สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564

ข่าวการเมือง Tuesday November 9, 2021 17:07 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (9 พฤศจิกายน 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                     1.          เรื่อง          ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติก

สำหรับอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ?.

                    2.          เรื่อง          ร่างพระราชกฤษฎีกาการกำหนดจำนวนเงินสะสมสูงสุด และการนำทุน

หรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. ?.

เศรษฐกิจ สังคม

                    3.           เรื่อง          โครงการสำคัญประจำปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ

และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ปี 2566 ? ปี 2570)

                    4.           เรื่อง           (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)
                    5.           เรื่อง           การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ

ไปสู่การปฏิบัติ

                    6.           เรื่อง           การติดตามการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของส่วนราชการโดยใช้กลไกประชารัฐ

ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีและการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน

                    7.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                                         ปีที่ 2 (25 กรกฎาคม 2563 - 25 กรกฎาคม 2564)
                    8.           เรื่อง           รายงาน Thailand National Report SDG 6.4
                    9.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกันยายน

2564

                    10.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.)                                                   ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    11.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล

และข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2564

                    12.           เรื่อง           สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนสิงหาคม 2564
                    13.           เรื่อง          รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนสิงหาคม 2564
                    14.           เรื่อง          รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2564
                    15.           เรื่อง          ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม

ครั้งที่ 38/2564

                    16.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช                                                  กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2564
                    17.           เรื่อง           การกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง
                                        ที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติ                                                  แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 กรณีการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อ                                                  ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
                    18.           เรื่อง           ผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนา                                                  ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F
                    19.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการจัดตั้งบริษัทในเครือของการเคหะแห่งชาติ บริษัท เคหะสุข                                        ประชา จำกัด (มหาชน)
                    20.           เรื่อง           แผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ ประจำปี                                                  งบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
                    21.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง                                         รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ

จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

ต่างประเทศ

                    22.           เรื่อง            การรับรองร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน

ปี พ.ศ. 2564 ? 2568

                    23.            เรื่อง            การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศ                                        แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยม                                                  เวียดนาม
                    24.            เรื่อง          การเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเซียน - แคนาดา
                    25.          เรื่อง          ขอความเห็นชอบร่างเอกสารที่จะมีการรับรองและลงนามในการประชุมรัฐมนตรี                                        ขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    26.           เรื่อง          การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่าง                                                  กระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา
                                        และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามระหว่างปี พ.ศ. 2564 ?                                                   2569

แต่งตั้ง

                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ

ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง

(กระทรวงอุตสาหกรรม)

                    29.           เรื่อง           ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396













กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ อก. เสนอ เป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร ที่ผลิตจากสารเคมี เช่น พอลิเอทิลีน พอลิพรอพิลีน พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต      พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ และพอลิเมทิลเพนทีน เป็นต้น ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหารที่มีคุณภาพ อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัยจากสารเคมีปนเปื้อนที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่ง อก. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     1. กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร เล่ม 1             พอลิเอทิลีน พอลิพรอพิลีน พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ และพอลิเมทิลเพนทีน มาตรฐานเลขที่ มอก. 655 เล่ม 1 ? 2553 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4225 (พ.ศ. 2553) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร เล่ม 1 พอลิเอทิลีน พอลิพรอพิลีน พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีนเทเรฟแทเลต พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ และพอลิเมทิลเพนทีน ลงวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553
                     2. กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร เล่ม 2 พอลิไวนิลคลอไรด์ พอลิคาร์บอเนต พอลิแอไมด์ และพอลิเมทิลเมทาคริเลต มาตรฐานเลขที่ มอก. 655 เล่ม 2 ? 2554 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4366 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร เล่ม 2 พอลิไวนิลคลอไรด์ พอลิคาร์บอเนต พอลิแอไมด์ และพอลิเมทิลเมทาคริเลต ลงวันที่                         7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
                     3. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร เล่ม 3                       อะคริโลไนไทรล์ ? บิวทะไดอีน - สไตรีน และสไตรีน ? อะคริโลไนไทรล์ มาตรฐานเลขที่ มอก. 655 เล่ม 3 ? 2554 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4367 (พ.ศ. 2554) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหาร เล่ม 3 อะคริโลไนไทรล์ ? บิวทะไดอีน - สไตรีน และสไตรีน ? อะคริโลไนไทรล์ ลงวันที่                              7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
                     4. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาการกำหนดจำนวนเงินสะสมสูงสุด และการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาการกำหนดจำนวนเงินสะสมสูงสุด และการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ กค. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาการกำหนดจำนวนเงินสะสมสูงสุด และการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน พ.ศ. 2561 โดยเพิ่มหลักเกณฑ์การคำนวณจำนวนเงินสะสมสูงสุด ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการบริหารการคลังของรัฐ และการกำหนดให้ทุนหมุนเวียนที่ใช้จ่ายเงินบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือแผนการดำเนินงานของทุนหมุนเวียนแล้วและมีเงินคงเหลือหรือมีเงินคงเหลือเกินความจำเป็นในรอบบัญชีนั้น ให้นำเงินดังกล่าวส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารการเงินการคลังของรัฐมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งมีความยั่งยืนทางการคลังของรัฐ ซึ่งจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศมีความคล่องตัว มีเสถียรภาพ และทำให้ประชาชนมีการดำรงชีพในสังคมเป็นไปในทางที่ดีขึ้น
                     สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                     1. กำหนดหลักเกณฑ์การคำนวณจำนวนเงินสะสมสูงสุด โดยคำนวณจากการนำประมาณการรายจ่ายปีปัจจุบันและประมาณการรายจ่ายประจำปีบัญชีย้อนหลังไปอีกหนึ่งปีรวมกันสองรอบปีบัญชี คูณด้วยร้อยละเฉลี่ยของความสามารถในการจ่ายเงินสองรอบปีบัญชีที่ล่วงมาแล้ว โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
                     2. กำหนดให้ทุนหมุนเวียนที่ใช้จ่ายเงินบรรลุตามวัตถุประสงค์หรือแผนการดำเนินงานของทุนหมุนเวียนแล้วและมีเงินคงเหลือหรือมีเงินคงเหลือเกินความจำเป็นในรอบบัญชีนั้น ให้นำเงินดังกล่าวส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน

เศรษฐกิจ สังคม

3. เรื่อง โครงการสำคัญประจำปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ปี 2566 ? ปี 2570)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)                ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอดังนี้
                    1. โครงการสำคัญประจำปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ปี 2566 - ปี 2570) (โครงการสำคัญฯ) จำนวน 406 โครงการ
                    2. แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสำคัญฯ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ รายงานว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 ได้พิจารณาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการสำคัญฯ ดังนี้
                    1. โครงการสำคัญฯ
                              1.1 สศช. ร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ปี 2566 - ปี 2570) (แผนแม่บทฯ) (หน่วยงานเจ้าภาพ จ.1) หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนเป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ (หน่วยงานเจ้าภาพ จ.2) และหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนเป้าหมายระดับแผนย่อย (หน่วยงานเจ้าภาพ จ.3) รวมทั้งทุกหน่วยงานของรัฐในระดับกรมหรือเทียบเท่า ในฐานะหน่วยปฏิบัติซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการขับเคลื่อนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ จัดทำโครงการสำคัญฯ ตามแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อให้การแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐในห้วงระยะเวลาที่เหลือของยุทธศาสตร์ชาติ เป็นการดำเนินงานบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ได้อย่างแท้จริง ยึดหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล(Causal Relationship: XYZ) และวงจรนโยบาย (Policy cycle)1 นำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำโครงการสำคัญในแต่ละปีงบประมาณในห้วงปี 2566 - 2570  ที่สามารถส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2570 ซึ่งเป็นห้วงที่ 2 ของการดำเนินการตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยยึดแนวทางการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ ใน 4 แนวทาง ประกอบด้วย (1) การมองเป้าหมายร่วมกัน (2) การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยและจัดทำข้อเสนอโครงการสำคัญ (3) การจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอโครงการ และ (4) การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Online) ในระหว่างช่วงเดือนมิถุนายน ถึงเดือนสิงหาคม 2564
                              1.2 หน่วยงานของรัฐนำเข้าข้อเสนอโครงการสำคัญฯ ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) และผ่านการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา (M7)2 จำนวนทั้งสิ้น 3,039 โครงการ โดย สศช. และหน่วยงานเจ้าภาพ จ.1 จ.2 และ จ.3 ประเมินให้คะแนนข้อเสนอโครงการสำคัญฯ3 ตามหลักเกณฑ์ที่ สศช. กำหนด                       ซึ่งครอบคลุมกระบวนการทางสถิติ อาทิ การใช้เกณฑ์ค่าความเห็นพ้องของผู้ประเมิน การปรับคะแนนตามค่ามาตรฐาน และการถ่วงคะแนนด้วยค่าน้ำหนักของแต่ละเป้าหมายแผนแม่บทย่อยตามความสำคัญ/เร่งด่วน โดยได้โครงการสำคัญฯ ที่ผ่านการประเมินจำนวนทั้งสิ้น 406 โครงการ ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าของโครงการสำคัญฯ จะต้องนำโครงการสำคัญฯ ไปบรรจุในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของหน่วยงานร่วมกับการดำเนินงานตามภารกิจปกติอื่น ๆ และดำเนินการตามกระบวนการขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป นอกจากนี้ มีเป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่ไม่มีโครงการสำคัญฯ มารองรับจำนวนทั้งสิ้น 45 เป้าหมาย จาก 140 เป้าหมาย อาทิ เป้าหมายการขนส่งสินค้าทางรางเพิ่มขึ้น เป้าหมายคุณภาพชีวิต ศักยภาพทรัพยากรมนุษย์และความเสมอภาคทางสังคมได้รับการยกระดับเพิ่มขึ้นจากผลการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเชิงสังคม เป้าหมายสถาบันเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงเกษตร                  และสหกรณ์มีความเข้มแข็งในระดับมาตรฐานมากขึ้น ซึ่งหน่วยงานของรัฐ โดยเฉพาะหน่วยงานเจ้าภาพ จ.3 จะต้องพิจารณาจัดทำโครงการให้ครอบคลุมทั้ง 140 เป้าหมายต่อไป
                    2. แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสำคัญ
                              สศช. ได้นำข้อสังเกตจากการดำเนินการตามแนวทางในข้อ 1 มาจัดทำเป็นแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสำคัญที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างแท้จริง โดยแนวทางการขับเคลื่อนดังกล่าวมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
2.1 แนวทางที่ 1 การมองเป้าหมายร่วมกัน          หน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานต่าง ๆ ต้องวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องกับเป้าหมายแผนแม่บทย่อย จากภารกิจของหน่วยงานและข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานที่ผ่านมาภายใต้เป้าหมายแผนแม่บทย่อย
ในระบบ eMENSCR เพื่อไปสู่การมองเป้าหมายการพัฒนาร่วมกันประสานและขับเคลื่อนการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างบูรณาการในทิศทางเดียวกัน
2.2 แนวทางที่ 2 การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อย และการจัดทำข้อเสนอโครงการสำคัญฯ          ? สศช. จัดทำคู่มือโครงการสำคัญฯ และปฏิทินขับเคลื่อนกระบวนการจัดทำโครงการสำคัญฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 ที่กำหนดให้ยึดแนวทางการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 สำหรับการดำเนินงานในระยะต่อไป
? หน่วยงานจัดทำและปรับข้อเสนอโครงการสำคัญฯ            บนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ที่เป็นไปตามหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (XYZ) และสอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทยทั้ง 140 เป้าหมาย แผนแม่บทย่อยภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ                (ฉบับแก้ไขปี 2566) และมีการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป
? ทุกหน่วยงานของรัฐเสนอโครงการสำคัญฯ ผ่านระบบ eMENSCR ให้ทันกรอบระยะเวลาการดำเนินการ
2.3 แนวทางที่ 3 การจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอโครงการสำคัญฯ          ? หน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานต่าง ๆ และหน่วยงานผู้มีสิทธิ์ประเมินให้คะแนนโครงการสำคัญฯ ต้องดำเนินการ ดังนี้
   (1) ศึกษาและทำความเข้าใจกระบวนการประเมิน
   (2) เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินให้คะแนนอย่างเที่ยงตรงและเป็นไปตามหลักเกณฑ์
เพื่อให้ได้ข้อเสนอโครงการสำคัญฯ ที่สามารถขับเคลื่อนการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ
2.4 แนวทางที่ 4 การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ          ? ทุกหน่วยงานดำเนินการตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ดังนี้
   (1) จัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี และแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี
   (2) สิ้นปีงบประมาณให้จัดทำรายงานแสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปีเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
? ทุกหน่วยงานของรัฐต้องนำเข้าและรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการในระบบ eMENSCR ดังนี้
แผนปฏิบัติราชการ          ระยะเวลานำเข้า          ระยะเวลา
รายงาน
ผลสัมฤทธิ์
รายปี          ภายในวันที่ 30 ตุลาคม ของปีที่ได้รับงบประมาณ          3 เดือน
เมื่อสิ้นปี
งบประมาณ
ระยะ 5 ปี          ภายใน
วันที่ 30 ตุลาคม
ของปีงบประมาณ
ที่เริ่มดำเนินการ          เมื่อสิ้นสุดระยะเวลา
ของแผนระยะ
 5 ปี
กรณีหน่วยงานของรัฐที่ดำเนินงานตามปีปฏิทิน
รายปี          ภายในวันที่
30 มกราคม ของปี
ที่ได้รับงบประมาณ หรือเริ่มดำเนินการ          ภายใน
3 เดือน
เมื่อสิ้นปีปฏิทิน
หรือเสร็จสิ้น
การดำเนินการ
ระยะ 5 ปี

2.5 การจัดสรรงบประมาณ          มอบหมาย สงป. ดำเนินการ ดังนี้
? พิจารณาจัดสรรงบประมาณรองรับการดำเนินโครงการสำคัญฯ จำนวน 406 โครงการ ในลักษณะงบประมาณพิเศษ หรืองบประมาณแบบบูรณาการ
? ใช้ห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย 140 เป้าหมายแผนแม่บทย่อยฯ (ฉบับแก้ไขปี 2566) เพื่อประกอบการพิจารณาการจัดสรรงบประมาณเพื่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไป ซึ่งต้องครอบคลุมทุกปัจจัยและองค์ประกอบของห่วงโซ่คุณค่าของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย



                    3. มติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
                    เห็นชอบโครงการสำคัญฯ จำนวน 406 โครงการ และแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสำคัญฯ
1เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์  เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ใด้อย่างเป็นรูปธรรม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อง จัดทำและปรับปรุงข้อมูล สถิติ สถานการณ์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ  เพื่อสนับสนุนการจัดทำนโยบาย
2ลำดับการอนุมัติ (M7) ในระบบ eMENSCR โดยการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบดังกล่าวล้วนต้องผ่านการอนุมัติข้อมูลตามลำดับขั้น (M7) เพื่อยืนยันความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล
3มีหน่วยงานที่ไม่ได้ดำเนินการประเมินให้คะแนนข้อเสนอโครงการสำคัญฯ ได้แก่ สำนักงบประมาณ (สงป.) ในฐานะหน่วยงานผู้มีสิทธิ์ประเมินให้คะแนนโครงการสำคัญฯ และสำนักงาน ก.พ. ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพ จ.3

4. เรื่อง (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอดังนี้
                    1. รับทราบสาระสำคัญของ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) (แผ่นพัฒนาฯ ฉบับที่ 13) และกรอบแนวคิดของการขับเคลื่อน ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
                    2. มอบหมาย สศช. ประสานงานกับสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อกำหนดกลไกที่เหมาะสมในการจัดสรรงบประมาณสำหรับสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และมอบหมาย สงป. จัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 สามารถบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
                    โดยในส่วนการมอบหมาย สศช. นำความคิดเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ มาพิจารณาปรับปรุง (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีพิจารณาความเหมาะสมตามลำดับต่อไป ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. รายงานว่า ปัจจุบัน สศช. อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ซึ่งจะมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2564 จากนั้นจะเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีต่อไป ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                    1. สาระสำคัญของ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ประกอบด้วย
                              1.1 บทบาท ความสำคัญ และสถานะ โดยที่แผนพัฒนาฯ เป็นแผนระดับที่ 2 ซึ่งเป็นกลไกในการถ่ายทอดยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ ทำหน้าที่ระบุทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาที่ประเทศควรให้ความสำคัญในระยะ 5 ปี ดังนั้น จึงได้มีการปรับเปลี่ยนกรอบการจัดทำ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ (ฉบับที่ 13)                    ให้ครอบคลุมเฉพาะประเด็นการพัฒนาประเทศที่มีความสำคัญสูง ทั้งนี้ ประเด็นการพัฒนาภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติซึ่งไม่ได้ระบุไว้ใน (ร่าง) แผนพัฒนาฯ (ฉบับที่ 13) จะดำเนินการขับเคลื่อนผ่านแผนระดับ 2 ฉบับอื่นต่อไป
                              1.2 หลักการและแนวคิด 4 ประการ ได้แก่ (1) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง                  (2) แนวคิด ?ล้มแล้วลุกไว? (Resilience) มุ่งเน้นการลดความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลง และการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสเพื่อสร้างการเติบโตที่มีคุณภาพและยั่งยืน (3) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และ                    (4) โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio ? Circular -Green Economy: BCG) นอกจากนี้ยังได้คำนึงถึงเงื่อนไขและข้อจำกัดที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของบริบทในระดับประเทศและระดับโลกในระยะยาวอันเป็นผลสืบเนื่องจากโควิด - 19
                              1.3 วัตถุประสงค์และเป้าหมาย เพื่อพลิกโฉมประเทศไทย (ไทย) สู่ ?สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน? โดยมีเป้าหมายหลักที่ต้องการบรรลุผล 5 ประการ สรุปได้ ดังนี้

