คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานสรุปการให้ความช่วยเหลือฟื้นฟูพื้นที่ที่ประสบธรณีพิบัติโดยกระทรวงการคลัง ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อ การร่วมลงทุนภาษีและค่าธรรมเนียม ซึ่งสาระสำคัญและความคืบหน้า ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548 มีดังนี้
1. การให้สินเชื่อ (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548)
1.1 การให้สินเชื่อโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้อนุมัติให้ความ ช่วยเหลือด้านสินเชื่อไปแล้วจำนวน 9,832 ราย หรือ ร้อยละ 94.97 ของจำนวนผู้ยื่นคำขอทั้งหมด คิดเป็นเงินที่อนุมัติแล้ว 6,059.11 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 89.04 ของวงเงินที่ยื่นคำขอและมีการเบิกจ่ายเป็นเม็ดเงินสู่ผู้ประกอบการและประชาชน จำนวน 5,684 ราย หรือ ร้อยละ 57.81 ของจำนวนรายที่อนุมัติทั้งหมด คิดเป็นเงินที่เบิกจ่ายแล้ว 5,507.37 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.89 ของวงเงินที่อนุมัติ
ทั้งนี้ การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิมคิดเป็นร้อยละ 99.81 ของวงเงินอนุมัติ ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูกิจการ คิดเป็นร้อยละ 57.97 ของวงเงินที่อนุมัติ
1.2 การให้สินเชื่อโดยธนาคารพาณิชย์ ได้อนุมัติให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อไปแล้วจำนวน 1,833 ราย หรือ ร้อยละ 82.57 ของจำนวนผู้ยื่นคำขอทั้งหมด คิดเป็นเงินที่อนุมัติแล้ว 37,125.52 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 76.88 ของวงเงินที่ยื่นคำขอ และมีการเบิกจ่าย จำนวน 1,615 ราย หรือ ร้อยละ 88.11 ของจำนวนรายที่อนุมัติทั้งหมด คิดเป็นเงิน ที่เบิกจ่ายแล้ว 30,543.03 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.27 ของวงเงินที่อนุมัติ
ทั้งนี้ การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิม คิดเป็นร้อยละ 86.61 ของวงเงินที่อนุมัติ และการเบิกจ่ายเงินกู้ฟื้นฟูกิจการ คิดเป็นร้อยละ 35.97 ของวงเงินอนุมัติ
1.3 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนให้กับสถาบันการเงินเพื่อนำไปปล่อยกู้กับลูกค้าแล้ว 2,366 ราย คิดเป็นวงเงิน 48,226.05 ล้านบาท
1.4 ภาพรวมการให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อทั้งหมดพบว่า มีการเบิกจ่ายเป็นเม็ดเงินสู่ผู้ประกอบการและประชาชน จำนวน 7,299 ราย หรือ ร้อยละ 62.57 ของจำนวนรายที่อนุมัติทั้งหมด คิดเป็นเงินที่เบิกจ่ายแล้ว 36,050.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 83.48 ของวงเงินที่อนุมัติ โดยเม็ดเงินการเบิกจ่ายเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิมคิดเป็นร้อยละ 89.06 ของวงเงินที่อนุมัติ ส่วนวงเงินการเบิกจ่ายเงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูกิจการคิดเป็นร้อยละ 40.95 ของวงเงินที่อนุมัติ
ทั้งนี้สาเหตุหลักที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อคือลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบจริงทั้งทางตรงและทางอ้อม (ร้อยละ 55.8 ของวงเงินที่ไม่อนุมัติทั้งหมด) และสำหรับลูกค้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาภายในของธนาคารเอง (ร้อยละ 79.80 ของวงเงินที่อยู่ระหว่างดำเนินการทั้งหมด)
2. การร่วมลงทุนโดยกองทุนร่วมลงทุน
2.1 กองทุนร่วมลงทุนเพื่อผู้ประสบภัยสึนามิ (Tsunami SMEs Fund) (ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2548)
มีการอนุมัติร่วมลงทุนแล้ว 21 ราย หรือร้อยละ 15.79 ของจำนวนผู้ยื่นคำขอทั้งหมด คิดเป็นวงเงิน 421.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.96 ของวงเงินที่ยื่นคำขอ โดยส่วนที่ยังไม่ได้อนุมัติ ขณะนี้อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการก่อนดำเนินการต่อไป ทั้งนี้มีการเบิกเม็ดเงินให้ผู้ประกอบการแล้ว 2 ราย หรือ ร้อยละ 9.52 ของจำนวนรายที่อนุมัติทั้งหมด คิดเป็นเงินที่เบิกแล้ว 140 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.24 ของวงเงินที่อนุมัติ
2.2 กองทุนเปิดเพื่อฟื้นฟูและพัฒนากิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ (Tsunami Recovery Fund) (ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2548)
