http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (21 ธันวาคม 2564) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการออก ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ 3. เรื่อง การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษ ของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี ? สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาล ปีใหม่ พ.ศ. 2565 4. เรื่อง การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 5. เรื่อง ขอความเห็นชอบแก้ไขข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 กองทุนผู้ปฏิบัติงาน ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 19 เมษายน 2528 ในการจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพ ให้แก่อดีตผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยในอัตรา 15 เท่าของเงินสงเคราะห์ รายเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท 6. เรื่อง มาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2565 (มาตรการของขวัญปีใหม่ 2565) (กระทรวงการคลัง) เศรษฐกิจ ? สังคม 7. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการ นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6/2564 8. เรื่อง สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 2/2564 9. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 กันยายน 2564) 10. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนตุลาคม 2564 11. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ ปี 2565 (กห.พน.มท.วธ.อก. สำนักงาน ก.พ.ร. และ สคทช.) 12. เรื่อง รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 13. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม
ครั้งที่ 40/2564
14. เรื่อง รายงานผลการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบของประชาชนในการติดต่อราชการเพื่อ ขออนุญาตกับหน่วยงานของรัฐจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 15. เรื่อง การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ให้แก่ประชาชน (กระทรวงการ ท่องเที่ยวและกีฬา) 16. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ของกระทรวงแรงงาน ปี 2565 17. เรื่อง โครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2565 18. เรื่อง การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ให้แก่ประชาชน
(สำนักนายกรัฐมนตรี)
19. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 18/2564 20. เรื่อง แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2566 ? 2569) ต่างประเทศ 21. เรื่อง ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์แห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และอุปทานอาหารแห่ง สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร 22. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ด้วยระบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 23. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 28 24. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจ (Memorandum Of Understanding : MOU) ด้านความร่วมมือ ความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0 ระหว่างสำนักงาน คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับเทศบาลนครโอซากาประเทศ ญี่ปุ่น (Osaka City Government) 25. เรื่อง การเปลี่ยนชื่อประเทศของสาธารณรัฐมาซิโดเนีย 26. เรื่อง การให้คำมั่นทางการเมืองอย่างเป็นทางการของรัฐบาลไทยในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การ พิจารณารายชื่อประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือด้านภาษีของสหภาพยุโรป (EU List of Non- cooperative Jurisdictions for Tax Purposes : EU List) ข้อ 3.2 27. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนของสำนักเลขาธิการอาเซียนในการต่ออายุ ครั้งที่ 3 ของบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศออสเตรเลียกับรัฐบาลแห่ง ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยโครงการความ ร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย ระยะที่ 2 และการแก้ไขข้อความใน บันทึกความเข้าใจฯ 28. เรื่อง ผลการนำเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3 แต่งตั้ง 29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) 30. เรื่อง การให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่อีกหนึ่งวาระ 31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผังเมืองแทนตำแหน่งที่ว่าง 32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 33. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้ สาธารณะ 34. เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ดังนี้ 1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอ สภาผู้แทนราษฎรต่อไป 2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ 3. ให้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษารับความเห็นของกระทรวงการคลัง และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการดำเนินการตาม มติคณะรัฐมนตรี (7 เมษายน 2564) โดยเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยกำหนดให้คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาอาจให้ทุนการศึกษาแทนการให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ ในกรณีของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ รวมทั้งแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และการชำระเงินคืนกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ทั้งนี้ เพื่อช่วยให้การชำระหนี้มีความเป็นธรรมและสอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งเพื่อขยายโอกาสในการเข้าถึงเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต อันเป็นการเสริมสร้างคุณภาพของทรัพยากรบุคคลในประเทศให้ดียิ่งขึ้นต่อไป ซึ่งคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนได้มีมติเห็นชอบในหลักการการขอจัดตั้งกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้แล้ว สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 โดยมีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ 1. แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามและวัตถุประสงค์ของ กยศ. ดังนี้ 1.1 แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ?นักเรียนหรือนักศึกษา และ สถานศึกษา? เพื่อให้รองรับการศึกษาในรูปแบบที่แตกต่างจากการศึกษาหลักสูตรในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย และทำให้ผู้ซึ่งจะเข้าศึกษาในหลักสูตรอาชีพหรือเพื่อยกระดับทักษะ สมรรถนะ หรือการเรียนรู้ สามารถขอเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ตามพระราชบัญญัตินี้ได้ 1.2 แก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ของ กยศ. โดยกำหนดให้คณะกรรมการ กยศ. อาจให้ ?ทุนการศึกษาแทนการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้? ในกรณีของนักเรียนหรือนักศึกษาที่ศึกษาในสาขาวิชาขาดแคลนหรือสาขาวิชาที่กองทุนมุ่งส่งเสริมเป็นพิเศษ 2. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับคณะกรรมการ กยศ. และคณะอนุกรรมการ ดังนี้ 2.1 แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ กยศ. ให้มุ่งเน้นการกำหนดนโยบาย โดยกำหนดให้ กยศ. เป็นผู้มีหน้าที่ และอำนาจในการดำเนินการในเรื่องทางปฏิบัติต่าง ๆ แทน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน รวมทั้งกำหนดหลักการให้คณะกรรมการกองทุนฯ กำหนดลักษณะของนักเรียนหรือนักศึกษา ซึ่งขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยให้คำนึงถึงรายได้ และรายจ่ายของครอบครัวว่าเพียงพอต่อการให้การศึกษา แก่นักเรียน หรือนักศึกษามากน้อยเพียงใด และให้คณะกรรมการกองทุนฯ ต้องรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนหรือนักศึกษาผู้กู้ยืมเงินและสถานศึกษาประกอบการพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจด้วย 2.2 ยกเลิกบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดให้มีคณะอนุกรรมการกำกับและประเมินสถานศึกษาที่เข้าร่วมดำเนินงานกับกองทุนและคณะอนุกรรมการกำกับการชำระเงินคืนกองทุน เพื่อลดการดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการซึ่งอาจซ้ำซ้อนและทำให้เกิดความล่าช้า โดยคณะกรรมการสามารถพิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการได้เฉพาะตามที่เห็นสมควรและตามความจำเป็น 3. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ดังนี้ 3.1 กำหนดระยะเวลาการประกาศข้อมูลเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาภายในเดือนมกราคมของทุกปี และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการเผยแพร่ประกาศดังกล่าว เพื่อให้นักเรียนหรือนักศึกษา ซึ่งต้องการกู้ยืมเงินมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ก่อนที่จะทำการสมัครเข้าศึกษา และขอกู้ยืมเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา 3.2 กำหนดให้ กยศ. มีหน้าที่และอำนาจดำเนินงานในบางเรื่องแทนคณะกรรมการ กยศ. เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน เช่น การยื่นคำขอเข้าร่วมดำเนินงานของสถานศึกษา การยื่นคำขอกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาของนักเรียนหรือนักศึกษา การทำสัญญากู้ยืมเงิน การแจ้งขอเบิกเงินกู้ยืมเงิน 3.3 กำหนดให้สำนักงาน กยศ. รวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการมีงานทำและประเภทของงานที่ทำของผู้กู้ยืมเงินภายหลังที่สำเร็จการศึกษาแล้ว รวมทั้งคาดการณ์งานที่จะเป็นที่ต้องการในอนาคต เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่นักเรียนหรือนักศึกษา ใช้ประกอบการตัดสินใจกู้ยืมเงิน 3.4 กำหนดหน้าที่ของผู้ยืมเงินให้แจ้ง กยศ. ทราบถึงการสำเร็จการศึกษา การเลิกการศึกษา หรือการพ้นสภาพการศึกษา เพื่อเสริมสร้างความรับผิดชอบให้แก่ผู้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้ เมื่อผู้กู้ยืมเงินแจ้งกองทุนทราบแล้ว จะมีสิทธิได้รับประโยชน์จากระยะเวลาปลอดหนี้ 3.5 กำหนดให้ กยศ. พิจารณาให้เงิน เพื่อการศึกษาเป็นจำนวนปีที่กำหนดไว้ในหลักสูตรได้ 4. แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการชำระเงินคืน กยศ. ดังนี้ 4.1 แก้ไขเพิ่มเติมหลักการเกี่ยวกับการชำระเงินคืน กยศ. โดยกำหนดวิธีการผ่อนชำระและระยะเวลาการผ่อนชำระเงินคืนกองทุนให้ยืดหยุ่นขึ้น โดยให้ผู้กู้ยืมเงินมีสิทธิเลือกชำระเงินกู้ยืมคืนทั้งจำนวนหรือผ่อนชำระได้ กำหนดให้คิดดอกเบี้ยเฉพาะเงินกู้ยืมที่ยังไม่ได้ชำระ และกำหนดลำดับการตัดชำระโดยเรียงจากต้นเงิน ดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม และให้อำนาจคณะกรรมการ กยศ. ในการกำหนดมาตรการจูงใจเพื่อให้ผู้กู้ยืมเงินไม่ผิดนัดชำระหนี้หรือชำระหนี้ครบถ้วนก่อนกำหนด รวมทั้งกำหนดให้ กยศ. อาจพิจารณาผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน การลดหย่อนหนี้ การปรับโครงสร้างหนี้ การแปลงหนี้ใหม่ หรือการระงับการชำระเงินคืนกองทุนไว้ในกฎหมายให้ชัดเจนเพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินให้สามารถชำระเงินคืนกองทุนได้อย่างแท้จริง รวมทั้งกำหนดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดในหนี้ในกรณีที่ผู้กู้ยืมเงินได้รับการผ่อนผัน ลดหย่อนหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ แปลงหนี้ใหม่ หรือระงับการชำระเงินคืน กยศ. 4.2 กำหนดหลักการในการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการให้เงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาและการชำระเงินคืนกองทุนเพื่อให้การให้กู้ยืมเงินและการชำระเงินคืนกองทุนมีความเป็นธรรมและ ไม่สร้างความเหลื่อมล้ำ เช่น การผ่อนชำระเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี และลำดับการตัดชำระซึ่งให้นำไปหักต้นเงินก่อนแล้วจึงไปหักดอกเบี้ยและเงินเพิ่ม รวมทั้งมาตรการจูงใจอื่น ๆ เพื่อให้ผู้กู้ยืมเงินไม่ผิดนัด 4.3 กำหนดให้ กยศ. พิจารณาขยายระยะเวลาการชำระเงินคืนกองทุนได้ในกรณีที่กองทุนบอกเลิกสัญญากู้ยืมเงิน 4.4 แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดลักษณะที่ทำให้หนี้ที่มีต่อกองทุนเป็นอันระงับไป เพื่อช่วยเหลือผู้กู้ยืมเงินและผู้ค้ำประกัน เช่น ผู้กู้ยืมเงินตาย ล้มละลายแต่ไม่ได้เป็นบุคคลล้มละลายทุจริต พิการหรือทุพพลภาพจนไม่สามารถประกอบการงานหรือประกอบอาชีพได้ เป็นโรคอันตรายร้ายแรงหรือมีเหตุอันไม่สามารถประกอบการงานหรือประกอบอาชีพได้ 4.5 แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดให้ นายจ้างหักเงินได้พึงประเมินของผู้กู้ยืมเงินเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น 5. กำหนดเพิ่มเติมบทบัญญัติที่ห้ามมิให้ใช้บังคับบทบัญญัติในเรื่องเงินเพิ่มกับผู้กู้ยืมเงินและ ผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน จนกว่าหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในเรื่องดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับ 6. กำหนดบทเฉพาะกาล เพื่อนำบทบัญญัติซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้มาใช้บังคับแก่ ผู้กู้ยืมเงินและผู้ค้ำประกันซึ่งกู้ยืมเงินหรือค้ำประกันไว้แล้วก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับด้วย 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ กค. เสนอว่า 1. โดยที่มาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 ได้กำหนดให้บรรดาหมายเรียกหนังสือแจ้งให้เสียภาษีอากร แบบ ใบกำกับภาษี รายงาน เอกสารหลักฐานหรือหนังสืออื่นใดที่ต้องมี จัดทำ หรือใช้ ตามที่บัญญัติในประมวลรัษฎากร และบรรดาเอกสารหลักฐาน หรือหนังสือที่กรมสรรพากรต้องใช้ในการติดต่อกับผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใด หรือที่ผู้เสียภาษีอากรหรือบุคคลใดต้องใช้ในการติดต่อกับกรมสรรพากร อาจกระทำด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง 2. ปัจจุบัน กค. ได้มีระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email พ.ศ. 2560 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 สำหรับใช้ในการดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว 3. ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับ สามารถดำเนินการจัดทำ ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีหรือใบรับด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับรูปแบบการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน รวมทั้งเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 3 โสฬส แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) พ.ศ. 2564 กค. พิจารณาแล้ว จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงฉบับที่ .. (พ.ศ. ?.) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ขึ้น เพื่อรองรับกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว 4. กค. ได้พิจารณาการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยเห็นว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐ เนื่องจากการออกกฎกระทรวงดังกล่าว ตามข้อ 3. เป็นเพียงการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ จึงไม่ก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐแต่อย่างใด แต่จะเป็นการอำนวยความสะดวก ลดขั้นตอน และลดต้นทุนการเสียภาษีของผู้ประกอบการในการจัดทำ ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีหรือใบรับด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ อันเป็นการช่วยยกระดับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ส่งเสริมการเป็นเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ และช่วยยกระดับรูปแบบการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐให้มีความเป็นมาตรฐาน มีความทันสมัย นำไปสู่การเป็น Digital Government รวมทั้งสนับสนุนให้ภาครัฐมีฐานข้อมูลภาษีที่ครบถ้วนมากขึ้น โดยสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์เพื่อกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กำหนดนิยามคำว่า ?ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์? ?ใบรับอิเล็กทรอนิกส์? ?ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์? ?ผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์? ?ผู้ให้บริการจัดทำข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์? และ ?ผู้ให้บริการนำส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์? 2. กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับที่ประสงค์จะจัดทำ ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีหรือใบรับด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ ต้องยื่นคำร้องขอและได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด 3. กำหนดให้ผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และผู้ออกใบรับอิเล็กทรอนิกส์ต้องดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำ ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เช่น 1) มีระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้จัดทำ ส่ง รับ และเก็บรักษา มีข้อความถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกับขณะที่มีการสร้าง ส่ง และรับ โดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ และสามารถแสดงข้อความในภายหลังได้โดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง 2) ดำเนินการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยให้มีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่อที่เชื่อมโยงไปถึงใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) การส่งมอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ให้ดำเนินการส่งและรับตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 4. กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับ อาจจัดทำ ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ โดยกระทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานหรือบุคคลที่จัดให้มีกระบวนการหรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถกระทำต่อข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรับรองความมีอยู่ของข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ณ ขณะที่มีการส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบ และสามารถตรวจพบได้หากมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ได้นับแต่เวลาที่ได้มีการรับรอง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และคุณสมบัติที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด 5. กำหนดให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนหรือผู้มีหน้าที่ออกใบรับ ซึ่งมีสิทธิในการจัดทำ ส่ง รับ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ผ่านระบบ e-Tax Invoice by Email พ.ศ. 2560 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร (ฉบับที่ 15) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2562 อยู่ก่อนกฎกระทรวงนี้ ให้ยังคงเป็นผู้มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ตามกฎกระทรวงนี้ 3. เรื่อง การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี ? สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. เนื่องจาก คค. มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดของทางพิเศษบูรพาวิถีและทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) เพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 ดังนั้น คณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (คณะกรรมการ กทพ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2564 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการการกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา-ชลบุรี) ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถีและทางเชื่อมต่อทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) กับทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 โดยไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2564 เวลา 00.01 นาฬิกา - วันที่ 3 มกราคม 2565 เวลา 24.00 นาฬิกา 2. การดำเนินการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษดังกล่าวในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 คาดว่าจะมีปริมาณจราจรที่ใช้ทางพิเศษ รายได้ที่ กทพ. ไม่ได้เรียกเก็บ และผลประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้ 2.1 ทางพิเศษบูรพาวิถี ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ? 3 มกราคม 2565 ผลการวิเคราะห์ เฉลี่ยต่อวัน กรณี กทพ. ยกเว้นค่าผ่านทาง รวม 5 วัน ปริมาณจราจร 142,448 คัน/วัน 712,240 คัน รายได้ที่ไม่ได้เรียกเก็บ 5,437,240 บาท/วัน 27,186,200 บาท ผลประโยชน์ที่ได้รับ - มูลค่าจากการประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถ - มูลค่าจากการประหยัดเวลาในการเดินทาง 4,390,561 บาท/วัน 8,859,467 บาท/วัน 21,952,805 บาท 44,297,335 บาท รวมผลประโยชน์ที่ได้รับ 13,250,028 บาท/วัน 66,250,140 บาท 2.2 ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ? 3 มกราคม 2565 ผลการวิเคราะห์ เฉลี่ยต่อวัน กรณี กทพ. ยกเว้นค่าผ่านทาง รวม 5 วัน ปริมาณจราจร 201,517 คัน/วัน 1,007,585 คัน รายได้ที่ไม่ได้เรียกเก็บ 8,516,108 บาท/วัน 42,580,540 บาท ผลประโยชน์ที่ได้รับ - มูลค่าจากการประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถ - มูลค่าจากการประหยัดเวลาในการเดินทาง 3,654,007 บาท/วัน 5,318,632 บาท/วัน 18,270,035 บาท 26,593,160 บาท รวมผลประโยชน์ที่ได้รับ 8,972,639 บาท/วัน 44,863,195 บาท 3. คค. ได้จัดทำร่างประกาศ คค. เรื่อง กำหนดให้ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา-ชลบุรี) ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี และทางเชื่อมต่อทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) กับทางพิเศษบูรพาวิถี เป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ ประเภทของรถที่ต้องเสียหรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ และอัตราค่าผ่านทางพิเศษ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2564 และร่างประกาศ คค. เรื่อง กำหนดให้ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) เป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ ประเภทของรถที่ต้องเสียหรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ และอัตราค่าผ่านทางพิเศษ (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2564 ซึ่งคณะกรรมการ กทพ. ได้เห็นชอบแล้ว เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมและประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามขั้นตอนต่อไป 4. เรื่อง การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ กค. เสนอว่า 1. โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ยังมีความยืดเยื้อและมีความไม่แน่นอนสูงซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ส่งผลให้ภาคธุรกิจและภาคประชาชนยังคงต้องการความช่วยเหลือ ดังนั้น เพื่อช่วยลดต้นทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจในการดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างต่อเนื่อง กค. พิจารณาแล้ว เห็นสมควรขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ จากเดิมอัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นอัตราร้อยละ 0.125 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน ออกไปอีก 1 ปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี 2565 และอัตราร้อยละ 0.25 ต่อปี ตั้งแต่ปี 2566 เป็นต้นไป 2. คณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2564 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Video Conference) เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ได้พิจารณาและมีมติ ดังนี้ 2.1 เห็นชอบการขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจทั้ง 4 แห่ง ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธอส. และ ธอท. โดยปรับลดอัตราเงินนำส่งลงกึ่งหนึ่งจากร้อยละ 0.25 ต่อปี เป็นร้อยละ 0.125 ต่อปี (ร้อยละ 0.0625 ต่องวด) ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชนออกไปอีก 1 ปี สำหรับรอบการนำส่งเงินในปี 2565 (งวดเดือนกรกฎาคม - มิถุนายน 2565 และงวดเดือนกรกฎาคม ? ธันวาคม 2565) 2.2 เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. ?. โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป 3. การดำเนินการดังกล่าวตามข้อ 1. และ 2. สอดคล้องกับแนวทางที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับลดอัตราเงินนำส่งจากสถาบันการเงินเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินตามประกาศ ธปท. ที่ สกส1. 4/2564 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2564 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินนำส่ง หลักเกณฑ์และวิธีการ ในการส่งเงินนำส่ง และการนำส่งเงินเพิ่มเข้าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 3) ซึ่งได้ประกาศราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป สาระสำคัญของร่างประกาศ 1. กำหนดให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป 2. กำหนดให้ยกเลิกประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2563 ลงวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563 3. กำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจในอัตรา ดังต่อไปนี้ 3.1 ร้อยละ 0.125 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน สำหรับการนำส่งเงินในปี 2565 3.2 ร้อยละ 0.25 ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน สำหรับการนำส่งเงินในปี 2566 เป็นต้นไป 5. เรื่อง ขอความเห็นชอบแก้ไขข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 กองทุนผู้ปฏิบัติงานของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 19 เมษายน 2528 ในการจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพให้แก่อดีตผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยในอัตรา 15 เท่าของเงินสงเคราะห์รายเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพให้แก่อดีตผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยในอัตรา 15 เท่าของเงินสงเคราะห์รายเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท ตามมติคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 ตามมาตรา 13 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2543 2. เห็นชอบในหลักการร่างข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทยฉบับที่ 4.9 กองทุนผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ ..) ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ 3. ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ คค. เสนอว่า 1. ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 กองทุนผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 19 เมษายน 2528 ข้อ 14 กำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานเมื่อออกจากงานมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ เหตุทดแทน เหตุทุพพลภาพ เหตุสูงอายุ และเหตุทำงานนาน และข้อ 17 กำหนดให้กรณีจะถือว่าออกจากงานด้วยเหตุอย่างใดตามข้อ 14 การนับเวลาทำงานตลอดจนวิธีการคำนวณเงินสงเคราะห์ และวิธีการจ่ายเงินให้ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการโดยอนุโลม 2. ข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 กองทุนผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทย (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 4) ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2558 กำหนดให้ผู้ที่รับเงินสงเคราะห์รายเดือนอยู่มีสิทธิขอรับ เงินบำเหน็จดำรงชีพ (เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนเพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพโดยจ่ายให้ครั้งเดียว) ในอัตรา 15 เท่าของเงินสงเคราะห์รายเดือนที่ผู้นั้นได้รับ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท 3. โดยที่ตามหลักการของการจ่ายเงินบำนาญของ รฟท. ที่ผ่านมา รฟท. ใช้วิธีการจ่ายเงินโดยให้ถือปฏิบัติตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการโดยอนุโลม ดังนั้น เมื่อมีการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. 2562 ออกตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 47/1 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งมีการปรับอัตราและวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพของข้าราชการผู้รับบำนาญขึ้นใหม่ โดยข้อ 3 กำหนดว่า บำเหน็จดำรงชีพให้จ่ายในอัตรา 15 เท่าของบำนาญรายเดือนที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ ตามวิธีการ ดังต่อไปนี้ 3.1 ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุต่ำกว่า 65 ปี ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกิน 200,000 บาท 3.2 ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 70 ปี ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกิน 400,000 บาท แต่ถ้าผู้รับบำนาญนั้นได้ใช้สิทธิตามข้อ 3.3.1 ไปแล้ว ให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกิน ส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิของผู้นั้น แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 400,000 บาท 3.3. ผู้รับบำนาญซึ่งมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกิน 500,000 บาท แต่ถ้าผู้รับบำนาญนั้นได้ใช้สิทธิตามข้อ 3.3.1 หรือข้อ 3.3.2 ไปแล้ว ให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิของผู้นั้นแต่รวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาท ดังนั้น รฟท. จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 กองทุนผู้ปฏิบัติงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้สอดคล้องกัน 4. การจ่ายบำเหน็จดำรงชีพให้แก่อดีตผู้ปฏิบัติงานใช้เงินของ รฟท.