คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเชิงบูรณาการตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการโดยได้จัดทำโครงการ “กรมทางหลวงรวมใจต้านภัยแล้ง” โดยให้ทุกสำนักทางหลวง แขวงการทาง และสำนักงานบำรุงทาง ที่อยู่ในพื้นที่ทุกจังหวัดจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำพร้อมถังยางมะตอยสำหรับบรรจุน้ำเพื่อประสานกับทุกหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย
2. กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ดำเนินการ ดังนี้ 1) กรมทางหลวงชนบท มีรถบรรทุกน้ำที่ใช้ในภารกิจการบำรุงรักษาทางหลวงชนบทประจำอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่สำนักทางหลวงชนบท 12 แห่ง และสำนักทางหลวงชนบทจังหวัด 75 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 320 คัน สามารถบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยแล้งในเขตที่รับผิดชอบได้อย่างทั่วถึง 2) กรมทางหลวงชนบท ได้สั่งการให้สำนักทางหลวงชนบท ทั้ง 12 แห่ง และสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัด ทั้ง 75 จังหวัด จัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง เพื่อประสานข้อมูลพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือกับจังหวัด และให้การสนับสนุนรถบรรทุกน้ำเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยจังหวัดเป็นผู้จัดหาแหล่งน้ำให้ ซึ่งได้ประสานให้ทุกจังหวัดทราบแล้ว 3) ผลการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2547 ถึงเดือนเมษายน 2548 กรมทางหลวงชนบทได้ให้ความช่วยเหลือแล้ว จำนวน 39 จังหวัด ปริมาณน้ำ 22.16 ล้านลิตร
3. กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.) มีโครงการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) งานขุดลอกร่องน้ำ 2) งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง 3) งานก่อสร้างเขื่อนยกระดับเพื่อการเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. กรมทางหลวง (ทล.) ดำเนินการโดยได้จัดทำโครงการ “กรมทางหลวงรวมใจต้านภัยแล้ง” โดยให้ทุกสำนักทางหลวง แขวงการทาง และสำนักงานบำรุงทาง ที่อยู่ในพื้นที่ทุกจังหวัดจัดเตรียมรถบรรทุกน้ำพร้อมถังยางมะตอยสำหรับบรรจุน้ำเพื่อประสานกับทุกหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย
2. กรมทางหลวงชนบท (ทช.) ดำเนินการ ดังนี้ 1) กรมทางหลวงชนบท มีรถบรรทุกน้ำที่ใช้ในภารกิจการบำรุงรักษาทางหลวงชนบทประจำอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่สำนักทางหลวงชนบท 12 แห่ง และสำนักทางหลวงชนบทจังหวัด 75 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 320 คัน สามารถบรรทุกน้ำไปแจกจ่ายให้แก่ผู้ประสบภัยแล้งในเขตที่รับผิดชอบได้อย่างทั่วถึง 2) กรมทางหลวงชนบท ได้สั่งการให้สำนักทางหลวงชนบท ทั้ง 12 แห่ง และสำนักงานทางหลวงชนบทจังหวัด ทั้ง 75 จังหวัด จัดตั้งศูนย์ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง เพื่อประสานข้อมูลพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือกับจังหวัด และให้การสนับสนุนรถบรรทุกน้ำเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือ โดยจังหวัดเป็นผู้จัดหาแหล่งน้ำให้ ซึ่งได้ประสานให้ทุกจังหวัดทราบแล้ว 3) ผลการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำเพื่อนำไปแจกจ่ายให้ผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่ที่ต้องการความช่วยเหลือ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2547 ถึงเดือนเมษายน 2548 กรมทางหลวงชนบทได้ให้ความช่วยเหลือแล้ว จำนวน 39 จังหวัด ปริมาณน้ำ 22.16 ล้านลิตร
3. กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี (ขน.) มีโครงการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) งานขุดลอกร่องน้ำ 2) งานก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งพัง 3) งานก่อสร้างเขื่อนยกระดับเพื่อการเดินเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาและน่าน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--