http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (30 พฤศจิกายน 2564) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาค
ด้านสาธารณสุข)
2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. 3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
(แก้ไขเพิ่มเติมการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายอัยการ)
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยื่นรายการ แบบ คำร้อง คำขอ หรือเอกสารอื่นใดตามประมวลรัษฎากร
บนระบบอิเล็กทรอนิกส์
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พุทธศักราช 2477 ว่าด้วยเครื่องแบบทหารบก ฉบับที่ .. เศรษฐกิจ สังคม 6. เรื่อง ขอความเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565
ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการรถไฟแห่งประเทศไทย
7. เรื่อง การตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาล ระยะเวลา 1 ปี
(Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT
8. เรื่อง รายงานประจำปี 2563 ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 9. เรื่อง รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2564 10. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการ
การท่องเที่ยวทางน้ำอย่างยั่งยืน ในยุค New Normal ของคณะกรรมาธิการ
การท่องเที่ยว วุฒิสภา
11. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการด้านกฎหมาย ในกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นสมควรดำเนินการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาทในด้านสิทธิมนุษยชน ของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กร อิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา 12. เรื่อง การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบาย
การบริหารทุนหมุนเวียน
13. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกันยายน 2564 14. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนกันยายน
และไตรมาสที่ 3 ของปี 2564
15. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2564 16. เรื่อง รายงานผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2564 ไตรมาสที่ 4
17. เรื่อง รายงานผลความคืบหน้าการดำเนินคดีอาญากับผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริตในการ ดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง
กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบ
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
18. เรื่อง ขออนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 19. เรื่อง ขออนุมัติวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 เพิ่มเติม 20. เรื่อง โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 21. เรื่อง (ร่าง) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2564 - 2565) 22. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2564
23. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจ กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไข ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รวม 2 ฉบับ 24. เรื่อง การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ต่างประเทศ 25. เรื่อง ถ้อยแถลงร่วมของการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยความร่วมมือด้านวัคซีน ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 1 (First Meeting of the International Forum on COVID-19 Vaccine Cooperation) 26. เรื่อง ผลการประชุมความร่วมมือระดับสูงระหว่างไทย-มณฑลกวางตุ้ง ครั้งที่ 1 27. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐ เกาหลี ครั้งที่ 11 28. เรื่อง การจัดทำแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2021-2023) 29. เรื่อง การดำรงตำแหน่งประธานองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย
วาระปี พ.ศ. 2564 ? 2567
30. เรื่อง ผลการศึกษาและข้อเสนอด้านกฎหมายในการพัฒนาตลาดคาร์บอน
ในประเทศไทย
แต่งตั้ง
31. เรื่อง แจ้งเปลี่ยนแปลงโฆษกหน่วยงาน (สำนักงาน ก.พ.) 32. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม
33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) 34. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย 35. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ
ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร
36. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ และรับทราบหลักเกณฑ์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคด้านสาธารณสุข ตามที่ กค. เสนอ ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาและหลักเกณฑ์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคด้านสาธารณสุข ที่ กค. เสนอ เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่บุคคลธรรมดาและบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล โดยให้หักลดหย่อนหรือหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า ของจำนวนเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาค สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร ให้แก่ศิริราชมูลนิธิ หรือมูลนิธิจุฬาภรณ์ และยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สินหรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่มูลนิธิดังกล่าวที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้ภาคประชาชนและภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการบริจาค ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนได้รับการรักษาพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมีส่วนช่วยในการลดงบประมาณของภาครัฐด้านสาธารณสุขได้อีกทางหนึ่ง สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาฯ และหลักเกณฑ์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคด้านสาธารณสุข 1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. 1.1 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ให้แก่ศิริราชมูลนิธิและมูลนิธิจุฬาภรณ์ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ดังนี้ 1) บุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นสำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนสองเท่าของเงินที่ได้จ่ายตามกรณีที่กำหนดไว้แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนนั้น 2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นสำหรับเงินได้เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่บริจาค ไม่ว่าจะได้จ่ายเป็นเงินหรือทรัพย์สิน แต่เมื่อรวมคำนวณกับรายจ่ายที่กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา 1.2 กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่ศิริราชมูลนิธิหรือมูลนิธิจุฬาภรณ์ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยผู้โอนจะต้องไม่นำต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้าซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 2. หลักเกณฑ์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคด้านสาธารณสุข เพื่อให้ผู้บริจาคได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี 2 เท่า โดยหน่วยรับบริจาคต้องมีหลักเกณฑ์ ดังนี้ 2.1 เป็นมูลนิธิที่ได้รับการประกาศกำหนดให้เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศลตามประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 2.2 เป็นมูลนิธิที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยของสถานพยาบาลของทางราชการหรือองค์การของรัฐบาล 2.3 มีผู้บริหารสูงสุดของโรงพยาบาลเป็นกรรมการมูลนิธิ 2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป โดยให้ กค. รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่ กค. เสนอ ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ กค. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 เช่น กำหนดให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการสามารถรับโอนเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือชราภาพได้ กำหนดให้สมาชิกสามารถส่งเงินสะสมเพิ่มขึ้นได้ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินเดือน (จากเดิมร้อยละ 15) กำหนดให้สมาชิกสามารถเลือกแผนการลงทุนได้หลากหลายขึ้น และกรณีที่สมาชิกถึงแก่ความตาย และผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกยังไม่ยื่นคำขอรับเงิน ให้กองทุนบริหารเงินนั้นต่อไปได้ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกผู้นั้นได้เลือกไว้ก่อนวันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การบริหารงานของกองทุนมีความคล่องตัว สอดคล้องกับสภาวะการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเพื่อให้สิทธิประโยชน์ของสมาชิกมีความเหมาะสมยิ่งขึ้นอันสามารถสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นให้กับสมาชิก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว โดยได้ตัดหลักการที่กำหนดให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการมีอำนาจจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจำกัดและหลักการที่กำหนดให้สมาชิกซึ่งเกษียณอายุราชการเมื่อมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และยังไม่ออกจากราชการมีสิทธิขอรับเงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนของเงินดังกล่าวได้ตั้งแต่สิ้นปีงบประมาณที่ผู้นั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์ออก ซึ่ง กค. และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว กค. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย ผ่านทางเว็บไซต์ ของ กบข. (www.gpf.or.th) และเว็บไซต์การรับฟังความคิดเห็นกฎหมายไทย (www.lawamendment.go.th) และเปิดเผยสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามแนวทางมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 แล้ว และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าวให้ประชาชนได้รับทราบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ประเด็นที่แก้ไข สาระสำคัญ 1. การรับโอนทรัพย์สินจากกองทุนอื่น ให้กองทุนสามารถรับโอนเงินของผู้ที่เคยเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนอื่นที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันในกรณีการออกจากงานหรือชราภาพได้มายังกองทุนได้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่มาเข้ารับราชการสามารถเริ่มสะสมเงินกับ กบข. และได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากเงินดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง 2. การส่งเงินสะสมเข้ากองทุน เพิ่มเติมให้สมาชิกสามารถส่งเงินสะสมเข้ากองทุน จากเดิม ไม่เกินร้อยละ 15 เป็น ไม่เกินร้อยละ 30 ของเงินเดือน เพื่อส่งเสริมให้สมาชิกออมเงินมากขึ้น 3. สิทธิประโยชน์ของสมาชิก 3.1 การบริหารเงินของสมาชิกที่ถึงแก่ความตายก่อนสมาชิกภาพสิ้นสุดลง 3.2 การบริหารเงินของสมาชิกที่สมาชิกภาพสิ้นสุดลง - ให้กองทุนสามารถบริหารเงินของสมาชิกที่ถึงแก่ความตายและผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกยังไม่ยื่นคำขอรับเงิน (เงินสะสม เงินสมทบ และผลประโยชน์ตอบแทนดังกล่าว) ตามแผนการลงทุนเดิมของสมาชิกต่อไปได้ - ในกรณีที่สมาชิกภาพสิ้นสุดสมาชิกภาพและยังไม่ขอรับเงิน (เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชย และผลประโยชน์ตอบแทนเงินดังกล่าว) ที่ตนมีสิทธิได้รับคืนหรือขอทยอยรับเงินคืน สมาชิกมีสิทธิเลือกแผนการลงทุนที่กองทุนจัดให้เพื่อให้กองทุนบริหารเงินนั้นต่อไปได้ เพื่อให้สมาชิกผู้นั้นสามารถปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนสำหรับเงินดังกล่าวได้ ตามความประสงค์ของสมาชิก - ในกรณีที่สมาชิกถึงแก่ความตายและผู้มีสิทธิรับมรดกของสมาชิกยังไม่ยื่นคำขอรับเงิน ให้กองทุนบริหารเงินนั้นต่อไปได้ตามแผนการลงทุนที่สมาชิกผู้นั้นได้เลือกไว้ก่อนวันที่ผู้นั้นถึงแก่ความตาย จนกว่าทายาทจะยื่นคำขอรับเงิน 4. แผนการลงทุน เพิ่มเติมให้กองทุนจัดให้มีแผนการลงทุนสำหรับเงินที่อยู่ในบัญชีเงินรายบุคคลที่หลากหลายให้สมาชิกมีสิทธิเลือก คือ - กำหนดให้แต่ละแผนอาจกำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงแตกต่างกันได้ โดยกำหนดให้ลงทุนใน หลักทรัพย์ 4 ประเภท ได้แก่ 1) เงินฝากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจหรือบัตรเงินฝากที่ธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ออก 2) พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคลัง หรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 3) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่ กค. ค้ำประกันเงินต้นและดอกเบี้ย 4) ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณเป็นผู้ออก (ทั้งนี้ อย่างน้อยต้องจัดให้มีแผนการลงทุนที่ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60) - แต่ถ้าสมาชิกไม่ได้ใช้สิทธิเลือกแผนการลงทุนใดให้ถือว่าสมาชิกให้กองทุนจัดแผนการลงทุนที่กำหนดให้ลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเหมาะสมกับช่วงอายุของสมาชิก 3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (แก้ไขเพิ่มเติมการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายอัยการ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้นำร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไปตรวจพิจารณารวมกับร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เป็นฉบับเดียวกัน แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ อส. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเทียบเคียงกับหลักเกณฑ์การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม ในส่วนของมาตรา 55 (7) การพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุการถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก จากที่กำหนดให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งเป็นให้นำความกราบบังคมทูลให้ทรงทราบเพื่อให้เหมาะสมและมีลักษณะเช่นเดียวกับผู้พิพากษาและตุลาการ และเป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2563 ที่กำหนดให้หากมีกรณีที่จะต้องดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามหลักการที่บัญญัติไว้ในมาตรา 180 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในทำนองเดียวกันกับพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ให้เร่งรัดการพิจารณาเสนอแก้ไขกฎหมายดังกล่าวโดยด่วน สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการฝ่ายอัยการตามมาตรา 55 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 ในส่วนของการพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุการถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออกตามมาตรา 55 (7) จากให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่งเป็นให้นำความกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ เพื่อให้เหมาะสมและมีลักษณะเช่นเดียวกับผู้พิพากษาและตุลาการ ซึ่งสรุปได้ ดังนี้ สาระสำคัญของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย 1. กรณีการพ้นจากตำแหน่งตาม (1) ตาย (2) พ้นจากราชการตามมาตรา 56 หรือ (3) ได้รับอนุญาตให้ลาออก ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ 2. กรณีการพ้นจากตำแหน่งตาม (4) โอนไปรับราชการเป็นข้าราชการธุรการหรือข้าราชการฝ่ายอื่น (5) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร (6) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 36 มาตรา 57 หรือ มาตรา 59 หรือ (7) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการ แล้วแต่กรณี การพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการอัยการ เว้นแต่ตำแหน่งอัยการผู้ช่วย 1. กรณีการพ้นจากตำแหน่งตาม (1) ตาย (2) พ้นจากราชการตามมาตรา 56 (3) ได้รับอนุญาตให้ลาออก หรือ (7) ถูกสั่งลงโทษไล่ออก ปลดออก หรือให้ออก ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงทราบ 2. กรณีการพ้นจากตำแหน่งตาม (4) โอนไปรับราชการเป็นข้าราชการธุรการหรือข้าราชการฝ่ายอื่น (5) ออกจากราชการเพื่อไปรับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร หรือ (6) ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตรา 36 มาตรา 57 หรือ มาตรา 59 ให้นำความกราบบังคมทูลเพื่อมีพระบรมราชโองการให้พ้นจากตำแหน่ง พระบรมราชโองการดังกล่าวให้มีผลตั้งแต่วันโอนหรือวันออกจากราชการ แล้วแต่กรณี 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยื่นรายการ แบบ คำร้อง คำขอ หรือเอกสารอื่นใดตามประมวลรัษฎากร บนระบบอิเล็กทรอนิกส์ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยื่นรายการ แบบ คำร้อง คำขอ หรือเอกสารอื่นใดตามประมวลรัษฎากร บนระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ กค. เสนอว่า 1. โดยที่มาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 ได้กำหนดให้บรรดาหมายเรียกหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร แบบ ใบกำกับภาษี รายงาน เอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใด ที่ต้องมี จัดทำ หรือใช้ ตามที่บัญญัติในประมวลรัษฎากร และบรรดาเอกสารหลักฐานหรือหนังสือที่กรมสรรพากรต้องใช้ในการติดต่อกับผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใด หรือที่ผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใดต้องใช้ในการติดต่อกับกรมสรรพากร อาจกระทำด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง 2. ปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้งานอย่างกว้างขวางในการทำธุรกรรมลักษณะต่าง ๆ กค. โดยกรมสรรพากรจึงได้ดำเนินการปรับปรุงการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อสนับสนุนให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือบุคคลใด โดยให้สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบยื่นรายการนำส่งภาษี แบบยื่นรายการภาษี แบบนำส่งภาษี รายงาน บัญชีพิเศษ บัญชีงบดุล หรือบัญชีอื่น ๆ ประกอบแบบแสดงรายการ คำร้องคืนภาษีอากร คำอุทธรณ์ คำร้อง คำขอ หรือเอกสารหรือหนังสืออื่นใดต่อกรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวจะต้องมีการออกเป็นกฎกระทรวง เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 3. ดังนั้น เพื่อเป็นการรองรับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และเพื่อเป็นการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือบุคคลใด สามารถยื่นรายการ แบบคำร้อง คำขอ หรือเอกสารอื่นใดต่อกรมสรรพากรบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ กค. พิจารณาแล้วจึงได้ยกร่างกฎกระทรวงฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยื่นรายการ แบบ คำร้อง คำขอ หรือเอกสารอื่นใดตามประมวลรัษฎากรบนระบบอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้น เพื่อรองรับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว 4. กค. ได้พิจารณาการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยเห็นว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐ เนื่องจากการออกกฎกระทรวงดังกล่าวตามข้อ 3 เป็นเพียงการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการยื่นรายการ แบบ คำร้อง คำขอ หรือเอกสารอื่นใดตามประมวลรัษฎากร เพื่อรองรับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นการอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน และลดต้นทุนการเสียภาษีของผู้มีหน้าที่เสียภาษี สนับสนุนให้การจัดทำเอกสารหลักฐานเพื่อใช้ในการดำเนินการทางภาษีอากรเป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์อย่างครบวงจร ช่วยยกระดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ อันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมการเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ช่วยลดต้นทุนการบริหารจัดการเอกสารและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี รวมทั้งสนับสนุนให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลภาษีที่ครบถ้วนมากขึ้น และสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยกระดับรูปแบบการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐให้มีความเป็นมาตรฐาน มีความทันสมัย และนำไปสู่การขับเคลื่อนเป็น Digital Government สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กำหนดให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียน หรือบุคคลใด อาจยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบยื่นรายการนำส่งภาษี แบบยื่นรายการภาษี แบบนำส่งภาษี รายงาน บัญชีพิเศษ บัญชีงบดุลหรือบัญชีอื่น ๆ ประกอบแบบแสดงรายการ คำร้องคืนภาษีอากร คำอุทธรณ์ คำร้อง คำขอ หรือเอกสารหรือหนังสืออื่นใดให้กรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด โดยการดำเนินการดังกล่าวอาจดำเนินการผ่านผู้ให้บริการ ซึ่งสามารถจัดเตรียมข้อมูลดังกล่าวด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่น่าเชื่อถือ และนำส่งด้วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้กรมสรรพากรผ่าน Application Programming Interface (API) หรือกระบวนการอิเล็กทรอนิกส์อื่นใดตามคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด 2. กำหนดกระบวนการของระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การพิสูจน์และยืนยันตัวตนของผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือบุคคลใด ๆ กำหนดวิธีการที่ทำให้สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ประเภท ลักษณะหรือรูปแบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และสามารถแสดงได้ว่าเจ้าของลายมือชื่อรับรองข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด 3. กำหนดให้การยื่นรายการและชำระภาษีอากร หรือขอคืนภาษีอากรหรือการดำเนินการใด ๆ ของผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร ผู้มีหน้าที่นำส่งภาษี ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือบุคคลใด เป็นอันเสร็จสมบูรณ์เมื่อบุคคลดังกล่าวได้รับใบเสร็จรับเงิน หรือหลักฐานอื่นใดเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งได้ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือหลักฐานอื่นใดจากกรมสรรพากร 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหารพุทธศักราช 2477 ว่าด้วยเครื่องแบบทหารบก ฉบับที่ .. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พุทธศักราช 2477 ว่าด้วยเครื่องแบบทหาร พุทธศักราช 2477 ว่าด้วยเครื่องแบบทหารบก ฉบับที่ .. ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ กห. เสนอว่า 1. เนื่องจากปัจจุบัน กห. ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนแปลงหน่วยทหารรักษาพระองค์และหน่วยทหารในพระองค์ โดยมีการปรับพ้นจากการเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์และหน่วยทหารในพระองค์ สถาปนาเป็นหน่วยทหารรักษาพระองค์และหน่วยทหารในพระองค์ และเปลี่ยนนามหน่วยทหารรักษาพระองค์ใหม่ มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการรับเสด็จของทหารกองเกียรติยศ และเพิ่มเติมภารกิจของทหารรักษาการณ์ กห. จึงขอแก้ไขเครื่องแบบทหารบก เพื่อให้สามารถแต่งเครื่องแบบทหาร และส่วนประกอบของเครื่องแบบทหาร เครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ เครื่องแบบครึ่งยศรักษาพระองค์ เครื่องแบบทหารกองเกียรติยศรับเสด็จ เครื่องแบบทหารรักษาการณ์ และเครื่องแบบทหารรักษาการณ์เขตพระราชฐาน ได้อย่างสง่างาม สวยงาม สอดคล้องกับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย และสามารถเลือกใช้ในโอกาสต่างๆ ได้อย่างเหมาะสมมากยิ่งขึ้น 2. กห. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวง (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบทหาร พุทธศักราช 2477 ว่าด้วยเครื่องแบบทหารบก ฉบับที่ .. ขึ้น และคณะกรรมการตรวจร่างกฎหมายประจำ กห. และสภากลาโหมได้เห็นชอบด้วยแล้ว 3. นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบให้นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. แก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบของพลทหาร นักเรียนนายสิบ นายทหารประทวนนักเรียนนายร้อย นักเรียนแพทย์ทหารวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า นักเรียนนายทหารแผนที่ และนายทหารสัญญาบัตร ตามที่ได้มีการพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนแปลงหน่วยทหารรักษาพระองค์และหน่วยทหารในพระองค์ ในส่วนของเครื่องแบบครึ่งยศ และเครื่องแบบเต็มยศ ดังนี้ (1) เครื่องแบบครึ่งยศ ประกอบด้วย หมวกยอด เสื้อชั้นนอกคอปิดสีขาวกางเกงแถบ คันชีพและเข็มขัดหนัง และรองเท้าหุ้มข้อหนังสีดำ โดยมีเครื่องแบบครึ่งยศ จำนวน 13 แบบ (2) เครื่องแบบเต็มยศ ประกอบด้วย หมวกยอดมีพู่ เสื้อเต็มยศรักษาพระองค์โดยเป็นสีตามหน่วยรักษาพระองค์หรือหน่วยงานในพระองค์นั้น ๆ กางเกงแถบ คันชีพและเข็มขัดหนัง และรองเท้าหุ้มข้อหนังสีดำ จำนวน 13 แบบ 2. แก้ไขเพิ่มเติมส่วนประกอบของเครื่องแบบ เช่น ได้แก่ หมวก เข็มขัด ประคด คันชีพดุม 3. แก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบและส่วนประกอบของเครื่องแบบทหารหญิง ซึ่งจะใช้เช่นเดียวกับทหารชายรักษาพระองค์หรือหน่วยงานในพระองค์นั้น ๆ โดยเครื่องแบบทหารหญิง มีดังนี้ (1) เครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ ซึ่งประกอบด้วย หมวกทรงอ่อนมีพู่ เสื้อเต็มยศรักษาพระองค์สีตามหน่วยรักษาพระองค์หรือหน่วยงานในพระองค์นั้น ๆ กระโปรงแบบป้าย (2) เครื่องแบบครึ่งยศรักษาพระองค์ ประกอบด้วย หมวกทรงอ่อน เสื้อชั้นนอกคอปิดสีขาว กระโปรงแบบป้าย 4. แก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบของทหารซึ่งจัดเป็นกองทหารเกียรติยศเดิมใช้เครื่องแบบฝึกสีกากีแกมเขียวพร้อมเครื่องประกอบ เปลี่ยนเป็นเครื่องแบบสนามลายพราง เครื่องแบบกองทหารเกียรติยศพิเศษ เดิมใช้เสื้อคอแบะสีแดง กางเกงสีดำเก็บปลายขา เปลี่ยนเป็นเสื้อคอปิดแบ่งเป็นสีแดงและสีน้ำเงินดำ กางเกงสีดำปล่อยปลายขา เพิ่มเติม เครื่องแบบกองทหารเกียรติยศรับเสด็จ โดยใช้เครื่องแบบฝึกสีกากีแกมเขียว หมวกสนามคลุมผ้าลายพราง 5. แก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบทหารรักษาการณ์ เดิมใช้เครื่องแบบฝึกสีกากีแกมเขียว เปลี่ยนเป็นเครื่องแบบสนามลายพราง และเพิ่มหมวกสนามคลุมผ้าลายพราง 6. เพิ่มเติมเครื่องแบบทหารรักษาการณ์เขตพระราชฐาน โดยใช้เครื่องแบบ 3 ชนิด ดังนี้ (1) เครื่องแบบเต็มยศรักษาพระองค์ (2) เครื่องแบบพระราชฐาน เช่นเดียวกับเครื่องแบบครึ่งยศ เว้นแต่ในประดับแพรแถบย่อของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ (3) เครื่องแบบพระราชฐานเขียว เช่นเดียวกับเครื่องแบบฝึก เว้นแต่ให้ใช้หมวกสนามคลุมผ้าลายพราง หรือหมวกแก๊ปทรงอ่อนลายพราง เศรษฐกิจ สังคม 6. เรื่อง ขอความเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพและการรถไฟแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 2,279.781 ล้านบาท และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จำนวน 3,278.866 ล้านบาท (รวมเป็นภาระที่รัฐต้องรับชดเชยทั้งสิ้น 5,558.647 ล้านบาท) ตามมติคณะกรรมการเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ (คณะกรรมการฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ทั้งนี้ ให้ ขสมก. และ รฟท. รายงานให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ทราบในโอกาสแรกด้วย เพื่อ สศค. จะได้จัดเก็บข้อมูลยอดคงค้างให้เป็นไปตามข้อเท็จจริงต่อไป และให้กระทรวงคมนาคม (ขสมก. และ รฟท.) รับความเห็นของหน่วยงานไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย สาระสำคัญของเรื่อง กค. รายงานว่า 1. คณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2564 ได้พิจารณาข้อเสนอการขอรับเงินอุดหนุนบริการสาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 (ข้อเสนอฯ) ของ ขสมก. และ รฟท. โดยมีมติเห็นชอบวงเงินอุดหนุนบริการสาธารณะประจำปีงบประมาณ 2565 (ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ? 30 กันยายน 2565) สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท ขสมก.* รฟท.** ข้อเสนอฯ ของ ขสมก. วงเงินที่คณะกรรมการฯ เห็นชอบ ข้อเสนอฯ ของ รฟท. วงเงินที่คณะกรรมการฯ เห็นชอบ 4,653.446 2,279.781 - ประมาณการรายได้ 1,933.995 ล้านบาท - ประมาณการค่าใช้จ่าย 4,213.776 ล้านบาท 4,246.742 3,278.866 - ประมาณการรายได้ 297.988ล้านบาท - ประมาณการค่าใช้จ่าย 3,576.854 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 5,558.647 หมายเหตุ *ให้บริการรถโดยสารธรรมดาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวนรถประจำการ 1,520 คัน โดยมีอัตรารถออกวิ่งร้อยละ 96 คิดเป็นรถโดยสารที่ให้บริการจริงจำนวน 1,460 คัน **ให้บริการรถไฟเชิงสังคม1 ทั่วประเทศ 152 ขบวน/วัน ประกอบด้วย รถชานเมือง 65 ขบวน รถท้องถิ่น 51 ขบวนรถธรรมดา 32 ขบวน รถรวม 4 ขบวน ทั้งนี้ เพื่ออุดหนุนทางการเงินโดยจ่ายชดเชยผลขาดทุนให้กับ ขสมก. และ รฟท. ในรูปของเงินงบประมาณตามจำนวนส่วนต่างของประมาณการรายได้และต้นทุนการให้บริการสาธารณะ เพื่อให้ ขสมก. และ รฟท. สามารถให้บริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง และลดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินของ ขสมก. และ รฟท. ในการดำเนินการตามภารกิจ รวมทั้งเป็นการลดค่าครองชีพด้านการเดินทางให้กับประชาชน และกรณีที่ ขสมก. และ รฟท. มีความประสงค์จะปรับปรุงการให้บริการสาธารณะระหว่างปี เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เปลี่ยนแปลงไป ขอให้ ขสมก. และ รฟม. จัดส่งข้อเสนอการปรับปรุงการให้บริการสาธารณะ เพื่อให้คณะกรรมการฯ พิจารณาไม่ น้อยกว่า 5 เดือน ก่อนสิ้นปีงบประมาณตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2554 ข้อ 13 2. กรณีการให้เงินอุดหนุนบริการสาธารณะของ ขสมก. จำนวน 2,279.781 ล้านบาท และ รฟท. จำนวน 3,278.866 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 5,558.647 ล้านบาท เข้าข่ายลักษณะของกิจกรรม มาตรการหรือโครงการตามบทบัญญัติในมาตรา 27 และมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งภาระที่รัฐต้องรับชดเชยจากการดำเนินโครงการดังกล่าว เมื่อรวมกับยอดภาระคงค้างที่มีอยู่เดิม ณ วันที่ 27 สิงหาคม 2564 ยังคงอยู่ในกรอบที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนดให้ยอดคงค้างทั้งหมดรวมกันไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 1รถไฟเชิงสังคม คือ ขบวนรถที่ให้บริการในลักษณะของการบริการสังคม โดยเป็นประเภทรถชั้น 3 และหยุดรับส่งทุกสถานีผู้โดยสารส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ใช้รถไฟในชีวิตประจำวัน 7. เรื่อง การตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาล ระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาล ระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และ สธ. ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ภายใต้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545พร้อมกับประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างชาติทราบอย่างทั่วถึงต่อไปตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ สธ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง สธ. รายงานว่า 1. ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาลเป็นการเฉพาะ โดยระบบการตรวจลงตราและยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาลของประเทศไทยในปัจจุบันสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ประเภท รหัส ระยะเวลาพำนัก ในประเทศไทย ชนิด ผู้ติดตาม การตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยว (Tourist Visa) MT 60 วัน Single Entry (ใช้เดินทางเข้าออกครั้งเดียว) - การตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราว (Non-Immigrant Visa) O 90 วัน Single Entry (ใช้เดินทางเข้าออกครั้งเดียว) - การยกเว้นการตรวจลงตรา (เฉพาะ 11 ประเทศ ได้แก่ กลุ่มประเทศ GCC1/CLMV2/จีน) MT 90 วัน อนุญาตครั้งเดียว 3 ดังนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มตัวเลือกให้แก่ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพและมีกำลังใช้จ่ายซึ่งมีความประสงค์จะเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพื่อขอรับบริการรักษาพยาบาลเป็นระยะเวลานาน รวมทั้งช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนรองรับนโยบายรัฐบาลด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) (พ.ศ. 2560 - 2569) จึงกำหนดให้มีการตรวจลงตราประเภทรักษาพยาบาล Medical Treatment Visa sหัส Non-MT ระยะเวลา 1 ปี เข้าออกได้หลายครั้ง (Multiple Entry) เป็นการเฉพาะ 2. สธ. ได้มีการดำเนินการผ่านคณะอนุกรรมการพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางบริการรักษาพยาบาล (Medical Service Hub) และ คณะกรรมการอำนวยการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กต. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สตม. และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน เพื่อกำหนดและปรับปรุงหลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ และรายละเอียดของการตรวจลงตราประเภทรักษาพยาบาลดังกล่าว และได้มีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติในหลักการ รวมถึงมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกเป็นกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ภายในหน่วยงานในการดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการตรวจ การยกเว้น และการเปลี่ยนประเกทการตรวจลงตรา พ.ศ. 2545 โดยไม่ต้องออกเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย 3. การตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาล ระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ สาระสำคัญ รายละเอียด วัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดประเภทการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาลประเภทใหม่ให้สอดรับกับระยะเวลาและกระบวนการรักษาพยาบาลในปัจจุบัน รวมทั้งเพิ่มตัวเลือกในการเดินทางเข้าสู่ประเทศให้แก่ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพและมีกำลังใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล กลุ่มเป้าหมาย ? ผู้ป่วยชาวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลและมีความจำเป็นต้องเข้ารับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ? ผู้ติดตามผู้ป่วย ต้องเป็นบุคคลในครอบครัว (Immediate Family) หรือผู้ติดตามไม่เกิน 3 ราย โดยให้ขอรับการตรวจลงตราฯ ประเภท Non-Immigrant ?O? ติดตามครอบครัว รหัส Non-O ระยะเวลา และค่าธรรมเนียม ? การตรวจลงตราฯ มีอายุ 1 ปี เริ่มตั้งแต่วันที่อนุญาตถึงวันครบกำหนด เมื่อครบกำหนด 1 ปีแล้ว ไม่สามารถขยายอายุต่อได้ ? ระยะเวลาพำนักในประเทศไทย ครั้งละไม่เกิน 90 วัน หากมีความจำเป็นในการรักษาต่อเนื่องตามที่สถานพยาบาลระบุในแผนการรักษา รวมถึงเหตุผลที่สภาพร่างกายไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยผู้ป่วยต้องแสดงใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และสถาบันทางการแพทย์ภาครัฐเท่านั้น ส่วนผู้ติดตามให้ยื่นเอกสารรับรองความสัมพันธ์จากสถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศประจำประเทศไทย ? ผู้ป่วยต้องรายงานตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทุก 90 วัน ตามที่ สตม. กำหนด ? ค่าธรรมเนียมการเข้าออกหลายครั้ง (Multiple Entry) รายละ 6,000 บาท และการขออยู่ต่อรายละ 1,900 บาท/ครั้ง กลุ่มโรคที่อนุญาตให้เข้ามารับการขอรับการตรวจลงตราฯ กลุ่มโรค/หัตถการที่ประเทศไทยมีศักยภาพ ที่มีระยะเวลาการรักษาต่อเนื่องที่ต้องใช้เวลามากกว่า 90 วัน อาทิ เวชศาสตร์ชะลอวัยและการฟื้นฟูสุขภาพ โรคระบบหัวใจหลอดเลือด โรคมะเร็ง ทันตกรรม ศัลยกรรมเสริมความงาม จักษุการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เป็นต้น ทั้งนี้ สถานพยาบาลต้องมีแผนการรักษา (Doctor Plan) และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน เอกสารที่จำเป็น สำหรับการขอรับ การตรวจลงตราฯ (1) หลักฐานทางการเงินที่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายภายในประเทศของผู้ป่วยและผู้ติดตาม เป็นเงินสดไม่น้อยกว่ารายละ 800,000 บาท (Bank Statement) โดยแสดงต่อสถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ (2) การนัดหมายกับสถานพยาบาล (ตามประกาศของ สธ.) ให้ผู้ป่วยและผู้ติดตาม ส่งเอกสารให้สถานพยาบาลล่วงหน้า 30 วัน ดังนี้ ? เอกสารการนัดหมายกับสถานพยาบาล (Confirmation Letter) ? เอกสารแสดงความสัมพันธ์กับผู้ป่วย (Affidavit Letter) เอกสารระบุความเป็นบุคคลในครอบครัว หรือเอกสารอื่น ๆ ? หลักฐานทางการเงินครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลประเมินไว้ หรือเอกสารประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลรับรอง หรือสวัสดิการภาครัฐ (แสดงต่อสถานพยาบาล) (3) ผู้ป่วยและผู้ติดตามแสดงหลักฐานประกันภัยกรณีอุบัติเหตุและการช่วยเหลือฉุกเฉิน รวมความคุ้มครองโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย วงเงินไม่น้อยกว่า 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,000,000 บาท หรือตามที่พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 กำหนด หมายเหตุ : ในกรณีที่ยังมีการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ผู้ป่วยและผู้ติดตามต้องกักตัวเองเป็นเวลา 14 วัน ก่อนพบแพทย์ การสมัคร เข้าร่วมโครงการของสถานพยาบาล (1) สธ. แจ้งเวียนการรับสมัครสถานพยาบาลภาครัฐ/สถานพยาบาลเอกชน/คลินิก ที่มีความพร้อมเข้าร่วมในระบบการตรวจลงตราฯ (2) สถานพยาบาลกรอกแบบฟอร์มใบสมัคร พร้อมเอกสารประกอบการยื่นสมัครต่อ สธ. (3) สธ. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและพิจารณาอนุมัติให้สถานพยาบาลเข้าร่วมโครงการฯ จากนั้นประกาศรายชื่อสถานพยาบาลที่ได้รับอนุมัติลงในราชกิจจานุเบกษา (4) สถานพยาบาลเริ่มดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติ (Work Flow) ลำดับขั้นตอน (Work Flow) ในการตรวจลงตราฯ 1. ผู้ป่วยติดต่อสถานพยาบาลที่จะเข้ารับบริการ (ตามประกาศที่ สธ. กำหนด) โดยแจ้งนัดหมายวันเวลาในการเข้ารับการรักษาพยาบาลล่วงหน้า 30 วัน 2. สถานพยาบาลกรอกรายละเอียดที่เกี่ยวข้องแก่ผู้ป่วยใน Confirmation Letter และแจ้งยืนยันการรักษาพยาบาล 3. สถานพยาบาลตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารและส่งข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนที่ผู้ป่วยจะเดินทางเข้าประเทศ 4. ผู้ป่วยและผู้ติดตาม ตามรายชื่อที่แจ้งเข้ากระบวนการของด่านตรวจคนเข้าเมือง ลงทะเบียน AOT Airports Application และกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มของ AOT Airports Application และพิธีการศุลกากร 5. ผู้ป่วยและผู้ติดตามได้รับการตรวจลงตราฯ เพื่อเดินทางเข้าประเทศไทย โดยมีระยะเวลาพำนักครั้งละไม่เกิน 90 วัน ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นในการรักษาต่อเนื่อง หรือสภาพร่างกายไม่เอื้ออำนวย สามารถขอพำนักต่อได้ โดยแสดงใบรับรองแพทย์ที่ออกโดยโรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลเอกชน และสถาบันทางการแพทย์ของภาครัฐเท่านั้น 6. หลังเสร็จสิ้นการรักษา สถานพยาบาลออกใบรับรองแพทย์ ให้ผู้ป่วยและผู้ติดตามเพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่สายการบินก่อนเดินทางกลับประเทศ 1กลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือแห่งอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) ประกอบด้วยสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ซาอุดีอาระเบีย คูเวต โอมาน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ และบาห์เรน 2กลุ่มประเทศ CLMV ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม 8. เรื่อง รายงานประจำปี 2563 ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข) เสนอรายงานประจำปี 2563 ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ทั้งนี้ คณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในการประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 รับทราบรายงานดังกล่าวแล้ว (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 22 ที่บัญญัติให้ สวรส. จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข แล้วให้เสนอรายงานประจำปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. สรุปผลงานเด่น 1.1 แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบยา เวชภัณฑ์ และเทคโนโลยี - การวิจัยสังเคราะห์และทบทวนเพื่อพัฒนามาตรการนำสารสกัดกัญชาไปใช้ในทางการแพทย์ โดย สวรส. ได้ศึกษาสถานการณ์อุปสงค์และอุปทาน รวมทั้งประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของการใช้กัญชาเพื่อนำไปพัฒนามาตรการและระบบการควบคุม ผลิต และจัดบริการที่เกี่ยวข้องกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ตลอดจนป้องกันและลดผลกระทบทางลบ เพิ่มการใช้ประโยชน์จากกัญชาและสารสกัดในทางการแพทย์ ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงบริการที่เหมาะสมได้มากขึ้น - การประเมินผลโครงการนำร่องให้ผู้ป่วยรับยาที่ร้านยา1เพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล ระยะที่ 2 พบว่า ร้านยามีศักยภาพและมีส่วนสำคัญในการดูแลประชาชนท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด-19) ส่งผลให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2563) มีมติให้เพิ่มการเข้าถึงบริการด้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาลในช่วงสถานการณ์โควิด-19 และขยายจำนวนร้านยาในโครงการรับยาใกล้บ้าน ทั้งในและนอกหน่วยบริการพร้อมทั้งให้โรงพยาบาลเพิ่มเติมระบบจัดสำรองยาและระบบเติมยาของผู้ป่วยที่ร้านยา - การพัฒนาการตรวจวิเคราะห์ระดับโมเลกุลเพื่อบ่งชี้การตอบสนองต่อการรักษาแบบจำเพาะบุคคลในผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดชาวไทย2 (ปีที่ 3) การศึกษานี้ได้สิทธิบัตรของการพัฒนาชุดไพรเมอร์การตรวจวิเคราะห์ระดับโมเลกุล เพื่อใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดที่จะได้รับยารักษาแบบมุ่งเป้าชนิดต่าง ๆ โดยจากการศึกษากลุ่มตัวอย่างพบว่า การตรวจด้วยชุดไพรเมอร์สามารถทำงานได้ง่ายและช่วยลดงบประมาณการสั่งชุดตรวจสำเร็จรูปจากต่างประเทศ และมีแผนการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับโรงพยาบาลที่สนใจ เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถตัดสินใจให้การรักษาแบบมุ่งเป้าแบบต่าง ๆ ได้ 1.2 แผนงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพ เช่น - การใช้แบบจำลองพลวัตระบบในการวางแผนบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ ในระยะ 10 ปีข้างหน้า: โครงการนำร่องเขตสุขภาพที่ 2 งานวิจัยได้พัฒนาแบบจำลองพลวัตระบบรายสาขาโรค จำนวน 5 แบบจำลอง ได้แก่ สาขาบริการจักษุวิทยา โรคไต ศัลยกรรมทั่วไป โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และโรคมะเร็ง พบว่า การเพิ่มศักยภาพด้วยการเพิ่มเวลาทำงานของเครื่องมือหรือห้องผ่าตัดโดยลดเวลาที่สูญเสียการใช้ทรัพยากรร่วมกันแบบ pool resource การอบรมพัฒนาบุคลากรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานเป็นการบริหารจัดการที่เหมาะสมเพื่อรองรับความต้องการบริการสุขภาพของประชาชนที่เพิ่มจำนวนสูงขึ้น 1.3 แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ - การทบทวนระบบส่งต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งของศูนย์รังสีรักษา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลราชบุรีร่วมกับคณะแพทย์ศาสตรศิริราชพยาบาล