http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (14 กันยายน 2564) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้ได้ที่ดินเพิ่มเติม และการจ่ายเงินค่าทดแทนเพื่อชดเชยให้แก่ผู้ถูกเวนคืน พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่เป็นการไม่เป็นธรรม ต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสม ของแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนในโรงภาพยนตร์และทางป้ายโฆษณา พ.ศ. 2547 พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ 5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนรายจ่ายค่าซื้อชุดตรวจ โควิด-19 แบบเร่งด่วน (Antigen Test Kit) เศรษฐกิจ สังคม 6. เรื่อง ขอทบทวนการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2530 (เรื่อง มติ คณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ครั้งที่ กพอ. 2/2530) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2531 (เรื่อง มติคณะกรรมการ พัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ครั้งที่ กพอ. 1/2531) 7. เรื่อง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง สู่ประเทศไทย 8. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 3 โครงการ 9. เรื่อง การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 10. เรื่อง ขออนุมัติงบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2564 เพื่อใช้ในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2562 และขอขยายระยะเวลา โครงการ 11. เรื่อง (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ? 2565 12. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนการ บริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยปี 2564 และบรรเทาปัญหา ภัยแล้งปี 2564/2565 13. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายน 2564 14. เรื่อง ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 (การปรับตัวและการเข้าถึงดิจิทัล) 15. เรื่อง แนวทางการประเมินผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ 16. เรื่อง ขอขยายเวลาดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมัน สำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ 17. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือ จำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้าง ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 4 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 18. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วย ฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 5) 19. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 33/2564 ต่างประเทศ 20. เรื่อง การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย (WorldSkills Asia) และการจัดส่งเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย (WorldSkills Asia Competition) 21. เรื่อง การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (ประจำปี 2564 ? 2568) 22. เรื่อง การเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2565 ขององค์กร ร่วมไทย-มาเลเซีย 23. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนงานคณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี พ.ศ. 2564 ? 2568 (ASEAN Committee on Women Workplan 2021 - 2025) 24. เรื่อง ขอความเห็นชอบปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนาคตระหว่าง สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และสหราชอาณาจักร บริเตนใหญ่และไอแลนด์เหนือ (สหราชอาณาจักร) 25. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 76 26. เรื่อง ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาติ เพื่อฉลองในโอกาสครบรอบ 20 ปี การรับรองปฏิญญาและแผนปฏิบัติการ เดอร์บัน 27. เรื่อง ร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 39 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง แต่งตั้ง 28. เรื่อง การบรรจุและแต่งตั้งผู้ไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรีกลับเข้ารับราชการ (กระทรวงการคลัง) 29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) 30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์) 31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม) 32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี) 33. เรื่อง การแต่งตั้งประธานร่วมฝ่ายไทยในองค์กรร่วมไทย ? มาเลเซีย 34. เรื่อง การสรรหาบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตในภาครัฐ แทนตำแหน่งที่ว่าง 35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง) 36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม) 37. เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ สปน. เสนอว่า เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงชื่อหัวหน้าส่วนราชการและอธิบดีซึ่งเป็นกรรมการในองค์ประกอบของคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (กอ. นตผ.) และมีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ขึ้นรวมทั้งสมควรเพิ่มเติมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในองค์ประกอบให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นในการประชุม กอ.นตผ. ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 จึงได้มีมติเห็นชอบปรับปรุงองค์ประกอบ กอ.นตผ. ให้เป็นปัจจุบันและครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น สปน. จึงได้ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามมติ กอ.นตผ. ครั้งที่ 3/2563 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2563 และในคราวประชุม กอ.นตผ. ครั้งที่ 1/2564 วันที่ 25 พฤษภาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบร่างระเบียบดังกล่าวแล้ว สาระสำคัญของร่างระเบียบ 1. ปรับปรุงองค์ประกอบ กอ.นตผ. ดังนี้ 1.1 แก้ไขชื่อหัวหน้าส่วนราชการและอธิบดีที่เป็นกรรมการให้เป็นปัจจุบัน ได้แก่ (1) เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็น เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2) อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เป็น อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (3) อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เป็น อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ 1.2 เพิ่มปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นกรรมการ 2. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อให้การดำเนินการที่ผ่านมา ของ กอ.นตผ. มีผลบังคับใช้ได้ต่อไป 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ สธ. รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา รายละเอียด ดังนี้ 1. กำหนดคำนิยามคำว่า ?กัญชา? ?ห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์? ?หน่วยงานของรัฐ? และ ?รูปแบบพิเศษสำหรับการเข้าถึงยา? 2. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตผลิตกัญชาโดยการปลูก เพื่อใช้ทางการแพทย์ ต้องเป็น (1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ ในการให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ในการให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม (2) สภากาชาดไทย (3) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนหรือสถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ (4) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (5) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นสหกรณ์การเกษตร (6) ผู้ขออนุญาตอื่น ซึ่งดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันหรือผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา หรือผู้รับอนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร 3. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตผลิตกัญชาโดยการปลูก เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศต้องเป็น (1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ ในการให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ในการให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม (2) สภากาชาดไทย 4. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตผลิตยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่โดยการปรุงยาสำหรับคนไข้เฉพาะรายตามตำรับยาที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดให้เสพได้ ต้องเป็น (1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการให้บริการทางการแพทย์หรือเภสัชกรรมที่มีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (2) สภากาชาดไทยที่มีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (3) ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย (4) สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ (5) ผู้ขออนุญาตอื่น ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล และมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ 5. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตผลิตกัญชาที่มิใช่การปลูกหรือการปรุงยาสำหรับคนไข้เฉพาะรายเพื่อใช้ทางการแพทย์ ต้องเป็น (1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการศึกษาวิจัย หรือจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ ในการให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ในการให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม (2) สภากาชาดไทย (3) สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ (4) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนซึ่งจดทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน (5) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม (6) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นสหกรณ์การเกษตร ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์ (7) ผู้ขออนุญาตอื่น เช่น (ก) ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน หรือผู้รับอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยา (ข) ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณหรือผู้รับอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนโบราณเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยา (ค) ผู้รับอนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือผู้รับอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร 6. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตนำเข้ากัญชา เพื่อใช้ทางการแพทย์ ต้องเป็น (1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ ในการให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ในการให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม (2) สภากาชาดไทย (3) สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ (4) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน (5) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (6) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นสหกรณ์การเกษตร (7) ผู้ขออนุญาตอื่น เช่น (ก) ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันหรือผู้รับอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยา (ข) ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณหรือผู้รับอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนโบราณ เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยา (ค) ผู้รับอนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือผู้รับอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร 7. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตส่งออกกัญชา เพื่อใช้ทางการแพทย์ ต้องเป็น (1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ ในการให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ในการให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม (2) สภากาชาดไทย (3) สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่จัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ หรือเภสัชศาสตร์ (4) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน (5) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม (6) ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมที่รวมกลุ่มเป็นสหกรณ์การเกษตร (7) ผู้ขออนุญาตอื่น เช่น (ก) ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบันหรือผู้รับอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนปัจจุบันเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยา (ข) ผู้รับอนุญาตผลิตยาแผนโบราณหรือผู้รับอนุญาตนำหรือสั่งยาแผนโบราณเข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยยา (ค) ผู้รับอนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรหรือผู้รับอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร 8. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตจำหน่ายกัญชาเพื่อใช้ทางการแพทย์ ต้องเป็น (1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ ในการให้บริการทางการแพทย์เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ในการให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม (2) สภากาชาดไทย (3) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง (4) ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (5) ผู้รับอนุญาตผลิตกัญชา (6) ผู้รับอนุญาตนำเข้ากัญชา (7) ผู้ขออนุญาตอื่น เช่น (ก) ผู้ดำเนินการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลซึ่งมีผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย หรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (ข) ผู้รับอนุญาตขายยาแผนปัจจุบันซึ่งมีผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมเป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ (ค) ผู้รับอนุญาตขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งมีผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหรือผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์เป็นผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ 9. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่เพื่อใช้ประจำในการปฐมพยาบาลหรือกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในเรือหรือเครื่องบินซึ่งใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ต้องเป็นผู้ประกอบกิจการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศที่จดทะเบียนในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตพร้อมด้วยข้อมูลเอกสารหรือหลักฐาน ดังต่อไปนี้ (1) ชื่อ ชื่อสกุล และเลขประจำตัวประชาชน ในกรณีที่บุคคลธรรมดาเป็นผู้ขออนุญาต (2) ชื่อและเลขทะเบียนนิติบุคคล ในกรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ขออนุญาต และหนังสือแสดงว่าผู้ขออนุญาตเป็นผู้แทนของนิติบุคคลหรือผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล ซึ่งระบุเลขประจำตัวประชาชนของบุคคลดังกล่าวด้วย (3) เอกสารแสดงการจดทะเบียนในราชอาณาจักร ซึ่งยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ (4) คำยินยอมให้ผู้อนุญาตเข้าถึงข้อมูลตาม (1) หรือ (2) เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ 10. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก หรือจำหน่ายกัญชาได้รับยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชา 11. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชาเพื่อการศึกษา ต้องเป็น (1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ในการศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนด้านการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ ในการให้บริการทางการแพทย์ เภสัชกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ในการให้บริการทางเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ทางการแพทย์หรือเภสัชกรรมในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด (2) สภากาชาดไทย (3) สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยและจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับทางการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์ 12. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตนำยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องเป็นผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องนำยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรเพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัวในปริมาณเท่าที่จำเป็นสำหรับการใช้รักษาไม่เกินเก้าสิบวัน การนำยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ซึ่งเหลือจากปริมาณที่ได้รับอนุญาตติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรสำหรับการเดินทางในครั้งนั้น ไม่ต้องขออนุญาตอีก 13. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตซึ่งประสงค์จะขออนุญาตนำยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ติดตัวเข้ามาในราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันที่นำยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่เข้ามาในราชอาณาจักรในแต่ละครั้ง พร้อมด้วยใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ซึ่งเป็นผู้ให้การรักษา กรณีผู้ขออนุญาตซึ่งประสงค์จะขออนุญาตนำยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ติดตัวออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน ก่อนวันที่นำยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ออกไปนอกราชอาณาจักรในแต่ละครั้ง พร้อมด้วยใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ซึ่งเป็นผู้ให้การรักษา ใบสั่งยาหรือหนังสือรับรอง ต้องระบุชื่อและที่อยู่ของผู้ป่วย การวินิจฉัยโรคหรืออาการของผู้ป่วย ชื่อและรูปแบบของยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ขนาดที่ใช้ และจำนวนหรือปริมาณที่ผู้ประกอบวิชาชีพสั่ง รวมทั้งชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว 14. กำหนดให้การยื่นคำขอ การอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ ให้ดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้การดำเนินการดังกล่าวกระทำ ณ สถานที่ ดังต่อไปนี้ (1) กรณีผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชา (ก) ในกรุงเทพมหานคร ให้กระทำ ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สธ. (ข) ในจังหวัดอื่น ให้กระทำ ณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแห่งท้องที่ที่สถานที่ผลิต จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งกัญชาตั้งอยู่ (2) กรณีนำเข้า หรือส่งออกซึ่งกัญชา ให้กระทำ ณ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สธ. หรือสถานที่อื่นที่เลขาธิการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา 15. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตผลิตกัญชาโดยการปลูกปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ (1) จัดเตรียมสถานที่และควบคุมการปลูกตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่คณะกรรมการกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (2) จัดให้มีป้ายแสดงไว้ในที่เปิดเผยเห็นได้ง่าย ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาต โดยเป็นป้ายที่ทำจากวัตถุถาวร และมีข้อความเป็นตัวอักษรไทยที่มีขนาดเหมาะสม ระบุว่าเป็นสถานที่ผลิตกัญชา แสดงเลขที่ใบอนุญาต ชื่อผู้รับอนุญาต และเวลาสิ้นสุดการอนุญาตตามใบอนุญาต (3) ใช้เมล็ดพันธุ์ เนื้อเยื่อ หรือส่วนอื่นที่ใช้เพาะปลูกหรือใช้ทำพันธุ์ได้ ที่ได้รับอนุญาตในการปลูกทุกครั้ง (4) ปลูกกัญชาในสถานที่และพิกัดตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต และจัดทำแนวเขตพื้นที่การเพาะปลูกที่มีความมั่นคงแข็งแรงและเห็นได้ชัด (5) ดำเนินการตามแผนการผลิต ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการตามแผนการผลิตได้ ให้แจ้งขอปรับแผนการผลิตต่อผู้อนุญาตเพื่อพิจารณาภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ปรากฏว่าไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ทั้งนี้ การขอปรับแผนการผลิตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่เลขาธิการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา (6) จัดให้มีการแยกเก็บกัญชาเป็นสัดส่วนจากยาหรือวัตถุอื่น และเก็บในที่ซึ่งมั่นคงแข็งแรงและมีกุญแจใส่ไว้ หรือเครื่องป้องกันอย่างอื่นที่มีสภาพเท่าเทียมกัน (7) ในกรณีที่กัญชาถูกโจรกรรม สูญหาย หรือถูกทำลาย ต้องแจ้งเป็นหนังสือ ให้ผู้อนุญาตทราบโดยมิชักช้า (8) ในระหว่างการปลูก หากผู้รับอนุญาตผลิตโดยการปลูกหรือผู้รับอนุญาตซึ่งเป็นผู้รับผลผลิตจากผู้รับอนุญาตผลิตโดยการปลูกตรวจพบปริมาณสารปนเปื้อน โลหะหนัก หรือสารอื่น ที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายเกินมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนดให้ดำเนินการทำลาย โดยแจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการทำลาย การทำลายให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา 16. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตผลิตหรือผู้รับอนุญาตนำเข้ายาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ต้องนำตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่นั้นมาขอรับรองตำรับก่อน และเมื่อได้รับใบสำคัญการรับรองตำรับยาแล้วจึงจะผลิตหรือนำเข้าได้ 17. กำหนดให้ผู้ขออนุญาตผลิตยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ เพื่อใช้ในรูปแบบพิเศษสำหรับการเข้าถึงยา ต้องเป็น (1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัยหรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ให้บริการทางการแพทย์หรือเภสัชกรรม (2) สภากาชาดไทย 18. กำหนดให้บรรดาคำขอรับหนังสือสำคัญและคำขอรับใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการอนุญาตตามกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 4 หรือในประเภท 5 พ.ศ. 2559 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกัญชาที่ได้ยื่นไว้ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับและยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของผู้อนุญาตให้ถือว่าเป็นคำขอรับใบอนุญาตหรือคำขอรับใบแทนใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ด้วยโดยอนุโลม ในกรณีที่คำขอดังกล่าวมีข้อความแตกต่างไปจากคำขอตามกฎกระทรวงนี้ให้ผู้อนุญาตมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมและให้ส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็น เพื่อให้การเป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้ได้ที่ดินเพิ่มเติมและการจ่ายเงินค่าทดแทนเพื่อชดเชยให้แก่ผู้ถูกเวนคืน พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้ได้ที่ดินเพิ่มเติมและการจ่ายเงินค่าทดแทนเพื่อชดเชยให้แก่ผู้ถูกเวนคืน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้ได้รับความเห็นของกระทรวงการคลังไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ คค. เสนอว่า 1. โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มาตรา 35 วรรคหก บัญญัติให้หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้ได้ที่ดินเพิ่มเติมและการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนฯ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา และเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 18 ธันวาคม 2561 ที่มอบหมายให้ คค. เป็นหน่วยงานในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง คค. จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำร่างกฎหมายลำดับรองตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ขึ้น โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจในสังกัด คค. ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการเวนคืน รวมถึงผู้แทนจากหน่วยงานภายนอก ร่วมเป็นกรรมการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณากำหนดเนื้อหาและรายละเอียดกฎหมายลำดับรอง โดยคณะกรรมการดังกล่าวได้จัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้ได้ที่ดินเพิ่มเติมและการจ่ายเงินค่าทดแทนเพื่อชดเชยให้แก่ผู้ถูกเวนคืน พ.ศ. ?. ขึ้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้ได้ที่ดินเพิ่มเติมและการจ่ายเงินค่าทดแทนเพื่อชดเชยให้แก่ผู้ถูกเวนคืน โดยประชาชนผู้ถูกเวนคืนอาจได้รับการชดเชยด้วยที่ดินบริเวณใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัยหรือที่ประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพเดิม ซึ่งช่วยลดผลกระทบจากการเวนคืนและได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น และกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการเพื่อนำเงินไปจ่ายค่าชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นกฎหมายลำดับรองที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการอันเป็นสาธารณูปโภค การป้องกันประเทศ และการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น อันจะทำให้การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 2. คค. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผ่านเว็บไซต์ของ คค. ตั้งแต่วันที่ 2 ? 17 เมษายน 2564 รวมเป็นเวลา 15 วัน ซึ่งปรากฏว่ามีประชาชนเข้ามาอ่านร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ทางเว็บไซต์ดังกล่าว จำนวน 172 คน สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการให้ได้ที่ดินเพิ่มเติมและการจ่ายเงินค่าทดแทนเพื่อชดเชยให้แก่ผู้ถูกเวนคืน ดังนี้ 1. กำหนดหลักเกณฑ์เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนที่จะได้รับการชดเชยเป็นที่ดินต้องเป็นเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนที่มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยหรือประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพ อยู่ในวันก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน และไม่มีที่ดินเหลืออยู่หรือมีเหลืออยู่ไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นที่อยู่อาศัย หรือประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพได้ ในกรณีที่ที่ดินส่วนที่เหลืออยู่ติดต่อกับที่ดินแปลงอื่นของเจ้าของเดียวกัน ให้พิจารณาโดยรวมถึงที่ดินแปลงติดต่อที่เป็นของเจ้าของเดียวกันด้วย 2. กำหนดลักษณะที่ดินที่จะเวนคืนเพิ่มเติมเพื่อนำไปชดเชยต้องเป็นที่ดินที่เจ้าของคนเดียวหรือหลายคนมีกรรมสิทธิ์คนละไม่น้อยกว่า 25 ไร่ สำหรับที่ดินที่ใช้เพื่อเกษตรกรรมและไม่น้อยกว่า 5 ไร่ สำหรับที่ดินที่ใช้เพื่อการอื่น ถ้าที่ดินที่อยู่ติดต่อกันเป็นเจ้าของคนเดียวกันให้พิจารณาเสมือนหนึ่งว่าที่ดินนั้นเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน 3. การชดเชยเป็นที่ดินให้กับเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนให้พิจารณาโดยคำนึงถึงองค์ประกอบดังต่อไปนี้ เช่น ราคาค่าทดแทนที่ดินตามมติของคณะกรรมการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้นตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ จำนวนเนื้อที่ดินและสภาพและที่ตั้งของที่ดิน 4. ให้คณะกรรมการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้นตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ มีอำนาจและหน้าที่ในการประเมินราคาที่ดินที่ถูกเวนคืน และที่ดินแปลงอื่นที่ถูกเวนคืน 5. การเข้าทำการสำรวจที่ดินตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงของที่ดินว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ตามมาตรา 6 และสอบถามความประสงค์และความยินยอมของเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนในการรับการชดเชยเป็นที่ดิน 6. การเวนคืนที่ดินเพิ่มเติมเพื่อนำไปชดเชยนั้นอาจเวนคืนเท่ากับหรือน้อยกว่าที่ดินที่ถูกเวนคืนก็ได้ แต่ต้องเพียงพอให้เจ้าของที่ดินสามารถอยู่อาศัยหรือประกอบการทำมาหาเลี้ยงชีพได้ 7. หากเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่พอใจเงินค่าทดแทนสำหรับส่วนต่างของราคามูลค่าที่ดินตามมาตรา 20 วรรคสอง ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับเงินจากเจ้าหน้าที่ 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนในโรงภาพยนตร์และทางป้ายโฆษณา พ.ศ. 2547 พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนในโรงภาพยนตร์และทางป้ายโฆษณา พ.ศ. 2547 พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ที่ สคบ. เสนอ เป็นการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนร่วมซึ่งใช้บังคับมานานแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น รวมทั้งเป็นการยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนในโรงภาพยนตร์และทางป้ายโฆษณา พ.ศ. 2547 ซึ่งมีกฎหมายที่มีบทบัญญัติในการคุ้มครองผู้บริโภคที่กำกับดูแลการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนไว้เป็นการเฉพาะแล้ว สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม พ.ศ. ?. 1.1 ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 รวมทั้งกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2528) กฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2534) กฎกระทรวง ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2538) และกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2538) 1.2 กำหนดให้ข้อความตามที่กำหนดในกฎกระทรวงนี้ เป็นข้อความโฆษณาสินค้าหรือบริการที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภคหรือที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคมเป็นส่วนรวม ได้แก่ ข้อความผู้ประกอบธุรกิจจะจัดให้มีการแถมพกหรือรางวัลด้วยการเสี่ยงโชค หรือจัดให้มีการให้ของแถมหรือให้สิทธิหรือประโยชน์โดยให้เปล่า ข้อความโฆษณาขายห้องชุดที่ยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นอาคารชุดหรือจดทะเบียนเป็นอาคารชุดแล้ว ตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด โดยไม่ได้ระบุรายละเอียดตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด ข้อความโฆษณาขายที่ดินโดยการแบ่งขายเป็นแปลงย่อยไม่ว่าจะเป็นการขายเฉพาะที่ดิน หรือขายที่ดินพร้อมทั้งอาคารโดยไม่ได้ระบุรายละเอียดตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น 1.3 กำหนดให้ข้อความที่ใช้หรืออ้างอิงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ซึ่งได้กระทำไปโดยไม่ได้รับพระบรมราชานุญาต พระราชานุญาต หรืออนุญาต แล้วแต่กรณี เว้นแต่เป็นข้อความตามที่กฎหมายกำหนด 2. ร่างกฎกระทรวงยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนในโรงภาพยนตร์และทางป้ายโฆษณา พ.ศ. 2547 พ.ศ. ?. เป็นการยกเลิกกฎกระทรวงว่าด้วยการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนในโรงภาพยนตร์และทางป้ายโฆษณา พ.ศ. 2547 เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมายที่มีบทบัญญัติในการคุ้มครองผู้บริโภคที่กำกับดูแลการโฆษณาเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่ผสมกาเฟอีนไว้เป็นการเฉพาะแล้ว ได้แก่ พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 เพื่อให้มีกฎหมายเท่าที่จำเป็นและไม่เป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพ 5. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนรายจ่ายค่าซื้อชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน (Antigen Test Kit) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนรายจ่ายค่าซื้อชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน (Antigen Test Kit) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ จึงเห็นควรกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อสนับสนุนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายจ่ายค่าซื้อชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน (Antigen Test Kit) เพื่อใช้สำหรับพนักงานหรือลูกจ้าง สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นได้อีกเป็นจำนวนร้อยละ 50 ทั้งนี้ ภายใต้หลักการ ดังนี้ 1. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าซื้อชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน (Antigen Test Kit) เพื่อใช้สำหรับพนักงานหรือลูกจ้างของตนเอง ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2565 2. ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เศรษฐกิจ สังคม 6. เรื่อง ขอทบทวนการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2530 (เรื่อง มติคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ครั้งที่ กพอ. 2/2530) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2531 (เรื่อง มติคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก ครั้งที่ กพอ. 1/2531) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอทบทวนการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี โดยขอยกเลิกการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2530 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2531 เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าเช่าและระยะเวลาการเช่าที่ดินในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ทั้งนี้ คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะดำเนินการกำหนดอัตราค่าเช่า ระยะเวลาการปรับปรุงอัตราค่าเช่า ระยะเวลาการเช่า โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 23 (13) แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 ต่อไป และให้ อก. รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญ 1. เดิมคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2530 และเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2531 เกี่ยวกับการกำหนดราคาที่ดินในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและเขตนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด แต่ต่อมาบริบทการลงทุนภาคอุตสาหกรรมและศักยภาพของพื้นที่บริเวณดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไป คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (คณะกรรมการ กนอ.) จึงได้กำหนดอัตราค่าเช่าที่ดินขึ้นใหม่ให้เหมาะสมกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งไม่สอดคล้องกับอัตราที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบไว้เดิม ดังนี้ นิคม อุตสาหกรรม เขตพื้นที่ในนิคมอุตสาหกรรม อัตราค่าเช่าที่ใช้ระหว่าง ช่วงปี 2530 - 2547 (อัตราที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ) อัตราค่าเช่าที่ใช้ระหว่าง ช่วงปี 2548 - 2566 (อัตราที่คณะกรรมการ กนอ. กำหนด) แหลมฉบัง เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 59,000 - 64,900 บาทต่อไร่ต่อปี ปรับเพิ่มร้อยละ 10 ทุก 10 ปี เริ่มต้นที่ 145,200 บาทต่อไร่ต่อปี ในปี 2548 ปรับเพิ่มร้อยละ 10 ทุก 5 ปี เขตประกอบการเสรี - เริ่มต้นที่ 181,500 บาทต่อไร่ต่อปี ในปี 2548 ปรับเพิ่มร้อยละ 10 ทุก 5 ปี มาบตาพุด พื้นที่แปลงใหญ่ไม่ติดทะเล 27,600 - 30,360 บาทต่อไร่ต่อปี ปรับเพิ่มร้อยละ 10 ทุก 10 ปี ปรับเป็นอัตราเดียว โดยเริ่มต้นที่ 130,000 บาทต่อไร่ต่อปี ในปี 2548 ปรับเพิ่มร้อยละ 10 ทุก 5 ปี พื้นที่แปลงย่อย 34,300 - 37,730 บาทต่อไร่ต่อปี ปรับเพิ่มร้อยละ 10 ทุก 10 ปี พื้นที่มีหน้าทะเลของตนเอง 34,300 - 37,730 บาทต่อไร่ต่อปี ปรับเพิ่มร้อยละ 10 ทุก 10 ปี 2. โดยที่ตามพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 มาตรา 23 (13) บัญญัติให้คณะกรรมการ กนอ. มีอำนาจในการกำหนดอัตราค่าเช่าและระยะเวลาการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้น การพิจารณากำหนดค่าเช่าจึงเป็นเรื่องที่คณะกรรมการ กนอ. สามารถดำเนินการได้ตามนัยกฎหมายดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นการดำเนินโครงการนิคมอุตสาหกรรมทั้ง 2 แห่งข้างต้น รวมถึงการกำหนดอัตราค่าเช่าที่ดินในนิคมอุตสาหกรรมฯ เป็นการดำเนินการในเชิงนโยบายตามมติคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และต่อมาได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความชอบตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2530 และวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2531 ซึ่งการที่คณะรัฐมนตรีมีมติในเรื่องใดย่อมมีผลผูกพันให้หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ดังนั้น คณะกรรมการ กนอ. เห็นว่าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันหรือไม่สามารถดำเนินการได้และประสงค์ที่จะกำหนดอัตราค่าเช่าใหม่ซึ่งไม่สอดคล้องกับที่คณะรัฐมนตรีได้เคยเห็นชอบไว้เดิม จึงเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาทบทวนหรือยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี 7. เรื่อง มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอดังนี้ ข้อ ข้อเสนอ 1 เห็นชอบในหลักการของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (มาตรการฯ) และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) รับผิดชอบการดำเนินมาตรการฯ โดยพิจารณาจัดตั้งหน่วยบริการขึ้นเพื่อสนับสนุนและเชิญชวนให้ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงเข้ามาเป็นผู้พำนักระยะยาวในประเทศไทย หรือพิจารณาให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงานส่วนใดส่วนหนึ่งภายใต้กำกับของ สกท. ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินมาตรการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินเกินสมควร 2 มอบหมายให้กระทรวงมหาไทย (มท.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวใหม่ รวมทั้งข้อยกเว้นและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1) ยกเว้นให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักอาศัยระยะยาวและวีซ่าประเภท Smart Visa ทั้งหมดไม่ต้องมีหนังสือแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบหากอยู่ในประเทศเกินเก้าสิบวัน ตามมาตรา 37 (5) แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และให้มีคุณสมบัติของผู้ขอวีซ่า สิทธิประโยชน์ และรายละเอียดอื่น ๆ ตามที่เสนอ และ (2) ให้ศึกษาแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน 3 มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน (รง.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการการทำงานและอนุญาตให้ทำงานของคนต่างด้าว โดยให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวสามารถทำงานให้นายจ้างทั้งที่อยู่ในราชอาณาจักรและนอกราชอาณาจักรได้โดยได้รับอนุญาตให้ทำงานโดยอัตโนมัติพร้อมกับการขอวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว 4 มอบหมายให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) พิจารณาให้ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตทำงาน เรื่อง การกำหนดให้การจ้างคนต่างด้าว 1 คนต้องจ้างงานพนักงานคนไทยทำงานประจำ 4 คน ตามคำสั่ง ตช. ที่ 327/2557 เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณากรณีคนต่างด้าวขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว 5 มอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กค.