http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (4 มกราคม 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ผ่านระบบ Video Conference) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง แนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่าย ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้สินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้า และสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่าน ราชอาณาจักร พ.ศ. .... 4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดง การส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Payment) พ.ศ. .... 5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่น คำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... และร่างประกาศ กระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. ....
รวม 2 ฉบับ
6. เรื่อง การออกกฎกระทรวงเพื่อยกเลิกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบ ธุรกิจหลักทรัพย์และกฎกระทรวงเพื่อรองรับการควบกิจการของผู้ประกอบธุรกิจ หลักทรัพย์ เศรษฐกิจ ? สังคม 7. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,125.56 ล้านบาท เพื่อ ฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย (จำนวน 17 จังหวัด) ของ กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท 8. เรื่อง ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และขอ ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือ รักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย และโครงการร้อยใจรักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ 9. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 1 10. เรื่อง การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 เรื่อง ขออนุมัติ ดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่า 11. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการ SMEs และ ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) 12. เรื่อง การดำเนินโครงการจัดสร้างสวนป่า ?เบญจกิติ? ระยะที่ 2-3 13. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน 14. เรื่อง รายงานประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิ มนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 ? 2565) (ระยะครึ่งรอบ) 15. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 20/2564 16. เรื่อง กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการ อุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรอบวงเงินงบประมาณด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ 17. เรื่อง รายงานผลการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 และข้อเสนอเชิงนโยบาย ด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานเชิงนโยบาย 18. เรื่อง รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน ภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ต่างประเทศ 19. เรื่อง การเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 20. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 21. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย ? แคนาดา 22. เรื่อง ขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณให้ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo ณ จังหวัดภูเก็ต ภายใต้ชื่องาน EXPO 2028 ? Phuket, Thailand 23. เรื่อง ขออนุมัติกรอบงบประมาณและผู้มีอำนาจลงนามโครงการประมูลสิทธิ์งาน มหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และจังหวัดนครราชสีมา
พ.ศ. 2572
แต่งตั้ง
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี) 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) 26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) 27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่ง ประเทศไทย 28. เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วน ภูมิภาค
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง แนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบแนวทางการยกร่างพระราชบัญญัติการดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. .... ของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ 2. มอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับร่างพระราชบัญญัติ การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ยกร่าตามแนวทางในข้อ 1. ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบของร่างกฎหมายตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ทั้งนี้ แนวทางการยกร่างฯ ของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 และ 29 มิถุนายน 2564 ที่ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณายกร่างกฎหมายว่าด้วยการดำเนินงานขององค์กรที่ไม่แสวงหารายได้หรือกำไรมาแบ่งปันกัน โดยให้รับร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคม พ.ศ. .... ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหลักการในข้อกำหนดตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ ที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ ไปประกอบการพิจารณา ยกร่างกฎหมายดังกล่าวด้วย โดยคณะกรรมการฯ เห็นควรยกร่างกฎหมายฉบับใหม่ เป็น ?ร่างพระราชบัญญัติ การดำเนินกิจกรรมขององค์กรไม่แสวงหากำไร พ.ศ. ....? ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดกลไกในการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำหไร เพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน รวมทั้งกำหนดกลไกใน การกำกับดูแลการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรให้เป็นไปอย่างเปิดเผย โปร่งใส และเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง สาระสำคัญของแนวทางการยกร่างฯ เป็นการกำหนดกลไกในการส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลองค์กรไม่แสวงหากำไร ซึ่งสรุปได้ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ 1. บทนิยาม ?องค์กรไม่แสวงหากำไร? หมายความว่า คณะบุคคลภาคเอกชนซึ่งรวมกลุ่มกันจัดตั้งในรูปแบบ ใด ๆ ที่มีบุคคลร่วมดำเนินงานเพื่อจัดทำกิจกรรมต่าง ๆ ในสังคม โดยไม่มุ่งแสวงหากำไรมาแบ่งปันกัน แต่ไม่รวมถึงการรวมกลุ่มของคณะบุคคลเพื่อดำเนินกิจกรรมเป็นการเฉพาะคราว หรือดำเนินกิจกรรมเฉพาะเพื่อประโยชน์ของคณะบุคคลนั้น หรือพรรคการเมือง 2. ผู้รักษาการ ตามกฎหมาย กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษา การตามพระราชบัญญัตินี้ 3. ขอบเขตการใช้บังคับ กำหนดให้องค์กรไม่แสวงหากำไรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายโดยเฉพาะ นอกจากต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะนั้นแล้ว ให้อยู่ในบังคับตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ด้วย 4. การส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร - กำหนดให้มี ?คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร? ซึ่งประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นประธานกรรมการ และให้อธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการเป็นกรรมการและเลขานุการ โดยคณะกรรมการฯ มีหน้าที่และอำนาจในการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร เช่น การกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงานการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไร การเสนอความเห็นและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรไม่แสวงหากำไรต่อคณะรัฐมนตรี ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรไม่แสวงหากำไร การสนับสนุนให้องค์กรไม่แสวงหากำไรทำหน้าที่ในด้าน ประชาสังคม เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร เป็นต้น - กำหนดเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ขององค์กรไม่แสวงหากำไร ได้แก่ (1) การสนับสนุนเงินทุน แก่องค์กรไม่แสวงหากำไรให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการฯ กำหนด โดย คณะกรรมการฯ จะทำหน้าที่ประสานงานด้านเงินทุนกับส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานของเอกชน หรือแหล่งเงินทุนอื่น และ (2) องค์กรไม่แสวงหากำไรและผู้สนับสนุนองค์กรไม่แสวงหา กำไรอาจได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประมวลรัษฎากรหรือกฎหมายอื่น 5. กลไกกำกับดูแลองค์กรไม่แสวงหากำไร - กำหนดให้องค์กรไม่แสวงหากำไรมีหน้าที่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับชื่อขององค์กร วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง วิธีดำเนินงาน แหล่งที่มาของเงินทุน และรายชื่อผู้รับผิดชอบดำเนินงาน ให้หน่วยงานของรัฐและบุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลนั้นโดยง่าย - กำหนดข้อห้ามสำหรับองค์กรไม่แสวงหากำไร โดยต้องไม่ดำเนินงานในลักษณะดังต่อไปนี้ (1) กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ รวมถึงความมั่นคงของรัฐด้านเศรษฐกิจหรือด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (2) กระทบต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคม (3) กระทบต่อประโยชน์สาธารณะรวมทั้งความปลอดภัยสาธารณะ (4) เป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมาย (5) เป็นการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือกระทบต่อความเป็นอยู่โดยปกติสุขของบุคคลอื่น - กำหนดให้องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ได้รับเงินอุดหนุนหรือเงินบริจาคจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศมีหน้าที่ดำเนินการ ดังนี้ (1) ต้องแจ้งชื่อแหล่งเงินทุนต่างประเทศ บัญชีธนาคารที่จะรับเงิน จำนวนเงินที่จะได้รับ และวัตถุประสงค์ของการนำเงินไปใช้จ่ายต่อนายทะเบียน (2) ต้องรับเงินผ่านบัญชีของธนาคารตามที่องค์กรไม่แสวงหากำไรแจ้งไว้ต่อนายทะเบียน (3) ต้องใช้เงินที่ได้รับจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศเฉพาะตามวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้ง ต่อนายทะเบียน (4) ต้องไม่ใช้เงินที่ได้รับจากแหล่งเงินทุนต่างประเทศเพื่อดำเนินกิจกรรมในลักษณะการแสวงหาอำนาจรัฐ หรือเอื้อประโยชน์ต่อพรรคการเมือง - กำหนดให้องค์กรไม่แสวงหากำไรที่มีรายได้จากการรับเงินบริจาคจากบุคคลทั่วไป หรือ จากแหล่งเงินทุนต่างประเทศมีหน้าที่จัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายในแต่ละรอบปีปฏิทิน และเปิดเผยบัญชีรายรับรายจ่ายนั้นให้บุคคลทั่วไปเข้าถึงข้อมูลนั้นโดยง่าย โดยต้องเก็บรักษาบัญชีรายรับรายจ่าย นั้นไว้ให้สามารถตรวจสอบได้เป็นเวลาสามปี 6. มาตรการบังคับและโทษ - กรณีที่องค์กรไม่แสวงหากำไรไม่ดำเนินการตามหน้าที่หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ ให้นายทะเบียนแจ้งเตือนให้องค์กรไม่แสวงหากำไรดำเนินการตามหน้าที่ หรือหยุดการดำเนินการที่ฝ่าฝืนข้อห้ามดังกล่าว หากองค์กรไม่แสวงหากำไรยังไม่ดำเนินการในระยะเวลาที่กำหนดหรือยังคงดำเนินการที่ฝ่าฝืนข้อห้ามต่อไป ให้นายทะเบียนมีอำนาจออกคำสั่งให้องค์กรไม่แสวงหากำไรนั้นหยุดการดำเนินกิจกรรม หรือยุติการดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรนั้นได้ แล้วแต่กรณี - กำหนดโทษปรับทางอาญาสำหรับกรณีที่องค์กรไม่แสวงหากำไรไม่หยุดการดำเนินกิจกรรม หรือไม่ยุติการดำเนินงานตามคำสั่งของนายทะเบียน และกำหนดให้ผู้รับผิดชอบดำเนินงานขององค์กรไม่แสวงหากำไรที่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ต้องรับโทษเช่นเดียวกับองค์กร ไม่แสวงหากำไรด้วย 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทน ในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และ อัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการ ต่อไปได้ และให้ รง. รับข้อเสนอแนะและความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ รง. เสนอว่า 1. โดยที่มาตรา 7 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง และมาตรา 77 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 บัญญัติให้หลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบกับมาตรา 118 แห่งพระราชกฤษฎีกาโอนกิจการบริหารและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 บัญญัติให้โอนอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในการดำเนินการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาเป็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน 2. ในคราวประชุมคณะกรรมการประกันสังคมและที่ปรึกษา (ชุดที่ 13) ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบในหลักการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งออกเงินสมทบ เข้ากองทุน ในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบในงวดเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 [กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 3563] โดยให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.45 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และในงวดเดือนกุมภาพันธ์ ? มีนาคม 2564 [กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564] โดยให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และให้ดำเนินการ ออกกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็น การเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 3. รง. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเป็นการเฉพาะในช่วงที่มีการลดอัตราเงินสมทบ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และคณะกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายของกระทรวงแรงงานได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 20/2564 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 และได้รับรองมติการประชุมแล้ว 4. รง. ได้ดำเนินการตามมาตรา 7 และมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 4.1 การปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบกรณีชราภาพ เพื่อการจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มให้ แก่ผู้ประกันตน แบ่งได้เป็น 2 ช่วงเวลา ดังนี้ 4.1.1 เงินสมทบงวดเดือนมกราคม 2564 เป็นการนำอัตราเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ (กองทุน 2 กรณี) ในส่วนของรัฐบาลที่เกินจากอัตราเดิมซึ่งกำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 1.45 ของค่าจ้างผู้ประกันตน โดยนำอัตราเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.45 ของค่าจ้างผู้ประกันตน มาสมทบเพิ่มในกองทุน 2 กรณี สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ผู้ประกันตนซึ่งเป็นลูกจ้างซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้าง) เดิมกำหนดอัตราเงินสมทบร้อยละ 3.7 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เพิ่มเป็นร้อยละ 4.15 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 (ผู้ประกันตนซึ่งเป็นบุคคลที่เคยทำงานอยู่ในบริษัทเอกชน ตามมาตรา 33 มาก่อนแล้วลาออก แต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ จึงสมัคร เข้าใช้สิทธิประกันสังคมแทน) เดิมจัดเก็บที่ร้อยละ 3.7 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เพิ่มเป็นร้อยละ 4.15 ของค่าจ้างผู้ประกันตน 4.1.2 เงินสมทบงวดเดือนกุมภาพันธ์ ? มีนาคม 2564 เป็นการนำอัตราเงินสมทบเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพ (กองทุน 2 กรณี) ในส่วนของรัฐบาลที่เกินจากอัตราเดิมซึ่งกำหนดไว้ในอัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เพิ่มเป็นอัตราร้อยละ 2.3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน โดยนำอัตราเงินสมทบที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน มาสมทบเพิ่มในกองทุน 2 กรณี สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เดิมกำหนดอัตราเงินสมทบร้อยละ 2.9 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เพิ่มเป็นร้อยละ 4.2 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 เดิมจัดเก็บที่ร้อยละ 0.4 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เพิ่มเป็นร้อยละ 1.7 ของค่าจ้างผู้ประกันตน 4.2 การปรับเพิ่มอัตราเงินสมทบกรณีชราภาพดังกล่าว มีผลทำให้ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น 347 บาทต่อคนต่อสามงวด สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น 146 บาทต่อคนต่อสามงวด โดยในภาพรวมผู้ประกันตนได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นรวมทั้งหมดเป็นจำนวน 1,906 ล้านบาท จำแนกเป็น ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นรวม 1,783 ล้านบาท และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้นรวม 123 ล้านบาท ทั้งนี้ ไม่ทำให้ค่าใช้จ่ายของกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้น จึงไม่มีผลกระทบต่อกองทุนประกันสังคม และเพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถนำเงินบำเหน็จชราภาพที่เพิ่มขึ้นไปใช้จ่ายเพื่อยังชีพในยามชรา อันเป็นการบรรเทาปัญหาทางการเงินของผู้ประกันตนได้บางส่วน สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป 2. กำหนดให้การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งออกเงินสมทบเข้ากองทุนในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบตั้งแต่วันที่ 1 - 31 มกราคม พ.ศ. 2564 ให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 0.45 ของค่าจ้าง 3. กำหนดให้การจ่ายเงินบำเหน็จชราภาพให้แก่ผู้ประกันตนซึ่งออกเงินสมทบเข้ากองทุนในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ? 31 มีนาคม พ.