ทำให้ได้รูปแบบการรักษาและขั้นตอนการส่งต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ลดระยะเวลาการตรวจที่ซ้ำซ้อน และสามารถนำไปพัฒนาระบบการรักษาและส่งต่อผู้ป่วยโรคมะเร็งด้วยวิธีรังสีรักษาโดยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัล 1.4 แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เช่น - โครงการผลของการออกกำลังและการบริโภคอาหารต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม โรคไตเรื้อรัง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือดในประชากรไทยในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่า กิจกรรมการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในชุมชนสามารถทำได้จริง และมีประสิทธิภาพสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพได้ และมีผลการตรวจทางชีวเคมีในทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ควรปรับกลยุทธ์ให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมทั้งในแง่ของการทำกิจกรรมและงบประมาณ 1.5 แผนงานวิจัยและพัฒนาการเงินการคลังสุขภาพ เช่น - การประเมินความคุ้มค่าการผ่าตัดปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งระยะกลางและระยะท้ายภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่า รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนมีผลต่อการเข้าถึงการรักษาโรคดังกล่าว เนื่องจากเป็นการรักษาที่มีราคาค่อนข้างสูง ส่วนการประมาณการผลกระทบด้านภาระงบประมาณสำหรับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในปีที่ 1 เท่ากับ 35 ล้านบาท และเพิ่มเป็น 71.7 ล้านบาท 100.6 ล้านบาท และ 147 ล้านบาทในปีที่ 5 ในปีที่ 10 และปีที่ 20 ตามลำดับ 1.6 แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบอภิบาลสุขภาพ - การออกแบบระบบและกลไกในการขับเคลื่อนเขตสุขภาพที่ 6 พบว่า ควรมีการออกแบบมาตรการเพื่อการขับเคลื่อนการทำงานของเขตสุขภาพให้เกิดความคล่องตัวและบรรลุเป้าหมายใน 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การบริหารจัดการเขตสุขภาพและสำนักงานเขตสุขภาพ 2) การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล 3) การมอบอำนาจเกี่ยวกับการบริหารจัดการเขตสุขภาพ และ 4) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบสาธารณสุขและสร้างความยั่งยืนทางการเงินการคลังของหน่วยบริการ 1.7 แผนงานวิจัยและพัฒนากลุ่มเป้าหมายเฉพาะ - การพัฒนาสภาพแวดล้อมภายในที่พักอาศัยเพื่อการฟื้นฟูผู้สูงอายุภาวะสมองเสื่อมและภาวะซึมเศร้า ได้มีการจัดทำคู่มือแนวทางการออกแบบอาคารที่พักอาศัย ทั้งโรงพยาบาลและบ้านพักอาศัยแบบเดี่ยว เพื่อช่วยฟื้นฟูอาการสมองเสื่อมของผู้สูงอายุ ซึ่งหลังจากการพัฒนาสภาพแวดล้อม พบว่า ผู้สูงอายุมีอาการสมองเสื่อมลดลงและมีสุขภาวะที่ดีขึ้น 1.8 แผนงานวิจัยจีโนมิกส์3ประเทศไทย - การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานของประเทศเพื่อรองรับการสนับสนุนบริการการแพทย์จีโนมิกส์ เช่น การจัดตั้งศูนย์บริการทดสอบทางการแพทย์จีโนมิกส์เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมจีโนมของอาสาสมัครไทย จำนวน 50,000 ราย - การพัฒนาการวิจัยด้านการแพทย์จีโนมิกส์ เพื่อศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมและค้นหาความผิดปกติบนจีโนมของประชากรไทยเพื่อเป็นฐานข้อมูลจีโนมอ้างอิง ตลอดจนเพื่อวิเคราะห์สังเคราะห์หาปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องระหว่างยีนกันสุขภาพ/การเกิดโรค โดยมุ่งเป้าใน 5 โรค ได้แก่ กลุ่มโรคมะเร็ง โรคที่ไม่ได้รับการวินิจฉัยและหายาก โรคติดเชื้อ โรคไม่ติดต่อ และกลุ่มเภสัชพันธุศาสตร์ ป้องกันการแพ้ยาและการเลือกใช้ยาที่เหมาะสม 1.9 แผนงานวิจัยเพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 - การพัฒนาแบบจำลองบูรณาการระบบการแก้ไขปัญหาโรคโควิด-19 เพื่อสนับสนุนกระบวนการการตัดสินใจเชิงนโยบาย รวมทั้งนำมาใช้ในการวางแผนปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศไทยในระยะยาว - โครงการการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและชุมชนในการป้องกันและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 โดยใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และนำมาพัฒนาเป็นแอปพลิเคชันชื่อ ?EpiScanCovid19? ซึ่งผลวิจัยเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการตอบสนองการจัดการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม ทันต่อสถานการณ์และมีประสิทธิภาพมากขึ้น 2. งบแสดงฐานะการเงินและงบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผนดินได้ตรวจสอบรับรองแล้วเห็นว่า ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด หน่วย : ล้านบาท รายการ ปี 2563 ปี 2562 เพิ่มขึ้น/ลดลง 2.1 งบแสดงฐานะการเงิน รวมสินทรัพย์ 1,310.59 892.60 417.99 รวมหนี้สิน 624.47 161.30 463.17 รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน 686.12 731.30 (45.18) 2.2 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน รวมรายได้ 514.12 324.67 189.45 รวมค่าใช้จ่าย 559.15 323.99 235.16 รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ (45.03) 0.68 (45.71) 1เป็นงานวิจัยต่อเนื่องเพื่อประเมินผลโครงการนำร่องให้ผู้ป่วย 4 กลุ่มโรค ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคทางจิตเวช และหอบหืด หรือโรคเรื้อรังที่ไม่มีความซับซ้อนในการดูแล สามารถรับยาได้ที่ร้านยาเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 2การรักษาโรคมะเร็งแบบจำเพาะบุคคลด้วยยารักษาแบบมุ่งเป้าเป็นแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูงในการทำลายเซลล์มะเร็งอย่างจำเพาะ และเกิดผลข้างเคียงจากการรักษาน้อยกว่าการผ่าตัด การฉายรังสี หรือเคมีบำบัด สวรส. จึงได้พัฒนาการตรวจวิเคราะห์ระดับโมเลกุลเพื่อบ่งชี้การตอบสนองต่อการรักษาแบบมุ่งเป้าในผู้ป่วยมะเร็งปอด และทดสอบความเป็นไปได้ในการตรวจหาการกลายพันธุ์ในเลือดหรือปัสสาวะของผู้ป่วยมะเร็ง รวมถึงศึกษาเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ที่มีผลต่อการตอบสนองต่อยารักษามะเร็งปอดแบบมุ่งเป้า 3การแพทย์จีโนมิกส์เป็นการสร้างนวัตกรรมใหม่สำหรับการรักษาพยาบาลและการวิจัยทางการแพทย์ โดยการถอดรหัสพันธุกรรมมนุษย์ ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการถอดรหัสดีเอ็นเอเพื่อนำมาใช้ในการรักษาแบบเฉพาะบุคคล (การออกแบบยาเพื่อใช้เฉพาะบุคคล ลดการแพ้ยา) การเพิ่มความแม่นยำในการคาดการณ์และวินิจฉัยโรคได้ถึงระดับเซลล์ และการออกแบบการรักษาได้ทั้งโรคที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและอาจเป็นในอนาคต ซึ่งจะทำให้การรักษาโรคต่าง ๆ มีประสิทธิภาพมากขึ้น 9. เรื่อง รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมปี 2564 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอรายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2564 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2543 มาตรา 11 (4) ซึ่งบัญญัติให้คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเสนอรายงานเกี่ยวกับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีและจัดให้มีการเผยแพร่รายงานดังกล่าวต่อสาธารณชนอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. สถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2564 1.1 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Micro, Small and Medium-sized Enterprises: MSME) ปี 2563 มีมูลค่า 5,376,066 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 34.2 ต่อ GDP รวมทั้งประเทศ ลดลงจากปีก่อนที่มีสัดส่วนร้อยละ 35.0 โดยมีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 9.1 เป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เริ่มแพร่ระบาดตั้งแต่ไตรมาสแรกของปีต่อเนื่องจนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งส่งผลกระทบทางลบเป็นวงกว้างต่อเศรษฐกิจและการค้าทั่วโลก 1.2 การค้าระหว่างประเทศของ MSME ปี 2563 การส่งออกของ MSME มีมูลค่า 839,750.12 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 11.70 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดลดลงจากปีก่อนร้อยละ 17.08 ขณะที่การนำเข้าของ MSME มีมูลค่าเท่ากับ 1,018,921.19 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.6 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 19.98 ทำให้ในภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของ MSME ขาดดุลการค้า 179,171.07 ล้านบาท 1.3 ดัชนีความเชื่อมั่นของ MSME ปี 2563 เฉลี่ย 9 เดือนแรกของปี 2563 (มกราคม-กันยายน 2563) อยู่ที่ระดับ 42.5 ซึ่งต่ำกว่าระดับค่าฐานที่ 50 เป็นผลจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เข้มงวด การล็อกดาวน์ และการจำกัดการทำกิจกรรมทางสังคมต่าง ๆ ทำให้ธุรกิจ MSME หลายแห่งต้องปิดกิจการชั่วคราว ส่งผลให้ขาดรายได้และมีสภาพคล่องต่ำ อย่างไรก็ตาม หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 (ระลอกที่ 1) เริ่มคลี่คลาย ประกอบกับมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มรายได้และกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้จ่ายมากขึ้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่น MSME คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า (ตุลาคม-ธันวาคม 2564) อยู่ที่ระดับ 52.2 ซึ่งสูงกว่าค่าฐานที่ 50 สะท้อนว่า MSME ยังคงมีความเชื่อมั่นต่อการดำเนินธุรกิจ เนื่องจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ได้ผล และมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและการท่องเที่ยวของภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการ MSME ยังคงมีความกังวลต่อการดำเนินธุรกิจหากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐสิ้นสุดลงและนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่สามารถเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวได้ 1.4 จำนวนและการจ้างงาน MSME ปี 2563 MSME มีจำนวน 3,134,442 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.54 ของจำนวนวิสาหกิจทั้งประเทศ ขยายตัวจากปีก่อน ร้อยละ 0.95 โดยอยู่ในภาคการค้ามากที่สุด รองลงมาคือ ภาคการบริการ ภาคการผลิต และภาคธุรกิจเกษตร ทั้งนี้ มีนิติบุคคล MSME ที่จัดตั้งใหม่มีจำนวน 62,321 ราย และยกเลิกและเสร็จชำระบัญชี จำนวน 20,853 ราย ส่วนการจ้างงานของ MSME มีจำนวน 12,714,916 คน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 71.70 ของการจ้างงานรวมทั้งประเทศ 1.5 การวิเคราะห์การสำรวจยอดขายรายไตรมาสของ MSME ในช่วงปี 2562-2563 เมื่อพิจารณาจากอัตราการขยายตัวของยอดขายรายไตรมาสของปี 2563 เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2562 พบว่า อัตราการขยายตัวของยอดขายลดลงต่ำที่สุดในไตรมาสที่ 3/2563 เป็นผลสืบเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวด อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2563 ยอดขายของ MSME มีแนวโน้มดีขึ้นเนื่องจากการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการเห็นว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อยอดขายในปี 2563 ได้แก่ กำลังซื้อของลูกค้า ภาวะเศรษฐกิจ และด้านฤดูกาล เทศกาล 1.6 ประเด็นการศึกษาภายใต้โครงการสำรวจความต้องการของ MSME มีจำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ (1) การศึกษาแนวทางการพัฒนาระบบการเงินเพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดย่อยสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างเท่าเทียมกันและ (2) การศึกษาความสามารถของผู้ประกอบการขนาดย่อยในการปรับตัวเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล 1.7 ทิศทางเศรษฐกิจตามวิถีความปกติใหม่ (Next Normal*) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวิถีการดำรงชีวิตของคนในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การยกระดับชีวอนามัยและความปลอดภัยของบุคคลและการพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัลในการดำเนินชีวิตที่มากขึ้น ซึ่งการคาดการณ์ก้าวต่อไปของ Next Normal จะช่วยสะท้อนถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนไปซึ่งมีผลต่อการประกอบธุรกิจและโอกาสทางธุรกิจของผู้ประกอบการ อีกทั้งจะเป็นแนวทางในการจัดทำนโยบายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการซึ่งภาครัฐจะต้องกำหนดทิศทางเพื่อรับมือกับบริบทที่เปลี่ยนไป 1.8 ผู้ให้บริการในการพัฒนาธุรกิจ (Business Development Service: BDS) สำหรับการพัฒนาศักยภาพของ MSME โดย BDS คือหน่วยงานหรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือแก่ธุรกิจในด้านต่าง ๆ ที่ไม่ใช่บริการทางการเงิน เพื่อให้ธุรกิจมีการพัฒนาศักยภาพและสามารถสร้างโอกาสในการดำเนินธุรกิจ เช่น การตลาด การบริหารจัดการ การพัฒนาสินค้า และการเข้าถึงข้อมูลซึ่งจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลความต้องการของผู้ประกอบการ MSME ในการเข้าใช้บริการต่าง ๆ ของ BDS พบว่า ส่วนใหญ่ต้องการพัฒนาด้านการพัฒนาธุรกิจเพื่อการเจริญเติบโต และหากพิจารณาสภาพปัญหาที่พบจากการดำเนินธุรกิจพบว่า ผู้ประกอบการ MSME ส่วนใหญ่ต้องการ BDS ที่สามารถแก้ไขปัญหาสำคัญในการดำเนินกิจการได้ เช่น เงื่อนไขทางการค้าหรือข้อกำหนดทางด้านมาตรฐานที่ส่งผลให้ธุรกิจอาจสูญเสียโอกาสทางการค้า นอกจากนี้ ควรให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดย่อมเป็นอันดับแรก เพราะเป็นผู้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจมากกว่าวิสาหกิจขนาดกลาง โดยควรเน้นหรือให้ความสำคัญกับรูปแบบการช่วยเหลือในลักษณะการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาธุรกิจ 1.9 มาตรการการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 1.9.1 การให้สินเชื่อแก่สถาบันการเงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) โดยมีผู้ประกอบวิสาหกิจด้านการพาณิชย์เข้าร่วมมาตรการมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านอุตสาหกรรมการผลิต และด้านการบริการและอื่น ๆ โดยวงเงินสินเชื่ออนุมัติเฉลี่ยเท่ากับ 1.7 ล้านบาทต่อราย และพบว่าเป็นลูกหนี้รายเล็กมากที่สุด 1.9.2 มาตรการรักษาระดับการบริโภคของประเทศ ได้แก่ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและโครงการคนละครึ่ง โดย MSME ได้ประโยชน์ เช่น ผู้ประกอบการรายย่อยมีรายได้และยอดขายเพิ่มขึ้น การเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่เกี่ยวกับระบบสั่งซื้อสินค้าหรือชำระเงิน รวมทั้งประโยชน์ต่อเศรษฐกิจประเทศ 2. สถานการณ์ MSME ในช่วง 7 เดือนแรก (มกราคม-กรกฎาคม) ของปี 2564 2.1 มูลค่า GDP MSME ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 4.2 และมีสัดส่วนต่อ GDP ประเทศเท่ากับร้อยละ 34.5 แต่เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีก่อน พบว่า การฟื้นตัวยังช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้เมื่อไตรมาสก่อน โดยมีสาเหตุหลักจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 3 ส่วนของแนวโน้มเศรษฐกิจ MSME ในช่วงครึ่งปีหลัง คาดว่าธุรกิจขนาดกลางมีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวได้เร็วจากโครงสร้างของธุรกิจและสถานะทางการเงินที่ค่อนข้างเข้มแข็ง ขณะที่ธุรกิจรายย่อยจะได้รับประโยชน์จากมาตรการเงินเยียวยาและมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายที่จะเริ่มอีกครั้งในไตรมาสที่ 3 ทั้งนี้ เศรษฐกิจของประเทศและ MSME จะเริ่มฟื้นตัวได้เต็มที่อย่างเร็วที่สุดในไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 2.2 มูลค่าการส่งออกของ MSME ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2564 มีมูลค่า 608,196.2 ล้านบาท (19,921.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ขยายตัวร้อยละ 30.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและฐานที่ต่ำในปีก่อน โดยตลาดส่งออกหลักของ MSME มีการขยายตัวในทุกตลาด ขณะที่สินค้าส่งออกสำคัญที่ขยายตัวได้ต่อเนื่อง ได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักร คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ผลไม้สดและยางและผลิตภัณฑ์ยาง โดยมูลค่าการนำเข้าของ MSME มีมูลค่า 22,795.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 21.6 2.3 ดัชนีความเชื่อมั่นของ MSME ในช่วง 8 เดือนแรก (มกราคม-สิงหาคม) ของปี 2564 อยู่ที่ระดับ 40.6 ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ระดับ 41.3 ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ทำให้กำลังซื้อในประเทศลดลงอย่างมากและเกิดการหดตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ส่งผลให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ MSME อยู่ในระดับต่ำกว่าค่าฐานที่ 50 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากมีปัจจัยสนับสนุนจากโครงการกระตุ้นการบริโภครวมทั้งมาตรการความช่วยเหลือจากภาครัฐที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าและการเร่งฉีดวัคซีนที่มากขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี ทำให้ค่าดัชนีความเชื่อมั่นมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น 2.4 การจ้างงานของ MSME ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 มีจำนวนรวม 12,982,144 คน เมื่อพิจารณาตามขนาดของธุรกิจ พบว่า วิสาหกิจขนาดย่อมมีจำนวนการจ้างงานมากที่สุด จำนวน 5,274,773 คน รองลงมา คือ วิสาหกิจขนาดย่อย จำนวน 5,241,617 คน และวิสาหกิจขนาดกลาง จำนวน 2,465,754 คน ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาตามประเภทของธุรกิจ พบว่า MSME ในภาคการบริการมีการจ้างงานมากที่สุด จำนวน 5,679,571 คน รองลงมา คือ ภาคการค้าจำนวน 4,298,458 คน ภาคการผลิต จำนวน 2,929,485 คน และภาคธุรกิจการเกษตร จำนวน 74,615 คน ??????__________________________ *หมายเหตุ : Next Normal หมายถึง การปรับเปลี่ยนทัศนคติ พฤติกรรม รูปแบบการดำเนินชีวิต หรือวิธีการดำเนินงานขององค์กร เพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งทางด้านสังคม ธุรกิจ เศรษฐกิจ และการเมือง ภายหลังการระบาดของโควิด-19 โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากประเทศที่มีความโดดเด่นทางเศรษฐกิจจำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐไอร์แลนด์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) 10. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวทางน้ำอย่างยั่งยืน ในยุค New Normal ของคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวทางน้ำอย่างยั่งยืน ในยุค New Normal ของคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป เรื่องเดิม 1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการการท่องเที่ยวทางน้ำอย่างยั่งยืน ในยุค New Normal ของคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ เห็นว่า ปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวที่สำคัญ ๆ ประกอบด้วย ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานภาครัฐ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งไม่เพียงพอในการรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่ขยายตัวสูงขึ้น รวมทั้งการจัดพื้นที่ให้บริการทั้งในเมือง ชายหาด และเกาะต่าง ๆ เมื่อใช้หลักเกณฑ์ขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations World Tourism Organization UNWTO) และเชอร์ลี่ อีเบอร์ (Shirley Eber) มาเป็นกรอบแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงระบบการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวทางน้ำอย่างยั่งยืน โดยปัญหาทั้งหมดมีปัจจัยสำคัญที่เกิดจากการไม่มีการกำหนดขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity : CC) และได้มีข้อเสนอแนะให้ดำเนินการ ?กำหนดขีดความสามารถในการรองรับ (CC)? แบบบูรณาการอย่างจริงจัง ทั้งการกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยว และจำนวนผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ ซึ่งการดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมจำเป็นต้องปรับแก้กฎหมาย และระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้น 2. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือ ผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ข้อเท็จจริง กก. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยวตามข้อ 1 แล้ว เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ โดยสรุปได้ดังนี้ ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ผลการพิจารณา ควรดำเนินการกำหนดขีดความสามารถในการรองรับ (CC) นักท่องเที่ยวทางน้ำอย่างยั่งยืน ในยุค New Normal ทั้งการกำหนดจำนวนนักท่องเที่ยว และจำนวนผู้ประกอบธุรกิจการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ รวมทั้งการปรับแก้กฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับการปรับเปลี่ยนที่จะเกิดขึ้น 1. ได้ดำเนินการเตรียมการฝึกอบรมอาสาสมัครช่วยเหลือนักท่องเที่ยว 2. ได้มีการกำหนดมาตรฐานการดูแลความปลอดภัยทางน้ำ มีการจัดตั้งศูนย์อำนวยความสะดวกและความปลอดภัยทางน้ำประจำท่าเทียบเรือที่มีประชาชนและนักท่องเที่ยวใช้บริการหนาแน่น และมีการสำรวจเส้นทางท่องเที่ยวทางน้ำ การตรวจสอบความปลอดภัยของเรือ การพัฒนาท่าเรือท่องเที่ยว 3. ได้สร้างการรับรู้และความเชื่อมั่นแก่ร้านอาหารไทยผ่านตราสัญลักษณ์ Thai Select 4. ส่งเสริม สนับสนุน และแนะนำให้นักท่องเที่ยวเข้าพักโรงแรมที่ได้รับมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย SHA PLUS (Amazing Thailand Safety & Health Administration : SHA) และพนักงานที่ให้บริการนักท่องเที่ยวต้องได้รับการฉีดวัคซีน 100% 5. ได้มีการยกร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การประกอบธุรกิจโรงแรม และมาตรฐานความปลอดภัยสำหรับที่พักลักษณะพิเศษ เช่น แพ เต็นท์ โฮสเทล เพื่อแก้ไขปัญหาการนำอาคารชุดมาประกอบธุรกิจโรงแรมที่พัก และประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ รวมทั้งผ่อนปรนข้อกำหนดตามลักษณะของอาคารบางเรื่อง เพื่อแก้ไขปัญหากรณีการนำอาคารประเภทอื่นมาประกอบธุรกิจโรงแรม ช่วงปี (2555-2563) ยกเว้นเรื่องความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยต่อการใช้สอยที่ยังต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด 11. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการด้านกฎหมายในกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นสมควรดำเนินการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาทในด้านสิทธิมนุษยชน ของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการ ด้านกฎหมายในกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นสมควรดำเนินการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาทในด้านสิทธิมนุษยชน ของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) สนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป เรื่องเดิม 1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา (สว.) ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การบริหารจัดการด้านกฎหมายในกรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเห็นสมควรดำเนินการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมข้อพิพาทในด้านสิทธิมนุษยชน ของคณะกรรมาธิการกิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะ กรณีที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนและหาแนวทางแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างหรือเชิงระบบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนขึ้นอีก และควรมีหน้าที่ในการศึกษาและหาวิธีการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากกว่าการเข้าไปจัดการหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนเสียเอง สำหรับการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่มีความเกี่ยวเนื่องกับข้อพิพาททางแพ่งอาจนำกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์มาใช้ โดยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติอาจออกประกาศและกำกับดูแลการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 รวมทั้งควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ให้มีหน้าที่และอำนาจในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างชัดแจ้ง 2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ ยธ. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สำนักงาน กสม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ข้อเท็จจริง คค. ได้ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2 ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ สรุปได้ดังนี้ ข้อเสนอแนะของ กมธ. ผลการพิจารณาศึกษา 1. ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ให้มีหน้าที่และอำนาจในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างชัดแจ้งโดยบัญญัติให้เป็นหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน กสม. ในการดำเนินการจัดให้มีการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท กห. (กรมพระธรรมนูญ) มท. (กรมการปกครอง) อส. ศย. สำนักงาน กสม. และ ยธ. มีความเห็นสอดคล้องกันในการกำหนดให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสามารถไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ โดยให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 เพื่อให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติมีหน้าที่และอำนาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้อย่างชัดแจ้ง เพื่อช่วยเหลือและเยียวยาผู้ได้รับความเสียหายจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสอดคล้องกับหลักการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมและเป็นไปตามหลักการปารีสเกี่ยวกับสถานะของคณะกรรมการฯ ที่มีอำนาจหน้าที่กึ่งศาล รับฟังและพิจารณาข้อร้องเรียนและเรื่องราวร้องทุกข์ โดยแสวงหาแนวทางยุติปัญหาอย่างสมานฉันท์ผ่านกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ทั้งนี้ ที่ประชุมมีข้อเสนอแนะให้นำประเด็นเกี่ยวกับผลทางกฎหมายของบันทึกข้อตกลง หลักอายุความสะดุดหยุดลง และการกำหนดกรณีข้อพิพาทที่มิให้นำมาไกล่เกลี่ยไปพิจารณาประกอบการแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ให้มีความเหมาะสมต่อไป 2. ควรกำหนดให้บันทึกข้อตกลงที่เกิดขึ้นมีผลทางกฎหมาย และในระหว่างการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทควรให้อายุความสะดุดหยุดอยู่เช่นเดียวกับพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 รวมทั้งควรกำหนด กรณีที่มิให้นำมาไกล่เกลี่ย เช่น กรณีร้องเรียนเกี่ยวกับการล่วงละเมิดและการคุกคามทางเพศ เป็นต้น 12. เรื่อง การเสนอความเห็นการขอจัดตั้งทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาการขอจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ (กองทุนฯ) ตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... ในคราวประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน (คณะกรรมการฯ) เสนอ และให้กระทรวงแรงงาน (สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน) รับความเห็นของสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการฯ รายงานว่า 1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ที่ไม่เห็นควรให้จัดตั้งกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ (มติคณะรัฐมนตรี 20 เมษายน 2564) กระทรวงแรงงาน (รง.) ได้นำความเห็นของคณะกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... โดยกำหนดให้โอนกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านมาอยู่ภายใต้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวและขยายวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ/กลุ่มแรงงานนอกระบบ1 ทุกกลุ่มอาชีพ และได้เปลี่ยนชื่อ จาก ?กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ? เป็น ?กองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ? และ รง. ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... ซึ่งกำหนดให้จัดตั้งกองทุนฯ ในสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน รง. ต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1.1 กองทุนฯ มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ สาระสำคัญ 1. วัตถุประสงค์ของกองทุนฯ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนสำหรับใช้จ่ายเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการคุ้มครองแรงงานนอกระบบ โดยเงินของกองทุนให้ใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) รณรงค์ส่งเสริม คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ (2) ช่วยเหลือและอุดหนุนกลุ่มแรงงานนอกระบบ หรือองค์กรแรงงานนอกระบบที่จัดตั้งตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... (3) ว่าจ้างสมาคม มูลนิธิ องค์กรเอกชน หรือนิติบุคคล เพื่อดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ (4) ให้แรงงานนอกระบบกู้ยืมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพ (5) เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีสิทธิประโยชน์อื่นใดแก่แรงงานนอกระบบ (6) ใช้จ่ายในการบริหารกองทุนฯ รวมไปถึงค่าเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่นของคณะกรรมการบริหารกองทุนและคณะอนุกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้ง (7) เป็นแหล่งงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานตามความเหมาะสม 2. เป้าหมาย (1) แรงงานนอกระบบ ซึ่งมีอุปสรรคในการเข้าถึงแหล่งทุนของสถาบันการเงิน มีทุนกู้ยืมสำหรับการประกอบอาชีพ (2) มีงบประมาณเพื่อช่วยเหลือและอุดหนุนหรือว่าจ้างสมาคม มูลนิธิ องค์กรเอกชนหรือนิติบุคคล เพื่อดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ ทั้งมิติโอกาสในการประกอบอาชีพ การพัฒนาทักษะฝีมือ การคุ้มครองสภาพการทำงานที่เหมาะสม และการสร้างหลักประกันทางสังคมที่มั่นคง 3. แหล่งเงินทุน (1) เงินที่โอนมาจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน (จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 และดำเนินการบริหารกองทุนตามระเบียบกรมการจัดหางาน พ.ศ. 2559) (2) เงินทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (3) เงินอุดหนุนรัฐบาล (4) เงินค่าปรับที่ได้รับจากการลงโทษผู้กระทำความผิดตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... (5) เงินค่าสมาชิก (สมาชิกกองทุนฯ จ่ายให้) (6) เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคหรืออุทิศให้ (7) เงินที่ได้รับจากต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ (8) ดอกผลและผลประโยชน์ที่เกิดจากกองทุน (9) เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินของกองทุนหรือที่ได้จากการจัดหารายได้ (10) เงินหรือทรัพย์สินที่ตกเป็นของกองทุนหรือกองทุนได้รับจัดสรรจากกฎหมายอื่น (11) เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดที่กองทุนได้รับไม่ว่ากรณีใด 1.2 ข้อชี้แจงของ รง. ต่อคณะกรรมการฯ เกี่ยวกับประเด็นความซ้ำซ้อนกับภารกิจปกติของ รง. ทุนหมุนเวียนอื่น และความยั่งยืนของแหล่งรายได้ของกองทุนฯ ประเด็น (จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564) ข้อชี้แจงของ รง. ต่อคณะกรรมการฯ 1. ความซ้ำซ้อนกับภารกิจปกติหน่วยงานในสังกัดของ รง. (1) สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (สำนักงานนโยบายแรงงานนอกระบบ) - ภารกิจในการรณรงค์ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบของกองทุนฯ ไม่ซ้ำซ้อนกับภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานและกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (สำนักงานนโยบายแรงงานนอกระบบ) มีภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมคุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ) มีภารกิจสำคัญในการคุ้มครองแรงงานนอกระบบเฉพาะกลุ่มที่กฎหมายกำหนดไว้ให้อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้แก่ กลุ่มรับงานไปทำที่บ้าน กลุ่มลูกจ้างทำงานบ้าน กลุ่มลูกจ้างทำงานเกษตรกรรม (ได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อมีนายจ้างหรือผู้จัดจ้างงานเท่านั้น) - ภารกิจการช่วยเหลือและอุดหนุนกลุ่มแรงงานนอกระบบหรือองค์กรแรงงานนอกระบบที่เสนอแผนงานหรือโครงการและการว่าจ้างสมาคม มูลนิธิ องค์กรเอกชน หรือนิติบุคคล เพื่อดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบของกองทุนฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านแรงงานนอกระบบจึงไม่ซ้ำซ้อนกับภารกิจปกติ เนื่องจากทุกหน่วยงานในสังกัด รง. ที่เกี่ยวข้องกับแรงงานนอกระบบจะดำเนินงานโดยหน่วยงานเองไม่มีการช่วยเหลือหรืออุดหนุนให้หน่วยงานอื่นไปดำเนินการหรือว่าจ้างสมาคม มูลนิธิ องค์กรเอกชนหรือนิติบุคคล เพื่อดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ (2) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กองคุ้มครองแรงงานนอกระบบ) (3) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน) - ภารกิจการให้แรงงานนอกระบบกู้ยืมเพื่อส่งเสริมและสนับสุนนการประกอบอาชีพเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบของกองทุนฯ มิใช่การพัฒนาฝีมือแรงงาน จึงไม่ซ้ำซ้อนกับภารกิจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (กองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการและลูกจ้างที่เป็นแรงงานในระบบกู้ยืมเพื่อพัฒนาทักษะฝีมือเท่านั้น 2. ความซ้ำซ้อนกับทุนหมุนเวียนอื่น (1) กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน - ปัจจุบัน รง. ได้กำหนดให้โอนกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านมาอยู่ภายใต้ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... และขยายวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบทุกกลุ่มอาชีพ และได้เปลี่ยนชื่อ จาก กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ เป็น กองทุนส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ (2) กองทุนประกันสังคม - การจัดให้มีสิทธิประโยชน์อื่นของกองทุนจะเป็นไปตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด ตามความเหมาะสมกับความต้องการของแรงงานนอกระบบ และสถานะของกองทุน เช่น การประกันทรัพย์สิน การประกันอุบัติเหตุหรืออุบัติภัยให้กับบุคคลในครอบครัว เป็นต้น ซึ่งไม่ซ้ำซ้อนกับสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โดยผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้รับสิทธิประโยชน์ 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และเสียชีวิต สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 จะได้รับสิทธิประโยชน์สูงสุด 5 กรณี ได้แก่ ค่าทดแทนขาดรายได้เมื่อเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร 3. แหล่งเงินทุน ประมาณการรายรับและรายจ่ายของกองทุน ดังนี้ 3.1 ประมาณการรายรับของกองทุน ประมาณ 481.95 ล้านบาท รายรับ จำนวน (ล้านบาท) (1) ทุนประเดิมที่รัฐบาลจัดสรรให้ (จัดสรรให้ครั้งเดียว จำนวน 100 ล้านบาท เพื่อสำรองเป็นค่าใช้จ่ายในปีแรกที่ยังไม่มีรายได้อื่นเข้ากองทุน) 100.00 (2) เงินที่โอนมาจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน 12.90 (3) เงินค่าสมาชิก (เก็บปีละ 1 ครั้ง) คนละ 360 บาท/ปี (ประมาณการจากการเก็บค่าสมาชิกจำนวน 1 ล้านคน) 360.00* (4) เงินดอกผลจากการกู้ยืมกลุ่มแรงงานนอกระบบ (ร้อยละ 3 ต่อปี) (ประมาณการจากกลุ่มแรงงานนอกระบบ จำนวน 700 กลุ่ม เงินกู้ยืม 50,000 บาท/กลุ่ม/ปี เงินดอกผล 1,500 บาท/ปี) 1.05 (5) เงินดอกผลจากการกู้ยืมแรงงานนอกระบบ (ร้อยละ 3 ต่อปี) (ประมาณการจากแรงงานนอกระบบ จำนวน 5,000 คน เงินกู้ยืม 20,000 บาท/กลุ่ม/ปี เงินดอกผล 600 บาท/ปี) 3.00 (6) เงินค่าปรับ (ประมาณการจาก 100 คดี คดีละ 50,000 บาท) 5.00 3.2 ประมาณการรายจ่ายของกองทุน ประมาณ 247.59 ล้านบาท รายจ่าย จำนวน (ล้านบาท) (1) ค่าใช้จ่ายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ (เช่น ค่าสนับสนุนโครงการหน่วยงานต่าง ๆ เงินกู้ยืมกลุ่มแรงงานนอกระบบ/แรงงานนอกระบบ เงินค่าประกันกลุ่ม เป็นต้น) 245.00 (2) ค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร 2.08 (3) ค่าใช้จ่ายด้านการบริหารกองทุน 0.51 * ในการประมาณการเงินค่าสมาชิกซึ่งเป็นรายได้หลักของกองทุนฯ เดิม รง. ได้คาดการณ์ว่าจะมีสมาชิก จำนวน 1 ล้านราย โดยกำหนดเก็บเงินค่าสมาชิกเป็นรายปี คนละ 100 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 100 ล้านบาท และเงินทุนประเดิม จำนวน 100 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 พิจารณาแล้วเห็นว่า เงินค่าสมาชิกจำนวนดังกล่าวที่เก็บได้อาจไม่ยั่งยืนทำให้ต้องใช้เงินงบประมาณเป็นรายได้หลัก ต่อมา รง. ได้ปรับเงินค่าสมาชิกเข้ากองทุนและประมาณการเงินค่าสมาชิกอีกครั้ง โดยกำหนดเก็บเงินสมาชิกรายปีคนละ 360 บาท (เป็นราคาที่สำรวจจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว เห็นว่ามีความเหมาะสม) รวมเป็นเงิน 360 ล้านบาท ประกอบกับเงินทุนที่โอนมาจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านอีกจำนวน 12.90 ล้านบาท และเงินทุนประเดิม จำนวน 100 ล้านบาท พร้อมเงินดอกผลและเงินค่าปรับต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประมาณการรายจ่ายของกองทุนฯ ประมาณ 247.59 ล้านบาทแล้ว เห็นว่า เงินรายได้จากค่าสมาชิกจำนวนดังกล่าวสามารถทำให้แผนการดำเนินงานของกองทุนสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ หมายเหตุ : แรงงานนอกระบบจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการกู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพและสิทธิประโยชน์อื่นใด ก็ต่อเมื่อแรงงานนอกระบบจ่ายเงินค่าสมาชิกเข้ากองทุนฯ เป็นรายปี 2. คณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ได้พิจารณาวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งและแหล่งรายได้ของกองทุนฯ ตามร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและคุ้มครองแรงงานนอกระบบ พ.ศ. .... แล้วเห็นว่า หากกองทุนฯ สามารถบริหารจัดการแรงงานนอกระบบได้ ก็จะทำให้ไม่เป็นภาระของหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากเป็นการเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้และสวัสดิการสำหรับแรงงานนอกระบบ จึงเห็นชอบในหลักการให้จัดตั้งกองทุนฯ โดยมีข้อสังเกต ดังนี้ 2.1 แผนรายรับของกองทุนฯ ควรมีความชัดเจนและมีแหล่งรายได้ที่แน่นอน พร้อมทั้งจัดทำแผนประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อหาสมาชิกให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม 2.2 แผนการดำเนินงานและวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ จะต้องมีความชัดเจนและไม่ซ้ำซ้อนกับทุนหมุนเวียนอื่น 3. ไม่ควรกำหนดให้กองทุนฯ เป็นแหล่งเงินงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานนโยบายแรงงานนอกระบบ ควรดำเนินงานผ่านงบประมาณปกติของหน่วยงาน สำหรับกรณีสำนักงานนโยบายแรงงานนอกระบบต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของกองทุนก็สามารถขอรับการสนับสนุนเงินจากกองทุนได้อยู่แล้ว รวมทั้งการกำหนดให้จ่ายเงินกองทุนเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีสิทธิประโยชน์อื่นใดแก่แรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นการกำหนดวัตถุประสงค์ที่เปิดกว้างมาก จึงเห็นควรระบุสิทธิประโยชน์ดังกล่าวให้ชัดเจนจะเหมาะสมกว่า ?????___________________________ 1แรงงานนอกระบบหมายถึง ผู้มีงานทำแต่ไม่ได้รับความคุ้มครองหรือหลักประกันทางสังคมจากการทำงาน โดยมีลักษณะการจ้างงานไม่เป็นระบบ ไม่มีสวัสดิการ รายได้ไม่แน่นอนและไม่ต่อเนื่อง กลุ่มแรงงานนอกระบบหมายถึง แรงงานนอกระบบที่รวมกลุ่มตามลักษณะอาชีพ 13. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกันยายน 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกันยายน 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้ 1. สาระสำคัญ 1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกันยายน 2564 การส่งออกของไทยในเดือนกันยายน 2564 มีมูลค่า 23,036.0 ล้านเหรียญสหรัฐ (760,556 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 17.1 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 14.8 การเติบโตอย่างแข็งแกร่งนี้ ได้รับแรงหนุนจากการส่งเสริม ผลักดัน และแก้ไขอุปสรรคด้านการส่งออกที่เป็นไปอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องของกระทรวงพาณิชย์ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่เติบโตดี และการอ่อนค่าของเงินบาทช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันสินค้าไทย ทั้งนี้ การส่งออก 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 15.5 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 20.4 มูลค่าการค้ารวม มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกันยายน 2564 การส่งออก มีมูลค่า 23,036.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.1 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 22,426.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 30.3 ดุลการค้าเกินดุล 609.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวมการส่งออก 9 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 199,997.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.5 การนำเข้า มีมูลค่า 197,980.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 30.9 ดุลการค้า 9 เดือนแรก เกินดุล 2,016.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกันยายน 2564 การส่งออก มีมูลค่า 760,556.3 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 24.4 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 750,267.0 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 38.4 ดุลการค้าเกินดุล 10,289.3 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออก 9 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 6,202,170.0 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 15.0 การนำเข้า มีมูลค่า 6,226,790.7 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 30.5 ดุลการค้า 9 เดือนแรก ขาดดุล 24,620.7 ล้านบาท การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 12.1 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 10 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 83.6 (ขยายตัว ในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 44.4 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน อินโดนีเซีย และเกาหลีใต้) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 33.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ แอฟริกาใต้ จีน อิรัก และมาเลเซีย) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 23.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ออสเตรเลีย อิตาลี และฟิลิปปินส์) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 29.