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับภาษีประเภทต่าง ๆ และระเบียบวิธีปฏิบัติด้านการศุลกากร ดังนี้ (1) ปรับลดพิกัดอัตราอากรขาเข้าเพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการนำสินค้าประเภทไวน์ สุรา และยาสูบประเภทซิการ์ลงกึ่งหนึ่งเป็นเวลา 5 ปี (2) ปรับปรุงประกาศกรมศุลกากรที่เกี่ยวกับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรของติดตัวผู้โดยสารที่นำติดตัวเข้ามาในหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรพร้อมกับตนทางท่าอากาศยานให้เหมาะสมและเป็นปัจจุบัน โดยให้ใช้หลักการพิจารณาจากปริมาณ จำนวน หรือสภาพของสิ่งของที่นำเข้าหรือส่งออกว่าเป็นไปเพื่อการใช้ประโยชน์ส่วนตนหรือไม่ แทนการพิจารณาจากมูลค่าของสิ่งของ และ (3) ดำเนินการจัดทำและเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรเพื่อกำหนดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้ถือวีซ่าผู้พำนักระยะยาวประเภทกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ โดยเทียบเคียงกับมาตรการภาษีในลักษณะเดียวกันของเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการดึงดูดกลุ่มผู้พำนักระยะยาวเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงและมีรายได้จากการทำงานในประเทศไทยระหว่างที่ได้รับอนุญาตให้อยู่อาศัยในราชอาณาจักร 6 มอบหมายให้ สกท. พิจารณาการบริหารจัดการวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวและวีซ่าประเภทอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน 7 มอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบข้างต้นเร่งรัดดำเนินการภายใน 90 วัน และให้รายงานความคืบหน้าของผลการพิจารณาผ่าน สศช. เพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง สศช. รายงานว่า 1. การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) มีความรุนแรงและยืดเยื้อตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้รัฐบาลใช้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอย่างเข้มงวดหลายครั้ง เพื่อไม่ให้การแพร่ระบาดขยายตัวเป็นวงกว้างเกินเกินขีดจำกัดของระบบสาธารณสุขที่จะสามารถรองรับได้ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และการลงทุนภายในประเทศลดลงอย่างมาก ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 คลี่คลายลง จำเป็นต้องมีมาตรการกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาผลกระทบและสร้างรายได้ให้แก่ประชาชน แรงงาน และภาคธุรกิจ 2. สศช. จึงเสนอมาตรการที่จะดึงดูดชาวต่างชาติที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงหรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ให้เข้ามาอยู่ในประเทศไทยในลักษณะผู้พำนักระยะยาว (long-term stay) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการใช้จ่ายและการลงทุนมากขึ้น และทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพียงพอให้กับภาคธุรกิจที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ในประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต และโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล 3. สาระสำคัญของมาตรการฯ สรุปได้ ดังนี้ 3.1 มาตรการฯ ประกอบด้วย 2 มาตรการหลัก ได้แก่ การออกวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว (Long-term resident visa) และการแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติ ดังนี้ 1) การออกวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว (Long-term resident visa) เป็นการกำหนดวีซ่าประเภทใหม่เพื่อรองรับชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง และต้องการเป็นผู้พำนักอาศัยในระยะยาว โดยมีการกำหนดคุณสมบัติเพื่อพิจารณาการขอวีซ่าตามกลุ่มของชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง 4 ประเภท ดังนี้ คุณสมบัติหลัก สิทธิประโยชน์หลัก 1) กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy global citizen) - ให้สิทธิทำงานพร้อมวีซ่า - ให้คู่สมรสและบุตรได้รับวีซ่าผู้ติดตามไปพร้อมกันด้วย - ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากต่างประเทศ (รวมทั้งรายได้ที่นำเข้ามาในปีภาษีเดียวกัน) ลงทุนขั้นต่ำ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และมีเงินเดือนหรือเงินบำนาญขั้นต่ำปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีทรัพย์สินขั้นต่ำ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 2) กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy pensioner) - ลงทุนขั้นต่ำ 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในพันธบัตรรัฐบาลไทย หรือลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ และมีเงินบำนาญขั้นต่ำ ปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ - มีเงินบำนาญขั้นต่ำ ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ (กรณีไม่มีการลงทุน) 3) กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-from-Thailand professional) - มีรายได้ส่วนบุคคล (อาทิ เงินเดือน และรายได้จากการลงทุน) ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป/ครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา/ได้รับเงินทุน Series A1 และมีประสบการณ์การทำงาน 5 ปี 4) กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (High-Skilled professional) ได้สิทธิประโยชน์หลักเช่นเดียวกับชาวต่างชาติประเภทอื่น ๆ แต่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากรายได้ในประเทศไทยอัตราเทียบเท่ากับอัตราภาษีเงินได้ที่ได้รับจากการจ้างแรงงานในพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก มีรายได้ส่วนบุคคล (เงินเดือน รายได้จากการลงทุน เป็นต้น) ปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 5 ปี ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย2 2) การแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติให้ขอวีซ่าประเภทนี้และเข้ามาพำนักอาศัยในประเทศมากขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในทุกภูมิภาคของประเทศ 3.2 การจัดการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) การบริหารจัดการวีซ่าระหว่างประเภทผู้พำนักระยะยาวและประเภทอื่น ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน และ (2) การจัดตั้งหน่วยบริการพิเศษเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับผู้สมัครและผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว (หน่วยบริการพิเศษฯ) โดยเสนอให้มอบหมาย สกท. พิจารณาจัดตั้งหน่วยบริการพิเศษดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินมาตรการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระต่องบประมาณแผ่นดินเกินสมควร 3.3 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ได้แก่ 1) สามารถดึงดูดชาวต่างชาติจำนวน 1,000,000 คน ใหย้ายถิ่นฐานมาพำนักอาศัยในประเทศ โดยคาดว่าข้อเสนอวีซ่าผู้พำนักระยะยาวและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจะสามารถดึงดูดชาวต่างชาติจำนวนมากเข้าสู่ประเทศไทย และมีการสำรวจความคิดเห็นและประชุมเชิงปฏิบัติการกับผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนซึ่งให้ความเห็นชอบว่าเป้าหมายโครงการมีความเป็นไปได้สูง 2) ตัวชี้วัดและประมาณการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2565 ปีงบประมาณ 2566 ปีงบประมาณ 2567 ปีงบประมาณ 2568 ปีงบประมาณ 2569 1. เพิ่มจำนวนชาวต่างชาติที่พำนักอาศัยในประเทศ (คน) 100,000 (ร้อยละ 10) 150,000 (ร้อยละ 15) 250,000 250,000 250,000 (ร้อยละ 25) 2. เพิ่มปริมาณเงินใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจ (ล้านบาท) (สมมติฐานการใช้จ่ายในประเทศเฉลี่ย 1 ล้านบาท/คน/ปี) 100,000 150,000 250,000 250,000 250,000 3. เพิ่มปริมาณเงินลงทุนในระบบเศรษฐกิจ (ล้านบาท) (ได้รับปริมาณเงินลงทุนจากการลงทุนจากกลุ่มผู้ที่มีความมั่งคั่งประมาณ 1 หมื่นคนและกลุ่มผู้เกษียณอายุประมาณ 8 หมื่นคน จากเงื่อนไขวีซ่าที่กำหนด) 75,000 112,5000 187,500 187,500 187,500 4. เพิ่มรายได้ทางภาษี (ล้านบาท) (จากผู้ถือวีซ่าในกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษจำนวน 4 แสนคน) 25,000 37,500 62,500 62,500 62,500 3.4 การดำเนินมาตรการฯ จะมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ในภาพรวมทุก 5 ปี และกำหนดเวลาสิ้นสุดสำหรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการถือครองที่ดินเป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มบังคับใช้มาตรการฯ และให้ประเมินผลสัมฤทธิ์ โดยสามารถพิจารณาขยายระยะเวลาการบังคับใช้ออกไปได้ตามความเหมาะสมแผนการดำเนินงาน 3.5 แผนการดำเนินงานของมาตรการฯ เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2564 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2565 โดยมีการดำเนินการภายหลังได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ดังนี้ การดำเนินการ กำหนดการ กำหนดประเภทวีซ่า และหลักเกณฑ์วีซ่าผู้พำนักระยะยาวโดยการปรับปรุงกฎหมายลำดับรองและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง กฎหมายลำดับรอง เดือนสิงหาคม 2564 - พฤศจิกายน 2565 กฎหมายแม่บท (ถ้าจำเป็น) เดือนธันวาคม 2564 - มีนาคม 2565 จัดตั้งศูนย์บริการผู้พำนักระยะยาว (LTR service center) จัดทำแนวทางการจัดตั้งและดำเนินการด้านงบประมาณ เดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2564 คัดเลือกเอกชนเป็นผู้จัดตั้งศูนย์ดังกล่าว เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564 ออกแบบระบบกระบวนการทำงาน และจัดทำข้อตกลงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564 พัฒนาระบบให้บริการและเชื่อมต่อข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เดือนมกราคม - มีนาคม 2565 (ทดลอง) จัดตั้งศูนย์บริการผู้พำนักระยะยาว เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2565 (ทดลอง) ????????________________________ 1เป็นหนึ่งในรอบการลงทุน (ประกอบด้วย 4 รอบ) ของธุรกิจร่วมทุน (Venture Capital) ที่จะลงทุนใน Startup โดยในรอบนี้ Startup จะมีความต้องการออกผลิตภัณฑ์ ขยายเข้าสู่ฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้น หรือตลาดใหม่ รวมถึงปรับรูปแบบทางธุรกิจให้เหมาะสมกับตลาดที่กว้างขึ้น โดยธุรกิจร่วมทุนจะวิเคราะห์ถึงความสามารถในสร้างรายได้ในอนาคตของ Startup และจะต้องลงทุนอย่างน้อยประมาณ 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 33 ล้านบาท ต่อหนึ่งโครงการในขั้นตอนนี้ (อ้างอิงบทความ ?เปิดโลกการลงทุนใน Startup? โดยนิภาพันธ์ พูนเสถียรทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์) 2อุตสาหกรรมเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ท่องเที่ยวระดับคุณภาพ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การแปรรูปอาหารที่มีมูลค่าเพิ่มสูง หุ่นยนต์ การบิน เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ดิจิทัล การแพทย์ครบวงจร การป้องกันประเทศ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยและพัฒนาเพื่ออุตสาหกรรมเป้าหมาย และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี 8. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 3 โครงการ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 3 โครงการ ประกอบด้วย 1. โครงการอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี จากเดิม 7 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 - 2561) เป็น 11 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 - 2565) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม 3,745 ล้านบาท 2. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุตรดิตถ์ จากเดิม 11 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 - 2564) เป็น 15 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 - 2568) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม 4,800 ล้านบาท 3. โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพะเยา จากเดิม 6 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2564) เป็น 10 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 - 2568) ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม 3,981 ล้านบาท สาระสำคัญของเรื่อง กษ. รายงานว่า 1. เนื่องจาก กษ. (กรมชลประทาน) พบปัญหาและอุปสรรคระหว่างการดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 3 โครงการ จึงทำให้ผลการดำเนินงานล่าช้ากว่าแผนงานที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้ รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ ปัญหาและอุปสรรค สถานภาพปัจจุบัน ขยายระยะเวลา สิ้นสุดโครงการ 1. โครงการอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เพื่อเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ชลประทานในเขตอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี จำนวน 25,500 ไร่ กรอบวงเงินโครงการ 3,745 ล้านบาท เจ้าของที่ดินบางส่วนไม่ยินยอมให้ใช้พื้นที่ จึงต้องปรับแนวท่อส่งน้ำและแก้ไขแบบก่อสร้าง ทำให้งานก่อสร้างระบบส่งน้ำฝั่งซ้ายพร้อมอาคารประกอบ มีความล่าช้ากว่าแผนงานที่วางไว้ รายการ ผลการดำเนินการ 1. เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ ดำเนินการแล้วเสร็จเดือนมิถุนายน 2560 2. ระบบส่งน้ำพร้อมอาคารประกอบ 2.1 ระบบส่งน้ำฝั่งขวา ดำเนินการแล้วเสร็จเดือนมกราคม 2561 2.2 ระบบส่งน้ำฝั่งซ้าย ดำเนินการแล้วเสร็จเดือนเมษายน 2564 (อยู่ระหว่างส่งมอบงาน) - ผลงานสะสมทั้งโครงการร้อยละ 100 - งบประมาณที่ใช้ดำเนินการไปแล้ว 1,937.80 ล้านบาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ชลประทานในเขตอำเภอท่าปลา และอำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ จำนวน 53,500 ไร่ กรอบวงเงินโครงการ 4,800 ล้านบาท แบบก่อสร้างที่ออกแบบไว้เดิมไม่สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ปัจจุบันเนื่องจากสภาพภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมจึงต้องแก้ไขแบบก่อสร้างเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่และความต้องการของราษฎร ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ 99 กิโลเมตร สามารถส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานได้แล้ว 14,600 ไร่ และเหลือส่วนที่ต้องดำเนินการอีกประมาณ 82 กิโลเมตร เพื่อส่งน้ำให้พื้นที่ชลประทานอีก 38,900 ไร่ รายการ ผลการดำเนินการ 1. เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบพร้อมอุโมงค์ส่งน้ำ ดำเนินการแล้วเสร็จเดือนกันยายน 2563 2. ระบบท่อส่งน้ำและอาคารประกอบ 2.1 ระบบท่อส่งน้ำสัญญาที่ 1 ดำเนินการแล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2562 2.2 ระบบท่อส่งน้ำสัญญาที่ 2 ดำเนินการแล้วเสร็จเดือนกรกฎาคม 2563 2.3 ระบบท่อส่งน้ำสายซอย ร้อยละ 34.01 (คาดว่าแล้วเสร็จ พ.ศ. 2566) 2.4 ระบบท่อส่งน้ำสัญญาที่ 3 ยังไม่ดำเนินการ (แผนการดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566) 2.5 ระบบท่อส่งน้ำ สัญญาที่ 4 ยังไม่ดำเนินการ (แผนการดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2568) - แผนงานสะสมทั้งโครงการร้อยละ 72.44 และผลงานสะสมทั้งโครงการร้อยละ 72.29 (ช้ากว่าแผนร้อยละ 0.15) - งบประมาณที่ใช้ดำเนินการไปแล้ว 4,121.30 ล้านบาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 3. โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพะเยา เพื่อเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนและเพิ่มพื้นที่ชลประทานในเขตอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา จำนวน 28,000 ไร่ และสามารถส่งน้ำให้กับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่ยม จังหวัดแพร่ ในฤดูแล้งได้อีก จำนวน 35,000 ไร่ กรอบวงเงินโครงการ 3,981 ล้านบาท ผู้รับจ้างไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จตามสัญญา กรมชลประทานจึงบอกเลิกสัญญา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 (กำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2560 ถึง 15 พฤษภาคม 2563) รายการ ผลการดำเนินการ 1. เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบพร้อมส่วนประกอบอื่น ร้อยละ 20.65 อยู่ระหว่างการประกวดราคาใหม่ในปีงบประมาณ 2564 (แผนการดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 - 2567) 2. ระบบท่อส่งน้ำและอาคารประกอบ ยังไม่ดำเนินการ (แผนการดำเนินการปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2568) - แผนงานสะสมทั้งโครงการร้อยละ 31.13 และผลงานสะสมทั้งโครงการ ร้อยละ 26.57 (ช้ากว่าแผนงานร้อยละ 4.56) - งบประมาณที่ใช้ดำเนินการไปแล้ว 2,311.33 ล้านบาท ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 2. นอกจากนี้ กษ. ได้กำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการแล้ว ดังนี้ โครงการ แผนการดำเนินการ 1. โครงการอ่างเก็บน้ำมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี - ช่วงระยะเวลา 1 - 3 เดือน จะเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จและดำเนินการตามเงื่อนไขทางสัญญาต่อไป - ช่วงระยะเวลา 4 - 6 เดือน จะดำเนินการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำและจัดทำแผนการจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานต่อไป 2. โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำรี อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดอุตรดิตถ์ - ช่วงระยะเวลา 1 - 3 เดือน จะเร่งรัดให้ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการก่อสร้างระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ สัญญาที่ 3 เพื่อให้แล้วเสร็จตามแผนงาน - ช่วงระยะเวลา 4 - 12 เดือน จะดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมในส่วนของแบบก่อสร้างและการจัดหาที่ดินของระบบส่งน้ำและอาคารประกอบส่วนที่เหลือ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรองรับการดำเนินการต่อไป 3. โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำปี้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดพะเยา - ช่วงระยะเวลา 1 - 3 เดือน จะเร่งรัดให้ผู้รับจ้างเข้าดำเนินการก่อสร้างเขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ พร้อมส่วนประกอบอื่น เพื่อให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้ - ช่วงระยะเวลา 4 - 12 เดือน จะดำเนินการจัดเตรียมความพร้อมในส่วนของแบบก่อสร้าง และการจัดหาที่ดินของระบบส่งน้ำและอาคารประกอบ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรองรับการดำเนินการต่อไป 9. เรื่อง การพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิเศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ในอัตราไม่เกิน 12,041 อัตรา โดยแบ่งเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด ดังนี้ 1. ให้มีการพิจารณาบำเหน็จความชอบกรณีพิศษให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระดับดีเด่น ดังนี้ ประเภท ผู้ปฏิบัติงาน ด้านยาเสพติด (อัตรา) ร้อยละ ที่ขอปรับเพิ่ม จำนวนผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติด ที่ได้รับบำเหน็จความชอบ (อัตรา) ผู้ปฏิบัติงานด้านยาเสพติดโดยตรง 337,713 ไม่เกิน 2.5 ไม่เกิน 8,443 ผู้ปฏิบัติงานเกื้อกูลต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด 239,886 ไม่เกิน 1.5 ไม่เกิน 3,598 รวม (อัตรา) 577,599 - ไม่เกิน 12,041 2. สำหรับงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าว ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการต้นสังกัดเป็นลำดับแรกก่อน หากไม่สามารถดำเนินการได้ ให้เบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการเป็นลำดับต่อไป และให้ ยธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป 10. เรื่อง ขออนุมัติงบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2564 เพื่อใช้ในโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2562 และขอขยายระยะเวลาโครงการ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอดังนี้ 1. อนุมัติใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในวงเงิน 869,931,400 บาท (เบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทอุดหนุนทั่วไป) สำหรับเป็นเงินอุดหนุนเกษตรกรของโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2562 2. ขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ จากเดิมสิ้นสุดปีงบประมาณ 2564 เป็นสิ้นสุดปีงบประมาณ 2565 เรื่องเดิม 1. ความเป็นมา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าวดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2560 - ปัจจุบัน ภายใต้นโยบายการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวและรายได้ของเกษตรกร และบริหารจัดการข้าวตลอดห่วงโซ่อุปทาน แต่ในปี 2562 มีปัญหางบประมาณที่จะจ่ายเงินอุดหนุนให้เกษตรกร 2. มติคณะรัฐมนตรีหรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีในคราวประชุม เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2560 ได้อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณตามความเห็นของสำนักงบประมาณ เพื่อดำเนินโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ระยะเวลา 5 ปี (ปี 2560 - 2564) เป็นเงินทั้งสิ้น 9,696.5222 ล้านบาท แบ่งเป็น ปี 2560 จำนวน 619.480 ล้านบาท ปี 2561 จำนวน 1,580.880 ล้านบาท ปี 2562 จำนวน 3,114.896 ล้านบาท ปี 2563 จำนวน 2,701.574 ล้านบาท และ ปี 2564 จำนวน 1,679.692 ล้านบาท โครงการมีเป้าหมายพื้นที่ส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ 1 ล้านไร่ ในปี 2564 โดยแบ่งเป้าหมายพื้นที่ส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ที่เข้าร่วมใหม่แต่ละปี ดังนี้ ปี 2560 จำนวน 300,000 ไร่ ปี 2561 จำนวน 300,000 ไร่ และปี 2562 จำนวน 400,000 ไร่ ซึ่งเกษตรกรจะได้รับเงินอุดหนุนเพื่อชดเชยรายได้จากการผลิตข้าวที่ได้ผลผลิตลดลงในระยะเริ่มต้นของการผลิตระบบอินทรีย์ ต่อเนื่อง 3 ปี ไม่เกินรายละ 15 ไร่ แบ่งเป็น 1) เกษตรกรที่ผ่านการประเมินเตรียมความพร้อม (T1) ไร่ละ 2,000 บาท 2) เกษตรกรที่ผ่านการประเมินระยะปรับเปลี่ยน (T2) ไร่ละ 3,000 บาท และ 3) เกษตรกรที่ได้รับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์ Organic Thailand (T3) ไร่ละ 4,000 บาท 3. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ปี 2560 - 2562 มีเกษตรกรสมัครเข้าร่วมโครงการ 58 จังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 5,818 กลุ่ม 130,082 ราย พื้นที่ 1,209,911.62 ไร่ โดยเป็นเกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตข้าวอินทรีย์แล้ว (T3) จำนวน 826 กลุ่ม 16,768 ราย 173,832.90 ไร่ ปี 2560 - 2562 มีเกษตรกรที่ผ่านเกณฑ์การประเมินและรับเงินอุดหนุน จำนวน 8,051 กลุ่ม 165,213 ราย 1,421,472.10 ไร่ จะต้องใช้เงินอุดหนุน 3,656,804,850 บาท แต่กรมการข้าวได้จ่ายเงินอุดหนุนให้เกษตรกรไปแล้ว 2,736,702,350 บาท และอยู่ระหว่างเบิกจ่ายจำนวน 2,310,400 บาท ยังขาดเงินอุดหนุนสำหรับจ่ายให้แก่เกษตรกรอีก 1,384 กลุ่ม 27,119 ราย 269,926.50 ไร่ จำนวน 917,792,100 บาท สำหรับปี 2563 - 2564 กรมการข้าวคาดว่าจะมีเกษตรกรผ่านเกณฑ์การประเมิน และรับเงินอุดหนุน 6,270 กลุ่ม 130,530 ราย 1,037,149.00 ไร่ จำนวน 3,761,408,750 บาท กรมการข้าวได้รับการจัดสรรงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2564 เพียงจำนวน 450,000,000 บาท ปัญหาอุปสรรคการดำเนินงาน คือ การตรวจประเมินระบบการผลิตข้าวอินทรีย์และการจ่ายเงินอุดหนุนแล้วเสร็จข้ามปีงบประมาณ และงบประมาณที่ได้รับจัดสรรในแต่ละปีไม่เพียงพอกับที่จะจ่ายเงินอุดหนุนให้เกษตรกร ซึ่งในปี 2562 จำเป็นต้องขอใช้งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2564 4. ระยะเวลาดำเนินโครงการ เนื่องจากการผลิตข้าวอินทรีย์ส่วนใหญ่จะเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคมของทุกปี ทำให้การตรวจประเมินระบบการผลิตข้าวอินทรีย์ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และการจ่ายเงินอุดหนุนแล้วเสร็จข้ามปีงบประมาณ ซึ่งเกินระยะเวลาตามแผนที่กำหนดไว้ทำให้การดำเนินโครงการไม่สามารถเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้แล้ว จึงจำเป็นต้องขอขยายระยะเวลาโครงการจากเดิมสิ้นสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นสิ้นสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามปริมาณงานที่ยังเหลือ 5. การเสนอขอใช้งบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการขอขยายระยะเวลาดำเนินงานโครงการต่อคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าวได้เสนอคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติพิจารณาการขอใช้งบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 ซึ่งคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติได้เห็นชอบเงินอุดหนุนตามโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2562 ซึ่งงบประมาณประจำปีจัดสรรไม่เพียงพอ จำนวน 917,792,100 บาท และมอบหมายกรมการข้าวนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณ ปี พ.ศ. 2564 จากงบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นในการดำเนินการต่อไป นอกจากนั้นยังเห็นชอบขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ จากเดิมสิ้นสุดปีงบประมาณ 2564 เป็นสิ้นสุดปีงบประมาณ 2565 6. นายกรัฐมนตรีเห็นชอบการขอใช้งบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมการข้าวได้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 โดยส่งคำขอจัดสรรงบประมาณให้สำนักงบประมาณเสนอต่อนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมการข้าวใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลางรายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในวงเงิน 869,931,400 บาท ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 47,860,700 บาท ให้กรมการข้าวปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อนำไปจ่ายให้เกษตรกรของโครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ ปี 2562 ซึ่งกรมการข้าวอยู่ระหว่างปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจำนวน 47,860,700 บาท จาก 1) โครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ จำนวน 30,000,000 บาท 2) โครงการเกษตรกรรมยั่งยืน จำนวน 13,826,500 บาท และ 3) ผลผลิตการผลิตสินค้าข้าวได้รับการส่งเสริมและพัฒนา (งบรายจ่ายอื่น ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปต่างประเทศชั่วคราว) จำนวน 4,034,200 บาท 11. เรื่อง (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ? 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ? 2565 ดังนี้ สาระสำคัญของเรื่อง ทส. รายงานว่า 1. ทส. โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้จัดทำ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2564 ? 2565 เพื่อเป็นกลไก เครื่องมือ กฎระเบียบในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน และเป็นแนวทางให้เกิดการอนุรักษ์ คุ้มครอง ป้องกัน ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่สนับสนุนการเจริญเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดย (ร่าง) นโยบายและแผนฯ เป็นแผนระดับที่ 3 ซึ่งที่ผ่านมามีการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้ 1.1 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ดำเนินการจัดประชุม Technical Focus Group จำนวน 6 ครั้ง และจัดประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ 6 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดระยอง จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดตรังรวมทั้งมีการจัดประชุมวิพากษ์ (ร่าง) นโยบายและแผนฯ 1 ครั้ง โดยมีผู้แทนจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนชุมชนชายฝั่งเข้าร่วม 1.2 คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] ในการประชุมครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2562 มีมติเห็นชอบในหลักการต่อ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2564 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปดำเนินการปรับแก้ไข และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ได้ดำเนินการปรับแก้ไขเรียบร้อยแล้ว 1.3 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ในการประชุมครั้งที่ 12/2563 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563 มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) นโยบายดังกล่าว โดยมีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงเพิ่มเติมในส่วนของความเชื่อมโยงแผน เป้าหมาย ตัวชี้วัด และกลไกการขับเคลื่อนแผน โดยควรมุ่งเน้นประเด็นการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและชุมชนในพื้นที่ให้มากขึ้น และดำเนินการจัดทำกลไกและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ในการสร้างหลักประกันสำหรับการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งปรับกรอบระยะเวลาเป็น พ.ศ. 2564 - 2565 และให้ ทส. ดำเนินการเสนอ (ร่าง) นโยบายดังกล่าว เพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ ทส. โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ปรับตามข้อเสนอแนะดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว 2. (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2565 มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 2.1 วัตถุประสงค์ ได้แก่ 2.1.1 เพื่ออนุรักษ์ คุ้มครอง ป้องกัน ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง คุณภาพสิ่งแวดล้อมทางทะเล และสนับสนุนการเจริญเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน 2.1.2 เพื่อให้เกิดการพัฒนากลไก เครื่องมือ กฎระเบียบในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้สามารถเชื่อมโยงการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม และเห็นผลเป็นรูปธรรม 2.1.3 เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและบูรณาการการทำงานของภาคส่วนต่าง ๆ ในการร่วมบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้เป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ และสามารถเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการพัฒนาที่ยั่งยืน 2.2 เป้าหมาย ได้แก่ 2.2.1 ทรัพยากร คุณภาพสิ่งแวดล้อม และระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งได้รับการอนุรักษ์ คุ้มครองและฟื้นฟูให้สามารถเป็นฐานสนับสนุนการเจริญเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน 2.2.2 เกิดความสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ ลดความขัดแย้งของการพัฒนาบนฐานการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน 2.2.3 มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ครอบคลุมทั้งระบบ มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 2.2.4 มีองค์ความรู้ งานวิจัย นวัตกรรม และบุคลากรที่มีศักยภาพและเพียงพอต่อการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2.3 มาตรการบริหารจัดการ 4 มาตรการ ประกอบด้วย มาตรการที่ 1 อนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างสมดุลและเป็นธรรม งบประมาณ 1,914.87 ล้านบาท แนวทาง ตัวอย่างตัวชี้วัด 1) อนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟูระบบนิเวศ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่มีความสำคัญ หรือมีแนวโน้มเสื่อมโทรม 2) บริหารจัดการการกัดเซาะชายฝั่ง และกำหนดแนวทางแผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างบูรณาการในรูปแบบกลุ่มหาด 3) พัฒนาเครื่องมือ กลไก ระบบฐานข้อมูลติดตามและประเมินการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งทะเล 4) พัฒนา กลไก เครื่องมือ กฎระเบียบในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตามอำนาจแห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 5) ประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและชายฝั่งเพิ่มเติม และเสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการพื้นที่ 6) เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการขยะในทะเลและชายฝั่ง 7) เสริมสร้างประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษทางทะเลและชายฝั่ง 1) เพิ่มพื้นที่ป่าชายเลน 2,000 ไร่ต่อปี 2) มีพื้นที่ปะการังสมบูรณ์มากกว่าร้อยละ 9 ในปี 2565 และพื้นที่ปะการังเสียหายน้อยกว่าร้อยละ 50 ในปี 2565 3) พื้นที่หญ้าทะเลได้รับการฟื้นฟู 156 ไร่ 4) พื้นที่คุ้มครองทางทะเลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ1,000 ตารางกิโลเมตร 5) อัตราการรอดตายจากการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายาก ร้อยละ 90 6) จำนวนแผนบริหารจัดการขยะทะเลและพิทักษ์สัตว์ทะเลหายากระดับประเทศและระดับพื้นที่ 3 เรื่อง และมีระบบฐานข้อมูลติดตามและประเมินการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ 1 ระบบ 7) กำหนด Environmental Checklist สำหรับสิ่งก่อสร้างริมทะเลที่มีการยกเว้นการทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) 8) น้ำเสียตามชายฝั่ง และเกาะทั่วประเทศได้รับการบำบัดอย่างน้อยร้อยละ 30 ภายในปี 2565 และร้อยละ 50 ในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวทางทะเลอย่างน้อย 10 แห่ง ตัวอย่างโครงการ ตัวอย่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ 1) โครงการจัดทำแผนที่ปะการังทั่วประเทศ 2) โครงการบูรณาการแผนการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับแนวปะการัง 3) โครงการศึกษาวิจัยขยะทะเลและผลกระทบต่อระบบนิเวศและสัตว์ทะเลหายาก 4) จัดทำระบบตรวจสอบ ติดตาม แจ้งเตือนมลพิษทางทะเลและสัตว์ทะเลมีพิษ 5) จัดทำร่างแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ ทส. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (GISTDA) มาตรการที่ 2 บริการจัดการการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน งบประมาณ 673 ล้านบาท แนวทาง ตัวอย่างตัวชี้วัด 1) แบ่งเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ตามแนวคิดการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์เชิงพื้นที่ Marine Spatial Planning (การวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเล) 2) บริหารจัดการทรัพยากรประมงทะเล ประมงชายฝั่ง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ฟาร์มทะเลตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) บริหารจัดการทรัพยากรสินแร่และแหล่งพลังงานในทะเลอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน 4) ส่งเสริม สนับสนุนการปรับเปลี่ยนการท่องเที่ยวในพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง สู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน บนพื้นฐานศักยภาพการรองรับของพื้นที่และกระจายผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม 5) เพิ่มประสิทธิภาพโครงข่ายการขนส่ง การเดินทาง ทางทะเลอย่างปลอดภัย เชื่อมโยงเป็นระบบ ควบคุมได้ และไม่กระทบกับระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม 1) ต้นฉบับแผนที่การจำแนกเขตทางทะเลและชายฝั่งในลักษณะ One Marine Chart จำนวน 1 ฉบับ 2) พื้นที่หาดสมดุลได้รับการปกป้องและกำหนดมาตรการตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 จำนวน 10 กลุ่มหาดภายในปี 2565 3) ร้อยละของความสำเร็จในการบริหารจัดการการประมงทะเล โดยมีการทำประมงไม่เกินศักยภาพการผลิตของปริมาณสูงสุดของสัตว์น้ำที่จะจับมาใช้ประโยชน์ได้ (MSY) ซึ่งคำนวณโดยกรมประมง 4) ลดระดับการทำการประมง IUU ผ่านการควบคุม ตามระบบการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (Monitoring, Control and Surveillance System : MCS) 5) ดัชนีคุณภาพมหาสมุทร (Ocean Health Index) มีค่ามากกว่าร้อยละ 75 ในปี 2565 ตัวอย่างโครงการ ตัวอย่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ 1) โครงการจัดทำแผนที่การจำแนกเขตทางทะเลและชายฝั่งในลักษณะ One Marine Chart 2) โครงการจัดทำระบบส่งเสริมด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีศักยภาพสำหรับอาชีพประมงพื้นบ้านโดยเฉพาะ 3) แผนงานกำกับการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาและการใช้ประโยชน์จากสินแร่และแหล่งพลังงานในทะเลที่ทันสมัยและสอดคล้องกับลักษณะของทะเลไทย 4) แผนงานการศึกษาและประเมินสถานการณ์แหล่งท่องเที่ยวที่มีความอ่อนไหวภายใต้การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 5) จัดตั้งเขตสงวนรักษา 17 แห่ง และเขตการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 50 แห่ง ทส. กษ. คค. มท. ศรชล. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สศช. มาตรการที่ 3 เสริมสร้างประสิทธิภาพกลไกการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยเน้นการมีส่วนร่วมและทันต่อการเปลี่ยนแปลง งบประมาณ 5,203.7 ล้านบาท แนวทาง ตัวอย่างตัวชี้วัด 1) บริหารจัดการเขตทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายจังหวัด และมีการประสานความร่วมมือระหว่างจังหวัดในกรณีที่จังหวัดมีพื้นที่อยู่ในระบบหาดเดียวกัน 2) เสริมสร้างศักยภาพและบทบาทคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งระดับจังหวัดโดยการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบบบูรณาการ 3) มีฐานข้อมูลสารสนเทศการใช้ประโยชน์พื้นที่ทะเลด้านต่าง ๆ ครอบคลุมพื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง และจังหวัดชายทะเล 4) จัดตั้งศูนย์พิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลที่ทันเหตุการณ์ มีการแลกเปลี่ยนจากทุกแหล่งทั้งหน่วยงานราชการและเครือข่ายทางทะเลและชายฝั่ง และจังหวัดชายทะเล เพื่อการสั่งการและแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วทันท่วงที 5) ส่งเสริมการดำเนินงานของกลุ่มเครือข่ายชุมชนชายฝั่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ชายฝั่ง 6) ส่งเสริมความร่วมมือกับองค์กรเอกชน มูลนิธิ สมาคม ชมรมในการร่วมอนุรักษ์ ติดตาม เฝ้าระวังทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 7) ปรับสมดุลโครงสร้างองค์กรในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล 8) บริหารจัดการองค์ความรู้ และส่งเสริมการศึกษา วิจัย พัฒนานวัตกรรมเพื่อการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 9) ส่งเสริมและเผยแพร่องค์ความรู้ จิตสำนึก ความตระหนัก ความเข้าใจในบริบทการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของผู้มีส่วนได้เสีย และประชาชนอย่างต่อเนื่อง 1) จำนวนชุมชนชายฝั่ง อปท. ได้รับการพัฒนาศักยภาพ และส่งเสริมบทบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ต่อปี 2) ระดับความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ อนุรักษ์ คุ้มครอง เฝ้าระวัง ขององค์กรเอกชน สมาคม ชมรม และสังคมต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ร้อยละ 80 ในปี 2565 3) ศูนย์พิทักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 1 แห่ง และจำนวนเครือข่าย ครบทั้งสิ้น 24 จังหวัดชายฝั่งทะเล 4) เผยแพร่องค์ความรู้ทางทะเลและสามารถบริหารจัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2 เรื่องต่อปี 5) ระบบฐานข้อมูลสถานภาพทรัพยากรป่าไม้ Near Real Time 1 ระบบ ตัวอย่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ ทส .คค. มท. ตัวอย่างโครงการ 1) แผนงานกำหนดขอบเขต (Zoning) การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2) โครงการจัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังเตือนภัยพิบัติและเหตุการณ์ทางทะเลและชายฝั่ง 3) แผนงานความร่วมมือเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มาตรการที่ 4 เสริมสร้างความเข้มแข็ง และพัฒนาความร่วมมือบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันจากความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยใช้จ่ายจากงบประมาณจากแผนการปฏิบัติงานประจำปีของหน่วยงาน แนวทาง ตัวอย่างตัวชี้วัด 1) สร้างความเข้มแข็งด้านความร่วมมือระหว่างประเทศในการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 2) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายทางทะเลให้ทันสมัยและสอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1982 1) แนวทางและ Road Map ในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการปกป้อง รักษา และฟื้นฟูทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล จำนวน 1 เรื่อง 2) แนวทาง และ Road Map ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายในประเทศ ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1982 (United Nations Convention on the Law of the Sea : UNCLOS) 3) จำนวนความร่วมมือกับต่างประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีกิจกรรมการดำเนินงานในแต่ละปีเพิ่มขึ้น 2 เรื่องต่อปี ตัวอย่างโครงการ ตัวอย่างหน่วยงานที่รับผิดชอบ 1) โครงการดำเนินการศึกษากฎหมายทางทะเล และจัดทำ Road map 2) โครงการอนุวัติตามและแสวงหาประโยชน์จากความตกลงทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งในระดับทวิภาคีพหุภาคี และนานาชาติ 3) แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาความร่วมมือด้านต่างประเทศ สร้างและรักษาผลประโยชน์ชาติ กต. กษ. คค. พน. มท. อก. ศรชล. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) 12. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยปี 2564 และบรรเทาปัญหาภัยแล้งปี 2564/2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอดังนี้ 1. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,851.2251 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัย ปี 2564 และบรรเทาปัญหาภัยแล้งปี 2564/2565 จำนวน 3,378 รายการ โดยรายละเอียดของแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ 2. ให้ยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกเงินจากคลัง การรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการนำเงินส่งคลัง พ.