ศ. 2564 ให้คำนวณจากอัตราเงินสมทบเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 1.3 ของค่าจ้าง 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้สินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้สินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นสินค้าที่ต้องห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติ ที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ที่ พณ. เสนอ เป็นการปรับปรุงมาตรการห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ข้อเท็จจริง และพันธกรณีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง เช่น ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งจะช่วยให้การป้องกันและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ณ จุดผ่านแดน มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย พณ. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างประกาศดังกล่าวแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ 1. ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ รวม 3 ฉบับ ดังนี้ (1) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกและการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2530 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2530 (2) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกและการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 94) พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 21 เมษายน 2536 (3) ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกและการนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร (ฉบับที่ 95) พ.ศ. 2536 ลงวันที่ 21 เมษายน 2536 2. กำหนดให้สินค้าละเมิดเครื่องหมายการค้าและสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์เป็นสินค้าต้องห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า และห้ามนำผ่านราชอาณาจักร ยกเว้นกรณีของติดตัวในปริมาณที่ไม่มากเกินสมควร โดยไม่มีลักษณะในเชิงพาณิชย์ 3. กำหนดให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าหรือเจ้าของลิขสิทธิ์สามารถแจ้งข้อมูลเครื่องหมายการค้าหรือลิขสิทธิ์ต่อพนักงานศุลกากรตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนด เพื่อประโยชน์ใน การตรวจสอบสินค้าที่มีเหตุสงสัยว่าจะมีการละเมิดเครื่องหมายการค้าหรือการละเมิดลิขสิทธิ์ 4. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Payment) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Payment) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างประกาศตามที่ รง. เสนอ เป็นการกำหนดให้ขยายกำหนดเวลากรณีนายจ้างยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบโดยวิธีการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Payment) ออกไปอีก 7 วันทำการ นับแต่วันที่พ้นกำหนดวันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้ โดยมีผลใช้บังคับสำหรับค่าจ้างตั้งแต่เดือนที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไป เป็นระยะเวลา 24 เดือน เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและรองรับความสะดวกในการประกอบธุรกิจของนายจ้าง และเพื่อประโยชน์ของผู้ประกันตนให้ได้รับความคุ้มครอง ประกอบกับเพื่อบรรเทาและเยียวยาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการสนับสนุนให้นายจ้างทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบกับประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Payment) พ.ศ. 2562 จะสิ้นสุดระยะเวลาการขยายกำหนดเวลาการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ในงวดเดือนธันวาคม 2564 สาระสำคัญของร่างประกาศ ขยายกำหนดเวลากรณีนายจ้างยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบและการนำส่งเงินสมทบ โดยวิธีการนำส่งเงินสมทบผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e - Payment) ออกไปอีก 7 วันทำการนับแต่วันที่พ้นกำหนด วันที่ 15 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการหักเงินสมทบไว้ โดยมีผลใช้บังคับสำหรับค่าจ้างตั้งแต่เดือนที่ประกาศฉบับนี้ มีผลใช้บังคับเป็นต้นไปเป็นระยะเวลา 24 เดือน 5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ สธ. รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย สาระสำคัญของร่างประกาศ ร่างประกาศ รวม 2 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจาก ผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร และกำหนดอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร รายละเอียดดังนี้ 1. อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดตามร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุด ที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... 1.1 การพิจารณาคำขอ และการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสาร รายการ หน่วยนับ อัตราสูงสุด (บาท) 1. การพิจารณาคำขอและการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารคำขออนุญาตและแก้ไขรายการในใบอนุญาตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพร 1.1 คำขออนุญาตผลิต นำเข้า หรือขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร คำขอละ 700 1.2 คำขอย้ายสถานที่ผลิต นำเข้า ขาย หรือเก็บผลิตภัณฑ์สมุนไพร คำขอละ 700 1.3 คำขอแก้ไขรายการในใบอนุญาตผลิต นำเข้า หรือขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร คำขอละ 400 1.4 คำขอประเมินสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร (GMP) ในต่างประเทศ คำขอละ 1,300 1.5 คำขอการต่ออายุใบอนุญาตผลิต นำเข้า หรือขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร คำขอละ 700 2. การพิจารณาคำขอและการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารคำขออนุญาตและแก้ไขรายละเอียดการอนุญาตผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2.1 คำขอขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2.1.1 ยาจากสมุนไพร (1) ยาแผนไทย คำขอละ 700 (2) ยาตามองค์ความรู้การแพทย์ทางเลือก คำขอละ 1,000 (3) ยาพัฒนาจากสมุนไพร คำขอละ 1,300 2.1.2 ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร คำขอละ 5,000 2.2 คำขอขึ้นทะเบียนตำรับ/แจ้งรายละเอียด/จดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อการส่งออกเท่านั้น คำขอละ 700 2.3 คำขอแจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2.3.1 ยาจากสมุนไพร (1) ยาแผนไทย คำขอละ 400 (2) ยาตามองค์ความรู้การแพทย์ทางเลือก คำขอละ 700 (3) ยาพัฒนาจากสมุนไพร คำขอละ 800 2.3.2 ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร คำขอละ 3,000 2.4 คำขอจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร 2.4.1 ยาจากสมุนไพร (1) ยาแผนไทย คำขอละ 200 (2) ยาตามองค์ความรู้การแพทย์ทางเลือก คำขอละ 300 (3) ยาพัฒนาจากสมุนไพร คำขอละ 400 2.4.2 ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร คำขอละ 1,500 2.5 คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร คำขอละ 700 2.6 คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการใบรับแจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์สมุนไพร คำขอละ 400 2.7 คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการใบรับจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร คำขอละ 200 2.8 การพิจารณาคำขอและการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารคำขอ การต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับ ใบรับแจ้งรายละเอียด ใบรับจดแจ้ง (ถ้ามี) คำขอละ ไม่เกินอัตราตามประเภทใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับ ใบรับแจ้งรายละเอียด ใบรับจดแจ้งของคำขอนั้น ๆ 3. การพิจารณาคำขอและการตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารคำขออนุญาตและแก้ไขรายละเอียดการอนุญาตโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร 3.1 คำขออนุญาตโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร คำขอละ 400 3.2 คำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการใบอนุญาตโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร คำขอละ 400 4. การพิจารณาคำขอและตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารคำขออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาต คำขอละ 1,300 1.2 การประเมินเอกสารทางวิชาการ และการตรวจสถานประกอบการ รายการ หน่วยนับ อัตราสูงสุด (บาท) 1. การตรวจสถานประกอบการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดี 1.1 สถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร (Good Manufacturing Practice; GMP) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ครั้งละ 50,000 1.2 สถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรในต่างประเทศ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร (GMP) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง (1) การตรวจรับรองเอกสารที่กำหนด (Documentary Verification) ก. กรณี Certificate ของ GMP ออกให้แก่สถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ตั้งอยู่ในประเทศที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรซึ่งเป็นผู้ออก Certificate ดังกล่าวเป็นสมาชิก PIC/S หรือ ASEAN คำขอละ 6,300 ข. กรณี Certificate ของ GMP ออกโดยหน่วยงานกำกับดูแลด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เป็นสมาชิก PIC/S หรือ ASEAN ให้แก่สถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ตั้งอยู่ในประเทศที่หน่วยงานกำกับดูแลด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้นไม่เป็นสมาชิก PIC/S หรือ ASEAN คำขอละ 12,500 (2) การตรวจประเมินสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรในต่างประเทศ (GMP inspection at Overseas manufacturer(s)) กรณีที่ประเมินตาม 1.2 (1) ไม่ผ่าน หรือกรณี Certificate ของ GMP นอกเหนือจาก 1.2 (1) ก และ ข ก. การประเมินเอกสารระบบคุณภาพ (Quality system document evaluation/ Paper assessment) คำขอละ 187,500 ข. การตรวจประเมิน ณ สถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร (On-site GMP inspection) (ไม่รวมค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าที่พักห้องเดี่ยวมาตรฐาน ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะเดินทางในประเทศ ค่าพาหนะเดินทางในต่างประเทศ ค่าประกันการเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) สำหรับผู้ตรวจที่เกี่ยวข้อง โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของผู้ยื่นคำขอ) ครั้งละ 250,000 1.3 สถานที่ตามหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีอื่น ๆ ครั้งละ 150,000 2. การพิจารณาแบบแปลนแผนผังสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง 2.1 กรณีการพิจารณาแบบแปลนใหม่ หรือกรณีที่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงจากแบบแปลนเดิมที่เคยได้รับอนุมัติ คำขอละ 13,000 3. การประเมินเอกสารทางวิชาการคำขอขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร 3.1 ยาจากสมุนไพร (1) ยาแผนไทย คำขอละ 10,000 (2) ยาตามองค์ความรู้การแพทย์ทางเลือก คำขอละ 50,000 (3) ยาพัฒนาจากสมุนไพร คำขอละ 150,000 3.2 ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร คำขอละ 200,000 3.3 การประเมินเอกสารทางวิชาการเพื่อต่ออายุใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ถ้ามี) คำขอละ ไม่เกินอัตราตามประเภทใบสำคัญการขึ้นทะเบียนตำรับของคำขอ นั้น ๆ 4. การประเมินเอกสารทางวิชาการคำขอแจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์สมุนไพร 4.1 ยาจากสมุนไพร 4.1.1 ยาแผนไทย คำขอละ 6,000 4.1.2 ยาตามองค์ความรู้การแพทย์ทางเลือก คำขอละ 30,000 4.1.3 ยาพัฒนาจากสมุนไพร คำขอละ 60,000 4.2 ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร คำขอละ 90,000 4.3 การประเมินเอกสารทางวิชาการเพื่อต่ออายุใบรับแจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์สมุนไพร (ถ้ามี) คำขอละ ไม่เกินอัตราตามประเภทใบรับแจ้งรายละเอียดของคำขอนั้น ๆ 5. การประเมินเอกสารทางวิชาการคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในทะเบียนตำรับ/ใบแจ้งรายละเอียดผลิตภัณฑ์สมุนไพร 5.1 ยาจากสมุนไพร 5.1.1 ยาแผนไทย (1) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระดับหลัก คำขอละ 3,000 (2) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระดับรอง คำขอละ 2,000 5.1.2 ยาตามองค์ความรู้การแพทย์ทางเลือก (1) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระดับหลัก คำขอละ 10,000 (2) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระดับรอง คำขอละ 5,000 5.1.3 ยาพัฒนาจากสมุนไพร (1) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระดับหลัก คำขอละ 50,000 (2) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระดับรอง คำขอละ 10,000 5.2 ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร (1) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระดับหลัก คำขอละ 50,000 (2) การแก้ไขเปลี่ยนแปลงระดับรอง คำขอละ 10,000 6. การประเมินเอกสารวิชาการคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบรับจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร เฉพาะกรณีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระดับรอง คำขอละ 5,000 7. การประเมินเอกสารทางวิชาการคำขอโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร 7.1 การโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร กรณีส่งให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน คำขอละ 10,000 7.2 การโฆษณาผลิตภัณฑ์สมุนไพร กรณีไม่ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญประเมิน คำขอละ 2,000 8. การประเมินเอกสารทางวิชาการของคำขออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาต 8.1 การขออนุญาตผลิต หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อนำมาทำการศึกษาวิจัย คำขอละ 5,000 8.2 การขยายขอบข่าย การขออนุญาตผลิต หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อนำมาทำการศึกษาวิจัย คำขอละ 1,300 8.3 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการเกี่ยวกับการได้รับอนุญาตตามข้อ 8.1 คำขอละ 700 1.3 การพิจารณาหรือตรวจสอบใด ๆ นอกจาก 1.1 และ 1.2 รายการ หน่วยนับ อัตราสูงสุด (บาท) 1. การพิจารณาสนับสนุนและพัฒนาผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สมุนไพร 1.1 การตรวจสอบและสืบค้นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาต รายการละ 2,000 1.2 การพิจารณาวินิจฉัย การสอบถาม การตอบข้อหารือหรือให้บริการข้อมูล โดยตอบเป็นหนังสือ (1) การวินิจฉัยแยกประเภทผลิตภัณฑ์ คำขอละ 7,000 (2) การตอบข้อหารือเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตำรับผลิตภัณฑ์สมุนไพร คำขอละ 1,300 (3) การสอบถาม การตอบข้อหารือหรือให้บริการข้อมูลนอกจากข้อ 1.2 (1) ถึง (2) คำขอละ 2,600 2. การพิจารณาและจัดทำเอกสารฉบับภาษาอังกฤษ 2.1 การพิจารณาจัดทำรายงานการตรวจประเมิน GMP ฉบับภาษาอังกฤษ (กรณีตรวจโรงงานในต่างประเทศ) หน้าละ 1,300 2.2 การพิจารณาความถูกต้องจากการแปลรายงานการตรวจประเมิน GMP จากฉบับภาษาไทยเป็นฉบับภาษาอังกฤษ (กรณีตรวจโรงงานในประเทศ) หน้าละ 1,900 2.3 การพิจารณาความถูกต้องและแปลเอกสารอื่น ๆ หน้าละ 1,900 2. อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดตามร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือ การตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. .... รายการ อัตราสูงสุด (บาท) ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรหรือหน่วยงานผู้เชี่ยวชาญ 1. ค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ 1.1 การพิจารณาคำขอขึ้นบัญชี หรือคำขออื่นที่เกี่ยวข้อง 1,300 2,600 1.2 การตรวจประเมินสมรรถนะของผู้เชี่ยวชาญ และ/หรือระบบขององค์กร 4,400 48,000 1.3 การขึ้นบัญชี 2,300 4,400 2. ค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบ 2.1 การพิจารณาคำขอขึ้นบัญชี หรือคำขออื่นที่เกี่ยวข้อง 1,300 2,600 2.2 การตรวจประเมินสมรรถนะของผู้เชี่ยวชาญ และ/หรือระบบขององค์กรจากเอกสารที่ผู้ยื่นคำขอส่งมาให้ประเมิน 1,300 6,400 2.3 การตรวจสมรรถนะของผู้เชี่ยวชาญ และ/หรือระบบขององค์กร โดยการตรวจประเมินการปฏิบัติงานจริงของผู้เชี่ยวชาญและองค์กรผู้เชี่ยวชาญ 3,100 41,600 2.4 การขึ้นบัญชี 2,300 4,400 6. เรื่อง การออกกฎกระทรวงเพื่อยกเลิกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และกฎกระทรวงเพื่อรองรับการควบกิจการของผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทซึ่งเกิดจากการควบบริษัทหลักทรัพย์ พ.ศ. .... ของกระทรวงการคลัง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการอนุญาตการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทศซึ่งเกิดจากการควบบริษัทหลักทรัพย์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว โดยได้ตัดกรณีการควบเข้ากันระหว่างบริษัทหลักทรัพย์กับผู้ประกอบธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าออก เนื่องจากกำหนดเกินบทอาศัยอำนาจในการออกกฎกระทรวงนี้ และตัดกรณีการกำหนดให้บริษัทหลักทรัพย์ ที่ประสงค์จะควบเข้ากันต้องยื่นคำขอรับความเห็นชอบการควบเข้ากันจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ก่อน เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติ ตามมาตรา 90 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ยกเลิกกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ สำหรับบริษัท ซึ่งเกิดจากการควบบริษัทเข้ากันหรือเข้าซื้อกิจการระหว่างกัน โดยยกเลิกกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับ ได้แก่ 1) กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2541) ฯ 2) กฎกระทรวง ฉบับที่ 22 (พ.ศ. 2545) ฯ และ 3) กฎกระทรวง ฉบับที่ 24 (พ.