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และรัสเซีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัวร้อยละ 22.0 (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ฮ่องกง และเวียดนาม แต่ขยายตัวดีในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ เมียนมา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น) ยกเว้น ลำไยสด ขยายตัวร้อยละ 73.8 มะม่วงสด ขยายตัวร้อยละ 55.9 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 18.2 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย และแคนาดา แต่ขยายตัวดีในตลาดญี่ปุ่น อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เยเมน กัมพูชา และแอฟริกาใต้) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป หดตัวร้อยละ 22.8 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวดีในตลาดเนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย) สินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ หดตัวร้อยละ 66.3 (หดตัวในตลาดเวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาว และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวดีในตลาดเมียนมา จีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย) เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 25.6 (หดตัวในตลาดกัมพูชา เวียดนาม เมียนมา จีน และสปป.ลาว แต่ขยายตัวดีในตลาดสิงคโปร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อินโดนีเซีย และกานา) 9 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 14.5 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 15.8 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 61.0 (ขยายตัวในตลาดจีน อินเดีย กัมพูชา ญี่ปุ่น และมาเลเซีย) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 4.9 (ขยายตัวในตลาดจีน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 22.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง จีน มาเลเซีย และสิงคโปร์) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 32.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย และสิงคโปร์) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 16.3 (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 38.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ จีน และอินเดีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 8.0 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเมียนมา) เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 24.3 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดอินโดนีเซีย) ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป หดตัวร้อยละ 52.6 (หดตัวในตลาดสิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์ แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดกัมพูชา สปป.ลาว ฮ่องกง และอินโดนีเซีย) 9 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 14.6 ตลาดส่งออกสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน สรุป ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 18.1 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 20.2 จีน ร้อยละ 23.3 ญี่ปุ่น ร้อยละ 13.2 อาเซียน (5) ร้อยละ 25.7 CLMV ร้อยละ 8.2 และ สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 12.6 2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 21.8 ขยายตัวทุกกลุ่มตลาด ได้แก่ เอเชียใต้ ร้อยละ 69.0 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 3.0 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 17.4 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 30.2 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 10.1 และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 42.5 และ 3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 65.5 3.2 แนวโน้ม และมาตรการส่งเสริมการส่งออกในปี 2564 การส่งออกของไทยในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวดี สะท้อนจาก (1) ทิศทางการค้าโลกขยายตัวต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 4 (2) ค่าเงินบาทยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า ช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาให้กับสินค้าไทย (3) การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ การใช้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และการเตรียมเปิดประเทศในหลายประเทศ และ (4) ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังฟื้นตัวและเติบโต ช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ สำหรับแผนส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ยังคงมอบหมายให้หน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ?ตลาดนำการผลิต? และแผนงานของกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดไว้ โดยในช่วงที่เหลือของปี กระทรวงพาณิชย์ยังคงเดินหน้าจัดกิจกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนการส่งออก อาทิ การนำสินค้าไทยไปขายบนแพลตฟอร์มของอินโดนีเซีย โดยเฉพาะสินค้าอาหารสุขภาพ ความงาม และไลฟ์สไตล์ การเร่งรัดการส่งออกข้าวไปยังตลาดแอฟริกาใต้ จีน เยเมน และอิรัก พร้อมแผนประชาสัมพันธ์ข้าวไทยในตลาดอินโดนีเซีย บังกลาเทศ และจีน นอกจากนี้ ยังจะมีแผนการดำเนินการที่เป็นผลจากการลงพื้นที่ของรองนายกรัฐมนตรีฯ ได้แก่ มาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก 17 มาตรการ พร้อมผลักดันสินค้าเกษตรมูลค่าสูง การส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการค้าอีคอมเมิร์ซของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และการเร่งรัดให้มีการเปิดด่านการค้าชายแดนอีก 11 ด่านหลังจากที่ได้ปิดชั่วคราวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 14. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ สาระสำคัญ 1. สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนกันยายน และไตรมาสที่ 3 ของปี 2564 ดังนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกันยายน 2564 กลับมาขยายตัวอีกครั้งที่ร้อยละ 1.68 หลังจากที่หดตัว ร้อยละ 0.02 ในเดือนก่อน โดยปัจจัยสำคัญจากการสิ้นสุดลงของมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านสาธารณูปโภค (ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) และระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงยังสูงต่อเนื่อง ขณะที่สินค้าอื่น ๆ ส่วนใหญ่ยังเคลื่อนไหวเป็นปกติและค่อนข้างทรงตัวยกเว้นสินค้ากลุ่มอาหารสดที่เคลื่อนไหวในทิศทางที่ค่อนข้างผันผวน แต่ส่วนใหญ่ยังมีราคาต่ำกว่าปีก่อน โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสุกร ไก่สด ผักสดและผลไม้สด ยกเว้น ไขไก่ที่ยังมีราคาสูงกว่าปีก่อนค่อนข้างมากแต่แนวโน้มราคาเริ่มลดลงตามลำดับ เงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นในเดือนนี้ สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน อาทิ ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้ามูลค่าการส่งออกสินค้า รายได้เกษตรกร ดัชนีผลผสิตสินค้าเกษตร และดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง อีกทั้งยังสอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้ผลิตที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ชี้ว่าราคาสินค้าและบริการขั้นสุดท้ายในระยะต่อไป ยังมีแรงส่งจากราคาสินค้าในภาคการผลิตบางชนิด ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังและดูแลอย่างใกล้ชิดต่อไป เงินเฟ้อพื้นฐาน (เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว) สูงขึ้นร้อยละ 0.19 (YoY) เป็นการสูงขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 0.07 ในเดือนก่อน เงินเฟ้อทั่วไป เมื่อเทียบกับเดือนสิงหาคม 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.59 (MoM) ไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เทียบกับ ไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.70 (YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 0.23 (Q๐Q) และเฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.- ก.ย.) ปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 0.83 (AoA) 2. แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป ไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 เงินเฟ้อในไตรมาสสุดท้ายของปี หากไม่มีมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐที่ส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการอย่างมีนัยสำคัญเพิ่มเติม จะมีแนวโน้มขยายตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีปัจจัยสำคัญจาก 1) แนวโน้มราคาน้ำมันยังอยู่ในทิศทางที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ในอัตราเพิ่มที่น้อยกว่าช่วงที่ผ่านมา 2) แนวโน้มสถานการณ์โควิดเริ่มผ่อนคลายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มกลับมาดำเนินการได้ตามลำดับ และ 3) แนวโน้มการอ่อนค่าของค่าเงินบาท ส่งผลต่อต้นทุนการผลิตและขนส่ง อย่างไรก็ตาม สินค้าในหมวดอาหารสดบางชนิด โดยเฉพาะ ข้าว ผักสดและผลไม้สด ยังคงมีแนวโน้มต่ำกว่าปีก่อนและมีโอกาสผันผวนตามสภาพอากาศและภัยธรรมชาติ ขณะที่สถานการณ์โควิดยังคงเป็นความเสี่ยงที่เป็นตัวแปรสำคัญของการพื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ต้องเฝ้าระวังและส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน 2564 กระทรวงพาณิชย์ ได้ปรับสมมุติฐานสำหรับคาดกรณ์เงินเฟ้อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยคาดการณ์ว่า เงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2564 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 + 0.2 หรืออยู่ในช่วงร้อยละ 0.8-1.2 15. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกันยายน 2564 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกันยายน 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งมาจากการผลิตรถยนต์ที่ยังคงลดลงจากการขาดแคลนชิปและชิ้นส่วนบางรายการจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวมีแนวโน้มที่ดีขึ้น อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกันยายน ๒๕๖๔ หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ 1. Hard Disk Drive หดตัวร้อยละ 18.9 จากสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่ยังมีการระบาดในโรงงาน รวมถึงต้องกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูง และปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วน ทำให้ยังไม่สามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิต 2. รถยนต์และชิ้นส่วน หดตัวร้อยละ 5.43 จากปัญหาขาดแคลนชิปและผลกระทบจากการระบาด ทำให้โรงงานประกอบรถยนต์และโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์บางโรงต้องปิดชั่วคราวหรือหยุดผลิตเป็นบางช่วงเวลา 3. การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม หดตัวร้อยละ 5.56 จากการหยุดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นบางราย รวมถึงความต้องการใช้ในประเทศชะลอตัวจากการระบาด อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนกันยายน 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน 1. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.12 ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ยังขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลกในปีก่อน ทำให้สินค้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ออกมามีการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบเพิ่มมากขึ้น 2. เหล็กและเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.61 ตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ยังคงเติบโต และผลจากฐานต่ำในปีก่อนหลังผ่านช่วงล็อกดาวน์ที่ความต้องการใช้ยังคงหดตัวในช่วงแรก นอกจากนั้นยังมีการผลิตเพื่อรอจำหน่าย เนื่องจากราคาเหล็กยังคงมีแนวโน้มทรงตัวสูง 16. เรื่อง รายงานผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไตรมาสที่ 4 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอรายงานผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไตรมาสที่ 4 สามารถผลักดันทรัพย์สินรวมคิดเป็นเงินจำนวน 48,051,746,688 บาท ประกอบด้วย การขายทอดตลาด คิดเป็นเงินจำนวน 13,143,855,168 บาท การงดการบังคับคดี คิดเป็นเงินจำนวน 14,847,883,863 บาท และการถอนการบังคับคดี คิดเป็นเงินจำนวน 20,060,007,657 บาท 17. เรื่อง รายงานผลความคืบหน้าการดำเนินคดีอาญากับผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริตในการดำเนินงานโครงการ ต่าง ๆ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) รายงานผลความคืบหน้าการดำเนินคดีอาญากับผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริตในการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (1 มิถุนายน 2564) ที่ให้ ตช. ดำเนินคดีทางอาญากับผู้เกี่ยวข้องกับการทุจริตในการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ภายใต้พระราชกำหนดฯ โดยไม่ชักช้า และให้รายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินคดีต่อคณะรัฐมนตรีทุก 3 เดือน] โดย ตช. ได้รายงานผลความคืบหน้าตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ? 1 ตุลาคม 2564 มีการดำเนินคดีทั้งสิ้นรวม 276 คดี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้อหา/ฐานความผิดเกี่ยวกับร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงตนเป็นคนอื่น ฉ้อโกงและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลอันเป็นเท็จ สรุปได้ ดังนี้ 1. โครงการเราเที่ยวด้วยกัน 191 คดี และโครงการคนละครึ่ง 85 คดี ดังนี้ หน่วย : คดี ลำดับ หน่วย จำนวน รายละเอียดโครงการ เราเที่ยวด้วยกัน คนละครึ่ง 1 กองบัญชาการตำรวจนครบาล 17 16 1 2 ตำรวจภูธรภาค 1 12 9 3 3 ตำรวจภูธรภาค 2 - - - 4 ตำรวจภูธรภาค 3 53 19 34 5 ตำรวจภูธรภาค 4 52 32 20 6 ตำรวจภูธรภาค 5 33 30 3 7 ตำรวจภูธรภาค 6 16 6 10 8 ตำรวจภูธรภาค 7 15 15 - 9 ตำรวจภูธรภาค 8 31 31 - 10 ตำรวจภูธรภาค 9 42 31 11 11 กองบัญชาการสอบสวนกลาง 5 2 3 รวม 276 191 85 2. คดีที่อยู่ระหว่างการสอบสวน 249 คดี สอบสวนเสร็จส่งพนักงานอัยการ 21 คดี ศาลมีคำพิพากษาแล้ว 1 คดี และอื่น ๆ 5 คดี เช่น อยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานอื่น ๆ ดังนี้ หน่วย : คดี ลำดับ หน่วย จำนวน ขั้นตอนการดำเนินการ อยู่ระหว่างการสอบสวน สอบสวนเสร็จ ส่งอัยการ ศาลได้มี คำพิพากษา อื่น ๆ 1 กองบัญชาการตำรวจนครบาล 17 16 1 - - 2 ตำรวจภูธรภาค 1 12 10 - - 2 3 ตำรวจภูธรภาค 2 - - - - - 4 ตำรวจภูธรภาค 3 53 44 9 - - 5 ตำรวจภูธรภาค 4 52 44 7 1 - 6 ตำรวจภูธรภาค 5 33 30 - - 3 7 ตำรวจภูธรภาค 6 16 12 4 - - 8 ตำรวจภูธรภาค 7 15 15 - - - 9 ตำรวจภูธรภาค 8 31 31 - - - 10 ตำรวจภูธรภาค 9 42 42 - - - 11 กองบัญชาการสอบสวนกลาง 5 5 - - - รวม 276 249 21 1 5 18. เรื่อง ขออนุมัติโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 วงเงินรวมทั้งสิ้น 10,065.69 ล้านบาท ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ โดยในส่วนค่าชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ให้ กษ. รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วย สาระสำคัญของเรื่อง กษ. รายงานว่า ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมมีมติ ดังนี้ 1. เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 วงเงินรวมทั้งสิ้น 10,065.69 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด วัตถุประสงค์ - เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยางในกรณีที่ราคายางตกต่ำ ในช่วงวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 - เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง เป้าหมาย เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนและเกษตรกรที่แจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยางกับการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ภายในวันที่ 14 มิถุนายน 2564 จำนวน1,880,458 ราย (พื้นที่สวนยางกรีดได้ 19.16 ล้านไร่) แบ่งได้ ดังนี้ ประเภทเกษตรกร จำนวน (ราย) เกษตรกรชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียน 1,150,444 คนกรีดยางที่ขึ้นทะเบียน 263,679 เกษตรกรที่แจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยาง 454,096 คนกรีดยางของเกษตรกรแจ้งข้อมูลพื้นที่ปลูกยาง 12,239 รวม 1,880,458 หลักเกณฑ์ และข้อกำหนด ของโครงการ 1) เป็นสวนยางอายุ 7 ปีขึ้นไปที่เปิดกรีดแล้ว รายละไม่เกิน 25 ไร่ 2) กำหนดปริมาณผลผลิตยางที่จะประกันรายได้ 2.1) ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวน 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน รายละไม่เกิน 25 ไร่ [ได้แก่ ยางแผ่นดิบคุณภาพดีและน้ำยาง (DRC 100%)] 2.2) ผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวน 40 กิโลกรัม/ไร่/เดือน รายละไม่เกิน 25 ไร่ [ได้แก่ ยางก้อนถ้วย (DRC 50%)] 3) กำหนดเงินค่าประกันรายได้ในแต่ละเดือน = [ราคายางที่ประกันรายได้ (ก) - ราคากลางอ้างอิงการขาย (ข)] X ปริมาณผลผลิตยางตามเนื้อที่กรีดยาง (ค) (ก) ราคายางที่ประกันรายได้ ดังนี้ 1) ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาท/กิโลกรัม 2) น้ำยางสด (DRC 100%) 57 บาท/กิโลกรัม 3) ยางก้อนถ้วย (DRC 50%) 23 บาท/กิโลกรัม (ข) ราคากลางอ้างอิงการขาย หมายถึง ราคาที่คณะทำงานกำหนด ราคากลางอ้างอิง ประกาศทุก 1 เดือน (บาท/กิโลกรัม) โดยพิจารณาจากราคาตลาดกลางยางพารา, SGX, TOCOM, เซี่ยงไฮ้และปัจจัยอื่น ๆ (ค) ปริมาณผลผลิตยางตามเนื้อที่กรีดยาง หมายถึง ผลผลิตยางแห้ง (DRC 100%) จำนวน 20 กิโลกรัม/ไร่/เดือน X จำนวนไร่ (รายละไม่เกิน 25 ไร่) และผลผลิตยางก้อนถ้วย (DRC 50%) จำนวน 40 กิโลกรัม/ไร่/เดือน X จำนวนไร่ (รายละไม่เกิน 25 ไร่) 4) แบ่งสัดส่วนรายได้เจ้าของสวน ร้อยละ 60 และคนกรีด ร้อยละ 40 ของรายได้ทั้งหมด ระยะเวลาดำเนินการ วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 (ประกันรายได้เดือนตุลาคม 2564 - มีนาคม 2565) งบประมาณ กษ. เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรวมทั้งสิ้น 10,065.69 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้ 1) งบประมาณสำหรับประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง 9,783.61 ล้านบาท 2) งบประมาณสำหรับชดเชยต้นทุนเงินธนาคารประจำไตรมาส บวก 1 (ปัจจุบันอัตราต้นทุนเงินธนาคารประจำไตรมาสเท่ากับ 1.0) ภายในวงเงินไม่เกิน 195.68 ล้านบาท 3) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการและค่าธรรมเนียมโอนเงิน ธ.ก.ส. ให้เกษตรกรชาวสวนยาง 5 บาทต่อราย จำนวน 9.4 ล้านบาท 4) งบบริหารโครงการ จำนวน 77 ล้านบาท (ทุกรายการถัวจ่ายตามจริง) แหล่งที่มางบประมาณ 1) งบประมาณประกันรายได้ใช้เงินทุน ธ.ก.ส. สำรองจ่ายแทนรัฐบาลไปก่อน และให้ ธ.ก.ส. เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และปีถัด ๆ ไป ตามขั้นตอนต่อไป โดยรัฐบาลชำระคืนต้นเงินและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการทั้งหมดภายใน 5 ปี ปีละ 1,900 ล้านบาท ยกเว้นปีที่ 5 จ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมด (2,183.61 ล้านบาท) 2) ค่าบริหารจัดการโครงการ โดยให้ กยท. เสนอขอรับจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นประจำปีงบประมาณ 2565 2. มอบหมายให้ กษ. โดย กยท. หารือกับกระทรวงการคลัง (กค.) และสำนักงบประมาณ (สงป.) เกี่ยวกับงบประมาณในการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 ให้ชัดเจนก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป 19. เรื่อง ขออนุมัติวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 เพิ่มเติม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการกรอบวงเงินงบประมาณ ตามที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 เพิ่มเติมจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 วงเงินรวมทั้งสิ้น 76,080.95 ล้านบาท (วงเงินจ่ายชดเชยให้เกษตรกรจำนวน 74,569.31 ล้านบาท และค่าใช้จ่าย ธ.ก.