ศ. 2562 ข้อ 106 ในกรณีที่หน่วยรับงบประมาณไม่สามารถดำเนินการได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อสนับสนุนให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัย ปี 2564 และบรรเทาปัญหาภัยแล้งปี 2564/2565 เป็นไปอย่างต่อเนื่องตามแผนงานที่วางไว้ สาระสำคัญ/ข้อเท็จจริง 1. จากสถานการณ์น้ำในปัจจุบันซึ่งมีปริมาณฝนตกน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ ส่งผลให้มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำน้อย ประกอบกับการอพยพกลับภูมิลำเนาเดิมของประชาชนในภาคอุตสาหกรรม สู่ชนบทเพื่อประกอบอาชีพเกษตรกรรมอันเนื่องมาจากการได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งกองอำนวยการน้ำแห่งชาติได้ประเมินสถานการณ์น้ำต้นทุนในแหล่งเก็บกักน้ำทั่วประเทศ พบว่ามีปริมาณน้ำรวม 35,713 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 44 ของความจุเก็บกักทั้งประเทศ สามารถใช้การได้ 11,633 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุเก็บกักทั้งประเทศ จำแนกเป็นรายภาคได้ดังนี้ ภาค ปริมาณน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำ (ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ (ล้าน ลบ.ม.) รวมทั้งสิ้น 35,713 11,633 เหนือ 8,389 1,485 ตะวันออกเฉียงเหนือ 5,799 3,897 กลาง 340 292 ตะวันตก 15,204 1,793 ตะวันออก 1,308 1,160 ใต้ 4,673 3,006 2. สทนช. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการการรับมือฤดูฝน ปี 2564 จำนวน 10 มาตรการ โดยแจ้งให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณามอบหมายหน่วยงานในสังกัด ที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำแผนงานรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำเสนอคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดพิจารณาความเหมาะสม พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน โดย สทนช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางในการเสนอโครงการ ดังนี้ 1) เป็นแผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2564 2) เป็นแผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในฤดูฝนเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2564/2565 3) เป็นแผนงาน/โครงการที่ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมายเฝ้าระวังที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย และพื้นที่เฝ้าระวังที่อาจเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ ตามผลการประเมินสถานการณ์น้ำของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ 4) เป็นแผนงานซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ งานปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ งานกำจัดวัชพืช บ่อน้ำบาดาล และธนาคารน้ำใต้ดินที่มีความพร้อมสามารถดำเนินการได้ทันที 5) เป็นแผนงาน/โครงการที่อยู่ภายใต้ภารกิจของหน่วยงาน และไม่เข้าข่าย เป็นงานที่จะต้องถ่ายโอนภารกิจ ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6) เป็นแผนงาน/โครงการที่ไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงาน/โครงการที่บรรจุในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แล้ว หรือกำลังจะได้รับการจัดสรรงบประมาณจากแหล่งงบประมาณอื่น 7) ให้หน่วยงานเสนอขอปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จากโครงการ/รายการที่ดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์แล้ว และมีงบประมาณเหลือจ่าย และ/หรือรายการที่หมดความจำเป็น และ/หรือรายการที่คาดว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ทัน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แล้วแต่กรณีในโอกาสแรก หากงบประมาณดังกล่าวข้างต้นของส่วนราชการมีไม่เพียงพอ จึงจะสามารถขอรับการสนับสนุนงบประมาณได้ 8) กรณีโครงการที่ดำเนินการโดยจังหวัด หรือหน่วยงานท้องถิ่น ต้องนำแผนงานไปบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 ให้เรียบร้อยก่อนเสนอแผนงาน/โครงการ. 9) การดำเนินการต้องเป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อ 20 การแบ่งซื้อแบ่งจ้างโดยลดวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งเดียวกันเพื่อให้วิธีการซื้อหรือจ้างหรืออำนาจในการสั่งซื้อสั่งจ้างเปลี่ยนแปลงไป 10) ให้หน่วยงานที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณต้องจัดส่งแบบรูปรายการ และประมาณการราคาค่าก่อสร้าง (ปร.4 และ ปร.5) ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงบประมาณกำหนด 11) แผนงาน/โครงการที่จะเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจะต้องสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน และไม่เกินเดือนมกราคม 2565 3. สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้ดำเนินการตรวจสอบแผนงาน/โครงการจากหน่วยงานที่เสนอขอปรับแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ที่มีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัย ปี 2564 และบรรเทาปัญหาภัยแล้งปี 2564/2565 โดยใช้งบประมาณเหลือจ่ายของหน่วยงานมาดำเนินการ ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รวมทั้งสิ้น 14 รายการ วงเงินงบประมาณ 56.5130 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการ 4. สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้ดำเนินการตรวจสอบแผนงาน/โครงการจากหน่วยงานเกี่ยวข้อง ตามหลักเกณฑ์และแนวทางในการเสนอโครงการตามข้อ 2. พบว่ามีแผนงานโครงการที่ต้องดำเนินการเพื่อรองรับสถานการณ์ฤดูฝน ปี 2564 และเก็บกักน้ำไว้เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งปี 2564/2565 รวมถึงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ ให้สามารถเตรียมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน 3 กระทรวง 5 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 4,248 รายการ วงเงินงบประมาณรวม 4,998.6507 ล้านบาท 5. สำนักงบประมาณได้พิจารณานำเรื่องตามข้อ 4. กราบเรียนนายกรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาแล้ว นายกรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้หน่วยรับงบประมาณจำนวน 3 กระทรวง 5 หน่วยงานดำเนินการตามโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัย ปี 2564 และบรรเทาปัญหาภัยแล้งปี 2564/2565 จำนวน 3,378 รายการ ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณ 3,851.2251 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และให้พิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 1) ให้หน่วยรับงบประมาณ ได้แก่ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจังหวัด 9 จังหวัด เป็นเป็นผู้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยตรงตามขั้นตอนของระเบียบและแนวทางที่เคยปฏิบัติต่อไป สำหรับโครงการของจังหวัดซึ่งต้องบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 ขอให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ตรวจสอบก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา หากยังมิได้กำหนดอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัด เห็นควรให้ไปดำเนินการบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดให้ครบถ้วนก่อน ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตรวจสอบ หากพบว่าเป็นหน่วยรับงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้ขอรับการจัดสรรงบประมาณได้โดยตรง หากมีใช่ ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 2) ให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และให้เร่งรัดดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2564 และเร่งรัดการดำเนินงานให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน หรือไม่เกินเดือนมกราคม 2565 โดยให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป 3) ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ เพื่อรายงานผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบด้วย ในการนี้ สทนช. ได้พิจารณาดำเนินการและกำหนดแนวทางปฏิบัติงานตามความเห็นของสำนักงบประมาณดังกล่าวข้างต้นแล้ว โดยสรุปได้ดังนี้ (1) หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการแล้ว สทนช. จะดำเนินการแจ้งหน่วยรับงบประมาณให้เร่งรัดดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยตรงตามขั้นตอนของระเบียบและแนวทางที่เคยปฏิบัติ สำหรับโครงการของจังหวัดซึ่งต้องบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัด ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 สทนช. ได้กำหนดไว้ในแนวทางในการเสนอโครงการตามข้อ 5.2 ข้อ 8) แล้ว ส่วนแผนงานโครงการที่ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สทนช. ได้แจ้งให้กระทรวงมหาดไทยสั่งการให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาตรวจสอบหน่วยรับงบประมาณและดำเนินการให้สอดคล้องตามความเห็นของสำนักงบประมาณด้วยแล้ว (2) ในส่วนของการเร่งรัดดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน หรือไม่เกินเดือนมกราคม 2565 สทนช. ได้กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ในแนวทางในการเสนอโครงการตามข้อ 2. ข้อ 11) แล้ว และจะดำเนินการแจ้งหน่วยรับงบประมาณให้เร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ดำเนินโครงการต่อไป (3) สทนช. ได้กำหนดแนวทางในการติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการ เพื่อรายงานผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบ ไว้ ดังนี้ (3.1) แผนงานของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ให้จังหวัดรายงานผลการเสนอ ของบประมาณ การขอรับจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการดำเนินโครงการให้กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบทุกวันที่ 1 และ 15 ของทุกเดือน (3.2) แผนงานของหน่วยงาน ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรายงานผลการเสนอของบประมาณ การขอรับจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการดำเนินโครงการให้กระทรวงต้นสังกัดและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบ ทุกวันที่ 1 และ 15 ของทุกเดือน (3.3) แผนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นรายงานผลการเสนอของบประมาณ การขอรับจัดสรรงบประมาณ รวมถึงการดำเนินโครงการให้กระทรวงมหาดไทยและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติทราบ ทุกวันที่ 1 และ 15 ของทุกเดือน 6. จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น สทนช. จึงขอเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 3,851.2251 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัย ปี 2564 และบรรเทาปัญหาภัยแล้งปี 2564/2565 จำนวน 3,378 รายการ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ จำแนกตามกระทรวงและหน่วยงาน ได้ดังนี้ ที่ กระทรวง/หน่วยงาน/รายการ จำนวน (รายการ) วงเงิน (ล้านบาท) รวมทั้งสิ้น 3,378 3,851.2251 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 1,051 1,594.7865 กรมชลประทาน 1,051 1,594.7865 1. โครงการซ่อมแซมอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ 1,004 1,411.8005 2. โครงการปรับปรุงอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ 10 93.9500 3. โครงการขุดลอกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ 34 78.0460 4. โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในพื้นที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 3 10.9900 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1,572 1,661.9661 กรมทรัพยากรน้ำ 25 67.1450 1. โครงการซ่อมแซมอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ 17 42.1980 2. โครงการปรับปรุงอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ 2 12.2000 3. โครงการขุดลอกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ 6 12.7470 กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 1,547 1,594.8211 1. โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อความมั่นคงระดับชุมชน 334 1,538.5990 2. โครงการเติมน้ำใต้ดินระดับตื้นทั่วประเทศ 44 14.9426 3. โครงการฟื้นฟูสภาพบ่อน้ำบาดาลเพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง 1,169 41.2795 กระทรวงมหาดไทย 755 594.4725 จังหวัด 185 138.5377 1. โครงการซ่อมแซมอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ 1 4.8450 2. โครงการปรับปรุงอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ 7 2.6518 3. โครงการขุดลอกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ 176 130.6119 4. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำ 1 0.429 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 570 455.9348 1. โครงการซ่อมแซมอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ 6 3.6030 2. โครงการปรับปรุงอาคารชลศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ 43 30.0421 3. โครงการขุดลอกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการเก็บกักน้ำ 325 318.9305 4. โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค 120 46.8868 5. โครงการเติมน้ำใต้ดินระดับตื้นทั่วประเทศ 28 18.3774 6. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำ 48 38.0950 โดย สทนช. ได้ดำเนินการจัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาด้วยแล้ว ภายใต้กรอบวงเงินที่นายกรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบไว้แล้ว และจะแจ้งให้หน่วยรับงบประมาณเร่งรัดดำเนินโครงการสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อป้องกัน การเกิดอุทกภัย ปี 2564 และบรรเทาปัญหาภัยแล้งปี 2564/2565 ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ให้แล้วเสร็จตามกำหนดระยะเวลา รวมถึงให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ หนังสือเวียน มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ต่อไป 13. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายน 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมิถุนายน 2564 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 17.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งยังคงได้รับอานิสงส์จากฐานเปรียบเทียบในเดือนมิถุนายน 2563 ที่ต่ำ ซึ่งยังเป็นเดือนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดในระลอกแรก รวมถึงในปีนี้การส่งออกมีการขยายตัวได้ดี อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมิถุนายน 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ 1. รถยนต์และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.06 จากผลของฐานต่ำในปีก่อน จากมาตรการล็อกดาวน์หลายประเทศทั่วโลก ส่วนปีนี้ประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เวียดนาม ญี่ปุ่น เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ดีขึ้น ทำให้การส่งออกเพิ่มขึ้น 2. อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 32.32 ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลกที่ขยายตัว และความต้องการสินค้าเพื่อการทำงานแบบ work from home มากขึ้น ประกอบกับแนวโน้มของการพัฒนาสินค้าเทคโนโลยีเป็นปัจจัยส่งเสริมให้มีการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในหลากหลายอุตสาหกรรมมากขึ้น 3. เหล็กและเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.93 ตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดจนการเร่งก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานของรัฐ ประกอบกับฐานต่ำในปีก่อน รวมถึงราคาเหล็กที่ปรับตัวสูงทำให้ผู้บริโภคเหล็กบางส่วนเพิ่มคำสั่งซื้อเพื่อกักตุนสินค้า 4. เครื่องประดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 178.89 เนื่องจากปีก่อนเป็นช่วงเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ประเทศ ทำให้ยอดการผลิตและจำหน่ายยังอยู่ในระดับต่ำ ต่างจากปีนี้ที่การผลิตเป็นไปตามปกติ รวมถึงการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ ทำให้การจำหน่ายเติบโตได้มากขึ้น 5. ยางรถยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 78.19 ผลจากการแพร่ระบาดและมาตรการล็อกดาวน์ในปีก่อน ทำให้ความต้องการสินค้าหดตัว แต่ในปีนี้ยางรถยนต์ขยายตัวได้ตามยอดการผลิตรถยนต์ที่เติบโตได้ดีขึ้น รวมถึงมีการลดราคาและทำโปรโมชั่นเพื่อกระตุ้นยอดขาย 14. เรื่อง ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (การปรับตัวและการเข้าถึงดิจิทัล) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (การปรับตัวและการเข้าถึงดิจิทัล) และให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐรับข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของกระทรวงพลังงาน สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี และสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง ดศ. รายงานว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จำนวน 46,600 คน ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2564 เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (การปรับตัวและการเข้าถึงดิจิทัล) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ผลการสำรวจ 1.1 การทำงานที่บ้าน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ทำงานที่บ้าน (ร้อยละ 81.5) โดยมีเหตุผลหลักเพราะอาชีพไม่เหมาะกับการทำงานที่บ้าน ในขณะที่ประชาชนที่ได้ทำงานที่บ้านส่วนใหญ่ไม่ประสบปัญหาในการทำงาน ทั้งนี้ ปัญหาที่ประชาชนประสบในการทำงานที่บ้าน เช่น ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย และสัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี 1.2 การเรียนออนไลน์ พบว่า ประชาชนร้อยละ 42.0 มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียนที่เรียนออนไลน์ ร้อยละ 14.7 มีบุตรหลานอยู่ในวัยเรียนแต่ไม่ได้เรียนออนไลน์ และร้อยละ 43.3 ไม่มีบุตรหลานที่อยู่ในวัยเรียน โดยปัญหาที่ประสบจากการเรียนออนไลน์ 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) ไม่ค่อยเข้าใจในวิชาที่เรียน (2) ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น (3) ไม่มีสมาธิ (4) สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี และ (5) อุปกรณ์ไม่ทันสมัย 1.3 แผนการปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์โควิด-19 พบว่า ประชาชนมีแผนการรับมือ 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ปรับเปลี่ยนวิธีการดำเนินชีวิต เช่น ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อออกจากบ้านทุกครั้งและหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านหากไม่จำเป็น (ร้อยละ 95.4) (2) นำเงินออมออกมาใช้จ่าย (ร้อยละ 32.6) โดยพบในกลุ่มอาชีพค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัวในสัดส่วนที่สูงกว่ากลุ่มอาชีพอื่น และ (3) กู้ยืมเงินหรือจำนำ/ขายทรัพย์สินที่มีอยู่ (ร้อยละ 22.8) โดยพบในกลุ่มอาชีพรับจ้างทั่วไป/ขับรถรับจ้าง/กรรมกรในสัดส่วนที่สูงกว่าอาชีพอื่น 1.4 การปฏิบัติตัวเมื่ออยู่กับคนในบ้าน พบว่า ประชาชนมากกว่าร้อยละ 70 ปฏิบัติตามมาตรการของรัฐ เช่น ล้างมือด้วยน้ำสะอาด/สบู่/เจลแอลกอฮอล์ สังเกตอาการผิดปกติของสมาชิกในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ และงดใช้ของส่วนตัวร่วมกับสมาชิกคนอื่นในครอบครัว อย่างไรก็ตาม มีบางมาตรการที่ประชาชนปฏิบัติตามน้อยกว่าร้อยละ 60 ได้แก่ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และแยกกันรับประทานอาหาร/แยกห้องอยู่อาศัย ซึ่งอาจมีสาเหตุจากสภาพการอยู่อาศัยที่แออัด 1.5 การปฏิบัติตัวเมื่อออกจากบ้าน พบว่า ประชาชนมากกว่าร้อยละ 80 ปฏิบัติตามมาตรการของรัฐ เช่น สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือด้วยสบู่/เจลแอลกอฮอล์ และตรวจวัดไข้ก่อนเข้าไปยังสถานที่ต่าง ๆ 1.6 การเปิดเผยข้อมูลประวัติการเดินทาง (Timeline) ของตนเอง พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ยอมเปิดเผยข้อมูล (ร้อยละ 98.9) มีเพียงร้อยละ 1.1 ที่ไม่เปิดเผย