ศ. 2550) ฯ 2. กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ และค่าธรรมเนียมในการขอรับใบอนุญาต และการออกใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์สำหรับบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งเกิดจากการควบเข้ากันเป็นบริษัทใหม่ โดยใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่บริษัทจดทะเบียนควบเข้ากันเป็นบริษัทใหม่ มีผลสมบูรณ์ เศรษฐกิจ ? สังคม 7. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 2,125.56 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย (จำนวน 17 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางฯ) วงเงิน 2,125.56 ล้านบาท ประกอบด้วย กรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 1,649.12 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) จำนวน 476.44 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย (จำนวน 17 จังหวัด) และให้ คค. (ทล. และ ทช.) รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง 1. งานบูรณะทางหลวงแผ่นดินและโครงสร้างพื้นฐานของ ทล. ภายใต้งบกลางฯ ที่เสนอในครั้งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ 15 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 3 จังหวัด (เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 จังหวัด (ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา กาฬสินธุ์) ภาคกลาง 6 จังหวัด (กำแพงเพชร นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบูรณ์ ลพบุรี สุโขทัย) และภาคตะวันตก 2 จังหวัด (กาญจนบุรี ตาก) มีขอบเขตงานซ่อมแซม/บูรณะ อาทิ งานก่อสร้างและซ่อมสะพาน งานแก้ไขและป้องกันดินสไลด์ งานฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำ รวม 69 รายการ วงเงิน 1,649.12 ล้านบาท 2. งานบูรณะทางหลวงชนบทและโครงสร้างพื้นฐานของ ทช. ภายใต้งบกลางฯ ที่เสนอในครั้งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 2 จังหวัด (เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 จังหวัด (ชัยภูมิ) ภาคกลาง 3 จังหวัด (นครสวรรค์ กำแพงเพชร สุโขทัย) และ ภาคใต้ 1 จังหวัด (ระนอง) มีขอบเขตงานซ่อมแซม/บูรณะ อาทิ งานซ่อมพื้นฟูสภาพทาง งานซ่อมฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพระบบระบายน้ำ งานป้องกันการกัดเซาะโครงสร้างทาง รวม 31 รายการ วงเงิน 476.44 ล้านบาท อนึ่ง คค. รายงานว่า ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - 12 ตุลาคม 2564 ได้เกิดอุทกภัยจากมรสุมที่พาดผ่านทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยมีพายุไซโคลนยาอาส พายุโซนร้อน (โคะงุมะ เจิมปากา โกเซิน เตี้ยนหมู่ ไลออนร็อก) ทำให้ทางหลวงแผ่นดินและทางหลวงชนบทได้รับความเสียหายสร้างความเดือดร้อนต่อประชาชนผู้ใช้เส้นทาง ส่งผลกระทบต่อการคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ ซึ่ง ทล. และ ทช. ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยและซ่อมแซมเส้นทางเพื่อให้การจราจรผ่านได้ในระยะเร่งด่วนแล้ว โดยมีความเสียหายทั้งสิ้น 663 รายการ ครอบคลุมพื้นที่ 31 จังหวัด วงเงินรวม 7,987.83 ล้านบาท 8. เรื่อง ขอผ่อนผันการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ และขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี ในการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย และโครงการร้อยใจรักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงกลาโหมได้รับการผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2532 (เรื่อง ขอผ่อนผันใช้พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ เพื่อก่อสร้างทางเพื่อความมั่นคง) และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2538 [เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เรื่อง การกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคตะวันตก ภาคกลาง และลุ่มน้ำป่าสัก และการกำหนดชั้นคุณภาพลุ่มน้ำภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนอื่น ๆ (ลุ่มน้ำชายแดน)] ในการขอใช้ประโยชน์ (พื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ) ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบของกองทัพบก (ทบ.) เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาดอยตุง จังหวัดเชียงราย (โครงการพัฒนาดอยตุงฯ) จำนวน 3 แปลง พื้นที่รวม 91,779 ไร่ 2 งาน 48 ตารางวา และโครงการร้อยใจรักษ์ จังหวัดเชียงใหม่ (โครงการร้อยใจรักษ์ฯ) เนื้อที่ 37,119 ไร่ และให้รับความเห็นของหน่วยงานไปพิจารณาดำเนินการ สำหรับการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ให้กระทรวงกลาโหม (กองทัพบก) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปหารือร่วมกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ชัดเจนแล้วดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามกฎหมายฯ สาระสำคัญ 1. โครงการพัฒนาดอยตุงฯ มีพื้นที่โครงการอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง (ตำบลแม่ฟ้าหลวง) และอำเภอแม่สาย (ตำบลโป่งผา ตำบลโป่งงาม และตำบลเวียงพางคำ) จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นพื้นที่ในเขตพื้นที่ป่าและ ป่าสงวนแห่งชาติ จำนวน 3 แปลง พื้นที่รวม 91,779 ไร่ 2 งาน 48 ตารางวา โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ อยู่ในพื้นที่ดังกล่าว เนื้อที่จำนวน 39,292 ไร่ ได้แก่ เขตป่า โครงการพัฒนาดอยตุงฯ เขตป่าสงวนแห่งชาติ (1) เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าดอยนางนอนในท้องที่ตำบลห้วยไคร้ ตำบลโป่งผา ตำบลโป่งงาม และตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย เนื้อที่ 24,382 ไร่ 19 ตารางวา โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ จำนวน 9,255 ไร่ (2) เขตป่าสงวนแห่งชาติป่าน้ำแม่คำ ป่าน้ำแม่สลอง และป่าน้ำแม่จันฝั่งซ้ายในท้องที่ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย เนื้อที่ 42,408 ไร่ โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ จำนวน 24,631 ไร่ เขตป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษา ไว้เป็นสมบัติของชาติ (3) เขตป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติและพื้นที่ป่าตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 ในท้องที่ตำบลแม่ฟ้าหลวง อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย รวมเนื้อที่ 24,989 ไร่ 2 งาน 29 ตารางวา โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ จำนวน 5,406 ไร่ 2. โครงการร้อยใจรักษ์ฯ มีพื้นที่โครงการตั้งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ ห้วยเมืองงาม ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ (ครอบคลุม 4 หมู่บ้านหลัก ได้แก่ บ้านเมืองงามเหนือ บ้านห้วยส้าน บ้านหัวเมืองงาม และบ้านเมืองงามใต้) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 37,119 ไร่ ซึ่งมีพื้นที่ที่ต้องขออนุญาตในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำแม่ฝางในท้องที่ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพื้นที่ลุ่มน้ำชั้นที่ 1 เอ จำนวน 13,188 ไร่ 9. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 1 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) เสนอดังนี้ 1. ข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้ 1.1 การปรับปรุงแผนการก่อหนี้ใหม่ ที่ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 20,700 ล้านบาทจากเดิม 1,344,783.84 ล้านบาท เป็น 1,365,483.84 ล้านบาท การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้เดิม ที่ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 31,588.34 ล้านบาท จากเดิม 1,505,369.64 ล้านบาท เป็น 1,536,957.98 ล้านบาท และแผนการชำระหนี้ ที่ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 22,941.85 ล้านบาท จากเดิม 339,291.87 ล้านบาท เป็น 362,233.72 ล้านบาท รวมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานที่บรรจุกรอบวงเงินกู้ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ 2565 ปรับปรุง ครั้งที่ 1 เร่งรัดการดำเนินการตามแผนดังกล่าวด้วย 1.2 การบรรจุโครงการพัฒนา โครงการ และรายการเพิ่มเติมในการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 1 จำนวน 8 โครงการ/รายการ 1.3 ให้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 แห่ง คือ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่มีสัดส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการ (Debt Service Coverage Ratio : DSCR) ต่ำกว่า 1 สามารถกู้เงินและบริหารหนี้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 ปรับปรุงครั้งที่ 1 โดยให้รัฐวิสาหกิจดังกล่าวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการด้วย 2. การกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อ การกู้เงินเพื่อ ปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 มาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ.2545 และมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินโควิด 19 ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) รวมทั้งขออนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 ปรับปรุงครั้งที่ 1 และให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกันและ การบริหารความเสี่ยงในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ หากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เองก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) ในการประชุม ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 มีมติเห็นชอบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 1 จากการปรับปรุงแผนฯ ส่งผลให้วงเงินการปรับปรุงแผนการก่อหนี้ใหม่ ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 20,700 ล้านบาท การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้เดิมปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 31,588.34 ล้านบาท และแผนการชำระหนี้ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 22,941.85 ล้านบาท โดยมีสาระสำคัญของการปรับปรุงแผนฯ ในครั้งนี้ เช่น (1) การกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 20,000 ล้านบาท เพื่อให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและไม่กระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชน (2) การปรับเพิ่มวงเงินปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้รัฐบาลที่ครบกำหนดในปีงบประมาณ 2566 - 2569 ซึ่งเป็นหนี้เงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (Promissory Note Covid : PN Covid) โดยการออกพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 60,000 ล้านบาท และ (3) การกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาและเพื่อดำเนินโครงการหรือเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการทั่วไปของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เช่น บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ดำเนินโครงการก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ของกรมสรรพสามิต สำนักงานธนานุเคราะห์ปรับเพิ่มเงินกู้ระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องในรูปแบบ Credit Line เป็นต้น รวมทั้งในครั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้ขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการพัฒนา โครงการ และรายการที่จะขอบรรจุเพิ่มเติมและต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี จำนวน 8 โครงการหรือรายการ โดยการปรับปรุงแผนฯ ในครั้งนี้ ได้จัดทำขึ้นภายใต้กรอบกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงการคลังคาดการณ์ว่าระดับประมาณการหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภายหลังการปรับปรุงแผนฯ ในครั้งนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 62.16 (กรอบไม่เกินร้อยละ 70) 10. เรื่อง การขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 เรื่อง ขออนุมัติดำเนินการก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ไม้มีค่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 ในการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบการเสนอขอตั้งงบประมาณการดำเนินโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์องค์ความรู้เรื่องไม้มีค่า เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และหอประชุมอเนกประสงค์นานาชาติเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามที่สำนักงาน ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ ดังนี้ 1. มอบหมายให้กองทัพบก (ทบ.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการจัดสร้างหอประชุมอเนกประสงค์ฯ ในส่วนที่ ทบ. ได้มีการก่อหนี้ผูกพันไว้แล้ว และส่วนคงเหลืองบประมาณที่ต้องเสนอขอตามภาระหนี้ผูกพันและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป ทั้งนี้ รวมถึงงบประมาณในการบริหารจัดการและบำรุงรักษารายปีภายหลังจากที่โครงการแล้วเสร็จด้วย 2. มอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอตั้งงบประมาณโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป จนกว่าจะแล้วเสร็จ รวมทั้งงบประมาณในการบริหารจัดการและบำรุงรักษารายปีต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง สปน. รายงานว่า 1. ผลการดำเนินโครงการฯ ณ วันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 1.1 โครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ สืบเนื่องจากการย้ายสถานที่พื้นที่ก่อสร้างโครงการฯ จากพื้นที่การก่อสร้างเดิม ณ บริเวณหอประชุม ทบ. เขตดุสิต กทม. เนื้อที่ 19 ไร่ (สำหรับก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ จำนวน 8 ไร่ และก่อสร้างอาคารหอประชุม ทบ. จำนวน 11 ไร่) ไปยังที่ดินพระราชทานจากพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ณ เขตวังทองหลาง กทม. เนื้อที่ 79 ไร่ 2 งาน 60.9 ตารางวา (สำหรับก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ จำนวน 36 ไร่ และก่อสร้างอาคารหอประชุมอเนกประสงค์ฯ จำนวน 40 ไร่) ทำให้ต้องมีการพิจารณาปรับปรุงการออกแบบพิพิธภัณฑ์ฯ และงบประมาณในการก่อสร้างใหม่ ดังนั้น คณะกรรมการฝ่ายโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ (ปลัด ทส. เป็นประธาน) ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2564 มีมติรับทราบแบบรายละเอียดและประมาณราคาค่าก่อสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ และได้มอบหมายให้กรมยุทธโยธาทหารบก กรมศิลปากร ทส. สปน. และ สงป. ร่วมกันหารือจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับงบประมาณให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และเสนอคณะรัฐมนตรีให้แล้วเสร็จก่อนการจัดตั้งคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวได้ประชุมหารือเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564 โดยร่วมกันปรับรายละเอียดแผนการดำเนินงาน และกรอบวงเงินงบประมาณโครงการฯ เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดเตรียมเอกสารเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา 1.2 โครงการหอประชุมอเนกประสงค์ฯ มีผลความคืบหน้าร้อยละ 60.42 ซึ่งช้ากว่าแผนงานหลักร้อยละ 5.79 เนื่องจากผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้แก่ 1) งานโครงสร้าง งานสถาปัตยกรรม และงานครุภัณฑ์ ร้อยละ 55.21 2) งานระบบสาธารณูปโภคภายใน ร้อยละ 19.02 และ 3) งานระบบสาธารณูปโภคภายนอกร้อยละ 11.09 ซึ่งคาดว่า จะแล้วเสร็จในปี 2566 เพื่อใช้เป็นอาคารในการประชุมผู้นำเศรษฐกิจเอเปค และให้ ทบ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอตั้งงบประมาณในการบริหารจัดการและบำรุงรักษารายปีต่อไป 2. คณะกรรมการฝ่ายประสานงานบูรณาการโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ และหอประชุมอเนกประสงค์ฯ (ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) ในการประชุมครั้งที่ 2/2564เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การบริหารจัดการงบประมาณโครงการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานและการบริหารทรัพย์สิน หลังจากดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ ซึ่งได้แก่อาคารตามโครงการดังกล่าวเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้มีมติเห็นชอบให้เสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 ในการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบการเสนอขอตั้งงบประมาณการดำเนินโครงการฯ ทั้งนี้ คณะกรรมการฝ่ายโครงการจัดสร้างพิพิธภัณฑ์ฯ ได้มีการประชุมฯ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ได้รับทราบการเสนอขอทบทวนดังกล่าวแล้ว และไม่ขัดข้อง 11. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้ 1. ทบทวนมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้ 1.1 การปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำออมสินช่วยเหลือ SMEs ในภาคการท่องเที่ยว (โครงการ Soft Loan ออมสินฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย) มติคณะรัฐมนตรี ที่จะขอทบทวน การดำเนินการ ตามมติคณะรัฐมนตรีเดิม กค. เสนอขอทบทวนในครั้งนี้ วันที่ 18 สิงหาคม 2563 และวันที่ 29 มิถุนายน 2564 1) ธนาคารออมสิน (ธ.