http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (5 ตุลาคม 2564) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเครื่องหมายถาวรของเรือไทย พ.ศ. ?. 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. ?. 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี กระทรวง พาณิชย์ พ.ศ. ?. 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงแบ่ง ส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ เศรษฐกิจ ? สังคม 5. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 เรื่อง การพักชำระหนี้ ต้นเงิน พร้อมดอกเบี้ยโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย อย่างครบวงจร ปี 2559 - 2561 และปี 2562 - 2564 และขอขยายระยะเวลา ชำระคืนหนี้เงินกู้ โครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่าง ครบวงจร ปี 2559 ? 2561 6. เรื่อง ข้อเสนอหลักการในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 7. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2564 8. เรื่อง ขออนุมัติผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดย เด็ดขาดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 เพื่อก่อสร้างโครงการ อาคารอัดน้ำบ้านหินดาด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด 9. เรื่อง แนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล 10. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2564 เรื่อง การจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพิ่มเติม 11. เรื่อง การร่วมลงทุน (Venture Capital) กับผู้ประกอบการภาคการเกษตรไทยของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 12. เรื่อง รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตาม
มาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2564)
13. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการ นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 กรกฎาคม 2564) 14. เรื่อง ขออนุมัติการสนับสนุนการจัดโครงการ The Michelin Guide Thailand ประจำปี พ.ศ. 2565 ? 2569 เป็นระยะเวลา 5 ปีงบประมาณ 15. เรื่อง การพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์
จุฬาภรณราชวิทยาลัย
16. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม
ครั้งที่ 35/2564
17. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2564 ต่างประเทศ 18. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างขอบเขตการดำเนินงานรางวัลด้านสวัสดิการสังคม และการพัฒนาดีเด่นแห่งอาเซียน (Terms of Reference of ASEAN Outstanding Social Welfare and Development Awards : TOR of AOSWADA) 19. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมระดับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริม ปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง 20. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เอเปค ครั้งที่ 27 21. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนา ที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ASEAN-China Joint Statement on Enhancing Green and Sustainable Development Cooperation) 22. เรื่อง ท่าทีไทยและร่างปฏิญญาคุนหมิง (Kunming Declaration) สำหรับการประชุม สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการ ประชุมที่เกี่ยวข้องช่วงที่ 1 แต่งตั้ง 23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี) 24. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) 26. เรื่อง ขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 27. เรื่อง การแต่งตั้งผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นกรรมการในคณะกรรมการการเคหะ แห่งชาติ 28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 ? กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเครื่องหมายถาวรของเรือไทย พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดเครื่องหมายถาวรของเรือไทย พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง ที่ คค. เสนอ เป็นการปรับปรุงรูปแบบการทำเครื่องหมายถาวรสำหรับเรือไทย โดยเฉพาะเรือไทยที่เดินทะเลระหว่างประเทศ และเรือที่เดินในประเทศ รวมทั้งเรืออื่นให้มีความเหมาะสม เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (International Convention for the Safety of Life at Sea, 1974 (SOLAS), as amended) และสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับการตรวจประเมินภาคบังคับจากองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO Member State Audit Scheme : IMSAS) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง กำหนดให้เจ้าของเรือไทยจัดให้มีเครื่องหมายถาวรที่เห็นได้ชัดเจนบนตัวเรือแต่ละประเภท ดังนี้ 1. เรือกลและเรือที่มิใช่เรือกลใช้เดินเรือระหว่างประเทศ ให้จัดทำชื่อเรือและชื่อเมืองท่าขึ้นทะเบียนเรือ หมายเลขทะเบียนเรือ อัตรากินน้ำลึก ไว้ที่ตัวเรือ และกำหนดตัวอักษร และหมายเลขอื่นตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล ค.ศ. 1974 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (International Convention for the Safety of Life at Sea, 1974 (SOLAS), as amended) โดยให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรม เจ้าท่าประกาศกำหนด 2. เรือกลและเรือที่มิใช่เรือกลใช้เดินในประเทศ ให้จัดทำชื่อเรือและหมายเลขทะเบียนเรือ ไว้ที่ ตัวเรือ 3. เรือประมง ให้จัดทำเครื่องหมายถาวร แล้วแต่กรณี และต้องมีอักษร ?ป? ในลักษณะไม่กลับ ด้านอักษรและมีขนาดเหมาะสมกับขนาดของเรือบริเวณหัวเรือภายนอกทั้งสองข้างด้วย 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ พน. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับ การประกอบกิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติให้ผู้ประกอบการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ ต้องดำเนินการตามกฎกระทรวงฉบับนี้ เพื่อประโยชน์แก่การป้องกันหรือระงับเหตุเดือดร้อน รำคาญ หรือความเสียหาย หรืออันตราย ที่จะมีผลกระทบต่อบุคคล สัตว์ พืช ทรัพย์ หรือสิ่งแวดล้อมจากการประกอบกิจการดำเนินการตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กำหนดให้การออกแบบสถานีบริการก๊าซธรรมชาติและระบบที่เกี่ยวข้อง การทดสอบและตรวจสอบระบบที่เกี่ยวข้อง การรับ การจ่าย การถ่ายเทก๊าซธรรมชาติ ต้องกระทำโดยผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาต 2. กำหนดให้สถานีบริการก๊าซธรรมชาติต้องมีแผนผังแสดงตำแหน่งที่ตั้ง แบบก่อสร้าง แบบระบบ ที่เกี่ยวข้อง แบบแสดงคุณลักษณะของถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบก๊าซธรรมชาติ เครื่องทำไอก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ และตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ รายการคำนวณความมั่นคงแข็งแรงของสิ่งก่อสร้าง และกำหนดระยะของสิ่งก่อสร้างที่คลาดเคลื่อนไปจากแบบก่อสร้าง 3. กำหนดให้สถานีบริการก๊าซธรรมชาติต้องมีระยะห่างจากเขตสถานที่ที่กำหนด กำหนดลักษณะและระยะของจุดเริ่มต้นของทางเข้าและทางออกของสถานีบริการ และระยะปลอดภัยของพื้นที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบก๊าซธรรมชาติ เครื่องทำไอก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ และตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ 4. กำหนดมาตรฐานของพื้นที่กักเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบก๊าซธรรมชาติ เครื่องทำไอก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ ตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ และระบบท่อจ่าย ก๊าซธรรมชาติ รวมถึงมาตรฐานของการติดตั้งระบบที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน 5. กำหนดให้ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้ภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติต้อง มีการทดสอบและตรวจสอบก่อนการใช้งาน การทดสอบตามวาระและการทดสอบกรณีที่ได้รับความเสียหาย 6. กำหนดให้ถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติที่นำมาใช้ภายในสถานีบริการก๊าซธรรมชาติต้องเป็นถังที่ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการถังขนส่งก๊าซธรรมชาติ และห้ามนำถังที่หมดอายุการใช้งานตามมาตรฐานการออกแบบมาใช้งาน โดยต้องติดตั้งถังเก็บและจ่ายก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบก๊าซธรรมชาติ เครื่องทำไอก๊าซธรรมชาติ เครื่องสูบอัดก๊าซธรรมชาติ และตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ บนโครงสร้างที่มั่นคงแข็งแรง 7. กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติต้องควบคุมไม่ให้มี การกระทำที่อาจก่อให้เกิดเปลวไฟหรือประกายไฟในเขตสถานี 8. กำหนดให้สถานีบริการก๊าซธรรมชาติต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงระบบปิดฉุกเฉินสำหรับ ก๊าซธรรมชาติ หรือของเหลวอื่นหรือก๊าซอื่นที่ติดไฟได้และเครื่องส่งเสียงดังเมื่อก๊าซรั่ว และเครื่องตรวจจับการเกิดไฟ 9. กำหนดวิธีการยกเลิกการประกอบกิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 100 ปี กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ กค. เสนอว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2463 กรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ได้ถูกยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวง มีชื่อว่ากระทรวงพาณิชย์ ทำหน้าที่พัฒนาเศรษฐกิจไทยให้มีประสิทธิภาพ เสรี และเป็นธรรม ให้การคุ้มครองพิทักษ์ผลประโยชน์แก่ผู้บริโภค ส่งเสริมการส่งออกและปกป้องการค้าของประเทศ เพื่อให้การพาณิชย์ก้าวไกลอย่างมั่นคงและยั่งยืน ต่อมา กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) จึงได้ขอความร่วมมือกรมธนารักษ์ กค. จัดทำเหรียญกษาปณ์ ที่ระลึก 100 ปี พณ. ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ท่าน ให้แผ่ไพศาลทั้งภายในและนานาประเทศ และเก็บไว้เป็นที่ระลึกเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ความสำเร็จ พัฒนาการและผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของ พณ. ไปยังหน่วยงาน องค์กร และประชาชนทั่วไป ซึ่ง กค. ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดทำเหรียญที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว และได้รับพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามรูปแบบที่ได้นำความกราบบังคมทูลฯ แล้ว จึงเห็นควรจัดทำเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท ออกใช้เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี พณ. ในวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2563 สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวมาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 100 ปี พณ. 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับดังกล่าว ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวรวม 2 ฉบับให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง ทส. โดยตัดหน้าที่และอำนาจของกองแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐออกจากสำนักงานปลัดกระทรวง ทส. เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี 2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทส. โดยตัดหน้าที่และอำนาจของกองบริหารจัดการที่ดินออกจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทส. เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เศรษฐกิจ ? สังคม 5. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 เรื่อง การพักชำระหนี้ต้นเงิน พร้อมดอกเบี้ยโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร ปี 2559 - 2561 และปี 2562 - 2564 และขอขยายระยะเวลาชำระคืนหนี้เงินกู้ โครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร ปี 2559 ? 2561 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอดังนี้ 1. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563 ที่ได้เคยมีมติเห็นชอบพักชำระหนี้ ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยของโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร (โครงการฯ) ปี 2559 - 2561 และปี 2562 ? 2564 งวดชำระหนี้ที่ถึงกำหนดระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 เป็นระยะเวลา 1 ปี โดยเห็นชอบขยายระยะเวลาการพักชำระหนี้ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยของโครงการฯ ปี 2559 - 2561 และปี 2562 - 2564 เดิม งวดชำระหนี้ที่ถึงกำหนดระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564 เป็น งวดชำระหนี้ที่ถึงกำหนดระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน 2563 - 30 กันยายน 2565 ซึ่งกรอบวงเงินงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยที่เคยได้รับการจัดสรรตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 จำนวน 922.50 ล้านบาท และเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 จำนวน 599.43 ล้านบาท มีเพียงพอ 2. ขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้เงินกู้ของโครงการฯ ปี 2559 ? 2561 ดังนี้ 2.1 กู้เงินเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย เดิม กำหนดชำระคืนเสร็จสิ้นไม่เกิน 4 ปี เป็น กำหนดชำระคืนเสร็จสิ้นไม่เกิน 6 ปี แต่ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2567 2.2 กู้เงินเพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร เดิม กำหนดชำระคืนเสร็จสิ้นไม่เกิน 6 ปี เป็น กำหนดชำระคืนเสร็จสิ้นไม่เกิน 8 ปี แต่ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2569 ซึ่งกรอบวงเงินงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยที่เคยได้รับการจัดสรรตามที่คณะรัฐมนตรีได้ มีมติอนุมัติไว้ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 จำนวน 922.50 ล้านบาท มีเพียงพอ สาระสำคัญของเรื่อง อก. รายงานว่า 1. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564 ธ.ก.ส. ได้สนับสนุนสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรนให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยที่มาขอกู้ภายใต้โครงการฯ ปี 2559 ? 2561 และปี 2562 ? 2564 ดังนี้ โครงการฯ เป้าหมายวงเงินสินเชื่อ ผลการดำเนินงาน วงเงินสินเชื่อ จำนวนเกษตรกร ปี 2559 ? 2561 9,000 ล้านบาท (ปีละ 3,000 ล้านบาท) 3,615.64 ล้านบาท (ร้อยละ 40.17 ของเป้าหมาย) 1,651 ราย ปี 2562 - 2564 6,000 ล้านบาท (ปีละ 2,000 ล้านบาท) 3,136.24 ล้านบาท (ร้อยละ 52.27 ของเป้าหมาย) 1,564 ราย 2. เหตุผลความจำเป็นที่ต้องขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ 2.1 เกษตรกรชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ยของโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร ปี 2559 - 2561 และปี 2562 - 2564 งวดชำระหนี้ที่ถึงกำหนดระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 เป็นระยะเวลา 1 ปี (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2563) เนื่องจากเกษตรกรชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่ มีงวดกำหนดเวลาการชำระหนี้ภายในวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบขยายระยะเวลาการพักชำระหนี้ต้นเงินพร้อมดอกเบี้ย เป็น งวดชำระหนี้ที่ถึงกำหนดระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2563 - 30 กันยายน 2565 2.2 สภาวะความแห้งแล้งติดต่อกันส่งผลกระทบต่อปริมาณอ้อยที่ลดลง ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและยังมีภาระที่ต้องชำระหนี้จากโครงการฯ ปี 2559 - 2561 และปี 2562 - 2564 จำเป็นต้องได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนเพื่อให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพต่อไป ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการขอขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ของโครงการฯ ปี 2559 ? 2561 เป็นระยะเวลา 2 ปี [เช่นเดียวกับโครงการฯ ปี 2562 - 2564 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (10 พฤศจิกายน 2563) ให้ขยายระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ไปแล้ว] 3. คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 23มิถุนายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ อก. เสนอคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ด้วยแล้ว 4. อก. ได้รับแจ้งจาก ธ.ก.ส. ว่า ธ.ก.ส. ยินดีให้ความช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยและได้แจ้งประมาณการกรอบวงเงินดอกเบี้ยที่ต้องใช้ในการดำเนินโครงการตามที่ อก. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในครั้งนี้ ซึ่งกรอบวงเงินงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยที่เคยได้รับการจัดสรรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2559 และเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2562 ยังคงมีเพียงพอ โดยมีรายละเอียด ดังนี้ โครงการฯ ประมาณการกรอบวงเงินดอกเบี้ย ตามข้อเสนอของ อก. ในครั้งนี้ กรอบวงเงิน ที่ได้รับการจัดสรรไว้เดิม ปี 2559 ? 2561 [มติคณะรัฐมนตรี (5 กรกฎาคม 2559)] 415.32 ล้านบาท 922.50 ล้านบาท ปี 2562 ? 2564 [มติคณะรัฐมนตรี (11 กรกฎาคม 2562)] 583.32 ล้านบาท 599.43 ล้านบาท 6. เรื่อง ข้อเสนอหลักการในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบในหลักการการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เสนอ 2. มอบหมายให้สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ร่วมกันจัดทำร่างกฎหมายตามหลักการตามข้อ 1 โดยให้รับความเห็นของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนากฎหมายตรวจพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วนต่อไป สำนักงาน ป.ย.ป. เสนอว่า 1. โดยที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน พ.ศ. 2563 กำหนดให้มีคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการพิจารณาให้ความเห็น คำปรึกษา หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายหรือกฎที่มี ผลใช้บังคับอยู่ หรือการเสนอกฎหมายหรือกฎใหม่ เพื่อให้การดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติในระยะเร่งด่วนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และให้เสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป ในการนี้ คณะกรรมการได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายเพื่อสนับสนุนสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลโดยมีหน้าที่ศึกษา วิเคราะห์ และพิจารณาจัดทำความเห็นหรือข้อเสนอแนะด้านการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล 2. คณะอุนุกรรมการปฏิรูปกฎหมายเพื่อสนับสนุนสังคมเศรษฐกิจดิจิทัลได้ดำเนินการศึกษาสภาวะแวดล้อมด้านกฎหมายเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคมเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ โดยเห็นว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 เป็นกฎหมายที่วางหลักพื้นฐานในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้ว แต่ยังไม่สามารถสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีได้อย่างแท้จริง จึงได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนพิจารณาจัดทำข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าว และได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องจากการประเมินผลสัมฤทธิ์ของสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาประกอบการพิจารณา รวมทั้งศึกษาแนวโน้มของพัฒนาการด้านกฎหมายเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ในต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับใช้กับระบบกฎหมายไทย 3. ในคราวประชุมคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมมีมติมอบหมายให้สำนักงาน ป.ย.ป. เสนอข้อเสนอหลักการในการปรับปรุงกฎหมายด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการวมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์จัดทำร่างกฎหมาย แล้วเสนอคณะกรรมการพัฒนากฎหมายตรวจพิจารณาก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งภายใน 140 วัน นับแต่วันที่มี มติคณะรัฐมนตรี ซึ่งนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป สาระสำคัญของข้อเสนอหลักการฯ หลักการในการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ สรุปได้ดังนี้ 1. หลักการที่ 1 วัตถุประสงค์และขอบเขตของกฎหมาย ขยายขอบเขตการใช้บังคับกฎหมายให้ครอบคลุมการทำธุรกรรมทุกประเภท ทั้งการทำธุรกรรมระหว่างบุคคล และระหว่างบุคคลกับรัฐ ภายใต้หลักการการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม (fair and equitable access to technology) และการไม่สนับสนุนเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่งเป็นพิเศษ (technological neutrality) 2. หลักการที่ 2 การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ กำหนดเป็นข้อสันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่า การยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นที่น่าเชื่อถือ และหากเป็นกรณีที่ดำเนินการผ่านระบบที่หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ให้การรับรองไว้แล้วว่าเป็นระบบที่น่าเชื่อถือ ผู้ใช้งานจะไม่มีภาระในการพิสูจน์การยืนยันตัวตน 3. หลักการที่ 3 การแสดงเจตนาทางอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มเติมข้อสันนิษฐานทางกฎหมายเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของการแสดงเจตนาในกรณีที่ดำเนินการด้วยวิธีการหรือผ่านระบบที่หน่วยงานที่รับผิดชอบได้กำหนดหรือให้การรับรองไว้แล้ว 4. หลักการที่ 4 นิติกรรมสัญญา เพิ่มเติมหลักการเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การมอบอำนาจทางอิเล็กทรอนิกส์ รองรับนิติกรรมสัญญาที่เกิดจากกลไกหรือเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (smart contract) การยกเว้นอากรแสตมป์สำหรับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์บางประเภท เช่น การมอบอำนาจ การออกตั๋วเงิน การออกใบหุ้น และกำหนดข้อสันนิษฐานให้นิติกรรมสัญญา หรือธุรกรรมที่ทำขึ้นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีที่หน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดหรือรับรองไว้แล้วจะได้รับข้อสันนิษฐานทางกฎหมายว่าให้เป็นนิติกรรมที่ได้จัดทำขึ้นโดยเทคโนโลยีที่น่าเชื่อถือ 5. หลักการที่ 5 การลงนามทางอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มเติมหลักการการลงนามทางอิเล็กทรอนิกส์ต้องมีขั้นตอนการแสดงเจตนาที่ชัดเจนเพิ่มเติมจากการยืนยันตัวตนทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยอาจใช้รูปแบบใบรับรอง หรือวิธีการอื่นใดที่น่าเชื่อถือและสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงในภายหลังได้ กำหนดข้อสันนิษฐานทางกฎหมายสำหรับการลงนามทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เทคโนโลยีที่หน่วยงานที่รับผิดชอบให้การรับรองแล้ว และให้เอกสารที่มีลายมือชื่อทางอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้เป็นพยานหลักฐานในชั้นศาลได้เช่นเดียวกับวัตถุพยาน 6. หลักการที่ 6 ตราสารเปลี่ยนมืออิเล็กทรอนิกส์ กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับตราสารเปลี่ยนมือที่จัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องและรองรับกฎหมายแม่แบบว่าด้วยตราสารเปลี่ยนมืออิเล็กทรอนิกส์ของคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศ (UNICTRAL Model Law on Electronic Transferable Record) 7. หลักการที่ 7 หลักฐานอิเล็กทรอนิกส์และการระงับข้อพิพาท กำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูลการยืนยันตัวตนหรือเอกสารหลักฐานอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะต้องจัดเก็บและผู้ใช้บริการสามารถร้องขอได้ภายในระยะเวลา 10 ปี โดยให้ถือเป็นเอกสารต้นฉบับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หากผู้ให้บริการไม่ดำเนินการอาจถูกหน่วยงานที่รับผิดชอบประกาศแจ้งเตือนเป็นระบบเทคโนโลยีที่ไม่น่าเชื่อถือ 8. หลักการที่ 8 การรับรองเทคโนโลยีที่น่าเชื่อถือ ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบกำหนดมาตรฐานของเทคโนโลยีที่น่าเชื่อถือหรือรับรองเทคโนโลยีที่ใช้งานอยู่แล้วให้เป็นที่น่าเชื่อถือ ทั้งนี้ ต้องมีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่หน่วยงานกลางกำหนด 9. หลักการที่ 9 บทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานที่รับผิดชอบกฎหมาย ทบทวนบทบาทและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนในอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน เช่น พระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติการบริหารงานและ การให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 7. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชเสนอดังนี้ 1. รับทราบสรุปมติคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 2. เห็นชอบมาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measure: SSG)1 ภายใต้ความตกลงการเกษตรขององค์การการค้าโลก (WTO) และความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (AFTA) สำหรับสินค้ามะพร้าว ปี 2564 สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชรายงานว่า ในคราวประชุมคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติสรุปได้ ดังนี้ 1. การบริหารการนำเข้ามะพร้าว พิกัดอัตราศุลกากร 0801.12.002 พิกัดอัตราศุลกากร 0801.19.102 และพิกัดอัตราศุลกากร 0801.19.902 ตามกรอบความตกลง AFTA ปี 2564 ช่วงที่สอง (เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564)3 1.1 เห็นชอบการบริหารการนำเข้ามะพร้าวโดยใช้ผลการรับซื้อผลผลิตมะพร้าวในประเทศของผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวที่มีคุณสมบัติและเป็นผู้มีสิทธินำเข้า ตั้งแต่วันที่ 2 มกราคม - 6 สิงหาคม 2564 มาพิจารณาจัดสรรปริมาณนำเข้าให้แก่ผู้มีสิทธินำเข้าในอัตรา 1 : 2.5 (นำเข้า 1 ส่วน ต่อการรับซื้อมะพร้าวในประเทศ 2.5 ส่วน) 1.2 เห็นชอบการจัดสรรปริมาณการนำเข้ามะพร้าวให้แก่ผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวที่มีคุณสมบัติและเป็นผู้มีสิทธินำเข้า จำนวน 15 ราย ปริมาณรวม 78,477 ตัน ทั้งนี้ การนำเข้าต้องเป็นไปตามประกาศกรมการค้าต่างประเทศ 1.3 มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชแจ้งรายชื่อผู้ประกอบการแปรรูปมะพร้าวที่มีคุณสมบัติและเป็นผู้มีสิทธินำเข้ามะพร้าว จำนวน 15 ราย ให้กรมการค้าต่างประเทศดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 2. มาตรการ SSG ภายใต้ความตกลงการเกษตรของ WTO และความตกลง AFTA สำหรับสินค้ามะพร้าว พิกัดอัตราศุลกากร 0801.12.00 พิกัดอัตราศุลกากร 0801.19.10 และพิกัดอัตราศุลกากร 0801.19.90 ปี 2564 2.1 เห็นชอบการใช้มาตรการ SSG ซึ่งในปี 2564 มีปริมาณ Trigger Volume 4 ที่ 311,235 ตัน (คำนวณจากปริมาณการนำเข้ามะพร้าวย้อนหลังเฉลี่ย 3 ปี) 2.2 เห็นชอบให้กรมศุลกากรจัดเก็บอากรสำหรับสินค้ามะพร้าวที่นำเข้ามาในประเทศไทยรวมกันเกินกว่าปริมาณ Trigger Volume ในอัตราที่เพิ่มขึ้น ดังนี้ ประเภทความตกลง อัตราการเก็บอากรตามปกติ อัตราการเก็บอากร เมื่อปริมาณการนำเข้าเกินกว่าปริมาณ Trigger Volume การนำเข้ามะพร้าวภายใต้ความตกลง WTO นอกโควตา ร้อยละ 54 ร้อยละ 72 การนำเข้ามะพร้าวภายใต้ความตกลง AFTA ร้อยละ 0 หมายเหตุ อัตราการเก็บอากรเมื่อปริมาณการนำเข้าเกินกว่าปริมาณ Trigger Volume เป็นอัตราเดียวกับที่กำหนดไว้เมื่อปี 2563 2.3 เห็นชอบแนวทางการปฏิบัติสำหรับมาตรการ SSG ดังนี้ 2.3.1 กรมศุลกากรเสนอร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเก็บอากรศุลกากรตามมาตรการปกป้องพิเศษ ตามความตกลงการเกษตรขององค์การการค้าโลก และความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน สำหรับสินค้ามะพร้าว พ.ศ. ?. เพื่อกำหนดให้อธิบดีกรมศุลกากรประกาศกำหนดวันเริ่มใช้มาตรการ SSG จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยให้เสียอากรในอัตราตามราคาร้อยละ 72 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ (ขณะนี้อยู่ระหว่างกระทรวงการคลังดำเนินการยกร่างประกาศฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป) 2.3.2 กรมศุลกากรดำเนินการส่งข้อมูลการนำเข้ามะพร้าวให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรทราบเป็นรายสัปดาห์เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาในการแจ้งเตือนเมื่อมีการนำเข้ามะพร้าวถึงปริมาณ Trigger Volume ซึ่งหากปริมาณการนำเข้าถึงปริมาณ Trigger Volume แล้ว ให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืชแจ้งไปยังกรมศุลกากรเพื่อดำเนินการจัดเก็บอากรในอัตราที่เพิ่มขึ้น 2.3.3 จัดส่งประกาศตามข้อ 2.3.1 รวมทั้งปริมาณการนำเข้าสินค้าที่ถูกดำเนินการตามมาตรการ SSG ให้กับกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเพื่อแจ้ง WTO ต่อไป 2.3.4 หากนำเข้ามะพร้าวเข้ามาก่อนวันที่กำหนดให้ใช้มาตรการ SSG แต่ยังไม่ได้จัดทำใบขนสินค้าขาเข้า ให้จัดเก็บอากรในอัตราเดิมสำหรับกรณีเรือลอยลำ สินค้าที่นำเข้ามาตั้งแต่วันที่กำหนดให้เริ่มใช้มาตรการ SSG ให้ผู้นำเข้าชำระอากรในอัตราใหม่ แต่หากพิสูจน์ได้ว่าสินค้านั้นมีการส่งออกจากท่าเรือต้นทาง และมีการทำสัญญาระหว่างผู้ส่งและผู้รับไว้ก่อนหน้าวันที่กำหนดใช้มาตรการ SSG ให้ยกเว้นการขึ้นอากรตามมาตรการ SSG และให้ผู้นำเข้าสามารถขอคืนอากรในส่วนที่ชำระเกินไว้ได้ 2.4 มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอมาตรการ SSG และให้กรมศุลกากรเสนอ ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การเก็บอากรศุลกากรตามมาตรการปกป้องพิเศษ ตามความตกลงการเกษตรขององค์การการค้าโลก และความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน สำหรับสินค้ามะพร้าว พ.ศ. ?. ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในคราวเดียวกัน 1มาตรการปกป้องพิเศษ (Special Safeguard Measure: SSG) คือ มาตรการป้องกันการนำเข้าสินค้าที่เพิ่มขึ้นภายใต้ความตกลงการเกษตรของ WTO ที่ให้สิทธิแก่ประเทศสมาชิกในการขึ้นภาษีรายการสินค้าเกษตรบางรายการ (ไทยสงวนสิทธิไว้จำนวน 23 รายการ) ซึ่งพิจารณาได้จากปริมาณการเข้ามาของสินค้าเทียบกับ Trigger Volume หรือราคาสินค้าที่นำเข้ามาต่ำกว่าราคาอ้างอิง โดยในส่วนสินค้ามะพร้าวได้เริ่มกำหนดมาตรการ SSG เป็นครั้งแรกในปี 2562 อย่างไรก็ตามไม่ได้มีการใช้มาตรการดังกล่าวเนื้องจากประเมินแล้วว่าปริมาณการนำเข้ามะพร้าวตามมาตรการฯ จะไม่เกินปริมาณ Trigger Volume จึงไม่ได้มีการออกประกาศกระทรวงการคลังเพื่อใช้บังคับมาตรการดังกล่าวในปี 2562 2พิกัดอัตราศุลกากร 0801.12.00 คือ มะพร้าวผลทั้งกะลา พิกัดอัตราศุลกากร 0801.19.10 คือ มะพร้าวผลอ่อน และพิกัดอัตราศุลกากร 0801.19.90 คือ มะพร้าวผลอื่น ๆ 3 ช่วงเวลาให้นำเข้ามะพร้าวสำหรับผู้ที่ได้รับการจัดสรรปริมาณการนำเข้าโควตา ให้สามารถนำเข้าได้ 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 วันที่ 1มกราคม - สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ และช่วงที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน - 31 ธันวาคม ของแต่ละปี ทั้งนี้ ผู้มีสิทธินำเข้าต้องเป็นนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้ามะพร้าวกับกรมการค้าต่างประเทศเป็นรายปี 4 ปริมาณการนำเข้าสินค้าเกษตรตามแนวทางในมาตรการ SSG โดยใช้ปริมาณเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา หากปริมาณสินค้าที่นำเข้าเกินกว่า Trigger Volume ประเทศผู้นำเข้าจะสามารถขึ้นภาษีเพื่อชะลอปริมาณการนำเข้าได้ 8. เรื่อง ขออนุมัติผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยเด็ดขาดตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 เพื่อก่อสร้างโครงการอาคารอัดน้ำบ้านหินดาด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการขออนุมัติผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 เพื่อใช้ประโยชน์ในเขตพื้นที่ป่าชายเลน บ้านหินดาด หมู่ที่ 6 ตำบลบางปิด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เนื้อที่ 1 ไร่ 1 งาน 64 ตารางวา เพื่อดำเนินโครงการอาคารอัดน้ำบ้านหินดาด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ของกรมชลประทาน โดยได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) แล้ว ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง การขออนุมัติผ่อนผันยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยเด็ดขาด เพื่อก่อสร้างโครงการอาคารอัดน้ำบ้านหินดาด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในช่วงฤดูแล้ง และปัญหาน้ำเค็มไหลเข้าพื้นที่การเกษตร เป็นการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 วันที่ 23 กรกฎาคม 2534 วันที่ 22 สิงหาคม 2543 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 ซึ่งโครงการดังกล่าวเคยมีผู้ร้องเรียนต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยผู้ตรวจการแผ่นดินได้ดำเนินการตรวจสอบ และมีความเห็นและวินิจฉัยเรื่องนี้เป็นที่ยุติแล้ว รวมทั้งจะมีการดำเนินการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำจากราษฎรที่เกี่ยวข้อง (ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรผู้ปลูกข้าวและพืชยืนต้นและผู้ประกอบอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ) เพื่อบริหารจัดการเพื่อให้การใช้น้ำเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการขอความเห็นชอบจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2559 โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไม่ขัดข้องให้กรมชลประทานเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน โดยเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ยกเว้นแล้ว ให้เสนอเรื่องต่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อขออนุญาต ทำประโยชน์ในเขตป่าชายเลนโดยดำเนินการตามขั้นตอนและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป โครงการอาคารอัดน้ำบ้านหินดาด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด มีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด วัตถุประสงค์ - เพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำสำหรับช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร (โดยป้องกันไม่ให้น้ำเค็มไหลเข้ามาใกล้พื้นที่) ดังนี้ (1) พื้นที่ชุมชนผลไม้ยืนต้นไร่นาสวนผสม จำนวน 188 ไร่ (2) พื้นที่นาข้าวในฤดูฝน จำนวน 420 ไร่ (3) พื้นที่ปลูกพืชอายุสั้นให้ผลผลิตเร็วในช่วงฤดูแล้ง (พืชหลังการทำนา) จำนวน 100 ไร่ (4) พื้นที่นากุ้ง สัตว์น้ำ จำนวน 250 ไร่ (โดยได้รับน้ำที่ควบคุมโดยประตูปิดเปิดน้ำของโครงการ) - บรรเทาความเดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและช่วงฝนทิ้งช่วง - เพื่อเพิ่มผลผลิตให้แก่เกษตรกรทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ให้มีรายได้เพิ่มขึ้น - เพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุนไหลเข้าคลองบางกระดาน - ก่อสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กใช้เป็นทางสัญจรและลำเลียงผลผลิตทางการเกษตร ที่ตั้งโครงการ ที่ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 6 บ้านหินดาด ตำบลบางปิด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด 9. เรื่อง แนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้ 1. ให้ความเห็นชอบ (1) กรณีการจัดตั้งคณะกรรมการ ทั้งคณะกรรมการตามกฎหมายและคณะกรรมการตามคำสั่งของฝ่ายบริหาร ให้ดำเนินการตามคำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การใช้ระบบคณะกรรมการในกฎหมาย โดยเคร่งครัด (2) กรณีการตรวจสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานของคณะกรรมการ หากเป็นคณะกรรมการตามกฎหมาย มอบหมายให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายเป็นผู้ประเมินทุกปี ส่วนคณะกรรมการตามคำสั่งของฝ่ายบริหาร มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. จัดทำตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการดังกล่าว โดยประเมินทุกรอบระยะเวลา และหากไม่ผ่านการประเมินให้ยุบเลิกคณะกรรมการดังกล่าวเสีย (3) ไม่ควรกำหนดให้คณะกรรมการที่จัดตั้งตามคำสั่งของฝ่ายบริหารนั้นทำงานปกติประจำ การกำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลการดำเนินการของคณะกรรมการตามคำสั่งของฝ่ายบริหาร ให้กำหนดตัวชี้วัดที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรม (Innovation) ตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน (Sustainability) และตัวชี้วัดด้านคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของประชาชน (Better Life) ด้วย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติต่อไป 2. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ สคก. เสนอว่า 1. ปัจจุบันมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามกฎหมายและตามคำสั่งของฝ่ายบริหารขึ้นจำนวนมาก และสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้รัฐต้องพิจารณาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารราชการ โดยเฉพาะการทำงานในระบบคณะกรรมการให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งระบบคณะกรรมการมีการใช้ 2 รูปแบบ ได้แก่ คณะกรรมการตามกฎหมาย และคณะกรรมการตามคำสั่งของฝ่ายบริหาร โดยการใช้ระบบคณะกรรมการนั้น ก่อให้เกิดประโยชน์ในการบริหารราชการแผ่นดิน เนื่องจากเป็นการนำความรู้ ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่หลากหลายของผู้ร่วมเป็นกรรมการมาปรับใช้ในการกำหนดนโยบาย หรือแก้ไขปัญหา ซึ่งเหมาะกับกรณีที่จำเป็นต้องระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ หรือเพื่อให้เกิดการใช้ดุลพินิจให้เหมาะสม แต่ไม่เหมาะที่จะใช้กับการดำเนินงานที่เป็นงานในลักษณะปกติประจำ (routine) เพราะจะทำให้เกิดความล่าช้า เป็นภาระด้านงบประมาณ และอาจกำหนดตัวบุคคลผู้รับผิดชอบโดยตรงได้ยาก 2. กรณีการใช้คณะกรรมการตามกฎหมาย สคก. ได้ดำเนินการตรวจพิจารณาร่างกฎหมายให้เป็นไปตามคำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การใช้ระบบคณะกรรมการในกฎหมาย เพื่อให้เนื้อหาของ ร่างกฎหมายมีการใช้ระบบคณะกรรมการเท่าที่จำเป็น 3. กรณีการใช้คณะกรรมการตามคำสั่งของฝ่ายบริหาร ยังไม่มีกฎเกณฑ์การจัดตั้งที่ชัดเจน จึงทำให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตามคำสั่งของฝ่ายบริหารขึ้นเป็นจำนวนมากและทำให้เกิดความล่าช้า เป็นภาระด้านงบประมาณ และขาดผู้รับผิดชอบโดยตรง 4. การประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานของคณะกรรมการยังไม่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน 5. ดังนั้น สคก. จึงขอเสนอแนวทางการใช้ระบบคณะกรรมการเพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติต่อไป 10. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 2/2564 เรื่อง การจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอ ผลการประชุม กพอ. ครั้งที่ 2/2564 เรื่อง การจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจเพิ่มเติม ดังนี้ สาระสำคัญของเรื่อง สกพอ. รายงานว่า 1. จากข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2563 เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) มีพื้นที่เขตส่งเสริมฯ เพื่อรองรับการประกอบกิจการในภาคอุตสาหกรรม และการค้าและบริการเพียง 15,836 ไร่ ซึ่งคาดว่าจะรองรับการลงทุนได้เพียง 5 ปี ดังนั้น เพื่อให้สามารถรองรับการลงทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษของประเทศ และเพื่อให้เป็นไปตามมติ กพอ. จึงต้องมีการประกาศเขตส่งเสริมฯ เพิ่มเติม 2. กพอ. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบการจัดตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมฯ ตามที่ สกพอ. เสนอ ดังนี้ 2.1 เห็นชอบการจัดตั้งเขตส่งเสริมฯ เพื่อกิจการอุตสาหกรรมรูปแบบนิคมอุตสาหกรรม1 เพิ่มเติม จำนวน 5 แห่ง โดยมีพื้นที่โครงการทั้งสิ้นประมาณ 6,884.42 ไร่ และพื้นที่รองรับการประกอบกิจการประมาณ 5,098.56 ไร่ เป้าหมายการลงทุนภาคอุตสาหกรรมประมาณ 280,772.23 ล้านบาท ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2564 - 2573) ประกอบด้วย นิคมอุตสาหกรรม พื้นที่โครงการ อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รองรับ พื้นที่จังหวัดชลบุรี 3 แห่ง 1. โรจนะแหลมฉบัง ตำบลตะเคียนเตี้ย อำเภอบางละมุง (พื้นที่ประมาณ 698.89 ไร่) - ยานยนต์สมัยใหม่ - อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ - การบินและโลจิสติกส์ 2. โรจนะหนองใหญ่ - ตำบลห้างสูง อำเภอหนองใหญ่ - ตำบลหนองไผ่แก้ว อำเภอบ้านบึง (พื้นที่ประมาณ 1,501.43 ไร่) 3. เอเชีย คลีน - ตำบลหนองอิรุณ อำเภอบ้านบึง - ตำบลห้างสูง อำเภอหนองใหญ่ (พื้นที่ประมาณ 978.49 ไร่) - อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ - ยานยนต์สมัยใหม่ - การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ พื้นที่จังหวัดระยอง 2 แห่ง 4. เอ็กโกระยอง ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง (พื้นที่ประมาณ 421.05 ไร่) - ยานยนต์สมัยใหม่ - หุ่นยนต์ - การบินและโลจิสติกส์ - ดิจิทัล 5. ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียลเอสเตท ระยอง ตำบลหนองบัว และ ตำบลบางบุตร อำเภอบ้านค่าย (พื้นที่ประมาณ 1,498.70 ไร่) 2.2 เห็นชอบการจัดตั้งเขตส่งเสริมฯ เพื่อกิจการพิเศษ2 จำนวน 1 แห่ง โดยมีเป้าหมายการลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท ภายใน 10 ปี (พ.ศ. 2564 - 2573) ได้แก่ เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่โครงการ เป้าหมายการพัฒนาประเทศ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง ตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง (พื้นที่ประมาณ 519 ไร่/พื้นที่รองรับการประกอบกิจการประมาณ 360 ไร่) - งานวิจัย อุตสาหกรรมและกิจการที่เกี่ยวข้องเพื่อไปสู่การใช้เทคโนโลยีขั้นสูง นวัตกรรม และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม - ขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลผ่านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่จะกำหนดพื้นที่นำร่องของ EEC ในการพัฒนาระบบโครงข่าย 5G อย่างเต็มรูปแบบ 2.3 เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมฯ เพื่อกิจการพิเศษ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ เขตส่งเสริมฯ ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา (EECmd) โดยเปลี่ยนแปลงแผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินของเขตส่งเสริมฯ และเพิ่มเติมพื้นที่ประมาณ 18.685 ไร่ ทำให้พื้นที่รวมของ EECmd จากเดิม ประมาณ 566 ไร่ เป็น ประมาณ 585 ไร่ 2.4 มอบหมายให้เลขาธิการ สกพอ. ในฐานะกรรมการและเลขานุการเป็นผู้ลงนามในประกาศเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป 2.5 มอบหมายให้ สกพอ. ร่วมกับกรมโยธาธิการและผังเมืองจัดทำร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง การเปลี่ยนแปลงแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 เพื่อเสนอคณะอนุกรรมการจัดทำแผนผังการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คณะอนุกรรมการบริหาร การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก กพอ. และคณะรัฐมนตรีต่อไปตามลำดับ 1เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม หมายถึง พื้นที่ส่งเสริมเพื่อรองรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และ มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการที่จำเป็นต่อการประกอบกิจการอุตสาหกรรม ประกอบด้วย (1) รูปแบบนิคมอุตสาหกรรม หมายถึง พื้นที่ทำการจัดสรรที่ดินเพื่อขายหรือให้เช่าตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยมีการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษ และ มีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวก และบริการที่จำเป็นต่อการประกอบอุตสาหกรรม (2) รูปแบบการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายพิเศษเฉพาะด้าน (Cluster) หมายถึง การพัฒนาพื้นที่เพื่อขายหรือให้เช่าตามกฎหมายอื่นที่ไม่ใช่กฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 2เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ หมายถึง พื้นที่ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อจัดทำโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ มีความต่อเนื่องและเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบโดยสมบูรณ์ พัฒนาพื้นที่ให้มีความทันสมัย เช่น เขตส่งเสริมฯ : เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เป็นต้น 11. เรื่อง การร่วมลงทุน (Venture Capital) กับผู้ประกอบการภาคการเกษตรไทยของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอการร่วมลงทุน (Venture Capital) กับผู้ประกอบการภาคการเกษตรของไทยของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 10 (15) ซึ่งบัญญัติให้ ธ.ก.ส. สามารถร่วมทุนกับนิติบุคคลได้ ตามที่คณะกรรมการ ธ.ก.ส. เห็นสมควร โดยได้รับ ความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. นโยบายการร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการภาคเกษตรไทยของ ธ.ก.ส. สรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ สนับสนุนด้านการเงินในลักษณะการร่วมทุนกับผู้ประกอบการภาคการเกษตรหรือที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการเกษตร เพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มศักยภาพให้ผู้ประกอบการที่มีความพร้อมในการดำเนินธุรกิจแต่ขาดโอกาสในการเพิ่มทุนให้มีทุนในการดำเนินกิจการระยะแรกได้ กรอบนโยบายของกิจการที่จะเข้าร่วมลงทุน สัดส่วนกรณีร่วมทุนไม่เกินร้อยละ 49 ของจำนวนหุ้นหลังการระดมทุนและกรณีโครงการร่วมลงทุนไม่เกินร้อยละ 80 ของมูลค่าการลงทุน โดยเป็นโครงการที่ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพภาคเกษตร ระยะเวลาร่วมลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี และผู้ประกอบกิจการจะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทยในรูปของบริษัทโดยให้กิจการมีอำนาจในการบริหารจัดการได้โดยอิสระ ส่วน ธ.ก.ส. ทำหน้าที่ติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง คุณสมบัติของผู้ประกอบการ 1) เป็นผู้ประกอบการในระยะเริ่มต้น (Start up) ได้แก่ 1.1) ผู้ประกอบการที่มีนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับภาคการเกษตร 1.2) โครงการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีศักยภาพ 2) เป็นผู้ประกอบการในระยะของการขยายธุรกิจซึ่งเป็นธุรกิจที่มีคุณลักษณะตามข้อ 1.1) และ 1.2) 3) เป็นผู้ประกอบการที่นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมายกระดับสร้างมูลค่าเพิ่ม ภาคการเกษตร 4) กลุ่มวิสาหกิจ กองทุนหมู่บ้าน ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนการสนับสนุนเงินทุนในธุรกิจร่วมกับผู้ประกอบการ ธ.ก.ส. พิจารณาคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตามคุณสมบัติ เกณฑ์คัดเลือกที่คณะกรรมการคัดเลือกกำหนด โดยผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือกจะต้องทำธุรกรรมส่วนใหญ่ผ่านระบบของ ธ.ก.ส. และรายงานผลประกอบการให้ ธ.ก.ส. ทราบ ทุกเดือน ทั้งนี้ ธ.ก.ส. จะสมทบเงินลงทุนตามแผนการระดมทุนของกิจการและมอบหมายกรรมการเป็นตัวแทนอย่างน้อย 1 ที่ ซึ่งมีสิทธิยับยั้งการตัดสินใจ ที่เกี่ยวข้องกับเงินทุนของกิจการ เงื่อนไขการออกจากการร่วมลงทุน 1) กรณีผู้ร่วมลงทุนไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุน หรือกระทำการที่กระทบต่อความปลอดภัยหรือความผาสุกของประชาชน หรือละเมิดสิทธิผู้บริโภค ธ.ก.ส. สามารถพิจารณาเพิกถอนการร่วมลงทุนได้ โดยมูลค่าหุ้นที่ถอนต้องรับผลตอบแทนไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำสูงสุดตามระยะเวลาถือครองหุ้น 2) กรณีมีการเติบโตทางธุรกิจ จะพิจารณาจากการเติบโตทางธุรกิจในอนาคต มีผลกำไรหรือขาดทุนต่อเนื่อง ไม่สามารถดำเนินธุรกิจได้ตามแผนที่กำหนด โดยให้มีการประเมินความพร้อม ทิศทางการดำเนินงานของบริษัทและความพร้อมทางธุรกิจ ก่อนออกจากการร่วมลงทุนและเสนอคณะกรรมการบริหารจัดการการร่วมลงทุน (Venture Capital) พิจารณา ทั้งนี้ การออกจากการร่วมลงทุนจะพิจารณาตามความพร้อมของกิจการและผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย 2. การร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการภาคการเกษตรของไทย ธ.ก.ส. ได้คัดเลือกผู้ประกอบการให้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 2 ราย ได้แก่ 2.1 บริษัท คิว บ็อคซ์ พอยท์ จำกัด ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีการเกษตรโดยใช้แพลตฟอร์มเพื่อช่วยเกษตรกรในการวางแผนการผลิตให้สัมพันธ์กับความต้องการของตลาดในลักษณะการซื้อขายล่วงหน้า มูลค่ากิจการ ณ ต้นปี 2564 อยู่ที่ 135 ล้านบาท อันดับเครดิตระดับ AAA รายได้หลักมาจากค่าปรับปรุงแพลตฟอร์มและค่าสมาชิกจากผู้ซื้อผลผลิตการเกษตรรายใหญ่ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีแผนการปรับเปลี่ยนที่มาของรายได้จากการเก็บค่าสมาชิกมาเป็นส่วนแบ่งยอดขายสินค้าเกษตรที่เกิดขึ้นผ่านระบบเพื่อจูงใจให้เกษตรกรใช้บริการแพลตฟอร์มในการขายผลผลิต ทั้งนี้ ได้เสนอให้ ธ.ก.ส. ร่วมลงทุน จำนวน 15 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น ร้อยละ 11.10 ของจำนวนหุ้นหลังการร่วมทุน 2.2 บริษัท อินฟิวส์ จำกัด ประกอบธุรกิจเทคโนโลยีการเกษตร โดยให้บริการ แอปพลิเคชัน ?มะลิซ้อน? ภายใต้การสนับสนุนของสมาคมประกันวินาศภัยไทย ซึ่งผู้ใช้งานหลักคือชาวนาที่ซื้อประกันภัยผลผลิต มูลค่ากิจการ ณ ต้นปี 2564 อยู่ที่ 35.74 ล้านบาท อันดับเครดิตระดับ AA โดยแอปพลิเคชันดังกล่าวช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรในการบันทึกแปลงที่ดินของเกษตรกรและสามารถแจ้งการประสบภัยเพื่อเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนกรณีเอาประกัน ปัจจุบันมีผู้ใช้ระบบประมาณ 4,000 คน โดยรายได้หลักของบริษัทฯ มาจากการสนับสนุนจากสมาคมประกันวินาศภัยไทยซึ่งจ่ายให้แบบเงินก้อนต่อปีเพื่อบำรุงรักษาระบบและค่าจ้างในการอบรมชาวนาเพื่อใช้ระบบ อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ มีแผนจะขยายระบบวางแผนบริหารจัดการแปลงเกษตรอย่างครบวงจรเพื่อให้เกษตรกรสามารถเชื่อมโยงกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และสามารถวางแผนเพาะปลูกได้ดีขึ้น รวมทั้งจะขยายฐานการใช้แอปพลิเคชันมะลิซ้อน ซึ่ง ธ.