียรติคุณและพระมหากรุณาธิคุณในฐานะเจ้าหญิงของปวงประชา และองค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์อย่างกว้างไกลและยิ่งยืนนาน และเผยแพร่ต่อประชาชนชาวไทย และใช้ในราชการ รวมถึงผู้คนทั่วโลก สามารถนำชุดแบบอักษรไปใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภาษาและตัวอักษรไทยรวมถึงเป็นการจารึกพระนามขององค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์บนโลกดิจิทัล
		สาระสำคัญของเรื่อง
		1. พระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 4 วรรคสอง บัญญัติให้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มีฐานะเป็นนิติบุคคล และเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น และมาตรา 6บัญญัติให้ราชวิทยาลัยเป็นสถาบันการวิจัยและวิชาการชั้นสูง และจัดการศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย สร้าง ประมวล ประยุกต์ ส่งเสริม เผยแพร่ พัฒนา จัดการศึกษา และผลิตบุคลากรในระดับสูง เพื่อสร้างองค์ความรู้ เป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์ และการสาธารณสุข ให้บริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขแก่ประชาชน ให้ความช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้ประสบภัยพิบัติ รวมทั้งส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรม และทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
		2. เนื่องในวโรกาสครบรอบ 64 พรรษา ของศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี และในวโรกาสที่ทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ คณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติ ตลอดจนเผยแผ่พระเกียรติคุณและพระมหากรุณาธิคุณในฐานะเจ้าหญิงของปวงประชา และองค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์อย่างกว้างไกลและยิ่งยืนนาน ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้จัดทำชุดแบบอักษรและขอพระราชทานนามว่า ?จุฬาภรณ์ลิขิต? เผยแพร่ต่อประชาชนชาวไทย และใช้ในราชการรวมถึงผู้คนทั่วโลกสามารถนำชุดแบบอักษรพระราชทานดังกล่าวไปใช้อย่างแพร่หลาย เพื่อเป็นการอนุรักษ์และสืบทอดภาษาและตัวอักษรไทย รวมถึงเป็นการจารึกพระนามขององค์ประธานราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์บนโลกดิจิทัลโดยชุดแบบอักษรพระราชทาน ?จุฬาภรณ์ลิขิต? ได้รับการออกแบบให้มีความคล้ายคลึงกับยอดอ่อนของดอกกล้วยไม้พันธุ์ Phalaenopsis Princess Chulabhorn เพื่อเผยแผ่เกียรติคุณและรางวัลระดับนานาชาติ ซึ่งศาสตราจารย์                     ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ทรงได้รับอันเกี่ยวเนื่องกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยตัวอักษรไทยซึ่งมีโครงสร้างถูกต้องตามมาตรฐานโดยมีลักษณะเป็นตัว มีหัว มีปาก มีส่วนประกอบถูกต้องตามอักขรวิธี ไม่มีการประดับลวดลาย รายละเอียดมากจนเกินไป สามารถนำไปใช้ได้หลากหลายลักษณะ จึงเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในราชการ
		โดยคณะรัฐมนตรีเห็นซอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานดำเนินการติดตั้งชุดแบบอักษรพระราชทาน ?จุฬาภรณ์ลิขิต? เป็นชุดแบบอักษรมาตรฐานราชการไทย แบบที่ 14 เพิ่มเข้าไปในระบบปฏิบัติการ Thai OS และให้ถือเป็นมาตรฐานของหน่วยงานภาครัฐทุกหน่วย ภายในปี พ.ศ. 2564

16. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนเมษายน 2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนเมษายน 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
		1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนเมษายน 2564
		การส่งออกไทยฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง มีมูลค่าเหนือระดับ 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 โดยในเดือนเมษายน 2564 มีมูลค่า 21,429.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.09 เป็นอัตราการขยายตัวสูงสุดรอบ 36 เดือน หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย การส่งออกไทยขยายตัวสูงถึงร้อยละ 25.70 ซึ่งการขยายตัวของการส่งออกไทยเป็นไปตามการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการผลิตและการส่งออกโลก นอกจากนี้ ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น จากการกระจายวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 อย่างทั่วถึงในหลายภูมิภาคของโลก สำหรับการส่งออก 4 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 4.78 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 11.58 สะท้อนการเติบโตของภาคเศรษฐกิจ (Real Sector)
		สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ 1) สินค้าเกษตรและอาหาร โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา ผักและผลไม้ ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง น้ำมันปาล์ม เครื่องดื่ม อาหารสัตว์เลี้ยง และสิ่งปรุงรสอาหาร 2) สินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน (Work from Home) และเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ยังได้รับความนิยมต่อเนื่องและขยายตัวเกือบทุกรายการ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศ เตาอบไมโครเวฟ ตู้เย็นและตู้แช่แข็ง เครื่องซักผ้า เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ และโทรศัพท์และอุปกรณ์ 3) สินค้าเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อและลดการแพร่ระบาด เช่น เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ และถุงมือยาง 4) กลุ่มสินค้าเกี่ยวเนื่องกับภาคการผลิตเริ่มกลับมาฟื้นตัว เช่น เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก แผงวงจรไฟฟ้า ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาคการผลิตและการส่งออกไทย และ 5) สินค้าคงทนหรือสินค้าฟุ่มเฟือยที่มีราคาสูง เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รวมถึงอัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวในระดับสูง สะท้อนถึงการขยายตัวของกำลังซื้อในประเทศคู่ค้าได้เป็นอย่างดี
		ด้านตลาดส่งออกสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับตลาดเอเชียใต้ โดยเฉพาะอินเดีย มีการขยายตัวในระดับสูง เนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าจำนวนมาก ด้านตลาดอาเซียน (5) ยังหดตัวต่อเนื่อง ตามการหดตัวของตลาดสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย ขณะที่ตลาดอื่น ๆ เช่น CLMV ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง ลาตินอเมริกา และรัสเซียและ CIS ต่างมีอัตราการขยายตัวในระดับสูงแทบทั้งสิ้น
		มูลค่าการค้ารวม
		มูลค่าการค้าในรูปของเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนเมษายน 2564 การส่งออก มีมูลค่า 21,429.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.09 การนำเข้า มีมูลค่า 21,246.79 ล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัวร้อยละ 29.79 ดุลการค้าเกินดุล 182.48 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวมการส่งออก 4 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกมีมูลค่า 85,577.30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 4.78 การนำเข้ามีมูลค่า 84,879.16 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 13.85 ดุลการค้า 4 เดือนแรก เกินดุล 698.14 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
		มูลค่าการค้าในรูปของเงินบาท เดือนเมษายน 2564 การส่งออก มีมูลค่า 656,592.93 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 6.93 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้า มีมูลค่า 660,063.44 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.87 ดุลการค้าขาดดุล 3,470.51 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออก 4 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกมีมูลค่า 2,564,525.07 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.82 การนำเข้า มีมูลค่า 2,580,092.27 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 10.80 ดุลการค้า 4 เดือนแรก ขาดดุล 15,567.20 ล้านบาท
		การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
		มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 7.3 ขยายตัว 5 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 85.2 (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้) ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 22.3 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 40.0 (ขยายตัวในตลาดจีน ไต้หวัน มาเลเซีย เกาหลีใต้ และฟิลิปปินส์) เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 30.6 (ขยายตัวในตลาดเมียนมา เวียดนาม จีน ลาว และสิงคโปร์) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 11.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ออสเตรเลีย เวียดนาม และอินเดีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ข้าว หดตัวร้อยละ 53.6 (หดตัวในหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ แอฟริกาใต้ ฮ่องกง อินโดนีเซีย และจีน แต่ขยายตัวดีในญี่ปุ่น และเซเนกัล) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 33.7 (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย เวียดนาม ไต้หวัน สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ แต่ขยายตัวดีในเกาหลีใต้ กัมพูชา ญี่ปุ่น มาเลเซีย และศรีลังกา) อาหารทะเล แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 12.7 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน ออสเตรเลีย แคนาดา และ อียิปต์ แต่ขยายตัวดีใน เกาหลีใต้ มาเลเซีย เยเมน และอิตาลี ผัก ผลไม้ กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 6.8                (หดตัวตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ แต่ขยายตัวดีในไต้หวัน เยอรมนี และกัมพูชา) ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 6.2
		การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
		มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 12.4 ขยายตัว 2 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 61.9 (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน เวียดนาม มาเลเซีย กัมพูชา อินเดีย) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 135.9 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 55.5 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 28.7 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ ฮ่องกง จีน สิงคโปร์ และมาเลเซีย) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 72.0 (ขยายตัวเกือบทุกตลาด อาทิ สหรัฐฯ เวียดนาม ออสเตรเลีย อินเดีย ไต้หวัน) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 29.9 (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย เวียดนาม) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 106.5 (ขยายตัวเกือบทุกตลาด อาทิ สหรัฐฯ ฮ่องกง อินเดีย ออสเตรเลีย จีน) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 165.3 (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ เบลเยียม จีน สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น สหรัฐฯ) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว หดตัวร้อยละ 3.9 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ออสเตรเลีย และฮ่องกง แต่ขยายตัวได้ดีในจีน มาเลเซีย ลาว และเมียนมา) แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า หดตัวร้อยละ 4.2 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวได้ดีในสหรัฐฯ เวียดนาม มาเลเซีย เม็กซิโก เกาหลีใต้ และอินเดีย) เครื่องส่งวิทยุ โทรเลข โทรศัพท์ โทรทัศน์ หดตัวร้อยละ 9.3 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง ออสเตรเลีย และเยอรมนี แต่ขยายตัวดีในเนเธอร์แลนด์ จีน สิงคโปร์ เดนมาร์ก และญี่ปุ่น) ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 4.3
		ตลาดส่งออกสำคัญ
		การส่งออกไปตลาดสำคัญขยายตัวเกือบทุกตลาด และหลายตลาดขยายตัวในระดับสูง สอดคล้องกับการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของภาคการผลิตและการค้าโลก รวมทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามความคืบหน้าในการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 ของประเทศคู่ค้า ประกอบกับแรงสนับสนุนจากการใช้นโยบายการเงินและการคลังที่ต่อเนื่องของประเทศเศรษฐกิจหลัก การส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 15.8 ตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป (15) ขยายตัวร้อยละ 9.0 ร้อยละ 2.7 และร้อยละ 52.5 ตามลำดับ 2) ตลาดศักยภาพสูง ขยายตัวร้อยละ 18.8 การส่งออกไปจีน เอเชียใต้ และ CLMV ขยายตัวสูงร้อยละ 21.9 ร้อยละ 149.9 และร้อยละ 44.3 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปอาเซียน (5) หดตัวร้อยละ 4.4 และ 3) ตลาดศักยภาพระดับรอง ขยายตัวร้อยละ 47.8 โดยการส่งออกไปทวีปออสเตรเลีย (25) ลาตินอเมริกา ทวีปแอฟริกา และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ขยายตัวดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 39.1 ร้อยละ 82.3 ร้อยละ 25.3 และร้อยละ 50.1 ตามลำดับ และตลาดตะวันออกกลาง (15) กลับมาขยายตัวร้อยละ 65.7
		2. แนวโน้ม และมาตรการส่งเสริมการส่งออกในปี 2564
		การส่งออกของไทยในระยะต่อไป คาดว่าจะเห็นภาพการฟื้นตัวที่ชัดเจนขึ้น สะท้อนจาก (1) การขยายตัวของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 (2) การส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันที่เริ่มฟื้นตัวตามราคาส่งออก และความต้องการที่สูงขึ้น (3) แผนการกระจายวัคซีนต้านไวรัสโควิด-19 ช่วยฟื้นความเชื่อมั่นด้านการผลิตและการบริโภค สำหรับการส่งเสริมการส่งออกในปี 2564 กระทรวงพาณิชย์มีแผนงานที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก อาทิ นโยบายเกษตรผลิต-พาณิชย์ตลาด อาหารไทยอาหารโลก กระตุ้นการค้าออนไลน์ การเร่งรัดการส่งออกในยุคนิวนอร์มอล โดยใช้นวัตกรรมใหม่ทางการตลาด เพื่อส่งเสริมตลาดเชิงรุกทั้งผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ นอกจากนี้ ได้เร่งรัดแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าต่าง ๆ อาทิ การแก้ปัญหาการค้าชายแดนผ่านแดน โดยเฉพาะการส่งออกผลไม้ไปจีน การแก้ไขปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งการดำเนินการต่าง ๆ ช่วยผลักดันการส่งออกของไทยให้เติบโตท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

17. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนพฤษภาคม 2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนพฤษภาคม 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
		1. สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนพฤษภาคม 2564 ดังนี้
		อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนพฤษภาคม 2564 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 แต่ในอัตราที่ชะลอตัว เนื่องจากการสูงขึ้นของราคาพลังงานและอาหารสดบางชนิด โดยมีมาตรการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปาของภาครัฐ เป็นปัจจัยทอนที่ชะลอมิให้เงินเฟ้อขยายตัวสูงเกินไปสำหรับสินค้าและบริการอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ
		ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนพฤษภาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.44 (YoY) ชะลอตัวลงจากร้อยละ 3.41 ในเดือนก่อนหน้า โดยปัจจัยสำคัญยังคงเป็นการสูงขึ้นของราคาพลังงาน ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 24.79 ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสด อาทิ เนื้อสุกร สัตว์น้ำ (อาหารทะเล) และผลไม้ ปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม มาตรการลดค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปาของรัฐ และการลดลงของราคาอาหารสดบางชนิด อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ไข่ไก่ และผักสด เป็นปัจจัยที่ชะลอมิให้เงินเฟ้อสูงเร็วเกินไปสำหรับสินค้าในหมวดอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางที่ปกติ สอดคล้องกับผลผลิตและความต้องการในสถานการณ์ปัจจุบัน
		เงินเฟ้อพื้นฐาน (เมื่อหักอาหารสด และพลังงานออกแล้ว) ขยายตัวร้อยละ 0.49 (YoY) ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ที่ขยายตัวร้อยละ 0.30 ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2564 ลดลงร้อยละ 0.93 (MoM) และเฉลี่ย 5 เดือน (ม.ค.-พ.ค.) เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนสูงขึ้นร้อยละ 0.83 (AoA)
		เป็นที่น่าสังเกตว่า เงินเฟ้อที่ขยายตัวในเดือนนี้ นอกจากจะมีปัจจัยด้านราคาพลังงานและอาหารสดบางชนิด ซึ่งเป็นปัจจัยด้านอุปทานแล้ว ยังมีปัจจัยด้านอุปสงค์ที่มีสัญญานแนวโน้มที่ดีอย่างต่อเนื่องและสนับสนุนให้เกิดการบริโภค อาทิ การปรับตัวสูงขึ้นของการส่งออก ราคาสินค้าเกษตร และรายได้เกษตรกร รวมทั้งมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐที่สนับสนุนให้เกิดการบริโภคเพิ่มขึ้น สะท้อนจากการเพิ่มขึ้นของยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ดัชนีอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ยอดจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์และรถจักรยานยนต์ การขยายตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม และอัตราการใช้กำลังผลิตในหลายสาขาการผลิตสอดคล้องกับดัชนีราคาผู้ผลิต และดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาผู้ผลิต เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 และดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ทั้งนี้ ราคาน้ำมันและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน รวมทั้งราคาเหล็ก ยางพารา และคอนกรีต เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีราคาผู้ผลิตและราคาวัสดุก่อสร้างเพิ่มขึ้น
		2. แนวโน้มเงินเฟ้อ
		เงินเฟ้อในช่วงที่เหลือของปี มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง แต่ในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยปัจจัยสำคัญยังคงเป็นราคาพลังงานและอาหารสดบางชนิดที่ยังอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อน ขณะที่สินค้าและบริการอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวสอดคล้องกับกลไกตลาดในทิศทางปกติ นอกจากนั้น มาตรการของรัฐทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลดค่าครองชีพ ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อในแต่ละช่วงเวลา
		อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังคงเป็นแรงกดดันและความเสี่ยงต่อเงินเฟ้อของประเทศ ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7 - 1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ +1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ จะมีการทบทวนอีกครั้ง

18. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2564 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2564 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2564 และแนวโน้ม ไตรมาสที่ 2/2564 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2564 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
		สาระสำคัญ
		ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1/2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับในไตรมาสที่ 4/2563 ที่หดตัวร้อยละ 1.6 ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากผลของฐานต่ำในเดือนมีนาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกแรก อุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวในไตรมาสที่ 1/2564 อาทิ เหล็กและเหล็กกล้า การผลิตเพิ่มขึ้นเกือบทุกรายการสินค้า โดยได้รับอานิสงส์จากราคาเหล็กที่ปรับตัวสูงทำให้มีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น รวมถึงความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะยานยนต์และการก่อสร้าง เม็ดพลาสติก ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตรายหนึ่งหยุดซ่อมบำรุงประจำปีน้อยกว่าปีก่อน เฟอร์นิเจอร์ ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น เป็นผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคคิด-19 ทำให้ยังมีคำสั่งซื้อต่อเนื่องโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา เนื่องจากยังมีการทำงานแบบ Work from Home ส่งผลดีต่อการส่งออกเฟอร์นิเจอร์ขนาดเล็ก เช่น โต๊ะ เก้าอี้ การผลิตรถยนต์ ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปีก่อนอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกแรกโดยกระทบทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก รวมถึงในปีนี้ตลาดส่งออกมีการขยายตัวเนื่องจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวจากความชัดเจนของมาตรการวัคซีนโควิด-19 และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลายประเทศเริ่มทยอยออกมา การผลิตน้ำตาล ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากปีนี้ปิดหีบช้ากว่าปีก่อน นอกจากนี้ แม้ว่าในปีนี้จะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง แต่ด้วยผลผลิตอ้อยสดที่มีคุณภาพ การหีบสกัดเป็นน้ำตาลได้สูงขึ้น ทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยโดยเฉลี่ยปรับตัวดีขึ้นกว่าปีก่อน
		ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 18.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์จากฐานเปรียบเทียบในเดือนเมษายน 2563 ที่ต่ำ ซึ่งเป็นเดือนที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการระบาดในระลอกแรก รวมถึงในปีนี้การส่งออกมีการขยายตัวได้ดี
		อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนเมษายน 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
		1. รถยนต์และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 288.06 จากการหยุดผลิตชั่วคราวของผู้ผลิตค่ายต่าง ๆ หลังการประกาศมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปีก่อน
		2. การผลิตเบียร์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 515.18 เนื่องจากสงกรานต์ปีนี้ไม่มีมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ แม้ว่าจะมีการควบคุมในบางพื้นที่ ประชาชนสามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาและสามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กลับไปบริโภคที่บ้านได้
		3. เครื่องปรับอากาศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.38 จากฐานต่ำในปีก่อนจากมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ หลังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ช่องทางการจำหน่วยในห้างสรรพสินค้าถูกปิด ส่วนปีนี้มีการพัฒนาสินค้าสอดคล้องกับความต้องการและจัดรายการส่งเสริมการขายทำให้การจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งออกปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังสถานการณ์ประเทษคู่ค้าคลี่คลายและสามารถทำการส่งออกได้ตามปกติ
		4. เหล็กและเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.23 จากฐานต่ำ ตามความต้องการใช้ที่หดตัวและลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อจากการล็อกดาวน์ประเทศหลังการแพร่ระบาดในปีก่อน และมีผู้ผลิตบางรายหยุดผลิตชั่วคราวในปีก่อน รวมถึงในปีนี้การผลิตเพิ่มขึ้นตามการปรับฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
		5. ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 69.74 จากมาตรการล็อกดาวน์ในประเทศและต่างประเทศในปีก่อน ทำให้ลูกค้าหลักชะลอคำสั่งซื้อ และมีผู้ผลิตหยุดซ่อมบำรุงในปีก่อน
		แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาสำคัญ ไตรมาสที่ 2/2564
		อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัจจัยที่คาดว่าจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า ได้แก่ ราคาเหล็กในตลาดโลกและในประเทศที่ปรับตัวที่สูงขึ้น รวมถึงนโยบายของภาครัฐที่ช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรม
		อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่า ดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 3.0 และ 5.0 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดส่งออกโลกเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส           โควิด-19 รวมทั้งการขยายโครงข่ายและพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G และ IoT ทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น
		อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษในยุค New Normal จะขยายตัวค่อนข้างมาก และยังได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับส่งสินค้าทางออนไลน์
		อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเนื่องจากวัตถุดิบซึ่งเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้แปรรูปในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น มันสำปะหลัง สับปะรด ปาล์มน้ำมัน มีปริมาณเพิ่มขึ้น ประกอบกับการบริโภคในตลาดคู่ค้าหลัก ได้แก่ จีน อเมริกา และยุโรป มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากความสามารถในการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

