สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ตุลาคม 2564

ข่าวการเมือง Tuesday October 12, 2021 17:32 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
                    วันนี้ (12 ตุลาคม 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี  (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล  ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองควาย                                                   ตำบลบางเตย ตำบลสามโคก ตำบลบ้านปทุม และตำบลเชียงรากใหญ่

อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ?.

                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. ?. (ด่านศุลกากรนครพนม)

                    3.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง                                                   พ.ศ. ?.
                    4.           เรื่อง           ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติ                                                  และพฤติการณ์บุคคล และการกำหนดแบบเอกสารที่ใช้ในการรักษาความ                                                  ปลอดภัยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัย                                                  แห่งชาติ พ.ศ. 2552

เศรษฐกิจ สังคม

                    5.           เรื่อง           ขออนุมัติปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง                                                        สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ของกรมทางหลวง
                    6.           เรื่อง           โครงการสินเชื่อ EXIM Biz Transformation Loan
                    7.           เรื่อง           มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564
                    8.           เรื่อง           รายงานประจำครึ่งปี (มกราคม - มิถุนายน 2564) ของธนาคารแห่งประเทศไทย                                         (กค.)
                    9.           เรื่อง           คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 19/2564 เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                    10.           เรื่อง           รายงานผลการปฎิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด                                         ประจำปี พ.ศ. 2557 และประจำปี พ.ศ. 2558
                    11.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง Quick Win และ Big Rock

ของส่วนราชการในการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน

ของคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา

                    12.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2564 และแนวโน้มไตรมาส

ที่ 3/2564 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกรกฎาคม 2564

                    13.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษามาตรการแก้ไขปัญหาจราจรในเขต                                                  กรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีศึกษา การบริหารจัดการจราจรโดยใช้ระบบ                                        จราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System : ITS) ของ                                                  คณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา
                    14.           เรื่อง           หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วย                                                  ฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัส

โคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))

(ฉบับที่ 6)

                    15.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม

ครั้งที่ 36/2564

                    16.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช                                                  กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2564

ต่างประเทศ

                    17.            เรื่อง            ขอความเห็นชอบต่อการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อขยายระยะเวลาของบันทึก                                        ความเข้าใจว่าด้วยโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งในรัฐยะไข่ ระหว่างรัฐบาลแห่ง                                        ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสภาพเมียนมา
                    18.            เรื่อง            การลงนามร่างพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน

ฉบับที่ 9 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน

                    19.           เรื่อง           ร่างถ้อยแถลงร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการ                                                  ประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพ                                                  ภูมิอากาศ สมัยที่ 26
                    20.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน
                                        พ.ศ. 2564 ? 2568 (ASEAN Gender Mainstreaming Strategic Framework                                         2021 - 2025)
                    21.           เรื่อง           การร่วมรับรองเอกสารกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านการสร้างความเข้มแข็ง
                                        ของนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ด้วยหลักฐาน                                        เชิงประจักษ์ (ASEAN Collaboration Framework towards Strengthening                                         Evidence-Based MSME Policies)

แต่งตั้ง

                    22.           เรื่อง           การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบัน                                        ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง
                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหารระดับสูง

(กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
                    28.          เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396







กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองควาย ตำบลบางเตย ตำบลสามโคก ตำบลบ้านปทุม และตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองควาย ตำบลบางเตย ตำบลสามโคก ตำบลบ้านปทุม และตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                     1. ปัจจุบันโครงข่ายการจราจรสายหลักในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่เป็นการให้บริการการเดินทางในทางทิศเหนือ - ใต้ ไม่ได้ให้บริการการเดินทางในทางทิศตะวันออก - ตะวันตก โดยต้องใช้ระบบโครงข่ายถนนสายรองและสายย่อยในพื้นที่ ทำให้เสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางสูง การเสริมโครงข่ายการจราจรสายหลักทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินโครงการเชื่อมโยงถนนสายหลักฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา คือ ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 9 เมื่อพิจารณาโครงข่ายการจราจรในพื้นที่พบว่าปัจจุบันเป็นแนวเส้นทางเดิมของทางหลวงหมายเลข 3214 ซึ่งวางตัวในแนวทิศตะวันออก ? ตะวันตก ที่มีศักยภาพจะเป็นถนนสายหลักได้ จึงเป็นเหตุผลที่จะพัฒนาโครงข่ายเชื่อมต่อผ่านเส้นทางดังกล่าว เพื่อเชื่อมโครงข่ายทางหลวงให้สมบูรณ์และเป็นการแก้ปัญหาการจราจรติดขัดในพื้นที่ และเป็นไปตามกรอบแนวทางการพัฒนาโครงข่ายถนนภายใต้แผนแม่บทสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
                     2. กรมทางหลวงจึงมีความจำเป็นต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยการเวนคืนเพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214 สายบางเตย ? คลองเจ็ด ตอน บางเตย ? บ้านพร้าว จังหวัดปทุมธานี ในท้องที่ตำบลคลองควาย ตำบลบางเตย ตำบลสามโคก ตำบลบ้านปทุม  และตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และพัฒนาโครงข่ายทางหลวงให้มีมาตรฐาน เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรและลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น ตลอดจนเป็นการสนับสนุนการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ อันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องได้มาโดยแน่ชัด
                     3. กรมทางหลวงได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบรายละเอียดโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214 สายบางเตย ? คลองเจ็ด ตอน บางเตย ? บ้านพร้าว จังหวัดปทุมธานี มีจุดเริ่มต้น ที่ กม.0+000 ? กม.9+358 รวมระยะทาง 9.358 กิโลเมตร วงเงินการก่อสร้าง 4,740 ล้านบาท มีปริมาณทรัพย์สินที่ต้องจัดกรรมสิทธิ์ ประกอบด้วยที่ดินประมาณ 461 แปลง สิ่งปลูกสร้างประมาณ 267 ราย ต้นไม้ยืนต้นประมาณ 187 ราย ค่าทดแทนและค่าเสียหายอื่น ๆ และค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด รวมค่าทดแทนในการเวนคืน รวมเป็นเงินประมาณ 4,467,620,000 บาท
                      4. กรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ได้รับผลกระทบกับโครงการก่อสร้างขยายทางหลวงแผ่นดินสายดังกล่าว ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว
                    5. สำนักงบประมาณแจ้งว่า จะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ตามความจำเป็นและเหมาะสม เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคลองควาย ตำบลบางเตย ตำบลสามโคก ตำบลบ้านปทุม และตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3214 สายบางเตย ? คลองเจ็ด ตอน บางเตย ? บ้านพร้าว จังหวัดปทุมธานี


2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (ด่านศุลกากรนครพนม)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน (ฉบับที่ ..)              พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. มีกฎกระทรวงกำหนดด่านศุลกากรและด่านพรมแดน พ.ศ. 2560 ซึ่งอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 5 วรรคหนึ่ง (1) และ (2) กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจออกกฎกระทรวงในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) กำหนดท่า ที่ หรือสนามบินใด ๆ ในราชอาณาจักรให้เป็นด่านศุลกากร โดยจะกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการทางศุลกากรตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้ รวมทั้งระบุเขตศุลกากรของด่านศุลกากรนั้น และ (2) กำหนดที่ใด ๆ ให้เป็นด่านพรมแดน โดยจะกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการทางศุลกากรตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้ โดยในลำดับที่ 12 แห่งกฎกระทรวงดังกล่าว กำหนดให้มีด่านศุลกากรนครพนม ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
                     2. โดยที่ปัจจุบันด่านศุลกากรนครพนม จังหวัดนครพนม ได้ย้ายสถานที่ปฏิบัติราชการแห่งใหม่ไปตั้งอยู่ ?เลขที่ 11 หมู่ที่ 11 ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม? กค. โดยกรมศุลกากรพิจารณาแล้วจึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงตามข้อ 1. เพื่อกำหนดด่านศุลกากรนครพนมแห่งใหม่ให้สอดคล้องกับบริเวณสถานที่ที่ปฏิบัติราชการ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดด่านศุลกากรนครพนม ตั้งอยู่เลขที่ 11 หมู่ที่ 11 ตำบลอาจสามารถ อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง พ.ศ. ?. ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ สลค. เสนอว่า
                     1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 121 บัญญัติให้ในปีหนึ่งมีสมัยประชุมสามัญของรัฐสภาสองสมัย ๆ หนึ่งให้มีกำหนดเวลาหนึ่งร้อยยี่สิบวัน โดยให้ถือวันที่มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ส่วนวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองให้เป็นไปตามที่สภาผู้แทนราษฎรกำหนด และเนื่องจากได้มีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภา พ.ศ. 2562 กำหนดให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้สมาชิกได้มาประชุมเป็นครั้งแรก โดยให้ถือเป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 และต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้กำหนดให้วันที่                           1 พฤศจิกายน เป็นวันเริ่มสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบแล้ว ดังนั้น ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีวันเปิดและวันปิดสมัยประชุม ดังนี้
ปีที่          สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง          สมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สอง
1          22 พฤษภาคม 2562 ? 18 กันยายน 2562          1 พฤศจิกายน 2562 ? 28 กุมภาพันธ์ 2563
2          22 พฤษภาคม 2563 ? 18 กันยายน 2563          1 พฤศจิกายน 2563 ? 28 กุมภาพันธ์ 2564
3          22 พฤษภาคม 2564 ? 18 กันยายน 2564          1 พฤศจิกายน 2564 ? 28 กุมภาพันธ์ 2565
4          22 พฤษภาคม 2565 ? 18 กันยายน 2565          1 พฤศจิกายน 2565 ? 28 กุมภาพันธ์ 2566
                     2. โดยที่ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง พ.ศ. 2564 ตั้งแต่วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2564 ดังนั้น จึงสมควรให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่สองสำหรับปี พ.ศ. 2564 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564


4. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล และการกำหนดแบบเอกสารที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล และการกำหนดแบบเอกสารที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ตรวจพิจารณาแล้ว และแบบประวัติบุคคล (รปภ.1) ที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติขอแก้ไข ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศดังกล่าวที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติในหลักการและคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดแบบเอกสารที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 โดยกำหนดเป็นประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฉบับใหม่ขึ้น เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล และเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการรักษาความปลอดภัยให้มีความเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อันจะทำให้เกิดการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำให้การตรวจสอบบุคคลซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐเป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อราชการ ซึ่งสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติได้ยืนยันให้ดำเนินการต่อไป โดยขอแก้ไขข้อความในแบบประวัติบุคคล (รปภ.) ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดแบบเอกสารที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัย ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี                ว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2552
                    2. แก้ไขเพิ่มเติมให้ ?ผู้ถูกตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคล? เป็น ?เจ้าของประวัติ? กรอกรายละเอียดในแบบประวัติบุคคล โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลซึ่งได้แก่ ผู้ที่อยู่ระหว่างรอว่าจ้าง บรรจุ หรือแต่งตั้งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือผู้ที่จะได้รับความไว้วางใจให้เข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการหรือให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับภารกิจที่สำคัญหรือทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน โดยบุคคลเจ้าของประวัติต้องกรอกรายละเอียดในแบบประวัติบุคคล (รปภ.1) ให้ครบถ้วน และอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของเจ้าหน้าที่ควบคุมการรักษาความปลอดภัย หรือเจ้าหน้าที่ผู้ช่วยควบคุมการรักษาความปลอดภัยในหน่วยงานของรัฐนั้น
                    3. เพิ่มกระบวนการในการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์ (จากเดิมให้ดำเนินการตรวจสอบพิมพ์ลายนิ้วมือ) โดยเพิ่มเติมให้ดำเนินการพิสูจน์ยืนยันตัวบุคคลด้วยวิธีการอื่นได้ในกรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบลายนิ้วมือได้ โดยกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องทำหนังสือถึงหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์ของบุคคล เพื่อดำเนินการพิมพ์ลายนิ้วมือและตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือ ส่วนกรณีที่ไม่สามารถตรวจสอบลายนิ้วมือได้ ให้ดำเนินการด้วยวิธีอื่น ในการนี้ให้มีการตรวจสอบประวัติการต้องหาคดีอาญาด้วย ซึ่งอาจตรวจสอบจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วแจ้งผลการดำเนินการถึงหน่วยงานของรัฐเจ้าของเรื่องโดยตรง ทั้งนี้ ให้องค์การรักษาความปลอดภัยร่วมกันพิจารณาวางแนวทางการตรวจสอบพฤติการณ์ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐรับไปดำเนินการเป็นการทั่วไปได้ โดยอาจเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมพิจารณาได้
                    4. แก้ไขเพิ่มเติมกรณีผลการตรวจสอบตามข้อ 3 ปรากฏว่า บุคคลเจ้าของประวัติมีความผิด หรือ             มีผลของคดี หรือมีพฤติการณ์ที่ไม่เหมาะสมหรือมีผลกระทบต่อการรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ ให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาผลการตรวจสอบว่าจะสั่งบรรจุ แต่งตั้ง หรือว่าจ้าง หรือให้บุคคลนั้นพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ และให้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    5. แก้ไขเพิ่มเติมการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์บุคคลโดยละเอียดให้รวมถึงบุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน
                    6. กำหนดเพิ่มเติมให้ในกรณีที่มีความจำเป็น องค์การรักษาความปลอดภัย อาจประสานกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์โดยละเอียดของบุคคล ที่จะบรรจุเข้ารับราชการ หรือว่าจ้าง หรือมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจหรือตำแหน่งที่สำคัญหรือเข้าถึงสิ่งที่เป็นความลับของทางราชการและทรัพย์สินมีค่าของแผ่นดิน หรือบุคคลที่มีพฤติการณ์ที่จะเป็นภัยต่อความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งรัฐได้ตามความเหมาะสม โดยให้บุคคลดังกล่าวลงนามในบันทึกรับรองการรักษาความลับเมื่อเข้ารับการปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจหรือตำแหน่งหน้าที่ตามแบบ รปภ.3
                    7. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการให้มีการรับรองความไว้วางใจแก่เจ้าหน้าที่ในสังกัดตามระดับความไว้วางใจตามแบบ รปภ.4 และจัดให้มีทะเบียนความไว้วางใจตามแบบ รปภ.5 รวมทั้งกำหนดให้บุคคลใดเมื่อพ้นจากภารกิจหรือตำแหน่งหน้าที่เกี่ยวกับความลับของทางราชการ ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการให้บุคคลนั้นลงชื่อในบันทึกรับรองการรักษาความลับเมื่อพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจหรือตำแหน่งหน้าที่ตามแบบ รปภ.6
                    8. ปรับปรุงแบบเอกสารที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยให้เป็นปัจจุบันและมีความเหมาะสม ประกอบด้วย 6 แบบ ได้แก่
                              (1) แบบประวัติบุคคล (รปภ.1)
                              (2) แบบบันทึกเปลี่ยนแปลงประวัติบุคคล (รปภ.2)
                              (3) แบบบันทึกรับรองการรักษาความลับเมื่อเข้ารับการปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจหรือตำแหน่งหน้าที่ (รปภ.3)
                              (4) แบบใบรับรองความไว้วางใจ (รปภ.4)
                              (5) แบบทะเบียนความไว้วางใจ (รปภ.5)
                              (6) แบบบันทึกรับรองการรักษาความลับเมื่อพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่ในภารกิจหรือตำแหน่งหน้าที่ (รปภ.6)