โดยให้เหตุผลว่าเกรงจะถูกสังคมประณามและถือเป็นสิทธิส่วนบุคคล 1.7 การใช้งานอินเทอร์เน็ต พบว่า ประชาชนร้อยละ 81.9 ใช้อินเทอร์เน็ต โดยส่วนใหญ่ไม่ประสบปัญหาในการใช้งานอินเทอร์เน็ต มีเพียงร้อยละ 18.1 ที่ไม่ใช้อินเทอร์เน็ต โดยให้เหตุผล เช่น ไม่มีพื้นฐานความรู้ ใช้งานไม่เป็น และไม่ต้องการใช้งาน ทั้งนี้ ผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตมีสัดส่วนการใช้งานแอปพลิเคชันสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Line Whatsapp และ Facebook มากที่สุด (ร้อยละ 97.6) รองลงมาคือ แอปพลิเคชันด้านความบันเทิง เช่น Netflix YouTube และ TikTok (ร้อยละ 80.6) แอปพลิเคชันด้านการเงิน เช่น เป๋าตัง ถุงเงิน (ร้อยละ 78.6) และแอปพลิเคชันของธนาคารต่าง ๆ (ร้อยละ 78.6) 1.8 การติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่รับทราบข้อมูลแต่ไม่ส่งต่อ (ร้อยละ 42.4) โดยผู้ที่ติดตามข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์จะพบเห็นเรื่องที่ผิดกฎหมายบนระบบอินเทอร์เน็นในสัดส่วน ดังนี้ เรื่องผิดกฎหมาย สัดส่วนการพบเห็น (ร้อยละ) พบเห็นด้วยตัวเองและใช้บริการ/หลงเชื่อ พบเห็นด้วยตัวเองแต่ไม่ใช้บริการ/หลงเชื่อ ไม่พบเห็น เดือดร้อน ไม่เดือดร้อน ข่าวปลอม 2.8 1.0 69.1 27.1 เว็บพนันออนไลน์ 1.4 0.4 62.8 35.4 การซื้อ/ขายของผิดกฎหมาย 0.6 0.3 24.8 74.3 สื่อลามก/อนาจาร/การค้าประเวณี 0.3 0.2 30.1 69.4 การซื้อขายยาเสพติด 0.3 0.0 11.7 88.0 1.9 เรื่องที่รัฐบาลควรสนับสนุนให้ประชาชนปรับตัวเข้าสู่ดิจิทัลมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) จัดหา WiFi ฟรีให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (ร้อยละ 66.7) (2) จัดหาอินเทอร์เน็ตให้ประชาชนในราคาถูก (ร้อยละ 60.0) (3) จัดหาอินเทอร์เน็ตให้นักเรียน/นักศึกษาฟรี (ร้อยละ 47.6) (4) จัดหาอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ ให้ประชาชนในราคาถูก (ร้อยละ 42.2) และ (5) จัดให้มีสถานที่กลางในการเรียนออนไลน์สำหรับเด็กนักเรียนที่ขาดแคลน (ร้อยละ 33.0) 1.10 เรื่องที่ประชาชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) ลดภาระค่าสาธารณูปโภค (ร้อยละ 67.3) (2) จ่ายเงินชดเชย/เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ (ร้อยละ 60.7) และ (3) ช่วยเหลือด้านค่าครองชีพ (ร้อยละ 58.7) 1.11 โครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ที่มีประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ (1) โครงการเราชนะ (ร้อยละ 76.2) (2) โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ร้อยละ 66.7) (3) มาตรการลดค่าน้ำ-ค่าไฟ (ร้อยละ 65.4) (4) โครงการคนละครึ่ง (ร้อยละ 61.2) และ (5) โครงการ ม. 33 เรารักกัน (ร้อยละ 43.3) 1.12 การลงทะเบียนผ่านระบบอินเทอร์เน็ตเพื่อใช้สิทธิมาตรการเยียวยาของรัฐบาล พบว่า ประชาชนร้อยละ 55.7 ไม่ประสบปัญหา ร้อยละ 17.6 ไม่เข้าข่ายรับสิทธิ/ไม่ได้ใช้งาน และร้อยละ 12.2 ประสบปัญหา เช่น การลงทะเบียนมีขั้นตอนยุ่งยาก/ซับซ้อน ไม่มีทักษะ/ลงทะเบียนเองไม่ได้ สัญญาณอินเทอร์เน็ตไม่ดี/ไม่ครอบคลุม และอุปกรณ์ที่มีอยู่ไม่ทันสมัย/ขาดประสิทธิภาพ 2. สสช. มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) ควรสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนเห็นความสำคัญในการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่กับคนในบ้าน เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ (2) ควรสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนทำงานที่บ้านและจัดการเรียนการสอนออนไลน์ให้กับนักเรียน/นักศึกษา พร้อมทั้งจัดหาอุปกรณ์ในการทำงาน/การเรียนการสอน และ WiFi ฟรี หรืออินเทอร์เน็ตราคาถูกให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ (3) ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์ (4) ควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับการแจ้งเรื่องร้องเรียน ร้องทุกข์ของประชาชน และ (5) ควรให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยไม่ควรกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการลงทะเบียนที่ยุ่งยากซับซ้อน 15. เรื่อง แนวทางการประเมินผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอดังนี้ 1. กรอบแนวทางการประเมินผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐเพื่อเชื่อมโยงระบบการประเมิน ?ส่วนราชการ? กับระบบการประเมิน ?ผู้บริหาร? โดยการประเมินหัวหน้าส่วนราชการในกำกับฝ่ายบริหารในมิติผลสัมฤทธิ์ (Performance) มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นผู้รวบรวมข้อมูล และในมิติด้านสมรรถนะ (Competency) มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. นำแนวทางที่ได้จากการศึกษาองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศเป็นกรอบในการประเมินสมรรถนะของข้าราชการพลเรือนสามัญให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนต่อไป 2. ให้นำกรอบแนวทางการประเมินผู้บริหารฯ ไปใช้กับผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐที่เป็นข้าราชการประเภทอื่นซึ่งอยู่ในกำกับของฝ่ายบริหารโดยอนุโลม และขอความร่วมมือให้หน่วยงานภาครัฐอื่นที่ไม่อยู่ในกำกับของฝ่ายบริหารนำกรอบแนวทางการประเมินผู้บริหารฯ ไปใช้โดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายหรือระเบียบปกติของหน่วยงานนั้น ๆ 3. ร่างแบบประเมินผู้บริหารหน่วยงานของรัฐและมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) ดำเนินการในรายละเอียด และประสานองค์กรกลางบริหารงานบุคคลให้ดำเนินการตามกรอบแนวทางการประเมินผู้บริหารฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป สาระสำคัญของเรื่อง สำนักงาน ก.พ. รายงานว่า 1. ก.พ. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ปี 2552 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญมาจนถึงปัจจุบัน (ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนัยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 มาตรา 76 วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติให้ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ประเมินผลการปฏิบัติราชการของผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้งและเลื่อนเงินเดือน) ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเกี่ยวกับการประเมินข้าราชการพลเรือนประเภทบริหารระดับสูงและการประเมินส่วนราชการระดับกระทรวงและระดับกรม รวมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงาน ป.ย.ป. และสำนักงาน ก.พ. ร่วมกันขับเคลื่อนตัวชี้วัดการปฏิรูปประเทศตามประเด็นการขับเคลื่อนของส่วนราชการและให้นำผลสัมฤทธิ์ของการขับเคลื่อนมาประกอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของหัวหน้าส่วนราชการด้วย 2. สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงาน ป.ย.ป. จึงได้ร่ววมพิจารณาและเห็นว่า การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องเชื่อมโยงการประเมินผู้ขับเคลื่อนยุทธศาสตนร์ คือ ?ผู้บริหารองค์กร? เข้ากับการประเมินองค์กรขับเคลื่อน คือ ?ส่วนราชการ? โดยมีข้อสังเกตสรุปได้ ดังนี้ 2.1 ประเด็นที่ใช้ในการประเมินผู้บริหารองค์การยังไม่สะท้อนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศเท่าที่ควร โดยที่ผ่านมาผลการประเมิน ?ผู้บริหารองค์การ? และผลการประเมิน ?ส่วนราชการ? ของบางหน่วยงานพบว่า ไม่เป็นในทิศทางเดียวกัน เช่น ผลการประเมินผู้บริหารองค์การมีคะแนนสูง แต่ผลการดำเนินงานของส่วนราชการมีคะแนนต่ำ ซึ่งอาจสะท้อนได้ว่า ประเด็นที่ใช้ในการประเมินผู้บริหารองค์การไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของผู้บริหารในการบริหารจัดการองค์การที่มีผลสัมฤทธิ์และนำไปสู่การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาประเทศได้อย่างชัดเจน 2.2 ในแต่ละปีจะประเมินผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า อธิบดีหรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ ทั้งในส่วนของการประเมินผู้บริหารองค์การของสำนักงาน ก.พ.ร. ตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย [สำนักงาน ก.พ. ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นการดำเนินการตามนัยคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ] และในส่วนของการประเมินผลการปฏิบัติราชการข้าราชการรายบุคคลตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ. กำหนด เพื่อใช้ประกอบการเลื่อนเงินเดือน จึงเป็นการทำงานที่มีลักษณะซ้ำซ้อนกัน ดังนั้น หากบูรณาการการประเมินผู้บริหารองค์การเข้ากับการประเมินผลการปฏิบัติราชการจะเป็นการลดภาระการดำเนินงานแก่ส่วนราชการ ทั้งนี้ ด้วยเหตุข้างต้นนี้ จึงจำเป็นต้องประสานเชื่อมโยงการประเมิน ?ส่วนราชการ? และ ?ผู้บริหารองค์การ? เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผลการประเมินผู้บริหารองค์การสะท้อนผลสัมฤทธิ์ขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรม 3. ปัจจุบันความคาดหวังของประชาชนที่มีต่อหน่วยงานภาครัฐเพิ่มสูงขึ้นและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งผู้บริหารองค์การจำเป็นต้องมีทักษะและสมรรถนะที่สามารถขับเคลื่อนองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้ ดังนั้น สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงาน ป.ย.ป. จึงได้ศึกษาทักษะและสมรรถนะที่จำเป็นของผู้นำในยุคปัจจุบันจากองค์กรชั้นนำในต่างประเทศและในประเทศ เช่น (1) สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum) (2) องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Co-operation and Development: OECD) และ (3) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยสมรรถนะที่จำเป็นของผู้บริหารองค์การ ครอบคลุม 5 ประเด็น ได้แก่ (1) ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และความรับผิดชอบต่อผลการดำเนินการ (2) การสื่อสารและการสร้างความผูกพัน (3) การเรียนรู้และพัฒนา (4) การปฏิรูป/ปรับเปลี่ยนราชการสู่อนาคต และ (5) การรักษาวินัย คุณธรรมและจริยธรรม 4. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้ประชุมร่วมกับเลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการ ก.พ.ร. และผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ย.ป. เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 มีประเด็นสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 4.1 ผลการประเมินผู้บริหารที่ผ่านมาสะท้อนข้อเท็จจริงของการประเมินองค์กรและสมรรถนะผู้บริหารที่ยังไม่เชื่อมโยงกัน นอกจากนี้ ควรสะท้อนเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่สำคัญ รวมทั้งควรปรับสมรรถนะของผู้บริหารให้ทันสมัยยิ่งขึ้น 4.2 แบบประเมินผู้บริหารเดิมมีรายละเอียดมากและมีความสลับซับซ้อน ทำให้ผู้ประเมินเกิดความสับสนและไม่ได้มีหลักฐานที่แสดงผลการดำเนินการที่ชัดเจน ทำให้ผู้ประเมินไม่สามารถจดจำผลงานที่เป็นรูปธรรมของผู้รับการประเมินได้ 4.3 ผู้บริการในหน่วยงานของรัฐทุกประเภทควรได้รับการประเมินในลักษณะเดียวกันโดยเฉพาะในเรื่องสมรรถนะ เพื่อกำกับให้แนวทางการปฏิบัติราชการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยควรให้ความสำคัญในมิติด้านคุณธรรม จริยธรรม และวินัยด้วย 5. สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงาน ป.ย.ป. ได้จัดทำกรอบแนวทางการประเมินผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้ตัวชี้วัดการประเมินผู้บริหารองค์การสามารถผลักดันการปฏิบัติภารกิจของหน่วยงานบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ สามารถขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นในระบบราชการมากยิ่งขึ้น และจัดทำร่างแบบประเมินผู้บริหารหน่วยงานของรัฐ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้พิจารณาให้ความเห็นชอบกรอบแนวทางและร่างแบบประเมินดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 และให้สำนักงาน ก.พ. เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 5.1 กรอบแนวทางการประเมินผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐ 5.1.1 กลุ่มเป้าหมาย 1) ผู้ประเมิน ได้แก่ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเจ้าสังกัด 2) ผู้รับการประเมิน คือ ผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการที่เป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า อธิบดีหรือเทียบเท่า จำนวน 153 ส่วนราชการ ผู้ว่าราชการจังหวัดจำนวน 76 จังหวัด และผู้บริหารของหน่วยงานภาครัฐที่เป็นข้าราชการประเภทอื่น ซึ่งอยู่ในกำกับของฝ่ายบริหาร (เช่น องค์การมหาชน) นอกจากนี้ อาจพิจารณารวมถึงหน่วยงานภาครัฐอื่นที่ไม่อยู่ในกำกับของฝ่ายบริหาร (เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ศาล และรัฐสภา) 5.1.2 มิติการประเมิน ประกอบด้วย ด้านผลสัมฤทธิ์ (Performance) ร้อยละ 70 และด้านสมรรถนะ (Competency) ร้อยละ 30 ซึ่งเป็นกรอบแนวทางการประเมินตามหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการที่ ก.พ. กำหนด ซึ่งใช้อยู่ในปัจจุบัน แต่ได้ปรับปรุงประเด็นการประเมินใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงและสามารถประยุกต์ใช้ร่วมกับหน่วยงานของรัฐประเภทอื่นได้ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ มิติการประเมิน ที่มาตัวชี้วัด/ ผู้ประเมิน 1.มิติด้านผลสัมฤทธิ์ (ค่าน้ำหนักร้อยละ 70) 1.1 นโยบายของรัฐบาล (Agenda) ภารกิจของส่วนราชการ (Function) 1) ผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาตร์ชาติ มติคณะรัฐมนตรี นโยบายสำคัญของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายเร่งด่วน 2) ผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศในประเด็นที่เกี่ยวข้อง 3) ผลการดำเนินงานตามนโยบายสำคัญที่เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกันหลายหน่วยงาน 4) ผลการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐาน งานประจำ งานตามหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก งานตามกฎหมาย กฎ หรือภารกิจในพื้นที่/ท้องถิ่น ภูมิภาค จังหวัด/กลุ่มจังหวัด 5) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดสากลที่วัดผลตามภารกิจของหน่วยงาน 6) ผลการพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัล 7) ผลการประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 1.2 วาระเร่งด่วนหรือภารกิจที่ถูกมอบหมายเป็นพิเศษ (Urgency/assigned Tasks) ผลการดำเนินงานในกรณีที่ได้รับการมอบหมายภารกิจเพิ่มเติมเป็นพิเศษจากนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลระหว่างกรอบการประเมิน เช่น กรณีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยกำหนดตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับวาระเร่งด่วนที่ต้องเผชิญ - การประเมินส่วนราชการโดยสำนักงาน ก.พ.ร. - สำนักงาน ก.พ.ร. รวบรวมผลการประเมิน (ในส่วนนี้ผู้ประเมินไม่ต้องประเมินเนื่องจากจะใช้ข้อมูลการประเมินส่วนราชการที่สำนักงาน ก.พ.ร. รวบรวมไว้) - ผู้บริหารส่วนราชการคัดเลือกตัวชี้วัด - ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน 2. มิติด้านสมรรถนะ (ค่าน้ำหนักร้อยละ 30) 2.1 การสื่อสารและการสร้างความผูกพัน (Communication & Engagement) ผู้รับการประเมินสามารถสื่อสาร ประสานงาน เพื่อถ่ายทอดเป้าหมาย แนวทางการทำงาน ส่งผลให้งานบรรลุผลสัมฤทธิ์ เกิดประสิทธิภาพ สร้างแรงสนับสนุนและความร่วมมือร่วมใจจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน 2.2 การเรียนรู้และพัฒนา (Learning & Development) ผู้รับการประเมินมีการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง พร้อมกับส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับ ให้มีการเรียนรู้และพัฒนาทั้งคุณภาพงานและคุณภาพชีวิตอย่างจริงจังต่อเนื่อง 2.3 การปฏิรูป/ปรับเปลี่ยนราชการสู่อนาคต (Transformation to the Future) ผู้รับการประเมินขับเคลื่อนภารกิจหรืองานบริการที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นทั้งในปัจจุบันและอนาคตผ่านการใช้ข้อมูลในเชิงลึกและการปรับแนวทางการดำเนินการที่ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กร 2.4 การรักษาวินัย คุณธรรม จริยธรรม (Disciplines, Moral & Ethics) ผู้รับการประเมินบริหารงาน ประพฤติปฏิบัติตน พร้อมกับส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานที่มุ่งสู่ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของการทำงานบนฐานของวินัย คุณธรรม และมาตรฐานทางจริยธรรม - เกณฑ์ประเมินสมรรถนะ* โดยสำนักงาน ก.พ. - ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ประเมิน หมายเหตุ : * สำนักงาน ก.พ. อยู่ระหว่างขั้นตอนการปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนสามัญและแบบประเมินสำหรับหัวหน้าส่วนราชการให้ครอบคลุมประเด็นที่ได้ศึกษาจากองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ ทั้งนี้ แนวทางการประเมินผู้บริหารฯ จะนำมาใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป 5.2 ร่างแบบประเมินผู้บริหารหน่วยงานของรัฐ สำหรับนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รวมถึงหน่วยงานภาครัฐประเภทอื่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ตามความเหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่ 1 สรุปผลการประเมิน โดยเป็นสรุปผลคะแนนในภาพรวมของการประเมิน จากส่วนที่ 2 สำหรับส่วนที่ 2 การประเมินแยกตามมิติ แบ่งเป็น 2 มิติ ได้แก่ (1) มิติด้านผลสัมฤทธิ์ (ร้อยละ 70) และ (2) มิติด้านสมรรถนะ (ร้อยละ 30) 16. เรื่อง ขอขยายเวลาดำเนินงานโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขยายระยะเวลาโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมโรคใบด่างมันสำปะหลังแบบครอบคลุมพื้นที่ จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2565 และอนุมัติปรับรายละเอียดค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกมันสำปะหลังสะอาดและทนทานต่อโรคใบด่าง ในอัตราลำละ 2 บาท และสามารถเบิกจ่ายค่าขนส่งท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดเพิ่มเติมได้ในกรณีมีการขนส่งท่อนพันธุ์จากแหล่งพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดข้ามจังหวัด โดยอัตราค่าขนส่งตามระยะทางเป็นไปตามอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนด สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้เบิกจ่ายภายในกรอบวงเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกมันสำปะหลังสะอาดและทนทานต่อโรคใบด่าง วงเงิน 400,000,000 บาท ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้เดิม ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ 17. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 4 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 4 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 รวม 14 จังหวัด จำนวน 1,434 โครงการ วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,753,782,278 บาท ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เพื่อให้จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ในฐานะหน่วยรับงบประมาณ เป็นผู้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามขั้นตอน และแนวทางที่เคยปฏิบัติต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยจะได้แจ้งให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะหน่วยรับงบประมาณรับทราบความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ตามผลพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 29/2564 ไปประกอบการดำเนินการตามขั้นตอน รวมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และยืนยันความพร้อมของโครงการ รวมถึงประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงศักยภาพและความสามารถในการใช้จ่ายความคุ้มค่า ประหยัด เป้าหมาย และประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตลอดจนปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาดำเนินการ และความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติต่อไป 18. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 5) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 5) ดังนี้ สาระสำคัญ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease (COVID-19)) (ฉบับที่ 5) มีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. แก้ไขนิยามคำว่า ?