คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนตามที่กระทรวงการคลังโดยศูนย์อำนวยการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนเสนอ ซึ่งกระทรวงการคลังจะได้ออกประกาศกระทรวงการคลังเรื่องมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนต่อไป
ทั้งนี้ มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน สรุปสาระสำคัญดังนี้
กระทรวงการคลังได้มีการหารือร่วมกับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ในประเด็นเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนแล้ว เห็นว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยังคงมีกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่เป็นลูกหนี้ในสถาบันการเงินที่เดือดร้อนและยังมิได้รับความช่วยเหลือ ด้วยเหตุนี้ จึงตกลงร่วมกันที่จะดำเนินการเพื่อบรรเทาภาระหนี้แก่ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว เพื่อให้มีโอกาสได้ฟื้นฟูสภาพในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพหน้าที่การงานได้อย่างเป็นปกติสุขโดยปราศจากปัญหาหนี้สินและการถูกดำเนินคดีทางศาล รวมทั้งเพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนมีความคืบหน้าอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ให้เป็นการดำเนินมาตรการเพียงครั้งเดียว โดยมีข้อสรุปร่วมกัน ดังนี้
1. คุณสมบัติของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เข้าเกณฑ์
1.1 เป็นสินทรัพย์จัดชั้นสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย หรือ สินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ทั้งนี้ ไม่รวมสินทรัพย์ที่เป็นสินเชื่อเกษตรกรรม สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อบัตรเครดิต
1.2 เป็นสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ บริษัทเงินทุน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่เข้าร่วมโครงการตามบัญชีรายชื่อสถาบันการเงินตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
1.3 เป็นสินทรัพย์ที่ลูกหนี้ในฐานะผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา
1.4 เป็นสินทรัพย์ที่ลูกหนี้ในฐานะผู้กู้ถูกฟ้องดำเนินคดีแล้วก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 โดยมียอดหนี้ เงินต้นคงค้างต่อรายลูกหนี้ไม่เกินสองแสนบาทต่อสถาบันการเงิน
2. แนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
2.1 กรณีลูกหนี้สามารถชำระหนี้แก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของยอดเงินต้นคงค้างได้ครบถ้วนภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ให้ลูกหนี้ที่มีความประสงค์ตามมาตรการนี้ติดต่อสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 โดยให้ลูกหนี้ได้รับการพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1) ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินต้นแก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้เพียงครั้งเดียวระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2549
2) ลูกหนี้จะได้รับยกเว้นภาระหนี้เงินต้นที่เหลือและดอกเบี้ยค้างรับทั้งจำนวน เมื่อลูกหนี้ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ครบถ้วนแล้ว
3) หากลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ สัญญาโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นอันเลิกไป โดยภาระหนี้ทั้งหมดย้อนกลับไปยังมูลหนี้เดิมก่อนการปรับโครงสร้างหนี้
2.2 กรณีลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้แก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของยอดเงินต้นคงค้างเกินกว่าวันที่ 30 มิถุนายน 2549 แต่ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ให้ลูกหนี้ที่มีความประสงค์ตามมาตรการนี้ติดต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2549 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1) ให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้โดยความยินยอมของลูกหนี้จัดส่งแบบฟอร์มข้อมูลลูกหนี้ตามที่ธนาคารออมสินกำหนดให้แก่ธนาคารออมสินภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549
3) ธนาคารออมสินจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงของลูกหนี้แต่ละรายโดยจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเฉพาะกรณีที่ลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้อย่างแท้จริงและข้อมูลลูกหนี้ถูกต้องโดยจะแจ้งผลการพิจารณาแก่ลูกหนี้และสถาบันการเงินเจ้าหนี้ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2549
4) หากลูกหนี้ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว ธนาคารออมสินจะอำนวยสินเชื่อเป็นจำนวนร้อยละ 50 ของมูลค่าเงินต้นคงค้างที่มีต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้แก่ลูกหนี้เพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ต่อไป
5) สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวจะมีเงื่อนไขให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินต้นแก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้เพียงครั้งเดียว โดยลูกหนี้จะได้รับยกเว้นภาระหนี้เงินต้นที่เหลือและดอกเบี้ยค้างรับทั้งจำนวน เมื่อลูกหนี้ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ครบถ้วน