มีการอนุมัติกรอบเงินให้ความช่วยเหลือประมาณ 2,290 ล้านบาท จำนวน 17 ราย ซึ่งสูงกว่าวงเงินระดมทุนในรอบแรกที่มีจำนวน 1,400 ล้านบาท (อย่างไรก็ตาม การทำ Due Diligence จะทำให้สรุปได้ว่าวงเงินที่ต้องการใช้ร่วมทุนจะเป็นเท่าใด) ทั้งนี้ จากกรอบลงทุนที่อนุมัติไว้ มีการเบิกเงินแล้ว 9 ราย จำนวน 575 ล้านบาท โดยมีวงเงินอีกจำนวน 590 ล้านบาท ที่จะมีการเบิกจ่ายตามความคืบหน้าของการก่อสร้างของลูกค้าต่อไป ส่วนที่เหลือจำนวน 8 ราย คิดเป็นวงเงิน 1,125 ล้านบาท ส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างการหารือเรื่องออกหุ้นกู้และหลักประกัน และอีกส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
3. มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียม
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 มีมติเห็นชอบให้ดำเนินมาตรการภาษีและค่าธรรมเนียม ซึ่งสรุปสถานะล่าสุด ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2548 ดังนี้
3.1 มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียมที่มีผลบังคับใช้แล้ว ได้แก่ 1) การหักผลเสียหายในทรัพย์สินเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ 2) การขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3) การเสียภาษีของผู้เสียภาษีและผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ใน 6 จังหวัด 4) การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ผู้ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ.2547 5) การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินบริจาคให้แก่ส่วนราชการ 6) การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินบริจาคให้แก่ส่วนราชการโดยผ่านเอกชน และ 7) การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการโอนอสังหาริมทรัพย์
3.2 มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วต่อไป ได้แก่
3.2.1 การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากกิจการประกันภัยในส่วนที่เกินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามที่กระทรวงการคลังเสนอเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.2.2 การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ และการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การโอนและการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กรณีลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างดำเนินการนำเสนอคณะรัฐมนตรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--
1. การให้สินเชื่อ (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548)
1.1 การให้สินเชื่อโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจ และ บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยได้อนุมัติให้ความ ช่วยเหลือด้านสินเชื่อไปแล้วจำนวน 9,832 ราย หรือ ร้อยละ 94.97 ของจำนวนผู้ยื่นคำขอทั้งหมด คิดเป็นเงินที่อนุมัติแล้ว 6,059.11 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 89.04 ของวงเงินที่ยื่นคำขอและมีการเบิกจ่ายเป็นเม็ดเงินสู่ผู้ประกอบการและประชาชน จำนวน 5,684 ราย หรือ ร้อยละ 57.81 ของจำนวนรายที่อนุมัติทั้งหมด คิดเป็นเงินที่เบิกจ่ายแล้ว 5,507.37 ล้านบาท หรือร้อยละ 90.89 ของวงเงินที่อนุมัติ
ทั้งนี้ การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิมคิดเป็นร้อยละ 99.81 ของวงเงินอนุมัติ ในขณะที่การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูกิจการ คิดเป็นร้อยละ 57.97 ของวงเงินที่อนุมัติ
1.2 การให้สินเชื่อโดยธนาคารพาณิชย์ ได้อนุมัติให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อไปแล้วจำนวน 1,833 ราย หรือ ร้อยละ 82.57 ของจำนวนผู้ยื่นคำขอทั้งหมด คิดเป็นเงินที่อนุมัติแล้ว 37,125.52 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 76.88 ของวงเงินที่ยื่นคำขอ และมีการเบิกจ่าย จำนวน 1,615 ราย หรือ ร้อยละ 88.11 ของจำนวนรายที่อนุมัติทั้งหมด คิดเป็นเงิน ที่เบิกจ่ายแล้ว 30,543.03 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.27 ของวงเงินที่อนุมัติ
ทั้งนี้ การเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิม คิดเป็นร้อยละ 86.61 ของวงเงินที่อนุมัติ และการเบิกจ่ายเงินกู้ฟื้นฟูกิจการ คิดเป็นร้อยละ 35.97 ของวงเงินอนุมัติ
1.3 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเงื่อนไขผ่อนปรนให้กับสถาบันการเงินเพื่อนำไปปล่อยกู้กับลูกค้าแล้ว 2,366 ราย คิดเป็นวงเงิน 48,226.05 ล้านบาท