เป้าหมาย          สาระสำคัญ
(1) การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม          ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการที่สำคัญให้สามารถตอบโจทย์พัฒนาการของเทคโนโลยีและสังคมยุคใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(2) การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่          พัฒนาคนไทยให้มีทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมกับโลกยุคใหม่และเตรียมกำลังคนที่มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
(3) การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม          ลดความเหลื่อมล้ำเชิงรายได้ ความมั่นคง และโอกาสในการแข่งขันของภาคธุรกิจ รวมทั้งสนับสนุนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางและผู้ด้อยโอกาสในการเลื่อนชั้นทางเศรษฐกิจและสังคม
(4) การเปลี่ยนผ่านไปสู่ความยั่งยืน          ปรับปรุงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตและการบริโภคให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับขีดความสามารถของระบบนิเวศและการแก้ไขปัญหามลพิษด้วยวิธีการที่ยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในระยะยาว
(5) การเสริมสร้างความ สามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทโลกใหม่          สร้างความพร้อมในการรับมือและแสวงหาโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของโลก พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและกลไกทางสถาบันที่เอื้อต่อการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างและระบบการบริหารงานของภาครัฐ            ให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบททางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี
                              1.4 หมุดหมายการพัฒนา ได้กำหนด 13 หมุดหมายการพัฒนาเพื่อถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่ภาพของการขับเคลื่อนที่ชัดเจน โดยแบ่งเป็น 4 มิติ ดังนี้
มิติ          หมุดหมายการพัฒนา
(1) ภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย 6 หมุดหมาย          1. ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
2. ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน
3. ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของอาเซียน
4. ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง
5. ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์             ที่สำคัญของภูมิภาค
6. ไทยเป็นศูนย์กลางด้านดิจิทัลและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของอาเซียน
(2) โอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม 3 หมุดหมาย           7. ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้
8. ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน
9. ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลงและคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม
(3) ความยั่งยืนของทรัพยากร
ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2 หมุดหมาย          10. ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
11. ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(4) ปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ 2 หมุดหมาย          12. ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต
13. ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน
                    2. กรอบแนวคิดของการขับเคลื่อน ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล ใช้หลักการของวงจรบริหารงานคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA) ซึ่งให้ความสำคัญกับการสร้างกระบวนการทำงานที่เป็นระบบและมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ                        มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 การขับเคลื่อน (Do) ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ (1) การขับเคลื่อนแบบบนลงล่าง (Top down) โดยการจัดตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ที่มีองค์ประกอบครอบคลุมภาคีการพัฒนาทั้งภาครัฐและภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการและสร้างความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ในการผลักดันให้การดำเนินงานสามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และ (2) การขับเคลื่อนแบบล่างขึ้นบน (Bottom up) ผ่านการจัดทำแผนพัฒนาภาค และจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ที่มีการถ่ายระดับเป้าหมายการพัฒนาของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 โดยพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับศักยภาพ ความต้องการและทรัพยากรของพื้นที่ รวมถึงเป็นไปตามนโยบาย หลักเกณฑ์ และแนวทาง ตามที่คณะกรรมการบูรณาการนโยบายภาคและคณะกรรมการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการกำหนด
                              2.2 การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล (Check) ใช้กลไกการทำงานที่มีอยู่ของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมีภารกิจเกี่ยวข้องกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เช่น ผู้ตรวจราชการ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ สศช. และ สงป.
                              2.3 การปรับปรุงการดำเนินงานตามผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล (Act) หน่วยงานและกลไกที่เกี่ยวข้องนำผลการติดตามฯ ไปวิเคราะห์และประมวลผลเพื่อกำหนดมาตรการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานให้มุ่งสู่เป้าหมายตามระยะเวลาที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

5. เรื่อง การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ ตามมติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอ และให้ สศช. รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติรายงานว่า
                    1. เพื่อให้การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐสามารถบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนอื่น ๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงจำเป็นต้องมีกลไกการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล ตามหลักวงจรนโยบาย (Policy Cycle)1 เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ช่องว่าง (Gap analysis)2 เชิงนโยบายและช่องว่างการพัฒนาต่อการบรรลุเป้าหมาย การจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไปโดยหน่วยงานของรัฐมีหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
การดำเนินการ          กฎหมายหรือระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กำกับให้การดำเนินงานส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนแม่บทฯ) และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม          มาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติ
การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560
- จัดทำแผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป็นแผนระยะ 5 ปี ซึ่งต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี (ทุกปีงบประมาณ)          พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี                   พ.ศ. 2546 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
- จัดทำรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปีเมื่อสิ้นปีงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
- รายงานผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR3)          ระเบียบว่าด้วยการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2562
อย่างไรก็ตาม การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติในปัจจุบันยังขาดการบูรณาการ และไม่ได้ดำเนินการบนฐานข้อมูลเดียวกันอย่างเป็นระบบจึงยังไม่สามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานของหน่วยงานรัฐให้สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายและผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ รวมทั้งแผนอื่น ๆ    ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นรูปธรรม
                    2. คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564  มีมติเห็นชอบแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยยึดหลักการบริหารงานคุณภาพ (PLAN DO CHECK ACT : PDCA) ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับขั้นตอนการตรวจสอบ (CHECK) และการปรับปรุงการดำเนินการ (ACT) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ ช่วยควบคุมและพัฒนากระบวนการทำงานอย่างมีการวางแผน ป้องกันการเกิดปัญหา เกิดการตรวจสอบอย่างเป็นระยะเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเกิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการปรับปรุงกระบวนการ
ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ ดังนี้
                              2.1 การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล (Check) อย่างบูรณาการเพื่อติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการทำงานของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 โดยใช้ระบบ eMENSCR เป็นเครื่องมือกลางในการดำเนินการซึ่งแนวทางการดำเนินการของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง [หน่วยงานของรัฐ ผู้ตรวจราชการระดับต่าง ๆ คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ                 (ค.ต.ป.) ระดับต่าง ๆ คณะกรรมการระดับชาติ สำนักงบประมาณ (สงป.) และ สศช.] สรุปได้ ดังนี้
                                        1) การดำเนินการของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง          การดำเนินการ
          การจัดทำแผน          การติดตาม ตรวจสอบ
และประเมินผล
(การติดตามฯ) โดยใช้ข้อมูล
จากระบบ eMENSCR          การจัดทำและรายงานผลสัมฤทธิ์ในระบบ eMENSCR (รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ)
1) หน่วยงานของรัฐ          จัดทำแผนระดับที่ 3 โดยจัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี และรายปี




          ? นำเข้าข้อมูลในระบบต่าง ๆ ดังนี้
ข้อมูล          ระบบ
โครงการ/การดำเนินงาน          นำเข้าข้อมูล
ในระบบ
eMENSCR
แผนระดับที่ 3
แผนหรือโครงการ/งานวิจัย          ฐานข้อมูล
เปิดภาครัฐ
(Open - D)
? เร่งรัดกระบวนการดำเนินโครงการ/กิจกรรมและผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน          รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ
? โครงการ/การดำเนินงาน
(ภายใน 30 วันหลังสิ้นสุดไตรมาส)
? แผนปฏิบัติราชการ
- แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี : เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของแผน
- แผนปฏิบัติราชการรายปี : ภายในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณถัดไป
? แผนหรือโครงการ/งานวิจัย (หลังสิ้นสุดปีงบประมาณ)
2) ผู้ตรวจราชการระดับต่าง ๆ
- สำนักนายกรัฐมนตรี
 (นร.)
- กระทรวง
- กรม          นร.:จัดทำแผนการตรวจราชการประจำปี โดยใช้ข้อมูลจากระบบ eMENSCR และรายงานการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ          กระทรวง : ติดตามฯ โครงการ/การดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมาย ดังนี้
- เป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการ และแผนการตรวจราชการกระทรวง (ในฐานะหน่วยงานของรัฐ)
- เป้าหมายแผนแม่บทฯ (ในฐานะหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ)
กรม : การติดตามฯ ตามแผนปฏิบัติราชการกรม          รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ
ภายในไตรมาสที่ 1
ของปีงบประมาณถัดไป
3) ค.ต.ป. ระดับต่าง ๆ
- ค.ต.ป.
- คณะอนุกรรมการฯ กลุ่มกระทรวง                 (อ.ค.ต.ป.)
- ค.ต.ป. กระทรวง          ค.ต.ป. : จัดทำแผนการตรวจสอบและประเมินผลประจำปี4          ติดตามฯ การดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน ดังนี้
- แผนการตรวจสอบ และประเมินผลประจำปี (อ.ค.ต.ป. และ ค.ต.ป. กระทรวง)
- แผนปฏิบัติราชการ (ค.ต.ป. กระทรวง) โดยมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ค.ต.ป. ประสานงานกับ ค.ต.ป. ระดับต่าง ๆ ตามแนวทางการดำเนินการดังกล่าว          รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ ภายในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณถัดไป
4) คณะกรรมการระดับชาติ          จัดทำแผนปฏิบัติการด้าน ... ตามที่กฎหมายกำหนด5          ติดตามฯ การดำเนินงานของหน่วยงานตามแผนปฏิบัติการด้าน... ที่อยู่ในความรับผิดชอบของคณะกรรมการระดับชาติตามที่กฎหมายกำหนด          ฝ่ายเลขานุการรายงานผลสัมฤทธิ์ฯ การดำเนินงานของแผนปฏิบัติการด้าน... เป็นรายปีให้สอดคล้องกับห้วงเวลาของแผนแม่บทฯ
5) สงป.          -          ติดตามฯ การใช้จ่ายงบประมาณประจำปีของหน่วยงานรัฐ โดยใช้ข้อมูลความก้าวหน้าผลการดำเนินงานของหน่วยงานแต่ละไตรมาสจากระบบ eMENSCR          รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ รายไตรมาส
6) สศช.          -          ติดตามฯ การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและพัฒนาระบบ eMENSCR ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) รองรับการรายงานผลสัมฤทธิ์          รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ ประจำปี
                    2) กลไกตาม 1) ทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล (CHECK) เพื่อให้การดำเนินการในแต่ละระดับบรรลุตามเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ และแผนอื่น ๆ ดังนี้
การขับเคลื่อนประเทศ          หน่วยงานรับผิดชอบ
ยุทธศาสตร์ชาติ          ? สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
: รายงานสรุปผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและประเมินสถานการณ์การบรรลุเป้าหมาย
กลไกการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล + รายงานผลสัมฤทธิ์ผ่านระบบ
แผนแม่บทภายใต้
ยุทธศาสตร์ชาติ          ? ผู้ตรวจราชการ นร.                                   ? สศช. : รายงานสรุปผลฯ
? ค.ต.ป./อ.ค.ต.ป.                                         และประเมินสถานการณ์
? สงป.                                                       การบรรลุเป้าหมาย
แผนระดับที่ 3          ? คณะกรรมการระดับชาติ (แผนปฏิบัติการด้าน...)
? ผู้ตรวจราชการ นร.
? อ.ค.ต.ป. กลุ่มกระทรวงคณะต่าง ๆ
โครงการ/พื้นที่          ? ผู้ตรวจราชการกระทรวง/กรม
? ค.ต.ป. ประจำกระทรวง
? หน่วยงานของรัฐ
                              2.2 การปรับปรุงการดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล (Act) โดยวิเคราะห์และประมวลผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติของกลไกระดับต่าง ๆ เพื่อนำไปทบทวน ปรับปรุงแก้ไข แนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล รวมถึงพัฒนาและยกระดับกระบวนการการดำเนินโครงการ/การดำเนินงาน ซึ่งมีแนวทางการดำเนินการของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสรุปได้ ดังนี้
ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง          แนวทางการดำเนินการ
1. หน่วยงานของรัฐ          นำรายงานผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานมาวิเคราะห์ช่องว่าง ของการพัฒนาต่อการบรรลุเป้าหมายระดับต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงกระบวนการการดำเนินโครงการ/ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทฯ และแผนอื่น ๆ
2. สศช.          วิเคราะห์ช่องว่างและประเมินสถานการณ์ของการดำเนินงานต่อการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติในภาพรวม เพื่อเป็นข้อมูลและกรอบในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลของกลไกต่าง ๆ
3. สงป.          นำรายงานผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานมาเป็นข้อมูลสนับสนุนการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็นเร่งด่วนของการพัฒนาต่าง ๆ
4. กลไกการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติราชการทุกระดับ           วิเคราะห์และประเมินสถานการณ์การดำเนินการตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติจากระบบ eMENSCR และรายงานสรุปผล เพื่อทบทวน ปรับปรุงกระบวนการดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล

1ประกอบด้วย 1) การก่อตัวนโยบาย (Policy Formation) 2) การกำหนดนโยบาย (Policy Formulation) 3) การตัดสินนโยบาย (Policy Decision) 4) การนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy Implementation) และ 5) การประเมินผลนโยบาย (Policy Evaluation)
2Gap analysis คือ การประเมินสถานการณ์ของหน่วยงาน ณ ปัจจุบันกับเป้าหมายของแผนที่เกี่ยวข้อง                         โดยหน่วยงานจะต้องวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) : องค์ประกอบ/ปัจจัย/กิจกรรม/กระบวนการ ที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการดำเนินงาน (ต้นทาง) ไปจนกระทั่งสิ้นสุดกระบวนการการดำเนินงาน (ปลายทาง) ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท ฯ และแผนอื่น ๆ ได้ตามที่กำหนด ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญ (Key Factors) ในบริบทของการขับเคลื่อนเป้าหมายของแผนที่เกี่ยวข้อง
3Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform (eMENSCR)
4ใช้ข้อมูลช่องว่างการพัฒนาของห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (Final Value Chain Thailand : FVCT) ของ 140 เป้าหมายแผนแม่บทฯ ย่อย (Y1) สถานการณ์การบรรลุเป้าหมาย รายงานประจำปีการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และข้อมูลจากระบบ eMENSCR
5แผนระดับที่ 3 ที่เป็นแผนปฏิบัติการด้าน... จำแนกออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ (1) แผนที่ไม่ได้จัดทำขึ้นตามมติคณะกรรมการระดับชาติที่มีกฎหมายรองรับ หรือไม่มีกฎหมายกำหนดให้จัดทำแผน : การจัดทำแผนจะต้องมีเท่าที่จำเป็นเท่านั้น (2) แผนที่จัดทำขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่ได้มีมติคณะกรรมการระดับชาติรองรับ : หน่วยงานที่รับผิดชอบจะต้องมีการทบทวนกฎหมายที่กำหนดให้จัดทำแผน และมีการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดเป็นแผนปฏิบัติการเดียวอย่างบูรณาการ โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน... ทั้งนี้ ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2564 อย่างเคร่งครัด