6) ลูกหนี้จะต้องผ่อนชำระสินเชื่อใหม่ให้ครบถ้วนแก่ธนาคารออมสินตามระยะเวลาการกู้ที่จะตกลงกัน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2552 โดยมีอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารออมสินกำหนด
การลงนามในบันทึกความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
สถาบันการเงินที่เข้าร่วมประชุมหารือและตกลงที่จะดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ตามแนวทางที่เห็นชอบร่วมกันข้างต้น เพื่อสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนกับกระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2548
อนึ่ง มีสถาบันการเงินหลายแห่งที่ประสงค์จะดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ แต่เนื่องจากไม่มีลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงมิได้เข้าร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนกับกระทรวงการคลัง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนที่ได้รับการเห็นชอบร่วมกันนั้นจะส่งผลดีต่อทุกฝ่าย ดังนี้
1. ประชาชนได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนจากภาระหนี้ อันจะช่วยสร้างเสริมศักยภาพในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพหน้าที่การงาน
2. สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดยอดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ อันจะช่วยเพิ่มความมั่นคงและเสถียรภาพ ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่สถาบันการเงินในระยะยาว
3. ระบบเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น
3.1 เมื่อประชาชนมีศักยภาพในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพหน้าที่การงานดีขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของทรัพยากรบุคคลของประเทศ อันเป็นปัจจัยที่จะช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
3.2 เมื่อสถาบันการเงินมีความมั่นคงมากขึ้น จะสามารถปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ดีขึ้น อันเป็นการช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นคาดว่าจะมีลูกหนี้ที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนดังกล่าวข้างต้น จำนวนประมาณ 100,000 ราย หรือคิดเป็นมูลค่าเงินต้นคงค้างประมาณ 7,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ข้อมูลดังกล่าวคาดว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะต้องตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน สรุปสาระสำคัญดังนี้
กระทรวงการคลังได้มีการหารือร่วมกับธนาคารพาณิชย์ ธนาคารของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ในประเด็นเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนแล้ว เห็นว่า ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาสินทรัพย์ด้อยคุณภาพอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยังคงมีกลุ่มประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่เป็นลูกหนี้ในสถาบันการเงินที่เดือดร้อนและยังมิได้รับความช่วยเหลือ ด้วยเหตุนี้ จึงตกลงร่วมกันที่จะดำเนินการเพื่อบรรเทาภาระหนี้แก่ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าว เพื่อให้มีโอกาสได้ฟื้นฟูสภาพในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพหน้าที่การงานได้อย่างเป็นปกติสุขโดยปราศจากปัญหาหนี้สินและการถูกดำเนินคดีทางศาล รวมทั้งเพื่อให้การแก้ไขปัญหาหนี้สินภาคประชาชนมีความคืบหน้าอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ให้เป็นการดำเนินมาตรการเพียงครั้งเดียว โดยมีข้อสรุปร่วมกัน ดังนี้
1. คุณสมบัติของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่เข้าเกณฑ์
1.1 เป็นสินทรัพย์จัดชั้นสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย หรือ สินทรัพย์จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2548 ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ ทั้งนี้ ไม่รวมสินทรัพย์ที่เป็นสินเชื่อเกษตรกรรม สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อบัตรเครดิต
1.2 เป็นสินทรัพย์ของสถาบันการเงิน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารของรัฐที่มีกฎหมายจัดตั้งขึ้นเป็นการเฉพาะ บริษัทเงินทุน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ที่เข้าร่วมโครงการตามบัญชีรายชื่อสถาบันการเงินตามมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
1.3 เป็นสินทรัพย์ที่ลูกหนี้ในฐานะผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา
1.4 เป็นสินทรัพย์ที่ลูกหนี้ในฐานะผู้กู้ถูกฟ้องดำเนินคดีแล้วก่อนวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 โดยมียอดหนี้ เงินต้นคงค้างต่อรายลูกหนี้ไม่เกินสองแสนบาทต่อสถาบันการเงิน
2. แนวทางการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
2.1 กรณีลูกหนี้สามารถชำระหนี้แก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของยอดเงินต้นคงค้างได้ครบถ้วนภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ให้ลูกหนี้ที่มีความประสงค์ตามมาตรการนี้ติดต่อสถาบันการเงิน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 โดยให้ลูกหนี้ได้รับการพิจารณาปรับโครงสร้างหนี้โดยมีเงื่อนไขดังนี้
