http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (1 กุมภาพันธ์ 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม คณะรัฐมนตรี (ผ่านระบบ Video Conference) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วย การให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร 2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของ ประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชร์ ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และ ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม สำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ 3. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหา การเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. ?. 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบ กิจการ พ.ศ. ?. 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่าย ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 9 ถึงมาตรา 9/6 แห่งพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2562 จำนวน 3 ฉบับ
7. เรื่อง ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ ? สังคม
8. เรื่อง ขอความเห็นชอบกู้ยืมเงินเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องขององค์การส่งเสริมกิจการ
โคนมแห่งประเทศไทย
9. เรื่อง การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) 10. เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 11. เรื่อง ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา 12. เรื่อง ขออนุมัติปรับกรอบวงเงินลงทุนและจัดหาแหล่งเงินเพิ่มเติม กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการใช้แหล่งเงินกู้ ECP กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มงวด 27 ถึง 29 กรณีความผันผวน ของอัตราแลกเปลี่ยน และกรณีค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรจากการนำเข้า (Import VAT & Import Duty) พร้อมทั้งขออนุมัติจัดหาแหล่งเงินรองรับ โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต และช่วงบางซื่อ ? ตลิ่งชัน 13. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การเลื่อนเป็น เจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6
พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021)
14. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการจ้างเหมา พนักงานปฏิบัติงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 15. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2566 16. เรื่อง การเสนอความเห็นการขอยุบเลิกทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบายการ บริหารทุนหมุนเวียน 17. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนพฤศจิกายน 2564 18. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนธันวาคม 2564 19. เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ
ครั้งที่ 1/2565 ต่างประเทศ
20. เรื่อง ขอความเห็นชอบเป็นเจ้าภาพการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก 2022 (WAMSB World Championship 2202) 21. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 12 (The 12th ASEAN Ministers Meeting on Rural Development and Poverty Eradication) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 22. เรื่อง ผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 4 ในรูปแบบ
ออนไลน์
23. เรื่อง ผลการประชุม United Nations Global Sustainable Transport Conference ครั้งที่ 2 24. เรื่อง ผลการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 27 25. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 10 แต่งตั้ง 26. เรื่อง รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการ (จำนวน 13 ราย) 27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) 28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการให้ดอกเบี้ย แก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของ สำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ กค. เสนอ เป็นการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร สำหรับกรณีคืนเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย และเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรกรณีที่ดำเนินการตามข้อบทว่าด้วยวิธีการเพื่อความตกลงร่วมกันของสัญญาหรือข้อผูกพันว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ หรือที่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยทำไว้กับสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน อันจะเป็นการสร้างความเป็นธรรมต่อทั้งภาครัฐและเอกชน สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากร โดยให้เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน ได้แก่ 1. กรณีเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย ให้นับแต่ (1) วันสิ้นกำหนดระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่ได้รับการขยายหรือเลื่อนให้ และได้ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากรไว้ภายในกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการเกี่ยวกับเงินภาษีอากรที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่าย หรือ 2. กรณีที่มีการดำเนินการตามข้อบทว่าด้วย MAP ของสัญญา หรือ (2) วันยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร สำหรับกรณีนอกเหนือจากข้อ (1) ผูกพันว่าด้วย การเว้นการเก็บภาษีซ้อนที่รัฐบาลไทยได้ทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศหรือที่สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยได้ทำไว้กับสำนักงานเศรษฐกิจและการค้าของต่างประเทศ ไม่ว่าจะได้รับคืนเงินภาษีอากรจากผลของการดำเนินการ ตามข้อบทดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม ให้นับแต่ (1) วันที่ผู้ได้รับคืนเงินภาษีอากรได้รับแจ้งผลการดำเนินการตามข้อบทดังกล่าว จากเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของรัฐบาลไทยหรือสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย หรือ (2) วันที่ยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีอากร ทั้งนี้ แล้วแต่วันใดจะเป็นวันหลัง 2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชร์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ 1. ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทนตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคล ซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้นำร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาพร้อมกับร่างพระราชกฤษฎีกาในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ที่กระทรวงแรงงานเสนอ เป็น การขยายระยะเวลาลดอัตราการจ่ายเงินสมทบที่ผู้ประกันตนซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 โดยลดอัตราเงินสมทบลงเหลือร้อยละ 60 ของเงินสมทบเดิม และขยายระยะเวลาการปรับลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับผู้ประกันตน ซึ่งต้องไม่เกิน กึ่งหนึ่งของเงินสมทบที่ได้รับจากผู้ประกันตนซึ่งเป็นแรงงานนอกระบบ ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกันตนจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และช่วยให้แรงงานนอกระบบมีแนวโน้มที่จะเลือกส่งเงินสมทบตามมาตรา 40 ซึ่งเป็นแบบสมัครใจเป็นจำนวนเพิ่มมากขึ้นในช่วงเวลาที่มีการลดอัตราเงินสมทบดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการประกันสังคม (ชุดที่ 13) ได้มีมติให้ความเห็นชอบกับการปรับลดอัตราเงินสมทบตามร่างกฎหมาย รวม 2 ฉบับดังกล่าวแล้ว สาระสำคัญของร่างกฎหมาย 1. พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราเงินสมทบที่ผู้ประกันตนต้องจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยยังคงอัตราการจ่ายเงินสมทบตามพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบ ประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 สรุปได้ดังนี้ 1.1 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ดังนี้ 1.1.1 ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 3 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย จ่ายเงินสมทบในอัตรา เดิม 70 บาทต่อเดือน เป็น 42 บาทต่อเดือน 1.1.2 ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพจ่ายเงินสมทบในอัตรา เดิม 100 บาทต่อเดือน เป็น 60 บาทต่อเดือน 1.1.3 ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 5 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จ่ายเงินสมทบ ในอัตรา เดิม 300 บาทต่อเดือน เป็น 180 บาทต่อเดือน 1.2 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ดังนี้ 1.2.1 ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย จ่ายเงินสมทบ ในอัตรา 70 บาทต่อเดือน 1.2.2 ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ จ่ายเงินสมทบ ในอัตรา เดิม 100 บาทต่อเดือน 1.2.3 ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 5 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จ่ายเงินสมทบ ในอัตรา 300 บาทต่อเดือน 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน เพื่อให้สอดคล้องกับการลดอัตราการจ่ายเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เป็นระยะเวลา 6 เดือน โดยยังคงอัตราการจ่ายเงินสมทบตามกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมสำหรับบุคคลซึ่งสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน พ.ศ. 2564 สรุป ได้ดังนี้ 2.1 ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ดังนี้ 2.1.1 ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 3 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตรา เดิม 30 บาทต่อเดือน เป็น 21 บาทต่อเดือน 2.1.2 ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตรา เดิม 50 บาทต่อเดือน เป็น 30 บาทต่อเดือน 2.1.3 ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 5 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร รัฐบาลจ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนในอัตรา เดิม 150 บาทต่อเดือน เป็น 90 บาทต่อเดือน 2.2 ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ดังนี้ 2.2.1 ทางเลือกที่ 1 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 3 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตรา 30 บาทต่อเดือน 2.2.2 ทางเลือกที่ 2 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีชราภาพ รัฐบาลจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนในอัตรา 50 บาทต่อเดือน 2.2.3 ทางเลือกที่ 3 ผู้ประกันตนได้ประโยชน์ทดแทน 5 กรณี ได้แก่ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย กรณีชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร รัฐบาลจ่ายเงินสมทบ เข้ากองทุนในอัตรา 150 บาทต่อเดือน 3. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ดศ. เสนอว่า 1. นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 117/2564 ลงวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกะทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานกรรมการ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบาย มาตรการ และแนวทางปฏิบัติเพื่อบูรณาการป้องกันปราบปราม และแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยกร่างกฎหมาย ระเบียบ ข้อกำหนดและประกาศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมาตรการทางปกครอง มาตรการทางภาษี และมาตรการทางสังคม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อม และลดความเสียหายจากผลกระทบที่เกิดขึ้นได้รวดเร็ว 2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการรวม 3 คณะ ได้แก่ 2.1 คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2.2 คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางและหลักเกณฑ์การดูแลการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) 2.3 คณะอนุกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 3. เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ สื่อสังคมออนไลน์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตใน การสร้างและเผยแพร่ข้อมูลเท็จหรือมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างและเผยแพร่ข่าวปลอม (Fake news) ที่มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง ข่าวที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินต่อประชาชนโดยตรง เช่น โรคระบาด ภัยพิบัติ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ข่าวที่สร้างความแตกแยกในสังคม การยั่วยุ ข่าวที่สร้างความเข้าใจผิดต่อสังคม ตลอดจนข่าวที่ทำลายภาพลักษณ์ต่อประเทศ ทำให้มีผลกระทบต่อสิทธิส่วนบุคคล ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เด็กและเยาวชน ตลอดจนกระทบต่อเศรษฐกิจ วัฒนธรรมอันดี และสถาบันหลักของชาติ ซึ่งสถานการณ์ที่มีการเผยแพร่ข่าวปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์มีแนวโน้มที่จะขยายตัวมากขึ้น 4. ดศ. โดยคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางและหลักเกณฑ์การดูแลการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) (คณะอนุกรรมการ คณะที่ 2) จึงได้ดำเนินการจัดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาวางแนวทางและหลักเกณฑ์การดูแลการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อให้การป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในสื่อสังคมออนไลน์หรือในระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นข้อมูลเท็จหรือข้อมูลปลอมดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยคุ้มครองประชาชนให้ได้รับความปลอดภัยและได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นประโยชน์ อีกทั้งเป็นการอำนวยความสะดวก สนับสนุนการดำเนินการร่วมกันของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและมีแนวทางและหลักเกณฑ์ในการดำเนินการที่ชัดเจน และได้มีการรับฟังข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน รวมทั้งได้จัดทำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. ?. 5. ในการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564 คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบร่างระเบียบดังกล่าวด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างระเบียบ 1. กำหนดบทนิยามที่สำคัญ เช่น 1.1 ?สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)? หมายความว่า สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ พ.ศ. 2564 1.2 ?