เศรษฐกิจ สังคม

5. เรื่อง ขออนุมัติปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ของกรมทางหลวง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายบางใหญ่ - กาญจนบุรี (โครงการฯ) จากเดิม 55,927 ล้านบาท เป็น 56,047.37 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 120.37 ล้านบาท) โดยปรับเพิ่มวงเงินงบประมาณรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง รายการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ช่วงกิโลเมตร 38+500.000 - กิโลเมตร 44+266.833 ตอน 12 จากเดิม 1,911.11 ล้านบาท เป็น 2,031.48 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 120.37 ล้านบาท) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คค. รายงานว่า
                    1. โครงการฯ ในส่วนของสัญญางานโยธา ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ซึ่งแบ่งออกเป็น 25 สัญญา โดยปัจจุบัน (ณ เดือนกันยายน 2564) อยู่ระหว่างการก่อสร้างงานโยธา 21 สัญญา และก่อสร้างแล้วเสร็จ 4 สัญญา มีผลงานร้อยละ 61.24 (เร็วกว่าแผนร้อยละ 3.63) รวมทั้งจ่ายค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินครบถ้วนแล้ว
                    2. กรมทางหลวงแจ้งว่า โครงการฯ (ตอน 12) มีระยะทาง 5.77 กิโลเมตร ซึ่งเริ่มต้นสัญญาเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 และจะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 21 สิงหาคม 2566 มีผลงานร้อยละ 28.60 เร็วกว่าแผนร้อยละ 1.24 (แผนงานร้อยละ 27.36) แต่ในการดำเนินการก่อสร้างโครงการตอนดังกล่าวมีปัญหาอุปสรรคในการก่อสร้างจึงมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขแบบก่อสร้างซึ่งส่งผลให้วงเงินค่าก่อสร้างปรับเพิ่ม จากเดิม 1,911.11 ล้านบาท เป็น 2,031.48 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 120.37 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.30 ของค่างาน ตามสัญญาเดิม) ทั้งนี้ คณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โครงการฯ (ตอน 12) ได้พิจารณาแล้วมีมติว่าการปรับรูปแบบของโครงการฯ เกิดจากการปรับรูปแบบให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของหน่วยงานที่โครงการฯ ตัดผ่าน เพื่อบรรเทาผลกระทบ            ที่เกิดขึ้นกับชุมชน และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพทางกายภาพของพื้นที่ โดยรูปแบบการแก้ไขปัญหาตามสัญญาใหม่เป็นรูปแบบที่เหมาะสมและถูกต้องตามหลักวิศวกรรมแล้ว โดยการดำเนินการดังกล่าวมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบก่อสร้าง
รูปแบบตามสัญญาเดิม          รูปแบบตามสัญญาใหม่          เหตุผลความจำเป็นในการปรับปรุง
กรณีที่ 1 ปรับรูปแบบสะพาน โดยการยกระดับสะพาน
- เป็นงานก่อสร้างสะพานข้ามคลองชลประทาน จำนวน 2 จุด
- โครงสร้างเป็นสะพานคานคอนกรีตอัดแรงรูปตัวยู (U - Girder)
- ความยาวสะพานประมาณ 19.40 - 25.40 เมตร
- ความสูงช่องลอดใต้สะพาน 4 เมตร
          - ปรับเพิ่มช่วงความยาวสะพานจากเดิม 24.50 เมตร เป็น 40 เมตร สำหรับกิโลเมตร 41+700.000
- ปรับเพิ่มช่วงความยาวสะพานจากเดิม 20 เมตร เป็น 30 เมตรสำหรับกิโลเมตร 42+750.000
- เพิ่มความสูงของช่องลอดใต้สะพาน จากเดิม 4 เมตร เป็น 4.50 เมตร
- ก่อสร้างสะพานขาไปและขากลับเพิ่มอีก 3 ช่วง ช่วงละ 20 เมตร รวมทั้งสิ้น 60 เมตร          เพื่อแก้ไขความยาวช่วงสะพาน (Span) ให้สอดคล้องกับความกว้างของคลองชลประทาน โดยไม่ให้ตอม่อสะพานอยู่บนคันคลอง พร้อมทั้งปรับความสูงของช่องลอด ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของกรมชลประทาน
กรณีที่ 2 ปรับเพิ่มโครงสร้างปรับการทรุดตัวบริเวณคอสะพาน (Bearing Unit)
งานก่อสร้างคันทางดินถมสลับกับงานก่อสร้างสะพาน          ปรับเพิ่มโครงสร้างปรับการทรุดตัวบริเวณคอสะพาน (Bearing Unit) ให้มีความสอดคล้องกับสภาพธรณีวิทยาพื้นที่โครงการ          เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพธรณีวิทยาในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างตอนที่                           12 เนื่องจากการเจาะสำรวจเพิ่มเติมพบว่า ชั้นดินมีสภาพธรณีวิทยาแปรปรวน และมีคุณสมบัติยุบตัวสูง ส่งผลต่อการทรุดตัวของคันทาง อีกทั้งเป็นพื้นที่เกษตรกรรม มีรถบรรทุกขนส่งผลิตผลการเกษตรสัญจร ทำให้ต้องยกความสูงของช่องลอดสะพานบางแห่ง
                              2.2 กรอบวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธาและค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินในภาพรวมของโครงการฯ (จำนวน 25 ตอน)
รายการ          กรอบวงเงิน (ล้านบาท)
          ตามมติคณะรัฐมนตรี
(12 พฤศจิกายน 2562)          เสนอขอปรับเพิ่ม
ในครั้งนี้          หลังคณะรัฐมนตรี
มีมติอนุมัติ
ค่าก่อสร้างงานโยธา          38,475.00          120.37          38,595.37
ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน          17,452.00          -          17,452.00
รวมทั้งสิ้น          55,927.00          120.37          56,047.37
ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้เห็นชอบให้กรมทางหลวงเพิ่มวงเงินงบประมาณรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ภายใต้แผนงานบูรณาการพัฒนาด้านคมนาคมและระบบโลจิสติกส์โครงการฯ (ตอน 12) ในวงเงิน 120.37 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว (ซึ่งเพิ่มจากวงเงินตามสัญญา 1,911.11 ล้านบาท เป็นภายในกรอบวงเงิน 2,031.48 ล้านบาท)
                    3. การก่อสร้างในส่วนของงานโยธาต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อส่งมอบพื้นที่ตามสัญญาการให้เอกชนร่วมทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษา (Operation and Maintenance : O&M) ดำเนินการต่อไป โดยกรมทางหลวงจะทยอยส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างและงานโยธาให้กับเอกชนคู่สัญญาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป และเร่งรัดงานติดตั้งระบบต่าง ๆ เช่น ระบบเก็บค่าผ่านทาง ระบบควบคุมการจราจร เป็นต้น โดยจะเริ่มเปิดทดลองให้บริการ Soft Opening ภายในปี พ.ศ. 2566 และเปิดให้บริการเต็มรูปแบบภายในปี พ.ศ. 2567 ตามแผนการดำเนินงานต่อไป
6. เรื่อง โครงการสินเชื่อ EXIM Biz Transformation Loan
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการโครงการสินเชื่อ EXIM Biz Transformation Loan (โครงการฯ) ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ สำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น กรอบวงเงินจำนวน 575 ล้านบาท นั้น ให้ ธสน. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า
                    1. กค. (ธสน.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการค้าระหว่างประเทศที่เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ประกอบกับเพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการทุกขนาดธุรกิจ (S/M/L) ที่อยู่ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (S - Curve) และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ยังไม่คลี่คลาย รวมทั้งเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ และเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการที่เริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์ดังกล่าวด้วยต้นทุนอัตราดอกเบี้ยที่สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ กค. จึงเสนอโครงการฯ ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ต่อเนื่องจากมาตรการสินเชื่อเพื่อการลงทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ภายใต้มาตรการการเงินการคลัง เพื่อสนับสนุนการลงทุนในประเทศ ปี 2563 โดยมีสาระสำคัญของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการฯ สรุปได้ ดังนี้
หลักเกณฑ์/เงื่อนไข          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และต้องการปรับปรุงเครื่องจักรหรือลงทุนในเครื่องจักรใหม่ และเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิตให้แก่ผู้ประกอบการที่เริ่มฟื้นตัวให้กลับมาประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องด้วยต้นทุนอัตราดอกเบี้ยที่สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้
กลุ่มเป้าหมาย          ผู้ประกอบการทุกขนาดธุรกิจ (S/M/L) ที่อยู่ในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (S - Curve) และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เช่น อุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ และเคมีชีวภาพ อุตสาหกรรมดิจิทัล และอุตสาหกรรมแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) เป็นต้น
วงเงินโครงการ          5,000 ล้านบาท
วงเงินอนุมัติสินเชื่อสูงสุดต่อราย          ไม่เกิน 100 ล้านบาท
ระยะเวลาโครงการ          1) ระยะเวลาอนุมัติวงเงิน : นับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565
2) ระยะเวลาการให้กู้ยืม : ไม่เกิน 7 ปี
อัตราดอกเบี้ยต่อปี          ปีที่ 1 - 2 : อัตราดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 2
ปีที่ 3 - 5 : อัตราดอกเบี้ย Prime Rate - ร้อยละ 2
ปีที่ 6 - 7 : อัตราดอกเบี้ย Prime Rate
(ข้อมูล ณ วันที่ 30 กรกฎาคม 2564 อัตราดอกเบี้ย Prime Rate อยู่ที่ร้อยละ 5.75)
หลักประกัน          พิจารณาความเหมาะสมตามความเสี่ยงของผู้กู้และโครงการ เช่น หลักประกันทางธุรกิจ เป็นต้น
วงเงินงบประมาณที่รัฐบาลชดเชย          ธสน. ขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ยระหว่างดอกเบี้ยรับในอัตราปกติ และดอกเบี้ยรับภายใต้โครงการฯ ที่เกิดขึ้นให้แก่ ธสน. เป็นจำนวนทั้งสิ้น 575 ล้านบาท รวมทั้งให้ ธสน. แยกบัญชีการดำเนินโครงการฯ เป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account: PSA)
หมายเหตุ : เงื่อนไขอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่ ธสน. กำหนด
7. เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2564 (จำนวน 12 เรื่อง)                 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 ที่ให้ถือว่าการประชุม กก.วล. เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องสิ่งแวดล้อม และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 (เรื่อง มติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 ครั้งที่ 11/2548 และครั้งที่ 12/2548) รับทราบมติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ที่ให้นำมติ กก.วล. เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญ และเรื่องที่ กก.วล. พิจารณาได้ข้อยุติแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ สรุปได้ ดังนี้
เรื่อง          มติ กก.วล.
1. การถอนรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จำนวน 2 โครงการ
          รับทราบการถอนรายงาน EIA ได้แก่ โครงการทางรถไฟเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามันของการรถไฟแห่งประเทศไทย และโครงการเร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ทางหลวงหมายเลข 12 ตอน อ. หล่มสัก-แยก อ. คอนสาร ของกรมทางหลวง (ทล.)
2. ร่างรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2563          รับทราบร่างรายงาน ฯ เกี่ยวกับคุณภาพน้ำผิวดิน คุณภาพอากาศและเสียง ขยะมูลฝอยชุมชน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีกว่าปีที่ผ่านมา
3. โครงการโรงไฟฟ้าน้ำพองทดแทนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)          เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้ง 8 โครงการ โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการ ดังนี้
(1) ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
(2) ให้ตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการฯ                    ที่กำหนดไว้
(3) โครงการโรงไฟฟ้าน้ำพองฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นต่าง ๆ เช่น การจัดให้มีจอแสดงผลข้อมูลการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม การเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันสนิมในท่อน้ำร้อน และการเพิ่มการตรวจวัดค่าอุณหภูมิของน้ำในห้วยโจด
4. โครงการสถานีเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซแบบลอยน้ำ (Floating Storage and Regasification Unit: FSRU) พื้นที่อ่าวไทยตอนบนของ กฟผ.
5. โครงการท่าเทียบเรือ FSRU ของ กฟผ.
6. โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ สายทางเลี่ยงเมืองพนัสนิคมของ ทล.
7. โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกที่อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ของ ทล.
8. โครงการก่อสร้างอาคารที่พักข้าราชการ กองบัญชาการกองทัพไทย พื้นที่ศูนย์รักษาความปลอดภัยของกองบัญชาการกองทัพไทย          (4) โครงการก่อสร้างทางแนวใหม่ฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สิน
(5) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นเกี่ยวกับการจัดทำแผนด้านเศรษฐกิจ และมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 บริเวณชายแดน
(6) โครงการก่อสร้างอาคารที่พักข้าราชการฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นการจัดตั้งสถานพยาบาล และโรงเรียนอนุบาลตามมาตรฐานผังเมือง และการเฝ้าระวังการรื้อถอนอาคารเก่าและจัดการซากอาคาร
(7) โครงการจัดตั้งวัดบ้านห้วยน้ำผักฯ ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) นำความเห็นของ กก.วล. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดเป็นหลักการมอบหมายให้ พศ. ดูแลให้คำแนะนำและช่วยเหลือสำนักสงฆ์หรือวัดที่มีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(8) โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนดฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นการใช้พื้นที่ของโครงการให้เหมาะสมและเท่าที่จำเป็น โดยคำนึงถึงศักยภาพของพื้นที่ การสร้างความรู้ความเข้าใจกับประชาชนในเรื่องการใช้น้ำและการอยู่ร่วมกันกับสัตว์ป่า
9. โครงการจัดตั้งวัดบ้านห้วยน้ำผัก (ที่พักสงฆ์เทิดพระเกียรติสิรินธร) ของที่พักสงฆ์เทิดพระเกียรติสิรินธร
10. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับโครงการกิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรง โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี ของกรมชลประทาน
11. การปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล          เห็นชอบการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเสนอ และมอบหมายให้ ทส. นำประกาศ กก.วล. เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทะเล พ.ศ. .... เสนอประธานกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณาลงนามต่อไป (อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
12. การปรับปรุงมาตรฐานการระบายค่าควันดำจากรถยนต์ใช้งานที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด          เห็นชอบการปรับปรุงมาตรฐานค่าควันดำของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเสนอ และมอบหมายให้ ทส. นำร่างประกาศ ทส. เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าควันดำของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด พ.ศ. ?. เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาลงนามต่อไป (อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
8. เรื่อง รายงานประจำครึ่งปี (มกราคม - มิถุนายน 2564) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (กค.)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานประจำครึ่งปี (มกราคม-มิถุนายน 2564) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ ธปท. พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 61 ซึ่งบัญญัติให้ทุกหกเดือนให้ ธปท. จัดทำรายงานสภาพเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน นโยบายสถาบันการเงิน นโยบายระบบการชำระเงิน แนวทางการดำเนินงานและประเมินผล เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ภาวะเศรษฐกิจ
                              1.1 เศรษฐกิจประเทศไทย (ไทย) ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 2.0 จากระยะเดียวกันของปีก่อน (จากที่หดตัวร้อยละ 5.3 ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563) อย่างไรก็ตาม การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด-19) ในประเทศที่รุนแรงขึ้น ส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชน กำลังซื้อ และความเชื่อมั่นของครัวเรือนลดลง ขณะเดียวกันการส่งออกบริการโดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวยังอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้าไทยมีจำนวนไม่มาก ส่วนการส่งออกสินค้าปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ประกอบกับสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของโลกอยู่ในช่วงปรับตัวขึ้น การลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ตามการฟื้นตัวของภาคการส่งออก รวมทั้งมีการลงทุนของภาคธุรกิจเพื่อปรับตัวไปสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น การใช้จ่ายภาครัฐมีบทบาทในการพยุงเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเบิกจ่ายสำหรับโครงการด้านชลประทานและคมนาคม รวมถึงมาตรการเงินโอนในรูปแบบต่าง ๆ ที่ช่วยบรรเทาค่าใช้จ่ายของครัวเรือน
                              1.2 เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในประเทศเปราะบางมากขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจชะลอตัว กระทบการจ้างงานและรายได้ของครัวเรือน นอกจากนี้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับมาเป็นบวกจากฐานราคาพลังงานที่ต่ำในปีก่อน
                              1.3 เสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยยังคงเข้มแข็ง สามารถรองรับความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้ ซึ่งสะท้อนจากสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่ต่ำและสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์สากล ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐและดัชนีค่าเงินบาทอ่อนค่าลงโดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่ 2 ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในไทยที่กลับมารุนแรงขึ้น
                    2. การดำเนินงานของ ธปท. ประกอบด้วย
                              2.1 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายการเงิน คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 อนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงินด้านเสถียรภาพราคาสำหรับระยะปานกลางและสำหรับปี 2564 โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าลงจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้น อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยมีแรงสนับสนุนจากแนวโน้มการใช้จ่ายภาครัฐที่สูงขึ้นจากการออกพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ กนง. เห็นว่า สิ่งที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย คือ การจัดหาและการกระจายวัคซีนที่เหมาะสมให้เพียงพอ การเร่งดำเนินมาตรการการเงินและการคลังให้เกิดประสิทธิผลในวงกว้าง การให้ความสำคัญกับการติดตามและดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า และการติดตามพัฒนาการของอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้าย โดยส่งเสริมให้กลุ่มนักลงทุนไทยลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศเพิ่มขึ้น
                              2.2 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายสถาบันการเงินคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) ให้ความสำคัญ ดังนี้ (1) การออกมาตรการในช่วงโควิด-19 โดยติดตามความคืบหน้าการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้และมีแผนดำเนินงานเพื่อดูแลผลกระทบ รวมทั้งสนับสนุนมาตรการการปรับลดอัตราเงินนำส่งเงินให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อช่วยลดต้นทุนของสถาบันการเงิน (2) การดูแลความเสี่ยงและการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจโดยรวมและเศรษฐกิจด้านนโยบายกำกับสถาบันการเงิน โดยติดตามความเสี่ยงของเสถียรภาพระบบการเงินอย่างใกล้ชิด และให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินความเสี่ยงในประเด็นสำคัญ เช่น การประเมินผลกระทบของเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งการออกและปรับปรุงนโยบายกำกับสถาบันการเงินที่สำคัญ (3) การดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการเงินในยุคดิจิทัล ติดตามและให้ความเห็นต่อแนวทางการกำหนดนโยบายส่งเสริมระบบการเงินที่ช่วยให้ผู้บริโภคทุกกลุ่มเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเหมาะสม อีกทั้ง ธปท. อยู่ระหว่างจัดทำกรอบการพัฒนาระบบสถาบันการเงินไทยในระยะต่อไปซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบการเงินในยุคดิจิทัลและการส่งเสริมธนาคารเพื่อความยั่งยืน และ (4) ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 มีความมั่นคง เงินกองทุน เงินสำรอง และสภาพคล่องอยู่ในระดับสูง สามารถรองรับผลกระทบจากโควิด-19 และสามารถให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ และสนับสนุนความต้องการสินเชื่อในระยะต่อไป ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ช่วยชะลอการเสื่อมลงของคุณภาพสินเชื่อ โดยคุณภาพสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ค่อนข้างทรงตัว ขณะที่คุณภาพสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจเสื่อมลงเล็กน้อย
                               2.3 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายระบบการชำระเงิน สรุปได้ ดังนี้              (1) แนวโน้มการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 มีปริมาณธุรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.2 แต่หดตัวในเชิงมูลค่าร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนการใช้บริการโอนเงินและชำระเงินออนไลน์ผ่าน Mobile Banking/Internet Banking เติบโตสูงสุดที่ร้อยละ 66.5 และการลงทะเบียนและการใช้บริการระบบพร้อมเพย์มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และ (2) การดำเนินงานตามกรอบการพัฒนา 5 ด้านของแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ฉบับที่ 4 เช่น (1) ผลักดันและส่งเสริมมาตรฐานด้านข้อมูล ISO 20022 เพื่อรองรับข้อมูลการชำระเงินและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจและการเชื่อมโยงกับต่างประเทศ (2) ขยายการใช้ Digital Payment ในหน่วยงานภาครัฐ และ (3) จัดทำโครงการนำร่องการบูรณาการข้อมูลธุรกรรมการชำระเงินในระดับรายธุรกรรมเพื่อประกอบการวางแผนนโยบายและระบุกลุ่มเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการใช้ e-Payment

