สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 ธันวาคม 2564

ข่าวการเมือง Tuesday December 7, 2021 16:10 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (7 ธันวาคม 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.          เรื่อง           ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง มาตรการเพื่อประโยชน์ในการควบคุมสินค้าที่                                                  เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและมาตรการเกี่ยวกับ                                        สินค้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการใช้สุดท้ายหรือผู้ใช้สุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับการ                                                  แพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2564
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะต้อง                                        เป็นไปตามมาตรฐาน จำนวน 4 ฉบับ
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากร                                                  บุคคล พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           การเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ....                                         ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562

เศรษฐกิจ ? สังคม

                    5.           เรื่อง          ร่างคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ (Gender Responsive                                         Budgeting ? GRB : A Practical Handbook)
                    6.           เรื่อง            ขอความเห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง บางส่วน                                         เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว จังหวัดตราด
                    7.           เรื่อง           รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2564
                    8.           เรื่อง            รายงานผลการดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น                                         PM2.5  ฤดูการผลิตปี 2563/2564
                    9.           เรื่อง           งบการเงินและรายงานประจำปี 2563 ขององค์การสะพานปลา
                    10.           เรื่อง           รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2562 และ 2563
                    11.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดน                                                  ภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 2/2564
                    12.            เรื่อง           ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

ต่างประเทศ

                    13.           เรื่อง           การจัดทำข้อตกลงการบริหารจัดการกองทุนเสริมสร้างสันติภาพ (Peacebuilding                                         Fund) ของสหประชาชาติ
                    14.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 39 และการประชุมอื่นที่                                                  เกี่ยวข้อง
                    15.            เรื่อง            ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM)                                         ครั้งที่ 53 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    16.           เรื่อง           สรุปผลการเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการ                                        เติบโตสีเขียว (Asia Green Growth Partnership Ministerial Meeting)
                    17.          เรื่อง            ขอความเห็นชอบร่างเอกสารที่จะมีการรับรองระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรี                                        ด้านการขนส่งเอสแคป ครั้งที่ 4
แต่งตั้ง
                    18.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (กระทรวงสาธารณสุข)
                    19.           รื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    20.           เรื่อง           การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย                                         พ.ศ. 2527






สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396








?

กฎหมาย
1.เรื่อง ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง มาตรการเพื่อประโยชน์ในการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับ                      การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและมาตรการเกี่ยวกับสินค้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการใช้สุดท้ายหรือผู้ใช้สุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2564
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง มาตรการเพื่อประโยชน์ในการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและมาตรการเกี่ยวกับสินค้าที่มีเหตุอันควรสงสัย           ว่ามีการใช้สุดท้ายหรือผู้ใช้สุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2564 ประกาศราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564 โดยจะมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่            วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา (วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564) [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2562 มาตรา 12 ซึ่งบัญญัติให้รัฐมนตรีว่า               การกระทรวงพาณิชย์โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง มีหน้าที่และอำนาจประกาศกำหนดมาตรการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapons of Mass Destruction: WMD) รวมถึงมาตรการเกี่ยวกับสินค้าที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการใช้สุดท้ายหรือผู้ใช้สุดท้ายที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ขยาย WMD และรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                     1. กำหนดมาตรการเพื่อประโยชน์ในการควบคุม เช่น มาตรการห้ามส่งออก ส่งกลับ ถ่ายลำ              ผ่านแดน และถ่ายโอนเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์
                     2. กำหนดการบังคับใช้มาตรการ เมื่ออธิบดีกรมการค้าต่างประเทศมีหรือได้รับข้อมูลความเสี่ยง            จากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาว่ามีความเสี่ยงต่อการแพร่ขยาย WMD จะมีหนังสือแจ้งการบังคับ               ใช้มาตรการเพื่อประโยชน์ในการควบคุม พร้อมทั้งข้อมูลความเสี่ยงไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องดังกล่าว
                     3. กำหนดการทบทวนการบังคับใช้มาตรการ โดยผู้ที่ถูกบังคับใช้มาตรการดังกล่าวสามารถ            ยื่นคำขอให้อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศทบทวนการบังคับใช้มาตรการเพื่อยกเลิกการบังคับใช้มาตรการที่กำหนดได้

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน จำนวน 4 ฉบับ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะ ชิงช้า ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม                เครื่องเล่นสนามสาธารณะ กระดานลื่น ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....  3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะ ม้าหมุน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... 4. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะ อุปกรณ์โยก ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....                  รวม 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง จำนวน 4 ฉบับ ที่ อก. เสนอ เป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม                เครื่องเล่นสนามสาธารณะ ชิงช้า กระดานลื่น ม้าหมุน และอุปกรณ์โยก ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน โดยสอดคล้องกับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 เพื่อให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะดังกล่าวอย่างชัดเจนและเป็นระบบ เพื่อป้องกันการบาดเจ็บและเสียชีวิตของเด็กในสนามเด็กเล่น           ซึ่ง อก. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงจำนวน 4 ฉบับดังกล่าวแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     1. กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะ ชิงช้า ต้องเป็นไป              ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 3000 เล่ม 1 ? 2562 ตามประกาศ อก. ฉบับที่ 5643 (พ.ศ. 2562) ออกตามความ                 ในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะ เล่ม 1 ชิงช้า ข้อกำหนดเฉพาะเพิ่มเติมด้านความปลอดภัยและวิธีทดสอบ ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562
                     2. กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะ กระดานลื่น ต้องเป็นไป                 ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 3000 เล่ม 1 ? 2562 ตามประกาศ อก. ฉบับที่ 5644 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะ เล่ม 2 กระดานลื่น ข้อกำหนดเฉพาะเพิ่มเติมด้านความปลอดภัยและวิธีทดสอบ ลงวันที่                 10 ตุลาคม พ.ศ. 2562
                     3. กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะ ม้าหมุน ต้องเป็นไป                  ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 3000 เล่ม 3 ? 2563 ตามประกาศ อก. ฉบับที่ 5830 (พ.ศ. 2563) ออกตาม             ความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะ เล่ม 3 ม้าหมุน ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
                     4. กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องเล่นสนามสาธารณะ อุปกรณ์โยก ต้องเป็นไป              ตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 3000 เล่ม 4 ? 2563 ตามประกาศ อก. ฉบับที่ 5831 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม                 เครื่องเล่นสนามสาธารณะ เล่ม 4 อุปกรณ์โยก ลงวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
                     5. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

3. เรื่อง ร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติร่างกฎ ก.พ. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. .... ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ โดยให้รับความเห็นของกระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุขไปประกอบการพิจารณาด้วย และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงาน ก.พ. รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนา              การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. เสนอว่า
                     1. โดยที่ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศกำหนดให้การบริหารจัดการภาครัฐต้อง               มีความยืดหยุ่น คล่องตัว เหมาะสม และสอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลง ทำให้สำนักงาน ก.พ. ในฐานะองค์กรกลางด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนสามัญจำเป็นต้องพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล เพื่อให้มีหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลรูปแบบใหม่ที่สามารถ                  ช่วยขับเคลื่อนนโยบายการปฏิรูประบบราชการ ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ อีกทั้ง                ระบบราชการมีขนาดใหญ่และซับซ้อน ประกอบกับกฎเกณฑ์ทางการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนสามัญ ได้ถูกออกแบบและบังคับใช้มานานกว่าสิบปี ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงทางการบริหารจัดการภาครัฐในปัจจุบันซึ่งเผชิญความท้าทายรอบด้าน สำนักงาน ก.พ. จึงเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล อันได้แก่ หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางการบริหารทรัพยากรบุคคลในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากที่ใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน เพื่อช่วยขับเคลื่อนการปฏิรูประบบราชการให้มีความทันสมัย ยืดหยุ่น คล่องตัว และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
                     2. แต่อย่างไรก็ตามเพื่อควบคุมความเสี่ยงหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรมดังกล่าวในการปฏิบัติราชการ จึงได้นำเรื่องการผ่อนคลายกฎ ระเบียบในพื้นที่เฉพาะ เพื่อการพัฒนานวัตกรรมทางการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ (HR Regulatory Sandbox) เสนอต่อ ก.พ. ในการประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่                  21 มิถุนายน 2564 และในการประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 ซึ่ง ก.พ. ได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบกับแนวทางการผ่อนคลายกฎ ระเบียบ เพื่อพัฒนานวัตกรรมทางการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ                  (HR Regulatory Sandbox) และต่อมาในการประชุมครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2564 ก.พ. ได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบในหลักการของร่างกฎ ก.พ. ในเรื่องนี้
                     3. ร่างกฎ ก.พ. ในเรื่องนี้ได้วางกรอบแนวทางการดำเนินการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรม                 ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนสามัญ (HR Regulatory Sandbox) ภายใต้หลักการของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. 2551 เพื่อให้มีการพัฒนาและทดสอบหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือแนวทางในการบริหารทรัพยากรบุคคลรูปแบบใหม่ในสภาพแวดล้อมจริงของการปฏิบัติราชการที่จำกัดขอบเขตและระยะเวลาการทดสอบ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ ก.พ. ซึ่งจะทำหน้าที่ติดตามประเมินผลการทดสอบและ                นำผลการทดสอบดังกล่าวไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎ ระเบียบเดิมที่มีอยู่ หรือออกกฎ ระเบียบใหม่ เพื่อให้การบริหารทรัพยากรบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนมีประสิทธิภาพประสิทธิผลยิ่งขึ้น สำหรับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข เงื่อนเวลา รวมทั้งกระบวนการต่าง ๆ ในการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้าน           การบริหารทรัพยากรบุคคลตามร่างกฎ ก.พ. ในเรื่องนี้ จะมีการออกเป็นประกาศ ก.พ. เพื่อกำหนดการดำเนินการ             ในรายละเอียดต่อไป
                     สาระสำคัญของร่างกฎ ก.พ.
                    1. กำหนดบทนิยามคำว่า ?นวัตกรรมต้นแบบ? และ ?ทดสอบ?
                     2. กำหนดให้การพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลเป็นการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมต้นแบบ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการต่าง ๆ ให้ทันต่อ             การเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ ๆ โดยเหมาะสมกับภารกิจของส่วนราชการแต่ละแห่งที่แตกต่างกัน                    ตามหลักการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ตามมาตรา 258 ข. (3) ของรัฐธรรมนูญ                              แห่งราชอาณาจักรไทย
                     3. กำหนดให้เมื่อสำนักงาน ก.พ. เห็นสมควรพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องใด ให้เสนอ ก.พ. พิจารณาให้ความเห็นชอบให้เป็นนวัตกรรมต้นแบบ แล้วให้ส่วนราชการดำเนินการทดสอบตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ ก.พ. ประกาศกำหนด โดยให้สำนักงาน ก.พ. มีหน้าที่กำกับ ติดตาม และประเมินผลการทดสอบ และรายงานผลให้ ก.พ. ทราบเป็นระยะ
                     4. กำหนดให้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หลักเกณฑ์ วิธีการ หรือวิธีปฏิบัติที่ออกโดย ก.พ.                  ที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ก.พ. จะยกเว้นหรือผ่อนปรน            ในเรื่องนั้น หรือกำหนดให้แตกต่างไปเป็นการเฉพาะรายตลอดระยะเวลาการทดสอบก็ได้ และกำหนดให้ในกรณีที่มีเรื่องดังกล่าวของหน่วยงานอื่นที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล                  ให้ ก.พ. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาสั่งการตามสมควรต่อไป
                     5. กำหนดให้ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎ ก.พ. ฉบับนี้ ให้ ก.พ. พิจารณาวินิจฉัย และให้คำวินิจฉัยของ ก.พ. เป็นที่สุด

