http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (13 กรกฎาคม 2564) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋ว เงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ?. 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 60 ปี การสถาปนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. ?. 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ?. 6. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. ?. 7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว พ.ศ. ?. 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการ ลุ่มน้ำ ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการลุ่มน้ำ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. 9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ รายปี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. เศรษฐกิจ สังคม 10. เรื่อง ขออนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้ และผู้ประกอบ ธุรกิจเกี่ยวเนื่อง 11. เรื่อง การร่วมทุนในบริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย 12. เรื่อง โครงการทุนศึกษาต่อในประเทศของบุคลากรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชีย ระยะที่ 5 (ปี 2566 - 2570) 13. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา 14. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานการตรวจสอบที่มีต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน (เรื่อง การเลือกปฏิบัติ ต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีในการสมัครงานกับบริษัทเอกชน) 15. เรื่อง รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของ ประเทศไทย พ.ศ. 2563 16. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (โควิด - 19) ครั้งที่ 9/2564 17. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนธุรกิจและการจัดตั้งบริษัท MEA Smart Energy Solutions จำกัด ของการไฟฟ้านครหลวง 18. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ระยะที่ 7 19. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของ ประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2564 20. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการมีงานทำของคน พิการตามกฎกหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ของ คณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และ ผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา 21. เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว เมียนมา) เพื่อให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ต่อไป ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 22. เรื่อง สรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ 23. เรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการอันเนื่องมาจาก ข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ต่างประเทศ 24. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 15 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหม อาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 8 25. เรื่อง กรอบเจรจาของไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าระดับรัฐมนตรีของ องค์การการค้าโลก เรื่องการเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง 26. เรื่อง องค์ประกอบและท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัย สามัญ ครั้งที่ 44 27. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ 28. เรื่อง ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนา ที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development : HLPF) ประจำปี ค.ศ. 2021 แต่งตั้ง 29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) 30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 31. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 ? กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายสำหรับดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และ ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ กค. เสนอว่า 1. ได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร โดยกำหนดให้เงินได้ประเภทต่าง ๆ ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (17) แห่งประมวลรัษฎากร เช่น เงินได้จากการจำหน่าย หรือส่วนลดจากการจำหน่ายสลากกินแบ่งของรัฐบาล รางวัลที่ทางราชการจ่ายให้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันมิให้มีการกระทำผิดเกี่ยวกับภาษีอากร เป็นต้น 2. ต่อมาได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 231 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) โดยกำหนดให้ดอกเบี้ยที่ได้จากตั๋วเงินหรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก เฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการเป็นผู้ทรงตั๋วเงินหรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ของผู้มีเงินได้ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ ต้องมีการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 (2) แห่งประมวลรัษฎกรจากดอกเบี้ยดังกล่าว ทั้งจำนวนไว้แล้ว 3. กค. ได้ออกพันธบัตรรัฐบาลรุ่น ?วอลเล็ตสะสมบอนด์มั่งคั่ง (สบม.)? และจำหน่าย ผ่านแอปพลิเคชัน ?เป๋าตัง? ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2563 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงพันธบัตรรัฐบาลได้อย่างง่ายและสะดวกขึ้น โดยมีธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่เป็นนายทะเบียนและตัวแทนในการจ่ายดอกเบี้ยของพันธบัตรวอลเล็ต สบม. ประกอบกับกรมสรรพากร สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ร่วมกันพัฒนาแนวทางการขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จากดอกเบี้ยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากดอกเบี้ยดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎกระทรวงฉบับที่ 231 (พ.ศ. 2544) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร 4. กค. พิจารณาแล้วเห็นควรกำหนดให้มีการยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีสำหรับดอกเบี้ยที่ได้รับจากพันธบัตรออมทรัพย์ด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเป็นการสนับสนุนการพัฒนาตลาดรองตราสารหนี้ และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ซื้อพันธบัตรออมทรัพย์ที่ กค. เป็นผู้ออกให้สามารถขอคืนเงินภาษีผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ อันจะช่วยเพิ่มสภาพคล่องของการซื้อขายพันธบัตรออมทรัพย์ ทั้งนี้ สบน. และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้เปิดให้บริการซื้อขายพันธบัตรวอลเล็ต สบม. ผ่านแอปพลิเคชัน ?เป๋าตัง? แล้ว 5. กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มิได้เป็น การยกเว้นหรือลดอัตราภาษีเงินได้ จึงไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้หรือผลกระทบต่องบประมาณแต่อย่างใด ทั้งนี้ จะเพิ่มความสะดวกให้แก่ผู้เสียภาษีในการขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เพิ่มความรวดเร็วของกรมสรรพากร ในการพิจารณาคืนเงินภาษี และเป็นการยกระดับการให้บริการของภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กำหนดให้สามารถยื่นคำร้องขอคืนภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ได้ถูกหักและนำส่งแล้วเป็น จำนวนเกินกว่าที่ควรต้องเสีย สำหรับดอกเบี้ยที่ได้จากพันธบัตรออมทรัพย์ ที่ กค. เป็นผู้ออก เฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นก่อนการเป็นผู้ทรงพันธบัตรออมทรัพย์ของบุคคลนั้น ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของสถาบันการเงินที่ได้มีความตกลงไว้กับกรมสรรพากรแล้ว โดยบุคคลที่จะยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้นต้องแต่งตั้งสถาบันการเงินดังกล่าวเป็นตัวแทนของตนในการยื่นคำร้องต่อกรมสรรพากร 2. การยื่นคำร้องขอคืนภาษีอากร ให้ถือว่าเสร็จสมบูรณ์เมื่อกรมสรรพากรได้รับข้อมูลการยื่น คำร้องขอคืนภาษีอากรจากสถาบันการเงินครบถ้วน 2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. ?. (ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2564) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และ ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ สลค. เสนอว่า 1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด และเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก โดยให้ถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว (มติคณะรัฐมนตรี 30 กรกฎาคม 2562) ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้ ปีที่ สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง 1 22 พฤษภาคม 2562 ? 18 กันยายน 2562 1 พฤศจิกายน 2562 ? 28 กุมภาพันธ์ 2563 2 22 พฤษภาคม 2563 ? 18 กันยายน 2563 1 พฤศจิกายน 2563 ? 28 กุมภาพันธ์ 2564 3 22 พฤษภาคม 2564 ? 18 กันยายน 2564 1 พฤศจิกายน 2564 ? 28 กุมภาพันธ์ 2565 4 22 พฤษภาคม 2565 ? 18 กันยายน 2565 1 พฤศจิกายน 2565 ? 28 กุมภาพันธ์ 2566 2. โดยที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2564 ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 นั้น บัดนี้ ใกล้จะสิ้นกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวันตาม สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่งในวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2564 สมควรที่จะกำหนดให้ปิดประชุม รัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2564 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 60 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 60 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และ ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ กค. เสนอว่า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ขอความร่วมมือให้กรมธนารักษ์ กค. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 60 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นที่ระลึก และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระสยามเทวมหามกุฏ วิทยมหาราชและเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีให้เป็นที่รู้จักและแพร่หลายทั่วไป ซึ่ง กค. ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามแบบที่ทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว จึงเห็นควรจัดทำเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 60 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวมาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึก เนื่องในโอกาสครบ 60 ปี การสถาปนามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ มท. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยแก้ไขระยะเวลาการใช้บังคับกฎกระทรวงดังกล่าว เพื่อให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารประเภทอื่นมีระยะเวลาในการดำเนินการเพื่อให้ได้รับใบรับรองการดัดแปลง หรือใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารมาประกอบธุรกิจโรงแรม จนกว่าจะมีการออกกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะและระบบความปลอดภัยของอาคารที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรมใช้บังคับ สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง แก้ไขระยะเวลาการใช้บังคับกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 จากเดิม ?กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนดห้าปี? เป็น ?กฎกระทรวงนี้ให้สิ้นสุดระยะเวลาการใช้บังคับเมื่อมีกฎกระทรวงว่าด้วยโรงแรมที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543? 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป และให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สำนักงาน คทช.) รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี และกำหนดหน้าที่และอำนาจของแต่ละส่วนราชการดังกล่าวให้เหมาะสมกับสภาพของงาน เพื่อให้เป็นไปตามการจัดส่วนราชการภายในสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2564 สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง กำหนดการแบ่งส่วนราชการของสำนักงาน คทช. สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 6 ส่วนราชการ ดังนี้ 1. สำนักงานผู้อำนวยการ มีหน้าที่และอำนาจ เช่น งานบริหารทั่วไป งานสารบรรณ จัดทำและประสานแผนปฏิบัติการ รวมทั้งเร่งรัด ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานตามแผนการปฏิบัติราชการ ดูแลด้านงบประมาณ ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดระบบงานและการบริหารทรัพยากรบุคคล 2. กองกฎหมาย มีหน้าที่และอำนาจ เช่น ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัยงานด้านกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนหลักเกณฑ์และวิธีการที่เกี่ยวกับที่ดิน เพื่อเสนอให้มีการปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการบริหารจัดการที่ดิน และทรัพยากรดินในภาพรวมของประเทศ 3. กองที่ดินของรัฐ มีหน้าที่และอำนาจ เช่น เสนอแนะมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหา การบุกรุกที่ดินของรัฐ และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาแนวทางเขตที่ดินของรัฐ และมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการกำหนดแนวเขตที่ดินของรัฐ รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานของรัฐในการดำเนินตามแนวทางและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐ 4. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน มีหน้าที่และอำนาจ เช่น ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อเสนอแนะนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะฝ่ายเลขานุการของ คทช. และคณะอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง 5. กองส่งเสริมความร่วมมือและขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดิน มีหน้าที่และอำนาจ เช่น ขับเคลื่อนนโยบายและแก้ไขปัญหาการจัดที่ดินและการกระจายการถือครองที่ดิน เสนอแนะมาตรการในการติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย และการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ 6. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินและทรัพยากรดิน มีหน้าที่และอำนาจ เช่น ศึกษา ออกแบบ และพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สนับสนุนการตัดสินใจเพื่อการวางแผนพัฒนา การใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์ และเผยแพร่ข้อมูลสู่สาธารณะ รวมทั้งบริหารจัดการจัดให้มีระบบเครือข่าย พัฒนาระบบงานคอมพิวเตอร์และเครือข่าย และการเชื่อมโยงข้อมูลสารสนเทศของที่ดินและทรัพยากรดิน 6. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกิจการอวกาศ พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงยุติธรรม สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงาน กสทช. และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ด้านเศรษฐกิจ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่ อว. เสนอ 3. ให้ อว. รับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงาน สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 4. สำหรับการจัดตั้ง ?สำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติ? ในระยะเริ่มแรกให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ปฏิบัติหน้าที่สำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติ ไปพลางก่อนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 ? 3 ปี และประเมินผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานอีกครั้งหนึ่ง หากมีความจำเป็นและความคุ้มค่าในการจัดตั้งสำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติ ให้ อว. ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (24 กรกฎาคม 2550) เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ ตามความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ต่อไป ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ อว. เสนอ เป็นการกำหนดให้มีกฎหมายว่าด้วยกิจการอวกาศ เพื่อให้ประเทศไทยมีหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อวกาศ และมีสำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้ทั้งภาครัฐและเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนากิจการอวกาศอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอวกาศและความต้องการของทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีความต้องการใช้ประโยชน์จากห้วงอวกาศมากขึ้น รวมทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจอวกาศ (New Space Economy) เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแนวทางของ Thailand 4.0 สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ประเด็น สาระสำคัญ 1. บทนิยาม ? กำหนดคำนิยามคำว่า เช่น ?กิจการอวกาศ? ?กิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศ? ?วัตถุอวกาศ? ?ขยะอวกาศ? ?ผู้ดำเนินกิจการอวกาศ? ?ใบอนุญาต? และ ?รัฐผู้ส่ง? เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น 2. กำหนดขอบเขตการใช้บังคับกฎหมาย ? กำหนดให้ใช้พระราชบัญญัตินี้บังคับแก่การดำเนินกิจการอวกาศได้แก่ (1) ในราชอาณาจักร (2) นอกราชอาณาจักรหรือในอวกาศโดยบุคคลธรรมดาซึ่งมีสัญชาติไทย หรือนิติบุคคลซึ่งมีสัญชาติไทย หรือได้จดทะเบียนจัดตั้งในประเทศไทย (3) นอกราชอาณาจักรโดยใช้พื้นที่ที่ประเทศไทย มีสิทธิอธิปไตยหรือโดยใช้เรือ อากาศยาน ยานพาหนะ หรือวัตถุอวกาศซึ่งได้จดทะเบียนในประเทศไทย เว้นแต่กิจการอวกาศที่อยู่ในราชการทหารเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการป้องกันประเทศหรือหน่วยงานของรัฐตามประกาศของคณะกรรมการ 3. นโยบายและแผนกิจการอวกาศ ? กำหนดให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีนโยบายและแผนกิจการอวกาศตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ และเมื่อมีการประกาศนโยบายและแผนกิจการอวกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศต้องดำเนินการตามหน้าที่ และอำนาจของตนให้สอดคล้องกับนโยบายและแผนดังกล่าว ? กำหนดนโยบายและแผนดังกล่าวประกอบด้วยเป้าหมายและแนวทางในเรื่องที่เกี่ยวกับการดำเนินกิจการอวกาศให้เกิดประโยชน์ในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การบริหารจัดการเชิงพื้นที่ และด้านอื่น อันเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ และการพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของชาติอย่างยั่งยืน การส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการดำเนินกิจการอวกาศของประเทศ และส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ 4. คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ ? กำหนดให้มี ?คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติ? ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ โดยมีหน้าที่และอำนาจที่สำคัญในการจัดทำนโยบายและ แผนกิจการอวกาศเสนอต่อคณะรัฐมนตรี การประเมินผลการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศ การแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติ และการกำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการของสำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติและผู้อำนวยการฯ ? กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ วาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และเหตุแห่งการพ้นจากตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และการประชุมของคณะกรรมการฯ 5. องค์กรด้านอวกาศ ? กำหนดให้มีสำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติเป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ หรือกฎหมายอื่น และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการฯ โดยมีวัตถุประสงค์ในการกำกับ ควบคุม ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนากิจการอวกาศ ทั้งในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ การรักษาสิ่งแวดล้อม การศึกษา และด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการอวกาศให้เป็นไปตามกฎหมายและนโยบายและแผนกิจการอวกาศ ? กำหนดให้สำนักงานมีรายได้และทรัพย์สิน ได้แก่ ทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้เงินอุดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้ตามความเหมาะสม เงินและทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้สำนักงาน ค่าธรรมเนียมค่าบำรุง ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือรายได้อันได้มาจากการดำเนินงานของสำนักงาน และดอกผลและผลประโยชน์หรือรายได้อื่นที่เกิดจากการดำเนินการของสำนักงาน ? กำหนดให้มีผู้อำนวยการคนหนึ่งทำหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานฯ และ มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปีนับแต่วันที่ได้รับแต่งตั้งและกำหนดเหตุพ้นจากตำแหน่งของผู้อำนวยการฯ นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระ ? กำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลการดำเนินงานโดยทั่วไป ซึ่งกิจการของสำนักงานตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อการนี้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจเรียกผู้อำนวยการมาชี้แจงข้อเท็จจริงแสดงความคิดเห็นหรือทำรายงานเสนอ และมีอำนาจสั่งยับยั้งปรับปรุงหรือแก้ไขการกระทำของสำนักงานที่เห็นว่าขัดต่อกฎหมาย หรือนโยบายที่คณะรัฐมนตรีแถลงไว้ต่อรัฐสภา รวมทั้งนโยบายและแผนกิจการอวกาศ 6. กิจการอวกาศ ? กำหนดให้การดำเนินกิจกรรมอวกาศต้องได้รับใบอนุญาตตามวิธีการจากผู้อำนวยการตามที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติกำหนดหลักเกณฑ์ ยกเว้นเป็นการดำเนินกิจกรรมอวกาศที่ประเทศอื่นได้ทำความตกลงกับประเทศไทย และได้รับการอนุญาตหรือได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินกิจกรรมอวกาศโดยประเทศนั้นหรือเป็นการดำเนินกิจกรรมอวกาศที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตตามที่คณะกรรมการฯ ประกาศกำหนดตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติให้ความเห็นชอบ ? กำหนดให้สำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติทำหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางของประเทศในการจัดให้มีระบบทะเบียนวัตถุอวกาศของประเทศ และทำหน้าที่รับจดทะเบียนวัตถุอวกาศตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งทำหน้าที่แจ้งผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการจดทะเบียนวัตถุ ? กำหนดให้ผู้อำนวยการฯ กำหนดมาตรการส่งเสริมและช่วยเหลือการประกอบกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศแก่ผู้ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศ เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนาการลงทุนด้านอวกาศของประเทศ 7. การดำเนินการของรัฐเกี่ยวกับกิจการอวกาศ ? ความรับผิดในทางระหว่างประเทศและสิทธิไล่เบี้ยของรัฐ ? อุบัติเหตุและอุบัติการณ์การช่วยเหลือนักอวกาศและการส่งคืนวัตถุอวกาศ ? กำหนดให้รัฐบาลไทยต้องรับผิดในทางระหว่างประเทศจากความเสียหายใด ๆ ต่อชีวิตร่างกายและทรัพย์สินของบุคคลที่สามอันเป็นผลมาจากการดำเนินกิจกรรมอวกาศ วัตถุอวกาศหรือการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะได้รับใบอนุญาตได้รับการจดทะเบียนหรือได้รับอนุญาตหรือไม่ก็ตาม เมื่อรัฐบาลได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บุคคลที่สามแล้ว ให้รัฐบาลมีสิทธิไล่เบี้ยจากผู้ที่ก่อให้เกิดความเสียหายนั้น ? กำหนดหน้าที่ของผู้รับใบอนุญาตดำเนินกิจกรรมอวกาศมีหน้าที่แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ต่อผู้อำนวยการฯ ในกรณีที่มีอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ที่เกิดจากกิจกรรมการอวกาศที่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ ? ให้ผู้อำนวยการ ฯ แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งหรือหลายคณะเพื่อดำเนินการสอบสวนอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมอวกาศ 8. พนักงานเจ้าหน้าที่ ? กำหนดหน้าที่และอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ ในการเข้าไปในอาคารหรือสถานประกอบการของผู้รับใบอนุญาตในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก หรือในเวลาทำการของสถานที่นั้นเพื่อตรวจสอบกิจการสมุดบัญชีเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการกระทำใดของผู้รับใบอนุญาตที่อาจเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือเงื่อนไขที่กำหนดในใบอนุญาต เพื่อตรวจสอบและรวบรวมข้อเท็จจริงรายงานต่อผู้อำนวยการฯ ตลอดจนมีอำนาจออกหนังสือเรียกบุคคลใดมาให้ถ้อยคำหรือให้ส่งเอกสารหรือวัตถุใดมาเพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ 9. บทกำหนดโทษ ? กำหนดให้ผู้ใดที่ดำเนินกิจกรรมอวกาศโดยไม่มีใบอนุญาต หรือส่งวัตถุอวกาศโดยไม่ได้จดทะเบียน หรือดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศโดยไม่มีใบอนุญาต ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท ถึง 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ? กำหนดให้ผู้ที่ไม่แจ้งการดำเนินกิจกรรมอวกาศต่อผู้อำนวยการ หรือผู้ดำเนินกิจกรรมอวกาศไม่ปฏิบัติตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด หรือผู้ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอวกาศไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ผู้อำนวยการประกาศกำหนด ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 10,000 บาท ถึง 100,000 บาท ในกรณีที่เป็นความผิดต่อเนื่องกันให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง ? กำหนดให้ผู้ขัดขวางการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการตามหน้าที่ในพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 10. บทเฉพาะกาล ? กำหนดให้ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการนโยบายอวกาศแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ให้คณะกรรมการฯ ประกอบด้วยกรรมการตามมาตรา 8 (1) (2) (3) และวรรคสอง เพื่อปฏิบัติหน้าที่เท่าที่จำเป็นไปพลางก่อน แต่ไม่เกิน 90 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ? กำหนดในระหว่างที่ยังไม่มีผู้อำนวยการสำนักงานกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติตามพระราชบัญญัตินี้ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ที่เห็นสมควรเพื่อปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการฯ ตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการชั่วคราว จนกว่าจะมีผู้อำนวยการฯ ตามพระราชบัญญัตินี้แต่ไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ? กำหนดให้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของสำนักงานนโยบายและกำกับกิจการอวกาศแห่งชาติในวาระเริ่มแรก ให้คณะรัฐมนตรีจัดสรรทุนประเดิมให้แก่สำนักงานฯ ตามความจำเป็น และให้นายกรัฐมนตรีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ข้าราชการ พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นใดในหน่วยงานของรัฐมาปฏิบัติงานเป็นพนักงานของสำนักงานฯ เป็นการชั่วคราวภายในระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน - บ้านแพ้ว พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ คค. เสนอ เป็นการกำหนดให้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน ? บ้านแพ้ว เป็นทางหลวงที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวง ซึ่งการดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษสายดังกล่าวเป็นการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ลักษณะทางหลวงที่สมควรจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามมติคณะรัฐมนตรี (9 พฤศจิกายน 2536) โดย คค. แจ้งว่า ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 ที่มีขอบเขตเพียงช่วงบางขุนเทียน ? บ้านแพ้ว โดยเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (9 กุมภาพันธ์ 2564) ซึ่งอนุมัติให้กรมทางหลวงดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 82 สายบางขุนเทียน ? บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย - บ้านแพ้ว โดยส่วนของงานโยธา ให้ใช้จ่ายจากเงินทุนค่าธรรมเนียมผ่านทาง จึงจำเป็นต้องกำหนดให้ทางหลวงพิเศษสายดังกล่าว เป็นทางหลวงที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวง และกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมผ่านทางบนทางหลวงพิเศษสายดังกล่าว ตามพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สำหรับการดำเนินโครงการทางหลวงสายพิเศษดังกล่าวได้มีการกำหนดจุดเข้า - ออก จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ (1) จุดเชื่อมต่อบางขุนเทียน บริเวณ กม. 11+959.904 (ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อกับโครงการทางพิเศษสายพระราม 3 ? ดาวคะนอง ? วงแหวนรอบนอก กรุงเทพมหานครด้านตะวันตกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย) (2) ด่านพันท้ายนรสิงห์ บริเวณ กม. 16-125.000 (3) ด่านมหาชัย 1 บริเวณ กม. 20+031.000 (4) ด่านมหาชัย 2 บริเวณ กม. 25+125.000 (5) ด่านสมุทรสาคร 1 บริเวณ กม. 27+060.000 (6) ด่านสมุทรสาคร 2 บริเวณ กม. 29+600.000 (7) ด่านบ้านแพ้ว บริเวณ กม. 36+500.000 สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง กำหนดให้ทางหลวงพิเศษหมายเลข 82 สายทางยกระดับบางขุนเทียน ? บ้านแพ้ว เป็นทางหลวงที่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวง โดยกำหนดให้เก็บค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์ตามประเภทของยานยนตร์และตามอัตราในบัญชีท้ายกฎกระทรวง ทั้งนี้ นับแต่วันที่อธิบดีกรมทางหลวงประกาศกำหนดเป็นต้นไป และให้มีการปรับอัตราค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นทุก 5 ปี 8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการลุ่มน้ำ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการลุ่มน้ำ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงการได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการลุ่มน้ำ พ.