ข่าวปลอม? หมายความว่า ข้อมูลคอมพิวเตอร์ในสื่อสังคมออนไลน์ หรือในระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นข้อมูลเท็จหรือข้อมูลปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน 2. ให้มีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ ศูนย์ประสานงานกลาง ศูนย์ประสานงานประจำกระทรวง และศูนย์ประสานงานประจำจังหวัด โดยมีรายละเอียดดังนี้ 2.1 ให้สำนักงานปลัด ดศ. จัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์กลาง เพื่อเป็นศูนย์กลางในการดำเนินการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ และให้มีอำนาจและหน้าที่ในการประสานงานกับศูนย์ประสานประจำกระทรวงและศูนย์ประสานงานประจำจังหวัด รับรองข่าวปลอมสำหรับข้อมูลในความรับผิดชอบของ ดศ. ดำเนินการตามกฎหมายกับข่าวปลอมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ข้อมูล และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวปลอม สร้างเครือข่ายอาสาสมัครเพื่อสอดส่องดูแลข้อมูลข่าวสารปลอมบนสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งติดตามผลการดำเนินคดีเกี่ยวกับข่าวปลอมของกระทรวงและจังหวัดในกรณีที่เป็นเรื่องสำคัญ เร่งด่วน มีผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง และติดตามผลการดำเนินการของศูนย์ประสานงานประจำกระทรวงและประจำจังหวัด ทั้งนี้ ให้สำนักงานปลัด ดศ. กำหนดและแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานของศูนย์ประสานงานกลางเพื่อปฏิบัติงานตามอำนาจและหน้าที่ดังกล่าว 2.2 ให้ทุกกระทรวงจัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ประจำกระทรวง โดยให้ศูนย์ประสานงานประจำกระทรวงมีอำนาจและหน้าที่รับแจ้งข้อมูลที่สงสัยว่าอาจเป็นข่าวปลอมเพื่อตรวจสอบและพิจารณาเนื้อหา รับรองข่าวปลอมสำหรับข้อมูลในความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวง เผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวปลอมในความรับผิดชอบของแต่ละกระทรวง ดำเนินการตามกฎหมายกับข่าวปลอมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยให้ปลัดกระทรวงแต่งตั้งหรือมอบอำนาจให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและรับรองข่าวปลอม เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข่าวปลอม และเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ดังกล่าว 2.3 ให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ประจำจังหวัด โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดที่ได้รับมอบหมายทำหน้าที่หัวหน้าศูนย์ประสานงานประจำจังหวัด โดยศูนย์ประสานงานประจำจังหวัดมีอำนาจและหน้าที่รับแจ้งข้อมูลที่สงสัยว่าอาจเป็นข่าวปลอม เพื่อตรวจสอบและพิจารณาเนื้อหา รับรองข่าวปลอมสำหรับข้อมูลในความรับผิดชอบของแต่ละจังหวัด เผยแพร่ข้อมูล ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวปลอมในความรับผิดชอบของแต่ละจังหวัด และดำเนินการตามกฎหมายกับข่าวปลอมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยประสานกับศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ประจำกระทรวง โดยให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งหรือมอบอำนาจให้ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและรับรองข่าวปลอม เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข่าวปลอม และเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจและหน้าที่ดังกล่าว 3. เมื่อปรากฏว่ามีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จหรือมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม หรือมีการเผยแพร่ข่าวปลอมในสื่อสังคมออนไลน์หรือในระบบคอมพิวเตอร์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อประชาชน กระทบต่อความสงบเรียบร้อย หรือก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง หรือก่อให้เกิดความเสียหายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงหรือจังหวัดใด ให้เป็นหน้าที่ของศูนย์ประสานงานประจำกระทรวงหรือศูนย์ประสานงานประจำจังหวัดนั้น ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและรับรองข่าวปลอมทำหน้าที่ตรวจสอบและรับรองข่าวปลอมและแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว ให้เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข่าวปลอมดำเนินการแถลงข่าวทันทีที่พบว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอมและแจ้งกรมประชาสัมพันธ์ภายใน 1 ชั่วโมง และให้เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบและต้องจัดให้มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนโดยเร็ว ทั้งนี้ หากเจ้าหน้าที่ดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการตามที่กำหนดโดยไม่มีเหตุอันควร ให้ถือว่ากระทำผิดวินัย 4. กรณีข่าวปลอมใดที่เข้าข่ายหรือสมควรดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบตามระเบียบนี้ แจ้งให้ ดศ. ดำเนินการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ออกจากระบบคอมพิวเตอร์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ ระยะเวลาและวิธีการปฏิบัติสำหรับการระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลคอมพิวเตอร์ของพนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการ พ.ศ. 2560 5. กำหนดให้หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบนี้ต้องกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของงานเพื่อการประเมินผลการดำเนินงานตามระเบียบนี้ โดยให้ ดศ. ทำหน้าที่ประเมินผลการดำเนินงานดังกล่าว 6. กำหนดให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นต้นสังกัดของสถานศึกษาทุกระดับการศึกษาและทุกประเภทการศึกษามีหน้าที่ดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ให้กับเด็กและเยาวชน สร้างความตระหนักและความรู้เท่าทันข้อมูลข่าวปลอมทางสื่อสังคมออนไลน์ โดยการเพิ่มเนื้อหาในรายวิชาที่ทำให้ผู้เรียนรู้เท่าทันและตระหนักถึงอันตรายของข่าวปลอมและสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลกระทบต่อสังคม รวมทั้งจัดให้มีการวัดผลการเรียนดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรม 7. ค่าใช้จ่ายสำหรับการดำเนินการตามระเบียบนี้ ให้เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายของสำนักงานปลัด ดศ. โดยให้สำนักงบประมาณสนับสุนงบประมาณในการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานปลัด ดศ. 4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือ คณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้ 1. เห็นชอบในหลักการร่างกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม และกระทรวงพลังงานไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ 2. ให้กระทรวงแรงงานรับมติที่ประชุมร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประเด็นตามข้อคัดค้านร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ข้อ 21 (3) เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 รวมทั้งความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงสาธารณสุข สภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย และสภาสถาบันการศึกษาและเครือข่ายวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว โดยได้รวมร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หรือคณะบุคคล พ.ศ. ?. ที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหลักการเป็นฉบับเดียว ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับนายจ้างในการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ ซึ่งหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นกลไกในการกำกับ ดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัย ในสถานประกอบกิจการ สรุปได้ดังนี้ 1. กำหนดให้นายจ้างของสถานประกอบกิจการตามประเภทที่ระบุไว้ในบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวงต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เว้นแต่เป็นสถานประกอบกิจการประเภทที่มีจำนวนลูกจ้างไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน โดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการที่นายจ้างต้องจัดให้มีจะเป็นประเภทใดหรือระดับใด ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน ร่างกฎกระทรวง และมีหน้าที่ต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ เช่น จัดทำคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตรวจสอบสภาพการทำงานและสาเหตุการประสบอันตรายในสถานประกอบกิจการ แนะนำฝึกสอนลูกจ้างในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อไม่ให้ประสบอันตรายในที่ทำงาน เป็นต้น 2. กำหนดให้นายจ้างของสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างจำนวน 50 คนขึ้นไป ต้องจัดให้มีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ โดยคณะกรรมการดังกล่าวประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง โดยคณะกรรมการดังกล่าวมีหน้าที่และอำนาจต่าง ๆ เช่น จัดทำนโยบายด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ จัดทำแนวทางการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการทำงาน เป็นต้น 3. กำหนดให้นายจ้างของสถานประกอบกิจการบางประเภทต้องจัดให้มีหน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อดูแลและปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ โดยหน่วยงานดังกล่าวมีหน้าที่ต่าง ๆ เช่น วางแผนการบริหารความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการ ตรวจประเมินระบบความปลอดภัยในการทำงานในภาพรวมของสถานประกอบกิจการ เป็นต้น 4. กำหนดให้นายจ้างต้องนำรายชื่อเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานและผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานไปขึ้นทะเบียนต่อ กสร. 5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณี ชราภาพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และ ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ รง. รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ ระยะเวลา และอัตราการจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ พ.ศ. 2550 โดยแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การจ่ายประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้รับเงินบำเหน็จชราภาพในกรณีผู้รับเงินบำนาญชราภาพเสียชีวิตภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิรับเงินบำนาญชราภาพ ให้ได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเพิ่มขึ้น ดังนี้ 1. กำหนดให้ผู้รับบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จาก เดิม 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับคราวสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย เป็น จำนวนเท่ากับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย x จำนวนเดือนที่เหลือหลังจากผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายจนครบ 60 เดือน เช่น กรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบำนาญชราภาพเดือนละ 5,250 บาท และได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้ว 20 เดือนก่อนถึงแก่ความตาย เมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทของผู้ประกันตนจะได้รับบำเหน็จชราภาพ ดังนี้ เดิม เท่ากับ 5,250 x 10 = 52,500 บาท ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ เท่ากับ 5,250 x (60 ? 20) = 210,000 บาท 2. กำหนดให้บุคคลซึ่งถูกงดการจ่ายเงินบำนาญชราภาพเนื่องจากกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน และเวลาต่อมาความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลงด้วยเหตุถึงแก่ความตาย หากบุคคลนั้นได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้วไม่เกิน 60 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพ จาก เดิม 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนคราวสุดท้ายก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน เป็น จำนวนเท่ากับจำนวนเงินบำนาญชราภาพที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนกลับเข้าเป็นผู้ประกันตน x จำนวนเดือนที่เหลือหลังจากผู้รับบำนาญชราภาพกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนจนครบ 60 เดือน เช่น กรณีที่ผู้ประกันตนได้รับบำนาญชราภาพเดือนละ 5,250 บาท และได้รับเงินบำนาญชราภาพมาแล้ว 20 เดือน ต่อมากลับเข้ามาทำงานเงินบำนาญชราภาพดังกล่าวจะถูกงดจ่าย และเมื่อผู้ประกันตนเสียชีวิต ทายาทของผู้ประกันตนจะได้รับบำเหน็จชราภาพ ดังนี้ เดิม เท่ากับ 5,250 x 10 = 52,500 บาท ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ เท่ากับ 5,250 x (60 ? 20) = 210,000 บาท 3. กำหนดให้ผู้รับบำนาญชราภาพอยู่ก่อนกฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับ และรับบำนาญชราภาพมาแล้วยังไม่ครบ 60 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพจนครบ 60 เดือน และในกรณีรับเงินบำนาญชราภาพมาแล้ว และจำนวนเดือนเหลือน้อยกว่า 10 เดือน ให้จ่ายเงินบำเหน็จชราภาพเป็นจำนวน 10 เท่าของเงินบำนาญชราภาพรายเดือนที่ได้รับเดือนสุดท้ายก่อนถึงแก่ความตาย 6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 9 ถึงมาตรา 9/6 แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 จำนวน 3 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับและการออกใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง การขอต่ออายุและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง การขอรับและการออกใบแทนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง พ.ศ. ?. 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกหนังสือเตือน การสั่งพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง พ.ศ. ?. 3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดวิธีการตรวจสอบ กำหนดเวลาในการตรวจสอบ และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ?. รวมจำนวน 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงจำนวน 3 ฉบับ ที่ อก. เสนอ เป็นการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 เพื่อให้พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับสมบูรณ์ อันเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบกิจการโรงงานในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยโรงงาน มีหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบเอกชนให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเพื่อให้ผู้ตรวจสอบเอกชนมีแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน และสามารถปฏิบัติงานได้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ซึ่ง อก. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับแล้ว สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับและการออกใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง การขอต่ออายุและการอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง การขอรับและการออกใบแทนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง พ.ศ. ?. เป็นการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับ การออกใบอนุญาต การขอต่ออายุ การอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต และการออกใบแทนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง สรุปได้ดังนี้ 1.1 กำหนดนิยามคำว่า ?ใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง? หมายความว่า ใบอนุญาตที่ออกให้ผู้ตรวจสอบเอกชนเพื่อดำเนินการตรวจสอบหรือรับรองตามมาตรา 9 1.2 กำหนดวิธีการดำเนินการและระยะเวลาการออกใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง เช่น เมื่อได้รับคำขอรับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ยื่นคำขอ และดำเนินการตรวจสอบคำขอ ความถูกต้องและครบถ้วนของข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐาน ตามที่ระบุไว้ในคำขอ และกรณีที่คำขอรับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองถูกต้องและครบถ้วน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดทำรายงานผล การตรวจสอบดังกล่าวเสนอต่อผู้อนุญาตภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ 1.3 กำหนดให้ก่อนที่ใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองจะสิ้นอายุ ผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองต้องผ่านการอบรมทบทวนความรู้ตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด 1.4 กำหนดวิธีการดำเนินการและระยะเวลาการขอเปลี่ยนแปลง แก้ไขชื่อ นามสกุล หรือชื่อนิติบุคคลของผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง เช่น กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองยื่นคำขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูล พร้อมด้วยเอกสาร หรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในคำขอ และต้องส่งใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองฉบับเดิมมาพร้อมกับการยื่นคำขอด้วย ทั้งนี้ การพิจารณาคำขอเปลี่ยนแปลงแก้ไขดังกล่าวให้พิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ 1.5 กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองที่ผ่านการอบรมทบทวนความรู้ หากประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองต่อ ผู้อนุญาต พร้อมด้วยข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานตามที่ระบุไว้ในคำขอตามระยะเวลาที่กำหนด 1.6 กำหนดให้การยื่นคำขอ การแจ้ง การชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง และการอนุญาตหรือไม่อนุญาตดำเนินการผ่านระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ของกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก ในกรณีที่ยังไม่สามารถดำเนินการหรือมีเหตุอื่นใดทำให้ไม่สามารถดำเนินการได้ ให้การดำเนินการกระทำ ณ กรมโรงงานอุตสาหกรรม 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกหนังสือเตือน การสั่งพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง พ.