19. เรื่อง สรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ  ระหว่างวันที่             29 มิถุนายน ? 5 กรกฎาคม 2564 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) เสนอ ดังนี้
		การคาดหมายลักษณะอากาศ การสั่งการเพื่อเตรียมความพร้อม และการช่วยเหลือ
	1. สภาพอากาศ (ระหว่างวันที่ 5 - 11 กรกฎาคม 2564)
		ในช่วงวันที่ 6 - 7 กรกฎาคม 2564 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำ มีกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลางมีแนวโน้มเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวตั้งเกี๋ย และเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 7 - 8 กรกฎาคม 2564 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 8 - 11 กรกฎาคม 2564 ร่องมรสุมได้เลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย  มีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง คลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทย ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและลมกระโชกแรง
			2. การแจ้งเตือนและสั่งการเพื่อเตรียมความพร้อม
		กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดเจ้าหน้าที่อยู่เวรเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้พร้อม เพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันเหตุการณ์
		3. ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
		รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้มีข้อสั่งการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 สั่งการให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด  เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2564 ดังนี้
			1) การเตรียมความพร้อม
		1.1 การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อุทกภัย ให้จัดตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์โดยมี หน่วยงานด้านการพยากรณ์หน่วยงานด้านการบริหารจัดการน้ำ ฝ่ายปกครองในพื้นที่ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากภาคประชาสังคมหรือสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพ เพื่อร่วมทำหน้าที่ติดตามข้อมูลสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำและเหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้เกิดสาธารณภัยในช่วงฤดูฝน รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ ในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจของผู้อำนวยการแต่ละระดับ สำหรับใช้ในการสื่อสารแจ้งเตือนประชาชน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพพื้นที่
		1.2 การจัดทำแผนเผชิญเหตุอุทกภัย ให้ทบทวนและปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัยของจังหวัดให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
		1.3 การระบายน้ำและการเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ ให้มอบหมายกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีความเชื่อมโยงกันโดยเฉพาะตามรอยต่อเขตรับผิดชอบที่เป็นเส้นทางน้ำไหลผ่าน
		1.4 การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงสถานที่ใช้กักเก็บน้ำ / กั้นน้ำ อาทิ อ่างเก็บน้ำ               พนังกั้นน้ำ ให้มอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบจัดทีมวิศวกรเข้าสำรวจตรวจสอบ และปรับปรุงให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง เพื่อให้สามารถรองรับกรณีฝนตกหนัก หรือน้ำไหลเข้า / ผ่านในปริมาณมาก รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่
		1.5 การแจ้งเตือนภัย เมื่อมีแนวโน้มการเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มขึ้นในพื้นที่           ให้ดำเนินการแจ้งเตือนไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัยให้พร้อมเผชิญเหตุ และเตรียมการในพื้นที่เสี่ยงภัยเสี่ยงภัยเป็นการล่วงหน้า รวมทั้งแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบในทุกช่องทางทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ อาทิ สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูล ข่าวสาร ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัย ช่องทางการแจ้งข้อมูล และการขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในกรณีจังหวัดที่มีเส้นทางน้ำเชื่อมต่อกันให้มีการประเมินสถานการณ์ร่วมกัน และแจ้งเตือนระหว่างจังหวัดต้นน้ำและจังหวัดปลายน้ำอย่างใกล้ชิด
		2) การเผชิญเหตุ
	เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มในพื้นที่ ให้ยึดแนวทางการจัดการสาธารณภัยในภาวะฉุกเฉิน ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้
		2.1 จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัด อำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์ควบคุม สั่งการ และอำนวยการหลักในการระดมสรรรพกำลัง ตลอดจน     การประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กร       สาธารณกุศล
		2.2 ให้มอบหมายฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ตลอดจนอาสาสมัคร ประชาชนจิตอาสา เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงในชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สถานที่สำคัญต่าง ๆ และร่วมกันกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเมื่อเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ทั้งนี้ หากมีกรณีน้ำท่วมขัง สร้างความเดือดร้อน ความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนให้เร่งกำหนดแนวทางการระบายน้ำ พร้อมทั้งสั่งใช้เครื่องจักรกลในพื้นที่ของหน่วยงาน ฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร และภาคเอกชน เพื่อเร่งระบายน้ำ และเปิดทางน้ำในพื้นที่
		2.3 จัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีพแก่ประชาชนที่ประสบภัยตามวงรอบ         อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม การรักษาพยาบาล โดยอย่าให้เกิด ความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติ และเชิญชวนประชาชนจิตอาสามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย
		2.4 กรณีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ให้บูรณาการหน่วยงานเป็นทีมช่างในพื้นที่            ทั้งหน่วยทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง สถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนจิตอาสา เพื่อเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนโดยเร็ว
		2.5 กรณีเส้นทางคมนาคมได้รับความเสียหาย หรือถูกน้ำท่วมจนประชาชนไม่สามารถใช้ยานพาหนะสัญจรได้ให้จัดทำป้ายแจ้งเตือนพร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร แนะนำเส้นทางเลี่ยงที่ปลอดภัย รวมทั้งจัดยานพาหนะที่เหมาะสม อาทิ เรือ รถยกสูง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน และให้เร่งซ่อมแซมเส้นทางที่ชำรุด / ถูกตัดขาด เพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรได้โดยเร็ว
		2.6 เน้นย้ำการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในช่วงเกิดสถานการณ์อุทกภัย ผ่านสื่อมวลชน ตลอดจนสื่อแขนงต่าง ๆ และสื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง
		2.7 ให้รายงานสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มที่เกิดขึ้นต่อกองอำนวยการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินสถานการณ์และเสนอ ความเห็นต่อผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติในการตัดสินใจสั่งการในเชิงนโยบายต่อไป
		สรุปสถานการณ์วาตภัย
		ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม 2564
	1. จังหวัดราชบุรี วันที่ 3 กรกฎาคม 2564 เวลา 16.00 น. เกิดเหตุวาตภัยในพื้นที่อำเภอปากท่อ ตำบลปากท่อ และตำบลหนองกระทุ่ม บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 23 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
  	และวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 19.00 น. เกิดเหตุวาตภัยในพื้นที่อำเภอโพธาราม ตำบลโพธาราม             ทำให้หลังคาตลาดนัดพังถล่ม รถยนต์ได้รับความเสียหาย 1 คัน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน และไม่มีผู้เสียชีวิต
	2. จังหวัดสุรินทร์ วันที่ 2 กรกฎาคม 2564 เวลา 16.30 น. เกิดเหตุวาตภัยในพื้นที่อำเภอพนมดงรัก ตำบลโคกกลาง (หมู่ที่ 8) บ้านเรือนประชาชนเสียหาย 1 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต
	การให้ความช่วยเหลือ : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ อปท. อปพร. อาสาสมัคร และมูลนิธิเข้าสำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น
		สรุปสถานการณ์อุบัติภัย และเหตุการณ์สำคัญ
		ระหว่างวันที่ 29 มิถุนายน - 5 กรกฎาคม 2564
			1. จังหวัดสมุทรปราการ วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 03.20 น. เกิดเหตุระเบิดภายในโรงงานผลิตเม็ดโฟมพลาสติก ?บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด? ตั้งอยู่เลขที่ 87 ซอยกิ่งแก้ว 21 หมู่ที่ 15 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี ทำให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายประมาณ 100 หลัง รถยนต์ 15 คัน     มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 33 คน และมีผู้เสียชีวิต 1 ราย
			การให้ความช่วยเหลือ : ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 1 ปทุมธานี เขต 2 สุพรรณบุรี เขต 3 ปราจีนบุรี และเขต 16 ชัยนาท สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กรมควบคุมมลพิษ กรุงเทพมหานคร ปตท. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค  อำเภอ อปท. บริษัท บางจาก จำกัด เจ้าหน้าที่ตำรวจ อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าทำการดับเพลิงอย่างต่อเนื่อง และนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลบางบ่อ โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 1 โรงพยาบาลจุฬารัตน์ 9 โรงพยาบาลปริ้นซ์ โรงพยาบาลสิรินธร โรงพยาบาลศิริธร และโรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ ปัจจุบันเพลิงสงบแล้ว เมื่อเวลา 03.45 น. (วันที่ 6 กรกฎาคม 2564) แต่ยังคงฉีดน้ำหล่อเลี้ยงไว้ เพื่อไม่ให้เพลิงปะทุลุกไหม้ขึ้นอีก
			2. กรุงเทพมหานคร วันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.36 น. เกิดเหตุเพลิงลุกไหม้อาคารพาณิชย์ 3 ชั้น 6 คูหา ภายในซอยเจริญราษฎร์ 7 แยก 7-6-3 ถนนเจริญราษฎร์ แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าทำการดับเพลิงจนเพลิงสงบ เวลา 11.00 น. เพลิงลุกไหม้เสียหาย 34 ตารางเมตร ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต

20. เรื่อง มาตรการสินเชื่ออิ่มใจ
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการสินเชื่ออิ่มใจตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอและอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 1,000 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อดำเนินมาตรการสินเชื่ออิ่มใจ พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
		ทั้งนี้ กค. เสนอว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกใหม่ที่เริ่มกลับมามีความรุนแรงและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะวิกฤติด้านสาธารณสุข นำไปสู่การออกประกาศกำหนดเขตพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร) และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดนราธิวาส จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดสงขลา) มีการสั่งปิดสถานที่และระงับการให้บริการของสถานบริการต่าง ๆ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ประสบปัญหาในการดำเนินธุรกิจ มีรายได้ลดลงและขาดสภาพคล่อง ประกอบกับสถาบันการเงินยังไม่มั่นใจกับการปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการในกลุ่มดังกล่าว เนื่องจากมองว่ายังมีความเสี่ยงในการชำระหนี้คืน ส่งผลให้ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มยังไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบสถาบันการเงินได้อย่างเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้ กระทรวงการคลังจึงเสนอมาตรการสินเชื่ออิ่มใจ เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เป็นการป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น
		สาระสำคัญ
		มาตรการสินเชื่ออิ่มใจมีรายละเอียด ดังนี้
		1. วัตถุประสงค์ : เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19
		2. กลุ่มเป้าหมาย : ผู้ประกอบการร้านอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นร้านจำหน่ายแบบถาวร                     เช่น ร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า ร้านอาหารที่เปิดในห้องแถวหรืออาคารพาณิชย์ ภัตตาคาร ร้านที่มีลักษณะเป็นบูธ เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่เป็นร้านแบบเคลื่อนที่ได้ เช่น หาบเร่ แผงลอย รถเข็น เป็นต้น
		3. วิธีดำเนินงาน : ธนาคารออมสินสนับสนุนสินเชื่อวงเงินรวม 2,000 ล้านบาท วงเงินสินเชื่อต่อรายสูงสุด 100,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 3.99 ต่อปี (Effective Rate) ระยะเวลากู้ไม่เกิน 5 ปี (ปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ย 6 งวดแรก) โดยธนาคารออมสินสามารถกำหนดระยะเวลาปลอดชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ เมื่อรวมระยะเวลาทั้งสิ้นต้องไม่เกิน 5 ปี
		4. ระยะเวลาดำเนินงาน : ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
		5. งบประมาณ : รัฐบาลชดเชยความเสียหายที่เกิดจากหนี้ที่ไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loans : NPLs) ร้อยละ 100 สำหรับ NPLs ที่ไม่เกินร้อยละ 50 ของสินเชื่อที่อนุมัติทั้งหมด 2,000 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 1,000 ล้านบาท (2,000 ล้านบาท *ร้อยละ 50 *ร้อยละ 100) โดยธนาคารออมสินจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต่อไป

21. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2564 ครั้งที่ 22/2564 และครั้งที่ 23/2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2564 ครั้งที่ 22/2564 และครั้งที่ 23/2564 (เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 วันที่ 2 กรกฎาคม 2564 และวันที่ 5 กรกฎาคม 2564) ได้มีการพิจารณาจัดทำข้อเสนอแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 6 วรรคสองของพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟู เศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) (ครั้งที่ 1) การพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ การพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ดังนี้
		1. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (2) มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (1) เพิ่มเติม (ครั้งที่ 1) จำนวน 5,871.8710 ล้านบาท เพื่อรองรับการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย เพิ่มเติม จำนวน 10.9 ล้านโดส ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
		2. อนุมัติโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล) ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กรอบวงเงินจำนวน 2,519.3800 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 2 เพื่อให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่นายจ้างและผู้ประกันตน ม 33 ที่อยู่ในฐานข้อมูลประกันสังคม ณ วันที่ 28 มิถุนายน 2564 และได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ทั้งนี้ เห็นควรให้เงินได้จากการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาจากการดำเนินโครงการฯ แก่นายจ้างและลูกจ้าง ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมสรรพากร เสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป และมอบหมายให้สำนักงานประกันสังคม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และดำเนินการ
		3. อนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชาชนในประเทศไทย เพิ่มเติมจำนวน 10.9 ล้านโดส ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงิน 6,111.4120 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการเพื่อจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ยารักษาโรค วัคซีนป้องกันโรค และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (แผนงานที่ 1.2) ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และดำเนินการโดยเคร่งครัด
		4. อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายโครงการกำลังใจเพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงและเร่งรัดการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด พร้อมทั้งมอบหมายให้ สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ หารือร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการพิจารณาความเหมาะสมของช่วงระยะเวลาที่จะเริ่มดำเนินโครงการเราเที่ยวด้วยกัน และโครงการทัวร์เที่ยวไทย นอกจากนี้ เห็นควรให้ ททท. พิจารณากำหนดเงื่อนไขและรายละเอียดของการเข้าร่วมโครงการทั้ง 2 โครงการให้มีความรัดกุมโดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อป้องกันมิให้เกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 อันเนื่องจากการดำเนินโครงการฯ และอาจจะทำให้มีผลกระทบต่อเป้าหมายการเปิดประเทศภายใน 120 วันของรัฐบาลต่อไป ทั้งนี้ การปรับแผนการเบิกจ่ายโครงการฯ จะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564
		5. อนุมัติให้จังหวัดตราดยกเลิกการดำเนินกิจกรรมย่อยภายใต้โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภาคเกษตรกรรมด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 5 กิจกรรม วงเงิน 2,578,800 บาท และเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินและปรับแผนการดำเนินการของกิจกรรมย่อย ?การเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่? กรอบวงเงิน 300,000 บาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งเห็นควรให้จังหวัดตราดเร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ e-MENSCR โดยเร็ว
		6. อนุมัติให้จังหวัดนครสวรรค์ยกเลิกการดำเนินโครงการ จำนวน 3 โครงการ วงเงินรวม 5,684,300 บาท รวมถึงปรับแผนการดำเนินโครงการย่อยภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 โครงการ วงเงินรวม 11,500,000 บาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งให้จังหวัดนครสวรรค์เร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ e-MENSCR โดยเร็ว
		7. อนุมัติให้จังหวัดมหาสารคามยกเลิกการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานรองรับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต วงเงิน 854,600 บาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งเห็นควรให้จังหวัดมหาสารคามเร่งดำเนินการตามข้อ 19 และ 20 ของ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) โดยเร็ว