ก.ส. จะได้ประโยชน์ทั้งในรูปตัวเงินและ จากการแชร์ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการปล่อยสินเชื่อ โดยบริษัทฯ ได้เสนอให้ ธ.ก.ส. ร่วมลงทุน จำนวน 7 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 19.58 ของจำนวนหุ้นหลังการร่วมทุน ทั้งนี้ งบประมาณการร่วมลงทุนเป็นการใช้งบประมาณการดำเนินงานปกติของ ธ.ก.ส. 3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ร่วมลงทุนกับผู้ประกอบการทั้ง 2 ราย แล้ว ซึ่งการร่วมทุนดังกล่าวจะสามารถเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในระดับฐานราก สร้างผลิตภาพการผลิตทั้งเชิงปริมาณและมูลค่าของผู้ประกอบการและภาคการเกษตร ประกอบกับสามารถช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการ ภาคการเกษตรหรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องภาคการเกษตรที่มีการปรับใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมพัฒนาธุรกิจให้สามารถเข้าถึงเงินทุนและมีโอกาสเข้าถึงตลาดอีกด้วย 12. เรื่อง รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2564) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอรายงานความคืบหน้าใน การดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2564) และให้เสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป รายงานดังกล่าวประกอบด้วย รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการฯ และการดำเนินการใน ระยะต่อไป สรุปได้ดังนี้ 1. ความคืบหน้าตามแผนการปฏิรูปประเทศระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2564 1.1 แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และการขับเคลื่อนสู่การบรรลุผล ตามเป้าหมายอันพึงประสงค์ 1.1.1 แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ได้มีการประกาศบังคับใช้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) จำนวน 13 ด้าน ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock จำนวน 62 กิจกรรม และกฎหมายที่ควรปรับปรุงหรือจัดทำใหม่ จำนวน 45 ฉบับ โดยมีการถ่ายระดับกิจกรรม Big Rock สู่การปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม และสามารถดำเนินการขับเคลื่อนสู่การบรรลุผลตามเป้าหมายอันพึงประสงค์ได้ รวมทั้งใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการกำกับ ติดตามและรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศต่อรัฐสภาทุก 3 เดือนตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลประกอบการติดตาม เร่งรัดการดำเนินงานตามเป้าหมายได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ 1.1.2 การใช้งานระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) สำหรับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) สศช. ได้พัฒนาระบบ eMENSCR เพื่อใช้เป็นระบบหลักเพียงระบบเดียวในการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินการ ตามกิจกรรม Big Rock และได้เพิ่มเมนูการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการตามกิจกรรมดังกล่าวเพื่อให้หน่วยงานร่วมดำเนินการ ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้รับผิดชอบในการนำเข้าข้อมูลรายละเอียดโครงการ/การดำเนินงานให้ครบถ้วนน และรายงานความก้าวหน้าโครงการ/การดำเนินงานภายใน 1 เดือนนับจากวันสิ้นสุดไตรมาสตามที่กำหนดไว้ในระเบียบว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2562 และหน่วยงานรับผิดชอบหลักเป็นผู้รับผิดชอบในการประมวลผลข้อมูลความก้าวหน้าโครงการ/การดำเนินงาน เพื่อนำมารายงานความก้าวหน้ารายเป้าหมายย่อย (MS) และรายงานภาพรวมความก้าวหน้าของกิจกรรม Big Rock ผ่านระบบ eMENSCR ต่อไป 1.2 แผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock จำนวน 62 กิจกรรม และรายการโครงการ/การดำเนินงานที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายย่อย โดยรายละเอียดของแผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ประกอบด้วย หน่วยงานร่วมดำเนินการ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินงาน/โครงการที่สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายของกิจกรรมฯ เป้าหมายย่อย จะเป็นเป้าหมายความสำเร็จที่ถ่ายระดับมาจากผลการดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการของกิจกรรมฯ โดยกำหนดผลที่จะเกิดขึ้นเมื่อสิ้นสุดไตรมาส ระยะเวลาที่แล้วเสร็จ เป็นการแสดง ช่วงระยะเวลาที่คาดว่าจะแล้วเสร็จของแต่ละเป้าหมายย่อยเพื่อใช้ในการกำกับ ติดตาม เร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด และโครงการและการดำเนินงานที่ส่งผลต่อเป้าหมายของกิจกรรมฯ ซึ่งจำเป็นต้องรองรับการขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ตลอดกระบวนการ ซึ่งโครงการ/การดำเนินงานนั้นจะส่งผลให้เกิดผลผลิตตามเป้าหมายย่อยภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยได้มีการจัดลำดับความสำคัญจำแนกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ 1) โครงการ/การดำเนินงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่สุด หากไม่ดำเนินการจะทำให้การปฏิรูปประเทศไม่บรรลุผลตามที่กำหนด 2) มีความจำเป็นเร่งด่วน และ 3) มีความจำเป็นเพื่อใช้ในการกำกับ ติดตาม และเร่งรัดการดำเนินงานได้อย่างตรงจุด สรุปได้ดังนี้ ประเด็น การปฏิรูปประเทศ จำนวนโครงการ/การดำเนินงานภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock รวมทั้งสิ้น มีความจำเป็นเร่งด่วนที่สุด มีความจำเป็นเร่งด่วน มีความจำเป็น 1 ด้านการเมือง 69 6 18 45 2 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน 144 19 56 69 3 ด้านกฎหมาย 11 5 6 0 4 ด้านกระบวนการยุติธรรม 5 5 0 0 5 ด้านเศรษฐกิจ 216 73 69 74 6 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 66 35 26 5 7 ด้านสาธารณสุข 67 27 21 19 8 ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ 31 30 0 1 9 ด้านสังคม 23 12 7 4 10 ด้านพลังงาน 30 13 9 8 11 ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ* 44 15 14 13 12 ด้านการศึกษา 35 18 4 13 13 ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษยย์* 68 36 19 5 รวมทั้งหมด 809 294 249 256 *หมายเหตุ: โครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ที่มีโครงการอื่น ๆ สนับสนุนการขับเคลื่อน การดำเนินงาน ดังนี้ 1. ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ จำนวน 2 โครงการ 2. ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 8 โครงการ 1.3 ข้อวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock 1.3.1 แผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock เป็นเครื่องมือสำคัญในการแปลงแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ไปสู่การปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เห็นภาพได้ชัดเจนยิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกิจกรรม Big Rock ให้บรรลุผลได้ตามที่กำหนดได้ อย่างแท้จริง ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมายย่อย (Milestone : MS) กิจกรรมผู้เกี่ยวข้องในการดำเนินการ และช่วงเวลา ที่คาดว่าแต่ละเป้าหมายย่อยจะดำเนินการแล้วเสร็จ แต่เนื่องจากผลการวิเคราะห์รายละเอียดของข้อมูลที่ระบุไว้ในแผนขับเคลื่อนฯ ยังคงมีช่องว่างที่อาจส่งผลต่อความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายของกิจกรรมฯ ที่กำหนดไว้ โดยมีประเด็นที่ต้องนำไปปรับปรุงการดำเนินการ ดังนี้ 1.3.1.1 เป้าหมายย่อของแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock จำนวนหนึ่งไม่มีโครงการ/การดำเนินงานรองรับ อาจส่งผลให้กิจกรรมฯ นั้นไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างสมบูรณ์ 1.3.1.2 ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ/การดำเนินการสิ้นสุดล่าช้ากว่า ระยะเวลาสิ้นสุดของเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ทำให้การดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายย่อยนั้น ๆ อาจไม่บรรลุผลได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด 1.3.1.3 โครงการ/การดำเนินงานที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด จำนวนหนึ่งไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณหรือได้รับการจัดสรรงบประมาณน้อยกว่าที่ขอรับจัดสรร สำหรับ การดำเนินโครงการประจำปีงบประมาณ 2564 1.3.1.4 ข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานรองรับกิจกรรม Big Rock ในส่วนของการนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินการ และการรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงาน ณ สิ้นไตรมาส 3/2564 ยังไม่ครบถ้วนตามที่ระบุในแผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ 1.3.2 การพิจารณาช่องว่างที่อาจส่งผลต่อความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมายของกิจกรรม Big Rock สามารถจำแนกแต่ละประเด็นการปฏิรูปประเทศได้ ดังนี้ 1.3.2.1 ด้านการเมือง มีโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 5 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 69 โครงการ โดยมี 5 เป้าหมายย่อยที่ยังไม่มีโครงการรองรับ ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการสอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ในส่วนของงบประมาณที่รองรับใน การดำเนินโครงการประจำปี 2565 สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณไม่จัดเป็นโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR มีร้อยละ 45 1.3.2.2 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มีโครงการภายใต้ แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 5 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 144 โครงการ โดยมี 5 เป้าหมายย่อยที่ยังไม่มีโครงการรองรับ ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการ มี 10 โครงการที่ไม่สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ในส่วนของงบประมาณที่รองรับในการดำเนินโครงการประจำปี 2565 สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณไม่จัดเป็นโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR มีร้อยละ 32 1.3.2.3 ด้านกฎหมาย มีโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 5 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 11 โครงการ โดยมี 1 เป้าหมายย่อยที่ยังไม่มีโครงการรองรับ ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการสอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ในส่วนของงบประมาณได้รับจัดสรรงบประมาณรองรับในการดำเนินโครงการประจำปี 2565 และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR มีร้อยละ 58 1.3.2.4 ด้านกระบวนการยุติธรรม มีโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 5 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 5 โครงการ โดยมีโครงการรองรับครบทุกเป้าหมายย่อย ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการสอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ในส่วนของงบประมาณที่รองรับในการดำเนินโครงการประจำปี 2565 สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณและจัดเป็นโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด จำนวน 1 โครงการ และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR มีร้อยละ 61 1.3.2.5 ด้านเศรษฐกิจ มีโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 5 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 216 โครงการ โดยมี 4 เป้าหมายย่อยที่ยังไม่มีโครงการรองรับ ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการ มี 3 โครงการที่ไม่สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ในส่วนของงบประมาณที่รองรับในการดำเนินโครงการประจำปี 2565 สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณและจัดเป็นโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด จำนวน 5 โครงการ และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR มีร้อยละ 65 1.3.2.6 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 4 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 66 โครงการ โดยมี 5 เป้าหมายย่อยที่ยังไม่มีโครงการรองรับ ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการมี 1 โครงการที่ไม่สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ในส่วนของงบประมาณที่รองรับในการดำเนินโครงการประจำปี 2565 สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณไม่จัดเป็นโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR มีร้อยละ 24 1.3.2.7 ด้านสาธารณสุข มีโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 5 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 67 โครงการ โดยมี 1 เป้าหมายย่อยที่ยังไม่มีโครงการรองรับ ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการ มี 1 โครงการที่ไม่สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ในส่วนของงบประมาณที่รองรับในการดำเนินโครงการประจำปี 2565 สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณไม่จัดเป็นโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR มีร้อยละ 49 1.3.2.8 ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ มีโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 3 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 31 โครงการ โดยมี 10 เป้าหมายย่อยที่ยังไม่มีโครงการรองรับ ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการสอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ในส่วนของงบประมาณที่รองรับในการดำเนินโครงการประจำปี 2565 สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณจัดเป็นโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด จำนวน 2 โครงการ และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR มีร้อยละ 62 1.3.2.9 ด้านสังคม มีโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 5 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 23 โครงการ โดยมี 1 เป้าหมายย่อยที่ยังไม่มีโครงการรองรับ ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการสอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ในส่วนของงบประมาณที่รองรับในการดำเนินโครงการประจำปี 2565 สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณและจัดเป็นโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด จำนวน 4 โครงการ และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR มีร้อยละ 64 1.3.2.10 ด้านพลังงาน มีโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 5 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 30 โครงการ โดยมี 1 เป้าหมายย่อยที่ยังไม่มีโครงการรองรับ ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการ มี 2 โครงการที่ไม่สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ในส่วนของงบประมาณที่รองรับในการดำเนินโครงการประจำปี 2565 สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณจัดเป็นโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด จำนวน 1 โครงการ และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR หน่วยงานมีการนำเข้าระบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 1.3.2.11 ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มีโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 5 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 44 โครงการ โดยมี 4 เป้าหมายย่อยที่ยัง ไม่มีโครงการรองรับ ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการสอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ในส่วนของงบประมาณที่รองรับในการดำเนินโครงการประจำปี 2565 สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณไม่จัดเป็นโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR มีร้อยละ 60 1.3.2.12 ด้านการศึกษา มีโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 5 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 35 โครงการ โดยมีโครงการรองรับครบทุกเป้าหมายย่อย ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการสอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ในส่วนของงบประมาณที่รองรับในการดำเนินโครงการประจำปี 2565 สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณไม่จัดเป็นโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR มีร้อยละ 39 1.3.2.13 ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีโครงการภายใต้แผนขับเคลื่อนกิจกรรมฯ ทั้งหมด 5 กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 68 โครงการ โดยมี 8 เป้าหมายย่อยที่ยังไม่มีโครงการรองรับ ซึ่งในการกำหนดระยะเวลาของโครงการ มี 11 โครงการที่ไม่สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายย่อยที่กำหนดไว้ ในส่วนของงบประมาณที่รองรับในการดำเนินโครงการประจำปี 2565 สำหรับโครงการที่ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณและจัดเป็นโครงการที่มีความสำคัญจำเป็นเร่งด่วนที่สุด จำนวน 3 โครงการ และสำหรับข้อมูลของโครงการที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในระบบ eMENSCR มีร้อยละ 27 2. การดำเนินการในระยะต่อไป สศช. จะประสานและบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ หน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการของกิจกรรม Big Rock เพื่อเตรียมดำเนินการทบทวนแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock รวมทั้งจะเร่งดำเนินการกำกับ ติดตามตามกรอบระยะเวลาที่หน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการกำหนดไว้ สำหรับข้อมูลรายละเอียดการดำเนินโครงการและการรายงานความคืบหน้าของโครงการและความคืบหน้าของกิจกรรม Big Rock จะประสานให้หน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบ eMENSCR ให้ครบถ้วน สมบูรณ์ ต่อเนื่องในทุกสิ้นไตรมาส เพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการกำกับ ติดตาม การดำเนินการตามกิจกรรม Big Rock รวมทั้งจะได้ประมวลข้อมูลและจัดทำรายงาน ความคืบหน้าฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรายงานรัฐสภาทราบต่อไป 13. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 กรกฎาคม 2564) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่ง การนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 กรกฎาคม 2564) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. นโยบายหลัก 12 ด้าน นโยบายหลัก มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ 1) ปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ (1.1) โครงการ ?ปันน้ำใจ คนไทย ไม่ทิ้งกัน? เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี โดยบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่ายสภาวัฒนธรรมและชุมชนคุณธรรม เพื่อช่วยเหลือบุคลากรทางการแพทย์ ชุมชน และประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เช่น มอบอาหารและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ให้แก่โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 20 แห่ง (1.2) จัดทำโครงการฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสากับภัยพิบัติประจำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 7,547 แห่ง โดยมีจิตอาสาภัยพิบัติ ประจำ อปท. จำนวน 5,237 แห่ง 268,119 คน 2) การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบกในเดือนมิถุนายน 2564 จำนวน 232 ครั้ง และสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่ชายแดน เช่น สามารถจับกุมยาเสพติดประเภทยาบ้าได้ 374.29 ล้านเม็ด และประเภทกัญชา 23,403.03 กิโลกรัม 3) การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม (3.1) ติดตามโบราณวัตถุของไทยในต่างประเทศกลับคืนสู่ประเทศไทย โดยติดตามทับหลังจากปราสาทหนองหงส์และทับหลังจากปราสาทเขาโล้น กลับสู่ประเทศไทยโดยความร่วมมือของสหรัฐอเมริกาและไทย (3.2) จัดทำ Web Application ?อยู่บ้าน สร้างบุญ? เพื่อให้ประชาชน ได้ร่วมกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 โดยได้รับฟังหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา และร่วมเขียนปณิธานความดีจากการนำหลักธรรมคำสอนมาประพฤติปฏิบัติถวายเป็น พุทธบูชา 4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก (4.1) การประชุม APEC Informal Leaders? Retreat เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวในการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกลเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางการจัดการและการฟื้นตัวจากวิกฤตที่ส่งผลกระทบในหลากหลายมิติ เช่น 1) การเอาชนะวิกฤตด้านการสาธารณสุข โดยการเข้าถึงและการกระจายวัคซีนโควิด - 19 ที่ปลอดภัย 2) การบริหารจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ควบคุมได้ และ 3) การนำโมเดลเศรษฐกิจใหม่มาใช้เป็นหลักในการพัฒนาประเทศ (4.2) การสนับสนุนการจัดหาวัคซีนโควิด - 19 ผ่านความร่วมมือในกรอบ ทวิภาคีกับประเทศต่าง ๆ โดยการจัดหาวัคซีนผ่านความร่วมมือกรอบพหุภาคี ได้แก่ (1) กองทุนอาเซียนเพื่อรับมือโควิด - 19 และ (2) สหประชาชาติในการสนับสนุนความพยายามของประชาคมโลกในการเข้าถึงวัคซีนและยารักษา โรคโควิด - 19 โดยรัฐบาลไทยได้มอบเงินสนับสนุนกลไก COVAX Facility ภายใต้ข้อริเริ่ม ACT-Accelerator ในการจัดหาและจัดสรรวัคซีนให้ทุกประเทศเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมแล้ว จำนวน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ 5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย เรื่อง มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ (5.1) เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง (5.1.1) โครงการส่งเสริมการออมผ่านการลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ ได้เปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ จำนวน 2 รุ่น วงเงินรวม 60,000 ล้านบาท (5.1.2) โครงการเพิ่มสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ โดยกองทุนการออมแห่งชาติมีจำนวนสมาชิก (สะสม) จำนวน 2,426,745 คน (5.2) การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม (5.2.1) การจัดทำข้อมูลแหล่งบ่อเก็บหางแร่ในพื้นที่ที่เคยมีการทำเหมืองแร่ดีบุกทั่วประเทศ โดยได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างในแหล่งที่เป็นบ่อเก็บหางแร่ในพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดพังงาและระนอง เพื่อคัดเลือกตัวอย่างไปแยกสกัดธาตุหายาก และประเมินศักยภาพการพัฒนาเทคโนโลยีการแยกสกัดธาตุหายากในหางแร่ (5.2.2) โครงการเมืองนวัตกรรมอาหารในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย โดยศูนย์บริการเบ็ดเสร็จและแพลตฟอร์มบริการของเมืองนวัตกรรมอาหารได้ให้บริการผู้ประกอบการ 241 ราย โดยมีการดำเนินงาน และจัดกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการผ่านแพลตฟอร์มบริการของเมืองนวัตกรรมอาหาร (5.3) การพัฒนาภาคเกษตร การวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์กัญชา ได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานเกี่ยวกับพืชสกุลกัญชา ได้แก่ 1) ด้านการควบคุมคุณภาพเมล็ดพันธุ์พืชสกุลกัญชา เพื่อควบคุมการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ที่ได้มาตรฐานคุณภาพ ปลอดจากโรคแมลง คุณภาพสูง และตรงตามมาตรฐานสากล และ 2) ด้านวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์เทคโนโลยีการผลิต (5.4) การพัฒนาภาค การท่องเที่ยว โครงการ Phuket Sandbox และ Samui Plus Model มีผลการดำเนินงาน ได้แก่ 1) โครงการ Phuket Sandbox มีนักท่องเที่ยวสะสม ตั้งแต่วันที่ 1-28 กรกฎาคม 2564 รวม 28 วัน จำนวน 12,395 คน ก่อให้เกิดรายได้ประมาณ 534.31 ล้านบาท และ (2) โครงการ Samui Plus Model มีนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่ 15 - 28 กรกฎาคม 2564 รวม 14 วัน จำนวน 78 คน (5.5) การพัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภาค ผลักดันการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) ของประเทศไทย ครบ 77 จังหวัด โดยในเดือนมิถุนายน 2564 ได้ขึ้นทะเบียน จำนวน 2 รายการ ได้แก่ ?เงาะทองผาภูมิ? (จังหวัดกาญจนบุรี) และ ?กลองเอกราช? (จังหวัดอ่างทอง) ทั้งนี้ ประเทศไทยมีสินค้า GI แล้วจำนวน 139 รายการ ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ และมีสินค้า อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียน 11 รายการ ซึ่ง คาดว่าในไตรมาส 4 ของปี 2564 ขึ้นทะเบียนแล้วเสร็จ จำนวน 150 รายการ และสามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดได้มากกว่า 36,000 ล้านบาท (5.6) การพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน (5.6.1) ขยายช่องจราจรถนนพระราม 2 ตอนทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน - เอกชัย รวมระยะทาง 11.7 กิโลเมตร ซึ่งบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด และรองรับปริมาณการจราจรได้เพิ่มมากขึ้น (5.6.2) เปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต และช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน ฟรีจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2564 (5.7) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ นำร่องโครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 4 จังหวัดภาคกลาง ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลจากดิจิทัลสตาร์ทอัพที่เชื่อถือได้ และผลักดันโครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในมิติต่าง ๆ จากทั่วประเทศไปแล้วกว่า 900 โครงการ และเกิดมูลค่าผลกระทบทางเศรษฐกิจมากกว่า 20,000 ล้านบาท (5.8) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม ส่งมอบ ?หุ่นยนต์ปิ่นโต 2? ให้กับโรงพยาบาลสนาม เพื่อลดความเสี่ยงระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ติดเชื้อไวรัสโควิด - 19 และพัฒนาระบบดูแลและติดตามอาการผู้ป่วย โควิด ? 19 แบบแยกตัว (5.9) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ จัดทำโครงการ ?จับคู่กู้เงิน? เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ร้านอาหารโดยร่วมกับสถาบันการเงิน ปล่อยสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือผ่อนปรนดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และมีประกอบการร้านอาหารทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ติดต่อขอสินเชื่อกับสถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการฯ และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม รวมจำนวน 11,185 ราย คิดเป็นวงเงินขอสินเชื่อรวม 2,440 ล้านบาท 6) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค (6.1) โครงการพัฒนาทักษะกำลังแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีแรงงานในสถานประกอบกิจการที่เกี่ยวข้องกับ 10 อุตสาหกรรม เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 2,569 คน (6.2) โครงการเพิ่มทักษะกำลังแรงงานในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีผู้ว่างงาน แรงงานทั่วไป แรงงานในสถานประกอบกิจการในพื้นที่ 10 จังหวัดเขตเศรษฐกิจพิเศษ และนักศึกษาปีสุดท้าย ได้รับการฝึกอบรม จำนวน 5,953 คน 7) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก (7.1) จำหน่ายสินค้าชุมชนผ่านระบบ e-Commerce ผ่านเว็บไซต์ thailandpostmart.com โดยมีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ขายสินค้า 5,787 ร้าน (7.2) โครงการสถาบันการเงินประชาชน โดยมีจำนวนองค์กรการเงินชุมชนจดทะเบียนจัดตั้งเป็นสถาบันการเงินประชาชนภายใต้พระราชบัญญัติสถาบันการเงินประชาชน พ.ศ. 2562 จำนวน 4 ราย 8) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 3 มาตรการ และมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยในส่วนของสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐลดค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยกำหนดเป็น 3 ขั้น และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน คนละ 5,000 บาท 9) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด - 19 แก่คนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลแล้ว จำนวน 19,241 ราย และฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด -19 ให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แล้ว จำนวน 1,000,154 คน 10) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้าง การเติบโตอย่างยั่งยืน ดำเนินโครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ พื้นที่ 500 ไร่ ซึ่งมีประชาชนได้รับประโยชน์ 450 ครัวเรือน ได้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 3.4992 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี 11) การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ ดำเนินโครงการบูรณาการสวัสดิการที่พักอาศัยกับสถานที่ทำงาน และศูนย์บริการของข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อให้ข้าราชการได้มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในพื้นที่และราคาที่เหมาะสม ในลักษณะอาคารพักอาศัยรวม ความสูง 7 ชั้น จำนวน 76 ยูนิต พื้นที่ใช้สอยของห้องพักอาศัยยูนิตละประมาณ 40 ตารางเมตร ราคาห้องละ 999,999 บาท 12) การป้องกัน ปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม ดำเนินโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี ช่วงเดือนตุลาคม 2563 - กรกฎาคม 2564 มีเรื่องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย รวม 13,865 เรื่อง ทุนทรัพย์ 10,241.29 ล้านบาท ไกล่เกลี่ยสำเร็จ จำนวน 12,708 เรื่อง ทุนทรัพย์ 8,053.75 ล้านบาท คิดเป็นผลสำเร็จร้อยละ 91.66 ของเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย 2. นโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง นโยบายเร่งด่วน มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ 1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน (1.1) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ในกองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 เช่น 1) ลดเบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระเงินคืนร้อยละ 100 สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกรายที่ชำระหนี้ปิดบัญชีในครั้งเดียว โดยมีผู้มาใช้สิทธิ 24,744 คน 2) ลดเบี้ยปรับ หรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระเงินคืนร้อยละ 80 สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้ค้างทั้งหมดให้มีสถานะปกติ (ไม่ค้างชำระ) โดยมีผู้มาใช้สิทธิ 139,266 คน และ 3) ลดเงินต้นร้อยละ 5 สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้และชำระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว โดยมีผู้มาใช้สิทธิ 11,697 ราย (1.2) พาณิชย์ ลดราคา! ช่วยประชาชน Lot 11 (Food Delivery) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการร้านอาหาร และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด - 19 ระลอก 3 โดยแบ่งกลุ่มที่ได้รับผลประโยชน์ 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มร้านอาหาร โดยลดค่าบริการที่ร้านอาหารต้องจ่ายให้กับแอปพลิเคชันสั่งอาหาร และ 2) กลุ่มผู้บริโภค โดยการลดราคาอาหารที่ขายผ่านแพลตฟอร์มทั่วประเทศทั้ง 5 แพลตฟอร์ม 2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน (2.1) ดำเนินการโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยกรมบัญชีกลางได้โอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมทั้งสิ้น 27,938.29 ล้านบาท และจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) รวมทั้งสิ้น 85,764.09 ล้านบาท (2.2) ดำเนินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เดือนละ 600 บาท ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี จำนวน 2,195,150 คน 3) มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก (3.1) เร่งรัดขยายตลาดส่งออกและธุรกิจในต่างประเทศเชิงรุก โดยมีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริม 5,357 ราย เกิดมูลค่าเจรจาการค้า 20,970.86 ล้านบาท (3.2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมรายคลัสเตอร์ 2,991 ราย เกิดมูลค่าการค้า 6,409.75 ล้านบาท 4) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม (4.1) ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกร ปีการผลิต 2563/64 ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (4.2) ดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 2 จำนวน 1,453,513 ราย 5) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน (5.1) โครงการยกระดับแรงงานไทยให้ได้มาตรฐานฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับการแข่งขัน โดยมีแรงงานทั่วไปทั้งที่อยู่ในระบบการจ้างงานและไม่อยู่ในระบบการจ้างงาน