ประกอบด้วย รายได้ การโดยสาร รายได้การสินค้า รายได้จากการบริหารทรัพย์สินฯ และรายได้อื่น ๆ ที่หมุนเวียนเข้ามาในแต่ละเดือน และ รฟท. จะมีแนวทางการจ่ายบำเหน็จดำรงชีพ ดังนี้ 4.1 สำหรับผู้มีสิทธิรับบำเหน็จดำรงชีพในปีงบประมาณ 2563 และ 2564 ที่ รฟท. ยังไม่ได้จ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพตามสิทธิ เนื่องจากอยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 มีวงเงินจำนวน 1,086.041 ล้านบาท จะแบ่งจ่ายวงเงินดังกล่าว 13 เดือน จำนวนประมาณเดือนละ 83.54 ล้านบาท โดยเริ่มจ่ายในเดือนมีนาคม 2565 ตามลำดับการยื่นแบบแสดงเจตนาขอรับเงิน 4.2 สำหรับผู้ที่มีสิทธิรับบำเหน็จดำรงชีพในปีงบประมาณ 2565 - 2569รฟท. จะจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพตามสิทธิต่อไป ทั้งนี้ ประมาณการวงเงินที่จะใช้ตามวิธีการจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพ ดังนี้ ประเภทรายจ่าย/ปีงบประมาณ ปี 2565 ปี 2566 ปี 2567 ปี 2568 ปี 2569 รวม จ่ายตาม ข้อ 4.1 จ่ายตาม ข้อ 4.2 จ่ายตาม ข้อ 4.1 จ่ายตาม ข้อ 4.2 เงินบำเหน็จดำรงชีพฯ 584.78 92.72 501.24 102.27 110.04 174.56 209.38 1,774.99 รวม 677.50 603.51 110.04 174.56 209.38 1,774.99 หน่วย : ล้านบาท 5. คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ได้มีมติเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 เห็นชอบให้ รฟท. จ่ายบำเหน็จดำรงชีพให้แก่อดีตผู้ปฏิบัติงานของ รฟท. ในอัตรา 15 เท่าของเงินสงเคราะห์รายเดือน แต่ไม่เกิน 500,000 บาท และให้ คค. เสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ 6. คค. พิจารณาแล้ว 6.1 เห็นสมควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่ รฟท. เสนอ เนื่องจาก 6.1.1 การแก้ไขการจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว 6.1.2 การปรับปรุงการจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพให้กับอดีตผู้ปฏิบัติงาน เป็นการปรับปรุงเพื่อให้สอดคล้องกับกฎกระทรวงกำหนดอัตราและวิธีการรับบำเหน็จดำรงชีพ พ.ศ. 2562 ซึ่งจะช่วยให้อดีตผู้ปฏิบัติงานของ รฟท. (ผู้รับบำนาญ) ที่ล้วนเป็นผู้สูงอายุและอยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิตสามารถดำรงชีพต่อไปได้อย่างเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจที่ค่าครองชีพมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยเหลือ ผู้รับบำนาญแล้ว ยังมีส่วนช่วยประคับประคองเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย 6.1.3 การจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพเป็นการแบ่งเงินบำเหน็จตกทอดบางส่วนที่จะจ่ายให้กับทายาทของผู้รับบำนาญเมื่อผู้รับบำนาญเสียชีวิตไปแล้วมาจ่ายให้กับผู้รับบำนาญในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น เงินที่จะต้องจ่ายบำเหน็จดำรงชีพเป็นเงินส่วนที่ รฟท. มีพันธะจะต้องจ่ายให้อยู่แล้วมาจ่ายก่อน จึงไม่มีภาระทางการเงินเพิ่มเติม ประกอบกับ รฟท. กำหนดแผนการจ่ายเงินเป็นรายเดือนตามลำดับการยื่นแบบแสดง ความจำนงจึงสามารถควบคุมการบริหารจัดการทางการเงินได้ 6.2 อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก รฟท. เป็นรัฐวิสาหกิจที่ให้บริการเชิงสังคมเป็นหลักทำให้มี ผลประกอบการขาดทุนอยู่เสมอ ดังนั้น เพื่อไม่ให้ รฟท. ต้องตกอยู่ในสภาพวิกฤตทางการเงิน คค. ได้สั่งการให้ รฟท. พิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 6.2.1 ให้ รฟท. โดยบริษัท เอสอาร์ที แอสเสท จำกัด เร่งดำเนินธุรกิจตามแผนงานที่กำหนด เพื่อให้ รฟท. มีรายได้จากการบริหารทรัพย์สินมาจุนเจือกิจการหลักโดยเร็ว กรณีที่มีรายได้จากการให้เช่าที่ดินแปลงใหญ่ที่มีมูลค่าสูงให้กันเงินส่วนหนึ่งไว้สำหรับใช้จ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพเพื่อไม่ให้กระทบต่อ สภาพคล่องทางการเงินในภาพรวมขององค์กร 6.2.2 สำหรับรายละเอียดของการบริหารการจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพได้มอบหมายให้ รฟท. บริหารจัดการโดยยึดหลักการมีส่วนร่วมกับผู้รับบำนาญ โดยให้มีการหารือร่วมกันอย่างใกล้ชิดอยู่เสมอ และสร้างกระบวนการพิจารณาการจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพร่วมกันที่อาจมีความยืดหยุ่นเพิ่มเติมจากลำดับการยื่นแบบแสดงความจำนงและแผนการจ่ายเงินรายเดือนได้ตามฉันทามติระหว่างผู้รับบำนาญกับ รฟท. เช่น อาจกำหนดให้มีลำดับพิเศษสำหรับผู้รับบำนาญที่ป่วยหนักขั้นวิกฤตก่อนเพื่อนำไปเป็นค่ารักษาพยาบาลในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่หรือกรณีที่ รฟท. ขาดสภาพคล่องในช่วงใดช่วงหนึ่ง อาจผ่อนผันไปจ่ายเงินบำเหน็จดำรงชีพในส่วนที่ขาดไปในเดือนถัดไป เป็นต้น สาระสำคัญของร่างข้อบังคับ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับการรถไฟแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 4.9 กองทุนผู้ปฏิบัติงานของ การรถไฟแห่งประเทศไทย ลงวันที่ 19 เมษายน 2528 เพื่อช่วยเหลืออดีตผู้ปฏิบัติงานของ รฟท. ที่ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนให้มีสิทธิขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพในอัตรา 15 เท่าของเงินสงเคราะห์รายเดือนที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ข้อบังคับ รฟท. ฉบับที่ 4.9 กองทุนผู้ปฏิบัติงานของ รฟท. ลงวันที่ 19 เมษายน 2528 ร่างข้อบังคับ รฟท. ฉบับที่ 4.9 กองทุนผู้ปฏิบัติงานของ รฟท. (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ ..) ข้อ 17/1 บำเหน็จดำรงชีพ ได้แก่ เงินที่จ่ายให้แก่ผู้รับเงินสงเคราะห์รายเดือน เพื่อช่วยเหลือการดำรงชีพ โดยให้จ่ายครั้งเดียว คงเดิม ผู้ที่รับเงินสงเคราะห์รายเดือนอยู่ มีสิทธิขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพในอัตรา 15 เท่าของเงินสงเคราะห์รายเดือนที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 200,000 บาท ผู้ที่รับเงินสงเคราะห์รายเดือนอยู่ มีสิทธิขอรับเงินบำเหน็จดำรงชีพในอัตรา 15 เท่าของเงินสงเคราะห์รายเดือนที่ได้รับ แต่ไม่เกิน 500,000 บาท โดยให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ตามวิธีการต่อไปนี้ (1) ผู้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนซึ่งมีอายุต่ำกว่า 65 ปี ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกิน 200,000 บาท (2) ผู้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนซึ่งมีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปแต่ไม่ถึง 70 ปี ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกิน 400,000 บาท แต่ถ้าผู้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนนั้นใช้สิทธิตาม (1) ไปแล้ว ให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิของผู้นั้น แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 400,000 บาท (3) ผู้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนซึ่งมีอายุตั้งแต่ 70 ปี ขึ้นไป ให้มีสิทธิขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกิน 500,000 บาท แต่ถ้าผู้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนนั้นใช้สิทธิตาม (1) หรือ (2) ไปแล้ว ให้ขอรับบำเหน็จดำรงชีพได้ไม่เกินส่วนที่ยังไม่ครบตามสิทธิ์ของผู้นั้น แต่รวมกันแล้วไม่เกิน 500,000 บาท ในกรณีที่ได้มีการรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้ว เมื่อผู้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนตาย การจ่ายเงินบำเหน็จตกทอดแก่ทายาท ให้หักเงินออกจากบำเหน็จตกทอดที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน ในกรณีที่ได้มีการรับบำเหน็จดำรงชีพไปแล้วเมื่อผู้ได้รับเงินสงเคราะห์รายเดือนถึงแก่ความตาย การจ่ายเงินสงเคราะห์ ตกทอดแก่ทายาท ให้หักเงินออกจากเงินสงเคราะห์ตกทอดที่จะได้รับเท่ากับเงินบำเหน็จดำรงชีพเสียก่อน 6. เรื่อง มาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2565 (มาตรการของขวัญปีใหม่ 2565) (กระทรวงการคลัง) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ รับทราบ อนุมัติดังนี้ 1. เห็นชอบและรับทราบมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2565 (มาตรการของขวัญปีใหม่ 2565) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ 2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ 3. อนุมัติหลักการ 1) ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 2) ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 3) ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร 4) ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ รวม 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ 4. เห็นชอบในหลักการ 1) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 2) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 3) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดินสำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 4) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด รวม 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ 5. การจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยและมาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้เป็นไปตามความเห็นสำนักงบประมาณ ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอว่า 1. สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นวงกว้าง รัฐบาลจึงได้มีข้อสั่งการให้ กค. พิจารณากำหนดมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจที่เหมาะสม ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เศษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของสายพันธุ์เดลต้าที่รุนแรงมากขึ้น ภาครัฐจึงต้องดำเนินมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของประชาชนภายในประเทศชะลอตัวลง โดยการบริโภคของภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ลดลงในระดับสูงถึงร้อยละ 3.2 ต่อปี เมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 4.8 ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.3 ต่อปี จากการขยายตัวร้อยละ 7.6 ต่อปี ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ซึ่งทำให้เศรษฐกิจไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี โดยได้ชะลอตัวลงจากช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี นอกจากนี้สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป ยังคงมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่นสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งสายพันธุ์ที่ระบาดในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่อุปทานการผลิตและการขนส่งระหว่างประเทศ รวมถึงความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เป็นต้น 2. กค. พิจารณาแล้วเพื่อเป็นการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้สามารถฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง จึงได้เสนอมาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2565 (มาตรการของขวัญปีใหม่ 2565) รวม 6 มาตรการ และร่างกฎหมาย รวม 9 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 1 ฉบับ ร่างกฎกระทรวง รวม 4 ฉบับ และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 4 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ 3. กค. ได้พิจารณาการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่ามาตรการดังกล่าวจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ทั้งสิ้นประมาน 20,221 ล้านบาทต่อปี สาระสำคัญของมาตรการและร่างกฎหมาย มาตรการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจปี 2565 (มาตรการของขวัญปีใหม่ 2565) รวม 6 มาตรการ และร่างกฎหมาย รวม 9 ฉบับ ได้แก่ ร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 1 ฉบับ ร่างกฎกระทรวง รวม 4 ฉบับ และ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 4 ฉบับ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ 1. มาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาผลกระทบที่ผู้ประกอบการได้รับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ในช่วงปี 64 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในภาพรวมรวมถึงยอดขายสุรา ยาสูบ และไพ่ 1.2 กลุ่มเป้าหมาย ผู้ได้รับใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 เฉพาะ ผู้ได้รับอนุญาตขายรายเดิมซึ่งได้รับผลกระทบที่ประสงค์จะขอใบอนุญาตขายต่อเนื่องในปีถัดไปเท่านั้น (หมายเหตุ : ประเภทใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่ - ใบอนุญาตขายสุรา ประเภทที่ 1 การขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งจำนวนตั้งแต่ 10 ลิตรขึ้นไป ประเภทที่ 2 การขายสุราทุกชนิด ครั้งหนึ่งจำนวนต่ำกว่า 10 ลิตร - ใบอนุญาตขายยาสูบ ประเภทที่ 1 การขายส่งยาสูบ ครั้งหนึ่งจำนวน 1,000 มวนขึ้นไป ประเภทที่ 2 การขายปลีกยาสูบ ครั้งหนึ่งต่ำกว่า 1,000 มวน - ใบอนุญาตขายไพ่ ประเภทที่ 1 การขายไพ่ ครั้งหนึ่งจำนวนตั้งแต่ 40 สำรับขึ้นไป ประเภทที่ 2 การขายไพ่ ครั้งหนึ่งจำนวนต่ำกว่า 40 สำรับ 1.3 ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 65 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 65 (1 ปี) 1.4 วิธีดำเนินการ กค. ได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมการอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตขายสุรา ยาสูบ และไพ่แล้วแต่กรณี ให้เฉพาะผู้ได้รับอนุญาตขายรายเดิมซึ่งได้รับผลกระทบที่ประสงค์จะขอใบอนุญาตขายต่อเนื่องในปีถัดไป เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 65 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 65 เพื่อเป็นการช่วยเหลือและลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ 1.5 การสูญเสียรายได้ คาดว่าจะมีผู้ได้รับสิทธิดังกล่าวประมาณ 8 แสนราย คิดเป็นใบอนุญาตประมาณ 1.4 ล้านฉบับ โดยรัฐจะสูญเสียรายได้จากค่าธรรมเนียมประมาณ 380 ล้านบาท 1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เพื่อเยียวยาและบรรเทาผลกระทบที่ผู้ได้รับอนุญาตในการขายสุรา ยาสูบ และไพ่ ได้รับจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 2. มาตรการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องบินไอพ่น 2.1 วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศรวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจสายการบินให้สามารถฟื้นฟูและกลับมาดำเนินธุรกิจได้เป็นปกติให้เร็วที่สุด 2.2 กลุ่มเป้าหมาย ธุรกิจสายการบิน 2.3 ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 65 ถึงวันที่ 30 มิ.ย. 65 (6 เดือน) 2.4 วิธีดำเนินการ กค. ได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญเป็นการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่นที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยานในประเทศโดยกำหนดอัตราภาษีตามปริมาณ 0.20 บาทต่อลิตร (เป็นมาตรการต่อเนื่องโดยกฎกระทรวงเดิม (ฉบับที่ 14) จะสิ้นผลใช้บังคับวันที่ 31 ธ.ค. 64 หากไม่ปรับลดจะมีอัตราภาษีตามปริมาณ 4.726 บาทต่อลิตร) 2.5 การสูญเสียรายได้ การท่องเที่ยวในปี 65 คาดว่าสายการบินจะกลับมาดำเนินธุรกิจได้ร้อยละ 50ของการท่องเที่ยวปี 62 โดยคาดว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 860 ล้านบาทเนื่องจากมาตรการนี้จะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 6 เดือน 2.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมสายการบินในประเทศมีการฟื้นตัวเนื่องจากมีสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจส่งผลให้ยังคงมีการจ้างงานและไม่ต้องปิดตัวหรือระงับเส้นทางการบิน 3. มาตรการช้อปดีมีคืน ปี 2565 3.1 วัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นการบริโภคในประเทศ และสนับสนุนผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบภาษี และผู้ประกอบกิจการการผลิตสินค้าท้องถิ่น (OTOP) 3.2 กลุ่มเป้าหมาย ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 3.3 ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 65 ถึงวันที่ 15 ก.พ. 65 3.4 วิธีดำเนินการ กค. ได้ยกร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร โดยมีสาระสำคัญดังนี้ 1) กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการเท่าที่ได้จ่ายเป็นค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการสำหรับการซื้อสินค้าหรือการรับบริการในราชอาณาจักร ตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 65 ถึงวันที่ 15 ก.พ. 65 ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด 2) หลักเกณฑ์ เช่น ค่าสินค้า ค่าบริการ รวมถึงค่าสินค้า OTOP แต่ไม่รวมถึง - ค่าสุรา เบียร์ ไวน์ ค่ายาสูบ ค่าน้ำมันและก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ ค่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ - ค่าหนังสือพิมพ์และนิตยสารและค่าบริการหนังสือพิมพ์และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต - ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และมัคคุเทศก์ ค่าที่พักในโรงแรมที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม - ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต และค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลง การให้บริการระยะยาวซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 1 ม.ค. 65 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 15 ก.พ. 65 แม้ว่าจะจ่ายค่าบริการระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 65 ถึงวันที่ 15 ก.พ. 65 - ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย 3.5 การสูญเสียรายได้ คาดว่าจะสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประมาณ 6,200 ล้านบาท 3.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ จะทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นมูลค่าประมาณ 42,000 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.12 และส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทั่วไปเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม 4. มาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัย 4.1 วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในระดับราคาที่ไม่สูงมากและเหมาะสมกับศักยภาพของประชาชนแต่ละกลุ่ม 4.2 กลุ่มเป้าหมาย ผู้ซื้อที่เป็นบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง และผู้ขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์ ในราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกินมูลค่า 3 ล้านบาท 4.3 ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงวันที่ 31 ธ.ค. 65 4.4 วิธีดำเนินการ กค. ได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 2 ฉบับ ดังนี้ 1) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน กรณีอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคารที่อยู่อาศัยหรืออาคารพาณิชย์ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 2) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 2 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ (จากเดิมร้อยละ 2) และค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ อันเนื่องมาจากการจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวในคราวเดียวกัน (จากเดิมร้อยละ 1) เหลือร้อยละ 0.01 สำหรับการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ดังนี้ 1) อาคารที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว หรืออาคารพาณิชย์ หรือที่ดินพร้อมอาคาร หรือ 2) ห้องชุดที่จดทะเบียนอาคารชุด โดยราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท 4.5 การสูญเสียรายได้ คาดว่าจะทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สูญเสียรายได้ประมาณ 4,946.31 ล้านบาท 4.6 ประโยชน์ที่คาดว่า จะได้รับ ช่วยสนับสนุนและบรรเทาภาระให้แก่ประชาชนที่ต้องการมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง ส่งเสริมการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ แต่อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สูญเสียรายได้ จึงเห็นควรมอบหมายให้สำนักงบประมาณ (สงป.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่ อปท. ตามความเหมาะสมเพื่อให้เพียงพอต่อการดำเนินภารกิจปกติของ อปท. 5. มาตรการทางภาษีอากรและค่าธรรมเนียมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ 5.1 วัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างต่อเนื่อง 5.2 กลุ่มเป้าหมาย 1) เจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยนำหลักเกณฑ์การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ไปใช้โดยอนุโลม เช่น สถาบันการเงินของรัฐที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ และนิติบุคคลอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 2) เจ้าหนี้อื่น เช่น เจ้าหนี้ที่เป็นบริษัทที่มิใช่สถาบันการเงิน 3) ลูกหนี้ ได้แก่ ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันของลูกหนี้ 5.3 ระยะเวลาดำเนินงาน 1) มาตรการด้านภาษี ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 69 (5 ปี) 2) มาตรการด้านค่าธรรมเนียม กำหนดให้มาตรการลดค่าธรรมเนียม จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงวันที่ 31 ธ.ค. 65 5.4 วิธีดำเนินการ กค. ได้ยกร่างกฎหมายรวม 4 ฉบับ ประกอบด้วยร่างพระราชกฤษฎีกา (1 ฉบับ) ร่างกฎกระทรวง (1 ฉบับ) และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย (2 ฉบับ) ดังนี้ 1) ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการดำเนินมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 63 เรื่อง มาตรการต่อเติม เสริมทุน SMEs สร้างไทย และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 63 เรื่อง มาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจากไวรัสโคโรนา (COVID-19) ต่อเศรษฐกิจไทยทั้งทางตรงและทางอ้อม ระยะที่ 2) ออกไปอีก 5 ปี จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 64 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 69 (ยกเว้นมาตรการด้านภาษีสำหรับการปลดหนี้ การโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ การโอนอสังหาริมทรัพย์ และการกระทำตราสาร อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ ธปท. ประกาศกำหนด มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 64 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 69) มาตรการภาษีมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ (1) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการปลดหนี้ของเจ้าหนี้อื่นอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธปท. (2) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน ลูกหนี้ของเจ้าหนี้อื่น สถาบันการเงิน และเจ้าหนี้อื่น สำหรับการโอนทรัพย์สิน การขายสินค้าหรือการให้บริการ และการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธปท. (3) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธปท. สำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่สถาบันการเงิน และการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่หรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้ โดยลูกหนี้ต้องนำเงินที่ได้รับไปชำระหนี้ (4) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ให้แก่ลูกหนี้ของบริษัทที่มิใช่สถาบันการเงินอันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของ ธปท. สำหรับการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ให้แก่ผู้อื่นซึ่งมิใช่บริษัทที่มิใช่สถาบันการเงินและการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าว ทั้งนี้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินกว่าหนี้ที่ค้างชำระอยู่หรือมีภาระผูกพันตามสัญญาประกันหนี้ โดยลูกหนี้ต้องนำเงินที่ได้รับไปชำระหนี้ ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด 2) ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ของเจ้าหนี้ สำหรับส่วนของหนี้ที่ได้ปลดหนี้ให้แก่ลูกหนี้อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ได้กระทำในระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 65 ถึงวันที่ 31 ธ.ค. 69 3) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 2 ฉบับ ดังนี้ 3.1) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดินสำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด 3.2) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อน ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด โดยร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 2 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุดซึ่งจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด และของราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินและลูกหนี้ของเจ้าหนี้ที่เป็นบริษัทที่มิใช่สถาบันการเงินนำมาจำนองเป็นหลักประกันหนี้ในอัตราร้อยละ 0.01 สำหรับกรณีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยให้มีผลตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาถึงวันที่ 31 ธ.ค. 65 5.5 การสูญเสียรายได้ 1) มาตรการด้านภาษี คาดว่าจะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 7,000 ล้านบาท ต่อปี 2) มาตรการด้านค่าธรรมเนียม คาดว่าจะสูญเสียรายได้ประมาณ 835 ล้านบาท 5.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ลูกหนี้ได้รับความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจนมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นและสามารถประกอบอาชีพและธุรกิจต่อไปได้ ส่วนเจ้าหนี้และระบบสถาบันการเงินมีต้นทุนลดลงและสามารถให้สินเชื่อแก่ประชาชนและธุรกิจต่าง ๆ ได้เพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวส่งผลให้ อปท. สูญเสียรายได้ จึงเห็นควรมอบหมายให้ สงป. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่ อปท. ตามความเหมาะสมด้วย 6. โครงการของขวัญปีใหม่ปี 2565 ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 6.1 วัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสภาพคล่องลดภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยและเสริมสร้างวินัยทางการเงิน ให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการ 6.2 กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนและผู้ประกอบการ 6.3 วิธีดำเนินการ การให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเสริมสภาพคล่องและเป็นทุนหมุนเวียน การคืนเงินให้แก่ลูกหนี้เงินกู้ที่มีประวัติการชำระดี รางวัลพิเศษสำหรับลูกค้าสลากออมสิน การยกเว้นค่าธรรมเนียมนิติกรรมสัญญาและค่าประเมินหลักประกัน ส่วนลดค่าบริการและค่างวดสำหรับการค้ำประกันสินเชื่อ เป็นต้น ทั้งนี้ คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวม 25,000 ล้านบาท การคืนเงินและรางวัลพิเศษรวม 1,335 ล้านบาท การลดอัตราดอกเบี้ยรวม 4,700 ล้านบาท ส่วนลดค่าบริการและส่วนลดค่างวดสูงสุดรวม 7.43 ล้านบาท เศรษฐกิจ ? สังคม 7. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6/2564 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปผลการประชุม กตน. ครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ผ่านระบบ การประชุมทางไกล และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 โดยมีรัฐมนตรีประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้ ประเด็น ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน. 1) แผนงาน/โครงการการแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง 1.1) การดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วนข้อ 11 การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย ได้แก่ (1) มาตรการเพื่อรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้งปี 2563/2564 เช่น การเร่งกักเก็บน้ำได้ 2,947 ล้านลูกบาศก์เมตร และการจัดหาแหล่งสำรองน้ำดิบในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ (2) มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2564 เช่น การชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนทิ้งช่วง และการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก และ (3) การจัดหาพื้นที่รองรับน้ำในฤดูฝนและกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง โดยมีแผนรับน้ำได้ 1,704 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ปริมาณน้ำหลากมีปริมาณเกินกว่าแผน 392 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้พิจารณาวางแผนร่วมกับกรมชลประทานเพื่อปรับขอบเขตพื้นที่ทุ่งรับน้ำและแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อไป 1.2) การดำเนินการตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี เช่น (1) การจัดทำแผนการจัดหาแหล่งน้ำและแผนการป้องกันอุทกภัยในพื้นที่เมืองเศรษฐกิจ โดย สทนช. จัดทำแผนหลักใน 6 เมืองหลักแต่ละภูมิภาค ได้แก่ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น สงขลา และภูเก็ต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพอ่างเก็บน้ำ เพิ่มความจุ และแก้ไขปัญหาระบบประปา (2) การพิจารณาแผนงาน/โครงการน้ำท่วม ในปี 2564 ได้รับการจัดสรรงบกลาง 6,203 รายการ วงเงิน 7,421.77 ล้านบาท คาดว่าจะได้ปริมาณน้ำ 51.40 ล้านลูกบาศก์เมตรครอบคลุมพื้นที่ 563,191 ไร่ ครัวเรือนได้รับประโยชน์ 527,056 ครัวเรือน และ (3) การพัฒนาระบบ การติดตามการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) ในการติดตามสถานการณ์และวิเคราะห์ข้อมูลลุ่มน้ำ ได้แก่ เว็บไซต์ http:/waterinfo.onwr.go.th/thaiwater30/ และการพัฒนา แอปพลิเคชัน National Thai Water ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : 1) ให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการน้ำเหนือเขื่อนลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูน้ำหลาก ซึ่งอาจพิจารณาวางแผนการพร่องน้ำจากเขื่อนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งนี้ สทนช. ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า กระทรวงคมนาคมได้จัดทำแผนและอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อสร้างเขื่อนทดน้ำแห่งใหม่ 2) ให้ สทนช.หารือร่วมกับกรมชลประทาน กรมเจ้าท่า และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ตลอดแนวแม่น้ำลำน้ำเจ้าพระยาทั้งในด้านการคมนาคมขนส่ง การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และการประกอบอาชีพทั้งด้านการค้าขาย และการประมง มติที่ประชุม : รับทราบ และให้ สทนช.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะ ของที่ประชุมไปพิจารณา 2) วิจัยและนวัตกรรมเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาความยากจน 2.1) การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลข้อ 8 การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อขจัดความเหลื่อมล้ำและความยากจน เช่น (1) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดำเนินแผนงานวิจัย ?การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ? โดยศึกษาโมเดลแก้ไขปัญหาความยากจนของจีน และขับเคลื่อนแพลตฟอร์มแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัด (2) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดำเนินโครงการวิจัยในปี 2564 จำนวน 24 โครงการ 17 หน่วยงาน เป็นเงิน 78.32 ล้านบาท เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสวัสดิการสังคมและนโยบายสวัสดิการสังคมของประเทศ (3) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) มีชุมชนต้นแบบวิชาการเกษตร : นวัตกรรมการผลิตพืชผักปลอดภัย ทำให้เกษตรกรต้นแบบมีรายได้จากเดิม 29,634 บาท/ไร่ เป็น 34,242 บาท/ไร่ 2.2) การดำเนินการตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ที่ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา หาแนวทางหรือมาตรการในการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาความยากจนให้ลงลึกถึงระดับรายครัวเรือน ได้แก่ (1) มท. จัดตั้งศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ในระดับจังหวัด 76 ศูนย์ ศจพ. กทม. 1 ศูนย์ ศจพ. อำเภอ 878 ศูนย์ และ ศจพ. เขต 50 ศูนย์ (2) พม. จัดโครงการบูรณาการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือนให้เข้าถึงสิทธิและสวัสดิการให้ครอบคลุมในทุกมิติแบบองค์รวม และ (3) กระทรวงแรงงาน (รง.) แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อน โครงการฯ รง. แรงงานกลุ่มเปราะบาง 3 กลุ่ม รวม 2.07 ล้านคน 2.3) ข้อเสนอแนะ เช่น อว. เสนอว่า ควรมีการขยายผลการใช้แพลตฟอร์มการแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำระดับจังหวัดสู่แผนพัฒนาจังหวัดทั่วประเทศ กษ. เสนอว่า การขยายผลเทคโนโลยีเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างควรต้องมีหน่วยงานภาคีเครือข่ายร่วมผลักดันและนำไปขยายผลสู่เกษตรกร มท. เสนอว่า ควรประสานความร่วมมือภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ พม. เสนอว่า ควรมีการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาผลงานวิจัยและนวัตกรรม ระหว่าง พม. กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม มติที่ประชุม : 1) รับทราบ 2) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขของ อว. กษ. มท. และ พม. และความเห็น/ข้อสังเกตของที่ประชุมไปพิจารณา 3) ให้คณะอนุกรรมการด้านการสร้างการรับรู้และสร้างการมีส่วนร่วมกับประชาชน รวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญ และเป็นรูปธรรม เช่น การแก้ไขปัญหาความยากจน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่ง และระบบโลจิสติกส์เพื่อนำไปสู่การประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้แก่ประชาชนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในห้วงเวลาที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ปี 2565 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง 3) แผนการดำเนินงานของ กตน. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีแผนการดำเนินงานและระยะเวลาดำเนินการ ดังนี้ แผนการดำเนินงาน ระยะเวลา 3.1) ติดตามรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล (นโยบายหลัก 12 ข้อ นโยบายเร่งด่วน 12 ข้อ และข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีและการเบิกจ่ายงบประมาณ) ตุลาคม 2564 ? ตุลาคม 2565 3.2) เสนอแนะและรายงานปัญหาอุปสรรค รวมถึงการขับเคลื่อนและเร่งรัดการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ตุลาคม 2564 ? ตุลาคม 2565 3.3) เผยแพร่ผลการดำเนินงานของรัฐบาล ตุลาคม 2564 ? ตุลาคม 2565 3.4) การแก้ไขปัญหาภัยแล้ง การบริหารจัดการน้ำ การแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและหมอกควันไฟป่า และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตุลาคม-ธันวาคม 2565 3.5) การจัดเขตพื้นที่ภาคเกษตรกรรม การปรับโครงสร้างภาคเกษตรและการสร้างมูลค่าเพิ่ม ปัญหาที่ดินทำกิน และการพัฒนาภาคการเกษตรตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง มกราคม 2565 3.6) การส่งเสริม SMEs Start up และการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กุมภาพันธ์ 2565 3.7) การปฏิรูปการศึกษา การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา การปรับรูปแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการ และการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชน มีนาคม 2565 3.8) การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก การพัฒนาเมืองอัจฉริยะและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เมษายน 2565 3.9) ความมั่นคง การแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การแก้ไขปัญหายาเสพติด และปัญหาอาชญากรรมทางไซเบอร์ พฤษภาคม 2565 3.10)การพัฒนาสังคม ระบบสาธารณสุขและการแก้ไขปัญหาความยากจน มิถุนายน ? กรกฎาคม 2565 3.11) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต และการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม กรกฎาคม ? สิงหาคม 2565 3.12) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน และการบูรณาการฐานข้อมูลภาครัฐ สิงหาคม ? กันยายน 2565 3.13) ภาพรวมการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี กำหนดรูปแบบและจัดทำรายงานแสดงผลการดำเนินการ ของคณะรัฐมนตรี ปีที่ 3 กันยายน ? ตุลาคม 2565 ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : ให้พิจารณาลำดับความสำคัญของแผนการดำเนินงานในประเด็นติดตามการดำเนินงานให้สอดรับกับห้วงเวลาและทันต่อสถานการณ์เป็นการล่วงหน้า เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนและประกอบการตัดสินใจสั่งการของนายกรัฐมนตรีได้อย่างทันท่วงที มติที่ประชุม : 1) รับทราบแผนการดำเนินงานฯ 2) ให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับความเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุมฯ ไปพิจารณา 8. เรื่อง สรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก ครั้งที่ 2/2564 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอสรุปมติที่ประชุมคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2564 โดยมีพลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ คจร. พ.ศ. 2521 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 5 (1) ที่บัญญัติให้ คจร. เสนอนโยบายและแผนหลักต่อคณะรัฐมนตรี] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ที่ประชุมได้รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1.1 รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล สรุปได้ ดังนี้ สถานะโครงการ จำนวน (เส้นทาง) ระยะทาง (กิโลเมตร) ตัวอย่างโครงการ เปิดให้บริการแล้ว 11 211.94 - สายสีแดง (เหนือ) ช่วงบางซื่อ-รังสิต (26.30 กิโลเมตร) - สายสีแดง (ตะวันตก) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน (15.26 กิโลเมตร) - สายสีทอง ช่วงกรุงธนบุรี-คลองสาน (1.88 กิโลเมตร) อยู่ระหว่างก่อสร้าง 5 112.20 - สายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี (34.50 กิโลเมตร) - แอร์พอร์ตลิงค์ ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง (21.80 กิโลเมตร) อยู่ระหว่างประกวดราคา 2 37 - สายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (23.60 กิโลเมตร) - สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-บางขุนนนท์ (13.40 กิโลเมตร) อยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน 6 71.49 - สายสีแดง (เหนือ) ช่วงรังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต (8.84 กิโลเมตร) - สายสีเทา ช่วงวัชรพล-ทองหล่อ (16.25 กิโลเมตร) โครงการส่วนต่อขยายเพิ่มเติม 9 120.78 - สายสีแดง (ใต้) ช่วงหัวลำโพง-มหาชัย (38 กิโลเมตร) - สายสีน้ำตาล ช่วงแคราย-ลำสาลี (22.10 กิโลเมตร ซึ่งหากดำเนินการครบทุกเส้นทางในปี 2572 จะมีโครงข่ายเส้นทางรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล รวมทั้งสิ้น 553.41 กิโลเมตร 367 สถานี เพื่อสร้างจุดเชื่อมต่อและกระจายการเดินทาง รวมทั้งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและแก้ไขปัญหาการจราจรได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่าควรมีการวางแผนเรื่องระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) เพื่อส่งต่อคนเข้าสู่ระบบรถไฟฟ้า ซึ่ง คค. ได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้ว และจะเริ่มทดลองในสายสีแดงด้านทิศเหนือไปยังพื้นที่รังสิตต่อไป 1.2 รายงานความคืบหน้าแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการจราจรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งประกอบด้วย (1) การเพิ่มพื้นที่และความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรบนถนนในจุดที่จำเป็น ได้แก่ การก่อสร้างอุโมงค์ ถนน ทางยกระดับ สะพานข้ามแยก และจุดที่ยังไม่ได้ดำเนินการเชื่อมต่อเส้นทาง (Missing Link) เพื่อแก้ไขปัญหาคอขวดและการขาดความต่อเนื่องของโครงข่ายถนน จำนวน 12 เส้นทาง วงเงินรวม 271,741 ล้านบาท และการบริหารจัดการการใช้ถนนเดิมให้มีประสิทธิภาพ และ (2) การส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะเพื่อลดปริมาณรถส่วนบุคคลบนถนน วงเงินรวม 1,937 ล้านบาท เช่น การจัดพื้นที่จอดรถและจรตามแนวขนส่งมวลชน มาตรการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งสาธารณะและการเพิ่มโครงข่ายเชื่อมต่อเข้าสู่สถานีรถไฟฟ้า 1.3 รายงานความคืบหน้าการศึกษาการแก้ปัญหาจราจรบนทางพิเศษ ซึ่งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้เสนอกรอบการศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษ จำนวน 6 เส้นทาง และทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง [ของกรมทางหลวง (ทล.)] รวมทั้งทางขึ้นลงทางพิเศษและถนนที่เกี่ยวเนื่องกับบริเวณทางขึ้นลงทางพิเศษ โดยพบปัญหาการจราจร เช่น ความจุของทางพิเศษไม่เพียงพอ การจราจรติดขัดบริเวณด่าน เก็บค่าผ่านทาง และปัญหาจุดคอขวด เนื่องจากการลดจำนวนช่องจราจร ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้ให้ข้อมูลว่า การแก้ไขปัญหาในเขต กทม. และปริมณฑลเป็นปัญหาใหญ่ โดย คค. อยู่ระหว่างจัดลำดับความสำคัญของโครงการ เนื่องจากต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก อีกทั้งได้นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาจราจรด้วย โดยคาดว่าจะสามารถเสนอแผนการแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษต่อคณะรัฐมนตรีได้ภายใน 2 ปี 1.4 สรุปผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (อจร.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (1 ตุลาคม 2563-4 สิงหาคม 2564) ซึ่ง อจร. ได้พิจารณาการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคด้านการขนส่งและการจราจร รวมจำนวน 202 เรื่อง ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 84 เรื่อง อยู่ระหว่างการดำเนินการ 77 เรื่อง และอยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 41 เรื่อง 2. ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะกลุ่มจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อรองรับการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) 2.1.1 คค. ได้รับการจัดสรรงบประมาณระหว่างปี 2562-2563 เพื่อศึกษาการจัดทำแผนแม่บทฯ มีสาระสำคัญ เช่น ข้อเสนอแนะการวางโครงข่ายระบบขนส่งหลักและขนส่งรอง ผลคาดการณ์สัดส่วนผู้ใช้งานระบบขนส่งสาธารณะในอนาคต รูปแบบการร่วมลงทุน รูปแบบองค์กรในการดำเนินงาน และ กรอบระยะเวลาของแผนแม่บท ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2563 2.1.2 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบผลการศึกษาจัดทำแผนแม่บทฯ และมอบหมาย ให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกพิจารณาผลักดันแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่ง สาธารณะฯ ไปสู่การปฏิบัติต่อไป 2.2 แผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟร่วมกับทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorways-Railways Masterplan: MR-Map) 2.2.1 การจัดทำแผนแม่บท MR-Map มีระยะทางรวม 6,530 กิโลเมตร ประกอบด้วย เส้นทางทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองร่วมกับเส้นทางระบบราง 4,470 กิโลเมตร เส้นทางเฉพาะทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 1,710 กิโลเมตร และเส้นทางเฉพาะระบบราง 350 กิโลเมตร ทั้งนี้ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อจัดทำ MR-Map จำนวน 10 เส้นทาง เช่น เส้นทาง MR1 เชียงราย (ด่านเชียงของ)-นราธิวาส เส้นทาง MR2 หนองคาย (ด่านหนองคาย)-ชลบุรี (แหลมฉบัง) เส้นทาง MR4 ตาก (ด่านแม่สอด)-นครพนม (ด่านนครพนม) และเส้นทาง MR9 ภูเก็ต-สุราษฎร์ธานี ในส่วนการดำเนินการระยะต่อไป ทล. กทพ. และการรถไฟแห่งประเทศไทยจะใช้แผนแม่บท MR-Map ในการวางแผนการลงทุนพัฒนาเส้นทางหลวงพิเศษและการพัฒนาเส้นทางรถไฟเพื่อให้ประชาชนมีโครงข่ายคมนาคมที่ดี กระจายความเจริญไปสู่พื้นที่ต่าง ๆ รวมทั้งลดผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน 2.2.2 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบหลักการของโครงการศึกษาการจัดทำแผนแม่บท MR-Map และเห็นชอบร่างโครงข่ายแผนแม่บท MR-Map 2.3 การดำเนินการระบบขนส่งสาธารณะเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดง (สถานีรังสิต) กทม. และปริมณฑล รวมถึงพื้นที่จังหวัดปทุมธานี ประสบปัญหาการจราจรติดขัดเป็นจำนวนมากทั้งจากรถยนต์ส่วนบุคคลและรถโดยสารประจำทาง ซึ่งส่งผลให้เกิดมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาจราจรและรองรับการเปิดใช้งานรถไฟฟ้าสายสีแดง จึงพิจารณาให้มีการจัดให้บริการเดินรถด้วยระบบ Feeder ที่มีรูปแบบการเดินรถตามตารางเวลาที่สอดคล้องกับการให้บริการของระบบรถไฟฟ้า รวมทั้งเป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อมและรองรับการให้บริการแก่ทุกคน ซึ่งจะทำให้ประชาชนให้ความสำคัญกับการใช้ระบบขนส่งมวลชนหลักหรือรถไฟฟ้าสายสีแดงที่จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยที่ประชุมมีมติ ดังนี้ 2.3.1 เห็นชอบหลักการการจัดทำระบบ Feeder 2.3.2 เห็นชอบแนวเส้นทางให้บริการระบบ Feeder เข้าสู่สถานีรถไฟรังสิต จำนวน 3 เส้นทาง ประกอบด้วย (1) สถานีรถไฟฟ้ารังสิต-ธัญบุรีคลอง 7 (2) สถานีรถไฟฟ้ารังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) และ (3) สถานีรถไฟฟ้ารังสิต-แยกกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ 9. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 กันยายน 2564) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 6 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-30 กันยายน 2564) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. นโยบายหลัก 12 ด้าน นโยบายหลัก มาตรการ/การดำเนินการ 1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ 1.1) จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ พิธีถวายพระพรชัยมงคลและการลงนามถวาย พระพรสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 12 สิงหาคม 2564 1.2) จัดกิจกรรมสืบสานพระราชปณิธานสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ชวนคนไทยใส่ผ้าไทย 1.3) โครงการพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ?โคกหนองนาแห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์? มีการอบรมให้แก่นักโทษในเรือนจำ/ ทัณฑสถาน รวม 253 แห่ง 2) การสร้างความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบกในเดือนสิงหาคม-กันยายน 2564 จำนวน 249 ครั้ง และสกัดกั้นยาเสพติดในพื้นที่ชายแดน เช่น จับกุมยาบ้าได้ 554.74 ล้านเม็ด และกัญชา 41,573.65 กิโลกรัม 3) การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 3.1) จัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2564 3.2) เปิดตัวแอปพลิเคชันเพื่อการท่องเที่ยว 4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก 4.1) นายกรัฐมนตรีกล่าวถ้อยแถลงในการอภิปรายทั่วไปของการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 76 ภายใต้หัวข้อ ?การสร้างความยืดหยุ่นผ่านความหวัง โดยการฟื้นฟูจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การสร้างอย่างยั่งยืน ตอบรับความต้องการของโลก เคารพสิทธิของผู้คนและการฟื้นฟูของสหประชาชาติ? 4.2) นายกรัฐมนตรีร่วมประชุมและกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมระดับสุดยอดผู้นำแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ ครั้งที่ 7 โดยยกระดับความร่วมมือเพื่อสานต่อความสำเร็จของ 3C ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของแผนงานความร่วมมือฯ ได้แก่ 4.2.1) Connectivity เร่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 4.2.2) Competitiveness มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ภาคธุรกิจทุกระดับปรับตัว และ 4.2.3) Community เร่งส่งเสริมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศ ให้เป็นประชาคมที่ครอบคลุม ยั่งยืน และมีอนาคตร่วมกัน 5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย เรื่อง มาตรการ/การดำเนินการ (1) เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง (1.1) ออกกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2564 โดยกำหนดให้น้ำมันชีวภาพสังเคราะห์ เป็นสินค้าที่ต้องจัดเก็บภาษีสรรพสามิต (1.2) โครงการเพิ่มสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ โดยมีสมาชิกสะสม 2,452,617 คน (2) การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม (2.1) จัดกิจกรรมเสริมสร้างความสามารถให้แก่ผู้ประกอบการผ่านแพลตฟอร์มบริการของเมืองนวัตกรรมอาหาร มีผู้ประกอบการได้รับการเสริมสร้างความสามารถ 227 ราย (2.2) โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้พัฒนาเทคโนโลยีเชิงลึกให้กับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ทั้งประเทศ 850 โครงการ (3) การพัฒนาภาคการเกษตร ลงนามพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างประเทศไทย (ไทย) และสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) เพื่อเปิดด่านนำเข้าผลไม้จากไทยไปจีนเพิ่มเติม ส่งผลให้มีด่านนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตร รวม 16 ด่าน (4) การพัฒนาภาคการท่องเที่ยว (4.1) โครงการ Phuket Sandbox มีนักท่องเที่ยวสะสมตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 29 สิงหาคม 2564 จำนวน 25,866 คน และโครงการ Samui Plus Model มีนักท่องเที่ยวสะสม ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม - 29 สิงหาคม 2564 จำนวน 498 คน (4.2) โครงการ Amazing Thailand Safety & Health Administration มีสถานประกอบการที่ผ่านมาตรฐาน 16,205 ราย (5) การพัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้าการบริการ และการลงทุนในภูมิภาค จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการค้าชายแดน มีมูลค่า 1.32 ล้านล้านบาท และจัดทำโครงการจำหน่ายสินค้าชุมชนผ่านระบบ e-Commerce มีรายได้ 114.67 ล้านบาท (6) การพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน (6.1) กำหนดให้ใช้ความเร็ว 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะที่ 2 เพิ่มอีก 6 เส้นทาง เริ่มวันที่ 1 กันยายน 2564 (6.2) ลงนามสัญญาการให้เอกชนร่วมลงทุนในการดำเนินงานและบำรุงรักษาโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 6 สายบางปะอิน-นครราชสีมา (M6) และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 81 สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (M81) เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 ซึ่งคาดว่า จะเปิดให้บริการได้ปลายปี 2566 (7) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ โครงการเพิ่มขีดความสามารถทางการตลาด โดยจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์ เกิดการจับคู่เจรจา 3,745 คู่ มูลค่าการซื้อขาย 11,494.25 ล้านบาท (8) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม (8.1) ตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสนามบุษราคัมและส่งมอบนวัตกรรมทางด้านการแพทย์และห้อง ICU ความดันลบเคลื่อนที่ (8.2) โครงการประยุกต์ใช้มาตรวิทยาเพื่อการคัดกรองและป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 โดยได้ส่งมอบเครื่องทดสอบเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบอินฟาเรดให้แก่สถานพยาบาลและหน่วยงานบริการประชาชน (9) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ เพิ่มขีดความสามารถทางการตลาด มีผู้ประกอบการได้รับการพัฒนาแล้ว 34,832 ราย 6) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค โครงการพัฒนาทักษะกำลังแรงงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก มีผู้ได้รับการฝึกอบรม 3,810 คน 7) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก 7.1) ลงทะเบียนผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP 94,103 กลุ่ม/ราย 9,112 ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ มีผลการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2564 จำนวน 240,270.67 ล้านบาท 7.2) จัดกิจกรรมจัดตั้งและพัฒนากลุ่มอาชีพ 600 กลุ่ม 12,000 คน 8) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย พัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 9) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม 9.1) โครงการเยียวยาผู้ประกันตน มาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มีผู้ได้รับเงินเยียวยา 5.63 ล้านราย 28,168.01 ล้านบาท 9.2) แก้ไขระเบียบคณะกรรมการกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์ อัตราเงินที่จะจ่ายและระยะเวลาการจ่าย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 ปัจจุบันกองทุนฯ มีการจ่ายเงินให้กับลูกจ้างกรณีถูกเลิกจ้าง 2,896 คน เป็นเงิน 41.17 ล้านบาท 10) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน จัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล อนุญาตแล้ว 170 พื้นที่ 777,362 ไร่ และคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เห็นชอบในหลักการเพื่อออกหนังสืออนุญาต 422 พื้นที่ 2.62 ล้านไร่ 11) การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ ขับเคลื่อนการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) พัฒนาแล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 44 งานบริการ 12) การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบ และกระบวนการยุติธรรม 12.1) ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี สำเร็จ 15,093 เรื่อง ทุนทรัพย์ 9,398.32 ล้านบาท 12.2) โครงการขับเคลื่อนแนวทางการเผยแพร่กฎหมายและสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานของรัฐ เช่น ผลิตและประชาสัมพันธ์สื่อเสียง กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม (Podcast ชาวบ้าน) 365 ตอน 2. นโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง นโยบายเร่งด่วน มาตรการ/การดำเนินการ 1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน โครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย อนุมัติสินเชื่อ 393 ราย 278.91 ล้านบาท 2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 2.1) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ 31,901.44 ล้านบาท และจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่น 97,050.43 ล้านบาท 2.2) ดำเนินโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด เดือนละ 600 บาท ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี จำนวน 2,272,185 คน 3) มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก 3.1) เร่งรัดขยายตลาดส่งออกและธุรกิจในต่างประเทศเชิงรุก มีผู้ประกอบการได้รับการส่งเสริม 6,668 ราย มูลค่า 27,532.92 ล้านบาท 3.2) ส่งเสริมอุตสาหกรรมรายคลัสเตอร์ 3,757 ราย มูลค่า 9,133.17 ล้านบาท 4) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม 4.1) โครงการประกันรายได้เกษตรกร ปีการผลิต 2563/64 ได้แก่ ข้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4.2) โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร้อ้อยตัดสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5 โอนเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยแล้ว 122,613 ราย 933.83 ล้านบาท และโอนเงินให้เกษตรกรไร่อ้อยที่ตัดสดเพื่อผลิตเอทานอล 1,481 ราย 54.17 ล้านบาท 5) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน 5.1) โครงการฝึกอบรมความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชั้นสูง มีผู้ได้รับการฝึกอบรม 4,869 คน 5.2) ส่งเสริมการมีงานทำ โดยให้บริการจัดหางานในประเทศ 957,980 คน และต่างประเทศ 29,500 คน 6) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต 6.1) ส่งเสริมการลงทุนในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนฯ 348 โครงการ 173,775 ล้านบาท 6.2) โครงการศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) ด้านแรงงานต่างด้าวมีแรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตทำงานในเขตเศรษฐกิจพิเศษ 46,366 คน 7) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 โครงการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านการเรียนออนไลน์ มีประชาชนได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้ฯ 1,452 ราย 8) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ โครงการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีผู้ได้รับการฝึกอบรม 560 คน 9) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน 9.1) โครงการแอปพลิเคชันบริการลูกค้าทางมือถือของการประปานครหลวง โดยประชาชนสามารถขอรับบริการและทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยไม่ต้องเดินทางมาที่สำนักงานประปาสาขา เช่น การชำระค่าบริการ และการขอติดตั้งประปาใหม่ 9.2) โครงการการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดินระยะที่ 2 พัฒนาระบบให้บริการทั้งหมดของสำนักงานที่ดินทั่วประเทศให้ทันสมัยและเป็นมาตรฐานเดียวกัน 10) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย 10.1) จัดหาเครื่องจักรกลเพื่อการเตรียมความพร้อมการเผชิญเหตุอุทกภัย ภัยแล้ง และเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในช่วงฤดูฝน 10.2) ออกมาตรการรองรับสถานการณ์อุทกภัย เช่น 1) จัดทำแผนเผชิญเหตุอุทกภัย 76 จังหวัด และ 2) เตรียมความพร้อมสถานที่เป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว 13,685 แห่ง รองรับผู้ประสบอุทกภัยได้ 6,170,651 คน 10. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนตุลาคม 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนตุลาคม 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ และข้อเท็จจริง 1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนตุลาคม 2564 การส่งออกของไทยในเดือนตุลาคม 2564 มีมูลค่า 22,738.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (750,016 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 17.4 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 12.2 การส่งออกของไทยยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง ท่ามกลางสภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้ประเทศคู่ค้าของไทยมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากการเติบโตทั้งในสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม ทั้งนี้ การส่งออก 10 เดือนแรกของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 15.7 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 19.6 มูลค่าการค้ารวม มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนตุลาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 22,738.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 17.4 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 23,108.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 34.6 ดุลการค้าขาดดุล 370.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวมการส่งออก 10 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 222,736.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.7 การนำเข้า มีมูลค่า 221,089.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 31.3 ดุลการค้า 10 เดือนแรก เกินดุล 1,646.6 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนตุลาคม 2564 การส่งออก มีมูลค่า 750,015.8 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 24.9 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 772,540.0 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 43.3 ดุลการค้าขาดดุล 22,524.1 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออก 10 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 6,952,185.9 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.0 การนำเข้า มีมูลค่า 6,999,330.7 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 31.8 ดุลการค้า 10 เดือนแรก ขาดดุล 47,114.8 ล้านบาท การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 18.2 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 51.7 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย และเกาหลีใต้) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัว ร้อยละ 28.7 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 33.7 (ขยายตัวในตลาดเบนิน โกตดิวัวร์ จีน อังโกลา และอิรัก) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 29.5 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 111.6 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ ไต้หวัน และลาว) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 14.2 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา และซาอุดีอาระเบีย แต่ขยายตัวดีในตลาดออสเตรเลีย อียิปต์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ และแอฟริกาใต้) ไก่แปรรูป หดตัวร้อยละ 18.9 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ ฮ่องกง และเยอรมนี แต่ขยายตัวดีในตลาดเนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ และไอร์แลนด์) เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 10.7 (หดตัวในตลาดเวียดนาม เมียนมา จีน สปป.ลาว และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวดีในตลาดกัมพูชา และสหรัฐฯ) ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง กระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 3.4 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน ไต้หวัน เกาหลีใต้ และสหราชอาณาจักร แต่ขยายตัวดีในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์) สินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ หดตัวร้อยละ 47.7 (หดตัวในตลาดเวียดนาม สปป.ลาว กัมพูชา ญี่ปุ่น และไต้หวัน แต่ขยายตัวดีในตลาดเมียนมา จีน อินโดนีเซีย และสหรัฐฯ) 10 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 14.8 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 13.9 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 67.3 (ขยายตัวในตลาดจีน เวียดนาม อินเดีย สิงคโปร์ และกัมพูชา) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 10.3 (ขยายตัวในตลาดฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สหรัฐฯ เม็กซิโก อินโดนีเซีย และแอฟริกาใต้) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 18.6 (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 20.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร และเบลเยียม) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 35.9 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อินเดีย อินโดนีเซีย จีน และมาเลเซีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 4.6 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และเยอรมนี แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน และอินเดีย) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด หดตัวร้อยละ 6.3 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ และไต้หวัน แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดเวียดนาม ฮ่องกง ญี่ปุ่น จีน และสิงคโปร์) ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 11.7 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม มาเลเซีย และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดสหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย และเกาหลีใต้) เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 29.3 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม และมาเลเซีย แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอียิปต์) 10 เดือนแรกของ ปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 14.5 ตลาดส่งออกสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดส่งออกสำคัญขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน สรุป ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 17.4 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 16.1 จีน ร้อยละ 14.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 39.7 CLMV ร้อยละ 19.8 และ สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 14.0 ขณะที่ ญี่ปุ่น หดตัวร้อยละ 2.0 2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 17.8 ขยายตัวในตลาด เอเชียใต้ ร้อยละ 50.4 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 33.2 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 38.8 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 14.1 และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 78.8 ขณะที่ ทวีปออสเตรเลีย หดตัวร้อยละ 7.3 และ 3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 2.4 3.2 แนวโน้ม และมาตรการส่งเสริมการส่งออกในปี 2564 การส่งออกของไทยในปี 2564 มีแนวโน้มขยายตัวดี สะท้อน(1) ทิศทางการค้าโลกขยายตัวต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 4 (2) ค่าเงินบาทยังอยู่ในทิศทางอ่อนค่า ช่วยเพิ่มความสามารถทาง การแข่งขันด้านราคาให้กับสินค้าไทย (3) การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ และการเตรียมเปิดประเทศ ในหลายประเทศ ส่งผลดีต่อภาคการค้า (4) ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น ตามอุปสงค์ที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ช่วยสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน อาทิ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ และ (5) มูลค่าการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากสถานการณ์การค้าชายแดนเริ่มคลี่คลาย โดยด่านการค้าสำคัญ จะกลับมาเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง สำหรับแผนส่งเสริมการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี กระทรวงพาณิชย์ยังคง กระทรวงพาณิชย์ยังคงดำเนินการตามยุทธศาสตร์ ?ตลาดนำการผลิต? และแผนงานของกระทรวงพาณิชย์ที่กำหนดไว้ โดยมาตรการส่งเสริมการส่งออกในระยะถัดไป ได้แก่ การผลักดันการส่งออกมันสำปะหลังไทย ให้มีคุณภาพอันดับ 1 ของโลก ตามยุทธศาสตร์มันสำปะหลังไทยปี 2564 - 2567 การเร่งรัดความตกลง RCEP ให้มีผลบังคับใช้โดยเร็ว หลังจากที่ไทยยื่นให้สัตยาบันแล้ว เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าไทย การเจรจาเปิดด่านการค้าสำคัญเพื่อลดอุปสรรคการส่งออกหลังวิกฤติโควิด-19 เริ่มคลี่คลาย รวมไปถึงการเดินหน้าตามแผนรักษาตลาดเดิม สร้างตลาดใหม่ และฟื้นฟูตลาดเก่าที่เสียไป โดยมีกระทรวงพาณิชย์ ทีมเซลล์แมนประเทศ และกรอ.พาณิชย์ ที่จะร่วมกันเดินหน้าผลักดันการส่งออกของไทย ให้ยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกหลังวิกฤติโควิด-19 11. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ ปี 2565 (กห.พน.มท.วธ.อก. สำนักงาน ก.พ.ร. และ สคทช.) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอโครงการ/กิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ให้แก่ประชาชน (เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2564 ที่กำหนดให้ทุกส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานของรัฐเร่งพิจารณาแผนงาน/โครงการในความรับผิดชอบที่สมควรจะดำเนินการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ให้แก่ประชาชนดังเช่นทุกปีที่ผ่านมา และให้นำเสนอแผนงาน/โครงการดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ หน่วยงาน โครงการ/กิจกรรม กห. ดำเนินโครงการ ?เติมความสุขให้คนไทย ตามแนวทางชีวิตวิถีใหม่ จากใจทหาร? ดังนี้ 1. กิจกรรมที่ดำเนินการในห้วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2565 (วันที่ 29 ธันวาคม 2564 - 4 มกราคม 2565) ได้แก่ 1.1 จัดเตรียมกำลังเตรียมพร้อม เพื่อรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนในพื้นที่ตามแนวชายแดนและพื้นที่ที่มีความสำคัญด้านความมั่นคงของประเทศ 1.2 จัดตั้งจุดบริการช่วยเหลือประชาชนและนักท่องเที่ยว ได้แก่ การจัดจุดพักรถเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ จำนวนกว่า 500 จุด ทั่วประเทศ รวมทั้งให้บริการ เช่น ข้อมูลการเดินทาง การบริการสุขาเคลื่อนที่ การบริการทางการแพทย์ และการบริการตรวจสภาพและซ่อมแซมยานพาหนะ 1.3 จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประชาชนและนักท่องเที่ยวทางทะเล จำนวน 6 จุด 1.4 จำหน่ายสินค้าอุปโภคและบริโภคราคาถูก จำนวน 80 แห่ง ภายในพื้นที่ของหน่วยทหารทั่วประเทศ เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย 1.5 เปิดแหล่งท่องเที่ยวและพิพิธภัณฑ์ในเขตทหารทั่วประเทศ จำนวน 35 แห่ง โดยไม่คิดค่าบริการ 1.6 ให้บริการศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และโครงการเกษตรผสมผสานตามแนวทางศาสตร์พระราชา จำนวน 30 แห่ง ภายในพื้นที่ของหน่วยทหารทั่วประเทศ 2. กิจกรรมที่ดำเนินการตลอดห้วง พ.ศ. 2565 ได้แก่ 2.1 จัดตั้งจุดบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ให้กับประชาชน ของสถานพยาบาลในสังกัด กห. หรือพื้นที่ที่เหมาะสม 2.2 จัดเจ้าหน้าที่ช่วยเหลือดูแลและฟื้นฟูบ้านเรือนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ รวมถึงการจัดชุดช่างทั่วไปเข้าซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนที่ประสบภัยพิบัติในพื้นที่ต่าง ๆ 2.3 เปิดพื้นที่ภายในหน่วยทหารเป็นตลาดนัดสินค้าราคาถูกช่วยเหลือประชาชน และสนับสนุนการจำหน่ายและรับซื้อสินค้าและผลผลิตทางการเกษตร 2.4 จัดจุดรับเรื่องราวร้องทุกข์เกี่ยวกับผลกระทบจากภัยพิบัติหรือสาธารณภัยรวมทั้งความเดือดร้อนเกี่ยวกับผลผลิตทางการเกษตร 2.5 เข้มงวดกับมาตรการป้องกันและสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมือง แรงงานต่างด้าว การค้ามนุษย์ ยาเสพติด ผลผลิตทางการเกษตร และสินค้าผิดกฎหมายตามแนวชายแดน รวมทั้งการควบคุม กำกับดูแล กิจการ/กิจกรรมของสถานประกอบการต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามมาตรการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กำหนด พน. 1. การลดและตรึงราคาพลังงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลดค่าใช้จ่าย และลดต้นทุนค่าครองชีพของประชาชน ได้แก่ 1.1 ตรึงราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 1.2 ตรึงราคาน้ำมันทุกชนิด โดยบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) ระหว่างวันที่ 5 ธันวาคม 2564 - 4 มกราคม 2565 1.3 คงราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติ (NGV) ที่ 15.59 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 1.4 ขยายความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม (LPG) แก่กลุ่มร้านค้าหาบเร่ แผงลอยอาหารที่เป็นผู้ที่มีรายได้น้อยตามบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 100 บาทต่อคนต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มกราคม 2565 1.5 ขยายระยะเวลาการคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกำหนดราคาขายปลีกอยู่ที่ 318 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 2. แจกคูปองส่วนลดสำหรับซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 และสินค้าชุมชน ได้แก่ 2.1 แจกคูปองส่วนลดสำหรับซื้ออุปกรณ์ไฟฟ้าเบอร์ 5 สิทธิละ 500 บาท จำนวน 10,000 สิทธิ 2.2 แจกคูปองส่วนลดร้อยละ 50 สำหรับซื้อสินค้าชุมชน มูลค่าส่วนลดไม่เกิน 300 บาท จำนวน 28,000 สิทธิ 3. แจกคูปองส่วนลดสำหรับที่พักที่เขื่อนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สิทธิละ 2 ห้อง จำนวน 15,000 สิทธิ มท. ดำเนินโครงการภายใต้แนวคิด ?130 ปี มหาดไทย ส่งสุข คลายทุกข์ให้ประชาชนรับปีใหม่ 2565? รวม 12 โครงการ ดังนี้ 1. ด้านเศรษฐกิจ จำนวน 5 โครงการ ได้แก่ 1.1 สถานธนานุบาลทั่วไทย พร้อมใจลดอัตราดอกเบี้ย โดยสถานธนานุบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 253 แห่ง ลดอัตราดอกเบี้ยให้แก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อยเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าในด้านค่าใช้จ่าย แบ่งเป็น 1.1.1 เดือนธันวาคม 2564 - มกราคม 2565 ได้แก่ 1) เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท 2 เดือนแรก ไม่คิดดอกเบี้ย หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อเดือน และ 2) เงินต้นเกินกว่า 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน 1.1.2 เดือนกุมภาพันธ์ - ธันวาคม 2565 ได้แก่ 1) เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อเดือน และ 2) เงินต้นเกินกว่า 5,000 บาท คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน 1.2 เชฟชุมชน...เรียนฟรี มีทุนให้ โดยในช่วงเดือนธันวาคม 2564 - กันยายน 2565 ได้เชิญผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการทำอาหารและบุคลากรจากโรงเรียนฝึกอาชีพและศูนย์ฝึกอาชีพสังกัดกรุงเพพมหานคร (กทม.) มาเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายครอบคลุมพื้นที่ 50 เขต โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมโครงการขอรับการสนับสนุนทุนประกอบอาชีพ ไม่เกินครอบครัวละ 5,000 บาทต่อปี 1.3 ติดมิเตอร์ใหม่ ลดราคา การประปาฯ จัดให้ โดยในเดือนมกราคม -กุมภาพันธ์ 2565 การประปานครหลวง (กปน.) ลดค่าติดตั้งประปาใหม่สูงสุดร้อยละ 20 สำหรับผู้ใช้น้ำรายใหม่ประเภทที่พักอาศัย (R1) ในพื้นที่ให้บริการของ กปน. และการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ลดค่าติดตั้งประปาใหม่ร้อยละ 10 สำหรับผู้ใช้น้ำรายใหม่ประเภทที่อยู่อาศัยที่ติดตั้งมาตรวัดน้ำขนาด 1/2 นิ้วในพื้นที่ให้บริการของ กปภ. 234 สาขาทั่วประเทศ เฉพาะส่วนเหมาจ่ายที่มีระยะห่างจากท่อเมนจ่ายน้ำประปาไม่เกิน 10 เมตร (ไม่รวมส่วนวางท่อภายในบ้าน) 1.4 มหานครสดใส ชาร์จไฟกับ กฟน. โดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ติดตั้งหัวชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า (MEA EV) ในพื้นที่สาธารณะ ทั่วเขตจำหน่ายของ กฟน. (กทม. จังหวัดนนทบุรีและสมุทรปราการ) จำนวน 100 หัวชาร์จ ภายในเดือนธันวาคม 2565 1.5 ของถูก ขายฟรี ของดี พาส่งออก โดยพัฒนาช่องทางการกระจายสินค้าเกษตรเพื่อให้ประชาชนทั่วไป เกษตรกร และผู้ประกอบการสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชุมชนมีพื้นที่และช่องทางในการจำหน่ายสินค้าเพิ่มขึ้น และมีโอกาสในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ 2. ด้านพัฒนาบริการดิจิทัล จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ 2.1 ?DOPA Citizen Service? บริการวิถี..ใหม่ ง่าย ๆ แค่ปลายนิ้ว โดยจัดทำและพัฒนาแพลตฟอร์มที่รวบรวมการให้บริการประชาชนแบบออนไลน์ทั้งหมดของกรมการปกครอง มท. ไว้ในช่องทางเดียว โดยประชาชนสามารถขอรับบริการได้ทั้งทางเว็บไซต์ https://citizenservice.dopa.go.th/#/ และแอปพลิเคชัน DOPA Citizen Service พร้อมทั้งมีระบบติดตามและแจ้งเตือนสถานะการอนุมัติ/อนุญาตให้แก่ผู้ขอรับบริการด้วย ซึ่งจะเปิดให้บริการตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป 2.2 คนกรุงสบาย จดทะเบียนที่ดินออนไลน์ใกล้บ้าน โดยพัฒนาการให้บริการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของสำนักงานที่ดินในพื้นที่ กทม. และสาขา รวม 17 แห่ง ให้สามารถดำเนินการต่างสำนักงานได้ 2.3 Click ชุมชน...เรียนรู้ ดู เที่ยว ทั่วไทย เป็นแพลตฟอร์มบริการที่รวบรวมข้อมูล เช่น ข้อมูลชุมชน การท่องเที่ยวชุมชน สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) แหล่งทุนชุมชน ความรู้ชุมชน การสร้างอาชีพ และการสร้างรายได้ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการพัฒนาชุมชนได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว 2.4 ผังเมือง delivery โดยพัฒนาระบบตรวจสอบผังการใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองในรูปแบบแอปพลิเคชันชื่อ ?Landuse Plan? เพื่อเป็นช่องทางการสืบค้นข้อมูลผังสีด้วยการแสดงข้อมูลผ่านระบบแผนที่ออนไลน์ โดยประชาชนสามารถตรวจสอบสีผังเมืองของที่ดินหรือทำเลที่ตั้งบ้าน เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพการพัฒนาและราคาที่ดินของตนเอง 3. ด้านพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ 3.1 มหาดไทยสูบส่งน้ำ ส่งสุขคลายทุกข์ คลายแล้ง โดยศูนย์ป้องกันและบรรทาสาธารณภัย เขต 1 ? 18 ให้การสนับสนุนเครื่องจักรกลสาธารณภัย เพื่อสูบน้ำจากแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำมากไปกักเก็บในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำเหลือน้อยหรือขาดแคลนน้ำ รวมถึงใช้เร่งระบายน้ำในพื้นที่ประสบอุทกภัย 3.2 ขยายเขต 10 วัน ทันใจกับไฟฟ้าภูมิภาค โดยยกระดับการให้บริการในการขอติดตั้งมิเตอร์แรงต่ำขนาดไม่เกิน 30 แอมป์ ร่วมกับงานขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงต่ำระยะทางไม่เกิน 140 เมตร แบบ One Touch Service ภายใน 10 วันทำการ โดยมีค่าใช้จ่ายเฉพาะค่าธรรมเนียมการขอใช้ไฟฟ้าและไม่คิดค่าใช้จ่ายในการขยายเขตระบบจำหน่ายไฟฟ้าแรงต่ำ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอน กำหนดระยะเวลาให้บริการที่ชัดเจน และลดภาระค่าใช้จ่าย 3.3 สนามปันสุข ดำเนินโครงการ ?สนามปันสุข? ใน 23 พื้นที่ โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาใช้บริการในพื้นที่ของศูนย์บริหารจัดการคุณภาพน้ำเพื่อออกกำลังกายได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ภายในระยะเวลา 10 เดือน (ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2564 - กันยายน 2565) วธ. จัดทำโครงการ ?ส่งสุขวิถีใหม่ สืบสานวิถีไทย ปลอดภัยสร้างสรรค์? จำนวน 4 กิจกรรม ดังนี้ 1. กิจกรรมทางศาสนาเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล เช่น กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีเสริมสิริมงคลทั่วไทย ส่งท้ายปีเก่าวิถีใหม่ (ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2564 - 1 มกราคม 2565) กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีในต่างประเทศ และผลิตสื่อสวดมนต์ข้ามปี 2. กิจกรรมเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ เช่น เปิดให้เข้าชมอุทยานประวัติศาสตร์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติทุกแห่งเป็นกรณีพิเศษ โดยงดเก็บค่าเข้าชม ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2564 - 3 มกราคม 2565 เปิดฉายภาพยนตร์ทรงคุณค่าของไทยและต่างประเทศ ณ หอภาพยนตร์ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 3. กิจกรรมทางศิลปวัฒนธรรม ส่งความสุขแบบไทย เช่น การจัดงานกาชาดประจำปี 2564 ในรูปแบบแพลตฟอร์มงานกาชาดออนไลน์ ภายใต้แนวคิด ?ประสบการณ์สนุก สร้างสุขทุกมิติ Fun(D) FairxSharing? ระหว่างวันที่ 14 - 27 ธันวาคม 2564 4. กิจกรรมท่องเที่ยววัฒนธรรม ท่องเที่ยววิถีใหม่ โดยส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชนอัตลักษณ์ไทย สู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมในงาน ?เที่ยวทั่วไทย สไตล์พรีเมียม?ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 23 - 26 ธันวาคม 2564 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญทั่วประเทศ และจัดทำแอปพลิเคชัน ?เที่ยวเท่ ๆ เสน่ห์เมืองไทย? เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยว และยกระดับการให้บริการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว อก. 1. อำนวยความสะดวกและลดต้นทุนให้ผู้ประกอบการ โดยการยกเว้นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนเครื่องจักร และค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน 2. เสริมสภาพคล่องการดำเนินธุรกิจ 2.1 ดำเนินโครงการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่เป็นนิติบุคคลและเป็นกลุ่มธุรกิจเป้าหมายให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนมากขึ้น 2.2 ดำเนินโครงการสินเชื่อพิเศษดีพร้อมเปย์ (DIProm Pay) สำหรับ SMEs ทุกสาขาอุตสาหกรรมที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565 เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อ รักษาสภาพการจ้างงาน และทำให้มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 2.3 จัดทำแคมเปญ ?SMES Happy? โดยฟรีค่าประเมินราคาหลักประกันเมื่อยื่นกู้ระหว่างวันที่ 3 มกราคม - 31 มีนาคม 2565 ใน 3 ผลิตภัณฑ์สินเชื่อของธนาคารวงเงินรวม 15,000 ล้านบาท 3. ยกระดับผู้ประกอบการ 3.1 ให้คำปรึกษาแนะนำและออกแบบบรรจุภัณฑ์ ฉลาก สติกเกอร์ พร้อมทั้งจัดทำต้นแบบให้ผู้ประกอบการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย 3.2 จัดทำคลินิกให้คำปรึกษาแนะนำด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์แก่วิสาหกิจชุมชน 3.3 ให้ SMEs และวิสาหกิจชุมชนทุกสาขาอุตสาหกรรมทดลองใช้โปรแกรมจากผู้ให้บริการซอฟต์แวร์คนไทยโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เป็นระยะเวลา 6 เดือน รวมทั้งหมด 34 โปรแกรม เช่น ด้านการบริหาร ด้านการตลาด และด้านการบริการลูกค้า 4. ดูแลเกษตรกรและประชาชน 4.1 จัดหาเครื่องสางใบอ้อย เพื่อให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถยืมใช้ในการตัดอ้อยสด จำนวน 288 เครื่อง 4.2 จัดมหกรรมของขวัญปีใหม่เพื่อประชาชนประกอบด้วยร้านค้า 60 ร้านค้า ระหว่างวันที่ 23 - 24 ธันวาคม 2564 ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะชิตี้ จังหวัดชลบุรี 4.3 จัดงาน ?DIPROM MOTOR OUTLET? มหกรรมแสดงสินค้าและจำหน่ายสินค้ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเครื่องจักรกลการเกษตรในราคาพิเศษ ระหว่างวันที่ 4 ? 13 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาวัสดุอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จังหวัดลำปาง สำนักงาน ก.พ.ร. การรวบรวมงานบริการของรัฐที่มีช่องทางการให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) ให้แก่ประชาชน ในหัวข้อ ?e - Sevice ภาครัฐฉับไว ส่งความสุขทั่วไทย เพื่อคนไทยทุกคน? รวม 325 งานบริการ โดยจัดทำแค็ตตาล็อกที่ประชาชนสามารถสแกน QR Code หรือกดลิงก์เพื่อเข้าใช้บริการออนไลน์ได้ทันที โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มงานบริการฯ 1. งานบริการสำหรับประชาชน 9 ประเภท รวม 131 งานบริการ ดังนี้ 1.1 ขนส่ง คมนาคม และการเดินทาง เช่น 1) เสียภาษีรถยนต์ 2) ขอเลขทะเบียนรถ 3) การแจ้งอยู่ต่อในราชอาณาจักร เกิน 90 วัน (ตม. 47) และ 4) ขอความช่วยเหลือคนไทยในต่างแดน 1.2 ประกันสังคม และสวัสดิการภาครัฐ เช่น 1) ตรวจสอบการคืนสิทธิผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และ 2) ระบบตรวจสอบสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล 1.3 ที่ดิน ภาษี และธนาคาร เช่น 1) ระบบค้นหารูปแปลงที่ดิน 2) สืบค้นราคาประเมินที่ดิน 3) e-Excise บริการอิเล็กทรอนิกส์ จุดเดียว 4) ยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดา 5) แจ้งความต้องการที่อยู่อาศัย และ 6) ออมสิน Internet Banking 1.4 สาธารณูปโภค เช่น 1) ชำระค่าน้ำในเขต กทม. จังหวัดนนทบุรี และสมุทรปราการ 2) ชำระค่าน้ำในเขตต่างจังหวัด 3) ขอใช้ไฟฟ้าในเขต กทม. จังหวัดนนทบุรี และสมุทรปราการ 4) ชำระค่าไฟฟ้าในเขตต่างจังหวัด และ 5) ตรวจสอบสิทธิ Free Wifi 1.5 การเกษตรและสิ่งแวดล้อม เช่น 1) ลงทะเบียนไม้มีค่าในที่ดินกรรมสิทธิ์ 2) ขอบริการฝนหลวง 3) ขอบริการวิเคราะห์ตัวอย่างดิน 4) ขอใช้ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา 5) ระบบคาดการณ์คุณภาพน้ำและเตือนภัย และ 6) ขอใช้ที่ป่าชายเลน 1.6 การทำงานและส่งเสริมอาชีพ เช่น 1) ระบบจัดหางานทั้งผู้สมัครงานและผู้ว่าจ้าง 2) ขึ้นทะเบียนไกด์ 3) ทำบัตรสื่อมวลชน 4) หนังสือคนประจำเรือ และ 5) ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนมาตรา 40 1.7 การสอบ การศึกษา และการฝึกอบรม ได้แก่ 1) การรับสมัครสอบภาค ก2) ขอผลสอบ O-net GAT PAT 3) ยื่นคำร้องขอเทียบวุฒิการศึกษา 4) ระบบรับสมัครนักเรียน นักศึกษา อาชีวศึกษา และ 5) ระบบค้นหาวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองอิเล็กทรอนิกส์ 1.8 ทะเบียนราษฎร และตรวจสอบข้อมูล เช่น 1) ตรวจสอบชื่อสกุลเบื้องต้น2) ขอเงินช่วยเหลือทางคดี 3) ยื่นคำเสนอข้อพิพาท 4) กำหนดตรวจสอบนัดรายงานตัวออนไลน์ และ 5) ระบบไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 1.9 สุขภาพ ได้แก่ คิวออนไลน์ (เฉพาะผู้ป่วยเก่า) และขอตรวจพิสูจน์ด้านนิติวิทยาศาสตร์ และขอรับศพ 2. งานบริการสำหรับผู้ประกอบการ 4 ประเภท รวม 194 งานบริการ 2.1 ขออนุญาต และจดทะเบียน เช่น 1) จดทะเบียนนิติบุคคล 2) ลงทะเบียนผู้ค้ากับภาครัฐ 3) จดทะเบียนเครื่องจักร 4) ขออนุญาตผลิตภัณฑ์ สุขภาพ (ยา) และ 5) ขอรับสิทธิ์ส่งเสริมผู้ประกอบการสมุนไพร 2.2 การเงิน ภาษี และสิทธิประโยชน์ เช่น 1) นำส่งงบการเงิน (e-Filing) 2) กู้ยืมเงินทุนหมุนเวียน (สินเชื่อสำหรับ อุตสาหกรรมในครัวเรือน) 3) ยื่นภาษีนิติบุคคล 4) ขอยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ และ 5) ระบบขอรับบริการด้านภาษี สคทช. 1. โครงการเร่งรัดการดำเนินงานกลั่นกรองภาพผลการอ่านภาพถ่ายทางอากาศเพื่อประกอบการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐ เป็นการเร่งรัดดำเนินการอ่านภาพถ่ายทางอากาศ จำนวน 239 ระวาง ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบผลการอ่านภาพถ่ายทางอากาศของคณะทำงานกลั่นกรองผลการอ่านภาพถ่ายทางอากาศให้แล้วเสร็จ เพื่อแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน จำนวน 5,696ราย 5,707 แปลง เนื้อที่ประมาณ 377,006-2-99.30 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 2. การจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน เร่งดำเนินการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในพื้นที่เป้าหมายจำนวน 400,000 ไร่ จัดคนลงพื้นที่ที่เห็นชอบแล้ว จำนวน 10,000 ราย และส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดิน จำนวน 9,500 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 12. เรื่อง รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 และเห็นชอบมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนในเชิงนโยบายต่อไป ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และให้คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม และกระทรวงแรงงานไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย สาระสำคัญของเรื่อง พม. รายงานว่า คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563 และให้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบข้อมูลสถานการณ์เกี่ยวกับผู้สูงอายุของไทยและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนในเชิงนโยบายต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. สถานการณ์ผู้สูงอายุ ประเด็น สาระสำคัญ สถานการณ์โลก ในปี 2563 โลกมีจำนวนประชากรรวมทั้งหมด 7,795 ล้านคน โดยมีผู้สูงอายุ 1,050 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 13.5 ของประชากรทั้งหมด สถานการณ์ ในภูมิภาค - ทวีปยุโรปมีอัตราผู้สูงอายุ1สูงที่สุดในโลก คิดเป้นร้อยละ 25.7 - ทวีปแอฟริกามีประชากรเยาว์วัย2สูงที่สุด โดยมีอัตราผู้สูงอายุ คิดเป็นร้อยละ 5.5 - อาเซียนมีประชากรสูงอายุ 73 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 11 ของประชากรอาเซียนทั้งหมด โดยมีประเทศสมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ ที่เป็นสังคมสูงอายุแล้ว ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเมียนมา สถานการณ์ ในประเทศไทย - ประชากรผู้สูงอายุของไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2563 มีประชากรสูงอายุจำนวน 12 ล้านคน (ร้อยละ 18.1 ของประชากรไทยทั้งหมด 66.5 ล้านคน) อีกทั้งเป็นปีแรกที่มีจำนวนเด็กเกิดต่ำกว่า 600,000 คน จำนวนผู้เสียชีวิตสูงกว่า 500,000 คน นอกจากนี้ ประชากรรุ่นเกิดล้าน (คนที่เกิดในช่วงปี 2506-2526) ซึ่งเปรียบเสมือนสึนามิประชากรที่กำลังจะกลายเป็นกลุ่มประชากรสูงอายุกลุ่มใหญ่มาก ทำให้ในปี 2565 ไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์3 และปี 2576 ไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุระดับสุดยอด4 - จำนวนผู้สูงอายุทั้งหมด 12 ล้านคน แบ่งตามกลุ่มช่วงอายุ ช่วงอายุ จำนวน (ล้านคน) ผู้สูงอายุวัยต้น (อายุ 60-69 ปี) 7.2 ผู้สูงอายุวัยกลาง (อายุ 70-79 ปี) 3.4 ผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) 1.4 - การอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) การอยู่อาศัย จำนวน (ล้านคน) ในเขตเทศบาล 6.6 นอกเขตเทศบาล 5.4 อาศัยอยู่คนเดียว 1.3 อาศัยอยู่ลำพังกับคู่สมรส 2.5 -การทำงานของผู้สุงอายุ มีผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนและได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวน 4.7 ล้านคน โดยผู้สูงอายุที่กำลังทำงานในช่วงอายุ 60-64 ปี คิดเป็นร้อยละ 55.5 ของประชากรกลุ่มอายุนี้ และช่วงอายุ 65-69 ปี คิดเป็นร้อยละ 41.1 ของประชากรกลุ่มอายุนี้ - สถานะสุขภาพของผู้สูงอายุ มีผู้สูงอายุที่เป็นโรคสมองเสื่อม จำนวน 651,950 คน ผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะติดเตียง จำนวน 43,520 และผู้สูงอายุที่ประเมินตนเองว่ามีสุขภาพดีมาก จำนวน 5.6 ล้านคน 2. การดำเนินงานด้านผู้สูงอายุของภาครัฐที่สำคัญ ประเด็น ผลการดำเนินงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1. ด้านสุขภาพอนามัยของผู้สูงอายุ - ดำเนินการให้ตำบลมีระบบการส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน และการจัดทำหลักสูตรการอบรมผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุ และหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) - ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้กับอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในทุกอำเภอทั่วประเทศ พม. 2. ด้านรายได้เพื่อยังชีพของผู้สูงอายุ - จ่ายเบี้ยยังชีพรายเดือนสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 9.7 ล้านคน เป็นเงิน 76,280 ล้านบาท กระทรวงมหาดไทย (มท.