สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 สิงหาคม 2564

ข่าวการเมือง Tuesday August 10, 2021 18:01 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (10 สิงหาคม 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า                     ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับ                                                  พลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด                                                   พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงาน                                                  เจ้าหน้าที่ พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาใน                                        การวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับผังเมืองรวม และผังเมืองเฉพาะ พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้

ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....

                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความ                                                  คิดเห็น และการเยียวยาที่จำเป็นอันเกิดจากผลกระทบของการทำหนังสือสัญญา                                        ตามมาตรา 178 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ?.
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการ                                        ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้)

เศรษฐกิจ สังคม

                    7.           เรื่อง           ขออนุมัติกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565                                         ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
                    8.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนใน                                                  แผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2564 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
                    9.            เรื่อง           การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการอ่างเก็บน้ำแม่มอก อันเนื่องมาจาก                                        พระราชดำริ จังหวัดลำปาง
                    10.           เรื่อง           สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการ                                                  นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 30 เมษายน 2564)
                    11.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2562
                    12.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ                                        ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2564
                    13.           เรื่อง           รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2563 ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพ                                        สาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
                    14.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมขององค์กร                                                  ปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชนด้วย                                        ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา
                    15.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาภาระหนี้สินของ                                                  ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
                    16.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง                                         รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก                                        การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะการระบาดระลอกเมษายน                                                   2564
                    17.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง                                         รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก                                        การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีให้บริการฉีดวัคซีนป้องกัน                                                  โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกสถานพยาบาล

กระทรวงสาธารณสุข

                    18.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม

ครั้งที่ 28/2564

                    19.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช                                                  กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564

ต่างประเทศ

                    20.            เรื่อง            ข้อตกลงยอมรับร่วมรายสาขาสำหรับวัสดุอาคารและสิ่งก่อสร้างของอาเซียน                                                   (ASEAN Sectoral Mutual Recognition Arrangement for Building and                                                   Construction Materials)
                    21.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ                                        การค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ
                    22.           เรื่อง          ร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมคระกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 5
แต่งตั้ง

                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงยุติธรรม)
                     24.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    25.           เรื่อง           ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม                                         ครั้งที่ 1
                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกัน                                                  ประเทศ
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารออมสิน
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการบินพลเรือน
                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคล                                        ส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.)
                    31.           เรื่อง           แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสวน                                                  พฤกษศาสตร์
                    32.           เรื่อง           การให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396


กฎหมาย


1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน             ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                     1. เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดขอถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์แปลง ?สระสิม? ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด บางส่วน เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ 1 งาน 17 ตารางวา เพื่อใช้เป็นที่ตั้งศูนย์บริการและส่งเสริมสุขภาพประชาชนสระสิม
                     2. ที่ดินสาธารณประโยชน์ตามข้อ 1. เดิมมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 3 ไร่ 30 ตารางวา ไม่ปรากฏว่า                มีหลักฐานการสงวนหวงห้ามให้เป็นที่ดินสำหรับใช้ประโยชน์ร่วมกัน และยังไม่มีการออกหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง ซึ่งมีสภาพเป็นหนองน้ำ ราษฎรที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวได้อาศัยแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ปัจจุบันพื้นที่แปลงนี้มีสภาพตื้นเขินโดยธรรมชาติไม่เหลือสภาพของแหล่งน้ำ ประกอบกับความเจริญขึ้นของสังคมเมืองและการเข้ามาแทนที่ของระบบการประปาส่วนภูมิภาค จึงเลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งแปลง ที่ดินดังกล่าวจึงอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะถอนสภาพตามมาตรา 8 วรรคสอง (1) แห่งประมวลกฎหมายที่ดินและระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนสภาพ การจัดขึ้นทะเบียนและการจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน                พ.ศ. 2550 จึงเห็นควรให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อมอบหมายให้เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดใช้เป็นที่ตั้งศูนย์บริการและส่งเสริมสุขภาพประชาชนสระสิม
                     3. มท. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                               3.1 จังหวัดร้อยเอ็ดได้ประสานขอความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ราษฎรที่เคยใช้ประโยชน์ร่วมกันในพื้นที่ สภาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด และคณะกรรมการกำกับการใช้ที่ดินของรัฐ จังหวัดร้อยเอ็ด ต่างเห็นชอบให้ถอนสภาพที่ดินแปลงดังกล่าวได้
                               3.2 กรมที่ดินได้ประสานกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อพิจารณาให้ความเห็นด้านผังเมือง ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองแจ้งว่า ที่ดินแปลงดังกล่าวตั้งอยู่ในเขตบังคับใช้กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองร้อยเอ็ด พ.ศ. 2562 ในที่ดินบริเวณหมายเลข 3.5 ซึ่งกำหนดให้เป็นที่ดินประเภทพาณิชยกรรม และที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรม การอยู่อาศัย สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ และจากการตรวจสอบสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน พบว่าที่ดินดังกล่าว มีการใช้สถานที่เป็นลานอเนกประสงค์และที่จอดรถของย่านพาณิชยกรรมในบริเวณนั้น ตลอดจนเป็นที่จอดรถรับส่งของโรงเรียน ดังนั้น การขอถอนสภาพที่ดินสาธารณประโยชน์ดังกล่าว จึงไม่ขัดต่อข้อกำหนดตามกฎกระทรวงดังกล่าวแต่ควรปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย และได้ประสานกรมการปกครองเพื่อตรวจสอบชื่อตำบลและอำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งของที่ดินแล้วถูกต้อง
                     4. คณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ มท. คณะที่ 2 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2564               เมื่อวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติให้กรมที่ดินแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ตามความเห็นของคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายฯ พร้อมทั้งตรวจสอบแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาฯ อีกครั้งหนึ่งแล้วดำเนินการเสนอต่อไปได้ ซึ่งกรมที่ดินได้ดำเนินการแก้ไขตามมติคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของ มท. เรียบร้อยแล้ว

                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดให้ถอนสภาพที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในท้องที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ 1 งาน 17 ตารางวา เพื่อมอบหมายให้เทศบาลเมืองร้อยเอ็ดใช้เป็นที่ตั้งศูนย์บริการและส่งเสริมสุขภาพประชาชนสระสิม

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ พม. เสนอ เป็นการยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2552 โดยขอแก้ไขปรับปรุงคุณสมบัติของผู้ซึ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ อาทิ ต้องเป็นข้าราชการดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ หรือประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน หรือเทียบเท่า มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ฯลฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านการอบรมการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักสูตร รวมทั้งได้ดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานมีอำนาจร่วมกันในการออกกฎกระทรวงฉบับนี้ ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     1. ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่              พ.ศ. 2552
                     2. กำหนดให้ผู้ซึ่งจะได้รับการแต่งตั้งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
                               2.1 เป็นข้าราชการซึ่งดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ หรือประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน หรือเทียบเท่า
                               2.2 เคยปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ การตรวจแรงงาน การตรวจสถานประกอบการ การตรวจคุ้มครองคนหางาน การคุ้มครองสิทธิเด็ก สตรี คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง คนขอทาน หรือการจัดสวัสดิการสังคม มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
                               2.3 ผ่านการอบรมการเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหลักสูตรที่ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์และปลัดกระทรวงแรงงานให้ความเห็นชอบ

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาในการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับผังเมืองรวม และผังเมืองเฉพาะ พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาในการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับผังเมืองรวม และผังเมืองเฉพาะ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาตามประเด็นข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้รับความเห็นของกรุงเทพมหานครไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ได้มีผลใช้บังคับในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ทั้งฉบับ และได้กำหนดเรื่องการอุทธรณ์ในส่วนของผังเมืองรวมและ             ผังเมืองเฉพาะ ในกรณีที่คณะกรรมการผังเมือง คณะกรรมการผังเมืองจังหวัด คณะกรรมการบริหารการผังเมืองส่วนท้องถิ่น เจ้าพนักงานการผัง หรือเจ้าหน้าที่ดำเนินการ แล้วแต่กรณี มีคำสั่งหรือหนังสือแจ้งไปยังบุคคลเกี่ยวกับ            ผังเมืองรวมหรือผังเมืองเฉพาะ บุคคลนั้นมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งหรือหนังสือแจ้งดังกล่าวได้ ที่กำหนดไว้ในมาตรา 90 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (9) ในกรณีดังต่อไปนี้
                                1.1 การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการใช้ประโยชน์ที่ดินตามมาตรา 37 วรรคสอง
                               1.2 การกำหนดค่าทดแทนตามมาตรา 37 วรรคสาม
                               1.3 การปฏิเสธหรือสั่งการเกี่ยวกับโครงการที่จะมีการใช้ประโยชน์ที่ดินหรือที่จะก่อสร้างอาคารตามมาตรา 44
                               1.4 การสั่งให้ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 57
                              1.5 การกำหนดจำนวนเงินค่าตอบแทนตามมาตรา 59 มาตรา 64 มาตรา 66                        ซึ่งคณะกรรมการบริหารการผังเมืองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจกำหนด และมาตรา 67
                               1.6 การคิดค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารตามมาตรา 60
                               1.7 การคิดค่าใช้จ่ายในการดัดแปลงอาคารตามมาตรา 61
                               1.8 การจัดทำระบบสาธารณูปโภคและการกำหนดจำนวนเงินค่าตอบแทนในการใช้ที่ดินตามมาตรา 69
                              1.9 การสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน หรือการสั่งให้แก้ไขปรับปรุง หรือการสั่งให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินตามมาตรา 97
ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการ จำนวน 3 คณะ คือ คณะกรรมการอุทธรณ์ คณะกรรมการผังเมืองจังหวัด และคณะกรรมการผังเมืองบริหารการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ รวมทั้งแจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์พร้อมด้วยเหตุผล และมาตรา 90 วรรคสอง บัญญัติให้การอุทธรณ์ตาม (1) และ (2) ให้ยื่นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ การอุทธรณ์ตาม (3) (4) (5) (7) (8) และ (9) ให้ยื่นต่อคณะกรรมการผังเมืองจังหวัด และการอุทธรณ์ตาม (6) ให้ยื่นต่อคณะกรรมการบริหารการผังเมืองส่วนท้องถิ่น ประกอบกับมาตรา 95 วรรคสอง บัญญัติให้หลักเกณฑ์และ             วิธีพิจารณาในการวินิจฉัยคำอุทธรณ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                     2. ดังนั้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ คณะกรรมการผังเมืองจังหวัด และคณะกรรมการบริหารการผังเมืองส่วนท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการเกี่ยวกับการอุทธรณ์ในกรณีผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ มท. จึงได้                               ยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาในการวินิจฉัยอุทธรณ์เกี่ยวกับผังเมืองรวม และผังเมืองเฉพาะ พ.ศ. .... ขึ้น โดยได้ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงานจัดทำอนุบัญญัติตามพระราชบัญญัติการผังเมือง (ปรับปรุงพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518) เพื่อพิจารณาจัดทำอนุบัญญัติใน             การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องและเป็นไปตามหลักการของพระราชบัญญัติการผังเมือง                  พ.ศ. 2562 แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยื่นอุทธรณ์และวิธีพิจารณาในการวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ คณะกรรมการผังเมืองจังหวัด และคณะกรรมการบริหารการผังเมืองส่วนท้องถิ่นในกรณี              ผังเมืองรวมและผังเมืองเฉพาะ ดังนี้
                     1. คำอุทธรณ์ต้องทำเป็นหนังสือ และอย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้ เช่น วัน เดือน ปี ที่ยื่นอุทธรณ์ คำสั่งหรือคำวินิจฉัยอันเป็นเหตุให้อุทธรณ์ พร้อมข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้งหรือข้อกฎหมาย และเหตุผลที่ยกขึ้นอ้างอิงในคำอุทธรณ์โดยชัดแจ้ง
                     2. การยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ คณะกรรมการผังเมืองจังหวัด และคณะกรรมการบริหารการผังเมืองส่วนท้องถิ่น ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ผู้อุทธรณ์ยื่นที่สำนักการวางผังและพัฒนาเมือง กรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตจังหวัดอื่นให้ยื่นที่สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดแห่งท้องที่ที่เป็นเหตุ           ให้มีการอุทธรณ์
                     3. การพิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของคณะกรรมการอุทธรณ์ กรณีที่คำอุทธรณ์ที่ยื่นตามมาตรา 90 (1) ให้คำนึงถึงนโยบายของผังเมืองรวมในสาระสำคัญเกี่ยวกับสุขลักษณะ ความปลอดภัยของประชาชน                  สวัสดิภาพของสังคม หรือประโยชน์สาธารณะ รวมทั้งกิจการที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพของที่ดิน และทรัพย์สินอื่นที่เกี่ยวกับที่ดิน การลงทุน ประโยชน์หรือความเดือดร้อนรำคาญที่ประชาชนได้รับจากกิจการนั้น
                     4. การพิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของคณะกรรมการผังเมืองจังหวัด กรณีที่คำอุทธรณ์ที่ยื่น         ตามมาตรา 90 (3) ให้คำนึงถึงความประสงค์และโครงการของผู้อุทธรณ์ ให้เป็นไปตามหลักการของผังเมืองเฉพาะที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผังเมือง พร้อมทั้งพิจารณาถึงเหตุผลของเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือกรมโยธาธิการและผังเมืองที่ปฏิเสธหรือสั่งให้มีการแก้ไขโครงการดังกล่าว และให้คำนึงถึงประโยชน์และความเดือดร้อนของประชาชนในบริเวณผังเมืองเฉพาะจะพึงได้รับ
                     5. การพิจารณาวินิจฉัยคำอุทธรณ์ของคณะกรรมการบริหารการผังเมืองส่วนท้องถิ่น กรณีที่               ยื่นคำอุทธรณ์ตามมาตรา 90 (6) ให้พิจารณาวินิจฉัยในการดำเนินการรื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคารนั้นตามความเป็นจริงโดยประหยัดและคิดค่าใช้จ่ายจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคาร ค่าใช้จ่ายจะคิดหักจากเงินค่าตอบแทน         ตามมาตรา 59 ที่จะพึงจ่ายให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารนั้น แต่ต้องไม่มากกว่า เงินค่าตอบแทนที่ผู้อุทธรณ์จะพึงได้รับ