4. เรื่อง การเสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการคงอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. .... ตามพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 สำหรับการจัดเก็บภาษีตั้งแต่ปี 2565 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เห็นควรคงอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในอัตราเดิมตามบทเฉพาะกาล มาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ปี 2565 ด้วยเหตุผล ดังนี้
                              1.1 กระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้เปิดรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เสียภาษีต่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบัน ผ่านทางเว็บไซต์และเฟซบุ๊กของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในระหว่างวันที่ 6 - 22 กันยายน 2564 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนทั้งสิ้น 1,013 ราย โดยมีสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นที่สำคัญ ได้แก่ ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 49.4 เห็นด้วยกับการนำภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาใช้แทนภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ และร้อยละ 48.5 เห็นด้วยกับการนำราคาประเมินทุนทรัพย์มาใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี อีกทั้ง ผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 45.6 ยังเห็นว่าการกำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่แตกต่างกันตามประเภทการใช้ประโยชน์และตามมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบันมีความเหมาะสมแล้ว นอกจากนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2563 ร้อยละ 51.6 มีภาระภาษีลดลงหรือเท่าเดิมเมื่อเปรียบเทียบกับภาระภาษีโรงเรือนและที่ดินหรือภาษีบำรุงท้องที่ในปี 2562 โดยผู้เสียภาษีทุกรายได้รับการยกเว้นภาษี การลดภาษีหรือการบรรเทาภาระภาษี
                              1.2 ณ สถานการณ์ปัจจุบัน อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้จัดเก็บภาษีมีความเป็นธรรมและเหมาะสมแล้ว กล่าวคือ เป็นโครงสร้างอัตราภาษีที่มีความก้าวหน้า ซึ่งทำให้ผู้ที่มีมูลค่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างสูงมีภาระภาษีมากกว่าผู้ที่มีมูลค่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างต่ำ มีอัตราภาษีใกล้เคียงกับต่างประเทศและสอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้ตอบแบบสอบถามที่ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปัจจุบัน อีกทั้งไม่เป็นการสร้างภาระภาษีที่เกินสมควรให้แก่ผู้เสียภาษี เนื่องจาก พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ ได้กำหนดให้มีการยกเว้นมูลค่าฐานภาษี ยกเว้นการจัดเก็บภาษี และการบรรเทาภาระภาษี ตามมาตรา 40 41 96 และมาตรา 97 แห่ง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ แล้วแต่กรณี
                              1.3 ในปี 2563 และ 2564 เป็นปีที่มีการตราพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท พ.ศ. 2563 และพระราชกฤษฎีกาลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 โดยลดจำนวนภาษีในอัตราร้อยละ 90 ของจำนวนภาษีที่คำนวณได้ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ให้กับผู้เสียภาษี ทำให้ผู้เสียภาษีมีภาระภาษีเพียงร้อยละ 10 และอาจยังไม่ตระหนักถึงภาระภาษีที่แท้จริงเต็มอัตราที่ต้องชำระให้แก่ อปท. ดังนั้น เพื่อให้ประชาชนได้มีระยะเวลาปรับตัวเพิ่มขึ้น จึงควรคงอัตราภาษีแบบเดิมไปอีกระยะหนึ่ง
                              1.4 ปี 2563 และ 2564 เป็นช่วงแรกที่มีการยกเลิกการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ และเริ่มจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการและการบริหารการจัดเก็บภาษี (Tax Administration and Procedure) เช่น การสำรวจและจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การคำนวณภาษี การแจ้งประเมินภาษี การรับชำระภาษี การเร่งรัดภาษีค้างชำระ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ อปท. ดำเนินการจัดเก็บภาษีได้ไม่ครบถ้วนเท่าที่ควร และยังไม่มีฐานข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของผู้เสียภาษีแต่ละรายที่สามารถใช้ประมวลผลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ส่งผลให้ขาดฐานข้อมูลสำคัญที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงอัตราหรือโครงสร้างภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาฐานข้อมูลและประเมินผลการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ครบถ้วนสมบูรณ์มากขึ้น เพื่อใช้พิจารณากำหนดอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในระยะต่อไป ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นร่วมกับกรมที่ดิน และกรมธนารักษ์ ได้จัดทำโครงการบูรณาการทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการจัดเก็บภาษีและรายได้อื่นของ อปท. ซึ่งจะช่วยให้มีฐานข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกได้เพิ่มขึ้นต่อไป
                    2. กระทรวงการคลังได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาฯ สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ปี 2565 ซึ่งเป็นอัตราตามบทเฉพาะกาล มาตรา 94 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                              2.1 ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยให้ใช้สำหรับการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป
                              2.2 การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตาม พ.ร.บ. ภาษีที่ดินฯ ให้ใช้อัตราภาษีตามมูลค่าของฐานภาษี ดังต่อไปนี้
                                        1) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรม อัตราภาษี       ร้อยละ 0.01 - 0.1 ตามมูลค่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
                                        2) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย อัตราภาษีร้อยละ 0.02 ? 0.1 ตามมูลค่าที่ดินและ/หรือสิ่งปลูกสร้าง
                                        3) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่น นอกจาก 1) และ 2) อัตราภาษีร้อยละ 0.3 ? 0.7 ตามมูลค่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
                                        4) ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่าหรือไม่ได้ทำประโยชน์ตามควรแก่สภาพ อัตราภาษีร้อยละ 0.3 - 0.7 ตามมูลค่าที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
                    3. ภายหลังการใช้อัตราภาษีตามร่างพระราชกฤษฎีกาฯ นี้ ไปแล้ว 2 ปี โดยในปี 2567 กระทรวงการคลังจะพิจารณาทบทวนอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อให้มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศต่อไป



เศรษฐกิจ ? สังคม

5. เรื่อง ร่างคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ (Gender Responsive Budgeting ? GRB :                  A Practical Handbook)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                     1. เห็นชอบในหลักการร่างคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ (Gender Responsive Budgeting ? GRB : A Practical Handbook) (ร่างคู่มือฯ) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและ                   ความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ทั้งนี้ ให้ พม. รับข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทยและข้อสังเกตของ                       สำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการ รวมถึงปรับปรุงร่างคู่มือฯ และแบบรายการตรวจสอบการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการต่อไป
                     2. ให้ พม. ประสานแจ้งให้หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องนำคู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ พร้อมแบบรายการตรวจสอบการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศสภาวะไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณต่อไป รวมทั้งเผยแพร่คู่มือการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศสภาวะให้เป็นที่รับรู้ทั่วไปและแจ้งต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     พม. รายงานว่า
                     1. ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ (กยส.)                 ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) เป็นประธานกรรมการ ได้มีมติเห็นชอบร่างคู่มือฯ และแผนงานในการขับเคลื่อนการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ    (ตามข้อ 2.) และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องนำคู่มือฯ                  พร้อมแบบรายการฯ ไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณเพื่อจัดสรรงบประมาณที่มีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และเหมาะสมตามความจำเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของเพศ วัย และสภาพของบุคคล โดยร่างคู่มือฯ                ฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ ซึ่งมี                อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว เป็นประธาน คณะทำงานประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาสถานภาพสตรี และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รวมจำนวน 12 คน ทำหน้าที่กำหนดรูปแบบ วิธีการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและขับเคลื่อนให้ทุกหน่วยงานมีการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของเพศ วัย และสภาพของบุคคล เพื่อเสนอคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาสถานภาพสตรี (กสส.) ซึ่งมีอำนาจและหน้าที่เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสตรีต่อ กยส.
                     2. ร่างคู่มือฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
แนวคิดในการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ           - เพื่อเป็นเครื่องมือในการบูรณาการมุมมองเพศภาวะเข้าสู่กระบวนการจัดการงบประมาณทั้งรายรับและรายจ่าย เพื่อให้การตัดสินใจในการจัดสรรและการใช้งบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างสูงสุด โดยมีความสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 ? 2580) ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างความเป็นธรรมใน             ทุกมิติ รวมทั้งสอดคล้องกับหลักการสำคัญในพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศของประเทศไทย ได้แก่ อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ปฏิญญาปักกิ่ง และแผนปฏิบัติการเพื่อความก้าวหน้าของสตรี
- จัดทำขึ้นจากการศึกษาแนวทางการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (United Nations Entity for Gender Equality and the Empowerment of Women : UN WOMEN) และองค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) องค์กรระดับภูมิภาค คือ สหภาพยุโรป และองค์กรในประเทศไทย คือ สถาบันพระปกเกล้า รวมทั้งเอกสารวิชาการและตัวอย่างจากประเทศต่าง ๆ              ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ โดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวได้นำข้อมูลดังกล่าวมาประมวล เรียบเรียง และจัดทำเนื้อหาให้มี           ความสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย
วัตถุประสงค์           เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะให้กับผู้เกี่ยวข้องในหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ และนำไปสู่การจัดทำงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะของหน่วยงาน โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การจัดสรรทรัพยากรที่เป็นธรรม และเหมาะสมตามความ               จำเป็นและความต้องการที่แตกต่างกันของประชากรที่มีความแตกต่างของเพศ วัย และสภาพของบุคคล
หลักการสำคัญของงบประมาณที่คำนึงมิติเพศภาวะ           การวิเคราะห์ความต้องการ โอกาส ข้อจำกัด และการเข้าถึงทรัพยากรที่แตกต่างกันของหญิงและชายที่จะต้องคำนึงถึงในกระบวนการงบประมาณ โดยนำปัจจัยต่าง ๆ มาวิเคราะห์ เช่น อายุ อัตลักษณ์ทางเพศ ระดับการศึกษา ชาติพันธุ์ ความพิการ สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น โดยมี 3 องค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ (1) การวิเคราะห์งบประมาณแบบมิติเพศภาวะ โดยพิจารณาว่า มาตรการทางงบประมาณและนโยบายที่เกี่ยวข้องมีผลกระทบอย่างไรต่อความเสมอภาค หรือสามารถลดความไม่เสมอภาคระหว่างเพศได้หรือไม่อย่างไร (2) การเปลี่ยนแปลงนโยบายและการจัดสรรงบประมาณเพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ โดยนำผลวิเคราะห์และข้อเสนอแนะจากการวิเคราะห์ไปพัฒนาเป็นโครงการ นโยบาย แผนงาน กิจกรรม เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดสรรงบประมาณ และ (3) การบูรณาการแนวคิดระบบงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะในกระบวนการงบประมาณอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงความแตกต่าง ความหลากหลาย ประโยชน์ และผลกระทบที่มีต่อเพศหญิง                                   เพศชาย และกลุ่มอัตลักษณ์ที่หลากหลาย เข้าสู่กระบวนการและวงจรงบประมาณทั้งระบบ
โดยทั้ง 3 องค์ประกอบนั้น ประกอบไปด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้
    ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ : ระบุประเด็นความเสมอภาคระหว่างเพศ
    ขั้นตอนที่ 2 ข้อมูลพื้นฐาน : เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ (วัตถุประสงค์ภาพรวมของโครงการ วัตถุประสงค์เฉพาะที่เกี่ยวกับการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ กิจกรรมหลักในโครงการ และงบประมาณ)
    ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์มิติเพศสภาวะของกิจกรรมต่าง ๆ (ผู้ได้รับประโยชน์หรือผู้ใช้บริการสาธารณะ ความพึงพอใจของผู้หญิงและผู้ชายในการใช้บริการสาธารณะ กระบวนการตัดสินใจ และผลกระทบ)
    ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์มิติเพศภาวะในการจัดสรรงบประมาณและที่เกี่ยวข้อง
    ขั้นตอนที่ 5 พัฒนาวัตถุประสงค์และข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงความเสมอภาคระหว่างเพศ
    ขั้นตอนที่ 6 การเปลี่ยนแปลงนโยบายและการจัดสรรงบประมาณเพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ
    ขั้นตอนที่ 7 การนำมิติเพศภาวะเข้าสู่กระบวนการจัดทำงบประมาณทุกขั้นตอน
ตัวอย่างการจัดทำงบประมาณที่คำนึงมิติเพศภาวะของประเทศไทยและต่างประเทศ           - ประเทศไทยกับการปรับเปลี่ยนบริการสาธารณะอย่างมีมิติเพศภาวะ จากประเด็นปัญหาที่มีเด็กผู้หญิงถูกข่มขืนบนรถไฟ ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทยได้จัดทำตู้ขบวนรถไฟสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ เพื่อสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยในการเดินทางของผู้หญิงบนรถไฟ โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้หญิงเป็นการเฉพาะและมุ่งแก้ไขปัญหาที่สาเหตุนั้น ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวจัดอยู่ในประเภทงบประมาณที่จัดสรรให้กับกลุ่มเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งเป็นการเฉพาะ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของงบประมาณที่คำนึงถึงมิติเพศภาวะ
- ประเทศอินโดนีเซีย ส่งเสริมทักษะอาชีพแก่สตรีเพื่อค่าแรงที่เท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย เนื่องจากประเทศอินโดนีเซียมีผู้หญิง ร้อยละ 75 ในภาคเกษตร ปลูกข้าวและมีส่วนร่วมในการทำประมง โดยทำหน้าที่คัดแยกปลาและการตลาด ส่วนผู้ชายมีหน้าที่ออกไปจับปลา รัฐบาลจึงจัดการอบรมเพื่อฝึกทักษะการเกษตรการประมง และป่าไม้ พร้อมทั้งสนับสนุนเครื่องมือในการอบรมผู้หญิงด้วย เพื่อเพิ่มทักษะให้ผู้หญิงสามารถทำงานในภาคการเกษตรได้ และได้รับค่าจ้างที่เท่าเทียมกับผู้ชาย เป็นต้น
ประโยชน์           - ทำให้ทราบว่านโยบายของรัฐมีผลกระทบอย่างไรกับกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายแตกต่างกันทั้งในฐานะผู้บริโภค ผู้ใช้สาธารณูปโภค และผู้เสียภาษี ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานของความเท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชายในด้านต่าง ๆ และทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ประชาคมโลกได้ร่วมกำหนดไว้ ที่จะบรรลุในปี               พ.ศ. 2573
- ส่งผลให้เกิดการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรมและเท่าเทียม ทำให้ใช้ทรัพยากรได้    อย่างมีประโยชน์สูงสุดและสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย

6. เรื่อง  ขอความเห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง บางส่วน เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว จังหวัดตราด
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง บางส่วน เนื้อที่ประมาณ 81 ไร่ เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว จังหวัดตราด ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ โดยให้ กษ. แจ้งให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำเนินการตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ในการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง บางส่วน เพื่อก่อสร้างโครงการ              อ่างเก็บน้ำคลองพร้าว จังหวัดตราด ต่อไป
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     กษ. (กรมชลประทาน) ขอความเห็นชอบในหลักการเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง บางส่วน เนื้อที่ประมาณ 81 ไร่ เพื่อก่อสร้างโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว จังหวัดตราด โดยโครงการฯ                        มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์           - เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำใช้ในฤดูแล้งในพื้นที่เกาะช้าง
- เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำหรับการเกษตรและอุปโภคบริโภค และการท่องเที่ยว
- เพื่อเพิ่มพูนผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมจากการมีแหล่งน้ำ
วงเงินงบประมาณ           452.03 ล้านบาท ทั้งนี้ กษ. ได้ขอรับจัดสรรงบประมาณก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 แล้ว
ระยะเวลา           ระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ? 2566)
พื้นที่ของโครงการ           พื้นที่ก่อสร้างโครงการ 270 ไร่ โดยเป็นพื้นที่ในเขตอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง บางส่วน เนื้อที่ประมาณ 81 ไร่ และพื้นที่ในเขตพื้นที่ป่า1 189 ไร่ มีความคืบหน้า ดังนี้
- ขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2561
- คณะอนุกรรมการแห่งชาติมีมติเห็นชอบให้เพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง บางส่วน เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2561
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ           - ประชาชนในพื้นที่มีน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคอย่างเพียงพอแม้ในฤดูแล้ง
- มีปริมาณน้ำที่เพียงพอสำหรับทำการเกษตร
- สามารถรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยวซึ่งจะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่และสร้างรายได้สู่ชุมชน
1 ในการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 โดยมี                 รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติรับทราบความคืบหน้าการขอใช้พื้นที่ป่าของกรมชลประทาน เพื่อดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำคลองพร้าว จังหวัดตราด ทั้งนี้ เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีวงเงินงบประมาณไม่เกิน 1,000 ล้านบาท จึงไม่ต้องเสนอโครงการให้ กนช. เห็นชอบก่อนดำเนินโครงการ ตามหลักเกณฑ์และแนวทางจัดทำเรื่องเสนอ กนช.

7. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 3 ปี 2564 (เดือนกรกฎาคม- กันยายน 2564) ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)                       [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ที่ให้ กนง. ประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มของประเทศและรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ที่ประชุม กนง. เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศไทย (ไทย) จะได้รับผลบวกจากการกระจายวัคซีนที่ดีขึ้นและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และในปี 2564 และ 2565 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 0.7 และ 3.9 ตามลำดับ แต่ยังมีความไม่แน่นอนสูง ทั้งนี้ กนง. เห็นว่า โจทย์สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทย คือ มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและรายได้ฟื้นตัวต่อเนื่อง ซึ่ง                            การดำเนินมาตรการทางการเงินจะมีประสิทธิผลในการกระจายสภาพคล่องได้ตรงจุดและลดภาระหนี้ได้มากกว่า                การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำ
                    2. การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน
                              2.1 เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโควิด-19 ที่ขยายวงกว้าง รวมถึงข้อจำกัดด้านอุปทานที่ยืดเยื้อ เช่น การปิดท่าเรือในสาธารณรัฐประชาชนจีนและการขาดแคลนวัตถุดิบโดยเฉพาะชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนในปี 2565 คาดว่าเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าจะมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้นจากสถานการณ์ที่เริ่มคลี่คลายและแนวโน้มการกระจายวัคซีนที่เป็นไปตามเป้าหมาย ทั้งนี้ ธนาคารกลางส่วนใหญ่ทั่วโลกยังคงดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายอย่างต่อเนื่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยธนาคารกลางในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักและส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำ อย่างไรก็ตามธนาคารกลางในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา                บางประเทศอาจจะต้องเริ่มปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อที่เร่งขึ้นอย่างมาก
                              2.2 ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงินไทย
                                        2.2.1 ภาวะการเงินไทยโดยรวมยังผ่อนคลาย เอื้อให้สถาบันการเงินสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ผ่านการดำเนินมาตรการทางการเงินต่าง ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง ส่วนต้นทุนการระดมทุนโดยรวมของภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำทั้งในตลาดสินเชื่อและตลาดตราสารหนี้และอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปล่อยใหม่ปรับตัวลดลงจากสิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2564 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการดำเนินมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูที่คืบหน้ามากขึ้น
                                        2.2.2 อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐและดัชนีค่าเงินบาทอ่อนค่าลงต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนเนื่องจากการระบาดของโควิด-19 ระลอกสามในไทย การออกพันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีจำนวนมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์และการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐ โดยในระยะต่อไปค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มผันผวนสูงตามการลดอัตราการอัดฉีดเงินเข้าระบบของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา จึงต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด
                                        2.2.3 เสถียรภาพระบบการเงินไทยยังคงเปราะบาง โดยเฉพาะฐานะทางการเงินของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงเกณฑ์สินเชื่อฟื้นฟูให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงเพื่อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงสินเชื่อได้มากขึ้น
                    3. แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย
                              3.1 ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.7 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อและมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่วนประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 3.9 โดยกิจกรรมทางเศรษฐกิจจะทยอยฟื้นตัวและสามารถเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้มากขึ้น
                              3.2 มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2564 และ 2565 มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 16.5 และ 3.7 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับประมาณการเดิมเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรงขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 3 ส่วนการส่งออกบริการยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่องและมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินไว้จึงได้ปรับลดประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 และ 2565 เป็น 1.5 แสนคน และ 6 ล้านคน ตามลำดับ
                              3.3 ประมาณการดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2564 มีแนวโน้มขาดดุล 15.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากต้นทุนค่าขนส่งสินค้าที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับดุลการค้าที่เกินดุลลดลงจากทั้งการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นและการส่งออกที่มีแนวโน้มต่ำกว่าที่คาดการณ์ ส่วนในปี 2565 คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดมีแนวโน้มเกินดุลประมาณ 1.0 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
                              3.4 การบริโภคภาคเอกชนในปี 2564 ได้รับผลกระทบรุนแรงจากการแพร่ระบาดของ     โควิด-19 จึงคาดว่าการบริโภคภาคเอกชนจะไม่ขยายตัวจากปีก่อน (ร้อยละ 2.5) และประเมินว่าการลงทุนภาคเอกชนจะขยายตัวลดลงจากการประเมินเดิมเหลือร้อยละ 4.2
                              3.5 ประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2564 และ 2565 อยู่ที่ร้อยละ 1.0 และ 1.4 ตามลำดับ โดยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบเป้าหมายตลอดช่วงประมาณการ ขณะที่ประมาณการอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2564 และ 2565 ยังคงประมาณการไว้ในระดับต่ำที่ร้อยละ 0.2 และ 0.3 ตามลำดับ                       ตามแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง

8. เรื่อง  รายงานผลการดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5  ฤดูการผลิต      ปี 2563/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5  ฤดูการผลิตปี 2563/2564 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อก. รายงานว่า
                    1. โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5  ฤดูการผลิต 2563/2564 เป็นโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยคุณภาพดีส่งโรงงานในอัตรา 120 บาทต่อตัน โดย ณ วันที่               30 กันยายน 2564 ได้จ่ายเงินช่วยเหลือเสร็จสิ้นแล้ว มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับการช่วยเหลือรวมจำนวน 122,613 ราย จ่ายเงินช่วยเหลือรวม 5,933.83 ล้านบาท และมีวงเงินคงเหลือ จำนวน 168,995.31 บาท สรุปการช่วยเหลือได้ ดังนี้
ประเภท          จำนวนเกษตรกร
(ราย)           ปริมาณอ้อยสด
(ตัน)          วงเงินช่วยเหลือ
(ล้านบาท)
เกษตรกรที่ตัดอ้อยส่ง
โรงงานผลิตน้ำตาล           120,974          48,918,517.32          5,870.22
เกษตรกรที่ตัดอ้อยส่ง
โรงงานผลิตน้ำตาลทรายแดง          158          78,674.43          9.44
เกษตรกรที่ตัดอ้อยส่ง
โรงงานผลิตเอทานอล          1,481          451,399.97          54.17
  รวม          122,613          49,448,591.72          5,933.83
                    2. การช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดในฤดูการผลิตปี 2563/2564 ส่งผลให้มีปริมาณอ้อยไฟไหม้และพื้นที่การเก็บเกี่ยวอ้อยไฟไหม้ลดลงจากฤดูการผลิตปี 2562/2563 คิดเป็นร้อยละ 23.23 รายละเอียด ดังนี้
ข้อมูลเปรียบเทียบ          ฤดูการผลิต
ปี 2562/2563          ฤดูการผลิต
ปี 2563/2564

พื้นที่ไร่อ้อย
(ล้านไร่)           พื้นที่ทั้งหมด          11.50*          10.86
          -อ้อยสด          5.79*          7.99
          -อ้อยไฟไหม้          5.71*          2.87
          พื้นที่อ้อยไฟไหม้คิดเป็นร้อยละ           49.65*          26.42*
(ลดลงร้อยละ 23.23)

ปริมาณอ้อย
(ล้านตัน)           ปริมาณทั้งหมด          74.89*          66.66*
          -อ้อยสด          37.71          49.05
          -อ้อยไฟไหม้          37.18          17.61
          ปริมาณอ้อยไฟไหม้คิดเป็นร้อยละ           49.65          26.42
(ลดลงร้อยละ 23.23)
*ข้อมูลเพิ่มเติมจากการประสาน อก. เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564
          นอกจากนี้ โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ฤดูการผลิต 2563/2564 ยังช่วยลดต้นทุนในการตัดอ้อยสดของชาวไร่อ้อยและสนับสนุนให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น ซึ่งเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐบาลในการแก้ไขปัญหามลพิษที่เกิดจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 ) ด้วย

9. เรื่อง งบการเงินและรายงานประจำปี 2563 ขององค์การสะพานปลา
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอรายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินองค์การสะพานปลา (อสป.) และรายงานประจำปี 2563 ของ อสป.
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า
                    1. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงิน สำหรับปีสิ้นสุด วันที่ 30 กันยายน 2563 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินสรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          ปี 2563          ปี 2562          เพิ่ม/(ลด)
งบแสดงฐานะการเงิน
รวมสินทรัพย์          1,334.49          1,225.60          108.89
รวมหนี้สิน          1,177.47          1,084.15          93.32
รวมส่วนของทุน          157.02          141.45          15.57
งบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
รวมรายได้          240.74          201.51          39.23
รวมค่าใช้จ่าย          216.45          227.76          (11.31)
กำไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จอื่น          0.07          (0.27)          0.34
กำไร (ขาดทุน) เบ็ดเสร็จรวมสำหรับปี          24.36          (26.52)          50.88
                    2. ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2563 ที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ด้านการให้บริการ อสป. ให้บริการสถานที่ขนถ่ายสัตว์น้ำและจำหน่ายสินค้าสัตว์น้ำให้แก่ชาวประมงและผู้ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง โดยมีเรือประมงและรถบรรทุกเข้ามาขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำรวม 33,378 เที่ยว และ 21,030 เที่ยว ตามลำดับและมีปริมาณสินค้าสัตว์น้ำรวม 280,896 ตัน มูลค่า 12,221 ล้านบาท
                              2.2 ด้านการลงทุน อสป. ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อซ่อมบำรุงสิ่งปลูกสร้างของหน่วยงานต่าง ๆ (เช่น สะพานปลาและท่าเทียบเรือ) รวม 14.18 ล้านบาท นอกจากนี้มีการปล่อยสินเชื่อการประมงเพื่อซ่อมแซมปรับปรุงเรือประมงให้แก่ชาวประมง จำนวน 39 ราย มูลค่า 11.25 ล้านบาท รวมทั้งส่งเสริมการประมง โดย อสป. ได้จัดสรรเงินทุนส่งเสริมการประมง จำนวน 98,567 บาท เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น งานส่งเสริมฐานะและสวัสดิการด้านการประมงและงานส่งเสริมอาชีพประมง
                              2.3 ด้านการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประมง โดยเป็นกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือชาวประมงและเพิ่มรายได้ให้แก่ อสป. เพื่อพัฒนาปรับปรุงงานให้ดีขึ้น ประกอบด้วย 2 โครงการ ดังนี้ (1) โครงการตลาดสินค้าสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแปรรูป และ (2) โครงการพัฒนาและสนับสนุนการประมง โดยมีรายได้รวม 5.36 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายรวม 6.56 ล้านบาท และขาดทุนสุทธิ 1.20 ล้านบาท
                    3. แผนปฏิบัติการประจำปี 2564 ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 17 โครงการ สรุปได้ ดังนี้
                              3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาปรับปรุงการบริหารจัดการสู่องค์กรที่ทันสมัยอย่างมีธรรมา          ภิบาล ประกอบด้วย 8 โครงการ เช่น โครงการอบรมให้ความรู้การบริหารจัดการด้านนวัตกรรม โครงการส่งเสริมเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของคณะกรรมการ อสป. และโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์ทับซ้อนและการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในหน่วยงาน
                              3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงให้ถูกสุขอนามัยได้รับมาตรฐานสากล ประกอบด้วย 4 โครงการ เช่น โครงการพัฒนาสะพานปลากรุงเทพและโครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือและตลาดประมงอ่างศิลา
                              3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างศักยภาพการจัดหารายได้และพัฒนาสะพานปลาท่าเทียบเรือปลาให้ทันสมัย ประกอบด้วย 2 โครงการ ได้แก่ โครงการหารายได้จากการบริหารสินทรัพย์สะพานปลาและท่าเทียบเรือประมงและโครงการหารายได้จากการดำเนินกิจกรรมตลาดผลิตภัณฑ์และบริการ
                              3.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 ขยายเครือข่ายและส่งเสริมธุรกิจชาวประมงและผู้ประกอบการให้มีความเติบโตและยั่งยืนในอาชีพประมง ประกอบด้วย 3 โครงการ เช่น โครงการส่งเสริมความรู้กฎหมาย สุขอนามัย และวิชาชีพผู้ประกอบธุรกิจประมงและโครงการพัฒนาอาชีพการแปรรูปสินค้าและธุรกิจประมงพื้นบ้าน