1.4 ภาพรวมการให้ความช่วยเหลือด้านสินเชื่อทั้งหมดพบว่า มีการเบิกจ่ายเป็นเม็ดเงินสู่ผู้ประกอบการและประชาชน จำนวน 7,299 ราย หรือ ร้อยละ 62.57 ของจำนวนรายที่อนุมัติทั้งหมด คิดเป็นเงินที่เบิกจ่ายแล้ว 36,050.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 83.48 ของวงเงินที่อนุมัติ โดยเม็ดเงินการเบิกจ่ายเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เดิมคิดเป็นร้อยละ 89.06 ของวงเงินที่อนุมัติ ส่วนวงเงินการเบิกจ่ายเงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟูกิจการคิดเป็นร้อยละ 40.95 ของวงเงินที่อนุมัติ
ทั้งนี้สาเหตุหลักที่สถาบันการเงินไม่อนุมัติสินเชื่อคือลูกค้าไม่ได้รับผลกระทบจริงทั้งทางตรงและทางอ้อม (ร้อยละ 55.8 ของวงเงินที่ไม่อนุมัติทั้งหมด) และสำหรับลูกค้าที่อยู่ระหว่างดำเนินการส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาภายในของธนาคารเอง (ร้อยละ 79.80 ของวงเงินที่อยู่ระหว่างดำเนินการทั้งหมด)
2. การร่วมลงทุนโดยกองทุนร่วมลงทุน
2.1 กองทุนร่วมลงทุนเพื่อผู้ประสบภัยสึนามิ (Tsunami SMEs Fund) (ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2548)
มีการอนุมัติร่วมลงทุนแล้ว 21 ราย หรือร้อยละ 15.79 ของจำนวนผู้ยื่นคำขอทั้งหมด คิดเป็นวงเงิน 421.20 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.96 ของวงเงินที่ยื่นคำขอ โดยส่วนที่ยังไม่ได้อนุมัติ ขณะนี้อยู่ระหว่างการวิเคราะห์ข้อมูลตามหลักการก่อนดำเนินการต่อไป ทั้งนี้มีการเบิกเม็ดเงินให้ผู้ประกอบการแล้ว 2 ราย หรือ ร้อยละ 9.52 ของจำนวนรายที่อนุมัติทั้งหมด คิดเป็นเงินที่เบิกแล้ว 140 ล้านบาท หรือร้อยละ 33.24 ของวงเงินที่อนุมัติ
2.2 กองทุนเปิดเพื่อฟื้นฟูและพัฒนากิจการที่ได้รับผลกระทบจากสึนามิ (Tsunami Recovery Fund) (ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2548)
มีการอนุมัติกรอบเงินให้ความช่วยเหลือประมาณ 2,290 ล้านบาท จำนวน 17 ราย ซึ่งสูงกว่าวงเงินระดมทุนในรอบแรกที่มีจำนวน 1,400 ล้านบาท (อย่างไรก็ตาม การทำ Due Diligence จะทำให้สรุปได้ว่าวงเงินที่ต้องการใช้ร่วมทุนจะเป็นเท่าใด) ทั้งนี้ จากกรอบลงทุนที่อนุมัติไว้ มีการเบิกเงินแล้ว 9 ราย จำนวน 575 ล้านบาท โดยมีวงเงินอีกจำนวน 590 ล้านบาท ที่จะมีการเบิกจ่ายตามความคืบหน้าของการก่อสร้างของลูกค้าต่อไป ส่วนที่เหลือจำนวน 8 ราย คิดเป็นวงเงิน 1,125 ล้านบาท ส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างการหารือเรื่องออกหุ้นกู้และหลักประกัน และอีกส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบของผู้สอบบัญชี
3. มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียม
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2547 มีมติเห็นชอบให้ดำเนินมาตรการภาษีและค่าธรรมเนียม ซึ่งสรุปสถานะล่าสุด ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2548 ดังนี้
3.1 มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียมที่มีผลบังคับใช้แล้ว ได้แก่ 1) การหักผลเสียหายในทรัพย์สินเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ 2) การขยายกำหนดเวลายื่นแบบแสดงภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3) การเสียภาษีของผู้เสียภาษีและผู้ประกอบการที่มีสถานประกอบการตั้งอยู่ใน 6 จังหวัด 4) การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ผู้ประสบภัย 6 จังหวัดภาคใต้สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปี พ.ศ.2547 5) การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินบริจาคให้แก่ส่วนราชการ 6) การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินบริจาคให้แก่ส่วนราชการโดยผ่านเอกชน และ 7) การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการโอนอสังหาริมทรัพย์
3.2 มาตรการภาษีและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วต่อไป ได้แก่
3.2.1 การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากกิจการประกันภัยในส่วนที่เกินมูลค่าทรัพย์สิน ซึ่งคณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามที่กระทรวงการคลังเสนอเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
3.2.2 การยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ และการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม การโอนและการจดจำนองอสังหาริมทรัพย์ สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ กรณีลูกหนี้ที่ได้รับความเสียหายจากธรณีพิบัติภัย ขณะนี้กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างดำเนินการนำเสนอคณะรัฐมนตรี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 23 สิงหาคม 2548--จบ--