คณะรัฐมนตรีรับทราบการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติ 6 จังหวัดภาคใต้ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาจากธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ เสนอดังนี้
1. คณะกรรมการอำนวยการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2548 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 ได้พิจารณาผลความคืบหน้าการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติของหน่วยงานต่างๆ จากงบกลางฯ และจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยฯ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2548 รวม 4 มาตรการ สรุปได้ดังนี้
1.1 การช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน
ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ผู้ประสบภัยคนไทย ผู้ประสบภัยอาชีพประมง ผู้ว่างงาน ผู้ประกอบการรายย่อย เด็กที่ได้รับผลกระทบและจัดหาที่พักอาศัยแก่ผู้ประสบภัย จัดทำฐานข้อมูลผู้ประสบภัย รวมทั้งพิจารณาสิทธิประโยชน์ตอบแทนข้าราชการ โดยการดำเนินการดังกล่าวได้รับอนุมัติงบประมาณจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 281,890,000 บาท และจากเงินงบกลางฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 3,336,080,840 บาท ต่อมาหน่วยงานได้ขอปรับงบประมาณ จากงบกลางฯ เป็นเงิน 2,267,314,345 บาท รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 2,549,204,345 บาท ซึ่งได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปแล้ว จำนวน 130,021 ราย เป็นเงินจำนวน 746,704,205.83 บาท
1.2 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่
ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ ในลักษณะการให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งมีผู้แจ้งขอความช่วยเหลือ 7,634 ราย วงเงิน 26,406,890,000 บาท และดำเนินการอนุมัติสินเชื่อไปแล้ว จำนวน 7,651 ราย วงเงิน 18,367,460,000 บาท
1.3 มาตรการช่วยเหลือในการบูรณะฟื้นฟู
ดำเนินการช่วยเหลือส่วนราชการที่ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติและชดเชยค่าใช้จ่ายให้แก่ส่วนราชการที่สำรองจ่ายและงบฟื้นฟูภายหลังพิบัติภัย โดยได้รับอนุมัติงบประมาณจากงบกลางฯ ปี 2548 จำนวน 2,636,758,187 บาท ต่อมาหน่วยงานได้ขอปรับงบประมาณเป็นเงิน 2,535,017,187 บาท ดำเนินการเบิกจ่ายไปแล้ว จำนวน 194,214,049.37 บาท การดำเนินการเบิกจ่ายยังเป็นจำนวนเงินไม่มากนักเมื่อเทียบกับงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ เนื่องจากเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับการก่อสร้าง และซ่อมแซมวัสดุ ครุภัณฑ์ จึงต้องดำเนินการการจัดซื้อจัดจ้าง และจัดหาวัสดุครุภัณฑ์
1.4 การบูรณะฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานและโยธา
ดำเนินการช่วยเหลือบูรณะฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานและโยธา โดยได้อนุมัติงบประมาณจากงบกลางฯ ปี 2548 จำนวน 323,591,000 บาท ผลการเบิกจ่าย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
2. การขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติ
2.1 กระทรวงกลาโหมขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติในกรณีที่ส่วนราชการของกระทรวงกลางโหมได้สำรองจ่ายเพื่อเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เบี้ยเลี้ยง ที่พัก และเรื่องอื่นๆ ที่ใช้ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 209,883,718 บาท ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้มอบหมายให้สำนักงบประมาณไปพิจารณาในรายละเอียดแล้วเห็นควรให้การสนับสนุนงบประมาณเฉพาะค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของอากาศยาน เรือ และค่าวัสดุตามข้อเท็จจริงในการปฏิบัติงาน รวมทั้งสิ้น 116,135,300 บาท ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้เห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณปรับลด
2.2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในส่วนงบดำเนินงานในการสร้างบ้านพักถาวร จำนวน 2,885 หลัง เป็นค่าดำเนินการวางระบบสาธารณูปโภคหลังละ 20,000 บาท เป็นเงิน 57,700,000 บาท และค่าบริหารจัดการ ค่าจ้างแรงงาน ที่พัก หลังละ 20,000 บาท เป็นเงิน 57,700,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 115,400,000 บาท ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้มอบหมายให้สำนักงบประมาณไปพิจารณาในรายละเอียดแล้ว เห็นควรให้กระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ ปรับลดจำนวนบ้านพักถาวร จากเดิม 2,885 หลัง เป็น 2,030 หลัง รวมทั้งสิ้น 81,200,000 บาท ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้เห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณปรับลด
3. การยืนยันกรอบวงเงินในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอาชีพประมงของกรมประมงและการเปลี่ยนแปลงการใช้เงินภายในกรอบวงเงินดังกล่าว
ตามที่คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้เห็นชอบให้กรมประมงให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงเท่ากับมูลค่าไม่เกินร้อยละ 70 ตามเกณฑ์ปกติของผู้ประสบภัยที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมง ซึ่งกรมประมงได้พิจารณาปรับลดยอดเป้าหมายตามมติคณะกรรมการอำนวยการฯ แล้วนั้น เนื่องจากในขณะนี้การเปิดรับแจ้งการขอรับความช่วยเหลือจากผู้ประสบภัยกลุ่มเรือท่องเที่ยวของกรมประมงยังไม่ยุติ และจำเป็นต้องใช้งบประมาณในบางส่วน เพื่อจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยอาชีพประมงที่อุทธรณ์ขอรับความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 โดยกรณีดังกล่าวจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้เป็นกรณี ๆ ไป คณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาแล้วเห็นชอบให้กรมประมงยืนยันกรอบวงเงินงบประมาณเดิมในการให้ความช่วยเหลือในวงเงินไม่เกิน 821,082,500 บาท
นอกจากนี้ คณะกรรมการอำนวยการฯ ยังได้เห็นชอบงบประมาณในการซ่อมแซมแพปลาจำนวน 29 แห่ง ท่าเทียบเรือขนาดเล็กของเอกชน จำนวน 19 แห่ง และสะพานขนถ่ายสัตว์น้ำจำนวน 18 แห่ง รวมทั้งสิ้น 66 แห่ง โดยให้ดำเนินการช่วยเหลือตามที่ซ่อมแซมจริงแห่งละไม่เกิน 200,000 บาท ในวงเงิน 13,200,000 บาท โดยใช้งบประมาณจากงบกลางฯ จำนวน 821,082,500 บาท ตามวรรค 1 ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว และให้กระทรวงการคลังสนับสนุนสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน (Soft Loan) เพื่อฟื้นฟูกิจการตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง
อย่างไรก็ดี สำหรับเขื่อนกันคลื่น นั้น คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม ตามที่ได้มีการเสนอในที่ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องแผนการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย 6 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2548 ที่จังหวัดภูเก็ต
4. การช่วยเหลือเรือท่องเที่ยว ตามที่คณะกรรมอำนวยการฯ ได้เห็นชอบเกี่ยวกับการช่วยเหลือเรือท่องเที่ยว จำนวน 739 ลำ ในวงเงิน 98,860,700 บาท ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) เสนอ โดยให้ดำเนินการตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือและฟื้นฟูอาชีพประมงที่ประสบธรณีพิบัติ 6 จังหวัดภาคใต้ พ.ศ. 2548 โดยอนุโลก นั้น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกรมประมงได้จัดแนวทางปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเรือท่องเที่ยวที่ประสบภัย และได้แจ้งประสานความร่วมมือให้จังหวัดต่าง ๆ ดำเนินตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าวแล้ว
5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะกรณีผลกระทบจากคลื่นสึนามิ เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่รัฐบาลในการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว 2 ประการ คือ
5.1 การค้นหาศพผู้เสียชีวิตและผู้เสียหาย โดยการจัดตั้งศูนย์อำนวยการกลางเพื่อเป็นกลไกในการประสานการดำเนินการติดตามและรวบรวมข้อมูลศพผู้เสียชีวิตและผู้สูญหาย การตรวจดีเอ็นเอ การพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิตที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ และการค้นหาศพควรดำเนินการต่อไปโดยไม่มีเงื่อนเวลาเป็นข้อกำหนด
5.2 การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหาย รัฐบาลควรส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรภาคประชาสังคมทุกภาคส่วน เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย และการประกอบอาชีพ
คณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่าข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติดังกล่าว อยู่ในกรอบนโยบายในการให้ความช่วยเหลือซึ่งได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบไปแล้ว เมื่อวันที่ 11, 18, 25 มกราคม 2548 และวันที่ 1, 8 กุมภาพันธ์ 2548 รวม 5 เรื่อง ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) จะได้มีหนังสือตอบชี้แจงและขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะดังกล่าวต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อไป
6. การให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว
คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้พิจารณากรณีที่คณะกรรมาธิการต่างประเทศของวุฒิสภาแจ้งว่า ในคราวประชุมคณะกรรมาธิการฯ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับผลกระทบต่อเหตุการณ์ธรณีพิบัติ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2548 ที่ประชุมได้พิจารณากรณีแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ที่ประสบภัยซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติ และถูกจับกุมตัวจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเนื่องจากไม่มีเอกสารหลักฐานการเข้าเมืองที่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหาย ทำให้ต้องหลบซ่อนตัวอยู่ตามชายป่า ขาดแคลนอาหารและสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต ที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ พิจารณาแล้ว จึงขอให้รัฐบาลยุติการจับกุมและขับไล่แรงงานต่างด้าวออกนอกประเทศ และขอให้สนับสนุนหรือให้ความ ช่วยเหลือแก่องค์กรเอกชนในการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวในพื้นที่เขาหลักและบ้านน้ำเค็ม ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาแล้วมอบหมายให้กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับไปพิจารณาและเสนอที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ ครั้งต่อไป
7. สำหรับยอดเงินกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 มียอดเงินบริจาค จำนวน 1,037,444,164.48 บาท เบิกจ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยช่วยเหลือเร่งด่วนให้แก่จังหวัดและสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ รวมจำนวน 347,076,764.00 บาท ผูกพันการจ่ายตามที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วอีก จำนวน 97,465,000.00 บาท คงเหลือยอดเงิน 592,902,400.48 บาท
อนึ่ง ยอดเงินดังกล่าวจะต้องมีการปรับเปลี่ยน เนื่องจากคณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติในหลักการให้ความช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ เพิ่มเติม 2 กรณี ซึ่งเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียด ดังต่อไปนี้
7.1 เดิมคณะกรรมการกองทุน ฯ ได้มีมติอนุมัติเงินจากกองทุนฯ เพื่อให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยใช้ในการให้ความช่วยเหลือแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ประสบภัยในเบื้องต้น จำนวน 20 ล้านบาท ต่อมาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ขอรับงบประมาณเพิ่มเติมอีก จำนวน 9 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 29 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการสร้างโอกาสการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่บุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ตกงานอันเนื่องมาจากธรณีพิบัติ ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต กระบี่และพังงา เป็นเหตุให้พนักงานของสถานพักแรมต้องตกงานไม่น้อยกว่า 20,000 ราย และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกจากผลของการยกเลิกการเข้าพักของนักท่องเที่ยว จึงเห็นควรให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
7.2 คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีมติอนุมัติตามที่ศูนย์ปฏิบัติการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและการส่งกลับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เพิ่มเติม สำหรับโครงการที่จำเป็นเร่งด่วน ด้านการพิสูจน์เอกลักษณ์และการส่งกลับของประเทศไทย จำนวน 8,920,000 บาท
อนึ่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แจ้งให้ทราบด้วยว่า สำหรับประมาณการงบประมาณโครงการต่อเนื่องการพิสูจน์เอกลักษณ์ และการส่งกลับของประเทศไทย จำนวน 25,547,200 บาท จะมีหนังสือขอรับการสนับสนุนจากงบกลางฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ในภายหลัง ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มีนาคม 2548--จบ--
1. คณะกรรมการอำนวยการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2548 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2548 ได้พิจารณาผลความคืบหน้าการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติของหน่วยงานต่างๆ จากงบกลางฯ และจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัยฯ ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2548 รวม 4 มาตรการ สรุปได้ดังนี้
1.1 การช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน
ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ผู้ประสบภัยคนไทย ผู้ประสบภัยอาชีพประมง ผู้ว่างงาน ผู้ประกอบการรายย่อย เด็กที่ได้รับผลกระทบและจัดหาที่พักอาศัยแก่ผู้ประสบภัย จัดทำฐานข้อมูลผู้ประสบภัย รวมทั้งพิจารณาสิทธิประโยชน์ตอบแทนข้าราชการ โดยการดำเนินการดังกล่าวได้รับอนุมัติงบประมาณจากกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 281,890,000 บาท และจากเงินงบกลางฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 3,336,080,840 บาท ต่อมาหน่วยงานได้ขอปรับงบประมาณ จากงบกลางฯ เป็นเงิน 2,267,314,345 บาท รวมเป็นงบประมาณทั้งสิ้น 2,549,204,345 บาท ซึ่งได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยไปแล้ว จำนวน 130,021 ราย เป็นเงินจำนวน 746,704,205.83 บาท
1.2 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่
ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายใหญ่ ในลักษณะการให้สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งมีผู้แจ้งขอความช่วยเหลือ 7,634 ราย วงเงิน 26,406,890,000 บาท และดำเนินการอนุมัติสินเชื่อไปแล้ว จำนวน 7,651 ราย วงเงิน 18,367,460,000 บาท
1.3 มาตรการช่วยเหลือในการบูรณะฟื้นฟู
ดำเนินการช่วยเหลือส่วนราชการที่ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติและชดเชยค่าใช้จ่ายให้แก่ส่วนราชการที่สำรองจ่ายและงบฟื้นฟูภายหลังพิบัติภัย โดยได้รับอนุมัติงบประมาณจากงบกลางฯ ปี 2548 จำนวน 2,636,758,187 บาท ต่อมาหน่วยงานได้ขอปรับงบประมาณเป็นเงิน 2,535,017,187 บาท ดำเนินการเบิกจ่ายไปแล้ว จำนวน 194,214,049.37 บาท การดำเนินการเบิกจ่ายยังเป็นจำนวนเงินไม่มากนักเมื่อเทียบกับงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ เนื่องจากเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับการก่อสร้าง และซ่อมแซมวัสดุ ครุภัณฑ์ จึงต้องดำเนินการการจัดซื้อจัดจ้าง และจัดหาวัสดุครุภัณฑ์
1.4 การบูรณะฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานและโยธา
ดำเนินการช่วยเหลือบูรณะฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานและโยธา โดยได้อนุมัติงบประมาณจากงบกลางฯ ปี 2548 จำนวน 323,591,000 บาท ผลการเบิกจ่าย ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
2. การขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติ
2.1 กระทรวงกลาโหมขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมในการดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติในกรณีที่ส่วนราชการของกระทรวงกลางโหมได้สำรองจ่ายเพื่อเป็นค่าน้ำมันเชื้อเพลิง เบี้ยเลี้ยง ที่พัก และเรื่องอื่นๆ ที่ใช้ในการสนับสนุนการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 209,883,718 บาท ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้มอบหมายให้สำนักงบประมาณไปพิจารณาในรายละเอียดแล้วเห็นควรให้การสนับสนุนงบประมาณเฉพาะค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงของอากาศยาน เรือ และค่าวัสดุตามข้อเท็จจริงในการปฏิบัติงาน รวมทั้งสิ้น 116,135,300 บาท ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้เห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณปรับลด
2.2 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในส่วนงบดำเนินงานในการสร้างบ้านพักถาวร จำนวน 2,885 หลัง เป็นค่าดำเนินการวางระบบสาธารณูปโภคหลังละ 20,000 บาท เป็นเงิน 57,700,000 บาท และค่าบริหารจัดการ ค่าจ้างแรงงาน ที่พัก หลังละ 20,000 บาท เป็นเงิน 57,700,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 115,400,000 บาท ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้มอบหมายให้สำนักงบประมาณไปพิจารณาในรายละเอียดแล้ว เห็นควรให้กระทรวงการพัฒนาสังคม ฯ ปรับลดจำนวนบ้านพักถาวร จากเดิม 2,885 หลัง เป็น 2,030 หลัง รวมทั้งสิ้น 81,200,000 บาท ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ ได้เห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณปรับลด
3. การยืนยันกรอบวงเงินในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอาชีพประมงของกรมประมงและการเปลี่ยนแปลงการใช้เงินภายในกรอบวงเงินดังกล่าว
ตามที่คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้เห็นชอบให้กรมประมงให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงเท่ากับมูลค่าไม่เกินร้อยละ 70 ตามเกณฑ์ปกติของผู้ประสบภัยที่ขึ้นทะเบียนกับกรมประมง ซึ่งกรมประมงได้พิจารณาปรับลดยอดเป้าหมายตามมติคณะกรรมการอำนวยการฯ แล้วนั้น เนื่องจากในขณะนี้การเปิดรับแจ้งการขอรับความช่วยเหลือจากผู้ประสบภัยกลุ่มเรือท่องเที่ยวของกรมประมงยังไม่ยุติ และจำเป็นต้องใช้งบประมาณในบางส่วน เพื่อจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยอาชีพประมงที่อุทธรณ์ขอรับความช่วยเหลือเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 โดยกรณีดังกล่าวจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการอำนวยการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาธรณีพิบัติใน 6 จังหวัดภาคใต้เป็นกรณี ๆ ไป คณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาแล้วเห็นชอบให้กรมประมงยืนยันกรอบวงเงินงบประมาณเดิมในการให้ความช่วยเหลือในวงเงินไม่เกิน 821,082,500 บาท
นอกจากนี้ คณะกรรมการอำนวยการฯ ยังได้เห็นชอบงบประมาณในการซ่อมแซมแพปลาจำนวน 29 แห่ง ท่าเทียบเรือขนาดเล็กของเอกชน จำนวน 19 แห่ง และสะพานขนถ่ายสัตว์น้ำจำนวน 18 แห่ง รวมทั้งสิ้น 66 แห่ง โดยให้ดำเนินการช่วยเหลือตามที่ซ่อมแซมจริงแห่งละไม่เกิน 200,000 บาท ในวงเงิน 13,200,000 บาท โดยใช้งบประมาณจากงบกลางฯ จำนวน 821,082,500 บาท ตามวรรค 1 ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้แล้ว และให้กระทรวงการคลังสนับสนุนสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรน (Soft Loan) เพื่อฟื้นฟูกิจการตามหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลัง
อย่างไรก็ดี สำหรับเขื่อนกันคลื่น นั้น คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม ตามที่ได้มีการเสนอในที่ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องแผนการฟื้นฟูบูรณะพื้นที่ประสบธรณีพิบัติภัย 6 จังหวัดภาคใต้ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2548 ที่จังหวัดภูเก็ต
4. การช่วยเหลือเรือท่องเที่ยว ตามที่คณะกรรมอำนวยการฯ ได้เห็นชอบเกี่ยวกับการช่วยเหลือเรือท่องเที่ยว จำนวน 739 ลำ ในวงเงิน 98,860,700 บาท ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมประมง) เสนอ โดยให้ดำเนินการตามระเบียบกรมประมงว่าด้วยการจ่ายเงินช่วยเหลือและฟื้นฟูอาชีพประมงที่ประสบธรณีพิบัติ 6 จังหวัดภาคใต้ พ.ศ. 2548 โดยอนุโลก นั้น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกรมประมงได้จัดแนวทางปฏิบัติในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเรือท่องเที่ยวที่ประสบภัย และได้แจ้งประสานความร่วมมือให้จังหวัดต่าง ๆ ดำเนินตามแนวทางปฏิบัติดังกล่าวแล้ว
5. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้มีหนังสือกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะกรณีผลกระทบจากคลื่นสึนามิ เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่รัฐบาลในการกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว 2 ประการ คือ
5.1 การค้นหาศพผู้เสียชีวิตและผู้เสียหาย โดยการจัดตั้งศูนย์อำนวยการกลางเพื่อเป็นกลไกในการประสานการดำเนินการติดตามและรวบรวมข้อมูลศพผู้เสียชีวิตและผู้สูญหาย การตรวจดีเอ็นเอ การพิสูจน์ศพผู้เสียชีวิตที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ และการค้นหาศพควรดำเนินการต่อไปโดยไม่มีเงื่อนเวลาเป็นข้อกำหนด
5.2 การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหาย รัฐบาลควรส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรภาคประชาสังคมทุกภาคส่วน เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ที่อยู่อาศัย และการประกอบอาชีพ
คณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่าข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรณีพิบัติดังกล่าว อยู่ในกรอบนโยบายในการให้ความช่วยเหลือซึ่งได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบไปแล้ว เมื่อวันที่ 11, 18, 25 มกราคม 2548 และวันที่ 1, 8 กุมภาพันธ์ 2548 รวม 5 เรื่อง ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ) จะได้มีหนังสือตอบชี้แจงและขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะดังกล่าวต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติต่อไป
6. การให้ความช่วยเหลือแรงงานต่างด้าว
คณะกรรมการอำนวยการฯ ได้พิจารณากรณีที่คณะกรรมาธิการต่างประเทศของวุฒิสภาแจ้งว่า ในคราวประชุมคณะกรรมาธิการฯ ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เกี่ยวกับผลกระทบต่อเหตุการณ์ธรณีพิบัติ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2548 ที่ประชุมได้พิจารณากรณีแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ที่ประสบภัยซึ่งได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติ และถูกจับกุมตัวจากเจ้าหน้าที่ของรัฐเนื่องจากไม่มีเอกสารหลักฐานการเข้าเมืองที่ถูกต้องหรือเอกสารสูญหาย ทำให้ต้องหลบซ่อนตัวอยู่ตามชายป่า ขาดแคลนอาหารและสิ่งของจำเป็นต่าง ๆ ในการดำรงชีวิต ที่ประชุมคณะกรรมาธิการฯ พิจารณาแล้ว จึงขอให้รัฐบาลยุติการจับกุมและขับไล่แรงงานต่างด้าวออกนอกประเทศ และขอให้สนับสนุนหรือให้ความ ช่วยเหลือแก่องค์กรเอกชนในการจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือแรงงานต่างด้าวในพื้นที่เขาหลักและบ้านน้ำเค็ม ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการฯ พิจารณาแล้วมอบหมายให้กระทรวงแรงงาน และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับไปพิจารณาและเสนอที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการฯ ครั้งต่อไป
7. สำหรับยอดเงินกองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2548 มียอดเงินบริจาค จำนวน 1,037,444,164.48 บาท เบิกจ่ายเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยช่วยเหลือเร่งด่วนให้แก่จังหวัดและสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ รวมจำนวน 347,076,764.00 บาท ผูกพันการจ่ายตามที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วอีก จำนวน 97,465,000.00 บาท คงเหลือยอดเงิน 592,902,400.48 บาท
อนึ่ง ยอดเงินดังกล่าวจะต้องมีการปรับเปลี่ยน เนื่องจากคณะกรรมการกองทุนฯ ได้อนุมัติในหลักการให้ความช่วยเหลือหน่วยงานต่าง ๆ เพิ่มเติม 2 กรณี ซึ่งเรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาในรายละเอียด ดังต่อไปนี้
7.1 เดิมคณะกรรมการกองทุน ฯ ได้มีมติอนุมัติเงินจากกองทุนฯ เพื่อให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยใช้ในการให้ความช่วยเหลือแก่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ประสบภัยในเบื้องต้น จำนวน 20 ล้านบาท ต่อมาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้ขอรับงบประมาณเพิ่มเติมอีก จำนวน 9 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 29 ล้านบาท เพื่อจัดทำโครงการสร้างโอกาสการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพให้แก่บุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ตกงานอันเนื่องมาจากธรณีพิบัติ ซึ่งได้สร้างความเสียหายให้กับแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต กระบี่และพังงา เป็นเหตุให้พนักงานของสถานพักแรมต้องตกงานไม่น้อยกว่า 20,000 ราย และคาดว่าจะมีเพิ่มขึ้นอีกจากผลของการยกเลิกการเข้าพักของนักท่องเที่ยว จึงเห็นควรให้การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
7.2 คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีมติอนุมัติตามที่ศูนย์ปฏิบัติการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและการส่งกลับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนฯ เพิ่มเติม สำหรับโครงการที่จำเป็นเร่งด่วน ด้านการพิสูจน์เอกลักษณ์และการส่งกลับของประเทศไทย จำนวน 8,920,000 บาท
อนึ่ง สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้แจ้งให้ทราบด้วยว่า สำหรับประมาณการงบประมาณโครงการต่อเนื่องการพิสูจน์เอกลักษณ์ และการส่งกลับของประเทศไทย จำนวน 25,547,200 บาท จะมีหนังสือขอรับการสนับสนุนจากงบกลางฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ในภายหลัง ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มีนาคม 2548--จบ--