10. เรื่อง รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2562 และ 2563
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2562 และ 2563 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป และให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับความเห็นของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 71/10 (10) บัญญัติให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) มีอำนาจหน้าที่ในการจัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของ ก.พ.ร. จึงได้ดำเนินการจัดทำรายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2562 และ 2563 เพื่อประมวลผลการปฏิบัติงานของ ก.พ.ร.โดยรวบรวมผลงานเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการที่สำคัญและการดำเนินการของสำนักงาน ก.พ.ร. ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ 2563
                    2. ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบรายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2562 และ 2563 และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2562 สรุปได้ดังนี้
                              1.1 ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมของสำนักงาน ก.พ.ร.
                              1.2 ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานที่สำคัญ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
                                        1.2.1 ด้านพัฒนาการให้บริการประชาชน
                                                  (1) ไม่เรียกสำเนาเอกสารที่ราชการออกให้จากประชาชนโดยมีหน่วยงานที่ดำเนินการยกเลิกการเรียกสำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านครบถ้วน               ทุกกระบวนงาน จำนวน 60 หน่วยงาน เช่น กรมการขนส่งทางบก กรมบังคับคดี เป็นต้น
                                                  (2) พัฒนาระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) ครอบคลุมการให้บริการออกหนังสือรับรอง ใบอนุญาตและเอกสารแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชนหรือผู้ประกอบการ สามารถทำธุรกรรมผ่าน bizportal.go.th โดยยื่นที่เดียว แบบฟอร์มเดียว เอกสารชุดเดียว และติดตามได้ทุกใบอนุญาต
                                                  (3) เพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) โดยธนาคารโลกแถลงผลการจัดอันดับความยาก ? ง่าย ในการประกอบธุรกิจ Doing Business 2020 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 21 จาก 190 ประเทศทั่วโลกสูงขึ้น 6 อันดับ
                                        1.2.2 ด้านปรับบทบาทภารกิจโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ
                                                  (1) กำหนดแนวทางการมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรม (rearrange) ให้ส่วนราชการพิจารณาจัดโครงสร้างส่วนราชการระดับต่ำกว่ากรมได้เองโดยไม่เพิ่มจำนวนกองในภาพรวมของส่วนราชการ
                                                  (2) ยับยั้งการเพิ่มหน่วยงานใหม่ตามแผนการปฏิรูปประเทศ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติที่มีเป้าหมายให้ภาครัฐมีขนาดที่เล็กลงสำนักงาน ก.พ.ร. จึงเสนอคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ให้มีมติเห็นชอบให้ส่วนราชการต้องพิจารณาปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของหน่วยงาน แต่ปรากฏว่ามีการเสนอร่างกฎหมายที่มีการจัดตั้งหน่วยงาน คณะกรรมการ และกองทุน เสนอต่อคณะรัฐมนตรี ทำให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐในอนาคต อีกทั้งยังทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงเสนอคณะรัฐมนตรีมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562 ให้มีมติถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 และในกรณีที่ขอจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มใหม่ต้องเสนอยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานที่มีอยู่เดิม (One-in, X-Out) เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนในภารกิจและงบประมาณ
                                                  (3) จัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เป็นหน่วยงานหลักในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเตรียมความพร้อมประเทศสู่ศตวรรษที่ 21 ตามแนวนโยบาย Thailand 4.0
                                        1.2.3 ด้านเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
                                                  (1) ผลักดันการพัฒนาระบบราชการ 4.0 โดยการขับเคลื่อนภาครัฐไปสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล (Digital Government) เช่น การบูรณาการในการเชื่อมโยงข้อมูลและการดำเนินงานโดยใช้เทคโนโลยีร่วมกัน การนำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ดิจิทัลมาสนับสนุนการจัดเก็บข้อมูลและจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เป็นต้น
                                                  (2) ประเมินส่วนราชการ จังหวัด และองค์การมหาชนตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ โดยมีเป้าหมายให้ส่วนราชการ จังหวัดและองค์การมหาชนดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพในภารกิจที่มีความสำคัญต่อประเทศและประชาชน
                                        1.2.4 ด้านนโยบายการพัฒนาระบบราชการ
                                                  (1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนบริการภาครัฐที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยให้ประชาชนร่วมออกแบบและนำเสนอแนวทางการพัฒนางานภาครัฐ ผ่านกิจกรรม MY BETTER COUNTRY HACKATHON ซึ่งจากกิจกรรมดังกล่าวทำให้ได้ 24 ข้อเสนอที่สามารถนำไปพัฒนางานบริการภาครัฐ เช่น การพัฒนา Chat bot ให้ข้อมูลข่าวสารติดต่อราชการกับสถานีตำรวจ การพัฒนาระบบเพื่อลดเวลาในการรอคอยยาในโรงพยาบาล เป็นต้น
                                                  (2) พัฒนาต้นแบบนวัตกรรมงานบริการภาครัฐ (GovLab) ซึ่งครอบคลุมงานบริการสาธารณะที่หลากหลาย และเป็นงานบริการพื้นฐานที่มีผลกระทบกับประชาชนสูงใน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการท่องเที่ยว ด้านการช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ด้านการตรวจคนเข้าเมือง ด้านการศึกษา และด้าน SMEs เพื่อการส่งออก
                                                  (3) เสริมสร้างความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐของประเทศไทย สร้างความเข้มแข็งและยกระดับประสิทธิภาพในการดำเนินการด้านความซื่อตรงในการบริหารงานภาครัฐ
                    2. รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2563 สรุปได้ดังนี้
                              2.1 ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมของสำนักงาน ก.พ.ร.
                              2.2 ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานที่สำคัญ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
                                        2.2.1 ด้านพัฒนาการให้บริการประชาชน
                                                  (1) พัฒนาระบบศูนย์กลางการบริการประชาชนในการติดต่อราชการแบบเบ็ดเสร็จครบวงจร (Citizen Portal) ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เพื่อให้บริการบน Mobile Application โดยประชาชนสามารถติดต่อรับบริการจากภาครัฐได้ทุกที่ ทุกเวลาด้วยความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่าย
                                                  (2) พัฒนาระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) โดยได้ศึกษาและพัฒนาระบบต้นแบบเพื่อยกระดับการให้บริการของระบบการให้บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จทางอิเล็กทรอนิกส์ (Biz Portal) ให้เป็นแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางครบวงจรเต็มรูปแบบ (Fully Digital Services)
                                                  (3) ขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์                  (e-Service) ส่งเสริมให้ส่วนราชการมีการพัฒนาระบบการให้บริการแบบ e-Service ได้แบบเบ็ดเสร็จ นอกจากนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงช่องทางการบริการภาครัฐที่เป็น e-Service รวม 325 งานบริการ เผยแพร่บนเว็บไซต์สำนักงาน ก.พ.ร. ประกอบด้วย (1) งานบริการเพื่อประชาชน 87 งานบริการ   (2) งานบริการสำหรับผู้ประกอบธุรกิจ/SMEs 192 งานบริการ และ (3) งานบริการด้านแรงงานหรือส่งเสริมการมีงานทำ 46 งานบริการ
                                                  (4) กำหนดแนวทางการทบทวนกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการให้บริการ e-Service ของหน่วยงานนำร่องในการพัฒนาการออกเอกสารหลักฐานด้วยระบบดิจิทัล 84 ฉบับ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2563 (มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2563) โดยผลการดำเนินการพบว่าหน่วยงานได้ทบทวนหรือแก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบแล้วเสร็จ 44 ฉบับ อยู่ระหว่างการดำเนินการ 40 ฉบับ (ข้อมูล ณ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564)
                                        2.2.2 ด้านปรับบทบาทภารกิจโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐ
                                                  (1) ปรับบทบาทภารกิจของส่วนราชการเพื่อให้ส่วนราชการสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง เช่น การปรับปรุงบทบาทภารกิจของกรมทรัพยากรทางชายทะเลและชายฝั่ง เพื่อบูรณาการภารกิจในการบริหารงานเชิงยุทธศาสตร์และเชิงพื้นที่ การอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งและการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งการปฏิบัติภารกิจตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความมั่งคงทางทะเล การปรับปรุงบทบาทภารกิจของสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อรองรับภารกิจในการพัฒนานโยบายและนวัตกรรมทางสังคม คิดค้นนวัตกรรม เป็นต้น
                                                  (2) การปรับปรุงบทบาทภารกิจ และโครงสร้างของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามหลักการมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรมเพื่อรองรับภารกิจในการพัฒนาผู้ประกอบการไทย ได้แก่ การพัฒนาความร่วมมือและเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการและเครือข่ายองค์ความรู้ในเทคโนโลยีเป้าหมายและนวัตกรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยได้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนส่งเสริมและผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในต่างประเทศเพื่อขยายตลาดไปยังนานาประเทศ
                                                  (3) สร้างความเข้มแข็งในการบริหารเชิงพื้นที่และพัฒนาระบบบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ โดยนำข้อเสนอรูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการในจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูงไปทดลองนำร่องใน 6 จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรสาคร ชัยนาท ขอนแก่น ราชบุรี นครพนม และสระบุรี ซึ่งมุ่งเน้นประเด็นการยกระดับศูนย์ดำรงธรรมอำเภอให้เป็นศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ โดยนำงานบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ไปทดลองให้บริการ
                              2.2.3 ด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
                                                  (1) ปรับแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นการติดตามผลการดำเนินงาน (Monitoring) แต่ไม่นำมาประเมินผล และให้ถอดบทเรียนการบริหารจัดการและแก้ปัญหาในสถานการณ์ Covid - 19 เนื่องจากหน่วยงานต้องเผชิญกับวิกฤตดังกล่าวและมุ่งแก้ไขปัญหา จึงอาจไม่สามารถประเมินผลตามกรอบการประเมินที่กำหนดไว้เดิมได้
                                                  (2) กำหนดแนวทางการประเมินส่วนราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้สอดคล้องกับการทำงานในรูปแบบ New Normal โดยประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน มุ่งเน้นการขับเคลื่อนภารกิจของภาครัฐให้มีความสอดคล้องและเชื่อมโยงกับเป้าหมายของแผนสำคัญระดับชาติในมิติ Function, Area, Agenda, Joint และประเมินศักยภาพในการดำเนินงานสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 ซึ่งวัดจากการพัฒนาองค์การรวมทั้งวัดผลการประเมินสถานะการเป็นระบบราชการ 4.0
                                        2.2.4 ด้านนโยบายการพัฒนาระบบราชการ
                                                  (1) กำหนดมาตรการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานภาครัฐในการบริหารราชการและให้บริการประชาชนในสภาวะวิกฤต เพื่อรองรับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เช่น การให้ทุกหน่วยงานของรัฐทบทวนและปรับปรุงแผนบริหารความพร้อมต่อสภาวะวิกฤต (Business Continuity Plan : BCP) ให้เป็นปัจจุบันและรองรับกรณีเกิดโรคระบาดต่อเนื่องและเหตุวิกฤตอื่น ผลการดำเนินการ ณ วันที่ 31 กันยายน 2563 มีหน่วยงานของรัฐจัดทำแผน BCP แล้ว 3,616 แห่ง โดยร้อยละ 96.97 เป็นแผนที่รองรับ Covid - 19
                                                  (2) พัฒนาระบบการค้าดิจิทัลแพลตฟอร์มแห่งชาติ (National Digital Trade Platform : NDTP) เพื่อพัฒนาระบบบริการดิจิทัลสำหรับการค้าระหว่างประเทศในการอำนวยความสะดวกสำหรับการนำเข้าและส่งออกสินค้าให้แก่ภาคเอกชน เป็นการพัฒนาตามแนวนโยบายการยกระดับด้านดิจิทัลของภาครัฐ เพื่อมุ่งสู่การเป็น Thailand 4.0
                                                  (3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนบริการภาครัฐที่ตอบสนองความต้องการของประชาชน โดยจัดกิจกรรมระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนางานบริการภาครัฐ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมจากภาคเอกชน นักศึกษา และหน่วยงานภาครัฐ โดยมีข้อเสนอในการพัฒนางานภาครัฐ 9 ประเด็น ได้แก่ กรแก้ปัญหาน้ำแล้งในชุมชน การลดปริมาณฝุ่นที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ป่าไม้ยั่งยืน การจัดการขยะริมคลอง การจัดการอาหารที่ถูกทิ้ง การบริหารจัดการขยะ การใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ การลดมลพิษทางอากาศ นโยบายรัฐที่ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของประชาชนได้อย่างตรงจุด ซึ่งจะได้นำข้อเสนอดังกล่าวขยายผลไปสู่การปฏิบัติต่อไป

11. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.)                 ครั้งที่ 2/2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 มาตรา 7 (6) ที่บัญญัติให้ กพต. มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อคณะรัฐมนตรี] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
เรื่อง          การดำเนินการ/ข้อสั่งการประธาน กพต./มติ กพต.
เรื่องเพื่อทราบ (6 เรื่อง)
 1. รายงานความคืบหน้าและผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการช่วยเหลือและพัฒนาแรงงานไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กลุ่มที่เดินทางกลับจากต่างประเทศภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)          - การดำเนินการ ช่วยเหลือมุ่งสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ โดยมีกรอบการดำเนินการ 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ผู้ที่พร้อมไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมนอกพื้นที่ 2) ผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพในภูมิลำเนาเดิม และ 3) การเตรียมความพร้อมเข้าสู่การทำงานภาคเกษตรประเภทสวนปาล์มในประเทศมาเลเซีย ทั้งนี้ ผลการดำเนินการภายในเดือนกันยายน 2564 เป็นไปตามเป้าหมาย 10,000 คน และจะครบ 17,000 คน ตามแผนปฏิบัติการฯ ในระยะที่ 3 ต่อไป
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงการต่างประเทศ และ ศอ.บต. เร่งประสานเครือข่ายทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมทำงาน เพื่อแก้ไขปัญหาการว่างงานของประชาชนให้เห็นผลเป็นรูปธรรม เตรียมความพร้อมสำหรับกลุ่มแรงงานที่เดินทางไปต่างประเทศภายหลังวิกฤตโรคโควิด-19 คลี่คลายโดยวางแผนปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบัน
- มติ กพต. รับทราบ
2. รายงานความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้          - การดำเนินการ เช่น 1) กำหนดมาตรการในการเฝ้าระวัง ทดลองเพื่อหาแนวทางในการกำจัด ป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้คำแนะนำในการปฏิบัติแก่เกษตรกรให้ใช้ปุ๋ยบำรุงต้นยางอย่างถูกวิธี รวมพื้นที่ดำเนินการทั้งสิ้น 3,765.22 ไร่ และ 2) ประเมินผลและติดตามสถานการณ์ปัญหาการระบาดฯ มีพื้นที่ระบาดของโรคลดลงกว่า 893,272.18 ไร่ (ร้อยละ 98.73) คงเหลือพื้นที่ระบาดของโรคเพียง 11,447.56 ไร่
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. ให้ ศอ.บต. ประสาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ร่วมกันวางแผนป้องกันการเกิดโรคไม่ให้เป็นปัญหาในฤดูกาลหน้า โดยพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสมของพื้นที่ เช่น การปลูกพืชผสมผสาน การสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะอาดของสวนยางและการเฝ้าระวังติดตามป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง
- มติ กพต. รับทราบ
3. รายงานความคืบหน้าการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความยั่งยืน          - การดำเนินการ เช่น 1) แต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการความร่วมมือในการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2) ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนงานบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น 2.1) เห็นชอบแผนปฏิบัติการของหน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำและ 2.2) เสนอแนวทางแก้ไขปัญหาพื้นที่โครงการด้านน้ำอยู่ในเขตป่าประเภทต่าง ๆ
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. มอบหมายสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ และ ศอ.บต. ทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด เพื่อวางระบบและกลไกการทำงานให้ประสานสอดคล้องกัน และให้เร่งรัดแก้ไขปัญหาระบบชลประทานขนาดเล็กที่มีความเสียหายโดยเร็ว รวมทั้งเร่งปรับปรุงระบบการอนุญาต/อนุมัติในการขอใช้พื้นที่ก่อสร้าง และพัฒนาแหล่งน้ำของหน่วยงานภาครัฐให้มีความรวดเร็ว ตลอดจนร่วมกันวางแผนพัฒนาระบบชลประทานที่เข้าถึงพื้นที่เกษตรกรรมของเกษตรกรให้ได้มากที่สุด
- มติ กพต. รับทราบ
4. รายงานความคืบหน้าและผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน          - การดำเนินการ ขับเคลื่อนโครงการตามแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ได้แก่ 1) โครงการโรงไฟฟ้าประชารัฐสำหรับพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 120 เมกะวัตต์ และ 2) โครงการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแบบครบวงจรในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน จำนวน 256.9 เมกะวัตต์
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. ให้กระทรวงพลังงาน ศอ.บต. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด โดยนำแนวทางการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าไปสู่การปฏิบัติ โดยเฉพาะการวางแผนพัฒนาเกษตรฐานราก ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น มีอาชีพ มีการจ้างงานที่หลากหลายเชื่อมโยงไปยังโครงการพัฒนาอื่น ๆ ของส่วนราชการได้
- มติ กพต. รับทราบ
5. รายงานความคืบหน้าโครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืน พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีเร่งด่วนและการจัดทำปะการังเทียมพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดชายแดนภาคใต้          - การดำเนินการ ในช่วงเดือนมีนาคม - พฤษภาคม 2564 ศอ.บต. ร่วมกับผู้ประสานงานหลักของสมาคมการประมงจังหวัดปัตตานี ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเรือที่เป็นเป้าหมายดำเนินงานของโครงการฯ เป็นกรณีเร่งด่วน ประกอบด้วยชุดข้อมูลเรือประมงจังหวัดปัตตานี จำนวน 304 ลำ และเรือประมงจากข้อเสนอสมาคมฯ จำนวน 220 ลำ เพื่อเตรียมการให้พร้อมดำเนินงานได้ทันที
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. มอบหมายให้ ศอ.บต. เร่งจัดกลไกขับเคลื่อนโครงการฯ เป็นกรณีเร่งด่วนฯ โดยเร็ว และให้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล กษ. (การประมง) กระทรวงคมนาคม (กรมเจ้าท่า) และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกับ ศอ.บต. เร่งรัดดำเนินโครงการฯ พร้อมทั้งเร่งสื่อสารสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องกับประชาชนเพื่อร่วมมือกันคลี่คลายปัญหาให้เกิดผลเป็นรูปธรรม
- มติ กพต. รับทราบ
6. รายงานความก้าวหน้าการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ สำหรับดำเนินการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบ ?สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน? ไปสู่เมืองต้นแบบที่ 4 อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ?เมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต? และการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง          - การดำเนินการ เช่น 1) จัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเชิงพื้นที่ สำหรับดำเนินการขยายผลโครงการเมืองต้นแบบฯ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างจัดทำร่างข้อกำหนดขอบเขตงาน (TOR) 2) ปรับปรุงการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรองรับเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา 3) มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา และ 4) ศึกษาความเชื่อมโยงเส้นทางการคมนาคมขนส่งเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. ให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมกันขับเคลื่อนโครงการเมืองต้นแบบฯ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนและให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
- มติ กพร. รับทราบ
เรื่องเพื่อพิจารณา (4 เรื่อง)
1. การขยายผลโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2570          - มติ กพต. 1) เห็นชอบแผนปฏิบัติการโครงการฯ เพื่อขยายผลโครงการฯ โดยกำหนดเป้าหมายออกโฉนดที่ดินให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ [จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ เทพา นาทวี สะบ้าย้อย)] จำนวน 90,000 แปลง เป้าหมายปีละ 15,000 แปลง 2) อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณ จำนวน 442.30 ล้านบาท เพื่อให้กรมที่ดินได้ใช้เป็นกรอบในการขอรับการจัดสรรงบประมาณตามแผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ประจำปีหรืองบประมาณแหล่งอื่น ๆ และ 3) ให้นำความเห็นของ กพต. ไปพิจารณาดำเนินการ ได้แก่ 3.1) ให้ ศอ.บต. หารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีที่ดินที่มีปัญหาทับซ้อนกับพื้นที่เขตห้ามล่า หรือกรณีอื่นใดที่ดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐแล้วทำให้เกิดการรอนสิทธิในที่ดินของประชาชน และ 3.2) ในกรณีที่งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ไม่เพียงพอสำหรับการดำเนินการให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการโครงการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดินเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้ใช้วิธีการบริหารงบประมาณตามระเบียบว่าด้วยการโอนงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและงบประมาณรายจ่ายบุคลากรระหว่างหน่วยรับงบประมาณ พ.ศ. 2562
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. มอบหมาย ศอ.บต. ประสานการทำงานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการให้ประชาชนได้รับเอกสารสิทธิที่ดินทำกิน เนื่องจากเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาลเพื่อสร้างมูลค่าของทรัพย์สินและเป็นหลักประกันการเข้าถึงแหล่งทุนสนับสนุนการทำมาหากิน ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาในด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. ขออนุมัติหลักการโครงการแก้ไขปัญหาสุขภาวะและภาวะโภชนาการต่ำของเด็กเล็กในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2568          - มติ กพต. 1) อนุมัติหลักการโครงการฯ พื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำหรับจังหวัดสงขลาเฉพาะ 4 อำเภอ และ 2) อนุมัติกรอบวงเงินสนับสนุนโครงการฯ รวมทั้งหมด 46,819 คน รวมวงเงิน 1,112.55 ล้านบาท ทั้งนี้ ไตรมาสที่ 4 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ขอรับการสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นค่าใช้จ่ายช่วยเหลือเด็กเล็ก 47.90 ล้านบาท สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้หน่วยงานรับผิดชอบปรับแผนการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี หากงบประมาณไม่เพียงพอให้ขอรับการสนับสนุนเพิ่มเติมจากงบกลางต่อไป 3) ให้ มท. กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบร่วมกันดำเนินการปรับปรุงระบบการจัดการเด็กเล็กในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และให้ ศอ.บต. เป็นหน่วยงานบูรณาการในภาพรวม และ 4) เห็นชอบในหลักการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้ กพต. เพื่อทำหน้าที่กำกับ เร่งรัด และติดตามการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. มอบหมายให้ มท. สธ. ศธ. และ ศอ.บต. บูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด และให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องครบถ้วน
3. ขออนุมัติหลักการและกรอบวงเงินโครงการเมืองปศุสัตว์ภายใต้กรอบระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลจังหวัดชายแดนภาคใต้          - มติ กพต. 1) อนุมัติหลักการโครงการฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2569 มุ่งส่งเสริมการเลี้ยงโคเป็นกิจการนำร่อง และขยายผลไปสู่การปศุสัตว์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ ศอ.บต. กษ. (กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการ และ 2) อนุมัติกรอบวงเงิน จำนวน 700 ล้านบาท เพื่อให้หน่วยงานรับผิดชอบได้ใช้เป็นกรอบในการขอรับการจัดสรรงบประมาณประจำปี หรืองบประมาณแหล่งอื่น ๆ เพื่อขับเคลื่อนโครงการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. การพัฒนาเมืองปศุสัตว์ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยความร่วมมือของหลายกระทรวง กรม เพื่อมุ่งให้เกิดประโยชน์สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และอัตลักษณ์ของพื้นที่ จึงขอให้ทุกส่วนราชการร่วมกับ ศอ.บต. ขับเคลื่อนโครงการตามหน้าที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่องให้เกิดผลเชื่อมโยงภายใต้กรอบการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจฮาลาลต่อไป
4. การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองร่างยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553          - มติ กพต. เห็นชอบร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกลั่นกรองฯ โดยมีเลขาธิการ ศอ.บต. เป็นประธาน
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. ให้ ศอ.บต. และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องน้อมนำยุทธศาสตร์พระราชทาน ?เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา? ไปเป็นแนวทางสำคัญของการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง โดยเน้นให้ความสำคัญกับโครงการที่มีความจำเป็นต่อประชาชนและพื้นที่ และโครงการที่มีการบูรณาการความร่วมมือจากหลายภาคส่วน