ศ. ?. เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกหนังสือเตือน การสั่งพักใช้ และการเพิกถอนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองของผู้ตรวจสอบเอกชน สรุปได้ดังนี้ 2.1 กำหนดวิธีการออกหนังสือเตือนต่อผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง เช่น ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงานฯ ให้ผู้อนุญาตแจ้งเตือนเป็นหนังสือ ให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองปฏิบัติให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด และหนังสือเตือนดังกล่าวอย่างน้อยต้องระบุวัน เดือน และปีที่ทำหนังสือเตือน ชื่อและตำแหน่ง พร้อมลงลายมือชื่อของผู้ออกหนังสือเตือน เหตุผลแห่งการออกหนังสือเตือนที่เป็นข้อเท็จจจริงอันเป็นสาระสำคัญ ข้อกฎหมายที่อ้างอิง ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลยพินิจ ข้อปฏิบัติและระยะเวลาการปฏิบัติที่ผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองต้องปฏิบัติ 2.2 กำหนดวิธีการสั่งพักใช้ใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง เช่น การสั่งพักใช้ใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองให้กำหนดระยะเวลาในการพักใช้ใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองด้วย 2.3 กำหนดวิธีการสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง โดยกำหนดให้ผู้อนุญาตแจ้งให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองส่งคืนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองด้วย เมื่อมีการเพิกถอนใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรอง 3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดวิธีการตรวจสอบ กำหนดเวลาในการตรวจสอบ และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. ?. เป็นการกำหนดรายละเอียด กรอบวิธีการและระยะเวลาในการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรหรือดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องแทนการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบดังกล่าว สรุปได้ดังนี้ 3.1 กำหนดวิธีการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรหรือการดำเนินการอื่นใด โดยกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองต้องได้รับความยินยอมจากผู้ประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงผู้ตรวจสอบเอกชนต้องเริ่มดำเนินการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรและจัดทำรายงานผลการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด ทั้งนี้ แบบรายงานผลการตรวจสอบให้เป็นไปตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด 3.2 กำหนดวิธีการตรวจสอบโรงงาน โดยให้ตรวจสอบเอกสารข้อเท็จจริงและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงต้องมีการบันทึกรายการการตรวจสอบด้วย ทั้งนี้ แบบบันทึกการตรวจสอบเป็นไปตามที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมกำหนด 3.3 กำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบหรือรับรองต้องมีผลผูกพันในรายงานผลการตรวจสอบที่จัดทำขึ้น 3.4 กำหนดให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมอาจกำหนดคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับผู้ตรวจสอบเอกชนก็ได้ 7. เรื่อง ข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติ ดังนี้ 1. รับทราบข้อสังเกตของคณะกรรมมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของสภาผู้แทนราษฎร และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของวุฒิสภา ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรและสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเสนอ 2. ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ.... ของสภาผู้แทนราษฎรไปพิจารณา หากเห็นควรปรับแก้ไขเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติฯ ให้ส่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ปรับแก้ไขตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เป็นเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ในการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป 3. ให้กระทรวงพาณิชย์เป็นหน่วยงานหลักรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาดังกล่าว ไปพิจารณาร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อสังเกตดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สาระสำคัญ 1. ร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เกี่ยวกับอายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานภาพถ่าย โดยให้การคุ้มครองงานภาพถ่ายตลอดอายุผู้สร้างสรรค์และต่อไปอีก 50 ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย เพื่อให้สอดคล้องกับสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองมาตรการทางเทคโนโลยีข้อจำกัดความรับผิดของผู้ให้บริการ เพื่อสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างผู้ให้บริการและเจ้าของลิขสิทธิ์ในการส่งเสริมการค้าที่เป็นธรรมบนสื่ออินเทอร์เน็ต และเพิ่มการกำหนดโทษสำหรับความผิดในการให้บริการ ผลิต ขาย หรือแจกจ่าย ซึ่งบริการ ผลิตภัณฑ์หรืออุปกรณ์ที่ทำให้มาตรการทางเทคโนโลยีไม่เกิดผล เพื่อให้การป้องปรามการละเมิดลิขสิทธิ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภาและอยู่ระหว่างดำเนินการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป 2. คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของ สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา เห็นว่าเหตุผลตามบันทึกประกอบร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ ยังมีขอบเขตแคบเกินไป โดยยังไม่ครอบคลุมถึงเรื่องการกำกับดูแลงานอันมีลิขสิทธิ์ จึงเห็นควรแก้ไขเพิ่มเติมเหตุผลตามบันทึกประกอบร่างพระราชบัญญัติฯ เพื่อให้การคุ้มครองงานอันมีลิขสิทธิ์มีประสิทธิภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและสภาพสังคมในปัจจุบัน รวมทั้งมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการพัฒนาระบบฐานข้อมูลลิขสิทธิ์ โดยควรสนับสนุนให้เกิดการนำทรัพย์สินทางปัญญาอื่นที่จะหมดอายุการคุ้มครองมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทย การกำหนดแนวทางหรือแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินคดีการละเมิดลิขสิทธิ์ การพิจารณาแก้ไขอัตราโทษขั้นต่ำในบทกำหนดโทษเรื่องอื่น ๆ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้กฎหมายมีความสอดคล้องกันทั้งฉบับต่อไปในอนาคต การแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน การส่งเสริมให้เจ้าของลิขสิทธิ์เลือกใช้มาตรการทางเทคโนโลยีที่ไม่เป็นการปิดกั้นการใช้เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการในการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์ และการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัตินี้ เศรษฐกิจ ? สังคม 8. เรื่อง ขอความเห็นชอบกู้ยืมเงินเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชีเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องทางการเงินขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) ค้ำประกันจำนวน 250 ล้านบาท ระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง กษ. รายงานว่า 1. อ.ส.ค. เป็นรัฐวิสาหกิจ ในสังกัด กษ. ซึ่งเคยมีวงเงินกู้เบิกเกินบัญชีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน 100 ล้านบาท เพื่อสำรองเป็นทุนหมุนเวียนดำเนินงาน โดยใช้หลักทรัพย์เครื่องจักรอุปกรณ์พร้อมสิ่งปลูกสร้างโรงงานผลิตภัณฑ์นมที่จังหวัดสุโขทัย ค้ำประกันการกู้เงินอายุสัญญา 1 ปี โดยต่อสัญญาทุกปี (ปีต่อปี) ต่อมาในปี 2557 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ได้ปรับลดวงเงินเหลือ 50 ล้านบาท ตามมูลค่าหลักทรัพย์ที่ค้ำประกันที่ลดลง เนื่องจาก อ.ส.ค. ได้ย้ายเครื่องจักรที่เป็นส่วนหนึ่งของหลักทรัพย์ค้ำประกันออกจากพื้นที่ติดตั้งเดิม เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและขยายกำลังการผลิต และในปี 2558 อ.ส.ค. ได้แจ้งธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ขอยกเลิกวงเงินเบิกเกินบัญชี เนื่องจากใกล้จะหมดอายุสัญญา ประกอบกับในช่วงระยะเวลาดังกล่าวไม่ได้ใช้วงเงินเบิกเกินบัญชีเพื่อบริหารจัดการการดำเนินงาน เนื่องจากสภาพคล่องทางการเงินของ อ.ส.ค. อยู่ในสถานการณ์ที่ดี 2. ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นมา สภาวะเศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศมีการชะลอตัวโดยมีแนวโน้มต่อเนื่องไปอีก 2 - 3 ปี ทำให้ได้รับผลกระทบเนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคและตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมลดลง ในขณะที่ปริมาณน้ำนมดิบที่ อ.ส.ค. ต้องรับซื้อจากเกษตรกรยังคงเดิมทุกปี และต้องจ่ายค่าน้ำนมดิบให้แก่เกษตรกรอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกเดือน โดยปริมาณน้ำนมดิบจะสูงสุดในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงปิดภาคเรียน ทำให้ผลิตภัณฑ์นมรอการจำหน่ายในคลังสินค้าเป็นจำนวนมาก จึงมีค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้ามากขึ้น นอกจากนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศระลอกใหม่ ส่งผลต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่รุนแรงเพิ่มมากขึ้นและยาวนานกว่าปีที่ผ่านมา รวมทั้งอุทกภัยที่เกิดขึ้น ทั่วทุกภาคส่งผลให้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมซึ่งเป็นรายได้หลักของ อ.ส.ค. ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ธุรกิจมีการแข่งขันสูง ทำให้บางช่วงเวลามีเงินสดไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายตามกำหนดชำระเงิน 3. คณะกรรมการ อ.ส.ค. ในการประชุมครั้งที่ 8/2563 มีมติเห็นชอบให้ อ.ส.ค. ดำเนินการขอกู้เงินเบิกเกินบัญชีเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องทางการเงินในวงเงิน 300 ล้านบาท อายุสัญญา 3 ปี โดยขอให้ กค. ค้ำประกันการกู้เงิน เนื่องจาก อ.ส.ค. ไม่มีหลักทรัพย์ที่จะนำไปค้ำประกันเพราะที่ดินเป็นที่ราชพัสดุ และเครื่องจักรอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นการเช่า 9. เรื่อง การจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการมอบอำนาจให้สภานโยบายฯ ทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองเรื่องการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา1 และมีคำสั่งให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาแทนคณะรัฐมนตรี โดยให้ถือว่าการอนุมัติและความเห็นชอบดังกล่าวเป็นมติของคณะรัฐมนตรี และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบเป็นระยะ ตามนัยมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ตามที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สภานโยบายฯ) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง สภานโยบายฯ รายงานว่า 1. ด้วยบริบทโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การอุบัติขึ้นของวิกฤตการณ์ใหม่ และการพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่ต่างมีนัยสำคัญและมีผลกระทบต่อแนวทางการจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ รูปแบบวิถีชีวิตแบบหลายช่วง2 (Multistage life) และการเตรียมรองรับวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้ประเทศไทยมีกำลังคน ทั้งปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอและสามารถตอบโจทย์การพัฒนาประเทศในมิติต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวง การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดทำข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) ขึ้น โดยสภานโยบายฯ ในการประชุม ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ได้พิจารณาข้อเสนอดังกล่าวและมีมติดังนี้ 1.1 เห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐาน การอุดมศึกษา ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด หลักเกณฑ์ 1) กลุ่มเป้าหมายที่จะจัดการศึกษาในลักษณะดังกล่าว ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันการศึกษาอื่นทั้งของรัฐและเอกชน ซึ่งรวมถึงสถาบันที่อยู่ภายใต้สังกัดของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และนอกสังกัด อว. ที่จัดการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษาที่ต้องดำเนินการภายใต้มาตรฐานการอุดมศึกษา 2) เป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อนำไปสู่การให้ปริญญา ทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และบัญฑิตศึกษา รวมถึงการจัดการศึกษาแบบปริญญาที่มาจากการเทียบโอนการศึกษาและการเรียนรูที่ไม่มุ่งปริญญา3 (Non - degree) 3) ผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์นโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 4) การดำเนินการอาจทำได้ 2 ลักษณะ คือ อว. โดยความเห็นชอบของสภานโยบายฯ มีนโยบายให้สถาบันการอุดมศึกษาแห่งใดแห่งหนึ่งหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งดำเนินการ หรือสถาบันอุดมศึกษาที่มีความประสงค์เสนอเรื่องเข้ามาเพื่อขอดำเนินการ เงื่อนไข 1) เป็นการผลิตบัณฑิตที่ไม่สามารถทำได้ด้วยข้อกำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษาที่มีอยู่ในปัจจุบันได้หรือมีเหตุผลหรือความจำเป็นอย่างยิ่งที่สมควรยกเว้นมาตรฐานการอุดมศึกษาเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาขึ้น 2) ต้องให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์เชิงสมรรถนะที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างแท้จริง 3) สถาบันอุดมศึกษาต้องมีความพร้อมด้านการเงินและทรัพยากรในการจัดการศึกษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์การผลิตบัญฑิตตามที่คาดหวัง 4) ต้องมีการติดตามประเมินผลระหว่างการดำเนินงานเพื่อนำไปสู่การถอดบทเรียนการดำเนินงานเมื่อสิ้นสุดการดำเนินงาน 5) ต้องประกาศให้สาธารณชนและผู้เรียนรับทราบว่าเป็นหลักสูตรการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา วิธีการ สถาบันอุดมศึกษาจัดทำข้อเสนอการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา และเสนอเรื่องเข้ามาเพื่อดำเนินการ โดยระบุรายละเอียดในข้อเสนอ ดังนี้ 1) สภาพปัญหาและเหตุผลความจำเป็น พร้อมระบุข้อกำหนดมาตรฐานการอุดมศึกษาที่ต้องการ ขอยกเว้น 2) วัตถุประสงค์ 3) ผลสัมฤทธิ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียน ได้แก่ ความรู้และทักษะเชิงเทคนิค (Technical knowledge and skills) ความสามารถทางด้านสังคม (Soft skills) และลักษณะบุคคล (Character) 4) สถาบันอุดมศึกษาและคณะผู้รับผิดชอบ 5) รายละเอียดหลักสูตร 6) หน่วยงานร่วมดำเนินการ (สถาบันอุดมศึกษาอื่น ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานในต่างประเทศ) และบทบาทความรับผิดชอบ 7) หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมที่คาดว่าจะเป็นผู้ใช้บัณฑิตจากการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา 8) ระยะเวลาการดำเนินการ 9) งบประมาณและแหล่งงบประมาณ 10) ความพร้อมด้านทรัพยากรในการจัดการศึกษา 11) การสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต 12) กลไกและมาตรการในการกำกับ และการประกันคุณภาพการศึกษา 13) การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเมื่อครบระยะเวลาแล้ว 14) ผลที่คาดว่าจะเกิดกับสถานอุดมศึกษา สถานประกอบการ หรือองค์กรที่ร่วมจัดการศึกษา งบประมาณ ดำเนินงาน งบประมาณประจำปีของสถาบันอุดมศึกษา หรือการขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ แหล่งบริหารจัดการทุน หรือกองทุนหมุนเวียนต่าง ๆ เช่น โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) (อว.) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม กองทุนหมุนเวียนภาครัฐที่มีพันธกิจที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากำลังคนระดับสูง รวมถึงงบประมาณสนับสนุนจากสถานประกอบการที่ร่วมจัดการศึกษา ผลที่คาดว่า จะได้รับ 1) เกิดการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม และทันเวลากับการใช้งานของภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว 2) เกิดนวัตกรรมการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ตอบโจทย์รูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้ประชาชนทุกช่วงวัยและทุกกลุ่มฐานะเศรษฐกิจสามารถเข้าถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพ 3) เกิดรูปแบบการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่น สามารถจัดการศึกษาให้แก่ผู้เรียนได้ แม้ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยหรือเกิดวิกฤติการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจ 4) เกิดการพลิกโฉมการผลิตกำลังคนของระบบอุดมศึกษาของประเทศ (สภานโยบายฯ ได้ประกาศข้อกำหนดสภานโยบายฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 ประกาศ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564) 1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่อง ด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนสภานโยบายฯ โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกรรมการ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นเลขานุการ เป็นต้น โดยมีอำนาจหน้าที่ เช่น 1) กำหนดแนวทาง กลไก มาตรการเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมการอุดมศึกษา 2) เสนอต่อรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหรือคณะรัฐมนตรีให้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือให้มีการกำหนดมาตรการและแรงจูงใจทางการเงิน การคลัง และสิทธิประโยชน์ เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา และ 3) ให้ข้อเสนอแนะต่อสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อผลักดันนวัตกรรมการอุดมศึกษา เป็นต้น (สภานโยบายฯ ได้มีคำสั่งสภานโยบายฯ ที่ 3/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิเศษเฉพาะเรื่องด้านการส่งเสริมนวัตกรรมการอุดมศึกษา สั่ง ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2564) 1.3 มอบหมาย สอวช. นำเรื่องตามข้อ 1.1 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาเห็นชอบในหลักการและมอบหมายให้สภานโยบายฯ พิจารณาให้สถาบันอุดมศึกษาหรือส่วนงานในสถาบันอุดมศึกษาจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาและรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ ทั้งนี้ ภายใต้หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ และกลไกที่สภานโยบายฯ กำหนด 2. จากข้อ 1 ประเทศไทยจึงต้องการระบบและมาตรฐานการอุดมศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่ ซึ่งจำเป็นต้องขยายหรือปรับปรุงข้อจำกัดของกฎ ระเบียบ และขั้นตอนการปฏิบัติในการพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอนแบบเดิม เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถจัดการศึกษาและพัฒนากำลังคนที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและหลากหลาย โดยมีข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา (Higher Education Sandbox) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 2.1 การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาไทยจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนให้ทันกับบริบทที่เปลี่ยนไป และควรมีการทดลองใช้นวัตกรรมการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ที่อาจยังไม่มีมาตรฐานการอุดมศึกษาในปัจจุบันมารองรับ เพื่อทำให้เกิดการสร้างมาตรฐานอุดมศึกษาในกระบวนทัศน์แบบใหม่ และนำไปสู่การพัฒนากำลังคนที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่ได้มากขึ้น 2.2 มาตรฐานการอุดมศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันมีกฎระเบียบบางประการที่เป็นข้อจำกัดต่อการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ เช่น การจำกัดจำนวนหน่วยกิตในการเทียบโอนจากการศึกษานอกระบบ เข้าสู่การศึกษาในระบบซึ่งขัดต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตและระบบคลังหน่วยกิต4 การกำหนดคุณสมบัติของผู้สอนและผู้รับผิดชอบหลักสูตรและการจำกัดจำนวนชั่วโมงสอนของอาจารย์พิเศษ ซึ่งจะไม่เอื้อต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้การผลิตกำลังคนให้ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบัน อว. กำลังดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานการอุดมศึกษา โดยเป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ กฎกระทรวงว่าด้วยด้านมาตรฐานการจัดการระดับอุดมศึกษา กฎกระทรวงว่าด้วยมาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กฎกระทรวงว่าด้วยด้านมาตรฐานเกณฑ์ในการขอตำแหน่งทางวิชาการ และกฎกระทรวงว่าด้วยมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาเพื่อให้เอื้อต่อการสร้างนวัตกรรมการผลิตบัณฑิตมากขึ้นและจะมีผลกับสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งต่อไป ซึ่งในระหว่างที่จัดทำกฎกระทรวงใหม่ดังกล่าว หากสถาบันอุดมศึกษาต้องการพัฒนานวัตกรรมการอุดมศึกษาโดยการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาก็จะสามารถดำเนินการได้ภายใต้มาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการยกเว้นมาตรฐานการอุดมศึกษาสำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับอนุมัติจัดการศึกษาในลักษณะดังกล่าวเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการอุดมศึกษาใหม่ 2.3 สภานโยบายฯ ได้ออกข้อกำหนด เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา พ.ศ. 2564 (ตามข้อ 1.1) เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และแนวทางให้สถาบันที่จัดการอุดมศึกษา ระดับปริญญาและระดับต่ำกว่าปริญญาทั้งที่เป็นของรัฐและเอกชน ทั้งในสังกัดและนอกสังกัด อว. หรือส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษาใช้ในการเสนอขอจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาได้ โดยจะต้องเป็นการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่การให้ปริญญาทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา รวมถึงการจัดการศึกษาแบบปริญญาที่มาจากการเทียบโอนการศึกษาและการเรียนรู้ที่ไม่มุ่งปริญญา และมีเป้าหมายเพื่อผลิตบัณฑิตที่ตอบโจทย์นโยบายหรือยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และต้องให้ความสำคัญกับผลสัมฤทธิ์เชิงสมรรถนะและทักษะที่เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนอย่างแท้จริง 2.4 การดำเนินการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาจะมีกลไกและมาตรการในการกำกับติดตามและประเมินผล และพัฒนาแนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาที่สอดคล้องกับการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา และมีการติดตามตรวจสอบและประเมินผลโดยคณะ ผู้ประเมินผลอิสระ 2.5 เมื่อการจัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษาดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว อว. มีหน้าที่จัดทำรายงานผลการจัดการศึกษา ข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานการอุดมศึกษา และข้อเสนอเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมการอุดมศึกษา เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงมาตรฐานการอุดมศึกษาต่อไป 1 มาตรฐานการอุดมศึกษาเป็นข้อกำหนดขั้นต่ำที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการส่งเสริม กำกับดูแล ตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งมาตรฐานการอุดมศึกษาจะครอบคลุมด้านผลลัพธ์ผู้เรียน การวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการแก่สังคม ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย และการบริหารจัดการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำคัญ คือ การจัดการศึกษาเพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาระดับอุดมศึกษามีคุณลักษณะของคนไทย ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน 2 แต่เดิมช่วงวิถีชีวิตของคนแบ่งได้เป็น 3 ช่วง (Three - stage life) คือ เริ่มจากการเรียน ทำงาน และเกษียณ แต่ปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิวัฒนาการทางการแพทย์ รวมถึงสภาพแวดล้อมของสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไปส่งผลให้ผู้คนมีอายุเฉลี่ยที่ยาวขึ้น มีช่วงเวลาการทำงานยาวขึ้น ช่วงชีวิตของคนแต่ละช่วงอาจมีทั้งการเรียน การทำงาน และพักผ่อนผสมผสานกัน รวมทั้งต้องเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองและสร้างทักษะใหม่ ๆ อยู่เสมอ ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงมาสู่รูปแบบวิถีชีวิตแบบหลายช่วง (Multistage Life) 3 การเรียนรู้ที่ไม่มุ่งปริญญา (Non - degree) คือ หลักสูตรระยะสั้นที่จัดการเรียนการสอนโดยไม่ได้มุ่งไปที่การรับปริญญา ซึ่งอาจจัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น หลักสูตรแบบชุดวิชา หลักสูตรแบบชุดการเรียนรู้ หลักสูตรการฝึกอบรม เป็นต้น เพื่อรองรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong learning) และส่งเสริมให้การเรียนรู้ให้สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเน้นการเพิ่มทักษะหรือการเปลี่ยนทักษะ (Upskill/Reskill) เพื่อพัฒนาให้คนมีทักษะและความรู้ที่หลากหลาย ยืดหยุ่น และสามารถปรับตัวรองรับความต้องการของตลาดแรงงานที่ถูกกระทบด้วยภาวะวิกฤตต่าง ๆ ได้ 4 ระบบคลังหน่วยกิต คือ ระบบและกลไกในการเทียบโอนความรู้ความสามารถและหรือสมรรถนะที่ได้จากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และจากประสบการณ์บุคคล มาเก็บสะสมไว้ในคลังหน่วยกิตของสถาบันอุดมศึกษา 10. เรื่อง โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและ สังคม (คณะกรรมการฯ) เสนอดังนี้ 1. เห็นชอบการดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (โครงการฯ) ปี 2565 2. มอบหมายให้คณะกรรมการฯ เป็นหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบกำหนดหลักเกณฑ์รายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการฯ ได้แก่ การกำหนดแบบฟอร์มการลงทะเบียนการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ ข้อบังคับที่เกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ การกำหนดวัน เวลาในการตรวจสอบคุณสมบัติ หรือกำหนดหน่วยตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติม การกำหนดระยะเวลาต่าง ๆ ในการดำเนินโครงการฯ การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการดำเนินโครงการฯ 3. เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ (ร่างประกาศฯ) สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการฯ รายงานว่า เนื่องจากข้อมูลผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในปัจจุบัน เป็นข้อมูลจากโครงการฯ ของปี 2559 - 2561 โดยที่ผ่านมายังมีกลุ่มตกหล่นที่ไม่สามารถเข้าถึงโครงการฯ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นวงกว้าง ทำให้ข้อมูลผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ไม่สะท้อนข้อมูลผู้มีรายได้น้อย ณ เวลาปัจจุบัน ดังนั้น จึงจำเป็นจะต้องมีการลงทะเบียนรอบใหม่ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการระบุตัวผู้มีรายได้น้อย และมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการสังคมของภาครัฐให้แก่ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น คณะกรรมการฯ จึงมีมติในการประชุม ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เห็นชอบในหลักการของโครงการฯ ปี 2565 และร่างประกาศฯ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 8 (5) แห่งพระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการ พ.ศ. 2562 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการฯ มีหน้าที่และอำนาจประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง พร้อมทั้งรายงานผลการประเมินดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการฯ กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ 1. สาระสำคัญของโครงการฯ ปี 2565 หัวข้อ รายละเอียด วัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการระบุตัวผู้มีรายได้น้อย และมีข้อมูลเป็นปัจจุบัน (Dynamic Data) ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการสังคมของภาครัฐ กลุ่มเป้าหมาย* ประชาชนผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ประมาณ 20 ล้านคน (ผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ เดิม และผู้เข้าข่ายได้รับสิทธิรายใหม่) งบประมาณ ประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 564.455 ล้านบาท ประกอบด้วย (1) ค่าจ้างเหมาบริการระบบลงทะเบียนและการยืนยันตัวตน กรณีการใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรสวัสดิการฯ จำนวนทั้งสิ้น 164.274 ล้านบาท (2) ค่าใช้จ่ายสำหรับการรับลงทะเบียนของหน่วยรับลงทะเบียน ได้แก่ ธ.ก.ส. ธนาคารออมสิน ธนาคารกรุงไทยฯ กรมบัญชีกลาง (สำนักงานคลังจังหวัด) กระทรวงมหาดไทย (มท.) (ที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ) สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสำนักงานเมืองพัทยา รวมจำนวนทั้งสิ้น 400.181 ล้านบาท ทั้งนี้ จะเบิกจ่ายจากงบประมาณของกองทุนฯ ที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้วจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ระยะเวลาดำเนินการ เดือนธันวาคม 2564 ? ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าประชาชนจะสามารถเริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ประโยชน์ ที่คาดว่าจะได้รับ สามารถระบุตัวผู้มีรายได้น้อยและมีฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการสังคมของภาครัฐ แก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำ และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน หมายเหตุ: *การลงทะเบียนรอบใหม่ในครั้งนี้ รวมถึงผู้ถือบัตรสวัสดิการฯ เดิมต้องลงทะเบียนใหม่ด้วย 2. การดำเนินการที่สำคัญของโครงการฯ ปี 2565 2.1 การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียน ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด 1. สัญชาติ ไทย 2. อายุ ตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 3. บุคคลที่เข้าข่ายไม่ได้รับสิทธิ 3.1 ภิกษุ สามเณร นักพรตหรือนักบวช 3.2 ผู้ต้องขัง ผู้ถูกกักกัน ผู้ต้องกักขัง 3.3 บุคคลที่อยู่ในสถานสงเคราะห์ 3.4 บุคคลดังต่อไปนี้ 3.4.1 ข้าราชการ 3.4.2 พนักงานราชการ 3.4.3 พนักงาน ลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ หรือผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐที่ได้รับค่าตอบแทนจากหน่วยงานของรัฐ [หน่วยงานของรัฐตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561] โดยตรง เว้นแต่บุคคลดังกล่าวได้รับค่าตอบแทนไม่เกิน 100,000 บาท/ปี (รอบปีปฏิทิน) 3.4.4 ผู้รับบำเหน็จรายเดือน 3.4.5 ผู้รับบำนาญปกติ หรือเบี้ยหวัดจากส่วนราชการ 3.5 ข้าราชการการเมืองตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2535 3.6 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา 4. รายได้ 4.1 รายได้ของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง 4.2 รายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนไม่เกิน 100,000 บาท/คน/ปี ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง (การคำนวณรายได้เฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนคำนวณได้จากการรวมรายได้ของผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หารด้วยจำนวนบุคคลทั้งหมดในครอบครัว) 5. ทรัพย์สินทางการเงิน ได้แก่ เงินฝาก สลากพันธบัตร และตราสารหนี้ภาครัฐ 5.1 ทรัพย์สินทางการเงินของผู้ลงทะเบียนมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาท/คน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง 5.2 ทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียนมีมูลค่าไม่เกิน 100,000 บาท/คน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง (การคำนวณทรัพย์สินทางการเงินเฉลี่ยของครอบครัวของผู้ลงทะเบียน คำนวณได้จากการรวมมูลค่าทรัพย์สินทางการเงินของผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หารด้วยจำนวนบุคคลทั้งหมดในครอบครัว) 6. อสังหาริมทรัพย์ 6.1 อสังหาริมทรัพย์ของผู้ลงทะเบียน 6.1.1 ไม่มีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน) (1.1) กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว (1.1.1) บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถว ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา (1.1.2) ห้องชุดต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร (1.2) กรณีเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่ (2) ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย (2.1) ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่ (2.2) ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 10 ไร่ 6.1.2 ไม่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรือมีหนังสือดังกล่าว แต่เมื่อรวมกับข้อ 6.1.1 [ยกเว้น ข้อ (1.1.2)] จะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 1 ไร่ หรือ 10 ไร่ แล้วแต่กรณี ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ ผู้ลงทะเบียนที่มีรายชื่อเป็นเกษตรกร* ตามฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐหรือได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ถือว่าผู้ลงทะเบียนใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร 6.2 อสังหาริมทรัพย์ของผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน 6.2.1 ไม่มีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ หรือมีกรรมสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ (1) ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (บ้านพร้อมที่ดิน) (1.1) กรณีอยู่อาศัยอย่างเดียว (1.1.1) กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของที่ดินที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถวแยกจากกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิในที่ดินของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรส แต่ละคนต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของที่ดินที่มีลักษณะเป็นบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ ห้องแถว และตึกแถวร่วมกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิในที่ดินของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรส รวมกันต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 25 ตารางวา (1.1.2) กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของห้องชุดแยกจากกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิในห้องชุดของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสแต่ละคนต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร กรณีผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสเป็นเจ้าของห้องชุดร่วมกัน ไม่ว่าจะมีบุคคลอื่นเป็นเจ้าของรวมด้วยหรือไม่ก็ตาม ส่วนที่เป็นกรรมสิทธิในห้องชุดของผู้ลงทะเบียนและคู่สมรสรวมกันต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 35 ตารางเมตร (1.2) กรณีเป็นที่อยู่อาศัยและใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 20 ไร่ หรือในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่ (2) ที่ดินแยกจากที่อยู่อาศัย (2.1) ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอื่นที่ไม่ใช่เพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่ (2.2) ในกรณีที่ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 20 ไร่ 6.2.2 ไม่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรือมีหนังสือดังกล่าว แต่เมื่อรวมกับข้อ 6.2.1 (ยกเว้นข้อ 1.1.2) จะต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 2 ไร่ หรือ 20 ไร่ แล้วแต่กรณี ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ หากมีผู้ลงทะเบียนหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียนอย่างน้อย 1 คน มีรายชื่อเป็นเกษตรกร* ตามฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐหรือได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้ถือว่าผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียนใช้ประโยชน์จากที่ดินเพื่อการเกษตร 7. บัตรเครดิต ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีบัตรเครดิต ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง 8. หนี้สิน ผู้ลงทะเบียนจะต้องไม่มีวงเงินกู้ หรือมีวงเงินกู้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง แต่ไม่เกินหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ 8.1 วงเงินกู้สำหรับที่อยู่อาศัยรวมไม่เกิน 1.5 ล้านบาท 8.2 วงเงินกู้สำหรับยานพาหนะรวมไม่เกิน 1 ล้านบาท หมายเหตุ: 1) *เกษตรกร หมายถึง การเป็นเกษตรกรตามฐานข้อมูลของหน่วยงานของรัฐของผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) สมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียน หมายถึง คู่สมรสและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย อายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ ของผู้ลงทะเบียนตามข้อมูลของกรมการปกครอง สำหรับบุตรที่มีอายุเกิน 18 ปี ขึ้นไป จะถือเป็นครอบครัวใหม่ โดยจะไม่ได้รวมอยู่ในการพิจารณาของเกณฑ์ครอบครัว 3) การลงทะเบียนตามโครงการฯ เป็นรูปแบบสมัครใจ (Voluntary Basis) ผู้ลงทะเบียนจะต้องรับรองความถูกต้องของข้อมูลและรับรองลายมือชื่อของสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียนในแบบฟอร์มการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ซึ่งผู้ลงทะเบียนและสมาชิกในครอบครัวของผู้ลงทะเบียนจะต้องยินยอมให้เปิดเผยและตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลด้วย 4) หากมีการตรวจสอบในช่วงใดพบว่าผู้มีบัตรสวัสดิการฯ เป็นบุคคลที่ไม่เข้าข่ายได้รับสิทธิ ตามคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนที่กำหนดไว้ ผู้มีบัตรสวัสดิการฯ จะถูกระงับสิทธิถึงแม้จะเคยผ่านการตรวจสอบในช่วงลงทะเบียนแล้วก็ตาม ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ และระยะเวลาในการตรวจสอบคุณสมบัติ ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการฯ กำหนด เพื่อประโยชน์ในการปรับฐานข้อมูลผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน 5) ข้อมูลอื่นที่ใช้ประกอบการลงทะเบียน เช่น สถานภาพการเป็นนักเรียนหรือนักศึกษา การเดินทางออกนอกราชอาณาจักร กรรมสิทธิในรถ เป็นต้น 2.2 แนวทางการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาผู้มีรายได้น้อยที่ไม่ได้รับบัตรสวัสดิการฯ และผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ที่ไม่ควรได้รับสิทธิในช่วงที่ผ่านมา ดังนี้ (1) การแก้ไขปัญหาผู้มีรายได้น้อยที่ไม่ได้บัตรสวัสดิการฯ (Exclusion Error) โดยจะเปิดรับลงทะเบียนตามโครงการฯ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง (2) การแก้ไขปัญหาผู้มีบัตรฯ ที่ไม่ควรได้รับสิทธิ (Inclusion Error) จะมีการดำเนินการตรวจสอบคุณสมบัติและตรวจสอบข้อมูลของผู้ลงทะเบียน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยนำข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ที่ได้รับจากผู้ดูแลผู้มีบัตรสวัสดิการฯ (Account Officer: AO) และเสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบดำเนินการระงับสิทธิผู้มีบัตรสวัสดิการฯ ต่อไป 2.3 ผู้ได้รับสิทธิจากโครงการฯ ปี 2565 จะใช้บัตรประจำตัวประชาชนแทนบัตรสวัสดิการฯ (บัตรสวัสดิการฯ ที่ได้เริ่มใช้งานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 มีอายุการใช้งาน 5 ปี จะหมดอายุในเดือนกันยายน 2565) ซึ่งจะส่งผล ดังนี้ (1) ประหยัดต้นทุนในการผลิตบัตรสวัสดิการฯ ประมาณ 1,258 ล้านบาท (ประมาณการจากบัตรที่คาดว่าจะผลิตจำนวน 17 ล้านใบ ต้นทุนการผลิตใบละ 74 บาท) (2) ประหยัดเวลาในการผลิตและแจกบัตรสวัสดิการฯ รวมทั้งลดต้นทุนในการขนส่งบัตรสวัสดิการฯ (3) ลดปัญหาเรื่องการสวมสิทธิบัตรประจำตัวประชาชนหรือการนำบัตรประจำตัวประชาชนของบุคคลอื่นไปใช้สิทธิแทน (4) ช่วยลดการทุจริต เช่น กรณีร้านค้าเก็บบัตรสวัสดิการฯ ไว้เอง เป็นต้น 2.4 การมอบหมายคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด (คบจ.) เป็นผู้ช่วยประสานงานการดำเนินโครงการฯ ปี 2565 โดยคณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบให้ กค. มอบหมาย คบจ. เป็นผู้ช่วยประสานงานการดำเนินโครงการฯ ปี 2565 ในการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจในโครงการฯ ปี 2565 และสามารถประสานงานสำหรับโครงการฯ ในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ 3. ร่างประกาศฯ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ โดยให้คณะอนุกรรมการโยบายการจัดประชารัฐสวัสดิการ (คณะอนุกรรมการฯ) หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ ดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้ 3.1 จัดทำรายงานการประเมินผลการดำเนินงานและความคุ้มค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ (รายงานการประเมินผลฯ) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยในการจัดทำรายงานการประเมินผลฯ ต้องแสดงรายละเอียดของการจัดประชารัฐสวัสดิการอย่างน้อยในเรื่องตังต่อไปนี้ เช่น (1) จำนวนผู้มีสิทธิและมูลค่าที่ผู้มีสิทธิจะได้รับการจัดประชารัฐสวัสดิการ (2) จำนวนผู้ได้รับประชารัฐสวัสดิการและต้นทุนหรือมูลค่าในการจัดประชารัฐสวัสดิการ (3) ผลประโยชน์ของการจัดประชารัฐสวัสดิการ เช่น มูลค่าของการบรรเทาภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้มีรายได้น้อย การสนับสนุนค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาหรือการประกอบอาชีพ เป็นต้น 3.2 จัดทำรายงานการสำรวจความพึงพอใจในการจัดประชารัฐสวัสดิการจากผู้มีบัตรสวัสดิการฯ และผู้ได้รับบริการทางสังคมตามวิธีการทางสถิติ (รายงานการสำรวจฯ) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 3.3 เสนอรายงานการประเมินผลฯ และรายงานการสำรวจฯ ต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ เมื่อคณะกรรมการฯ เห็นชอบแล้วให้รับรองรายงานและรายงานผลการประเมินดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป 11. เรื่อง ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาเสนอดังนี้ 1. อนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทน ที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ จำนวน 350 แปลง เนื้อที่ 770-1-59 ไร่ ในอัตราไร่ละ 45,000 บาท เป็นเงิน 34.67 ล้านบาท ให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ ที่ผ่านการตรวจสอบและเห็นชอบโดยคณะอนุกรรมการทั้ง 2 คณะ (คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ เฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน) โดยในส่วนของงบประมาณกรมชลประทานจะปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว 2. อนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าทดแทน จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายละเอียดผลการตรวจสอบร่องรอยการทำประโยชน์ที่ดินที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอกันทรารมย์ และอำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 1) ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ประธานกรรมการ 2) อัยการจังหวัดศรีสะเกษ กรรมการ 3) คลังจังหวัดศรีสะเกษ กรรมการ 4) ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดศรีสะเกษ กรรมการ 5) เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ กรรมการ 6) ปฏิรูปที่ดินจังหวัดศรีสะเกษ กรรมการ 7) เกษตรและสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ กรรมการ 8) ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 กรรมการ 9) ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ กรรมการ 10) ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง กรรมการ 11) นายอำเภอเมืองศรีสะเกษ กรรมการ 12) นายอำเภอกันทรารมย์ กรรมการ 13) นายอำเภอราษีไศล กรรมการ 14) - 16) ผู้แทนกลุ่มสมัชชาคนจน กรรมการ 17) - 19) ผู้แทนกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล กรรมการ และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน 20) ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำ กรรมการและเลขานุการ และบำรุงรักษาหัวนา สำนักงานชลประทานที่ 8 กรมชลประทาน 21) หัวหน้าฝ่ายจัดหาที่ดินที่ 4 กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ ส่วนจัดหาที่ดินที่ 2 สำนักกฎหมายและที่ดิน กรมชลประทาน โดยให้คณะกรรมการดังกล่าว มีอำนาจหน้าที่พิจารณาตรวจสอบบุคคลผู้มีสิทธิ จำนวน 350 ราย และควบคุมการโอนจ่ายเงินค่าทดแทนให้ถูกต้องครบถ้วนตรงตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ จำนวนเนื้อที่ และจำนวนเงินค่าทดแทนตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ สำหรับการจ่ายเงินกรณีนี้เห็นสมควรจ่ายด้วยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (จ่ายตรง) ตามบัญชีรายชื่อบุคคล ที่ผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการตามข้อ 1.2 หรือทายาทของบุคคลดังกล่าว โดยให้ถือความเห็นของคณะกรรมการชุดนี้เป็นหลักฐานประกอบการจ่ายเงินค่าชดเชย สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนารายงานว่า 1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 กรมชลประทานได้จ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คงเหลือจำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 0-3-96 ไร่ เป็นเงิน 123,750 บาท เนื่องจากเจ้าของที่ดินยินยอมจดทะเบียนแบ่งหักเป็นทางสาธารณะประโยชน์ (ที่ดิน 1 แปลงดังกล่าวจึงกลายเป็นที่สาธารณะประโยชน์ รัฐจึงไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้แก่ราษฎรในส่วนของพื้นที่แปลงดังกล่าว) 2. ในคราวประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) เป็นประธาน ที่ประชุมฯ ได้มีมติเห็นชอบแปลงที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิตามรายชื่อราษฎรผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินตามหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 จำนวน 350 แปลง เนื้อที่ 770-1-59 ไร่ เป็นเงิน 34.67 ล้านบาท ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ และคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ เฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศล และกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไป และเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วให้เร่งรัดจ่ายเงินโดยเร็ว โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ พื้นที่ จำนวน (แปลง) เนื้อที่ (ไร่ ? งาน ? ตารางวา) อัตราค่าทดแทน (บาทต่อไร่) จำนวนเงิน (ล้านบาท) อำเภอเมืองศรีสะเกษ 51* 139-3-85 45,000 6.30 อำเภอกันทรารมย์ 212 404-2-39 18.21 อำเภอราษีไศล 87 225-3-35 10.16 รวม 350 770-1-59 34.67 *หมายเหตุ : ในคราวประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษและคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนา จังหวัดรีสะเกษ เฉพาะกลุ่มโนนสัง กลุ่มราษีไศลและกลุ่มกำนันผู้ใหญ่บ้าน ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธาน อนุกรรมการฯ ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบรายชื่อราษฎรอำเภอเมืองศรีสะเกษ จำนวน 52 แปลง เนื้อที่ 145-1-77 ไร่ แต่ในคราวประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาดังกล่าวพบว่า มีราษฎรจำนวน 1 ราย ไม่เข้าข่ายคุณสมบัติตามที่คณะอนุกรรมการฯ เสนอ จึงขอถอนรายชื่อราษฎรดังกล่าว จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 5-1-92 ไร่ ออกจากการพิจารณา ทั้งนี้ หากคณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการให้กรมชลประทานจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนา วงเงินรวมทั้งสิ้น 34.67 ล้านบาทแล้ว ในส่วนของงบประมาณ กรมชลประทานจะปรับแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มาดำเนินการเรื่องดังกล่าว 3. กรมชลประทาน ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโครงการฝายหัวนาได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ดังนี้ 3.1 โครงการฝายหัวนาเดิมเป็นโครงการในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และได้ถ่ายโอนภารกิจมาอยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน กษ. เมื่อปี 2545 โดยมิได้มีการรังวัดตรวจสอบเนื้อที่แปลงที่ดินที่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด ในการแก้ไขปัญหาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการจำเป็นจะต้องให้ช่างรังวัด กรมที่ดิน เข้าทำการรังวัดตรวจสอบเนื้อที่แปลงที่ดินที่ได้รับผลกระทบและนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้จ่ายเงินค่าทดแทน จึงยังไม่ทราบพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด จำนวน 435 แปลง เป็นที่ดินมีเอกสารสิทธิ จำนวน 61 แปลง เนื้อที่ 223-1-91 ไร่ และเป็นที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ จำนวน 374 แปลง เนื้อที่ 527-2-46 ไร่ อยู่ระหว่างดำเนินการรังวัดของช่างรังวัด กรมที่ดิน จำนวน 548 แปลง 3.2 การพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์กลางในการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐในกรณีต่าง ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18พฤษภาคม 2564 โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างแก้ไขเพิ่มเติมร่างกำหนดหลักเกณฑ์กลางฯ ตามความเห็นของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นควรให้นำเรื่องอนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายหัวนาเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาไปก่อน โดยไม่ต้องรอพิจารณาเห็นชอบร่างหลักเกณฑ์กลางในการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการชลประทานของรัฐในกรณีต่าง ๆ ให้แล้วเสร็จ เนื่องจากกระบวนการพิจารณาให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการฝายหัวนาได้ดำเนินการมาครบถ้วนทุกขั้นตอนแล้ว และการนำเสนอครั้งนี้เป็นราคาค่าทดแทนเดียวกันกับที่คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติไว้ 12. เรื่อง ขออนุมัติปรับกรอบวงเงินลงทุนและจัดหาแหล่งเงินเพิ่มเติม กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้แหล่งเงินกู้ ECP กรณีภาษีมูลค่าเพิ่มงวด 27 ถึง 29 กรณีความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และกรณีค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรจากการนำเข้า (Import VAT & Import Duty) พร้อมทั้งขออนุมัติจัดหาแหล่งเงินรองรับโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต และช่วงบางซื่อ ? ตลิ่งชัน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามความเห็นของกระทรวงการคลัง (กค.) ดังนี้ 1. เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปรับกรอบวงเงินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) (โครงการฯ สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - รังสิต และช่วงบางซื่อ ? ตลิ่งชัน ที่เกิดจากภาระภาษีต่าง ๆ ข้างต้น และผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 2,917,752,137.95 บาท ประกอบด้วย ช่วงบางซื่อ - รังสิต จำนวน 2,011,463,922.70 บาท ช่วงบางซื่อ ? ตลิ่งชัน จำนวน 906,288,215.25 บาท เป็นผลให้กรอบวงเงินลงทุนโครงการฯ สายสีแดง ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2559 ที่อนุมัติไว้จำนวน 93,950,580,297 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 96,868,332,434.95 บาท ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ 2. อนุมัติให้ กค. กู้เงินในประเทศเพื่อให้ รฟท. กู้ต่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการฯ สายสีแดงช่วงบางซื่อ ? รังสิต ภายใต้กรอบวงเงิน จำนวน 7,078,893,911.09 บาท แบ่งเป็น 2.1 การปรับเพิ่มกรอบวงเงินโครงการฯ เพื่อชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรจากการนำเข้าต่าง ๆ ให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด จำนวน 2,011,463,922.70 บาท 2.2 การจัดหาแหล่งเงินเพิ่มเติมภายใต้กรอบวงเงินโครงการฯ เดิม เพื่อจ่ายค่างานโยธา งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟฟ้า และค่าจ้างที่ปรึกษา เนื่องจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน จำนวน 4,406,741,321.19 บาท และชำระค่าอากรจากการนำเข้า จำนวน 660,688,667.20 บาท รวมทั้งสิ้น 5,067,429,988.39 บาท โดยให้รัฐบาลรับภาระค่างานโครงสร้างพื้นฐานงานโยธาและส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อชำระต้นเงิน ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นในการกู้เงินในส่วนที่รัฐบาลรับภาระต่อไป สำหรับค่างานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมจัดหาตู้รถไฟฟ้า (สัญญาที่ 3A) เห็นควรให้ รฟท. เป็นผู้รับภาระโดยให้ กค. เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงินตามความเหมาะสมและจำเป็น 3. อนุมัติให้ รฟท. กู้เงินในประเทศและ กค. ค้ำประกัน เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการฯ สายสีแดง ช่วงบางซื่อ ? ตลิ่งชัน (สัญญาที่ 3B) ภายใต้กรอบวงเงิน จำนวน 906,288,215.25 บาท โดยให้ รฟท. รับภาระเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายอื่นในการกู้เงิน และให้ กค. เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไขและรายละเอียด ต่าง ๆ ของการกู้เงินตามความเหมาะสมและจำเป็น 13. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การเลื่อนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอดังนี้ 1. การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 เรื่อง การเลื่อนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 ค.ศ. 2021 (การแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์ฯ ครั้งที่ 6) จากเดิม เห็นชอบการเลื่อนเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์ฯ ครั้งที่ 6 ในปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) เป็น ปี พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) 2. หลักการในการดำเนินงานการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์ฯครั้งที่ 6 หากจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์ฯ ครั้งที่ 6 เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) หรือสถานการณ์ที่ไม่กระทบกับด้านงบประมาณ และกรอบดำเนินงานการจัดแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์ฯ ครั้งที่ 6 กก. สามารถดำเนินการตามขั้นตอน และแจ้งคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง กก. รายงานว่า 1. จากการพิจารณาถึงความพร้อมของประเทศไทยในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งจะมีข้อจำกัดและเงื่อนไขตามมาตรการต่าง ๆ ภายใต้วิถีปกติใหม่ (New Normal) ที่เป็นอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของประชาชน และมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ประกอบกับในปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) จะมีรายการแข่งขันเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก อาทิ การแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ (ฤดูหนาว) ครั้งที่ 28 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในระหว่างวันที่ 4 - 20 กุมภาพันธ์ 2565 การแข่งขันเดอะเวิลด์เกมส์ 2020 ณ เมืองเบอร์มิงแฮม สหรัฐอเมริกา ในระหว่างวันที่ 7 - 17 กรกฎาคม 2565 ซึ่งอาจไม่เกิดประโยชน์สูงสุดในการพัฒนานักกีฬาไทยเนื่องจากนักกีฬาที่มีศักยภาพสูงจากชาติอื่นอาจเลือกเข้าร่วมแข่งขันในรายการที่มีความสำคัญมากกว่า 2. คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์และมาเชี่ยลอาร์ทเกมส์ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2564 (ค.ศ. 2021) (คณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2564เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธานกรรมการ จึงได้มีมติมอบหมายให้การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) หารือกับตัวแทนจากคณะกรรมการโอลิมปิกระหว่างประเทศ (International Olympic Committee : IOC) และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia : OCA) เพื่อดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนการ ขอเลื่อนจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์ฯ ครั้งที่ 6 จากเดิม ปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) เป็น ปี พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023) พร้อมทั้งให้มีหนังสือถึงคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ) เพื่อให้มีหนังสือแจ้งไปยังสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียเพื่อขอเลื่อนการแข่งขันอย่างเป็นทางการ โดยได้เสนอช่วงเวลาสำหรับการเลื่อนจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์ฯ ครั้งที่ 6 เป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ 1 ระหว่างวันที่ 10 ? 19 พฤศจิกายน 2566 (ค.ศ. 2023) หรือช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 17 - 26 พฤศจิกายน 2566 (ค.ศ. 2023) เพื่อให้สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียเป็นผู้พิจารณากำหนดช่วงเวลาแข่งขัน และมีประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป 3. สภาโอลิมปิกแห่งเอเชียได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2564 โดยสภาโอลิมปิกแห่งเอเชียเข้าใจและเคารพการตัดสินใจของคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทยฯ คณะกรรมการจัดการแข่งขันฯ และรัฐบาลไทยในการขอเลื่อนการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนอินดอร์ฯ ครั้งที่ 6 และยืนยันช่วงเวลาแข่งขันใหม่เป็นระหว่างวันที่ 17 - 26 พฤศจิกายน 2566 (ค.ศ. 2023) 14. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการจ้างเหมาพนักงานปฏิบัติงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้ 1. อนุมัติโครงการจ้างเหมาพนักงานปฏิบัติงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 1 โครงการ วงเงินงบประมาณ 251,937,000 บาท โดยมีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเป็นหน่วยงานดำเนินการ 2. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงิน 251,937,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจ้างเหมาพนักงานปฏิบัติงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 1 โครงการ สาระสำคัญ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดทำโครงการจ้างเหมาพนักงานปฏิบัติงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นการจ้างงานราษฎรในพื้นที่มาช่วยสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานในพื้นที่ในการอนุรักษ์ คุ้มครอง และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า อาทิเช่น งานด้านการป้องกันรักษาป่า ในการลาดตระเวนตรวจปราบปรามการลักลอบทำลายทรัพยากรป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า งานควบคุมไฟป่าและหมอกควัน งานปราบปรามการค้าสัตว์ป่าและพืชป่าระหว่างประเทศ งานอนุรักษ์ทรัพยากรป่าต้นน้ำ งานสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลป่าไม้ งานบริการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ เป็นต้น รวมทั้งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนพนักงานที่ถูกเลิกจ้างในส่วนที่ถูกปรับลดงบประมาณ และอันเนื่องมาจากการได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ดังนั้น จึงขอรับการจัดสรรงบประมาณงบกลาง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจ้างเหมาพนักงานปฏิบัติงานของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 251,937,000 สำหรับการจ้างเหมาพนักงานจำนวน 3,999 อัตรา เพื่อปฏิบัติงานตามภารกิจสำคัญของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 15. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณสำหรับงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ภายในวงเงิน 204,140.03 ล้านบาท ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.) สรุปได้ ดังนี้ รายการ วงเงินที่ได้รับจัดสรรปี 2565 วงเงินที่ สงป. พิจารณาจัดสรร ปี 2566 เพิ่มขึ้น (ร้อยละ) 1. ค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว 158,294.42 (อัตราเหมาจ่ายรายหัว 3,329.22 บาท) 161,602.67 (อัตราเหมาจ่ายรายหัว 3,385.98 บาท) 2.09 2. ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 3,768.11 3,978.48 5.58 2.1 ค่าบริการรักษาฯ 3,521.68 3,402.78 -3.38 2.2 ค่าบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี 246.43 575.70 133.62 3. ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง 9,731.34 9,952.18 2.27 4. ค่าบริการควบคุม ป้องกัน และรักษาโรคเรื้อรัง 1,154.78 1,071.47 -7.21 4.1 ค่าบริการเพื่อควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 1,093.39 997.85 -8.74 4.2 ค่าบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน 61.39 73.62 19.92 5. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พันที่เสี่ยงภัย และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ 1,490.29 1,490.29 0.00 6. ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน 990.11 1,265.65 27.83 7. ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัว (ทีม PHC) 319.28 188.85 -40.85 7.1 ค่าบริการด้วยทีม PHC 268.64 127.26 -52.63 7.2 ค่าบริการรับยาที่ร้านยา 8.37 12.24 46.24 7.3 ค่าบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล 20.80 2.02 -90.29 7.4 ค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล 16.47 14.47 -12.14 7.5 ค่าบริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน 5.00 32.86 557.20 8. ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับ อปท. 2,769.93 2,772.00 0.07 ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับบริการกรณีโควิด19 (ในปี 2566 ถูกนำไปรวมกับรายการอื่น ๆ) 825.08 - -100.00 9. เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับ บริการและผู้ใช้บริการ 283.03 437.34 54.52 10. ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 19,265.42 21,381.11 10.98 รวม 198,891.79 204,140.03 2.64 สำหรับงบประมาณบริหารงานของ สปสช. วงเงิน 1,950.84 ล้านบาท นั้น มอบหมายให้ สงป. พิจารณาสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ตามความจำเป็น เหมาะสม ประหยัด และสอดคล้องกับภารกิจการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งนี้ เห็นสมควรที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะเร่งดำเนินการด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคแก่ประชาชนทั่วไปโดยเร่งด่วน เนื่องจากปริมาณการใช้บริการและอัตราค่าใช้จ่ายในการให้บริการแก่ผู้ป่วยของกองทุนฯ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) บริหารจัดการและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณค่ารักษาพยาบาล และหากมีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เหลือจ่ายจากการดำเนินงานและในปีงบประมาณที่ผ่านมาหากมีเงินคงเหลือกรณีรายได้สูงกว่ารายจ่ายสะสม เห็นสมควรให้นำเงินดังกล่าวของกองทุนฯ มาสมทบกับงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ต่อไปด้วย และให้รับความเห็นของหน่วยงานอื่น ๆ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 16. เรื่อง การเสนอความเห็นการขอยุบเลิกทุนหมุนเวียนของคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน คณะรัฐมนตรีอนุมัติการขอยุบเลิกกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ ของกรมธนารักษ์ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน (คณะกรรมการฯ) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการฯ รายงานว่า 1. กระทรวงการคลัง (กค.) โดยกรมธนารักษ์ได้จัดตั้งกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 และได้รับอนุมัติงบประมาณ จำนวน 1,000 ล้านบาท เป็นทุนประเดิมในการบริหารกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดซื้อที่ดินเพื่อพัฒนาศักยภาพที่ราชพัสดุให้มีความเหมาะสมแก่การใช้ประโยชน์ราชการหรือการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ ปลดภาระติดพันในที่ราชพัสดุเพื่อให้ที่ราชพัสดุสามารถนำมาใช้ประโยชน์ราชการหรือนำมาพัฒนาจัดหาประโยชน์ได้ สนับสนุนการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐและดำเนินการเกี่ยวกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตามที่ กค. มอบหมาย 2. ผลการดำเนินงานด้านการเงินของกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน สามารถดำเนินการได้เพียงจัดซื้อที่ดินเพื่อเพิ่มศักยภาพที่ราชพัสดุ (จำนวน 1 แปลง หมายเลขทะเบียนที่ นบ.828 ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี) เป็นจำนวนเงิน 1.627 ล้านบาท เนื่องจากในการปฏิบัติงานของกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐมีปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดต่าง ๆ โดยสรุปดังนี้ 2.1 ข้อจำกัดด้านที่ราชพัสดุ เช่น 1) ไม่สามารถกลั่นกรองโครงการเพื่อจัดซื้อที่ดินหรือปลดภาระติดพันที่ราชพัสดุได้ตามเป้าหมาย