1) ให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินต้นแก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้เพียงครั้งเดียวระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2549
2) ลูกหนี้จะได้รับยกเว้นภาระหนี้เงินต้นที่เหลือและดอกเบี้ยค้างรับทั้งจำนวน เมื่อลูกหนี้ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ครบถ้วนแล้ว
3) หากลูกหนี้ไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ สัญญาโครงสร้างหนี้ดังกล่าวเป็นอันเลิกไป โดยภาระหนี้ทั้งหมดย้อนกลับไปยังมูลหนี้เดิมก่อนการปรับโครงสร้างหนี้
2.2 กรณีลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้แก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของยอดเงินต้นคงค้างเกินกว่าวันที่ 30 มิถุนายน 2549 แต่ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2552 ให้ลูกหนี้ที่มีความประสงค์ตามมาตรการนี้ติดต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2548 จนถึงวันที่ 31 มกราคม 2549 โดยมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้
1) ให้สถาบันการเงินเจ้าหนี้โดยความยินยอมของลูกหนี้จัดส่งแบบฟอร์มข้อมูลลูกหนี้ตามที่ธนาคารออมสินกำหนดให้แก่ธนาคารออมสินภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549
3) ธนาคารออมสินจะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงของลูกหนี้แต่ละรายโดยจะพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเฉพาะกรณีที่ลูกหนี้มีความสามารถในการชำระหนี้อย่างแท้จริงและข้อมูลลูกหนี้ถูกต้องโดยจะแจ้งผลการพิจารณาแก่ลูกหนี้และสถาบันการเงินเจ้าหนี้ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2549
4) หากลูกหนี้ได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้ว ธนาคารออมสินจะอำนวยสินเชื่อเป็นจำนวนร้อยละ 50 ของมูลค่าเงินต้นคงค้างที่มีต่อสถาบันการเงินเจ้าหนี้แก่ลูกหนี้เพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้กับสถาบันการเงินเจ้าหนี้ต่อไป
5) สัญญาปรับโครงสร้างหนี้ดังกล่าวจะมีเงื่อนไขให้ลูกหนี้ชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 50 ของเงินต้นแก่สถาบันการเงินเจ้าหนี้เพียงครั้งเดียว โดยลูกหนี้จะได้รับยกเว้นภาระหนี้เงินต้นที่เหลือและดอกเบี้ยค้างรับทั้งจำนวน เมื่อลูกหนี้ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ครบถ้วน
6) ลูกหนี้จะต้องผ่อนชำระสินเชื่อใหม่ให้ครบถ้วนแก่ธนาคารออมสินตามระยะเวลาการกู้ที่จะตกลงกัน ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2552 โดยมีอัตราดอกเบี้ยตามที่ธนาคารออมสินกำหนด
การลงนามในบันทึกความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชน
สถาบันการเงินที่เข้าร่วมประชุมหารือและตกลงที่จะดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ตามแนวทางที่เห็นชอบร่วมกันข้างต้น เพื่อสนับสนุนนโยบายของภาครัฐ ได้ลงนามในบันทึกความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนกับกระทรวงการคลังเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2548
อนึ่ง มีสถาบันการเงินหลายแห่งที่ประสงค์จะดำเนินมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ แต่เนื่องจากไม่มีลูกหนี้ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จึงมิได้เข้าร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือในการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนกับกระทรวงการคลัง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนที่ได้รับการเห็นชอบร่วมกันนั้นจะส่งผลดีต่อทุกฝ่าย ดังนี้
1. ประชาชนได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนจากภาระหนี้ อันจะช่วยสร้างเสริมศักยภาพในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพหน้าที่การงาน
2. สถาบันการเงินที่เข้าร่วมโครงการสามารถลดยอดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ อันจะช่วยเพิ่มความมั่นคงและเสถียรภาพ ตลอดจนสร้างโอกาสทางธุรกิจแก่สถาบันการเงินในระยะยาว
3. ระบบเศรษฐกิจของประเทศดีขึ้น
3.1 เมื่อประชาชนมีศักยภาพในการดำเนินชีวิตและการประกอบอาชีพหน้าที่การงานดีขึ้น ก็จะส่งผลดีต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของทรัพยากรบุคคลของประเทศ อันเป็นปัจจัยที่จะช่วยพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
3.2 เมื่อสถาบันการเงินมีความมั่นคงมากขึ้น จะสามารถปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจได้ดีขึ้น อันเป็นการช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศต่อไป
ทั้งนี้ ข้อมูลเบื้องต้นคาดว่าจะมีลูกหนี้ที่ได้รับประโยชน์จากมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคประชาชนดังกล่าวข้างต้น จำนวนประมาณ 100,000 ราย หรือคิดเป็นมูลค่าเงินต้นคงค้างประมาณ 7,000 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ข้อมูลดังกล่าวคาดว่าอาจมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากสถาบันการเงินแต่ละแห่งจะต้องตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--