12. เรื่อง ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
                    ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 142 กำหนดให้ในการเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต้องแสดงความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาต่าง ๆ ประกอบกับพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 5 วรรคสาม กำหนดให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ และมาตรา 10 วรรคสาม กำหนดให้แผนแม่บทที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้มีผลผูกพันหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนั้น รวมทั้งการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณต้องสอดคล้องกับแผนแม่บทด้วย ตลอดจนพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 มาตรา 19 (1) กำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณมีหน้าที่และอำนาจกำหนดยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้เป็นแนวทางในการจัดทำคำขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปี และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 มอบหมายสำนักงบประมาณจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อให้การขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด นั้น
                    เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามนัยกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวข้างต้น สำนักงบประมาณได้ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง พิจารณาจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีข้อสรุป ดังนี้
                    1. หลักการและกรอบการจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
                    ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้จัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570) แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และนโยบายรัฐบาล โดยมุ่งให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับประเด็นการพัฒนาที่ต้องเร่งดำเนินการ เพื่อให้บรรลุ 13 หมุดหมายการพัฒนาตาม (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ประกอบด้วย
หมุดหมายที่ 1  ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
หมุดหมายที่ 2  ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน
หมุดหมายที่ 3  ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก
หมุดหมายที่ 4  ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง
หมุดหมายที่ 5  ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค
หมุดหมายที่ 6  ไทยเป็นฐานการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะที่สำคัญของโลก
หมุดหมายที่ 7  ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถ
แข่งขันได้
หมุดหมายที่ 8  ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน
หมุดหมายที่ 9  ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่
เพียงพอ เหมาะสม
หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
หมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ
หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่ง
อนาคต
หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน
ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบที่รุนแรง ควบคู่กับการให้ความสำคัญประเด็นการพัฒนาตามแผนย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (23 ประเด็น) จำนวน 85 ประเด็น ประเด็นการพัฒนาภายใต้ (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และกิจกรรมปฏิรูปตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 13 ด้าน รวมทั้งนโยบายรัฐบาลเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมและบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ?ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง? โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้
                    1. กำหนดโครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ ประกอบด้วย รายจ่ายเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ
                    2. นำเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ชาติ และเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ มากำหนดไว้ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดสรรฯ ในแต่ละด้าน เพื่อแสดงให้เห็นเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของแผนในแต่ละระดับที่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างเป็นรูปธรรม
                    3. นำแผนย่อยทั้ง 85 ประเด็น ภายใต้แผนแม่บทฯ 23 ประเด็น และแผนการปฏิรูปประเทศ              13 ด้าน มากำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ภายใต้ยุทธศาสตร์แต่ละด้าน พร้อมทั้งนำเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของแผนดังกล่าวมากำหนดไว้ภายใต้แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และตัวชี้วัดที่สามารถติดตามผลได้
                    4. นำประเด็นสำคัญของ 13 หมุดหมาย ภายใต้ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ที่ต้องเร่งดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมาย/ตัวชี้วัดที่ต้องการบรรลุ มากำหนดเป็นจุดเน้นการพัฒนาที่ต้องให้ความสำคัญลำดับสูง ควบคู่กับนำแนวทางการพัฒนาภายใต้แผนย่อยของแผนแม่บทฯ ประเด็นการพัฒนาภายใต้ (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และกิจกรรมปฏิรูปที่ต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มากำหนดเป็นนโยบายการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยรับงบประมาณจัดทำโครงการรองรับประเด็นดังกล่าว ซึ่งรวมถึงโครงการสำคัญประจำปี 2566 ที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ จำนวน 406 โครงการ ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 และเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ               พ.ศ. 2566 ต่อไป
                    2. โครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
                    ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย                      6 ยุทธศาสตร์ และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ ดังนี้
                              1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
                              2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
                              3) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
                              4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
                              5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
                              6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
                    รายการค่าดำเนินการภาครัฐ ประกอบด้วย รายจ่ายเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นและรายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ

ต่างประเทศ

13. เรื่อง การจัดทำข้อตกลงการบริหารจัดการกองทุนเสริมสร้างสันติภาพ (Peacebuilding Fund)                          ของสหประชาชาติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการจัดทำข้อตกลงการบริหารจัดการกองทุนเสริมสร้างสันติภาพ [Peacebuilding Fund (PBF)] (ข้อตกลงฯ) และอนุมัติให้เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ                   ณ นครนิวยอร์ก เป็นผู้ลงนามข้อตกลงฯ ของฝ่ายไทย ทั้งนี้หากมีความจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับปรุงร่างข้อตกลงฯ                       ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนการลงนาม ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. สหประชาชาติได้จัดตั้ง PBF เมื่อวันที่  8 กันยายน 2549 โดยเป็นกองทุนที่ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณเพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการต่อเนื่องในการรักษาสันติภาพและระดมความร่วมมือจากทุกฝ่าย                   ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างสันติภาพแก่ประเทศที่เพิ่งผ่านพันสภาพความขัดแย้ง โดยระดมเงินสนับสนุนด้วยการขอรับบริจาคจากรัฐสมาชิกของสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศ และภาคเอกชน ซึ่งเป็นการบริจาคโดยสมัครใจและเป็นครั้ง ๆ ไป ซึ่งที่ผ่านมาไทยได้เคยบริจาคเงินเข้า PBF มาแล้ว 2 ครั้ง (ปี พ.ศ.2550 และ                 พ.ศ. 2552)
                    2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (19 มกราคม 2564) เห็นชอบในหลักการการบริจาคเงินสมทบ PBF ประจำปี 2565 เพื่อสนับสนุนบทบาทของไทยในฐานะสมาชิกคณะกรรมาธิการเสริมสร้างสันติภาพ [Peacebuilding Commission (PBC)] ของสหประชาชาติ (วาระปี 2564 - 2565) และเพื่อเสริมสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ สำหรับค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐหรือประมาณ 3,037,000 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 30.37 บาท) ให้ กต. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.)
                    3. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (19 มกราคม 2564) รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ประกาศให้คำมั่นการบริจาคเงินสมทบ PBF ประจำปี 2564 ในการประชุมระดับสูงเพื่อระดมทรัพยากรสำหรับกองทุนเสริมสร้างสันติภาพ (High - level Replenishment Conference for the Peacebuilding Fund) เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ซึ่งต่อมา กต. ได้รับแจ้งจากสำนักงานกองทุนแบบพหุภาคี [Multi - Partner Trust Fund (MPTF) Office] เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารจัดการ PBF ว่า ในการสนับสนุนงบประมาณให้กับ PBF ไทยในฐานะผู้บริจาคจะต้องจัดทำข้อตกลงการบริหารจัดการ PBF กับ MPTF Office ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) ด้วยวิธีการบริหารกองทุนแบบทางผ่าน [รูปแบบการจัดการกองทุนของสหประชาชาติที่ใช้เพื่อสนับสนุนกองทุนรวมระหว่างหน่วยงานในสหประชาชาติโดยเงินช่วยเหลือจากกองทุนแบบทางผ่านจะมีหน่วยงานหรือประเทศตัวกลางดำเนินการรับเงินบริจาคเพื่อโอนหรือใช้จ่ายในนามของผู้รับเงินบริจาค]
                    4.ร่างข้อตกลงฯ จัดทำขึ้นระหว่างไทยกับ UNDP ซึ่งระบุสาระสำคัญเกี่ยวกับรายละเอียดการบริจาคเงินให้แก่ PBF และการบริหาร PBF ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขซึ่งใช้บังคับกับองค์การที่เป็นผู้รับ (Recipient Organization) และตัวแทนบริหารจัดการกองทุน (Administrative Agent ให้ดำเนินการตามแนวทางที่สหประชาชาติกำหนดอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยไม่มีการกำหนดพันธกรณีสำหรับผู้บริจาค (Donor)

14. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 39 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 39 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 13 -16 กันยายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์       พันธ์มีเชาว์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนเข้าร่วมการประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ                  (14 กันยายน 2564) เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 39 และ               การประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จำนวน 6 ฉบับ] ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.  การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 39 ที่ประชุมได้รับรองร่างปฏิญญาร่วมบันดาร์เสรี    เบกาวันของรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานในด้านความมั่นคงและการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 39 และได้รับทราบแผนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน ระยะที่ 2 พ.ศ. 2561 - 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

สาขาความร่วมมือ          สาระสำคัญของผลการประชุม

ด้านการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน (ASEAN Power Grid:APG)          รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการภายใต้สาขาความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าอาเซียน ปี 2564 ได้แก่ (1) การซื้อ-ขายไฟฟ้าพหุภาคีภายใต้ APG การกำหนดกลไกเพื่ออำนวยความสะดวก และการศึกษาแผนแม่บทการเชื่อมต่อโครงข่ายอาเชียนระยะที่ ๓ ซึ่งดำเนินการเสร็จแล้ว และ (2) โครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว)-ประเทศไทย (ไทย)-มาเลเชีย ระยะที่ 2 โดย ณ เดือนสิงหาคม 2564 มีการซื้อขายไฟฟ้ารวม 1.72 กิโลวัตต์ชั่วโมง และปัจจุบันได้ดำเนินโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้า สปป. ลาว-ไทย-มาเลเซีย-สาธารณรัฐสิงคโปร์ (สิงคโปร์) โดยกำหนดปริมาณการซื้อ-ขายไฟฟ้าสูงสุดที่ 100 เมกะวัตต์และจะเริ่มซื้อ-ขายในปี 2565 - 2566

ด้านการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน          รับทราบการดำเนินงานภายใต้โครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน
โดยมุ่งพัฒนาตลาดก๊าซร่วมสำหรับภูมิภาคและเพิ่มจุดเชื่อมต่อเพื่อรองรับ
การเข้าถึงก๊าซธรรมชาติ รวมถึงส่งเสริมบทบาทการใช้ก๊าซธรรมชาติ
เพื่อเป็นพลังงานสะอาด

ด้านถ่านหินและเทคโนโลยีถ่านหินสะอาด          รับทราบและเห็นชอบการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศแห่งอาเชียนด้านเทคโนโลยีถ่านหินสะอาดและการลงนามบันทึกความตกลงร่วมระหว่างศูนย์พลังงานอาเซียนกับสถาบันวิจัยด้านเทคโนโลยีพลังงานและเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) โดยจะศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอนในโรงไฟฟ้าถ่านหินและเสริมสร้างขีดความสามารถด้านเทคนโลยีถ่านหินสะอาดมาใช้ในอาเซียน

ด้านประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน          รับทราบ
(1) ความคืบหน้าการพัฒนาแนวทางการประหยัดพลังงานในอาคาร
และระบบทำความเย็น โดยมีการเปิดตัวระบบฐานข้อมูลการลงทะเบียน
ผลิตภัณฑ์เครื่องปรับอากาศของภูมิภาคอาเซียนเมื่อเดือนเมษายน 2564
(2) ความก้าวหน้าของการลดความเข้มการใช้พลังงานในภูมิภาคในปี 2562 ซึ่งอาเซียนสามารถบรรลุเป้าหมายคิดเป็นร้อยละ 21.8 จากเป้าหมายที่ทั้งภูมิภาคจะต้องลดความเข้มการใช้พลังงานให้ได้ร้อยละ 32 ในปี 2568

ด้านพลังงานหมุนเวียน
          รับทราบ
(1) ความคืบหน้าของความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและประเทศ
คู่เจรจา เช่น ความร่วมมือกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ
ของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันในการพัฒนาก๊าซชีวภาพในภาคไฟฟ้าของอาเซียนและการบูรณาการกลยุทธ์การพัฒนายานยนต์ไฟฟ้ากับแนวทางการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพของอาเซียน
(2) สถานะการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนของอาเซียน โดยในปี 2562
มีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนของอาเซียน ร้อยละ 13.5 ของพลังงานทั้งหมด
ที่ผลิตได้ ซึ่งอาเซียนตั้งเป้าไว้ที่ ร้อยละ 23 ในปี 2568 และมีสัดส่วน
โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ร้อยละ 28.7 ของปริมาณกำลังการผลิตติดตั้ง
ของโรงไฟฟ้าทั้งหมด ซึ่งอาเซียนตั้งเป้าหมายไว้ที่ ร้อยละ 35 ในปี 2568

ด้านนโยบายและแผนพลังงานของภูมิภาค

          รับทราบผลการดำเนินงานของแต่ละสาขาความร่วมมือและเห็นพ้องร่วมกันในการขับเคลื่อนนโยบายและแผนด้านพลังงานเพื่อเร่งการเปลี่ยนผ่านและสร้างความยืดหยุ่นด้านพลังงานของภูมิภาค โดยเน้นการวิเคราะห์ข้อมูลการผลักดันนโยบาย การวางแผนด้านพลังงานของอาเชียน และการเสริมสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศและประเทศคู่เจรจา