ต่างประเทศ

22. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานตำราจแห่งชาติและกระทรวงมหาดไทย                     แห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้ายการต่อต้านอาขญากรรมข้ามชาติและความร่วมมือด้านกิจการตำรวจ
		คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อเสนอของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอแล้วมีมติ ดังนี้
		1. ให้ความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่าง ตช. และกระทรวงมหาดไทยแห่งสหพันธ             รัฐรัสเซียว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการพัฒนาความร่วมมือในกิจการตำรวจ (ร่างบันทึกความ             เข้าใจฯ)
		2. มอบหมายให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติมอบหมาย                  เป็นผู้ลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว
		3. อนุมัติให้ ตช. สามารถดำเนินการแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หากมีความจำเป็นต้องมีการแก้ไขปรับปรุงได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีก
		สาระสำคัญของเรื่อง
		ตช. รายงานว่า
		สถานเอกอัครราชทูตสหพันธรัฐรัสเซียประจำประเทศไทยเสนอให้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่าง ตช. และกระทรวงมหาดไทยแห่งสหพันธรัฐรัสเซียว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติและการพัฒนาความร่วมมือในกิจการตำรวจ (Memorandum of Understanding between the Royal Thai Police and the Ministry of Internal Affairs of the Russian Federation on Combating Transnational Crime and Developing Police Cooperation) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ โดยทั้งสองฝ่ายได้พิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจฯ และได้เห็นชอบเนื้อหาและสาระสำคัญร่วมกันแล้ว ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น	สาระสำคัญ
1. วัตถุประสงค์	เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติโดยใช้กลไกความร่วมมีอระหว่างประเทศเป็นเครื่องมือ
2. ขอบเขตความร่วมมือ	ทั้งสองฝ่ายจะสร้างความร่วมมือในการป้องกัน การค้นหา การปราบปราม และแก้ไข
ชองความร่วมมือปัญหาอาชญากรรม ดังนี้
2.1 อาชญากรรมที่จัดตั้งในลักษณะองค์กร
2.2 ภาพอนาจารเด็กและการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ
2.3 การก่อการร้ายและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
2.4 การทุจริตและการฟอกเงิน
2.5 อาชญากรรมทางเศรษฐกิจข้ามชาติ
2.6 การค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็ก รวมทั้งอวัยวะและเนื้อเยื่อของมนุษย์
2.7 องค์กรเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐานโดยผิดกฎหมาย
2.8 การลักลอบค้าอาวุธ เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด
2.9 การลักลอบค้ายาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท และสารตั้งต้น
2.10 อาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับการลักทรัพย์ การลักลอบค้าวัตถุทางวัฒนธรรม
(ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และศิลปะ)
2.11 อาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
2.12 การปลอมแปลงอัตลักษณ์
2.13 อาชญากรรมอื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน


3. การปฏิบัติตามความร่วมมือ	3.1 การแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ประสานงานจากหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายเพื่อประสานการปฏิบัติในคดีเฉพาะเรื่อง
3.2 การจัดให้มีการประชุมและการปรึกษาเพื่อหารือในประเด็นเสริมสร้างประสิทธิภาพของความร่วมมือทวิภาคีในกรอบการทำงานของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ และอาจมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อการประสานงานดังกล่าวได้
3.3 การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ความช่วยเหลือในการต่อสู้กับอาชญากรรมร้ายแรงระหว่างประเทศ
3.4 การฝึกอบรมและการฝึกอบรมระดับสูงให้แก่บุคลากรและผู้เชี่ยวชาญทั้งสองฝ่าย รวมถึงการฝึกอบรมทางยุทธวิธีและนิติวิทยาศาสตร์
3.5 การแลกเปลี่ยนกฎหมายภายในและกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ
3.6 การแลกเปลี่ยนข้อมูลและวัสดุในการวิเคราะห์ที่ได้มาภายในขอบเขตอำนาจ
รวมทั้งข้อมูลเชิงสถิติในการต่อสู้กับอาซญากรรมข้ามชาติของทั้งสองฝ่าย
4. ค่าใช้จ่าย	ทั้งสองฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ นอกจากจะตกลงกันเป็นอย่างอื่นเป็นรายกรณีไป
5. การบังคับใช้	มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนาม และจะสิ้นสุดผลบังคับใช้ในเวลา 6 เดือน เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรแสดงเจตนาจะให้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้สิ้นสุดผลบังคับใช้จากอีกฝ่ายหนึ่ง
6. ประเด็นอื่น ๆ	6.1 บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะไม่นำมาใช้กับการช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่อง
ทางอาญาและการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
6.2 ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ตามกฎหมายภายในของตนเอง
6.3 บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ไม่ใช่สนธิสัญญระหว่างประเทศ และจะไม่ก่อให้เกิดสิทธิและข้อผูกพันใด ๆ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ


23. เรื่อง รายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ ครั้งที่ 14 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
		คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ             ครั้งที่ 14 (14th ASEAN Ministerial Meeting on Transnational Crime: AMMTC) และการประชุมที่เกี่ยวข้องผ่านระบบการประชุมทางไกล ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