ออมสิน) ปล่อยสินเชื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(Small and Medium Enterprises : SMEs) รายย่อยในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และ Supply Chain (เช่น ร้านอาหาร ธุรกิจสปา นวดแผนไทย รถรับจ้างนำเที่ยว เกสต์เฮ้าส์) 2) กำหนดระยะเวลารับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2564 1) ขยายกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ ให้ครอบคลุมถึงธุรกิจอื่นที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) (โรคโควิด 19) เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs เป็นไปอย่างทั่วถึงและครอบคลุมมากยิ่งขึ้น (เช่น ผู้ผลิตรายย่อย ผู้ค้าส่ง ผู้ค้าปลีก เป็นต้น) 2) ขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 1.2 การขยายระยะเวลามาตรการสินเชื่อสู้ภัย COVID - 19 วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 กำหนดระยะเวลารับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ขยายระยะเวลารับคำขอสินเชื่อออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 หมายเหตุ : การปรับปรุงหลักเกณฑ์และการขยายระยะเวลาของโครงการ/มาตรการดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณชดเชยเดิม รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ ยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้เคยให้ความเห็นชอบไว้ 2. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง กค. รายงานว่า 1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบโครงการ Soft Loan ออมสินฟื้นฟูท่องเที่ยวไทยและมาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด 19 (มติคณะรัฐมนตรี 24 มีนาคม 2563 18 สิงหาคม 2563 3 พฤศจิกายน 2563 และ 29 มิถุนายน 2564) กค. ได้ดำเนินโครงการและมาตรการดังกล่าว มีผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2564 ดังนี้ โครงการ/มาตรการ ผลการดำเนินโครงการ/มาตรการ โครงการ Soft Loan ออมสินฟื้นฟูท่องเที่ยวไทย ธ.ออมสินได้อนุมัติสินเชื่อตามโครงการฯ ไปแล้วจำนวน 4,137 รายจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,746 ล้านบาท และยังมีวงเงินคงเหลืออีกจำนวน 3,254 ล้านบาท (วงเงินรวม 5,000 ล้านบาท) มาตรการสินเชื่อสู้ภัยโควิด 19 - ธ.ออมสินได้อนุมัติสินเชื่อตามมาตรการฯ ไปแล้วจำนวน 820,380 ราย จำนวนเงินทั้งสิ้น 8,204 ล้านบาท และยังมีวงเงินคงเหลืออีกจำนวน 1,796 ล้านบาท (วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท) - ธ.ก.ส. ได้อนุมัติสินเชื่อตามมาตรการฯ ไปแล้วจำนวน 28,911 ราย จำนวนเงินทั้งสิ้น 288 ล้านบาท และยังมีวงเงินคงเหลืออีกจำนวน 9,712 ล้านบาท (วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท) 2. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่เริ่มคลี่คลายและนำไปสู่การผ่อนคลายมาตรการควบคุมในเขตพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ส่งผลให้เริ่มมีการเปิดสถานที่และการให้บริการของสถานบริการ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เริ่มกลับมาดำเนินได้ตามปกติ รวมไปถึงการเริ่มเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี ยังมีประชาชนและผู้ประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs และผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้มีรายได้ลดลงและประสบปัญหาทางด้านการเงิน ส่งผลให้ขาดเงินทุนสำหรับการเริ่มกลับมาประกอบอาชีพหรือเสริมสภาพคล่องสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อไป ดังนั้น เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนให้มีเงินทุนเพียงพอที่จะนำไปใช้เพื่อการประกอบอาชีพหรือการดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง กค. จึงขอเสนอการทบทวน มติคณะรัฐมนตรีเพื่อช่วยเหลือและฟื้นฟูผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด 19 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs และประชาชนให้สามารถประกอบอาชีพและดำเนินธุรกิจต่อไปได้ เป็นการป้องกันความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น 12. เรื่อง การดำเนินโครงการจัดสร้างสวนป่า ?เบญจกิติ? ระยะที่ 2-3 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ความคืบหน้าการดำเนินโครงการจัดสร้างสวนป่า ?เบญจกิติ? ระยะที่ 2-3 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (29 กันยายน 2563) รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการจัดสร้างสวนป่า ?เบญจกิติ? ระยะที่ 1 เนื้อที่ 61 ไร่ ได้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559 และระยะที่ 2-3 ได้แบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 จะก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2564 เพื่อให้มีช่วงเวลาสำหรับจัดเตรียมงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวันที่ 12 สิงหาคม 2564 และระยะที่ 2 ดำเนินการในส่วนงานสวนที่เหลือ งานปรับปรุงอาคารเดิมให้เป็นอาคารกีฬาและอาคารพิพิธภัณฑ์ กำหนดแล้วเสร็จเดือนกุมภาพันธ์ 2565 2. กค. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างสวนป่า ?เบญจกิติ? (คณะกรรมการฯ) ได้ขอความร่วมมือจากกองทัพบก (ทบ.) ให้เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างสวนป่า ?เบญจกิติ? ระยะที่ 2-3 ในวงเงิน 652,537,000 บาท เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง จึงปรับแผนงานก่อสร้างและกรอบระยะเวลาแล้วเสร็จของพื้นที่ก่อสร้างที่ 1 และ 2 ดังนี้ พื้นที่ก่อสร้าง/(เนื้อที่) กรอบระยะเวลาดำเนินการ (เดิม) กรอบระยะเวลาดำเนินการ (ใหม่) 1 (160-1-76 ไร่) ระยะเวลาก่อสร้าง 240 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563-28 มิถุนายน 2564 โดยแบ่งการส่งมอบงานเป็น 9 งวด ปัจจุบัน ทบ. ส่งมอบงานถึงงวดที่ 8 ขอขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไป 94 วัน เป็นแล้วเสร็จวันที่ 30 กันยายน 2564 2 (103-1-6.5 ไร่) ระยะเวลาก่อสร้าง 480 วัน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563-23 กุมภาพันธ์ 2565 โดยแบ่งการส่งมอบงานเป็น 13 งวด ปัจจุบัน ทบ. ได้มีหนังสือแจ้งส่งมอบงาน งวดที่ 4 และ 5 ให้กรมธนารักษ์แล้ว ขอขยายระยะเวลาก่อสร้างออกไป 66 วัน เป็นแล้วเสร็จวันที่ 30 เมษายน 2565 3. คณะกรรมการฯ มีมติเมื่อวันที่ 23 กันยายน 2564 ดังนี้ 3.1 เห็นชอบการปรับแผนงานการก่อสร้างฯ โดย ทบ. จะก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ ภายในวันที่ 30 เมษายน 2565 และจะมีพิธีเปิดโครงการฯ เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวันที่ 12 สิงหาคม 2565 3.2 เห็นชอบงบประมาณสนับสนุนเพิ่มเติมเพื่อใช้ในงานก่อสร้างฯ จำนวน 19,204,101.64 บาท 3.3 เมื่อกรมธนารักษ์ได้รับมอบพื้นที่ก่อสร้างที่ 1 เนื้อที่ประมาณ 160-1-76 ไร่ จาก ทบ. แล้ว ให้ส่งมอบพื้นที่ให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้ดูแลบำรุงรักษาและบริหารจัดการต่อไป 3.4 เห็นชอบให้ก่อสร้างทางสัญจรและปรับปรุงภูมิทัศน์ทางเข้าฝั่งถนนดวงพิทักษ์- ถนนสุขุมวิท ซอย 4 จำนวน 4,341,316.20 บาท โดยให้ ทบ. เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง 4. ความคืบหน้าการก่อสร้างฯ ณ วันที่ 24 ตุลาคม 2564 สรุปได้ ดังนี้ (หน่วย : ร้อยละ) พื้นที่ก่อสร้าง แผนงาน ผลการดำเนินงาน หมายเหตุ 1 100 99.70 ปัจจุบันคงเหลือการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพื่อให้รับบไฟฟ้าและแสงสว่างในพื้นที่ใช้งานได้สมบูรณ์ 2 54.88 50.18 ล่าช้ากว่าแผนร้อยละ 4.70 สรุปภาพรวมผลการดำเนินงาน 67.21 63.71 ล่าช้ากว่าแผนร้อยละ 3.50 13. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ประจำเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2564 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (23 มกราคม 2561) ที่ให้ สปน. รายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานให้คณะรัฐมนตรีทราบ] โดยมีส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการที่สำคัญของคณะกรรมการผู้ประสานงานโครงการจิตอาสาพระราชทาน สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ส่วนราชการ ผลการดำเนินการ 1. กระทรวงมหาดไทย (มท.) - ผลการลงทะเบียนจิตอาสาพระราชทานมีประชาชนที่ลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 จำนวน 6,876,011 คน แบ่งเป็น ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 456,895 คน และในส่วนภูมิภาค จำนวน 6,419,116 คน (เพศชาย 3,076,073 คน และเพศหญิง 3,799,938 คน) - จัดกิจกรรมจิตอาสาในส่วนภูมิภาค เช่น กิจกรรมจิตอาสาพัฒนา 73,544 ครั้ง กิจกรรมจิตอาสาภัยพิบัติ 2,285 ครั้ง และการบรรยายขยายผลให้ความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย 1,067 ครั้ง - จัดฝึกอบรมชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติประจำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยจัดตั้งชุดปฏิบัติการจิตอาสาภัยพิบัติฯ ครบทุกแห่งแล้ว จำนวน 7,550 แห่ง และ มีผู้ผ่านการฝึกอบรมฯ จำนวน 268,519 คน - จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาเพื่อสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในโอกาสวันสำคัญของชาติไทย เช่น 28 กรกฎาคม 2564 วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จ พระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และ 12 สิงหาคม 2564 วันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยมีการจัดกิจกรรมพัฒนาปรับปรุงภูมิทัน์ และจัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม - ปรับปรุงคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการและขับเคลื่อนงานจิตอาสา มท. ให้สอดคล้องกับองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของอนุกรรมการขับเคลื่อนจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความสุขของประชาชน ระดับกระทรวง และแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการฯ ระดับกรม/รัฐวิสาหกิจ 2. กระทรวงการคลัง - จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความสุขของประชาชนทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยมอบเงินช่วยเหลือ หน้ากากอนามัย เจลล้างมือแอลกอฮอล์ ถุงยังชีพ น้ำดื่ม อาหารกล่อง และสิ่งของอุปโภคบริโภคจำนวน 138 ครั้ง - จัดกิจกรรมจิตอาสาโดยผู้บริหารและจิตอาสาไอแบงค์ ร่วมบริจาคโลหิตให้กับสภากาชาดไทยฝ่าวิกฤติโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โลหิตขาดแคลน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (28 กรกฎาคม 2564) ณ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ - จัดกิจกรรมสร้างงานสร้างอาชีพภายใต้แผนพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อความสุขของชุมชนสำคัญ ณ ชุมชนวัดทุ่งครุ วิสาหกิจชุมชนดารุ้ลอิบาดะห์ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร 3. กระทรวงพาณิชย์ - จัดกิจกรรมขับเคลื่อนจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิตเพื่อความสุขของประชาชน โดยมอบอาหาร ผลไม้ และสิ่งของอุปโภคบริโภคให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 - จัดกิจกรรมมอบสิ่งของจำเป็นภายใต้โครงการ ?DNT ร่วมใจ สู้ภัย โควิด? โดยส่งมอบสิ่งของบริโภคให้แก่บุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ณ โรงพยาบาลบุษราคัม - จัดกิจกรรมพาณิชย์ร่วมใจ ห่วงใยสิ่งแวดล้อม บริจาคสิ่งของใช้แล้ว โดยมอบกล่องเครื่องดื่มยูเอชทีให้กับมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยากให้กับบริษัท บิ๊กชี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ จำกัด สาขารัตนาธิเบศร์ เพื่อนำไปรีไซเคิลเป็นแผ่นหลังคา และมอบขวดพลาสติกใส ประเภท PETให้วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อนำไปรีไซเคิล ทอเป็นผ้าบังสุกุลจีวรและไตรจีวร 4. กระทรวงกลาโหม - จัดกิจกรรมจิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจและวิทยากร จิตอาสา 904 จำนวน 232 ครั้ง 5. สปน. - ติดตามความก้าวหน้าโครงการจิตอาสาพระราชทานที่สำคัญ เช่น (1) โครงการ ?โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง? (กรมราชทัณฑ์) (2) จัดกิจกรรมช่วยเหลือประชาชนและมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (3) จัดตั้งศูนย์ พักคอยและสถานที่กักตัวในชุมชนและการเร่งตรวจเชิงรุกให้แก่ประชาชน (4) โครงการอนุรักษ์และพัฒนากระบือไทย (5) การเตรียมการวางแผนปลูกสมุนไพรฟ้าทะลายโจร เพื่อนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยา เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ และ (6) โครงการโดรนจิตอาสาพระราชทาน (ภาคประชาชน) 14. เรื่อง รายงานประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 ? 2565) (ระยะครึ่งรอบ) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ รายงานประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2565) (ระยะครึ่งรอบ) [คณะรัฐมนตรีมีมติ (29 ตุลาคม 2562) เห็นชอบและประกาศใช้แผนปฏิบัติการฯ] ซึ่งแผนปฏิบัติการฯ กำหนดให้ ยธ. (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) จะต้องดำเนินการรวบรวมข้อมูลผลการดำเนินงานมาจัดทำเป็นรายงานประเมินผลฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรี โดยแผนปฏิบัติการฯ เป็นการผสมผสานระหว่างมาตรการบังคับสำหรับหน่วยงานภาครัฐ และมาตรการสมัครใจสำหรับรัฐวิสาหกิจและภาคธุรกิจ ซึ่ง ยธ. ได้มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2563-14 พฤษภาคม 2564 โดยในภาพรวมมีหน่วยงานกรอกผลการดำเนินงานร้อยละ 100 มีการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ 130 กิจกรรม จากทั้งหมด 142 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 91.55 และ มีกิจกรรมที่ยังไม่ได้ดำเนินการ 12 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 8.45 ทั้งนี้ คณะกรรมการขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยได้เห็นชอบรายงานประเมินผลฯ แล้ว เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการดำเนินงานที่โดดเด่น ด้าน สรุปสาระสำคัญ 1.1 แผนปฏิบัติการด้านแรงงาน - กำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการจ้างงานกลุ่มเปราะบาง เช่น มาตรการลดหย่อนภาษีให้ภาคธุรกิจที่จ้างงานผู้พ้นโทษ - ให้ความช่วยเหลือแรงงานและสถานประกอบการในช่วงสถานการณ์การ แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 - ประกาศนโยบายและเจตนารมณ์ส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ และส่งเสริมการขจัดการเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน 1.2 แผนปฏิบัติการด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม - กำหนดให้บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในรูปแบบรายงานเดียว (One Report) - กำหนดให้สินค้าและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นสินค้า/ผลิตภัณฑ์ที่ควรได้รับการส่งเสริมในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ - จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทในระดับพื้นที่ทั่วประเทศ 1.3 แผนปฏิบัติการด้าน นักปกป้องสิทธิมนุษยชน - ยกร่างพระราชบัญญัติมาตรการป้องกันการฟ้องคดีปิดปากในความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่และประพฤติมิชอบ พ.ศ.... - เสนอแก้ไขร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อขยายขอบเขตบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติฯ - มีช่องทางร้องเรียนหลากหลายและมีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสและผู้ให้ข้อมูล 1.4 แผนปฏิบัติการด้าน การลงทุนระหว่างประเทศและบรรษัทข้ามชาติ - เพิ่มเงื่อนไขในการตรวจประเมินสิทธิมนุษยชนก่อนการให้เงินกู้ สำหรับดำเนินโครงการในประเทศเพื่อนบ้าน - ลงนามและดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกำหนดแนวทางการดำเนินกิจการธนาคารอย่างยั่งยืนในด้านการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมให้ธนาคารพาณิชย์ยึดถือหลักการเงินที่มีความรับผิดชอบ และส่งเสริมหลักการสิ่งแวดล้อม-สังคม-ธรรมาภิบาล เพื่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน - จัดทำรูปแบบสัญญามาตรฐานที่เพิ่มประเด็นสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเด็นที่จะต้องพิจารณาเมื่อมีการเจรจาการค้าหรือการลงทุน 2. การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ของรัฐวิสาหกิจและภาคธุรกิจ ซึ่งเป็นมาตรการสมัครใจ โดยมีรัฐวิสาหกิจและภาคธุรกิจร่วมให้ข้อมูลและกรอกผลการดำเนินงานในระบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ เช่น มีคำประกาศ/คำแถลงนโยบายด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนขององค์กร มีการกำหนด แนวปฏิบัติขององค์กรในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนมีการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน และมี การปลูกฝังความรับผิดชอบและสร้างความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งนี้ ในภาพรวมพบว่า รัฐวิสาหกิจและภาคธุรกิจมีความเข้าใจและปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการด้านแรงงาน และด้านชุมชน ที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แต่ยังขาดความเข้าใจในด้านนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และด้านการลงทุนระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ รวมทั้งหน่วยงานที่กรอกข้อมูลผลการดำเนินงานส่วนมากเป็นภาคธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีความตระหนักถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน แต่ยังขาดความร่วมมือจากภาคธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม ซึ่ง ยธ. (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) จะขยายผลเพื่อต่อยอดการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ ต่อไป 15. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 20/2564 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 20/2564 เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2564 ที่ได้มีมติเกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รวมทั้งการพิจารณาข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ดังนี้ 1. อนุมัติโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน 10,468,100 โดส (AstraZeneca) ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงิน 1,416.5432 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพื่อให้สามารถจัดหาวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้กับประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้ ทันตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมควบคุมโรค เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สามารถจัดหาเงินกู้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 อย่างเคร่งครัดตามขั้นตอนต่อไป 2. มอบหมายให้กรมควบคุมโรค ดำเนินการปรับแผนการใช้จ่ายเงินโครงการฯ ให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นต่อไป และจัดทำแผนบริหารจัดการและแผนการใช้วัคซีนในแต่ละประเภทสำหรับแต่ละกลุ่มประชากร เพื่อให้การบริหารจัดการวัคซีนที่จัดหามาเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งเร่งดำเนินการคืนเงินกู้เหลือจ่ายและจัดทำรายงานการประเมินผลการดำเนินโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย เพิ่มเติม จำนวน 35 ล้านโดส ตามขั้นตอนข้อ 19 และ 20 ของระเบียบ สำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2563 3. อนุมัติให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของกระทรวงศึกษาธิการ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการฯ โดยขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จากเดือนสิงหาคม - ธันวาคม 2564 เป็น เดือนสิงหาคม 2564 - กุมภาพันธ์ 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการฯ เร่งดำเนินการเบิกจ่ายและแก้ไขข้อมูลโครงการฯ ในระบบ eMENSCR โดยเร็วต่อไป 16. เรื่อง กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ เสนอดังนี้ 1. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 114,634.7682 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ 2. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 29,100 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่ มุ่งผลสัมฤทธิ์ สาระสำคัญ กรอบวงเงินด้านการอุดมศึกษา และกรอบวงเงินด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กรอบวงเงินด้านการอุดมศึกษา และกรอบวงเงินด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนรวมทั้งสิ้น 143,734.7682 ล้านบาท จัดทำขึ้นเพื่อตอบโจทย์สำคัญและเร่งด่วนของประเทศ โดยมุ่งตอบสนองการขับเคลื่อนประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ทั้งด้านการแพทย์และสุขภาพ ด้านเกษตรและอาหาร เศรษฐกิจฐานรากเพื่อขจัดความยากจนและลดความเหลื่อมล้ำ อุตสาหกรรมและบริการ แห่งอนาคต การผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล 1. กรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษาในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 114,634.7682 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ สรุปดังนี้ 1) งบประมาณที่ขอรับจัดสรรตามมาตรา 45 (1) (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย งบบุคลากร จำนวน 70,409.6395 ล้านบาท งบดำเนินงานและงบรายจ่ายอื่น จำนวน 36,755.5287 ล้านบาท และงบประมาณเพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ จำนวน 7,469.6000 ล้านบาท 2) แนวทางการจัดสรรงบประมาณตามกรอบวงเงินดังกล่าวจะถูกจัดสรรโดยใช้หลักการจัดสรรงบประมาณให้สนองด้านอุปสงค์ (Demand-side Financing) ตามแนวทางการพัฒนาระบบ (Roadmap) การจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์สำหรับการอุดมศึกษาซึ่งให้ความสำคัญกับการส่งมอบผลลัพธ์ (Outcome) สำคัญ ได้แก่ การผลิตกำลังคนที่ตอบสนองต่อความต้องการ (Real Demand) ได้อย่างแท้จริง สะท้อนได้จากความสามารถในการได้งานทำ (Employability) เพิ่มสูงขึ้น ความคุ้มค่าและผลตอบแทนจากการลงทุน (Return of Investment) ที่ชัดเจน และความเชื่อมโยงในการร่วมลงทุนในการพัฒนากำลังคนกับภาคเอกชน (Co-Creation) ซึ่งเป็นผู้ถืออุปสงค์อย่างแท้จริง โดยในปีงบประมาณ 2566 จะมุ่งเน้นการจัดสรรงบประมาณตามแนวทางดังต่อไปนี้ 2.1) การจัดทำแผนปฏิบัติการการอุดมศึกษา แผนปฏิบัติการการพัฒนากำลังคนของประเทศและการจัดการศึกษาตลอดชีวิต และฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการวางแผนกำลังคน และกำหนดกรอบวงเงินงบประมาณด้านการอุดมศึกษา รวมถึงการกำหนดแนวทางการบริหารงบประมาณด้านการอุดมศึกษา (Plan-based Budgeting)ที่สอดคล้องกับแผนดังกล่าว 2.2) การวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณประจำตามมาตรา 45 (1) และ 45 (2) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ตามแผนพัฒนากำลังคนที่ถูกกำหนดตามแผนด้านการอุดมศึกษา (Plan-based) 2.3) การวิเคราะห์และจัดสรรงบประมาณเพื่อการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ ตามมาตรา 45 (3) แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ที่สอดคล้องกับแนวทางพลิกโฉมมหาวิทยาลัยและแผนงานที่เกี่ยวข้อง 2. กรอบวงเงินงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 29,100 ล้านบาท และระบบการจัดสรรและบริหารงบประมาณแบบบูรณาการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ สรุปดังนี้ 1) งบประมาณแบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่ (ก) งบสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) จำนวน 17,460 ล้านบาท เป็นการสนับสนุนทุนการวิจัยที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์และแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ และ (ข) งบสนับสนุนงานพื้นฐาน (Fundamental Fund) จำนวน 11,640 ล้านบาท เป็นการสนับสนุนงานมูลฐานเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสร้างความเข้มแข็งตามพันธกิจหน่วยงาน 2) แนวทางการจัดสรรงบประมาณของกรอบวงเงินดังกล่าวเป็นแบบเงินก้อน (Block grant) และการจัดสรรงบประมาณแบบต่อเนื่องหลายปี (Multi-year budgeting) ที่สอดคล้องกับแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีการกระจายอำนาจให้หน่วยงานในระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหน่วยบริหารและจัดการทุน (Program Management Unit: PMU) เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเกิดความคล่องตัว มีความยืดหยุ่น และดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณภาพ แก้ไขปัญหาวิกฤตของประเทศได้ในเวลาที่เหมาะสมและพร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน 3. แผนงานสำคัญภายใต้กรอบวงเงินด้านการอุดมศึกษา และกรอบวงเงินด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดังนี้ 1) ด้านการอุดมศึกษา 1.1) การผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลังคนที่รองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life-Long Learning) ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน และตอบโจทย์อุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ (Demand-driven and Result-oriented Workforce) ประกอบด้วย (ก) การผลิตบัณฑิตในระบบอุดมศึกษา (Degree Program) ในระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษาสำหรับปีการศึกษา 2565 จำนวน 1,367,864 คน โดยมีเป้าหมายการพัฒนากำลังคนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG และอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 410,360 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ของทั้งหมด และ (ข) การผลิตกำลังแรงงานในหลักสูตรระยะสั้น (Non-degree Program) ที่เปิดโอกาสให้วัยแรงงานและผู้ที่อยู่นอกวัยเรียนสามารถพัฒนาความรู้ในทักษะเดิม (Re-skill) การยกระดับทักษะเดิม (Up-skill) และการเพิ่มพูนทักษะใหม่ (New Skill) จำนวนไม่น้อยกว่า 130,000 คน เพื่อรองรับการขับเคลื่อนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG อุตสาหกรรมเป้าหมาย เชตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) และรองรับ การฟื้นตัวของประเทศจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 1.2) โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) เพื่อผลิตกำลังคนสมรรถะสูงที่มีทักษะรองรับอุตสาหกรรมและบริการใหม่แห่งอนาคตที่อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจฐานนวัตกรรม การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและระบบเศรษฐกิจฐานราก ตลอดจนการพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาตามอัตลักษณ์และความเชี่ยวชาญ ดำเนินการตามกลไกพลิกโฉมมหาวิทยาลัยใน 5 แพลตฟอร์ม ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน การพัฒนาแสวงหาบุคลากร ความเป็นนานาชาติ การบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม และการสร้างแพลตฟอร์มความร่วมมือ 2) ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2.1) การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ประเด็นมุ่งเน้นที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 และเป็นศูนย์กลางด้านวัคซีนในระดับอาเซียน การเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกชั้นนำของโลกด้าน Functional Ingredients, Functional Food และ Novel Food การเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดของอาเซียนในด้านยานยนต์ไฟฟ้า มุ่งเน้นที่แบตเตอรี่และชิ้นส่วนสำคัญ ผู้สูงอายุมีศักยภาพและโอกาสในการพึ่งพาตนเอง และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สังคม เป็นต้น 2.2) การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืนสามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลกโดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ประเด็นมุ่งเน้นที่สำคัญ เช่น ประเทศไทยสามารถยกระดับการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ โดยการใช้วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเพิ่มความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพึ่งพาตนเองและกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น 2.3) การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรมระดับขั้นแนวหน้าที่ก้าวหน้าล้ำยุค เพื่อสร้างโอกาสใหม่และความพร้อมของประเทศในอนาคต ประเด็นมุ่งเน้นที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบโลกและอวกาศ (Earth Space Technology) โดยสามารถสร้างดาวเทียมที่วิจัยและพัฒนาโดยคนไทยและส่งไปโคจรรอบดวงจันทร์ เป็นต้น 2.4) การพัฒนากำลังคน สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันวิจัยให้เป็นฐาน การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศแบบก้าวกระโดดและอย่างยั่งยืน โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ประเด็นมุ่งเน้นที่สำคัญ ได้แก่ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของกำลังคนระดับสูง (Hub of Talent) และศูนย์กลางการเรียนรู้ (Hub of Knowledge) ของอาเซียน รวมถึงศาสตร์ของโลกตะวันออกเป็นต้น 17. เรื่อง รายงานผลการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 และข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานเชิงนโยบาย คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 และข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานเชิงนโยบายตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ และให้กระทรวงวัฒนธรรมรับความเห็นและข้อเสนอเพิ่มเติมของกระทรวงสาธารณสุข สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป และให้หน่วยงานของรัฐรับข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง วธ. รายงานว่า 1. คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติได้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฯ มาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้เวทีสมัชชาคุณธรรมในระดับจังหวัด ภูมิภาค และการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นและสร้างการรับรู้การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ และคุณธรรมสำคัญ 4 ประการ คือ พอเพียง วินัย สุจริต และจิตอาสา ผ่านกลไกอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับจังหวัด จนเกิดการบูรณาการกับหน่วยงานและกลุ่มเครือข่ายทางสังคมต่าง ๆ ได้แก่ เครือข่ายภาครัฐ เครือข่ายภาคธุรกิจเอกชน เครือข่ายภาคการศึกษา เครือข่ายศาสนา เครือข่ายสื่อมวลชน และเครือข่ายภาคประชาสังคม ชุมชน ครอบครัว เด็กและเยาวชนเกิดการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมนำร่อง ตามแนวทางแผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติฯ โดยหน่วยงานองค์กรภาคส่วนต่าง ๆ มีการประกาศเจตนารมณ์ร่วมสนับสนุนการขับเคลื่อนจังหวัดคุณธรรมที่มาจากการจัดงานสมัชชาคุณธรรมระดับจังหวัด และมีการขยายผลการขับเคลื่อนคุณธรรมในระดับองค์กรและพื้นที่จังหวัดคุณธรรมอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งมีกระบวนการรวบรวมสังเคราะห์ข้อมูลเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับจังหวัด ภูมิภาค เข้าสู่การผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลในงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติที่จัดขึ้นในแต่ละปีจนถึงปัจจุบัน 2. การจัดงานสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่ 26-27 สิงหาคม 2564 ในรูปแบบออนไลน์ ด้วยแนวคิด Sustainability with Moral : New Moral New Normal ?คุณธรรมวิถีใหม่ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน? เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านคุณธรรมให้กับประชาชนและรองรับสถานการณ์วิกฤตโดยเฉพาะสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเป็นเวทีกลางการเชื่อมโยงเครือข่ายทางสังคมทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันหาทางออกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว และร่วมแสดงความคิดเห็นแนวทางการขับเคลื่อนคุณธรรมวิถีใหม่สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีการจัดกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การประกาศยกย่องบุคคลผู้สร้างแรงบันดาลใจที่มีพฤติกรรมด้านคุณธรรมที่ควรค่าแก่การยกย่องการนำเสนอสื่อ องค์ความรู้ และกรณีตัวอย่างชุมชน องค์กรต้นแบบด้านคุณธรรม รวมถึงการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นและเสวนาแลกเปลี่ยนความรู้ของกลุ่มเครือข่ายทางสังคมจนก่อให้เกิดข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสอดรับกับการแก้ไขปัญหาคุณธรรมของทุกเครือข่ายและแนวทางการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์โควิด-19 ของสังคมไทย ดังนี้ ข้อเสนอเชิงนโยบาย แนวทางและแผนการดำเนินงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1. การสำรวจ รวบรวม เรียบเรียง ความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาสังคมด้วยคุณธรรมหรือนวัตกรรมความดีในช่วงวิกฤตโควิด-19 เพื่อนำมาสื่อสาร เผยแพร่ และรณรงค์สู่สังคมในวงกว้าง รวมทั้งรวบรวมประวัติ ผลงาน และเกียรติคุณของบุคคลที่ทำคุณงามความดีในแต่ละพื้นที่ให้ได้รับการยกย่องเชิดชูและยึดถือให้เป็นแบบอย่างใน หอจดหมายเหตุหรือหอเกียรติยศของแต่ละจังหวัด ค้นหา สำรวจ และรวบรวมเรื่องราวคุณธรรมความดีของสังคมไทยในสถานการณ์โควิด-19 เพื่อจัดทำเป็นบันทึกความดีของสังคมและรวบรวมไว้ให้เป็นข้อมูลสำคัญในหอจดหมายเหตุ และค้นหา คัดเลือกบุคคล องค์กร และสื่อส่งเสริมคุณธรรมเพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติในด้านคุณธรรม ที่ควรค่าแก่การยกย่องและจัดทำเป็นฐานข้อมูลบุคคล องค์กร สื่อส่งเสริมคุณธรรมทั้งในระบบออนไลน์และระบบออนไซต์ต่อไป หน่วยงานภาครัฐโดยกลไกอนุกรรมการส่งเสริมคุณธรรมระดับกระทรวงและระดับจังหวัด 2. การสนับสนุนส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาคน เครื่องมือ และกลไกของชุมชนให้มีระบบ พี่เลี้ยงชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพคนท้องถิ่นให้มีทักษะการเป็นพี่เลี้ยงและนำไปสู่โมเดลครอบครัวพลังบวกในสังคมที่ไร้ความรุนแรง และพัฒนากลไกการมีส่วนร่วมในรูปแบบภาคีเครือข่ายที่ยั่งยืน ร่วมกับการพัฒนากิจกรรมสร้างสรรค์โดยคนท้องถิ่นด้วยทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้มีการเชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นกลไกพี่เลี้ยงระหว่างชุมชน - ส่งเสริมและพัฒนาพี่เลี้ยงชุมชน เพื่อสร้างพลังที่เข้มแข็งให้กับครอบครัวและชุมชนให้เกิดรูปแบบการสร้างภูมิคุ้มกันของเด็ก เยาวชนและครอบครัวที่เป็นรูปธรรมที่ยั่งยืน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) - ถอดบทเรียนชุมชนท้องถิ่นต้นแบบด้านคุณธรรมและส่งเสริมระบบกลไกพี่เลี้ยงชุมชนเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านคุณธรรมต่อเนื่องทุกปี พม. มท. วธ. - จัดให้มีกระบวนการสมัชชาคุณธรรมเพื่อเป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับเครือข่ายชุมชน ในการขยายผลความรู้และชื่นชมยกย่องให้เป็นต้นแบบต่อสังคมไทย วธ. 3. การสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างระบบเครดิตทางสังคม* ให้เป็นเครื่องมือในการสร้างบรรทัดฐานของประเทศ และใช้ข้อมูลเครดิตของบุคคลและองค์กรในการสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมแห่งความซื่อสัตย์ มีคุณธรรมมีจิตสำนึกและความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านกลไกการสร้างแรงจูงใจในการทำความดีเพื่อยกระดับเครดิตโดยรวมของสังคมให้ดีขึ้น - สนับสนุนการคิดค้นและพัฒนาระบบเครดิตทางสังคมให้เป็นเครื่องมือในการสร้างบรรทัดฐานด้านคุณธรรมของสังคมไทยและส่งเสริมการทำความดี โดยแสดงถึงการให้คุณค่าในการทำความดีของคนในสังคมไทย เพื่อเป็นแรงจูงใจและเป็นพลังทางสังคมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ดีงาม ภาครัฐทุกหน่วยงาน - ศึกษา รวบรวมระบบเครดิตทางสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ และดำเนินการศึกษาทดลองการใช้ระบบเครดิตทางสังคมที่เหมาะสมกับสังคมไทยทั้งในระดับองค์กร ชุมชนท้องถิ่น ระดับเครือข่าย ระดับเมืองและระดับประเทศ - จัดให้มีการนำเสนอผลการศึกษาทดลองการใช้ระบบเครดิตทางสังคมในสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 12 เพื่อให้เกิดการยอมรับในมติสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ และนำไปสู่การขยายผลในระยะต่อไป วธ. 4. การสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ทางสังคมด้วยมิติความดีด้วยการส่งเสริมระบบเครือข่ายทางสังคมคุณธรรม ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และร่วมกันสร้างกลไกการมีส่วนร่วมการสื่อสารข้อมูลและการเผยแพร่ความสำเร็จของการขับเคลื่อนคุณธรรม โดยมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันจากทุกภาคส่วนในสังคมให้สามารถขับเคลื่อนสังคมคุณธรรมในรูปแบบวิถีใหม่ได้อย่างยั่งยืน - สนับสนุนการดำเนินงานเชื่อมโยงและบูรณาการองค์กรเครือข่ายทางสังคมในระดับจังหวัดเพื่อจัดให้มีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณธรรมในระดับจังหวัดและสนับสนุนงบประมาณ ติดตามผลการดำเนินงานจังหวัดคุณธรรมให้เป็นจริงต่อไป มท. - จัดให้มีกระบวนการสมัชชาคุณธรรมหรือตลาดนัดคุณธรรมทุกระดับเพื่อเป็นเวทีกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับเครือข่ายทางสังคม วธ. 3. คณะกรรมการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 ได้มีมติรับทราบรายงานผลการจัดสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 11 และข้อเสนอเชิงนโยบายด้านคุณธรรมต่อรัฐบาลและหน่วยงานเชิงนโยบายและให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป *หมายเหตุ : ระบบเครดิตทางสังคม เป็นเครื่องมือและกลไกในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดกรอบพฤติกรรมเชิงบวกที่นำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข โดยการกำหนดค่านิยมและพฤติกรรมเชิงบวกที่ทุกสังคมเห็นพ้องร่วมกัน แต่แตกต่างไปตามบริบททางพื้นที่และวัฒนธรรม 18. เรื่อง รายงานผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment: ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และเห็นชอบข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาคุณธรรมความโปร่งใสของภาครัฐ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ ทั้งนี้ ให้ส่งความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปพิจารณาต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า ได้มอบหมายให้สำนักงาน ป.