ส. จำนวน 1,511.64 ล้านบาท) ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ โดยในส่วนของการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และในส่วนค่าชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ให้ พณ. รับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป เรื่องเดิม กระทรวงพาณิชย์ มีหนังสือลงวันที่ 21 กันยายน 2564 ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเรียนคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 วงเงินจ่ายขาด 89,306.39 ล้านบาท มาตรการคู่ขนานฯ วงเงินจ่ายขาด 6,955.98 ล้านบาท และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 วงเงินจ่ายขาด 54,972.72 ล้านบาท รวมวงเงินจ่ายขาดทั้งสิ้น 151,235.09 ล้านบาท ตามมติ นบข. เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 โดยขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณจ่ายขาดเบื้องต้น 18,378.90 ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 และมีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รวม 3 โครงการ (ประกอบด้วย โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2564/65 โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก ปีการผลิต 2564/65) วงเงินจ่ายขาดเบื้องต้น รวมทั้งสิ้น 18,000 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอเพิ่มเติม เพื่อให้เป็นไปตามมติ นบข. เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 พณ. จึงมีหนังสือลงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ขออนุมัติกรอบวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 เพิ่มเติม และคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 มีมติมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาจัดหาแหล่งเงินเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการประกันรายได้เพิ่มเติม ภายใต้กรอบวงเงินจำนวน 76,080.95 ล้านบาท โดยดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ตลอดจนกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง สาระสำคัญ กระทรวงพาณิชย์ ได้ประชุมหารือร่วมกับผู้แทนกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีแนวทางการจัดหาแหล่งเงินฯ ดังนี้ (1) คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐพิจารณาเพิ่มอัตรายอดคงค้างที่กำหนดไว้ในมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 (2) เงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (3) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (4) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) รายงานลดยอดภาระการคลังตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับโครงการทุกโครงการที่สิ้นสุดระยะเวลาการดำเนินโครงการแล้วเพื่อลดยอดคงค้างนำมาใช้จ่ายในโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ได้มีหนังสือถึงกระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ขอกระทรวงการคลังพิจารณาจัดสรรเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 จำนวน 76,080.95 ล้านบาท แล้ว โดยกระทรวงพาณิชย์ พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อดำเนินการเป็นไปตามนัยมติ นบข. เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 ให้เกษตรกรมีรายได้จากการจำหน่ายข้าวเปลือกในราคาที่เหมาะสมและสามารถป้องกันความเสี่ยงในการจำหน่ายผลผลิต และช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงการชะลอตัวของเศรษฐกิจจากผลกระทบของสถานการณ์ Covid - 19 ในขณะนี้ อันจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวตามนโยบายของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา จึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณตามที่ นบข. ได้เห็นชอบแล้ว 20. เรื่อง โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงบประมาณ (สงป.) พณ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาจัดหาแหล่งเงิน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายตามโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ภายใต้กรอบวงเงินรวมทั้งสิ้น 54,972.72 ล้านบาท โดยในส่วนของการเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และในส่วนค่าชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส. ให้เป็นไปตามความเห็นของกระทรวงการคลัง สาระสำคัญของเรื่อง พณ. รายงานว่า 1. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ดังนี้ รายการ รายละเอียด วัตถุประสงค์ (1) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ (2) เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น (3) เพื่อให้เกษตรกรมีกำลังใจในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรประมาณ 4.69 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ วิธีการดำเนินการ กรมส่งเสริมการเกษตรนำข้อมูลรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65 ส่งให้ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่ เพื่อดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือให้เกษตรกรในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท วงเงินงบประมาณ วงเงินจ่ายขาดรวม 54,972.72 ล้านบาท จำแนกเป็น (1) งบประมาณจ่ายขาดให้เกษตรกรวงเงิน 53,871.84 ล้านบาท (2) ค่าชดเชยต้นทุนเงิน ธ.ก.ส. ในอัตราร้อยละ 2 [(ต้นทุนทางการเงินของ ธ.ก.ส. ประจำไตรมาส (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 1) บวก 1] วงเงิน 1,077.44 ล้านบาท (3) ค่าบริหารจัดการของ ธ.ก.ส. รายละ 5 บาท เป็นวงเงิน 23.44 ล้านบาท หมายเหตุ : ธ.ก.ส. ขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และปีถัด ๆ ไป เพื่อรัฐบาลชำระคืนต้นเงินและค่าใช้จ่ายที่กิดขึ้นจริงจากการดำเนินโครงการ ระยะเวลาดำเนินการ ระยะเวลาการจ่ายเงิน : เดือนกันยายน 2564 - เมษายน 2565 ระยะเวลาโครงการ : เดือนสิงหาคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2565 ประโยชน์ของโครงการ (1) สามารถลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ส่วนเหลือเพิ่มขึ้นทำให้มีอำนาจการใช้จ่ายภาคครัวเรือนของเกษตรกรและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (2) กระตุ้นการใช้จ่ายในระดับเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นการเพิ่มการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศ (3) เกษตรกรจะมีเงินไว้สำหรับใช้จ่ายภายในครัวเรือน เช่น การซื้อของใช้ภายในชีวิตประจำวันต่าง ๆ เป็นต้น 21. เรื่อง (ร่าง) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2564 - 2565) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ (แผนฯ) (พ.ศ. 2564 - 2565) ตามที่คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) เสนอและให้คณะอนุกรรมการฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สาระสำคัญ (ร่าง) แผนฯ (พ.ศ. 2564 - 2565) สรุปได้ ดังนี้ วิสัยทัศน์ เข้มแข็งจากภายใน ฟื้นตัวอย่างมีความรับผิดชอบ จุดเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของภูมิภาค (Strength from within - responsibility recovery, regional tourism connectivity) เป้าหมาย - การท่องเที่ยวในประเทศมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้น - ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวคุณภาพ - ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงการท่องเที่ยวของภูมิภาค ตัวชี้วัด - ค่าใช้จ่ายต่อคนต่อทริปของนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี - อัตราการขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางผ่านแดนระหว่างประเทศไทยและประเทศในอาเซียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ต่อปี ประเด็นพัฒนาที่ 1 พัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว ผู้ผลิตและขายสินค้า บริการ และผู้ประกอบการ ให้สามารถปรับตัวกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง แนวทาง : - ผลักดันมาตรการเยียวยา ฟื้นฟูผู้ประกอบการและบุคลากร รวมทั้งส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถปรับตัวสู่ธุรกิจใหม่ตามแนวโน้มความต้องการในอนาคต - ยกระดับมาตรฐาน สร้างมูลค่าการท่องเที่ยว รวมทั้งการฟื้นฟูและรักษาแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรม หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) หน่วยงานสนับสนุน : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักนายกรัฐมนตรี และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) (สสปน.) ตัวอย่างโครงการ : โครงการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านการเป็นสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ (กก.) โครงการศึกษาการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ (กก.) โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกครบวงจร (สธ.) . ประเด็นพัฒนาที่ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวและเติบโตของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แนวทาง : - พัฒนาเมืองน่าอยู่ โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล และส่งเสริมให้แหล่งท่องเที่ยวและผู้ประกอบการปรับตัวสู่ Tourism 4.0 - ส่งเสริมการพัฒนา และประยุกต์ใช้โครงสร้างพื้นฐานของรัฐให้สอดคล้องกับสถานการณ์ - สนับสนุนการเพิ่มเติม ปรับปรุงกฎระเบียบและสถาบันที่เกี่ยวข้องให้เอื้อต่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กก. กระทรวงคมนาคม (คค.) หน่วยงานสนับสนุน : กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) มท. สธ. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และ สสปน. ตัวอย่างโครงการ : โครงการสร้างต้นแบบเมืองท่องเที่ยวที่ปลอดภัย (กก.) โครงการพัฒนาและยกระดับข้อมูลดิจิทัลด้านการท่องเที่ยว (กก.) โครงการผ่อนผันมาตรฐานอาคารเพื่อให้โรงแรมขนาดเล็กได้ขึ้นทะเบียนโรงแรม (มท.) ประเด็นพัฒนาที่ 3 พัฒนาบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ แนวทาง : - ยกระดับสถาบันการศึกษาที่พัฒนาบุคลากรระดับบริหารจัดการการท่องเที่ยว - ผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชนในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้กับผู้ประกอบการและแรงงาน หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กก. หน่วยงานสนับสนุน : อว. มท. วธ. กระทรวงแรงงาน ศธ. สธ. สสปน. และ อปท. ตัวอย่างโครงการ : โครงการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่บุคลากรและผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG (กก.) โครงการศึกษาแนวทางสร้างแรงจูงใจในการสร้างความร่วมมือของภาคเอกชนเพื่อเข้าร่วมพัฒนาบุคลากรด้านการท่องเที่ยว (กก.) โครงการพัฒนาหลักสูตรอบรม Online เพื่อเสริมสร้างนวัตกรรมในการสื่อสารให้ผู้ประกอบการ (อว.) ประเด็นพัฒนาที่ 4 พัฒนากระบวนการในการปรับภาพลักษณ์การท่องเที่ยวไทย เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผ่านการตลาด แนวทาง : - ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศ บริหารภาพลักษณ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่แตกต่าง และปลอดภัย - ส่งเสริมให้เกิดการทำงานร่วมกับเครือข่ายในห่วงโซ่การท่องเที่ยว การทำการตลาดล่วงหน้า การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้เทคโนโลยีทำการตลาดและสร้างประสบการณ์ท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กก. หน่วยงานสนับสนุน : กต. สธ. ตช. และ สสปน. ตัวอย่างโครงการ : โครงการเราเที่ยวด้วยกัน (กก.) โครงการพัฒนาความร่วมมือภายในภูมิภาคอาเซียนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภูมิภาค (กก.) โครงการขยายตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มความสนใจพิเศษ (กก.) แผนงานประมูลสิทธิ์และดึงงานสำคัญระดับนานาชาติ (สสปน.) ประเด็นพัฒนาที่ 5 พัฒนาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน แนวทาง : - ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพและบทบาทหน้าที่ของท้องถิ่นในการกำกับดูแลและกำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณะและบริหารจัดการเชิงพื้นที่ที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยว - ส่งเสริมการพัฒนาระบบการเตรียมความพร้อมและการใช้ข้อมูล เทคโนโลยี นวัตกรรมในการบริหารจัดการภาวะวิกฤตและส่งเสริมให้เขตพัฒนาการท่องเที่ยวมีประสิทธิภาพในการวางแผนบริหารจัดการ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก : กก. หน่วยงานสนับสนุน : กต. คค. ดศ. มท. สธ. สสปน. และ อปท. ตัวอย่างโครงการ : โครงการยกระดับการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมสู่เส้นทางท่องเที่ยวสุขภาพดี (สธ.) โครงการศึกษาและจัดทำเครื่องมือสร้างแบบจำลองทางเศรษฐศาสตร์เพื่อการวางแผนและประเมินสถานการณ์การท่องเที่ยว (กก.) โครงการคลังข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ Big Data เพื่อบูรณาการการพัฒนา (กก.) 22. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2564 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้ 1. อนุมัติให้กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย เพิ่มเติม จำนวน 12 ล้านโดส (Sinovac) (โครงการจัดหาวัคซีน Sinovac) โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการจัดหาวัคซีน Sinovac จากเดิมสิ้นสุดเดือนตุลาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เนื่องจากปัญหาความล่าช้าของการส่งมอบวัคซีนจากต่างประเทศ และมอบหมายให้กรมควบคุมโรคเร่งรัดการดำเนินโครงการจัดหาวัคซีน Sinovac ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งเร่งดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการต่อไป 2. อนุมัติให้กรมการจัดหางานปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs (โครงการส่งเสริมธุรกิจ SMEs) เพื่อให้การดำเนินโครงการส่งเสริมธุรกิจ SMEs บรรลุตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งธุรกิจ SMEs สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้กรมการจัดหางานเร่งรัดการดำเนินโครงการส่งเสริมธุรกิจ SMEs ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งเร่งดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการต่อไป 3. มอบหมายให้กรมการจัดหางานกำหนดให้มีกลไกการตรวจสอบสภาพการจ้างงานใหม่กรณีที่เป็นลูกจ้างรายวันจากฐานข้อมูลเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก โดยการจ่ายเงินอุดหนุนจากรัฐผ่านโครงการส่งเสริมธุรกิจ SMEs ต้องอยู่บนเงื่อนไขของการให้เงินอุดหนุนตามจำนวนลูกจ้างรายวัน 1 ราย ต่อ 1 นายจ้าง เท่านั้น พร้อมทั้งเห็นควรให้กรมการจัดหางานพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดำเนินการดังกล่าวในรายละเอียดตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขดังกล่าวจะครอบคลุมสำหรับนายจ้างที่ได้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการรอบที่ 2 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ด้วย 4. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 1 (30 กรกฎาคม - 31 ตุลาคม 2564) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. โดยเคร่งครัด เพื่อให้การใช้จ่ายเงินกู้ การจัดหาเงินและการจัดสรรเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 23. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รวม 2 ฉบับ คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้เสนอรัฐสภาทราบต่อไป สาระสำคัญของรายงาน 1. รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 1.1 ความเป็นมาและข้อเท็จจริง พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 บัญญัติให้ กค. โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้เงินหรือออกตราสารหนี้ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย เพื่อนำไปใช้ในแผนงานหรือโครงการตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ วงเงินรวมไม่เกิน 1 ล้านล้านบาท โดยต้องลงนามในสัญญากู้เงินหรือออกตราสารหนี้ภายในวันที่ 30 กันยายน 2564 และตามมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 บัญญัติให้ภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณให้ กค. รายงานการกู้เงินตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ในปีงบประมาณที่ล่วงมาแล้วให้รัฐสภาทราบ โดยรายงานดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดของการกู้เงิน วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ รวมถึงผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับหรือคาดว่าจะได้รับ 1.2 รายละเอียดการกู้เงินภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 กค. ได้ลงนามในสัญญากู้เงินและออกตราสารหนี้ วงเงินรวม 987,012.41 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 98.70 ของวงเงินกู้ตามพระราชกำหนด โดยเป็นการกู้เงินในปีงบประมาณ 2564 จำนวน 613,251.41 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1) ตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 220,000 ล้านบาท 2) สัญญากู้ยืมเงิน (Term Loan) จำนวน 130,745.46 ล้านบาท 3) พันธบัตรออมทรัพย์ จำนวน 110,000 ล้านบาท 4) พันธบัตรรัฐบาล จำนวน 107,000 ล้านบาท และ 5) เงินกู้ต่างประเทศ จำนวน 45,505.95 ล้านบาท 1.3 วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ จำนวน 1,151 โครงการ โดยมีหน่วยงานที่ขอยกเลิกโครงการเนื่องจากไม่สามารถดำเนินการได้ในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำนวน 21 โครงการ คงเหลือโครงการที่ดำเนินการและใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 จำนวน 1,130 โครงการ วงเงินรวม 987,012.41 ล้านบาท โดยหน่วยงานได้เบิกจ่ายเงินกู้แล้ว จำนวน 870,083.29 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88.15 ของวงเงินอนุมัติ ประกอบด้วย 3 แผนงานหรือโครงการ ดังนี้ (1) แผนงานที่ 1 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงินกู้ 45,000 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้นำวงเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 2 และแผนงานที่ 3 มาใช้ในแผนงานที่ 1 เพิ่มเติมรวม 18,897.99 ล้านบาท ทำให้แผนงานที่ 1 มีวงเงินกู้เพิ่มขึ้นรวม 63,897.99 ล้านบาท โดยเป็นการใช้จ่ายสำหรับโครงการเพื่อให้บริการด้านสาธารณสุข เช่น การรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อ COVID-19 การตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง และการให้ปริมาณการฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 การจ้างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคในระดับหมู่บ้านและชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้ หน่วยงานมีการเบิกจ่ายเงินกู้แล้วรวม 50,216.93 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 78.59 ของวงเงินอนุมัติ (2) แผนงานที่ 2 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงินกู้ 555,000 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้นำวงเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3 มาใช้ในแผนงานที่ 2 และให้นำวงเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 2 ไปใช้ในแผนงานที่ 1 รวม 5,871.87 ล้านบาท ทำให้แผนงานที่ 2 มีวงเงินกู้เพิ่มขึ้นรวม 709,059.02 ล้านบาท โดยเป็นการใช้จ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือ เยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ทั้งกลุ่มอาชีพอิสระ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มผู้ประกันตนที่อยู่ในระบบประกันสังคม รวมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานโดยการให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาให้กับผู้ใช้บริการประเภทบ้านพักอาศัยและสถานประกอบการขนาดเล็ก ทั้งนี้ หน่วยงานมีการเบิกจ่ายเงินกู้แล้วรวม 694,602.32 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 97.96 ของวงเงินอนุมัติ (3) แผนงานที่ 3 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ไดรับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงินกู้ 400,000 ล้านบาท โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้นำวงเงินกู้ภายใต้แผนงานที่ 3 ไปใช้ในแผนงานที่ 1 และแผนงานที่ 2 รวม เพิ่มเติมรวม 172,957.01 ล้านบาท ทำให้แผนงานที่ 3 คงเหลือวงเงินกู้ 227,042.99 ล้านบาท และมีแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติจำนวน 214,055.40 ล้านบาท โดยเป็นการใช้จ่ายเงินกู้ในแผนงานและโครงการเพื่อฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมและกระตุ้นการบริโภคของภาคเอกชน การฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชนผ่านการสร้างงาน สร้างอาชีพ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานฯ ทั้งนี้ หน่วยงานมีการเบิกจ่ายเงินกู้แล้วรวม 125,264.04 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58.52 ของวงเงินอนุมัติ 1.4 ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับจากการกู้เงิน การดำเนินงานตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 มีโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 161 โครงการ แบ่งเป็นโครงการภายใต้แผนงานที่ 1 รวม 14 โครงการ แผนงานที่ 2 รวม 17 โครงการ และแผนงานที่ 3 รวม 130 โครงการ 1.5 การดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กค. โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจะทยอยดำเนินการประเมินผลโครงการที่แล้วเสร็จตามกำหนดเวลาของโครงการ โดยจะเสนอผลการประเมินตลอดจนผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่เหลือในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และรายงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป 2. รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้ เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 2.1 ความเป็นมาและข้อเท็จจริง พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 บัญญัติให้ กค. โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศหรือออกตราสารหนี้ ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย ภายในวันที่ 30 กันยายน 2565 เพื่อนำไปใช้ในแผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ วงเงินรวมไม่เกิน 5 แสนล้านบาท และตามมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 บัญญัติให้การดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารและจัดการการกู้เงิน การเบิกจ่ายเงินกู้ การชำระหนี้ การรายงานการกู้เงิน และการอื่นใดที่เกี่ยวกับการกู้เงินตามพระราชกำหนดนี้ให้นำความในมาตรา 9 และมาตรา 10 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 มาใช้บังคับด้วยอนุโลม 2.2 รายละเอียดของการกู้เงินภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 กค. ได้ดำเนินการกู้เงินแล้ว จำนวน 144,166.35 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 28.83 ของวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยการออกตราสารหนี้ในนามรัฐบาล ประกอบด้วยตั๋วสัญญาใช้เงิน จำนวน 114,166.35 ล้านบาท และพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 30,000 ล้านบาท ซึ่ง กค. จะทยอยกู้เงินเมื่อคณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการเพิ่มเติมตามความจำเป็นและความสอดคล้องกับการใช้เงินของโครงการต่อไป 2.3 วัตถุประสงค์ของการใช้จ่ายเงินกู้ คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ จำนวน 18 โครงการ วงเงินรวม 144,166.35 ล้านบาท แบ่งเป็นแผนงานและโครงการภายใต้แผนงานที่ 1 จำนวน 3 โครงการ วงเงิน 18,372.04 ล้านบาท และแผนงานที่ 2 จำนวน 15 โครงการ วงเงิน 125,794.31 ล้านบาท ซึ่งหน่วยงานได้เบิกจ่ายเงินกู้แล้วจำนวน 109,835.74 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 76.19 ของวงเงินอนุมัติ ประกอบด้วย 2 แผนงานหรือโครงการ ดังนี้ (1) แผนงานที่ 1 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงินกู้รวม 30,000 ล้านบาท โดยเป็นการใช้จ่ายสำหรับโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อให้บริการกับประชาชน เพิ่มเติม จำนวน 41,999,970 โดส หน่วยงานมีการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้โครงการแล้ว จำนวน 4,090.32 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 22.26 ของวงเงินอนุมัติ (2) แผนงานที่ 2 แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 วงเงินกู้ 300,000 ล้านบาท โดยเป็นการใช้จ่ายสำหรับโครงการให้การสนับสนุนเงินช่วยเหลือเพื่อลดภาระค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายของประชาชน ทั้งในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การประกอบธุรกิจ และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้กับผู้ปกครองในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หน่วยงานมีการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้โครงการแล้ว จำนวน 105,745.42 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84.06 ของวงเงินอนุมัติ 2.4 ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่ได้รับจากการกู้เงิน คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนงานหรือโครงการที่ใช้จ่ายเงินกู้ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ ตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2564 จำนวน 18 โครงการ วงเงินรวม 144,166.35 ล้านบาท และหน่วยงานได้เบิกจ่ายเงินกู้แล้วจำนวน 109,835.75 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 76.19 ของวงเงินอนุมัติ โดยทุกโครงการยังคงมีสถานะอยู่ระหว่างการเบิกจ่ายเงินกู้ เช่น โครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชาชนในประเทศไทย เพิ่มเติม โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เป็นต้น โดยทุกโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสายอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมุ่งเน้นการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพื่อให้บริการกับประชาชน การสนับสนุนเงินช่วยเหลือเพื่อลดภาระค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายของประชาชนทั้งในด้านการดำรงชีวิตประจำวัน การประกอบธุรกิจ และค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้กับผู้ปกครองในช่วงที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2.5 การดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เนื่องจากยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการและอยู่ระหว่างพิจารณาเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินโครงการ ซึ่ง กค. จะรายงานผลการกู้เงินและผลสัมฤทธิ์เมื่อโครงการดังกล่าวดำเนินการแล้วเสร็จต่อไป 24. เรื่อง การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ออกไปอีก 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 และสิ้นสุดในวันที่ 31 มกราคม 2565 ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด ? 