เรื่อง	ผลการประชุม/การดำเนินการ
1. การประชุมเตรียมการเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติสำหรับการประชุม AMMTC ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563
โดยมีผู้บังคับการกองการต่างประเทศ (พลตำรวจตรี วสันต์ เตชะอัครเกษม) เป็นผู้แทนหัวหน้าเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านอาชญากรรมข้ามชาติ (Senior Officials Meeting on Transnational Crime: SOMTC) เข้าร่วมประชุมและรายงานสถานการณ์อาชญากรรมข้ามชาติในปัจจุบัน ซึ่งมีความซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นที่ประเทศสมาชิกในภูมิภาคอาเซียนต้องสร้างความร่วมมือร่วมกันโดยใช้กลไกของการประชุม AMMTC และการประชุม SOMTC เป็นศูนย์กลางการประสานงาน	- รับทราบเรื่องที่สำคัญ ดังนี้
1. รายงานผลการประชุม SOMTC ครั้งที่ 20 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2563 โดยมีสาธารณรัฐฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ซึ่งที่ประชุมตระหนักถึงการระบาดของ           โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ทำให้เกิดปัญหาอาชญากรรมรูปแบบใหม่
2. ความคืบหน้าและการดำเนินการตามแผนงาน SOMTC Work Programme 2019-2021 เอกสารร่างข้อกำหนด (TOR) ของ SOMTC และร่างเอกสารข้อกำหนดของคณะทำงาน SOMTC ในประเด็นอาชญากรรมข้ามชาติทั่วไป
3. การจัดตั้งคณะทำงานกรณีการขอผนวกการลักลอบค้าวัตถุโบราณเข้าเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือใหม่ตามร่างข้อกำหนดของคณะทำงานอาชญากรรมข้ามชาติทั่วไปภายใต้ขอบเขตของ SOMTC โดยที่ประชุมตั้งข้อสังเกตว่า เอกสารร่างข้อกำหนดควรมีการปรับปรุงและเสริมสร้างความร่วมมือ SOMTC ในอนาคต และให้สหพันธรัฐมาเลเซียเป็นผู้นำเสนอในครั้งต่อไป
4. รายงานผลความคืบหน้าเอกสารแนวความคิดเรื่อง แผนงานความร่วมมือการบริหารการจัดการชายแดนอาเซียน เพื่อผลักดันให้ภูมิภาคอาเซียนร่วมมือกันแก้ปัญหาและบริหารจัดการชายแดนร่วมกัน และรายงานความคืบหน้าเอกสารแนวความคิด เรื่อง การสร้างช่องทางการสื่อสารโดยตรงของหัวหน้าภายในAMMTC ในภูมิภาคอาเซียนของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
5. รายงานความคืบหน้าการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคอาเซียน เรื่อง การป้องกันและการต่อต้านแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรง ในหัวข้อ ?การประเมินสถานการณ์ภัยคุกคามในปัจจุบันและแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้น? และการประชุมความร่วมมือกับอาเซียน ครั้งที่ 2 เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการบาหลี ปี 2562-2568
2. การประชุม AMMTC ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2563 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก              ชัยชาญ ช้างมงคล) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย โดยเอกสารผลลัพธ์การประชุม AMMIC            ครั้งที่ 14 จะเป็นข้อมูลเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศในทุกระดับทั้งองค์การระหว่างประเทศและภายใต้กรอบอาเซียนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการ          ก่อการร้ายและอาชญากรรม          ข้ามชาติ	1. รับทราบ เรื่องที่สำคัญ ดังนี้
	1.1 รายงานผลการประชุม AMMTC ครั้งที่ 13 โดยรัฐมนตรี             ช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม (พลเอก ชัยชาญ ช้างมงคล) เป็นผู้กล่าวรายงานต่อที่ประชุมและส่งมอบตำแหน่งประธาน AMMTCให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงสาธารณะเวียดนาม (พลเอก โต เลิม) ซึ่งเป็นหัวหน้า AMMIC สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
	1.2 การแลกเปลี่ยนความเห็นของผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับความพยายามในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับสากล  โดยให้ความสำคัญกับการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานเพื่อรับมือกับการก่อการร้ายของเครือข่ายกลุ่มหัวรุนแรงที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบไป รวมทั้งกำหนดมาตรการดูแลและฟื้นฟูเยาวชนที่ถูกชวนเชื่อให้เข้าร่วมการฝึกเป็นนักรบต่างชาติ
	1.3 การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม AMMTC ครั้งที่ 15 และการเป็นประธานอาเซียนในปี 2564 ของเนการาบรูไนดารุสซาลาม
2. ที่ประชุมเห็นพ้องว่า ปัญหาการลักลอบนำเข้ายาเสพติดและสารตั้งต้นมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนมากขึ้นในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19            จึงเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกร่วมกันต่อต้านการแพร่ระบาดของยาเสพติดในภูมิภาคอาเซียน ส่วนประเด็นการค้ามนุษย์นั้นประเทศสมาชิกภูมิภาคอาเซียนได้ร่วมมือกันกำหนดมาตรการป้องกันการค้ามนุษย์ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน
3. ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมความร่วมมือการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ (3.1) ปรับปรุงโครงการริเริ่มต่าง ๆ เช่น แผนงาน กลยุทธ์ กลไก และการเพิ่มขีดความสามารถบุคลากรในระดับภูมิภาค (3.2) เสริมสร้างศักยภาพให้แก่กลุ่มเยาวชนและกลุ่มที่เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม (3.3) แลกเปลี่ยนข่าวกรองและแนวทางปฏิบัติที่ประสบความสำเร็จต่อไป (3.4) จัดการฝึกอบรมและโครงการใหม่ ๆ และ (3.5) ปรับปรุงการบังคับใช้กฎหมายให้มีความทันสมัย

24. เรื่อง ยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระดับประเทศระหว่างประเทศไทยและธนาคารพัฒนาเอเชีย ฉบับที่ 3 สำหรับปี 2564-2568
		คณะรัฐมนตรีรับทราบยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระดับประเทศระหว่างประเทศไทย (ไทย) กับธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank ADB) (ยุทธศาสตร์ฯ) ฉบับที่ 3 สำหรับปี 2564-2568
โดยคณะกรรมการบริหาร ADB ได้มีมติรับรองยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 3 แล้วเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. ยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 3 เป็นยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างไทยและ ADB ครอบคลุมระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2564-2568 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างทั่วถึงและยั่งยืน โดยมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (แผนพัฒนาฯ) ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ทั้งนี้ เมื่อเผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ประกาศใช้ ADB จะได้ปรับปรุงยุทธศาสตร์ฯ ฉบับที่ 3 ให้มีความสอดคล้องกับแผนดังกล่าวต่อไป
		2. วัตถุประสงค์ ประกอบด้วย
			2.1 เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและความเชื่อมโยง มุ่งสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน 3 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย (1) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านนวัตกรรมเพื่อสร้างอุตสาหกรรมใหม่ ๆ และการปฏิรูปภาคการเกษตร (2) การลดช่องว่างในการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศการเข้าถึงบริการทางสังคม และการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้เท่าเทียมกัน และ (3) การเชื่อมโยงระดับภูมิภาคผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงกับประเทศอื่น ๆ
			2.2 เสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาที่ยั่งยืน มุ่งสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) 4 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย (1) การสนับสนุนการลงทุนในพลังงานหมุนเวียนและการขยายโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน (2) การแบ่งปันความรู้ด้านการปรับตัวและการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติให้แก่ภาครัฐเอกชน และชุมชนท้องถิ่น (3) การเสริมสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม ผ่านการลงทุนและการสนับสนุนทางวิชาการเพื่อพัฒนาตลาดยานยนต์ไฟฟ้า ระบบขนส่งที่ยั่งยืน และเครื่องมือทางการเงิน และ (4) การเสริมสร้างประสิทธิผลของบริการสาธารณะระดับภูมิภาค เช่น การบริการด้านสุขภาพและการบริการทางสังคม
			2.3 สนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติด้านอื่น ๆ ได้แก่ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม โดยสนับสนุนในประเด็นต่าง ๆ เช่น ความเท่าเทียมทางเพศเศรษฐกิจและสังคม ความร่วมมือระดับภูมิภาค และการรับมือกับประเด็นทางสังคมที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น สังคมผู้สูงอายุของไทย
		3. แนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ฯ เน้นการบูรณาการของภาคส่วนต่าง ๆ
โดยนำองค์ความรู้ของ ADB มาประยุกต์ใช้กับการดำเนินงานของไทย สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น	แนวทางการดำเนินการ
การสนับสนุนโครงการที่ไม่ได้ดำเนินการโดยภาครัฐ	ส่งเสริมความร่วมมือในสาขาขนส่งและพลังงานที่ไม่ได้ดำเนินการโดยภาครัฐและสำรวจศักยภาพของสาขาใหม่ ๆ โดยมุ่งเน้นการขยายโอกาสการเข้าถึงเงินทุน โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย รวมถึงการพัฒนาตลาดทุน
การสนับสนุนโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน	ส่งเสริมการดำเนินโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (Public Private Partnership: PPP) โดยให้คำปรึกษาเชิงนโยบายและความช่วยเหลือทางวิชาการ เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการร่วมลงทุน
การสนับสนุนโครงการที่ดำเนินการโดยภาครัฐ	ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการออกแบบโครงการเงินกู้ในไทยเพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มรวมถึงการพัฒนาทุนมนุษย์อย่างเสมอภาคและทั่วถึง
การสนับสนุนนวัตกรรมในโครงการต่าง ๆ 	ส่งเสริมโครงการที่มีศักยภาพในการต่อยอดหรือขยายผลในระดับภูมิภาคและสาขาความร่วมมือที่เน้นการส่งเสริมนวัตกรรม ได้แก่ โครงการนำร่องเกษตรกรรมแนวใหม่เพื่อความยั่งยืน เทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ และเทคโนโลยี
ที่สนับสนุนเศรษฐกิจสีเขียว