สถานพยาบาล? ในข้อ 1 แห่งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ให้ครอบคลุมทั้งสถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืนและสถานพยาบาลประเภทที่ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน 2. แก้ไขอัตราค่า COVID 19 Real time PCR ลำดับ 451 รหัสรายการ 36801C แห่งบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็น 2 ยีนส์ ราคา 2,250 บาท และ 3 ยีนส์ ราคา 2,550 บาท 3. กำหนดให้ใช้หมวดที่ 5 ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา และรายการที่ 551 และรายการที่ 552 ข้อ 12.8 ค่าบริการตรวจวินิจฉัยและทำหัตถการโดยแพทย์ หมวดที่ 12 ค่าบริการวิชาชีพ (แพทย์/เภสัชกร/พยาบาล/อื่น ๆ) แห่งบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ เฉพาะกรณีสถานพยาบาลที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ณ ที่พำนักของผู้ป่วย ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล 4. กำหนดให้เพิ่มเติมข้อความ ?รายการใดที่มีความจำเป็นต้องใช้กับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) กรณีสถานพยาบาลที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ณ ที่พำนักของผู้ป่วย ตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล แต่ไม่ปรากฏในรายการข้างต้น อนุโลมให้เบิกจ่ายตามโครงการ UCEP COVID หรือโครงการ UCEP แล้วแต่กรณี? เป็นข้อ 5 ของหมายเหตุท้ายบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 3) และ (ฉบับที่ 4) 5. กำหนดให้เพิ่มเติมข้อความ ?รายการที่ 612 และรายการที่ 613 หมวดที่ 7 ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา แห่งบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป จนถึงวันก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ และรายการที่ 614 และรายการที่ 615 หมวดที่ 7 ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป? เป็นข้อ 6 ของหมายเหตุท้ายบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 3) และ (ฉบับที่ 4) 6. กำหนดให้เพิ่มบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ อันได้แก่ หมวดที่ 3 ค่ายา จำนวน 415 รายการ หมวดที่ 5 ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา จำนวน 2 รายการ หมวดที่ 7 ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา จำนวน 4 รายการ หมวดที่ 8 ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา จำนวน 5 รายการ หมวดที่ 10 ค่าทำหัตการ จำนวน 17 รายการ หมวดที่ 11 ค่าบริการวิสัญญีจำนวน 7 รายการ หมวดที่ 12 ค่าบริการวิชาชีพ (แพทย์/เภสัชกร/พยาบาล/อื่น ๆ) จำนวน 36 รายการ เป็นบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 2) (ฉบับที่ 3) และ (ฉบับที่ 4) 7. กำหนดวันบังคับใช้กฎหมาย เป็น 4 ระยะเวลา ดังนี้ (1) กำหนดให้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ซึ่งได้แก่ ข้อ 2 แห่งหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขนี้ รายการที่ 614 และรายการที่ 615 หมวดที่ 7 ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป (2) กำหนดให้ข้อ 1 แห่งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ หมวดที่ 5 ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา หมวดที่ 8 ค่าตรวจวินิจฉัยและรักษาทางรังสีวิทยา รายการที่ 620 ถึงรายการที่ 635 หมวดที่ 10 ค่าทำหัตถการ หมวดที่ 11 ค่าบริการวิสัญญี รายการที่ 551 ถึงรายการที่ 584 ข้อ 12.8 ค่าบริการตรวจวินิจฉัย และทำหัตถการโดยแพทย์ หมวดที่ 12 ค่าบริการวิชาชีพ (แพทย์/เภสัชกร/พยาบาล/อื่น ๆ) แห่งบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป (3) กำหนดให้รายการที่ 612 และรายการที่ 613 หมวดที่ 7 ค่าตรวจวินิจฉัยทางเทคนิคการแพทย์และพยาธิวิทยา แห่งบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป จนถึงวันก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (4) กำหนดให้หมวดที่ 3 ค่ายา และรายการที่ 612 หมวดที่ 10 ค่าทำหัตถการรายการที่ 569 และรายการที่ 570 ข้อ 12.3 ค่าบริการทางการพยาบาลทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและการไหลเวียน หมวดที่ 12 ค่าบริการวิชาชีพ (แพทย์/เภสัชกร/พยาบาล/อื่น ๆ) แห่งบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป 8. กำหนดให้การใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 2) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 3) และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 4) ก่อนวันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้และให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ 19. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 33/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คณะกรรมการฯ) เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 33/2564 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) และการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ดังนี้ 1. อนุมัติให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการหอผู้ป่วยวิกฤต ICU NEGATIVE PRESSURE COVID19 จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2564 เป็น สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 2. อนุมัติให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า โดยเป็นการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 - สิงหาคม 2564 เป็น ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2563 - ธันวาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 3. อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โดยเป็นการปรับแผนการดำเนินกิจกรรมการจ้างงานเพิ่มเติมทดแทนในพื้นที่ที่ยังจ้างได้ต่ำกว่าเป้าหมาย ระยะเวลา 4 เดือน (เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564) จำนวน 20,373 อัตราต่อเดือน ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว ทั้งนี้ เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำกับดูแลการจ้างงานในแต่ละพื้นที่ภายใต้กรอบจำนวนเป้าหมายการจ้างงานที่มีความสัมพันธ์กับปริมาณงานที่กำหนดไว้ เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี นอกจากนี้ จะต้องปฏิบัติตามมาตรการและข้อกำหนดของภาครัฐในการควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่ดำเนินการด้วย 4. อนุมัติให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาการผลิตและใช้โปรตีนจากแมลงเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ โดยเป็นการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 เป็นสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และเปลี่ยนแปลงรายการใช้จ่ายงบประมาณ จากค่าสาธารณูปโภค และค่าวัสดุสำนักงาน เป็นค่าวัสดุภายในโรงเรือน ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว นอกจากนี้ เห็นควรให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น สามารถถัวจ่ายในรายการค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของโครงการฯ 5. อนุมัติให้กรมส่งเสริมการเกษตร เปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่และเชื่อมโยงตลาด โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 เป็นวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 6. มอบหมายให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำกับหน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ เร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการในระบบ eMENSCR รวมถึงเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 7. รับทราบโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 5 รวม 11 จังหวัด จำนวน 1,013 โครงการ กรอบวงเงินรวม 3,484,270,381 บาท โดยให้ใช้จ่ายเงินจากงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ เร่งปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 และแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายงบกลาง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 โดยเคร่งครัด ทั้งนี้ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบ ดำเนินการตามข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2564 และครั้งที่ 32/2564 อย่างเคร่งครัด 8. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบถนนในพื้นที่ (กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ตามข้อเสนอของจังหวัดที่ไม่ได้รับการสนับสนุน พิจารณาดำเนินการปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อดำเนินการติดตั้งโคมไฟถนน เพื่อเพิ่มแสงสว่างและเสริมสร้างความปลอดภัยในพื้นที่ทั่วไปตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ต่างประเทศ 20. เรื่อง การเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย (WorldSkills Asia) และการจัดส่งเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย (WorldSkills Asia Competition) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย (WorldSkills Asia) และหลักการดำเนินการจัดส่งเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย (WorldSkills Asia Competition) ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ สาระสำคัญ กระทรวงแรงงาน (รง.) โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้เป็นสมาชิกองค์การการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ (WorldSkills International) และดำเนินการจัดส่งเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานนานาชาติ (WorldSkills Competition) ตั้งแต่ปี 2536 และจัดส่งเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน (WorldSkills ASEAN Competition) ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา ดังนั้น เพื่อรักษาบทบาทของประเทศไทยในเวทีการแข่งขันฝีมือเยาวชนระดับภูมิภาคและเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงศักยภาพในการประกอบอาชีพและสร้างชื่อเสียงให้ประเทศไทยในระดับที่กว้างขวางขึ้น จึงอนุมัติให้กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย (WorldSkills Asia) และอนุมัติในหลักการดำเนินการจัดส่งเยาวชนเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย (WorldSkills Asia Competition) ซึ่งคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว โดยการเข้าเป็นสมาชิก WorldSkills Asia จะมีผลผูกพันต่อกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เช่น ได้รับสิทธิในการจัดส่งเยาวชนเข้าร่วม WorldSkills Asia Competition ต้องส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่ การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน เป็นต้น โดยในปีที่จัดการแข่งขัน กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะดำเนินการคัดเลือกเยาวชนผู้ชนะการแข่งขันฝีมือแรงงานแห่งชาติเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันฝีมือแรงงานเอเชีย และในปีที่ไม่ได้จัดการแข่งขัน กรมพัฒนาฝีมือแรงงานจะส่งผู้แทนทางการ ผู้แทนเทคนิคและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่ 21. เรื่อง การแต่งตั้งผู้สอบบัญชีขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (ประจำปี 2564 ? 2568) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการแต่งตั้งบริษัท M/S Baker Tilly Monteiro Heng PLT เป็นผู้สอบบัญชี (External Auditor) ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย (องค์กรร่วมฯ) [Malaysia ? Thai Joint Agreement: MTJA] ประจำปี 2564 และให้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้สอบบัญชีขององค์กรร่วมฯ ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2564 จนถึงปี 2568 ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ความตกลงว่าด้วยธรรมนูญการจัดตั้งองค์กรร่วมไทย - มาเลเซียฯ พศ. 2533 และพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย - มาเลเขีย พ.ศ. 2533 มีสาระสำคัญกำหนดให้รัฐบาลทั้งสองประเทศรับภาระค่าใช้จ่ายและแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากองค์กรร่วมฯ โดยเท่าเทียมกัน รวมถึงจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรร่วมฯ เท่า ๆ กัน ภายใต้กองทุนองค์กรร่วมฯ ทั้งนี้ องค์กรร่วมฯ จะต้องจัดทำงบประมาณรายปีเสนอรัฐบาลทั้งสองฝ่ายล่วงหน้า โดยกำหนดให้ปีงบประมาณเริ่มในเดือนมกราคมของทุกปี และจะต้องมีการตรวจสอบและรายงานผลการสอบบัญชีโดยผู้สอบบัญชีทุกปี 2. ในคราวประชุมคณะกรรมการองค์กรร่วมฯ ครั้งที่ 134 และการประชุมสมัยสามัญประจำปี ครั้งที่ 29 (Annual General Meeting Of MTJA) เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบแต่งตั้งบริษัท M/S Baker Tilly Monteiro Hens PLT เป็นผู้สอบบัญชีขององค์กรร่วมฯ ประจำปี 2564 และต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2564 ? 2568 แทนผู้สอบบัญชีรายปัจจุบัน คือ บริษัท M/S PricewaterhouseCoopers ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีขององค์กรร่วมฯ ตั้งแต่ปี 2559 - 2563 เพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Corporate Governance) ตามคำแนะนำของธนาคารกลางมาเลเซีย และให้นำเสนอขอความเห็นชอบจากรัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซียต่อไป 22. เรื่อง การเสนองบประมาณและแผนการดำเนินงานประจำปี 2565 ขององค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบงบประมาณ จำนวน 4,100,000 ดอลลาร์สหรัฐ และแผนการดำเนินงานประจำปี 2565 ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย (องค์กรร่วม) ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ สาระสำคัญ 1. งบประมาณปี 2565 รวมทั้งสิ้นจำนวน 4,100,000 ดอลลาร์สหรัฐ มีรายละเอียดเปรียบเทียบกับงบประมาณปี 2564 ดังนี้ 1. ที่มาของงบประมาณประจำปี 2565 จำนวน 4,100,000 ดอลลาร์สหรัฐ องค์กรร่วมฯ ได้เสนอขอใช้เงินที่ได้รับจากการขายปิโตรเลียมส่วนที่เป็นกำไรในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 จำนวน 3,190,725 ดอลลาร์สหรัฐ และงบประมาณเหลือจ่ายของปี 2563 จำนวน 909,275 ดอลลาร์สหรัฐ 2. แผนการดำเนินงานในปี 2565 ประกอบด้วย ด้านการสำรวจ ด้านการพัฒนาปิโตรเลียม และด้านการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย ดังนี้ แปลง ผู้ดำเนินงาน ตัวอย่างกิจกรรมสำคัญ A-18 Carigali Hess Operating Company Sdn. Bhd. ? สำรวจและประมวลผลข้อมูลคลื่นไหวสะเทือน 3 มิติ ในพื้นที่ West Flank ? เจาะหลุมปิโตรเลียมในแหล่ง Bumi Deep Phrase I จำนวน 5 หลุม และเจาะหลุม BMA-15 ? ประสานงานกับบริษัท ทรานส์ไทย - มาเลเซีย (TTM) เพื่อให้การผลิตก๊าซเป็นไปตามสัญญาการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ ? ปรับปรุงหลุมผลิต และกระบวนการผลิต B-17 และ C-19 Carigali ? PTTEPI Operating Company Sdn. Bhd ? มีแผนเจาะหลุมปิโตรเลียมใหม่ จำนวน 20 หลุม (แท่นหลุมผลิต TPB จำนวน 12 หลุมและแท่นหลุมผลิต MDG จำนวน 8 หลุม) ? ศึกษาการพัฒนาแหล่งน้ำมัน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการศึกษาก่อนการออกแบบวิศวกรรม (Front End Engineering Design: FEED) และข้อเสนอโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมัน ? สร้างแบบจำลอง 3 มิติ จากการรายงานผลการเจาะหลุมที่แท่นหลุมผลิต Tapi-B (TPB) และแท่นหลุมผลิต Muda-G (MDG) ? ก่อสร้างแท่นหลุมผลิตบนบกและแนวเครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติ สำหรับการพัฒนาแหล่งในระยะที่ 5 จำนวน 2 แท่น ? รักษาระดับอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติที่เรียกรับสูงสุด 275 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน B-17-01 ? ดำเนินการด้านวิศวกรรม การจัดซื้อจัดจ้าง และการก่อสร้างของแท่นหลุมผลิต Andalas-C (ACD) และแท่นหลุมผลิต Jengka-C (JKC) ภายในไตรมาสที่ 4 ของปี 2565 ? ดำเนินการขายและขนถ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว ? ซ่อมแซมหลุมผลิตเดิมและเจาะผนังหลุมผลิตเพิ่ม เพื่อรักษาอัตราการผลิตของหลุม การดำเนินงานขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย (องค์กรร่วมฯ) ได้รับการยอมรับจากชุมชนระหว่างประเทศว่า เป็นการแสวงหาผลประโยชน์ด้านปิโตรเลียมร่วมกันและแก้ไขข้อพิพาทอย่างสันติ นอกจากนี้จากการประเมินศักยภาพปิโตรเลียม พบว่าในพื้นที่ขององค์กรร่วมฯ จะยังคงมีปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่สามารถสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้ไทยและมาเลเซียต่อไปอีกไม่น้อยกว่า 20 ปี และยังก่อให้เกิดประโยชน์ทางอ้อมสู่ประชาชนและชุมชนในพื้นที่ใกล้เคียงของทั้งสองประเทศด้วย อาทิ ส่งเสริมให้มีการใช้วัตถุดิบและการจ้างแรงงาน กระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นานาประเทศในการแก้ไขปัญหาเรื่องเขตพื้นที่ทับซ้อนในทะเลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ กฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย ? มาเลเซีย พ.ศ. 2533 ข้อ 3 กำหนดให้การเสนองบประมาณประจำปีขององค์กรร่วมฯ ต้องเสนอต่อรัฐบาลแต่ละฝ่าย เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงว่าด้วยธรรมนูญและเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดตั้งองค์กรร่วมฯ ฉบับลงนาม เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2533 ก่อนเริ่มต้นปีงบประมาณไม่น้อยกว่าห้าเดือน 23. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนงานคณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี พ.ศ. 2564 ? 2568 (ASEAN Committee on Women Workplan 2021 - 2025) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนงานคณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี พ.ศ. 2564 ? 2568 (ASEAN Committee on Women Workplan 2021 - 2025) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรีของประเทศไทยมีหนังสือแจ้งความเห็นชอบรับรองแผนงานคณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี พ.ศ. 2564 ? 2568 (ASEAN Committee on Women Workplan 2021 - 2025) ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว [จะรับรองร่วมกันในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี (ASEAN Ministerial Meeting on Women - AMMW) ครั้งที่ 4 ในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนตุลาคม 2564 และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 ระหว่างวันที่ 26 ? 28 ตุลาคม 2564] ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง พม. รายงานว่า 1. ความเสมอภาคระหว่างเพศและการส่งเสริมสิทธิสตรีและเด็กหญิงเป็นประเด็นสำคัญที่ประชาคมอาเซียนให้ความสำคัญและขับเคลื่อนให้ก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตามปัญหาความเหลื่อมล้ำยังคงมีอยู่และการจัดการกับประเด็นดังกล่าวยังเป็นประเด็นที่ท้าทายในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด -19) สตรีและเด็กหญิงที่อาศัยอยู่ในครัวเรือนที่ยากจนและพื้นที่ชนบทมักเผชิญกับความขาดแคลนและด้อยโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม 2. คณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี (ASEAN Committee on Women - ACW) เป็นกลไกความร่วมมือด้านสตรีในระดับภูมิภาคอาเซียนเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าของสตรีและความเสมอภาคระหว่างเพศ ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งมีหน้าที่ในการส่งเสริมสิทธิสตรีและความเสมอภาคระหว่างเพศของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยคณะกรรมการ ACW จะจัดทำแผนงานทุก ๆ 5 ปี เพื่อเสนอให้แก่ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี (ASEAN Ministerial Meeting on Women - AMMW) ให้ความเห็นชอบและรับรอง โดยล่าสุด คณะกรรมการ ACW ได้จัดทำแผนงานคณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี พ.ศ. 2564 ? 