ด้านพลังงานนิวเคลียร์เพื่อประชาชน          รับทราบการดำเนินงานภายใต้เครือข่ายความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์
โดยมุ่งเน้นความร่วมมือระดับภูมิภาคและนานาชาติ
ด้านเครือข่ายความร่วมมือการกำกับกิจการพลังงานอาเซียน
          รับทราบการดำเนินงานของเครือข่ายความร่วมมือการกำกับกิจการ
พลังงานอาเซียนซึ่งจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือ APG และท่อก๊าซอาเซียน


                    2. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานบวกสาม [จีน สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และญี่ปุ่น] ครั้งที่ 18 มุ่งเน้นความร่วมมือด้านความมั่นคงทางพลังงาน ตลาดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ พลังงานหมุนเวียน ประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน และพลังงานสะอาดเพื่อผลักดันอาเซียนไปสู่ความสำเร็จ                ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติการความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน ระยะที่ 2 และได้รับรองถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานบวกสาม ครั้งที่ 18 โดยมีความมุ่งมั่นร่วมกันกับประเทศสมาชิกอาเซียนที่จะดำเนินมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในภาคพลังงานอย่างยั่งยืน
                    3. การประชุมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก [จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐอินเดีย (อินเดีย) นิวซีแลนด์ เครือรัฐออสเตรเลีย (ออสเตรเลีย) สหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) และสหพันธรัฐรัสเซีย (รัสเขีย)] ครั้งที่ 15 ที่ประชุมได้รับรองถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีพลังงานแห่งเอเชียตะวันออก ครั้งที่ 15 และรัฐมนตรีและผู้แทนระดับสูงจาก 17 ประเทศ ได้แสดงวิสัยทัศน์และแนวนโยบายการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและ                         การลดการปล่อยก๊ซคาร์บอนไดออกไซด์ของแต่ละประเทศ
                    นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับทราบรายงานความคืบหน้าของกิจกรรมภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออก เช่น การดำเนินงานด้านประสิทธิภาพและการอนุรักษ์พลังงาน ด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ                      ด้านพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนของภูมิภาคเอเชียตะวันออก เช่น การใช้พลังงานไฮโดรเจน และการเปลี่ยนผ่านจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ
                    4. การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ               ครั้งที่ 7 มีการนำเสนอทิศทางพลังงานของโลกและแนวทางในการบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ในปี ค.ศ. 2050 และมีการคาดการณ์ว่าสัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนจะมีปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่องภายหลังจากที่หลายประเทศเริ่มฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้รับรองเอกสารแถลงการณ์ความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียนกับทบวงการพลังงานระหว่างประเทศโดยให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน การเข้าถึงพลังงานอย่างทั่วถึงในราคาที่เหมาะสม และการพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน
                    5. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานกับทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ ครั้งที่ 5 มีการนำเสนอทิศทางการเปลี่ยนผ่านพลังงานโลกซึ่งมุ่งเน้นการสร้างเสถียรภาพของพลังงานโลกและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระบบพลังงานรวมทั้งมีการรับทราบรายงานความคืบหน้าของกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดทำเอกสารทิศทางของพลังงานหมุนเวียนในอาเซียน ฉบับที่ 2 และการจัดทำกลยุทธ์การผลิตพลังงานชีวมวลที่ยั่งยืนภายในอาเซียน นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของไทยได้กล่าวขอบคุณทบวงการพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศที่สนับสนุนการดำเนินงานของอาเซียนอย่างต่อเนื่องและเชื่อว่าการส่งเสริมพลังงานชีวภาพและพลังงานชีวมวลจะช่วยให้การพัฒนาพลังงานสะอาดในอาเชียนมีประสิทธิภาพมากขึ้น
                    6.การประชุมรัฐมนตรีอาเชียนด้านพลังงานกับสหรัฐฯ สหรัฐฯ ได้นำเสนอกรอบแนวทางความร่วมมือด้านพลังงานอาเซียน-สหรัฐฯ ผ่านการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีพลังงานของประเทศสมาชิกกับสหรัฐฯ เป็นประจำทุกปีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีด้านพลังงาน ทั้งนี้ รัฐนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของไทยแสดงความเห็นว่าการร่วมมือกับสหรัฐฯ จะช่วยส่งเสริมความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงานรวมทั้งจะช่วยกระตุ้นการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานของภูมิภาค และการบรรลุเป้าหมาย
การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีด้านพลังงานต่าง ๆ เช่น ไฮโดรเจนและเทคโนโลยีดักจับ กักเก็บและใช้ประโยชน์จากคาร์บอน
                    7. การประชุมรัฐมนตรีโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป. ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ รัฐมนตรีทั้ง 4 ประเทศ ได้ให้การรับรองถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีโครงการบูรณาการด้านไฟฟ้าระหว่าง สปป. ลาว ไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยประเทศสมาชิกยืนยันความมุ่งมั่นในการเริ่มต้นการค้าไฟฟ้า                        ข้ามพรมแดน จำนวน 100 เมกะวัตต์และแสดงความมุ่งมั่นว่าจะร่วมลงนามตามข้อตกลงสัญญาซื้อขายไฟฟ้า
                    8. การประชุมภาคธุรกิจพลังงานอาเซียน ประจำปี 2564 โดยมีหน่วยงานด้านพลังงานทั้งภาครัฐและเอกชนจากประเทศและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ รวมทั้งวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกเข้าร่วมประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านและการค้าการลงทุนด้านพลังงานในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการประกาศรางวัลพลังงานอาเซียน โดยในปี 2564 ไทยมีผู้รับรางวัลทั้งสิ้น 36 รางวัล
                    9. บทบาทของไทยในการประชุม ไทยได้แสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานในปัจจุบันว่า อาเซียนต้องร่วมมือกันโดยคำนึงถึงความสำคัญในด้านการจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการ มีเสถียรภาพ รวมทั้งมุ่งขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากแหล่งเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังงานสะอาดมากยิ่งขึ้น โดยพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลด้านพลังงานสะอาดเพื่อนำพาอาเซียนไปสู่ระบบพลังงานคาร์บอนต่ำในอนาคต

15.  เรื่อง  ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ครั้งที่ 53 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
          คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ครั้งที่ 53 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 8 ? 15  กันยายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีเนการาบรูไนดารุสซาลา (บรูไน) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม และมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์           (นายสรรเสริญ สมะลาภา) เข้าร่วมการประชุมตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.          การประชุม AEM ครั้งที่ 53 มีผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้

ประเด็นการประชุม
          ผลการประชุม

(1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ



          รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการภายใต้กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุม
ของอาเซียน จำนวน 185 กิจกรรม โดยอยู่ภายใต้ AEM จำนวน 60 กิจกรรม ดำเนินการแล้วเสร็จ 14 กิจกรรม (ณ เดือนสิงหาคม 2564) เช่น บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการดำเนินการมาตรการที่มิใช่ภาษีสำหรับสินค้าจำเป็นภายใต้แผนปฏิบัติการฮานอยว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอาเชียนให้เข้มแข็งในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโควิด-19
เห็นชอบ ดังนี้
  1) กรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมอบหมายสำนักเลขาธิการอาเขียนจัดทำเอกสารแนวคิดว่าด้วยความเป็นกลางทางคาร์บอนและการกำหนดขั้นตอนในการนำกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนฯ ไปปฏิบัติ
  2) แผนงานบันดาร์เสรีเบกาวันซึ่งเป็นแผนการปรับเปลี่ยนอาเซียนไปสู่ความเป็นดิจิทัล โดยมีเป้าหมายเพื่อเร่งกระบวนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเชียน

(2) ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่บรูไนในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2564




          - มีประเด็นภายใต้แนวคิดหลัก "We care, we prepare, we prosper" รวม 13 ประเด็น ดำเนินการแล้วเสร็จ 4 ประเด็น

- เห็นชอบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1) เอกสารเครื่องมือในการประเมินต้นทุนและประสิทธิภาพของมาตรการที่มิใช่ภาษีสำหรับอาเซียน 2) แผนการดำเนินการในการปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
ของอาเชียน ปี 2564 - 2568 และ 3) กรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนฯ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนให้การรับรองต่อไป
- รับทราบกรณีที่ประชุมคณะกรรมาธิการเขตการลงทุนอาเชียน ครั้งที่ 24 รับรองการจัดทำกรอบการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนของอาเซียน


(3) การค้าบริการของอาเซียน          - เร่งรัดให้สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ฟิลิปปินส์) จัดทำข้อผูกพันการเปิดตลาดบริการชุดที่ 10 ภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยการค้าบริการอาเซียน
- เร่งรัดให้ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) มาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) ฟิลิปปินส์ และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม) ให้สัตยาบันความตกลงการค้าบริการอาเซียน
- รับทราบกรณีที่สาธารณรัฐอินโดนีเชียได้ให้สัตยาบันความตกลงว่าด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แล้วและได้เร่งรัดให้ยื่นสัตยาบันสารภายในเดือนตุลาคม 2564 (จากการประสานข้อมูลเพิ่มเติม ได้รับแจ้งว่า มีการปรับการยื่นสัตยาบันสารเป็นภายในปี 2564)

(4) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive
Economic Partnership: RCEP)




          เร่งรัดประเทศสมาชิกให้สัตยาบันความตกลง RCEP ภายในเดือนตุลาคม 2564 เพื่อให้มีผลบังคับใช้ภายในต้นเดือนมกราคม 2565 โดยประเทศไทย (ไทย) แจ้งว่าจะสามารถยื่นสัตยาบันสารได้ภายในเดือนตุลาคม 2564 (จากการประสานข้อมูลเพิ่มเติม ได้รับแจ้งว่า ไทยได้ยื่นสัตยาบันสารแล้ว เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564)


                    2. การประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน ครั้งที่ 35 มีผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้
ประเด็นการประชุม
          ผลการประชุม

(1) การขยายรายการสินค้าจำเป็นในบัญชีแนบท้ายบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการดำเนินการมาตรการที่มิใช่ภาษีสำหรับสินค้าจำเป็นภายใต้แผนปฏิบัติการฮานอยฯ




          - เห็นชอบการขยายรายการสินค้าจำเป็นในกลุ่มสินค้าเกษตรพื้นฐานและอาหาร จำนวน 107 รายการ
- รับทราบข้อเสนอของ สปป. ลาว กัมพูชา และฟิลิปปีนส์ ในการขยายบัญชีรายการสินค้าให้ครอบคลุมข้าว ข้าวโพด และน้ำตาล รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าอุตสาหกรรม และวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19

(2) การจัดตั้งคณะผู้พิจารณาอิสระ

          รับทราบความคืบหน้าของการจัดตั้งคณะผู้พิจารณาอิสระของประเทศสมาชิกอาเซียน

(3) ประเด็นคงค้างภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน


          กัมพูชา สปป. ลาว และเมียนมา เรียกร้องให้ไทยหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้นำเข้าทั่วไปสามารถนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ตลอดทั้งปี ซึ่งไทยแจ้งว่าได้แก้ไขปัญหาประเด็นดังกล่าวแล้วและได้ปรับปรุงกฎระเบียบให้ยืดหยุ่นมากขึ้น

(4) การแก้ไขระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า


          เห็นชอบการแก้ไขภาคผนวกของหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าและระเบียบวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเชียนให้ทันสมัยและสอดคล้องกับการค้าปัจจุบัน



                    3. การหารือของรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค มีผลการประชุมที่สำคัญ เช่น

ประเด็นการประชุม          ผลการประชุม
(1) อาเซียน-จีน          รับรองแถลงการณ์ร่วม เรื่อง การเสริมสร้างความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจในโอกาสครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์อาเชียน-จีน ทั้งนี้สาธารณรัฐประชาชนจีนขอให้อาเชียนสนับสนุนการเข้าร่วมความตกลง RCEP ของเขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน(ฮ่องกง) ด้วย

(2) อาเซียน-เกาหลีใต้          สนับสนุนให้อาเชียนและสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) หาแนวทางร่วมกันในการเดินหน้าเจรจาเปิดตลาดสินค้าอ่อนไหวเพิ่มเติมโดยเฉพาะแนวทาง ASEAN minus X (ASEAN-X) (ยกเว้นเวียดนาม)

(3) อาเซียน-ญี่ปุ่น          - รับทราบกรณีอินโดนีเซียอยู่ระหว่างดำเนินการขั้นตอนสุดท้ายในการให้สัตยาบันพิธีสารฉบับที่หนึ่งเพื่อแก้ไขความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเชียน-ญี่ปุ่น
- ยินดีกับข้อเสนอแนวคิดว่าด้วยนวัตกรรมและการเติบโตอย่างยั่งยืนระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญกับนวัตกรรม 3 ด้าน ได้แก่ ด้านอุตสาหกรรม ด้านการพัฒนาเขตเมือง และด้านการพัฒนาชนบท