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา - จ่ายเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญข้าราชการ จำนวน 803,293 คน เป็นเงิน 267,012 ล้านบาท กระทรวงการคลัง (กค.) - จัดสวัสดิการกองทุนประกันสังคม กรณีชราภาพให้กับแรงงานที่อยู่ภายใต้ระบบประกันสังคม จำนวน 598,550 คน กระทรวงแรงงาน (รง.) - พักชำระหนี้ให้กับผู้สูงอายุที่เป็นลูกหนี้กองทุนผู้สูงอายุ จำนวน 41,665 คน พม. - จัดตั้งกองทุนการออมแห่งชาติ มีจำนวนสมาชิก (สะสม) จำนวน 2,396,543 คน กค. 3. ด้านการทำงานของผู้สูงอายุ ส่งเสริมการมีงานทำและพัฒนาทักษะฝีมือ รง. 4. ด้านที่อยู่อาศัยและการอำนวยความสะดวกแก่ผู้สูงอายุ - ปรับสภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวกของผู้สูงอายุให้เหมาะสมและปลอดภัย พม. - จัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยให้กับผู้สูงอายุ กระทรวงคมนาคม (คค.) 5. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแผนเกี่ยวกับผู้สูงอายุ - คุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุตามกฎหมาย โดยการยกร่างปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานผู้สูงอายุ รง. - จัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562 - 2565) กระทรวงยุติธรรม 6. การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม การกีฬาและนันทนาการสำหรับผู้สูงอายุ - จัดกิจกรรมการแข่งขันกีฬาผู้สูงอายุ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) - จัดทำโครงการส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการผู้สูงอายุและกิจกรรมด้านวัฒนธรรม 3. ผลกระทบของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมาตรการการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐต่อผู้สูงอายุในไทย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า ในปี 2563 มีผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมในไทยทั้งหมด จำนวน 6,879 ราย เป็นผู้ป่วยที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 543 ราย (ร้อยละ 7.9 ของจำนวนผู้ติดเชื้อยืนยันสะสมทั้งหมด) และเสียชีวิต จำนวน 29 ราย (ร้อยละ 5.3 ของจำนวนผู้ป่วยสูงอายุยืนยันสะสมทั้งหมด) โดยในช่วงปลายปี 2563 ได้เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกที่ 2 ทำให้เกิดผลกระทบต่อผู้สูงอายุในด้าน ต่าง ๆ ซึ่งภาครัฐได้มีการกำหนดมาตรการในการให้ความช่วยเหลือสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น ผลกระทบ มาตรการการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐ 1. ด้านเศรษฐกิจ ร้อยละ 81 ของผู้สูงอายุที่ทำงาน ประสบปัญหา อุปสรรคในการทำงาน เช่น สูญเสียอาชีพ ไม่มีพื้นที่ค้าขาย และถูกปรับลดเงินเดือน/ค่าตอบแทน โดยกลุ่มผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่เป็นผู้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้รับผลกระทบด้านเศรษฐกิจรุนแรงมากที่สุด - โครงการคนละครึ่ง - โครงการสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โดยสนับสนุนเงินช่วยเหลือรายละ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน 2. ด้านสุขภาพ ผู้สูงอายุไทยมีสุขภาพแย่ลง และมีภาวะความเครียดสูงในช่วงที่มีการใช้มาตรการปิดเมือง5รวมทั้งมีความเสี่ยงเป็นภาวะซึมเศร้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเมื่อมีการแพร่ระบาดระลอกใหม่เกิดขึ้น - ส่งยาทางไปรษณีย์ - สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ 3. ด้านสังคม ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับรู้และปฏิบัติตนตามมาตรการป้องกันเชื้อโรคตามที่ภาครัฐส่งเสริมได้ค่อนข้างดี และผู้สูงอายุร้อยละ 83.6 ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการสัมผัส นอกจากนี้ ผู้สูงอายุประสบปัญหาเรื่องการขาดแคลนอาหารเพิ่มมากขึ้นในช่วงปิดเมือง ซึ่งพบมากที่สุดใน กทม. - อาสาสมัครสาธารณสุขประจำพื้นที่ต่าง ๆ ช่วยเหลือผู้สูงอายุในภาวะวิกฤติทั้งในรูปแบบการสอบถามสุขภาวะทางใจ และการนำอาหารไปแจกจ่ายให้ที่บ้านหรือชุมชนใกล้บ้านของผู้สูงอายุ - ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมมีการแจกจ่ายเครื่องอุปโภคบริโภคเพื่อให้ความช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อน - ประชาสัมพันธ์ข้อมูลเรื่องแนวทางการปฏิบัติตนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ผ่านช่องทางต่าง ๆ 4. สถานการณ์เด่นในรอบปี 2563 เช่น 4.1 สธ. ประกาศกฎกระทรวง 3 ฉบับ เพื่อให้ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุจะต้องมีมาตรฐานและปฏิบัติตามพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 4.2 กรมการแพทย์ได้จัดตั้ง ?ต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมแบบครบวงจร? ในพื้นที่เขตสาธารณสุขครบทั้ง 13 เขต ของประเทศไทย 5. งานวิจัยเพื่อสังคมผู้สูงอายุ งานวิจัยจำนวน 5 เรื่อง ได้แก่ 1) งานวิจัยผลกระทบของ COVID-19 ต่อผู้สูงอายุไทย 2) การสำรวจความเป็นอยู่และความความต้องการด้านบริการและการดูแลสำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ในช่วงระหว่างและหลังการใช้มาตรการปิดเมืองอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย 3) การจัดบริการสังคมทางเลือกสำหรับผู้สูงอายุในสถานการณ์วิกฤติ : กรณีศึกษาช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 4) โครงการการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้เกิดการจัดการชุดข้อมูลทางสังคมและสุขภาพของประชาชนรายเขตกรุงเทพมหานคร และ 5) โครงการติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์และแนวโน้มด้านผู้สูงอายุ (Ageing Watch) ภายใต้โครงการ ?จุฬาอารี? 6. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ประเด็น ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 1. ด้านเศรษฐกิจ - สร้างหลักประกันทางเศรษฐกิจที่เป็น ?มาตรการระยะยาว? สำหรับผู้สูงอายุ โดยพิจารณาศึกษาการปรับเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิต - ส่งเสริมและขยายโอกาสในการทำงานให้กับผู้สูงอายุที่ยังมีสุขภาพแข็งแรง โดยเป็นงานที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีรายได้และพึ่งพาตนเองได้ให้มากที่สุด 2. ด้านสุขภาพ - เร่งจัดหาวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย ให้มีปริมาณที่เพียงพอ รวมถึงจัดสรรชนิดวัคซีนให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายและเงื่อนไขทางสุขภาพของประชากรกลุ่มวัยต่าง ๆ และกระจายวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรทุกเพศทุกวัย - พัฒนาระบบการส่งยาทางไปรษณีย์ให้มีความต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุในทุกสิทธิสุขภาพ รวมถึงต่อยอดไปสู่ระบบการรักษาทางไกล ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวควรนำมาใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงการบริการโดยคุณภาพการรักษาต้องไม่ลดลง 3. ด้านข้อมูลข่าวสาร - ปรับปรุงวิธีการในการเข้าถึงสวัสดิการและความช่วยเหลือต่าง ๆ ของภาครัฐ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมและทั่วถึงเป็นพิเศษ (เช่น วิธีการลงทะเบียน) - ส่งเสริมให้การเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนและผู้สูงอายุควรได้รับ 4. ด้านที่อยู่อาศัย ผลักดันให้การปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัยและการจัดบริการในระดับชุมชนสำหรับผู้สูงอายุเป็นนโยบายหลักในการจัดการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมแนวทาง ?การสูงวัยในที่อยู่อาศัยเดิม? (Ageing in place) 5. ด้านบริการทางสังคมทั่วไป พิจารณาเพิ่มกำลังคนในระบบอาสาสมัครและจิตอาสาในการดูแลผู้สูงอายุ จัดทำระบบข้อมูล และนำระบบรางวัลหรือค่าตอบแทนมาใช้ในทางปฏิบัติแก่อาสาสมัครหรือผู้ดูแล ทั้งในรูปแบบการดูแลที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กค. พม. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) มท. รง. กระทรวงศึกษาธิการ สธ. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กทม. เมืองพัทยา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หมายเหตุ : 1อัตราผู้สูงอายุ หมายถึงร้อยละของผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมด 2ประชากรเยาว์วัยหรือประชากรเด็ก คือ ประชากรตั้งแต่อายุ 0-14 ปี หรือประชากรที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีทั้งหมด 3สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งหมด 4สังคมสูงอายุระดับสุดยอด คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด 5มาตรการปิดเมือง คือ การปิดสถานที่บางประเภท ลดการเดินทางหรือออกนอกเคหสถานในบางช่วงเวลาและระบุสิ่งที่ห้ามทำ เช่น ห้ามเข้าพื้นที่เขตกำหนดตามคำสั่งผู้ว่าราชการจังหวัด ห้ามคนทั้งหมายเดินทางเข้าราชอาณาจักรไทย ห้ามชุมนุมมั่วสุม ห้ามแพร่ข่าวเท็จ 13. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 40/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 40/2564 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 ดังนี้ 1. อนุมัติให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาผู้ป่วยโคโรนาไวรัส COVID-19 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (โครงการเพิ่มศักยภาพการรักษา ผู้ป่วยฯ) ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มช. โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาผู้ป่วยฯ จากเดิมสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว เนื่องจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ที่เป็นอุปสรรคในการเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ พร้อมทั้งเห็นควรให้ มช. เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการและเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 2. อนุมัติให้กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ 5 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (ปลาดุก/กบ) ในกระชังบก (2) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกเทศในกระชัง เพื่อเยียวยาผู้ซึ่งได้รับผลกระทบเนื่องจากการระบาดของ โรคโควิด 19 (3) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านประมงเชิงเกษตรและท่องเที่ยวบ้านวังดอกไม้ (4) โครงการสนับสนุนการเพิ่มมูลค่า และพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปสินค้าประมงในจังหวัดสตูล และ (5) โครงการสนับสนุนส่งเสริมการเลี้ยงปูทะเลแบบพัฒนาในบ่อดินในจังหวัดสตูล โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนที่ได้รับอนุมัติไว้ พร้อมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการและเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 3. อนุมัติให้กรมชลประทาน กษ. ยกเลิกรายการภายใต้โครงการเงินกู้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ บริหารจัดการน้ำ และเพิ่มพื้นที่ชลประทาน (โครงการพัฒนาแหล่งน้ำฯ) จำนวน 3 รายการ วงเงิน 2.0950 ล้านบาท ทำให้กรอบวงเงินของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำฯ ปรับลดลงจาก 4,224.8246 ล้านบาท เป็น 4,222.7296 ล้านบาท ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งเห็นควรให้กรมชลประทานเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการและเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 4. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการ โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) เร่งดำเนินการโดยใช้แหล่งเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นลำดับแรกก่อน1 เพื่อมิให้เสียโอกาสในการพิจารณาจัดสรรวงเงินกู้ให้กับโครงการอื่นที่มีความจำเป็นเร่งด่วน และในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการโดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณจัดสรรเหลือจ่าย การโอนเงินจัดสรร และ/หรือการเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ให้หน่วยงานรับผิดชอบรายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ให้ คกง. ทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่มีการโอนเงินจัดสรรและ/หรือการเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรเพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถบริหารเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกับเสนอเรื่องการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการ ตามข้อ 18 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ต่อไป 5. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) ราย 3 เดือน ครั้งที่ 6 (1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2564) พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. สาระสำคัญของเรื่อง คกง. รายงานว่า ที่ประชุม คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 40/2564 เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2564 มีมติที่เกี่ยวกับ (1) การพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 และ (2) การจัดทำรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ราย 3 เดือน โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ 1. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ โครงการ/รายการ มติคณะรัฐมนตรีเดิม มติ คกง. (1) โครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาผู้ป่วยฯ ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มช. สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 ขยายระยะเวลาโครงการ เป็นสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2565 (2) โครงการภายใต้แผนงานที่ 3.22 ของกรมประมง (5 โครงการ) 1) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์น้ำจืด (ปลาดุก/กบ) ในกระชังบก สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564 ขยายระยะเวลาโครงการ เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 2) โครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกเทศในกระชัง เพื่อเยียวยาผู้ซึ่งได้รับผลกระทบเนื่องจากการระบาดของโรคโควิด 19 3) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนด้านประมงเชิงเกษตรและท่องเที่ยวบ้านวังดอกไม้ 4) โครงการสนับสนุนการเพิ่มมูลค่า และพัฒนาการสร้างผลิตภัณฑ์กลุ่มแปรรูปสินค้าประมงในจังหวัดสตูล 5) โครงการสนับสนุนส่งเสริมการเลี้ยงปูทะเลแบบพัฒนาในบ่อดินในจังหวัดสตูล (3) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำฯ ของกรมชลประทาน (3 รายการ) 1) รายการซ่อมแซม ท่อระบายน้ำ ปากคลอง LMC อ่างเก็บน้ำห้วยสะทด ตำบลคำบง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ อนุมัติรายการภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำฯ วงเงิน 0.8 ล้านบาท - ยกเลิกรายการภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำฯ จำนวน 3 รายการ (วงเงิน 2.095 ล้านบาท) เนื่องจากได้รับการจัดสรรงบประมาณจากแหล่งอื่นมาดำเนินการแล้ว ทำให้วงเงินของโครงการปรับลดลงจาก 4,224.824 ล้านบาท เป็น 4,222.729 ล้านบาท 2) รายการซ่อมแซมคลอง RMC กม.5+180 ถึง 10+500 (เป็นช่วง ๆ) พร้อมอาคารประกอบอ่างเก็บน้ำห้วยสังเคียบ ตำบลแซงบาดาล อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์ อนุมัติรายการภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำฯ วงเงิน 0.995 ล้านบาท 3) รายการซ่อมแซมคันพนังแก้มลิงหนองดุนเอี่ยน ตำบลหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ อนุมัติรายการภายใต้โครงการพัฒนาแหล่งน้ำฯ วงเงิน 0.3 ล้านบาท 2. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงิน พ.ศ. 2563 ราย 3 เดือน รอบที่ 6 (1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2564) มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ แผนงาน จำนวน โครงการ รายละเอียด (1) โครงการที่มีผลการเบิกจ่ายแล้ว 1) โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 161 - มีสัดส่วนต่อแผนการเบิกจ่ายร้อยละ 99.60 2) โครงการที่มีผลเบิกจ่ายร้อยละ 50 - 100 63 - มีสัดส่วนต่อแผนการเบิกจ่ายร้อยละ 75.62 3) โครงการที่มีผลเบิกจ่ายต่ำกว่าร้อยละ 50 55 - มีสัดส่วนต่อแผนการเบิกจ่ายร้อยละ 22.12 รวมจำนวนโครงการทั้งสิ้น 279 (2) โครงการที่ยังไม่มีการเบิกจ่ายเงิน กรอบวงเงินอนุมัติรวม 7,341.31 ล้านบาท 1) โครงการภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 13 7 - โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัดรองรับและบรรเทาภัยจากโรคติดเชื้อโควิด 19 และเป็นไปตามมาตรฐานด้านป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีผู้ยื่นอุทธรณ์ผลผู้ชนะการประกวดราคา ซึ่งปัจจุบันกำลังรอผลการพิจารณาจากกรมบัญชีกลาง ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการตามแผนที่กำหนดไว้ได้ - ขณะที่อีก 6 โครงการ คาดว่าจะมีการส่งมอบครุภัณฑ์ทางการแพทย์/ปรับปรุงอาคารและสิ่งก่อสร้างในช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2564 2) โครงการภายใต้แผนงาน/โครงการ กลุ่มที่ 34 842 - โครงการภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 3 ยังไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ เกิดจากสาเหตุ ดังนี้ - โครงการได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และมาตรการจำกัดการเดินทางของรัฐบาล ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ - โครงการอยู่ระหว่างขอขยายระยะเวลา และ/หรือขอยกเลิกการดำเนินโครงการตามขั้นตอน - โครงการส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มโครงการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 6 จำนวน 834 โครงการ กรอบวงเงิน 1,342.3 ล้านบาท ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นดำเนินโครงการและอยู่ระหว่างขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง จึงยังไม่มีการเบิกจ่าย ณ เดือนตุลาคม 2564 รวมจำนวนโครงการทั้งสิ้น 849 2.1 ข้อเสนอแนะของ คกง. (1) โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ เห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการคืนวงเงินเหลือจ่ายและจัดส่งรายงานผลการดำเนินโครงการให้ สบน. ตามข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 โดยเร็ว ทั้งนี้ หน่วยงานรับผิดชอบต้องตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวด้วย เพื่อให้ สบน. มีข้อมูลประกอบการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ รวมถึงจะเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย (2) โครงการที่มีปัญหาความล่าช้าในการดำเนินงาน เห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบเร่งรัดการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินให้อยู่ภายในกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติไว้ พร้อมทั้งพิจารณาดำเนินการ ดังนี้ 2.1) โครงการที่ไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติไว้และคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2565 เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบเร่งเสนอเรื่องขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของโครงการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 พร้อมทั้งเร่งรัดดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 2.2) โครงการที่มีปัญหาและหน่วยงานรับผิดชอบคาดว่าจะไม่สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอยุติหรือขอยกเลิกกิจกรรม/โครงการตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว 2.2 มติ คกง. รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 6 (1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 2564) พร้อมทั้งเห็นชอบข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินโครงการได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ตามที่คณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่ติดตามการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 เสนอ 1สืบเนื่องจากกรณีที่กรมชลประทานได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการโดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 แต่ใช้เงินจากแหล่งอื่นดำเนินการแทน ซึ่งเป็นการเสียโอกาสในการพิจารณาจัดสรรเงินกู้ให้กับโครงการอื่นที่จำเป็น คกง. จึงเห็นควรกำหนดเป็นเงื่อนไขให้หน่วยงานที่ได้รับอนุมัติโครงการโดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดำเนินการ 2แผนงานฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน ผ่านการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมเพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพ อาทิ การส่งเสริมตลาดสำหรับผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวหรือภาคบริการอื่น ๆ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในชุมชน 3แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19 4แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 14. เรื่อง รายงานผลการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบของประชาชนในการติดต่อราชการเพื่อขออนุญาตกับหน่วยงานของรัฐจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบของประชาชนในการติดต่อราชการเพื่อขออนุญาตกับหน่วยงานของรัฐจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (มาตรการฯ) และเห็นชอบกำหนดแนวทางการดำเนินมาตรการฯ เพื่อให้หน่วยงานพิจารณาดำเนินการตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ ทั้งนี้ ให้สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง สำนักงาน ก.พ.ร. รายงานว่า 1. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำรายงานผลการดำเนินมาตรการฯ ของหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุญาต ตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ที่เกี่ยวข้องกับการขยายระยะเวลาการต่อใบอนุญาต การแจ้ง การชำระภาษี หรือเงินอื่นใดที่มีกำหนดให้ประชาชนต้องดำเนินการ และการงดหรือยกเว้นค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม หรือเงินอื่นใดที่กำหมายกำหนดให้ต้องชำระเงินเพิ่มเติมในกรณีล่าช้า จำนวนทั้งสิ้น 103 กระบวนงาน (จาก 311 กระบวนงาน) จาก 32 หน่วยงาน เพื่อช่วยป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโควิด-19 และช่วยบรรเทาหรือลดภาระและความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจของประชาชน สรุปได้ ดังนี้ 1.1 มาตรการฯ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 90 กระบวนงาน (คิดเป็นร้อยละ 87.38) กลุ่มมาตรการ หน่วยงาน ตัวอย่างมาตรการ 1) ขยายเวลาการต่อใบอนุญาต การแจ้งการชำระภาษีหรือเงินอื่นใด (64 กระบวนงาน) กรมสรรพากร - ขยายระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปีสำหรับปีภาษี 2564 (ภ.ง.ด. 94) จากภายในวันที่ 30 กันยายน 2564 เป็นภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2564 กรมการขนส่งทางบก - ขยายระยะเวลาการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถได้ก่อนใบอนุญาตขับรถสิ้นอายุไม่เกิน 6 เดือน 2) งดหรือยกเว้นค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่มหรือเงินอื่นใด (26 กระบวนงาน) กรมการปกครอง - ยกเว้นค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับบัตรประจำตัวประชาชน เช่น การออกบัตรใหม่ในกรณีบัตรหายหรือถูกทำลาย การขอคัดและรับรองสำเนาข้อมูลเกี่ยวกับบัตร จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 กรมบัญชีกลาง ช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยกำหนดอัตราค่าปรับเป็นอัตรร้อยละ 0 ให้แก่คู่สัญญาที่ได้ลงนามก่อนวันที่ 26 มีนาคม 2563 และได้ส่งมอบงานงวดสุดท้ายก่อนวันที่มีประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินฯ แต่ยังไม่ได้มีการตรวจรับพัสดุ 1.2 มาตรการฯ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 13 กระบวนงาน (คิดเป็นร้อยละ 12.62) ซึ่งเป็นมาตรการที่อยู่ระหว่างการจัดทำหรือแก้ไขกฎหมายลำดับรองต่อไป เช่น การขยายเวลารับแจ้งที่พักอาศัยของคนต่างด้าวกรณีอยู่ในราชอาณาจักรเกิน 90 วัน การขออยู่ต่อในราชอาณาจักรของบุคคลต่างด้าว (สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง) การงดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมที่ต้องชำระเพิ่มกรณีไม่ดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมรายปีสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตรภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด (กรมทรัพย์สินทางปัญญา) การยกเลิกค่าธรรมเนียมการขอทำบัตรประกันสังคม (สำนักงานประกันสังคม) 1.3 มาตรการอื่น ๆ ที่ได้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการให้บริการเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนโดยไม่ต้องเดินทางมาติดต่อ ณ หน่วยงาน เช่น การตรวจลงตราหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (กรมการกงสุล) การให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งด้านบริการจดทะเบียนหลักประกันทางธุรกิจ การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนและบริษัทจำกัด (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) 2. ในส่วนของปัญหาอุปสรรคที่ทำให้หน่วยงานของรัฐไม่สามารถดำเนินมาตรการฯ เนื่องด้วยข้อจำกัดของกฎหมาย กล่าวคือ หลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขการดำเนินการเกี่ยวกับการอนุญาตได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนในกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ เช่น การขอรับใบอนุญาตเป็นผู้มีสิทธิทำรายงานเกี่ยวกับการศึกษาและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบกระเทือนต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ได้กำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานตรวจสอบและพิจารณาในแต่ละขั้นตอนไว้อย่างชัดเจน จึงไม่สามารถขยายระยะเวลาได้ ดังนั้น เพื่ออำนวยความสะดวกและลดภาระของประชาชนในการติดต่อขอรับบริการ หน่วยงานจึงได้มีการพิจารณานำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการให้บริการ 3. จากผลการดำเนินมาตรการฯ ของหน่วยงานของรัฐ (ตามข้อ 1) สำนักงาน ก.พ.