รวมทั้งกลุ่มนักศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาที่จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสาขาที่เข้าทดสอบมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ได้รับการฝึกอบรม จำนวน 26,652 คน (5.2) ดำเนินโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ โดยภาครัฐและเอกชน โดยมีผู้จบการศึกษาได้รับอนุมัติเข้าร่วมโครงการ จำนวน 32,266 คน 6) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต (6.1) ส่งเสริมการลงทุนในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยมีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน ฯ 232 โครงการ มีมูลค่าเงินลงทุน 126,643 ล้านบาท (6.2) ดำเนินโครงการศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ด้านแรงงานต่างด้าวเพื่อสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยมีแรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 32,949 คน 7) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 (7.1) ดำเนินโครงการพัฒนาสื่อดิจิทัลโปรเจค 14 (Project 14) โดยเผยแพร่คลิปการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 1,516 คลิป และได้เผยแพร่คลิปการสอนสำหรับภาคเรียนที่ 2 จำนวน 822 คลิป มีการเข้าชมคลิปผ่านช่องทาง YouTube 7,897,150 ครั้ง (7.2) ดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพครูให้มีสมรรถนะของครูยุคใหม่สำหรับ การเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ทั่วประเทศ 8) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ (8.1) ดำเนินโครงการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องขังติดยาเสพติด ในรูปแบบชุมชนบำบัด จำนวน 1,965 คน และในรูปแบบวิวัฒน์พลเมืองราชทัณฑ์ด้วยกระบวนการลูกเสือ จำนวน 209 คน (8.2) ดำเนินโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีแรงงานกลุ่มแนวร่วมผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แรงงานในพื้นที่รอบอุทยานแห่งชาติบูโด-สุไหงปาดี ผู้เข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้าน และแรงงานทั่วไป เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 520 คน 9) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน (9.1) โครงการเพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและการให้บริการภาครัฐ โดยให้บริการศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ (Open Data Platform) บนเว็บไซต์ data.go.th จำนวน 3,122 ชุด (9.2) พัฒนาพอร์ทัลกลางสำหรับประชาชน (Citizen Service Portal) และให้บริการในชื่อ ?ทางรัฐ? (10) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย ดำเนินโครงการจัดหาแหล่งน้ำบาดาลระยะไกลเพื่อแก้ปัญหาในพื้นที่แล้งซ้ำซากหรือน้ำเค็ม 22 แห่ง โดยสำรวจ เจาะ พัฒนาบ่อน้ำบาดาล ก่อสร้างระบบกระจายน้ำ และมีถังเหล็กเก็บน้ำความจุ 100 ลูกบาศก์เมตร 2 ถัง มีครัวเรือนได้รับประโยชน์ 2,250 ครัวเรือน ได้ปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 2.63 ล้านลูกบาศก์เมตร/ปี 14. เรื่อง ขออนุมัติการสนับสนุนการจัดโครงการ The Michelin Guide Thailand ประจำปี พ.ศ. 2565 ? 2569 เป็นระยะเวลา 5 ปีงบประมาณ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอให้การท่องเที่ยว แห่งประเทศไทย (ททท.) ก่อหนี้ผูกพันในการสนับสนุนการจัดโครงการ The Michelin Guide Thailand ประจำปี พ.ศ. 2565 ? 2569 ในวงเงิน 4.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 135.30 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายเป็นรายปี ปีละ 820,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 27.06 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 33 บาท) โดยงบประมาณที่ใช้ในปี 2565 จะจัดสรรงบประมาณของ ททท. และในปีที่ 2 ? 5 ททท. จะตั้งคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง กก. รายงานว่า 1. โครงการ The Michelin Guide Thailand ประจำปี 2560 ? 2563 มีผลการดำเนินงานที่เป็นส่วนสำคัญในการ (1) ส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมผ่านวัฒนธรรมอาหาร (Gastronomy Destination) ที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน (2) เพิ่มมูลค่าและศักยภาพของอาหารไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งรวมถึงร้านอาหารริมทาง (Street Food) ที่มีมูลค่าทั้งในเชิงคุณภาพที่คุ้มค่าเงิน (Value for Money) และความหลากหลาย (3) ช่วยให้ร้านอาหารในประเทศไทยมีการพัฒนาและยกระดับคุณภาพเพื่อรักษามาตรฐาน (4) ส่งเสริมภาพลักษณ์ของเชฟไทยสู่เวทีระดับสากล (5) ดึงดูดเชฟชั้นนำชาวต่างประเทศให้มาทำงานในประเทศไทย และ (6) ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนเปิดร้านอาหารระดับ High-End มากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ผลการดำเนินงานโครงการฯ ในส่วนอื่น ๆ มีรายละเอียดที่สำคัญ เช่น รายการ ผลการดำเนินงาน ปี 2560 - 2563 1. ประมาณการมูลค่าสื่อ 729.28 ล้านบาท 2. การจ้างงาน เช่น ในภาคอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าบริการประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ปี 2562 เพิ่มขึ้น 4,800 ตำแหน่ง จากปี 2561 3. การจัดกิจกรรมทางด้านอาหาร เพิ่มขึ้น ร้อยละ 33 4. การเผยแพร่เนื้อหาที่เกี่ยวกับอาหารไทยในต่างประเทศและในประเทศไทย ในต่างประเทศ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 10 ในประเทศไทย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 16 5. ร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่ได้รับการแนะนำโดยมิชลิน ในสหรัฐอเมริกา จำนวน 20 ร้าน ในประเทศเบลเยี่ยม จำนวน 11 ร้าน 6. ร้านอาหารในประเทศไทยที่ได้รับรางวัล ดาวมิชลิน1 สองดาว : 6 ร้าน หนึ่งวดาว : 22 ร้าน ดาวมิชลินรักษ์โลก : 1 ร้าน รางวัลบิบ กูร์มองต์ (Bib Gourmands) : 104 ร้าน2 2. คณะกรรมการ ททท. ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติอนุมัติหลักการสนับสนุนการจัดทำโครงการ The Michelin Guide Thailand ประจำปี 2565 - 2569 (โครงการฯ) เป็นระยะเวลา 5 ปีงบประมาณ ในวงเงิน 5.00 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 165.00 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 33 บาท) แต่เนื่องจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ซบเซาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ททท. จึงได้ทบทวนงบประมาณให้เหมาะสม โดยขอให้ บริษัท Michelin Travel Partner France จำกัด (บ. มิชลินฯ) เสนอสิทธิประโยชน์ในวงเงินเท่ากับการสนับสนุนครั้งที่ผ่านมา (พ.ศ. 2560 - 2564) คือ 4.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่ง บ. มิชลินฯ ได้ทบทวนวงเงินสนับสนุนตามที่ ททท. ร้องขอ และคณะกรรมการ ททท. ในการประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 มีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงรายละเอียดการสนับสนุนการจัดโครงการฯ จากวงเงิน 5.00 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 165.00 ล้านบาท เป็นวงเงิน 4.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 135.30 ล้านบาท 3. โครงการฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ประเด็นสำคัญ สรุปรายละเอียด พื้นที่ดำเนินการ - กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - สำรวจเพิ่มอย่างน้อย 3 จังหวัด โดยเป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างน้อย 1 จังหวัด ระยะเวลาดำเนิน โครงการ 5 ปี นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2569 (คู่มือแนะนำร้านอาหารฯ ฉบับปี พ.ศ. 2566 - 2570) กระบวนการดำเนินโครงการ และสิทธิประโยชน์ 1. คัดเลือกและรวบรวมรายชื่อร้านอาหารที่อยู่ในระดับมาตรฐานของมิชลิน มีขั้นตอนที่ครอบคลุมถึงการลงพื้นที่สำรวจร้านอาหาร การตรวจสอบคุณภาพและรสชาติอาหารโดยผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกที่ผ่านการอบรมตามเกณฑ์ของมิชลิน โดยมิชลินเป็นผู้รับผิดชอบในการคัดเลือกทีมงาน และแต่งตั้งคณะผู้ตรวจสอบเพื่อดำเนินการคัดเลือกร้านอาหาร และจัดอันดับร้านอาหารอย่างยุติธรรมตามระเบียบวิธีการของมิชลิน 2. จัดพิมพ์หนังสือคู่มือ The Michelin Guide Thailand (คู่มือฯ) ทุกปี เพื่อแนะนำร้านอาหารที่ผ่านกระบวนการประเมินผลด้วยหลักเกณฑ์ ระบบการให้คะแนนที่ได้รับความเชื่อถือจากนานาชาติ และได้รับการรับรองจากมิชลินว่ามีคุณภาพและควรค่าแก่การมาเยี่ยมเยือน 3. จัดงานแถลงข่าว สร้างการรับรู้ถึงความร่วมมือระหว่าง ททท. และบริษัทฯในการจัดทำโครงการ The Michelin Guide Thailand ประจำปี พ.ศ. 2565 - 2569 4. จัดงานมอบรางวัล Chef Awards Ceremony ให้แก่ร้านอาหารที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพจากมิชลิน 5. ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพร้านอาหารในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ตลอดระยะเวลา 5 ปี (2565 ? 2569) เพื่อเป็นการรับประกันคุณภาพการดำเนินงานร้านอาหารที่ได้รับการรับรองจากมิชลินว่ามีคุณภาพและมีมาตรฐานสม่ำเสมอ 6. อนุญาตให้ ททท. ใช้ตราสัญลักษณ์ The Michelin Guide Thailand ในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้โครงการนี้ และอนุญาตให้ ททท. ประชาสัมพันธ์ร้านอาหารไทยและเชฟในประเทศไทยที่ได้รับการจัดอันดับจากมิชลิน และสามารถใช้เนื้อหาจากคู่มือฯ ในการประชาสัมพันธ์ผ่านทางเว็บไซต์ของ ททท. ได้ ทั้งนี้ เชฟจะไม่มีภาระผูกพันใด ๆ กับ ททท. และมิชลิน 7. มอบสิทธิรางวัล Michelin Thailand Service Award By TAT ให้แก่ ททท. (เป็นรางวัลใหม่ที่เพิ่มขึ้นจากสิทธิประโยชน์เดิม โดยเป็นรางวัลสำหรับบุคลากรผู้ให้บริการยอดเยี่ยม) เงื่อนไข และข้อกำหนดในการชำระเงิน บ. มิชลินฯ ขอรับการสนับสนุนทางการเงินจาก ททท. ในการดำเนินโครงการเป็นระยะเวลา 5 ปี เป็นจำนวนเงิน 4.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยแบ่งการชำระเงินเป็นรายปี ดังนี้ ปีที่ 1 - 5: ปีละ 820,000 ดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็น 2 งวด - งวดที่ 1: ร้อยละ 35 หลังจากการแถลงข่าวประกาศเตรียมเปิดตัวจังหวัดใหม่ของปีต่อไป - งวดที่ 2: ร้อยละ 65 หลังจากการดำเนินโครงการประจำปีนั้น ๆ สิ้นสุด ซึ่งครอบคลุมถึงการดำเนินการ เช่น (1) การรับมอบอนุญาตให้ ททท. ใช้เครื่องหมายทางการค้าของมิชลิน (2) งานแถลงข่าวเปิดตัวคู่มือฯ พิธีประกาศและมอบรางวัลแก่ร้านที่ได้รับดาวมิชลิน และงานเลี้ยงประจำปี (Gala Dinner) (3) พิธีมอบรางวัล Michelin Thailand Service Award by TAT (4) การส่งมอบคู่มือฯ ประจำปี เป็นต้น 4. ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา โครงการฯ ที่ขอก่อหนี้ผูกพัน ต้องใช้งบประมาณตลอดระยะเวลาการดำเนินโครงการ 5 ปี เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 4.10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 135.30 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายเป็นรายปี ดังนี้ 4.1 ปีที่ 1 (พ.ศ. 2565) ททท. จะปรับแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวน 820,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 27.06 ล้านบาท เพื่อดำเนินการในโอกาสแรกก่อน 4.2 ปีที่ 2 - 5 (พ.ศ. 2566 - 2569) ททท. จะขอตั้งงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในปีต่อ ๆ ไป โดยจะจัดทำแผนการปฏิบัติงานแผนการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวนปีละ 820,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 27.06 ล้านบาทต่อปี 5. หลังจากได้รับอนุมัติจากคณะรัฐนตรีแล้ว กก. โดย ททท. จะได้ตอบรับข้อเสนอรวมถึงผู้ว่าการ ททท. จะได้ดำเนินการในขั้นตอนการลงนามสัญญาหรือข้อตกลงกับ บ.มิชลินฯ เพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินโครงการในปีงบประมาณ 2565 ได้โดยเร็วต่อไป 1 มิชลินจะให้รางวัลแก่ร้านอาหารที่นำเสนออาหารคุณภาพดีที่สุด โดยพิจารณาจากคุณภาพวัตถุดิบ เทคนิคการปรุงอาหาร รสชาติอาหาร ความคิดสร้างสรรค์ และความเสมอต้นเสมอปลาย โดยแต่ละรางวัลมีความหมายดังนี้ (1) ร้านอาหารที่ได้รับดาวมิชลิน 3 ดาว คือ ร้านอาหารที่ควรค่าแก่การเดินทางไกลเพื่อไปชิมสักครั้ง (worth a journey) (2) ร้านอาหารที่ได้รับดาวมิชลิน 2 ดาว คือ ร้านอาหารที่ควรค่าแก่การขับรถออกนอกเส้นทางเพื่อแวะชิม (worth a detour) (3) ร้านอาหารที่ได้รับ 1 ดาว คือ ร้านอาหารคุณภาพสูงที่ควรค่าแก่การหยุดแวะชิม (worth a stop) (4) ร้านอาหารที่ได้รับรางวัลบิบ กูร์มองต์ คือ ร้านอาหารที่เสิร์ฟอาหารคุณภาพดีในราคาไม่เกิน 1,000 บาท (อาหาร 3 คอร์สไม่รวมเครื่องดื่ม) และ (5) ร้านอาหารที่ได้รับดาวมิชลินรักษ์โลก คือ ร้านอาหารคุณภาพที่โดดเด่นเรื่องแนวทางปฏิบัติเพื่อความยั่งยืน มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างมีมาตรฐาน ทั้งยังร่วมมือกับผู้ผลิตและคู่ค้าเพื่อเลี่ยงการสร้างขยะเหลือใช้ รวมถึงลดการใช้พลาสติก และวัสดุที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้งานได้ใหม่อีกด้วย 2 ประเทศไทยมีจำนวนร้านอาหารที่ได้รับรางวัลมิชลินประเภทบิบ กูร์มองต์ เป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชีย (ไม่รวมประเทศญี่ปุ่น) 15. เรื่อง การพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้ 1. ให้ ศธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ดำเนินการ ดังนี้ 1.1 พัฒนาโรงเรียนมัธยมศึกษา (ระดับตำบล) ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (รร.จ.ภ.) ประจำเขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) จำนวน 6 แห่ง ประกอบด้วย เขตตรวจราชการที่ จังหวัดเขตพื้นที่บริการ 3 กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี 9 จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว 12 กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด 14 ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี 15 เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน 18 กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี รวมทั้งเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณในการดำเนินการดังกล่าว (จำนวน 6 แห่ง แห่งละประมาณ 545.993 ล้านบาท) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2569 (ระยะเวลารวม 5 ปี) รวมงบประมาณจำนวน 3,275.958 ล้านบาท ดังนี้ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2566 2567 2568 2569 รวม งบประมาณ (ล้านบาท) 443.400 781.098 870.060 749.700 431.700 3,275.958 และระยะต่อไปให้ขอจัดตั้งงบประมาณประจำปีตามความเหมาะสม 1.2 ปรับปรุงแก้ไขจังหวัดเขตพื้นที่บริการ รร.จ.ภ. ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจำนวนโรงเรียนและบริบทเชิงพื้นที่ ภูมิศาสตร์ ภูมิสังคม ระบบราชการ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินการ 1.3 ดำเนินการจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารงานกลุ่ม รร.จ.ภ. ให้เกิดเอกภาพ มีความเป็นอิสระ คล่องตัว มีประสิทธิภาพในการบริหารงานบุคคล วิชาการ งบประมาณ และบริหารทั่วไปเพื่อเป็นต้นแบบต่อไป 2. ให้มีคณะกรรมการพัฒนา รร.จ.ภ. มีอำนาจหน้าที่ในการให้ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำการบริหารงานและการพัฒนา รร.จ.ภ. แก่ ศธ. สพฐ. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และหน่วยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการกำหนดนโยบาย ทิศทาง การพัฒนา กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ รร.จ.ภ. สาระสำคัญของเรื่อง ศธ. รายงานว่า 1. การดำเนินโครงการพัฒนา รร.จ.ภ. ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มีจุดมุ่งหมายพิเศษในการจัดการศึกษาให้กับนักเรียนผู้มีศักยภาพสูงสุดและมีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อพัฒนานักเรียนดังกล่าวให้มีความสามารถศึกษาต่อทางด้าน STEM ในมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำของโลก เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี วิศวกร และนักคณิตศาสตร์ ซึ่งการดำเนินการของกลุ่ม รร.จ.ภ. ในช่วงเวลาที่ผ่านมา พบว่า ได้ผลดีเป็นอย่างยิ่ง มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจน สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลในปัจจุบัน โดยเฉพาะด้านการเตรียมความพร้อมด้าน STEM เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบาย Thailand 4.0 รวมถึงเป็นการเตรียมกำลังคนระดับสูง ทางด้าน STEM เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับกลุ่มผู้ลงทุนให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม 4.0 ของประเทศ ดังนั้น การพัฒนากลุ่ม รร.จ.