(4) อาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้)          เห็นชอบแผนงานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอาเชียนบวกสาม ปี 2564 - 2565

(5) อาเซียน-ฮ่องกง          รับทราบ ดังนี้
- ความตกลงการค้าเสรีอาเชียน-ฮ่องกงและความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน-ฮ่องกง มีผลบังคับใช้แล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564
- กรณีที่ฮ่องกงให้ความสนใจในการเป็นสมาชิกความตกลง RCEP

(6) อาเซียน-อินเดีย          รับทราบความคืบหน้าการจัดทำขอบเขตการเจรจาทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย

(7) อาเซียน-สหรัฐอเมริกา          เห็นชอบแผนการดำเนินงานภายใต้กรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา และการขยายการมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจ ปี 2564 ? 2565

(8) อาเซียน-สหภาพยุโรป          เห็นชอบแผนงานด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-สหภาพยุโรป ปี 2563 - 2564

(9) อาเซียน-รัสเซีย          เห็นชอบแผนดำเนินงานด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-รัสเซีย ปี 2564 - 2568 และการปรับปรุงแผนงานความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-รัสเชีย

(10) อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์          - รับทราบความคืบหน้าการเจรจาเพื่อยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ซึ่งมีผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ จะใช้ความตกลง RCEP เป็นพื้นฐานในการเจรจาจัดทำข้อบทเรื่องโทรคมนาคมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เป็นต้น
- ยินดีที่สาธารณรัฐชิลีต้องการเข้าร่วมเป็นสมาชิกความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

(11) อาเซียน-สหราชอาณาจักร          - ยินดีที่สหราชอาณาจักรได้รับสถานะประเทศคู่เจรจาและได้หารือเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 โดยจะร่วมมือกันในการผลิตและจำหน่ายยา เครื่องมือแพทย์และวัคซีนในราคาที่เหมาะสมและมีคุณภาพ
- เห็นชอบปฏิญญาร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนาคตระหว่างอาเชียนและสหราชอาณาจักร


                    4. การหารือระหว่าง AEM กับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน มีการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญและได้ดำเนินการในปี 2564 โดยเฉพาะการสร้างสภาพแวดล้อมและการเสริมสร้างความสามารถของแรงงานในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล รวมทั้งการพัฒนาความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับภาคเอกชนเพื่อรับมือผลกระทบจากโควิด-19
                    5. การหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์เกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนระหว่างกัน โดยสิงคโปร์มีความสนใจในสาขาการเงิน                     การท่องเที่ยว การซื้อขายคาร์บอน และด้านดิจิทัล ส่วนไทยจะให้การสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเรื่องนี้ต่อไป นอกจากนี้ ไทยได้ขอให้สิงคโปร์สนับสนุนการนำเข้าสินค้าเกษตรและอาหารจากไทยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวและผลไม้

16. เรื่อง สรุปผลการเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตสีเขียว (Asia Green Growth Partnership Ministerial Meeting)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตสีเขียว ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพ                     และมีผู้แทนในระดับรัฐมนตรี ผู้แทนระดับสูงจากทั้งภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่น ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ และผู้แทนสำนักงานเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมการประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (28 กันยายน 2564) เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตสีเขียวและอนุมัติให้รัฐมนตรีว่า               การกระทรวงพลังงานร่วมรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าว] ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ               สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การนำเสนอวิสัยทัศน์และนโยบายด้านพลังงานและการแสดงทรรศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในอนาคต สรปได้ ดังนี้
                              1.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ญี่ปุ่นได้แสดงวิสัยทัศน์ว่า ทุกประเทศจะต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่มีความหลากหลายและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เช่น การใช้เชื้อเพลิงที่หลากหลาย การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการสร้างกลไกการลงทุนและการเงิน รวมถึงการส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีทางพลังงานที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะต้องคำนึงถึงสถานการณ์ของแต่ละประเทศเพื่อบรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานและมุ่งไปสู่การเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้จัดตั้ง Asia Transition Finance Study Group เพื่อเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนทางด้านการเงินที่จะช่วยส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในเอเชีย
                              1.2 ผู้อำนวยการทบวงการพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEAI ได้แสดงทรรศนะเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในอนาคตว่าการผลักดันการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานมีความหลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ดังนั้น ทวีปเอเชียซึ่งมีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วจึงควรมีแนวทางในการผลักดันการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น นอกจากนี้ IEA เห็นว่า เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่จะมีอิทธิพลต่อการพัฒนาภาคพลังงานในทวีปเอเชีย ได้แก่ เทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์และ              การกักเก็บคาร์บอนในภาคการผลิตไฟฟ้าและอุตสาหกรรม ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาดในอนาคต
                    2. การกล่าวสุนทรพจน์ของรัฐมนตรีประเทศต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของประเทศไทย (ไทย) ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของไทยในการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ช่วงการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน โดยได้นำเสนอเป้าหมายการจัดทำแผนพลังงานชาติเพื่อสนับสนุนขับเคลื่อนภาคพลังงานของประเทศไปสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำด้วยพลังงานสะอาด นโยบาย 30@30 ซึ่งเป็นนโยบายที่ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2030 หรือ พ.ศ. 2573 เพื่อเพิมสัดส่วนการผลิตยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ รวมทั้งการดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกไม่ให้เกิน 1.5 ? 2  องศาเซลเชียส ตามข้อตกลงปารีส และเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์สุทธิเป็นศูนย์ของไทยในปี ค.ศ. 2065 - 2070 นอกจากนี้ ไทยยังเห็นพ้องกับญี่ปุ่นเกี่ยวกับการเลือกแนวทางการเปลี่ยนผ่าน                   ทางพลังงานที่เหมาะสมกับบริบทและสถานการณ์ของแต่ละประเทศ การสร้างการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนและ                     ภาคการศึกษา รวมถึงการได้รับเงินทุนสนับสนุน ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนโครงการด้านพลังงานสะอาดให้เกิดขึ้นได้จริง             ในอนาคต
                              2.2 รัฐมนตรีด้านพลังงานและผู้แทนจากองค์กรระหว่างประเทศได้ให้ความสำคัญกับการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ รวมถึงการสนับสนุนข้อริเริ่มความร่วมมือด้านการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานแห่งเอเชียเพื่อมุ่งสู่การเติบโตสีเขียว โดยได้เห็นพ้องกับญี่ปุ่นว่าทุกประเทศต้องร่วมกันกำหนดเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานที่มีความหลากหลายและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง โดยคำนึงถึงสถานการณ์ของแต่ละประเทศ นอกจากนี้ หลายประเทศยังคงมีการพึ่งพาเชื้อเพลิงชนิดดั้งเดิมในช่วงการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานสะอาด แต่ก็มีความมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิต รวมถึงการพัฒนาโครงการด้านพลังงานทดแทนในประเทศและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
                    3. ข้อสรุปจากที่ประชุมและการดำเนินการในขั้นต่อไป
                              ที่ประชุมเห็นว่าประเทศต่าง ๆ ควรหารือร่วมกันเกี่ยวกับแนวทางและมาตรการเพื่อมุ่งไปสู่การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในเอเชียอย่างเป็นรูปธรรมและจะต้องอาศัยความร่วมมือของผู้กำหนดนโยบาย ภาคเอกชน และภาคการศึกษา รวมถึงแนวทางการใช้เชื้อเพลิงและเทคโนโลยีทางพลังงานที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการเติบโตสีเขียวในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ ญี่ปุ่นได้เน้นย้ำว่าจะส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ภายใต้นโยบายในการเติบโตสีเขียวต่อไปและกำหนดจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเชียเรื่องความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการเติบโตสีเขียว ครั้งที่ 2 ในปี 2565 อีกด้วย

17. เรื่อง  ขอความเห็นชอบร่างเอกสารที่จะมีการรับรองระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการขนส่งเอสแคป ครั้งที่ 4
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีด้านการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคสำหรับการพัฒนาด้านการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ค.ศ. 2022 - 2026) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ และร่างแผนปฏิบัติการฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้แทนไทยโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง พร้อมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีด้านการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคสำหรับการพัฒนาด้านการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ค.ศ. 2022 - 2026) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯและร่างแผนปฏิบัติการฯ
           1. ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีด้านการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิก เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีด้านคมนาคมขนส่งของประเทศสมาชิกเอสแคปเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี ค.ศ. 2030 แบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่
                    ส่วนที่1 : อารัมบท (preamble) ประกอบด้วย การอ้างถึงความตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาขนส่งที่ยั่งยืน เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ข้อมติที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ของเอสแคปข้อกฎหมายของสหประชาชาติ ข้อมติที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติด้านการขนส่งและความปลอดภัยทางถนน รวมถึงประเด็นและผลลัพธ์แผนงานที่สำคัญต่าง ๆ ในปัจจุบัน
                    ส่วนที่ 1: วรรคปฏิบัติการ (operative paragraph) ประกอบด้วย 2 ส่วนย่อย ได้แก่
                              ส่วนย่อยที่ 1 เป็นถ้อยคำที่แสดงถึงการรับรองแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคฯ ค.ศ. 2022 ? 2026 ผ่านการเห็นชอบและสนับสนุนเครือข่ายการวิจัยและการศึกษาด้านการขนส่ง กรอบงานกฎหมายสำหรับท่าเรือบกและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ การเชื่อมโยงและพัฒนาด้านการขนส่งในบริบทของ COVID-19 และกำหนดการจัดประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการขนส่ง ครั้งที่ 5 ในปี ค.ศ. 2026
                              ส่วนย่อยที่ 2 เป็นการเรียกร้องให้ฝ่ายเลขานุการเอสแคปดำเนินการสนับสนุนประเทศสมาชิกในการดำเนินการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาด้านการขนส่งที่ยั่งยืน
                    2. ร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคสำหรับการพัฒนาด้านการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาค
เอเชียและแปซิฟิก (ค.ศ. 2022 ? 2026) เป็นภาคผนวกของร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีด้านการพัฒนาการขนส่ง           ที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยเป็นการกำหนดแผนงานระดับภูมิภาคเพื่อมุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืน ระหว่าง                 ปี ค.ศ. 2022 ? 2026 ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ 3 ข้อหลัก ได้แก่ 1) มุ่งสู่เครือข่ายการขนส่งและโลจิสติกส์            ที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่นและการเคลื่อนย้ายเพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ 2) มุ่งสู่ระบบขนส่งและบริการที่ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม และ 3) มุ่งสู่การขนส่งและการเคลื่อนย้ายที่ปลอดภัยและครอบคลุมโดยจะดำเนินการภายใต้                 7 ประเด็นสำคัญด้านการขนส่ง ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงด้านการขนส่งทางบกและโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค                    2) การเชื่อมโยงด้านการขนส่งทางทะเลและระหว่างภูมิภาค 3) ระบบดิจิทัลด้านการขนส่ง  4) การสัญจรและโลจิสติกส์แบบคาร์บอนต่ำ 5) การขนส่งภายในเมือง 6) ความปลอดภัยทางถนน และ 7) การขนส่งและการสัญจรที่ครอบคลุม
                    ทั้งนี้ การประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการขนส่งเอสแคป ครั้งที่ 4 (Fourth Ministerial. Conference on Transport) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 17 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งการประชุมดังกล่าว ประกอบด้วยการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง (senior officials segment) ระหว่างวันที่ 14 - 15 ธันวาคม 2564 และการประชุมระดับรัฐมนตรี (ministerial segment) ระหว่างวันที่ 16 - 17 ธันวาคม 2564




แต่งตั้ง
18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                    (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นายอุทิศศักดิ์ หริรัตนกุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) ระดับสูง] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ               (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลสงขลา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2564
                       2. นางจินตนา พัฒนพงศ์ธร นักวิชาการสาธารณสุขเชี่ยวชาญ (ด้านส่งเสริมสุขภาพ) กรมอนามัย ดำรงตำแหน่ง นักวิชาการสาธารณสุขทรงคุณวุฒิ (ด้านส่งเสริมสุขภาพ) กรมอนามัย ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2564
                     3. นายสุพจน์ ภูเก้าล้วน ผู้อำนวยการโรงพยาบาล [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) ระดับสูง] โรงพยาบาลกระบี่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลกระบี่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกระบี่ สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2564
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                    (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้ง ร้อยตำรวจโทหญิง สุทธิมา                 พิพัฒน์พิบูลย์ ที่ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลเชี่ยวชาญ) สำนักงาน ก.พ. ให้ดำรงตำแหน่ง ปรึกษาระบบราชการ (นักทรัพยากรบุคคลทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 14 มกราคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

20. เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527
                     คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งผู้แทนส่วนราชการเป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารกองทุนตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 แทนตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 2 คนดังนี้
                     1. นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์
                     2. นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ผู้แทนกระทรวงอุตสาหกรรม
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป

          ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 ธันวาคม 2564

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