9. เรื่อง คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 19/2564 เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 19/2564 เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ ดังนี้
                    สมช. เสนอว่า โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 พฤษภาคม 2562) เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) คำสั่ง คสช. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ในส่วนที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสม เพื่อรองรับการดำเนินการในระยะยาวต่อไป แล้วให้ส่งรายงานผลการพิจารณาและข้อเสนอแนะดังกล่าวให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อรวบรวมเสนอคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ซึ่ง สมช. ได้ร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) พิจารณาดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ดังกล่าวแล้ว สรุปผลการดำเนินการได้ ดังนี้
                    1. ประกาศ คสช. ฉบับที่ 98/2557 เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 57/2559 เรื่อง การปรับปรุงการบริหารเพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. รวม 3 ฉบับ ยังมีความจำเป็นต่อการดำเนินงานแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                    2. นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการการทบทวนกลไกการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรองรับการดำเนินการในระยะยาว โดยในส่วนของประกาศ คสช. ฉบับที่ 98/2557 ฯ และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 57/2559 ฯ รวมทั้งเรื่องการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่าง กอ.รมน. และ ศอ.บต. ตามคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 14/2559 ให้ออกเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรี อาศัยอำนาจนายกรัฐมนตรีตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 สำหรับคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 14/2559 เรื่อง คณะกรรมการที่ปรึกษาการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการกำหนดอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. ให้ ศอ.บต. เร่งแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 ตามขั้นตอนการเสนอแก้ไขกฎหมาย
                    3. สมช. จึงได้ดำเนินการยกร่างคำสั่งนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 19/2564 เรื่อง การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2564 แล้ว โดยมีสาระสำคัญ แบ่งออกเป็น 4 หมวด ดังนี้
                              3.1 หมวด 1 กลไกการบริหารงาน 3 ระดับ ได้แก่
                                        3.1.1 ระดับนโยบาย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
                                                  (1) ให้นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 เป็นผู้รับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้
                                                  (2) ให้สภาความมั่นคงแห่งชาติเป็นผู้ให้คำปรึกษา เสนอแนะนโยบายและแนวทางดำเนินการที่เกี่ยวข้องต่อนายกรัฐมนตรี โดยให้สภาความมั่นคงแห่งชาติแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ในการกลั่นกรอง เชื่อมโยง และบูรณาการในเชิงนโยบายระหว่างมิติด้านความมั่นคงและด้านการพัฒนา
                                        3.1.2 ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ให้มี ?คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.)? เพื่อเป็นกลไกในการบูรณาการงานในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต และให้ กอ.รมน. เป็นหน่วยงานหลักในมิติด้านความมั่นคง และ ศอ.บต. เป็นหน่วยงานหลักในมิติด้านการพัฒนา เพื่อร่วมกันจัดทำ ขับเคลื่อนงานและบูรณาการแผนปฏิบัติการ แผนงาน และโครงการของส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐ
                                        3.1.3 ระดับหน่วยปฏิบัติ ให้ กอ.รมน. โดย กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ทั้งปวงในพื้นที่ และให้ ศอ.บต. จัดให้มี ศอ.บต. ส่วนหน้า เพื่อปฏิบัติงานร่วมกับ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า
                              3.2 หมวด 2 กลไก คปต. และสำนักงานเลขานุการ คปต. กำหนดหน้าที่และอำนาจของ คปต. ในการให้ความเห็นชอบยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ แผนงาน โครงการและการจัดตั้งงบประมาณในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้มีสำนักงานเลขานุการ คปต. (สล.คปต.) ใน สมช. เพื่อปฏิบัติงานธุรการของ คปต. ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการ และคณะทำงาน รวมทั้งประสานงานกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กำหนดให้เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นผู้อำนวยการ สล.คปต.
                              3.3 หมวด 3 กลไกคณะกรรมการผู้แทนพิเศษของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คผบ.จชต.) และ สล.คปต. ส่วนหน้า คผบ.จชต. มีหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรีและราชการส่วนกลางกับหน่วยงานในพื้นที่ ประสานงานกับรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในเขตตรวจราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประสานงานกับ คปต. กอ.รมน. ศอ.บต. จังหวัด ส่วนราชการ และภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงติดตามขับเคลื่อนงานตามแผนงาน และเชื่อมโยงให้เกิดการบูรณาการ รวมทั้งให้รายงาน ปัญหา อุปสรรค และเสนอแนะแนวทางการป้องกันหรือแก้ไขปัญหาต่อประธาน คปต. และนายกรัฐมนตรี ตามลำดับ และให้ สล.คปต. สนับสนุนการดำเนินงานและงานด้านธุรการ โดยจัดให้มีที่ตั้ง สล.คปต. ส่วนหน้า อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกที่หนึ่ง
                              3.4 หมวด 4 การบูรณาการระหว่าง กอ.รมน. และ ศอ.บต. ให้ศอ.บต. ปรึกษาหารือ และรับข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะจาก กอ.รมน. ไปดำเนินการ กรณีมีปัญหาว่าการดำเนินการหรือการปฏิบัติงานใดต้องมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันหรือไม่ หรือกรณีที่มีความจำเป็นต้องพิจารณาเพื่อให้ได้ข้อยุติ ให้เสนอเรื่องต่อคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้นโดยสภาความมั่นคงแห่งชาติในฐานะผู้ให้คำปรึกษานายกรัฐมนตรี ในระดับนโยบาย เพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายก่อนเสนอต่อสภาความมั่นคงแห่งชาติ