19 (ศปก.ศบค.) เสนอ เรื่องเดิม เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 14) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 พฤจิกายน 2564 เพื่อขยายระยะเวลาการบังคับใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด - 19 ในประเทศ การดำเนินการที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจุบันการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใกล้จะสิ้นสุดลง สมช. ในฐานะ ศปก.ศบค. ได้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (ศบค.) ครั้งที่ 19/2564 เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินออกไปเป็นคราวที่ 15 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 22565 โดยมีเหตุผลและความจำเป็นตามสรุปสาระสำคัญของการประชุมรายละเอียด ดังนี้ 1. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโดยสถานการณ์ในระดับโลก ยังคงน่าห่วงกังวลโดยเฉพาะในยุโรป เนื่องจากกำลังเผชิญการระบาดระลอกใหม่หลายประเทศ โดยระหว่างวันที่ 2 - 7 พฤศจิกายน 2564 มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 2 ล้านคน สำหรับสถานการณ์ประเทศรอบบ้านดีขึ้นตามลำดับ โดยในหลายประเทศได้มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรค และเริ่มเปิดประเทศเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยว สำหรับสถานการณ์ในไทย อัตราการติดเชื้อยังคงที่ โดยผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ลักษณะการติดเชื้อมาจากการสัมผัสใกล้ชิดในครอบครัว สถานประกอบการ โรงเรียน แคมป์ก่อสร้าง ตลาด ชุมชน และการรวมกลุ่มสังสรรค์ และยังคงพบเชื้อจากผู้ที่เดินทางจากต่างประเทศและการลักลอบเข้าเมืองอย่างต่อเนื่อง 2. สำหรับแนวโน้มสถานการณ์การแพร่ระบาดในระยะต่อไป ศบค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องด้วยการพิจารณาการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในคราวที่ 15 นี้ มีช่วงระยะเวลาคาบเกี่ยวกับเทศกาลปีใหม่ รวมถึงเป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะนำ (ร่าง) พระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมมาใช้แทนกลไกที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นการบริหารจัดการโรคระบาดในระยะยาว จึงเห็นควรพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ครั้งที่ 15 ออกไปอีก 2 เดือน (1 ธันวาคม 2564 - 31 มกราคม 2565) 3. มติของที่ประชุม ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 15) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 ต่างประเทศ 25. เรื่อง ถ้อยแถลงร่วมของการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยความร่วมมือด้านวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 1 (First Meeting of the International Forum on COVID-19 Vaccine Cooperation) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อถ้อยแถลงร่วมของการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยความร่วมมือด้านวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ครั้งที่ 1 (First Meeting of the International Forum on COVID-19 Vaccine Cooperation) (ถ้อยแถลงร่วมฯ) [รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวสนับสนุนในหลักการของถ้อยแถลงร่วมฯ ไปแล้ว ในการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยความร่วมมือด้านวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครั้งที่ 1 (การประชุมฯ) เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล] ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง กต. รายงานว่า 1. การประชุมฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564 เวลา 19.00 นาฬิกา ตามเวลาประเทศไทย ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีนายหวัง อี้ มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) เป็นประธานและมีผู้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ประกอบด้วยผู้แทนจากภาครัฐ 23 ประเทศ และองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ซึ่งการประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการผลิตวัคซีนและความร่วมมือด้านเทคโนโลยีในการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้วัคซีนเป็นสินค้าสาธารณะที่สามารถเข้าถึงได้และมีราคาที่จัดหาได้มากขึ้นในประเทศกำลังพัฒนา และเพื่อระดมความเห็นเพื่อสนับสนุนประชาคมโลกในการเอาชนะโควิด-19 โดยสาระสำคัญของการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้ 1.1 จีนจะจัดหาวัคซีนให้กับประชาคมโลกจำนวน 2 พันล้านโดส ภายในปี 2564 และจะให้เงินสนับสนุนจำนวน 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แก่กลไก COVAX Facility เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงวัคซีนที่เท่าเทียม นอกจากนี้ จีนสนับสนุนให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นสินค้าสาธารณะของโลก และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านวัคชีนป้องกันโควิด-19 1.2 รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวถ้อยแถลงในนามผู้แทนประเทศไทย โดยสนับสนุนให้วัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นสิ่งจำเป็นทางมนุษยธรรมและเรียกร้องให้ประเทศที่มีวัคซีนส่วนเกินสนับสนุนวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผ่านกรอบทวิภาคีและพหุภาคี เช่น กลไก COVAX Facility นอกจากนี้นานาชาติและบริษัทผลิตวัคซีน รวมถึงสถาบันการเงิน ควรส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 เพื่อเพิ่มอุปทานวัคซีนของโลก และเสนอแนะให้นานาชาติพิจารณาแนวทางการเตรียมความพร้อมและการรับมือกับโรคระบาดในอนาคต 1.3 ที่ประชุมมีความเห็นพ้อง ดังนี้ (1) การกลายพันธุ์ของไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งท้าทายที่ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อสูงขึ้น จึงจำเป็นต้องพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ทันกับการกลายพันธุ์ผ่านการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน (2) สนับสนุนให้มีการหารือการยกเว้นสิทธิบัตรทางปัญญาของวัคซีนป้องกัน โควิด-19 ภายต้องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) รวมถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ควรเป็นสินค้าสาธารณะของโลกที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาและรายได้น้อย (3) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการต่อสู้และรับมือกับโควิด-19 และเรียกร้องการไม่เลือกปฏิบัติในการอนุมัติวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดต่าง ๆ สำหรับการเดินทางระหว่างประเทศ ซึ่งควรใช้มาตรฐานของ WHO เป็นหลัก 2. การรับรองถ้อยแถลงร่วมฯ ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ เพื่อเน้นย้ำว่าวัคซีนป้องกันโควิด-19 เป็นสินค้าสาธารณะของโลก และความสำคัญของแนวคิดวัคซีนพหุภาคีนิยม ข้อสนับสนุน/ส่งเสริม 1. สนับสนุน WHO ในการผลักดันการเข้าถึงวัคซีนป้องกันโควิด-19 ผ่านกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ ได้แก่ (1) ข้อริเริ่ม ACT-Accelerator และ (2) กลไก COVAX Facility 2. ให้ประเทศผู้ผลิตวัคซีนที่มีศักยภาพให้การสนับสนุนวัคซีนป้องกันโควิด-19 แก่กลไก COVAX Facility 3. เสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศโดยการศึกษาวิจัย พัฒนา และแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีร่วมกันเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตวัคซีนของประเทศกำลังพัฒนา 4. การมีส่วนร่วมของบริษัทผู้ผลิตวัคซีนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการเพิ่มกำลังการผลิตและจัดสรรวัคซีน ตลอดจนร่วมกันผลักดันการจัดสรรวัคซีนที่เป็นธรรมและสามารถจัดซื้อได้ทันต่อสถานการณ์ ข้อเรียกร้อง 1. ให้ทุกประเทศร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 โดยการวิจัย พัฒนา และผลิตวัคซีนตามมาตรฐานของ WHO 2. ให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อใช้ในการจัดซื้อวัคซีนป้องกันโควิด-19 3. ให้มีการส่งเสริมกลไกความร่วมมือระหว่างประเทศและการทำงานร่วมกันในการปฏิเสธวัคซีนชาตินิยม และยกเลิกมาตรการจำกัดการส่งออกวัคซีนและส่วนประกอบที่เกี่ยวข้อง 4. ให้ประเทศต่าง ๆ ให้การสนับสนุนการยกเว้นการปฏิบัติตามพันธกรณีของข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการในกรอบ WTO 5. ให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ที่กำลังพิจารณาผ่อนคลายกฎระเบียบในการอนุญาตเดินทางเข้าประเทศ ปฏิบัติตามหลักของความเป็นธรรม ความเท่าเทียม และการไม่เลือกปฏิบัติ รวมทั้งข้อเสนอแนะของ WHO ที่อยู่บนหลักของวิทยาศาสตร์และความสำคัญของการขึ้นทะเบียนการใช้วัคซีนป้องกันโควิด-19 แบบฉุกเฉิน ทั้งนี้ กต. (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) เห็นว่า ถ้อยแถลงร่วมฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรการ 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 26. เรื่อง ผลการประชุมความร่วมมือระดับสูงระหว่างไทย-มณฑลกวางตุ้ง ครั้งที่ 1 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการประชุมความร่วมมือระดับสูงระหว่างไทย-มณฑลกวางตุ้ง ครั้งที่ 1 และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งรัดปฏิบัติตาม ผลการประชุมฯ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง กต. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้เป็นประธานการประชุมฯ ร่วมกับผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้ง (นายหม่า ซิงรุ่ย) ซึ่งฝ่ายกวางตุ้งเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้แทนระดับสูงและผู้แทนจากหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของทั้ง 2 ฝ่ายเข้าร่วมประชุมด้วย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ผลการประชุมฯ 1.1 ที่ประชุมฯ ได้หารือในเรื่องที่สำคัญ ได้แก่ (1) นโยบายและทิศทางความร่วมมือระหว่างไทยกับมณฑลกวางตุ้ง (2) การส่งเสริมความเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างกันเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (3) สาขาความร่วมมือและประเด็นเร่งด่วนที่ควรดำเนินการให้เป็นรูปธรรม (4) การแนะนำศักยภาพของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และเขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong-Hong Kong-Macao Greater Bay Area: GBA) และ (5) การจัดตั้งกลไกการติดตามผลการประชุมฯ 1.2 ฝ่ายไทยมีข้อเสนอในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ 1) การดำเนินนโยบาย 4 เชื่อม เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือในเชิงลึกระหว่างกัน ได้แก่ (1) ด้านนโยบาย เช่น การส่งเสริมความเชื่อมโยงเชิงยุทธศาสตร์ระหว่าง GBA และ EEC (2) ด้านกายภาพ เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมความเชื่อมโยงทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ (3) ด้านกฎระเบียบ เพื่อลดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี และ (4) ด้านประชาชน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของทั้ง 2 ฝ่าย 2) การติดตามผล 4 ช่องทาง ได้แก่ (1) การจัดทำแผนการเชื่อมโยงทางอุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทาน (2) การจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจและจัดทำบัญชีรายชื่อผู้ประกอบการของแต่ละฝ่ายในสาขาความร่วมมือที่กำหนด (3) การให้คู่เมืองพี่เมืองน้องของทั้ง 2 ฝ่ายจัดทำแผนกิจกรรมที่จะดำเนินการในระยะต่อไป และ (4) การขับเคลื่อนประเด็นเร่งด่วน เช่น การสร้างความเชื่อมโยงของห่วงโซ่การผลิตในสาขาอุปกรณ์ทางการแพทย์ ปัญญาประดิษฐ์ พลังงานทางเลือก การพัฒนาศักยภาพและเครือข่ายของผู้ประกอบการ และการประยุกต์ใช้ 5G ในภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม 3) การผลักดันความร่วมมือใน EEC ที่กวางตุ้งมีศักยภาพ ได้แก่ (1) อุตสาหกรรมยานยนต์พลังงานใหม่และยานยนต์อัจฉริยะ (2) อุตสาหกรรมดิจิทัล (3) อุตสาหกรรมและบริการด้านสุขภาพ (4) เมืองอัจฉริยะ และ (5) อุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว 4) การส่งเสริมการค้าในรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดนระหว่างกัน 1.3 ฝ่ายกวางตุ้งมีข้อเสนอในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ (1) การเสริมสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม เช่น สารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมสีเขียว ชีวการแพทย์และเมืองอัจฉริยะ (2) การส่งเสริมการค้าและการลงทุนผ่านมาตรการต่าง ๆ เช่น การใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (3) การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และการใช้ประโยชน์จากกรอบเมืองพี่เมืองน้องมากยิ่งขึ้น (4) การพัฒนากลไกความร่วมมือให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และ (5) การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันด้านเทคโนโลยีชีวการแพทย์ เมืองอัจฉริยะ การประยุกต์ใช้ 5G และปัญญาประดิษฐ์ 2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ มีนัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น การจัดทำแผนการเชื่อมโยงทางอุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทาน การจัดทำแผนกิจกรรมของแต่ละคู่ความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้อง การสนับสนุนความร่วมมือด้านพลังงาน และการส่งเสริมการค้าในรูปแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ข้ามพรมแดน จึงมีประเด็นที่ต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ยและนวัตกรรม (อว) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงพพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 27. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 11 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ครั้งที่ 11 และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการประชุมฯ ต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง กต. รายงานว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมฯ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ผลการประชุมฯ 1.1 ที่ประชุมฯ ชื่นชมพัฒนาการของกรอบความร่วมมือฯ ที่ก้าวหน้า โดยมีการยกระดับเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ในการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือฯ ครั้งที่ 2 ในปี 2563 โดยเกาหลีใต้ย้ำความสำคัญของกรอบความร่วมมือฯ ต่อการดำเนินนโยบายมุ่งใต้ใหม่พลัสและบทบาทของเกาหลีใต้ในการเป็นหุ้นส่วนที่น่าเชื่อถือสำหรับประเทศลุ่มน้ำโขงในสาขาความร่วมมือต่าง ๆ ซึ่งประเทศลุ่มน้ำโขงขอบคุณเกาหลีใต้ที่มีบทบาทด้านการพัฒนาที่สร้างสรรค์ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะการเพิ่มเงินสนับสนุนกองทุนความร่วมมือลุ่มน้ำโขง-เกาหลีใด้ (Mekong-Republic of Korea Cooperation Fund: MKCF) สำหรับปี 2564 จำนวน 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 1.2 ที่ประชุมฯ หารือเกี่ยวกับทิศทางความร่วมมือในอนาคต ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ 1. ด้านสาธารณสุข 1.1 ประเทศลุ่มน้ำโขงเสนอให้ส่งเสริมความร่วมมือด้านการแลกเปลี่ยน องค์ความรู้และประสบการณ์ การวิจัยและพัฒนา การผลิต และการกระจายวัคซีน โดยไทยได้ยกตัวอย่างความร่วมมือไตรภาคีเพื่อยกระดับความสามารถ ของบุคลากรและระบบสาธารณสุขของประเทศลุ่มน้ำโขง ภายใต้กลไกความร่วมมือระหว่างกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กต. กับองค์การความร่วมมือ ระหว่างประเทศเกาหลีใต้ 1.2 ไทย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม) และราชอาณาจักร กัมพูชา (กัมพูชา) ได้แสดงความยินดีต่อการประกาศตัวเป็น global vaccine hub ของเกาหลีใต้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพของความร่วมมือ สาขาดังกล่าวในอนุภูมิภาคฯ 2. การฟื้นฟูหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 2.1 ประเทศลุ่มน้ำโขงเสนอให้ส่งเสริมความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ (1) ความเชื่อมโยงทางกายภาพและดิจิทัล (2) การส่งเสริมบทบาทและการให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดย่อม และ (3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะด้านดิจิทัล 2.2 ไทย เกาหลีใต้ และกัมพูชา เสนอให้มีการอำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน และการเดินทาง โดยเกาหลีใต้ได้ชื่นชมโครงการ Phuket Sandbox ของไทยว่า เป็นตัวอย่างของข้อริเริ่มที่ดี และไทยเสนอให้มีการกำหนดช่องทางพิเศษสำหรับการเดินทางของนักธุรกิจ เพื่อเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประชาชนของประเทศลุ่มน้ำโขงกับเกาหลีใต้ 3. การบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืนและความยืดหยุ่นด้านสิ่งแวดล้อม เวียดนามเสนอความร่วมมือด้านการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพการแบ่งปันข้อมูลที่โปร่งใส และระบบการเตือนภัยล่วงหน้า รวมทั้งบทบาทด้านการวิจัยของศูนย์ Korea-Mekong Water Resources Collaboration Research Center และการทำงานร่วมกันกับคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง 4. การแลกเปลี่ยนระดับประชาชน ไทย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว) เห็นพ้องต่อข้อเสนอของเกาหลีใต้ในการขยายระยะเวลาปีแห่งการแลกเปลี่ยนลุ่มน้ำโขง-เกาหลีใต้ ค.