ศ. 2564 โดยกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการลุ่มน้ำ 1. กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แก้ไขเพิ่มเติมให้กรณีมีความจำเป็น หากลุ่มน้ำใดไม่มีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือมีแต่ไม่ประสงค์จะเข้ารับการคัดเลือกกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น สามารถแสดงความประสงค์จะเข้ารับการคัดเลือกกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในส่วนที่ขาดไปและมีสิทธิได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ด้วย รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด สามารถได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้มากกว่า 1 ลุ่มน้ำ ทั้งนี้ เพื่อให้มีกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตลุ่มน้ำนั้นครบองค์ประกอบของมาตรา 27 (2) แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 2. กำหนดบทเฉพาะกาล 2.1 ในวาระเริ่มแรก ระหว่างที่ยังไม่มีผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกจังหวัดครบทุกประเภทในเขตลุ่มน้ำ ให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดละหนึ่งคนเท่าที่มีอยู่ในเขตลุ่มน้ำในขณะนั้น มีสิทธิได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเป็นกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจนกว่าจะพ้นจากการเป็นผู้บริหารท้องถิ่น 2.2 ในวาระเริ่มแรก ให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิคณะหนึ่งในแต่ละเขตลุ่มน้ำ 9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ สธ. รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า เนื่องจากมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 [Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)] ระลอกใหม่ ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2563 เป็นต้นมา ซึ่งมีการตรวจพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการยกระดับมาตรการต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อป้องกันมิให้เกิดการระบาดลุกลามเป็นวงกว้างต่อไป รวมทั้งมีการประกาศปิดสถานที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งรวมถึงสถานประกอบกิจการเพื่อสุขภาพตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 ส่งผลให้ผู้ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพยังคงได้รับผลกระทบและมีรายได้ลดลง คณะกรรมการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ในการประชุมครั้งที่ 42 ? 13/2563 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2563 และครั้งที่ 43 ? 1/2564 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะเป็นการขยายเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีแก่ผู้ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการสปาและกิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม ออกไปอีก 1 ปี และเพิ่มเติมให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการประเภทการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงเป็นระยะเวลา 2 ปี ตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่ผู้ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ จึงเห็นควรยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับการประกอบกิจการสปา ปีละ 1,000 บาท และกิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม ปีละ 500 บาท และกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงโดยมีการพักค้างคืนปีละ 1,000 บาท สธ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 ซึ่งบัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมไม่เกินอัตราท้ายพระราชบัญญัติ ลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ สธ. ได้จัดทำประมาณการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยรายงานว่ากิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี ณ วันที่ 30 มีนาคม 2564 มีประเภทกิจการสปา จำนวน 905 แห่ง กิจการนวดเพื่อสุขภาพและเพื่อเสริมความงาม จำนวน 10,934 แห่ง และกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิงโดยมีการพักค้างคืน จำนวน 138 แห่ง ดังนั้น ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีดังกล่าว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,640,000 บาท แต่อย่างไรก็ตาม การยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือเยียวยาและลดภาระและบรรเทาผลกระทบให้แก่ผู้ประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจต่อไป สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีแก่ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการการดูแลผู้สูงอายุหรือผู้มีภาวะพึ่งพิง ปีละ 1,000 บาท เป็นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่ร่างกฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ 2. กำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพรายปีแก่ผู้รับอนุญาตประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพประเภทกิจการสปา และกิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม โดยกิจการสปา ปีละ 1,000 บาท และกิจการนวดเพื่อสุขภาพหรือเพื่อเสริมความงาม ปีละ 500 บาท ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2565 ถึงวันที่ 17 มีนาคม 2566 เศรษฐกิจ สังคม 10. เรื่อง ขออนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้ และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่อง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ในวงเงินสินเชื่อรวม 1,800 ล้านบาท กรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินโดรงการ จำนวน 273.85 ล้านบาท โดยเป็นค่าชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 270 ล้านบาท สำหรับผู้กู้รายบุคคล ในอัตราดอกเบี้ย MRR ต่อปี (ปัจจุบัน MRR เท่ากับ ร้อยละ 6.50 ต่อปี) โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตรา MRR - 3 (หรือปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 3.5 ต่อปี) และผู้กู้ที่เป็นนิติบุคคล ในอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี) โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตรา MLR - 3 (หรือปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 1.875 ต่อปี) โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี นับแต่วันกู้ เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยให้ ธ.ก.ส. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ตามขั้นตอนต่อไป สำหรับค่าดำเนินการโครงการเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการชี้แจง ประชาสัมพันธ์โครงการ และติดตามโครงการ จำนวน 3.85 ล้านบาท นั้น เห็นสมควรให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงพิจารณาหรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวทำให้รัฐต้องชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐ ตามนัยมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จึงเห็นสมควรให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง อย่างไรก็ดี เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณและเกิดผลสัมฤทธิ์ รวมทั้งประโยชน์ที่ภาครัฐ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องจะได้รับอย่างยั่งยืน เห็นสมควรให้กระทวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติ ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วน รวมถึงกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอรับการสนับสนุนสินเชื่อ โดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างครอบคลุมและเป็นธรรม และตรวจสอบรายละเอียดคุณสมบัติเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องในการขอสินเชื่อให้เป็นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงความเสี่ยงและความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ มีความโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน ตลอดจนมีการประเมินผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการเป็นรายปี เพื่อให้มีข้อมูลในการบริหารงานอย่างถูกต้องครบถ้วน สำหรับประกอบการกำหนดนโยบายของภาครัฐที่เหมาะสมและยั่งยืนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ สาระสำคัญของเรื่อง กษ. รายงานว่า 1. ปัจจุบันในประเทศไทยมีจระเข้ที่อยู่ในระบบการเพาะเลี้ยงทั้งสิ้น 1,319,395 ตัว โดยการเลี้ยงใช้ระยะเวลาประมาณ 3 ปี จึงจะนำออกจำหน่าย ซึ่งมีต้นทุนการเลี้ยงประมาณ 3,500 บาทต่อตัว อย่างไรก็ตาม ยังคงมีข้อจำกัดเรื่องการส่งออกจระเข้และผลิตภัณฑ์จากจระเข้1 ทำให้ต้องเน้นดำเนินการภายในประเทศเป็นสำคัญ และ มีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางมาประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมาเนื่องจากสถานการณ์ของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติไม่สามารถเดินทางมาประเทศไทยได้ ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงจระเข้จึงไม่สามารถประกอบอาชีพและทำธุรกิจได้ตามปกติและต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงจระเข้ต่อไป เป็นเหตุให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาเรื่องขาดสภาพคล่องทางการเงินและขาดเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ 2. กษ.(กรมประมง) ได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงจระเข้โดยการสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ครอบครองจระเข้ ผู้เพาะพันธุ์จระเข้ ผู้ประกอบการค้าจระเข้มีชีวิต และผู้ประกอบการค้าซาก/ผลิตภัณฑ์2 ในวงเงินสินเชื่อ 8,660 ล้านบาท โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี นับแต่วันกู้เป็นระยะเวลา 5 ปี เป็นจำนวนเงิน 1,299 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายในการประชุมชี้แจง ประชาสัมพันธ์โครงการ และติดตามโครงการ เป็นจำนวนเงิน 3.85 ล้านบาท (ตามหนังสือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ กษ. 0515.5/4018 ลงวันที่ 30 กันยายน 2563) อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ส่งเรื่องคืน กษ. เพื่อพิจารณาทบทวนแนวทางในการช่วยเหลือผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงจระเข้ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) โดยให้รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมทั้งข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง (กค.) และ สงป. ไปประกอบการพิจารณาก่อนดำเนินการต่อไป 3. ในครั้งนี้ กษ. (กรมประมง) จึงได้นำเสนอโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกร ผู้เพาะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง โดยปรับแก้สาระสำคัญตามความเห็นของส่วนราชการดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสภาพคล่อง ลดภาระค่าใช้จ่าย และสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้ และผู้ประกอบธุรกิจต่อเนื่อง (ผู้ประกอบการแปรรูปจระเข้) เป้าหมาย/ วงเงินสินเชื่อ วงเงินสินเชื่อของ ธ.ก.ส. จำนวน 1,800 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้ ประเภท จำนวนจระเข้* (ตัว) ราคาจระเข้ (บาทต่อตัว) วงเงินสินเชื่อ (ล้านบาท) เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงจระเข้ ได้แก่ ค่าอาหาร 600,000 1,000 600 ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแปรรูปจระเข้ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเชือด การฟอกหนัง และการเก็บรักษาซากจระเข้ 600,000 2,000 1,200 รวม 1,200,000 - 1,800 *หมายเหตุ : จระเข้ทั่วประเทศที่มีอายุและขนาดถึงเกณฑ์ที่จะขายและแปรรูปได้ ระยะเวลา ดำเนินการ - ระยะเวลาโครงการ 6 ปี นับจากวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการ (ปี 2565 - 2570) - ระยะเวลาการยื่นความประสงค์เข้าร่วมโครงการภายใน 6 เดือน หรือจนกว่าวงเงินสินเชื่อจะหมด - กำหนดชำระคืนเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายใน 5 ปี นับแต่วันกู้ งบประมาณ จากรัฐบาล - กรอบวงเงินค่าใช้จ่าย จำนวน 273.85 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี นับแต่วันกู้ เป็นระยะเวลา 5 ปี จากวงเงินสินเชื่อ 1,800 ล้านบาท เป็นจำนวนเงิน 270 ล้านบาท (ให้ ธ.ก.ส. ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 และในปีถัด ๆ ไป ตามที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินการโครงการ) 2) ค่าดำเนินการเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการประชุมชี้แจง ประชาสัมพันธ์โครงการ และติดตามโครงการ เป็นจำนวนเงิน 3.85 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของ กรมประมง รายละเอียด ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท ประเภท ค่าใช้จ่ายรายปี รวม 2565 2566 2567 2568 2569 2570 ค่าชดเชย ดอกเบี้ย - 54 54 54 54 54 270 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการ ของกรม ประมง 3.85 - - - - - 3.85 รวม 3.85 54 54 54 54 54 273.85 ประเภทสินเชื่อ - เงินกู้ระยะสั้น ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน หรืออื่น ๆ ตามที่ ธ.ก.ส. กำหนด เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน ในการประกอบอาชีพ - เงินกู้ระยะยาวเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข ในการขอรับการสนับสนุน สินเชื่อ ให้ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงจระเข้ที่ประสงค์ขอรับการสนับสนุนสินเชื่อ ติดต่อขอสินเชื่อกับ ธ.ก.ส. โดยพิจารณาจากแบบการขออนุญาตที่แจ้งไว้กับกรมประมง กรณีผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตมากกว่า 1 ประเภท ให้สามารถขอรับการสนับสนุนสินเชื่อจากธนาคารได้เพียง 1 ประเภท โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้ หลักเกณฑ์/ เงื่อนไข รายละเอียด เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้ ผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่อง คุณสมบัติ (1) เป็นบุคคลธรรมดาอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ มีสัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตามกฎหมายไทย (2) เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้ครอบครอง/ค้า/เพาะพันธุ์ตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 (3) เป็นผู้ประกอบกิจการที่มีประสบการณ์ในการประกอบอาชีพมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี อัตราดอกเบี้ย (1) ผู้กู้รายบุคคล ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ย MRR ต่อปี (2) ผู้กู้ที่เป็นนิติบุคคล ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี ระยะชำระ คืนเงินกู้เวลา ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันกู้ หลักประกัน การกู้เงิน ให้ใช้อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ดังนี้ (1) ที่ดิน ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่มีหนังสือแสดงเอกสารสิทธิสามารถจดทะเบียนจำนองได้ หรืออาคารชุด (2) บุคคลค้ำประกัน (3) หลักประกันอื่น ๆ ตามที่ ธ.ก.ส. กำหนด (4) กรณีมีบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)3 ค้ำประกัน : บสย. ควรพิจารณาคุณสมบัติของผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงจระเข้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการค้ำประกันสินเชื่อ และ วิธีปฏิบัติในการค้ำประกันสินเชื่อ วิธีการดำเนิน งาน/แผนการดำเนินงาน โครงการฯ มีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ กิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ หน่วยงานที่รับผิดชอบ 1. แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการโครงการ และจัดทำหลักเกณฑ์ ภายใน 3 เดือน ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ กรมประมง 2. ประชาสัมพันธ์โครงการ ภายใน 6 เดือน ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ กรมประมง ธ.ก.ส. และสำนักงานประมงจังหวัด ในพื้นที่ 3. ผู้มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการยื่นความประสงค์ที่สำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่ ให้เริ่มยื่นความประสงค์ภายหลังจากกรมประมงมีการประชาสัมพันธ์โครงการภายใน 1 ปี ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีติอนุมัติ สำนักงานประมงจังหวัด ในพื้นที่ 4. พิจารณาสินเชื่อและเข้าสู่กระบวนการกู้ยืม ภายใน 11 เดือน ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการและกรมประมงประชาสัมพันธ์โครงการ ธ.ก.ส. 5. ประชุมและติดตามโครงการ เป็นระยะตลอดระยะเวลาดำเนินการโครงการ คณะกรรมการอำนวยการโครงการ 1จระเข้น้ำจืดและจระเข้น้ำเค็มของไทยเป็นสัตว์ป่าตามบัญชี 1 ท้ายอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora : CITES) ซึ่งห้ามนำมาค้าขายโดยเด็ดขาด ยกเว้นเป็นการค้าเพื่อการศึกษา วิจัย และเพาะพันธุ์ โดยจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศที่จะนำเข้าและได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนกับสำนักเลขาธิการ (CITES แล้วเท่านั้น (ปัจจุบันประเทศไทยมีฟาร์มจระเข้ที่ขึ้นทะเบียนกับ สำนักเลขาธิการ CITES จำนวน 28 ฟาร์ม) 2ณ เดือนตุลาคม 2563 ประเทศไทยมีผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงจระเข้ครอบคลุม 76 จังหวัด จำนวน1,093 ราย ดังนี้ - ผู้เพาะพันธุ์จระเข้ : 31 ราย - ผู้ครอบครองจระเข้น้อยกว่า 500 ตัว : 643 ราย - ผู้ค้าจระเข้มีชีวิต : 293 ราย - ผู้ครอบครองจระเข้ 500 - 1000 ตัว : 39 ราย - ผู้ค้าซาก/ผลิตภัณฑ์จระเข้ : 55 ราย - ผู้ครอบครองจระเข้มากกว่า 1000 ตัว : 36 ราย 3บสย. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง ทำหน้าที่ค้ำประกันสินเชื่อให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ที่ไม่มีหลักทรัพย์ หรือมีหลักทรัพย์ค้ำประกันไม่เพียงพอในการขอสินเชื่อจากธนาคาร ทั้งนี้ สำหรับผู้ประกอบการที่มีทรัพย์สินถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท 11. เรื่อง การร่วมทุนในบริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เข้าร่วมลงทุนในบริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด และให้ กฟผ. ลงนามสัญญาและเอกสารที่เกี่ยวข้องเมื่อผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว และให้รับความเห็นหน่วยงานไปพิจารณาดำเนินการ สาระสำคัญของเรื่อง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ประสงค์จะเข้าร่วมลงทุนในบริษัท อินโนสเปซ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งทำการลงทุนในธุรกิจ Startup ในอุตสาหกรรมที่หลากหลายตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงเทคโนโลยีด้านพลังงาน (EnergyTech) โดยมีมูลค่าการลงทุนของ กฟผ. จำนวน 100 ล้านบาท ระยะเวลาลงทุน 6 ปี การร่วมลงทุนดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึกให้แก่ กฟผ. บริษัทในเครือ และบริษัทนวัตกรรมของ กฟผ. ซึ่งเข้าข่ายกิจการที่ กฟผ. มีอำนาจกระทำการได้ตามนัยมาตรา 6 (2 ทวิ) และมาตรา 9 (9) แห่งพระราชบัญญัติการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และโดยที่มาตรา 43 (1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ กฟผ. จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนจึงจะดำเนินกิจการลงทุนเพื่อขยายโครงการเดิมหรือริเริ่มโครงการใหม่ จึงต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการร่วมลงทุนดังกล่าว ในส่วนของงบประมาณดำเนินโครงการนั้น สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้อนุมัติงบประมาณและอนุมัติแผนร่วมทุนฯ เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 วงเงินลงทุนรวม 100 ล้านบาท โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีวงเงินดำเนินการ จำนวน 100 ล้านบาท และวงเงินเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 25 ล้านบาท ดังนั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติการร่วมลงทุนฯ แล้ว กฟผ. สามารถดำเนินการในขั้นตอนต่อไปได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบในส่วนของงบประมาณอีก รายงานโครงการร่วมลงทุนของ กฟผ. มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย การลงทุน ให้การสนับสนุนโครงการวิจัย/Startup ในระยะ 6 ปี เพื่อส่งเสริม พัฒนา และลงทุนในธุรกิจ Startup ที่มีศักยภาพด้านเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Technology) ในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ได้แก่ (1) BioTech, AgriTech และ FoodTech (2) MediTech และ HealthTech และ (3) Enabler Technology เช่น EnergyTech, FinTech, InsurTech, Logistic, Robotic, IndusTech และ TravelTech เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และสร้างผลตอบแทนการลงทุนกลับมาเป็น Source of Fund นอกจากนี้ ยังช่วยพัฒนาระบบนิเวศด้านนวัตกรรม (Innovation Ecosystem) ของประเทศ เชื่อมโยงกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเติมเต็มช่องว่าง Innovation Ecosystem ที่ประเทศไทยยังขาดอยู่ เช่น (1) Big Data (2) กองทุนเพื่อการพัฒนา Startup (3) การขยายธุรกิจ Startup ให้ถึงระดับ Unicorn1 เป็นต้น สัดส่วนการร่วมทุน ? กฟผ. จะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท อินโนสเปซฯ เป็นจำนวนเงิน 100 ล้านบาท คิดเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1 แสนหุ้น (มูลค่าหุ้นที่ตราไว้ หุ้นละ 1,000 บาท) โดยจะชำระเงินลงทุนงวดแรกร้อยละ 25 เป็นจำนวน 25 ล้านบาท ในส่วนของการชำระงวดถัดไป จะเบิกจ่ายงบประมาณลงทุนตามการเรียกชำระของบริษัทอินโนสเปซฯ ? ภายหลังการร่วมลงทุนของ กฟผ. จะทำให้บริษัท อินโนสเปซฯ มีทุนจดทะเบียนบริษัททั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 735.009 ล้านบาท ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว จำนวน 183.752 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 25) และจะทำให้ กฟผ. มีสัดส่วนการถือหุ้น ร้อยละ 13.605 ผลตอบแทน และการจ่ายเงินปันผล คาดว่า ในระยะเวลาลงทุน 6 ปี มีความน่าจะเป็นที่จะเกิด Unicorn Startup ตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป และจะสามารถสร้างผลตอบแทนจากการขายให้บริษัท อินโนสเปซฯ ในปีที่ 4 จำนวน 33.6 ล้านบาท/ ปีที่ 5 จำนวน 66 ล้านบาท/ และปีที่ 6 จำนวน 198 ล้านบาท อย่างไรก็ดี บริษัท อินโนสเปซฯ มีนโยบายไม่จ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น แต่จะนำผลตอบแทนที่ได้มาบริหารจัดการเพื่อสร้างและพัฒนา Startup ต่อไป สิทธิ์ในการส่ง กรรมการผู้แทน กรรมการในคณะกรรมการการลงทุน 1 ราย และกรรมการบริษัท 1 ราย สิทธิ์ในการลงทุน/ ร่วมทุน ? ได้รับสิทธิในการลงทุนใน Startup ที่ประสบความสำเร็จก่อน (First Right) ? สามารถลงทุน/ร่วมลงทุนในธุรกิจประเภทเดียวกันอื่น ๆ ได้ ? สามารถลงทุน/ร่วมลงทุนใน Startup ซึ่งบริษัท อินโนสเปซฯ เข้าลงทุน/ร่วมลงทุนได้ ? สามารถพัฒนาธุรกิจประเภทเดียวกันกับ Startup ได้ ประโยชน์ต่อ กฟผ. ? กฟผ. และบริษัทในเครือมีโอกาสนำผลงานวิจัยของบริษัทอินโนสเปซฯ มาพัฒนาต่อยอดเป็นธุรกิจพาณิชย์ที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศและองค์กร โดยลดการพึ่งพานวัตกรรมจากต่างประเทศ ? เสริมสร้าง Value Creation แก่บริษัทนวัตกรรมของ กฟผ. ที่จะก่อตั้งขึ้นในอนาคตในด้านการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเชิงลึกที่ตอบโจทย์ธุรกิจ และเร่งการเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ? สร้างพลังร่วม (Synergy) และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านนวัตกรรมกับพันธมิตร ทั้งในและนอกประเทศของบริษัท อินโนสเปซฯ เพื่อให้การพัฒนานวัตกรรมมีประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น 1Unicorn Startup คือ ธุรกิจ Startup ที่มีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เช่น Flash Group ผู้ให้บริการ e ? commerce แบบครบวงจร เช่น บริการขนส่ง Flash Express ซึ่งเป็น Unicorn Startup รายแรกของไทย 12. เรื่อง โครงการทุนศึกษาต่อในประเทศของบุคลากรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สถาบันเทคโนโลยี แห่งเอเชีย ระยะที่ 5 (ปี 2566 - 2570) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการทุนศึกษาต่อในประเทศของบุคลากรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ระยะที่ 5 (ปีงบประมาณ 2566 - 2570) จำนวน 50 ทุน (ทุนระดับปริญญาโท จำนวน 25 ทุน และทุนระดับปริญญาเอก จำนวน 25 ทุน) โดยอนุมัติวงเงินงบประมาณ จำนวน 59.05 ล้านบาท และผูกพันงบประมาณผู้รับทุนต่อเนื่องถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2574 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง กษ. รายงานว่า 1. กษ. ได้จัดทำโครงการทุนศึกษาต่อในประเทศของบุคลากร กษ. ณ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย เพื่อสนับสนุนบุคลากรของ กษ. ทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านวิจัยให้ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถ เพื่อให้มีการศึกษาวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ ๆ ในการผลิตและการพัฒนาสินค้าเกษตร รวมทั้งจากการประเมินผลการดำเนินการจัดสรรทุนภายใต้โครงการที่ผ่านมาได้ระบุถึงความต้องการให้มีการดำเนินการจัดสรรทุนศึกษาอย่างต่อเนื่อง 2. กษ. ได้ดำเนินโครงการทุนศึกษาต่อฯ ระยะที่ 1 - 3 แล้วเสร็จ และปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการโครงการฯ ระยะที่ 4 (ปี 2561 - 2565) ซึ่งได้รับงบประมาณในการจัดสรรทุน รวมจำนวนทั้งสิ้น 133 ทุน คิดเป็นร้อยละ 66.5 ของจำนวนทุนที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 กรกฎาคม 2546 วันที่ 27 พฤศจิกายน 2550 วันที่ 10 เมษายน 2555 และวันที่ 3 กรกฎาคม 2561) จำนวน 200 ทุน แบ่งเป็น ทุนระดับปริญญาโท 100 ทุน และทุนระดับปริญญาเอก 100 ทุน โดยมีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ ผลการดำเนินการรวม 4 ระยะ (จำนวนทุน) ทุนระดับปริญญาโท ทุนระดับปริญญาเอก รวม 1. คณะรัฐมนตรีอนุมัติ 100 100 200 2. ได้รับการจัดสรร 63 70 133 3. ผู้รับทุนสำเร็จการศึกษา 58 48 106 4. ผู้รับทุนอยู่ระหว่างการศึกษา 4 16 20 5. ผู้รับทุนยกเลิกการศึกษา 1 6 7 สำหรับการติดตามผลของผู้รับทุนซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาทุกภาคการศึกษา และการประเมินติดตามผลเมื่อโครงการแล้วเสร็จ สามารถสรุปผลการพัฒนาได้ ดังนี้ 2.1 ด้านองค์ความรู้ การเรียนการสอนของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียช่วยพัฒนาความรู้ทางวิชาการ ทักษะการวิจัย ช่วยให้ผู้รับทุนนำมาใช้ในการปฏิบัติงานตามภารกิจและสาขาที่ได้รับทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรได้เป็นอย่างดี 2.2 ด้านทักษะภาษาอังกฤษ ผู้รับทุนมีพัฒนาการและสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่าง มีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นภาษาที่ใช้ในการศึกษา 2.3 ด้านมุมมอง ความคิด วิสัยทัศน์ ผู้รับทุนได้เปิดมุมมองให้กว้างไกลยิ่งขึ้น สร้างกระบวนการคิดที่เป็นระบบ และวางแผนการทำงานได้เป็นอย่างดี โดยการได้รับโอกาสศึกษาเพิ่มเติม เป็นแรงจูงใจเสริมเชิงบวกต่อข้าราชการผู้รับทุนด้านการสร้างคุณค่า การพัฒนาตนเอง การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ เพื่อพัฒนาตนเองและหน่วยงาน 3. กษ. ได้ทบทวนผลการดำเนินโครงการทุนศึกษาต่อฯ ที่ผ่านมา โดยพบว่า กษ. มีอัตรากำลังประเภทวิชาการ จำนวน 20,923 คน เป็นนักวิชาการในสายงานหลักที่ปฏิบัติงานวิจัย จำนวน 3,640 คน ซึ่งกำลังจะขาดแคลนเนื่องจากการเกษียณอายุราชการและต้องการทดแทนภายในปี 2574 จำนวน 840 คน คิดเป็นร้อยละ 23.07 (ข้อมูลจากการสำรวจ ณ วันที่ 20 มกราคม 2564) จึงเห็นควรจัดทำโครงการทุนการศึกษาต่อฯ ระยะที่ 5 (ปี 2566 - 2570) กรอบวงเงิน 59.05 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด วัตถุประสงค์โครงการ - เพื่อยกระดับการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการเกษตร การวิจัย และนวัตกรรมด้านการเกษตร - เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร กษ. ให้มีความรู้ด้านภาษา ความรู้ด้านเทคโนโลยี และความรู้ในการดำเนินธุรกิจ Supply Chain ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้ด้านการวิจัยและพัฒนาในสาขาวิชาหรือหลักสูตรที่สนับสนุนภารกิจหลักของ กษ. หรือองค์ความรู้ใหม่ - เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนาทดแทนอัตรากำลังที่จะมี การเกษียณอายุราชการหรือเกษียณอายุราชการก่อนกำหนดตามยุทธศาสตร์การปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ เป้าหมายโครงการ - ข้าราชการในสังกัด กษ. ได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อภารกิจขององค์กร และสามารถใช้ทักษะภาษาอังกฤษเชิงวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ จำนวน 50 คน ภายในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) แบ่งเป็น ทุนระดับปริญญาโท จำนวน 25 คน และระดับปริญญาเอก จำนวน 25 คน (เปิดรับสมัคร ปีละ 10 คน) - มีผลงานวิจัยและเทคโนโลยีทางการเกษตร รวมถึงระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สามารถแก้ไขปัญหาภาคเกษตรได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลผลิต สาขาวิชา (ซึ่งสอดคล้องกับ ความต้องการของ กษ.) 1 . School of Engineering and Technology (SET) เป็นภาควิชาที่มีการเรียนการสอนในด้านวิศวกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงสาขาวิชา เช่น Computer Science, Information Management, Remote Sensing and Geographic Information Systems, Information and Communications Technologies, Water Engineering Management, Geotechnical and Earth Resources Engineering ซึ่งในสาขาวิชาที่เกี่ยวกับด้านคอมพิวเตอร์จะมีการเรียนเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis) เป็นวิชาพื้นฐาน 2. School of Environment, Resources and Development (SERD) เป็นภาควิชาที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการจัดการธุรกิจการเกษตร เช่น Agri-business Management, Aquaculture and Aquatic Resources Management, Natural Resources Management, Regional and Rural Development Planning 3. School of Management (SOM) เป็นภาควิชาที่มีการสอนด้านการบริหารธุรกิจ เช่น Finance, Human Resources, International Public Management, Marketing การชดใช้ทุน ผู้ได้รับทุนจะต้องกลับมาปฏิบัติราชการในส่วนราชการสังกัด กษ. เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของระยะเวลาที่ได้รับทุน กรณีผู้ได้รับทุนไม่กลับมาปฏิบัติราชการเพื่อชดใช้ทุนตามสัญญาที่ได้ให้ไว้ต่อ กษ. ผู้ได้รับทุน จะต้องชดใช้เงินทุนที่ กษ. ได้จ่ายไปแล้ว และจะต้องชดใช้เงินอีก 1 เท่าของเงินทุนดังกล่าวให้เป็นเบี้ยปรับอีกด้วย (สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการให้ข้าราชการพลเรือนสามัญไปศึกษาเพิ่มเติม ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัยในประเทศของสำนักงาน ก.พ.) ระยะเวลาโครงการ โครงการจะเริ่มจัดสรรทุน ปี 2566 - 2570 และผูกพันงบประมาณผู้รับทุนต่อเนื่องต่อไปจนจบการศึกษาตามหลักสูตรในปีงบประมาณ 2574 ค่าใช้จ่ายตลอดการ ศึกษาต่อทุน รวม 59.05 ล้านบาท ทุนระดับปริญญาโท จำนวน 4 ภาคการศึกษา (หากยังไม่สำเร็จการศึกษาในระยะเวลาดังกล่าว สามารถขอขยายเวลาได้อีก 1 ภาคการศึกษา รวม 5 ภาคการศึกษา) จำนวน 901,000 บาท/ทุน วงเงิน 22.525 ล้านบาท ทุนระดับปริญญาเอก จำนวน 7 ภาคการศึกษา (หากยังไม่สำเร็จการศึกษาในระยะเวลาดังกล่าว สามารถขอขยายเวลาได้อีก 2 ภาคการศึกษา รวม 9 ภาคการศึกษา) จำนวน 1,461,000 บาท/ทุน วงเงิน 36.525 ล้านบาท 4. ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา รายละเอียด ดังนี้ ปีงบ ประมาณ ระดับปริญญาโท (ทุน) ระดับปริญญาเอก (ทุน) จำนวนทุนทั้งหมด (ทุน) งบประมาณ (ล้านบาท) ทุนใหม่ ทุนต่อเนื่อง ทุนใหม่ ทุนต่อเนื่อง ทุนใหม่ ทุนต่อเนื่อง 2566 5 - 5 - 10 - 2.77 2567 5 5 5 5 10 10 7.81 2568 5 10 5 10 10 20 10.61 2569 5 10 5 15 10 25 11.21 2570 5 10 5 20 10 30 11.81 2571 - 10 - 20 - 30 9.04 2572 - 5 - 15 - 20 4.00 2573 - - - 10 - 10 1.20 2574 - - - 5 - 5 0.60 รวม 25 - 25 - 50 - 59.05 13. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณา เรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป เรื่องเดิม 1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะมาตรการเชิงนโยบาย ได้แก่ 1) การกำหนดกรอบยุทธศาสตร์และกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิหมุนเวียนในระดับชาติ (CE Grand Strategy and Driven Mechanism) 2) การส่งเสริมผู้ประกอบการภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Transforming Enterprises toward CE) 3) การสร้างตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Market Development) 4) การส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Technology and Innovation Promotion) 5) การสร้างความตระหนักให้สาธารณชนเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Building Awareness of CE) และ 6) การปฏิรูปการบริหารจัดการขยะทั้งระบบ (Restructuring Waste Management System) 2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ อก. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวมแล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ข้อเท็จจริง อก. เสนอว่าได้ดำเนินการพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กค. กษ. ทส. พณ. พน. มท. ศธ. สธ. อว. สศช. สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยพิจารณาข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ตามข้อ 1 แล้วสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ผลการพิจารณาศึกษา 1. การกำหนดกรอบยุทธศาสตร์และกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนในระดับชาติ (CE Grand Strategy and Driven Mechanism) 1.1 การแต่งตั้งคณะกรรมการระดับชาติในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน 1.2 การจัดตั้งสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน ? ในระยะเริ่มต้นอาจพิจารณาใช้กลไกคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และ อว. เป็นฝ่ายเลขานุการและเมื่อมีความพร้อมในการดำเนินงาน จึงนำไปสู่การจัดตั้ง ?คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน? ในระดับชาติเป็นหน่วยงานกลางดำเนินการขับเคลื่อนการพัฒนา CE เป็นการเฉพาะต่อไป ? ปัจจุบัน อว. ได้รับมอบหมายให้เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบริหารฯ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ สาขา CE โดยหากมีการจัดตั้งสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียน ควรยกระดับให้เป็น One-Stop Service ด้าน CE ของประเทศ ให้เหมือนกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ? ตลท. ดำเนินการจัดตั้งโครงการเชิงพื้นที่ Ratchada District : Care the Whale และขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่พันธมิตร เช่น นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร เป็นต้น ? พน. โดย ปตท. กำหนด ?กลยุทธ์ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยยึดหลัก CE? เพื่อบริหารจัดการด้านความยั่งยืน 2. การส่งเสริมผู้ประกอบการภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมเพื่อการปรับเปลี่ยนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Transforming Enterprises toward CE) 2.1 การกำหนดมาตรการหรือกลไกที่เป็นตัวเงิน 2.2 การกำหนดมาตรการหรือกลไกสนับสนุนอื่นที่ไม่เป็นตัวเงิน 2.3 การแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ เพื่อเอื้อต่อการพัฒนา ? ภาครัฐควรมีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการสร้างนวัตกรรม CE Lab ในแต่ละอุตสาหกรรม และบูรณาการหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้ผู้ประกอบการเตรียมความพร้อมสำหรับมาตรการ CE ของต่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมการทำงานร่วมกับภาคสังคม (Social Enterprise) ที่ทำงานด้านสิ่งแวดล้อม และจัดทำระบบ Self-Assessment มาใช้ให้เกิดการพัฒนาธุรกิจ ? การแก้ไขกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคจะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับเปลี่ยนไปสู่ CE ได้อย่างต่อเนื่องและค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ ควรมีการจัดทำระบบการติดตามการปรับเปลี่ยนธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เช่น ปิโตรเคมี วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น ? อก. มีการรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ ผลักดันการออกกฎหมายและกฎระเบียบให้เอื้อต่อการประกอบการ และสนับสนุนเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการตามแนวคิด CE ผ่านกองทุนพัฒนา SMEs ตามแนวประชารัฐ รวมทั้งจัดทำระบบการประเมินประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้หลักการ CE ในองค์กร และพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ? พณ. มีการบังคับใช้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการนำเข้าขยะจากต่างประเทศ รวมทั้งมีการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการรายย่อยและผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อม เช่น โครงการ DEWA/DEWI โครงการ Circular Packaging โครงการ Design Excellence Award (DEMark) เป็นต้น ? สสว. ดำเนินโครงการ SME Regular Level โครงการพันธมิตรสร้างแบรนด์และธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในการแข่งขัน โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ โดยกำหนดกลุ่มธุรกิจที่มีการนำแนวคิด CE ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจเป็นหนึ่งในกลุ่มเป้าหมายหลัก ? พน. โดย ปตท. กำหนด ?แบบฟอร์มประเมินระดับการประยุกต์ใช้หลัก CE? และการจัดทำโครงการตามหลัก CE เช่น การจัดตั้งโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกหมุนเวียนคุณภาพสูงมาตรฐานสากล เป็นต้น 3. การสร้างตลาดเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Market Development) ? ควรส่งเสริมการสร้างผู้ประกอบการใหม่ด้าน CE ผลักดันมาตรการอุดหนุนราคาสินค้าและบริการที่คำนึงถึง CE เสริมสร้างกระบวนการที่สร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าสินค้าหรือบริการที่เลือกใช้นั้น มาจากสินค้าหรือบริการที่คำนึงถึงระบบ CE อย่างแท้จริง ตลอดจนสนับสนุนการเปิดหรือขยายตลาดสินค้าและบริการ CE สู่ต่างประเทศ ? อก. มีการสร้างและพัฒนาแผน/โครงการ การรับรอง จัดทำมาตรฐานระบบการจัดการ CE ในองค์กร การจัดทำโครงการ CE Standard Platform : Thailand ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดทำมาตรฐาน CE สำหรับผลิตภัณฑ์ ? พณ. มีการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการผลิตสินค้าและใช้บรรจุภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติ ? พน. โดย ปตท. มีการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงาน เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ ตามแนวคิด CE การต่อยอดโครงการ Upcycling the Oceans, Thailand เพื่อนำขยะพลาสติกมาผลิตเป็นสินค้าแฟชั่น และการออกประกาศคู่มือเกณฑ์การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4. การส่งเสริมเทคโนโลยีและนวัตกรรมเศรษฐกิจหมุนเวียน (CE Technology and Innovation Promotion) ? ควรดำเนินการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจไปสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยอาศัยองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เช่น สนับสนุนเงินทุนที่มีความคล่องตัว บูรณาการการวิจัยและการพัฒนานวัตกรรม สร้างนวัตกรรมที่เป็น Tokenization ที่คิดมูลค่าความยั่งยืนที่เกิดบน CE เป็นต้น รวมทั้งสนับสนุนให้มีการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนมากยิ่งขึ้น ? อก. มีการส่งเสริมและต่อยอดเทคโนโลยีรีไซเคิลเพื่อเป็นวัตถุดิบทดแทนสำหรับภาคอุตสาหกรรม และส่งเสริมการออกแบบตามหลักการ CE เพื่อการใช้ทรัพยากรแร่และโลหะอย่างยั่งยืน ? พน. ดำเนินการพัฒนาของเสียไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น การนำ Waste Polymer กลับเข้าสู่กระบวนการผลิตสำหรับใช้ในการผลิตกล่องนาฬิกาแบรนด์เนมชั้นนำของโลก การพัฒนาผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก HDPE มาผลิตเป็นทุ่นลอยน้ำสำหรับใช้กับแผงโซลาร์เซลล์ที่ปราศจากสารพิษที่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ? กษ. จัดทำแนวทางการขับเคลื่อน BCG Model ภาคการเกษตรด้วยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการยกระดับผลผลิตเกษตรสู่มาตรฐานสูง ครอบคลุมทั้งด้านคุณภาพ โภชนาการ ความปลอดภัย และระบบการผลิตที่ยั่งยืน รวมทั้งวิเคราะห์การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ตั้งแต่ต้นทาง-กลางทาง-ปลายทาง โดยใช้ฐานข้อมูลภาคการเกษตรกับภาคอุตสาหกรรม 5. การสร้างความตระหนักให้สาธารณชนเห็นความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Building Public Awareness of CE) ? ควรดำเนินการจัดทำหลักสูตรเพิ่มเติมในการศึกษาขั้นพื้นฐานและส่งเสริมให้โรงเรียน/สถาบันการศึกษา/มหาวิทยาลัยเป็นต้นแบบของการขับเคลื่อน CE เพื่อให้เกิด CE Learning ตลอดจนส่งเสริมให้เกิด Awareness ในภาคประชาสังคม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค ? อก. ได้สร้างองค์ความรู้ด้าน Circular Economy ผ่านศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีรีไซเคิล และการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านแร่ โลหะ และรีไซเคิลผ่านช่องทางออนไลน์ (e-Learning) ? พณ. ได้ศึกษาประโยชน์และผลกระทบจากการจัดทำ FTA ในการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับ CE และขอความร่วมมือผู้ประกอบการห้างค้าส่งค้าปลีกสมัยใหม่ลดการใช้วัสดุที่ผลิตจากพลาสติก ถุงพลาสติก และโฟมบรรจุอาหาร ? พน. โดย ปตท. ดำเนินการจัดงานประชุมระดับโลก GC Circular Living Symposium 2020 : Tomorrow Together และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการจัดการขยะให้กับชุมชนเพื่อลดปริมาณขยะในชุมชนและสามารถต่อยอดเป็นอาชีพเสริมสร้างรายได้เพิ่มขึ้น 6. การปฏิรูปการบริหารจัดการขยะทั้งระบบ (Restructuring Waste Management System) ? หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มท. ทส. สธ. และ อปท. เป็นต้น ได้ดำเนินการปรับปรุงการบริหารจัดการขยะ 4 ด้านหลัก ได้แก่ การคัดแยกและขนส่ง การบริหารจัดการ การสร้างความตระหนักของสาธารณชน และการปรับปรุงกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างระบบ CE และนำไปสู่ Zero waste ในกลุ่มจังหวัดนำร่องอย่างเป็นรูปธรรม แล้วจึงขยายผลสู่กลุ่มจังหวัดอื่น ๆ ทั่วประเทศ โดยมีการกำหนดเป้าหมายในการบริหารจัดการขยะหรือของเสียให้เป็นวัตถุดิบรอบสองที่ชัดเจนแนวทางจัดการขยะพลาสติกที่เป็นปัญหาเร่งด่วนของประเทศ ? มท. ได้กำหนดแนวทางการคัดแยกขยะตั้งแต่จุดกำเนิดขยะและการขนส่งขยะที่เหมาะสม โดยจัดทำแผนปฏิบัติการ ?ประเทศไทยไร้ขยะ? และแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน ?จังหวัดสะอาด? บูรณาการการจัดการขยะในระดับประเทศและจังหวัดอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมและผลักดันการแปลงขยะที่ไม่สามารถผ่านกระบวนการ recycling หรือ upcycling ไปเป็นพลังงานทดแทน รวมทั้งปรับปรุงและออกกฎระเบียบในการจัดการมูลฝอย ? อก. มีการพัฒนาระบบติดตามการขนส่งกากอุตสาหกรรมอันตราย และการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ ? ตลท. ได้พัฒนาโครงการ Ratchada District Care the Whale เป็น Climate Care Platform เพื่อให้เกิด CE จาก Waste Management ได้อย่างครบวงจร ? พน. โดย ปตท. ดำเนินการร่วมทุนในการผลิตเม็ดพลาสติกหมุนเวียนคุณภาพสูงมาตรฐานสากล และหาแนวทางนำขยะพลาสติกจากร้านคาเฟ่อเมซอนไปใช้ประโยชน์ผลิตเป็นแก้ว Tumbler Upcycling 14. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานการตรวจสอบที่มีต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน (เรื่อง การเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีในการสมัครงานกับบริษัทเอกชน) คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานการตรวจสอบที่มีต่อข้อเสนอแนะในการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชน (เรื่อง การเลือกปฏิบัติต่อ ผู้ติดเชื้อเอชไอวีในการสมัครงานกับบริษัทเอกชน) ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป เรื่องเดิม 1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนหลายรายในกรณีบริษัทเอกชนให้ผู้สมัครงานซึ่งเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีตรวจสุขภาพและตรวจหาเชื้อเอชไอวีก่อนรับเข้าทำงาน อันอาจเป็นเหตุให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีถูกปฏิเสธการรับเข้าทำงาน แม้ว่าลักษณะงานไม่มีความเสี่ยงที่จะแพร่เชื้อเอชไอวีแต่อย่างใด จึงเป็นกรณีเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีในการสมัครงานกับบริษัทเอกชน 2. กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีดังกล่าวยังไม่มีกฎหมาย กฎเกณฑ์เฉพาะที่มีสภาพบังคับเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโลกแห่งการทำงาน แม้ว่าจะมียุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560 - 2573 แนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงาน ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง แนวทางการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์และวัณโรคในสถานประกอบกิจการ เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2555 การจัดทำมาตรฐานการบริหารจัดการเอดส์ในสถานประกอบกิจการ และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550 (เรื่อง การปรับปรุงมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่อง การให้โอกาสผู้ติดเชื้อเอดส์ คนพิการ และผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดซึ่งพ้นจากสภาพการใช้ยาเสพติด เข้าทำงาน หรือรับการศึกษาต่อในหน่วยงานภาครัฐ) ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการสร้างเสริมความเป็นธรรมในสังคมเรื่องสิทธิ โอกาสและความเสมอภาคแล้วก็ตาม แต่ยัง ไม่ปรากฏผลในทางปฏิบัติในการคุ้มครองสิทธิของผู้ติดเชื้อเอชไอวี เนื่องจากยุทธศาสตร์และแนวปฏิบัติข้างต้นเป็นเพียงมาตรการเชิงบวกในลักษณะของการขอความร่วมมือตามความสมัครใจ และการสร้างจิตสำนึกจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น กสม. จึงมีข้อเสนอแนะในการแก้ไข ปรับปรุง กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งมอบหมายให้ รง. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ รง. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง รง. รายงานว่า ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สธ. สคก. สำนักงานประกันสังคม สมาคมแนวร่วมภาคธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ สภาหอการค้าไทย และนายแพทย์ธีระ วรธราวัฒน์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ผู้ทรงคุณวุฒิ) แล้ว ซึ่งมีผลสรุปได้ ดังนี้ ข้อเสนอแนะ กสม. สรุปผลการพิจารณา 1. คณะรัฐมนตรีควรดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองแรงงานในภาคเอกชนให้ครอบคลุมไปถึงการคุ้มครองสิทธิของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโลกแห่งการทำงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้แสวงหางานทำที่ยังมิได้อยู่ในฐานะลูกจ้าง และ ผู้มีฐานะเป็นลูกจ้างตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายอื่นตั้งแต่กระบวนการพิจารณารับเข้าทำงาน การกำหนดเงื่อนไขในการจ้างงาน การเลื่อนตำแหน่ง และการสิ้นสุดการจ้าง เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีมีสิทธิและโอกาสเท่าเทียมกับบุคคลอื่น โดยควรนำเอาแนวปฏิบัติระหว่างประเทศว่าด้วยเชื้อเอชไอวี/เอดส์ กับสิทธิมนุษยชน ในส่วนที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางใน การดำเนินการ 1. กระบวนการแก้ไขกฎหมายจะต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบ เพื่อให้มีการพัฒนา มีความสงบเรียบร้อย มีความเป็นธรรม ลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น และสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งให้มีการคุ้มครองและได้รับสิทธิที่เหมาะสม 2. รง. ได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยคณะทำงานได้ศึกษากฎหมายและแนวปฏิบัติระหว่างประเทศว่าด้วยเชื้อเอชไอวี/เอดส์กับสิทธิมนุษยชน และข้อเสนอแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศในส่วนที่เกี่ยวข้องมาเป็นแนวทางในการดำเนินการ 3. คณะทำงานฯ ได้ปรับปรุงแบบตรวจสอบ (Check List) ของพนักงานตรวจแรงงานให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิลูกจ้างผู้ติดเชื้อเอชไอวี และให้มีการพิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ให้คุ้มครองสิทธิและไม่มีการเลือกปฏิบัติต่อลูกจ้างผู้ติดเชื้อเอชไอวีและเอดส์ เพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริม ติดตาม และประเมินผลให้ชัดเจนยิ่งขึ้นต่อไป 4. รง. ได้ออกประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบกิจการแล้ว เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2563 และได้ส่งให้หน่วยปฏิบัติทั่วประเทศใช้ในการส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการนำไปปฏิบัติ รวมทั้งได้เผยแพร่ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานแล้ว 2. คณะรัฐมนตรีควรมีการจัดตั้งกลไกการคุ้มครองและตรวจสอบการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวีในโลกแห่งการทำงาน เพื่อทำหน้าที่รับเรื่องร้องเรียน ตรวจสอบ และดำเนินการให้มีการเยียวยาผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ถูกเลือกปฏิบัติ อันจะทำให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองสิทธิผู้ติดเชื้อเอชไอวีอย่างมีประสิทธิภาพ 1. รง. ได้มีหนังสือถึงหน่วยปฏิบัติทั่วประเทศ กำชับและติดตามให้มีการส่งเสริมสถานประกอบกิจการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง แนวทางการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์และวัณโรคในสถานประกอบกิจการ ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2555 ตามแผนการส่งเสริมสวัสดิการนอกเหนือกฎหมาย เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้มีการประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างทราบเกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อมิให้นายจ้างเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการติดเชื้อเอชไอวีของลูกจ้าง โดยไม่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากละเมิดจะได้รับโทษตามที่กฎหมายกำหนด 2. รง. ได้ร่วมมือกับกรมควบคุมโรคและสมาคมแนวร่วมธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ในการส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการดำเนินการตามมาตรฐาน ASO Thailand เพื่อมิให้การเลือกปฏิบัติกับแรงงานผู้ติดเชื้อเอชไอวีมาอย่างต่อเนื่อง และได้เข้าร่วมโครงการ Thailand Partnership For Zero Discrimination Costed Operational Plan โดยโครงการนี้จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านเอดส์เสนอโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการตีตราและเลือกปฏิบัติกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่ง รง. ได้เสนอโครงการอบรมพนักงานตรวจแรงงานให้มีความรู้ด้านเอดส์ รวมถึงมาตรฐาน ASO Thailand ด้วยแล้ว 3. สธ. มีกลไกในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ ดังนี้ 3.1 ด้านการคุ้มครองเยียวยาผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยได้วางแผนการดำเนินงานด้านการป้องกันและดูแลรักษา ซึ่งประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ กำหนดแผนระยะยาวตั้งแต่ปี 2560 ? 2573 โดยมีเป้าหมายที่จะยุติปัญหาเอดส์เป็นประเทศแรกในปี 2573 3.2 ด้านการป้องกัน ดังนี้ 3.2.1 สำรวจทัศนคติของประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับผู้ติดเชื้อเอชไอวีทุก ๆ 5 ปี 3.2.2 มีแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและการบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำงานซึ่งประกาศใช้ในปี 2552 3.3 ด้านการเฝ้าระวังมีคณะอนุกรรมการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ มีหน้าที่ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ โดยรับเรื่องร้องเรียนกรณีประชาชนถูกบริษัทปฏิเสธการรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าทำงาน และส่งเสริมทำความเข้าใจกับบริษัทถึงสถานการณ์เอดส์ในปัจจุบัน 15. เรื่อง รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอรายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย พ.ศ. 2563 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 มาตรา 9 (7) ที่บัญญัติให้คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติเสนอรายงานเกี่ยวกับด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละ หนึ่งครั้ง] ซึ่งคณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) รายงานฯ และมอบหมายให้ ทส. นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ปัจจัยขับเคลื่อน (Drivers) ประกอบด้วย การขับเคลื่อนจากนโยบายและทิศทางการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งทำให้เพิ่มหรือลดแรงกดดันที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับโลก ภูมิภาค และระดับประเทศ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ การกำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals : SDGs) เศรษฐกิจสีน้ำเงิน (Blue Economy) การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลก (Climate Change) และสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยประเทศไทยมีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 ? 2564) แผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล (พ.ศ. 2558 ? 2564) 2. แรงกดดัน (Pressures) เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่ใช้ประโยชน์บริเวณพื้นที่ทะเลและ ชายฝั่ง โดยกิจกรรมที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ได้แก่ การใช้ประโยชน์พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง การประมง และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งส่งผลให้เกิดน้ำทิ้ง น้ำเสีย และขยะ จนทำให้เกิดความเสื่อมโทรมมากขึ้น ส่วนกิจกรรมที่มีแนวโน้มลดลง ได้แก่ การขนส่งและพาณิชย์นาวี เกษตรกรรม อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวทางทะเล และนาเกลือ ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องมาจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 3. สถานภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่ง (States) 3.1 สถานภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทรัพยากร สถานภาพ 1. ปะการัง - โดยภาพรวมของประเทศมีแนวปะการังทั้งสิ้นประมาณ 149,025 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในสถานภาพสมบูรณ์ปานกลาง ซึ่งมีสัดส่วนใกล้เคียงกับสถานภาพสมบูรณ์ดี - ดีมาก คือ ร้อยละ 37.2 และร้อยละ 32.9 ตามลำดับ - ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว พบปะการังเกิดการฟอกขาวระดับปานกลาง ในฝั่งอ่าวไทย (พบรุนแรงในบางพื้นที่เฉพาะที่เป็นแนวปะการังโผล่พ้นน้ำในช่วงเวลาน้ำลง) ส่วนฝั่งทะเลอันดามันเกิดปะการังฟอกขาวในระดับเล็กน้อย 2. หญ้าทะเล มีรายงานพบหญ้าทะเลเนื้อที่รวม 104,778 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 65.5 ของพื้นที่มีศักยภาพเป็นแหล่งหญ้าทะเล (159,829 ไร่) โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 ของเนื้อที่หญ้าทะเล ที่รายงานไว้ในปี 2562 (90,397 ไร่) 3. สัตว์ทะเลหายากและใกล้สูญพันธุ์ : เต่าทะเล พะยูน โลมา และวาฬ มีการพบเห็นสัตว์ทะเลหายากเพิ่มขึ้น เช่น พบการวางไข่ของเต่าตนุ เต่ากระ และ เต่ามะเฟืองเพิ่มขึ้น โดยพบเต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่ถึง 16 รัง พบโลมาและวาฬเพิ่มขึ้นเป็น 3,025 ตัว อย่างไรก็ตาม การเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายากมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการติดเครื่องมือประมงและการกินขยะทะเล 4. ป่าชายเลน มีพื้นที่ป่าชายเลนคงสภาพทั้งหมดประมาณ 1.73 ล้านไร่ เพิ่มขึ้นจากปี 2557 ถึง 2 แสนไร่ เนื่องจากมีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมที่ทันสมัยช่วยในการสำรวจและเป็นผลมาจากนโยบายการทวงคืนผืนป่าและการฟื้นฟูป่าชายเลน 5. ป่าชายหาด มีพื้นที่ป่าชายหาดที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 40,233.64 ไร่ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าชายหาดมากที่สุด คือ จังหวัดพังงา รองลงมา คือ จังหวัดกระบี่ ทั้งนี้ ป่าชายหาดส่วนใหญ่ถูกทำลายและถูกปรับเปลี่ยนไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น เช่น ก่อตั้งชุมชน ท่าเทียบเรือ สถานที่พักและสถานที่ท่องเที่ยว 6. ป่าพรุ มีพื้นที่ป่าพรุอยู่ในความรับผิดชอบของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน 32,989.42 ไร่ กระจายอยู่ในพื้นที่ 12 จังหวัดชายฝั่งทะเล โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าพรุมากที่สุด คือ จังหวัดสงขลา รองลงมา คือ จังหวัดนราธิวาส 3.2 สถานภาพด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง สิ่งแวดล้อม สถานภาพ 1. คุณภาพน้ำทะเล ดัชนีคุณภาพน้ำทะเลส่วนใหญ่ร้อยละ 71 อยู่ในเกณฑ์ดี โดยไม่พบเสื่อมโทรมมาก แต่บางพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบนมีสภาพเสื่อมโทรม เช่น ปากแม่น้ำระยอง (จังหวัดระยอง) ปากคลองตำหรุ ปากแม่น้ำเจ้าพระยา (จังหวัดสมุทรปราการ) ชายฝั่งทะเลบ้านแหลม (จังหวัดเพชรบุรี) เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนและมีโรงงานอุตสาหกรรมหนาแน่น 2. น้ำมันรั่วไหล และก้อนน้ำมันดิน เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหล (Oil spill) คราบน้ำมันหรือก้อนน้ำมันดิน (Tar balls) ตลอดแนวชายฝั่ง โดยพบน้ำมันรั่วไหลบริเวณฝั่งอ่าวไทย รวม 10 ครั้ง และพบก้อนน้ำมันดิน รวม 28 ครั้ง (ฝั่งอ่าวไทย จำนวน 26 ครั้ง และฝั่งอันดามัน จำนวน 2 ครั้ง) ซึ่งอาจเกิดจากการขุดเจาะและขนส่งน้ำมัน การเดินเรือ รวมทั้งอุบัติเหตุต่าง ๆ 3. น้ำทะเลเปลี่ยนสี พบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีบริเวณชายฝั่งทะเล รวม 10 ครั้ง (ฝั่งอ่าวไทย จำนวน 9 ครั้ง และฝั่งอันดามันบริเวณหาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 1 ครั้ง) 4. แมงกะพรุนพิษ พบการบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่อง โดยในปี 2563 มีผู้เสียชีวิต จำนวน 1 ราย ในพื้นที่จังหวัดระยอง และบาดเจ็บรุนแรง จำนวน 1 ราย ในพื้นที่จังหวัดชุมพร 5. ขยะทะเล บริเวณปากแม่น้ำในหลายพื้นที่ เช่น บางปะกง ท่าจีน แม่กลอง พบปริมาณขยะลอยน้ำเพิ่มมากกว่าในช่วงปี 2562 เนื่องด้วยในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้มีการขอความร่วมมือให้ประชาชนจำกัดการเดินทาง รวมถึงเน้นการทำงานอยู่กับบ้าน ทำให้มีการใช้บริการสั่งอาหารในรูปแบบเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกเพิ่มขึ้นด้วย 3.3 สถานการณ์ด้านการกัดเซาะชายฝั่ง ในปี 2562 ประเทศไทยมีความยาวชายฝั่งทะเล 3,151.13 กิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลที่ประสบปัญหาถูกกัดเซาะระยะทาง 794.37 กิโลเมตร โดยมีสาเหตุจากการทำลายแนวป้องกันตามธรรมชาติ เช่น ป่าชายเลน หาดทราย และแนวปะการัง การกัดเซาะจากการรบกวนหรือเปลี่ยนแปลงสภาพตามธรรมชาติ เช่น การก่อสร้างที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการพัดพาของตะกอนหรือ การเคลื่อนที่ของคลื่น เป็นต้น 4. สถานการณ์ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของ 24 จังหวัดชายทะเล พบว่า สถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มไปในทิศทางที่เสื่อมลง ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับสถานการณ์โดยรวมทั้งประเทศ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการกระทำของมนุษย์มากกว่าธรรมชาติ เช่น การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล การท่องเที่ยว อุตสาหกรรม ชุมชน การประมง เป็นต้น ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง ขยะ ตะกอนในทะเล และการสูญเสียระบบนิเวศชายฝั่งที่สำคัญ โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนมาจากความพยายามของภาครัฐที่จะมุ่งพัฒนาให้เกิดความกินดีอยู่ดีมีสุขของคนในชาติ ผ่านทางนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงาน และโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดภายใต้ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน 5. ผลการดำเนินงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างปี 2562-2563 เช่น การปลูกเสริมปะการัง จำนวน 860,384 กิ่ง/โคโลนี เป็นพื้นที่ 537.74 ไร่ การก่อสร้างศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก จังหวัดภูเก็ต การติดตั้งทุ่นดักขยะ จำนวน 26 จุด การปลูกฟื้นฟูป่าชายเลน เนื้อที่ 5,319 ไร่ การจัดทำโครงการป่าในเมือง ?