10. เรื่อง รายงานผลการปฎิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2557 และประจำปี พ.ศ. 2558
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้
                    1. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2557 และรายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2558 รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
                    2. เห็นชอบให้นำข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและความเห็นเพิ่มเติมของกระทรวงการคลัง เป็นข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีและนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติดประจำปี พ.ศ. 2557 และประจำปี พ.ศ. 2558 ประกอบด้วย ความเป็นมา อำนาจหน้าที่ และการใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปฏิบัติงาน การกำกับดูแลและติดตามผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. รายงานผลการปฏิบัติงาน ผลการจับกุมคดียาเสพติดภาพรวมทั่วประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2557 และประจำปี พ.ศ. 2558 นอกจากนี้ ยังมีนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2557 และแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2558 ตลอดจนปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหา ซึ่งพบว่าเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ที่ได้รับการแต่งตั้งในแต่ละหน่วยงานยังขาดการบูรณาการร่วมกันในการปฏิบัติงาน อีกทั้งการใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. อาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน รายละเอียด ดังนี้
                    1. รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2557
เรื่อง          รายละเอียด
ผลการจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ          1. การจับกุมคดียาเสพติดภาพรวมทั่วประเทศ มีผลการจับกุม รวม 347,028 คดี ผู้ต้องหา 365,918 คน
2. จับกุมคดียาเสพติดในฐานความผิดสำคัญ (ผลิต, นำเข้า, ส่งออก, จำหน่าย, ครอบครองเพื่อจำหน่าย) เป้าหมายร้อยละ 20 ของคดียาเสพติดทั่วประเทศ มีการจับกุม ได้จำนวน 67,507 คดี คิดเป็นร้อยละ 19.45 มีผู้ต้องหา 80,855 คน
3. ของกลางยาเสพติดที่จับกุม ได้แก่ ยาบ้า 96,155,912 เม็ด เฮโรอีน 497.30 กิโลกรัม ไอซ์ 1,073.60 กิโลกรัม กัญชา 28,104.54 กิโลกรัม
4. จับกุมคดียาเสพติดฐานความผิดสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ เป้าหมาย 500 คดี มีการดำเนินการขออนุมัติ 734 คดี คิดเป็นร้อยละ 146.80 ผู้ต้องหา 2,188 คน
5. การยึด/อายัดทรัพย์สินผู้กระทำผิดคดียาเสพติด เป้าหมาย 2,000 ล้านบาท สามารถ ยึด/อายัด ทรัพย์สินได้ จำนวน 3,891 ราย มูลค่าทรัพย์สิน 1,454.44 ล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 72.70 (ผลการยึด/อายัดทรัพย์สินของสำนักงาน ป.ป.ส. จำนวน 3,782 ราย มูลค่าทรัพย์สิน 1,312.13 ล้านบาท/สำนักงาน ปปง. จำนวน 109 ราย มูลค่าทรัพย์สิน 142.31 ล้านบาท)
นโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด          ช่วงที่ 1 ประกอบด้วย 7 แผนงานที่สำคัญ ดังนี้
1. แผนงานที่ 1 การสร้างพลังสังคมและพลังชุมชนเอาชนะยาเสพติด โดยให้ทุกจังหวัด/อำเภอประเมินสถานการณ์และระดับปัญหายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อกำหนดมาตรการกิจกรรมต่อเนื่องได้อย่างชัดเจน
2. แผนงานที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด โดยนำผู้เสพเข้าบำบัดรักษาทุกระบบในภาพรวมทั่วประเทศโดยให้ความสำคัญกับระบบสมัครใจเป็นสำคัญและกระบวนการมีการติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูอย่างครบวงจร
3. แผนงานที่ 3 การสร้างภูมิคุ้มกันและป้องกันยาเสพติด โดยมีการดำเนินงานป้องกันเด็กและเยาวชนก่อนวัยเสี่ยงให้มีภูมิคุ้มกันด้านยาเสพติดให้ครอบคลุมนักเรียนตั้งแต่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
4. แผนงานที่ 4 การปราบปรามยาเสพติดและบังคับใช้กฎหมาย โดยการจับกุมคดียาเสพติด การดำเนินคดีในฐานความผิดสมคบสนับสนุนช่วยเหลือ การดำเนินการยึด/อายัดทรัพย์สินผู้กระทำผิดยาเสพติดแบบบูรณาการ การสืบสวนปราบปรามเครือข่าย การผลิตและการค้ายาเสพติดที่เป็นโครงสร้างหลัก
5. แผนงานที่ 5 แผนความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยการปฏิบัติการความร่วมมือการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2557
6. แผนงานที่ 6 การสกัดกั้นยาเสพติด โดยการดำเนินการสกัดกั้นการลักลอบนำเข้ายาเสพติดจากนอกประเทศด้วยการจับกุมปราบปรามยาเสพติดการสร้างหมู่บ้าน ตามแนวชายแดนมีความเข้มแข็งเชิงคุณภาพและสร้างระบบเครือข่ายป้องกันยาเสพติดชายแดนอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
7. แผนงานที่ 7 แผนบริหารจัดการแบบบูรณาการ โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการแบบบูรณาการของทุกหน่วยงาน เสริมความเข้มแข็งให้กับระบบบริหารจัดการทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับจังหวัดและอำเภอ
ช่วงที่ 2 ประกอบด้วย มาตรการเร่งด่วน 6 ประการ ดังนี้
1. มาตรการที่ 1 การสกัดกั้น ปราบปรามจับกุม และหยุดยั้งการแพร่ระบาดยาเสพติด พร้อมทั้งการเข้าไปดำเนินงานเพื่อหยุดยั้งการแพร่ระบาดยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมาย
2. มาตรการที่ 2 การจัดระเบียบสังคมและเฝ้าระวังสถานบริการและสถานประกอบการ โดยเน้นการจัดระเบียบสังคมในพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ
3. มาตรการที่ 3 การบำบัดฟื้นฟูและสร้างภูมิคุ้มกัน โดยเน้นการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพ/ผู้ติดตาเสพติด และการติดตามช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดเพื่อให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติ
4. มาตรการที่ 4 การยึดและอายัดทรัพย์สินของผู้เกี่ยวข้องทั้งระบบ
5. มาตรการที่ 5 การดำเนินการกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดโดยการดำเนินการทางวินัยและทางอาญา
6. มาตรการที่ 6 การติดตามประเมินผลและรายงานผลการปฏิบัติ โดยสำนักงาน ป.ป.ส. ได้รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นประจำทุกสัปดาห์อย่างต่อเนื่อง
ปัญหาและอุปสรรค          การใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. เป็นการใช้อำนาจพิเศษที่มีบทยกเว้นการใช้อำนาจทั่วไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา การตรวจค้นจับกุมโดยไม่ต้องมีหมายศาล การใช้อำนาจอาจกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น เมื่อมีการให้อำนาจในการปฏิบัติงาน เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. พึงมีหน้าที่ต้องรายงานการใช้อำนาจดังกล่าวเพื่อเป็นการติดตามกำกับดูแลของผู้บังคับบัญชา และป้องกันมิให้มีการใช้อำนาจที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด แต่ปัญหาที่พบคือเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. มีการรายงานการใช้อำนาจเข้ามายังเลขาธิการ ป.ป.ส. น้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. จำนวน 9,044 ราย
ข้อเสนอแนะ          การควบคุม กำกับ ดูแล ผู้บังคับบัญชาหัวหน้าหน่วยงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ควรต้องควบคุม กำกับดูแล และตรวจสอบผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติหน้าที่และใช้อำนาจของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ให้ถูกต้องตามกฎหมายและเน้นย้ำให้มีการรายงานการใช้อำนาจทุกครั้งที่มีการปฏิบัติงาน
                    2. รายงานผลการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในการปราบปรามยาเสพติด ประจำปี พ.ศ. 2558
เรื่อง          รายละเอียด
ผลการจับกุมคดียาเสพติดทั่วประเทศ          1. การจับกุมคดียาเสพติดภาพรวมทั่วประเทศ มีผลการจับกุม 264,974 คดี ผู้ต้องหา 284,499 คน
2. การจับกุมคดียาเสพติดรายสำคัญ เป้าหมายร้อยละ 20 ของจำนวนคดียาเสพติดภาพรวมทั่วประเทศ (264,974 คดี) มีผลการจับกุม 62,594 คดี คิดเป็นร้อยละ 23.62
3. ปริมาณของกลางยาเสพติด ยาบ้า 87,456,207 เม็ด เฮโรอีน 179.24 กิโลกรัม ไอซ์ 1,442.05 กิโลกรัม กัญชา 22,927.82 กิโลกรัม
4. การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน เป้าหมายร้อยละ 50 ของปริมาณยาเสพติดภาพรวมทั่วประเทศ (ยาบ้า 87,456,207 เม็ด) จับกุมของกลางยาบ้า 46,362,523 เม็ด คิดเป็นร้อยละ 53.01
5. การดำเนินการฐานความผิดสมคบ สนับสนุน ช่วยเหลือ สำนักงาน ป.ป.ส. ได้รับคำร้องขอข้อกล่าวหาหรือแจ้งข้อกล่าวหาในฐานความผิดสมคบ 838 คดี ผู้ต้องหา 2,295 คน จับกุมได้ 559 คน
6. การดำเนินงานการตรวจสอบทรัพย์สิน มีผลการตรวจสอบทรัพย์สินทั้งหมด 2,317 ราย มูลค่า ทรัพย์สิน 996.96 ล้านบาท
แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2558           แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปี 2558 ต้องสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ. 2558 - 2562 ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์ที่ 1 การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด โดยมีเป้าหมาย คือ สร้างภูมิคุ้มกันให้แก่เด็กและเยาวชนและกลุ่มผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งให้กับครอบครัว ชุมชน เพื่อลดผู้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดรายใหม่
2. ยุทธศาสตร์ที่ 2 การแก้ไขปัญหาผู้เสพติดยาเสพติด โดยลดจำนวนผู้เสพติดยาเสพติดในพื้นที่ โดยนำผู้เสพยาเสพติดเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาที่มีมาตรฐานและมีความเหมาะสม
3. ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างและพัฒนาระบบรองรับการคืนคนดีให้สังคม การติดตาม ดูแลให้ความช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูให้สามารถกลับมาดำรงชีวิตได้ตามปกติ
4. ยุทธศาสตร์ที่ 4 การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด โดยควบคุมการลักลอบการลำเลียงและนำเข้ายาเสพติด สกัดกั้นการลำเลียงทางขนส่งรถโดยสารประจำทาง รถไฟพัสดุภัณฑ์ ท่าอากาศยานนานาชาติ เสริมสร้างความเข้มแข็งให้หมู่บ้าน/ชุมชนตามแนวชายแดน จับกุมผู้กระทำความผิดรายสำคัญ
5. ยุทธศาสตร์ที่ 5 ความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยแสวงหา เสริมสร้างและพัฒนาความร่วมมือในการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติดกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาประเทศ ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหายาเสพติด
6. ยุทธศาสตร์ที่ 6 การสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อป้องกันปัญหายาเสพติด โดยสร้าง ควบคุม และบริหารจัดการสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืนโดยให้ทุกจังหวัดกำหนดสถานประกอบการที่เป็นพื้นที่เสี่ยงรอบสถานศึกษา เป็นเป้าหมายการดำเนินงานเร่งด่วน
7. ยุทธศาสตร์ที่ 7 การมีส่วนร่วมภาคประชาชน โดยแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับหมู่บ้าน/ชุมชน ที่มีปัญหามาก พัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติด
8. ยุทธศาสตร์ที่ 8 การบริหารจัดการอย่างบูรณาการ โดยพัฒนาระบบบริหารจัดการ อำนวยการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อให้การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง
ปัญหาและอุปสรรค          การขาดการบูรณาการร่วมกัน เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ที่ได้รับการแต่งตั้งในแต่ละหน่วยงาน ยังขาดการบูรณาการร่วมกันในการปฏิบัติงานระหว่างหน่วยงานและไม่มีความเชื่อใจกัน เนื่องจากปรากฏว่าจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในบางครั้งพบว่า การข่าวล้มเหลว ทำให้การปฏิบัติการดังกล่าวต้องล้มเลิกทั้งที่มีการเตรียมแผนปฏิบัติการและกำลังเจ้าหน้าที่พร้อมแล้ว จึงเป็นสาเหตุทำให้การปฏิบัติระหว่างเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ต่างหน่วยอยู่บนความไม่ไว้วางใจกัน
ข้อเสนอแนะ          การควบคุม กำกับ ดูแล กระบวนการแต่งตั้งเป็นเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. มีการตรวจสอบประวัติ พฤติการณ์ของผู้ยื่นคำขอแต่งตั้งทั้งการตรวจสอบจากประวัติคดียาเสพติด ข้อมูลการข่าว การให้สำนักงาน ป.ป.ส. ในพื้นที่ตรวจสอบพฤติการณ์ ซึ่งกระบวนการตรวจสอบกระทำโดยละเอียด แต่เมื่อได้รับการแต่งตั้งแล้วกลับพบว่ามีการนำอำนาจที่มีไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งผู้บังคับบัญชาของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในแต่ละหน่วยควรจะต้องมีการกำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด และการใช้อำนาจทุกครั้งควรเน้นย้ำผู้ใต้บังคับบัญชาให้รายงานการปฏิบัติหน้าที่ทุกครั้ง สำหรับเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ที่เป็นผู้บังคับบัญชาย่อมมีหน้าที่จะต้องรายงานความก้าวหน้าของหน่วยงาน เพื่อรายงานภาพรวมของหน่วยงานเกี่ยวกับการดำเนินการปราบปรามยาเสพติด  และต้องเน้นย้ำกับเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ให้รับทราบถึงการรับโทษเป็นสามเท่าตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติด หากเจ้าพนักงานกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดจะต้องรับโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กฎหมายกำหนด

11. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง Quick Win และ Big Rock ของส่วนราชการในการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ของคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง Quick Win และ Big Rock ของส่วนราชการในการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ของคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง Quick Win และ Big Rock ของส่วนราชการในการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดินของคณะกรรมาธิการการบริหารราชการแผ่นดิน วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาศึกษา ในการปฏิรูปของส่วนราชการ พบปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการงาน การบริหารจัดการเงิน การบริหารจัดการคนและด้านอื่นๆ โดยมีข้อเสนอแนะ สรุปได้ดังนี้ (1) ควรมีหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบเรื่องการจัดทำและใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยเสนอให้ ดศ. เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการ Big Data ของภาครัฐ (2) ควรให้ฝ่ายบริหารดำเนินการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่ส่วนราชการแต่ละแห่งให้เหมาะสม โดยควรคำนึงถึงแผนงานที่มีความจำเป็นเร่งด่วน (Quick Win) และแผนงานที่มีผลกระทบต่อประชาชน (Big Rock) เป็นสำคัญก่อน (3) ควรดำเนินการ ทบทวน และรับฟังความคิดเห็นของส่วนราชการเพื่อดำเนินการพิจารณาโครงสร้างของแต่ละส่วนราชการ โดยพิจารณาจากหน้าที่และอำนาจ เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในการดำเนินการ เป็นต้น
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่ง ให้ ดศ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    ดศ. เสนอว่าได้ร่วมพิจารณากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แล้ว ซึ่งเห็นด้วยกับรายงานการพิจารณาศึกษาและข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ดังนี้

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ          ผลการพิจารณาดำเนินการ
1. ควรให้ ดศ. เป็นหน่วยงานหลักในการบริหารจัดการ Big Data ของภาครัฐ
          ดศ. ได้ร่วมดำเนินการกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ในการบริหารจัดการ Big Data ของภาครัฐในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการBig Data พัฒนาและส่งเสริมให้เกิดระบบรัฐบาลดิจิทัล รวมถึงการบูรณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อนำไปสู่การเชื่อมโยง และใช้ประโยชน์โดยเฉพาะภารกิจเกี่ยวกับบริการสำคัญ (High Impact) ให้แก่ประชาชน เช่น ด้านสาธารณสุข การมีรายได้ การเกษตร และการท่องเที่ยว เป็นต้น โดยทุกหน่วยงานภาครัฐจะต้องร่วมดำเนินการพัฒนาไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล เพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. การบริหารงาน และการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562
2. ควรพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่ส่วนราชการแต่ละแห่งให้เหมาะสม โดยคำนึงถึงแผนงาน ที่มีความจำเป็นเร่งด่วน (Quick Win) และแผนงานที่มีผลกระทบต่อประชาชน (Big Rock) เป็นสำคัญก่อน          เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะ
3. ควรให้ กค. พิจารณาทบทวนวิธีการจัดซื้อจัดจ้างให้เกิดความคล่องตัว สอดคล้องกับการปฏิรูปประเทศ          กค. โดยกรมบัญชีกลาง ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดซื้อจัดจ้าง อาทิ (1) การแก้ไขปัญหาการอุทธรณ์ มีการกำหนดแนวทางเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐเป็นไปด้วยความรวดเร็ว รวมถึงกำหนดแนวทางให้หน่วยงานของรัฐกำหนด TOR ให้ชัดเจนเพื่อมิให้เกิดการอุทธรณ์ (2) การแก้ไขปัญหาประสิทธิภาพจากการทำงานผู้รับจ้างตามสัญญามีแนวทางปฏิบัติการดำเนินการภายหลังหน่วยงานของรัฐบอกเลิกสัญญาซื้อหรือจ้างตาม พ.ร.บ. การจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และ (3) การแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเสนอราคาด้วยระบบ e - bidding โดยคณะกรรมการราคากลาง และขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการได้มีการออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการงานก่อสร้างที่มีสิทธิเป็นผู้ยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานของรัฐ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหากรณีการเสนอราคาด้วยระบบ e - bidding เป็นต้น
4. ควรพิจารณาอัตรากำลังของแต่ละส่วนราชการให้สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจงานของแต่ละหน่วย รวมถึงบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลประโยชน์พร้อมประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อประเทศชาติอย่างสูงสุด          มีความจำเป็นต้องอาศัยการประสานร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐซึ่งเกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก และนโยบายด้านการบริหารที่ชัดเจน หากมีความจำเป็นต้องปรับลดอัตรากำลังของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ รวมถึงการตัดโอนกำลังคนระหว่างหน่วยงานควรต้องปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดการใช้อัตรากำลังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5. ควรพิจารณาโครงสร้างของแต่ละส่วนราชการ โดยพิจารณาจากหน้าที่และอำนาจ เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในการดำเนินการ
          ทุกกระทรวงได้กำหนดโครงการที่ควรเร่งรัดดำเนินการ (Quick Win) หรือแผนงานที่เหมาะสมสำหรับดำเนินการจัดเป็นโครงการที่สำคัญ อันมีผลกระทบต่อประชาชนและต้องดำเนินการเร่งรัดโดยด่วน (Big Rock) แล้ว
6. ควรประเมินผลสัมฤทธิ์ของ กม. ที่ใช้บังคับในปัจจุบันว่าเหมาะสมแก่บริบทของสังคม รวมถึงกาลสมัย หรือไม่ ประการใด          ดศ. ได้มีการจัดทำประกาศ และคำสั่งที่เกี่ยวข้อง ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทสังคมแล้ว เช่น พ.ร.บ. ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2562 และ พ.ร.บ. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 รวมถึงกฎหมายอื่น และมาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
7. ควรดำเนินการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจ เช่น (1) จัดอบรมให้กับบุคลากรภาครัฐทุกคนทุกหน่วยงาน ให้เข้าใจถึงการปฏิรูปประเทศว่ามีความแตกต่างอย่างไรกับงานประจำที่ต้องทำอย่างไร (2) เปลี่ยนความคิด (Mindset) ของเจ้าหน้าที่ทุกคนในแต่ละหน่วยงานให้เข้าใจถึงการปฏิรูปประเทศ ในรูปแบบเดียวกัน (3) ประชาสัมพันธ์และอธิบายเรื่องการปฏิรูปประเทศในรูปแบบสื่อต่างๆ เช่น สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น          ทุกหน่วยงานมีการสร้างความรู้ ความเข้าใจถึงการปฏิรูปประเทศว่ามีความแตกต่างอย่างไรกับงานประจำ และให้แต่ละหน่วยงานกำหนดแผนงาน/โครงการ ที่เป็น Quick Win และ Big Rock ของหน่วยงานเพื่อผลักดันให้หน่วยงานจัดทำโครงการที่สอดคล้องกับประเด็นแผนปฏิรูปประเทศ โดย สศช. ได้มีการจัดประชุมชี้แจงในเรื่องดังกล่าวแล้ว
8. ควรจัดบุคลากรมาให้ข้อมูล เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับข้าราชการประจำและข้าราชการทางการเมือง          ทุกหน่วยงานมีการจัดให้มีบุคลากรมาให้ข้อมูล หรือมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดฝึกอบรม เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ เรื่องการปฏิรูปประเทศให้กับข้าราชการประจำและข้าราชการทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีทิศทางการดำเนินงานร่วมกัน

12. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2564 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2564 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกรกฎาคม 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2564 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2564 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกรกฎาคม 2564 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2/2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 20.41 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับในไตรมาสที่ 1/2564 ที่ขยายตัวร้อยละ 0.85 ส่วนหนึ่งได้รับอานิสงส์ จากผลของฐานต่ำในไตรมาสที่ 2/2563 ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกแรก รวมถึงในปีนี้การส่งออกมีการขยายตัวดี อุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวในไตรมาสที่ 2/2564 อาทิ การผลิตรถยนต์ ปัจจัยหลักมาจากฐานต่ำในปีก่อน ที่การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รอบแรกทำให้เศรษฐกิจทั่วโลกหดตัว ความต้องการสินค้าหายไป  แต่ในปีนี้สภาพเศรษฐกิจโดยเฉพาะประเทศคู่ค้าเติบโตได้มากขึ้น ทำให้การผลิตเพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองตลาดส่งออกเป็นหลัก ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ขยายตัวต่อเนื่อง การเริ่มฟื้นตัวของประเทศที่พัฒนาแล้ว หลังการเร่งฉีดวัคซีนและสามารถควบคุมยอดผู้ติดเชื้อได้ ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ทำให้มีคำสั่งซื้อล่วงหน้าเข้ามาสูงในทุกรายการสินค้า เหล็กและเหล็กกล้า ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มสินค้าเหล็กทรงแบนและเหล็กทรงยาว โดยเฉพาะเหล็กทรงแบนที่ใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เติบโตได้ดีจากปีก่อน และการเร่งก่อสร้างสาธารณูปโภคของรัฐที่ทำให้ความต้องการใช้สินค้าในกลุ่มเหล็กทรงยาวเติบโตมากขึ้น เครื่องปรับอากาศ จากฐานต่ำในปีก่อนที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในระลอกแรกที่ส่งผลกระทบทั่วโลก และส่งผลต่อให้ผู้ผลิตขาดแคลนชิ้นส่วนสำหรับการผลิตสินค้าจากการล็อกดาวน์ในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทย การผลิตยางล้อ เนื่องจากปีก่อน มีการล็อกดาวน์ทั่วโลก ทำให้ความต้องการหดหายไปจากการหยุดผลิตรถยนต์ชั่วคราวและกำลังซื้อหดตัว แต่ในปีนี้บริษัทสามารถทำการผลิตได้ตามปกติ ประกอบกับความต้องการของยางรถยนต์เติบโตตามอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 5.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งยังคงได้รับอานิงส์จากฐานเปรียบเทียบในเดือนกรกฎาคม 2563 ที่ต่ำ ซึ่งยังเป็นเดือนที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดในระลอกแรก รวมถึงในปีนี้การส่งออกมีการขยายตัวได้ดี
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกรกฎาคม 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
                     1. รถยนต์และชิ้นส่วน เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.49 จากตลาดส่งออกเป็นหลัก ด้วยผลของฐานต่ำ และความต้องการของลูกค้าต่างประเทศ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ฟื้นตัวจากการควบคุมการระบาดได้ดีและมีการฉีดวัคซีนทั่วประเทศในระดับสูง
                     2. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.02 ตามความต้องการที่เติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และคาดว่าความต้องการจะเพิ่มขึ้นในระยะยาว
                     3. ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.55 จากยางแท่งและยางแผ่นเป็นหลัก จากสถานการณ์โควิด-19 ของกลุ่มประเทศคู่ค้าหลัก (จีน อเมริกา และยุโรป) คลี่คลายและกลับมาสั่งซื้อเพิ่มขึ้น รวมถึงปีนี้ฝนตกต่อเนื่องทำให้ต้นยางสมบูรณ์ผลิตน้ำยางได้มาก
                    4. เม็ดพลาสติก เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.61 เนื่องจากฐานต่ำจากการหยุดซ่อมบำรุงของโรงานหนึ่งในปีก่อน และบางโรงงานเร่งผลิตหลังจากมีการขยายกำลังการผลิต รวมถึงมีการปรับปรุงสูตรการผลิต ทำให้สามารถผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้น
                    5. น้ำตาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 93.73 จากการผลิตน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ หลังจากปิดหีบ
                    แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3/2564
                    อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ประกอบกับราคาเหล็กในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 จึงยังมีความเสี่ยงจากการหยุดชะงักของอุตสาหกรรมต่อเนื่องในประเทศ
                    อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ประมาณร้อยละ 8.0 และ 7.0 ตามลำดับ ตามการขยายตัวของตลาดโลกและตลาดผู้บริโภคหลักของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัว เช่น ประเทศจีน สหรัฐอเมริกา และยุโรป เป็นต้น ดังนั้น ประเทศไทยน่าจะมีการผลิตและการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นได้ตามการขยายตัวของตลาดโลก อย่างไรก็ตามต้องจับตา ได้แก่ สถานการณ์ขาดแคลนซิปทั่วโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อการผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศในระยะสั้นได้
                    อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่องบรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันในยุค New Normal บรรจุภัณฑ์กระดาษจะขยายตัวได้ค่อนข้างมาก และได้อานิสงส์ตามการใช้งานสำหรับการสั่งสินค้าออนไลน์ ประกอบกับเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ในขณะที่การส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มเยื่อกระดาษ
                     อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ เมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ปริมาณการผลิตและการจำหน่ายคาดว่าจะเริ่มเห็นการปรับตัวลดลง เนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 มีความรุนแรงและขยายวงกว้างกว่าปีที่แล้ว เนื่องจากการระบาดในปีนี้มีเชื้อกลายพันธุ์เข้ามาระบาดด้วย ทั้งนี้การระบาดได้แผ่ขยายเข้าไปในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ โดยเฉพาะงานโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐหลายแห่ง จนรัฐบาลต้องประกาศหยุดการก่อสร้างในพื้นที่เสี่ยงเพิ่มขึ้น ส่วนการส่งออก คาดว่ายังสามารถขยายตัวได้จากตลาดส่งออกที่อยู่นอกอาเซียน
                    อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากตลาดคู่ค้าหลักยังคงมีความต้องการบริโภคอย่างต่อเนื่องจากการคลายมาตรการล็อกดาวน์ ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่า อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การผลิตและการส่งออกยังมีความเสี่ยงจากการระบาดของโควิดรอบใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศและประเทศคู่ค้า ซึ่งอาจส่งผลต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง

13. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษามาตรการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีศึกษา การบริหารจัดการจราจรโดยใช้ระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System : ITS) ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษามาตรการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีศึกษา การบริหารจัดการจราจรโดยใช้ระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System : ITS) ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษามาตรการแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กรณีศึกษา การบริหารจัดการจราจรโดยใช้ระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transport System : ITS) มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะในการกำหนดมาตรการ แผนงาน และโครงการนำร่อง 3 ระยะ ดังนี้
                              1.1 มาตรการระยะเร่งด่วนไม่เกิน 1 ปี ได้แก่ มาตรการพัฒนาระบบ ITS เพื่อข้อมูลข่าวสาร เช่น ติดตั้งกล้อง CCTV ที่มีสมรรถนะสูงเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดการจราจรมาตรการพัฒนาระบบ ITS เพื่อควบคุมและจัดการจราจร เช่น จัดทำโครงการนำร่องทดสอบการควบคุม และจัดการจราจรด้วยเทคโนโลยีที่ผลิตในประเทศ โดยเลือกบริเวณพื้นที่นำร่องที่มีสถานศึกษา สถานที่ราชการ พื้นที่เศรษฐกิจ ตลาดและชุมชนที่ต้องใช้เส้นทางเดียวกัน มาตรการพัฒนาระบบ ITS เพื่อการขนส่ง เช่น เร่งผลักดันระบบตั๋วร่วมให้สามารถเชื่อมโยงกับระบบบัตรโดยสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Ticket) ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ รถไฟฟ้า และเรือ เป็นลำดับแรก
                              1.2 มาตรการระยะสั้น 1 - 3 ปี เช่น การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังกับผู้ฝ่าฝืนกฎหมายที่ทำให้การจราจรติดขัด เช่น การจอดรถในที่ห้ามจอด ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล รถแท็กซี่จอดรับ - ส่งผู้โดยสารโดยเฉพาะเวลาเร่งด่วน และรถยนต์สาธารณะจอดรับ - ส่ง ผู้โดยสารนอกป้าย ใช้มาตรการทบทวนหรือยกเลิกการต่ออายุใบอนุญาตขับขี่แก่บุคคลที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ทั้งในกรณีกระทำความผิดซ้ำซ้อนและกระทำความผิดร้ายแรง ผลักดันโครงการอาสาจราจรแบบมีส่วนร่วม
                              ในแต่ละพื้นที่ที่มีการจราจรคับคั่งโดยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่ใช้เส้นทางนั้นสัญจร เช่น ตัวแทนจากสถานศึกษา ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น มาตรการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชน (Mass transit) เพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการจราจร มาตรการส่งเสริมให้ประชาชนใช้บัตรทางด่วน เพื่อกระจายความหนาแน่นของรถยนต์บริเวณจุดจ่ายค่าผ่านทางด้วยเงินสด และเพิ่มความคล่องตัวในการจราจรบนเส้นทางด่วน รวมทั้งมาตรการเร่งรัดการก่อสร้างรถไฟฟ้าให้เสร็จตามที่กำหนด
                              1.3 มาตรการระยะกลาง 3 - 5 ปี มาตรการส่งเสริมการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชน (Mass transit) ต้องพัฒนาให้สถานี/จุดจอดของระบบขนส่งมวลชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย มาตรการส่งเสริมการคมนาคมทางน้ำ (เรือ) โดยพัฒนาเส้นทางเข้า - ออก ท่าเรือให้มีความสะดวกและปลอดภัยในการใช้บริการ จัดให้มีรถเวียนบริการรับ - ส่ง ระหว่างท่าเรือกับการเดินทางรูปแบบอื่น เช่น เรือต่อรถ มาตรการบังคับใช้กฎหมายผังเมืองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ผังเมืองไปพร้อมกับการพัฒนาพื้นที่เมืองของกรุงเทพมหานครในด้านอื่น ๆ มาตรการจำกัดการจดทะเบียนของรถยนต์ส่วนบุคคลในกรุงเทพมหานคร เพื่อลดปริมาณรถยนต์ใหม่เข้าสู่ท้องถนน ได้แก่ กำหนดระเบียบควบคุมการซื้อรถยนต์ส่วนบุคคลโดยผู้ซื้อรถต้องมีที่จอดรถ เป็นต้น มาตรการควบคุมมาตรฐานการออกใบอนุญาตขับขี่เพื่อเป็นการป้องปรามหรือลดผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือผู้ที่กระทำความผิดซ้ำซ้อนโดยขาดจิตสำนึก ได้แก่ ทบทวน/ปรับปรุงการออกใบอนุญาตใบขับขี่ประเภทต่าง ๆ ให้มีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ คค. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัญมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    คค. ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2 ซึ่งที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ สรุปได้ดังนี้
ประเด็น          ผลการพิจารณาศึกษา
1. มาตรการระยะเร่งด่วนไม่เกิน 1 ปี          - กทม. (สำนักการจราจรและขนส่ง) รายงานว่า ปัจจุบันผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเห็นชอบร่างบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา กรุงเทพมหานคร กองบัญชาการตำรวจนครบาลและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการจัดการจราจรและขนส่ง และได้ส่งร่างบันทึกข้อตกลงดังกล่าวให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อพิจารณาดำเนินการลงนามบันทึกข้อตกลงแล้ว โดยเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับกรอบแนวทางการนำระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (ITS) มาใช้ในการแก้ไขปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
- ดศ. เห็นว่า ควรพิจารณาใช้งานโครงข่ายส่วนตัว (Private Network) ในการเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ ที่ใช้งานร่วมกับระบบจราจรและขนส่งอัจฉริยะ (ITS) เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกสามารถเข้าถึงระบบดังกล่าวได้ และจัดเตรียมศูนย์บริหารจัดการให้มีขนาดเพียงพอกับการบูรณาการระบบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องแบบรวมศูนย์ เช่น ศูนย์บริหารจัดการจราจร และศูนย์บริหารจัดการระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เป็นต้น
- กรมทางหลวงได้ติดตั้งระบบกล้อง CCTV และอุปกรณ์ตรวจวัดสภาพจราจรบนทางหลวงสายหลักสู่ภูมิภาคต่าง ๆ รอบกรุงเทพมหานครเพื่อใช้ในการตรวจสอบสภาพจราจร และติดตั้งป้ายจราจรและแบบสลับข้อความ (Variable Message Sign : VMS) บนสายทาง เพื่อให้ข้อมูลด้านการจราจรกับผู้ใช้ทาง และช่วยในการบริหารจัดการจราจร  นอกจากนั้นยังมีการปรับปรุงระบบควบคุมสัญญานไฟจราจรเป็นระบบ Adaptive Traffic Signal Control ที่สามารถปรับเปลี่ยนรอบสัญญานไฟให้เหมาะสมกับปริมาณจราจรในขณะนั้นได้อัตโนมัติ
2. มาตรการระยะสั้น 1 - 3 ปี          - กรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินการเร่งผลักดันการใช้ระบบตัดแต้มใบอนุญาตขับรถซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการออกระเบียบและประกาศ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
   1. ร่างระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ....
   2. ร่างระเบียบกรมการขนส่งทางบกว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ....
   3. ร่างประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง หลักสูตรการอบรมความรู้เพื่อขอคืนคะแนนความประพฤติในการขับรถและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. ....
   สำหรับการพัฒนาระบบตัดคะแนนความประพฤติของผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถอยู่ระหว่างดำเนินการลงนามสัญญากับผู้รับจ้างเพื่อพัฒนาระบบ ซึ่งประกอบด้วยระบบงานต่าง ๆ ดังนี้
   1. ระบบงานจัดการคะแนนความประพฤติของผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถ
   2. ระบบงานอบรมคืนคะแนนความประพฤติของผู้ได้รับใบอนุญาตขับรถ
   3. ระบบงานสืบค้นคะแนนและการอบรมคืนคะแนนความประพฤติ (Mobile Application)
   4. ระบบแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่น/หน่วยงานอื่น
- ขสมก. ได้ติดตั้งระบบตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติการเดินรถ (GPS) บนรถโดยสารเรียบร้อยแล้ว
- รฟม. ให้บริการระบบแสดงจำนวนที่จอดว่าง (Free Lots) ณ อาคารและลานจอดรถโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล สายฉลองรัชธรรมและโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ ผ่านเว็บไซต์ http://park-ride.mrta.co.th เพื่อให้สามารถตรวจสอบจำนวนช่องจอดรถว่าง สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนและตัดสินใจเดินทาง รวมถึงปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนา Mobile Application เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการมากขึ้น
3. มาตรการระยะกลาง 3 - 5 ปี          - กรมการขนส่งทางรางเห็นควรจัดทำมาตรการทางภาษี มาตรการส่งเสริมให้ประชาชนและผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลมากขึ้น และพัฒนาโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยขยายเพิ่มเติมจาก M-MAP ออกไปอีกรัศมี 20 กิโลเมตร เป็นรัศมี 40 กิโลเมตร เพื่อให้ประชาชนที่อยู่ชานเมืองสามารถเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนทางราง และใช้ระบบขนส่งมวลชนทางรางในการเดินทางเข้าสู่ตัวเมือง
- รฟม. ปรับปรุงและออกแบบสถานีรถไฟฟ้าให้เชื่อมต่อกับการโดยสารรูปแบบอื่น โดยใช้หลักการออกแบบ Universal Design โดยจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการและผู้สูงอายุอย่างเหมาะสมตามที่กฎหมายกำหนด และนำเทคโนโลยีจอดรถอัตโนมัติ (Robot Parking) มาใช้ในการเพิ่มจำนวนช่องจอดรถบริเวณลานจอดรถของ รฟม. ในเขตเมือง เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการในการนำรถยนต์ส่วนบุคคลเข้ามาจอดเพื่อเดินทางต่อด้วยระบบขนส่งมวลชนอื่น
- สนข. ได้จัดทำข้อเสนอแนะการอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้า - ออก ท่าเรือ ไปยังสถานีรถไฟฟ้าหรือระบบขนส่งสาธารณะรูปแบบอื่นที่ใกล้ท่าเรือ ทั้งนี้ ยังพบว่า มีคลองที่มีศักยภาพในการเดินเรือ จำนวน 31 คลอง และ 1 แม่น้ำ และมีจุดเชื่อมต่อการเดินทางรูปแบบอื่น (ล้อ ราง เรือ) ตามแนวคลองและแม่น้ำ ในปัจจุบันจำนวน 12 จุด ในอนาคตจำนวน 15 จุด รวมทั้งสิ้น 27 จุด ซึ่งสามารถใช้เป็นเส้นทางเดินเรือเพื่อช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรได้
- กรมการขนส่งทางบกกำหนดให้ผู้ที่จะขอรับใบอนุญาตบางประเภทต้องอบรมและทดสอบเพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นผู้มีทักษะเพียงพอที่จะควบคุมยานพาหนะบนท้องถนนได้อย่างปลอดภัย เช่น ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลที่มีกำลังสูงขนาดความจุกระบอกสูบตั้งแต่ 400 ซีซี (Big bike) เป็นต้น
                    ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด เห็นชอบตามแนวทางของรายงานการพิจารณาศึกษาดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้ จึงควรปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันตลอดจนการจัดให้มีระบบบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถ ซึ่ง ตช. ได้ดำเนินการจัดทำระบบร่วมกับกรมการขนส่งทางบกไว้แล้ว นอกจากนี้ รายงานการพิจารณาศึกษาในเรื่องนี้ มีความสอดคล้องกับแผนแม่บทการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล [Intelligent Transport System : ITS (แผนแม่บท ITS)] ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2561 - 2570) ของ คค. ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (22 มกราคม 2562) รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2562 ที่มีมติเห็นชอบแผนแม่บท ITS และมอบหมายให้ คค. ขับเคลื่อนแผนแม่บท ITS ไปสู่การปฏิบัติต่อไป ซึ่ง คค. ได้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนแม่บท ITS ผ่านกลไกของคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนแม่บทการพัฒนาระบบการจราจรและขนส่งอัจฉริยะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน และจะได้นำข้อเสนอแนะและมาตรการต่าง ๆ ของคณะกรรมาธิการการคมนาคม วุฒิสภา ไปประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

14. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 6)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 6) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ โดยให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า เนื่องจากปัจจุบันได้มีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) อย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่เป็นวงกว้าง และมีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ที่มีการระบาดอย่างรวดเร็วและมีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่รอเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มรายการที่มีความจำเป็นต้องใช้กับผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เพื่อการดูแลรักษาพยาบาลและช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ได้อย่างทันท่วงที กระทรวงสาธารณสุขจึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 6) สาระสำคัญ ดังนี้
                    1. ให้ใช้หมวดที่ 12 ค่าบริการวิชาชีพ (แพทย์/เภสัชกร/พยาบาล/อื่น ๆ) แห่งบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ เฉพาะกรณีสถานพยาบาลอื่นตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง สถานพยาบาลอื่นซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องอยู่ในบังคับตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลกรณีให้บริการเฉพาะผู้ป่วยโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นการชั่วคราว
                    2. ให้เพิ่มบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ เป็นบัญชี และอัตราค่าใช้จ่ายที่แนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                    3. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป
                    4. การใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม ก่อนวันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้มีผลบังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้

15. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 36/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 36/2564 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองการความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบให้กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน (One Stop Service) โดยเป็นการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการเป็นภายในสิ้นเดือนธันวาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
                    2. เห็นชอบให้จังหวัดนครพนม จังหวัดตรัง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดอุบลราชธานี และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ หรือยกเลิกโครงการ
                              1) จังหวัดนครพนม ยกเลิกกิจกรรมที่ 1.3 การจัดตลาดสินค้าผลิตภัณฑ์ผู้สูงอายุ วงเงิน 1.5000 ล้านบาท ภายใต้โครงการเสริมพลังผู้สูงอายุเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                              2) จังหวัดตรัง ขยายระยะเวลาโครงการโรงเรียนต้นแบบเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง โครงการส่งเสริมการเกษตรตำบลนาข้าวเสีย อาเภอนาโยง และโครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร เป็นสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2564 พร้อมทั้งยกเลิกกิจกรรมย่อยที่ 1 สร้างการรับรู้การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์วิถีเมืองตรัง วงเงิน 798,270 บาท ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยเข้าสู่ระบบเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกร
                              3) จังหวัดสิงห์บุรี ขยายระยะเวลาโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกแบบยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2564
                              4) จังหวัดอุบลราชธานี ขยายระยะเวลาโครงการเกษตรผสมผสานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหารและเสริมสร้างรายได้ในชุมชน และโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน เป็นสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2564
                              5) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ขยายระยะเวลาโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตรเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ของจังหวัดกาญจนบุรี เป็นสิ้นสุดภายในเดือนธันวาคม 2564
                    เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนที่ได้รับอนุมัติไว้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว


16. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้              พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และการพิจารณายุติการดำเนินโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติโครงการช่วยเหลือกลุ่มอาชีพผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม กรอบวงเงินจำนวน 166.9400 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 2 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ขับรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และรถจักรยานยนต์สาธารณะ กลุ่มแรงงานนอกระบบที่ไม่เข้าเงื่อนไขตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งนี้ เห็นควรให้กรมการขนส่งทางบกเร่งกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการตรวจสอบยืนยันตัวตนของผู้มีสิทธิตามโครงการฯ พร้อมทั้งประสานกับสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน และกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ในการพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและคัดกรองกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ ให้มีความถูกต้องและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงต่อไป
                    2. ยุติโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรอบวงเงิน 156,000 บาท เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายในสถานศึกษาภายใต้สังกัดกรมกิจการเด็กและเยาวชน เป็นเด็กที่อยู่ในความอุปการะของหน่วยงาน ซึ่งได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีของส่วนราชการให้กับหน่วยงานภายในสังกัดเพื่อใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงาน
                    3. มอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการ เร่งประสานหน่วยงานรับผิดชอบโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อร่วมกันตรวจสอบว่ามีกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับความช่วยเหลือตามโครงการฯ ที่มีลักษณะเดียวกันกับสถานศึกษาสังกัดกรมกิจการเด็กและเยาวชนหรือไม่ และในกรณีที่มีเห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานต้นสังกัดของสถานศึกษา ยุติการให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มเป้าหมาย และเร่งดำเนินการตามข้อ 20 และหรือข้อ 21 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) แล้วแต่กรณี

ต่างประเทศ

17.  เรื่อง  ขอความเห็นชอบต่อการจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อขยายระยะเวลาของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งในรัฐยะไข่ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อขยายระยะเวลาของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งในรัฐยะไข่ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ) รวมทั้งมอบหมายให้อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ และมอบหมายให้ กต. จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนามในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขถ้อยคำในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ในส่วนที่ไม่กระทบต่อสาระสำคัญ ให้ กต. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (7 สิงหาคม 2561) เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งในรัฐยะไข่ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (บันทึกความเข้าใจฯ) ซึ่งมีสาระสำคัญในการกำหนดกิจกรรม กรอบความร่วมมือ และความรับผิดชอบในการดำเนินโครงการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) ในการดำเนินโครงการพัฒนาการเพาะเลี้ยงกุ้งในรัฐยะไข่ (โครงการฯ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในรัฐยะไข่และในเมียนมา และเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับเมียนมา โดยการปรับปรุง ฟื้นฟู และก่อสร้างศูนย์สาธิตการเพาะเลี้ยงกุ้ง (ศูนย์สาธิตฯ) ที่เมืองชิตต่วยรัฐยะไข่ และเพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ของศูนย์สาธิตดังกล่าว ซึ่งบันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้ระหว่างวันที่ 14 สิงหาคม 2561 ? 13 สิงหาคม 2563
                    2. กต. (กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาศูนย์สาธิตฯ ตั้งแต่ปี 2561 โดยการดำเนินการที่ผ่านมาอยู่ในขั้นตอนการออกแบบโครงการฯ ร่วมกันระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายเมียนมา โดยเฉพาะการสำรวจพื้นที่ การออกแบบศูนย์สาธิตฯ และการกำหนดกิจกรรมภายใต้โครงการฯ ซึ่งประกอบด้วย การก่อสร้างศูนย์สาธิตฯ ขึ้นใหม่ การวางระบบการบริหารจัดการศูนย์สาธิตฯ ขึ้นใหม่ การวางระบบบริหารจัดการศูนย์สาธิตฯ                 การพัฒนาขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์สาธิตฯ การควบคุมโรคในกุ้ง รวมถึงการขยายผลสู่เกษตรกรต้นแบบในรัฐยะไข่เพื่อสร้างอาชีพ แต่โดยที่บันทึกความเข้าใจฯ ได้สิ้นผลใช้บังคับแล้วเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2563 จึงมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาของบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการกำกับโครงการ (Project Steering Committee) เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันที่จะจัดทำบันทึกแลกเปลี่ยนเพื่อขยายระยะเวลาของบันทึกความเข้าใจฯ ออกไปอีก 3 ปี
                    3. กต. ได้จัดทำร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ให้ฝ่ายเมียนมาพิจารณาเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 และ ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมเมื่อเดือนเมษายน 2564 ซึ่งฝ่ายเมียนมาได้เห็นชอบในสารัตถะดังกล่าวอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 โดยสาระสำคัญของร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ระบุว่า ?รัฐบาลไทยเสนอให้ขยายระยะเวลาของบันทึกความเข้าใจฯ ตามความในข้อ 9 วรรคสอง โดยให้บันทึกความเข้าใจฯ มีผลตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2563 ? 13 สิงหาคม 2566 ทั้งนี้ให้การขยายระยะเวลาดังกล่าวมีผลย้อนหลังด้วย?

18.  เรื่อง  การลงนามร่างพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 9 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียน
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 9 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการของอาเซียนและร่างตารางข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 9 ซึ่งเป็นภาคผนวกแบบท้ายร่างพิธีสารฯ พร้อมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือ             ผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกาคลังเป็นผู้ลงนามในร่างพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 9 ฯ และร่างตารางข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงิน ฉบับที่ 9 ซึ่งเป็นภาคผนวกแนบท้ายร่างพิธีสารฯ และเมื่อลงนามแล้ว ให้ส่งพิธีสารฯ และตารางข้อผูกพันฯ ดังกล่าว ให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้วเสนอรัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ก่อนแสดงเจตนาให้มีผลผูกพันต่อไป ทั้งนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2562 (เรื่อง แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการเสนอหนังสือสัญญาตามบทบัญญัติ มาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย)  และให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนามในร่างพิธีสารฯ และร่างตารางข้อผูกพันฯ ดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างพิธีสารฯ และร่างตารางข้อผูกพันฯ ดังกล่าว ในส่วนที่เกี่ยวกับถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการคลังดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 (เรื่อง การจัดทำหนังสือสัญญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ) รวมทั้งให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการจัดทำสัตยาบันสารของพิธีสารและตารางข้อผูกพันดังกล่าว และส่งมอบให้สำนักเลขาธิการอาเซียน เมื่อรัฐสภามีมติเห็นชอบต่อพิธีสารและตารางข้อผูกพันดังกล่าวแล้ว ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ร่างพิธีสารฯ ฉบับที่ 9 มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับพิธีสารฯ ฉบับที่ 8 ที่ประเทศไทยได้ลงนาม                ไปแล้ว กล่าวคือ เป็นการขยายความร่วมมือด้านการค้าบริการระหว่างประเทศสมาชิก โดยลดหรือยกเลิกข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าบริการภายใต้กรอบอาเซียนให้มากกว่าที่เปิดเสรีตามกรอบขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization) และประเทศสมาชิกจะให้สิทธิประโยชน์ตามร่างตารางข้อผูกพันฯ แก่ประเทศสมาชิกอื่น                ตามหลักการให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most-Favored Nation Treatment: MFN) รวมถึงการดำเนินการภายใต้กรอบการรวมตัวภาคการธนาคารของอาเซียน (ASEAN Banking Integration Framework) ที่ระบุให้ประเทศสมาชิกตั้งแต่สองประเทศหรือมากกว่านั้นอาจดำเนินการเจรจาและตกลงเปิดเสรีสาขาการธนาคารของประเทศตน โดยแต่ละประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมการเจรจาอาจสรุปผลการเจรจา ณ เวลาใดก็ได้
                    2. ร่างตารางข้อผูกพันฯ แบบท้ายพิธีสารฯ เป็นการปรับปรุงตารางข้อผูกพันฯ ในสาขาธนาคาร สาขาย่อยการบริการชำระเงินและการส่งเงิน (Payment and Money Transmission Services) สำหรับธุรกิจตัวแทนโอนเงินระหว่างประเทศ (Cross-border Money Transfer Services) โดยอนุญาตให้มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติได้สูงสุดร้อยละ 49 (ซึ่งในปัจจุบัน กฎหมายอนุญาตให้มีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติได้สูงสุดร้อยละ 75) ทั้งนี้                   ข้อผูกพันดังกล่าวไม่กระทบต่อระดับการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินของไทยและไม่มีความจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
                    3. ร่างพิธีสารฯ ฉบับที่ 9 และร่างตารางข้อผูกพันฯ แนบท้ายร่างพิธีสารฯ จะมีผลบังคับใช้ใน 180 วันภายหลังจากวันที่ลงนาม ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้สัตยาบัน (Ratification) หรือยอมรับ (Acceptance) ร่างพิธีสารฯ ดังกล่าว และส่งมอบสัตยาบันสารหรือสารแสดงการยอมรับให้เลขาธิการอาเซียนเก็บรักษา เพื่อให้พันธกรณีที่ระบุในร่างพิธีสารฯ ที่ได้ลงนามแล้ว รวมทั้งร่างตารางข้อผูกพันฯ           มีผลผูกพันต่อไป
                    หากประเทศสมาชิกใดไม่สามารถดำเนินการตามกระบวนการภายในประเทศเพื่อให้พิธีสารฉบับนี้และภาคผนวกของพิธีสารมีผลบังคับใช้แล้วเสร็จได้ภายใน 180 วันหลังจากที่ลงนาม สิทธิและพันธกรณีตามที่ได้ผูกพันภายใต้พิธีสารฉบับนี้ของประเทศสมาชิกนั้น จะเริ่มในวันแรกถัดจากวันที่ได้มีหนังสือแจ้งสำนักเลขธิการอาเซียนตามร่างข้อ 9 (เอ) ของร่างพิธีสารฯ