2568 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 2.1 วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการพัฒนาประเด็นการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศในระดับภูมิภาคอาเซียนของคณะกรรมการ ACW ในการส่งเสริมความก้าวหน้าของสตรีและความเสมอภาคระหว่างเพศในภูมิภาคอาเซียน 2.2 กระบวนการในการจัดทำแผน ดำเนินการผ่านกระบวนการหารืออย่างมีส่วนร่วมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน กลไกรายสาขาต่าง ๆ ของอาเซียน หุ้นส่วน องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนในการดำเนินงานของอาเซียน และได้รับการรับรอง ACW แล้วเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564 2.3 วิสัยทัศน์/เป้าหมาย มุ่งดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2568 ซึ่งกำหนดให้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมเป็น ?สังคมที่มีส่วนร่วมและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและครอบคลุม ยั่งยืน ยืดหยุ่น และพลวัต? โดยพิมพ์เขียวของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASCC) ปี 2568 มุ่งปฏิบัติเพื่อบรรลุความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังของสตรีและเด็กหญิงทุกคน ตลอดจนส่งเสริมสิทธิสตรีและเด็กหญิงซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการเชิงกลยุทธ์เพื่อประกันความครอบคลุม มีส่วนร่วม และเป็นประโยชน์ต่อประชาชน ประกอบด้วยวิสัยทัศน์และเป้าหมาย 7 ด้าน ดังนี้ 1) ข้อมูลและสถิติจำแนกเพศ ส่งเสริมให้มีการวิเคราะห์โดยใช้ข้อมูลจำแนกเพศและสถิติหญิงชาย 2) การบูรณาการมิติเพศภาวะ เร่งให้มีการบูรณาการประเด็นความเสมอภาคระหว่างเพศในภาคส่วนต่าง ๆ ของอาเซียน 3) มิติเพศภาวะกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ ส่งเสริมสตรีและเด็กหญิงให้มีส่วนร่วมในการจัดการและบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากภัยพิบัติและการเปลี่นแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมทั้งเตรียมพร้อมรับมือกับภัยพิบัติ และมีส่วนร่วมในการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการฟื้นฟู 4) มุมมองเพศภาวะเพื่อความปลอดภัยและการคุ้มครองสตรีและเด็กหญิง คุ้มครองและเสริมพลังให้กับสตรีและเด็กหญิง 5) สตรี สันติภาพ และความมั่นคง ส่งเสริมให้สตรีมีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างสันติภาพและความมั่นคงในอาเซียน 6) การเสริมพลังทางเศรษฐกิจและอนาคตการทำงานของสตรี การเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจและการทำงานที่มีคุณค่าของสตรีทุกคนในที่ทำงาน ตลาด ชุมชน และพื้นที่ดิจิทัล 7) มุมมองมิติเพศภาวะกับการกำกับดูแลและภาวะผู้นำ เพิ่มจำนวนสตรีและเสริมสร้างความเป็นผู้นำของสตรี ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการปกครองทุกระดับ 24. เรื่อง ขอความเห็นชอบปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนาคตระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอแลนด์เหนือ (สหราชอาณาจักร) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนาคตระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอแลนด์เหนือ (สหราชอาณาจักร) (Joint Declaration on Future Economic Cooperation between the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) and the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland (UK)) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างปฏิญญาร่วมฯ ข้างต้น ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบร่างปฏิญญาร่วมดังกล่าวตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ สาระสำคัญของร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนาคตระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอแลนด์เหนือ (สหราชอาณาจักร) วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนร่วมกัน ที่จะนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่น และครอบคลุม สามารถฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว และยั่งยืน โดยมีสาขาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ รวม 11 ด้าน ได้แก่ (1) การฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 (2) การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานอาเซียน-สหราชอาณาจักร (3) ความเป็นเลิศด้านกฎระเบียบ (4) นวัตกรรมดิจิทัล (5) บริการทางการเงิน (6) การเติบโตอย่างยั่งยืน (7) โครงสร้างพื้นฐาน (8) ทักษะและการศึกษา (9) การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (10) การส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจของสตรี และ (11) การเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน 25. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 76 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างเอกสารท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 76 ทั้งนี้หากมีการแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณาและดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ร่างเอกสารท่าทีไทยฉบับนี้จัดทำขึ้นสำหรับคณะผู้แทนไทยพิจารณาใช้ในการเข้าร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 76 โดยมีความสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศ และส่งเสริมให้ประชาคมระหว่างประเทศตระหนักถึงบทบาทของประเทศไทยในฐานะสมาชิกที่ดีของสหประชาชาติ ที่ผ่านมาประเทศไทยมีบทบาทที่แข็งขันและสร้างสรรค์ในการร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ รวมทั้งแสดงจุดยืนและท่าทีของประเทศไทยในประเด็นต่าง ๆ ระดับโลกที่มีความสำคัญและเป็นข้อห่วงกังวลของประชาคมระหว่างประเทศอย่างครบถ้วน เช่น สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม การพัฒนา สตรี เด็ก และผู้พิการ สิทธิมนุษยชน และความมั่นคง 2. ร่างเอกสารท่าทีไทยฯ ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ ตามระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 76 ที่ประเทศไทยให้ความสำคัญในแต่ละหมวด รวมทั้งสิ้น 9 หมวด ได้แก่ 1) หมวด A การส่งเสริมการพัฒนาและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติและผลการประชุมสหประชาชาติที่เกี่ยวข้อง 2) หมวด B การรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ 3) หมวด C การพัฒนาทวีปแอฟริกา 4) หมวด D การส่งเสริมสิทธิมนุษยชน 5) หมวด E การประสานงานอย่างมีประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม 6) หมวด F การส่งเสริมความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ 7) หมวด G การลดอาวุธ 8) หมวด H การควบคุมยาเสพติด การป้องกันอาชญากรรม และการต่อต้านการก่อการร้ายระหว่างประเทศทุกรูปแบบ และ 9) หมวด I การบริหารองค์การและอื่น ๆ 26. เรื่อง ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาติเพื่อฉลองในโอกาสครบรอบ 20 ปี การรับรองปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเดอร์บัน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยร่วมรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับของสมัชชาสหประชาชาติเพื่อฉลองในโอกาสครบรอบ 20 ปี การรับรองปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเดอร์บัน ทั้งนี้หากมีการแก้ไขร่างปฏิญญาดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณาและดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาดังกล่าว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญ 1. เน้นย้ำท่าทีต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ ความเกลียดชังชาวต่างชาติและการขาดความอดทนอดกลั้นในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ตามปฏิญญาและแผนปฏิบัติการเดอร์บัน โดยอ้างถึงกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบและหลักการไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง 2. ยอมรับ (acknowledge) และแสดงความเสียใจต่อความทุกข์ยาก (suffering) ซึ่งเป็นผลจากการค้าทาส การล่าอาณานิคม การเหยียดผิว และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และแสดงความห่วงกังวลต่อการเหยียดเชื้อชาติที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยครอบคลุมทั้งผู้มีเชื้อสายแอฟริกาและเชื้อสายเอเชีย รวมถึงชนกลุ่มน้อย ทางเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และภาษาอื่น ๆ อาทิ กลุ่มบุคคลที่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุผลด้านศาสนา ผู้หญิง เด็ก ผู้ลี้ภัย ผู้โยกย้ายถิ่นฐาน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เยาวชน และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ และแสดงความห่วงกังวลต่อผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ไม่ได้สัดส่วนระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม 3. แสดงความมุ่งมั่นร่วมกันในการประกันสิทธิและเสรีภาพและเน้นย้ำว่ารัฐเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการต่อต้านการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ รวมทั้งเรียกร้องให้ทุกรัฐ สหประชาชาติ และองค์การระหว่างประเทศ รวมถึงผู้เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ 27. เรื่อง ร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 39 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างปฏิญญาร่วมบันดาร์เสรีเบกาวันด้านความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน (2) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 39 (3) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานบวกสาม ครั้งที่ 18 (4) ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 15 (5) ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป. ลาว ไทย มาเลเซียและสิงคโปร์ ครั้งที่ 2 และ (6) ร่างถ้อยแถลงระดับสูงของความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างอาเซียนกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ให้การรับรองในเอกสารสำหรับการประชุมดังกล่าวกับรัฐมนตรีพลังงานของกลุ่มประเทศสมาชิกได้ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารสำหรับการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 ฉบับ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงพลังงานและคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถบังเกิดผลเป็นรูปธรรมสำหรับความร่วมมือด้านพลังงานภายใต้กรอบดังกล่าวในช่วงการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานและการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องในระหว่างวันที่ 15 ? 16 กันยายน พ.ศ. 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกลตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ และถ้อยแถลงร่วมฯ จำนวน 6 ฉบับ สรุปได้ ดังนี้ 1. ร่างปฏิญญาร่วมบันดาร์เสรีเบกาวันด้านความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน เช่น 1) ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน และการส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน 2) เน้นย้ำการกระจายแหล่งพลังงาน การจัดหา และการเชื่อมโยงพลังงานในระดับภูมิภาค การปรับตัวและฟื้นตัวให้พร้อมรับสภาวะที่เปลี่ยนแปลง รวมถึงการฟื้นฟูจากภาวะการหยุดชะงักและเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ 3) ส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในลักษณะที่ครอบคลุมและเป็นธรรมเพื่อส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อประโยชน์ของประชาชนในปัจจุบันและอนาคต ฯลฯ 2. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 39 เช่น 1) ส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงทางพลังงาน การเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน การดึงดูดการลงทุน และการสนับสนุนด้านเทคนิค ตลอดจนการสนับสนุนภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการใช้พลังงานที่สะอาดขึ้น และการใช้พลังงานคาร์บอนต่ำในภูมิภาค 2) ส่งเสริมการพัฒนานโยบายและมาตรการที่เข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของโครงการด้านพลังงานระดับชาติ ระดับทวิภาคีและพหุภาคีช่วยส่งเสริมความยืดหยุ่นด้านพลังงานและความมั่นคงด้านพลังงานในทุกมิติในภูมิภาค 3) เน้นย้ำว่าความสำเร็จในการบรรลุสู่วาระแห่งความมั่นคงและการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานในระยะยาวของอาเซียน และมุ่งหวังที่จะเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและเสาหลักต่าง ๆ ภายใต้ประชาคมอาเซียน ฯลฯ 3. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานบวกสาม ครั้งที่ 18 เช่น 1) สนับสนุนการแสวงหามาตรการร่วมกันในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยการเร่งกระบวนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานด้วยการสร้างความยืดหยุ่นและความมั่นคงทางพลังงาน 2) สนับสนุนการพัฒนาและปรับใช้เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้อาเซียนก้าวไปสู่เส้นทางของการบรรลุเป้าหมายด้านราคาพลังงานที่เหมาะสม มีความเชื่อถือได้ ยั่งยืนและทันต่อสมัยสำหรับทุกคน ฯลฯ 4. ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 15 เช่น 1) ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภาคพลังงาน โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานเข้ากับความพยายามในการฟืนฟูหลังจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการส่งเสริมการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) ส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานของเอเชียตะวันออกอย่างต่อเนื่อง โดยการสำรวจแนวโน้ม อุปสรรค และโอกาสที่ส่งผลต่อผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน 3) ส่งเสริมความร่วมมือพลังงานทางเลือก การประหยัดพลังงาน และเทคโนโลยีด้านประสิทธิภาพพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ฯลฯ 5. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป. ลาว ไทย มาเลเซียและสิงคโปร์ ครั้งที่ 2 เช่น ส่งเสริมการค้าพลังงานไฟฟ้าข้ามพรมแดน จำนวน 100 เมกะวัตต์ จาก สปป.ลาว ไปยังสาธารณรัฐสิงคโปร์ผ่านประเทศไทยและมาเลเซีย ภายใต้โครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป.ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ (Lao PDR-Thailand-Malaysia-Singapore Power Integration Project: LTMS-PIP) โดยใช้โครงข่ายเดิมที่มีอยู่เป็นระยะเวลาสองปี ระหว่างปี 2565 ? 2566 2) ส่งเสริมการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจไฟฟ้า สปป.ลาว (Electricite Du Laos: EDL) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้ามาเลเซีย (Tenega Nasional Berhad: TNB) และผู้นำเข้าไฟฟ้าของสิงคโปร์เพื่อการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การเริ่มต้นการค้าไฟฟ้าข้ามพรมแดนภายใต้โครงการ LTMS-PIP โดยเร็วต่อไป ฯลฯ 6. ร่างถ้อยแถลงระดับสูงของความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างอาเซียนกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ เช่น 1) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA) ให้มีความครอบคลุมในทุกด้านของระบบพลังงาน ทั้งในด้านเชื้อเพลิงและเทคโนโลยีทั้งหมด รวมทั้งความช่วยเหลือด้านเทคนิค และการวิเคราะห์ในหัวข้อสำคัญ อาทิ ความมั่นคงด้านพลังงาน การค้าพลังงาน พลังงานทดแทน และความเชื่อถือได้ด้านไฟฟ้า เป็นต้น 2) ส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานและความเป็นพันธมิตรเพื่อบรรลุความมั่นคงด้านพลังงาน การเข้าถึงพลังงาน ความสามารถในการจ่ายได้ และความยั่งยืนสำหรับทุกคนในภูมิภาคอาเซียนและสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน 3) ส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดในแผนและยุทธศาสตร์ด้านพลังงานระดับชาติและในระดับภูมิภาค โดยคำนึงถึงบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ ฯลฯ แต่งตั้ง 28. เรื่อง การบรรจุและแต่งตั้งผู้ไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรีกลับเข้ารับราชการ (กระทรวงการคลัง) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอบรรจุและแต่งตั้ง นายวโรทัย โกศลพิศิษฐ์กุล ผู้ไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรีกลับเข้ารับราชการ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นายพาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ ที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้ 1. นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า 2. นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้ 1. นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม 2. นายบรรจง สุกรีฑา ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 3. นายวิษณุ ทับเที่ยง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 4. นายนิรันดร์ ยิ่งมหิศรานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอรับโอน พลเอก สุพจน์ มาลานิยม ข้าราชการทหาร ตำแหน่ง เสนาธิการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย กระทรวงกลาโหม มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 33. เรื่อง การแต่งตั้งประธานร่วมฝ่ายไทยในองค์กรร่วมไทย ? มาเลเซีย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นายคุรุจิต นาครทรรพ ให้ดำรงตำแหน่งประธานร่วมฝ่ายไทยในองค์กรร่วมไทย ? มาเลเซีย ต่ออีกวาระหนึ่ง และสมาชิกอื่น (ฝ่ายไทย) อีก 6 คน ในองค์กรร่วมไทย ? มาเลเซีย ซึ่งเป็นข้าราชการระดับหัวหน้าส่วนราชการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้คงองค์ประกอบเดิมตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2541 (เรื่อง การแต่งตั้งประธานร่วมและสมาชิกฝ่ายไทยในองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย) โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 34. เรื่อง การสรรหาบุคคลเพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ แทนตำแหน่งที่ว่าง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอรายชื่อ พันตำรวจโท วันนพ สมจินตนากุล ให้เป็นบุคคลที่คณะรัฐมนตรีสรรหาและเสนอรายชื่อเพื่อเข้ารับการคัดเลือกโดยคณะกรรมการคัดเลือก แทนตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ท. ที่ว่างลง 35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอโอน/ย้ายข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 7 ราย ดังนี้ 1. โอน นายประภาศ คงเอียด อธิบดี (นักบริหารสูง) กรมบัญชีกลาง ไปดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารสูง) กรมธนารักษ์ 2. โอน นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการ (นักบริหารสูง) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ไปดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารสูง) กรมบัญชีกลาง 3. โอน นายพรชัย ฐีระเวช รองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง ไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ (นักบริหารสูง) สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง 4. ย้าย นางสาวชุณหจิต สังข์ใหม่ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง 5. โอน นายธีรัชย์ อัตนวานิช ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ) ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง 6. โอน นายธิบดี วัฒนกุล ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพสามิต ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง 7. ย้าย นางชลิดา พันธ์กระวี ที่ปรึกษาการคลัง (นักวิชาการคลังทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 36. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง โดยย้ายสับเปลี่ยนหมุนเวียน จำนวน 3 ราย ดังนี้ 1. นายปฐม เฉลยวาเรศ อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมทางหลวงชนบท ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง 2. นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมท่าอากาศยาน ไปดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมทางหลวงชนบท 3. นายปริญญา แสงสุวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง ไปดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมท่าอากาศยาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 37. เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอการแต่งตั้งข้าราชการ จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายภุชพงค์ โนดไธสง รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 2. นางปิยนุช วุฒิสอน ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 กันยายน 2564