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและ            เครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ อก. เสนอว่า
                    1. ตามที่ได้มีประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6168 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำ เฉพาะด้านความปลอดภัย และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน เล่ม 2 (79) ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำ มาตรฐานเลขที่ มอก.60335 เล่ม 2 (79) ลงวันที่               10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ต่อมา อก. โดย สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เสนอให้แก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เนื่องจากประกาศใช้เกิน 5 ปี และเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานระหว่างประเทศที่ใช้ในปัจจุบัน โดยการรับมาตรฐานระหว่างประเทศ IEC 60335-2-79 Edition 4.0 2016-06 Household and similar electrical appliances-Safety-Part 2-79 : Particular requirements for high pressure cleaners and steam cleaners มาใช้ โดยวิธีพิมพ์ซ้ำ (Reprint) ในระดับเหมือนกันทุกประการ (Identical) ซึ่งคณะกรรมการวิชาการรายสาขา คณะที่ 12 เครื่องใช้ไฟฟ้า มีมติเห็นชอบและให้เสนอคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพิจารณาต่อไป
                    2. กมอ. ในการประชุมครั้งที่ 692-10/2563 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 เห็นชอบร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน เล่ม 2 (79) - 2563 ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำ มาตรฐานเลขที่ มอก.60335 เล่ม 2 (79) - 25XX และเห็นชอบให้ดำเนินการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน เล่ม 2 (79) ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำ มาตรฐานเลขที่ มอก. 60335 เล่ม 2 (79) - 25XX โดยให้ สมอ. ดำเนินการเร่งด่วนเพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภค
                    3. อก. โดย สมอ. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 ผ่านเว้บไซต์ของ สมอ. (www.tisi.go.th) และเว็บไซต์กลางของภาครัฐ (www.lawamendment.go.th) และแจ้งไปยังกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ทำ ผู้นำเข้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมต่าง ๆ ตลอดจนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งครบกำหนดแสดงความคิดเห็นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2563 ปรากฏว่ามีผู้แสดงความคิดเห็น รวม 3 ราย คือ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้านรครหลวง
                    4. คณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้พิจารณาข้อคิดเห็นของผู้แสดงความคิดเห็นดังกล่าวแล้ว และในการประชุมครั้งที่ 695-13/2563 วันที่ 15 ธันวาคม 2563 ได้เห็นชอบร่างมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน เล่ม 2 (79) ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำ มาตรฐานเลขที่ มอก.60335 เล่มที่ 2 (79) - 25XX ตามเนื้อหาเดิม และเห็นชอบให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เลขที่ มอก.60335 เล่ม 2 (79) - 25XX ต่อไป ซึ่ง สมอ. ได้แจ้งให้ผู้แสดงความคิดเห็นทราบแล้ว
                    5. อก. โดย สมอ. ได้จัดทำประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6168 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำ เฉพาะด้านความปลอดภัย และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน เล่ม 2 (79) ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำ มาตรฐาน เลขที่ มอก.60335 เล่มที่ 2 (79) - 2563 ลงวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564
                    6. อก. ได้จัดทำผลกระทบจากการบังคับใช้ร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ดังนี้
                              6.1 ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบ
                                        ผู้ทำ ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำ
                              6.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
                                        เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำในประเทศ             ซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีคุณภาพ มีความปลอดภัย และทันสมัย
                              6.3 ผลกระทบด้านสังคม
                                        ทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความมสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำ มีความปลอดภัย และทันสมัย
                              6.4 ผลกระทบด้านสิทธิเสรีภาพของบุคคล
                                        ผู้ทำหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำ และผู้รับใบอนุญาตทำหรือนำเข้า จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรฐานที่กำหนดใหม่ก่อนวันที่กระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวต้องเป็นไปตามมาตรฐานมีผลใช้บังคับตามมาตรา 27 (3) แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และผู้จำหน่ายจะต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับใบอนุญาต และเป็นไปตามมาตรฐาน



                              6.5 ประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับ
                                        เป็นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ทำและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว โดยจะทำให้ประชาชนจะได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้             ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและทันสมัย
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน เล่ม 2 (79) ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องทำความสะอาดใช้ความดันสูงและเครื่องทำความสะอาดใช้ไอน้ำ มาตรฐานเลขที่ มอก.60335 เล่ม 2 (79) - 2563 โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบ            วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น และการเยียวยาที่จำเป็นอันเกิดจากผลกระทบของการทำหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนในการแสดงความคิดเห็น และการเยียวยาที่จำเป็นอันเกิดจากผลกระทบของการทำหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตและความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปประกอบการพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                     ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ กต. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และได้รับการเยียวยาที่จำเป็นอันเกิดจากผลกระทบของการทำหนังสือสัญญาที่อาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้า หรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวาง ตามมาตรา 178 วรรคสาม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 178 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                     สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                     1. กำหนดให้ในการทำหนังสือสัญญาที่อาจมีผลกระทบอย่างกว้างขวาง ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการทำหนังสือสัญญานั้น รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชน ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยอย่างน้อยต้องรับฟังความคิดเห็นผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานที่รับผิดชอบนั้น และให้ใช้วิธีการอย่างหนึ่งหรือหลายวิธีดังต่อไปนี้ด้วย เช่น การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น การสัมภาษณ์ หรือการเชิญให้เข้าร่วมชี้แจงหรือแสดงความคิดเห็น การสำรวจความคิดเห็น และวิธีการอื่นใดที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเห็นว่าเหมาะสม ทั้งนี้ ระยะเวลาในการรับฟังความคิดเห็นจะต้องไม่น้อยกว่า 15 วัน
                     2. กำหนดให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำหลักการหรือประเด็นสำคัญของหนังสือสัญญาที่อาจมีผลกระทบอย่างกว้างขวางไปรับฟังความคิดเห็น โดยต้องประกาศวิธีการรับฟังความคิดเห็น ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดในการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งข้อมูลประกอบการรับฟังความคิดเห็น ได้แก่ เหตุผลความจำเป็นและวัตถุประสงค์ของการทำหนังสือสัญญา หัวข้อและสาระสำคัญของหนังสือสัญญา ผลประโยชน์และผลกระทบ (ถ้ามี) และแนวทางรองรับและมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ (ถ้ามี) ทั้งนี้ หากหน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาแล้วว่าการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศหรือประชาชน หรือต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือกระทบต่อท่าทีของไทยในการเจรจา ให้เปิดเผยข้อมูลเพียงเท่าที่จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายเช่นว่านั้น
                     3. เมื่อหนังสือสัญญาที่อาจมีผลกระทบอย่างกว้างขวางมีผลใช้บังคับแล้ว และการปฏิบัติตามหนังสือสัญญานั้นก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม หรือการค้า หรือการลงทุนของประเทศอย่างกว้างขวาง หากหน่วยงานที่รับผิดชอบยังมิได้เสนอแนะมาตรการเยียวยาหรือได้เสนอแนะมาตรการเยียวยาไว้แต่ไม่เพียงพอ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเสนอแนะมาตรการเยียวยาที่จำเป็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบ ซึ่งอาจเป็นมาตรการทางการเงิน หรือที่ไม่เป็นเงินก็ได้ หากเป็นมาตรการเยียวยาทางการเงิน ให้หน่วยงานที่ต้องดำเนินการเยียวยาเสนอประมาณการค่าใช้จ่ายสำหรับมาตรการนั้นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบด้วย และให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเผยแพร่มาตรการเยียวยาที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้ทราบเป็นการทั่วไป โดยอย่างน้อยต้องเผยแพร่ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานที่รับผิดชอบนั้น นอกจากนี้ หากหน่วยงานที่รับผิดชอบเห็นว่ามาตรการเยียวยานั้นไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบในการยกเลิกมาตรการเยียวยา

6. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้) และผลักดันให้เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิรูปในระยะเร่งด่วน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และ           ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตและความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไปประกอบการพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และ             ให้ ยธ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ ยธ. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 โดยแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหนี้ของลูกหนี้ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ที่สามารถร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการได้ จาก ?จำนวนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท? เป็น ?ไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท? กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่มีลักษณะเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแบบเร่งรัด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันและให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ รวมทั้งผลักดันให้เป็นกฎหมายที่ต้องปฏิรูปในระยะเร่งด่วน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
                     สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                     1. กำหนดให้เมื่อลูกหนี้ซึ่งเป็นบริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด หรือนิติบุคคลอื่น ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่สามารถที่จะชำระหนี้ตามกำหนดได้ และเป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม ถ้ามีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ บุคคลตามมาตรา 90/4 ได้แก่ เจ้าหนี้ซึ่งอาจเป็นคนเดียวหรือหลายคนรวมกันและมีจำนวนหนี้แน่นอนไม่น้อยกว่าห้าสิบล้านบาท ลูกหนี้ซึ่งมีลักษณะตามมาตรา 90/3 ธนาคารแห่งประเทศไทยในกรณีที่ลูกหนี้เป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในกรณีที่ลูกหนี้เป็นบริษัทหลักทรัพย์ กรมการประกันภัยในกรณีที่ลูกหนี้เป็นบริษัทประกันวินาศภัยหรือบริษัทประกันชีวิต และหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลการประกอบกิจการของลูกหนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้มีการฟื้นฟูกิจการได้
                     2. กำหนดกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและ               ขนาดย่อม
                                2.1 กำหนดให้ยกเลิกเงื่อนไขที่กำหนดให้ลูกหนี้ที่ประกอบธุรกิจที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องขึ้นทะเบียนกับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือที่จดทะเบียนกับหน่วยงานอื่นของรัฐ จึงจะสามารถร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการได้
                              2.2 กำหนดให้ลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ โดยที่ลูกหนี้ยังไม่ต้องจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการเสนอศาลเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และกำหนดให้มีการพักชำระหนี้เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการได้
                    3. กำหนดให้มีกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแบบเร่งรัดซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ ได้แก่ ลูกหนี้ที่เป็นองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ และลูกหนี้ที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถเลือกยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แบบเร่งรัดได้ โดยแนบแผนพร้อมหลักฐานแสดงว่าเจ้าหนี้ได้มีมติยอมรับแผนแล้ว (prepackaged plus) ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดต่อศาล โดยให้ศาลพิจารณาคำร้อง              ขอดังกล่าวเป็นการด่วน และถ้าได้ความจริงและมีเหตุอันสมควรที่จะฟื้นฟูกิจการและแผนเข้าหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งลูกหนี้ยื่นคำร้องขอโดยสุจริต ให้ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและเห็นชอบด้วยแผน แต่หากศาลมีคำสั่งยกคำร้องขอเพราะแผนไม่เข้าหลักเกณฑ์ที่จะสามารถให้ความเห็นชอบได้ ลูกหนี้อาจยื่นคำร้องขอให้มีการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อีกได้ โดยไม่ติดเงื่อนไขข้อห้ามเรื่องระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ศาลยกคำร้องขอกระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการแบบเร่งรัด

เศรษฐกิจ สังคม

7. เรื่อง ขออนุมัติกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ               (ขสมก.) กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมจำนวน 7,803.718 ล้านบาท และให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ กำหนดวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ในการกู้เงิน
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงคมนาคมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.)  กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วงเงิน 7,803.718 ล้านบาท เพื่อนำไปชำระค่าเชื้อเพลิง ค่าเหมาซ่อม และเป็นเงินสดหมุนเวียนเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน โดยให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ และกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ในการกู้เงิน ซึ่งการกู้เงินของ ขสมก. ในครั้งนี้จะทำให้สามารถประหยัดค่าดอกเบี้ยค้างชำระได้ปีละ 232.594 ล้านบาท หรือร้อยละ 85.29 ต่อปี (หากไม่กู้เงินเพื่อชำระหนี้ดังกล่าว จะต้องชำระดอกเบี้ยค้างชำระ จำนวน 272.721 ล้านบาทต่อปี) โดยกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นชอบและมีความเห็นเพิ่มเติม โดยเฉพาะในประเด็นที่ให้ ขสมก. เร่งทบทวนแนวทางการปฏิรูปและจัดทำร่างแผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก. (ฉบับปรับปรุงใหม่) ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมถึงให้รัฐบาลชดเชยผลขาดทุนรายปีให้แก่ ขสมก. ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ พ.ศ. 2519 มาตรา 11 ตามจำนวนเท่าที่จำเป็น และดอกเบี้ยที่เกิดจากการกู้เพื่อชดเชยผลขาดทุนดังกล่าวด้วย

8. เรื่อง ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่              ปี 2564 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 7 แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม 13,395 ล้านบาท โดยให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นรายปีจนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. (กฟภ.) รายงานว่า
                    1. กฟภ. ขอกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 7 แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม 13,395 ล้านบาท โดย กฟภ. จะทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นจนกว่างานจะแล้วเสร็จ ซึ่งคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 มีมติเห็นชอบให้ กฟภ. กู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนในแผนงานดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวเป็นแผนงานภายใต้กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (29 กันยายน 2563) เห็นชอบด้วยแล้ว
                    2. รายละเอียดของแผนงานภายใต้กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ       พ.ศ. 2564 จำนวน 7 แผนงาน สรุปได้ ดังนี้
                                                                                                                     หน่วย : ล้านบาท
แผนงานระยะยาวใหม่/การดำเนินการ          ระยะเวลา
ดำเนินการ (พ.ศ.)          วงเงินรวม          แหล่งเงินทุน
                              เงินกู้ในประเทศ
(ร้อยละ 75)          เงินรายได้
(ร้อยละ 25)
1) แผนงานปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพสถานีไฟฟ้า ปี 2564 : เป็นการปรับปรุงอุปกรณ์ในสถานีไฟฟ้าที่มีอายุการใช้งานมานานและเริ่มมีการเสื่อมสภาพ เช่น หม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง สวิตช์เกียร์ สายเคเบิลใต้ดิน เป็นต้น ให้มีความพร้อมสำหรับการให้บริการจำหน่ายกระแสไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เพื่อความมั่นคงในระบบการจ่ายไฟฟ้าการป้องกันปัญหาไฟฟ้าดับ และการสูญเสียโอกาสในการจ่ายไฟฟ้าของสถานีไฟฟ้า รวมทั้งเป็นการปรับปรุงเทคโนโลยีระบบควบคุมและระบบป้องกันให้ทันสมัย เพื่อป้องกันผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าขัดข้องในระบบการจ่ายไฟฟ้า
การดำเนินการ : สถานีไฟฟ้า จำนวน 109 แห่ง ในพื้นที่ของ กฟภ. ทั้ง 12 เขตทั่วประเทศ          2564 - 2569
(6 ปี)          2,590.88          1,943.00          647.88
2) แผนงานปรับปรุงอุปกรณ์ควบคุมในระบบจำหน่าย (FRTU-RCS Interface) ระยะที่ 1 : เป็นการปรับปรุง
อุปกรณ์ซึ่งเสื่อมสภาพและมีอายุการใช้งานมานานกว่า 10 ปี โดยการปรับปรุงอุปกรณ์ดังกล่าวในครั้งนี้ จะช่วยลดระยะเวลาการเกิดกระแสไฟฟ้าขัดข้อง เพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายกระแสไฟฟ้า และป้องกันผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าขัดข้องในระบบการจ่ายไฟฟ้า รวมทั้งเป็นการปรับปรุงเทคโนโลยีอุปกรณ์ดังกล่าวให้ทันสมัยมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการจ่ายกระแสฟฟ้าให้ระบบควบคุมการจ่ายไฟฟ้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินการ : ปรับปรุงอุปกรณ์ควบคุมในระบบจำหน่าย จำนวน 2,890 ชุด           2564 - 2567
(4 ปี)          144.23          108.00          36.23
3) แผนงานจัดหาอุปกรณ์/ป้องกัน/ตัดตอน/อุปกรณ์ประกอบในระบบจำหน่ายและสายส่งไฟฟ้า และอุปกรณ์สำรองสำหรับสายเคเบิลใต้ดิน/ใต้น้ำ : เป็นการจัดหาอุปกรณ์ไฟฟ้าเพิ่มเติมจากแผนงานจัดหาอุปกรณ์ไฟฟ้าทดแทนสำหรับการจัดการทรัพย์สิน ระบบจำหน่าย และสายส่งไฟฟ้า ปี 2564 - 2569 เพื่อให้มีอุปกรณ์เพียงพอต่อการใช้งาน รวมทั้งเป็นการเปลี่ยนเพื่อทดแทนของเดิมที่ชำรุด เสื่อมสภาพ หรือเป็นอุปกรณ์สำรองไว้ใช้งานกรณีซ่อมแซมฉุกเฉิน ซึ่งจะส่งเสริมให้งานบำรุงรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ

การดำเนินการ เช่น จัดหาอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อทดแทนที่ชำรุดและเสื่อมสภาพในระบบจำหน่าย 22/33 kV และสายส่ง 115 kV จัดหาอุปกรณ์ไฟฟ้าสำรองไว้ใช้งานกรณีซ่อมแซมฉุกเฉินในระบบจำหน่าย 22/33 kV และสายส่ง 115 kV ใต้ดิน/ใต้น้ำ เป็นต้น          2564 ? 2569
(6 ปี)          1,777.71          1,333.00          444.71
4) แผนงานจัดหายานพาหนะของ กฟภ. ปี 2564 - 2566 : เป็นการจัดหายานพาหนะเพื่อทดแทนยานพาหนะ            คันเก่าให้ได้ล่วงหน้าก่อนที่ยานพาหนะคันเก่าจะมีอายุครบ 15 ปี และจัดหาเพิ่มเติมให้เป็นไปตามกรอบจำนวน             ที่สามารถมีได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของ กฟภ. ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงาน
การดำเนินการ : จัดหายานพาหนะจำนวน 252 คัน ได้แก่ (1) รถบรรทุก 3 ตัน (2) รถบรรทุก 4 ตัน ติดกระเช้า(3) รถบรรทุก 6 ตัน ติดเครนพับ (4) รถกระเช้าฮอทไลน์ 115 kV และ ๒๒ kV (5) รถบรรทุกน้ำ 12,000 ลิตร และ (6) รถพ่วงฉีดน้ำ          2564 ? 2566
(3 ปี)           823.30           617.00           206.30
(5) แผนงานปฏิบัติการดิจิทัลด้านสื่อสารและโทรคมนาคม ของ กฟภ. ปี 2564 : เป็นการกำหนดกรอบแนวทาง      ในการพัฒนาระบบสื่อสารของ กฟภ. ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนขององค์กรให้มีมาตรฐานและมีความมั่นคง ปลอดภัยรองรับการเติบโตของธุรกิจ เช่น พัฒนาระบบสื่อสารของ กฟภ. ให้มีช่องสัญญาณ (Bandwidth) เพียงพอต่อการใช้งาน ปรับเปลี่ยนกระบวนการบริการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความรวดเร็วและตอบสนองความต้องการของสายงานต่าง ๆ ยกระดับการบริการลูกค้าให้สะดวกรวดเร็วและมีความทันสมัยยิ่งขึ้น เป็นต้น
การดำเนินการ เช่น ขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง ปรับปรุงระบบวิทยุสื่อสาร จัดซื้อพร้อมติดตั้งระบบตรวจสอบสภาพแวดล้อมห้องสื่อสาร ระยะที่ 2 เป็นต้น          2564 ? 2566
(3 ปี)          1,261.45          946.00          315.45
6) แผนงานจัดหามิเตอร์ Electronic สับเปลี่ยนทดแทนมิเตอร์จานหมุน : เป็นการนำมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานทดแทนการใช้งานมิเตอร์จานหมุน เนื่องจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าและอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน ซึ่งการนำมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานจะส่งผลให้การดำเนินงานของ กฟภ. มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เนื่องจากมิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเก็บข้อมูลการใช้ไฟฟ้าได้อย่างแม่นยำมากกว่ามิเตอร์แบบจานหมุน               ทำให้การคิดค่าไฟฟ้ามีความเที่ยงตรงและแม่นยำมากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการรองรับการดำเนินธุรกิจการขายไฟฟ้าในอนาคตทั้งในด้านการซื้อขายเสรี หรือการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (Electric Vehicle : EV) ซึ่งมีการใช้กระแส
ไฟฟ้าบางช่วงเวลาเป็นจำนวนมาก
การดำเนินการ : จัดหามิเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อสับเปลี่ยนแทนมิเตอร์จานหมุน จำนวน 4,500,000 เครื่อง ในพื้นที่ให้บริการของ กฟภ. ทั้ง 12 เขต          2564 ? 2566
(3 ปี)          7,664.13          5,748.00          1,916.13
7) แผนงานปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดิน 1 จังหวัด 1 ถนน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ : เป็นการนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน หรือปรับปรุงย้ายแนวระบบไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการและการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก โดยต้องเป็นถนนที่อยู่ในพื้นที่ที่จะใช้จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติของจังหวัด กำหนดระยะทางจังหวัดละประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่ง กฟภ. จะเป็นผู้ลงทุนปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดินทั้งงานไฟฟ้าและงานโยธายกเว้นงานติดตั้งไฟส่องสว่าง หรือเป็นถนนที่ต้องได้รับอนุญาต และสามารถส่งมอบพื้นที่ให้ กฟภ. สำหรับปรับปรุงระบบไฟฟ้าเป็นเคเบิลใต้ดินจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ วงเงินลงทุนจังหวัดละ              ไม่เกิน 58 ล้านบาท
การดำเนินการ : ดำเนินการใน 74 จังหวัด ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ กฟภ.          2564 ? 2566
(3 ปี)          3,602.56          2,700.00          902.56
รวมทั้งสิ้น 7 แผนงาน          17,864.26          13,395.00          4,469.26

9.  เรื่อง การแก้ไขปัญหาผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการอ่างเก็บน้ำแม่มอก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดลำปาง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบ ดังนี้
                     1. อนุมัติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) โดยกรมชลประทาน จ่ายเงินค่าชดเชยให้แก่ราษฎรผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการของรัฐ กรณีโครงการอ่างเก็บน้ำแม่มอก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลำปาง จากการเข้าทำประโยชน์ในแปลงจัดสรรที่ดินไม่ได้ จำนวน 103 ราย ในอัตรา 20,000 บาทต่อราย ตามความเห็นของคณะกรรมการร่วมระหว่างภาคราชการและผู้แทนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานโครงการของรัฐ ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2563 แนวทางที่ 2 ที่ให้มีการเยียวยาตามคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุด ในส่วนของอัตราดอกเบี้ย เห็นสมควรกำหนดให้สอดคล้องกับอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2564 นับแต่วันถัดจากวันที่ราษฎรร้องเรียนเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเงินค่าชดเชยเสร็จสิ้น
                     2. เห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงิน เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าชดเชยให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิและจำนวนเงินค่าชดเชย เพื่อให้เป็นไปตามบัญชีรายชื่อราษฎรที่ได้รับผลกระทบโดยการเยียวยาตามหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ประกอบด้วย
                     1) ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง                                ประธานกรรมการ
                     2) อัยการจังหวัดลำปาง                                                     กรรมการ
                    3) คลังจังหวัดลำปาง                                                    กรรมการ
                     4) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดลำปาง                                กรรมการ
                    5) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดลำปาง                                           กรรมการ
                    6) ปฏิรูปที่ดินจังหวัดลำปาง                                          กรรมการ
                    7) เกษตรและสหกรณ์จังหวัดลำปาง                               กรรมการ

                    8) ผู้อำนวยการโครงการชลประทานลำปาง                      กรรมการ
                        สำนักงานชลประทานที่ 2 กรมชลประทาน
                    9) ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสุโขทัย                      กรรมการ
                         สำนักงานชลประทานที่ 4 กรมชลประทาน
                    10) นายอำเภอเถิน                                                   กรรมการ
                    11) นายปุริมพัฒน์ เกิดนิมิตร (ตัวแทนเกษตรกร)                      กรรมการ
                     12) นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด (ตัวแทนเกษตรกร)                      กรรมการ
                    13) ผู้อำนวยการส่วนจัดหาที่ดินที่ 1               กรรมการและเลขานุการ
                          สำนักกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน
                     14) หัวหน้าฝ่ายจัดหาที่ดิน 2                   กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                          ส่วนจัดหาที่ดิน 1
                          สำนักกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน
                     โดยให้มีหน้าที่และอำนาจ ตรวจสอบบุคคลผู้มีสิทธิ จำนวน 103 ราย ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ รวมทั้งกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าชดเชยให้เป็นไปอย่างถูกต้องเรียบร้อย สำหรับการจ่ายเงินกรณีนี้เห็นสมควรจ่ายด้วยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (จ่ายตรง) ตามบัญชีรายชื่อบุคคลที่ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการฯ หรือทายาทของบุคคลดังกล่าว โดยให้ถือความเห็นของคณะกรรมการชุดนี้เป็นหลักฐานประกอบการจ่ายเงิน และให้ระบุในหลักฐานการรับเงินด้วยว่า ?ข้าพเจ้ายินยอมรับเงินค่าชดเชยในครั้งนี้ และจะไม่มาเรียกร้องหรือขอรับความช่วยเหลือใด ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการอ่างเก็บน้ำแม่มอกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลำปาง จากทางราชการอีก?

10. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 30 เมษายน 2564)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 30 เมษายน 2564) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
นโยบายหลัก          มาตรการ/การดำเนินการ
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์          (1) ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านเกษตรให้แก่เกษตรกร 29,486 ราย และสนับสนุนให้เกษตรกรใช้สารอินทรีย์ 218,072 ราย
(2) จัดกิจกรรมจิตอาสา ผ่านโครงการจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ในพื้นที่เขตดุสิตและเขตบางกอกน้อย มีผู้เข้าร่วม 2,389 ราย พร้อมทั้งกิจกรรมในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ มีผู้เข้าร่วม 1,797,417 ราย
2) การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ          จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบกในเดือนเมษายน พ.ศ.  2564 จำนวน 188 ครั้ง และสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่ชายแดน เช่น สามารถจับกุมยาเสพติดประเภทยาบ้าได้ 298.06 ล้านเม็ด และประเภทกัญชา 15,850.83 กิโลกรัม รวมทั้งสร้างแกนนำนักศึกษาราชภัฏวิศวกรสังคม (แม่ไก่)              50 ราย เพื่อเป็นวิทยากรกระบวนการให้กับผู้นำนักศึกษาในการเป็นแม่ไก่ขยายผลและปฏิบัติจริงในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น
3) การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม          นำเทคโนโลยีสารสนเทศมรดกศิลปวัฒนธรรม AR Smart Heritage มาใช้นำเสนอข้อมูลมรดกวัฒนธรรม และจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็ก ?Kids Inspiration เสาร์สนุก สุขหรรษา? ปีที่ 4 ครั้งที่ 5
4) การส้รางบทบาทของไทยในเวทีโลก          แสดงวิสัยทัศน์และเสนอโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมยุคหลังโควิด-19 และการได้รับเลือกตั้งของไทยในองค์การระหว่างประเทศ จำนวน 2 ตำแหน่ง ได้แก่ (1) สมาชิกคณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา และ (2) สมาชิกคณะกรรมการบริหารขององค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังผู้หญิง           แห่งสหประชาชาติ
5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย          เรื่อง          มาตรการ/การดำเนินการ
(1) เศรษฐกิจมหภาคการเงินและการคลัง          เร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำ 1,578,459.64 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายร้อยละ 4.21 และมีการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุน 379,101.38 ล้านบาท (รวมก่อหนี้) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 7.54 (ข้อมูล ณ วันที่ 30 เมษายน 2564)
(2) การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม          (2.1) ลดหย่อนภาษีเงินได้ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก ร้อยละ 25 ของรายจ่ายที่ซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ
          โดยมีผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพสามารถลดหย่อนภาษีได้ 11 ประเภท
(2.2) โครงการเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยจัดให้มี ?ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (One-Stop Service: OSS)? มีผู้ประกอบการที่ได้รับการเสริมสร้างความสามารถในการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมอาหาร 176 ราย
(3) การพัฒนาภาคการท่องเที่ยว          ยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในภาวะวิกฤตโควิด-19 เพื่อสร้างความมั่นใจในความปลอดภัยและสุขลักษณะ โดยดำเนินโครงการ Amazing Thailand Safety & Health Administration (SHA) และกำหนดแนวทางปฏิบัติแก่ผู้ประกอบการท่องเที่ยวไทยและสร้างความเชื่อมั่นด้านสุขอนามัยแก่นักท่องเที่ยว
(4) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่          (4.1) พัฒนาผู้ประกอบการสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ (New Economy Academy: NEA) 16,331 ราย
(4.2) ยกระดับการบริหารจัดการสมาคมการค้า โดยจัดกิจกรรม ?เสริมแกร่งสมาคมการค้าด้วย Balanced Scorecard (BSC) และเทคนิคการทำโฆษณาบน LINE?                     มีผู้ประกอบการเข้าร่วม 210 ราย