สวนป่าประชารัฐ เพื่อความสุขของคนไทย? การติดตามการฟื้นตัวและการจัดการแนวปะการังภายหลังปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาดในเขตอุทยานแห่งชาติทางทะเล การจัดทำ (ร่าง) Roadmap การจัดการขยะพลาสติก พ.ศ. 2561-2573 (คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2562) 6. การตอบสนองต่อสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในทางนโยบายและกฎหมาย ดังนี้ 6.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย (ระยะสั้น 1 ปี) เช่น 1) ขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างบูรณาการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 2) ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาดัชนีสุขภาพมหาสมุทร (Ocean health Index หรือ OHI) เพื่อให้ได้ตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ 3) ขับเคลื่อนการกำหนดเขตพื้นที่ทางทะเลในระดับชาติและพื้นที่นำร่องให้มีความก้าวหน้า 4) ฟื้นฟูระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งให้มีความหลากหลายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่ 6.2 มาตรการและแผนงานจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ระยะยาว 3 ปี) เช่น มาตรการ แผนงาน 1) สร้างองค์ความรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทรัพยากร ศึกษาวิจัย ติดตามการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทรัพยากร รวมถึงประเมินผลการฟื้นฟูระบบนิเวศ และจัดทำสื่อ 2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคธุรกิจ จัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชน สนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility: CSR) และจัดทำข้อตกลงชุมชนเพื่ออนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน 3) อนุรักษ์และเฝ้าตรวจตราทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ตรวจตรา เฝ้าระวังเชิงพื้นที่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จัดทำแนวเขตพื้นที่ จัดทำปะการังเทียม และกำหนดเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 7. ปัญหาในระดับประเทศที่ต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน และข้อเสนอแนะแนวทางและมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหา ดังนี้ 7.1 ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหา เช่น 1) การจัดการพื้นที่ชายฝั่งที่ยังคงอยู่ในสภาพสมดุลหรือเสี่ยงต่อความเสียหาย โดยออกมาตรการควบคุมโครงการ กิจกรรม หรือสิ่งก่อสร้างที่มีความล่อแหลม และเป็นอันตรายที่อาจส่งผลกระทบต่อชายฝั่ง 2) ฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาพื้นที่วิกฤติเร่งด่วนและวิกฤติปานกลาง โดยประเมินโครงการและผลกระทบจากสิ่งก่อสร้างบริเวณชายฝั่งทะเลเพื่อหาแนวทางการแก้ไขอย่างเป็นระบบ 3) ปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการพัฒนาชายฝั่ง โดยกำหนดเขตการใช้ประโยชน์และอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทั่วประเทศให้ชัดเจน รวมถึงบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด 7.2 ปัญหาการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายาก ข้อเสนอแนะเพื่อการแก้ไขปัญหา เช่น 1) การคุ้มครองและฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยและวางไข่ของสัตว์ทะเลหายาก โดยการลาดตระเวนเชิงคุณภาพและอบรมการช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก 2) ปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสัตว์ทะเลหายาก 3) สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและความตระหนักในด้านการจัดการขยะทะเล การทำประมงอย่างรับผิดชอบ 16. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ครั้งที่ 9/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ครั้งที่ 9/2564 วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม 2564 ตามที่สำนักงานเลขาธิการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด -19 เสนอ ดังนี้ 1. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อโรคโควิด - 19 ดังนี้ 1) สถานการณ์การแพร่ระบาดทั่วโลก ณ วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 มีจำนวนผู้ติดเชื้อรวมทั้งสิ้น186,293,113 ราย โดยประเทศที่พบผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 ลำดับแรกของโลก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินเดีย และบราซิล ในส่วนของประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 62 จาก 218 ประเทศทั่วโลก 2) สถานการณ์การแพร่ระบาดและผู้ติดเชื้อระลอกใหม่เดือนเมษายน 2564 ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 9 กรกฎาคม 2564 มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสม จำนวน 288,643 ราย (ผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ จำนวน 1,786 คน ติดเชื้อในประเทศ จำนวน 249,110 คน และติดเชื้อในเรือนจำและที่ต้องขัง จำนวน 37,747 คน) 2. ที่ประชุมเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ 13 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2564 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 3. การยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด ? 19 และการปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร การยกระดับมาตรการของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร โดยมีแนวความคิด คือ ?จำกัดการเคลื่อนย้ายและการรวมกลุ่มของบุคคลขั้นสูงสุด รวมทั้งกำหนดเวลาการออกนอก เคหสถานควบคู่ไปกับการเร่งรัดมาตรการด้านการป้องกันโรค การฉีดวัคซีน การควบคุมโรค การรักษาพยาบาล รวมทั้ง การเยียวยา? โดยมีข้อเสนอมาตรการ ดังนี้ 1) การปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร แบ่งเป็น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด จำนวน 10 จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด จำนวน 24 จังหวัด พื้นที่ควบคุม จำนวน 25 จังหวัด พื้นที่เฝ้าระวังสูง จำนวน 18 จังหวัด ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ดังนี้ ระดับพื้นที่ จังหวัด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และเข้มงวด 10 จังหวัด (คงเดิม) กรุงเทพมหานคร นครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา พื้นที่ควบคุมสูงสุด 24 จังหวัด (เพิ่มขึ้น 19 จังหวัด) กระบี่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตาก นครนายก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระนอง ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี พื้นที่ควบคุม 25 จังหวัด กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ชัยภูมิ ชุมพร ตรัง ตราด บุรีรัมย์ พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สตูล สระแก้ว สุโขทัย สุราษฎร์ธานี สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุดรธานี และอุบลราชธานี พื้นที่เฝ้าระวังสูง 18 จังหวัด (ลดลง 39 จังหวัด) เชียงราย เชียงใหม่ นครพนม น่าน บึงกาฬ พะเยา พังงา แพร่ ภูเก็ต มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ลำปาง ลำพูน สกลนคร หนองคาย อำนาจเจริญ และอุตรดิตถ์ 2) การห้ามออกนอกเคหะสถาน ระหว่างเวลา 21.00 น. ถึง 04.00 น. ในเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ปัตตานี ยะลา สมุทรปราการ สมุทรสาคร และสงขลา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่หรือเป็นบุคคลซึ่งได้รับยกเว้น 3) มาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล (1) จำกัดการเคลื่อนย้ายและการดำเนินกิจกรรมของบุคคลให้มากที่สุด ดังนี้ - กำหนดให้ทุกส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชนใช้การปฏิบัติงานในลักษณะทำงานนอกสถานที่ (Work from home) ให้มากที่สุด โดยไม่กระทบต่อการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญ และการบริการประชาชน - ระบบขนส่งสาธารณะ ปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 21.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น - ร้านสะดวกซื้อ ตลาดนัด ตลาดโต้รุ่ง ให้ปิดเวลา 20.00 น. ถึง 04.00 น. ของวันรุ่งขึ้น - ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดบริการได้ถึง 20.00 น. โดยเปิดได้เฉพาะ ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ธนาคารและสถาบันการเงิน ร้านขายยาและเวชภัณฑ์ ร้านอุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร รวมถึงสถานที่ฉีดวัคซีน - ร้านจำหน่ายอาหารหรือเครื่องดื่ม ให้เปิดบริการได้ถึง 20.00 น. โดยห้ามบริโภคอาหารหรือสุราหรือเครื่องดื่มในร้าน - ปิดสถานที่เสี่ยงต่อการติดโรค เช่น นวดเพื่อสุขภาพ สปา สถานเสริมความงาม เป็นต้น - สวนสาธารณะ ลานกีฬา สนามกีฬา หรือที่ออกกำลังกายที่เป็นพื้นที่โล่งแจ้ง สามารถเปิดให้บริการสำหรับการออกกำลังกายได้ถึงเวลา 20.00 น. - ห้ามการรวมกลุ่มทำกิจกรรมทางสังคม ที่ไม่ใช่การปฏิบัติหน้าที่ การประกอบอาชีพ กิจกรรมทางศาสนาหรือกิจกรรมตามประเพณี ที่มีการรวมตัวกันของบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป - ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน จัดการอบรม สัมมนา หรือการประชุมโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ - สถานศึกษาใช้การเรียนการสอนหรือกิจกรรมเพื่อการสื่อสารแบบทางไกลหรือด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (2) การควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดในกลุ่มแรงงานก่อสร้าง ยังคงเป็นไปตามข้อกำหนดของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ที่ได้มีประกาศไปแล้วก่อนหน้านี้ (3) กำกับดูแลให้ประชาชนปฏิบัติตามมาตรการป้องกันส่วนบุคคล (D-M-H-T-T-A) อย่างสูงสุด (4) ให้เริ่มดำเนินการตามข้อ (1) - (3) ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป และให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ระดับสถานการณ์ต่าง ๆ ข้อห้ามและข้อปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 24 ฉบับที่ 25 และฉบับที่ 26) มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้ 4) การเดินทางข้ามจังหวัด ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงหรือชะลอการเดินทางข้ามพื้นที่จังหวัดในช่วงระยะเวลานี้โดยไม่มีเหตุจำเป็น และให้หน่วยงานด้านความมั่นคงเพิ่มความเข้มงวดในการคัดกรองการเดินทางจัดตั้งจุดตรวจ จุดสกัด และชุดลาดตระเวน เพื่อกำกับดูแลการปฏิบัติอย่างเข้มงวด โดยให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป ทั้งนี้ กรณีตรวจพบผู้ฝ่าฝืนให้บังคับใช้บทลงโทษตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 5) มาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุขในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดมาตรการสนับสนุน ดังนี้ (1) กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงแรงงาน กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล เร่งจัดให้มีการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบการตรวจหาเชื้ออย่างเพียงพอ โดยพิจารณาใช้ชุดอุปกรณ์ Rapid Test ที่มีคุณภาพอย่างเหมาะสมตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข (2) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการนำระบบการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation: HI) และการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation: CI) รวมทั้งการใช้ยาสมุนไพรบัญชียาหลัก เช่น ยาฟ้าทะลายโจร เป็นต้น มาเสริมมาตรการรักษาพยาบาลที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อทดแทนการขาดแคลนเตียงพยาบาลตามโรงพยาบาลต่าง ๆ (3) กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑล และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการจัดตั้งหน่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยขั้นวิกฤต (Intensive Care Unit: ICU) สนาม และโรงพยาบาลสนาม รวมถึงโรงพยาบาลสนามชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และมีจำนวนมากพอ (4) กระทรวงสาธารณสุขปรับแผนการกระจายวัคซีน และเร่งการฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้มีโรคประจำตัวและโรคเรื้อรัง ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งเร่งรัดการฉีดวัคซีนในพื้นที่การแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด (5) ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคม ในการป้องกันส่วนบุคคล การตรวจหาเชื้อ และการรักษาพยาบาลให้มีประสิทธิภาพ 6) ให้ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบศ.) เร่งรัดกำหนดมาตรการเยียวยาสถานประกอบการหรือพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากการกำหนดมาตรการในครั้งนี้ ตามความจำเป็นของแต่ละพื้นที่ 7) การปฏิบัติในจังหวัดอื่น โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดมาตรการสนับสนุน ดังนี้ (1) กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข เน้นย้ำให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ร่วมกันรับผิดชอบในการกำหนดมาตรการคัดกรองและมาตรการติดตามสำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส ทั้งนี้ ให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป โดยอาศัยอำนาจตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ฉบับที่ 25 (2) ให้นำมาตรการควบคุมแบบบูรณาการสำหรับพื้นที่ระดับสถานการณ์ต่าง ๆ ข้อความ และข้อปฏิบัติตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 24 ฉบับที่ 25 และฉบับที่ 26) มาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับข้อกำหนดนี้ 8) การบังคับใช้มาตรการตามข้อกำหนดฯ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน (จนถึงวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564) เว้นแต่จะได้มีการประเมินความเหมาะสมของสถานการณ์ต่อไป ที่ประชุมมีความเห็น ดังนี้ 1) มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 (1) ควรส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามมาตรการยกระดับการป้องกัน และควบคุมโรคโควิด - 19 อย่างจริงจัง เนื่องจากเป็นเจ้าของกิจการและเจ้าของพื้นที่ที่ประชาชนปฏิบัติงาน และรวมตัวกันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งควรให้ความสำคัญกับการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนตระหนัก และร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการอย่างจริงจัง (2) ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการต่าง ๆ อาทิ ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า ตลาดสด มีการบังคับใช้ตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรคอย่างเข้มงวด เนื่องจากเป็นสถานที่เสี่ยงการติดเชื้อมากที่สุด โดยขอให้มีการดำเนินการที่ส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนน้อยที่สุด (3) เตรียมการรองรับกิจกรรมอื่น ๆ ในช่วงการยกระดับมาตรการฯ 14 วัน เช่น การประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีที่กำหนดจัดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว หรือประเพณีการจัดงานศพ เป็นต้น (4) ควรเร่งสร้างการรับรู้เกี่ยวกับมาตรการและจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันให้มีความเข้มข้นเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะความคาดหวังในช่วงการประกาศมาตรการการยกระดับฯ ซึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อยังไม่ลดลงทันที แต่จะปรากฏผลในช่วงภายหลัง 2 สัปดาห์ (5) ควรมีการกำหนดมาตรการป้องกันการเผยแพร่ข้อมูลที่ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจาก ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 ข้อมูลบิดเบือน หรือข้อมูลข่าวสารอันทำให้เกิดความเข้าใจผิด ให้สอดคล้องกับมาตรา 9 ของพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (6) สมาคมแพทย์แผนไทยแห่งประเทศไทยได้ขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการจัดทำ ยาแพทย์แผนไทยและทางเลือกและการรับรองบทบาทหน้าที่ของแพทย์แผนไทยอย่างเป็นทางการ เนื่องจากปัจจุบันได้ให้ความสำคัญกับแพทย์แผนไทยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการนำแพทย์แผนไทยมาใช้รักษาผู้ป่วย โรคโควิด ? 19 ที่จัดอยู่ในกลุ่มอาการสีเหลือง อย่างไรก็ตาม ในหลักปฏิบัติแพทย์แผนไทยยังไม่มีการรองรับ ในการให้การรักษาผู้ป่วยโรคโควิด - 19 ควบคู่ไปกับแพทย์แผนปัจจุบันที่ชัดเจน จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณารับรองสถานะของแพทย์แผนไทยในการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโควิด - 19 ร่วมกับแพทย์ แผนปัจจุบัน และให้พิจารณาใช้คำศัพท์ที่เหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่ายินดีสนับสนุนข้อมูลของต่างประเทศที่เกี่ยวกับการนำการแพทย์แผนไทยมาใช้ในการรักษาโรคโควิด - 19 2) มาตรการด้านการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อโควิด - 19 (1) เพื่อลดความแออัดและเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยทั้งในกรุงเทพมหานคร และต่างจังหวัด ควรให้มีการใช้ชุดทดสอบไวรัสโควิด 19 แบบรวดเร็ว (Rapid Antigen Test) ร่วมกับการตรวจแบบ Polymerase chain reaction (RT-PCR) โดยกระทรวงสาธารณสุขเสนอแนวทางการกระจายชุดตรวจผ่านคลินิกสุขภาพกรุงเทพมหานคร และร้านขายยา ซึ่งได้มีการวางแนวทางส่งต่อผู้ที่มีผลตรวจเป็นบวก (ติดเชื้อ) ผ่านเครือข่ายคลินิกสุขภาพกรุงเทพมหานคร แต่ในส่วนของการกระจายชุดตรวจผ่านร้านขายยา ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาหาแนวทางเชื่อมต่อผู้ที่ตรวจพบเชื้อเข้ากับระบบการรักษา อย่างไรก็ดี การใช้ชุดทดสอบไวรัสโควิด - 19 แบบรวดเร็ว (Rapid Antigen Test) ยังมีข้อจำกัดอยู่บางประการโดยเฉพาะความคลาดเคลื่อนของผลตรวจและความเข้าใจของผู้ใช้ชุดเครื่องมือ ดังนั้น จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาแนวทางอย่างรอบคอบ ตลอดจนให้คำแนะนำและให้ข้อมูลเพื่อประกอบการใช้งานอย่างใกล้ชิด กำหนดวงรอบการตรวจซ้ำ และจัดเตรียมระบบส่งต่อผู้ติดเชื้อไม่ให้มีการกระจุกตัวจนเกิดข้อจำกัดของการรักษาพยาบาล รวมทั้งพิจารณาการใช้ชุดทดสอบไวรัสโควิด - 19 แบบรวดเร็ว (Rapid Antigen Test) กับกลุ่มที่มีความเสี่ยงเป็นลำดับแรก (2) กรณี Phuket Sandbox พิจารณาข้อเสนอเรื่องนำชุดทดสอบไวรัสโควิด 19 แบบรวดเร็ว (Rapid Antigen Test) มาใช้กับกลุ่มคนไทย หรือคนต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเพื่อประกอบการอนุญาตเข้าพื้นที่จังหวัดภูเก็ต (3) กระทรวงแรงงานแจ้งว่าต้องการเพิ่มการตรวจคัดกรองแรงงานในแคมป์ (ที่พักคนงาน) เนื่องจากในปัจจุบันสามารถตรวจหาผู้ป่วยในแคมป์ได้เพียงร้อยละ 75 ของจำนวนแรงงานในแคมป์ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ประสานไปยังโรงพยาบาลในเครือประกันสังคมไว้พร้อมรองรับผู้ป่วย ประมาณ 3,000 เตียง ในการนี้ อธิบดีกรมควบคุมโรคได้ขอให้กระทรวงแรงงานประสานผู้ว่าราชการจังหวัด ในฐานะประธานคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัดเพื่อหาทางแนวทางเพิ่มจุดตรวจและส่งต่อการรักษาแรงงานให้สอดคล้องกับมาตรการในระดับพื้นที่ 3) มาตรการคัดแยกและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อทำการรักษา (Isolation) ควรปรับระบบบริการรักษาพยาบาลด้วยการนำระบบการแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation: HI) และการแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation: CI) มาช่วยสนับสนุน เพื่อให้ระบบสาธารณสุข มีศักยภาพสามารถรองรับจำนวนผู้ป่วยตามสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ ตลอดจนลดความแออัดของผู้ใช้บริการตรวจคัดกรองและการรักษาพยาบาล 4) มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด - 19 ควรให้มีการพิจารณาขยายกลุ่มที่ต้องได้รับการช่วยเหลือจากผลกระทบของการยกระดับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด - 19 ให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น ที่ประชุมมีมติเห็นชอบข้อเสนอในการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด - 19 การปรับระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร และมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเร่งด่วน เฉพาะในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของที่ประชุมไปพิจารณา 4. แผนการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 1) สรุปผลการฉีดวัคซีนโควิด - 19 มีผู้ได้รับวัคซีนรายใหม่ ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 จำนวน 356,378 ราย จำแนกเป็น ผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 305,925 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 50,453 ราย โดยมีจำนวนยอดสะสมการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 ตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ. - 8 ก.ค. 2564 รวมทั้งสิ้น 11,975,996 ราย จำแนกเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 จำนวน 8,800,155 ราย และผู้ที่ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 จำนวน 3,175,841 ราย 2) การปรับแผนการฉีดวัคซีนโควิดป้องกันโรคโควิด - 19 กลุ่มผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ในพื้นที่ระบาดรุนแรง ผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 75 เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จึงต้องระดมสรรพกำลังการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ในพื้นที่ระบาดรุนแรง โดยกำหนดเป้าหมายการฉีดวัคซีนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 1,000,000 คน ในกรุงเทพมหานคร ภายใน 1 - 2 สัปดาห์ เพื่อเพิ่มความครอบคลุมวัคซีนกลุ่มนี้เป็นร้อยละ 80 รวมทั้งสำรองวัคซีนบางส่วนเพื่อใช้ควบคุมการระบาดในพื้นที่กรุงเทพเทพมหานคร และปริมณฑล (กลยุทธ์ขนมครก) 3) ข้อเสนอแนวทางบริหารจัดการวัคซีนบริจาคจากต่างประเทศ แบ่งเป็น วัคซีน Pfizer จำนวน 1,500,000 โดส และวัคซีน AstraZeneca จำนวน 1,050,000 โดส ดังนี้ ประเด็น วัคซีน Pfizer วัคซีน AstraZeneca กลุ่มเป้าหมาย 1. บุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด - 19 ทั่วประเทศ (ฉีดเป็น Booster dose จำนวน 1 เข็ม) 2. ผู้สูงอายุและผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง 3. ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย เน้นผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง 4. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีน Pfizer ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เช่น นักเรียนนักศึกษา นักกีฬา นักการทูต เป็นต้น 1. ผู้สูงอายุและผู้มีโรคเรื้อรัง 7 โรค 2. ชาวต่างชาติที่อาศัยในประเทศไทย โดยเน้นผู้สูงอายุและโรคเรื้อรัง 3. ผู้ที่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีน AstraZeneca ก่อนเดินทางไปต่างประเทศ เช่น นักเรียน นักศึกษา นักกีฬา นักการทูต เป็นต้น การกระจาย สำหรับฉีด 2 เข็ม ระยะห่าง 3 สัปดาห์ (ยกเว้นกรณีบุคลากรทางการแพทย์ ด่านหน้า Booster dose 1 เข็ม) - สัญชาติไทย 1,350,000 โดส - ต่างชาติ 150,000 โดส (ร้อยละ 10) สำหรับฉีดเป็นเข็มที่ 1 - สัญชาติไทย 945,000 โดส - ต่างชาติ 105,000 โดส (ร้อยละ 10) พื้นที่เป้าหมาย (พื้นที่ระบาดท่องเที่ยว) - กรุงเทพมหานคร - สมุทรสาคร ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม - ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา (มีการระบาดของสายพันธุ์ Beta) - กรุงเทพมหานคร - สมุทรสาคร ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี นครปฐม - ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา ภูเก็ต การดำเนินงาน ฉีดวัคซีน คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานครบริหารจัดการผ่านโรงพยาบาลในพื้นที่กรณีชาวต่างชาติให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ประสานหลัก ทั้งนี้ การบริหารจัดการวัคซีนบริจาคสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด - 19 ที่ประชุมมีความเห็น ควรดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ควบคู่กับการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 และมีความเสี่ยงสูง ที่ประชุมมีมติ ดังนี้ 1) เห็นชอบการปรับแผนการจัดสรรวัคซีนโควิด - 19 เดือนกรกฎาคม 2564 โดยให้ครอบคลุมผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ในกรุงเทพมหานครอย่างน้อยร้อยละ 80 2) ให้ระดมสรรพกำลังการฉีดวัคซีนให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานครเป็นกลุ่มเป้าหมายแรก จำนวน 1,000,000 โดส ภายใน 1 - 2 สัปดาห์ 3) เห็นชอบแนวทางการจัดสรรและบริหารจัดการวัคซีนบริจาคจากต่างประเทศ ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี 1. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) ร่วมกับคณาจารย์ทางการแพทย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณารายละเอียดของชุดทดสอบไวรัสโควิด - 19 แบบรวดเร็ว (Rapid Antigen Test) ให้มีคุณภาพและตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำมาใช้ในการตรวจหาเชื้อในชุมชนหรือพื้นที่อื่น ๆ เช่น จังหวัดภูเก็ต เกาะสมุย เป็นต้น โดยให้มีการระบุหลักเกณฑ์และวิธีการใช้งาน วงรอบระยะเวลาการตรวจซ้ำ รวมทั้งการใช้ชุดตรวจในสถานประกอบการภาคเอกชน การเชื่อมโยงกับกระบวนการตรวจคัดกรอง และการเข้ารับการรักษาให้มีความชัดเจน เป็นรูปธรรม และเป็นที่ยอมรับร่วมกันของ ทุกฝ่าย ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ร่วมดำเนินการพิจารณาการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการจัดหาอุปกรณ์ และบุคลากร เพื่อรองรับการดูแลรักษาผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือมีอาการไม่มาก โดยให้เร่งรัดนำระบบการแยกกักแบบการแยกกันที่บ้าน (Home Isolation: HI) และการแยกกักในชุมชน (Community Isolation: CI) ให้เหมาะสม เพียงพอ และให้ความรู้เกี่ยวกับการกักตัวในบ้านหรือในชุมชน รวมทั้งให้พิจารณาความเหมาะสม และกำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการนำแพทย์แผนไทยและสมุนไพรไทย เช่น ฟ้าทะลายโจร เป็นต้น เข้ามามีส่วนช่วยรักษาโรคโควิด - 19 โดยกระทรวงการต่างประเทศ ยินดีสนับสนุนข้อมูลการนำการแพทย์แผนไทยไปใช้ในการรักษาโรคโควิด ? 19 ในต่างประเทศ 3. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งดำเนินการตรวจสอบคัดกรอง การตรวจหาเชื้อ โดยจัดตั้งศูนย์คัดกรองในพื้นที่และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ได้ทราบและสามารถเข้าถึงจุดคัดกรองได้ จัดระบบบริหารจัดการการนำส่งตัวผู้ติดเชื้อเข้ารับการรักษา และเร่งจัดตั้งหน่วยรักษาพยาบาลผู้ป่วยขั้นวิกฤต (Intensive Care Unit: ICU) สนาม และโรงพยาบาลสนาม รวมถึงโรงพยาบาลสนามชุมชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลให้แล้วเสร็จโดยเร็วและมีจำนวนที่มากพอ รวมทั้งจัดหาเตียง อุปกรณ์เสริม เวชภัณฑ์ ยา และระดมบุคลากรทางการแพทย์ทั้งจากผู้ที่เกษียณอายุ และนักศึกษาแพทย์ ตลอดจนให้ทบทวนและปรับกระบวนการตรวจคัดกรอง คัดแยก การกักตัว การนำส่งการรักษา และการฉีดวัคซีนให้มีความประสานสอดคล้องและเชื่อมโยงกันทั้งระบบครบวงจร 4. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) หารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการปรับแผนบริหารจัดการกระจายวัคซีนที่เหมาะสม ทั่วถึง และครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย อาทิ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ใช้แรงงาน ฯลฯ ทั้งนี้ ให้เร่งรัดฉีดให้แก่กลุ่มเป้าหมายและในพื้นที่การแพร่ระบาดที่มีการแพร่ระบาดเป็น กลุ่มก้อน (Cluster) ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด 5. ให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ในฐานะฝ่ายเลขานุการศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) : ศบศ.) สำนักงบประมาณ กระทรวงแรงงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการร่วมกันพิจารณามาตรการช่วยเหลือเยียวยาสถานประกอบการหรือผู้ได้รับผลกระทบจากการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด - 19 ตามความจำเป็นของแต่ละพื้นที่ โดยขยายให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม รวมทั้งให้มีการรวบรวมมาตรการช่วยเหลือเยียวยาต่าง ๆ ที่รัฐบาลได้ดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนไปแล้วด้วย 6. ให้กระทรวงมหาดไทย (จังหวัด) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข (นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด) ร่วมรับผิดชอบในการกำหนดมาตรการคัดกรองและมาตรการติดตามสำหรับบุคคลที่เดินทางเข้าไปในพื้นที่ให้มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เดินทางในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 10 จังหวัด ทั้งนี้ ให้พร้อมดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 06.00 น. เป็นต้นไป 7. ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 (ศปก.ศบค.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการกำกับดูแลการดำเนินการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการยกระดับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด - 19 และระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักร โดยเฉพาะร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร ตลาดสด เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยขอความร่วมมือภาคเอกชนให้ดูแล การบังคับการให้เป็นไปตามมาตรการฯ ด้วย ทั้งนี้ ให้กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการเตรียมการแก้ไขปัญหาด้านปริมาณสินค้าและระบบโลจิสติกส์ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับประชาชน 8. ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการกำกับ ดูแล ตรวจสอบการนำเสนอข่าวปลอม (Fake News) และดำเนินการบังคับใช้กฎหมายแก่ผู้กระทำความผิดอย่างเคร่งครัด 9. ให้กระทรวงแรงงาน เร่งดำเนินการสำรวจแรงงานต่างด้าวและนำมาขึ้นทะเบียน รวมทั้งให้บูรณาการการทำงานร่วมกับฝ่ายความมั่นคง เจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจ ดำเนินการสนธิกำลังในการตั้งด่านตรวจ ด่านสกัด เพื่อตรวจสอบและสกัดกั้นการหลบหนีเข้าเมือง ทำลายขบวนการลักลอบนำคนเข้าประเทศ และดำเนินการมาตรการทางกฎหมายกับโรงงานหรือผู้ประกอบการที่นำแรงงานมาปล่อยทิ้งนอกโรงงาน หรือสถานประกอบการ 10. ให้กระทรวงแรงงาน ร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 (ศปก.