ร. จึงเห็นควรกำหนดเป็นแนวทางการดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบของประชาชน ในกรณีที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย เพื่อให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาดำเนินการได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมภายในกรอบของกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน ดังนี้ มาตรการ แนวทางการดำเนินการ 3.1 อำนวยความสะดวกในการติดต่อราชการเพื่อขออนุญาตหรือขอรับบริการเพื่อให้ประชาชนสามารถรับบริการจากหน่วยงานได้ทุกที่ ทุกเวลา โดยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อ ณ หน่วยงาน หรือลดความแออัดในการติดต่อขอรับบริการ (1) ขยายระยะเวลาการต่ออายุใบอนุญาต การแจ้งการชำระภาษีหรือเงินอื่นใดที่บุคคลต้องชำระให้แก่หน่วยงาน (2) ขยายอายุใบอนุญาต ระยะเวลาการอนุญาตหรือระยะเวลาการดำเนินการอื่นใด (3) ขยายระยะเวลาการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตล่วงหน้าก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุให้มีช่วงเวลาดำเนินการที่มากขึ้น (4) พัฒนาการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แบบเต็มรูปแบบเพื่อลดการเดินทางมาติดต่อราชการด้วยตนเอง 3.2 ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนในกรณีการดำเนินการเกี่ยวกับการขออนุญาตหรือขอรับบริการ (1) งดหรือยกเว้นหรือลดค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม หรือเงินอื่นใดที่กฎหมายกำหนดให้ต้องชำระเพิ่มเติมในกรณีดำเนินการล่าช้า (2) ลดหรือยกเว้นค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตหรือการให้บริการ (3) ผ่อนผันหรือการผ่อนชำระค่าบริการ ค่าเช่า หรือค่าใช้จ่ายอื่นใด 15. เรื่อง การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ให้แก่ประชาชน (กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา) คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ให้แก่ประชาชน (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา) ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เสนอ สาระสำคัญ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ขอเสนอแผนงาน/โครงการในความรับผิดชอบที่สมควรจะดำเนินการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ให้แก่ประชาชน ดังนี้ 1. ด้านท่องเที่ยว 1.1 การขยายระยะเวลาการใช้สิทธิ์โครงการทัวร์เที่ยวไทย และเพิ่มจำนวนห้องพักโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ดำเนินการโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย - ขยายเวลาการใช้สิทธิ์โครงการทัวร์เที่ยวไทยจากสิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2565 เป็นวันที่ 30 เมษายน 2565 - เพิ่มจำนวนห้องพักโครงการเราเที่ยวด้วยกัน จำนวน 2 ล้านห้อง สิ้นสุดโครงการวันที่ 30 เมษายน 2565 1.2 การจัดกิจกรรมส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ประจำปี 2565 ดำเนินการโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย - การจัดกิจกรรมไฮไลท์ในแต่ละพื้นที่ประกอบด้วย การประดับตกแต่งไฟสวยงาม จัดการแสดงศิลปวัฒนธรรมและการแสดงดนตรีจากศิลปินที่มีชื่อเสียง และการแสดงพลุในช่วงนับ ถอยหลังส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2565 - การจัดงานในพื้นที่ 5 ภูมิภาค ประกอบด้วย 1) Amazing Thailand Countdown 2022 ? Amazing New Chapters - วันที่ 27 - 31 ธันวาคม 2564 ณ อุทยานหลวงราชพฤกษ (หอคำหลวง) จังหวัดเชียงใหม่ - วันที่ 27 - 31 ธันวาคม 2564 ณ หาดแหลมเจริญ จังหวัดระยอง - วันที่ 27 - 31 ธันวาคม 2564 ณ ศาลากลาง จังหวัดนครราชสีมา - วันที่ 27 - 31 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณลานหน้าวัดพระราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา - วันที่ 31 ธันวาคม 2564 - 1 มกราคม 2565 ณ บริเวณสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ ร.10 ณ หาดปลายสะพานหิน จังหวัดภูเก็ต 2) Amazing Thailand Countdown 2022 วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์การค้าไอคอนสยาม กรุงเทพมหานคร 3) Centralworld Bangkok Countdown 2022 วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพมหานคร 4) Ratchaprasong Lighting 2022 วันที่ 9 ธันวาคม 2564 - 9 มกราคม 2565 ณ บริเวณทางเชื่อมสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ และ ถนนเพลินจิต กรุงเทพมหานคร 5) กิจกรรม ?ประเพณีขึ้นปีใหม่ 2565? วันที่ 29 ธันวาคม 2564 - 1 มกราคม 2565 ณ หอโหวด 101 สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ จังหวัดร้อยเอ็ด 6) เทศกาลอ่าวนางบีชเฟสติวัล กระบี่ เคาท์ดาว 2565 วันที่ 30 ธันวาคม 2564 - 1 มกราคม 2565 ณ บริเวณอ่าวนางแลนมาร์ค จังหวัดกระบี่ 7) Hua Hin Beach Countdown 2022 วันที่ 25 ธันวาคม 2564 - 10 มกราคม 2565 ณ ริมหาดบริเวณโรงแรม Intercontinental Hua Hin Resort และสวนน้ำวานา นาวา วอเตอร์จังเกิ้ล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 8) Amazing Night Sukhothai Countdown 2022 วันที่ 29 - 31 ธันวาคม 2564 ณ บริเวณวัดมหาธาตุ และดงตาล อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย 1.3 การยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ ดำเนินการโดย กรมการท่องเที่ยว - อยู่ระหว่างเสนอร่างกฎกระทรวงการยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตประกอบธุรกิจนำเที่ยวและใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ พ.ศ. ... ซึ่งคาดว่าจะมีผลใช้บังคับ ในปีใหม่ พ.ศ. 2565 นี้ โดยจะเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนำเที่ยว จำนวน 2,000 บาท/ใบอนุญาต ให้กับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว เป็นระยะเวลา 2 ปี และการต่ออายุใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์ จำนวน 200 บาท/ใบอนุญาต ให้กับมัคคุเทศก์ เป็นระยะเวลา 2 ปี 1.4 การแจกจ่ายชุดตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง (ATK) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ จำนวน 7,000 ชุด ดำเนินการโดย กรมการท่องเที่ยว - ได้ประสานงานบูรณาการกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยได้รับมอบชุดตรวจ คัดกรองเชื้อโควิด-19 ด้วยตนเอง (ATK) มาเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการและกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว จำนวน 7,000 ชุด โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประสานและเปิดรับลงทะเบียนเพื่อแจกจ่ายไปยังผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ 1.5 การส่งเสริมและพัฒนาต้นแบบโฮมสเตย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly Homestay) - พัฒนาต้นแบบโฮมสเตย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Eco-Friendly Homestay) ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานพัฒนาโฮมสเตย์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมร่วมกับกระทรวงพลังงาน เพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนให้แก่ชุมชน โดยปัจจุบันมีโฮมสเตย์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 11 แห่ง 1.6 การส่งเสริมการจัดกิจกรรมค่ายพักแรกเชื่อมโยงการท่องเที่ยวชุมชน (Camping ในชุมชน) - จัดทำ ?หลักเกณฑ์คุณภาพการจัดกิจกรรมค่ายพักแรม (Camping) ในชุมชน เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนท่องเที่ยว โฮมสเตย์ต่างๆ มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถตอบสนองความนิยมของนักท่องเที่ยวในปัจจุบัน เกิดการกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันได้ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบสู่ ?Camping ชุมชน? จำนวน 6 ชุมชน จากทั่วประเทศ 1.7 การดูแลความปลอดภัยนักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ ดำเนินการโดย กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว - การดำเนินการตามแผนรักษาความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลคริสมาสต์ และวันปีใหม่ ประจำปี 2565 เช่น การจัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจตราป้องกันและปราบปรามคดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ของนักท่องเที่ยวและประชาชนที่อาจเกิดขึ้น การกวดขัน จับกุมผู้เล่นดอกไม้เพลิง พลุ ประทัด และปล่อยโคมลอย ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เป็นต้น - การพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการรับแจ้งเหตุฉุกเฉินนักท่องเที่ยวผ่านแอพพลิเคชัน Tourist Police I LERT U เพื่อรองรับการแจ้งเหตุฉุกเฉินของนักท่องเที่ยว และเป็นเครื่องมือให้เจ้าหน้าที่ตำรวจท่องเที่ยวเข้าถึงที่เกิดเหตุได้ทันท่วงที สามารถช่วยเหลือนักท่องเที่ยว ระงับเหตุ และติดตามจับกุมคนร้ายได้อย่างรวดเร็ว - การปล่อยแถวสร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลวันคริสมาสต์ และปีใหม่ 2565 บริเวณแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและประชาสัมพันธ์การป้องกันตนจากโรคโควิด-19 1.8 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน ดำเนินการโดย องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) - กิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ ในงาน ?OTOP ไทยสู้ภัยโควิด-19? ระหว่างวันที่ 19 - 26 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี โดยมีผลิตภัณฑ์และกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 9 ชุมชน - โครงการคิดถึงชุมชน แคมเปญ ?CBT Memories Photo Contest? มีรางวัลเป็นแพคเกจท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 3 รางวัล โดยจะประกาศผลพร้อมมอบรางวัลในช่วงเดือน มกราคม 2565 เพื่อให้ผู้รับรางวัลเดินทางไปท่องเที่ยวในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2565 - การจัดงาน ?เดินกินถิ่นนาเกลือ (Walk & Eat Festival) ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 11 ธันวาคม 2564 - 30 มกราคม 2565 (เฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์) บริเวณถนนคนเดินนาเกลือ จังหวัดชลบุรี - การจัดกิจกรรม ?ตักบาตรรับอรุณ ชะลอมบุญ ปีใหม่ไทย? และจัดกิจกรรม ในรูปแบบออนไลน์ ณ เกาะกลางน้ำ วัดตระพังทอง ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย - การจัดกิจกรรม Creative Lighting ?เสวนาใต้แสงจันทร์ การแสดงใต้แสงดาว? ชมความงามของกำแพงเมืองน่านและบรรยากาศทุ่งดอกไม้ แสงสียามค่ำคืน ระหว่างวันที่ 7 - 8 มกราคม 2565 ณ บริเวณกำแพงเมือง - คูเมืองน่าน ตำบลในเวียง อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน 2. ด้านกีฬา 2.1 การปรับลดอัตราค่าบริการศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ที่ตั้งอยู่ในอาคารกีฬานิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติและศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ณ สนามกีฬาเฉลิม พระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา จังหวัดปทุมธานี ดำเนินการโดย กรมพลศึกษา - มีรายละเอียดการปรับลดค่าบริการสมาชิก ดังนี้ ค่าสมัครสมาชิกศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ณ อาคารกีฬานิมิบุตร สนามกีฬาแห่งชาติ ประเภทสมาชิก ค่าบริการ รายเดือน (เดิม) ค่าบริการ รายเดือน (โปรโมชั่น) ค่าบริการ รายปี (เดิม) ค่าบริการ รายปี (โปรโมชั่น) ประเภท ก (อายุ 14 - 18 ปี) 200 - 1,000 600 ประเภท ข (อายุ 18 - 22 ปี) 400 200 3,000 1,800 ประเภท ค (อายุ 22 ปี ขึ้นไป) 1,200 600 10,000 6,000 ค่าสมัครสมาชิกศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย ณ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ 60 พรรษา จังหวัดปทุมธานี ประเภทสมาชิก ค่าบริการ รายเดือน (เดิม) ค่าบริการ รายเดือน (โปรโมชั่น) ค่าบริการ รายปี (เดิม) ค่าบริการ รายปี (โปรโมชั่น) ประเภท ก (อายุ 14 - 18 ปี) 200 - 1,000 600 ประเภท ข (อายุ 18 - 22 ปี) 400 200 3,000 1,800 ประเภท ค (อายุ 22 ปี ขึ้นไป) 1,200 600 10,000 5,000 2.2 การส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยแอโรบิค โดยให้บริการนำเต้นให้แก่ประชาชน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดำเนินการโดย กรมพลศึกษา - ให้บริการนำเต้นแอโรบิคให้แก่ประชาชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายบริเวณสนามกีฬาแห่งชาติ และสวนลุมพินี ดังนี้ สถานที่ วันที่ให้บริการ ช่วงเวลา สวนลุมพินี กรุงเทพมหานคร ทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ 06.00 - 07.00 น. ลานอเนกประสงค์ หน้าอาคารกีฬานิมิบุตร ทุกวันจันทร์ - อาทิตย์ 06.00 - 07.00 น. วัดธาตุทอง ทุกวันอังคาร 09.00 - 10.00 น. 2.3 โครงการส่งเสริมการออกกำลังกายและกีฬาเพื่อมวลชน ดำเนินการโดยกรมพลศึกษา - จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬา 878 อำเภอ ผ่านเจ้าหน้าที่พลศึกษา และเครือข่ายอาสาสมัครกีฬาและผู้นำการออกกำลังกาย และจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดเดือนธันวาคม 2564 ถึง มกราคม 2565 ประกอบด้วย แอโรบิก 552 อำเภอ เดิน - วิ่ง 143 อำเภอ ฟุตบอล 96 อำเภอ บาสโลบ 34 อำเภอ กระโดดเชือก 9 อำเภอ ปั่นจักรยาน 7 อำเภอ ส่งเสริมทักษะทางกีฬา เช่น วอลเลย์บอล ว่ายน้ำ เปตอง เป็นต้น 37 อำเภอ 2.4 กิจกรรมเยาวชนต้นกล้านันทนาการ - จัดกิจกรรมนันทนาการเยาวชนต้นกล้านันทนาการในส่วนภูมิภาค เพื่อสร้างพื้นที่และโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมนันทนาการที่ส่งเสริมและพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม โดยประสานงานร่วมมือกับเครือข่ายโรงเรียน ชมรมต่าง ๆ เพื่อเฟ้นหาเยาวชนที่มีความสามารถทางด้านนันทนาการ อาทิ การร้องเพลง การเต้น การรำ การทำอาหาร มายากล เดาะบอล เดินสามขา และอื่นๆ มาแสดงออกความสามารถภายในงานเยาวชนต้นกล้านันทนาการของจังหวัด ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2565 ตามสถานที่ที่เหมาะสม เช่น ลานอเนกประสงค์ วัด สวนสาธารณะ ลานอเนกประสงค์ในชุมชน สถานศึกษา หรือศูนย์การค้าในพื้นที่ เป็นต้น อีกทั้งจะคัดเลือกตัวแทนของแต่ละภาค อย่างน้อยภาคละ 2 กิจกรรม เข้าร่วมกิจกรรมเยาวชนต้นกล้าในส่วนกลาง 2.5 การให้บริการอาคารและสถานที่ออกกำลังกายและเล่นกีฬา สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ - การให้บริการอาคารและสถานที่ในการออกกำลังกายและเล่นกีฬา สำหรับเด็ก เยาวชน และประชาชน ภายในมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ 17 วิทยาเขต และ 13 โรงเรียนกีฬา ทั่วประเทศ (ฟรี) ไม่มีค่าใช้จ่าย โดยกิจกรรมเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน 2565 2.6 การขยายเวลาการเปิดให้บริการ (ฟรี) ของศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ และสนามกีฬาจังหวัด ช่วงปีใหม่ ดำเนินการโดย การกีฬาแห่งประเทศไทย - ขยายเวลาการเปิดให้บริการ (ฟรี) ระหว่างวันที่ 20 - 29 ธันวาคม 2564 เวลา 05.00 - 22.00 น. ประกอบด้วยการให้บริการเปิดไฟส่องสว่างลานกีฬากลางแจ้ง อุปกรณ์กีฬาสำหรับการฝึกซ้อมสนามกีฬาต่าง ๆ และผู้ฝึกสอน โค้ช ณ สนามกีฬาหัวหมาก ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติภาค 1 - 5 และศูนย์ฝึกกีฬาคนพิการแห่งชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี รวม 6 ศูนย์ และสนามกีฬาจังหวัดที่การกีฬาแห่งประเทศไทยดูแล จำนวน 22 จังหวัด 2.7 การจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ออกกำลังกาย โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ การกีฬา พร้อมให้บริการ ?Safe Stadium? ดำเนินการโดย การกีฬาแห่งประเทศไทย - แนะนำการออกกำลังกาย ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา พร้อมให้บริการ ?Safe Stadium? เพื่อให้ความรู้การออกกำลังกายอย่างถูกต้องเหมาะสม ระหว่างวันที่ 20 - 29 ธันวาคม 2564 ณ สนามกีฬาหัวหมาก ศูนย์ฝึกกีฬาแห่งชาติ และสนามกีฬาจังหวัดที่การกีฬาแห่งประเทศไทย ดูแลทั่วประเทศ 16. เรื่อง ของขวัญปีใหม่ของกระทรวงแรงงาน ปี 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบของขวัญปีใหม่ของกระทรวงแรงงาน ปี 2565 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ดังนี้ สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงแรงงานขอมอบของขวัญปีใหม่ ปี 2565 ให้กับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ฟรี ดอกเบี้ย 0 % นาน 12 เดือน สำหรับการกู้ยืมเงินจากกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อดูแลความเป็นอยู่ของแรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี กรมการจัดหางาน โดยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านได้ลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้หรือค่าธรรมเนียมการใช้วงเงินของกองทุน เพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID -19) เป้าหมายผู้รับงานไปทำที่บ้าน ทั่วประเทศ กว่า 6,000 คน ลดภาระการจ่ายดอกเบี้ยไม่น้อยกว่า 150,000 บาท มีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังนี้ 1) อัตราดอกเบี้ยเงินกู้หรือค่าธรรมเนียม ร้อยละ 0 ต่อปี ในงวดที่ 1 - 12 โดยไม่ปลอดเงินต้น และ งวดที่ 13 เป็นต้นไปจนสิ้นสุดสัญญาคิดอัตราร้อยละ 3 ต่อปี 2) ยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565 ทำสัญญากู้ยืมเงินภายใน 30 กันยายน 2565 3) ผู้รับงานไปทำที่บ้านรายบุคคลยื่นคำขอกู้ไม่เกิน 50,000 บาท รายกลุ่มบุคคลกู้ไม่เกิน 300,000 บาท ผู้สนใจสามารถยื่นคำขอกู้ได้ที่ สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1 - 10 และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด 2. DSD Service 1) กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ให้บริการตรวจเช็ครถก่อนเดินทาง 12 รายการ ระหว่างวันที่ 15 ? 30 ธันวาคม 2564.ณ.สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานและสำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน รวมทั้งสิ้น 77 แห่ง.ครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ.โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายค่าตรวจเช็ค.ไม่รวมค่าวัสดุสิ้นเปลือง อาทิ น้ำมันเครื่อง น้ำกลั่น นอกจากนี้ กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ร่วมมือกับองค์กรเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชน ร่วมให้บริการประชาชนผ่าน Line Official ระหว่างวันที่ 27 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 7 มกราคม 2565 ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง โดยประชาชนที่สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อใช้บริการผ่านระบบ Line Official หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะแจ้งกำหนดการเข้ารับบริการตรวจเช็คก่อนเดินทางผ่าน e-mail หรือเบอร์โทรศัพท์ของผู้ลงทะเบียน และในระหว่าง เดินทาง หากประชาชนพบปัญหาขัดข้องใน การเดินทาง อาทิ รถเสียหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ ที่ประสงค์ขอความช่วยเหลือ ในระบบ Line Official จะให้บริการข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์ จุดแวะพัก หรือจุดให้บริการประชาชน ในพื้นที่จังหวัดที่ผู้เดินทางอยู่ในขณะนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก ทั้งนี้ Line Official ดังกล่าวจะเชื่อมโยง เว็บไซต์ YouTube Channel และ Facebook ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อแจ้งข่าวสารข้อมูลต่างๆ ประชาสัมพันธ์ภารกิจของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงระบบการฝีกอบรมของกรมที่มีอยู่หลากหลาย ได้แก่ (1) รูปแบบปกติ (On Side) (2) ห้องฝึกอบรมสอนสด (Virtual Online Training) (3) รูปแบบฝึกอบรมตามอัธยาศัย (Online Training : Content ฝึกอบรมทุกที่ ทุกเวลา) 3. DSD Online Training กรมพัฒนาฝีมือแรงงานร่วมกับภาคีเครือข่ายได้รวบรวมคลิป VDO เพื่อจัดทำเนื้อหาสาระ Content ให้บริการฝึกทักษะในรูปแบบ Online รองรับการพัฒนาทักษะตอบโจทย์ความต้องการ ทุกที่ ทุกเวลา ตามอัธยาศัย โดยประชาชนสามารถเข้าสู่ระบบการฝึกอบรม ผ่าน QR CODE โดยมีคลิปที่แนะนำสำหรับการฝึกทักษะในช่วงเทศกาลปีใหม่ 4 หัวข้อ ระหว่างวันที่ 15 ธ.ค. 2564 ? 31 มกราคม 2565 ได้แก่ 1) การทำการ์ดอวยพรออนไลน์ 2) ขับขี่ปลอดภัย 3) การซ่อมบำรุงเบื้องต้นก่อนเดินทาง 4) 10 เมนูอาหารไทยยอดนิยม 4. เพิ่มอัตราเงินสงเคราะห์จากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างสูงสุด 100 เท่า กรณีลูกจ้างถูกนายจ้างเลิกจ้างหรือค้างจ่าย เพราะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา.2019 (COVID - 19) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกจ้าง เป็นเงินประมาณ 83.14 ล้านบาท (เฉพาะคำสั่งพนักงาน ตรวจแรงงานที่ออกระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2563 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565) 1) กรณีค่าชดเชย (1.1) จากเดิม 30 เท่า เป็น 60 เท่า ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างที่มีอายุงาน 120 วัน แต่ไม่ครบ 3 ปี (1.2) จากเดิม 50 เท่า เป็น 80 เท่า ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างที่มีอายุงาน 3 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี (1.3) จากเดิม 70 เท่า เป็น 100 เท่า ของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับลูกจ้างที่มีอายุงาน 10 ปีขึ้นไป 2) กรณีเงินอื่นนอกจากค่าชดเชยจากเดิม 60 เท่า เป็น 100 เท่าของอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 5. โครงการเงินกู้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน วงเงินโครงการ 50 ล้านบาท ให้สหกรณ์ออมทรัพย์ในสถานประกอบกิจการและสหกรณ์ออมทรัพย์ในรัฐวิสาหกิจ จำนวน 594 แห่ง นำไปให้บริการเงินกู้แก่แรงงานที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 560,476 คน เพื่อนำไปลงทุนประกอบอาชีพเสริม โดยสหกรณ์คิดดอกเบี้ย เงินกู้จากสมาชิกลดลงจากอัตราดอกเบี้ยปกติ ประเภทสามัญ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.25 ต่อปี วงเงินกู้สูงสุดสหกรณ์ละ 10 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.50 ต่อปี ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 3 ปี สมาชิกกู้ได้ไม่เกินคนละ 100,000 บาท ยื่นคำขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 ผ่านระบบ e-service 6. โครงการเสริมสร้างศักยภาพด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรมในสถานประกอบกิจการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 การให้บริการตรวจวัดระดับแสง เสียง และความร้อนที่เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน ให้แก่สถานประกอบกิจการที่สนใจ เพื่อให้สถานประกอบกิจการสามารถดำเนินงานด้านความปลอดภัยให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการให้คำแนะนำตามหลักวิชาการกับสถานประกอบกิจการในการดำเนินงานด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม เช่น ความร้อน แสงสว่าง เสียง ฝุ่นละออง สารระเหยง่าย และโลหะหนัก เป็นต้น ระยะเวลาดำเนินการ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565 7. ลดอัตราเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เหลือร้อยละ 60 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ทางเลือกที่ 1 จากอัตราเงินสมทบเดิม 70 บาทต่อเดือน อัตราเงินสมทบใหม่ระยะ 6 เดือน 42 บาทต่อเดือน (สิทธิประโยชน์ 3 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ และตาย) ทางเลือกที่ 2 จากอัตราเงินสมทบเดิม 100 บาทต่อเดือน อัตราเงินสมทบใหม่ระยะ 6 เดือน 60 บาทต่อเดือน ทางเลือกที่ 3 จากอัตราเงินสมทบเดิม 300 บาทต่อเดือน อัตราเงินสมทบใหม่ระยะ 6 เดือน 180 บาทต่อเดือน ผู้ประกันตนมาตรา 40 ได้รับประโยชน์จากการลดอัตราเงินสมทบ จำนวน 10.57 ล้านคน รวมวงเงินหมุนเวียนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จำนวน 1,408.56 ล้านบาท 8. ลดขั้นตอนอนุมัติสิทธิ โดยผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่ายได้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป สำนักงานประกันสังคมปรับรูปแบบบริการขออนุมัติสิทธิฟอกเลือด โดยการพัฒนาระบบลงทะเบียนการบำบัดทดแทนไตกรณีฟอกเลือดร่วมกับสำนักสารสนเทศบริการสุขภาพ (สกส.) จากเดิม ผู้ประกันตนรายใหม่ไปรักษาที่สถานพยาบาลต้องสำรองจ่ายไปก่อนและไปยื่นเอกสารที่สำนักงานประกันสังคม รอผลการอนุมัติใช้ระยะเวลารอคอยนาน (สูงสุดใช้ระยะเวลา 3 เดือน) เปลี่ยนเป็น ผู้ประกันตนรายใหม่ไปยื่นที่สถานพยาบาลที่รักษาได้ทันที ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ทำให้ผู้ประกันตนได้รับความสะดวกรวดเร็ว (One Stop Service) ลดเอกสาร ลดขั้นตอน สำหรับผู้ประกันตนไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายรายใหม่.และมารับบริการฟอกเลือด ด้วยเครื่องไตเทียมเฉลี่ยเดือนละ 240 คน (อัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1,500 บาทต่อครั้ง) - ระยะเวลา 1 เดือน ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่าย 18,000 บาทต่อคน (เฉลี่ยมารับบริการคนละ 12 ครั้งต่อเดือน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4.32 ล้านบาท - ระยะเวลาสูงสุด 3 เดือน ผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่าย 54,000 บาทต่อคน (เฉลี่ยมารับบริการคนละ 36 ครั้งต่อเดือน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 12.96 ล้านบาท 9. กระทรวงแรงงานมอบของขวัญปีใหม่ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้ประกันตนที่เป็นผู้ป่วยติดเตียง ทุพพลภาพ ทุกมาตรา (มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา40) 17. เรื่อง โครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบโครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) ได้มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดจัดทำโครงการมอบของขวัญให้แก่เกษตรกรและประชาชน เพื่อแสดงออกถึงไมตรีจิต ความสัมพันธ์ และ ความร่วมมืออันดีในการขับเคลื่อนการพัฒนาภาคเกษตรไปพร้อมกันทั้งภาคประชาชน เกษตรกร ภาครัฐและเอกชน ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้เตรียมของขวัญปีใหม่ให้แก่เกษตรกรและประชาชนไทย โดยจัดทำโครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2565 สรุปสาระได้ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจภายในประเทศมีเงินหมุนเวียนในระบบเพิ่มขึ้น โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก สร้างรายได้เพิ่ม และลดรายจ่ายครัวเรือน ให้กับเกษตรกรและประชาชน ในสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ทุกภาคส่วนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 2) เพื่อส่งมอบความสุข จากการเยี่ยมชมสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศเกษตรที่สวยงามพร้อมกับได้รับความรู้ทางด้านการเกษตร 2.