ป.ช. ดำเนินการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และได้ประกาศผลคะแนนการประเมิน ITA ให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมิน ITA และสาธารณชนได้รับทราบ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการประเมิน ITA เสนอคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในการประชุม ครั้งที่ 162/2564 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 มีมติเห็นชอบและให้เสนอรายงานผลการประเมิน ITA ต่อคณะรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. การประเมิน ITA เป็นแนวนโยบายที่สำคัญในการป้องกันการทุจริตที่บังคับใช้กับหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ และเป็นกลไกการป้องกันการทุจริตเชิงรุกได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้ถูกกำหนดเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนแผนงานระดับประเทศ เช่น แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ. 2561-2580) ได้นำผลการประเมิน ITA ไปกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายของแผนแม่บทฯ โดยในระยะแรก (พ.ศ. 2561-2565) กำหนดค่าเป้าหมายให้หน่วยงานภาครัฐ ในปี 2565 มีผลการประเมินผ่านเกณฑ์ (85 คะแนนขึ้นไป) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 2. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีหน่วยงานภาครัฐ จำนวน 8,300 แห่งทั่วประเทศ เข้าร่วมการประเมิน ITA ผ่านระบบ ITAS ที่เว็บไซต์ http://itas.nacc.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 กรกฎาคม 2564 โดยครอบคลุมหน่วยงานภาครัฐทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ และองค์กรอิสระ ซึ่งเป็นการประเมินด้านธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการภาครัฐที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ จำนวน 1,331,588 คน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประชาชนและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีการตื่นตัวต่อประเด็นการต่อต้านการทุจริตมากยิ่งขึ้น รวมถึงมีความกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานและการให้บริการภาครัฐเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและมีความโปร่งใสมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ การประเมิน ITA มีการเก็บข้อมูลจาก 3 ส่วน ดังนี้ การเก็บข้อมูล ตัวชี้วัด คะแนน/ระดับผลการประเมิน การเก็บข้อมูลจากบุคลากรในหน่วยงานภาครัฐ (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน) การเก็บข้อมูลจากผู้รับบริการหรือผู้ติดต่อหน่วยงานภาครัฐ (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก) ตัวชี้วัดที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ ตัวชี้วัดที่ 2 การใช้งบประมาณ ตัวชี้วัดที่ 3 การใช้อำนาจ ตัวชี้วัดที่ 4 การใช้ทรัพย์สินของราชการ ตัวชี้วัดที่ 5 การแก้ไขปัญหาการทุจริต ตัวชี้วัดที่ 6 คุณภาพการดำเนินงาน ตัวชี้วัดที่ 7 ประสิทธิภาพการสื่อสาร ตัวชี้วัดที่ 8 การปรับปรุงการทำงาน คะแนน ระดับ 95.00-100 AA 85.00-94.99 A 75.00-84.99 B 65.00-74.99 C 55.00-64.99 D 50.00-54.99 E 0-49.99 F การเปิดเผยข้อมูลทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน (ตรวจสอบการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ) (Open Data Integrity and Transparency Assessment: OIT) ตัวชี้วัดที่ 9 การเปิดเผยข้อมูล ตัวชี้วัดที่ 10 การป้องกันการทุจริต 3. ผลการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมของประเทศ 81.25 คะแนน อยู่ในระดับผลการประเมิน ระดับ B สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 13.35 คะแนน มีจำนวนหน่วยงานภาครัฐที่มีผลการประเมิน ITA ผ่านค่าเป้าหมายตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบฯ 4,146 หน่วยงาน หรือร้อยละ 49.95 สูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 36.76 4. ในปีนี้หน่วยงานภาครัฐส่วนใหญ่ได้เข้าสู่องค์กรที่มีคุณธรรมและความโปร่งใสตามหลักเกณฑ์การประเมิน ITA ในระดับค่อนข้างสูง โดยอยู่ที่ระดับ A คิดเป็นร้อยละ 38.73 ของหน่วยงานที่เข้าร่วมการประเมินทั้งหมด เพิ่มขึ้นมากกว่าปีที่ผ่านมาถึงร้อยละ 26.22 ทั้งนี้ เมื่อจำแนกผลการประเมินตามประเภทของหน่วยงานภาครัฐที่มีสถานะหรือการบริหารจัดการภาครัฐเดียวกันหรือคล้ายกันแล้ว สามารถจำแนกกลุ่มประเภทออกเป็น 8 ประเภท ได้แก่ (1) หน่วยธุรการขององค์กรศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ และหน่วยงานในสังกัดรัฐสภา มีคะแนนเฉลี่ย 92.44 คะแนน (2) ส่วนราชการระดับกรม มีคะแนนเฉลี่ย 92.07 คะแนน (3) รัฐวิสาหกิจ มีคะแนนเฉลี่ย 93.31 คะแนน (4) องค์การมหาชน มีคะแนนเฉลี่ย 93.26 คะแนน (5) กองทุน มีคะแนนเฉลี่ย 93.22 คะแนน (6) สถาบันอุดมศึกษา มีคะแนนเฉลี่ย 89.87 คะแนน (7) จังหวัด มีคะแนนเฉลี่ย 92.43 คะแนน และ (8) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีคะแนนเฉลี่ย 80.63 คะแนน 5. ผลการประเมิน ITA รายพื้นที่พบว่า พื้นที่ส่วนกลางมีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด 92.01 คะแนน ส่วนพื้นที่ในระดับภูมิภาคที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงที่สุด คือ พื้นที่ภาค 2 (จังหวัด อปท. และ อปท. รูปแบบพิเศษในจังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว) มีคะแนนเฉลี่ย 83.69 คะแนน และพื้นที่ที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ พื้นที่ภาค 3 (จังหวัด และ อปท. ในจังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ) มีคะแนนเฉลี่ย 75.74 คะแนน 6. ผลการประเมิน ITA ภาพรวมของหน่วยงานภาครัฐในจังหวัด ประกอบด้วย จังหวัด (ส่วนราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด) องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร เทศบาลเมือง เทศบาลตำบล และองค์การบริหานส่วนตำบล (อบต.) พบว่า จังหวัดที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุด คือ จังหวัดภูเก็ต มีผลคะแนน 94.06 คะแนน ส่วนจังหวัดที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด มีผลคะแนน 69.78 คะแนน และมีจังหวัดที่มีผลคะแนนเฉลี่ยน้อยกว่า 75 คะแนน ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ 69.95 คะแนน จังหวัดอุบลราชธานี 70.31 คะแนน และจังหวัดมหาสารคาม 72.11 คะแนน 7. การอภิปรายผลการประเมิน ITA ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เช่น (1) หน่วยงานที่ได้คะแนนต่ำกว่าระดับ C ยังคงมีปัญหาการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารูปแบบลักษณะของปัญหายังคงเดิม แต่ขนาดของปัญหาได้ลดน้อยลงเป็นอย่างมาก และหน่วยงานภาครัฐมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นถึงร้อยละ 39.68 ซึ่งเกิดจากการกำหนดกลยุทธ์ในการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดและความร่วมมือกันของหลายภาคส่วนในปีที่ผ่านมา และ (2) รูปแบบการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะของหน่วยงานที่ได้คะแนนต่ำยังคงเดิม โดยหน่วยงานดังกล่าวส่วนมากไม่ได้มีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะทางเว็บไซต์ของหน่วยงานตามแบบ OIT ในรายตัวชี้วัดและ ข้อคำถามการประเมิน 8. คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาคุณธรรมความโปร่งใสของภาครัฐสู่มาตรฐานในระดับ A และ AA ในระดับนโยบาย โดยมุ่งเน้นการรักษาแนวปฏิบัติที่ดีไว้ให้คงอยู่ และต่อยอดขยายผลในส่วนที่จะช่วยในการพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐมีพัฒนาการอย่างก้าวกระโดดมากยิ่งขึ้น รวม 5 ข้อ ดังนี้ ประเด็นข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. หน่วยงานรับผิดชอบ 8.1 เร่งส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้และทักษะการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ การป้องกันการทุจริต และการให้บริการสาธารณะทางเว็บไซต์ของหน่วยงานให้มีคุณภาพและเป็นไปตามมาตรฐานการประเมินที่กำหนด โดยการกำหนดนโยบาย โครงการ กิจกรรม งบประมาณ และการกำกับควบคุมมุ่งเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมาย หน่วยงานที่มีผลการประเมินระดับ B-C-D ซึ่งมีจำนวนรวมกันกว่า ร้อยละ 46.28 ของหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด และเป็นกลุ่มที่มีโอกาสและความพร้อมในการพัฒนาต่อยอดสูงภายใต้ระยะเวลาที่จำกัด กระทรวงมหาดไทย (มท.) (อปท.) 8.2 ส่งเสริมสนับสนุนและให้คำแนะนำในด้านกระบวนการบริหารจัดการภายในหน่วยงานแก่ อปท. โดยเฉพาะในกลุ่มหน่วยงานที่มีผลการประเมินในระดับ E-F ทั้งนี้ ตามขอบเขตอำนาจหน้าที่ซึ่งระบุไว้ในกฎหมายจัดตั้ง อปท. แต่ละประเภท มท. (ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอำเภอ) 8.3 ขับเคลื่อนการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เพื่อยกระดับการเปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยงานภาครัฐให้เป็นหน้าที่หลักที่ต้องปฏิบัติ ยกเว้นเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าไม่ให้เปิดเผย และต้องจัดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารดังกล่าวได้โดยสะดวก สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) 8.4 ให้หน่วยงานที่กำกับดูแลการปฏิบัติราชการของหน่วยงานภาครัฐดำเนินการกำกับติดตามการประเมิน ITA และผลักดันให้หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางการประเมิน ITA ที่กำหนดในหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้ 1) สถาบันอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) (สำนักงานปลัดกระทรวง) 2) จังหวัด (ส่วนราชการส่วนภูมิภาคระดับจังหวัด) มท. (สำนักงานปลัดกระทรวง) 3) องค์การมหาชน สำนักงาน ก.พ.ร. 4) กรมหรือเทียบเท่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) 5) หน่วยงานในสังกัดรัฐสภา องค์กรศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ และหน่วยงานของรัฐอื่น ๆ สำนักงาน ป.ป.ช. 6) รัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง (กค.) [สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)] 7) กองทุน กค. (กรมบัญชีกลาง) 8) อปท. มท. [กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.)] 8.5 ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมิน ITA ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2570 โดยการกำหนดกลุ่มเป้าหมายหน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมการประเมิน ITA แนวทางการประเมิน ITA และเครื่องมือการประเมิน ITA ให้เป็นไปตามที่สำนักงาน ป.ป.ช. กำหนด หน่วยงานภาครัฐ ต่างประเทศ 19. เรื่อง การเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 และมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำ (ร่าง) ข้อเสนอโครงการ รายละเอียดแผนงานและกิจกรรม และประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนจัดส่งให้ศูนย์มรดกโลกตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ทส. รายงานว่า 1. การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญเป็นการประชุมของคณะกรรมการมรดกโลกที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนมิถุนายนหรือเดือนกรกฎาคมของทุกปี ตามแนวทางที่กำหนดไว้ในกฎการดำเนินงานของคณะกรรมการมรดกโลกและแนวทางการอนุวัตตามอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก เพื่อดำเนินการหารือ รับทราบ และพิจารณาแนวทางในการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ของรัฐภาคีสมาชิก ศูนย์มรดกโลก องค์กรที่ปรึกษาและคณะทำงานชุดต่าง ๆ ที่ได้มีการจัดตั้งขึ้น รวมถึงการพิจารณานำเสนอแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมและแหล่งมรดกทางธรรมชาติเป็นมรดกโลก และสถานภาพของแหล่งมรดกโลกโดยมีรัฐภาคีสมาชิกอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก องค์กรที่ปรึกษา และหน่วยงานอิสระต่าง ๆ เข้าร่วมสังเกตการณ์การประชุม 2. คณะกรรมการมรดกโลกจะพิจารณาการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 45 ระหว่างวันที่ 19 - 30 มิถุนายน 2565 ณ เมืองคาซาน สหพันธรัฐรัสเซีย 3. ในการคัดเลือกประเทศเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญจะคัดเลือกจากประเทศที่ดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 ในปี พ.ศ. 2566 จะเป็นปีที่ประเทศไทยอยู่ในวาระการเป็นกรรมการมรดกโลก (วาระปี พ.ศ. 2562 - 2566) เป็นปีสุดท้าย ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการเสนอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 4. การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 จะส่งผลให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์ ดังนี้ ด้าน รายละเอียด การแลกเปลี่ยนความรู้ ส่งเสริมบทบาทการเป็นผู้นำในการดำเนินการภายใต้กรอบการดำเนินงานของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์ความรู้ และเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงโครงการ กิจกรรม และข้อริเริ่มใหม่ ๆ เช่น การจัดการอบรมให้กับผู้จัดการแหล่งมรดกโลกหรือการอบรมให้ความรู้ในการดำเนินงานในด้านการอนุรักษ์ เศรษฐกิจ การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ จะเป็นการสร้างและขยายโอกาสในการกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับประเทศ ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยจากข้อมูลสถิติในการจัดการประชุมแต่ละครั้งที่ผ่านมาตั้งแต่ครั้งที่ 40 - 43 มีผู้เข้าร่วมประชุมครั้งละไม่ต่ำกว่า 2,300 คน ทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนจากการใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ เช่น การเดินทาง ที่พัก การท่องเที่ยว และค่าใช้จ่ายทั่วไป ทั้งนี้ การจัดทำข้อเสนอและการขอรับการสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 จะดำเนินการภายหลังจากคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการในการนำเสนอให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ 20. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 11 - 12 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกลโดยกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (9 พฤศจิกายน 2564) เห็นขอบร่างเอกสารที่จะมีการรับรองและลงนามในการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกียวข้อง 7 ฉบับ โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองและลงนามเอกสารดังกล่าว] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 27 ที่ประชุมได้พิจารณาประเด็นสำคัญตามที่ ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 51 และครั้งที่ 52 เสนอ โดยมีผลสำเร็จของการประชุม ดังนี้ หัวข้อ สาระสำคัญ 1. ด้านการขนส่งทางอากาศ (การเสริมสร้างการเป็นตลาดการบินเดียวของอาเซียน) รับทราบ ดังนี้ 1) ข้อสรุปของการจัดทำพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่ 12 ของบริการขนส่งทางอากาศภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียนซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการเปิดเสรีบริการเสริมด้านการขนส่งทางอากาศของอาเซียน 2) ความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนแม่บทการเดินอากาศอาเซียนซึ่งมีเป้าหมายในการจัดการจราจรทางอากาศไร้รอยต่อเพื่อส่งเสริมการเป็นตลาดการบินเดียวของอาเซียน 2. ด้านการขนส่งทางบก (การบูรณาการการขนส่งที่ยั่งยืนและการวางแผนการใช้พื้นที่) 1) รับรองเอกสารด้านการขนส่งที่ยั่งยืน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) แนวทางการดำเนินงานสำหรับการพัฒนาแผนการขนส่งในเมืองอย่างยั่งยืนในเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ของอาเซียนและ (2) ชุดเครื่องมือสำหรับการจัดตั้งคณะเจ้าหน้าที่บริหารด้านการขนส่งในเมืองภูมิภาคขนาดใหญ่ของอาเซียน 2) รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนได้ออกแถลงการณ์พนมเปญว่าด้วยการขนส่งในเมืองที่ยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้อาเซียนจัดทำและดำเนินการตามโมเดลของเอกสารทั้ง 2 ฉบับข้างต้น เพื่อสนับสนุนการบูรณาการการขนส่งที่ยั่งยืนและการวางแผนการใช้พื้นที่ในภูมิภาคอาเซียน 3. ด้านการขนส่งทางน้ำ (การเชื่อมต่อการขนส่งทางน้ำอย่างบูรณาการ) รับทราบ ดังนี้ 1) ผลการศึกษาวิเคราะห์ตัวขี้วัดประสิทธิภาพของท่าเรือโครงข่ายอาเซียนซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกตัวชี้วัด ตั้งแต่ปี 2548 - 2562 2) ปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าของโลกเนื่องจากต้นทุนการขนส่งสินค้าทางเรือเพิ่มขึ้น โดยอาเซียนมีความพยายามในการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีเพื่อรับมือกับเรื่องดังกล่าว รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเพื่อบรรเทาผลกระทบ 4. ด้านการอำนวยความสะดวกการขนส่ง (การส่งเสริมการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของสินค้า และการขนส่งข้ามแดนของผู้โดยสารในอาเซียน) 1) ประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้สัตยาบันพิธีสาร 2 (ด่านพรมแดนที่กำหนด) ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดนครบถ้วนและมีผลใช้บังคับแล้ว และจะให้สัตยาบันพิธีสาร 6 (สถานีรถไฟและสถานีชุมทาง) ต่อไป ซึ่งจะเป็นการให้สัตยาบันพิธีสารแนบท้ายความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียนครบทุกฉบับ 2) รับทราบผลการดำเนินโครงการระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน ซึ่งยังมีข้อจำกัดของการขนส่งข้ามพรมแดนในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชน ใช้ระบบศุลกากรผ่านแดนอาเซียน 5. การเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลเพื่อการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคที่มีความยืดหยุ่นมากยิ่งขึ้น รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลเพื่อการขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สรุปได้ ดังนี้ 1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของประเทศไทยได้กล่าวถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการขนส่งของไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) และโครงการด้านการขนส่งที่นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เช่น ระบบการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (N-Flow) ระบบควบคุมการจราจรและความปลอดภัยทางทะเล และการจัดทำแผนโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองกับระบบราง อีกทั้งได้เน้นย้ำความสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลของแต่ละประเทศซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนอาเซียนไปสู่การเติบโตที่เข้มแข็ง ยั่งยืน และครอบคลุม 2) รัฐมนตรีขนส่งอาเซียนจากประเทศต่าง ๆ เช่น - ราชอาณาจักรกัมพูชากล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในการตรวจจับความเร็วรถบรรทุกและการใช้แอปพลิเคชันในการบังคับใช้กฎหมายด้านความปลอดภัยทางถนน - สาธารณรัฐอินโดนีเซียเน้นย้ำความสำคัญของการเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อ รวมถึงการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ โดยได้จัดทำแผนระดับชาติเพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงและการเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเน้นย้ำความโปร่งใสด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ - มาเลเซียกล่าวถึงมาตรการในการใช้ดิจิทัล 3 เรื่อง ได้แก่ การจัดการคลังสินค้าออนไลน์ การติดตามสถานะสินค้าในท่าเรือแบบเป็นปัจจุบัน (real time) และเขตการค้าเสรีดิจิทัล - สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามได้จัดให้การขนส่งเป็นงานที่จะเริ่มดำเนินการในลำดับต้น พร้อมทั้งได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการคมนาคมขนส่ง นอกจากนี้ เลขาธิการอาเชียนได้เสนอแนวทางสำหรับการขนส่ง 2 ข้อ คือ การเปิดประเทศเพื่อการเดินทางและการใช้เทคโนโลยีเพื่อกระตุ้นการเปิดประเทศและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ 2. การประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1) การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-จีน ครั้งที่ 20 ที่ประชุมยืนยันความสำคัญของการจัดทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศระหว่างอาเซียน-จีน และพิธีสารที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเชื่อมโยงทางอากาศระหว่างกันและสนับสนุนให้พิจารณาความเป็นไปใด้ในการเปิดเสรีการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งได้รับรองหลักการของแผนปฏิบัติการภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-จีน ปี 2564 - 2568 ฉบับปรับปรุงซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของอาเซียนและแผนยุทธศาสตร์การขนส่งกัวลาลัมเปอร์ ปี 2559 ? 2568 (แผนยุทธศาสตร์ด้านการขนส่งของอาเซียน) 2) การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 19 ญี่ปุ่นสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมตามแผนยุทธศาสตร์กัวลาลัมเปอร์ฯ ภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-ญี่ปุ่น อย่างครอบคลุมและยั่งยืน โดยที่ประชุมได้รับทราบความคืบหน้าการดำเนินโครงการและให้การรับรอง ?รายงานฉบับสุดท้ายว่าด้วยการศึกษาการทดสอบระบบสาธิตการควบคุมยานพาหนะที่บรรทุกน้ำหนักเกินด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ? และ ?แนวปฏิบัติอาเซียน-ญี่ปุ่น ในการตรวจประเมินมาตรฐานการบริหารจัดการโลจิสติกส์แบบควบคุมอุณหภูมิ? โดยแผนงานดังกล่าวมีโครงการใหม่ 1 โครงการ คือ โครงการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อการยกระดับการขนส่ง นอกจากนี้ ได้รับทราบความคืบหน้าการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างอาเซียน-ญี่ปุ่น 3) การประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 12 ที่ประชุมรับทราบผลการประชุมความร่วมมือด้านการขนส่งอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 ซึ่งสนับสนุนให้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ในด้านการขนส่งที่ยั่งยืนและโลจิสติกส์ดิจิทัลเพื่อช่วยฟื้นฟูการเชื่อมโยงทางการค้าและการฟื้นตัวจากโควิด-19 และรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินการภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการขนส่งระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ปี 2564 ? 2568 โดยให้ดำเนินการเพื่อให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับร่างความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี เพื่อให้มีการเปิดเสรี มากขึ้นและมีการแลกเปลี่ยนสิทธิการบินที่ได้รับประโยชน์ร่วมกัน 21. เรื่อง รายงานผลการเจรจาการบินระหว่างไทย ? แคนาดา คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบบันทึกข้อตกลงระหว่างไทย - แคนาดา (บันทึกข้อตกลงฯ) และเห็นชอบร่างความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งแคนาดาและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยว่ด้วยการขนส่งทางอากาศ (ความตกลงฯ ฉบับใหม่) โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัคต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงคมนาคม (คค.) ดำเนินการต่อไปใด้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามความตกลงฯ ฉบับใหม่ และให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม(Full Powers) ให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบหมายดังกล่าวด้วย พร้อมมอบให้ กต. ดำเนินการแจ้งเป็นหนังสือผ่านช่องทางทางการทูตถึงการดำเนินการตามกระบวนการภายในที่จำเป็นเพื่อให้ความตกลง ฯ ฉบับใหม่มีผลใช้บังคับที่เสร็จสมบูรณ์แล้วตามที่กระทรวงคมนาคม (คค) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. คณะผู้แทนรัฐบาลไทยและคณะผู้แทนรัฐบาลแคนาดาได้จัดการประชุมเจรจาร่วมกันเมื่อวันที่ 21 - 22 มิถุนายน 2560 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย และได้จัดทำบันทึกข้อตกลงฯ (Agreed Minutes) ลงนามร่วมกันเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2560 พร้อมกับร่างความตกลงฯ ฉบับใหม่เพื่อใช้แทนความตกลงฯ ฉบับเดิม และต่อมาคณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำได้มีมติรับทราบผลการเจรจาดังกล่าวแล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 โดยบันทึกข้อตกลงฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ รายการ สาระสำคัญ การจัดทำร่างความ ตกลงฯ คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงจัดทำร่างความตกลงฯ ฉบับใหม่เพื่อใช้แทนความตกลงฯ ฉบับเดิมที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2532 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมทั้งกฎหมายภายในของทั้งสองฝ่าย การคงไว้ซึ่งสายการบินที่กำหนด คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงให้สายการบินแอร์แคนาดาและบริษัท การบินไทยจำกัด (มหาชน) ยังคงเป็นสายการบินที่กำหนดภายใต้ความตกลงฯ ฉบับใหม่ (สามารถกำหนดสายการบินอื่น ๆ เพิ่มเติม) การบริการภาคพื้น คณะผู้แทนทั้งสองฝ่ายตกลงว่าสายการบินของแคนาดาไม่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินบริการภาคพื้นของตนเองได้ที่ท่าอากาศยานนานาชาติสุวรรณภูมิ (ทั้งนี้ คค. แจ้งว่า สายการบินของประเทศไทยได้รับอนุญาตให้ดำเนินบริการภาคพื้นของตนเองในแคนาดาได้) การมีผลบังคับใช้ระหว่างรอลงนามเต็ม ในระหว่างการรอให้ความตกลงฯ ฉบับใหม่มีผลใช้บังคับ คณะผู้แทนตกลงว่าภายหลังจากการลงนามในบันทึกข้อตกลงฯ และการลงนามย่อในความตกลงฯ ฉบับใหม่โดยคู่ภาคี การให้บริการเดินอากาศจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการได้ตามหลักการที่ได้ระบุไว้ในความตกลงฯ ฉบับใหม่และให้นำบทบัญญัติภายใต้ความตกลงฯ ฉบับใหม่มาใช้บังคับไปพลางก่อนเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้ตามกฎหมายและข้อบังคับภายในประเทศ 2. ร่างความตกลงฯ ฉบับใหม่มีเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นไปตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศแนะนำและสอดคล้องกับร่างความตกลงฯ ฉบับมาตรฐานไทย โดยมีการปรับปรุงข้อบทต่าง ๆ อาทิ หัวข้อ (เลขที่ข้อในร่างความ ตกลงฯ ฉบับใหม่) สาระสำคัญ การกำหนดสายการบิน (ข้อ 3) แต่ละฝ่ายมีสิทธิกำหนดสายการบินสายหนึ่งหรือหลายสายการบินเพื่อดำเนินบริการ มาตรฐานความปลอดภัย ใบสำคัญ และใบอนุญาต (ข้อ 7) ให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่การเดินอากาศของทั้งสองฝ่าย ในการตรวจสอบอากาศยานและเอกสารต่าง ๆ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและรักษาระดับมาตรฐานความปลอดภัยให้คงอยู่อย่างต่อเนื่อง การรักษาความปลอดภัยค้านการบิน (ข้อ 8) คู่ภาคีจะรับรองว่ามีการบังคับใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยของอากาศยานที่เพียงพอและจะให้ความช่วยเหลือทั้งหมดที่จำเป็นต่อกันเพื่อป้องกันการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายและการคุกคามอื่นใดต่อการรักษาความปลอดภัยของการบินพลเรือน รวมถึงให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่การเดินอากาศของแต่ละฝ่ายสามารถประเมินมาตรการรักษาความปลอดภัยต่อผู้ให้บริการอากาศยานของอีกฝ่ายหนึ่งได้ ราคา และข้อกำหนด และเงื่อนไขทั่วไปของการขนส่ง (ข้อ 11) สายการบินที่กำหนดสามารถกำหนดราคาค่าขนส่งตามบริการที่ได้ตกลงกันซึ่งจะเป็นไปตามกลไกตลาด โดยไม่ต้องยื่นราคาค่าขนส่งต่อเจ้าหน้าที่การเดินอากาศ เว้นแต่มีการร้องขอให้เปิดเผยการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับราคาค่าขนส่งแก่เจ้าหน้าที่การเดินอากาศ การใช้ท่าอากาศยานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการบินและบริการ (ข้อ 12) ให้สายการบินของภาคีอีกฝ่ายใช้ท่าอากาศยาน เส้นทางบิน การควบคุมจราจรทางอากาศและการบริการเดินอากาศ การรักษาความปลอดภัยด้านการบิน และสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยไม่เลือกปฏิบัติ การมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ ฉบับใหม่ (ข้อ 26) - ความตกลงฯ ฉบับใหม่นี้จะมีผลใช้บังคับในวันที่ของหนังสือทางการทูตฉบับสุดท้ายซึ่งคู่ภาคีได้แจ้งระหว่างกันไว้ว่าได้ดำเนินการตามกระบวนการภายในที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อให้ความตกลงฯ ฉบับใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว - การมีผลใช้บังคับของความตกลงฯ ฉบับใหม่นี้จะส่งผลให้ความตกลงฯ ฉบับเดิมสิ้นสุดลง สิทธิการบิน (ภาคผนวก) 1) ใบพิกัดเส้นทางบิน: - ทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ดังนี้ ไทย จุดใด ๆ ในไทย ? จุดระหว่างทางใด ๆ - จุดใด ๆ ในแคนาดา - จุดพ้นใด ๆ แคนาดา จุดใด ๆ ในแคนาดา ? จุดระหว่างทางใด ๆ - จุดใด ๆ ในไทย - จุดพ้นใด ๆ 2) สิทธิความจุความถี่ : 21 เที่ยวต่อสัปดาห์ สำหรับการทำการบินด้วยสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพ ที่ 3 และ 4 3) สิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพที่ 5:7 เที่ยวต่อสัปดาห์ โดยจุดต่อไปนี้สามารถใช้เป็นจุดระหว่างทางหรือจุดพ้นได้ ฝ่ายไทย 1 จุดในยุโรป 2 จุดในเอเชีย และ 1 จุดในภาคพื้นทวีปสหรัฐอเมริกา ฝ่ายแคนาดา 1 จุดในยุโรป 2 จุดในเอเชีย และ 1 จุดในออสตราเลเซีย 4) การทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน (Code Sharing) สายการบินที่กำหนดของทั้งสองฝ่ายสามารถทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกันกับสายการบินของประเทศเดียวกัน สายการบินของประเทศคู่ภาคีทั้งเส้นทางภายในประเทศและเส้นทางระหว่างประเทศ และสายการบินของประเทศที่สามได้ 5) การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Intermodal Transport) สายการบินที่กำหนดสามารถขนส่งรูปแบบอื่นต่อเนื่องกับการขนส่งทางอากาศ โดยสามารถดำเนินการบริการร่วมกับผู้ประกอบการอื่นได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับของประเทศภาคี และบริการดังกล่าวต้องเป็นแบบตลอดเส้นทางและเป็นราคาเดียว (a through service and at a single price) ทั้งนี้ประโยชน์ที่จะได้รับจากผลการเจรจาดังกล่าว การปรับปรุงข้อบท และสิทธิการบินต่าง ๆ ตามความตกลงฯ ฉบับใหม่และบันทึกข้อตกลงฯ ข้างต้น เป็นการเปิดโอกาสให้สายการบินที่กำหนดของทั้งสองฝ่ายสามารถขยายบริการและเครือข่ายการบินเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับสายการบินในการวางแผนการให้บริการ อันเป็นการส่งสริมการเดินทางของผู้โดยสารและการขนส่งสินค้า และส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การค้า และบริการระหว่างประเทศทั้งสองประเทศต่อไป 22. เรื่อง ขออนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณให้ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo ณ จังหวัดภูเก็ต ภายใต้ชื่องาน EXPO 2028 ? Phuket, Thailand คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงาน Specialised Expo ณ จังหวัดภูเก็ต ภายใต้ชื่องาน EXPO 2028 ? Phuket, Thailand ภายในกรอบวงเงิน 4,180,000,000 บาท สำหรับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเห็นควรให้หน่วยงานหลักบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โอนงบประมาณรายจ่าย โอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี รวมถึงการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณพร้อมรายละเอียดประกอบ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน โดยคำนึงถึงผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับ ภารกิจและความจำเป็นของหน่วยรับงบประมาณ ความครอบคลุมของทุกแหล่งเงิน และการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ สาระสำคัญ กระทรวงสาธารณสุข เสนอโครงการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงาน Specialised Expo ณ จังหวัดภูเก็ต ภายใต้ชื่องาน EXPO 2028 - Phuket,Thailand โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 1. กรอบระยะเวลาการดำเนินงานการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ระยะ รายละเอียด 1. การเตรียมการยื่นเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ (Candidature Phase) พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) 1.1 เสนอขออนุมัติหลักการต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 1.2 เสนอกรอบวงเงินประมาณการจัดงานต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา 1.3 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้รับ หนังสือเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดงาน (Letter of Candidature) ลงนามโดยผู้แทนของรัฐบาลไทย ในวันที่ 15 ธันวาคม 2564 2. การสมัครอย่างเป็นทางการและการประเมินศักยภาพจาก BIE (Project Examination Phase) พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) 2.1 ยื่นเสนอตัว อย่างเป็นทางการในนามของรัฐบาลไทย (Letter of Candidature) ในวันที่ 7 มกราคม 2565 2.2 จ่ายค่ามัดจำสิทธิ์ (Recognition Fee) ร้อยละ 10 ของค่าสิทธิ์การเสนอตัวจัดงาน คิดเป็นเงิน 2,200,000 บาท ในวันที่ 7 มกราคม 2565 2.3 นำส่งเอกสารทางเทคนิค (Bid Dossier) พร้อมแพ็กเกจสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา (Assistance for Developing Package) ในเดือนพฤษภาคม 2565 2.4 การสำรวจพื้นที่การจัดงาน (Enquiry Mission) ครั้งที่ 1 2.5 คณะกรรมการ BIE จัดทำรายงานการสำรวจพื้นที่และศักยภาพของประเทศไทย 2.6 การนำเสนอของประเทศที่ยื่นเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัด (Country Presentation) ครั้งที่ 1 ในเดือนมิถุนายน 2565 2.7 การนำเสนอของประเทศที่ยื่นเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัด (Country Presentation) ครั้งที่ 2 ในเดือนธันวาคม 2565 พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) 2.8 การสำรวจพื้นที่การจัดงาน (Enquiry Mission) ครั้งที่ 2 (ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการ BIE) 2.9 การนำเสนอของประเทศที่ยื่นเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัด (Country Presentation) ครั้งที่ 3 และประกาศผลการเลือกประเทศเจ้าภาพใน BIE General Assembly ในเดือนมิถุนายนหรือธันวาคม 2566 2.10 การแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (Commissioner of Exhibition) 3. การเตรียมการจัดงาน (Recognition Phase) พ.