6. เรื่อง การติดตามการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของส่วนราชการโดยใช้กลไกประชารัฐ ตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีและการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ใช้ระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เป็นระบบหลักในการรายงานและติดตามผลการดำเนินการของส่วนราชการตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ นโยบายรัฐบาล รวมถึงการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของส่วนราชการ โดยใช้กลไกประชารัฐตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีและการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน ต่อไป
                    2. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2559 (เรื่อง กลไกประชารัฐ) เฉพาะในส่วนของข้อ 2 ที่มอบหมายให้ส่วนราชการรายงานความก้าวหน้าการใช้กลไกประชารัฐในการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ทุกเดือน โดยให้ทุกส่วนราชการส่งรายงานให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) ภายในวันที่ 5 ของทุกเดือน เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีต่อไป
                    3. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2561 (เรื่อง การทบทวนภารกิจรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี) เฉพาะในส่วนของข้อ 1 ที่มอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. รวบรวมและสรุปประมวลผลการรายงานความก้าวหน้าในเรื่องกลไกประชารัฐและการดำเนินงานไทยนิยม ยั่งยืน ต่อนายกรัฐมนตรี
                    และให้สำนักงาน ก.พ.ร. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า
                    1. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำระบบการรายงานออนไลน์เพื่อให้ส่วนราชการใช้รายงานความก้าวหน้าเกี่ยวกับการใช้กลไกประชารัฐในการขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายต่าง ๆ ของรัฐบาล รวมถึงการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน โดยจัดทำสรุปและประมวลผลจากรายงานความก้าวหน้าของส่วนราชการในเรื่องดังกล่าว กราบเรียนนายกรัฐมนตรีตามห้วงระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้รับทราบแล้ว ทั้งนี้ ระบบการรายงานดังกล่าว ส่วนราชการสามารถรายงานผลในภาพรวมระดับกระทรวง ประกอบด้วย ข้อมูลรายละเอียดโครงการ/กิจกรรม งบประมาณ และสรุปผลการดำเนินงานที่สำคัญ (รอบ 2 เดือน) ใน 12 ประเด็นตามกลไกการขับเคลื่อนประชารัฐ ได้แก่ 1) การยกระดับนวัตกรรมและผลิตภาพ 2) การดึงดูดการลงทุนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ 3) การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และธุรกิจใหม่ (Start-up)                 4) การยกระดับคุณภาพวิชาชีพ 5) เศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ 6) การส่งเสริมการท่องเที่ยวและกลุ่ม MICE             7) การส่งเสริมการส่งออกและการลงทุนต่างประเทศ 8) การพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมที่เป็น New S Curve 9) การแก้ไขกฎหมายและกลไกภาครัฐ 10) การพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ 11) การศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาความรู้ และ 12) การสร้างรายได้และกระตุ้นการใช้จ่ายของประเทศและกรอบหลักในการดำเนินการเพื่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศไทยสู่ความยั่งยืนตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน
                    2. เจตนารมณ์ของการให้ส่วนราชการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินนโยบายต่าง ๆ โดยใช้กลไกประชารัฐและโครงการไทยนิยม ยั่งยืน คือการสร้างความตระหนักให้ส่วนราชการใช้กลไกประชารัฐเป็นกลไกกลางในการสร้างการมีส่วนร่วม เชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มการจ้างงานสร้างรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ และเพิ่มขีดความสามารถของภาคประชาชนและประชาสังคม และชุมชนอยู่ดี มีสุข ซึ่งต่อมายุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) ได้นำหลักการของกลไกประชารัฐและการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน มาเป็นกรอบในการกำหนดแนวทางการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบ ?ประชารัฐ? (เช่น ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ข้อ 4.4.3 เพิ่มพื้นที่เมืองและเศรษฐกิจ โดยกำหนดให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมเป็นแรงขับเคลื่อนการยกระดับจังหวัดสำคัญเป็นเมืองเศรษฐกิจประจำภาคและยุทธศาสตร์ชาติด้านปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ) นอกจากนี้ แผนการปฏิรูปประเทศ                  (ฉบับปรับปรุง) ได้มีการนำหลักการของ ?กลไกประชารัฐและการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน? มาขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วย (เช่น แผนการปฏิรูปประเทศด้านการเมือง กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนโยบายสาธารณะทุกระดับและแผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน กิจกรรมปฏิรูปที่ 4 สร้างความเข้มแข็งในการบริหารราชการในระดับพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน)
                    3. จากความเชื่อมโยงดังกล่าวข้างต้นจึงสะท้อนให้เห็นว่า ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศได้ดำเนินการบนพื้นฐานของการใช้กลไกประชารัฐและการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน ในการขับเคลื่อนการปฏิบัติงาน ประกอบกับส่วนราชการได้ตระหนักในการนำกลไกประชารัฐมาใช้ในการปฏิบัติภารกิจมากขึ้น รวมถึงใช้เป็นกลไกหลักสำคัญที่ทำให้การแก้ไขสถานการณ์วิกฤตต่าง ๆ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมามีประสิทธิภาพ และเป็นกลไกที่มีการนำมาใช้อยู่เสมอจนเป็นแนวปฏิบัติปกติที่ส่วนราชการใช้ในการขับเคลื่อนการปฏิบัติเพื่อให้การดำเนินนโยบายต่าง ๆ เช่น การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และการรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติกได้บรรลุผล นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยม ยั่งยืน โดยมีการประเมินผลการดำเนินการ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ (19 มีนาคม 2562) รับทราบ ซึ่ง มท. จะนำผลการประเมินดังกล่าวมาเป็นแนวทางขับเคลื่อนโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป              จึงถือได้ว่าโครงการไทยนิยม ยั่งยืน ประสบผลสำเร็จและบรรลุตามวัตถุประสงค์แล้ว
                    4. ปัจจุบันได้มีระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)* ซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการรายงานและติดตามผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งนโยบายรัฐบาล โดยส่วนราชการได้รายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบดังกล่าวเป็นรายไตรมาสได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีข้อมูลการดำเนินงานตามแผน/โครงการและสามารถแสดงความเชื่อมโยงและการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน (หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน ประชาสังคม และภาคประชาชน)               ที่ครอบคลุมถึงความก้าวหน้าในการดำเนินนโยบายต่าง ๆ โดยใช้กลไกประชารัฐตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี และการดำเนินงานเรื่องไทยนิยม ยั่งยืน แล้ว ดังนั้น จึงเห็นควรลดภาระในการรายงานผลการดำเนินงานของส่วนราชการเพื่อให้ส่วนราชการสามารถขับเคลื่อนปฏิบัติงานตามภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อบูรณาการช่องทางในการรายงานผลของส่วนราชการในช่องทางเดียว โดยให้ใช้ระบบ eMENSCR เป็นระบบหลัก ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 และให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
หมายเหตุ : * สำนักงาน ก.พ.ร. ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติมว่า สศช. มีระบบ eMENSCR สำหรับการรายงานและติดตามผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ รวมทั้งนโยบายรัฐบาล รวมทั้งได้มีการประมวลผลการดำเนินการที่มีความครบถ้วน สมบูรณ์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีตามนัยมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอยู่แล้ว

7. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ 2 (25 กรกฎาคม 2563 - 25 กรกฎาคม 2564)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี     ปีที่ 2 (25 กรกฎาคม 2563 - 25 กรกฎาคม 2564) และให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดทุกกระทรวงรับไปพิจารณารับไปพิจารณาร่างรายงานฯ อีกครั้งหนึ่ง และส่งการปรับปรุงแก้ไขให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)
                    2. ให้ สลค. จัดพิมพ์รายงานฯ
                    3. ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) แปลบทสรุปสำหรับผู้บริหารเป็นฉบับภาษาอังกฤษเพื่อเผยแพร่ในต่างประเทศ (ทั้งนี้ กตน. ได้แจ้งผู้แทน กต. ใน กตน. ทราบด้วยแล้ว)
                    4. ให้สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จัดพิมพ์บทสรุปสำหรับผู้บริหารฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 18/2564 ลงวันที่ 25 มกราคม 2564 แต่งตั้ง กตน. [รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เป็นประธานกรรมการ] มีหน้าที่รวบรวมและจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องใช้ประโยชน์ในการเผยแพร่และสร้างการรับรู้ของประชาชน และ กตน. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลประจำปี เพื่อพิจารณา รวบรวม กลั่นกรอง ตรวจสอบ และเรียบเรียง ปรับปรุง รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาลประจำปี
                    2. คณะอนุกรรมการจัดทำรายงานฯ ได้ร่วมกับส่วนราชการจัดทำร่างต้นฉบับรายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ 2 (25 กรกฎาคม 2563 - 25 กรกฎาคม 2564) มีสาระสำคัญ ประกอบด้วย
                              2.1 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร เช่น สภาพปัญหาก่อนเข้าบริหารประเทศ สถานการณ์หลังการเข้าบริหารประเทศ แนวนโยบายของรัฐบาล ผลการดำเนินงานที่สำคัญของรัฐบาลในช่วงปีที่ 2 ได้แก่ การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ การบริหารจัดการการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มาตรการการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและลดผลกระทบต่อประชาชนและผู้ประกอบการภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 การเปิดประเทศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจการท่องเที่ยว การให้ความช่วยเหลือเกษตรกร การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
                              2.2 ผลการดำเนินการตามยุทธศาตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
                                        2.2.1 ผลการพัฒนาตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ เช่น ด้านความมั่นคง พบว่า ในปี 2563 ความมั่นคงในทุกมิติและทุกระดับของไทยมีคะแนน 2.245 อยู่ในอันดับที่ 114 (จากทั้งหมด                        163 ประเทศ) ดีขึ้นจากอันดับ 116 ในปี 2562 และถูกจัดให้เป็นกลุ่มประเทศที่มีสันติภาพปานกลาง [พิจารณาจากรายงานดัชนีสันติภาพโลก (Global Peace Index: GPI)] และด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมในภาพรวมปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติมีทางที่ดีขึ้น ทั้งการเข้าถึงการศึกษาและการเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ
                                        2.2.2 ผลการประเมินการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศ เช่น ด้านกฎหมาย มีเรื่องและประเด็นปฏิรูปที่บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ มีกลไกในการออกกฎหมายที่ดีและเท่าที่จำเป็น รวมทั้ง          มีกลไกในการทบทวนกฎหมายที่มีผลใช้บังคับแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และพัฒนากระบวนการจัดทำและตรวจพิจารณาร่างกฎหมายให้รวดเร็ว รอบคอบ และสอดคล้องกับเงื่อนเวลาในการตรากฎหมายตามรัฐธรรมนูญ
                              2.3 ผลการดำเนินงานตามนโยบายหลัก 12 ด้าน เช่น
                                        2.3.1 การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก โดยส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับมิตรประเทศทั่วโลก การดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ และการสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลในการส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงบวกทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
                                        2.3.2 การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย โดยดำเนินมาตรการเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการและประชาชน และการดำเนินโครงการ/มาตรการเพื่อรักษาระดับการบริโภคภายในประเทศ รวมทั้งลดภาระค่าครองชีพของประชาชนและฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19
                                        2.3.3 การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โดยดำเนินโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ (EEC Project List) เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม                        3 สนามบิน โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก
                              2.4 ผลการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง เช่น
                                        2.4.1 การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน โดยการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ การปราบปรามการฉ้อโกงหลอกลวงประชาชนและการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย
                                        2.4.2 การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม โดยการจัดพื้นที่การเกษตรให้สอดคล้องกับระบบบริหารจัดการน้ำและคุณภาพดินตาม Agri-Map การสร้างหลักประกันทางรายได้ให้แก่เกษตรกร และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตพืชโดยใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ
                                        2.4.3 การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน โดยยกระดับระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) ในการให้บริการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาต และเอกสารแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการสามารถค้นหาข้อมูลบริการภาครัฐและทำธุรกรรมผ่าน bizportal.go.th แบบเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว
                              2.5 ภาคผนวก เช่น สรุปผลการดำเนินงานบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการช่วยเหลือเยียวยา และรายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมาย

8. เรื่อง รายงาน Thailand National Report SDG 6.4
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) รายงาน Thailand National Report SDG 6.4 1 และแนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและลดการขาดแคลนน้ำโดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ2 (Food and Agriculture Organization of The United Nations: FAO) ได้ประสาน สทนช. ร่วมตรวจสอบข้อมูลติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการขับเคลื่อนและให้มีการทบทวนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายย่อย SDG 6.4 และจัดส่งให้ FAO ปรับฐานข้อมูลการพัฒนาด้านน้ำของประเทศและเผยแพร่ผลงานใน AQUASTAT-FAO?s Global Information System on Water and Agriculture ต่อไป โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                     1. สทนช. ในฐานะหน่วยงานหลักด้านนโยบายในการประสานงานการบริหารจัดการน้ำกับองค์กรระหว่างประเทศร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านน้ำ ได้ประเมินและจัดทำข้อมูลเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG 6.4 รอบ 5 ปี (พ.ศ. 2558 ? 2562) ประกอบด้วย 2 ตัวชี้วัด ได้แก่
                               1.1 การประเมินตัวชี้วัด SDG 6.4.1 ประสิทธิภาพการใช้น้ำ (Water-use Efficiency: WUE) โดยประเมินจากปริมาณการใช้น้ำในแต่ละภาคส่วน (ภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ) กับมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ของแต่ละภาคส่วน จากการประเมินพบว่า ภาคอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพการใช้น้ำมากที่สุด รองลงมาคือ ภาคบริการ และภาคเกษตรมีประสิทธิภาพการใช้น้ำน้อยที่สุด และประสิทธิภาพการใช้น้ำโดยรวมตั้งแต่ปี 2558 ? 2562 มีแนวโน้มลดลง
                               1.2 การประเมินตัวชี้วัด SDG 6.4.2 ระดับความตึงเครียดด้านน้ำ (Level of Water Stress) โดยประเมินจากสัดส่วนปริมาณน้ำจืดที่ถูกนำไปใช้ต่อปริมาณน้ำจืดในสาขาหลักต่าง ๆ รวมทั้งน้ำจืดที่นำกลับมาใช้ใหม่ หักด้วยความต้องการปริมาณการไหลเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยผลการประเมินระดับความตึงเครียดด้านน้ำของประเทศไทยปี 2558 ? 2562 มีค่าอยู่ระหว่าง ร้อยละ 9.68 ? 12.77 โดยมีค่าต่ำกว่าฐานข้อมูลที่ประเมินไว้ และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลกอยู่ที่ร้อยละ 17
                     2. จากผลการประเมินตัวชี้วัด SDG 6.4.1 และ SDG 6.4.2 ข้างต้น สทนช. ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการน้ำที่สำคัญ ได้แก่ (1) การใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า (2) การเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) และลดปริมาณการใช้น้ำภาคเกษตร และ (3) การลดความต้องการใช้น้ำและเพิ่มสัดส่วนการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ โดยมีข้อเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
การดำเนินการ          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. กำหนดเกณฑ์การจัดสรรน้ำเพื่อลดระดับความตึงเครียดด้านน้ำและจัดทำฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ตัวชี้วัด           สทนช.
2. ศึกษาวิเคราะห์การส่งน้ำของโครงการชลประทาน และประเมินประสิทธิภาพการใช้น้ำโครงการชลประทานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำ           กรมชลประทาน
3. ปรับปรุงข้อมูลการใช้น้ำที่เหมาะสมตามประเภทโรงงานอุตสาหกรรม และส่งเสริมการใช้น้ำซ้ำ การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่           กรมโรงงานอุตสาหกรรม
4. ติดตามและประเมินน้ำสูญเสียในระบบส่งน้ำและประเมินอัตราการใช้น้ำประเภทต่าง ๆ           การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค
5. ศึกษาวิเคราะห์ปริมาณการใช้น้ำใต้ดินเพื่อการเกษตรอุตสาหกรรม อุปโภคบริโภค และพาณิชยกรรม และศึกษาวิเคราะห์ศักยภาพการเติมน้ำใต้ดินตามธรรมชาติและการสูบน้ำใต้ดินขึ้นมาใช้           กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
                     3. เนื่องจากในการจัดส่งข้อมูลรายงาน Thailand National Report SDG 6.4 จะต้องได้รับการตรวจสอบและรับรองในระดับประเทศก่อน สทนช. จึงได้นำร่างรายงานฯ เสนอต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564 ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
                               3.1 เห็นชอบรายงาน Thailand National Report SDG 6.4 เสนอคณะรัฐมนตรีทราบ และให้ สทนช. นำเรียนประธานกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติลงนามในหนังสือนำส่ง FAO ต่อไป
                               3.2 เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและลดการขาดแคลนน้ำ ตามข้อ 2 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการเสนอคณะกรรมการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป _________________
หมายเหตุ : 1SDG 6.4 เป็นเป้าหมายย่อยภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 ?จัดให้มีน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค การจัดการน้ำที่ยั่งยืน และสุขาภิบาลสำหรับทุกคน? เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและการจัดหาน้ำที่ยั่งยืน รวมทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำและลดจำนวนประชาชนที่ประสบความทุกข์จากการขาดแคลนน้ำภายในปี 2573
              2องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เป็นองค์การชำนัญพิเศษที่ใหญ่ที่สุดองค์กรหนึ่งของสหประชาชาติ ซึ่งมีบทบาทในด้านอาหาร เกษตร ป่าไม้ และประมง โดยประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 49 ของ FAO เมื่อเดือนสิงหาคม 2490 ปัจจุบันมีสมาชิก 194 ประเทศทั่วโลก

9. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกันยายน 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ              ณ เดือนกันยายน 2564 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ สรุปผลการดำเนินการที่สำคัญได้ ดังนี้
                              1.1 โครงการสำคัญ ประจำปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ปี 2566 - 2570) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเห็นชอบโครงการสำคัญฯ จำนวน 406 โครงการ และเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการสำคัญ เช่น การจัดทำแผนปฏิบัติราชการและการนำเข้า และรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) และการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งสำนักงบประมาณ (สงป.) จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณรองรับการดำเนินโครงการในลักษณะงบประมาณพิเศษหรืองบประมาณแบบบูรณาการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้ สศช. อยู่ระหว่างนำผลการพิจารณาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                              1.2 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) มีมติเห็นชอบ ดังนี้ (1) การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน 2 คณะ ได้แก่ 1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและ 2) คณะอนุกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (2) แนวทางการขับเคลื่อนการปฏิบัติการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ในระดับพื้นที่
                              1.3 การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) (แผนพัฒนา ฉบับที่ 13) สศช. ได้จัดประชุมประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 รวมถึงเปิดโอกาสให้หน่วยงานของรัฐและภาคีการพัฒนาร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ซึ่งจะเริ่มใช้ในปี 2565 เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายที่จะเดินต่อไปอีก 5 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ สศช. จะนำความเห็นที่ได้ไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้มีความครอบคลุม ครบถ้วน และสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น และจะมีการรับฟังและระดมความคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 อีกครั้งในช่วงเดือนธันวาคม 2564 - มกราคม 2565
                    2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ
                              2.1 สศช. ได้รายงานความคืบหน้าในการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการดำเนินการจัดทำตามยุทธศาสตร์ชาติต่อวุฒิสภา เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2564 โดยสมาชิกวุฒิสภามีความเห็นและประเด็นอภิปรายที่สำคัญ เช่น (1) ควรปรับปรุงค่าเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน (2) ควรปรับปรุงโครงการ/การดำเนินงานในแผนขับเคลื่อนกิจกรรมปฏิรูปที่ส่งผลต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ให้สามารถนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม และ (3) ควรมีการประสานและบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง สงป. สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) หน่วยงานของรัฐ และคณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน                ซึ่ง สศช. จะนำความเห็นและประเด็นอภิปรายประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
                              2.2 สศช. ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 11 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2564) ต่อวุฒิสภา เมื่อวันที่                 7 กันยายน 2564 โดยสมาชิกวุฒิสภามีความเห็นและประเด็นอภิปรายที่สำคัญ เช่น (1) การดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศแต่ละด้าน มีความล่าช้าและยังไม่เห็นผลของความก้าวหน้าในการปฏิรูปประเทศ (2) ควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญในกิจกรรม/โครงการที่ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปประเทศอย่างแท้จริง และ (3) ควรมีการจัดสรรงบประมาณให้แก่ประเด็นในการปฏิรูปที่มีความสำคัญเพื่อให้การดำเนินกิจกรรม/โครงการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม
                              ทั้งนี้ สศช. จะเสนอรายงานความคืบหน้าฯ ครั้งที่ 12 (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2564)       ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ (5 ตุลาคม 2564) รับทราบแล้วต่อรัฐสภาตามขั้นตอนต่อไป ส่วนการจัดทำรายงานความคืบหน้าฯ ครั้งที่ 13 (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564) สศช. จะเน้นการรายงานความคืบหน้าของ Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสำเร็จของการดำเนินการในช่วงเวลาดังกล่าว
                    3. ผลการดำเนินการอื่น ๆ
                              3.1 การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเห็นชอบ แนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ มุ่งเน้นใน 2 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การตรวจสอบ จากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ สงป. และ สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ และ (2) การปรับปรุงติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล วิเคราะห์และประมวลผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติของกลไกระดับต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและยกระดับกระบวนการการดำเนินโครงการ/การดำเนินงานให้สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม
                              3.2 การสร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ได้จัดทำสื่อข้อมูลเชิงภาพเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาฯ เพื่อเผยแพร่และสร้างความตระหนักรู้ให้ทุกหน่วยงานได้มีความเข้าใจและสามารถขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
                    4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ข้อมูลจากผลการประเมินในรายงานของธนาคารพัฒนาเอเชียพบว่า ประเทศไทย (ไทย) มีดัชนีการรับมือกับภัยพิบัติด้านน้ำอยู่ที่ระดับ 2 จากคะแนนเต็ม 5 ซึ่งต่ำกว่าค่าเป้าหมายแผนแม่บทย่อยในปี 2565 ที่กำหนดเป็นระดับ 3 โดยการประเมินตัวชี้วัดพิจารณาจากความสามารถในการรับมือภัยพิบัติด้านน้ำ ดังนี้ (1) ด้านภัยแล้ง (2) ด้านน้ำท่วม และ (3) ด้านคลื่นพายุซัดฝั่ง โดยจากผลการประเมินพบว่าไทยมีความสามารถในการรับมือกับน้ำท่วมอยู่ในระดับต่ำที่สุด ดังนั้น จึงต้องให้ความสำคัญและเร่งยกระดับความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติด้านน้ำของประเทศอย่างเป็นระบบ เพื่อให้สามารถรับมือกับภัยพิบัติและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกรูปแบบ รวมถึงระบบการเตือนภัย การเตรียมตัวรับมือภัยพิบัติ และการให้ความช่วยเหลือทั้งในระหว่างและหลังเกิดภัยพิบัติ เพื่อนำไปสู่เสถียรภาพและความยั่งยืนของการพัฒนาประเทศต่อไป

10. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) เสนอสรุปรายงานผลการดำเนินงานของ กปช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และมอบหมายหน่วยงานภาครัฐรับข้อเสนอของประชาชนไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                     กปช. รายงานว่า ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่าง ๆ เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ ภายใต้นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติฉบับที่ 5 พ.ศ. 2563 ? 2565 ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ โดยผลการดำเนินงานของ กปช. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สรุปได้ดังนี้
                     1. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ 1 สร้างความตระหนักรู้ และความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
เรื่อง          ข้อเสนอของประชาชน          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1) พัฒนาทักษะอาชีพเพื่อสร้างรายได้อย่างยั่งยืน           - ควรเพิ่มการส่งเสริมพัฒนาทักษะอาชีพอิสระและทักษะอาชีพในตลาดอุตสาหกรรม เช่น การพัฒนาทักษะสำหรับเกษตรอัจฉริยะ และทักษะสำหรับอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ รวมทั้งควรเน้นสื่อสารเรื่องทักษะอาชีพที่มีความต้องการในตลาดวิถีใหม่มากยิ่งขึ้น           - กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) และกระทรวงศึกษาธิการ
2) สังคมปลอดภัยไร้ความรุนแรง           - เร่งสร้างการสื่อสารเพื่อให้ประชาชนรับรู้การมีอยู่/การช่วยเหลือของภาครัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)           สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) มท. กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) และกระทรวงสาธารณสุข
3) มาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน           - ภาครัฐควรสื่อสารชี้แจงให้ประชาชนเข้าใจมาตรการของรัฐโดยเพิ่มความถี่ในการชี้แจง           กระทรวงการคลัง และกระทรวงพาณิชย์
4) รับมือภัยแล้ง และอุทกภัย          - ควรเร่งเผยแพร่ผลงานการบริหารจัดการน้ำทั้งในช่วงฤดูแล้งและฤดูฝนให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกร และสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายองค์กรผู้ใช้น้ำ เพื่อสื่อสารถึงมาตรการหรือวิธีแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัยในระยะยาวอย่างยั่งยืน           มท. และ กษ.
5) บริหารจัดการฝุ่น PM2.5          - ภาครัฐควรให้ข้อมูลเรื่องการป้องกันตัวแก่ประชาชน และนำเสนอการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนในระยะยาว โดยเรื่องการบริหารจัดการฝุ่น PM2.5 จะต้องถูกสื่อสารในปี 2565 ต่อไป           กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
6) สังคมสูงวัย           - ควรประชาสัมพันธ์แนวทางการบริหารจัดการเพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ในระดับมาตรฐานอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม           กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และ รง.
7) ยุติธรรมเท่าเทียม           - ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้และเข้าใจความหมายเกี่ยวกับเรื่องยุติธรรมสร้างสุข บทบาทหน้าที่ และประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ เช่น การให้คำปรึกษา การช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา และการจัดหาทนายความ           ตช. มท. และ ยธ.
8) ส่งเสริมค่านิยมที่ดีของสังคมไทย           - เน้นการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสาธารณะ เคารพกฎกติกาของสังคม เทิดทูนสถาบันหลักของชาติ และน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวปฏิบัติในการดำรงชีวิตผ่านสื่อออนไลน์ให้ครบทุกช่องทาง           กระทรวงวัฒนธรรม
                     2. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ 2 สร้างความตระหนักรู้ ทัศนคติเชิงบวก และการมีส่วนร่วมของประชาชนไทยและชาวต่างประเทศต่อการต่างประเทศ
เรื่อง          ผลการดำเนินงาน
1) ความพร้อมและศักยภาพด้านสาธารณสุขของไทย Medical Hub           - ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัยทางสาธารณสุขของไทย การกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ มาตรฐานสถานที่กักตัวที่รัฐกำหนด และการประกันสุขภาพสำหรับชาวต่างด้าวและการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาลประเภทต่าง ๆ ผ่านรูปแบบการประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์
2) การท่องเที่ยววิถีใหม่           - เน้นการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความปลอดภัยการท่องเที่ยววิถีใหม่และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับมาตรการรองรับนักท่องเที่ยว รวมถึงข้อมูลข่าวสารการท่องเที่ยว กิจกรรมวิถีชีวิต และเทศกาลงานประเพณีอย่างต่อเนื่อง ผ่านสื่อออนไลน์ช่องทางต่าง ๆ
3) ศักยภาพด้านเศรษฐกิจของไทย           - เน้นการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้จำนวนมาก ในรูปแบบของสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ
4) อัตลักษณ์ไทย           - จัดกิจกรรมในรูปแบบนิทรรศการและการแสดง เช่น อาหาร ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ เพื่อเผยแพร่อัตลักษณ์ไทยและส่งเสริมภาพลักษณ์ไทย นำความเป็นไทยสู่สากล โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายทั้งระดับผู้แทนประเทศไทยไปจนถึงประชาชนทั่วไป
5) การบริหารจัดการควบคุมแรงงานต่างด้าว           - เน้นการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ประกอบการหรือนายจ้าง โดยผลิตสปอตประชาสัมพันธ์ ?สายด่วน 1694? เป็นภาษาลาว ควบคู่ไปกับการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในกลุ่มแรงงานต่างด้าว
6) ความสัมพันธ์ประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศสำคัญ          - ประชาสัมพันธ์วาระครบรอบการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับประเทศต่าง ๆ และองค์การระหว่างประเทศ รวมถึงความร่วมมือและการให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและสาธารณสุขแก่ประเทศเพื่อนบ้านในรูปแบบของข่าวผ่านสื่อออนไลน์ โดยมียอดเข้าถึง 37,731 คน
7) การให้บริการกงสุลและการคุ้มครองคนไทยในต่างประเทศ           - ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนในการดูแลช่วยเหลือคนไทยกลับประเทศและชาวต่างชาติที่มีความจำเป็นต้องเดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์เป็นหลัก
                     3. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ 3 บริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร พัฒนาสื่อสร้างสรรค์สร้างการรู้เท่าทันและการมีส่วนรวม มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (1) ดำเนินการประชาสัมพันธ์เชิงรุกต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (2) ดำเนินการต่อต้านการข่าวปลอม (Fake News) โดยใช้กลไกเครือข่าย หน่วยงานภาครัฐ 20 กระทรวง (3) พัฒนาระบบโครงสร้างเครือข่ายด้านข้อมูลและช่องทางการเผยแพร่ และ (4) จัดทำคลังข้อมูลข่าวสารอัจฉริยะ
                     4. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาที่ 4 ยกระดับบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศในยุคดิจิทัล โดยจัดทำกรอบ ?มาตรฐานหลักสูตรนักบริหารงานประชาสัมพันธ์ระดับสูง? และจัดทำกรอบหลักสูตรชุดวิชาเพื่อพัฒนาทักษะเดิม และเพิ่มทักษะใหม่ด้านการสื่อสารในยุคดิจิทัลของบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์ในระดับท้องถิ่น/จังหวัด โดยหลักสูตรที่ได้รับความสนใจมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) การจัดการกับข่าวปลอม (Fake News) (2) ผลิตและเผยแพร่สื่อดิจิทัล และ (3) การนำเสนอด้วยการเล่าเรื่องซึ่งมีหน่วยงานบรรจุหลักสูตรแล้ว 32 หน่วยงาน และฝึกอบรมแล้ว 17 หน่วยงาน รวมผู้เข้ารับการอบรม 15,362 คน
                     5. ผลการดำเนินงานตามแนวทางการพัฒนาทั้ง 4 แนวทาง ภายใต้นโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติในระดับจังหวัด มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น (1) สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจของประชาชนต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ โดยสร้างการรับรู้และความเข้าใจให้ประชาชนในพื้นที่ต่อเรื่องสื่อสารที่สำคัญ             8 เรื่อง (2) สร้างความตระหนักรู้ ทัศนคติเชิงบวก และการมีส่วนร่วมของประชาชนไทยและชาวต่างประเทศต่อการต่างประเทศ 7 เรื่อง (3) บริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร พัฒนาสื่อสร้างสรรค์ สร้างการรู้เท่าทันและการมีส่วนร่วม โดยส่งเสริมสร้างการรับรู้และเข้าใจที่ถูกต้องให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ และ (4) ยกระดับบุคลากรด้านการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชนของประเทศ โดยนำหลักสูตรของสถาบันการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ ไปอบรมให้กับบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้อง รวม 20 กระทรวง

11. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 5/2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ สรุปผลการประชุม กตน. ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน.
1. การบริหารจัดการขยะติดเชื้อ (ต้นทาง-กลางทาง-ปลายทาง)
          1.1 การดำเนินงานตามมาตรการต้นทาง ได้แก่ 1) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) รณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อชุมชน สร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนทราบวิธีการทิ้งและแยกขยะติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)* และ 2) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จัดทำคำแนะนำเกี่ยวกับการจัดการหน้ากากอนามัยใช้แล้ว รณรงค์ประชาสัมพันธ์และสนับสนุน ?ถุงขยะสีแดง?
          1.2 การดำเนินงานตามมาตรการกลางทาง ได้แก่ 1) มท. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดให้มีถังขยะสีแดงไว้ในที่สาธารณะหรือสถานที่รวบรวมขยะมูลฝอยติดเชื้อของชุมชนและจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อให้กับผู้ปฏิบัติงานและฉีดล้างรถบรรทุกเก็บขนขยะมูลฝอยเป็นประจำทุกวัน และ 2) กทม. จัดระบบการจัดเก็บมูลฝอยติดเชื้อฯ ใน 2 ระดับ ได้แก่ รวบรวมไปไว้ที่จุดพักรวมขยะติดเชื้อของสำนักงานเขต เพื่อรอการเก็บขนของบริษัทเอกชนและว่าจ้างบริษัทเอกชนรวบรวมขยะมูลฝอยติดเชื้อฯ กำจัดด้วยวิธีเผาในเตาเผา และ 3) ทส. ให้คำแนะนำ อปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเก็บรวบรวมและขนส่งมูลฝอยติดเชื้อตามหลักวิชาการ
          1.3 การดำเนินงานตามมาตรการปลายทาง เช่น มท. กำจัดมูลฝอยติดเชื้อชุมชนเป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 และ 2) กทม. ว่าจ้างบริษัทกรุงเทพธนาคม จำกัด นำขยะมูลฝอยติดเชื้อที่เก็บขนได้ไปกำจัดด้วยวิธีการเผาที่โรงงานเตาเผาขยะมูลฝอยติดเชื้อในพื้นที่ศูนย์กำจัดมูลฝอยติดเชื้ออ่อนนุชและหนองแขม และ 3) ทส. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามตรวจสอบการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อล้นระบบ
          1.4 การดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ดำเนินการใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขสนับสนุน อปท. ในการควบคุม กำกับ การจัดการขยะติดเชื้อในทุกแหล่งกำเนิด และใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการขยะติดเชื้อ รวมทั้งบูรณาการภาคีเครือข่ายทุกระดับในการจัดการขยะติดเชื้อ
          1.5 ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไข เช่น 1) มท. เสนอว่า ให้ สธ. ผ่อนปรนการดำเนินการตามกฎกระทรวงฯ และระเบียบที่เกี่ยวข้องเป็นการชั่วคราวเพื่อเพิ่มศักยภาพในการขนและกำจัดขยะมูลฝอยติดเชื้อในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2) ทส. เสนอว่า ควรประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับประชาชน โรงพยาบาลสนาม การกักตัวที่บ้าน และการแยกกักในชุมชน ให้มีการคัดแยกมูลฝอยติดเชื้อที่ต้นทาง พร้อมทั้งจัดระบบการคัดแยก และ 3) กทม. เสนอว่า ควรสื่อสารสร้างความเข้าใจกับประชาชนให้ทราบวิธีการทิ้งและแยกมูลฝอยติดเชื้อโรคโควิด-19 อย่างถูกวิธี          ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : ให้ สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้นิยามและคำจำกัดความของขยะติดเชื้อโรค            โควิด-19 และระยะเวลาการคงอยู่ของเชื้อที่ติดตามวัสดุต่าง ๆ หากมีการวิจัย             ที่เกี่ยวข้องจะเกิดความเข้าใจและคลายความกังวลของการจัดเก็บและการทำลายขยะติดเชื้อได้ ในการนี้ สธ. ขอรับที่จะนำไปประชุมหารือกับฝ่ายวิชาการต่อไป
มติที่ประชุม : รับทราบและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขของ มท. ทส. และ กทม.               ไปพิจารณาบริหารจัดการขยะติดเชื้อตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง
2. การขับเคลื่อนการเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21
          2.1 ผลการดำเนินงานและแผนงานของหน่วยงาน เช่น 1) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา พัฒนาคุณภาพการศึกษาและแบบทดสอบระดับชาติ และพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้บรรลุผลลัพธ์ที่พึงประสงค์ของการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติ 2) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศึกษากฎระเบียบที่เป็นข้อจำกัดต่อการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ จัดทำรายงานการศึกษาเรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดทำแพลตฟอร์มการใช้ประโยชน์กำลังคนระดับสูงของประเทศ และ 3) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินโครงการเรียนโค้ดดิ้งพัฒนา STEM เพื่อเพิ่มทักษะกำลังคนด้านดิจิทัลและดำเนินโครงการยกระดับศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่ออุตสาหกรรมอนาคต (AI อาชีวะ) ในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)
          2.2 ข้อเสนอแนะ เช่น ศธ. เสนอว่า รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้จังหวัดเป็นฐานร่วมกันพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นสถานศึกษาแห่งอนาคต โดยการนำสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการเรียนการสอน และ อว. เสนอเกี่ยวกับการพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะและศักยภาพสอดคล้องกับความต้องการ/เป้าหมายของประเทศ นำไปสู่การพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจของประเทศ          มติที่ประชุม : รับทราบ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อเสนอแนะของ ศธ. และ อว. ไปพิจารณา
3. (ร่าง) รายงานผลการดำเนินงานของรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ปีที่ 2 (25 กรกฎาคม 2563 - 25 กรกฎาคม 2564) (ฉบับที่ 1)
          3.1 คณะอนุกรรมการจัดทำรายงานฯ ได้ดำเนินการจัดประชุมเพื่อจัดทำ (ร่าง) รายงานฯ โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร ผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ นโยบายหลัก 12 ด้าน นโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง และสรุปผลการดำเนินงานการบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และมาตรการช่วยเหลือเยียวยา
          3.2 การปรับแผนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ เช่น เลื่อนวันเสนอ (ร่าง) รายงานฯ ต่อประธาน กตน. พิจารณาให้ความเห็นชอบเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี และเลื่อนวันแจกจ่ายเล่มรายงานฯ ให้แก่คณะรัฐมนตรีและผู้เกี่ยวข้อง          ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
1. เห็นชอบในหลักการการจัดทำ                (ร่าง) รายงานฯ
2. ให้ส่วนราชการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขและนำเรียนรัฐมนตรีเจ้าสังกัดทราบ โดยให้จัดส่ง (ร่าง) รายงานฯ ให้ฝ่ายเลขานุการร่วม กตน. [สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.)] ภายในวันที่ 17 กันยายน 2564 เพื่อเสนอประธาน กตน. พิจารณาให้ความเห็นชอบ และนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณา และนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. รับทราบการปรับแผนการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการฯ โดยคาดว่าจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างรายงานฯ เพื่อแจกจ่ายเล่มรายงานฯ ให้แก่คณะรัฐมนตรีและผู้ที่เกี่ยวข้องในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2564
??????????_______________________
*หมายเหตุ : ขณะนี้ สธ. ได้ดำเนินการเรื่องการกำจัดขยะติดเชื้อโควิด-19 โดยออกประกาศ สธ. เรื่อง วิธีการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อด้วยวิธีอื่น พ.ศ. 2564 แล้ว ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2564 เป็นต้นไป

12. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนสิงหาคม 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนสิงหาคม 2564  ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
                    1. สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนสิงหาคม 2564 ดังนี้
                    ดัชนีราคาผู้บริโภค หรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนสิงหาคม 2564 กลับมาหดตัวอีกครั้งในรอบ                 5 เดือน โดยมีสาเหตุสำคัญจากมาตรการลดภาระค่าครองชีพของภาครัฐ การลดลงของราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดบางชนิดและราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานเริ่มชะลอตัวลง  ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ
                    เงินเฟ้อในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ 0.02 (YoY)
เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.45 ในเดือนก่อนหน้า เนื่องจากมาตรการลดภาระค่าครองชีพของรัฐโดยเฉพาะการลดค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่ากระแสไฟฟ้า และค่าน้ำประปา ประกอบกับราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดบางชนิดมีราคาลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะข้าว เนื้อสัตว์ ผักสด และผลไม้สด นอกจากนั้น ราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานแม้จะยังขยายตัวต่อเนื่อง แต่เป็นอัตราที่ชะลอลงจากเดือนที่ผ่านมา ขณะที่สินค้าอื่น ๆ บางชนิดมีราคาสูงขึ้น โดยเฉพาะไข่ไก่และเครื่องประกอบอาหาร และสินค้าบางชนิดราคาทรงตัว ซึ่งเคลื่อนไหวสอดคล้องกับสถานการณ์ส่งผลให้เงินเฟ้อในเดือนนี้ปรับลดลง
                    เงินเฟ้อพื้นฐาน (เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว) ขยายตัวร้อยละ 0.07 (YoY) ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.14 เงินเฟ้อทั่วไป เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2564 ลดลงร้อยละ 0.18 (MoM) และเฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค.- ส.ค.) ปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 0.73 (AOA)
                    อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเงินเฟ้อในเดือนนี้จะปรับตัวลดลง แต่เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญที่เกี่ยวข้องหลายตัวยังมีสัญญาณที่ดี เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายภายในประเทศและจากการนำเข้ายังคงขยายตัว ภาคการส่งออกยังได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญที่ฟื้นตัว ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยยังคงขยายตัวได้ดี ซึ่งส่งผลดีต่อกำลังซื้อและอุปสงค์ในประเทศ นอกจากนี้ ดัชนีราคาผู้ผลิต ขยายตัวร้อยละ 4.9 (YOY) จากร้อยละ 5.0 ในเดือนก่อนหน้าและดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 8.8 (YOY) จากร้อยละ 7.8  ในเดือนก่อนหน้า สอดคล้องกับการปรับตัวสูงขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเศรษฐกิจของไทยกำลังเผชิญกับวิกฤติโควิด-19 แต่เชื่อมั่นว่ามาตรการเพิ่มกำลังซื้อ และการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ของภาครัฐ รวมถึงอุปสงค์จากต่างประเทศที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จะส่งผลให้เงินเฟ้อของประเทศปรับตัวดีขึ้นตามลำดับ
                    2. แนวโน้มเงินเฟ้อ
                    เงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2564 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวในระดับที่ไม่สูงมากนักโดยมีปัจจัยสำคัญจากการสิ้นสุดมาตรการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ซึ่งสิ้นสุดในเดือนสิงหาคมนี้ อีกทั้งราคาพลังงานมีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อยจากการเพิ่มกำลังการผลิตของผู้ผลิตโลก ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่มีแนวโน้มเริ่มคลี่คลาย อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารสดและการต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐเป็นปัจจัยผันแปรสำคัญที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อในเดือนกันยายนได้
                    ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2564 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.7-1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ 1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง ทั้งนี้จะมีการทบทวนอีกครั้งในเดือนกันยายน 2564

13. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนสิงหาคม 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนสิงหาคม 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
                    1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนสิงหาคม 2564
          การส่งออกของไทยในเดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่าสูงกว่า 21,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ด้วยมูลค่า 21,976.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวที่ร้อยละ 8.93 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 19.43 เป็นผลจากการผลักดัน และแก้ไขอุปสรรคด้านการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ รวมถึงการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของเศรษฐกิจโลก โดย UNCTAD คาดว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเติบโตรวดเร็วที่สุดในรอบเกือบ 5 ทศวรรษ โดยเฉพาะในประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป สอดคล้องกับภาคการผลิตทั่วโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่อยู่เหนือระดับ 50 เป็นเดือนที่ 14 ซึ่งเป็นการเติบโตจากการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าเพื่อการลงทุน นอกจากนี้ เงินบาทที่อ่อนค่าช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าไทย ทั้งนี้ การส่งออก                 8 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวที่ร้อยละ 15.25 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวที่ร้อยละ 21.22
          มูลค่าการค้ารวม
มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนสิงหาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 21,976.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 8.93 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,191.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 47.92 ดุลการค้าขาดดุล 1,215.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภาพรวมการส่งออก 8 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 176,961.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.25 การนำเข้า มีมูลค่า 175,554.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 30.97 ดุลการค้า 8 เดือนแรก เกินดุล 1,406.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนสิงหาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 715,416.40 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 12.83 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 765,248.80 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 53.20 ดุลการค้าขาดดุล 49,832.40 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออก 8 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 5,441,613.75 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 13.78 การนำเข้า มีมูลค่า 5,476,523.71 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 29.52 ดุลการค้า 8 เดือนแรก ขาดดุล 34,909.96 ล้านบาท
          การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 23.6 (YoY) ขยายตัว                9 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 98.8 (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และฝรั่งเศส) ผัก ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 84.8 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ จีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น เวียดนาม และมาเลเซีย) น้ำมันปาล์ม ขยายตัวร้อยละ 51.0 (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ อินเดีย มาเลเซีย เมียนมา จีน และกัมพูชา) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 48.4 (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และสหรัฐฯ) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 25.4 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ จีน เบนิน เซเนกัล อังโกลา และฮ่องกง) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 17.3 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ มาเลเซีย ออสเตรเลีย อินเดีย               และฟิลิปปินส์) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 5.5 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ อินโดนีเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์                และญี่ปุ่น) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ สุกรสด แช่เย็น แช่แข็ง หดตัวร้อยละ 73.1 (หดตัวในตลาดฮ่องกง กัมพูชา และลาว                   แต่ขยายตัวดีในเมียนมา) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป หดตัวร้อยละ 31.9 (หดตัวแทบทุกตลาด เช่น ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน สิงคโปร์ เกาหลีใต้ แต่ขยายตัวดีในตลาดเนเธอร์แลนด์) อาหารทะเลสด แช่เย็น แช่แข็งกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 10.4 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวดีในตลาดญี่ปุ่น จีน แคนาดา เกาหลีใต้             และอียิปต์) เครื่องดื่ม หดตัวที่ร้อยละ 13.6 (หดตัวในตลาดกัมพูชา เมียนมา จีน สิงคโปร์ และลาว แต่ขยายตัวดีในตลาดเวียดนาม กานา อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ) 8 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 14.7
          การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
          มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.3 (YoY) ขยายตัว 6 เดือนต่อเนื่อง สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 68.3 (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน กัมพูชา ญี่ปุ่น อินเดีย และเวียดนาม) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 17.8 (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และเม็กซิโก) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 44.3 (ขยายตัวทุกตลาด อาทิ จีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และเบลเยียม) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 10.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย และเกาหลีใต้) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 60.3 (ขยายตัวแทบทุกตลาด อาทิ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 35.7 (ขยายตัวหลายตลาด อาทิ สหรัฐฯ อินเดีย สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ จีน) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 15.5 (หดตัวในตลาดเวียดนาม มาเลเซีย ออสเตรเลีย เปรู และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดสหรัฐฯ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ชิลี และเม็กซิโก) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน หดตัวร้อยละ 7.6 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ และเวียดนาม แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดออสเตรเลีย อินโดนีเซีย อินเดีย และอาร์เจนตินา) เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว หดตัวร้อยละ 5.6 (หดตัวหลายตลาด อาทิ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง ออสเตรเลีย เวียดนาม แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดจีน) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป หดตัวร้อยละ 85.8 (หดตัวในตลาดสิงคโปร์ ฮ่องกง สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวได้ดีในตลาด สปป.ลาว เกาหลีใต้ กัมพูชา ญี่ปุ่น และไต้หวัน) 8 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 14.4
          ตลาดส่งออกสำคัญ
          การส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญยังขยายตัวต่อเนื่อง แม้ว่าจะชะลอลงบางส่วนจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าในหลายประเทศ การส่งออกไปกลุ่มตลาดต่างๆ สรุป ดังนี้               1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 18.2 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 16.2 จีน ร้อยละ 32.3 ญี่ปุ่น ร้อยละ 10.0 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 16.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 26.9 ขณะที่ CLMV หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.03 2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 18.4 ขยายตัวเกือบทุกกลุ่มตลาด ได้แก่ เอเชียใต้ ร้อยละ 54.5 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 31.9                  ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 27.5 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 50.8 และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 44.8 ขณะที่ทวีปออสเตรเลียหดตัวร้อยละ 15.9 และ 3) ตลาดอื่นๆ หดตัวร้อยละ 90.1
          2. แนวโน้ม และมาตรการส่งเสริมการส่งออกในปี 2564
                    การส่งออกของไทยในปี 2564 มีแนวโน้มของการขยายตัวที่ดี สะท้อนจาก (1) สินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการยังเติบโตได้ต่อเนื่อง เป็นสัญญาณบวกต่อภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกของไทย (2) ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกของสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ (3) มาตรการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ในสหรัฐฯ จีน และสหภาพยุโรป และการเร่งฉีดวัคซีนทั่วโลก ส่งผลดีต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า (4) ค่าเงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อสินค้าส่งออกของไทยที่เน้นการแข่งขันด้านราคา สำหรับแผนส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ยังคงมอบหมายให้หน่วยงานต่างๆ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ?ตลาดนำการผลิต? และแผนงานของกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดไว้ โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จะมีกิจกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนการส่งออกอย่างต่อเนื่อง สำหรับกิจกรรมในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคมนี้ เช่น งานยี่ปั๊วออนไลน์ ครั้งที่ 2 (20-24 ก.ย. 64) กิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์กลุ่มสินค้าสุขภาพและความงาม (22-24 ก.ย. 64) และผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย (29-30 ก.ย. 64) งานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทยในรูปแบบเสมือนจริง THAIFEX (29 ก.ย. - 3 ต.ค. 64) โครงการจับคู่กู้เงิน สถาบันการเงินกับ SME ส่งออก เฟส 2 (ก.ย. - พ.ย. 64) เป็นต้น นอกจากนี้ ในช่วงปลายปียังจะมีงานแสดงสินค้านานาชาติอัญมณีและเครื่องประดับ ?Phuket Gems Fest? รวมถึงการเดินหน้าผลักดันกิจกรรมภายใต้ ?มินิเอฟทีเอ ไทย-ไห่หนาน? โดยมีแผนที่จะจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจออนไลน์ไทย-ไห่หนาน และการจัดงานแสดงสินค้ารูปแบบ Mirror & Mirror นำร่องธุรกิจบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งไทยมีโอกาสผลักดันทั้งสินค้าและบริการเชิงสุขภาพเข้าไปให้บริการในไห่หนาน เช่น นวดแผนไทย สปา ผลิตภัณฑ์ด้านความงาม ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย และการให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม

14. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2564 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 4.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากการผลิตรถยนต์ที่ลดลงจากการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนบางรายการ จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ ทำให้ผู้ผลิตชิปและชิ้นส่วนรถยนต์บางโรงต้องปิดโรงงานชั่วคราว
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนสิงหาคม 2564 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
                    1. รถยนต์และชิ้นส่วน หดตัวร้อยละ 9.77 จากปัญหาการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนชุดสายไฟ เนื่องจากโรงงานผู้ผลิตเกิดการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และผู้ผลิตที่ใช้ชิ้นส่วนจากต่างประเทศประสบปัญหาด้านการขนส่ง ทำให้การผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย
                    2. การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 6.77 จากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รุนแรงกว่าปีก่อน กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลายอย่างชะลอตัวลง กระทบต่อการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
                    3. รถจักรยานยนต์ หดตัวร้อยละ 45.51 จากการหดตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก จากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีความรุนแรงกว่าปีก่อน ทำให้มีมาตรการควบคุม  การระบาดที่เข้มงวดมากขึ้น กระทบต่อความต้องการใช้รวมถึงกำลั่งซื้อและรายได้ที่น้อยลง เช่นเดียวกับการส่งออกในกลุ่มประเทศอาเซียนซึ่งเป็นคู่ค้าหลักก็ประสบปัญหาการแพร่ระบาดเช่นเดียวกัน
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนสิงหาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                    1. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.45 ตามการเติบโตของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลกอย่างต่อเนื่อง จากการใช้เซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนหนึ่งของสินค้าสมัยใหม่ตั้งแต่เครื่องจักร คอมพิวเตอร์ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อุปกรณ์การแพทย์ และอุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ
                    2. ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.06 จากยางแท่งและยางแผ่นเป็นหลัก              จากความต้องการของลูกค้าต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในหลายประเทศเริ่มคลี่คลาย โดยเฉพาะจากลูกค้าจีน รวมถึงความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมยางรถรถยนต์
15. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 38/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 38/2564 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ซึ่งเห็นควรให้ความเห็นชอบให้จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดกระบี่ จังหวัดยโสธร จังหวัดอ่างทอง จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดพังงา จังหวัดพิจิตร และจังหวัดกาฬสินธุ์เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการหรือยกเลิกโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ) พร้อมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform: eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คกง. รายงานว่า ที่ประชุม คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 38/2564 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564               มีมติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนที่ได้รับอนุมัติไว้หรือไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนี้
                    1. โครงการที่ได้รับอนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 และ 6 ตุลาคม 2563