กิจกรรม 1) เพิ่มสุขปีใหม่ เที่ยวทั่วไทย สุขใจไปกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย : 1.1) เปิดสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรให้ประชาชนเข้าชมฟรี/ลดค่าบริการในช่วงเทศกาล : ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 56,666 คน ประกอบด้วย เปิดศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต้อนรับนักท่องเที่ยว เปิดสถานที่ให้เกษตรกรเข้ามาจำหน่ายสินค้า เปิดให้เยี่ยมชมนิทรรศการวันดินโลก ชมสวนดอกไม้ และทุ่งทานตะวัน ลดค่าบริการเข้าชมฟาร์มโคนมไทย - เดนมาร์ค จังหวัดสระบุรี เปิดพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้ประชาชนเข้าชม และกิจกรรมฉายภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ พิพิธภัณฑ์กษัตริย์เกษตร และเส้นทางสืบสาน รักษาต่อยอด Wisdom Farm เปิดแหล่งท่องเที่ยวสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้ประชาชนเข้าชมฟรี (สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจังหวัดระยอง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดจังหวัดพิจิตร สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จังหวัดลพบุรี สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำจืดบึงบอระเพ็ด (อาคารแสดงพันธุ์ปลา) จังหวัดนครสวรรค์ พิพิธภัณฑ์ปลาบึก จังหวัดพะเยา สถานแสดงพันธุ์ปลาน้ำจืดภาคอีสาน จังหวัดสกลนคร และสถานแสดงพันธุ์เต่าน้ำจืด จังหวัดสตูล) เปิดสถานที่ศูนย์วิจัยการเกษตรให้เที่ยวชม จำนวน 12 แห่ง เช่น ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวางแม่จอนหลวง) จังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจังหวัดจันทบุรี ศูนย์วิจัยเกษตรวิศวกรรมและศูนย์วิจัยพืชไร่จังหวัดขอนแก่น ศูนย์วิจัยพืชไร่จังหวัดนครสวรรค์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 จังหวัดขอนแก่น แหล่งท่องเที่ยวด้านปศุสัตว์ จำนวน 6 แห่ง เช่น ชุมชนอุตสาหกรรมโคเนื้อ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ศูนย์เรียนรู้การสาธิตโครงการรักษ์น้ำฯ จังหวัดน่าน เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร จำนวน 95 แห่ง เช่น แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรลำน้ำพรม จังหวัดชัยภูมิ วิสาหกิจชุมชนล่องแก่งบ้านเขาหลัก จังหวัดตรัง วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านทะเลน้อยระยองฮิ จังหวัดระยอง วิสาหกิจชุมชนกลุ่มธนาคารต้นไม้บ้านถ้ำเสือ จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น 1.2) เปิดสถานที่ราชการ ปรับภูมิทัศน์รองรับนักท่องเที่ยว เข้าเยี่ยมชมช่วงเทศกาล และแจกพันธุ์ไม้ : ประชาชนและเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 116,450 คน ตัวอย่างจุดบริการ ศูนย์วิจัยข้าว 3 แห่ง (จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่และสกลนคร) ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว 2 แห่ง (จังหวัดพัทลุงและลำปาง) โครงการพัฒนาพื้นที่หนองใหญ่ตามพระราชดำริ 1 แห่ง (จังหวัดชุมพร) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา 6 แห่ง (จังหวัดลำปาง (2 แห่ง) กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และสุพรรณบุรี) อ่างเก็บน้ำ 10 แห่ง (จังหวัดชัยภูมิ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา สุรินทร์ นครนายก (3 แห่ง) ระยอง อุบลราชธานีและระนอง) โครงการชลประทาน 3 แห่ง (จังหวัดนครศรีธรรมราช (2 แห่ง) และบึงกาฬ) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด 39 แห่ง (จังหวัดเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน เชียงราย แพร่ พิจิตร เพชรบูรณ์ สุโขทัย กำแพงเพชร อุดรธานี หนองคาย นครพนม ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ มุกดาหาร ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชลบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ตราด พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี สมุทรปราการ ราชบุรี ตรัง นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส สุพรรณบุรี น่าน และลำพูน) สหกรณ์การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน ปากช่อง คทช. จำกัด จังหวัดนครราชสีมา ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ 2 แห่ง (จังหวัดยโสธรและหนองคาย) และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน สำนักคุ้มครองพันธุ์พืชกรุงเทพมหานคร สำนักวิจัยพัฒนาการเกษตรเขต 4 แห่ง (จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานี จันทบุรี และชัยนาท) ด่านตรวจพืชท่าอากาศยาน 2 แห่ง (จังหวัดเชียงราย 2 แห่ง) ศูนย์วิจัยพืชไร่ 2 แห่ง (จังหวัดขอนแก่น และสุพรรณบุรี) ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง 2 แห่ง (จังหวัดเชียงใหม่ 2 แห่ง) ศูนย์วิจัยพืชสวน 4 แห่ง (จังหวัดชุมพร ยะลา ศรีสะเกษ และตรัง) ศูนย์วิจัยและพัฒนา เมล็ดพันธุ์พืช 2 แห่ง (จังหวัดพิษณุโลก และเชียงใหม่) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงจังหวัดเชียงราย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร 22 แห่ง (จังหวัดแม่ฮ่องสอน สุโขทัย พิจิตร หนองคาย เพชรบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา จันทบุรี แพร่ อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ นครพนม มุกดาหาร สกลนคร หนองคาย สุรินทร์ ร้อยเอ็ด กาญจนบุรี ราชบุรี จันทบุรี ปราจีนบุรี และตรัง) ศูนย์วิจัยและพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรจังหวัดขอนแก่น (2 แห่ง) ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันจังหวัดกระบี่ ศูนย์พัฒนาการเกษตรภูสิงห์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดศรีสะเกษ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร 3 แห่ง (จังหวัดกระบี่ เชียงใหม่ และจันทบุรี) ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ขยายพันธุ์พืช 10 แห่ง (จังหวัดชลบุรี ตรัง นครราชสีมา นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ พิษณุโลก มหาสารคาม ลำพูน สุพรรณบุรี และอุดรธานี) องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (MILK LAND 2) จังหวัดสระบุรี และสำนักงาน อ.ส.ค. ภาค 4 แห่ง (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สุโขทัย เชียงใหม่ และขอนแก่น) สถานีเรดาร์ฝนหลวง 5 แห่ง (จังหวัดเชียงใหม่ นครสวรรค์ นครราชสีมา ชลบุรี และสุราษฎร์ธานี) และศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) เสริมพลังปีใหม่ จำหน่ายสินค้าราคาพิเศษ สินค้าเกษตรคุณภาพ : ประชาชนและเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 1,445,969 คน จัดหาสินค้าดีมีคุณภาพเพื่อจำหน่ายให้แก่ประชาชน และเพิ่มช่องทางจำหน่ายสินค้าเกษตรให้แก่เกษตรกรผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การจัดจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์เกษตรราคาพิเศษ อาทิ สินค้าปศุสัตว์ ประมง พืช ผัก และผลผลิตทางการเกษตร เช่น ไข่ไก่ กาแฟพรีเมี่ยม มะคาเดเมียนัทอบเกลือ และน้ำผลไม้จาโบติกาบา เป็นต้น จำหน่ายชุดของขวัญด้วยสินค้าจากงานวิจัย (นวัตกรรมอาหาร และนวัตกรรมสุขภาพและความงาม) อาทิ เครื่องดื่มข้าวสินเหล็ก คอลลาเจนสกัดจากหอยเป๋าฮื้อ เซรั่มจากสารสกัดดอกไม้เหลือง และชุดบำรุงผิวหน้าจากสารสกัดจากข้าวหอมมะลิแดง และจำหน่ายสินค้าคุณภาพราคาพิเศษ จากเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน บริการ ณ จุดจำหน่ายของหน่วยงาน (ในพื้นที่ส่วนกลาง และภูมิภาค) และจำหน่ายผ่านตลาดออนไลน์ เช่น www.ตลาดเกษตรกรออนไลน์.com www.ortorkor.com www.dgtfarm.com www.coopshopth.com เป็นต้น 3. ระยะเวลาดำเนินการ ระหว่างเดือนธันวาคม 2564 - มกราคม 2565 4. งบประมาณ ใช้จ่ายจากงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 18. เรื่อง การดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ให้แก่ประชาชน (สำนักนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินโครงการเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ให้แก่ประชาชนตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแผนงาน/โครงการ เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ให้แก่ประชาชน ดังนี้ 1. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขอมอบบริการพิเศษเพิ่มความสุขและรอยยิ้มให้ประชาชน ในการรับแจ้งเหตุ แจ้งเบาะแส เรื่องร้องทุกข์ทั่วไป ผ่านช่องทางสายด่วนของรัฐบาล 1111 www.1111.go.th และ Application PSC 1111 ตลอด 24 ชั่วโมง และจะประสานเร่งรัดติดตามผลการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้ข้อยุติโดยเร็วตลอดปี 2565 2. กรมประชาสัมพันธ์ ขอมอบบริการข้อมูลข่าวสารออนไลน์เกี่ยวกับมาตรการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พร้อมทั้งข่าวสารเกี่ยวกับของขวัญปีใหม่ พ.ศ. 2565 ของส่วนราชการทางสถานีโทรทัศน์วิทยุแห่งประเทศไทย และขอมอบความสุขแก่ประชาชนผ่านรายการพิเศษ เทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ 2565 ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย 3. สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับผู้ประกอบการออนไลน์ ลดค่าครองชีพของประชาชน โดยจะมอบคูปองส่วนลดในการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้ประกอบการรายใหญ่ให้แก่ประชาชน ระหว่างวันที่ 1 - 31 มกราคม 2565 19. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 18/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้ พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 18/2564 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาข้อเสนอแนวทางการดำเนินการตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ครั้งที่ 2) และการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รวมทั้งการพิจารณาข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ดังนี้ 1. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (2) แห่งพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (1) แห่งพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) จำนวน 60,000 ล้านบาท เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2. อนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน 30,002,310 โดส (Pfizer) ปี พ.ศ. 2565 กรอบวงเงิน 16,297,700,600 บาท และโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน 60,000,000 โดส (AstraZeneca) ปี พ.ศ. 2565 กรอบวงเงิน 18,762.5160 ล้านบาท ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และมอบหมายให้กรมควบคุมโรค เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สามารถจัดหาเงินกู้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 อย่างเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป 3. อนุมัติโครงการเยียวยาผู้ประกันตน ในกิจการสถานบันเทิง และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กรอบวงเงิน 607.1550 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการกลุ่มที่ 2 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทางการเงินของภาครัฐ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 โดยเคร่งครัด นอกจากนี้ มอบหมายให้สำนักงานประกันสังคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รับความเห็นเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ ไปประกอบการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป 4. อนุมัติโครงการ Thailand Festival Experience ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรอบวงเงิน 300 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 3 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และมอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 อย่างเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ เห็นควรให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด และดำเนินการเบิกจ่ายเงินกู้ฯ ให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ เพื่อให้การบริหารจัดการเงินกู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 5. มอบหมายให้กรมการจัดหางาน ดำเนินโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับธุรกิจ SMEs สมัครเข้าร่วมโครงการฯ ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ หากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของประเทศเปลี่ยนแปลงไปจากในปัจจุบัน จนทำให้ภาครัฐจำเป็นต้องประกาศมาตรการควบคุมไม่ให้สถานบันเทิงเปิดให้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2565 เห็นควรมอบหมายให้กรมการจัดหางานพิจารณาความเหมาะสมของการปรับปรุงรายละเอียดของโครงการฯ เสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป 6. อนุมัติให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยการเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 6,218 คน กรอบวงเงิน 12.4360 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากกรอบวงเงินของโครงการในส่วนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม และวันที่ 5 ตุลาคม 2564 และขยายระยะเวลาโครงการในส่วนของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นสิ้นสุดในเดือนมกราคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอ เพื่อให้ภาครัฐสามารถให้ความช่วยเหลือนักเรียนและผู้ปกครองได้อย่างครอบคลุมตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ทั้งนี้ เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการฯ แล้ว เห็นควรให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเร่งดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการต่อไป 20. เรื่อง แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2566 ? 2569) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2566 ? 2569) ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอดังนี้ ความเป็นมา 1. มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กำหนดให้คณะกรรมการฯ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ และมีผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เป็นเลขานุการมีหน้าที่จัดทำแผนการคลังระยะปานกลาง เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทหลักสำหรับการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของรัฐ รวมทั้งแผนการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีและแผนการบริหารหนี้สาธารณะ โดยกำหนดให้แผนการคลังระยะปานกลางมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี และอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (1) เป้าหมายและนโยบายการคลัง (2) สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ (3) สถานะและประมาณการการคลัง ซึ่งรวมถึงประมาณการรายได้ ประมาณการรายจ่าย ดุลการคลังและการจัดการกับดุลการคลังนั้น (4) สถานะหนี้สาธารณะของรัฐบาล และ (5) ภาระผูกพันทางการเงินการคลังของรัฐบาล 2. การประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล ที่ประชุมได้มีมติรับรองร่างแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2566 ? 2569) (แผนการคลังระยะปานกลางฯ) ตามที่ฝ่ายเลขานุการเสนอ สาระสำคัญของแผนการคลังระยะปานกลางฯ แผนการคลังระยะปานกลางฯ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ ส่วนที่ 2 สถานะและประมาณการการคลัง และส่วนที่ 3 เป้าหมายและนโยบายการคลัง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ ในปี 2566 คาดว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 3.2 ? 4.2 (ค่ากลางร้อยละ 3.7) และ GDP Deflator อยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 ? 1.7 (ค่ากลางร้อยละ 1.2) สำหรับในปี 2567 คาดว่า GDP จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.9 ? 3.9 (ค่ากลางร้อยละ 3.4) ขณะที่ในปี 2568 - 2569 คาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ 2.8 ? 3.8 (ค่ากลางร้อยละ 3.3) และ GDP Deflator อยู่ในช่วงร้อยละ 0.7 ? 1.7 ในปี 2567 และเร่งขึ้นเป็นเฉลี่ยในช่วงร้อยละ 0.8 ? 1.8 ในปี 2568 และ 2569 2. สถานะและประมาณการการคลัง 2.1 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2566 - 2569 เท่ากับ 2,490,000 2,560,000 2,640,000 และ 2,720,000 ล้านบาท ตามลำดับ 2.2 ประมาณการงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2566 ? 2569 เท่ากับ3,185,000 3,270,000 3,363,000 และ 3,456,000 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งมีสมมติฐานที่สำคัญเช่น สัดส่วนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นร้อยละ 2.0 ? 3.5 ของวงเงินงบประมาณ รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้มีสัดส่วนร้อยละ 2.5 ? 4.0 ของวงเงินงบประมาณ ค่าใช้จ่ายบุคลากรมีอัตราเพิ่มโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 4.0 โดยใช้มาตรการให้หน่วยรับงบประมาณที่มีเงินรายได้นำมาสมทบ เป็นต้น 2.3 จากประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิและงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวในปีงบประมาณ 2566 - 2569 รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณจำนวน 695,000 710,000 723,000และ 736,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 3.8 3.7 และ 3.6 ต่อ GDP ตามลำดับ 2.4 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2564 มีจำนวน 9,337,543 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58.15 ต่อ GDP และประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สำหรับปีงบประมาณ 2566 - 2569 เท่ากับร้อยละ 64.02 65.59 66.57 และ 67.15 ตามลำดับ 3. เป้าหมายและนโยบายการคลัง ในการดำเนินนโยบายการคลังในระยะปานกลาง รัฐบาลยังมีความจำเป็นต้องดำเนินนโยบายการคลังแบบขยายตัวผ่านการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล ภายใต้หลักการดำเนินนโยบายการคลังแบบต่อต้านวัฏจักรเศรษฐกิจ หรือ Counter-cyclical Fiscal Policy เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ รวมถึงการดำเนินชีวิตของประชาชน และส่งผลต่อเนื่องถึงภาคการคลัง ทำให้เกิดภาระที่สะสมต่อภาคการคลังของไทย โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดยังคงมีความไม่แน่นอนสูง อาจยังมีความเสี่ยงที่จะทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดกลับมารุนแรงได้อีก ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้ภาครัฐจำเป็นต้องดำเนินมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบเพิ่มเติมอีกในอนาคต นอกจากนี้ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือกับแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก (Global Megatrends) ที่จะส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ อาทิ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และที่สำคัญที่สุดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมสูงวัย ซึ่งจะก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนรูปแบบในการดำเนินธุรกิจและการดำเนินชีวิตของประชาชน และจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งการจัดเก็บรายได้และการจัดสรรงบประมาณของภาครัฐ ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ข้างต้น ทำให้ภาคการคลังจะต้องมีการมุ่งเน้นในการเพิ่มศักยภาพทางการคลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะ ควบคู่ไปกับการรักษาวินัยทางการคลัง เพื่อให้ภาคการคลังสามารถรองรับสถานการณ์หรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีประมาณการสถานะการคลังในระยะปานกลางภายใต้สมมติฐานทางเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท ปีงบประมาณ 2565 2566 2567 2568 2569 รายได้รัฐบาลสุทธิ 2,400,000 2,490,000 2,560,000 2,640,000 2,720,000 อัตราการเพิ่ม (ร้อยละ) (10.3) 3.8 2.8 3.1 3.0 งบประมาณรายจ่าย 3,100,000 3,185,000 3,270,000 3,363,000 3,456,000 อัตราการเพิ่ม (ร้อยละ) (5.7) 2.7 2.7 2.8 2.8 ดุลการคลัง (700,000) (695,000) (710,000) (723,000) (736,000 ดุลการคลังต่อ GDP (ร้อยละ) (4.1) (3.9) (3.8) (3.7) (3.6) หนี้สาธารณะคงค้าง 10,439,774 11,215,983 12,019,157 12,760,250 13,462,558 หนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP (ร้อยละ) 62.69 64.02 65.59 66.57 67.15 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 17,026,800 17,861,100 18,682,800 19,542,200 20,441,100 ที่มา : กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทั้งนี้ ในระยะยาวเมื่อภาวะเศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพและสถานการณ์เอื้ออำนวยให้ภาครัฐสามารถเพิ่มศักยภาพทางการคลังทั้งทางด้านรายได้และรายจ่ายได้ เป้าหมายการคลังในระยะยาวควรกำหนดให้รัฐบาลปรับลดขนาดการขาดดุลลงและมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในที่สุด เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการคลังทั้งในระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาวดังกล่าวข้างต้น รัฐบาลจะต้องมุ่งบริหารจัดการเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการคลัง ทั้งในด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะควบคู่ไปกับการรักษาวินัยทางการคลัง ด้วยหลัก CARE ประกอบด้วย 3.1 Creating Fiscal Space หรือ การเพิ่มพื้นที่ทางการคลังอย่างระมัดระวังโดยการบริหารจัดการพื้นที่ทางการคลังหรือ Fiscal Space ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อรองรับการดำเนินนโยบายของรัฐบาลและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดยต้องคำนึงถึงกรอบวินัยทางการคลัง (Fiscal Discipline) ด้วยการรักษาระดับเครื่องชี้ทางการคลังต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะพยายามรักษาระดับการขาดดุลงบประมาณต่อ GDP ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและควบคุมได้ในระยะปานกลาง 3.2 Assuring Debt Sustainability หรือ การบริหารจัดการหนี้อย่างมีภูมิคุ้มกันโดยการบริหารหนี้สาธารณะให้มีความเสี่ยงต่ำภายใต้ต้นทุนที่เหมาะสม ควบคู่ไปกับการวางแผนการชำระหนี้ให้เหมาะสม และไม่เป็นภาระทางการคลังในระยะยาว 3.3 Revenue Recovering หรือ การฟื้นฟูการจัดเก็บรายได้ โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ พร้อมทั้งปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของเศรษฐกิจและการแข่งขันในปัจจุบัน 3.4 Expenditure Reprioritizing หรือ การปรับการจัดสรรงบประมาณ โดยการชะลอ ปรับลด หรือยกเลิกการดำเนินโครงการที่ไม่มีความจำเป็นเพื่อนำเงินงบประมาณดังกล่าวไปดำเนินภารกิจที่มีความสำคัญลำดับสูงและประชาชนได้รับประโยชน์โดยตรง รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำงบประมาณให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงิน และให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายที่ต้องจัดสรรตามสิทธิ ตามกฎหมาย และตามข้อตกลงที่กำหนด ต่างประเทศ 21. เรื่อง ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และอุปทานอาหารแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และอุปทานอาหารแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและ ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) สาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฯ สรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ สาระสำคัญ วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและข้อมูล การฝึกอบรม และความร่วมมือทางเทคนิคในสาขาการเกษตรระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย โดยไม่กระทบต่อความร่วมมือในสาขาอื่น ๆ ที่อาจจะได้รับการพิจารณาในอนาคต ขอบเขตความร่วมมือและการมีส่วนร่วม - การเกษตร รวมถึงสัตว์ สัตว์น้ำ พืช ดิน การจัดการน้ำ และสหกรณ์ - การพัฒนาสหกรณ์การเกษตรและสถาบันเกษตรกร - การอนุรักษ์และบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทางการเกษตร - การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสานและนิเวศวิศวกรรม - พลังงานทางเลือก รวมถึงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการ - สาขาความสนใจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน รูปแบบความร่วมมือ - การแลกเปลี่ยนข้อมูล นักวิชาการ และนักวิจัย - การฝึกอบรม การสัมมนา การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในโครงการต่าง ๆ การศึกษาดูงาน และการฝึกอบรมอื่น ๆ ในเรื่องที่มีความสนใจร่วมกัน - การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในสาขาการเกษตรและธุรกิจการเกษตร ที่ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายอาจเห็นชอบร่วมกัน รวมไปถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี - รูปแบบความร่วมมืออื่น ๆ ที่มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านการเกษตรของทั้งสองประเทศซึ่งผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ คณะทำงานร่วมด้านการเกษตร จะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วมด้านการเกษตร (joint Agricultural Working Group : JAWG) เป็นผู้รับผิดชอบในการประเมินผลการดำเนินโครงการของบันทึกความเข้าใจฯ จัดทำ ข้อเสนอเพื่อการพัฒนาและการปรับปรุง กำกับดูแลกิจกรรมภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย โดยจะมีการประชุมทุก 2 ปี สลับกันในประเทศไทย และสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลหรือเมื่อมีความจำเป็นโดยได้รับความเห็นชอบ จากทั้งสองฝ่าย สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผลมาจากกิจกรรมตามบันทึกความเข้าใจฯ จะได้รับความคุ้มครอง โดยสอดคล้องกับกฎหมายและระเบียบข้อบังคับภายในของผู้เข้าร่วมแต่ละฝ่าย โดยจะจัดสรรและกำกับโดยความตกลงแยกต่างหากที่จัดทำขึ้นเป็นรายกรณีและผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมกันตามเงื่อนไขที่จะตกลงร่วมกัน ค่าใช้จ่าย ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของตนเองที่เกิดขึ้นจากกิจกรรม ที่ดำเนินการภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ เว้นแต่ทั้งสองฝ่ายจะตกลงเป็นอย่างอื่น การมีผลและการสิ้นสุด - บันทึกความเข้าใจฯ จะมีผลตั้งแต่วันที่มีการลงนามเป็นระยะเวลา 5 ปี และสามารถต่ออายุไปอีกเป็นระยะเวลา 5 ปี โดยการร้องขอจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้า 6 เดือน - ผู้เข้าร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยกเลิกบันทึกความเข้าใจฯ ได้ตลอดเวลา โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ผู้เข้าร่วมอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้า 6 เดือน - การยกเลิกบันทึกความเข้าใจจะไม่ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมที่ได้ดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งจะได้ดำเนินการต่อไปจนกว่าจะเสร็จสมบูรณ์ 22. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ และการประชุมที่เกี่ยวข้องด้วยระบบ การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Defence Ministers? Meeting Retreat: ADMM Retreat) และการประชุม ที่เกี่ยวข้อง ด้วยระบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งมีกระทรวงกลาโหม เนการาบรูไนดารุสซาลามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ การประชุม/เรื่อง ผลการประชุม 1. การประชุม ADMM Retreat 1.1 รัฐมนตรีกลาโหมประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ด้านความมั่นคงและขับเคลื่อนความร่วมมือด้านความมั่นคง ให้เกิดความต่อเนื่อง สอดคล้องกับพลวัตของสภาวะแวดล้อม ด้านความมั่นคงของภูมิภาค ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตรฯ) ได้กล่าวสนับสนุนการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายใต้บริบทของความปกติถัดไป และ ให้ตระหนักถึงภัยคุกคามแบบดั้งเดิมที่ยังคงมีอยู่ รวมทั้งผลักดันความร่วมมือในกรอบ ADMM ที่สำคัญ เช่น โครงการ ASEAN Our Eyes ความร่วมมือด้านความมั่นคงไซเบอร์และเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านเคมี ชีวภาพ และรังสี บทบาทของฝ่ายทหารอาเซียนในการสนับสนุนการบริหารจัดการชายแดนและการเป็นประธาน ร่วมสหรัฐอเมริกาในคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางทะเลในกรอบ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers? Meeting Plus:ADMM-Plus) 1.2 กระทรวงกลาโหมเนการาบรูไนดารุสซาลามได้เสนอกรอบยุทธศาสตร์ การเตรียมความพร้อมสู่อนาคตของ ADMM เพื่อขอรับข้อคิดเห็นจากประเทศสมาชิกอาเซียน ก่อนจัดทำร่างยุทธศาสตร์ฯ สำหรับกำหนดทิศทางและแผนงานของ ADMM ในอนาคต ภายหลังแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน 2025 สิ้นสุดลง และจะเสนอให้ที่ประชุมภายใต้กรอบ ADMM พิจารณาในปี 2565 ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตรฯ) ได้ให้ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) สนับสนุนให้ประเมินผลความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรทางทหารอย่างคุ้มค่า (2) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสาขาและ เสาความร่วมมือของอาเซียนอย่างมีประสิทธิภาพ และ (3) พัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 1.3 ที่ประชุม ADMM Retreat รับทราบความคืบหน้าของความร่วมมือในกรอบ ADMM และ ADMM-Plus ได้แก่ (1) การสมัครเข้าเป็นผู้สังเกตการณ์ในกิจกรรมของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในกรอบ ADMM-Plus ของสหราชอาณาจักร แคนาดา และสาธารณรัฐฝรั่งเศส ตามมติของที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสกลาโหมอาเซียน เมื่อปี 2562 และจะมีการหารือในปี 2565 เพื่อกำหนดการ เข้าร่วมกิจกรรมฯ ต่อไป และ (2) การพิจารณาจัดการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน+1 อย่างไม่เป็นทางการ กับสหพันธรัฐรัสเซีย และประเทศญี่ปุ่น จะดำเนินการในปี 2565 โดยให้ประเทศคู่เจรจาดังกล่าวยื่นความประสงค์ ต่อราชอาณาจักรกัมพูชาและประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ประเทศคู่เจรจาที่เกี่ยวข้องต่อไป 2. การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน+1 อย่างไม่เป็นทางการ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมฝ่ายไทย 2.1 การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีอย่างไม่เป็นทางการ โดยสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) ยืนยันเจตนารมณ์ใน การขับเคลื่อนความร่วมมือด้านความมั่นคงกับอาเซียนภายใต้นโยบายมุ่งใต้ใหม่ และนโยบายมุ่งใต้พลัส และนำเสนอแผนงานความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างสาธารณรัฐเกาหลี-อาเซียน ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องในการร่วมกันขับเคลื่อนความร่วมมือและแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงของภูมิภาคภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ผลักดันการส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงไซเบอร์ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการจัดการประชุม United Nations Peacekeeping Ministerial ในเดือนธันวาคม 2564 ณ กรุงโซล เกาหลีใต้ 2.2 การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมเครือ รัฐออสเตรเลียอย่างไม่เป็นทางการ โดยยุทธศาสตร์ความมั่นคง 2020 ของเครือรัฐออสเตรเลีย มุ่งเน้นบทบาทที่สร้างสรรค์ สอดคล้องกับมุมมองอาเซียน ต่ออินโด-แปซิฟิก และเคารพหลักการความเป็นแกนกลางของอาเซียน ทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ผลักดันบทบาทของศูนย์แพทย์ทหารอาเซียนในกิจกรรมของคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทหารในกรอบ ADMM-Plus ที่มีเครือรัฐออสเตรเลียและเนการาบรูไนดารุสซาลาม เป็นประธานร่วม และการส่งเสริมความร่วมมือ ด้านความมั่นคงไซเบอร์ รวมทั้งเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ 3. การส่งมอบตำแหน่งประธานการประชุม ADMM ในปี 2565 กระทรวงกลาโหมเนการาบรูไนดารุสซาลาม ได้ส่งมอบตำแหน่งประธาน การประชุม ADMM ในปี 2565 ให้กับกระทรวงกลาโหมราชอาณาจักรกัมพูชา โดยรัฐมนตรีกลาโหมราชอาณาจักรกัมพูชาได้แสดงเจตนารมณ์ในการเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและสานต่อความร่วมมือด้านความมั่นคงของอาเซียนให้มีความเข้มแข็ง ภายใต้แนวคิดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อมิตรภาพ ด้านความมั่นคง 23. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 28 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลังเอเปค (APEC Finance Ministers? Meeting: APEC FMM) ครั้งที่ 28 และถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 28 (ถ้อยแถลงร่วมฯ) ผ่านระบบการประชุมทางไกลเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2564 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้าร่วมประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (19 ตุลาคม 2564) เห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค ครั้งที่ 28 และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองถ้อยแถลงร่วมฯ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ กิจกรรมทางเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวจากการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขผลกระทบจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และจำนวนการฉีดวัคซีนที่เพิ่มขึ้นโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดว่าเศรษฐกิจโลกในปี 2564 จะขยายตัวที่ร้อยละ 5.9 และมีระดับหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) ของโลกอยู่ที่ประมาณร้อยละ 100 อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคเอเปคจะต้องเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจในหลายมิติ เช่น ระดับการฟื้นตัวของแต่ละเขตเศรษฐกิจจากผลกระทบของ โควิด-19 การดำเนินนโยบายเพื่อรับมือในลักษณะที่ต่างกัน สภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานและความผันผวนของ ตลาดการเงิน 2. การรับมือกับโควิด-19 เพื่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืนและครอบคลุม ที่ประชุมสนับสนุนให้ดำเนินนโยบายการเงิน การคลัง และการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง รวมถึงความร่วมมือพหุภาคีเพื่อรับมือกับผลกระทบของ โควิด-19 และก้าวไปสู่การฟื้นตัวอย่างสมดุล ยั่งยืน ทันท่วงที และครอบคลุมทุกมิติและภาคส่วน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับมาตรการในการรับมือโควิด-19 โดยระบุว่าประเทศไทย (ไทย) ได้ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ควบคู่กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านมาตรการการเงินและการคลัง เช่น โครงการให้เงินช่วยเหลือเยียวยา มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ โครงการค้ำประกันสินเชื่อ มาตรการพักชำระหนี้ และการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจผ่านการใช้จ่ายภายในประเทศ นอกจากนี้ ได้ชี้แจงแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ว่า ไทยให้ความสำคัญกับการรักษาสมดุลระหว่างการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นและการปฏิรูปโครงสร้างของประเทศในระยะยาว ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจภายในประเทศ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ผ่านการส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ รวมทั้งการผลักดันโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ส่วนในระยะปานกลางถึงระยะยาว การดำเนินนโยบายการคลังจะมี ความท้าทายมากขึ้นในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการกระจายรายได้ โดยเฉพาะการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากและการปฏิรูปการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ 3. การใช้นโยบายการคลังและการบริหารงบประมาณเพื่อรับมือกับความท้าทาย ที่ประชุมได้ เน้นย้ำบทบาทของการดำเนินนโยบายการคลังและการบริหารงบประมาณเพื่อรับมือกับโควิด-19 เนื่องจากเป็นปัจจัยช่วยรักษาระดับการจ้างงาน ระดับการบริโภค ความสามารถในการเข้าถึงบริการสาธารณะ และการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง อีกทั้งที่ประชุมได้ตระหนักถึงความโปร่งใสทางการคลังและหนี้สาธารณะ ประสิทธิภาพของการจัดสรรและใช้จ่ายงบประมาณ รวมถึงความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยเห็นว่าสมาชิกเอเปคควรพิจารณาการดำเนินนโยบายการคลังอย่างเหมาะสมเพื่อรับมือกับความท้าทายในด้านต่าง ๆ ควบคู่กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจและเสริมสร้างเสถียรภาพทางการคลังอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการดำเนินนโยบาย การคลังเพื่อรับมือกับโควิด-19 โดยเน้นย้ำว่า ในช่วงก่อนที่จะเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ภาคการคลังของไทยมีความเข้มแข็ง มั่นคง และมีเสถียรภาพระดับหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ในระดับที่สามารถรองรับการดำเนินนโยบายการคลังในภาวะวิกฤตได้ และในปัจจุบันภาคการคลังของไทยยังมีความมั่นคงและ มีเสถียรภาพ โดยรัฐบาลยังมีสภาพคล่องเพียงพอต่อการดำเนินนโยบายต่าง ๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ ซึ่งแนวทางการเพิ่มศักยภาพทางการคลังจะดำเนินการผ่านหลัก 3Rs ประกอบด้วย (1) Reform หรือการปฏิรูปการจัดเก็บรายได้ (2) Reshape หรือการปรับเปลี่ยนการจัดสรรงบประมาณ และ (3) Resilience หรือการบริหารหนี้สาธารณะอย่างมีภูมิคุ้มกันและสามารถรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด อีกทั้งไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อสนับสนุนให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนผ่านการสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่ใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น เช่น มาตรการภาษีและการคลัง เพื่อร่วมผลักดันการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและ การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติและ การแก้ไขปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ 4. ที่ประชุมได้รับรองแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเซบูฉบับใหม่ ซึ่งได้นำปัจจัยแวดล้อมที่สำคัญมาเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) วิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 ซึ่งมุ่งเน้นปัจจัยขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจใน 3 มิติ ได้แก่ การค้าและการลงทุน นวัตกรรมและการใช้ประโยชน์จากดิจิทัล และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็ง สมดุล มั่นคง ยั่งยืน และครอบคลุม และ (2) มาตรการรองรับสถานการณ์ของโควิด-19 ทั้งนี้ การส่งมอบหน้าที่ประธานภายใต้กรอบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (APEC Finance Minister?s Process: APEC FMP) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวว่าไทยยินจะดีประสานต่อประเด็นริเริ่มของนิวซีแลนด์ในการเป็นเจ้าภาพเอเปคในปี 2565 โดยกรอบ APEC FMP จะให้ความสำคัญกับ การสร้างภูมิภาคเอเปคในบริบทโลกหลังโควิด-19 ที่มุ่งสู่การเป็นสังคมดิจิทัลและการเงินอย่างยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 นอกจากนี้ ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ไทยได้เตรียมการสำหรับการประชุมเอเปค อย่างเต็มรูปแบบควบคู่กับมาตรการทางสาธารณสุข และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกเอเปค องค์กรระหว่างประเทศ และภาคเอกชนในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนภูมิภาคเอเปคสู่การเจริญเติบโต ที่เข้มแข็ง สมดุล มั่นคง ยั่งยืน และครอบคลุมต่อไป 24. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจ (Memorandum Of Understanding : MOU) ด้านความร่วมมือความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0 ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับเทศบาลนครโอซากาประเทศญี่ปุ่น (Osaka City Government) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจ(Memorandum Of Understanding : MOU) ด้านความร่วมมือความเป็นกลางทางคาร์บอนเพื่อขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0 ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กับเทศบาลนครโอซากาประเทศญี่ปุ่น (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ สกพอ. สามารถพิจารณาดำเนินการภายใต้หลักการดังกล่าวข้างต้น โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง พร้อมทั้งอนุมัติให้เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวของฝ่ายไทยตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ สรุปได้ ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ เป้าหมาย/การดำเนินการ (1) พัฒนาความเป็นกลางทางคาร์บอนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) โดยจะผลักดันให้เกิดการยกระดับความร่วมมือระหว่างกัน เช่น - แลกเปลี่ยนความรู้เรื่องมาตรฐานและระบบเพื่อสนับสนุนการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นกลางทางคาร์บอนในพื้นที่ EEC - จัดทำและร่วมกันผลักดันให้เกิดความเป็นกลางทางคาร์บอน - แลกเปลี่ยนข้อมูลและส่งเสริมโครงการที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจสีเขียวและเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมถึงโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม (2) สนับสนุนและผลักดันให้เกิดการหารือในด้านนโยบายระหว่างผู้บริหารระดับสูงของทั้ง 2 ฝ่าย ปีละ 1 ครั้ง เพื่อขับเคลื่อนนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นกลางทางคาร์บอน ตัวอย่างประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินการ (1) ทำให้เกิดพื้นที่ต้นแบบในการผลักดันนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอนผ่าน การดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม เช่น การสนับสนุนให้ใช้พลังงานสะอาดหรือพลังงานทดแทนในภาคอุตสาหกรรม (2) ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นกลางทางคาร์บอนและ แนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอามากยิ่งขึ้น บททั่วไป ไม่มีภาระผูกพันในทางกฎหมาย การมีผลใช้บังคับ นับตั้งแต่วันที่ลงนาม ถึงวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2568 การต่ออายุ/การสิ้นสุด ขยายระยะเวลาได้โดยการตกลงร่วมกันและแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้า 1 เดือน ก่อนวันสิ้นผลใช้บังคับ 25. เรื่อง การเปลี่ยนชื่อประเทศของสาธารณรัฐมาซิโดเนีย คณะรัฐมตรีมีมติรับทราบการเปลี่ยนชื่อประเทศ จาก สาธารณรัฐมาซิโดเนีย (Republic of Macedonia) เป็น สาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย (Republic of North Macedonia) ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้ให้ความเห็นความด้วยแล้ว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. การเปลี่ยนชื่อประเทศของสาธารณรัฐมาซิโดเนียมีที่มาจากข้อพิพาทระหว่างสาธารณ รัฐมาซิโดเนียกับสาธารณรัฐเฮลเลนิก (กรีซ) นับตั้งแต่สาธารณรัฐมาซิโดเนียประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากสหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย ตั้งแต่ปี 2534 ภายใต้ชื่อว่า "สาธารณรัฐมาซิโดเนีย" เนื่องจากสาธารณรัฐเฮลเลนิกเห็นว่าคำว่า "มาซิโดเนีย" เป็นชื่อเรียกดินแดนตอนเหนือของสาธารณรัฐเฮลเลนิก และเกรงว่าสาธารณรัฐมาซิโดเนียอาจอ้างสิทธิ์เหนือดินแดนที่มีชื่อเรียกเหมือนกัน สาธารณรัฐเฮลเลนิกจึงพยายามคัดค้านการให้การรับรองรัฐและ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติของสาธารณรัฐมาซิโดเนีย 2. ในปี 2536 สาธารณรัฐมาซิโดเนียได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติภายใต้ชื่อ "Former Yugoslav Republic of Macedonia (FYROM)" ซึ่งสาธารณรัฐเฮลเลนิกด้ยอมรับชื่อเรียกดังกล่าวเป็นการชั่วคราว (provisional designation) จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้ โดยองค์การสหประชาชาติได้พยายามไกล่เกลี่ยข้อพิพาทระหว่างทั้งสองประเทศจนนำไปสู่การบรรลุข้อตกลงต่าง ๆ และทั้งสองประเทศได้บรรลุข้อตกลงถาวรเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2561 และมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 กำหนดให้สาธารณรัฐมาซิโดเนียมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ?สาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย? และมีชื่อเรียกอย่างสั้นว่า ?นอร์ทมาซิโดเนีย? รวมทั้งให้ยุติการใช้ชื่ออื่น ๆ โดยสาธารณรัฐเฮลเลนิกตกลงที่จะไม่ขัดขวางสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนียในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สาธารณรัฐเฮลเลนิกเป็นภาคี 3. คณะผู้แทนถาวร ณ นครนิวยอร์ก ได้รับหนังสือคณะผู้แทนถาวรสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนียประจำสหประชาชาติแจ้งเรื่องการเปลี่ยนชื่อประเทศอย่างเป็นทางการแล้วและขอให้รัฐสมาชิกและผู้สังเกตการณ์ใช้ชื่อประเทศดังกล่าวในการติดต่อและประสานงานต่อไป สำหรับประเทศไทยได้มอบหมายให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอังการา สาธารณรัฐตุรกี มีเขตอาณาครอบคลุมสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย และจะใช้ชื่อสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนียในการจัดทำพระราชสาส์นตราตั้งเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐนอร์ทมาซิโดเนีย โดยมีถิ่นพำนัก ณ กรุงอังการาสาธารณรัฐตุรกี เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงต่อไป 26. เรื่อง การให้คำมั่นทางการเมืองอย่างเป็นทางการของรัฐบาลไทยในการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การพิจารณารายชื่อประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือด้านภาษีของสหภาพยุโรป (EU List of Non-cooperative Jurisdictions for Tax Purposes : EU List) ข้อ 3.2 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการมีหนังสือลงนามระดับรัฐมนตรีถึงประธาน CoCG เพื่อให้คำมั่นทางการเมืองอย่างเป็นทางการ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ เพื่อกรมสรรพากรจะได้จัดส่งให้ CoCG ภายในกำหนดเวลาต่อไป สาระสำคัญ การส่งหนังสือถึง CoCG เพื่อให้คำมั่นทางการเมืองอย่างเป็นทางการว่า ประเทศไทยจะดำเนินการตามข้อแนะนำโดยทั่วไปของ Inclusive Framework ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของ รายงานข้อมูลรายประเทศ (Country-by- Country Report : CbCR) ให้ครบถ้วน ภายในกำหนดเวลาการจัดทำรายงาน Action 13 Peer Review ประจำปี พ.ศ. 2566 ซึ่ง CoCG จะนำไปบันทึกประกอบการจัดทำ EU List ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ทั้งนี้การให้คำมั่นทางการเมืองอย่างเป็นทางการของประเทศไทยต่อ CoCG เป็นการป้องกันไม่ให้ชื่อของประเทศไทยปรากฏอยู่ใน EU List ที่จะประกาศในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยประเทศไทยต้องมีหนังสือลงนามในระดับรัฐมนตรีเพื่อให้คำมั่นทางการเมืองอย่างเป็นทางการต่อ CoCG ที่มีสาระสำคัญว่า ประเทศไทยจะดำเนินการตามข้อแนะนำโดยทั่วไปของ Inclusive Framework ที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามมาตรฐานขั้นต่ำของ CbCR ให้ครบถ้วนในระยะเวลาอันควร ภายในกำหนดเวลาการจัดทำรายงาน Action 13 Peer Review ประจำปี พ.ศ. 2566 27. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนของสำนักเลขาธิการอาเซียนในการต่ออายุ ครั้งที่ 3 ของบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศออสเตรเลียกับรัฐบาลแห่งประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย ระยะที่ 2 และการแก้ไขข้อความในบันทึกความเข้าใจฯ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนของสำนักเลขาธิการอาเซียนในการต่ออายุ ครั้งที่ 3 ของบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศออสเตรเลียกับรัฐบาลแห่งประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย ระยะที่ 2 และการแก้ไขข้อความในบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ และให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา ว่า รัฐบาลไทยให้ความยินยอมให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนลงนามในเอกสารดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งประเทศออสเตรเลียกับรัฐบาลแห่งประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ว่าด้วยโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย ระยะที่ 2 (เอเอดีซีพีสอง) ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2552 เป็นแผนการดำเนินโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาแบบให้เปล่าของออสเตรเลียแก่ประเทศสมาชิกอาเซียน ระหว่างปี 2552 ? 2558 โดยมีมูลค่า 57 ล้านดอลลาร์ 2. คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2558 เห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนของฝ่ายอาเซียนในการขยายอายุโครงการเอเอดีซีพีสอง ครั้งที่ 1 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 และเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยน 3) คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2562 เห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนของฝ่ายอาเซียนในการขยายอายุโครงการเอเอดีซีพีสอง ครั้งที่ 2 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 และเห็นชอบให้เลขาธิการอาเชียนหรือผู้แทนลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยน 4) โดยที่โครงการเอเอดีซีพีสองจะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ออสเตรเลียจึงได้เสนอให้มีการขยายอายุบันทึกความเข้าใจฯ เป็นครั้งที่ 3 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อให้ออสเตรเลียสามารถอบเงินสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ (ASEAN Centre for Public Health Emergencies and Emerging Diseases: ACPHEED) และกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเชียน (ASEAN Comprehensive Recovery Framework: ACRF) ผ่านกองทุนเอเอดีซีพีสองได้ โดยเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 สำนักเลขาธิการอาเซียนได้นำส่ง (1) ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนของออสเตรเลียเสนอการขยายอายุโครงการฯ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 และ (2) ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนสำนักเลขาธิการอาเชียนในการต่ออายุโครงการ เอเอดีซีพีสอง เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนของสำนักเลขาธิการอาเซียนฯ และเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนลงนามในหนังสือดังกล่าว ทั้งนี้ผลการดำเนินการที่ผ่านมาโครงการเอเอดีซีพีสองให้การสนับสนุนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน 14 สาขา รวมถึงการเกษตร การบริการ การท่องเที่ยว การลงทุน การเชื่อมโยงในอาเซียน และสาขาที่มีความคาบเกี่ยว เช่น การลดช่องว่างการพัฒนา ข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นต้น โดยจนถึงปี 2564 ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 81 โครงการ เช่น รายงานการทบทวน กึ่งวาระของแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025 การศึกษาความเป็นไปได้ในการซื้อขายไฟฟ้แบบพทุภาในอาเซียน และการจัดทำรายงานการลงทุนในอาเซียน ค.ศ. 2015 - 2021 เป็นต้น 28. เรื่อง ผลการนำเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทยตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการนำเสนอรายงานทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนของไทย (รายงานประเทศฯ) ตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ 3 และท่าทีของประเทศไทยต่อข้อเสนอแนะที่ได้รับจากการนำเสนอรายงานประเทศฯ รวมทั้งแผนการดำเนินการต่อไป โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ ในการร่วมกันพิจารณารับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถแจ้งผลต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 และร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ไทยตอบรับต่อไปตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ในการนำเสนอรายงานประเทศฯ ตามกลไก UPR รอบที่ 3 หัวหน้าคณะผู้แทนได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน พร้อมแจ้งเกี่ยวกับกระบวนการยกร่างรายงานประเทศ ฯ ที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจากทุกภาคในประเทศ พัฒนาการด้านสิทธิมนุษยชนของไทยในด้านต่าง ๆ ในช่วง 4 ปีครึ่งที่ผ่านมา พร้อมทั้งยืนยันความพยายามในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และยึดมั่นต่อพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนของไทย 2. ผู้แทน 106 ประเทศ ได้กล่าวถ้อยแถลงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของไทย โดยมีทั้งชื่นชม แสดงความห่วงกังวล และให้ข้อเสนอแนะแก่ไทย โดยสรุป ดังนี้ 1) คำชื่นชม อาทิ การจัดทำกฎหมายและนโยบายเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิตลอดจนการให้ความช่วยเหลือกลุ่มเปราะบาง การให้บริการสุขภาพภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแก่ทุกคนโดยไม่เลือกปฏิบัติ โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาคของ COVD-19 ความคืบหน้าในการคุ้มครองสิทธิและให้การยอมรับกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศผ่านการผลักดันร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... ความพยายามในการปราบปรามการใช้แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์และการส่งเสริมและหารือเรื่องความร่วมมือและการพัฒนาศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ 2) ข้อห่วงกังวล อาทิ การดำเนินการเพื่อเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาต่าง ๆ การยกเลิกโทษประหารชีวิต การประกันเสรีภาพในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น และการชุมนุมโดยสันติการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน พ.ศ? ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลความพยายามปรับยกระดับสถานะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติให้ได้สถานะ A ตามหลักการปารีส การขจัดความรุนแรงและการปกป้องสตรีและเด็กจากการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศ การขจัดการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานของเพศสภาพ รวมทั้งแก้ไขกฎหมายเพื่อให้การยอมรับการแต่งงานระหว่างบุคคลเพศเดียวกัน การคุ้มครองสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการอนุรักษ์และบริหารจัดการป่าและที่ดิน และการตอบรับคำขอเยือนของผู้ถืออาณัติของกลไกพิเศษภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ 3. คณะผู้แทนไทยได้ตอบชี้แจงคำถามจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งครอบคลุมประเด็น อาทิ การปราบปรามการค้ามนุษย์ สิทธิแรงงาน การเสริมสร้างความข้มแข็งของโครงสร้างสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน สิทธิเด็ก สตรี คนพิการ คนชรา และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเข้าถึงการรักษาพยาบาลของทุกกลุ่มโดยเฉพาะท่ามกลางสถานการณ์ COVID-19 เสรีภาพในการแสดงความเห็น การรวมตัว และการชุมนุมโดยสันติ พัฒนาการของการพิจารณากฎหมายฉบับต่าง ๆ 4. ประเทศต่าง ๆ ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ไทยรวม 278 ข้อ โดยคณะผู้แทนไทยได้ตอบรับทันที 194 ข้อ (หรือร้อยละ 64.78) และขอนำกลับมาพิจารณาเพิ่มเติม 84 ข้อ รวมทั้งได้แจ้งคำมั่นโดยสมัครใจเพิ่มเติมอีก 8 ข้อ ทั้งนี้ เป็นไปตามกรอบการพิจารณาข้อเสนอแนะและคำมั่นโดยสมัครใจในช่วงการนำเสนอรายงานประเทศฯ ตามกลไก UPR ของไทย รอบที่ 3 ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 โดยมีรายละเอียด สรุป ดังนี้ ข้อเสนอแนะที่ได้ตอบรับโดยทันที ได้แก่ (1) การพัฒนากฎหมายและนโยบายให้สอดคล้องกับพันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศของไทย รวมถึงการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.... (2) พิจารณาการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการหายสาบสูญโดยถูกบังคับ (3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (4) การคุ้มครองกลุ่มเปราะบาง (5) การคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (6) การคุ้มครองสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น การทบทวนและการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการใช้โทษประหารชีวิต (7) การอำนวยความยุติธรรม เช่น การคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และการสอบสวนข้อกล่าวหาการทรมานและการลงโทษผู้กระทำผิด และ (8) ประเด็นอื่น ๆ เช่น การเร่งแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ และการขจัดการเลือกปฏิบัติ 5. การดำเนินการต่อไป 5.1 กระทรวงการต่างประเทศจะจัดการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแลการจัดทำรายงานประเทศและติดตามการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะภายใต้กลไก UPR ของคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ เพื่อแจ้งผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ และการพิจารณาตอบรับข้อเสนอแนะให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ รวมทั้งเริ่มหารือเตรียมการจัดทำแผนการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ได้ตอบรับและคำมั่นโดยสมัครใจ อีกทั้งจัดการหารือกลุ่มย่อยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประมวลท่าทีต่อข้อเสนอแนะที่ไทยได้นำกลับมาพิจารณาเพิ่มเติม โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ก่อนแจ้งต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะร่วมกับกระทรวงยุติธรรมจัดเวทีเผยแพร่ผลการนำเสนอรายงานเพื่อสร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องแก่สาธารณชนในทุกภูมิภาคต่อไป 5.2 ไทยจะต้องเข้าร่วมการรับรองรายงานผลการนำเสนอรายงานประเทศฯ ของไทยในช่วงการประชุมคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ สมัยที่ 49 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2565 ที่นครเจนีวา ซึ่งในการประชุมดังกล่าว คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนฯ จะเปิดโอกาสให้ผู้แทนประเทศต่าง ๆ รวมทั้งผู้แทนภาคประชาสังคมกล่าวถ้อยแถลงแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการนำเสนอรายงานประเทศฯ ของไทย แต่งตั้ง 29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 3 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้ 1. นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 2. นายเฉลิมชัย ปาปะทา รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม 3. นายรัชฎา สุริยกุล ณ อยุธยา อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพและสิ่งแวดล้อม ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 30. เรื่อง การให้กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่อีกหนึ่งวาระ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอให้ นายโสภณ เมฆธน กรรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีซึ่งจะครบวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี ในวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ให้คงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ อีกหนึ่งวาระ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2564 31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการผังเมืองแทนตำแหน่งที่ว่าง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นางสาวศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านสังคมศาสตร์) ในคณะกรรมการผังเมือง แทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว 32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม จำนวน 6 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ดังนี้ 1. นายธวัช ผลความดี 2. นายพิสิฐ รังสฤษฎ์วุฒิกุล 3. นายอดิศัย อยู่อินทร์ 4. นายเกรียงไกร รักษ์กุลชน 5. นายหทัย อู่ไทย 6. นายอรุณ เอี่ยมสุรีย์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป 33. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ดังนี้ 1. นายชโยดม สรรพศรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การคลัง การบริหารหนี้สาธารณะ และการงบประมาณ 2. นางสาวนุชนาถ มั่งคั่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน การคลัง การบริหารหนี้สาธารณะ และการงบประมาณ 3. นางสวนีย เสตเสถียร ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป 34. เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 339/2564 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นั้น โดยที่ได้มีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสมอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 240/2563 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 โดยเพิ่มความต่อไปนี้ เป็นข้อ 3.1.6 ในข้อ 3 3. รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) 3.1 การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้น ตามกฎหมาย ดังนี้ ?3.1.6 คณะกรรมการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด? ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 ธันวาคม 2564