ศ. 2567 (ค.ศ. 2024) 3.1 ประเทศที่ได้รับการคัดเลือกยื่นจดหมายยืนยันการเป็นประเทศเจ้าภาพ (Application for Recognition) 4 ปีก่อนการจัดงาน 3.2 การสำรวจพื้นที่การจัดงานประจำปี (Enquiry Mission) ทุกปี ปีละ 1 ครั้ง 3.3 การนำเสนอความก้าวหน้าการเตรียมการจัดงานประจำปีต่อคณะกรรมการ BIE ทุกปี ปีละ 1 ครั้ง 3.4 การชำระเงินค่าสิทธิ์ (Recognition Fee) ร้อยละ 90 ของค่าสิทธิ์การเสนอตัวจัดงาน คิดเป็นจำนวนเงิน 19,800,000 บาท 3.5 การเตรียมพื้นที่จัดงานตามที่ได้รับอนุมัติ 4. การจัดงาน (Implementation Phase) พ.ศ. 2568 ? 2572 (ค.ศ. 2025 - 2029) 4.1 การสำรวจพื้นที่การจัดงานประจำปี (Enquiry Mission) ทุกปี ปีละ 1 ครั้ง 4.2 การนำเสนอความก้าวหน้าการเตรียมการจัดงานประจำปีต่อคณะกรรมการ BIE ทุกปี ปีละ 1 ครั้ง 4.3 การเตรียมพื้นที่จัดงานตามที่ได้รับอนุมัติ 4.4 การออกนโยบายการสำหรับประเทศที่เข้าร่วมจัดแสดง (Special Regulations) 4.5 การจัดงาน EXPO 2028 - Phuket, Thailand ระหว่างวันที่ 20 มีนาคม - 17 มิถุนายน 2571 รวมระยะเวลา 3 เดือน 2. รูปแบบและข้อกำหนดในการจัดงาน EXPO 2028 - Phuket, Thailand ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดของ BIE กำหนดให้พื้นที่การจัดงานจะต้องเป็นพื้นที่ที่มีแผนโครงการพัฒนาอย่างชัดเจนและมีแผนก่อสร้างเรียบร้อยแล้ว โดยมีขนาดพื้นที่จัดแสดงจำกัดไม่เกิน 156 ไร่ (หรือ 25 เฮกตาร์) ซึ่งพื้นที่โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลกของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต พื้นที่ราชพัสดุทะเบียนหมายเลข ภก. 153 บริเวณตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ขนาดพื้นที่จัดงาน 141 ไร่ 2 งาน 64 ตารางวา (หรือประมาณ 25 เฮกตาร์) สอดคล้องกับข้อกำหนดดังกล่าวของ BE พร้อมพื้นที่สนับสนุนอีก 3 แห่ง รวม 201 ไร่ คือ พื้นที่พัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว พื้นที่ของตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต และพื้นที่พัฒนโครงการศูนย์กีฬาของการกีฬาแห่งประเทศไทย สำหรับใช้ในการพัฒนาเป็นพื้นที่จอดรถ พื้นที่จำหน่ายบัตร ฯลฯ ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานประมาณ 4,900,000 คน แบ่งเป็นชาวต่างชาติร้อยละ 54 และชาวไทยร้อยละ 46 โดยมีแนวคิดการจัดงานหลัก (Theme) คือ Future of Life - Living in Harmony, Sharing Prosperity เน้นการสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและธรรมชาติ และแนวคิดรอง (Subthemes) คือ (1) Life and Well-Being (2) Human-Nature (3) Mutual Prosperity โดยพื้นที่การจัดงานประกอบด้วย พื้นที่ทางเข้า (Ring of Harmony) พื้นที่อาคารศาลาไทยและศาลาแนวคิดการจัดงาน (National Paviltion & Thematic Pavilion) พื้นที่อาคารนานาชาติ (International Pavilion) พื้นที่นิทรรศการร้านค้าและร้านอาหารริมบ่อน้ำ (Corporate Pavilion & Commercial) พื้นที่ป่าอนุรักษ์และแลนด์มาร์ก (The Pearl) และส่วนสนับสนุนการจัดงานภายในพื้นที่จัดงาน (Internal Service) ในส่วนกิจกรรมที่แสดงภายในงาน มีการแสดงทางวัฒนธรรม (Cultural Performance) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแนวคิด (Theme) การจัดงาน กิจกรรมการประชุม เสวนา และแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ?Future of Life Forums? กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเด็ก ครอบครัว ผู้ใหญ่และผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดการจัดงาน 3. แผนงบประมาณสำหรับการจัดงาน ได้ประมาณการกรอบงบประมาณในการจัดงานฯ ซึ่งได้คำนวณรวมถึงกรณีค่าใช้จ่ายสำหรับชดเชยการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และครอบคลุมระยะเวลาการจัดแสดงนิทรรศการ ระยะเวลา 3 เดือน โดยใช้งบประมาณรวมระยะเวลา 7 ปี (ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2566 - 2572) ในกรอบวงเงินทั้งสิ้น 4,180,000,000 บาท ซึ่งงบประมาณดังกล่าว ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการจัดงานนิทรรศการตามข้อกำหนดของ BIE การสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา การปรับภูมิทัศน์และการอำนวยความสะดวกภายในจังหวัดภูเก็ต การประชาสัมพันธ์และการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ค่าดำเนินการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพซึ่งงบประมาณที่ใช้เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2561 23. เรื่อง ขออนุมัติกรอบงบประมาณและผู้มีอำนาจลงนามโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ 1. อนุมัติกรอบงบประมาณการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 วงเงินงบประมาณ 2,500 ล้านบาท และจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 วงเงินงบประมาณ 4,281 ล้านบาท 2. เห็นชอบผู้ลงนามการยื่นเสนอตัวประมูลสิทธิ์ ตามข้อกำหนดของ AIPH โดยมีรายละเอียดเอกสาร จำนวน 5 ฉบับ ดังนี้ 1) หนังสือแสดงเจตจำนงการเป็นเจ้าภาพการจัดงาน (Formal Letter requesting approval from the organization or authority making the application) ของทั้ง 2 จังหวัด ได้แก่ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2) แบบสอบถาม International Horticultural Exhibitions Questionnaire จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ - ปลัดกระทรวงมหาดไทย - ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี - อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (AIPH Member) จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย - ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา - อธิบดีกรมวิชาการเกษตร (AIPH Member) 3) หนังสือยืนยันการสนับสนุนการจัดงานและงบประมาณจัดงานจากรัฐบาลไทย(Formal Letter of Support from National Government & Financial Confirmation) จังหวัดอุดรธานี ได้แก่ ปลัดกระทรวงมหาดไทย จังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ นายกรัฐมนตรี 4) หนังสือสนับสนุนการจัดงานจากสมาชิก AIPH (Formal Letter of Support from AIPH Member) ของทั้ง 2 จังหวัด ได้แก่ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร 5) หนังสือยืนยันการสนับสนุนค่าประกันสิทธิ์และค่าลิขสิทธิ์การจัดงาน (Financial Guarantee and License Fee) ของทั้ง 2 จังหวัด ได้แก่ ผู้อำนวยการ สสปน. สาระสำคัญ พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 27 ว่าด้วยการดำเนินกิจกรรมมาตรการหรือโครงการที่ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณหรือภาระทางการคลังในอนาคตที่คณะกรรมการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินการนั้น จัดทำแผนบริหารจัดการกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการ ประมาณการรายจ่าย แหล่งเงินที่ใช้ตลอดระยะเวลาดำเนินการ และประโยชน์ที่จะได้รับ โดยต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการต่อคณะรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงขอเสนอโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569 และโครงการประมูลสิทธิ์งานมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2572 โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 1. จังหวัดอุดรธานี (จัดงานระดับ B) 1) วัตถุประสงค์ (1) แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาด้านพืชสวนของไทยรวมถึงพื้นที่ชุ่มน้ำและสมุนไพร ตลอดจนการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและเทคโนโลยีด้านพืซสวนในระดับชาติ และระดับนานาชาติ (2) ลดความเหลื่อมล้ำ กระจายรายได้ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ด้านธุรกิจ ด้านการนำเข้า - ส่งออก ผลิตผลการเกษตร ธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรมและธุรกิจ การบริการด้านต่าง ๆ (3) ส่งเสริมการพัฒนาและต่อยอดการเกษตรด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยี และการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ให้เป็นศูนย์กลางด้านการค้าการลงทุนของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) (4) สร้างจังหวัดอุดรธานีให้เป็นศูนย์กลางนวัดกรรมด้านการเกษตรของภูมิภาคลุ่มน้ำโขง GMS เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิต วิจัย และการต่อยอดสู่ BCG Model (Bio Economy, Circular Economy, Green Economy) เศรษฐกิจชีวภาพ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และระบบเศรษฐกิจสีเขียว สร้างมดุลระหว่างการเติบโตทางศรษฐกิจกับความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ การเฉลิมฉลองที่สำลัญของประเทศและจังหวัดอุครธานี (1) ในปี พ.ศ. 2569 เป็นปีที่ประชาชนชาวไทยจะมีโอกาสได้ร่วมเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 30 ปี พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดมบรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (2) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ 6 รอบ หรือ 72 พรรษา (3) เฉลิมฉลองการก่อตั้งจังหวัดอุดรธานี ครบ 134 ปี โดยกรมพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรหลวงประจักษ์ศิลปาคมพระผู้สถาปนาเมืองอุดรธานี 2) เป้าหมาย จำนวนผู้เข้าชมงาน 3.6 ล้านคน (แบ่งเป็นชาวไทย ร้อยละ 70 และชาวต่างประเทศ ร้อยละ 30) 3) ระยะเวลาจัดงาน 134 วัน ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2569 - 14 มีนาคม 2570 4) สถานที่จัดงาน พื้นที่ชุ่มน้ำหนองแด ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พื้นที่รวม 1,030 ไร่ 5) ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดอุดรธานี และ สสปน. 2. จังหวัดนครราชสีมา (จัดงานระดับ A1) 1) วัตถุประสงค์ (1) เพื่อแสดงความก้าวหน้าด้านพันธุ์พืช เทคโนโลยี และนวัตกรรมการผลิตพืชสวน การแปรรูป และผลิตภัณฑ์แบบครบวงจร การเป็นฐานเกษตร และอาหารที่เข้มแข็ง บนพื้นฐานของการพัฒนา รวมทั้งการสร้างสมดุลทางธรรมชาติ ด้านการวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศไทย (2) เพื่อให้เกิดการยกระดับและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ข้อมูลข่าวสารทางด้านพืชสวนและการเกษตรกับนานาประเทศที่มาร่วมงาน และส่งเสริมให้เกิดการขยายตลาด สินค้าการเกษตรให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนและระดมสมอง เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ในระยะกลางและระยะยาว และสร้างเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศและกับนานาชาติ (3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ กระจายความเจริญ โอกาสที่จะนำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในเชิงพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมาและประเทศไทย โดยสร้างตัวแบบหลักการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์ชาติ การเฉลิมฉลองที่สำคัญของประเทศและจังหวัดนครราชสีมา (1) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทร มหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดมบรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชาภิเษก ครบรอบ 1 ทศวรรษ และเฉลิมฉลองทรงมีพระชนมายุ ครบ 77 พรรษา (2) สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ 74 พรรษา (3) เฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 203 ปี วีรกรรมท้าวสุรนารี (4) เฉลิมฉลองการก่อตั้งจังหวัดนครราชสีมา ครบรอบ 355 ปี โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช 2) เป้าหมาย จำนวนผู้เข้าชมงาน 2.6 ล้านคน โดยร้อยละ 15 เป็นชาวต่างประเทศ จำนวนประเทศที่เข้าร่วมงาน 30 ประเทศ 3) ระยะเวลาการจัดงาน 110 วัน ระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน 2572 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2573 4) สถานที่จัดงาน พื้นที่ป่าสาธารณประโยชน์โคกหนองรังกา ตำบลเทพาลัย อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 678 ไร่ 5) ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดนครราชสีมา และ สสปน. ผลกระทบและประโยชน์ที่จะได้รับ 1) ด้านเศรษฐกิจ ตลอดระยะเวลาในการจัดงานของจังหวัดอุดรธานี มีมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) กว่า 20,000 ล้านบาท สร้างการจ้างงานกว่า 81,000 อัตรา รายได้จากการเก็บภาษีกว่า 7,700 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้จังหวัดอุดรธานี เกิดรายได้สะพัดกว่า 32,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาในการจัดงานของจังหวัดนครราชสีมา มีมูลค่าการสร้างผลิตภัณฑ์ มวลรวม (GDP) กว่า 9,163 ล้านบาท สร้างการจ้างงานกว่า 36,003 อัตรา และรายได้จากการเก็บภาษีกว่า 3,429 ล้านบาท ซึ่งทำให้จังหวัดนครราชสีมา เกิดรายได้สะพัดกว่า 18,942.64 ล้านบาท 2) ด้านการประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศ สามารถเผยแพรให้นานาชาติเห็นถึงการพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศ ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิถีการอยู่ร่วมกันของคนไทยกับธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม รวมทั้งเผยแพร่พระราชดำริด้านการเกษตรในการพัฒนาการเกษตร อย่างยั่งยืนสู่ประชาคมโลก 3) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ องค์กรนานาชาติ สามารถกระชับความเข้าใจและความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ และองค์กรนานาชาติ ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมในงานมากกว่า 20 ประเทศ / องค์กร 4) ด้านสังคม สามารถสร้างงาน และกระจายรายได้ให้กับคนในพื้นที่และจังหวัดข้างเคียง ส่งเสริมองค์ความรู้ด้านพืชสวนและการเกษตรให้กับท้องถิ่น เช่น การศึกษาวิจัย รวมไปถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการต่อยอดประชาชนชาวไทยจะได้มีโอกาสร่วมเฉลิมฉลองในวโรกาสที่สำคัญ และลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาเมือง 5) ด้านการเกษตร สามารถแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมและเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพ สามารถผลิตอาหารที่มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานสากลมีวัฒนธรรมการบริโภคที่มีความหลากหลายมีศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีที่ล้ำค่า รวมทั้งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรเชิงอนุรักษ์การเกษตร 6) ด้านการเพิ่มพูนประสบการณ์และองค์ความรู้ มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระดับนานาชาติร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยจากทั่วทุกมุมโลก เพื่อต่อยอดงานวิจัยและการพัฒนาพืชสวนของไทย อันจะเป็นโอกาสให้เจ้าหน้าที่ภาครัฐ เอกชน ได้เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ทางด้านพืชสวน และรูปแบบการจัดนิทรรศการในประเทศและนานาชาติ เนื่องจากในงานจะเป็นจุดรวมเทคโนโลยีสมัยใหม่ด้านพืชสวนของประเทศที่มาร่วมงาน รวมทั้งการเปิดโอกาสให้เกษตรกรและผู้ประกอบการ ประชาชนทั่วไปได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และเพื่อร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมด้านพืชสวนต่อไป แต่งตั้ง 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายวรณัฐ คงเมือง ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 3 ราย ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้ 1. นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 2. นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 3. นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ 1. นายศักดิ์สีห์ พรหมโยธี เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล 2. นางสาวบุศรา กาญจนาลัย อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ บันดาร์เสรีเบกาวัน เนการาบรูไนดารุสซาลาม 3. นายสุภาค โปร่งธุระ อัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอัมมาน ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศทั้ง 3 ราย ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ 27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง ศาสตราจารย์พิเศษวิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2565 เป็นต้นไป 28. เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 2 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการฯ ที่พ้นจากตำแหน่ง ดังนี้ 1. นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ เป็นประธานกรรมการ 2. นางสาวธิดารัธ ธนภรรคภวิน เป็นกรรมการ (บุคคลในบัญชีรายชื่อฯ และผู้ทรงคุณวุฒิใน ภาคธุรกิจ) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2565 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน (วันที่ 27 ตุลาคม 2566) ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 มกราคม 2565