โครงการ          มติคณะรัฐมนตรีเดิม          ข้อเสนอในครั้งนี้
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
โครงการเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
จังหวัดเพชรบุรี
โครงการยกระดับการผลิตผักปลอดภัยและได้มาตรฐาน          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนพฤศจิกายน 2564
จังหวัดกระบี่ (3 โครงการ)
(1) โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าการเกษตรทางเลือกแก่เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันและยางพารา          สิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
(2) โครงการเมนูอาหารพื้นบ้านจากชุมชนสู่ภัตตาคาร ?ของหรอยเมืองกระบี่?          สิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2564
(3) โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยวด้านการโรงแรมเพื่อรองรับการท่องเที่ยวตามวิถีใหม่ (New Normal)          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564
จังหวัดยโสธร
โครงการส่งเสริมการเกษตรแบบผสมผสาน โดยจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำในไร่นา          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
จังหวัดมุกดาหาร (2 โครงการ)
(1) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงไก่พื้นเมืองเชิงพาณิชย์สู้ภัยโควิด          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
(2) โครงการแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทอาหารเพื่อเพิ่มรายได้ให้กลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการชุมชน          สิ้นสุดเดือนกรกฎาคม 2564
จังหวัดพังงา (3 โครงการ)
(1) โครงการส่งเสริมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวไร่พันธุ์ดอกข่า 50 สินค้า GI จังหวัดพังงา สร้างคลังอาหารภายในชุมชน          อนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ
วงเงิน 2.23 ล้านบาท          ยกเลิกกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม
(วงเงิน 1.34 ล้านบาท)
เนื่องจากไม่สามารถจัดหา
พื้นที่ก่อสร้างได้ และทำให้ต้องยกเลิกกิจกรรมที่ต่อเนื่องกัน
ทำให้วงเงินโครงการฯ
ปรับลดเป็น 0.89 ล้านบาท
(2) โครงการหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์เพิ่มพูนสุขภาพ          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
(3) โครงการส่งเสริมการแปรรูปอาหารทะเลและสินค้าเกษตรจังหวัดพังงา          อนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ
วงเงิน 14.40 ล้านบาท          ยกเลิกโครงการฯ
จังหวัดพิจิตร
โครงการพัฒนายกระดับการผลิตสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมของเกษตรกรปราดเปรื่อง (Young Smart Farmer & Smart Farmer)          อนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ
วงเงิน 3.15 ล้านบาท          ยกเลิกกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม
(วงเงิน 0.40 ล้านบาท)
ทำให้วงเงินโครงการฯ
ปรับลดเป็น 2.75 ล้านบาท
จังหวัดกาฬสินธุ์ (3 โครงการ)
(1) โครงการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนและเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์          อนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ
วงเงิน 0.46 ล้านบาท          ยกเลิกโครงการฯ
(2) โครงการพัฒนาการผลิต การแปรรูปสมุนไพรที่ได้มาตรฐานและส่งเสริมการใช้สมุนไพร          อนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ
วงเงิน 1.74 ล้านบาท          ยกเลิกกิจกรรมย่อย 3 กิจกรรม
(วงเงิน 1.18 ล้านบาท)
ทำให้วงเงินโครงการฯ
ปรับลดเป็น 0.56 ล้านบาท
(3) โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างรายได้ผู้สูงอายุด้วยการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร          อนุมัติให้ดำเนินโครงการฯ
วงเงิน 4.46 ล้านบาท          ยกเลิกกิจกรรมย่อย 2 กิจกรรม
(วงเงิน 3.68 ล้านบาท)
ทำให้วงเงินโครงการฯ
ปรับลดเป็น 0.78 ล้านบาท
                    2. โครงการที่ได้รับความเห็นชอบตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2563                           และ 6 ตุลาคม 2563
โครงการ          มติคณะรัฐมนตรีเดิม          ข้อเสนอในครั้งนี้
จังหวัดกระบี่
โครงการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวคุณภาพจังหวัดกระบี่ (Krabi We Care)          สิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
จังหวัดอ่างทอง (2 โครงการ)
(2) โครงการยกระดับการเลี้ยงนกกระทา          สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564          ขยายระยะเวลาโครงการฯ
เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564
(2) โครงการพัฒนาศักยภาพการผลิตแพะแบบครบวงจร

16. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม                 พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 ดังนี้
                    1. อนุมัติโครงการภายใต้มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) (ด้านไฟฟ้าและด้านน้ำประปา) จำนวน 4 โครงการ ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ประปานครหลวง (กปน.) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) กรอบวงเงินรวม 12,771.15 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการกลุ่มที่ 2 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
                    2. มอบหมายให้ กฟน. กฟภ. กปน. และ กปภ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการและดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส              โคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 โดยเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. คกง. รายงานว่า ที่ประชุม คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 มีการพิจารณาโครงการภายใต้มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ด้านไฟฟ้าและด้านประปา) จำนวน                    4 โครงการ ของ กฟน. กฟภ. กปน. และ กปภ. กรอบวงเงินรวม 12,771.15 ล้านบาท ซึ่งเป็นกรอบวงเงินจากการจัดทำข้อมูลต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงจากการให้บริการ โดยโครงการทั้ง 4 โครงการมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ข้อ          สาระสำคัญ          ต้นทุนการดำเนินมาตรการฯ
(ล้านบาท)
1.1          มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (ด้านไฟฟ้า) ระลอกเดือนกรกฎาคม 2564 ของ กฟน.
          กลุ่มเป้าหมาย: (1) กลุ่มประชาชน (ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย) จำนวน 3.72 ล้านครัวเรือน และ (2) กลุ่มผู้ประกอบการ (ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็ก) จำนวน 0.35 ล้านราย
แผนดำเนินการ: ระยะเวลาดำเนินมาตรการ 2 เดือน (สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2564)          2,047.41
1.2          มาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายสาธารณูโภคขั้นพื้นฐาน (ด้านไฟฟ้า) ให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจ ของ กฟภ.
          กลุ่มเป้าหมาย: (1) กลุ่มประชาชน (ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัย) จำนวน 17.68 ล้านครัวเรือน และ (2) กลุ่มผู้ประกอบการ (ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดเล็ก) จำนวน 1.39 ล้านราย
แผนดำเนินการ: ระยะเวลาดำเนินมาตรการ 2 เดือน (สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2564)          10,293.00
1.3          มาตรการลดค่าน้ำประปาเพื่อช่วยเหลือประชาชน ตามมติคณะรัฐมนตรี (13 กรกฎาคม 2564) ของ กปน.
          กลุ่มเป้าหมาย: (1) กลุ่มประชาชน (บ้านอยู่อาศัย) จำนวน 2.06 ล้านราย และ (2) กลุ่มผู้ประกอบการ (กิจการขนาดเล็ก) จำนวน 0.39 ล้านราย ในพื้นที่ให้บริการของ กปน. ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ
แผนดำเนินการ: ระยะเวลาดำเนินมาตรการ 2 เดือน (สำหรับใบแจ้งค่าน้ำประปาประจำเดือนสิงหาคม - กันยายน 2564)          159.08
1.4          มาตรการบรรเทาผลกระทบจากโรคโควิด 19 เพิ่มเติม 2564 ลดค่าน้ำประปาร้อยละ 10 เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็กเป็นระยะเวลา 2 เดือน สำหรับใบแจ้งค่าน้ำประปาประจำเดือนสิงหาคมและกันยายน 2564 ของ กปภ.
          กลุ่มเป้าหมาย: (1) กลุ่มประชาชน (บ้านอยู่อาศัย) จำนวน 4.04 ล้านราย และ (2) กลุ่มผู้ประกอบการ (กิจการขนาดเล็ก) จำนวน 0.61 ล้านราย ในพื้นที่ทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ
แผนดำเนินการ: ระยะเวลาดำเนินมาตรการ 2 เดือน (สำหรับใบแจ้งค่าน้ำประปาประจำเดือนสิงหาคม - กันยายน 2564)          271.66
รวมวงเงิน          12,771.15
                    ทั้งนี้ การดำเนินการทั้ง 4 โครงการ เป็นการลดภาระค่าครองชีพในส่วนของค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าสำหรับประชาชนและผู้ประกอบกิจการขนาดเล็กในช่วงที่รัฐบาลดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งเป็นการบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการและการใช้ชีวิตของประชาชน
                    2. มติ คกง.
                              เห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการภายใต้มาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธรณูปโภคขั้นพื้นฐานจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 (ด้านไฟฟ้าและด้านน้ำประปา) จำนวน 4 โครงการ ของ กฟน. กฟภ. กปน. และ กปภ. กรอบวงเงินรวม 12,771.15 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการกลุ่มที่ 2 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564

17. เรื่อง การกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 กรณีการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 กรณีการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (โรคโควิด 19) และให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงแรงงานเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการกำหนดขอบเขตสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินสำหรับรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งที่รัฐวิสาหกิจนั้นอาจดำเนินการเองได้ ตามมาตรา 13 (2) แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 กรณีการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เพื่อให้รัฐวิสาหกิจที่มีความพร้อม สามารถจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 จากกรมควบคุมโรค องค์การเภสัชกรรม สถาบันวัคซีนแห่งชาติ สภากาชาดไทย ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ หรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่และอำนาจในการให้บริการทางการแพทย์หรือสาธารณสุข เพื่อให้บริการแก่พนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ ตามระเบียบและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง โดยเบื้องต้นกระทรวงแรงงานได้ประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 (ซิโนฟาร์ม) จากจำนวนพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่แจ้งความประสงค์ว่ามีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดหาวัคซีน จำนวน 117,677 คน ซึ่งในปี 2564 มีค่าใช้จ่ายจำนวนรวมทั้งสิ้น 209 ล้านบาท (ซิโนฟาร์มเข็มละ 888 บาท จำนวน 2 เข็ม x จำนวนพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจที่ประสงค์ขอรับวัคซีน 117,677 คน) และในปี 2565 - 2568 มีค่าใช้จ่ายจำนวนรวมทั้งสิ้นปีละ 464 ล้านบาท [ซิโนฟาร์มเข็มละ 888 บาท จำนวน                2 เข็ม x จำนวนพนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจในปี 2564 ทั้งหมด 261,464 คน (พนักงานและลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจในปี 2564 จากรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 58 แห่ง)] โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป [เป็นวันที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เริ่มเปิดให้หน่วยงานของรัฐ/องค์กร/บริษัทต่าง ๆ สามารถจองวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 (ซิโนฟาร์ม) ได้ และรัฐวิสาหกิจบางแห่งได้ดำเนินการจัดหาวัคซีนเพื่อให้พนักงานไปบางส่วนแล้ว]                       ซึ่งคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 และการประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

18. เรื่อง ผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง              ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F
                    คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้
                    1. รับทราบมติคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 3/2564               เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 เกี่ยวกับผลการคัดเลือกเอกชนและผลการเจรจาโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ
                    2. ให้ สกพอ. การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมเพิ่มมูลค่า (Value added Activities) การพัฒนาท่าเรือบกและการเชื่อมต่อโครงข่ายคมนาคมกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยระบบขนส่งที่หลากหลาย และการบริหารจัดการขนส่งหลายรูปแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนค่าขนส่งซึ่งจะช่วยพัฒนาและขยายพื้นที่หลังท่าของท่าเรือแหลมฉบังได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมถึงกำกับให้เอกชนคู่สัญญาของโครงการฯ ดำเนินการตามสัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะการลงทุนพัฒนาท่าเทียบเรือ F2 ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังในภาพรวมต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 3/2564               เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุม โดยที่ประชุมฯ ได้มีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจาและร่างสัญญาร่วมลงทุนที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) ของโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F (โครงการฯ) โดยเอกชนที่ได้รับการคัดเลือก คือ กลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ซึ่งได้เสนอผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินของรัฐเป็นค่าสัมปทานคงที่ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบันที่ 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรที่ 100 บาทต่อ TEU (ตู้สินค้าขนาด 20 ฟุต) ระยะเวลาร่วมลงทุน 35 ปี ทั้งนี้ อส. ไม่มีข้อขัดข้องด้วย

19. เรื่อง ขอความเห็นชอบการจัดตั้งบริษัทในเครือของการเคหะแห่งชาติ บริษัท เคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งบริษัทในเครือของการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ?บริษัทเคหะสุขประชา จำกัด (มหาชน)? (บมจ. เคหะสุขประชา) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และเห็นชอบการปรับเพิ่มกรอบงบลงทุนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หมวดลงทุนอื่นๆ โดยเพิ่มทั้งวงเงินดำเนินการและเบิกจ่ายลงทุน จำนวน 245 ล้านบาท ตามสัดส่วนที่ กคช. ถือหุ้นร้อยละ 49 จากทุนจดทะเบียน 500 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการจัดตั้งบริษัทในเครือสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมาย และเป็นไปตามกฎหมาย กฎและระเบียบที่เกี่ยวข้อง เห็นควรให้ กคช. ดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ ให้มีความชัดเจน ตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และให้ พม. (กคช.) รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการต่อไปด้วย

20. เรื่อง แผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินงาน การจัดเก็บรายได้ และการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และ เห็นชอบแผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 วงเงินงบประมาณรายจ่าย 904.769 ล้านบาท และประมาณการรายได้ 1,002.771 ล้านบาท ซึ่งเป็นการดำเนินงานตามความในมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พน. รายงานว่า
                    1. ผลการดำเนินงาน การจัดเก็บรายได้ และการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