ภ. ให้ก้าวหน้า ก้าวทันยุคสมัย จึงเป็นสิ่งสำคัญและต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง 2. การดำเนินโครงการในช่วงที่ผ่านยังมีข้อจำกัดที่สำคัญหลายประการ เช่น การจำกัดจำนวนนักเรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อใน รร.จ.ภ. บุคลากรและความคล่องตัวในการดำเนินงาน ความจำเป็นของคณะกรรมการพัฒนา รร.จ.ภ. ซึ่ง ศธ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินการพัฒนา รร.จ.ภ. ให้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ศธ. จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ ข้อจำกัด/ ข้อเสนอแนะ สาระสำคัญ ข้อจำกัดที่ 1 : เขตพื้นที่บริการของ รร.จ.ภ. แต่ละแห่งมีจังหวัดพื้นที่บริการ 7 - 8 จังหวัดต่อโรงเรียน ประกอบกับความต้องการของนักเรียนที่จะเข้าศึกษาต่อใน รร.จ.ภ. มีจำนวนมาก (ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สมัครเข้าศึกษาต่อเฉลี่ย 24,179 คน/ปี รับเข้าศึกษาต่อได้เพียงปีละ 1,152 คน และในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สมัครเข้าศึกษาต่อเฉลี่ย 8,659 คน/ปี รับเข้าศึกษาต่อได้ปีละ 1,728 คน) ส่งผลให้เป็นข้อจำกัดในการเข้าถึงการศึกษา ข้อเสนอแนะ (ศธ. เสนอในครั้งนี้) ปรับปรุงแก้ไขจังหวัดเขตพื้นที่บริการของ รร.จ.ภ. ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจำนวนโรงเรียนและบริบทเชิงพื้นที่ ภูมิศาสตร์ ภูมิสังคม ระบบราชการ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินการ โดยอ้างอิงตามเขตตรวจราชการ (เขตตรวจฯ) ของสำนักนายกรัฐมนตรี ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 221/2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ สั่ง ณ วันที่ 10 กันยายน 2561 ที่กำหนดไว้จำนวน 18 เขตตรวจราชการ โดยกำหนดให้มีการจัดตั้ง รร.จ.ภ. เพิ่มขึ้นอีก จำนวน 6 โรงเรียน (6 เขตตรวจฯ) เนื่องจากยังไม่มี รร.จ.ภ. ตั้งอยู่ ดังนี้ จังหวัดตามเขตตรวจฯ ของสำนักนายกรัฐมนตรี รร.จ.ภ.ประจำเขตตรวจฯ เขตตรวจฯ ที่ 1 : ชัยนาท อยุธยา ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง จ.ภ.ลพบุรี เขตตรวจฯ ที่ 2 : นนทบุรี ปทุมธานี นครปฐม สมุทรปราการ จ.ภ.ปทุมธานี *เขตตรวจฯ ที่ 3 : กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม - เขตตรวจฯ ที่ 4 : ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร จ.ภ.เพชรบุรี เขตตรวจฯ ที่ 5 : ชุมพร นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา จ.ภ.นครศรีธรรมราช เขตตรวจฯ ที่ 6 : กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง จ.ภ.ตรัง เขตตรวจฯ ที่ 7 : นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สตูล** จ.ภ.สตูล เขตตรวจฯ ที่ 8 : ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จ.ภ.ชลบุรี *เขตตรวจฯ ที่ 9 : จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว - เขตตรวจฯ ที่ 10 : บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี จ.ภ.เลย เขตตรวจฯ ที่ 11 : นครพนม มุกดาหาร สกลนคร จ.ภ.มุกดาหาร *เขตตรวจฯ ที่ 12 : กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด - เขตตรวจฯ ที่ 13 : ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ จ.ภ.บุรีรัมย์ *เขตตรวจฯ ที่ 14 : ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี - *เขตตรวจฯ ที่ 15 : เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน - เขตตรวจฯ ที่ 16 : เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ จ.ภ.เชียงราย เขตตรวจฯ ที่ 17 : ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์ จ.ภ.พิษณุโลก *เขตตรวจฯ ที่ 18 : กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี - * รร.จ.ภ. ประจำเขตตรวจที่ 3, 9, 12, 14, 18 ยังไม่มี รร.จ.ภ. ตั้งอยู่ และ ศธ. เสนอตั้งเพิ่มเติมในครั้งนี้ - ดำเนินการพัฒนายกระดับโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็น รร.จ.ภ. เพิ่มเติม โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางด้านการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภูมิภาคประจำเขตตรวจราชการที่ยังไม่มี รร.จ.ภ. ตั้งอยู่ เป้าหมาย โรงเรียนมัธยมศึกษาระดับตำบลภายในจังหวัดตามเขตตรวจฯ ที่ 3, 9, 12, 14, 15 และ 18 จำนวน 6 แห่ง ในลักษณะโรงเรียนประจำ หลักเกณฑ์การคัดเลือกโรงเรียน - เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาระดับตำบลที่มีความพร้อม - มีพื้นที่ใกล้เคียง 50 ไร่ขึ้นไป - ที่ตั้งของโรงเรียนอยู่ใกล้เส้นทางคมนาคมหลัก - มีโรงเรียนมัธยมศึกษาอื่นที่ตั้งอยู่ใกล้เคียง ที่สามารถให้นักเรียนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในบริเวณนั้นสามารถเดินทางไปเรียนได้ - มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนใน รร.จ.ภ. - ไม่เป็นโรงเรียนในโครงการพิเศษอื่น ๆ หรือที่มีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ งบประมาณ 3,275.958 ล้านบาท (งบประมาณเฉลี่ยต่อโรงเรียน ประมาณ 545.993 ล้านบาท) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2569 แบ่งเป็น 1. งบลงทุน (ปรับปรุงห้องเรียน/ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ หอนอนแบบพิเศษ บ้านพักครู) จำนวน 338.993 ล้านบาท 2. งบอุดหนุนทั่วไป (เงินอุดหนุนรายหัวนักเรียน รร.จ.ภ.) จำนวน 181.440 ล้านบาท 3. งบดำเนินงาน (ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและส่งเสริมคุณภาพการศึกษา) จำนวน 24.060 ล้านบาท 4. งบรายจ่ายอื่น (ค่าเดินทางไปต่างประเทศชั่วคราว) จำนวน 1.5 ล้านบาท แผนการเตรียมความพร้อม - ประเมิน วางแผน เตรียมความพร้อมในการยกระดับ รร.จ.ภ. ในช่วงเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2564 - วางแผนการพัฒนายกระดับคุณภาพสถานศึกษา/วางแผนคัดเลือกผู้บริหาร ครู นักเรียน ในช่วงเดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2564 - ขออนุมัติกรอบอัตรากำลัง/จัดสรรอัตรากำลัง ประเมินศักยภาพข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา/ปรับปรุงพัฒนาห้องเรียนในช่องเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2565 - รับสมัครและสอบคัดเลือกนักเรียนในช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 - มกราคม 2566 - พัฒนาบุคลากรเตรียมจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรเป้าหมายในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2566 - เตรียมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ข้อจำกัดที่ 2 ขาดความคล่องตัว ความอิสระ และความมีเอกภาพในการดำเนินงานโดยเฉพาะด้านการบริหารบุคลากร เนื่องจาก รร.จ.ภ. มีวัตถุประสงค์พิเศษแตกต่างจากโรงเรียนปกติทั่วไป โดยมีจังหวัดพื้นที่บริการครอบคลุมหลายจังหวัด แต่ยังต้องสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในจังหวัดที่ตั้งของ รร.จ.ภ. ทำให้ต้องใช้กฎระเบียบเดียวกันกับโรงเรียนทั่วไป ในการสรรหา แต่งตั้ง โยกย้าย และการพัฒนาครูและบุคลากร ทำให้การบริหารงาน รร.จ.ภ. ขาดความคล่องตัวและเอกภาพในการดำเนินงาน ข้อเสนอแนะ (ศธ. เสนอในครั้งนี้) - ดำเนินการจัดระเบียบโครงสร้างการบริหารงานกลุ่ม รร.จ.ภ. ให้เกิดเอกภาพมีความเป็นอิสระ คล่องตัว มีประสิทธิภาพในการบริหารงานบุคคล วิชาการ งบประมาณ และบริหารทั่วไปเพื่อเป็นต้นแบบต่อไป ข้อจำกัดที่ 3 คณะกรรมการบริหารโครงการ รร.จ.ภ. ได้สิ้นสุดอำนาจลงแล้ว ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวเป็นคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (25 พฤศจิกายน 2553) เดิมมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย ทิศทาง การพัฒนา กำกับ ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ รร.จ.ภ. ข้อเสนอแนะ (ศธ. เสนอในครั้งนี้) - ให้มีคณะกรรมการพัฒนา รร.จ.ภ. โดยมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันกับคณะกรรมการบริหารโครงการ รร.จ.ภ. และเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ในการให้ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำการบริหารงานและการพัฒนา รร.จ.ภ. แก่ ศธ. สพฐ. คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย 16. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 35/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คณะกรรมการฯ) เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 35/2564 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) ดังนี้ 1. อนุมัติให้กรมการแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และมหาวิทยาลัยมหิดล เปลี่ยนแปลงรายละเอียดสาระสำคัญของโครงการ จำนวน 7 โครงการ โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จนสิ้นเดือนธันวาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว อย่างไรก็ดี เห็นควรให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กำกับติดตามหน่วยงานในสังกัดให้ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีไว้ ซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ แล้ว เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการทั้ง 7 โครงการ เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว 2. รับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการ และข้อเสนอแนวทางการดำเนินโครงการรถ Mobile พาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก พร้อมทั้งอนุมัติให้กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการรถ Mobile พาณิชย์...ลดราคา! ช่วยประชาชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก โดยขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินของโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยให้กรมการค้าภายในเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว 3. อนุมัติให้สวนพุทธชาติ ศูนย์เรียนรู้บริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน/สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการสร้างต้นแบบศูนย์เรียนรู้การบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนและครบวงจร เพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และสร้างต้นแบบ 1 อำเภอ 1 ตำบล ของสุพรรณบุรี เพื่อการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน พร้อม ?ร้านรวยน้ำใจ? สู้วิกฤติการระบาดของไวรัสโควิด-19 โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการฯ เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 และเปลี่ยนพื้นที่ดำเนินการ 1 พื้นที่ จากเดิม พื้นที่เทศบาล ต.องค์พระ อ.ด่านช้าง เป็น พื้นที่เทศบาล ต.สองพี่น้อง อ.สองพี่น้อง ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว โดยให้สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว 4. เห็นชอบให้จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดนครปฐม จังหวัดลำพูน และ จังหวัดยโสธร เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ หรือยกเลิกโครงการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ทำให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนที่ได้รับอนุมัติไว้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบ และให้จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดนครปฐม จังหวัดลำพูน และ จังหวัดยโสธร เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว 17. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2564 คณะรัฐมนตรีรับทราบและอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คณะกรรมการฯ) เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนี้ 1. รับทราบมติโครงการจ้างแพทย์ พยาบาลวิชาชีพ และสายงานบริการทางการแพทย์อื่นเพื่อรองรับสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงินรวม 4,335.6444 ล้านบาท โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ได้รับการจัดสรรไปดำเนินการก่อนเป็นลำดับแรก และหากจะพิจารณาใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เห็นควรให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการพิจารณากำหนดจำนวนกรอบอัตรากำลังที่จะจ้างงานภายใต้โครงการฯ ให้เป็นไปตามความจำเป็น เหมาะสมสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตลอดจนปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด เพื่อเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ 2. อนุมัติให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เพื่อครอบคลุมการช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กเล็ก ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 660,318 คน กรอบวงเงิน 1,320.6360 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ ซึ่งจะช่วยบรรเทาภาระและผลกระทบทางด้านค่าใช้จ่ายของพ่อแม่ผู้ปกครองที่ได้รับผลกระทบทางด้านรายได้อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กเล็กให้เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่อยู่ในส่วนความรับผิดชอบของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเพิ่มขึ้นเป็น 1,389,722 คน และกรอบวงเงินเพิ่มขึ้นเป็น 2,779.4440 ล้านบาท ทั้งนี้ เห็นควรมอบหมายให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว 3. มอบหมายให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดส่งรายชื่อให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาตรวจสอบความซ้ำซ้อนกับกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ และจัดทำฐานข้อมูลรายชื่อและจำนวนนักเรียนในแต่ละระดับให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้ภาครัฐมีข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายต่าง ๆ ที่เหมาะสมในอนาคตต่อไป 4. อนุมัติให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ (หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษาทั้ง 12 แห่ง) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กรอบวงเงิน 21,905.92 ล้านบาท โดยการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิม สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 เป็น สิ้นสุดเดือน พฤศจิกายน 2564 และเห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ เร่งประสานกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาตรวจสอบความซ้ำซ้อนและความถูกต้องของข้อมูลก่อนการจัดสรรงบประมาณให้กับกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ และเร่งดำเนินการเบิกจ่ายเงินให้ความช่วยเหลือค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้กับนักเรียน นักศึกษาหรือผู้ปกครอง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐโดยเร็ว ทั้งนี้ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ เร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว ต่างประเทศ 18. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างขอบเขตการดำเนินงานรางวัลด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาดีเด่นแห่งอาเซียน (Terms of Reference of ASEAN Outstanding Social Welfare and Development Awards : TOR of AOSWADA) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างขอบเขตการดำเนินงานรางวัลด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาดีเด่นแห่งอาเซียน (Terms of Reference of ASEAN Outstanding Social Welfare and Development Awards : TOR of AOSWADA) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่าง TOR of AOSWADA ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของอาเซียนหรือของประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก พร้อมอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ให้การรับรอง (Endorse) ร่าง TOR of AOSWADA ในฐานะรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาของประเทศไทย ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ร่าง TOR of AOSWADA มีรายละเอียดที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด วัตถุประสงค์ (1) ยอมรับและตระหนักถึงบทบาท ความสำเร็จที่โดดเด่น และการมีส่วนร่วมขององค์กรพัฒนาเอกชน/องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรภาคเอกชนในประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (2) สนับสนุนให้องค์กรพัฒนาเอกชน/องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรภาคเอกชน ทำงานได้อย่างต่อเนื่องและเสริมสร้างความเข้มแข็งในการทำงานและการมีส่วนร่วมในด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาในประเทศของตนเอง (3) ส่งเสริมความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนให้มีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นระหว่างรัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน/องค์กรภาคประชาสังคม และองค์กรภาคเอกชนในแต่ละประเทศ (4) ส่งเสริมความตระหนักรู้ในเรื่องอาเซียนในหมู่องค์กรพัฒนาเอกชน/องค์กรภาคประชาสังคมและองค์กรภาคเอกชน รวมทั้ง สนับสนุนให้องค์กรเหล่านี้มีส่วนร่วมในกระบวนการสร้างประชาคมอาเซียนอย่างแข็งขันและมีนัยสำคัญ องค์กรที่มีสิทธิรับ รางวัล AOSWADA รางวัลมี 2 ประเภท ได้แก่ (1) ประเภทองค์กรพัฒนาเอกชน/องค์กรภาคประชาสังคม ซึ่งรวมถึงวิสาหกิจเพื่อสังคม และ (2) ประเภทองค์กรภาคเอกชน โดยที่องค์กรที่มีสิทธิได้รับรางวัลนี้จะต้องนำผลงานหรือความสำเร็จที่โดดเด่นในด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาในประเทศของตนมาใช้ในการลงทะเบียน เกณฑ์คุณสมบัติ (1) จะต้องเป็นองค์กรระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นที่มีประสบการณ์เพียงพอในด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาในประเทศของตน (2) จะต้องส่งแผนงานหรือโครงการที่แสดงให้เห็นถึงผลความสำเร็จที่สำคัญด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาในประเทศของตน วิธีการดำเนินงาน การมอบรางวัลจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดย AMMSWD Minister ของประเทศเจ้าภาพ การประชุม SOMSWD ประจำปีนั้น ๆ เริ่มตั้งแต่การประชุม SOMSWD ครั้งที่ 17 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2564 เป็นต้นไป โดยองค์กรที่เคยได้รับรางวัลก่อนหน้านี้อาจมีส่วนร่วมกับการประชุม SOMSWD ต่อไปอีกเป็นเวลา 3 ปี โดยรายงานผ่านระบบการประชุมทางไกลหรือจัดส่งเป็นรายงานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนและเป็นไปตามความสมัครใจ 19. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง การต่างประเทศของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารข้อ 1 และ ข้อ 2 โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไข ร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนพิเศษของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรับรองเอกสารข้อ 1 ในที่ประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของ CICA ครั้งที่ 6 และอนุมัติให้ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสาร ข้อ 2 ซึ่งคาดว่าจะมีการนำเสนอเข้าสู่กระบวนการ silence procedure ของที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญของร่างเอกสารทั้ง 5 ฉบับ มีดังนี้ 1. สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะรับรองโดยที่ประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ CICA จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1.1 ร่างปฏิญญาการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 6 (Draft Declaration of the Sixth Meeting of the Ministers of Foreign Affairs of the Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia) เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิก CICA ในประเด็นด้านการเมือง ความมั่นคงของภูมิภาค เศรษฐกิจ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา และประเด็นอื่น ๆ ที่ CICA ให้ความสำคัญ โดยหัวข้อการประชุมในปีนี้ ได้แก่ ความมั่นคงและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเอเชียในโลกยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (Security and sustainable development in Asia in new realities of the post-pandemic world) 1.2 ร่างข้อบังคับการประชุมของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (แก้ไขเมื่อมี ค.ศ. 2021) (Draft CICA Rules of Procedure (as amended in 2021)) เป็นเอกสารระบุกฎระเบียบเกี่ยวกับการประชุม CICA ประกอบด้วยบทบัญญัติทั่วไป ประเภทของการประชุม เอกสาร สมาชิกภาพ สภานะผู้สังเกตการณ์และแขกรับเชิญ ประธานและหลักเกณฑ์การแก้ไขข้อบังคับการประชุม 1.3 ร่างแนวปฏิบัติว่าด้วยมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Draft Catalogue of Confidence Building Measures (CBMs)) เป็นเอกสารกำหนดหลักการพื้นฐานและเป็นแนวปฏิบัติระหว่างประเทศสมาชิก CICA ในการดำเนินความร่วมมือระหว่างกันใน 5 มิติ คือ การเมืองการทหาร ภัยคุกคามและความท้าทายรูปแบบใหม่ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และมนุษย์ 1.4 ร่างระเบียบว่าด้วยสภาผู้ทรงคุณวุฒิของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Draft Regulations of the Council of Eminent Persons of the Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia) เป็นเอกสารกำหนดหลักเกณฑ์ของหน่วยงานให้คำปรึกษา ประกอบด้วยอดีตประมุข/ผู้นำรัฐบาล นักการเมือง บุคคลชั้นนำ นักวิทยาศาสตร์ ภารกิจของหน่วยงานให้คำปรึกษา การกำหนดสมาชิกภาพ โครงสร้างองค์กร และการจัดสรรงบประมาณ 2. สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะรับรองโดยที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (Senior Officials Committee - SOC) ของ CICA จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎระเบียบการประชุมคลังสมองในกรอบการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Draft Regulations of the Think Tank Forum of the Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia) เป็นเอกสารกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับกิจกรรม วัตถุประสงค์ โครงสร้าง และรูปแบบการประชุมของหน่วยงานให้คำแนะนำ สนับสนุนข้อมูลและการวิเคราะห์ให้แก่ CICA และการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานคลังสมองและสถาบันวิจัยต่าง ๆ ของประเทศสมาชิก CICA ทั้งนี้การประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ CICA ครั้งที่ 6 จะมีขึ้นระหว่าง วันที่ 11 ? 12 ตุลาคม 2564 โดยจะมีการประชุม CICA ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสก่อนการประชุมระดับรัฐมนตรีฯ 20. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 27 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค ครั้งที่ 27 (ร่างถ้อยแถลงฯ) โดยหากมีความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงร่างถ้อยแถลงฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยก่อนการรับรอง อนุมัติให้สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) เป็นผู้รับรองร่างถ้อยแถลงฯ ร่วมกับรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปคตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอ สาระสำคัญ การประชุมรัฐมนตรีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเอเปค (APEC Small and Medium sized Enterprises Ministerial Meeting) (การประชุมฯ) เป็นการประชุมระดับนโยบายด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปีนี้เขตเศรษฐกิจนิวซีแลนด์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 27 ซึ่งมีกำหนดจัดการประชุมขึ้นในวันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 ? 13.00 น. ผ่านระบบการประชุมทางไกล การประชุมดังกล่าวประกอบด้วยประเทศสมาชิก จำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ1 สภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค (APEC Business Advisory Council: ABAC) สมัชชาเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจในแถบแปซิฟิก (Pacific Economic Cooperation Council: PECC) ประชาคมอาเซียน (Association of South East Asia Nations: ASEAN) และเลขาธิการองค์การประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก (Pacific Islands Forum: PIF) ซึ่งการประชุมฯ ในปีนี้ จะมีการหารือกันใน 2 ประเด็นหลัก คือ การใช้ดิจิทัลเพื่อการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ (Digitalisation as an enabler of Effective Recovery from Economic Shocks) และการฟื้นฟูผู้ประกอบการด้วยการส่งเสริมอย่างครอบคลุมและการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี (Promoting Inclusion and Wellbeing for Recovery) ทั้งนี้ร่างถ้อยแถลงฯ จะเป็นผลลัพธ์ของการประชุมฯ โดยมีเนื้อหาเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro Small and Medium ? sized Enterprises: MSMEs) ในช่วงการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่น ปรับปรุงการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทางเลือก โดยต้องคำนึงถึงความต้องการเฉพาะด้านของ MSMEs พยายามมองหาและปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ที่เกิดขึ้นในขณะที่ ก้าวเข้าสู่ระยะของการตอบสนองและการฟื้นตัวจากการระบาดโรคโควิด-19 กระชับความร่วมมือ สร้างศักยภาพ และแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดผ่านเอเปค เป็นต้น การใช้ดิจิทัลเพื่อการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และการฟื้นฟูผู้ประกอบการด้วยการส่งเสริมอย่างครอบคลุมและการเสริมสร้างความเป็นอยู่ที่ดี 1เอเปคมีสมาชิกจำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไน แคนาดา ซิลี จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย อเมริกา และเวียดนาม 21. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (ASEAN-China Joint Statement on Enhancing Green and Sustainable Development Cooperation) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ (ทส.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3. อนุมัติให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน (ASEAN China Summit) ครั้งที่ 24 ที่จะจัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2564 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำในร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติเสนอ สาระสำคัญ ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนการพัฒนาสีเขียวและความร่วมมือที่ยั่งยืนระหว่างภูมิภาคอาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเน้นการฟื้นฟูภูมิภาคอาเซียนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 โดยตกลงร่วมกันดำเนินการ สาระสำคัญสรุป ดังนี้ 1. สนับสนุนการดำเนินความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับสาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้ยุทธศาสตร์และกรอบแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน อาทิ วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025 กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน แผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมอาเซียน-จีน ค.ศ. 2021 - 2025 ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. 2564 - 2568) และวัตถุประสงค์ระยะยาวจนถึงปี พ.ศ. 2578 รวมถึงกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและข้อตกลงปารีส โดยมีประเด็นสำคัญ อาทิ การขจัดปัญหาความยากจน ความมั่นคงทางอาหาร การอนุรักษ์ระบบนิเวศและปกป้องสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาเมืองสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน การขจัดการขยะและควบคุมมลพิษจากพลาสติก การป้องกันขยะพลาสติกในทะเล ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน การส่งเสริมการเกษตรที่เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 2. สนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการดำเนินความร่วมมืออื่น ๆ อาทิ แนวร่วมการพัฒนา สีเขียวระหว่างประเทศหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว โครงการภายใต้กิจกรรมความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออก โครงการภายใต้กิจกรรมความร่วมมือแห่งเอเชียตะวันออก เพื่อขจัดความยากจน (ระยะที่สอง) ข้อริเริ่มของการรวมตัวของอาเซียน แผนงานระยะที่สี่ ความร่วมมือกับกลไกอนุภูมิภาค อาทิ ความร่วมมือล้านช้าง - แม่น้ำโขง ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง และแผนงานเศรษฐกิจอาเซียนตะวันออก แผนงานข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 - 2568 3. ส่งเสริมและขยายความร่วมมือความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาค และสนับสนุนความร่วมมือระหว่างรัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ สถาบันวิจัย สถาบันการเงินภาคเอกชน และชุมชน เพื่อร่วมกันส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืนในภูมิภาค 22. เรื่อง ท่าทีไทยและร่างปฏิญญาคุนหมิง (Kunming Declaration) สำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้องช่วงที่ 1 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ (ทส.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 15 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง 2. เห็นชอบในการรับรองร่างปฏิญญาคุนหมิง (Kunming Declaration) โดยไม่มีการลงนาม 3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองปฏิญญาคุนหมิง (Kunming Declaration) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขท่าทีไทย และร่างปฏิญญาคุนหมิง (Kunming Declaration) ดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่ จนสิ้นสุดการประชุมในวันที่ 13 ตุลาคม 2564 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ผ่านระบบประชุมทางไกล สาระสำคัญ 1. ท่าทีไทยสำหรับการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 15 (CBD COP 15) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ช่วงที่ 1 ประเทศไทยจะแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนร่วมกับประชาคมโลก ผ่านการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ โดยมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อลดภัยคุกคามและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ ทั้งนี้ จะต้องไม่ขัดต่อพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศอื่น ๆ กฎหมายภายในประเทศ นโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ทิศทางของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 รวมทั้ง ระเบียบวิธีปฏิบัติอื่น ๆ ภายในประเทศด้วย โดยที่การดำเนินการในเรื่องการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพรวมถึงการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ จะต้องไม่นำไปสู่ข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศด้วย โดยร่างปฏิญญามีสาระสำคัญ เช่น 1) สนับสนุนการดำเนินการตามกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลกหลังปี ค.ศ. 2020 เพื่อฟื้นคืนความหลากหลายทางชีวภาพภายในปี ค.ศ. 2030 และสามารถบรรลุวิสัยทัศน์ของอนุสัญญาฯ ค.ศ. 2050 2) ส่งเสริมการบูรณาการคุณค่าของความหลากหลายทางชีวภาพในการตัดสินใจเพื่อกำหนดนโยบาย การวางแผน กฎระเบียบ และเสริมสร้างกลไกประสานความร่วมมือการดำเนินงาน 3) จัดทำและปรับปรุงแผนปฏิบัติการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ 4) การเพิ่มประสิทธิภาพการอนุรักษ์และการจัดการเชิงพื้นที่ด้วยระบบพื้นที่คุ้มครองและมาตรการอนุรักษ์เชิงพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อปกป้องชนิดพันธุ์และลดภัยคุกคามที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ 5) การแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมและยุติธรรมจากการใช้ทรัพยากรณ์พันธุกรรม 6) การระดมทรัพยากรการเงิน การเสริมสร้างสมรรถนะและการถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นต้น แต่งตั้ง 23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นายสุวัฒน์ เอื้อเฟื้อ ผู้อำนวยการสำนักงาน (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักงานเลขาธิการ สำนักงาน ก.พ. ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2564 2. นายสมศักดิ์ เจตสุรกานต์ ผู้อำนวยการสถาบัน (ผู้อำนวยการระดับสูง) สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงาน ก.พ. ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. ตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 24. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นายนพดล พลเสน เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป 26. เรื่อง ขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของนายโอภาส ทองยงค์ อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ 27. เรื่อง การแต่งตั้งผู้แทนกระทรวงการคลังเป็นกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอการแต่งตั้ง นางศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ ผู้แทนกระทรวงการคลัง เป็นกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป 28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งนางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ [รัฐมนตรีช่วยว่า การกระทรวงศึกษาธิการ (นางกนกวรรณ วิลาวัลย์)] ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 ตุลาคม 2564