(6) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค          (1) โครงการเพิ่มทักษะกำลังแรงงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยได้ฝึกอบรมกลุ่มเป้าหมาย ในพื้นที่ 10 จังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษและนักศึกษาปีสุดท้าย 4,901 ราย
(2) โครงการส่งเสริมการมีงานทำในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยจัดกิจกรรมแนะแนวอาชีพเพื่อการทำงานในพื้นที่ให้แก่นักเรียนและนักศึกษาที่จะจบการศึกษาหรือที่จะศึกษาต่อ 6,896 ราย
(7) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก          (1) จำหน่ายสินค้าชุมชนผ่านระบบ e-Commerce สามารถนำสินค้ามาจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ thailandpostmart.com โดยมีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ขายสินค้า 5,614 ร้าน
(2) โครงการส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุในอาชีพที่เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ โดยมีผู้สูงอายุได้รับการจ้างงานเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้                ภูมิปัญญาท้องถิ่น 7,797 ราย
(8) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย          จัดแนวทางการเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 และจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งดำเนินโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ
(9) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม          จัดตั้งโรงพยาบาลบุษราคัม ศูนย์กลางการดูแลผู้ป่วยโรคโควิด-19 เกณฑ์สีเหลือง (อาการปานกลาง) ผ่านระบบ Telemedicine โดยปรับอาคารชาเลนเจอร์ IMPACT ARENA เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี เป็นโรงพยาบาลขนาด 5,000 เตียง
(10) การฟื้นฟูทรัพยากร ธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน          แก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน ปี 2564 อย่างเข้มข้น ส่งผลให้จุดความร้อนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ป่าสงวนแห่งชาติ พื้นที่เกษตร และพื้นที่ชุมชนในภาพรวมทั้งประเทศลดลงจากปี 2563 ถึงร้อยละ 51
(11) การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ          ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนานวัตกรรมบริการภาครัฐ โดยพัฒนาระบบสืบค้นข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ ในชื่อ ?ภาษีไปไหน? เพื่อเปิดเผยและส่งเสริมความโปร่งใส และสนับสนุนให้ SME เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ
(12) การป้องกันและปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม          ประกาศเจตนารมณ์ไม่รับของขวัญและของกำนัลทุกชนิดจากการปฏิบัติหน้าที่ (No Gift Policy) และจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กรมบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    2. นโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง
นโยบายเร่งด่วน          มาตรการ/การดำเนินการ
(1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน          ดำเนินโครงการที่ดินของรัฐที่จัดให้แก่ประชาชนที่ยากจน 1,794 แปลง และแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยที่ดินทำกิน สร้างชุมชนที่น่าอยู่ โดยส่วนใหญ่เป็น              การปรับปรุง/ต่อเติม/ซ่อมแซมที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อยและปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาและมีฐานะยากจน
(2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน          (1) บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ดำเนินการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐโดยได้โอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 16,068.66 ล้านบาท และร้านค้าธงฟ้าพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยจ่ายเงินสวัสดิการแห่งรัฐให้ร้านค้า 194,017.16 ล้านบาท
(2) ดำเนินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เดือนละ 600 บาท ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี 2,114,111 คน
(3) มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก          (1) เร่งรัดขยายตลาดส่งออกและธุรกิจในต่างประเทศเชิงรุก โดยมีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริม 3,087 ราย และให้บริการผ่านเว็บไซต์ Thaitrade.com
(2) การส่งเสริมอุตสาหกรรมรายคลัสเตอร์ 1,106 ราย เกิดมูลค่าการค้า 3,005,47 ล้านบาท
(4) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม          (1) ดำเนินโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2564 มีลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ในพื้นที่เป้าหมาย 2.86 ล้านไร่
(2) โครงการประกันรายได้เกษตรกร ปีการผลิต 2563/64 ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
(5) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน          (1) ช่วยเหลือแรงงานผ่านกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง โดยมอบเงินกองทุนฯ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 จำนวน 1,159 ราย 10.33 ล้านบาท
(2) ตรวจโควิด-19 เชิงรุกให้กับผู้ประกันตนภายใต้โครงการ ?แรงงาน ...              เราสู้ด้วยกัน? ใน 10 จังหวัด
(6) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต          (1) การดำเนินโครงการศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)             ด้านแรงงานต่างด้าวเพื่อสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีแรงงานต่างด้าวได้รับการอนุญาตทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 23,939 ราย
(2) ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก               117 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 64,408 ล้านบาท
(7) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21          (1) พัฒนาครูด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อทักษะในศตวรรษที่ 21 โดยจัดการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 24 (วทร.24) หัวข้อ ?นวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อทักษะในศตวรรษที่ 21? มีผู้เข้าร่วมกว่า 6,000 ราย
(2) โครงการดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้แห่งชาติ (National Digital Learning Platform) รองรับการเรียนการสอนที่หลากหลายและสนับสนุน           การเรียนรู้ตลอดชีวิต
(8) การแก้ไขปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายราชการประจำ          เสริมสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมสุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยจัดทำและเผยแพร่ infographic รณรงค์เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปราม             การทุจริตและการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และมาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใส

(9) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้          ดำเนินโครงการสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันปัญหายาเสพติดในเรือนจำในกิจกรรมรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเรือนจำ 142 แห่ง และจัดการฝึกอบรมค่ายเครือข่ายจิตอาสาประชาสังคมในจังหวัดปัตตานี
(10) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน          (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบให้บริการค้นหาตำแหน่งรูปแปลงที่ดินด้วยระบบภูมิสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต (LandsMaps) มีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 40,000 ราย
(2) พัฒนาแอปพลิเคชัน SME CONNEXT ซึ่งเป็นช่องทางในการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ด้านการบริหารราชการรวมถึงสนับสนุนการทำธุรกิจออนไลน์ของผู้ประกอบการ SME
(11) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย          (1) สนับสนุนปฏิบัติการฝนหลวงและบริการด้านการบิน 17 หน่วยงานในพื้นที่            17 จังหวัด 146.63 ล้านไร่
(2) จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์จังหวัด กรณีเกิดอุทกภัยในทุกจังหวัด

11. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนเสนอรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2562 ซึ่งได้เพิ่มเติมรายงานของผู้สอบบัญชีและ              งบการเงินของกองทุนหมุนเวียน โครงสร้างคณะกรรมการบริหารทุนหมุนเวียน รายงานผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน และวิเคราะห์ผลการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนให้ชัดเจนยิ่งขึ้นตามความเห็นของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป
                    ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนได้ปรับปรุงแก้ไขรายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2562 ตามข้อสังเกตของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 25 ปีที่ 2              ครั้งที่ 16 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564 และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 แล้ว โดยเพิ่มเติมรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของทุนหมุนเวียน โครงสร้างคณะกรรมการบริหารทุนหมุนเวียน รายงานผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน และวิเคราะห์ผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การปรับปรุงแก้ไขรายงานดังกล่าวไม่ได้แก้ไข            ในสาระสำคัญของรายงาน แต่เป็นการจัดรูปแบบของรายงานและเพิ่มเติมรายละเอียดตามข้อสังเกตของที่ประชุม               สภาผู้แทนราษฎร ในภาคผนวก ข.
                    สาระสำคัญของรายงานฯ
                    รายงานสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมของทุนหมุนเวียน ประชำปีบัญชี 2562 ที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว โดยเพิ่มประเด็นต่าง ๆ ตามข้อสังเกตของสภาผู้แทนราษฎร มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของทุนหมุนเวียน โดยเพิ่มเติมงบแสดงฐานะการเงิน              งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน หมายเหตุประกอบงบการเงิน และสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญของแต่ละกองทุน เช่น กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กองทุนการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกองทุนเพื่อการพัฒนาระบบสาธารณสุข เป็นต้น
                    2. ข้อมูลทั่วไปของทุนหมุนเวียน โดยได้เพิ่มเติมรายละเอียดข้อมูลทั่วไปของทุนหมุนเวียน ได้แก่ รายละเอียดการจัดตั้ง ประเภททุนหมุนเวียน วัตถุประสงค์ วิสัยทัศน์ พันธกิจ ที่มาของรายได้ โครงสร้างการบริหาร กรอบอัตรากำลัง โครงสร้างคณะกรรมการบริหารทุนหมุนเวียน รายงานการเงิน และผลการดำเนินงาน และจำแนกรายละเอียดข้อมูลทั่วไปของทุนหมุนเวียนออกเป็นแต่ละกองทุน เช่น ข้อมูลทั่วไปของกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน ข้อมูลทั่วไปของกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และข้อมูลทั่วไปของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เป็นต้น
                    3. รายงานผลการดำเนินงานของทุนหมุนเวียน ได้มีการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบผลการดำเนินงานของทุนหมุนเวียนและผลการประเมินเฉลี่ยในภาพรวมของแต่ละกองทุนให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมถึงอุปสรรค              ในการดำเนินงานของแต่ละกองทุนที่ทำให้ผลการประเมินในบางด้านต่ำกว่าเกณฑ์ เช่น กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาไม่สามารถใช้จ่ายรายจ่ายงบลงทุนและรายจ่ายในภาพรวมได้ตามที่กำหนด กองทุนจัดรูปที่ดินควรจัดทำแผนปรับปรุงหรือทบทวนความจำเป็นในด้านการเงินและควรนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุนประกันวินาศภัยไม่สามารถเบิกจ่ายเงินงบประมาณได้ตามมาตรการการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐและเงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตจำหน่ายวัคซีนไม่สามารถดำเนินโครงการปรับปรุงคุณภาพโรงงานผลิตวัคซีนให้ได้               การรับรองตามมาตรฐาน GMP เป็นต้น
                    4. วิเคราะห์ผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน
                              4.1 สถานะทางการเงินของทุนหมุนเวียนในภาพรวม ประจำปีบัญชี 2562 ดังนี้
                                                                                                            หน่วย : ล้านบาท
ประเภททุนหมุนเวียน          รายการ
          สินทรัพย์          หนี้สิน          สินทรัพย์สุทธิ          รายได้สุทธิ          รายได้สูงกว่าค่าใช้จ่าย
เพื่อการสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม          3,307,296.28          1,591,667.03          1,715,629.25          479,935.08          72,522.03
เพื่อการกู้ยืม          587,774.38          2,450.33          585,324.05          10,656.17          17,761.03
เพื่อการสนับสนุนส่งเสริม          373,687.07          86,683.83          287,003.24          115,044.37          16,061.98
เพื่อการบริการ          46,024.77          390.72          45,634.05          11,025.79          4,559.45
เพื่อการจำหน่ายและการผลิต          30,187.71          826.88          29,360.83          9,583.82          2,033.54
รวม          4,344,970.21          1,682,018.79          2,662,951.42          626,245.23          112,938.03
                              4.2 ผลการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2562
                              ในปีบัญชี 2562 มีทุนหมุนเวียนทั้งสิ้น 115 ทุน โดยมีทุนหมุนเวียนที่เข้าสู่ระบบ                    การประเมินผลการดำเนินงานของกรมบัญชีกลาง จำนวน 97 ทุน และไม่เข้าสู่ระบบการประเมินผลการดำเนินงานของกรมบัญชีกลาง จำนวน 18 ทุน ดังนี้
                                        4.2.1 ทุนหมุนเวียนที่เข้าสู่ระบบการประเมินผลการดำเนินงานของกรมบัญชีกลาง จำนวน 97 ทุน มีคะแนนผลการประเมินเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 3.9083 คะแนน โดยมีทุนหมุนเวียนที่มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์การประเมินผล จำนวน 45 ทุน ที่มีผลการประเมินต้องปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน จำนวน 44 ทุน และทุนหมุนเวียนที่มีผลการประเมินไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผล จำนวน 8 ทุน
                                        4.2.2 ทุนหมุนเวียนที่ไม่เข้าสู่ระบบการประเมินผลการดำเนินงานของกรมบัญชีกลาง จำนวน 18 ทุน ประกอบด้วย
                                                  1) ทุนหมุนเวียนที่มีกฎหมายเฉพาะเกี่ยวกับการประเมินผลและจัดให้มีการประเมินผลการดำเนินงาน จำนวน 9 ทุน ได้แก่ กองทุนพัฒนาไฟฟ้า กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนเพื่อการพัฒนาและเผยแพร่ประชาธิปไตย กองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา และกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง
                                                  2) ทุนหมุนเวียนที่มีสถานะไม่พร้อมประเมินผลการดำเนินงาน จำนวน 9 ทุน ได้แก่ ทุนหมุนเวียนที่อยู่ระหว่างการดำเนินการยุบเลิก จำนวน 3 ทุน ได้แก่ เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน กองทุนช่วยเหลือเยียวยานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และกองทุนส่งเสริมศิลปะร่วมสมัย               ทุนหมุนเวียนที่อยู่ระหว่างการรวม จำนวน 1 ทุน คือ กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัด ทุนหมุนเวียนที่จัดตั้งขึ้นใหม่และอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อม จำนวน 4 ทุน ได้แก่ กองทุนเพื่อการพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดิน กองทุนส่งเสริมการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน กองทุนพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และทุนหมุนเวียนที่ยังไม่มีการดำเนินงานตามภารกิจและวัตถุประสงค์การจัดตั้ง จำนวน 1 ทุน คือ กองทุนเพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมวิชาชีพ
                              4.3 บทบาทของทุนหมุนเวียนที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
                              ทุนหมุนเวียนถือเป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน บนพื้นฐานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ซึ่งในปีบัญชี 2562 ทุนหมุนเวียนมีบทบาทสำคัญในการผลักดัน ให้เกิดการพัฒนาและสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการของรัฐในด้านต่าง ๆ เช่น ปลูกฝังให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข สนับสนุนและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศในการสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมชีวภาพ ตลอดจนส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืนและลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และยกระดับขีดความสามารถด้านบริการขนส่งและโลจิสติกส์ของประเทศ เพื่อเชื่อมโยงกับเครือข่ายโลจิสติกส์ของโลก
                              4.4 ข้อสังเกตการประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน ประจำปีบัญชี 2562 ของคณะทำงานจัดทำบันทึกข้อตกลงและประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน
                                        4.4.1 ควรมีการทบทวนวิสัยทัศน์ ให้สอดคล้องกับพันธกิจและวัตถุประสงค์จัดตั้ง และให้สอดคล้องกับความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการกำหนดยุทธศาสตร์                        ที่ชัดเจนเพื่อรองรับและให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์จัดตั้งโดยควรมีแผนการดำเนินงานเพื่อรองรับยุทธศาสตร์ ทั้งระยะสั้น และระยะยาว รวมทั้งการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของแผนการดำเนินงานที่ตอบสนองตามพันธกิจและวัตถุประสงค์จัดตั้ง
                                        4.4.2 ควรมีแนวทางในการสอบทานผลประเมินของตัวชี้วัดเพิ่มเติม เช่น วิธีสุ่มตรวจสอบโดยตรงกับผู้ที่ได้รับการสนับสนุนส่งเสริมเพื่อให้มั่นใจได้ว่าผลลัพธ์หรือผลผลิตที่ได้เป็นไปตามที่ได้กำหนดไว้ตามวัตถุประสงค์ในการขอรับการสนับสนุนส่งเสริม
                                        4.4.3 ควรทบทวนจำนวนและคุณลักษณะของทุนหมุนเวียนที่มีโครงสร้างคณะกรรมการบริหารทุนหมุนเวียนที่มีจำนวนคณะกรรมการฯ มากเกินไปซึ่งส่งผลต่อความไม่คล่องตัวในการดำเนินงานเพื่อให้โครงสร้างคณะกรรมการฯ มีความสอดคล้องกับพันธกิจและวัตถุประสงค์จัดตั้งของทุนหมุนเวียน
                                        4.4.4 กรมบัญชีกลางควรทบทวนทุนหมุนเวียนที่มีวัตถุประสงค์เดียวกันหรือสามารถดำเนินการร่วมกันได้เพื่อให้มีการควบรวมหรือยุบเลิกทุนหมุนเวียน โดยเฉพาะทุนหมุนเวียนที่อยู่ในกลุ่มเกี่ยวกับด้านการเกษตร เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรได้อย่างครบถ้วนและชัดเจน
                                        4.4.5 ควรเริ่มนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการดำเนินงาน เช่น การสำรวจต่าง ๆ สามารถใช้ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ช่องทางออนไลน์ ทดแทนการสำรวจด้วยการกรอกแบบสำรวจเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว ลดต้นทุนและมีระบบฐานข้อมูลที่เป็นระบบ เป็นต้น
                                        4.4.6 ควรแสดงความเชื่อมโยงระหว่างประสิทธิผลของกระบวนการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียนกับผลลัพธ์ในการดำเนินงานของตัวชี้วัดด้านต่าง ๆ ให้ชัดเจนมากขึ้น
                                        4.4.7 ควรมีการเทียบเคียง/เปรียบเทียบ (Benchmark) ผลการดำเนินงานกับหน่วยงานอื่นหรือการเทียบเคียงระหว่างหน่วยงาน

12. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 3/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปผลการประชุม กตน. ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564 และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564 โดยมีรัฐมนตรีประจำ           สำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน.
1. การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เช่น
   1) คณะกรรมการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำแนกเป็น ระดับนโยบาย ได้แก่ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คณะกรรมการควบคุมมลพิษและระดับปฏิบัติ เช่น คณะกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในกรุงเทพมหานคร/จังหวัด

    2) การบูรณาการตามมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ได้แก่ (1) การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ (17 จังหวัดภาคเหนือ และกรุงเทพมหานคร) (2) การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) เช่น การเผาในที่โล่ง และภาคอุตสาหกรรม (3) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ เช่น การปรับปรุงค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ และการติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ
   3) ผลการแก้ปัญหาฝุ่นละออง ไฟป่า และหมอกควัน เช่น จุดความร้อนภาพรวมทั้งประเทศลดลงจากปี 2563 ถึงร้อยละ 50 และจำนวนวันที่ฝุ่นละออง PM2.5 มีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 8          ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
1) ควรให้ความสำคัญกับการควบคุมและลดมลพิษจากยานพาหนะต่าง ๆ โดยกำหนดมาตรการเร่งด่วน เช่น การเร่งรัดและมีมาตรการจูงใจในการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงประเภท Euro5 และการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบคมนาคมขนส่งสาธารณะด้วยรถไฟฟ้าให้ครบวงจร
2) ควรมีการศึกษาการนำเครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัยมาใช้จัดการมลพิษทางอากาศ
3) ควรเร่งสร้างความเข้าใจและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน
มติที่ประชุม : รับทราบและขอให้กระทรวงทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. ไปพิจารณาต่อไป






2. การสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ได้แก่
   1) มาตรการส่งเสริมหรือจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนเป็นรถที่ใช้ไฟฟ้า เช่น (1) กระทรวงคมนาคม (คค.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าในการคมนาคมของประเทศ รวมทั้งศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะด้วยเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า และ (2) กระทรวงพลังงาน (พน.) ได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติและแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายฯ จำนวน 4 คณะ
   2) แนวทางการส่งเสริมพื้นที่ติดตั้งสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station Mapping) เช่น พน. สนับสนุนการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้ารวม 647 สถานี 1,964 หัวจ่าย และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) สนับสนุนกิจการสถานีอัดประจุไฟฟ้า โดยจะได้รับสิทธิและประโยชน์ในกลุ่ม A3 (ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี)
   3) การใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในรถรับจ้างประเภทต่าง ๆ โดย พน. ได้ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในรถรับจ้างสาธารณะ ซึ่งอยู่ระหว่างการกำหนดมาตรการระยะ              1 - 5 ปี
   4) ปัญหาและอุปสรรคด้านการส่งเสริมการลงทุน สกท. ได้ออกประกาศส่งเสริมการลงทุนผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแต่ความต้องการของตลาดรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่สูงเพียงพอ และเอกสารที่กำหนดขอบเขตและรายละเอียดของการจัดหาพัสดุ/งานจ้าง (TOR) ยังไม่เอื้อให้เกิดโอกาสแก่ผู้ประกอบการไทยมากนัก          ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
1) ควรนำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินการส่งเสริมเรื่องเรือไฟฟ้าด้วย
2) ประเด็นปัญหาหัวจ่ายประจุไฟฟ้าที่ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อย่างรวดเร็ว นั้น ปัจจุบันคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้กำหนดอัตราค่าชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่มีอัตราคงที่ตลอดทั้งวันที่ 2.6369 บาทต่อหน่วย สามารถสร้างแรงจูงใจผู้พัฒนาสถานีชาร์จรถไฟฟ้าให้มีการลงทุนมากขึ้น
3) ควรเตรียมพร้อมบุคลากรรองรับการปรับเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเป็นอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคต โดยกระทรวงศึกษาธิการควรพิจารณาจัดทำหลักสูตร EV ในทุกมิติ รวมถึงให้ทุนการศึกษาด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าจาก พน. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มติที่ประชุม : รับทราบและเห็นชอบให้ คค. พน. ร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงอุตสาหกรรม
(อก.) สกท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง บูรณาการการดำเนินงานเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
3. การเพิ่มประสิทธิภาพการกระจายข้อมูลข่าวสารได้แก่ การขยายโครงการอินเทอร์เน็ตและโทรคมนาคมในพื้นที่ โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ได้นำร่องการใช้ประโยชน์ 5G ในระยะสั้น ทั้งนี้ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5G ของประเทศไทยเพื่อการต่อยอดการใช้ประโยชน์ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่               ด้านการเกษตร ด้านสาธารณสุข  ด้านอุตสาหกรรม     ด้านการศึกษา ด้านคมนาคม และด้าน Smart City และการเพิ่มประสิทธิภาพของหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มท. จะดำเนินการให้มีหอกระจายข่าวอีก 500 แห่ง เพื่อให้ครอบคลุม 74,709 หมู่บ้านทั่วประเทศ          มติที่ประชุม : (1) รับทราบและให้ ดศ. ร่วมกับ มท. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) อก. กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางเพื่อบูรณาการส่งเสริมการขยายโครงการอินเทอร์เน็ตและโทรคมนาคม เทคโนโลยี 5G และเทคโนโลยีอื่น ๆ ในพื้นที่ เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับทุกภาคส่วน รวมทั้งให้ส่งเสริมและสร้างความรู้ความเข้าใจและความตระหนักรู้ให้แก่ประชาชนในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าว และ (2) มอบหมายให้คณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชนใน กตน. พิจารณาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น มท. กปส. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ในการเพิ่มประสิทธิภาพการสร้างรับรู้และเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของทางราชการให้แก่ประชาชนให้ครอบคลุมทุกพื้นที่
4. แผนงานและผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการ รวม 4 คณะ ได้แก่ (1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (2) คณะอนุกรรมการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลประจำปี (กำหนดกรอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนพฤศจิกายน 2564)   (3) คณะอนุกรรมการบูรณาการและประสานการเชื่อมโยงฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี และ                          (4) คณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน          มติที่ประชุม : รับทราบและมอบหมายให้ประธานคณะอนุกรรมการบูรณาการและประสานการเชื่อมโยง
ฐานข้อมูลสารสนเทศด้านการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสมเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

13. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2563 ขององค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ                 แห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.) เสนอรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2563 ของ ส.ส.ท. ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ส.ส.ท. ได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2563 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์การ ประจำปี 2563 ส.ส.ท. ได้มี                    การขับเคลื่อนการดำเนินการต่าง ๆ ผ่าน 4 กิจการหลัก ดังนี้
                              1.1 กิจการวิทยุโทรทัศน์ โดยส่งสัญญาณในระบบดิจิทัลภาคพื้นดินผ่านทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ช่องหมายเลข 3 จำนวน 21 ชั่วโมงต่อวัน มีสัดส่วนข่าวสารกว่าร้อยละ 50 และสารประโยชน์ทางด้านการศึกษาและสาระบันเทิงรวมกว่าร้อยละ 40 รวมทั้งปรับเพิ่มการปฏิบัติงานด้านเนื้อหาที่สร้างความแตกต่างและโดดเด่นมากขึ้นในรูปการบริหารแบบศูนย์สร้างสรรค์เนื้อหาพิเศษ
                              1.2 บริการส่งเสริมการเรียนรู้ โดยทดลองออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Active Learning TV (ALTV) หมายเลข 4 จำนวน 15 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งช่วยเพิ่มสัดส่วนเนื้อหาสำหรับเด็กและครอบครัวจาก 255 นาที/สัปดาห์ เป็น 5,602 นาที/สัปดาห์ ส่งผลให้ยอดรวมรายการเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 21.05 ของเวลาออกอากาศทั้งหมด
                              1.3 ด้านวิทยุกระจายเสียง โดยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารบนช่องทางวิทยุออนไลน์ด้วยแนวคิด See The World via The Voice จำนวน 6,205 ชั่วโมงต่อปี และเริ่มผลิตสื่อเสียงในรูปแบบพอดคาสต์กว่า                   10 รายการ
                              1.4 ช่องทางบนสื่อออนไลน์ โดยมีบริการใหม่ ได้แก่ (1) เว็บไซต์เด็กและครอบครัว Thai PBS Kids (2) เว็บไซต์ The Active สื่อสารข้อมูลและมุมมองต่อนโยบายสาธารณะที่ส่งผลต่อสังคม และ (3) เว็บไซต์ Decode พื้นที่สื่อสารของพลเมืองรุ่นใหม่
                    2. ผลงานเด่นปี 2563 ได้แก่ (1) 5 ข่าวเด่นไทยพีบีเอส เช่น วิกฤติภัยแล้งและฝุ่น PM2.5 สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการกราดยิงที่โคราช (2) 5 รายการเด่นไทยพีบีเอส เช่น รายการ ?ยินดีที่ได้รู้จัก? สารคดี ?ภาคภูมิไทย? และรายการ ?มหาอำนาจบ้านนา? (3) 5 รายการเด่นช่อง ALTV เช่น รายการในกลุ่ม Mash-Up รายการ ?KIDS พิชิต CODE? และรายการ ?ท่าไม้ตาย? (4) 5 คลิปเด่นออนไลน์ เช่น ?เก็บเงินสด? ทางรอดวิกฤตโควิด-19 และซีรีส์วิถีคน วิถีเรือขนทราย และ (5) 5 คลิปเด่นสื่อพลเมือง เช่น ปันน้ำจากชาวม้งและโรงทานยามยาก
                    3. แผนบริหารกิจการและแผนงบประมาณสำหรับปี 2564 ได้ดำเนินการภายใต้เป้าหมายยุทธศาสตร์ ?แตกต่างบนความยั่งยืน? และตัวชี้วัดความสำเร็จใน 5 ประเด็นหลัก เช่น การได้รับการยอมรับจากประชาชนในการทำหน้าที่สื่อสาธารณะ และการมีช่องทางเข้าถึงผู้รับสารอย่างทั่วถึงและมีเนื้อหาที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับ โดยมีสัดส่วนงบประมาณตามภารกิจประกอบด้วย (1) ภารกิจผลิตเนื้อหา ช่องทาง และบริการ 1,669               ล้านบาท (2) ภารกิจสนับสนุน 259 ล้านบาท (3) บุคลากรและสวัสดิการ 636 ล้านบาท (4) งานบริการโครงข่ายและสิ่งอำนวยความสะดวก 306 ล้านบาท (5) แผนลงทุนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและขยายประโยชน์สาธารณะ 123 ล้านบาท และ (6) แผนสำรอง 15 ล้านบาท รวมงบประมาณทั้งสิ้น 3,008 ล้านบาท
                    4. ผังรายการในปี 2563 และแผนการที่จะเปลี่ยนแปลงผังรายการสำหรับปี 2564 ส.ส.ท. ได้กำหนดกลยุทธ์หลักของแผนการจัดทำรายการปี 2564 เช่น การออกแบบกลไกการทำงานที่สนับสนุนให้มีการเผยแพร่เนื้อหาที่เหมาะสมกับความต้องการ และเป็นทางออกของปัญหาสำหรับสังคมส่วนใหญ่ การสร้างผู้ชมที่มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื้อหารายการ และการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้องแม่นยำด้วยการสนับสนุนจากการจัดการระบบฐานข้อมูล
                    5. งบการเงินและรายงานของผู้สอบบัญชี สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เห็นว่า ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐ และนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          ปี 2563          ปี 2562          เพิ่ม/(ลด)
งบแสดงฐานะการเงิน
   รวมสินทรัพย์          7,723.82          7,767.29          (43.47)
   รวมหนี้สิน          878.00          804.00          74.00
งบแสดงผลการดำเนินการทางการเงิน
   รวมรายได้          2,635.02          2,763.24          (128.22)
   รวมค่าใช้จ่าย          2,752.14          2,320.73          431.41
รายได้สูงกว่า (ต่ำกว่า) ค่าใช้จ่ายก่อนดอกเบี้ยจ่าย          (117.12)          (442.51)          (559.63)
                    6. รายงานการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบได้ดำเนินการ ดังนี้ (1) การสอบทานรายงานทางการเงิน (ตามข้อ 5) (2) การสอบทานการบริหารความเสี่ยง โดยแนะนำให้ ส.ส.ท. ติดตามและรายงานความคืบหน้าผลดำเนินการตามแผนบริหารความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอ (3) การสอบทานระบบการควบคุมภายใน พบว่า มีความเพียงพอเหมาะสมโดยแนะนำ ให้ ส.ส.ท. พัฒนาการกำกับดูแลการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น (4) การสอบทานการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยแนะนำให้ ส.ส.ท. เร่งจัดทำมาตรการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบให้แล้วเสร็จ (5) การกำกับดูแลงานตรวจสอบภายในโดยให้ข้อแนะนำและติดตามการดำเนินการแก้ไขในประเด็นที่มีนัยสำคัญตามรายงานผลการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง และ                    (6) การรักษาคุณภาพของคณะกรรมการตรวจสอบ โดยได้ทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบและรายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการนโยบายทุกไตรมาส
                    7. รายงานของคณะกรรมการประเมินผล ได้แก่ (1) การประเมินด้านประสิทธิผล พบว่า ประสิทธิผลการดำเนินงานและผลสำเร็จของการดำเนินงานตามเป้าประสงค์อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะเป้าประสงค์ด้านพัฒนาเทคโนโลยีและช่องทางที่เพิ่มขึ้น (2) การประเมินด้านประสิทธิภาพ พบว่า การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะในมิติปัจจัยนำเข้าด้านวัสดุอุปกรณ์ที่มีความเหมาะสมมากที่สุด ในขณะที่ด้านกฎ ระเบียบ ข้อบังคับควรต้องได้รับการปรับปรุงเพื่อเอื้อต่อการแข่งขันในสภาวะภูมิทัศน์สื่อที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน (3) การประเมินด้านการพัฒนาองค์การ พบว่า ภาพรวมของการพัฒนาองค์การอยู่ในระดับปานกลาง โดยประเด็นที่ได้คะแนนน้อย เช่น ด้านโครงสร้างบุคลากรมีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการบริหารจัดการที่ต้องปรับเพื่อความคล่องตัว และด้านการจัดกิจกรรมให้ผู้บริหารระดับสูงพบบุคลากรอย่างเพียงพอ และ (4) การประเมินด้านความพึงพอใจของผู้ชมและการสนับสนุนจากประชาชน พบว่า ทุกกลุ่มรายการได้คะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะกลุ่มรายการข่าว สารคดี และรายการเด็กและเยาวชน ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 11.65 มีความยินดีที่จะจ่ายเงินสนับสนุน ส.ส.ท. เฉลี่ยเดือนละประมาณ 150 บาท เพื่อให้ ส.ส.ท. สามารถดำเนินการได้ต่อไป
                    8. การรับฟังความคิดเห็นจากสภาผู้ชมและผู้ฟังรายการ มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ เช่น (1) ควรเพิ่มการสื่อสารประชาสัมพันธ์ในรูปแบบและช่องทางใหม่ ๆ เพื่อให้ได้รับความนิยมจากประชาชนทุกกลุ่ม                 (2) ควรสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ศูนย์ข่าวภูมิภาค สื่อท้องถิ่น และองค์กรสาธารณประโยชน์ เพื่อร่วมกันผลิต พัฒนาเนื้อหา และเพิ่มช่องทางการเข้าถึงสื่อสาธารณะ และ (3) ควรสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภายนอกองค์การเพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ในการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้ ส.ส.ท. ได้มีการดำเนินการต่อข้อเสนอแนะฯ เช่น (1) จัดให้มีกลไกการบริหารคุณภาพเนื้อหาในรูปแบบ Executive Overview Team ดูแลคุณภาพเนื้อหา                ทั้งรายการเก่าและรายการใหม่ (2) จัดอบรมนักสื่อสารชุมชนใน 4 ภูมิภาค เพื่อทำหน้าที่สื่อสารข้อมูลสถานการณ์ชุมชนภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ผ่านแอปพลิเคชัน C-Site และ (3) พัฒนากลไกและรูปแบบการรับฟังความคิดเห็นให้มีประสิทธิภาพ
                    9. ข้อมูลร้องเรียนจากผู้ชม/ผู้ฟังรายการและวิธีการแก้ไข เช่น (1) รายการวันใหม่ไทยพีบีเอสได้นำมุสลิมข้ามเพศมารายงานข่าวสถานการณ์น้ำท่วมจังหวัดนราธิวาสในแง่ตลกขบขัน ซึ่งคณะอนุกรรมการรับและพิจารณาเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเห็นว่า เป็นการขัดจริยธรรมสื่อข้อ 7 ด้านการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ความเป็นส่วนตัว การคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ศาสนา ไสยศาสตร์ และความเชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ (2) รายการวันใหม่วาไรตี้นำเสนอข้อมูลการทำเจลแอลกอฮอลล์ล้างมือที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า เป็นการขัดจริยธรรมสื่อข้อ 4 ด้านความถูกต้อง เที่ยงตรง อย่างไรก็ตาม การนำเสนอดังกล่าวเป็นไปด้วยเจตนาที่ดี แต่ควรอ้างอิงผู้ที่มีความรู้เพื่อช่วยป้องกันความผิดพลาดและได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และ (3) การเปิดรับความช่วยเหลือให้แก่แหล่งข่าวผ่านสื่อสังคมออนไลน์ทำให้ได้รับเงินบริจาคกว่า 8 ล้านบาทในเวลาชั่วข้ามคืน ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า มิได้เป็นการประพฤติผิดจริยธรรมแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นการกระทำไปโดยสุจริต อย่างไรก็ตามกรณีนี้เป็นสถานการณ์ที่เหนือความคาดหมายจึงควรให้เป็นกรณีศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางของ ส.ส.ท. ในการทำข่าวเกี่ยวกับการให้                ความช่วยเหลือบุคคลหรือชุมชนเพื่อไม่ให้เกิดเรื่องทำนองนี้อีก

14. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น ของคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่น วุฒิสภา ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ในการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการการปกครองท้องถิ่นได้มีข้อเสนอแนะหลายประการ ได้แก่ ด้านนโยบาย ด้านการบริหารการจัดการด้านการเสริมสร้างสมรรถภาพของผู้มีส่วนได้เสีย ด้านแหล่งรายได้และกองทุนทางด้านวัฒนธรรม ด้านการออกแบบการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนในการบริหารจัดการทางวัฒนธรรม และผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และชุมชน รวมทั้งเป็นการปรับโครงสร้างการทำงานของ อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และแนวทางปฏิบัติในด้านต่าง ๆ โดยเป็นการพัฒนาจากรากฐาน และเป็นการพัฒนาที่เสริมสร้างรายได้ในพื้นที่ นำไปสู่การสร้างคุณค่าทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ มท. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ               สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    มท. รายงานว่า ได้ร่วมประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 ซึ่งเห็นชอบกับข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม สรุปได้ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ          ผลการพิจารณา
1. ด้านนโยบาย
    1.1 ควรมีกฎหมายว่าด้วยการมีส่วนร่วมของประชาชนให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศ พื้นที่และการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลก เพื่อใช้เป็นกฎหมายกลาง และควรมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจ งบประมาณของอปท. และการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของ อปท. และชุมชนได้อย่างแท้จริง รวมทั้งต้องมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลในการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
    1.2 ควรมีการปรับโครงสร้างด้านการบริหารงานบุคคลของ อปท. ให้สามารถรับบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยดำเนินการ
    1.3 อปท. ต้องกำหนดให้มีวิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์ และนโยบายสาธารณะของท้องถิ่น ตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน โดยนำ ?มิติวัฒนธรรม? มาใช้เป็นองค์ประกอบในการศึกษาการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน รวมทั้งให้ความสำคัญของ ?วัฒนธรรม? และบรรจุ ?มิติวัฒนธรรม? ในการจัดทำนโยบายโครงการ การจัดทำงบประมาณ และองค์กรต่าง ๆ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับประเทศ ตลอดจนต้องมีกลไกสนับสนุนให้ อปท. สามารถออกข้อบัญญัติท้องถิ่นได้เอง
    1.4 ควรเร่งรัดปรับปรุง พ.ร.บ. โบราณสถานโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 04 เพื่อเป็นการกระจายอำนาจให้อปท. มีหน้าที่อำนาจในการดูแลโบราณสถาน และโบราณวัตถุ ทั้งนี้ ต้องคำนึงถึงความพร้อมของ อปท. ด้วย          มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ได้ร่วมกับคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร จัดทำมาตรฐานการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของ อปท. สรุปได้ดังนี้
    1) มีแนวคิดพื้นฐานที่มุ่งให้ประชาชนในท้องถิ่นเป็นศูนย์กลาง ส่วน อปท. เป็นผู้สนับสนุนให้ประชาชนได้มีความรู้ ความเข้าใจ และมีศักยภาพรวม 4 ด้าน คือ การเรียนรู้ การมีส่วนร่วม การสร้าง
เครือข่าย และการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์
    2) มีการส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณี โดยมีแนวคิด ดังนี้
        2.1) ส่งเสริมให้ประชาชนในท้องถิ่นเข้าร่วมกิจกรรมของศาสนาที่ตนเองนับถือ และกิจกรรมที่จัดขึ้นในเทศกาลต่าง ๆ ตามประเพณีท้องถิ่น
        2.2) รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในท้องถิ่นเพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมการดำเนินชีวิตตามศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
        2.3) วางแผนกิจกรรมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่น
        2.4) จัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่น เพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วม ทั้งนี้ อยู่ระหว่างดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์มาตรฐานการส่งเสริมศาสนาฯ เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับนโยบายและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยจะได้นำข้อเสนอแนะของ กมธ. ไปปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าวต่อไป
     วธ. (กรมศิลปากร) ได้เร่งรัดปรับปรุง พ.ร.บ. โบราณสถานฯ เพื่อกระจายอำนาจและกำหนดให้ อปท. มีหน้าที่และอำนาจในการดูแลโบราณสถานโบราณวัตถุ
2. ด้านการบริหารการจัดการ
    2.1 นำหลักการจัดการภาครัฐแนวใหม่มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาองค์การให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน และพัฒนาระบบสารสนเทศในการจัดทำฐานข้อมูล (Big data) ทางด้านวัฒนธรรมที่สัมผัสได้ และสัมผัสไม่ได้
    2.2 ออกแบบและพัฒนาขั้นตอนของการมีส่วนร่วมในการทำงานของประชาชน เพื่อสร้างให้เป็นวิถีชุมชนและสร้างความเป็นปึกแผ่น รวมถึงการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารและการดำเนินงานของรัฐสภาให้ทั่วถึง เช่น การใช้สื่อดิจิทัล การจัดให้มี Application software ทางด้านวัฒนธรรม รวมทั้งให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรม และโบราณสถานให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนการดำเนินการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม          วธ. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
    - การจัดทำฐานข้อมูล (Big data) ทางด้านวัฒนธรรมควรประกอบด้วย เว็บไซต์ศูนย์ข้อมูลด้านวัฒนธรรม ระบบเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ ระบบตรวจสอบและรับฟังเสียงสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook Twitter และ YouTube ระบบตอบคำถามอัตโนมัติ ระบบสารานุกรมเสรีด้านวัฒนธรรม ระบบสืบค้นข้อมูลอัจฉริยะด้านวัฒนธรรม ระบบ กฤตภาคข่าวออนไลน์ และแอปพลิเคชัน
    - การให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรม และโบราณสถานให้เป็นที่รู้จักควรกำหนดกลไกให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนร่วมกับประชาชนในท้องที่
    - การดำเนินการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม ควรให้ วธ.                       สภาวัฒนธรรมตำบล ชุมชนท้องถิ่น และชุมชนทางสังคมร่วมกันขับเคลื่อนด้านวัฒนธรรมโดยวิสาหกิจเพื่อสังคมให้มากขึ้น
3. ด้านการเสริมสร้างสมรรถภาพของผู้มีส่วนได้เสีย
    3.1 ควรมีการปลูกฝังจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์ บริหารจัดการ และสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่เด็กและเยาวชน และควรจัดให้มีกองทุนวัฒนธรรม เพื่อให้ อปท. และชุมชนมีทรัพยากรในการดำเนินการ รวมทั้งควรจัดให้มีรางวัลตอบแทน อปท. ที่ประสบความสำเร็จ ในการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านวัฒนธรรมและ               ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    3.2 พัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ภาคประชาสังคม และสนับสนุนให้มีการสร้างเครือข่ายชุมชนในระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของ อปท. ในเรื่องการบริหารจัดการทางวัฒนธรรม โดยทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา ปราชญ์ชาวบ้าน ศิลปินและนักบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมที่เชี่ยวชาญ          วธ. มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
     - การปลูกฝังจิตสำนึกในการมีส่วนร่วมอนุรักษ์บริหารจัดการ และสืบสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ควรเริ่มตั้งแต่สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ในการสืบทอดวัฒนธรรมให้แก่ประชาชนทุกระดับทุกวัย โดยมีศิลปิน นักวิชาการ ปราชญ์ท้องถิ่นเป็นผู้ให้ความรู้ ตลอดจนควรมีหลักสูตรท้องถิ่นให้ได้เรียนรู้
    - ได้มีการดำเนินงานการส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้มีความสืบเนื่องและยั่งยืนตาม พ.ร.บ. ส่งสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 59 รวมทั้งสร้างแนวทางความร่วมมือระหว่างชุมชนที่มีมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของแต่ละท้องที่เพื่อรวบรวมและจัดทำรายการเบื้องต้นในการประกาศขึ้นบัญชีมรดก               ภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีข้อมูลที่ไม่สามารถจับต้องได้อันเป็นข้อมูลทุติยภูมิทางวิชาการที่สามารถศึกษา ค้นคว้า ข้อมูลเพื่อนำมาเป็นข้อมูลสำหรับต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ประชาชนทั่วไป หรือองค์กรต่าง ๆ ได้
กค. เห็นว่า การจัดตั้งกองทุนทางวัฒนธรรม ควรให้กองทุนดังกล่าวมีรายได้จากการจัดกิจกรรมและแหล่งการท่องเที่ยว งบประมาณของ อปท.                  การบริจาคจากภาครัฐ ภาคเอกชน และ                  ภาคประชาชน เพื่อให้มีทรัพยากรเพียงพอใน              การดำเนินการ
4. ด้านแหล่งรายได้และกองทุนทางด้านวัฒนธรรม
ควรมีการออกแบบและจัดตั้งกองทุนทางด้านวัฒนธรรมโดยมีรายได้จากการจัดกิจกรรมและแหล่งท่องเที่ยวงบประมาณของ อปท. การบริจาคจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน          กค. เห็นว่า หากมีความจำเป็นต้องจัดตั้งกองทุนทางวัฒนธรรม เพื่อเป็นแหล่งในการบริหารจัดการหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ. การบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 58 จะต้องจัดทำรายละเอียดเหตุผลความจำเป็น วัตถุประสงค์ แหล่งที่มาของเงิน แผนการดำเนินการ และแผนการเงินของกองทุนเสนอต่อ คกก. นโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนตาม ม. 14 แห่ง พ.ร.บ. การบริหารทุนหมุนเวียนฯและตาม ม. 63 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 61
5. ด้านการออกแบบการเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของ อปท. และชุมชน ในการบริหารจัดการทางวัฒนธรรม
ให้นำกระบวนการการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนทางวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ โดยผ่านกระบวนการพัฒนาศักยภาพของชุมชนและ อปท. โดยการทำงานเป็นระยะต่าง ๆ คือ
    - ระยะเตรียมการที่ต้องมีการสำรวจ
    - ระยะต่อไป คือ การวางแผนการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ โดยมี อปท.และชุมชนดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการฟื้นฟู อนุรักษ์พัฒนา และสืบสาน
    - ระยะต่อมา คือ การติดตามและการพัฒนา รวมทั้งขยายผล ตลอดจนให้สภาองค์กรชุมชนระดับหมู่บ้าน ระดับตำบล เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกับการบริหารจัดการกองทุนทางวัฒนธรรมกับ อปท. ตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.      สภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 51          มท. ได้ออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล พ.ศ. 64
มีสาระสำคัญ ดังนี้
    - เพื่อให้ประชาชนในเขตเทศบาลมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเองและมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ สังคม การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ              การบำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนของตนเอง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน
    - คกก. ชุมชนมีที่มาจากการเลือกโดยประชาชนในชุมชน จำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน แต่ไม่เกิน 9 คน มีวาระในการปฏิบัติหน้าที่คราวละ 4 ปี
- การดำเนินงาน การส่งเสริม และการสนับสนุน คกก. ชุมชน กำหนดให้นายกเทศมนตรีมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงาน ให้คำแนะนำแก่ คกก. ชุมชน รวมทั้งกลั่นกรองข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาของชุมชนและเทศบาล และเทศบาลอาจอุดหนุนงบประมาณให้แก่ คกก. ชุมชน เพื่อดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ กฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือหลักเกณฑ์ที่ มท. กำหนด


15. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาภาระหนี้สินของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ รายงานผลการดำเนินงานมาตรการช่วยเหลือและบรรเทาภาระหนี้สินของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (13 กรกฎาคม 2564) เห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชน กลุ่มแรงงาน และผู้ประกอบการ อันเนื่องมาจากข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 27) โดยมอบหมายให้ กค. และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หารือกับธนาคารพาณิชย์เพื่อดำเนินมาตรการผ่อนปรนการชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยหรือการเลื่อนงวดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าทั้งที่เป็นผู้ประกอบการและประชาชนอย่างจริงจัง และกำหนดมาตรการทางการเงินที่จะช่วยเหลือประชาชนสำหรับผู้ให้บริการทางการเงินที่อยู่นอกการกำกับของ ธปท. รวมทั้งกำหนดมาตรการจริงจังสำหรับผู้ทวงถามหนี้ที่ดำเนินการไม่เป็นธรรมกับประชาชน
                    2. ผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย
                              2.1 มาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม Small and Medium Enterprises (SMEs) และลูกหนี้รายย่อยด้วยการพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย สถาบันการเงินเฉพาะกิจ 7 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม   รวมทั้งสถาบันการเงินได้ดำเนินมาตรการแบ่งเบาภาระหนี้สินโดยพักชำระเงินต้นและดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 2 เดือนให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยตรง เริ่มตั้งแต่งวดการชำระหนี้เดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม 2564 แล้วแต่กรณีและเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการพักชำระหนี้แล้วจะไม่เรียกเก็บเงินต้นและดอกเบี้ยหรือค่าธรรมเนียมที่ค้างอยู่ในทันทีเพื่อไม่ให้เป็นภาระหนักกับลูกหนี้ นอกจากนี้ จะพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่ลูกหนี้ที่ยังเปิดกิจการได้แต่มีรายได้ลดลงจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ของภาครัฐตามความจำเป็นและเหมาะสม รวมทั้งสอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้เป็นกรณีไป
                    ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการพักชำระหนี้ข้างต้นอาจจะส่งผลกระทบต่อฐานะและผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งตัวชี้วัดทางการเงินที่สถาบันการเงินเฉพาะกิจได้ผูกพันไว้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ดังนั้น เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจสามารถช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกหนี้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลโดยไม่กระทบกับประสิทธิภาพการดำเนินงานในอนาคต กค. จึงได้มอบหมายให้ สคร. พิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจแล้ว
                              2.2 มาตรการควบคุมการทวงถามหนี้ที่ดำเนินการไม่เป็นธรรมกับประชาชน ในการประชุมคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการกำกับติดตามทวงถามหนี้ เรื่อง               การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการทวงถามหนี้ และมอบหมายฝ่ายเลขานุการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป  นอกจากนี้ กรณีประชาชนพบผู้ทวงถามหนี้มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม สามารถร้องเรียนไปยังคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ประจำจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน) และประจำกรุงเทพมหานคร              (ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลเป็นประธาน) ตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติการทวงถามหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2558

16. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอดังนี้
                    1. รับทราบโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    2. อนุมัติสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019              ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 จำนวนเงินทั้งสิ้น 12,669,218,318 บาท
                    3. ขยายระยะเวลาการปฏิบัติงานและการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ออกไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน (เดือนเมษายน ถึง เดือนกันยายน 2564)
                    สาระสำคัญ
                    สธ. เสนอว่า
                    ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ได้อนุมัติกรอบวงเงินจำนวนเงิน 12,576,629,322 บาท สำหรับโครงการเตรียมความพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในการเบิกจ่ายงบดำเนินงาน ประกอบด้วย ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนเสี่ยงภัย ค่าล่วงเวลา (OT) ค่าตอบแทนคณะทำงาน/ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษา/บุคคลภายนอก ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าอำนวยการและสั่งการเชิงบูรณาการ และค่าจ้างเหมาบริการอื่นๆ ซึ่งเดิมกำหนดระยะเวลาการใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายไว้เป็นระยะเวลา 3 เดือน (เดือนเมษายน ถึงเดือนมิถุนายน 2564) แต่เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุขยังมีภารกิจที่ต้องปฏิบัติต่อเนื่อง จึงขอขยายระยะเวลาปฏิบัติงานในโครงการ/กิจกรรมเดิมและการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ออกไปเป็นระยะเวลา 6 เดือน (เดือนเมษายน ถึงเดือนกันยายน 2564)
                    ทั้งนี้ สธ. ได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวนเงินทั้งสิ้น 12,669,218,318 บาท ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2564 และขอความเห็นชอบไปยังสำนักงบประมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรองรับมาตรการการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อลดจำนวนการติดเชื้อโควิด 19 ลดการแพร่ระบาดในวงกว้าง และลดอัตราการเสียชีวิตของประชากรในประเทศไทย ให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงระบบการบริการของสถานพยาบาลและหน่วยบริการ ได้อย่างทั่วถึงสะดวกและรวดเร็ว โดยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 นายกรัฐมนตรีเห็นชอบ ให้กระทรวงสาธารณสุขเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 จำนวนทั้งสิ้น 12,669,218,318 บาท

17. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข เสนอดังนี้
                    1. รับทราบโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรณีให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข
                    2. อนุมัติสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,877,455,000 บาท
                    สาระสำคัญ ข้อเท็จจริง
                    1. จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ต้องปฏิบัติงานด้านการป้องกัน สอบสวน คัดกรอง รักษาพยาบาลทั้งในเวลาและนอกเวลา ซึ่งเป็นภารกิจที่หนัก เร่งด่วน ฉุกเฉิน เป็นด่านหน้าในการเผชิญกับความเสี่ยงมาตลอด และจากนโยบายการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ประชาชนในประเทศไทย ทำให้บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีภาระงานเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากภารกิจปกติ ซึ่งมีมากเกินอัตรากำลังอยู่แล้ว จึงจำเป็นต้องระดมบุคลากรในงานสนับสนุนอื่นๆ มาช่วยปฏิบัติงานภายในระยะเวลาที่จำกัด เร่งด่วน ให้เสร็จสิ้นตามเป้าหมาย และเพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจบุคลากรในส่วนที่รัฐสามารถตอบแทนให้ได้ โดยไม่ขัดต่อระเบียบปฏิบัติของทางราชการ จึงเห็นควรพิจารณาจัดหาค่าตอบแทนสำหรับบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการฉีดวัคซีนนอกสถานพยาบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขไม่มีแผนเงินงบประมาณรองรับที่จะให้การสนับสนุนเพื่อการนี้ได้
                    2. กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรณีให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,877,455,000 บาท ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2564 ถึงเดือนกันยายน 2564 และขอความเห็นชอบไปยังสำนักงบประมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับประชาชนในประเทศไทยครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของประชากรทั้งประเทศ (ประมาณ 50 ล้านคน) ตามนโยบายของรัฐบาลที่กำหนดให้การฉีดวัคซีนเป็นวาระแห่งชาติ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้กับประเทศไทย
                    3. นายกรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 ให้กระทรวงสาธารณสุขเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,877,455,000 บาท

18. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 28/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 28/2564 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) และการพิจารณาติดตามผลการดำเนินงานแผนงานหรือโครงการภายใต้แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ ดังนี้
                    1. อนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังปรับลดกรอบวงเงินโครงการเราชนะ จาก 280,242               ล้านบาท เป็น 273,482 ล้านบาท หรือปรับลดประมาณ 6,760.0000 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับผลการ               ดำเนินโครงการ
                    2. อนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม ปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรอบวงเงินโครงการเพิ่มขึ้นจาก 15,027.6860 ล้านบาท เป็น 17,050.4145 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 2,022.7285 ล้านบาท
                    3. อนุมัติให้จังหวัดลำพูน ปรับลดกิจกรรมสร้างแปลงเรียนรู้เพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านอาหารในชุมชน (แปลงเรียนรู้ด้านปศุสัตว์) ภายใต้โครงการขยายผลการดำเนินงานเกษตรกรรมยั่งยืน วงเงิน 2.2980           ล้านบาท ทำให้กรอบวงเงินโครงการ ปรับลดลงจาก 8.8588 ล้านบาท เป็น 6.5608 ล้านบาท หรือปรับลดลง 2.2980 ล้านบาท
                    4. อนุมัติให้จังหวัดยุติหรือยกเลิกโครงการของจังหวัดที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ รวมจำนวน 8 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 46.0222 ล้านบาท
                     5. มอบหมายให้หัวหน้าหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ และยังอยู่ระหว่างดำเนินโครงการฯ เร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยในกรณีที่หน่วยงานพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ให้หน่วยงานเร่งเสนอขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ (ระยะเวลาดำเนินโครงการ) ตามขั้นตอนข้อ 18 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ) ทั้งนี้ หน่วยงานรับผิดชอบ              ต้องดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยไม่สามารถผูกพันงบประมาณได้ยกเว้นในกรณี               ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ในการพิจารณาอนุมัติโครงการในคราวแรกเท่านั้น
                    สาระสำคัญ
                    ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ความเห็นชอบให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดย
                    1) เปลี่ยนชื่อโครงการ จาก โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็น โครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนมาตรา 33 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง
                    2) ขยายพื้นที่ดำเนินการ จาก 13 จังหวัดเป็น 29 จังหวัดตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 (ฉบับที่ 30) ที่ได้มีการปรับปรุงเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดเพิ่มเติมจากข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 28 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ตามคำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ที่ 11/2564 โดยเพิ่มเติมจังหวัดกาญจนบุรี ตาก นครนายก นครศรีธรรมราช ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง
                    3) กรอบวงเงินโครงการ เพิ่มขึ้นจาก 15,027.6860 ล้านบาท เป็น 17,050.4145 ล้านบาทหรือเพิ่มขึ้น 2,022.7285 ล้านบาท
                    4) ขยายระยะเวลาให้นายจ้างในพื้นที่ 3 จังหวัด (ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 28) และ 16 จังหวัด (ข้อกำหนดฯ ฉบับที่ 30) สามารถขึ้นทะเบียนประกันสังคมรายใหม่ได้ พร้อมทั้งให้ สปส. ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จนถึงวันที่ 24 สิงหาคม 2564 โดยในกรณีที่ สปส. เห็นว่าการดำเนินโครงการไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ให้เร่งจัดทำข้อเสนอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการที่มีจำนวนเป้าหมายและกรอบวงเงินของโครงการที่เหมาะสมเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
                    5) เร่งพิจารณาจัดทำข้อเสนอขยายการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดโควิด-19 ในพื้นที่ 13 จังหวัด เพิ่มเติมอีกจำนวน 1 เดือน เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2564 ซึ่งจะช่วยให้การให้ความช่วยเหลือนายจ้างและผู้ประกันตนในพื้นที่ดังกล่าวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เสนอคณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ แล้ว เห็นควรให้สำนักงานประกันสังคมเร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว

19. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564 ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนี้
                    1. อนุมัติโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กรอบวงเงินจำนวน 33,471.0050 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 2 เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา บรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25 ฉบับที่ 28 และฉบับที่ 30) ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด รวม 29 จังหวัด ทั้งนี้ เห็นควรให้สำนักงานประกันสังคม รับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการโดยเคร่งครัด
                    2. มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายสัปดาห์ เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564  (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) โดยเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป

ต่างประเทศ

20.  เรื่อง  ข้อตกลงยอมรับร่วมรายสาขาสำหรับวัสดุอาคารและสิ่งก่อสร้างของอาเซียน (ASEAN Sectoral Mutual Recognition Arrangement for Building and Construction Materials)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างข้อตกลงยอมรับร่วมรายสาขาสำหรับวัสดุอาคารและสิ่งก่อสร้างของอาเซียน (ASEAN Sectoral Mutual Recognition Arrangement for Building and Construction Materials) ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ พร้อมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายอื่นลงนามในร่างข้อตกลงดังกล่าว และเมื่อลงนามแล้วให้กระทรวงอุตสาหกรรมส่งร่างข้อตกลงดังกล่าวให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แล้วเสนอรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันต่อไป ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่             5 กุมภาพันธ์ 2562 (เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเสนอหนังสือสัญญาตามบทบัญญัติมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย) โดยให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม                  (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างข้อตกลงดังกล่าว หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ร่างข้อตกลง ASEAN BC MRA มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการยอมรับผลการทดสอบหรือ                  การรับรองผลิตภัณฑ์วัสดุอาคารและสิ่งก่อสร้างที่ออกโดยหน่วยตรวจสอบรับรองที่ได้รับการขึ้นบัญชีในประเทศสมาชิกอาเซียน ประกอบด้วยเนื้อหา 13 ข้อ ได้แก่ 1) คำนิยาม 2) วัตถุประสงค์ 3) ขอบข่าย 4) บทบัญญัติทั่วไป                 5) คณะกรรมการร่วมรายสาขา 6) หน่วยงานผู้แต่งตั้ง 7) หน่วยตรวจสอบและรับรอง 8) ข้อสงวนของหน่วยงานควบคุมกฎระเบียบ 9) การรักษาความลับ 10) การระงับข้อพิพาท 11) ผู้เก็บรักษาข้อตกลง 12) การแก้ไข และ             13) บทบัญญัติสุดท้าย และภาคผนวก 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) ภาคผนวก ก รายการวัสดุอาคารและสิ่งก่อสร้างภายใต้ขอบข่ายของข้อตกลงรายสาขาฉบับนี้ 2) ภาคผนวก ข ขั้นตอนการดำเนินงานและข้อกำหนดว่าด้วยการขึ้นบัญญชี การพักใช้ การเพิกถอน การทวนสอบ และความสามารถทางเทคนิคของหน่วยตรวจสอบและรับรอง และ              3) ภาคผนวก ค หน่วยตรวจสอบและรับรองที่ได้รับการขึ้นบัญชี
                    2. พิกัดศุลกากรที่ระบุในภาคผนวก ก รายการวัสดุอาคารและสิ่งก่อสร้างภายใต้ขอบข่ายของ               ร่างข้อตกลงรายสาขาฉบับนี้ มีขอบข่ายครอบคลุมผลิตภัณฑ์ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ กระจกโฟลต และเหล็กเส้น               รวม 12 รายการ ดังนี้
ที่          กลุ่ม          ผลิตภัณฑ์          พิกัดศุลกากร
1
ปูนซีเมนต์          ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ขาวจะแต่งสีหรือไม่ก็ตาม          2523.21.00
2                    ปูนซีเมนต์แต่งสี          2523.29.10
3                    ปูนซีเมนต์อื่น ๆ           2523.29.90
4


กระจก          กระจกโฟลต แบบอื่น ๆ           7005.29.90
5                    กระจกโฟลตเสริมด้วยลวด          7005.30.00
6                    กระจกโฟลตที่ทำให้โค้ง แต่งขอบ สลัก เจาะรู แบบอื่น ๆ          7006.00.90
7                    กระจกนิรภัย กระจกเทมเปอร์ แบบอื่น ๆ           7007.19.90
8                    ฉนวนแบบมัลติเพิลวอลล์ที่ทำด้วยแก้ว          7008.00.00
9                    กระจกเงาไม่มีกรอบ          7009.91.00
10                    กระจกเงามีกรอบ          7009.92.00
11
เหล็ก
          เหล็กเส้นรีดร้อนที่มีภาคตัดขวางเป็นวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 50 มิลลิเมตร          7213.10.10
12                    เหล็กเส้นรีดร้อนที่มีภาคตัดขวางเป็นวงกลม มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 50 มิลลิเมตร แบบอื่น ๆ           7213.10.90

                    3. ร่างข้อตกลง ASEAN BC MRA ฉบับนี้จะมีประโยชน์ต่อไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน โดยจะทำให้เกิดการยอมรับผลของการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์วัสดุอาคารและสิ่งก่อสร้าง ซึ่งออกโดยหน่วยตรวจและรับรอง (Comformity Assessment Body: CAB) ที่ได้รับการขึ้นบัญชี และผลของการตรวจสอบและรับรอง              จะเป็นที่ยอมรับในการขออนุญาตนำเข้าสินค้า ณ ประเทศปลายทางในภูมิภาคอาเซียน โดยไม่ต้องตรวจสอบในรายการเดิมซ้ำ ทั้งนี้ จะช่วยลดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า ขยายโอกาสในการให้บริการของหน่วยตรวจสอบและรับรองในตลาดอาเซียน และช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกและมีโอกาสเข้าถึงสินค้าจากประเทศสมาชิกอาเซียนเพิ่มขึ้น

21. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ผ่านระบบการประชุมทางไกลเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (15 มิถุนายน 2564) เห็นชอบถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้รับรองร่างแถลงร่วมฯ นี้ ร่วมกับรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มประเทศสมาชิก] โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น สมัยพิเศษ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1.1 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้กล่าวต่อที่ประชุมว่า การประชุม                 ครั้งนี้จัดขึ้นในช่วงเวลาที่เหมาะสมของการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานของโลก ซึ่งอาเซียนมีความมุ่งหมายร่วมกันใน            การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการความร่วมมืออาเซียนด้านพลังานในระยะที่ 2 ที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านพลังงานของภูมิภาคอาเซียนให้มีความสะอาด ยืดหยุ่น และเหมาะสมกับสภาวะด้านพลังงานของโลก โดยประเทศไทยมี                   แนวทางการดำเนินการ ดังนี้
                              1.1.1 ปรับปรุงแผนกลยุทธ์ระยะยาวและแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านนโยบายที่สำคัญ
                              1.1.2 เพิ่มการผลิตไฟฟ้าแบบคาร์บอนต่ำโดยการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียน รวมทั้งได้ประกาศนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model: BCG Model) เพื่อส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
                              1.1.3 พัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยตั้งเป้าหมายว่าในปี 2568 ไทยจะมีสัดส่วนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ร้อยละ 30 จากสัดส่วนการผลิตรถยนต์ทั้งหมด รวมทั้ง การสนับสนุนการปรับใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงานสะอาด
                              1.1.4 สนับสนุนแผนเร่งด่วนในการปลูกป่าเพื่อเพิ่มพื้นที่ดูดซับคาร์บอน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดคาร์บอนไดออกไซด์และสอดรับกับเป้าหมายของข้อตกลงปารีส
                              1.1.5 ยินดีร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศสมาชิกอาเซียนในการร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงานไปพร้อมกับการส่งเสริมการค้าการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน

22. เรื่อง  ร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมคระกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 5
                    คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุม HLJC ครั้งที่ 5               (Joint Press Statement  the Fifth Meeting of the Japan-Thailand High level Joint Commission)                หากฝ่ายญี่ปุ่นมีข้อแก้ไขต่อร่างแถลงข่าวร่วมฯ แตไม่มีนัยสำคัญต่อนโยบายของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศมีอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมโดยไม่ต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
                      ร่างแถลงข่าวร่วม ฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้
                      1. การสอดประสานความร่วมมือระหว่างโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ ? เศรษฐกิจหมุนเวียน - เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) ของไทยกับยุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียวของญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นส่งเสริมความร่วมมือด้านชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยสอดประสานโมเดล BCG Economy กับยุทธศาสตร์การเติบโตสีเขียว (Green Growth Strategy) ของญี่ปุ่น ในสาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในด้านต่างๆ  โดยเฉพาะเทคโนโลยีชีวภาพ เกษตรและอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ วัสดุ นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ พลังงานเพื่อเศรษฐกิจหมุนเวียน และยานยนต์ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนให้เหลือศูนย์                          (Carbon Neutrality)
                      2. ความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาอุตสาหกรรม และการส่งเสริมสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ฝ่ายไทยย้ำถึงความสนใจในความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) โดยได้จัดทำการศึกษาเชิงลึกเพื่อประเมินความพร้อมของไทยต่อการเจรจาเข้าร่วมความตกลงดังกล่าว และได้รายงานผลและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐนตรีเพื่อพิจารณาด้วยแล้วซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นย้ำการสนับสนุนไทยในเรื่องนี้ สำหรับความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) นั้น ฝ่ายไทยยินดีต่อตราสารยอมรับของฝ่ายญี่ปุ่น และ             ฝ่ายญี่ปุ่นยินดีต่อความคืบหน้าของกระบวนการภายในของไทย โดยทั้งสองฝ่ายยืนยันถึงความสำคัญของการบังคับใช้ความตกลง RCEP อย่างเต็มรูปแบบโดยเร็ว
                       นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายแสดงความมุ่งมั่นที่จะผลักดันความร่วมมือในด้าน (1) การลงทุนที่มีคุณภาพและมีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ยืดหยุ่นทั้งในไทยและญี่ปุ่น (2) การส่งเสริมอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMES) (3) การส่งเสริมวิสาหกิจตั้งต้น (Startup) (4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และ (5) ความร่วมมือในระดับท้องถิ่น และยินดีต่อการลงนามบันทึกความร่วมมือด้านไปรษณีย์ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทยกับกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารญี่ปุ่น และบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือโครงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Lean IoT ในการบริหารจัดการโรงงานเพื่อเพิ่มผลิตภาพระหว่างกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมของไทยกับ              กรมนโยบายและกรมความร่วมมือการค้าและเศรษฐกิจ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น
                      3. ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยง การพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และสาธารณสุขทั้งสองฝ่ายย้ำความมุ่งมั่นที่จะสานต่อความร่วมมือเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ ซึ่งรวมถึงระบบขนส่งในไทยผ่านโครงการพัฒนาเส้นทางรางสำคัญและโครงการด้านคมนาคมอื่น ๆ นอกจากนี้ ฝ่ายไทยสนับสนุนบทบาทที่สร้างสรรค์ของญี่ปุ่นในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงผ่านกรอบความร่วมมือแม่โขง ? ญี่ปุ่นและยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ               อิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) รวมถึงกรอบความร่วมมือแบบหุ้นส่วนระหว่างญี่ปุ่นกับไทย ระยะที่ 3
                      การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 5 จะช่วยกำหนดทิศทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในระยะต่อไป ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการค้า การลงทุน ความเชื่อมโยงตลอดจนกระชับความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

แต่งตั้ง

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ              (กระทรวงยุติธรรม)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง พันตำรวจตรี               สุริยา สิงหกมล รองเลขาธิการ ป.ป.ส. (นักบริหารระดับต้น) สำนักงาน ป.ป.ส. ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม ตั้งแต่วันที่            9 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                (กระทรวงสาธารณสุข)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายธีรวัฒน์              วลัยเสถียร ผู้อำนวยการสำนักงาน [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) ระดับสูง] สำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น กรมควบคุมโรค ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่                   ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

25. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ครั้งที่ 1
                    คณะรัฐมนตรีมีติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอ                   การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งจะดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี ในวันที่ 30 กันยายน 2564 ต่อไปอีก       1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เสนอรับโอน                 นางรวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการการโอนแล้ว

27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอแต่งตั้ง ศาสตราจารย์ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการวิจัย พัฒนา และนวัตกรรม) ในคณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งดำรงตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตนแทน



28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารออมสิน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการธนาคารออมสิน ดังนี้
                     1. นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์           กรรมการ
                     2. นางสาวปิยวรรณ ล่ามกิจจา           กรรมการ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการบินพลเรือน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายชนินทร์ แก่นหิรัญ                      เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการบินพลเรือน แทนนายปฐม เฉลยวาเรศ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป โดยอยู่ในตำแหน่งได้เท่ากำหนดเวลาเดิมของกรรมการเดิม

30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) จำนวน 5 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี ดังนี้
                     1. นายวัลลภ พริ้งพงษ์                      ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานท้องถิ่น
                    2. นายวสันต์ วรรณวโรทร           ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคล
                    3. นายปวิณ ชำนิประศาสน์           ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านระบบราชการ
                    4. นายธวัชชัย ฟักอังกูร                      ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านบริหารและการจัดการ
                     5. นายนิรวัชช์ ปุณณกันต์           ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

31. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการองค์การสวนพฤกษศาสตร์ รวม 10 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 ดังนี้
                    1. นายพงศ์บุณย์ ปองทอง                      ประธานกรรมการ
                         ผู้แทนกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                     2. นายณพงศ์ ศิริขันตยกุล                                 กรรมการ
                    3. พลเรือเอก พิเชฐ ตานะเศรษฐ                                 กรรมการ
                    4. นายพรชัย หาญยืนยงสกุล                                กรรมการ
                    5. นายวีระชัย อมรรัตน์                                           กรรมการ
                    6. นายศศิศ มนต์เสรีนุสรณ์                               กรรมการ
                    7. นายประสิทธิ์ วังภคพัฒนวงศ์                                 กรรมการ
                    8. นายนำชัย แสนสุภา                                         กรรมการ
                    9. พลตำรวจตรี วิวัฒน์ ชัยสังฆะ                                 กรรมการ
                     10. ร้อยตำรวจโทหญิง ศรัณย์กร เลิศโอภาส            กรรมการ
                          ผู้แทนกระทรวงการคลัง
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

32. เรื่อง การให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี          ซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่ออีกหนึ่งวาระ จำนวน 19 ราย ดังนี้
                     1. นายประสาน หวังรัตนปราณี                                 ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2564
                     2. นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี                                 ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2564
                    3. นายนภินทร ศรีสรรพางค์                                ตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2564
                    4. นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ                                 ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2564
                    5. นายสากล ม่วงศิริ                                           ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2564
                    6. นายสรรเสริญ สมะลาภา                                 ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2564
                    7. นายนราพัฒน์ แก้วทอง                                ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564
                    8. พลตำรวจโท ณัฐพิชย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา             ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564
                    9. นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์                               ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564
                     10. นายธีระยุทธ วานิชชัง                               ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564
                     11. นายชาญกฤช เดชวิทักษ์                               ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564
                     12. นายทวี สุระบาล                                         ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564
                     13. นายทศพล เพ็งส้ม                                          ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564
                     14. นายธีระทัศน์ เตียวเจริญโสภา                                ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564
                      15. นายเสกสกล อัตถาวงศ์                                ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564
                          (เดิมชื่อนายสุภรณ์ อัตถาวงศ์)
                      16. นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ                                ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564
                     17. นายอภิวัฒน์ ขันทอง                                          ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564
                     18. นายชื่นชอบ คงอุดม                                          ตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2564
                     19. นายนเรศ ธำรงค์ทิพยคุณ                               ตั้งแต่วันที่ 30 สิงหาคม 2564

............................................



          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 สิงหาคม 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