สธ.) สร้างความเข้าใจกับแรงงานและผู้ประกอบการในการดำเนินการตามมาตรการด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับการตรวจคัดกรอง การแยกกัก การรักษาโรค การอยู่ร่วมกับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ และ การตรวจหาภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อประเมินสถานการณ์ สำหรับกลุ่มที่ไม่มีภูมิคุ้มกันที่จะต้องตรวจหาเชื้ออีกครั้งเมื่อครบ 28 วัน หลังการทำ Bubble and Seal ทั้งนี้ ให้มีการจัดทำคู่มือที่เหมาะสมตั้งแต่กระบวนการคัดกรอง กักกัน มาตรการ Bubble and Seal และการป้องกัน/รักษาโรคโควิด - 19 เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้ใช้แรงงานและผู้ประกอบการ 11. ให้ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด ? 19 (ศปก.สธ.) และโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 สร้างการรับรู้และสร้างความเข้าใจกับประชาชนเพื่อให้ทราบ ดังนี้ 1) การบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด ? 19 ที่สถานการณ์มีความซับซ้อน ซึ่งรัฐบาลโดยศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศบค.) บูรณาการการทำงานร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนและมาตรฐานการปฏิบัติในการควบคุมการแพร่ระบาด เพื่อรักษาความปลอดภัย และให้เกิดผลกระทบให้น้อยที่สุด รวมทั้งความพร้อมและการทำงานไปข้างหน้า ของรัฐบาลทั้งในเรื่องการจัดหาจำนวนเตียง การดำเนินการเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงชุดตรวจ/ทดสอบหาเชื้อให้ได้อย่างรวดเร็ว การดำเนินการเรื่องวัคซีน และการพัฒนายาใหม่ ๆ รวมถึงการนำสมุนไพรมาช่วยสนับสนุนในการป้องกันและรักษาโรคโควิด - 19 2) เหตุผลความจำเป็นและเตรียมตัวให้พร้อมรับสถานการณ์ต่าง ๆ และขอให้ความร่วมมือ กับรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด ? 19 และดำเนินการตามมาตรการ D-M-H-T-T-A อย่างเคร่งครัด 3) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ทั่วโลก สถานการณ์ในประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอาเซียน โดยให้ข้อมูลสถานการณ์ของแต่ละประเทศ จำนวนผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิต และมาตรการที่ประเทศต่าง ๆ ใช้ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโควิด -19 โดยให้นำเสนอข้อมูลดังกล่าวอย่างเป็นประจำและต่อเนื่อง 17. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนธุรกิจและการจัดตั้งบริษัท MEA Smart Energy Solutions จำกัด ของการไฟฟ้านครหลวง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ลงทุนในการจัดตั้งบริษัท MEA Smart Energy Solutions จำกัด (บริษัท MEA) ในวงเงินลงทุนการจัดตั้งบริษัทฯ จำนวน 500 ล้านบาท ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ สาระสำคัญ แผนธุรกิจบริษัท MEA Smart Energy Solutions จำกัด (บริษัท MEA) สามารถสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น รายละเอียด 1. ขั้นตอนและกำหนดเวลาในการจัดตั้ง/ร่วมทุนในบริษัทในเครือ ภายหลังคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว กฟน. จะสามารถดำเนินการในรายละเอียดต่าง ๆ เช่น จัดทำร่างข้อบังคับ ระเบียบ และวางระบบงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานของบริษัท ดำเนินการสรรหาบุคลากรเพื่อดำเนินการจัดตั้งบริษัท จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท เป็นต้น ซึ่งจะใช้เวลาในการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ รวมทั้งหมดประมาณ 241 วัน 2. ผู้ถือหุ้นทุนจดทะเบียน และแหล่งที่มาของเงินทุนของรัฐวิสาหกิจแม่ บริษัท MEA มี กฟน. เป็นผู้ถือหุ้นในอัตราร้อยละ 100 ทุนจดทะเบียนเริ่มแรกจะใช้เงินของ กฟน. ทั้งหมดจำนวน 500 ล้านบาท และจะใช้เงินทุนจากผู้ถือหุ้น และเงินกู้จากสถาบันการเงินในประเทศ 3. รายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบกิจการ หรือแผนธุรกิจระยะ 5 ปี ของบริษัทในเครือ ลักษณะผลิตภัณฑ์/บริการและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของบริษัท MEA เป็นธุรกิจเกี่ยวกับการบริหารจัดการระบบพลังงานแบบครบวงจรในพื้นที่ลูกค้า โดยสามารถแบ่งการให้บริการเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ (1) บริการด้านพัฒนาระบบพลังงานอัจฉริยะแบบครบวงจร - ให้บริการตั้งแต่การเป็นที่ปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง ลงทุน จนไปถึงการบริหารจัดการระบบบริหารจัดการพลังงานอัจฉริยะ เช่น ให้บริการเกี่ยวกับระบบเครือข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid System) ระบบการจัดการพลังงานในพื้นที่ (Area Energy Management System) มิเตอร์อัจฉริยะ (Smart Meter) ระบบจัดการการจ่ายไฟฟ้า (Distribution Management System) เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถประหยัดการใช้พลังงานภายในพื้นที่ เพราะมีการวิเคราะห์ข้อมูลการใช้พลังงานและเลือกแหล่งจ่ายพลังงานให้เหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาได้ รวมทั้งลูกค้ายังสามารถดูข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้แบบทันที (Real time) ซึ่งจะทำให้ทราบปริมาณการใช้/จุดรั่วไหล และสามารถควบคุมและปรับพฤติกรรมการใช้พลังงานให้เหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ได้กำหนดค่าบริหารจัดการพลังงานตามขนาดพื้นที่จากการใช้งานของลูกค้า (ตารางเมตร) หรือเรียกว่า ?ค่าส่วนกลาง? - กลุ่มลูกค้าหลัก คือ ลูกค้าภาครัฐที่จะดำเนินโครงการขนาดใหญ่ และพัฒนาให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) และลูกค้าภาคเอกชนที่ดำเนินโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ผนวกรวมโครงการที่อยู่อาศัยแบบอาคารชุดและโครงการเพื่อการพาณิชยกรรมเข้าไว้ด้วยกัน (โครงการ Mixed Use) (2) บริการด้านบริหารจัดการพลังงานทดแทน - ให้บริการเป็นที่ปรึกษา ออกแบบ ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar EPC) ให้กับอาคาร/สถานที่ของลูกค้า โดยจะส่งมอบระบบและคิดค่าบริการแบบรับเหมากับลูกค้า และให้บริการให้เช่าระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Leasing) โดยบริษัท MEA เป็นผู้ลงทุน ระบบพร้อมติดตั้งแผงโซลาร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้แก่เจ้าของอาคารสถานที่ และอัตราค่าเช่าจะคำนวณจากปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบผลิตฯ คูณกับอัตราค่าไฟฟ้า ซึ่งจะถูกกว่าอัตราค่าไฟฟ้าปกติประมาณร้อยละ 10 - กลุ่มลูกค้าหลัก คือ โครงการบ้านจัดสรรขนาดใหญ่ที่มุ่งเป็นชุมชนขนาดใหญ่หรือเมืองอัจฉริยะ กลุ่มที่มีนโยบายเพื่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR) เช่น โรงพยาบาล โรงแรม หน่วยงานราชการ สถาบันการศึกษา อาคารสำนักงาน นิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น แผนการลงทุน : ในช่วง 5 ปีแรก มีเงินลงทุนจาก กฟน. ทั้งสิ้น 500 ล้านบาท ซึ่งจะจ่ายเงินลงทุนในปี พ.ศ. 2564 จำนวน 150 ล้านบาท และจ่ายเงินลงทุนส่วนที่เหลือในปีต่อไป แผนการเงิน : ในระยะ 5 ปี แบ่งรายได้ตามประเภทของการให้บริการ ดังนี้ (1) การให้บริการเกี่ยวกับระบบพลังงานอัจฉริยะ (Smart Energy) โดยประมาณ 663 ล้านบาท และ (2) การให้บริการเกี่ยวกับระบบพลังงานทดแทน (Renewable Energy) โดยประมาณ 358 ล้านบาท แผนการตลาด : แบ่งเป็น 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์ด้านบริการ โดยมุ่งเน้นการออกแบบและลงทุนระบบให้เหมาะสมกับข้อมูลการใช้ไฟฟ้าของลูกค้าแต่ละราย (2) กลยุทธ์ด้านราคา โดยกำหนดราคาตามคุณภาพบริการที่ลูกค้าต้องการ (3) กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย โดยสร้างความสัมพันธ์กับผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อเป็นช่องทางในการเสนอขายบริการ รวมทั้งใช้การเสนอขายทางตรง และ (4) กลยุทธ์ด้านสื่อสารการตลาด โดยจัดกิจกรรมด้านการตลาดเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจในการจัดการพลังงาน โครงสร้างอัตรากำลัง จำนวน 23 อัตรา ประกอบด้วย (1) กรรมการผู้จัดการใหญ่ 1 อัตรา (2) รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ 1 อัตรา (3) ผู้จัดการฝ่าย 2 อัตรา (4) ผู้จัดการส่วนงาน 4 อัตรา และ (5) พนักงานปฏิบัติการ 15 อัตรา ทั้งนี้ อัตรากำลังสามารถปรับเพิ่มขึ้นได้ตามปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต สำหรับค่าตอบแทนเป็นไปตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง 18. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ระยะที่ 7 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) วงเงิน 440.97 ล้านบาท ให้สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม (สป.กห.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระยะที่ 7 (1 มีนาคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2564) สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) ในส่วนของสถานที่เอกชน ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง กห. รายงานว่า 1. ตามที่รัฐบาลได้กำหนดมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยคนไทยทุกคนที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศจะต้องเข้าพัก ณ พื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ (State Quarantine) ทันทีเป็นเวลา 14 วัน เมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทย โดย กห. และกระทรวงมหาดไทยได้ร่วมกันจัดสถานที่/พื้นที่สำหรับสังเกตอาการเพื่อใช้ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งที่ผ่านมา (7 มีนาคม 2563 - 28 กุมภาพันธ์ 2564) กห. ได้ใช้สถานที่ราชการ จำนวน 2 แห่ง และโรงแรมเอกชน จำนวน 25 แห่ง รองรับผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศและเข้ารับการกักกันตัวในพื้นที่ดังกล่าวแล้ว จำนวน 113,168 คน 2. ปัจจุบัน กห. ยังคงดำเนินการจัดทำพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐสำหรับผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยในวันที่ 1 มีนาคม - 30 เมษายน 2564 มีผู้เข้าพักในพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ จำนวน 15,903 คน และในวันที่ 1 - 31 พฤษภาคม 2564 สป.กห. ได้แจ้งประมาณการจำนวนคนไทยในต่างประเทศที่มีความประสงค์เดินทางกลับประเทศไทยทางอากาศ จำนวน 10,000 คน ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มาตรการการผ่อนคลายการควบคุมโรค และมาตรการทางเศรษฐกิจของประเทศต้นทาง โดย กห. ได้จัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดทำพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐสำหรับผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ ในวันที่ 1 มีนาคม - 31 พฤษภาคม 2564 จำนวน 25,903 คน วงเงิน 528.53 ล้านบาท ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข) ได้พิจารณาค่าใช้จ่ายดังกล่าวแล้วเห็นว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นไปตามที่ขอตกลงกับกรมบัญชีกลาง 3. สำนักงบประมาณแจ้งว่า นายกรัฐมนตรีมีบัญชาเห็นชอบให้ กห. ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาฯ วงเงิน 440.97 ล้านบาท (ลดลงจากที่ประมาณการไว้ 87.56 ล้านบาท) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระยะที่ 7 (1 มีนาคม ? 31 พฤษภาคม 2564) สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดทำพื้นที่กักกันโรคแห่งรัฐ จำนวน 22,514 คน (ลดลงจากที่ประมาณการไว้ 3,389 คน) โดยให้เบิกจ่ายในงบดำเนินงาน ประกอบด้วย รายการ วงเงิน (ล้านบาท) ค่าตอบแทนบุคลากร 17.49 ค่าเช่าที่พักและค่าอาหารของเจ้าหน้าที่ 46.23 ค่าเช่าที่พักและค่าอาหารของผู้ถูกกักกันโรค 371.18 ค่าวัสดุการแพทย์ 0.33 ค่าจ้างเหมา 3.91 ค่าใช้จ่ายยานพาหนะในภารกิจโควิด 19 1.83 รวม 440.97 19. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) ครั้งที่ 1/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ (กบส.) เสนอดังนี้ 1. รับทราบผลการประชุม กบส. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 2. มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมติ กบส. ครั้งที่ 1/2564 และรายงานให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อนำเสนอ กบส. ตามขั้นตอนต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง กบส. รายงานว่า ได้มีการประชุม กบส. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2564 สรุปผลการประชุมได้ ดังนี้ 1. กรอบแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟสายสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) 1.1 สาระสำคัญ โครงการรถไฟจีน-สปป. ลาวเป็นทางรถไฟมาตรฐาน ขนาดทาง 1.435 เมตร รวมระยะทาง 422 กิโลเมตร เชื่อมเส้นทางระหว่างเมืองโบเต็น จีน และเมืองหลวงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ซึ่งห่างจากท่านาแล้ง สปป. ลาว ที่เป็นจุดสิ้นสุดรถไฟเชื่อมโยงกับจังหวัดหนองคาย ประมาณ 16 กิโลเมตร โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการเดือนธันวาคม 2564 ทั้งนี้ ในส่วนของสถานการณ์การค้าระหว่างไทย-จีน พบว่า มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวและเพิ่มสูงขึ้น ส่วนการค้าระหว่างไทย-สปป. ลาว พบว่า มูลค่าการค้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และไทยได้ดุลการค้ามาโดยตลอดอย่างไรก็ตาม มีข้อจำกัดในการขนส่งสินค้าระหว่างไทย-สปป. ลาว เช่น (1) สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 เป็นสะพานที่ใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างรถยนต์และรถไฟ โดยในช่วงระหว่างการเดินรถไฟจำเป็นต้องปิดสะพานไม่ให้รถยนต์สัญจร ซึ่งสะพานสามารถรองรับน้ำหนักบรรทุกได้เพียง 20 ตัน ต่อตู้ รวมทั้งอาจเกิดความแออัดและเกิดการรอคอยบริเวณพื้นที่โดยรอบด่านศุลกากร และ (2) สปป. ลาวขาดความพร้อมด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ในการยกขน นอกจากนี้ ในส่วนของการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟจีน-สปป. ลาว สศช. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการเรื่องต่าง ๆ เช่น การบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดเตรียมความพร้อมในกระบวนการและพิธีการศุลกากร มาตรการการค้าระหว่างจีน-สปป. ลาว-ไทยและภูมิภาค และการพัฒนาและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการไทยด้านการบริการโลจิสติกส์ 1.2 ความเห็นและประเด็นอภิปราย 1.2.1 การเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการรถไฟจีน-สปป. ลาว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรประสานความร่วมมือกับผู้ประกอบการภาคเอกชนเกี่ยวกับข้อมูลการนำเข้าส่งออกสินค้าในระยะที่ผ่านมา เพื่อใช้เป็นข้อมูลสำหรับคาดการณ์ปริมาณ รูปแบบ เส้นทางการขนส่ง และประเภทสินค้าที่คาดว่าจะมีการขนส่ง เพื่อให้การเตรียมการรองรับเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 1.2.2 กรอบแนวทางและงบประมาณในการดำเนินงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายจีน-สปป. ลาว ให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2565 รวมทั้งควรกำหนดแนวทางการเพิ่มศักยภาพการรองรับการขนส่งสินค้าและการเดินทางที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังการเปิดให้บริการ 1.2.3 การขนส่งสินค้าและการเดินทางผ่านสะพานมิตรภาพไทย-สปป. ลาว แห่งที่ 1 จังหวัดหนองคายควรเร่งรัดการเจรจากับ สปป. ลาวในการผ่อนผันการเปิดจุดผ่านแดนอื่น ๆ สำหรับ การนำเข้า-ส่งออกและการเดินทางสัญจร เพื่อลดความแออัดบริเวณสะพานฯ รวมทั้งคำนึงถึงการรับน้ำหนักและความปลอดภัยของสะพานฯ ด้วย ซึ่งกระทรวงคมนาคม (คค.) รายงานว่า ได้ดูแลรักษาและซ่อมบำรุงสะพาน อย่างต่อเนื่องตามแผนการซ่อมบำรุง 1.2.4 การพัฒนาและใช้ประโยชน์จากระบบราง คค. ควรเร่งเจรจา 3 ฝ่าย (จีน-ไทย-สปป. ลาว) เพื่อแก้ไขปัญหา Missing Link ให้เกิดความชัดเจน นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญในการบริหารจัดการการเดินรถไฟเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากโครงข่ายระบบรางได้สูงสุด รวมทั้งสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนได้รับทราบบทบาทและหน้าที่ที่ชัดเจน รวมถึงสิ่งที่ต้องดำเนินการในระยะต่อไป 1.2.5 การพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับการเปลี่ยนถ่ายสินค้า คค. ควรพิจารณาการใช้ประโยชน์พื้นที่บริเวณสถานีนาทา (เป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายรถไฟไทย-สปป. ลาว) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสามารถรองรับกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 1.2.6 การอำนวยความสะดวกในการตรวจปล่อยสินค้านำเข้า ส่งออก และผ่านแดน กรมศุลกากรให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าสามารถดำเนินพิธีการศุลกากรนำเข้า ส่งออกและผ่านแดนทางรถไฟ ณ ด่านศุลกากรหนองคายได้แล้ว นอกจากนี้ กรมศุลกากรยังมีความพร้อมด้านบุคลากรและอุปกรณ์อำนวยความสะดวก และในระยะยาวจะปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกในการตรวจปล่อยสินค้าได้มากขึ้น 1.3 มติที่ประชุม 1.3.1 เห็นชอบกรอบแนวทางการเตรียมความพร้อมรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายจีน-สปป. ลาว และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามกรอบแนวทางฯ และรับประเด็นความเห็นของ กบส. ไปประกอบการดำเนินการ 1.3.2 มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดแผนงาน/โครงการตามกรอบแนวทางฯ และเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป 1.3.3 มอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการแนวทางการพัฒนาระยะปานกลางรองรับการเปิดให้บริการรถไฟสายจีน-สปป. ลาว พร้อมกรอบวงเงินงบประมาณให้มีความชัดเจน เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการรองรับการขนส่งสินค้าและการเดินทางที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 1.3.4 มอบหมายให้จังหวัดหนองคายร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเจรจากับสปป. ลาวเพื่อผ่อนผันการเปิดจุดผ่านแดนอื่น ๆ สำหรับการนำเข้า-ส่งออก และการเดินทางสัญจรเพื่อลดความแออัดบริเวณสะพานมิตรภาพไทย-สปป. ลาว แห่งที่ 1 2. การพัฒนาระบบ National Single Window (NSW) 2.1 สาระสำคัญ ปัจจุบันมีการเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาต/ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ NSW แล้ว 10,107 รายการ จาก 11,352 รายการ คิดเป็นร้อยละ 89.03 และมีหน่วยงานที่เชื่อมโยงข้อมูลครบถ้วนแล้ว 19 หน่วยงาน จากทั้งหมด 24 หน่วยงาน นอกจากนี้ ไทยได้เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลใบขนส่งสินค้าอาเซียนอย่างเป็นทางการกับสิงคโปร์และราชอาณาจักรกัมพูชาแล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างปรับปรุงกระบวนงานต่าง ๆ ได้แก่ การลดระยะเวลาและขั้นตอนของการตรวจสอบสินค้าของหน่วยงานผู้ออกใบอนุญาต ณ ท่า/ที่นำเข้า-ส่งออก และการขนส่งสินค้าในรูปแบบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) เพื่อรองรับการจัดตั้งศูนย์กลางการกระจายสินค้า รวมทั้งอยู่ระหว่างแก้ไขปรับปรุงกฎหมายหรือกฎระเบียบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวกในการนำเข้า ส่งออกสินค้า 2.2 ความเห็นและประเด็นอภิปราย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาปรับปรุงเพิ่มเติมกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการรองรับการชำระเงินและส่งข้อมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งการยืนยันตัวตนด้วยระบบดิจิทัลผ่านระบบ NSW เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถชำระค่าบริการเกี่ยวกับการขนส่ง ค่าธรรมเนียมภาครัฐ และชำระค่าบริการสินค้าด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มรูปแบบ 2.3 มติที่ประชุม รับทราบผลการดำเนินการฯ โดยให้กรมศุลกากรรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการต่อ กบส. ต่อไป 3. กรอบแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานผู้ออกใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก การแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อมูลรายการสินค้าควบคุม 3.1 สาระสำคัญ กรอบแนวทางปฏิบัติฯ เป็นการกำหนดรายละเอียดของแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานผู้ออกใบอนุญาตฯ การแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อมูลรายการสินค้าควบคุม การปรับปรุงข้อมูลสินค้าควบคุมให้เป็นปัจจุบันเพื่อใช้และจัดทำฐานข้อมูลสินค้าควบคุมภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงการกำหนดระยะเวลาในการแจ้งรายการสินค้าควบคุมในกรณีที่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อมูลรายการสินค้าควบคุม เพื่อให้มีการพัฒนาและเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์ 3.2 ความเห็นและประเด็นอภิปราย การกำหนดกรอบแนวทางปฏิบัติฯ จะเป็น การสนับสนุนให้มีการเชื่อมโยงข้อมูลใบอนุญาตอิเล็กทรอนิกส์กับระบบ NSW ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.3 มติที่ประชุม เห็นชอบในหลักการของกรอบแนวทางปฏิบัติฯ และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพัฒนานโยบายและกำกับดูแลระบบ NSW พิจารณาจัดทำกฎระเบียบหรือแนวทางปฏิบัติสำหรับหน่วยงานผู้ออกใบอนุญาตนำเข้า-ส่งออก การแก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติม หรือยกเลิกข้อมูลรายการสินค้าควบคุม และนำเสนอ กบส. ต่อไป 4. ความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมติ กบส. ครั้งที่ 2/2563 ประเด็น มิติ กบส. - การชะลอการบังคับให้เรือชายฝั่งที่รับตู้สินค้าขาเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังและการบรรทุกตู้สินค้าลงเรือที่ท่าเทียบเรือชายฝั่ง (ท่าเทียบเรือ A) โดยท่าเรือแหลมฉบังได้จ้างสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยศึกษาโครงสร้างต้นทุนการขนส่งสินค้าชายฝั่งของท่าเรือแหลมฉบังแล้ว มอบหมายให้ คค. เร่งรัดและติดตามการดำเนินการของ การท่าเรือแห่งประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 (เรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหา ตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลนในธุรกิจขนส่งสินค้าทางทะเลของการท่าเรือแห่งประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวข้อง) และรายงานกบส. ต่อไป - การบรรเทาปัญหาจากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ โดยกระทรวงพาณิชย์ได้อนุญาตให้เรือที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (ไม่เกิน 400 เมตร) สามารถเข้ามาขนถ่ายสินค้าที่ท่าเรือไทยได้ รวมทั้งมีการนำตู้คอนเทนเนอร์เปล่าเข้ามาจำนวนหนึ่งแล้ว มอบหมายให้ คค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกในการนำเรือขนาดความยาวไม่เกิน 400 เมตร เข้าเทียบท่าได้อย่างต่อเนื่อง 20. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการตามกฎกหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริม การมีงานทำของคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป เรื่องเดิม 1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะรวม 8 ประเด็น ได้แก่ (1) รัฐบาลควรเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐจ้างงานคนพิการให้ครบถ้วนตามกฎหมาย (2) ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนพิการ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจ้างงานคนพิการ (3) เร่งรัดการดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานคนพิการที่มีอยู่ในปัจจุบัน (4) พัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบตรวจสอบการจ้างงานคนพิการแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ (5) หารือและสร้างความเข้าใจให้แก่สถานประกอบการเกี่ยวกับแนวทางการจ้างงานคนพิการ (6) จัดตั้งกลไกการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการในการสร้างความเข้มแข็งและประสานงานกับเครือข่าย หน่วยงาน และศูนย์บริการทั่วไป (7) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับคนพิการเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของคนพิการ และ (8) ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับผู้ประกอบการที่ดำเนินมาตรการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ และเพิ่มสิทธิประโยชน์ทางภาษีของมาตรการคงแรงงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 ให้กับบริษัทที่มีการจ้างงานคนพิการด้วย 2. รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงแรงงาน (รง.) สำนักงาน ก.พ. สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (สวส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ข้อเท็จจริง พม. ได้พิจารณาหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2. เพื่อพิจารณาศึกษารายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว ดังนี้ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ผลการพิจารณา 1. เร่งรัดหน่วยงานของรัฐให้จ้างงานคนพิการให้ครบถ้วนตามกฎหมาย - รง. ได้ดำเนินการจัดประชุมคณะอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการด้านแรงงาน (อนุกรรมการฯ) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564 โดยที่ประชุมได้ มีมติ ดังนี้ 1. มอบหมายกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) เสนอคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ (กพช.) และคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณากำหนดมาตรการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐต่อไป 2. เห็นชอบให้ รง. แต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมการจ้างงานคนพิการ (คณะทำงานฯ) เพื่อส่งเสริมการจ้างงานคนพิการให้เพิ่มขึ้น 3. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ (สำนักงานนโยบายแรงงานนอกระบบ) ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อศึกษาวิจัยเรื่องการจ้างงานคนพิการ และใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดนโยบายและอัตราส่วนการจ้างงานคนพิการที่เหมาะสม - สงป. เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะที่กำหนดให้รัฐบาลควรเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐจ้างงานคนพิการให้ครบถ้วน โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของหน่วยงานสำหรับกรณีที่จะให้หน่วยงานของรัฐจ่ายเงินอุดหนุนให้กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการโดยหักจากงบประมาณของหน่วยงานรัฐที่ไม่จ้างคนพิการหรือจ้างไม่ครบนั้น เห็นว่าพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่ได้กำหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องส่งเงินดังกล่าวแต่อย่างใด - พม. โดย พก. มีแนวทางการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อน การจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐ ดังนี้ 1. ชี้แจงแนวทางการปฏิบัติตามกฎหมายการจ้างงานคนพิการของหน่วยงานของรัฐ เพื่อสร้างความรับรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย 2. ขับเคลื่อนการจ้างงานคนพิการในหน่วยงานของรัฐ โดยเข้าพบผู้บริหารระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า 3. เสนอประเด็นการจ้างงานภาครัฐเข้าสู่ การประชุม กพช. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2564 โดยที่ประชุมมอบหมายให้ พก. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้หน่วยงานของรัฐเร่งรัดดำเนินการจ้างงานคนพิการตามกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนภายในปี 2566 - สำนักงาน ก.พ. ได้ดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์การคัดเลือกคนพิการเข้ารับราชการ ซึ่งจะทำให้คนพิการสามารถเข้ารับราชการได้โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการสอบแข่งขันซึ่งมีหลายขั้นตอน และส่วนราชการสามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว ยืดหยุ่น และรวดเร็วยิ่งขึ้น รวมทั้งได้มอบหมายผู้แทนเป็นคณะอนุกรรมการฯ และเข้าร่วมประชุม กพช. เพื่อให้ข้อมูลและเสนอแนะความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนพิการในภาครัฐด้วย นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ. ได้มีข้อคิดเห็นให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งประสานความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจในการปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานคนพิการให้ครบถ้วน รวมทั้งจัดให้มีกลไกในการผลักดันการจ้างงานคนพิการสำหรับหน่วยงานรัฐทุกประเภท 2. ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนพิการ - ปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดจำนวนคนพิการที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐจะต้องรับเข้าทำงาน และจำนวนเงินที่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการจะต้องนำส่งเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2554 เกี่ยวกับสัดส่วนการจ้างงานและการจ่ายค่าจ้างของคนพิการ - ในคราวประชุมคณะอนุกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2564 ที่ประชุมได้พิจารณาการปรับสัดส่วนการจ้างงานคนพิการในภาครัฐให้เพิ่มมากขึ้น และ มีมติเห็นชอบให้ รง. แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อส่งเสริมการจ้างงานคนพิการให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมอบหมายให้ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานศึกษาความเป็นไปได้และเสนอแนวทางในการกำหนดให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบกิจการและหน่วยงานของรัฐจ่ายค่าจ้างให้แก่คนพิการขั้นต่ำรวมแล้วไม่น้อยกว่า 30 วันต่อเดือน โดยคำนวณจากอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน - แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เพื่อให้ รง. มีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองแรงงานคนพิการให้ครบถ้วนในทุกมิติ - ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการฯ ให้คนพิการมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น - พิจารณาเพิ่มเติมหมวดว่าด้วยการใช้แรงงานคนพิการไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 - พิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 มาตรา 35 และกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 - พม. โดย พก. ได้มอบหมายให้มูลนิธิสถาบันวิจัยกฎหมายดำเนินการศึกษาและพิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ในประเด็นดังกล่าวแล้ว - รง. ได้ดำเนินการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการฯ จากเดิม 26 คน เป็น 33 คน เพื่อให้ครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรคนพิการอย่างครบถ้วนแล้ว - รง. ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มหมวดการจ้างงานคนพิการในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 แล้ว - กค. ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถจัดซื้อจัดจ้างกับองค์กรต่าง ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนคนพิการได้มากขึ้น - สวส. ได้มีการดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคม และกลุ่มกิจการเพื่อสังคมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการจ้างงานแก่บุคคลผู้สมควรได้รับการส่งเสริมเป็นพิเศษ 3. เร่งรัดดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับการจ้างงานคนพิการที่มีอยู่ในปัจจุบัน - เร่งรัดการปฏิบัติตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพการให้บริการที่มีมาตรฐานการคุ้มครองแรงงาน มาตรการเพื่อการมีงานทำ ตลอดจนได้รับการส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระและบริการสื่อสิ่งอำนวยความสะดวก เทคโนโลยีหรือความช่วยเหลืออื่นใด เพื่อการทำงานและประกอบอาชีพของคนพิการ พ.ศ. 2555 - เร่งดำเนินการตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้ พก. ต้องจัดทำประกาศโฆษณาข้อมูลการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ? 35 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว - บังคับใช้บทบัญญัติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างจริงจัง - รง. ได้มีการดำเนินการ ดังนี้ 1. กรมการจัดหางานได้ดำเนินการเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากมาตรการต่าง ๆ โดยให้การส่งเสริมการมีงานทำให้แก่คนพิการให้มีรายได้เหมาะสมกับความรู้ความสามารถ และมีการแนะนำเกี่ยวกับการมีงานทำและการประกอบอาชีพอิสระที่เหมาะสมกับความพิการ 2. กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ให้บริการคนพิการฝึกอาชีพร่วมในหลักสูตรปกติของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และจัดให้มีการฝึกเฉพาะกลุ่มคนพิการและผู้ดูแลคนพิการ 3. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ให้ความคุ้มครองทางสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายที่คนพิการได้รับประโยชน์ มีการตรวจแรงงานในระบบให้ได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานโดยเท่าเทียมและไม่เลือกปฏิบัติและดำเนินการส่งเสริมสวัสดิการแก่แรงงานกลุ่มพิเศษ เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ความรู้แก่แรงงานคนพิการ - พม. โดย พก. ได้มีการเน้นย้ำการบังคับใช้บทบัญญัติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการ โดยสำหรับการดำเนินการตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว พก. อยู่ระหว่างการดำเนินการรวบรวมข้อมูล เมื่อจัดทำข้อมูลเรียบร้อยแล้วจะเร่งดำเนินการประกาศต่อสาธารณะตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป - พม. ได้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการขจัดการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อคนพิการ ซึ่งคณะอนุกรรมการดังกล่าวจะเร่งดำเนินการใช้บทบัญญัติว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อคนพิการตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการต่อไป 4. พัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบตรวจสอบการจ้างงานคนพิการแบบบูรณาการระหว่างหน่วยงานรวมถึงดำเนินคดีกรณีการจ้างงานคนพิการในอัตราค่าจ้างต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดอย่างจริงจัง - รง. และ พม. ได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวโดยมอบหมายให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดและสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกรุงเทพมหานครตรวจสอบการจ้างงานคนพิการของสถานประกอบการให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 หากมีการกระทำผิดกฎหมาย ก็ให้บังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศการให้บริการตามพระราชบัญญัติดังกล่าวในด้านต่าง ๆ 5. หารือและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจ้างงานคนพิการ - เร่งหารือร่วมกับคนพิการและสถานประกอบการเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เพื่อให้คนพิการและผู้ประกอบการปฏิบัติได้ชัดเจนและถูกต้องในสถานการณ์ COVID-19 - สร้างความเข้าใจกับสถานประกอบการเกี่ยวกับรูปแบบและวิธีการมอบหมายงานกรณีสถานประกอบการจ้างงานคนพิการเพื่อไปทำงานสาธารณประโยชน์ในชุมชนตามคำสั่งของสถานประกอบการ - รง. ได้จัดทำคู่มือการให้บริการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เพื่อใช้สำหรับเป็นแนวทางปฏิบัติและแนวทางการดำเนินงานการให้บริการประชาชน เพื่อให้การบริการนายจ้าง สถานประกอบการหน่วยงานของรัฐ และคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีมาตรฐานเดียวกัน รวมทั้งอยู่ระหว่างรวบรวมประเด็นปัญหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้คนพิการและผู้ประกอบการปฏิบัติได้ชัดเจนและถูกต้องในสถานการณ์ COVID-19 - รง. ได้จัดทำแผนขอความร่วมมือและสร้างความเข้าใจแก่นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการในการจ้างงานคนพิการเพื่อไปทำงานสาธารณประโยชน์ในชุมชนตามคำสั่งของสถานประกอบการ เพื่อทำให้คนพิการได้รับการจ้างงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้มีการลงพื้นที่ในเชิงรุกเพื่อสร้างคงามรู้ความเข้าใจกับนายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการในเรื่องดังกล่าวด้วย 6. จัดตั้งกลไกการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ - พัฒนาหรือสนับสนุนการจัดตั้งกลไกการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการในการสร้างความเข้มแข็งและประสานงานกับเครือข่าย หน่วยงาน หรือศูนย์บริการคนพิการทั่วไป - สนับสนุนศูนย์บริการคนพิการทั่วไป โดยการศึกษาวิจัยรายการใช้จ่ายในการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการรายหัว (Unit Cost) และสนับสนุนงบประมาณรายงานค่าใช้จ่ายดังกล่าว - พม. โดย พก. มีศูนย์บริการคนพิการระดับจังหวัดเป็นหน่วยช่วยประสานระหว่างนายจ้างกับคนพิการที่ประสงค์มีงานทำ ซึ่งในกระบวนการการจับคู่งานนั้น เจ้าหน้าที่จะให้ความรู้เกี่ยวกับสิทธิในการเข้าถึงมาตรการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ เพื่อส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการ - พม. เห็นว่า ในการดำเนินการดังกล่าว ควรจะศึกษาและพิจารณาวงเงินและรายการค่าใช้จ่ายที่กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการให้การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์บริการคนพิการทั่วไปอย่างรอบคอบ และสอดคล้องกับสถานะทางการเงินของกองทุนฯ ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการทบทวนอัตราเงินและรายการค่าใช้จ่ายที่กอง ทุนฯ ให้การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์บริการคนพิการทั่วไป 7. ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับคนพิการเกี่ยวกับสิทธิของคนพิการ - รง และ พม. ได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับนายจ้าง สถานประกอบการและคนพิการ ทั้งการจัดประชุมและเผยแพร่ข้อมูลผ่านเว็บไซต์ของหน่วยงาน 8. ปรับเพิ่มประสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับผู้ประกอบการที่ดำเนินมาตรการส่งเสริมการมีงานทำของคนพิการและมาตรการคงแรงงานในช่วงสถานการณ์ COVID-19 - กค. ชี้แจงว่า 1. เพื่อสนับสนุนให้มีการจ้างแรงงานคนพิการ ปัจจุบันบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่รับคนพิการเข้าทำงานสามารถนำรายจ่ายค่าจ้างคนพิการและรายจ่ายเพื่อการจัดหาอุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีได้ 2 - 3 เท่า 2. ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรมสรรพากรได้กำหนดมาตรการภาษีเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบให้กับผู้ประกอบการและแรงงาน เช่น มาตรการส่งเสริมเสถียรภาพของการจ้างงาน มาตรการขยายระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อช่วยเหลือการจ้างงานคนพิการในปัจจุบันมีความเหมาะสมในระดับหนึ่งแล้ว 21. เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาวและเมียนมา) เพื่อให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ต่อไป ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เพื่อให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงานได้ต่อไป ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ดังนี้ 1. การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 สำหรับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ที่ปัจจุบันได้รับใบรับคำขอ (บต. 23) และใบเสร็จรับเงิน ทั้งนี้ หมายรวมถึงผู้ติดตามของคนต่างด้าวกลุ่มดังกล่าว ที่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 แล้ว 2. การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 สำหรับกลุ่มคนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานต่อไป เพื่อดำเนินการขออนุญาตทำงาน ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพและขอตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป โดยที่คนต่างด้าวต้องมีเอกสารเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ คนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 หรือไม่เกิน 2 ปี นับจากการอนุญาตเดิมสิ้นสุด ตามแต่ละกรณี ดังนี้ 2.1 คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ที่ประสงค์จะทำงานต่อไปไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 2.2 คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ที่ประสงค์จะทำงานต่อไปไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 2.3 คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 ที่ประสงค์ จะทำงานต่อไปไม่เกิน 2 ปี นับแต่ที่การอนุญาตทำงานเดิมสิ้นสุด 2.4 คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งใบอนุญาตทำงานสิ้นสุดลง โดยผลของกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงก่อนวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 หรือก่อนวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องมีผลบังคับใช้ ที่ประสงค์จะทำงานต่อไปไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ทั้งนี้ ไม่หมายรวมถึงคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 ที่มีแนวทางการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2564 แล้ว 2.5 ผู้ติดตามที่เป็นบุตรของคนต่างด้าวตาม ข้อ 2.1 ข้อ 2.2 และข้อ 2.4 ซึ่งได้ดำเนินการตามแนวทางที่กำหนดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 หรือมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 แล้ว ทั้งนี้ ในการประกันสุขภาพของคนต่างด้าวดังกล่าว สามารถประกันสุขภาพได้กับสถานพยาบาลของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยในประเทศ ตามแนวทางที่กระทรวงแรงงานกำหนด 3. การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3.1 กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการ ดังนี้ 1) ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 2.1 รวมถึงผู้ติดตามที่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 แล้ว อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เพื่อดำเนินการตรวจสุขภาพ และขอรับการตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เพื่อให้ได้รับการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรจนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และมิให้นำมาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ 27พฤศจิกายน 2558 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวดังกล่าว รวมถึงกำหนดการสิ้นผลของการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาวและเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ...... 2) ออกประกาศปรับปรุงแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 21สิงหาคม พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อนุญาตให้คนต่างด้าว ตามข้อ 1 รวมถึงผู้ติดตามที่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 แล้ว สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 และอนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 2.2 รวมถึงผู้ติดตามที่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 แล้ว สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ เพื่อดำเนินการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เพื่อให้ได้รับการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรจนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และมิให้นำมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และคำสั่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่งด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวดังกล่าว รวมถึงกำหนดการสิ้นผลของการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาวและเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563 (ฉบับที่ ..) 3) ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 2.3 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เพื่อดำเนินการตรวจสุขภาพ และขอตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป โดยที่คนต่างด้าวต้องมีเอกสารเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จคนต่างด้าวจะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานไม่เกิน 2 ปีนับจากการอนุญาตเดิมสิ้นสุด และมิให้นำมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และคำสั่งรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวดังกล่าว รวมถึงกำหนดการสิ้นผลของการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย ได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะเพื่อการทำงาน สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ฉบับที่ ..) 4) ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อนุญาตให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งใบอนุญาตทำงานและสิทธิในการทำงานสิ้นสุดลง โดยผลของกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 จนถึงวันที่ 13 กรกฏาคม 2564 หรือก่อนวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องมีผลบังคับใช้ อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เพื่อดำเนินการตรวจสุขภาพ และขอรับการตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 กรกฏาคม 2565 เพื่อให้ได้รับการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรจนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ให้รวมถึงผู้ติดตามที่ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 หรือมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 แล้วแต่กรณีด้วย และมิให้นำมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวดังกล่าว รวมถึงกำหนดการสิ้นผลของการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างต้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาวและเมียนมา ซึ่งใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมาย ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่...... 3.2 กระทรวงแรงงาน ดำเนินการ ดังนี้ 1) ออกประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อนุญาตให้คนต่างต้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ซึ่งประสงค์จะทำงานต่อไป อนุญาตให้ทำงานดังนี้ (1) การอนุญาตให้ทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 สำหรับคนต่างด้าวที่การอนุญาตทำงานจะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2564 โดยต้องดำเนินการขออนุญาตทำงานภายในวันที่ 30 กันยายน 2564 (2) การอนุญาตให้ทำงานตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 สำหรับคนต่างด้าวที่การอนุญาตทำงานจะสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2565 โดยต้องดำเนินการขออนุญาตทำงานภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 โดยการขออนุญาตทำงานกับกรมการจัดหางานตามข้อ (1) หรือ (2) ให้คนต่างด้าวยื่นคำขออนุญาตทำงาน และให้กรมการจัดหางานพิจารณาอนุญาตทำงานไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และกรมการจัดหางานจะจัดส่งข้อมูลการอนุญาตทำงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงสาธารณสุข กรมการปกครอง สำนักงานประกันสังคม และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่อที่แต่ละหน่วยงานจะได้พิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ คนต่างด้าวดังกล่าวจะได้รับการยกเว้นเงื่อนไขการเปลี่ยนนายจ้าง และเฉพาะคนต่างด้าวที่ทำงานในกิจการประมงทะเลให้สามารถเพิ่มนายจ้างในกิจการดังกล่าวได้ รวมแล้วไม่เกิน 3 ราย ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูขา ลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่??? 2) ออกประกาศปรับปรุงแก้ไข ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ลงวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างต้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 อนุญาตให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีใบอนุญาตทำงานอยู่ด้านหลังของบัตร หรือใบรับคำขอ (บต. 23) และใบเสร็จรับเงินที่เสมือนใบอนุญาตทำงาน ที่ผ่านการตรวจสุขภาพแล้ว ที่ประสงค์จะทำงานต่อไป โดยให้ยื่นคำขออนุญาตทำงาน พร้อมทั้งชำระคำธรรมเนียมใบอนุญาตทำงาน ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 และให้นายทะเบียนอนุญาตทำงานได้ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 รวมถึงได้รับการยกเว้นเงื่อนไขการเปลี่ยนนายจ้าง และเฉพาะคนต่างด้าวที่ทำงานในกิจการประมงทะเลให้สามารถเพิ่มนายจ้าง ในกิจการดังกล่าวได้ รวมแล้วไม่เกิน 3 ราย ทั้งนี้ กระทรวงแรงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ฉบับที่ ..) 3) ออกประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อนุญาตให้คนต่างต้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งใบอนุญาตทำงานและสิทธิในการทำงานสิ้นสุดลง โดยผลของกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงก่อนวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 หรือก่อนวันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องมีผลบังคับใช้ สำหรับคนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานต่อไป ทั้งนี้ไม่หมายรวมถึงคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563 โดยให้ยื่นขออนุญาตทำงานกับกรมการจัดหางาน และให้กรมการจัดหางานพิจารณาอนุญาตทำงานไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ทั้งนี้ นายจ้างหรือคนต่างด้าวต้องนำส่งใบรับรองผลการตรวจสุขภาพและหลักฐานการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปให้กรมการจัดหางานภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 รวมถึงให้คนต่างด้าวได้รับการยกเว้นเงื่อนไขการเปลี่ยนนายจ้าง และเฉพาะคนต่างด้าวที่ทำงานในกิจการประมงทะเลให้สามารถเพิ่มนายจ้างในกิจการดังกล่าวได้ รวมแล้วไม่เกิน 3 ราย ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาซึ่งใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลง โดยผลของกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 4) ออกประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างต้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดเงื่อนไขการเปลี่ยนนายจ้าง โดยปรับเปลี่ยนระยะเวลาการดำเนินการหานายจ้างรายใหม่จากภายใน 30 วัน เป็น 60 วัน นับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างรายเดิม สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาวและเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 หรือวันที่ประกาศกระทรวงแรงงานมีผลบังคับใช้ จนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และสภาวะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การยกเว้นและกำหนดเงื่อนไขการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาซึ่งได้รับอนุญาตให้ทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 5) ออกกฎกระทรวงการขอใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน การออกใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน การต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน การกำหนดหลักประกันและการคืนหลักประกันในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข่ในการขออนุญาตนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงาน การออกใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน การต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน การกำหนดหลักประกัน และการคืนหลักประกันในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ เพื่อให้การนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศตามหมวด 3 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สอดคล้องกับสภาวะทางด้านเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างกฎกระทรวงการขอใบอนุญาตนำคนต่างด้าว มาทำงาน การออกใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน การต่ออายุใบอนุญาตนำคนต่างด้าวมาทำงาน การกำหนดหลักประกัน และการคืนหลักประกันในการนำคนต่างด้าวมาทำงานกับนายจ้างในประเทศ พ.ศ. .... 3.3 กระทรวงสาธารณสุข และสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ดำเนินการตรวจสุขภาพ ให้กับคนต่างด้าว รวมถึงผู้ติดตามที่เป็นบุตรของคนต่างด้าว ดังนี้ 1) คนต่างด้าวตามข้อ 1. ข้อ 2.2 และข้อ 2.5 ให้ดำเนินการตรวจสุขภาพ กับสถานพยาบาลของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 2) คนต่างด้าวตามข้อ 2.1 ข้อ 2.3 และข้อ 2.4 ให้ดำเนินการตรวจสุขภาพกับสถานพยาบาลที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาล ทั้งนี้ คนต่างด้าวตามข้อ 1) และคนต่างด้าวตามข้อ 2) ที่ทำงานกับนายจ้างที่กิจการไม่อยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม หรือคนต่างด้าวตามข้อ 2) ที่อยู่ระหว่างการเข้าสู่กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ซึ่งผ่านการตรวจสุขภาพ ให้ประกันสุขภาพกับสถานพยาบาลของรัฐตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด เว้นแต่คนต่างด้าวดังกล่าวได้ทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยในประเทศแล้ว 3.4 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ดังนี้ 1) คนต่างด้าวตามข้อ 2.1 ข้อ 2.2 ข้อ 2.4 และ ข้อ 2.5 ที่ถือหนังสือเดินทาง หรือ เอกสารเดินทาง หรือ เอกสารรับรองบุคคล หรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางที่มีอายุเหลืออยู่ โดยตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ในกรณีที่หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสิ้นอายุให้คนต่างด้าวดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารดังกล่าวภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เพื่อใช้ในการขอรับการย้ายรอยตราประทับและตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ได้ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ทั้งนี้ คนต่างด้าวตามข้อ 2.5 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร โดยระยะเวลาดังกล่าวต้องไม่เกินวันที่คนต่างด้าวมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์ หากคนต่างด้าวดังกล่าวประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานให้ดำเนินการขอรับใบอนุญาตทำงาน และแก้ไขทะเบียนประวัติพร้อมยกเลิกรอยประทับตรา รหัส O (L-A) โดยให้ประทับตราอนุญาตประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส L-A ภายในหกสิบวันก่อนมีอายุครบสิบแปดบีบริบูรณ์ และตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 2) คนต่างด้าวตามข้อ 2.3 ที่ถือหนังสือเดินทาง หรือ เอกสารเดินทาง หรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางที่มีอายุเหลืออยู่ โดยตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปเพื่อทำงานเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เมื่อคนต่างด้าวดังกล่าว อยู่ในราชอาณาจักรครบกำหนดระยะเวลาที่อนุญาตแล้วหากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีก เพื่อการทำงานให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกเป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ระยะเวลาอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว เมื่อนับรวมกันแล้วได้ไม่เกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตทำงาน ทั้งนี้ ในกรณีที่หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสิ้นอายุให้ คนต่างด้าวดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารดังกล่าวภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เพื่อใช้ในการขอรับการย้ายรอยตราประทับและตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป รวมกันแล้วได้ไม่เกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตทำงาน 4. กรมการปกครอง และกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนและ ออกบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยให้แก่คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามข้อ 1 รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 ทั้งนี้ คนต่างด้าวตามข้อ 2 ให้กรมการปกครอง และกรุงเทพมหานคร พิจารณาจัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร 5. การพิจารณาให้ความเห็นชอบ สถานที่ออกเอกสารรับรองบุคคล (Certicate of Identiy: CI ของทางการเมียนมา ในประเทศไทย จำนวน 5 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดระนอง จังหวัดชลบุรี และจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดละ 1 แห่ง โดยให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองร่วมดำเนินการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป และกรมการจัดหางานร่วมดำเนินการอนุญาตทำงาน ภายในพื้นที่บริเวณเดียวกัน ทั้งนี้ ให้ทางการเมียนมาดำเนินการได้ในโอกาสแรกนับแต่วันที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบจนถึงวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เพื่อให้คนสัญชาติเมียนมา สามารถมีเอกสารรับรองบุคคล ฉบับใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุได้ภายในกำหนดเวลาวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 และภายในวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 หากทางการเมียนมาร้องขอสถานที่ออกเอกสารรับรองบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่การออกเอกสารรับรองบุคคล ให้ทางการเมียนมามีหนังสือร้องขอผ่านช่องทางการทูตและสามารถดำเนินการได้ไปพลางก่อน โดยให้กรมการจัดหางานนำเรียนคณะรัฐมนตรีเพื่อโปรดทราบ 6. หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาการอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษแล้ว ให้หน่วยงานด้านความมั่นคงดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุมดำเนินคดี คนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย หรือทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต และผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด 22. เรื่อง สรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปสถานการณ์สาธารณภัย และการช่วยเหลือ ระหว่างวันที่ 6 - 12 กรกฎาคม 2564 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) เสนอ ดังนี้ การคาดหมายลักษณะอากาศ การสั่งการเพื่อเตรียมความพร้อม และการช่วยเหลือ 1. สภาพอากาศ (ระหว่างวันที่ 12 - 18 กรกฎาคม 2564) ในช่วงวันที่ 12 - 13 กรกฎาคม 2564 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีกำลังอ่อนลง ขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งในวันที่ 14 - 18 กรกฎาคม 2564 ร่องมรสุมที่พาดผ่านบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร สำหรับทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 13 - 18 กรกฎาคม 2564 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 12 - 15 กรกฎาคม 2564 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนตกสะสม ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงด ออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 2. การแจ้งเตือนและสั่งการเพื่อเตรียมความพร้อม กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) แจ้งเตือนจังหวัด และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และคลื่นลมแรง โดยพิจารณาจากข้อมูลของกรมอุตุนิยมวิทยา หน่วยวิชาการที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลจากหน่วยงานในพื้นที่โดยเฝ้าระวังสถานการณ์ระหว่างวันที่ 9 - 13 กรกฎาคม 2564 3. ข้อสั่งการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย / ผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ได้มีข้อสั่งการเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 สั่งการให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2564 ดังนี้ 1) การเตรียมความพร้อม 1.1 การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อุทกภัย ให้จัดตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์โดยมีหน่วยงานด้านการพยากรณ์หน่วยงานด้านการบริหารจัดการน้ำ ฝ่ายปกครองในพื้นที่ ตลอดจนผู้เชี่ยวชาญจากภาคประชาสังคมหรือสถาบันการศึกษาที่มีศักยภาพ เพื่อร่วมทำหน้าที่ติดตามข้อมูลสภาพอากาศ สถานการณ์น้ำและเหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้เกิดสาธารณภัยในช่วงฤดูฝน รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำในพื้นที่ เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจของผู้อำนวยการแต่ละระดับ สำหรับใช้ในการสื่อสารแจ้งเตือนประชาชน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในการเผชิญเหตุได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ และสภาพพื้นที่ 1.2 การจัดทำแผนเผชิญเหตุอุทกภัย ให้ทบทวนและปรับปรุงแผนเผชิญเหตุอุทกภัยของจังหวัดให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 1.3 การระบายน้ำและการเพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ ให้มอบหมายกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับดำเนินการอย่างเป็นระบบ มีความเชื่อมโยงกันโดยเฉพาะตามรอยต่อเขตรับผิดชอบที่เป็นเส้นทางน้ำไหลผ่าน 1.4 การตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรงสถานที่ใช้กักเก็บน้ำ / กั้นน้ำ อาทิ อ่างเก็บน้ำ พนังกั้นน้ำให้มอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบจัดทีมวิศวกรเข้าสำรวจตรวจสอบ และปรับปรุงให้เกิดความมั่นคงแข็งแรง เพื่อให้สามารถรองรับกรณีฝนตกหนัก หรือน้ำไหลเข้า / ผ่านในปริมาณมาก รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่ 1.5 การแจ้งเตือนภัย เมื่อมีแนวโน้มการเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มขึ้นในพื้นที่ให้ดำเนินการแจ้งเตือนไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในแต่ละระดับ ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกลสาธารณภัยให้พร้อมเผชิญเหตุ และเตรียมการในพื้นที่เสี่ยงภัยเป็นการล่วงหน้า รวมทั้งแจ้งเตือนให้ประชาชนทราบในทุกช่องทางทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ อาทิ สื่อสังคมออนไลน์ วิทยุชุมชน หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน เพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูล ข่าวสาร ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติตนให้เกิดความปลอดภัย ช่องทางการแจ้งข้อมูล และการขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และในกรณีจังหวัดที่มีเส้นทางน้ำเชื่อมต่อกันให้มีการประเมินสถานการณ์ร่วมกัน และแจ้งเตือนระหว่างจังหวัดต้นน้ำและจังหวัดปลายน้ำอย่างใกล้ชิด 2) การเผชิญเหตุ เมื่อเกิดหรือคาดว่าจะเกิดสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินถล่มในพื้นที่ ให้ยึดแนวทางการจัดการสาธารณภัยในภาวะฉุกเฉิน ตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2558 และกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โดยดำเนินการตามแนวทาง ดังนี้ 2.1 จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ระดับจังหวัด อำเภอ และศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินในระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์ควบคุม สั่งการ และอำนวยการหลักในการระดมสรรรพกำลัง ตลอดจน การประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กร สาธารณกุศล 2.2 ให้มอบหมายฝ่ายปกครอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน ตลอดจนอาสาสมัคร ประชาชน จิตอาสา เตรียมความพร้อมเฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงในชุมชน พื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจ สถานที่สำคัญต่าง ๆ และร่วมกันกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเมื่อเกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ทั้งนี้ หากมีกรณีน้ำท่วมขัง สร้างความเดือดร้อน ความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนให้เร่งกำหนดแนวทางการระบายน้ำ พร้อมทั้งสั่งใช้เครื่องจักรกลในพื้นที่ของหน่วยงาน ฝ่ายพลเรือน หน่วยทหาร และภาคเอกชน เพื่อเร่งระบายน้ำ และเปิดทางน้ำในพื้นที่ 2.3 จัดชุดปฏิบัติการเร่งให้ความช่วยเหลือด้านการดำรงชีพแก่ประชาชนที่ประสบภัยตามวงรอบ อย่างต่อเนื่อง อาทิ การจัดตั้งโรงครัวพระราชทาน ความช่วยเหลือด้านอาหาร น้ำดื่ม การรักษาพยาบาล โดยอย่าให้เกิด ความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติ และเชิญชวนประชาชนจิตอาสามีส่วนร่วมกับภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัย 2.4 กรณีบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย ให้บูรณาการหน่วยงานเป็นทีมช่างในพื้นที่ ทั้งหน่วยทหาร ตำรวจ ฝ่ายปกครอง สถาบันการศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนประชาชนจิตอาสา เพื่อเร่งซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนโดยเร็ว 2.5 กรณีเส้นทางคมนาคมได้รับความเสียหาย หรือถูกน้ำท่วมจนประชาชนไม่สามารถใช้ยานพาหนะสัญจรได้ให้จัดทำป้ายแจ้งเตือนพร้อมทั้งจัดเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกการจราจร แนะนำเส้นทางเลี่ยงที่ปลอดภัย รวมทั้งจัดยานพาหนะที่เหมาะสม อาทิ เรือ รถยกสูง เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน และให้เร่งซ่อมแซมเส้นทางที่ชำรุด / ถูกตัดขาด เพื่อให้ประชาชนใช้สัญจรได้โดยเร็ว 2.6 เน้นย้ำการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนในช่วงเกิดสถานการณ์อุทกภัย ผ่านสื่อมวลชน ตลอดจนสื่อแขนงต่าง ๆ และสื่อสังคมออนไลน์เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง 2.7 ให้รายงานสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย น้ำป่าไหลหลาก และดินถล่มที่เกิดขึ้นต่อ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางอย่างต่อเนื่อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการประเมินสถานการณ์และเสนอ ความเห็นต่อผู้บัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติในการตัดสินใจสั่งการในเชิงนโยบายต่อไป สรุปสถานการณ์น้ำไหลหลาก และดินสไลด์ ระหว่างวันที่ 6-12 กรกฎาคม 2564 1. จังหวัดตรัง วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 06.00 น. เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากและดินสไลด์ในพื้นที่อำเภอกันตัง ตำบลโคกยาง (หมู่ที่ 6) ตำบลบางหมาก อำเภอวังวิเศษ ตำบลวังมะปรางเหนือ ตำบลเขาวิเศษ (หมู่ที่ 8) อำเภอสิเกา ตำบลนาเมืองเพชร ตำบลกะลาเส อำเภอเมืองตรัง ตำบลนาโต๊ะหมิง (หมู่ที่ 2 , 3 ,4 , 6) ประชาชนได้รับผลกระทบ 9 ครัวเรือน ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 2. จังหวัดระนอง วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 09.25 น. เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่เมืองระนอง ตำบลบางนอน (หมู่ที่ 1) ตำบลบางริ้น (หมู่ที่ 2 , 6) อำเภอกระบุรี ตำบลน้ำจืด (หมู่ที่ 1 , 2 , 3 , 9) ตำบลลำเลียง (หมู่ที่ 1 , 7 , 10) ตำบลปากจั่น (หมู่ที่ 2 , 5 , 6 , 7 , 8 , 10) ตำบลจ.ป.ร. (หมู่ที่ 5 , 6 , 8 , 9 , 11) ประชาชนได้รับผลกระทบ 276 ครัวเรือน ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ดินสไลด์ จังหวัดระนอง วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.00 น. เกิดเหตุดินสไลด์ปิดทับเส้นทางในพื้นที่อำเภอละอุ่น ตำบลบางแก้ว (หมู่ที่ 5) อำเภอเมืองระนอง ตำบลบางนอน (หมู่ที่ 1) ประชาชนไม่สามารถสัญจรผ่านไป - มาได้ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันสามารถเปิดใช้เส้นทางสัญจรผ่านได้ 3. จังหวัดลำปาง วันที่ 11 กรกฎาคม 2564 เวลา 20.00 น. เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอแจ้ห่ม ตำบลทุ่งผึ้ง (หมู่ที่ 7) บริเวณถนนทางข้ามลำห้วยที่ใช้ท่อคอนกรีตถมดินเพื่อสัญจรไปมาถูกน้ำกัดเซาะ จำนวน 2 จุด ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว ดินสไลด์ จังหวัดลำปาง วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.00 น. เกิดเหตุดินสไลด์ปิดทับเส้นทางหลวงหมายเลข 1252 บริเวณ กม. 35+200 แม่ตอน-ข่วงกอม ในพื้นที่อำเภอเมืองปาน ตำบลแจ้ซ้อน ประชาชนไม่สามารถสัญจรผ่าน ไป - มาได้ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันสามารถเปิดใช้เส้นทางสัญจรผ่านได้ 4. จังหวัดนครสวรรค์ วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 08.00 น. เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอตากฟ้า ตำบลอุดมธัญญา (หมู่ที่ 6) และอำเภอชุมตาบง ตำบลปางสวรรค์ (หมู่ที่ 8 , 11) บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 3 หลัง ถนน 1 สาย ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 5. จังหวัดกระบี่ วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.00 น. เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอคลองท่อม ตำบลคลองท่อมใต้ (หมู่ที่ 4) ตำบลคลองท่อมเหนือ (หมู่ที่ 4) ประชาชนได้รับผลกระทบ 1 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 6. จังหวัดนครนายก วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 เวลา 22.00 น. ฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่อำเภอเมืองนครนายก ตำบลเขาพระ (หมู่ที่ 12) บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 50 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 7. จังหวัดแม่ฮ่องสอน วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 02.00 น. เกิดเหตุน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน ตำบลปางหมู (หมู่ที่ 7) ทำให้บ้านเรือนประชาชนได้รับผลกระทบ 7 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต การให้ความช่วยเหลือ : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ หน่วยทหารในพื้นที่ อปท. อปพร. อาสาสมัคร มูลนิธิเข้าสำรวจความเสียหายและให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว สรุปสถานการณ์วาตภัย ระหว่างวันที่ 6 - 12 กรกฎาคม 2564 1. จังหวัดพิจิตร วันที่ 11 กรกฎาคม 2564 เวลา 18.15 น. เกิดเหตุวาตภัยในพื้นที่อำเภอเมืองพิจิตร ตำบลเมืองเก่า (หมู่ที่ 2) บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 1 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 2. จังหวัดพังงา วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.00 น. เกิดเหตุวาตภัยในพื้นที่อำเภอตะกั่วป่า ตำบลคึกคัก (หมู่ที่ 4) อำเภอตะกั่วทุ่ง ตตำบลโคกกลอย (หมู่ที่ 4) ตำบลกะไหล (หมู่ที่ 1) บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 3 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 3. จังหวัดอุตรดิตถ์ วันที่ 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 14.30 น. เกิดเหตุวาตภัยในพื้นที่อำเภอพิชัย ตำบลท่าสัก (หมู่ที่ 10) บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 3 หลัง ไม่มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต 4. จังหวัดระนอง วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 เวลา 00.30 น. เกิดเหตุวาตภัยในพื้นที่อำเภอสุขสำราญ ตำบลนาคา (หมู่ที่ 3) บ้านเรือนประชาชนได้ความเสียหาย 1 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 5. จังหวัดจันทบุรี วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 เวลา 20.00 น. เกิดฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมขังในพื้นที่อำเภอเมืองจันทบุรี บริเวณถนนสายพระยาตรัง หน้าสหกรณ์ครู ถนนเลียบเนินตั้งแต่หน้าโรงพยาบาลพระปกเกล้า หน้าศาลากลางจังหวัด หน้าวิทยาลัยพยาบาลถึงบริเวณหน้าโรงแรมนิวแทรเวิลลอด์จ แยกแขวงการทางถึงหน้าโรงพยาบาลกรุงเทพ จันทบุรี ถนนท่าแฉลบตั้งแต่สี่แยกไฟแดง สำนักงานที่ดินจังหวัดผ่านหอกระต่ายถึงหน้าธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ถนนหน้าบริษัท ขนส่ง จำกัด ถนนมหาราชตั้งแต่หน้าโรงเรียนเทศบาล 2 ถึงแยกร้านฝากจันทร์ ถนนสุขุมวิท บริเวณตลาดวรรณการ ระยะทางประมาณ 50 เมตร และซอยวัดพลับพลา ปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 6. จังหวัดตราด วันที่ 8 กรกฎาคม 2564 เวลา 12.00 น. เกิดเหตุวาตภัยในพื้นที่อำเภอคลองใหญ่ ตำบลไม้รูด (หมู่ที่ 3) ทำให้เสาไฟฟ้าล้ม 22 ต้น ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 7. จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.00 น. เกิดเหตุวาตภัยในพื้นที่อำเภอพิปูน ตำบลพิปูน (หมู่ที่ 6) บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 1 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต การให้ความช่วยเหลือ : สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด อำเภอ อปท. อปพร. อาสาสมัคร และมูลนิธิเข้าสำรวจความเสียหาย และให้การช่วยเหลือในเบื้องต้น สรุปสถานการณ์แผ่นดินไหว ระหว่างวันที่ 6 - 12 กรกฎาคม 2564 กรมป้องกันและบรเทาสาธารณภัย ได้รับรายงานข้อมูลเหตุแผ่นดินไหว จากกรมอุตุนิยมวิทยา และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้เกิดแผ่นดินไหว ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ดังนี้ 1. วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เวลา 10.40 น. เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 2.3 ที่ความลึก 1 กม. บริเวณอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย รู้สึกสั่นไหวในพื้นที่ ไม่มีรายงานความเสียหาย 2. วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เวลา 20.31 น. เกิดแผ่นดินไหวในทะเล ขนาด 6.0 ที่ความลึก 133 กม. บริเวณ Minahassa Peninsula,Sulawesi ห่างจากประเทศไทยประมาณ 2,400 กม. ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย 3. วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.43 น. เกิดแผ่นดินไหวบนบก ขนาด 4.8 ที่ความลึก 1 กม. บริเวณสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ห่างจากบ้านน้ำช้าง ตำบลขุนน่าน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน ประมาณ 16 กม. สามารถรับรู้แรงสั่นสะเทือนได้ในพื้นที่จังหวัดน่าน (อำเภอปัว เชียงกลาง เฉลิมพระเกียรติ ภูเพียง และอำเภอสองแคว) จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย แม่จัน และอำเภอเชียงของ) และจังหวัดพะเยา (อำเภอปง) ไม่ได้รับรายงานความเสียหาย สรุปสถานการณ์อุบัติภัย และเหตุการณ์สำคัญ ระหว่างวันที่ 6 - 12 กรกฎาคม 2564 1. จังหวัดกาฬสินธุ์ วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เวลา 14.50 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือนประชาชน ตรงข้ามโรงเรียนอนุบาลกาฬสินธุ์ (บ้านเตาไห) ตำบลหลุบ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ลักษณะเป็นบ้านสองชั้นครึ่งปูนครึ่งไม้ เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าทำการดับเพลิงจนเพลิงสงบ เวลา 15.30 น. เพลิงลุกไหม้ได้รับความเสียหายทั้งหลัง 2 หลัง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 2. จังหวัดชลบุรี วันที่ 11 กรกฎาคม 2564 เวลา 01.00 น. เกิดอุบัติเหตุทางถนน บนถนนมอเตอร์เวย์สาย 7 บริเวณสะพานสวนผีเสื้อ หมู่ที่ 9 ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา ทำให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 1 คน เจ้าหน้าที่กู้ชีพ - กู้ภัย เข้าให้การช่วยเหลือนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา 3. จังหวัดนนทบุรี วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เวลา 13.30 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้บ้านเรือนประชาชน ตั้งอยู่เลขที่ 14/5268 หมู่ที่ 14 ตำบลบางบัวทอง อำเภอบางบัวทอง ลักษณะเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้นครึ่ง เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าทำการดับเพลิงจนเพลิงสงบ เวลา 14.30 น. เพลิงลุกไหม้ได้รับความเสียหาย 1 หลัง มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 4. จังหวัดปัตตานี วันที่ 9 กรกฎาคม 2564 เวลา 04.00 น. เกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารเรียนของโรงเรียนบ้านป่าสวย หมู่ที่ 2 ตำบลแม่ลาน อำเภอแม่ลาน ลักษณะเป็นอาคารไม้ 2 ชั้น เจ้าหน้าที่ดับเพลิงเข้าทำการดับเพลิงจนเพลิงสงบ เวลา 05.30 น. เพลิงลุกไหม้ได้รับความเสียหาย 2 ห้อง ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต 5. จังหวัดบุรีรัมย์ วันที่ 7 กรกฎาคม 2564 เวลา 14.36 น. เกิดอุบัติเหตุทางถนน รถเสียหลักพลิกคว่ำ (ถนนโชคชัย-เดชอุดม) บริเวณตำบลโคกม้า อำเภอประโคนชัย ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 6 คน เจ้าหน้าที่กู้ชีพ - กู้ภัย เข้าให้การช่วยเหลือนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลประโคนชัย 23. เรื่อง มาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการอันเนื่องมาจากข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอดังนี้ 1. เห็นชอบในหลักการของมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงาน ผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 24) ในพื้นที่ 10 จังหวัดควบคุมสูงสุด ตามที่กำหนดไว้ทดแทนแนวทางการให้ความช่วยเหลือกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 2. เห็นควรมอบหมายให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน รับไปพิจารณาเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล) ให้ครอบคลุมจำนวนเงินที่ให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม พื้นที่ และกิจการตามหลักการที่กำหนดไว้ และเร่งลงทะเบียนกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่ยังไม่อยู่ในระบบประกันสังคม เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการตามหลักการที่กำหนดไว้ โดยขอรับสนับสนุนแหล่งเงินเพื่อดำเนินตามมาตรการดังกล่าวตามขั้นตอนของพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ต่อไป ทั้งนี้ เห็นควรให้กระทรวงมหาดไทยให้ความช่วยเหลือกระทรวงแรงงานในการตรวจสอบผู้ที่ลงทะเบียนเพิ่มเติมเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ต่อไป 3. เห็นชอบในหลักการของมาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่าย ค่าสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ไฟฟ้าและน้ำประปา) ของประชาชนและภาคธุรกิจทั่วประเทศตามที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ (การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค) ดำเนินการตามมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ไฟฟ้าและน้ำประปา) โดยขอรับสนับสนุนแหล่งเงินเพื่อดำเนินตามมาตรการดังกล่าวตามขั้นตอนของพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ต่อไป 4. เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หารือกับสถานศึกษาในสังกัด เพื่อกำหนดแนวทางการลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา อาทิ พิจารณาให้ส่วนลดเงินบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่นในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เป็นกรณีพิเศษ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครองตามความจำเป็นและความเหมาะสม พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำข้อเสนอโครงการในลักษณะที่กำหนดให้รัฐร่วมสมทบภาระส่วนลดให้แก่สถานศึกษาบางส่วนโดยให้รายงานข้อสรุป แนวทางการดำเนินการ และวงเงินที่จะใช้ดำเนินการภายใน 1 สัปดาห์ และเร่งเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนโดยเร็ว 5. เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย หารือกับธนาคารพาณิชย์ เพื่อดำเนินมาตรการผ่อนปรนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยหรือการเลื่อนงวดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าทั้งที่เป็นประชาชนและผู้ประกอบการอย่างจริงจัง และกำหนดมาตรการทางการเงินที่จะช่วยเหลือประชาชนสำหรับผู้ให้บริการทางการเงินที่อยู่นอกการกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งกำหนดมาตรการจริงจังสำหรับผู้ทวงถามหนี้ที่ดำเนินการไม่เป็นธรรมกับประชาชน ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยติดตามการดำเนินงานของสถาบันการเงินตามมาตรการที่กำหนดอย่างใกล้ชิด และกำหนดช่องทางการร้องเรียนของประชาชนในกรณีที่สถาบันการเงินไม่ให้ความร่วมมือในการบรรเทาภาระทางการเงินของประชาชนข้างต้น เพื่อให้กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการอื่น ๆ ต่อสถาบันการเงินดังกล่าวต่อไป สาระสำคัญ แนวทางการให้ความช่วยเหลือ และบรรเทาผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เสนอในครั้งนี้ เป็นการให้ความช่วยเหลือประชาชน กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 27) เพิ่มเติมจากมาตรการให้ความช่วยเหลือกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอันเนื่องมาจากการปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ซึ่งสามารถแบ่งมาตรการให้ความช่วยเหลือประชาชน ออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1. มาตรการให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน ประกอบด้วย 1.1 การให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดที่ต้องปฏิบัติเพิ่มเติมนอกเหนือจากข้อปฏิบัติตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 24) ได้แก่ พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (จังหวัดนครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร) และพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศ (จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา) (ตามข้อกำหนด ฉบับที่ 27) รวม 10 จังหวัด 1) หลักการการให้ความช่วยเหลือ 1.1) กลุ่มเป้าหมายให้ความช่วยเหลือ ขยายการให้ความช่วยเหลือ กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการทั้งในส่วนที่อยู่ในระบบและนอกระบบในกิจการที่ได้รับผลกระทบตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 25) ให้ครอบคลุมถึงกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการในกิจการที่ได้รับผลกระทบตามข้อกำหนด (ฉบับที่ 27) ทั้งในส่วนที่อยู่ในระบบประกันสังคมและไม่อยู่ในระบบประกันสังคม 1.2) ประเภทกิจการที่ให้ความช่วยเหลือ ขยายประเภทกิจการที่ได้รับผลกระทบ (ตามหมวดที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด) จากเดิม 4 สาขา ได้แก่ กิจการก่อสร้าง กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ และกิจกรรมบริการด้านอื่นๆ เพิ่มเติมเป็น 9 สาขา โดยเพิ่มเติมสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า สาขาการขายส่ง และการขายปลีก การซ่อมยานยนต์ สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชาการ และสาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร 1.3) ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือ จำนวน 1 เดือน 1.4) เป้าประสงค์ของมาตรการ เป็นการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการและผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ ค้าขาย เข้าสู่ระบบประกันสังคมเพื่อให้ผู้ที่ประกอบอาชีพมีหลักประกันทางสังคมในระยะยาว และภาครัฐสามารถกำหนดนโยบายการให้ความช่วยเหลือในสถานการณ์วิกฤตที่ครอบคลุมผู้ที่ประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) รูปแบบการให้ความช่วยเหลือ 2.1) กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบประกันสังคม ดังนี้ (1) กลุ่มแรงงานตามมาตรา 33 สัญชาติไทยตามหลักการให้ความช่วยเหลือตามข้อ 1) จะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม ในอัตรา 2,500 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากการให้ความช่วยเหลือผ่านระบบประกันสังคมที่ได้มีการให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างและนายจ้าง ตามข้อ 4 ของกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ พ.ศ. 2563 ที่กำหนดว่าในกรณีมีเหตุสุดวิสัยที่ทำให้ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตน ซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากทางราชการมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันการระบาดของโรคให้ลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) ตลอดระยะเวลาที่มีคำสั่งปิดสถานที่แต่ไม่เกินเก้าสิบวัน ซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนมาตรา 33 ตามหลักการข้อ 1) จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่เกิน 10,000 บาท (2) ผู้ประกอบการหรือนายจ้างตามหลักการให้ความช่วยเหลือตามข้อ 1 จะได้รับความช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน (3) ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 สัญชาติไทย ตามหลักการให้ความช่วยเหลือตามข้อ 1) ที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน จะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน 2.2) ผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 สัญชาติไทย ตามหลักการให้ความช่วยเหลือตามข้อ 1) ที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่ในปัจจุบัน ให้เตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 กับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท ต่อคน จำนวน 1 เดือน 2.3) กลุ่มผู้ประกอบการหรือนายจ้างตามหลักการให้ความช่วยเหลือตามข้อ 1 ที่มีลูกจ้างแต่ปัจจุบันไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) กรณีที่เป็นผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างให้ขึ้นทะเบียนนายจ้างในระบบประกันสังคม พร้อมทั้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ในระบบประกันสังคมกับสำนักงานประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้สามารถได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน และลูกจ้างที่เป็นสัญชาติไทยจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 2,500 บาทต่อคน จำนวน 1 เดือน ทั้งนี้ ลูกจ้างกลุ่มดังกล่าวจะยังมีคุณสมบัติไม่ครบตามเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือจากระบบประกันสังคม ทำให้ไม่ได้รับความช่วยเหลือจากระบบประกันสังคม (2) กรณีที่เป็นผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้างแต่ยังไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ให้เตรียมหลักฐานสำหรับการลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ในระบบ ประกันสังคมกับสำนักงานประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน (3) กรณีที่เป็นผู้ประกอบการในระบบ ?ถุงเงิน? ภายใต้โครงการคนละครึ่งและโครงการเราชนะในปัจจุบันที่ผ่านการตรวจสอบคัดกรองแล้วและไม่เป็นผู้ถูกตัดสิทธิ์จากกระทรวงการคลัง จะขยายการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในระบบ ?ถุงเงิน? จากเดิมที่กำหนดให้ความช่วยเหลือเฉพาะผู้ประกอบการในหมวดร้านอาหารและเครื่องดื่ม เป็น 5 กลุ่ม ประกอบด้วย ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้าน OTOP ร้านค้าทั่วไป ร้านค้าบริการ และกิจการขนส่งสาธารณะ (ไม่รวมกิจการขนาดใหญ่) โดยให้ผู้ประกอบการในระบบ ?ถุงเงิน? ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมเนื่องจากไม่มีลูกจ้าง ให้ดำเนินการลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 5,000 บาท จำนวน 1 เดือน สำหรับผู้ประกอบการในระบบ ?ถุงเงิน? ที่มีลูกจ้างแต่ยังไม่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ขึ้นทะเบียนนายจ้างในระบบประกันสังคม พร้อมทั้งขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ในระบบประกันสังคม ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 เพื่อให้สามารถได้รับความช่วยเหลือตามหลักการเดียวกันกับข้อ 2.3) (1) ได้ โดยในเบื้องต้นคาดว่าการดำเนินการตามมาตรการให้ความช่วยเหลือกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการในระยะเร่งด่วนจะมีกรอบวงเงินประมาณ 30,000 ล้านบาท พร้อมทั้งเห็นควรมอบหมายให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน รับไปพิจารณาเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (กรุงเทพมหานครและปริมณฑล) ให้ครอบคลุมจำนวนเงินที่ให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม พื้นที่ และกิจการตามที่กำหนดเพิ่มเติม และเร่งลงทะเบียนกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการที่ยังไม่อยู่ในระบบประกันสังคม เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการตามหลักการที่กำหนดไว้ในข้อ 1.1 โดยขอรับสนับสนุนแหล่งเงินเพื่อดำเนินตามมาตรการดังกล่าวตามขั้นตอนของพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ต่อไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงแรงงานกำหนดกลไกการตรวจสอบผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือทั้งกลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน และให้จ่ายเงินช่วยเหลือผ่านระบบบัญชีธนาคารต่อไป 1.2 การให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและภาคธุรกิจทั่วประเทศ เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อันเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ 1) มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ไฟฟ้าและน้ำประปา) ให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจทั่วประเทศ ดังนี้ 1.1) ค่าไฟฟ้า เสนอให้สิทธิส่วนลดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก กิจการขนาดกลาง กิจการขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะอย่าง องค์กรไม่แสวงหากำไร และการสูบน้ำเพื่อการเกษตร (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ดังนี้ (1) ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 90 หน่วยแรก (2) ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือน ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า ดังนี้ - กรณีหน่วยการใช้ไฟฟ้าน้อยกว่าหรือเท่ากับใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ให้คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ไฟฟ้าจริง - กรณีหน่วยการใช้ไฟฟ้ามากกว่าใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ให้คิดค่าไฟฟ้าตามหน่วยการใช้ ดังนี้ (2.1) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์ 2564 (2.2) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 500 หน่วยต่อเดือน แต่ไม่เกิน 1,000 หน่วยต่อเดือน ให้คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์ 2564 บวกด้วยหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในอัตราร้อยละ 50 และ (2.3) สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้ามากกว่า 1,000 หน่วย ให้คิดค่าไฟฟ้าเท่ากับหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์ 2564 บวกด้วยหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่มากกว่าหน่วยการใช้ไฟฟ้าของใบแจ้งค่าไฟฟ้าเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ในอัตราร้อยละ 70 โดยให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม (3) ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ให้สิทธิใช้ไฟฟ้าฟรี 100 หน่วยแรก (4) ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลาง กิจการขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะอย่าง องค์กรไม่แสวงหากำไร และการสูบน้ำเพื่อการเกษตร ให้ได้รับยกเว้นการเรียกเก็บอัตราค่าไฟฟ้าต่ำสุด (Minimum Charge) ไปจนถึงสิ้นเดือนธันวาคม 2564 โดยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทดังกล่าวจ่ายค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) ตามกำลังไฟฟ้าที่ใช้จ่ายจริง ทั้งนี้ การให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าสำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก กิจการขนาดกลาง กิจการขนาดใหญ่ กิจการเฉพาะอย่าง องค์กรไม่แสวงหากำไร และการสูบน้ำเพื่อการเกษตร (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ดำเนินการเป็นระยะเวลา 2 เดือน สำหรับใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าประจำเดือนกรกฎาคม ถึงสิงหาคม 2564 1.2) ค่าน้ำประปา เสนอให้ลดค่าน้ำประปาลงร้อยละ 10 เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัย และกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) เป็นระยะเวลา 2 เดือน สำหรับใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปาประจำเดือนสิงหาคม ถึงกันยายน 2564 ทั้งนี้ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบ (การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค) ดำเนินการตามมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (ไฟฟ้าและน้ำประปา) โดยขอรับสนับสนุนแหล่งเงินเพื่อดำเนินตามมาตรการดังกล่าว ภายใต้กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 12,000 ล้านบาท ตามขั้นตอนของพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ต่อไป 2) มาตรการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของครัวเรือนและประชาชน จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้สถานศึกษาส่วนใหญ่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนในรูปแบบปกติได้ ส่งผลให้ผู้ปกครองมีค่าใช้จ่ายในการศึกษาผ่านรูปแบบออนไลน์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจ ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีการประกาศให้สถานศึกษาภาครัฐพิจารณาให้ความช่วยเหลือในการให้ส่วนลดเงินบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่นในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เป็นกรณีพิเศษ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครองตามความจำเป็นและความเหมาะสมแล้ว ดังนั้น เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือภายใต้มาตรการดังกล่าวมีความครอบคลุมสถานศึกษาของเอกชนด้วย จึงเห็นควรมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หารือกับสถานศึกษาในสังกัดเพื่อกำหนดแนวทางการลดค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา อาทิ พิจารณาให้ส่วนลดเงินบำรุงการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่นในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เป็นกรณีพิเศษ เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ปกครองตามความจำเป็นและความเหมาะสม พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดทำข้อเสนอโครงการในลักษณะที่กำหนดให้รัฐร่วมสมทบภาระส่วนลดให้แก่สถานศึกษาบางส่วน เสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนโดยเร็วต่อไป โดยให้รายงานข้อสรุปแนวทางการดำเนินการและวงเงินที่จะใช้ดำเนินการภายใน 1 สัปดาห์ นอกจากนี้ ในกรณีที่สถานศึกษาภาคเอกชนประสบปัญหาทางการเงิน เห็นควรให้กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวบรวมข้อมูลปัญหาและความต้องการดังกล่าวและหารือร่วมกับกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย ในการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาทางการเงินให้แก่สถานศึกษาภาคเอกชนที่มีความเหมาะสมต่อไป 3) มาตรการช่วยเหลือด้านการเงินและลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 3.1) ที่ผ่านมาภาครัฐจะได้มีการตราพระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019? พ.