ศ. 2021 ออกไปจนถึงปี 2565 โดยไทยได้เสนอให้มีการจัดทำแผนการดำเนินกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม โดยเน้นการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนและนักเรียน/นักศึกษาของประเทศลุ่มน้ำโขงและเกาหลีใต้ 5. การสอดประสานระหว่างกรอบความร่วมมือ/นโยบาย ต่าง ๆ ไทยและลาวเสนอให้มีการสอดประสานระหว่างกรอบความร่วมมือฯ กับกรอบความร่วมมืออื่น ๆ ในอนุภูมิภาคฯ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง นอกจากนี้ไทยยั่งเน้นการสอดประสานระหว่างนโยบายเศรษกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียวของไทยกับนโยบาย Green New Deal และ Digital New Deal ของเกาหลีใต้ 1.3 ที่ประชุมฯ หารือเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาค ดังนี้ (1) สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี โดยเกาหลีใต้ขอบคุณประเทศลุ่มน้ำโขงสำหรับการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในคาบสมุทรเกาหลี และย้ำความพยายามในการสนับสนุนกลไก Inter-Korean Dialogue ซึ่งกัมพูชาและลาวย้ำความสำคัญของการทูตและการเจรจาเพื่อบรรลุการขจัดอาวุธนิวเคลียร์อย่างสมบูรณ์ (2) สถานการณ์ในเมียนมา โดยเกาหลีใต้ กัมพูชา และลาวสนับสนุนบทบาทของผู้แทนพิเศษของประธานอาเซียนและการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อของอาเชียน ในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ในเมียนมาให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว โดยเกาหลีใต้ย้ำการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของเกาหลีใต้แก่เมียนมา (3) สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ โดยเกาหลีใต้ย้ำความสำคัญของเสรีภาพในการเดินเรือในทะเลจีนใต้และหลักการของกฎหมายระหว่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับสากล รวมทั้งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 และหวังจะเห็นความคืบหน้าที่สร้างสรรค์ของแนวปฏิบัติ 1.4 ที่ประชุมฯ ได้รับรองถ้อยแถลงของประธานร่วมการประชุมฯ โดยมีการเพิ่มรายละเอียดโครงการภายใต้กองทุน MKCF ครั้งที่ 5 ประจำปี 2564 จำนวน 7 โครงการ และความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมเพิ่มเติมของเกาหลีใต้แก่เมียนมาในการรับมือกับโรคโควิด-19 ทั้งนี้ สาระสำคัญของเอกสารไม่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบไว้แล้ว 1.5 กต. มีข้อสังเกตและข้อสนเทศเพิ่มเติม ว่า บรรยากาศการประชุมฯ เป็นไปอย่างราบรื่นและเป็นมิตร ซึ่งสะท้อนความมุ่งมั่นของเกาหลีใต้ในการรักษาบทบาทหุ้นส่วน เพื่อการพัฒนาที่สร้างสรรค์ของ อนุภูมิภาคฯ บนพื้นฐานของความเท่าเทียมและความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ เกาหลีใต้ยังได้เสนอให้มีกิจกรรมใหม่ที่เน้นการส่งเสริมความสัมพันธ์ระดับประชาชนภายใต้ปีแห่งการแลกเปลี่ยนลุ่มน้ำโขง-เกาหลีใต้ ค.ศ. 2021 เพื่อขับเคลื่อนกรอบความร่วมมือฯ ในเชิงรุก 2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานในอนาคตของกรอบความร่วมมือฯ ซึ่งมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น การแลกเปลี่ยนระดับประชาชน โดยเฉพาะเยาวชนและนักเรียน/นักศึกษาของประเทศลุ่มน้ำโขงและเกาหลีใต้ การเสริมสร้างองค์ความรู้และทักษะด้านดิจิทัล การยอมรับเอกสารการเดินทางซึ่งกันและกัน และการแบ่งปันข้อมูลด้านการบริหารจัดการน้ำที่โปร่งใส จึงมีประเด็นที่ต้องมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป 28. เรื่อง การจัดทำแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2021-2023) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2021-2023) โดยหากมีการแก้ไขร่างแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2021-2023) ที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาและดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง พร้อมให้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้ลงนามร่างแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2021-2023) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ร่างแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย ? ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2021-2023) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบกำหนดแนวทางการดำเนินความร่วมมือระหว่างไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสในระยะ 3 ปี โดยเน้นความร่วมมือบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ภายใต้บริบทสังคมและเศรษฐกิจในปัจจุบัน โดยคำนึงถึงยุทธศาสตร์ชาติของไทย การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ไทย ? ฝรั่งเศส ไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ภายในปี 2566 2. ร่างแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย ? ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2021-2023) ระบุความร่วมมือใน 4 ส่วนพร้อมภาคผนวกที่ระบุกิจกรรมที่ทั้งสองฝ่ายสามารถดำเนินการ ได้แก่ 2.1 ส่วนที่ 1 การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคง โดยยึดมั่นในหลักการอธิปไตยและความเป็นเอกราช พหุภาคีนิยม และระเบียบระหว่างประเทศบนพื้นฐานของกฎหมาย และมุ่งขยายความร่วมมือทางการเมือง ความมั่นคงและการป้องกันประเทศ โดยเฉพาะการต่อต้านภัยคุกคาม ในรูปแบบใหม่ อาทิ อาชญากรรมทางไซเบอร์ การก่อการร้าย ตลอดจนความร่วมมือเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย ทางถนน 2.2 ส่วนที่ 2 การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจะส่งเสริมการค้าการลงทุนระหว่างกัน โดยเฉพาะในสาขาหลัก อาทิ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG) Economy) เมืองอัจฉริยะ โครงสร้างพื้นฐานทางคมนาคม เศรษฐกิจเชิงนวัตกรรม (innovative economy) และเศรษฐกิจดิจิทัล 2.3 ส่วนที่ 3 การเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับประชาชน โดยจะกระชับสายสัมพันธ์ระหว่างประชาชน และเน้นความสำคัญที่การให้คนเป็นศูนย์กลาง การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์ ภาษาและวัฒนธรรม เพื่อสร้างสังคมที่ฟื้นตัวได้เร็ว ยั่งยืนและเท่าเทียม 2.4 ส่วนที่ 4 การส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นระดับโลก โดยให้ความสำคัญกับ ความร่วมมือเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในระดับทวิภาคี ภูมิภาค และระหว่างประเทศในประเด็นเร่งด่วน อาทิ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางสุขภาพ ความปลอดภัยอาหารและความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางพลังงาน การปกป้องสิ่งแวดล้อมและคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ และความเสมอภาคระหว่างเพศ ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันที่จะจัดการลงนามร่างแผนการ (Roadmap) ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนและกลุ่มประเทศ G7 (ASEAN-G7 Foreign Ministers? Meeting) ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11-12 ธันวาคม 2564 ณ เมืองลิเวอร์พูล สหราชอาณาจักร 29. เรื่อง การดำรงตำแหน่งประธานองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย วาระปี พ.ศ. 2564 ? 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอ เรื่อง การดำรงตำแหน่งประธานองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย วาระปี พ.ศ. 2564 ? 2567 ดังนี้ ด้วยองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย (Asian Organization of Supreme Audit Institutions) หรือ ASOSAI ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์เพื่อพัฒนาการตรวจเงินแผ่นดินในระดับภูมิภาคเอเชีย ปัจจุบัน ASOSAI มีประเทศสมาชิกทั้งสิ้น 47 ประเทศ และเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ทำหน้าที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชาองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชียครั้งที่ 15 (15th ASOSAI Assembly) ในรูปแบบออนไลน์ การประชุมสมัชชา ASOSAI ครั้งที่ 15 ที่ผ่านมา สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน โดย พลเอก ชนะทัพ อินทามระ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ได้รับมอบตำแหน่งประธานองค์การสถาบันการตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย (Chairman of ASOSAI) ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี (พ.ศ. 2564 ? 2567) และได้เห็นชอบร่วมกับประเทศสมาชิก ASOSAI ในปฏิญญากรุงเทพ 2564 (Bangkok Declaration 2021) ซึ่งเป็นปฏิญญาการตรวจเงินแผ่นดินสากล ที่จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนให้องค์กรตรวจเงินแผ่นดินเตรียมพร้อมรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปกติถัดไป (Next Normal) การดำรงตำแหน่งดังกล่าวส่งผลต่อความเชื่อมั่นของกระบวนการตรวจเงินแผ่นดินไทยและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของกลไกการสร้างภาระรับผิดชอบ (Accountability system) ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต 30. เรื่อง ผลการศึกษาและข้อเสนอด้านกฎหมายในการพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) เสนอผลการศึกษาและข้อเสนอด้านกฎหมายในการพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะกรรมการบริหารการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการที่สำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนที่เป็นวาระแห่งชาติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 และ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 เห็นชอบ เพื่อเสนอต่อสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ* ในช่วงการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 26 (COP26) ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม- 3 พฤศจิกายน 2664 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศเจตนารมณ์ในการประชุมดังกล่าวว่า ประเทศไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศอย่างเต็มที่เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี 2608 โดยผลการศึกษาและข้อเสนอด้านกฎหมายฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. ข้อผูกพันตามพันธกรณีระหว่างประเทศ ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างประเทศไทยในการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในภาพรวม เช่น กรอบความร่วมมือฯ/ปีที่ไทยเข้าเป็นภาคี แนวทางการดำเนินการตามกรอบความร่วมมือฯ 1.1 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) พ.ศ. 2537 - กำหนดให้ประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำร่องในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมให้มีการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา 1.2 พิธีสารเกียวโต พ.ศ. 2545 - พิธีสารเกียวโตอยู่ภายใต้กรอบ UNFCCC โดยกำหนดช่วงพันธกรณีแรกระหว่างปี 2551 ? 2555 และมีการขยายออกเป็นช่วงพันธกรณีสอง ปี 2556 ? 2563 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยโดฮา - กำหนดกลไกการลดการปล่อยก๊าซเรืนกระจก โดยมีข้อผูกพันทางกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรมสำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว (ระบุไว้ในภาคผนวกบีของพิธีสารเกียวโต) ซึ่งประเทศไทยไม่จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว จึงไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมายตามพิธีสารดังกล่าว แต่ประเทศไทยสามารถมีส่วนร่วมในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้กลไกการพัฒนาอากาศที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) 1.3 ความตกลงปารีส พ.ศ. 2559 - ความตกลงฯ อยู่ภายใต้กรอบ UNFCCC ที่มีผลใช้บังคับแทนพิธีสารเกียวโตโดยปรับเปลี่ยนแนวทางในการกำหนดพันธกรณีจากเดิมที่กำหนดเป้าหมายปริมาณที่ต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เป็นการกำหนดเป้าหมายร่วมกันของรัฐภาคีทั้งหมดให้มีส่วนร่วมในการบรรเทาภาวะเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยให้แต่ละประเทศกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ และรายงานให้รัฐภาคีอื่นทราบทุก 5 ปี - การบังคับใช้ความตกลงปารีสแทนพิธีสารเกียวโตส่งผลให้ทุกประเทศต้องเสนอแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (NDC) ซึ่งไทยได้แถลงว่า จะลดก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 20 ภายในปี 2573 และอาจลดก๊าซเรือนกระจกได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 หากสามารถเข้าถึงกลไกการสนับสนุนทางการพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี การเงิน และ การเสริมสร้างศักยภาพที่เพิ่มขึ้นและเพียงพอ 2. การใช้กลไกทางตลาดในการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สำนักงาน ป.ย.ป. ได้ศึกษาตลาดซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสหภาพยุโรป (EU Emission Trading System: EU ETS) ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สุดที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันโดยมีหลักการในการจัดตั้งตลาดภายใต้ระบบจำกัดและซื้อขาย (cap and trade system) กล่าวคือ มีการจำกัดสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสำหรับผู้ประกอบการที่ใช้ระบบนี้ (cap) และมีตลาดเป็นสื่อกลางในการซื้อขายสิทธิดังกล่าว (trade) โดยในแต่ละปีผู้ประกอบการจะได้รับการจัดสรรหรือต้องเข้าร่วมประมูลเพื่อการรับสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามที่ต้องการและเมื่อสิ้นสุดปีผู้ประกอบการจะต้องนำสิทธิที่มีอยู่มาเวนคืนในปริมาณเท่ากับปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นจริง หากมีสิทธิไม่เพียงพอ จะต้องชำระค่าปรับที่สูงมากให้แก่รัฐ ซึ่งเป็นการลงโทษ แต่ในทางกลับกันหากมีสิทธิเหลืออยู่สามารถเก็บสะสมไว้ใช้ในอนาคตหรือขายต่อให้แก่ผู้ประกอบการรายอื่นผ่าน EU ETS ทั้งนี้ การใช้ระบบการซื้อขายสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวมีข้อดี เช่น (1) รัฐสามารถควบคุมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมได้ค่อนข้างแม่นยำ และ (2) กระตุ้นให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3. การดำเนินงานที่ผ่านมาของประเทศไทย ปัจจุบันแนวทางการพัฒนาตลาดคาร์บอนของประเทศไทยเป็นรูปแบบของ "ความสมัครใจ" ของผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งการนำระบบตลาดคาร์บอนแบบบังคับดังเช่นของสหภาพยุโรป (EU ETS) มาใช้ในประเทศไทยจะต้องคำนึงถึงเรื่องต่าง ๆ เช่น ความพร้อมของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ทั้งในด้านเทคโนโลยีลดคาร์บอน ความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการผลิตในแต่ละภาคอุตสาหกรรมและความสามารถในการสร้างแหล่งดูดชับคาร์บอนเพื่อมาชดเชยการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ รวมทั้งผลกระทบจากการใช้มาตรการบังคับที่เคร่งครัดในทันที ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ (ผู้ประกอบการส่งออกอาจนำต้นทุนทางคาร์บอนมาเป็นเงื่อนไขในการกำหนดภาษีหรืออุปสรรคทางการค้า) ดังนั้น ในระยะแรกควรสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการได้ปรับตัว โดยมีระบบการส่งเสริมของภาครัฐที่เหมาะสม รวมทั้งการพัฒนามาตรฐานการตรวจวัดและการรับรองโครงการลดคาร์บอนให้ถึงระดับสากล เพื่อให้สามารถลดการปล่อยคาร์บอนของประเทศในภาพรวมได้ตามเป้าหมาย รวมทั้งจัดให้มีการนำร่องตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจ โดยดำเนินการแบบค่อยเป็นค่อยไป (Phase) เช่น เริ่มจากอุตสาหกรรมบางกลุ่มที่เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้พลังงานสูงและมีความพร้อมด้านเทคโนโลยี สร้างมูลค่าให้แก่คาร์บอนเครดิตผ่านระบบแรงจูงใจภาครัฐโดยการลดหย่อนภาษีหรือการให้การส่งเสริมรูปแบบอื่น ๆ 4. ข้อเสนอด้านกฎหมายในการพัฒนาตลาดคาร์บอน 4.1การสร้างสภาพแวดล้อมจูงใจให้อุตสาหกรรมลดการปล่อยคาร์บอนและการเพิ่มแหล่งดูดชับ คาร์บอน ดำเนินการภายใต้มาตรการต่าง ๆ ได้แก่ (1) มาตรการทางกฎหมายด้วยการตรากฎหมาย เพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีลดคาร์บอนหรือการใช้จ่ายเพื่อเข้าร่วมโครงการของรัฐในการพัฒนาแหล่งดูดซับคาร์บอน และ (2) มาตรการทางบริหารด้วยการสร้างการรับรู้ให้ภาคเอกชนได้ทราบถึงข้อผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศในการลดคาร์บอน ซึ่งหากไม่สนับสนุนในเรื่องนี้อาจส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากต่างประเทศมีแนวโน้มตรวจสอบและกำกับการผลิตสินค้าและการให้บริการที่เข้มข้นขึ้น และอาจนำต้นทุนด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมากำหนดเป็นเงื่อนไขการซื้อสินค้าหรือบริการจากประเทศไทยได้ 4.2 การพัฒนาตลาดคาร์บอนในประเทศไทย ควรตรากฎหมายขึ้นมาใหม่เพื่อวางโครงสร้างพื้นฐาน และเตรียมความพร้อมในการพัฒนาให้เป็นตลาดสากลในอนาคต โดยควรกำหนดกรอบหลักการในเรื่องต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้ 1) การจัดตั้งหน่วยงานใหม่หรือเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจให้แก่หน่วยงานเดิมที่มีอยู่แล้ว เพื่อดำเนินการภารกิจด้านนโยบาย ด้านทะเบียน และด้านการบริหารจัดการแพลตฟอร์ม 2) กรณีที่จะนำระบบตลาดภาคบังคับมาใช้บังคับ ให้กำหนดหลักเกณฑ์การจัดสรรสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ละปีภายใต้กรอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวม (cap) โดยการจัดสรรอาจกระทำได้ทั้งแบบไม่คิดค่าใช้จ่ายหรือการประมูล 3) หน้าที่ของผู้ประกอบการในการตรวจวัดและการรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 4) กรณีที่ใช้ระบบบังคับกับกลุ่มอุตสาหกรรมใด ควรกำหนดให้ผู้ประกอบการเวนคืนสิทธิการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามปริมาณก๊าซที่ปล่อยจริงในแต่ละปี และกรณีที่มีสิทธิคงเหลืออาจกำหนดให้สามารถนำไปสะสมข้ามปีได้ 5) การจัดทำบัญชีสำรองเพื่อรักษาเสถียรภาพของตลาด 6) การจัดตั้งทุนหมุนเวียนขึ้นใหม่หรือแก้ไขเพิ่มเติมทุนหมุนเวียนเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่นกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อให้สามารถนำเงินรายได้จากการประมูลสิทธิหรือการเรียกเก็บค่าปรับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินสิทธิไปใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศไทยในการบรรลุเป้าหมายการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากศเปลี่ยนแปลงหรือการปรับตัวเพื่อความอยู่รอด 7) มาตรการทางภาษี (ซึ่งเป็นการกำหนดการชำระภาษีในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก) 8) กรณีที่ใช้ระบบตลาดบังคับควรกำหนดโทษปรับเป็นเงิน โดยควรกำหนดค่าปรับที่มีจำนวนสูงกว่าราคาคาร์บอนในตลาดเพื่อป้องกันการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเกินสิทธิได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ อาจมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และสำนักงาน ป.ย.ป. รับข้อเสนอดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบผลการศึกษาและข้อเสนอด้านกฎหมายดังกล่าวแล้ว ???????????????????????????????____________________ หมายเหตุ * การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงปารีสที่อยู่ภายใต้การดำเนินการของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ที่กำหนดให้ทุกประเทศจัดทำและสื่อสารยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไปยังสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แต่งตั้ง 31. เรื่อง แจ้งเปลี่ยนแปลงโฆษกหน่วยงาน (สำนักงาน ก.พ.) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ การเปลี่ยนแปลงโฆษกประจำสำนักงาน ก.พ. เป็น นายกิติพงษ์ มหารัตนวงศ์ ตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. แทนนายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ ตำแหน่งรองเลขาธิการ ก.พ. (ในขณะนั้น) เนื่องจากปัจจุบันได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายปิยวัฒน์ ศิวรักษ์ ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ ก.พ. ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้พิจารณาให้ความเห็นชอบการเปลี่ยนแปลงโฆษกประจำสำนักงาน ก.พ. ดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 32. เรื่อง แต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้ 1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (นายอิทธิพล คุณปลื้ม) 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป 33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 5 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียนและทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ 1. นายธนา เวสโกสิทธิ์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส 2. นายศรัณย์ เจริญสุวรรณ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 3. นายจิตติพัฒน์ ทองประเสริฐ อธิบดีกรมพิธีการทูต ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบิร์น สมาพันธรัฐสวิส 4. นายภควัต ตันสกุล เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูดาเปสต์ ฮังการี ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพิธีการทูต 5. นายนิพนธ์ เพ็ชรพรประภาส เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ สาธารณรัฐเซเนกัล ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบูดาเปสต์ ฮังการี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ ตามข้อ 1. 3. และ 5. ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ 34. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายกุลเดช พัวพัฒนกุล เป็นประธานกรรมการการยางแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป 35. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร รวม 9 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสี่ปี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2564 ดังนี้ 1. ศาสตรจารย์สุวรรณา สถาอานันท์ ประธานกรรมการ 2. ศาสตราจารย์สุเนตร ชุตินธรานนท์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3. นางสาวบุษบา จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4. รองศาสตราจารย์จักรพันธ์ วิสาสินีกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5. ศาสตราจารย์เสมอชัย พูลสุวรรณ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 6. ศาสตราจารย์ยศ สันตสมบัติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7. นายอานันท์ นาคคง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 8. นายดนัย จันทร์เจ้าฉาย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 9. นายทวีป ฤทธินภากร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป 36. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นางรัตนา จงสุทธนามณี เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564