19. เรื่อง ร่างถ้อยแถลงร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย        ให้ความเห็นชอบ (Endorsement) ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ร่วมกับรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมในลักษณะ Ad-referendum หรือในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 16 ตามความเหมาะสม และมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรอง (Adoption) ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 38 ตามลำดับ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ สรุปได้ ดังนี้
                    1. แสดงความมุ่งมั่นของอาเซียนตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และความตกลงปารีส ภายใต้หลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างและคำนึงถึง                        ขีดความสามารถของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน (Common but Differentiated Responsibilities and Respective Capabilities) โดยการดำเนินงานตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการลดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
                    2. แสดงความห่วงกังวลต่อการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลกระทบทางลบที่รุนแรงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏในรายงานของคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                    3. เรียกร้องให้รัฐภาคีเร่งดำเนินการตามพันธกรณีหลักภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส ได้แก่ การปรับปรุงเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด การจัดทำยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ การยกระดับการวิจัยและความร่วมมือ รวมถึงเร่งหาข้อยุติในประเด็นเจรจาที่ยังหาข้อยุติมิได้ ได้แก่ กลไกตลาดและไม่ใช่ตลาดภายใต้ข้อ 6 ของความตกลงปารีสระเบียบวิธีปฏิบัติตามกรอบความโปร่งใส และกรอบระยะเวลาร่วมของเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด
                    4. เน้นย้ำความสำคัญของการประเมินและทบทวนสถานการณ์การดำเนินงานในระยะก่อนปี                    ค.ศ. 2020 เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญของเป้าหมายการดำเนินงานภายหลังปี ค.ศ. 2020 ที่ท้าทายมากขึ้น และเน้นย้ำบทบาทนำของประเทศพัฒนาแล้วในการดำเนินงานด้านการลดก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะการกำหนดเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์พร้อมกำหนดนโยบายและการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม
                    5. เร่งรัดกลไกทางการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญา ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและรัฐภาคีประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงการสนับสนุนจากกองทุนภูมิภาคสีเขียว กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกและกองทุนการปรับตัวเพื่อเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศภาคี
                    6. ให้ความสำคัญกับประเด็นเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ มลภาวะทางอากาศ มหาสมุทร และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งประเทศต่าง ๆ ควรมุ่งสู่การฟื้นฟูจากสถานการณ์ดังกล่าวโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศ

20. เรื่อง ขอความเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน พ.ศ. 2564 ? 2568 (ASEAN Gender Mainstreaming Strategic Framework 2021 - 2025)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน พ.ศ. 2564 ? 2568 (ASEAN Gender Mainstreaming Strategic Framework 2021 - 2025) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรีของประเทศไทย มีหนังสือแจ้งความเห็นชอบรับรองกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน พ.ศ. 2564 - 2568 (ASEAN Gender Mainstreaming Strategic Framework 2021 - 2025) ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    ทั้งนี้ คณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี (ASEAN Committee on Women - ACW)
เป็นกลไกความร่วมมือด้านสตรีในระดับภูมิภาคอาเซียน ร่วมกับคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (The ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children - ACWC) จัดทำกรอบยุทธศาสตร์ยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน พ.ศ. 2564 - 2568 (ASEAN Gender Mainstreaming Strategic Framework 2021 - 2025) เพื่อกำหนดแนวทางการบูรณาการมิติเพศภาวะในรูปแบบที่ครอบคลุมทั้งอาเซียน (whole-of-ASEAN) โดยเสนอเป้าหมายและกิจกรรมที่เกี่ยวกับการเพิ่มขีดความสามารถของอาเซียนว่าด้วยการมีส่วนร่วมของสตรี และเน้นการประสานงานและความร่วมมือระหว่างทั้งสามเสาของอาเซียน เพื่อส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ
ในระดับภูมิภาค
                    สาระสำคัญของกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน พ.ศ. 2564 ? 2568 (ASEAN Gender Mainstreaming Strategic Framework 2021 - 2025) ประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้
                    1. คำย่อ และ อักษรย่อ
                    2. บทนำ
                    3. ความเสมอภาคระหว่างเพศและความครอบคลุมในภูมิภาคอาเซียน
                    4. โครงสร้างเชิงสถาบันของอาเซียนด้านเพศภาวะและความครอบคลุม
                    5. ข้อจำกัดเชิงสถาบันในการดำเนินการตามคำมั่นด้านเพศภาวะของอาเซียน
                    6. วิสัยทัศน์และแนวทางยุทธศาสตร์บูรณาการมิติเพศภาวะของอาเซียน
                    7. หลักการชี้นำและค่านิยม
                    8. กลไกสถาบันของอาเซียนเพื่อส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ
                    9. วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และจุดเริ่มต้น
                              เป้าหมายที่ 1: นโยบายอาเซียน องค์กร และแนวปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมวิสัยทัศน์สำหรับโลกที่ยุติธรรมมากขึ้น เท่าเทียมมากขึ้น และรวมทุกคน
                              เป้าหมายที่ 2: อาเซียนสร้างความรู้ ความสามารถทางเทคนิค และศักยภาพในประเด็นมิติเพศภาวะและความครอบคลุม
                              เป้าหมายที่ 3: นโยบายและแผนปฏิบัติการของอาเซียนสะท้อนความต้องการของผู้หญิงและเด็กหญิงได้ดีมากขึ้น ในระดับภูมิภาคและกลไกรายสาขาทั้งสามชุมชนอาเซียนสามารถดำเนินความริเริ่มที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นการมีส่วนร่วมและตอบสนองต่อความต้องการ
                              เป้าหมายที่ 4: อาเซียนสนับสนุนกระบวนการระหว่างรัฐบาลและรัฐภาคีในการบูรณาการมิติเพศภาวะและการริเริ่มที่เน้นมิติเพศภาวะ
                    10. การติดตาม ประเมินผล และการรายงานว่าด้วยคำมั่นของอาเซียนในการบูรณาการมิติเพศภาวะ
                    11. กิจกรรมบ่งชี้
                    12. ภาคผนวก 1: แนวคิดและคำนิยาม
                    13. ภาคผนวก 2: บรรณานุกรม

21. เรื่อง การร่วมรับรองเอกสารกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านการสร้างความเข้มแข็งของนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ (ASEAN Collaboration Framework towards Strengthening Evidence-Based MSME Policies)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรองเอกสารกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านการสร้างความเข้มแข็งของนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ (ASEAN Collaboration Framework towards Strengthening Evidence-Based MSME Policies) ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ขอเสนอให้ร่วมรับรองกรอบความร่วมมืออาเซียนด้านการสร้างความเข้มแข็งของนโยบายส่งเสริมวิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ (ASEAN Collaboration Framework towards Strengthening Evidence-Based MSME Policies) ในการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ในวันที่ 18 ตุลาคม 2564 ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุป คือ เป็นกรอบความร่วมมือที่กำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต และเสนอแผนปฏิบัติการเพื่อแนะนำประเทศสมาชิกอาเซียนในการเก็บข้อมูลของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprise หรือ MSME) ทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างความเข้มแข็งของกลไกในการเก็บข้อมูลทางธุรกิจของผู้ประกอบการและยกระดับขีดความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน 2. เพื่อสร้างความทันสมัยให้แก่ระบบการจดทะเบียนธุรกิจด้วยการนำเลขทะเบียนนิติบุคคลเดียว (Unique Business Identification Numbers หรือ UBINs) มาใช้ร่วมกันทั้งสิบประเทศสมาชิก 3. เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การค้าภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ด้วยการบรรลุเป้าหมายระยะยาวสองประการ ได้แก่ การทำให้ข้อมูลทางสถิติของ MSME ในอาเซียนสามารถเปรียบเทียบได้ สามารถเข้าถึงได้ ทันการณ์และถูกต้องแม่นยำจากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางธุรกิจที่มีอยู่ และการก่อตั้งฐานข้อมูลกลางที่ผู้ประกอบการในอาเซียนสามารถเข้าถึง UNIBs เพื่ออำนวยความสะดวกแก่การค้าภายในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวได้รับการรับรองจากคณะกรรมการด้านวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อยอาเซียน (ASEAN Coordinating Committee on Micro, Small, and Medium Enterprise หรือ ACCMSME) เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564

แต่งตั้ง

22. เรื่อง การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เสนอ การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล จำนวน 2 คณะ คือ คณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล ฝ่ายสงฆ์ และคณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล ฝ่ายฆราวาส โดยให้รวมเป็นชุดเดียวกัน และมีองค์ประกอบของคณะกรรมการ รวม 46 พระองค์/รูป/คน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พศ. รายงานว่า
                    1. คณะกรรมการอำนวยการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล ฝ่ายฆราวาส ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2564 ได้มีมติให้ พศ. ดำเนินการปรับปรุงคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล จากเดิมมี 2 คณะ คือ ฝ่ายสงฆ์และฝ่ายฆราวาส โดยให้ทั้ง 2 คณะดังกล่าวรวมเป็นชุดเดียวกัน เนื่องจากใช้รูปแบบนี้มานานแล้ว และพุทธมณฑลจะขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์ จึงเห็นควรให้เพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล โดยให้มีอธิบดีกรมธนารักษ์เข้ามาเป็นกรรมการด้วย
                     2. ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 15/2564 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ได้มีมติที่ 493/2564 เรื่อง ขอความเห็นชอบปรับปรุงคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑลมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ทั้ง 2 คณะ ให้รวมเป็นชุดเดียวกัน
                    3. เพื่อให้การกำหนดนโยบายการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑลให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทย และของโลก การอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล การก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างและการขอใช้ที่ดินของพุทธมณฑล นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในแผนผังการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล และวัตถุประสงค์ของการจัดสร้างพุทธมณฑล สามารถดำเนินได้ต่อเนื่องสืบไป จึงเห็นควรปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล
                    องค์ประกอบของคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล (ชุดใหม่)
                     คณะกรรมการที่ปรึกษา ประกอบด้วย สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ประธานที่ปรึกษา สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ที่ปรึกษา สมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร ที่ปรึกษา สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดญาณเวศกวัน/นครปฐม ที่ปรึกษา สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดโสมนัสวิหาร ที่ปรึกษา นายกรัฐมนตรี ที่ปรึกษา
                     คณะกรรมการ ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรี (ที่กำกับการบริหารราชการหรือที่ได้รับมอบหมายและมอบอำนาจ) ประธานกรรมการ สมเด็จพระธีรญาณมุนี วัดเทพศิรินทราวาส รองประธานกรรมการ รัฐมนตรี              (ที่ได้รับมอบหมายกำกับการบริหารราชการ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ) รองประธานกรรมการ
                     กรรมการ ประกอบด้วย สมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดไตรมิตรวิทยาราม สมเด็จพระมหาธีราจารย์             วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี                วัดไตรมิตรวิทยาราม ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมการปกครองท้องถิ่น อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง อธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ อธิบดีกรมศิลปากร อธิบดีกรมป่าไม้ อธิบดีกรมการแพทย์ ผู้ว่าการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ อธิบดีกรมธนารักษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ที่ได้รับมอบหมาย) ผู้อำนวยการสำนักงานพุทธมณฑล และผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                    อำนาจหน้าที่
                    1. กำหนดนโยบายการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล ให้เป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนาของประเทศไทย และของโลก
                     2. ให้ความเห็นชอบแผนงาน/โครงการ การอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล
                    3. ให้ความเห็นชอบการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างและการขอใช้ที่ดินของพุทธมณฑล นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในแผนผังการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล และวัตถุประสงค์ของการจัดสร้างพุทธมณฑล
                    4. ให้ความเห็นชอบการออกระเบียบ ประกาศ และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และพัฒนาพุทธมณฑล

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ           พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างและสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                     1. นางจุฬามณี ชาติสุวรรณ อธิบดีกรมยุโรป ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกกระทรวง
                     2. นายอสิ ม้ามณี เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมยุโรป
                    3. นางสาวนิธิวดี มานิตกุล เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตประจำกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    4. นายสุริยา จินดาวงษ์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์            ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

24. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวม 13 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ในวันที่ 12 ตุลาคม 2564 ดังนี้
                     1. นายประสาท สืบค้า                     ประธานกรรมการ
                    2. นายศรัณย์ โปษยะจินดา           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    3. นายสุพจน์ หารหนองบัว            กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    4. นายสรนิต ศิลธรรม                    กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    5. นายพินิติ รตะนานุกูล                     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    6. คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    7. นายไพฑูรย์ ขัมภรัตน์                     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    8. นายมนูญ สรรค์คุณากร          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    9. นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ                     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    10. นายชัยเรศน์ ฉลาดธัญญกิจ (ครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    11. นางสาวกล่อมจิต ดอนภิรมย์ (ครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     12. นายรณภณ เนตรสว่างวิชา (ครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์ภาคกลาง) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    13. นางพัชรา พงศ์มานะวุฒิ (ครูผู้สอนด้านวิทยาศาสตร์ภาคใต้) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

25. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอแต่งตั้ง นายคงธัช เตชะวิเชียร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน) ในคณะกรรมการขายตรงและตลาดแบบตรง แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ภาคเอกชน) เดิมที่ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลือออยู่ของกรรมการซึ่งตนแทน

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหารระดับต้น ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 5 ราย ดังนี้
                     1. เลื่อนและแต่งตั้ง นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช รองเลขาธิการ (นักบริหาร ระดับต้น) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ตำแหน่งว่าง)
                     2. เลื่อนและแต่งตั้ง นายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมควบคุมมลพิษ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง  ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ตำแหน่งว่าง)
                    3. เลื่อนและแต่งตั้ง นายมนตรี เหลืองอิงคะสุต รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมทรัพยากรธรณี ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง  ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ตำแหน่งว่าง)
                    4. เลื่อนและแต่งตั้ง นายจิระศักดิ์ ชูความดี รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมป่าไม้ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง  ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ตำแหน่งว่าง)
                    5. เลื่อนและแต่งตั้ง นายสมศักดิ์ สรรพโกศลกุล รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมป่าไม้ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง  ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ตำแหน่งว่าง)
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นางสาวจันทร์เพ็ญ เมฆาอภิรักษ์ รองอธิบดี (ตำแหน่งประเภทบริหารระดับต้น) กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน            1 ราย ดังนี้ นายพิพัฒน์ชัย ภัครัชตานนท์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 12 ตุลาคม 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