		ทั้งนี้ ADB ได้กำหนดหน่วยงานร่วมดำเนินการ ได้แก่ (1) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาเครื่องมือทางการเงินการคลังที่รองรับการดำเนินงานตามพันธกิจได้ (2) ภาครัฐสนับสนุนในสาขาการพัฒนาด้านที่ไทยยังมีความคืบหน้าน้อย และ (3) ภาครัฐและภาคเอกชน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนานวัตกรรมในภาคเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ รวมถึงการสร้างความเสมอภาคทางสังคม
		4. การพัฒนาเศรษฐกิจระดับภูมิภาคและการฟื้นฟูหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ            โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ADB จะแบ่งปันความรู้และประสบการณ์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาคให้สามารถฟื้นตัวได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต รวมถึงพัฒนาการค้าในภูมิภาคผ่านกรอบความร่วมมือที่สำคัญ เช่น แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและแผนการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเชีย-มาเลเชีย-ไทย

25.  เรื่อง  การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซีย                    สมัยพิเศษ
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซีย สมัยพิเศษ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซีย สมัยพิเศษ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
		สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงของการประชุมรัฐมตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซียน สมัยพิเศษ (Draft Statement of the Special ASEAN-Russia Foreign Ministers? Meeting) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-รัสเซีย เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะความร่วมมือด้านสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจและสังคมภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19  รวมทั้งประเด็นที่มีความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ความร่วมมือด้านความมั่นคง ความร่วมมือด้านความมั่นคงของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ความร่วมมือด้านการจัดการภัยพิบัติและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน ความร่วมด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี และความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงระดับประชาชน โดยยึดถือความเป็นแกนกลางของอาเซียนและการใช้ประโยชน์จากกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำเป็นสำคัญ

26. เรื่อง ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมกลางวาระระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมกลางวาระระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของเอกสารฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยก่อนการรับรอง ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถใช้ดุลยพินิจดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองดังกล่าว ตามกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
		สาระสำคัญของร่างปฏิญญาทางการเมืองระบุการดำเนินการต่าง ๆ ของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความร่วมมือ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
		1. ย้ำถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งร้อยเรียงที่เมืองบันดุง (ค.ศ. 1955) และกรุงเบลเกรด (ค.ศ. 1961) ว่า จะส่งเสริมให้สังคมโลกมีสันติภาพ มีความเสมอภาคและความร่วมมือและประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี
		2. แสดงความห่วงกังวลอย่างยิ่งต่อการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นความท้าทายอันยิ่งใหญ่ต่อมวลมนุษยชาติ และต้องอาศัยการตอบสนองระดับโลกบนพื้นฐานของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความร่วมแรงร่วมใจ และความร่วมมือพหุภาคีที่ต้องฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ และแสดงความห่วงกังวลต่อการเลือกประติบัติ วาทกรรมที่สร้างความเกลียดชัง การตีตรา การเกลียดชังชาวต่างชาติ ความกลัวชาวต่างชาติ ที่เพิ่มมากขึ้น อันเป็นผลจากโรคระบาด
		3. รับทราบว่า การธำรงไว้ซึ่งคุณค่าของระบอบพหุภาคีและความร่วมมือระหว่างประเทศซึ่งเป็นหลักการภายใต้กฎบัตรสหประชาชาติและวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 เป็นรากฐานของการส่งเสริมและสนับสนุนเสาหลักทั้งสามของสหประชาชาติ ได้แก่ เสาสันติภาพและความมั่นคง เสาการพัฒนา และเสาสิทธิมนุษยชน
		4. ย้ำว่า ความขัดแย้งด้วยอาวุธ นโยบายการรุกรานอย่างแข็งกร้าว การก่อการร้าย การแบ่งแยกดินแดน อาชญากรรมข้ามชาติ และลัทธิความรุนแรงสุดโต่ง รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน วิกฤติทางการเงิน และความเสื่อมถอยของสิ่งแวดล้อม ยังคงส่งผลกระทบต่อประชากรหลายล้านคนทั่วโลก
		ทั้งนี้ สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจานในฐานะประธานปัจจุบันของกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด (Non-Aligned Movement ? NAM) จะจัดการประชุมกลางวาระระดับรัฐมนตรีกลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ผ่านระบบออนไลน์ (Online Mid-term Ministerial Conference of the Non-Aligned Movement) ภายใต้หัวข้อ ?กลุ่มประเทศไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดที่อยู่ศูนย์กลางของความพยายามพหุภาคีในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ของโลก? (Non-Aligned Movement at the center of multilateral efforts in responding to global challenges) ระหว่างวันที่ 13 ? 14 กรกฎาคม 2564

แต่งตั้ง

27. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฝ่ายการเมือง) และโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฝ่ายข้าราชการประจำ)
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอการแต่งตั้งโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฝ่ายการเมือง) และโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม         (ฝ่ายข้าราชการประจำ) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 มกราคม 2559) ที่กำหนดให้ทุกส่วนราชการแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่โฆษกกระทรวง/หน่วยงานอย่างเป็นทางการแล้วแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รวบรวมรายชื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ] ดังนี้
 		1. นางสาวนพวรรณ หัวใจมั่น เป็นโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฝ่ายการเมือง)
 		2. นายภุชพงศ์ โนดไธสง เป็นโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฝ่ายข้าราชการประจำ)
		3. นางปิยนุช วุฒิสอน เป็นรองโฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฝ่ายข้าราชการประจำ)

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
 		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายวิริยะ                   รามสมภพ ที่ปรึกษาด้านข้อมูลข่าวสารของราชการ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง นางสาวพัชรินรุจา จันทโรนานนท์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านมนุษยศาสตร์ ในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นางณัชชา พันธุ์เจริญ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านมนุษยศาสตร์ ในคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 6 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายประเวศ อรรถศุภผล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว แทนผู้ที่ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่                  6 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 6 กรกฎาคม 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