ศ. 2563 ภายในวงเงินไม่เกิน 5 แสนล้านบาท เพื่อให้สถาบันการเงินให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจตามที่กำหนด และได้กำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ จัดให้มีสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชนและบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมทั้งมาตรการพักชำระหนี้ผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจแล้ว 3.2) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจนทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องออกข้อกำหนด (ฉบับที่ 27) เพื่อจำกัดและควบคุมกิจกรรมและการเดินทางระหว่างจังหวัดที่เข้มงวดเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะมีประชาชนและผู้ประกอบการได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มขึ้น จนอาจจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ทั้งในส่วนเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่สถาบันการเงินตามเงื่อนไขของสัญญาได้ ดังนั้น จึงเห็นควรมอบหมายให้กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย หารือกับธนาคารพาณิชย์ ดำเนินมาตรการผ่อนปรนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยหรือการเลื่อนงวดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าทั้งที่เป็นประชาชนและผู้ประกอบการอย่างจริงจัง และกำหนดมาตรการทางการเงินที่จะช่วยเหลือประชาชนสำหรับผู้ให้บริการทางการเงินที่อยู่นอกการกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมทั้งกำหนดมาตรการจริงจังสำหรับผู้ทวงถามหนี้ที่ดำเนินการไม่เป็นธรรมกับประชาชน ทั้งนี้ ให้กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยติดตามความก้าวหน้าของมาตรการทางการเงินข้างต้นกับสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด และกำหนดช่องทางการร้องเรียนของประชาชนในกรณีที่สถาบันการเงินไม่ให้ความร่วมมือในการบรรเทาภาระทางการเงินของประชาชนข้างต้น เพื่อให้กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทยพิจารณาดำเนินการอื่น ๆ ต่อสถาบันการเงินดังกล่าวต่อไป 2. มาตรการให้ความช่วยเหลือในระยะต่อไป เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เหมาะสม ได้แก่ การพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมทั่วประเทศ เพื่อให้ภาครัฐมีข้อมูลประกอบการพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการในลักษณะมุ่งเป้าได้ เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงแรงงาน เร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างดำเนินการลงทะเบียนในระบบประกันสังคม พร้อมทั้งมอบหมายให้ สศช. ประสานกับกระทรวงแรงงาน และกระทรวงการคลัง เพื่อพิจารณากำหนดรูปแบบการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามความเหมาะสมต่อไป ต่างประเทศ 24. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 15 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 8 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 15 (15th ASEAN Defence Ministers? Meeting: 15th ADMM) และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 8 (8th ASEAN Defence Ministers? Meeting Plus: 8th ADMM-Plus) ระหว่างวันที่ 15 ? 16 มิถุนายน 2564 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (8 มิถุนายน 2564) ที่เห็นชอบ ร่างปฏิญญาบันดาร์ เสรี เบกาวัน เนื่องในโอกาสการฉลองครบรอบ 15 ปี ของการก่อตั้งกลไกการประชุม ADMM เพื่อส่งเสริมการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต สันติภาพ และความมั่งคั่งของอาเซียน (ร่างปฏิญญาฯ ADMM) และร่างปฏิญญาบันดาร์ เสรี เบกาวัน ของการประชุม ADMM-Plus เนื่องในโอกาสการฉลองครบรอบ 15 ปี ของการก่อตั้งกลไกการประชุม ADMM เพื่อส่งเสริมการเตรียมความพร้อมสำหรับอนาคต สันติภาพ และความมั่งคั่งของอาเซียน (ร่างปฏิญญาฯ ADMM-Plus) โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นหัวหน้าคณะและผู้รับรองปฏิญญาฯ 2 ฉบับดังกล่าว] ซึ่งกระทรวงกลาโหมเนการาบรูไนดารุสซาลามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมด้วยระบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ การประชุม ผลการประชุม/ผลการดำเนินการ 1. การประชุม 15th ADMM - ที่ประชุมรับรองปฏิญญาฯ ADMM โดยรัฐมนตรีกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียน และพิจารณาเอกสารความร่วมมือปี 2564 จำนวน 9 ฉบับ เช่น รับรองเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านข้อมูลข่าวสารและความมั่นคงไซเบอร์อาเซียนภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน รับทราบเอกสารการติดตามการดำเนินงานความร่วมมือในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา อนุมัติเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการประชุมเฉพาะกิจในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจาว่าด้วยภัยคุกคามด้านเคมี ชีวภาพ และรังสี - ที่ประชุมได้อนุมัติความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน +1 อย่างไม่เป็นทางการกับเครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐเกาหลี และสาธารณรัฐประชาชนจีน 2. การประชุม 8th ADMM-Plus ที่ประชุมได้รับรองปฏิญญาฯ ADMM-Plus โดยรัฐมนตรีกลาโหมประเทศสมาชิก ADMM-Plus และได้แลกเปลี่ยนมุมมองด้านความมั่นคงของภูมิภาคและระหว่างประเทศ ในประเด็นสำคัญ เช่น การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การก่อการร้าย ภัยคุกคามทางไซเบอร์ สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ การแข่งขันของประเทศมหาอำนาจ และสถานการณ์การเมืองในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ซึ่งที่ประชุมฯ เห็นพ้องถึงความสำคัญของกลไกการประชุม ADMM-Plus ในการส่งเสริมความเชื่อมั่นระดับยุทธศาสตร์บนพื้นฐานของความเป็นแกนกลางของอาเซียน รวมทั้งได้รับทราบความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง เช่น การประชุมเฉพาะกิจในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจาว่าด้วยภัยคุกคามด้านเคมี ชีวภาพ และรังสี ในปี 2565 นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมเนการาบรูไนดารุสซาลามได้จัดให้มีการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างไม่เป็นทางการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับอาเซียนในการแก้ไขปัญหาในภูมิภาคให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการผลักดันการเจรจาจัดทำประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ให้มีความต่อเนื่อง และในโอกาสครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-สาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งสองฝ่ายได้เน้นย้ำความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนความร่วมมือในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ เพื่อร่วมกันตอบสนองต่อ ภัยคุกคามด้านความมั่นคงในทุกมิติ 25. เรื่อง กรอบเจรจาของไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก เรื่องการเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ 1. ให้ความเห็นชอบในหลักการต่อกรอบเจรจาของไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าระดับรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก เรื่องการเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ดังนี้ (1) ห้ามให้การอุดหนุนการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) (2) ให้การบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำที่ดีเป็นปัจจัยหนึ่งที่ใช้ในการพิจารณาว่าประเทศสมาชิกสามารถให้การอุดหนุนแก่ภาคประมงได้ต่อไปหรือไม่ (3) ให้มีการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง (Special and Differential Treatment: SDT) แก่ประเทศกำลังพัฒนา (รวมถึงไทย) 2. หากในการประชุมดังกล่าวมีการเสนอถ้อยคำหรือจัดทำเอกสารเพื่อแสดงเจตนารมณ์ของสมาชิกองค์การการค้าโลกในระดับนโยบายที่สอดคล้องกับหลักการต่อกรอบเจรจาของไทย ฯ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก 3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมการเจรจา หรือรับรองเอกสารที่สอดคล้องตามหลักการ ข้อ 1. และ ข้อ 2. ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 สาระสำคัญของเรื่อง ร่างความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง (เอกสารหมายเลข TN/RLW/276/Rev.1) ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งสมาชิกองค์การการค้าโลกใช้เป็นพื้นฐานในการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้าระดับรัฐมนตรี เรื่องการเจรจาจัดทำความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมงผ่านระบบการประชุมออนไลน์ประกอบไปด้วย 4 หัวข้อหลัก ดังนี้ 1. ห้ามการอุดหนุนประมงที่ให้แก่เรือประมงหรือผู้ประกอบการประมงหลังจากถูกตัดสินว่าทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมเพื่อกำจัดปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม 2. ห้ามให้การอุดหนุนประมงในพื้นที่ที่ทรัพยากรสัตว์น้ำร่อยหรอและไม่อยู่ในระดับที่ยั่งยืน (Overfished Stocks) เพื่อไม่ให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพเสื่อมโทรมลงไปอีก 3. ห้ามให้การอุดหนุนประเภทที่นำไปสู่การทำประมงที่เกินศักยภาพ (Overcapacity) หรือการทำประมงที่เกินชนาด (Overfishing) อาทิ การอุดหนุนเพื่อปรับปรุงเรือประมง การอุดหนุนเพื่อปรับปรุงเครื่องมือทำการประมงจนมีศักยภาพในการจับสัตว์น้ำมากเกินไป การอุดหนุนค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งจะทำให้เรือประมงสามารถออกทำประมงและจับสัตว์น้ำได้มากเกินกว่าปกติ 4. ประเด็นอื่น ๆ อาทิ การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง (Special and Differential Treatment: SDT) สำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LDCs) และการระงับข้อพิพาท (Dispute Settlement) ภายใต้ความตกลง ทั้งนี้ การจัดทำความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำกฎระเบียบในการอุดหนุนประมงของสมาชิกองค์การการค้าโลกเพื่อห้ามให้การอุดหนุนที่เป็นอันตรายต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ และรักษาความยั่งยืนของสัตว์น้ำ ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินการและท่าทีของไทยที่มีการปฏิรูปกฎหมายด้านการประมงตั้งแต่ปี 2558 จนมีประสิทธิภาพในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม และ มีการประเมินทรัพยากรสัตว์น้ำ ตลอดจนดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ทรัพยากรสัตว์น้ำอยู่ในระดับที่ยั่งยืน ดังนั้น การจัดทำความตกลงดังกล่าวเป็นการสานต่อการผลักดันท่าทีไทยต่อการห้ามอุดหนุนที่เป็นอันตรายต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยเฉพาะความมุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม 26. เรื่อง องค์ประกอบและท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบต่อการกำหนดท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้ 1. รายงานสถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ กรณีที่คณะผู้แทนไทยเห็นว่า (ร่าง) ข้อมติมีการเสนอให้พื้นที่ฯ เป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย หรือมีประเด็นสุ่มเสี่ยง ให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยดำเนินการชี้แจงและโน้มน้าวคณะกรรมการมรดกโลก ศูนย์มรดกโลก และองค์กรที่ปรึกษาให้เห็นถึงการดำเนินการของราชอาณาจักรไทยในการให้ความสำคัญต่อการดูแลและอนุรักษ์พื้นที่ฯ ให้คงคุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากลอย่างยั่งยืน และไม่ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย 2. การขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน หากคณะผู้แทนไทยเห็นว่า (ร่าง) ข้อมติไม่มีผลดีต่อไทยในการนำเสนอพื้นที่ฯ เป็นแหล่งมรดกโลก เห็นชอบให้คณะผู้แทนไทย ชี้แจงทำความเข้าใจและโน้มน้าว คณะกรรมการมรดกโลก องค์กรที่ปรึกษา และศูนย์มรดกโลก เกี่ยวกับสถานการณ์ และวิถีชีวิตชุมชนในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน และสนับสนุนราชอาณาจักรไทยในการผลักดันการขึ้นทะเบียนพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก รวมทั้ง ขอปรับแก้ (ร่าง) ข้อมติที่จะส่งผลต่อผลการดำเนินงานในอนาคต 3. รายงานสถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก นครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา (หากมี) กรณีที่คณะผู้แทนไทยเห็นว่า (ร่าง) ข้อมติมีผลกระทบทางลบต่อการดำเนินงานของราชอาณาจักรไทย หรือสุ่มเสี่ยงต่อการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย ให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยดำเนินการชี้แจงและโน้มน้าวคณะกรรมการมรดกโลก ศูนย์มรดกโลก และองค์กรที่ปรึกษา ให้เห็นถึงการดำเนินการในการให้ความสำคัญต่อการดูแลและอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก และการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบต่อคุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากลของแหล่ง 4. กรณีมีประเด็นอื่นที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยใน การพิจารณากำหนดท่าทีในประเด็นนั้น ๆ ทั้งนี้ ให้คณะผู้แทนไทยพิจารณาร่วมกันระหว่างการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 โดยคำนึงถึงหลักการของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และข้อมูลด้านเทคนิคและวิชาการจากองค์กรที่ปรึกษา 5. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นที่ปรึกษา 2) นายสีหศักดิ์ พวงเหตุแก้ว ทำหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการมรดกโลกและหัวหน้าคณะผู้แทนไทย 3) ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ และคณะทำงาน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในการดำรงตำแหน่งกรรมการมรดกโลก วาระปี พ.ศ. 2562 ? 2566 สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ได้พิจารณาองค์ประกอบและท่าทีของราชอาณาจักรไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ที่จะมีขึ้นในรูปแบบการประชุมทางไกลเต็มรูปแบบ ในระหว่างวันที่ 16 - 31 กรกฎาคม 2564 ได้แก่ (1) องค์ประกอบคณะผู้แทนไทย และ (2) ท่าทีของราชอาณาจักรไทยต่อการพิจารณารายงานสถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น ? เขาใหญ่ และนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา (หากมี) ซึ่งเป็นการรายงานผลการดำเนินงานตามข้อมติคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 41 และ 43 ตามลำดับ และการนำเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 มีมติให้ส่งกลับเอกสาร (Referral) เพื่อดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ โดยที่ประชุมมีมติ สรุปได้ ดังนี้ 1. เห็นชอบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ดังนี้ (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นที่ปรึกษา (2) นายสีหศักดิ์ พวงเกตุแก้ว ทำหน้าที่กรรมการในคณะกรรมการมรดกโลกและหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (3) ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ และคณะทำงาน เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานในการดำรงตำแหน่งกรรมการมรดกโลก วาระปี พ.ศ. 2562 - 2566 2. รายงานสถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก 2.1 พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ เป็นพื้นที่ที่ได้รับการติดตามจากศูนย์มรดกโลก และสหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากมีกิจกรรมต่าง ๆ เกิดขึ้นในพื้นที่เป็นจำนวนมากตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา จึงทำให้คณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 36 - 38 พิจารณาเห็นว่าปัญหาการบุกรุกพื้นที่ถือเป็นภัยคุกคามอย่างหนึ่งต่อพื้นที่ฯ และเป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้มีการเสนอให้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย ซึ่งที่ผ่านมาหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินมาตรการต่าง ๆ อย่างเข้มข้น เพื่อแสดงให้เห็นว่าปัญหาคุกคามดังกล่าว ได้รับการแก้ไข รวมทั้ง ไม่ก่อให้เกิดภัยคุกคามต่อคุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากลของพื้นที่ฯ ส่งผลให้พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตรายในเวลาต่อมาและการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกที่จะมีขึ้นในครั้งนี้เป็นการพิจารณารายงานตามข้อมติของคณะกรรมการฯ ในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 41 ที่ขอให้จัดส่งรายงานที่เป็นปัจจุบัน และความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบตัดและค้าไม้พะยูงในพื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ ปี พ.ศ. 2557 - 2562 ต่อศูนย์มรดกโลก เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก พิจารณาในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 ซึ่งรายงานดังกล่าวคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบแล้วในการประชุม ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2562 ก่อนจัดส่งให้ศูนย์มรดกโลก การเตรียมการด้านท่าที กรณีที่คณะผู้แทนไทยเห็นว่า (ร่าง) ข้อมติมีการเสนอให้พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น - เขาใหญ่ เป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย หรือมีประเด็นสุ่มเสี่ยง ขอให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยดำเนินการชี้แจงและโน้มน้าวคณะกรรมการมรดกโลก ศูนย์มรดกโลก และองค์กรที่ปรึกษาให้เห็นถึงการดำเนินการของราชอาณาจักรไทยในการให้ความสำคัญต่อการดูแลและอนุรักษ์พื้นที่ฯ ให้คงคุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากลอย่างยั่งยืน และไม่ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย 2.2 นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา การรายงานสถานภาพการอนุรักษ์ฯ เป็นการรายงานตามข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกในการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 ที่ขอให้จัดส่งรายงานสถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกฉบับปรับปรุง รวมถึงแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาฉบับปรับปรุง และประกาศระเบียบและขั้นตอน การขออนุญาตก่อสร้างอาคารในพื้นที่แหล่งมรดกโลกฉบับปรับปรุง ต่อศูนย์มรดกโลก เพื่อให้องค์กรที่ปรึกษาตรวจสอบ ซึ่งรายงานดังกล่าวคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้พิจารณาให้ความเห็นต่อการปรับแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลในการประชุม ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 ก่อนจัดส่งให้ศูนย์มรดกโลก แล้ว โดยขณะนี้มีประเด็นเพิ่มเติมจากข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกที่อยู่ระหว่างการติดตามของศูนย์มรดกโลกและองค์กรที่ปรึกษา คือ การก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานีรถไฟอยุธยา ซึ่งศูนย์มรดกโลกเห็นว่าเป็นโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากลของแหล่ง และได้มีหนังสือขอรับทราบการดำเนินการโครงการดังกล่าวและเสนอแนะให้ดำเนินการจัดทำการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก (HIA) การเตรียมการด้านท่าที กรณีที่คณะผู้แทนไทยเห็นว่า (ร่าง) ข้อมติมีผลกระทบทางลบต่อการดำเนินงาน หรือสุ่มเสี่ยงต่อการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในภาวะอันตราย ขอให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยดำเนินการชี้แจงและโน้มน้าวคณะกรรมการมรดกโลก ศูนย์มรดกโลก และองค์กรที่ปรึกษา ให้เห็นถึงการดำเนินการในการให้ความสำคัญต่อการดูแลและอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกและการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อลดผลกระทบต่อคุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากลของแหล่ง 3. การขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลก พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 39 (พ.ศ. 2558) ครั้งที่ 40 (พ.ศ. 2559) และครั้งที่ 43 (พ.ศ. 2562) คณะกรรมการมรดกโลก มีมติให้ส่งกลับเอกสาร (Referral) และขอให้ราชอาณาจักรไทยดำเนินการในด้านต่าง ๆ ซึ่งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารข้อมูลเพิ่มเติม (Additional Information) ที่จัดส่งต่อศูนย์มรดกโลก ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2563 ก่อนจัดส่งให้ศูนย์มรดกโลกแล้ว โดยการผลักดันการขึ้นทะเบียนพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นมรดกโลก เป็นการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง ทรัพยากรทางบก ประเด็นปฏิรูปที่ 1.5 ผลักดันพื้นที่ป่าไม้ให้เป็นมรดกโลก ผลักดันพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นมรดกโลก (พ.ศ. 2561 ? 2565) การเตรียมการด้านท่าที กรณีที่คณะผู้แทนไทยเห็นว่า (ร่าง) ข้อมติไม่มีผลดีต่อการ นำเสนอฯ เห็นชอบให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ชี้แจงทำความเข้าใจ และโน้มน้าว คณะกรรมการมรดกโลก องค์กรที่ปรึกษา และศูนย์มรดกโลก เกี่ยวกับสถานการณ์ และวิถีชีวิตชุมชนในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานและสนับสนุนราชอาณาจักรไทยในการผลักดันการขึ้นทะเบียนพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นมรดกโลก รวมทั้งขอปรับแก้ (ร่าง) ข้อมติ ที่จะส่งผลต่อการดำเนินงานในอนาคต 4. กรณีมีประเด็นอื่นที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า ให้อยู่ในดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการพิจารณากำหนดท่าทีในประเด็นนั้น ๆ ทั้งนี้ ให้คณะผู้แทนไทยพิจารณาร่วมกันระหว่างการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 44 โดยคำนึงถึงหลักการของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และข้อมูลด้านเทคนิคและวิชาการจากองค์กรที่ปรึกษา 27. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างไม่เป็นทางการ (Statement of the Informal APEC Leaders? Retreat on COVID-19) หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์ข้างต้นในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และเห็นชอบให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคอย่างไม่เป็นทางการมีสาระสำคัญเกี่ยวกับการรับมือกับวิกฤตทางด้านสุขภาพและเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยมุ่งเน้น 3 หัวข้อหลัก คือ (1) การเจริญเติบโตที่เข้มแข็ง สมดุล มั่นคง ยั่งยืนแถะครอบคลุม อาทิ การกำหนดนโยบายการคลังเพื่อช่วยเหลือประชาชน การสร้างความเชื่อมโยงที่ปลอดภัยและไร้รอยต่อ การจัดหาเงินทุนอย่างยั่งยืน การลงทุนในโครงสร้างฟื้นฐานที่มีคุณภาพ (2) นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล อาทิ การปฏิรูปโครงสร้าง การสร้างงานและโอกาสในสาขาใหม่ การส่งเสริมการพัฒนาทักษะเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ และ (3) การค้าและการลงทุน อาทิ การเร่งรัดการผลิตและกระจายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ ปลอดภัย และราคาเข้าถึงได้อย่างทั่วถึง การอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ และการสนับสนุนกระบวนการขององค์การการค้าโลกเพื่อให้เกิดผลลัพธ์เป็นรูปธรรม ทั้งนี้ เอกสารผลลัพธ์เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในการร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์โควิด-19 และการสร้างการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน นอกจากนี้ หลักการฟื้นฐานของเอเปคคือการเป็นเวทีปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ ระหว่างกัน และไม่ใช่เวทีการเจรจา การดำเนินงานของสมาชิกเขตเศรษฐกิจเอเปคจึงเป็นไปโดยสมัครใจและไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย 28. เรื่อง ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development : HLPF) ประจำปี ค.ศ. 2021 คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development : HLPF) ประจำปี ค.ศ. 2021 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และ/หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง และให้ความเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ร่วมรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุม HLPF ประจำปี ค.ศ. 2021 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ร่างปฏิญญาฯ มีเนื้อหาแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่จะร่วมกันดำเนินการเพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 และตอบสนองและฟื้นฟูจากวิกฤติโควิด-19 ในระดับโลก สะท้อนการประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินการตาม SDGs ทั้ง 9 เป้าหมาย ที่เป็นจุดเน้นของการประชุม HLPF ในปีนี้ โดยยึดมั่นในความร่วมมือระหว่างประเทศและระบบพหุภาคีในประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 3 มิติ ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม อาทิ การขจัดความยากจน การเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศ การเสริมสร้างหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลก การเสริมสร้างสันติภาพ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ การส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคน ระบบสาธารณสุขและการคุ้มครองทางสังคม ความมั่นคงทางอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน การฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม การดำเนินการตามวาระปฏิบัติการแอดดิสอาบาบา (Addis Ababa Action Agenda) การสร้างขีดความสามารถด้านสถิติการใช้ประโยชน์จากรายงานผลการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เป็นต้น แต่งตั้ง 29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) 2. นายสมหมาย เอี่ยมสอาด ดำรงตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป 30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายวุฒิรักษ์ เดชะพงษ์พันธุ์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง 31. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายปรเมธี วิมลศิริ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย ต่อไปอีกวาระหนึ่ง (ซึ่งจะดำรงตำแหน่งครบกำหนดตามวาระในวันที่ 9 สิงหาคม 2564) ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ??????????????.. ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 13 กรกฎาคม 2564