ประเด็น          รายละเอียด
ผลการดำเนินงาน เช่น          1) ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) ครอบคลุมผู้ใช้ไฟฟ้า 23.70 ล้านราย โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 16,972 ล้านบาท และตรึงค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ในงวดเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2564 ออกไปอีก 4 เดือน (เดือนกันยายน - ธันวาคม 2564)
2) ออกระเบียบและประกาศรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) สำหรับภาคประชาชนและโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก (โครงการนำร่อง)
3) ดำเนินการตามแผนปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ                 (Big Rock) ในการอนุมัติอนุญาตเบ็ดเสร็จด้านกิจการไฟฟ้าที่แท้จริง โดยปรับปรุงกระบวนการ ขั้นตอน และกฎหมายลำดับรองเพื่อการอนุญาตแบบ One Stop Service พัฒนาระบบการให้บริการอนุญาตการประกอบกิจการพลังงานแบบออนไลน์ และกำหนดอัตราค่าบริการให้ใช้หรือเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Wheeling Charge)
4) กำหนดหลักเกณฑ์การกำกับกิจการก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 (ระยะเปลี่ยนผ่าน)
5) กำกับอัตราค่าไฟ โดยกำหนดหลักเกณฑ์และโครงสร้างอัตราค่าบริการไฟฟ้า พ.ศ. 2564 - 2568
6) กำกับอัตราค่าบริการก๊าชธรรมชาติ โดยกำหนด (1) อัตราค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อผ่านระบบส่งก๊าชธรรมชาติ ส่วนของต้นทุนผันแปรของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ (2) อัตราค่าบริการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซส่วนของต้นทุนผันแปรประจำปี พ.ศ. 2564 ของบริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด
7) คุ้มครองผู้ใช้พลังงาน ปรับปรุงระเบียบว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นและทำความเข้าใจกับประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า การตรวจสอบการปฏิบัติตามมาตรการสิ่งแวดล้อมของผู้รับใบอนุญาต และการปรับอัตราค่าไฟฟ้า
8) บริหารกองทุนพัฒนาไฟฟ้า โดยบริหารจัดการเงินชดเชยและอุดหนุนผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าซึ่งให้บริการแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ด้อยโอกาสหรือให้บริการไฟฟ้าอย่างทั่วถึงตามมาตรา 97 (1) แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เป็นเงิน 7,711 ล้านบาท
9) พัฒนาระบบบริหารงานองค์กร พัฒนาระบบบริหารงานให้มีมาตรฐาน ISO 9001 : 2015 พัฒนาระบบบริหารงานองค์กรและการให้บริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
การจัดเก็บรายได้          คาดว่าจะจัดเก็บรายได้ จำนวน 932.419 ล้านบาท เท่ากับประมาณการการจัดเก็บรายได้ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
การใช้จ่ายงบประมาณ          คาดว่าจะเบิกจ่าย จำนวน 892.379 ล้านบาท เท่ากับกรอบวงเงินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ
หมายเหตุ : สำนักงาน กกพ. คาดว่าจะนำเงินส่งคลังในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 40.040 ล้านบาท
                    2. แผนการดำเนินงาน งบประมาณรายจ่าย และประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ                พ.ศ. 2565 ซึ่งได้จัดทำให้สอดคล้องกับแผนต่าง ๆ เช่น แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน (ฉบับปรับปรุง) แผนปฏิบัติการด้านการกำกับกิจการพลังงานระยะที่ 4 (พ.ศ. 2563 - 2565) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 แผนการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์          ตัวอย่างการดำเนินการ
(1) ส่งเสริมให้บริการด้านพลังงานอย่างเพียงพอ มีความมั่นคงและมีความเป็นธรรมต่อผู้ใช้พลังงานและผู้รับใบอนุญาต          - กำกับการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามนโยบายภาครัฐให้เป็นไปตามกรอบการจัดหาไฟฟ้าตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1
- ทบทวนโครงสร้างการกำหนดประเภทใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงานใหม่รองรับรูปแบบธุรกิจพลังงานที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต
- ให้บริการอนุญาตการประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าแบบ One Stop Service
(2) ปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้พลังงานทั้งด้านอัตราค่าบริการและคุณภาพการให้บริการ          - กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้ารองรับนโยบายการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการไฟฟ้าเพื่อรองรับการเข้ามาของผู้ใช้ไฟฟ้าที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้เองได้ (Prosumers)
- ประกาศมาตรฐานสัญญาการให้บริการไฟฟ้าผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท              1 - 81
- จัดทำข้อเสนอการชดเชยผู้ใช้ไฟฟ้าและอัตราที่ชดเชย กรณีที่ผู้รับใบอนุญาตไม่สามารถให้บริการได้ตามที่มาตรฐานการให้บริการพลังงานกำหนด
(3) ส่งเสริมการแข่งขันในกิจการพลังงาน และป้องกันการใช้อำนาจในทางมิชอบในการประกอบกิจการพลังงาน          - จัดทำแนวทางการกำกับกิจการก๊าซธรรมชาติที่เกี่ยวข้องในอนาคตรองรับการพัฒนาศูนย์กลางการซื้อ - ขาย LNG ของภูมิภาค (Regional LNG Trading HUB)
- กำหนดแนวทางการกำกับกิจการไฟฟ้าที่มีการแข่งขันและรองรับการซื้อขายไฟฟ้าจากการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
4) ส่งเสริมให้การบริการของระบบโครงข่ายพลังงานเป็นไปด้วยความเป็นธรรม          - ติดตามและรวบรวมข้อมูลการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การกำกับการเปิดให้ใช้ ระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Third Party Access Framework: TPA Framework) ของระบบจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อนำมาทบทวนหลักเกณฑ์ดังกล่าว และกำกับข้อกำหนด (TPA Code) ของผู้รับใบอนุญาต
- กำหนดหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Wheeling Charge) ของระบบส่งไฟฟ้าและระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่เหมาะสม
(5) ส่งเสริมให้การประกอบกิจการพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม          ตรวจติดตามการประกอบกิจการพลังงานตามเงื่อนไขการอนุญาต และต่อยอดการพัฒนาระบบตรวจติดตามด้านสิ่งแวดล้อมที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
(6) ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงาน ชุมชนท้องถิ่น ประชาชน และผู้รับใบอนุญาตในการมีส่วนร่วม เข้าถึง ใช้และจัดการด้านพลังงาน          - ปฏิรูปกลไกการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน โดยจัดทำบันทึกความเข้าใจกับสภาคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสร้างความร่วมมือในการคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน ปกป้องสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้พลังงาน
- พัฒนาระบบสารสนเทศการบริหารงานกองทุนพัฒนาไฟฟ้า ต่อเนื่อง
จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
(7) ส่งเสริมการใช้พลังงานและทรัพยากรในการประกอบกิจการพลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ          - กำหนดมาตรการการตอบสนองด้านโหลด (Demand Response)2
- สนับสนุนเงินลงทุนในการปรับปรุงเทคโนโลยีประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย
(8) ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย          ศึกษาแนวทางการส่งเสริม/กำกับ (Regulatory Framework) สำหรับวิธีการลงทุนรูปแบบใหม่และการศึกษาต้นทุน มาตรการด้านราคา เทคโนโลยี และผลกระทบ

(9) บริหารจัดการองค์กรที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และพัฒนาบุคลากรให้เป็นมืออาชีพ          - พัฒนาระบบการบริหารงานองค์กรให้มีมาตรฐานสากลตามระบบบริหารงานคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9001 : 2015
- ปรับปรุงระบบการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นระบบยิ่งขึ้น
                              2.2 งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
รายการ          จำนวนเงิน (ล้านบาท)
(1) รายจ่ายด้านบุคลากร          276.076
(2) รายจ่ายในการจัดการและบริหารสำนักงาน เช่น เงินสมทบประกันสังคม ค่าเช่าอาคารสำนักงาน ค่าวัสดุสำนักงาน และค่าสาธารณูปโภค          440.579
(3) รายจ่ายที่เป็นงบลงทุน เช่น ค่าครุภัณฑ์ต่าง ๆ          11.136
(4) รายจ่ายที่เป็นเงินอุดหนุน เช่น เงินให้การสนับสนุนกิจกรรมภาคสังคม          2.500
(5) รายจ่ายอื่น ๆ เช่น โครงการตามกลยุทธ์ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน ฝึกอบรม สัมมนา และศึกษาดูงานในต่างประเทศ           174.478
รวมทั้งสิ้น          904.769
ทั้งนี้ กรณีที่จะต้องดำเนินการตามภารกิจที่จำเป็นเร่งด่วนหรือดำเนินโครงการต่าง ๆ ตามนโยบายของสำนักงาน กกพ. หรือตามนโยบายรัฐบาลระหว่างปีงบประมาณ สำนักงาน กกพ. จะถัวจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
                              2.3 ประมาณการรายได้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
รายการ          จำนวนเงิน (ล้านบาท)
(1) ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต/ต่ออายุ/ใบแทน          1.315
(2) ค่าธรรมเนียมการประกอบกิจการพลังงานรายปี          993.229
(3) รายได้อื่น ๆ เช่น ดอกเบี้ยรับจากเงินฝากธนาคาร และค่าธรรมเนียมการจัดรับฟังความคิดเห็นการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า          8.227
รวมทั้งสิ้น          1,002.771
1ผู้ใช้ไฟฟ้า 8 ประเภท ประกอบด้วย (1) บ้านอยู่อาศัย (2) กิจการขนาดเล็ก (3) กิจการขนาดกลาง (4) กิจการขนาดใหญ่ (5) กิจการเฉพาะอย่าง (6) องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (7) กิจการสูบน้ำเพื่อการเกษตร และ (8) ผู้ใช้ไฟฟ้าชั่วคราว
2คือ การส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าเองจากรูปแบบการใช้ปกติ เพื่อตอบสนองต่อราคาค่าไฟฟ้าในช่วงเวลาต่าง ๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) อันจะเป็นประโยชน์ต่อการจัดการสภาวะวิกฤตด้านพลังงานไฟฟ้า และเสริมความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

21. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    2. อนุมัติสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,334,945,000 บาท
                    3. อนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมและใช้จ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีและเงินเหลือจ่ายจากโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบแล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564, วันที่             5 พฤษภาคม 2564 และวันที่ 10 สิงหาคม 2564
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,334,945,000 บาท และขอความเห็นชอบไปยังสำนักงบประมาณ โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการ ดังนี้
                              - สร้างความเชื่อมั่น : ประชาชนมีความเชื่อมั่นในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) หรือดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ภายใต้มาตรการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามหลักการแพทย์และสาธารณสุข
                              - สร้างความมั่นคงด้านสุขภาพ : ประชาชนไทยมีภูมิคุ้มกันหมู่ และมีความปลอดภัยจากการเสียชีวิตเนื่องจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงการรักษาระดับความมั่นคงด้านสาธารณสุขได้อย่างต่อเนื่อง
                              - ฟื้นฟูเศรษฐกิจ : เศรษฐกิจของประเทศกลับมาฟื้นตัว มีอัตราเติบโตของ GDP เป็นไปตามแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล
                              - เสริมสร้างสังคมและวัฒนธรรม : ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรมตามเดิมได้ โดยยังคงปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและควบคุมโรค DMHTTA
                    2. นายกรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ให้กระทรวงสาธารณสุขเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนเงินทั้งสิ้น 1,334,945,000 บาท
                    3. กระทรวงสาธารณสุข ได้รับอนุมัติให้กันเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไว้เบิกเหลื่อมปีได้จนถึงเดือนมีนาคม 2565 กระทรวงสาธารณสุขมีภารกิจที่จะต้องดำเนินการต่อเนื่องในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประมาณที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีเกิดประโยชน์สูงสุดกับทางราชการ จึงขอขยายระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมและการใช้จ่ายเงินในโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบและอนุมัติงบประมาณรายจ่ายแล้ว ดังนี้
                              3.1 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 โครงการเตรียมความพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกใหม่ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ระยะเวลาดำเนินการเดือนตุลาคม 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2564) จำนวนเงิน 4,661,116,203 บาท ขอขยายระยะเวลาต่อไปอีกจนถึงเดือนธันวาคม 2564
                              3.2 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 โครงการเตรียมความพร้อมรับมือและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ระยะเวลาการดำเนินการเดือนเมษายน 2564 ถึงเดือนกันยายน 2564) จำนวนเงิน 12,567,629,322 บาท ขอขยายระยะเวลาต่อไปอีกจนถึงเดือนธันวาคม 2564
                              3.3 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 โครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (ระยะเวลาดำเนินการเดือนกรกฎาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2564) จำนวนเงิน 12,669,218,318 บาท ขอขยายระยะเวลาต่อไปอีกจรถึงเดือนธันวาคม 2564
                              3.4 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2564 โครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรณีให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) นอกสถานพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข (ระยะเวลาดำเนินการเดือนมิถุนายน 2564 ถึงเดือนกันยายน 2564) จำนวนเงิน 1,877,455,000 บาท ขอขยายระยะเวลาต่อไปอีกจนถึงเดือนธันวาคม 2564

ต่างประเทศ

22.  เรื่อง  การรับรองร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ปี พ.ศ. 2564 ? 2568
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ปี พ.ศ. 2564 ? 2568 (ร่างแผนปฏิบัติการฯ) (ASEAN Framework Action Plan on Rural Development and Poverty Eradication: FAPRDPE 2021 - 2025) อย่างเป็นทางการตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
[จะมีการรับรองร่างแผนปฏิบัติการฯ ในนามของประเทศไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน (ASEAN Ministerial Meeting on Rural Development and Poverty Eradication: AMRDPE) ครั้งที่ 12 ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. รายงานว่า
                    1. ความร่วมมือของอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาชนบทและความยากจน1 ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2540                อยู่ภายใต้การดูแลของการประชุม AMRDPE โดยได้รับการสนับสนุนจากการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน (Senior Official Meeting on Rural Development and Poverty Eradication: SOMRDPE) เพื่อให้ความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยการประชุม SOMRDPE ได้พัฒนาแผนการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน พ.ศ. 2542 ? 2547 ซึ่งได้รับรองในการประชุม AMRDPE ครั้งแรกในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 และต่อมาการประชุม SOMRDPE ได้จัดทำแผนการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนฉบับต่อมาเป็นปี พ.ศ. 2547 ? 2553 พ.ศ. 2554 ? 2558 และ พ.ศ. 2559 ? 2563 ตามลำดับ             (จะมีการจัดทำแผนดังกล่าวทุก 5 ปี) เพื่อความชัดเจนในการกำหนดแนวทางปฏิบัติและทิศทางในการทำงานให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
                    2. ในการประชุม SOMRDPE ครั้งที่ 17 (The 17th SOMRDPE) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564                   ซึ่งประเทศไทยเป็นประธาน ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการร่างแผนปฏิบัติการฯ ซึ่งแต่ละประเทศจะใช้เป็นแนวทางในการริเริ่มการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การบูรณาการความร่วมมือระดับภูมิภาคต่อไป
                    3. ร่างแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ปี พ.ศ. 2564 ? 2568 (ร่างแผนปฏิบัติการฯ) มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตทางเศรษฐกิจและสังคมของคนยากจนในชนบทและช่วยเหลือกลุ่มที่ยากจนที่สุดจากกลุ่มคนในพื้นที่ชนบทให้ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาอย่างทั่วถึง โดยมีเป้าประสงค์สำคัญ 5 ด้าน เพื่อขับเคลื่อนร่างแผนปฏิบัติการฯ ดังนี้
                              เป้าประสงค์ที่ 1 ด้านเศรษฐกิจ (Economic) ส่งเสริมการปรับตัวของประชาชนในชนบทเพื่อให้เข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจและสังคม ประกอบด้วย (1) เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับสถาบันในชนบท โดยวางแผนการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างชนบทกับเมือง ซึ่งจะนำไปสู่เศรษฐกิจที่มั่นคงในชนบทและลดความยากจนได้ตามเป้าหมาย (2) การปรับบทบาทองค์กรธุรกิจในชนบทให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยคนในชุมชนสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น (3) การเพิ่มการสนับสนุนด้านการเงินและการลงทุน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็ก การประสานความร่วมมือระหว่างเขตแดน และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรรายย่อย (เช่น พื้นที่จัดเก็บผลผลิตขนาดเล็ก บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์ในการค้าและการประชาสัมพันธ์การตลาด)
                              เป้าประสงค์ที่ 2 ด้านการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ (Human) การสร้างหลักประกันว่าคนยากจนจะมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา สวัสดิการทางสังคมและบริการด้านสุขภาพ ประกอบด้วย (1) ปรับปรุงการเข้าถึงการศึกษา การฝึกอบรม และการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ (2) วางรากฐานที่ยั่งยืนให้คนในชุมชนมีการจัดระบบความคุ้มครองกลไกทางการเงินที่เหมาะสม (3) การลงทุนสำหรับบริการทางสุขภาพโครงสร้างพื้นฐานและบริการที่จำเป็นต่อการพัฒนา โดยเฉพาะการบริหารจัดการภายใต้การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส         โคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) (4) การปรับปรุงการเข้าถึงเทคโนโลยีและการเงินเพื่อการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีสำหรับกลุ่มสตรีและเยาวชน รวมถึงรายได้จากการจ้างงานให้ครอบคลุมและดีขึ้น
                              เป้าประสงค์ที่ 3 ด้านความคุ้มครอง (Protective) การเตรียมพร้อมของหน่วยงาน/องค์กรเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่เป็นผลสืบเนื่องจากสภาพแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจเกิดขึ้น เช่น ภัยพิบัติ เป็นต้น ประกอบด้วย (1) การบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพื่อนำไปสู่การพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน              (2) การพัฒนาบริการให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรรายย่อยและวิสาหกิจชุมชน
                              เป้าประสงค์ที่ 4 ด้านการเมือง (Political) เสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินงานกับบุคลากรและทำให้เกิดความคิดริเริ่มในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ประกอบด้วย (1) การสร้างเครือข่ายการพัฒนาชนบทร่วมกับหลายภาคส่วน (อปท. ภาคประชาชน รวมถึง               กลุ่มเครือข่ายสตรี เยาวชน คนพิการ และผู้สูงอายุ) (2) โครงการเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาชนบทและความยากจน สำหรับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่น แกนนำประชาชนและองค์กรธุรกิจในท้องถิ่น (3) การมอบรางวัลอาเซียนให้กับหน่วยงานที่มีผลงานในการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
                              เป้าประสงค์ที่ 5 ด้านกลไกการบูรณาการ (Inclusivity) มีกลไกการบูรณาการทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม เพื่อให้การพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย (1) ความเชื่อมโยงของอาเซียนกับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยการสร้างความตระหนักรู้และการรวมกลุ่มเพื่อพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน (2) ส่งเสริมสิทธิสตรีและเด็กสำหรับการดำเนินการด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนตามกลไกอาเซียน (3) การเผยแพร่ผลงานของอาเซียน ในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน (4) การจัดการองค์ความรู้ด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน โดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืน
1 กรอบความร่วมมือของอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาชนบทและความยากจน ประกอบด้วยสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ

23.  เรื่อง  การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทย (ไทย) กับกระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม) [ร่างบันทึกความเข้าใจฯ] โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยก่อนมีการลงนามให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
[จะมีการลงนามบันทึกความเข้าใจข้างต้นในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี                   (Joint Commission on Bilateral Cooperation: JCBC) ไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 4 ผ่านระบบทางไกล                        วันที่ 19 พฤศจิกายน 2564]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า หลังจากที่บันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้มาเป็นระยะเวลา 5 ปีและครบกำหนดเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2563 ฝ่ายไทยและฝ่ายเวียดนามได้ร่วมกันปรับปรุงแก้ไขบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบัน และในการประชุมคณะทำงานการปรึกษาหารือด้านการเมือง (Political Consultation Group) ไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 8 ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งมีปลัดกระทรวง  การต่างประเทศและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายเหวียน ก๊วก สุง) ของเวียดนามเป็นประธานร่วม ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับปรับปรุงแก้ไขในการประชุม JCBC ไทย ? เวียดนาม ครั้งที่ 4 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นผ่านระบบการประชุมทางไกลวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี               (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายบุ่ย แทงห์ เซิน) ของเวียดนามเป็นประธานร่วม
                    ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นการสานต่อและใช้แทนที่บันทึกความเข้าใจฉบับที่มีการลงนามแล้วเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2558 เพื่อกำหนดกรอบการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองประเทศในระยะ 5 ปีข้างหน้า ให้มีความชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยรายละเอียด        ที่ได้ปรับเพิ่มจากบันทึกความเข้าใจฉบับเดิมสรุปได้ ดังนี้
ข้อบท          สรุปสาระสำคัญที่แก้ไขเพิ่มเติม
สาขาความร่วมมือ            (1) ระบุประเด็นที่กระทรวงการต่างประเทศทั้งสองประเทศต้องการหารือ อาทิ การกงสุล การทูตเศรษฐกิจ การทูตวัฒนธรรม รวมถึงความร่วมมือเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ
(2) ระบุด้านความร่วมมือที่ทั้งสองประเทศต้องการส่งเสริม อาทิ ความมั่นคง การค้า การลงทุน เกษตรกรรม การศึกษา
(3) กำหนดให้กระทรวงการวางแผนและการลงทุนของเวียดนาม เป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการและการพัฒนา ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กรมความร่วมมือระหว่างประเทศ)
(4) ส่งเสริมการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดต่าง ๆ ของเวียดนาม โดยเริ่มจากการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืนในจังหวัดท้ายเงวียนและจังหวัดเบ๋นแจ
(5) ระบุสาขาที่ต้องการส่งเสริมความร่วมมือในระดับทวิภาคี อาทิ การปราบปรามขบวนการอาชญากรรมข้ามชาติ ความมั่นคงด้านไซเบอร์ การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การดำเนินการ          ไม่อนุญาตให้เผยแพร่ข้อมูลที่ได้รับจากคู่ภาคีให้กับภาคีที่สาม หากไม่ได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากคู่ภาคีอีกฝ่าย
การยุติข้อพิพาท          จะไม่ใช้กลไกระงับข้อพิพาทของภาคีที่สาม
การมีผลผูกพัน          ไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ

24.  เรื่อง  การเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเซียน - แคนาดา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-แคนาดา                  ของไทย รวมทั้งเห็นชอบกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-แคนาดา ของไทย ตามข้อ 1 และเห็นชอบร่างเอกสารขอบเขตสาระที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-แคนาดา (Reference Paper) ตามข้อ 2 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมประกาศหรือออกแถลงการณ์เปิดการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-แคนาดา และร่วมให้ความเห็นชอบเอกสารขอบเขตสาระที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-แคนาดา (Reference Paper) ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรี อาเซียน - แคนาดา ของไทย มีสาระสำคัญเป็นการวางกรอบแนวทางการเจรจาของไทยสำหรับจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเซียน - แคนาดา เพื่อขยายโอกาสการค้าการลงทุน เพื่อประโยชน์ของทุกภาคส่วนในประเทศ เพื่อเจรจาให้ได้ประโยชน์ในภาพรวมสูงสุดกับประเทศ โดยคำนึงถึงความพร้อม ระดับการพัฒนา และภูมิคุ้มกันของประเทศ ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การค้าสินค้า มาตรการปกป้องและเยียวยาทางการค้า กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา ทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายแข่งขันทางการค้า วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ความร่วมมือด้านเทคนิคและด้านเศรษฐกิจ การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ แนวทางปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ แรงงาน สิ่งแวดล้อม ความโปร่งใส การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ กลไกการจัดการเชิงสถาบัน รัฐวิสาหกิจ และเรื่องอื่น ๆ
                    2. ร่างเอกสารขอบเขตสาระที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-แคนาดา (Reference Paper) เป็นการสร้างพื้นฐานความความเข้าใจร่วมกันระหว่างอาเซียนและแคนาดาถึงขอบเขตประเด็นที่จะเจรจาภายใต้ความตกลงการค้าเสรี อาเซียน-แคนาดา ประกอบด้วยหลักการทั่วไป วัตถุประสงค์ของการเจรจาตลอดจนประเด็นที่จะหารือกันในการเจรจาหัวข้อสำคัญอย่างกว้าง ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ การค้าสินค้า มาตรการปกป้องและเยียวยาทางการค้า กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวก              ทางการค้า มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า แนวทางปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ การค้าบริการ การลงทุน การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา ทรัพย์สินทางปัญญา แรงงาน สิ่งแวดล้อม พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ นโยบายแข่งขันทางการค้า วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ความร่วมมือด้านเทคนิคและเศรษฐกิจ การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ความโปร่งใส การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ กลไกการจัดการเชิงสถาบัน วัฒนธรรม และเรื่องอื่น ๆ ทั้งนี้ มิได้เป็นการผูกมัดผลการเจรจาที่จะเกิดขึ้น
                    ปัจจุบันไทยมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) 13 ฉบับกับ 18 ประเทศ และได้จัดทำความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) แล้วเสร็จ ซึ่งจะเริ่มมีผลใช้บังคับต้นปี 2565 รวมแล้วไทยมีการค้ากับประเทศที่มี FTAs ครอบคลุมร้อยละ 63 ของการค้าทั้งหมดของไทย อีกทั้งไทยยังมีแผนที่จะจัดทำ FTA กับคู่ค้าสำคัญอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (2561 - 2580) ที่จะทำให้ไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รักษาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทย ขณะเดียวกันกระทรวงพาณิชย์มีนโยบายให้ขยายการจัดทำ FTA เพื่อเพิ่มโอกาสการค้าและการลงทุนของไทย ซึ่งแคนาดาเป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพและได้แสดงความสนใจที่จะจัดทำ FTA กับอาเซียน โดยมีการหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA ร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง

25. เรื่อง  ขอความเห็นชอบร่างเอกสารที่จะมีการรับรองและลงนามในการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างเอกสารที่จะมีการรับรองและลงนามระหว่างการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 ฉบับ ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงคมนาคม (คค.) ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารในข้อ 1  (จำนวน 6 ฉบับ) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองและลงนามในเอกสารข้อ 2 และเมื่อลงนามแล้วให้ส่งเอกสารดังกล่าวให้รัฐสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนแสดงเจตนาการมีผลผูกพันของเอกสารต่อไป ทั้งนี้ให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายสำหรับการลงนามเอกสารในข้อ 2 พร้อมทั้งให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการมอบสัตยาบันสารให้แก่เลขาธิการอาเซียนเพื่อรับทราบการให้สัตยาบันร่างพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 12 ของบริการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน เมื่อรัฐสภามีมติเห็นชอบเอกสารดังกล่าวแล้วตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงคมนาคมขอเสนอเอกสารที่จะมีการรับรองและลงนามระหว่างการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้
                    1. เอกสารที่จะมีการรับรอง จำนวน 6 ฉบับ ดังนี้
                              1.1 ร่างแนวทางการดำเนินงานสำหรับการพัฒนาการขนส่งในเมืองอย่างยั่งยืนในเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ของอาเซียน เป็นเอกสารแนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนาการวางแผนการขนส่งในเมือง                     อย่างยั่งยืนในเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ของอาเซียน แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การเริ่มต้นการกำหนดวิสัยทัศน์     การวางแผนปฏิบัติ และการดำเนินการ โดยปรับให้เหมาะสมกับแนวทางปฏิบัติและทรัพยากรในการวางแผนในปัจจุบัน ในแต่ละขั้นตอนแนวทางการดำเนินงานจะให้คำจำกัดความทั่วไป ตัวอย่างบทเรียนที่ได้รับ แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด รวมถึงข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแง่มุมต่าง ๆ ของกระบวนการวางแผนในบริบทและเงื่อนไขของโครงสร้าง สิ่งแวดล้อม และสังคมที่แตกต่างกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุความท้าทายและภารกิจของเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ในอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกระบวนการวางแผนการขนส่งในเมืองอย่างยั่งยืน และสร้างความตระหนักแก่คณะผู้ดำเนินการ รวมถึงขีดความสามารถที่จำเป็นในการดำเนินกระบวนการวางแผนการขนส่งของเมืองอย่างยั่งยืน
                              1.2 ร่างชุดเครื่องมือสำหรับการจัดตั้งคณะเจ้าหน้าที่บริหารด้านการขนส่ง
ในเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ของอาเซียน เป็นชุดแนวคิดการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นจากการที่องค์กรและหน่วยงานด้านการขนส่งทั่วอาเซียนเผชิญกับความท้าทายและวิธีแก้ปัญหาทั่วไปที่คล้ายคลึงกัน เพื่อเปรียบเทียบและทำความเข้าใจโครงสร้างการกำกับดูแลที่มีอยู่ รวมถึงโครงสร้างการกำกับดูแลที่อาจมีในอนาคต โดยการระบุลักษณะของโครงสร้างการกำกับดูแลเดิมและการออกแบบโครงสร้างการกำกับดูแลใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุความท้าทายและภารกิจของเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ในอาเซียนที่เกี่ยวข้องกับชุดเครื่องมือสำหรับการจัดตั้งคณะเจ้าหน้าที่บริหารด้านขนส่งในเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ และสร้างความตระหนักแก่คณะผู้ดำเนินการ รวมถึงขีดความสามารถที่จำเป็นในการจัดตั้งคณะเจ้าหน้าที่บริหารด้านขนส่งในเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่
                              1.3 ร่างปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการขนส่งในเมืองอย่างยั่งยืน เป็นเอกสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนการพัฒนาระบบการขนส่งภายในเขตเมืองอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สนับสนุนการบรรลุวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ความเท่าเทียมทางสังคม ความปลอดภัย สวัสดิภาพ และความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และรับรองเอกสาร 2 ฉบับ ตามข้อ 1.1 และ 1.2 ทั้งนี้ ร่างปฏิญญาดังกล่าวไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ให้ประเทศสมาชิกดำเนินการด้วยความสมัครใจ
                              1.4 ร่างแนวปฏิบัติอาเขียน-ญี่ปุ่น ในการตรวจประเมินมาตรฐานการบริหาร
จัดการโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิ เป็นแนวทางการตรวจประเมินผู้ประกอบการโลจิสติกส์ให้แก่หน่วยงานที่ให้การรับรองมาตรฐานการบริหารจัดการโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิที่แต่ละประเทศในอาเซียนได้พัฒนาขึ้นโดยให้ความสำคัญกับการตรวจประเมินในส่วนของการบริหารจัดการ 1) คลังสินค้า (warehouse) และ 2) การขนส่ง (Transport) ที่ต้องมีการควบคุมอุณหภูมิ เพื่อให้บริการโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิในภูมิภาคอาเซียนมีมาตรฐานและประสิทธิภาพ ซึ่งแนวปฏิบัตินี้อยู่ในรูปแบบสมัครใจ ประเทศในภูมิภาคอาเซียนไม่จำเป็นต้องนำแนวปฏิบัตินี้ไปประยุกต์ใช้ทั้งหมด
                              1.5 ร่างรายงานผลการศึกษาการทดสอบระบบสาธิตการควบคุมยานพาหนะที่บรรทุกน้ำหนักเกินด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเอกสารรายงานผลการทดสอบประสิทธิภาพและความแม่นยำของเทคโนโลยีใหม่ของญี่ปุ่น โดยการรับแรงสั่นสะเทือนผ่านเซ็นเซอร์ในแอปพลิเคชันจากโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ Smartphone ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐด้านการควบคุมยานพาหนะที่บรรทุกน้ำหนักเกินด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่า โดยปัจจุบันมาตรการของประเทศสมาชิกอาเซียนในการดำเนินงานดังกล่าวคือการตั้งสถานี ชั่งน้ำหนักและ Weigh in Motion (WIM) ซึ่งใช้งบประมาณการลงทุนค่อนข้างสูง และยังไม่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่
                              1.6 ร่างแผนปฏิบัติการ ปี 2564-2568 ของแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-จีน ฉบับปรับปรุง เป็นร่างแผนปฏิบัติการ ระยะ 5 ปี ระหว่างปี 2564-2568 ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติการฉบับที่ 2 (ฉบับที่ 1 ปี 2561-2563) มีโครงการความร่วมมือสำคัญระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีนบรรจุอยู่ในแผนปฏิบัติการฯ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างภูมิภาคภายใต้แผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งของอาเซียน (KLTSP) และข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง แบ่งออกเป็น 5 หัวข้อหลัก ได้แก่ (1) โครงการความร่วมมือด้านโครงสร้างพื้นฐาน (2) โครงการความร่วมมือด้านการขนส่งทางน้ำ (3) โครงการความร่วมมือด้านการอำนวยความสะดวกในการขนส่ง (4) โครงการความร่วมมือด้านฐานข้อมูล และ (5) โครงการความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย ได้แก่ โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลงฉบัง เฟส 3 (ท่าเรือ F) และโครงการความร่วมมือการเดินเรือในแม่น้ำล้านช้าง-แม่โขง
                    2. เอกสารที่จะมีการรับรองและลงนาม จำนวน 1 ฉบับ คือ ร่างพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 12 ของบริการขนส่งทางอากาศ ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน (การลงนามในลักษณะเวียน (ad-referendum) ภายหลังการประชุมฯ) เป็นเอกสารเพื่อยื่นเปิดตลาดการให้บริการคลังสินค้า (Cargo Handling Service) ในท่าอากาศยาน 7 แห่ง ได้แก่ ท่าอากาศยานอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวงเชียงราย ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานอุบลราชธานี ท่าอากาศยานสุราษฎร์ธานี                   และท่าอากาศยานแม่สอด แบบมีเงื่อนไขว่าอนุญาตให้บุคคลสัญชาติอาเซียนถือหุ้นได้ไม่เกินร้อยละ 49 อำนาจบริหารกิจการเป็นของบุคคลสัญชาติไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 และต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดำเนินการสนามบินอนุญาต

26. เรื่อง  การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามระหว่างปี พ.ศ. 2564 ? 2569
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามระหว่างปี พ.ศ. 2564 ? 2569 (Memorandum of Understanding on Cultural Exchange between the Ministry of Culture of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Culture, Sports and Tourism of the Socialist Republic of Viet Nam for the years 2021 - 2026) รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามระหว่างปี พ.ศ. 2564 ? 2569 ทั้งนี้หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยให้กระทรวงวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกระทรวงวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามระหว่างปี พ.ศ. 2564 ? 2569 ได้ขยายกรอบเวลาการบังคับใช้ให้มีอายุ 6 ปี มีสาระสำคัญมุ่งเน้นความร่วมมือทางด้านวัฒนธรรมในทุกระดับผ่านความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนบุคลากร การสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการ การเพิ่มพูนการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างกันในสาขาทางด้านวัฒนธรรมที่หลากหลาย อาทิ ศิลปะการแสดง วิจิตรศิลป์และศิลปกรรม มรดกทางวัฒนธรรม และภาพยนตร์ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมระหว่างกัน บนพื้นฐานของการแลกเปลี่ยนต่างตอบแทนซึ่งกันและกัน รวมถึงการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 45 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน ในปี พ.ศ. 2564 และครบรอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ในปี พ.ศ. 2569
                    ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวปรับปรุงจากร่างแผนปฏิบัติการฯ ปี พ.ศ. 2557 ? 2559 ซึ่งถือเป็นแผนปฏิบัติการฯ ฉบับแรกที่ทั้งสองฝ่ายดำเนินการร่วมกันในระยะ 3 ปี ซึ่งปัจจุบันได้หมดอายุลงแล้ว  โดยทั้งสองฝ่ายได้มีการจัดทำร่างโต้ตอบบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างกันผ่านช่องทางการทูตและขณะนี้ทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบในร่างเนื้อหาที่ได้จัดทำร่วมกันแล้ว และฝ่ายเวียดนามเสนอให้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (Joint Commission on Bilateral Cooperation: JCBC) ไทย - เวียดนาม ครั้งที่ 4 ที่มีกำหนดจะจัดขึ้นในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบทางไกล โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธานร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม

แต่งตั้ง

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                  (กระทรวงสาธารณสุข)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นายเทอดศักดิ์ เดชคง นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) กรมสุขภาพจิต              ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาจิตเวช) สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กรมสุขภาพจิต ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2564
                     2. นายสุริยะ ปิยผดุงกิจ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                    นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนนทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคม 2564
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย            เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                     1. นายธนะ อัลภาชน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. นายวีระกิตติ์ รันทกิจธนวัชร์ รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

29. เรื่อง ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 299/2564 เรื่อง ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
                    ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 180/ 2562 ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562  แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎร และรัฐสภาให้เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา ตลอดจนเพื่อให้การประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง ในปัญหาต่าง ๆ ด้านนิติบัญญัติดำเนินการไปอย่างราบรื่น นั้น
                    เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 184 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2562 จึงให้ยกเลิกความในข้อ 1.2คณะกรรมการ (1) ของคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 180/2562 ลงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                    1.2 คณะกรรมการ
                              ?(1) นายนิโรธ สุนทรเลขา   ประธานกรรมการ?
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 พฤศจิกายน 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