เนื่องจากไม่มีที่ราชพัสดุที่เป็นไปตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ตามที่กองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐกำหนด และไม่มีฐานข้อมูลที่ราชพัสดุเพียงพอที่จะจัดทำแผนปฏิบัติงานการจัดซื้อที่ดินดังกล่าวได้ 2) การจัดซื้อที่ดินหรือปลดภาระติดพันในที่ราชพัสดุใช้เวลาค่อนข้างนาน เนื่องจากกระบวนการในการพิจารณาจัดซื้อหรือปลดภาระผูกพันที่ราชพัสดุต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกรอบของวัตถุประสงค์ของกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐและไม่ขัดต่อกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยต้องไม่เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อเอกชน 3) ผลตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายที่ใช้ในการดำเนินการ เป็นต้น 2.2 ความเสี่ยงในกรณีที่กรมธนารักษ์ไม่สามารถชดใช้คืนเงินยืมให้แก่กองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐตามประกาศกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดซื้อที่ดิน การปลดภาระติดพันในที่ดินราชพัสดุ และหลักเกณฑ์เกี่ยวกับผลประโยชน์ตอบแทนในการลงทุนของกองทุนที่กรมธนารักษ์ต้องชำระคืนให้แก่กองทุน ประกาศ ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2559 ข้อ 16 ที่กำหนดให้ให้กำหนดผลประโยชน์ตอบแทนในการลงทุนที่กรมธนารักษ์จะต้องชำระคืนให้แก่กองทุนในกรณีการจัดซื้อที่ดินและการปลดภาระติดพันในที่ราชพัสดุ ดังนี้ 1) การจัดซื้อที่ดิน กรมธนารักษ์จะต้องชำระคืนเงินค่าที่ดินและค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยในอัตราเท่ากับดอกเบี้ยในพันธบัตรรัฐบาล ณ วันที่จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นของ กค. 2) การปลดภาระติดพันกรมธนารักษ์จะต้องชำระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่กองทุนได้จ่ายไปทั้งหมด พร้อมดอกเบี้ยในอัตราเท่ากับดอกเบี้ยในพันธบัตรรัฐบาล ณ วันที่ได้จ่ายเพื่อปลดภาระติดพัน ซึ่งจะส่งผลต่อเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเงินของกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐได้คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐจึงมีมติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2564เห็นชอบให้ยุบเลิกกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ เนื่องจากหมดความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งทุนหมุนเวียนดังกล่าว และเห็นว่าเมื่อมีการยุบเลิกกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐแล้ว กรมธนารักษ์ยังสามารถดำเนินงานในการบริหารจัดการ ที่ราชพัสดุให้มีประสิทธิภาพ โดยมีแหล่งงบประมาณและทรัพยากรที่พร้อมและเพียงพอที่จะพัฒนาที่ราชพัสดุได้ 3. คณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 เห็นชอบใน หลักการให้ยุบเลิกกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐเนื่องจากการดำเนินงานของกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ จึงหมดความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งทุนหมุนเวียนนั้นแล้วตามมาตรา 40 (1) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 และให้ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน ดำเนินการจัดทำผลการดำเนินงานและข้อเท็จจริงของกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ เพื่อประกอบการพิจารณาเสนอคณะรัฐมนตรียุบเลิกกองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐต่อไป 17. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนพฤศจิกายน 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนพฤศจิกายน 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ และข้อเท็จจริง 1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนพฤศจิกายน 2564 การส่งออกของไทยในเดือนพฤศจิกายน 2564 มีมูลค่า 23,647.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (783,425 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 24.7 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 18.9 การเติบโตอย่างแข็งแกร่งนี้ ได้รับแรงหนุนจากการดำเนินงานตามแผนส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และการฟื้นตัวของภาคการค้าโลกที่เป็นไปอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ การส่งออก 11 เดือนแรก (มกราคม?พฤศจิกายน) ของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 16.4 เมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 19.4 มูลค่าการค้ารวม มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนพฤศจิกายน 2564 การส่งออก มีมูลค่า 23,647.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 24.7 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 22,629.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20.5 ดุลการค้าเกินดุล 1,018.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวมการส่งออก 11 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 246,243.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 16.4 การนำเข้า มีมูลค่า 242,315.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 29.4 ดุลการค้า 11 เดือนแรก เกินดุล 3,927.3 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนพฤศจิกายน 2564 การส่งออก มีมูลค่า 783,424.6 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 33.5 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 759,679.4 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 28.9 ดุลการค้าเกินดุล 23,745.2 ล้านบาท ภาพรวมการส่งออก 11 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออก มีมูลค่า 7,731,390.8 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 17.5 การนำเข้า มีมูลค่า 7,715,844.9 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 30.8 ดุลการค้า 11 เดือนแรก เกินดุล 15,545.9 ล้านบาท การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 17.3 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง แห้ง กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 34.5 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ขยายตัวร้อยละ 48.6 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 23.5 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ อินเดีย ตุรกี และเกาหลีใต้) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 74.0 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย กัมพูชา เกาหลีใต้ แทนซาเนีย และจีน) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 0.3 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อียิปต์ ออสเตรเลีย ลิเบีย และแคนาดา) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 25.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และอินเดีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ข้าว หดตัวร้อยละ 8.7 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน แอฟริกาใต้ และฮ่องกง แต่ขยายตัวดีในตลาดโมซัมบิก อังโกลา กานา อิรัก และเยเมน) ไก่แปรรูป หดตัวร้อยละ 0.7 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี และฮ่องกง) เครื่องดื่ม หดตัวร้อยละ 4.2 (หดตัวในตลาดกัมพูชา เมียนมา และจีน แต่ขยายตัวในตลาดเวียดนาม ลาว และสิงคโปร์) สุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง หดตัวร้อยละ 77.2 (หดตัวในตลาดฮ่องกง ลาว และกัมพูชา แต่ขยายตัวในตลาดเมียนมา) 11 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 15.1 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 23.1 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 9 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ สินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ขยายตัวร้อยละ 72.9 (ขยายตัวในตลาดจีน เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินเดีย) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 12.0 (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเม็กซิโก) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 19.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ มาเลเซีย และญี่ปุ่น) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 26.7 (ขยายตัวในตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น จีน และฟิลิปปินส์) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ขยายตัวร้อยละ 8.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 24.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 21.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย ฝรั่งเศส สิงคโปร์ และเบลเยี่ยม) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 51.9 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เวียดนาม อินเดีย และ อินโดนีเซีย) สินค้าที่หดตัว ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัว ร้อยละ 2.3 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย ออสเตรเลีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เกาหลีใต้ และอินโดนีเซีย) เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 10.6 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ เวียดนาม ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย แต่ขยายตัวในตลาดเกาหลีใต้ มาเลเซีย ชิลี และไต้หวัน) เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า หดตัวร้อยละ 6.4 (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง มาเลเซีย และเวียดนาม แต่ขยายตัวได้ดีในตลาดสหรัฐฯ อินโดนีเซีย และสิงคโปร์) 11 เดือนแรกของปี 2564 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 15.2 ตลาดส่งออกสำคัญ การส่งออกไปยังตลาดสำคัญขยายตัวในเกณฑ์สูงเกือบทุกตลาด ตามอุปสงค์จากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง สรุป ดังนี้ 1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 23.3 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 20.5 จีน ร้อยละ 24.3 อาเซียน (5) ร้อยละ 55.1 CLMV ร้อยละ 10.0 และ สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 30.2 ขณะที่ ญี่ปุ่น หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.1 2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 26.0 ขยายตัวในตลาด เอเชียใต้ ร้อยละ 66.0 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 9.4 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 40.7 ทวีปแอฟริกา ร้อยละ 18.4 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 33.8 และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 27.3 และ 3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 125.1 2. การส่งออกปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 การส่งออกทั้งปี 2564 คาดว่าจะขยายตัวได้ถึงร้อยละ 16.0 มีมูลค่าประมาณ 268,300 ล้านเหรียญสหรัฐ สร้างรายได้เข้าประเทศได้มากกว่า 8.5 ล้านล้านบาท จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจการค้าโลก การเร่งกระจายวัคซีนอย่างทั่วถึง และการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญ ช่วยเพิ่มอุปสงค์ ส่งผลดีต่อการส่งออกตลอดทั้งปี สำหรับการส่งออกปี 2565 คาดว่าจะยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2564 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การขยายตัวของเศรษฐกิจและการนำเข้าของประเทศคู่ค้า (2) ค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่อง (3) ราคาน้ำมันดิบดูไบยังทรงตัวในระดับสูง (4) ราคาสินค้าวัตถุดิบที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมยังคงขยายตัว (5) จำนวนตู้คอนเทนเนอร์ และเรือขนส่งจะเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี 2565 (6) การควบคุมไวรัสโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ และ (7) ความตกลง RCEP มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2565 18. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนธันวาคม 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนธันวาคม 2564 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ และข้อเท็จจริง 1. สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนธันวาคม 2564 ดังนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือเงินเฟ้อทั่วไป เดือนธันวาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.17 (YoY) สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวจากเดือนก่อนหน้า ที่สูงขึ้นร้อยละ 2.71 จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศที่สูงน้อยกว่าที่ควรจะเป็น เนื่องจากมาตรการตรึงราคาน้ำมันของภาครัฐ ขณะที่สินค้าในกลุ่มอาหารสด อาทิ ราคาผักสดยังอยู่ในระดับสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน เนื้อสุกรและไข่ไก่ ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการเลี้ยง โดยเฉพาะราคาเนื้อสุกรปรับเพิ่มตามค่าบริหารจัดการ โรคระบาดในสุกร นอกจากนี้ ปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อยลดปริมาณการเลี้ยงสุกร รวมทั้ง น้ำมันพืช กับข้าวสำเร็จรูปและข้าวราดแกง ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนและวัตถุดิบ อย่างไรก็ตาม ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว ผลไม้สด เสื้อผ้า ค่าเช่าบ้าน ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษายังคงปรับลดลง ส่วนสินค้าอื่น ๆ อาทิ เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด และของใช้ส่วนบุคคลยังเคลื่อนไหวในทิศทางที่ปกติ สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและปริมาณผลผลิต เงินเฟ้อที่สูงขึ้นในเดือนนี้ สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญหลายตัว ด้านอุปสงค์ ได้แก่ ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งการจัดเก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศและจากการนำเข้ารวมทั้งการส่งออกสินค้าที่ยังคงขยายตัวได้ดีและต่อเนื่อง ด้านอุปทาน ได้แก่ อัตราการใช้กำลังการผลิตและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ยังคงขยายตัวได้ดี นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 มาอยู่ที่ระดับ 47.0 จากระดับ 45.2 ในเดือนก่อนหน้า รวมทั้งดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างและดัชนีราคาผู้ผลิต ที่สูงขึ้นร้อยละ 8.9 และ 7.7 ตามลำดับ เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก ในเดือนนี้ทรงตัวที่ร้อยละ 0.29 (YoY) เท่ากับเดือนก่อน เงินเฟ้อทั่วไป เมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564 ลดลงร้อยละ 0.38 (MoM) ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.42 (YoY) เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าสูงขึ้นร้อยละ 1.80 (Q๐Q) และเฉลี่ยทั้งปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 1.23 (AOA) 2. สรุปสถานการณ์เงินเฟ้อปี 2564 เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 1.23 ใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.8-1.2 และเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) สูงขึ้นร้อยละ 0.23 ซึ่งขยายตัวเท่ากับปีก่อน ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อในปีนี้ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงจากอุปทานที่ไม่สมดุลกับอุปสงค์ของโลกที่เริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันสูงขึ้น ประกอบกับราคาผักสดเพิ่มสูงขึ้น จากปริมาณผลผลิตลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม และผลผลิตที่ต่ำกว่าปีก่อน ขณะที่เครื่องประกอบอาหาร อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ สำหรับปัจจัยลบ ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผลไม้สด จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศชะลอตัวลง รวมถึงผลผลิตมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐส่งผลให้ค่าสาธารณูปโภค ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียม การศึกษาลดลง ส่วนหมวดอื่น ๆ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติ เงินเฟ้อดังกล่าวชี้ว่า สถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการของประเทศตลอดทั้งปี 2564 ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับปัจจัยด้านอุปทานและด้านอุปสงค์ 3. แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565 คาดว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในระดับที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยด้านอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศจะได้รับแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า การผลิต และอุปสงค์ด้านพลังงาน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลดีต่อรายได้และกำลังซื้อของประชาชน สำหรับอุปทานที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อ ได้แก่ แนวโน้มการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการผลิต การขนส่ง เงินบาทที่อ่อนค่าลง และการขาดแคลนแรงงาน ส่งผลต่อภาคการผลิตและสินค้าในหมวดอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยและแนวโน้มเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงและมีโอกาสผันผวน รวมถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยอาจจะได้รับแรงกดดันจากโควิด-19 ซึ่งจะกดดันให้เงินเฟ้อของไทยขยายตัวได้อย่างจำกัด 19. เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ (นปถ.) ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2565 เห็นชอบมาตรการป้องกันอุบัติเหตุทางถนนจากกรณีรถจักรยานยนต์ชนคนเดินข้ามถนนบริเวณทางข้าม ดังนี้ 1. มาตรการด้านกฎหมาย 1.1 ให้หาแนวทางเพิ่มโทษกรณีผู้ขับขี่ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจร ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ให้สูงขึ้น และให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ให้ได้รับโทษสูงสุด เพื่อให้ผู้ขับขี่เคร่งครัดในการปฏิบัติตามกฎหมาย 1.2 ให้นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายให้มีประสิทธิภาพ โดยติดตั้งกล้องวงจรปิด และกล้องตรวจจับความเร็วในบริเวณที่มีความเสี่ยง อาทิ บริเวณทางร่วมทางแยกที่มีสัญญาณไฟจราจร และทางข้ามสำหรับคนเดินข้ามถนน 1.3 ให้เร่งรัดการจัดให้มีข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับประวัติและการกระทำความผิดของผู้ได้รับใบอนุญาตขับขี่ ข้อมูลทะเบียนรถ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง 1.4 ให้เพิ่มฐานความผิดตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 เป็นฐานความผิดที่ต้องบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับรถ เพื่อตัดคะแนนความประพฤติเมื่อผู้ขับขี่กระทำผิด 2. มาตรการด้านถนน 2.1 ให้จัดทำมาตรฐานทางข้ามที่มีความปลอดภัย เพื่อเป็นแบบในการสร้างทางข้ามสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.2 ให้สำรวจมาตรฐานวิศวกรรมจราจรบริเวณทางข้ามทั่วประเทศ และนำมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทาง มาตรการการแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบริเวณทางข้าม 2.3 ให้ปรับปรุงวิศวกรรมจราจรบริเวณทางข้ามให้มีความปลอดภัย อาทิ การชะลอความเร็วของรถก่อนถึงทางข้าม การจัดทำเครื่องหมายจราจรบนพื้นผิวทางข้ามให้มีความชัดเจน ทั้งเส้นทางข้ามและข้อความบนพื้นทาง จัดทำป้ายเตือนและป้ายสัญลักษณ์และติดตั้งในบริเวณเหมาะสมที่ทำให้ผู้ขับขี่และผู้ข้ามถนนมองเห็นได้ชัดเจน รวมทั้งติดตั้งสัญญาณไฟสำหรับคนข้ามถนน 3. มาตรการด้านผู้ใช้รถใช้ถนน 3.1 ให้สร้างการรับรู้เกี่ยวกับการข้ามถนนที่ปลอดภัยให้กับประชาชนทุกกลุ่ม 3.2 พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและสื่อการเรียนการสอน โดยเน้นการให้ความรู้และเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เกี่ยวกับการข้ามทางที่ปลอดภัยในทุกช่วงวัย ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาเอกชน ระดับอาชีวศึกษา และหลักสูตรการศึกษานอกระบบ 3.3 ให้ความสำคัญในการสร้างการรับรู้การข้ามถนนที่ปลอดภัยให้กับนักเรียน นักศึกษา ควบคู่ไปกับการปลูกฝัง สร้างความตระหนัก ผ่านกิจกรรมรณรงค์ ทั้งในรูปแบบการจัดทำสื่อสร้างสรรค์และรูปแบบออนไลน์ 4. ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนมอบหมายคณะอนุกรรมการด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการใช้รถใช้ถนน เร่งดำเนินการสร้างกระแสการรับรู้ และความตระหนักด้านความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะผู้ขับขี่ให้มีจิตสำนึกและตระหนักถึงความสูญเสียที่อาจจะเกิดขึ้น จากการขับรถที่ไม่มีวินัยและไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ให้ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนมอบหมายให้คณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน 8 คณะ เร่งนำมาตรการข้างต้นไปขับเคลื่อน และให้นำเสนอผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนรับทราบ ต่างประเทศ 20. เรื่อง ขอความเห็นชอบเป็นเจ้าภาพการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก 2022 (WAMSB World Championship 2202) คณะรัฐมนตรีมีเห็นชอบในหลักการให้กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กรมส่งเสริมวัฒนธรรมร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ท (การประกวดฯ) ชิงแชมป์โลก 2022 [World Association of Marching Show Bands (WAMSB) World Championship 2202] (การประกวดฯ ชิงแชมป์โลก 2022 มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 - 16 กรกฎาคม 2565 ณ กรุงเทพมหานคร) ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. สมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล (WAMSB) เป็นองค์กรกลางด้านการพัฒนาและจัดการแข่งขันดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ และมีสมาชิกจากทุกภูมิภาค รวม 32 ประเทศ โดย WAMSB จะร่วมกับสมาชิกจัดการแข่งขันชิงแชมป์โลกแบบผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนประเทศเจ้าภาพระหว่างทวีปเอเชีย ยุโรป และสหรัฐอเมริกาเป็นประจำทุกปี โดยประเทศไทยเคยได้รับเลือกจากสมาคมดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทสากล (WAMSB) ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก (การประกวดฯ) ค.ศ. 2020 (พ.ศ. 2563) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (18 มิถุนายน 2562) เห็นชอบในหลักการให้ วธ. (กรมส่งเสริมวัฒนธรรม) ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดฯ ชิงแชมป์ ค.ศ. 2020 แล้ว แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ส่งผลให้ในการประชุมวิสามัญโดยกรรมการบริหารของ WAMSB (5 กรกาฎาคม 2563) ได้มีมติให้ยกเลิกการจัดการประกวดฯ ชิงแชมป์โลก ค.ศ. 2020 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (15 กันยายน 2563) รับทราบเรื่องดังกล่าวแล้ว ต่อมา WAMSB ได้เชิญกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดฯ ชิงแชมป์โลก ค.ศ.2022 โดยการประกวดฯ จะแบ่งออกเป็น 2 รอบ ได้แก่ (1) รอบคัดเลือกระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 24 - 29 พฤษภาคม 2565 และ (2) รอบชิงแชมป์โลกระหว่างวันที่ 11 - 16 กรกฎาคม 2565 ณ กรุงเทพมหานคร 2. โครงการจัดการประกวดดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทชิงแชมป์โลก 2022 (WAMSB World Championship 2202) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันการประกวดฯ รอบคัดเลือกระดับประเทศและรอบชิงแชมป์โลก 2022 ภายใต้การสนับสนุนและรับรองการแข่งขันโดย WAMSB 2) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเยาวชนและบุคลากรด้านดนตรีสากล ประเภทดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ท 3) เพื่อยกระดับภาพลักษณ์ด้านดนตรีสากล ประเภทดนตรีและมาร์ชชิ่งอาร์ทของประเทศให้ไปสู่ระดับมาตรฐานสากล 4) เพื่อสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในภาคนโยบายและภาคปฏิบัติ อันจะนำไปสู่การยกระดับความสามารถด้านดนตรีของประเทศ 5) เพื่อเป็นการแสดงศักยภาพของประเทศไทย ในการเป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรม ด้านวัฒนธรรม และความพร้อมในการต้อนรับชาวต่างชาติหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ผ่าน การจัดกิจกรรมการประกวดดนตรีระดับโลก 6) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวของประเทศไทย ทั้งนี้ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับ ได้แก่ 1. ด้านเศรษฐกิจ คือ 1) สร้างภาพลักษณ์ให้แก่ประเทศไทย ในการได้รับเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดระดับโลก 2) ส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยจะมีรายได้จากการเดินทางเข้าร่วมการแข่งขันของนานาชาติ ซึ่งจะมีผู้เข้าประกวดและผู้ติดตามไม่น้อยกว่า 1,500 คน และผู้เข้าชมไม่น้อยกว่า 10,000 คน และ 3) ส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทยและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท และ 2. ด้านสังคม เช่น บุคลากรผู้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้การบริหารจัดการการแข่งขันรอบคัดเลือกเพื่อนำไปปรับใช้กับการจัดการประกวดฯ ชิงแชมป์โลก 2022 ณ ประเทศไทย กรมส่งเสริมวัฒนธรรมและบุคลากรผู้ปฏิบัติงานสามารถพัฒนาการดำเนินงานด้านวงดุริยางค์เครื่องลมของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ เยาวชนและบุคลากรด้านดนตรีสากลและมาร์ชชิ่งอาร์ท ประเภทวงโยธวาทิตของไทยเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน เกิดแรงบันดาลใจให้เยาวชนไทยสนใจและหันมาเล่นดนตรีมากขึ้น ฯลฯ 21. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 12 (The 12th ASEAN Ministers Meeting on Rural Development and Poverty Eradication) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่12 (The 12th ASEAN Ministers Meeting on Rural Development and Poverty Eradication: การประชุม AMRDPE ครั้งที่ 12) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ ประกอบด้วย (1) รายงานของประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนเสนอต่อการประชุม AMRDPE ครั้งที่ 12 [Report of the Chair of the Senior officials meeting on Rural Development and Poverty Eradication (SOMRDPE) to the 12th ASEAN Ministers Meeting on Rural Development and Poverty Eradication] และ (2) แถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุม AMRDPE ครั้งที่ 12 และมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) นำผลการประชุมฯ ไปปฏิบัติเพื่อติดตามความคืบหน้าต่อไปตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง สรุป ดังนี้ กระทรวงมหาดไทยขอเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 12 (ASEAN Ministerial Meeting on Rural Development and Poverty Eradication: AMRDPE) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 23 - 26 พฤศจิกายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ภายใต้แนวคิด ?เร่งรัดการฟื้นฟูและการสร้างภูมิคุ้มกันของอาเซียนสำหรับการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนอย่างยั่งยืน? โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย หน่วยประสานงานหลักของเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนจากประเทศสมาชิก 10 ประเทศ สำนักงานเลขาธิการอาเซียน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ในส่วนของประเทศไทยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายทรงศักดิ์ ทองศรี) เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุม โดยผลการประชุมที่เกี่ยวข้อง อาทิ การประชุม SOMRDPE ครั้งที่ 18 การประชุม SOMRDPE+3 (สาธารณรัฐประมาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ครั้งที่ 14 การประชุมหารือสำหรับแผนแม่บทอาเซียนด้านการพัฒนาชนบท เป็นต้น รวมทั้งคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ ประกอบด้วย 1. รายงานของประธานเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจนเสนอต่อการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 12 ซึ่งระบุเกี่ยวกับประเด็นวาระงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาและการรับรองเอกสารยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับภารกิจด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน อาทิ กรอบแผนงานอาเซียนด้านการฟื้นฟูที่ครอบคลุม (ASEAN Comprehensive Recovery framework: ACRF ปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันว่าด้วยยุทธศาสตร์ข้อริเริ่มความเชื่อมโยงการตอบโต้ต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติของอาเซียน (Bandar Seri Begawan Declaration on the Strategic and Holistic Initiative to link ASEAN Responses to Emergencies and Disasters: ASEAN SHIELD) และพัฒนาการของแผนแม่บทอาเซียนด้านการพัฒนาชนบท (ASEAN Master Plan on Rural Development) 2. แถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 12 ซึ่งระบุเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน พ.ศ. 2568 แผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2568 และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และการดำเนินการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง การประสานความร่วมมือกับพันธมิตรอาเซียนบวกสาม รวมถึงภาคีการพัฒนา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้อง/รับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยที่เอกสารทั้งสองฉบับที่กระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาครั้งนี้ได้มีการรับรองไปแล้วในการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและขจัดความยากจน ครั้งที่ 12 ซึ่งผู้แทนไทยได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบถึงกระบวนการที่เอกสารดังกล่าวจะต้องได้รับการอนุมัติและเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนตามกฎหมายภายในของประเทศไทย โดยฝ่ายไทยจะประสานแจ้งรับรองอย่างเป็นทางการไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียนอีกครั้ง 22. เรื่อง ผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 4 ในรูปแบบออนไลน์ คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 4 ในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 1 - 5 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยมีอธิบดีกรมควบคุมมลพิษ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (25 ตุลาคม 2564) รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทย และเห็นชอบกรอบการเจรจาและท่าทีของไทยสำหรับการประชุมฯ ตามที่ ทส. เสนอ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. สาระสำคัญที่ผ่านการรับรองในมติข้อตัดสินใจของการประชุมฯ รูปแบบออนไลน์ 1.1 กำหนดประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง ระหว่างวันที่ 21 - 25 มีนาคม 2565 ณ เมืองบาหลี อินโดนีเซีย โดยอินโดนีเซียเสนอว่า เนื่องจากวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาจมีความจำเป็นต้องจำกัดจำนวนของคณะผู้แทนเพียง 4 คน รวมถึงจำกัดจำนวนผู้สังเกตการณ์ด้วย ซึ่งที่ประชุมเสนอให้จัดการประชุมในรูปแบบผสม คือ รูปแบบออนไลน์และรูปแบบการประชุมด้วยตัวเอง เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ และอำนวยความสะดวกให้ผู้แทนภาคีสมาชิกที่ไม่สามารถเข้าร่วมการประชุมฯ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งอินโดนีเซียจะพิจารณาเตรียมการประชุมในรูปแบบผสมและยินดีต้อนรับขนาดของคณะผู้แทนเพิ่มขึ้นหากเป็นไปได้ 1.2 เห็นชอบเผนงานและงบประมาณของสำนักเลขาธิการอนุสัญญามินามาตะฯ เฉพาะปี ค.ศ. 2022 โดยไทยต้องจ่ายค่าภาคีประจำปี พ.ศ. 2565 เข้าสู่กองทุน General trust fund จำนวน 8,862 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นการจ่ายค่าภาคีในรูปแบบ General growth และมีกำหนดระยะเวลาชำระค่าภาคีระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ ในส่วนของแผนงานและงบประมาณของสำนักเลขาธิการฯ ปี ค.ศ. 2023 ยังไม่ได้ข้อสรุปและจะนำไปหารือในการประชุมฯ ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเองต่อไป 2. สาระสำคัญที่มีความก้าวหน้าในมติข้อตัดสินใจของการประชุมฯ ในรูปแบบออนไลน์และ จะนำไปหารือต่อในการประชุมฯ ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเองต่อไป 2.1 กรอบการดำเนินงานสำหรับการประเมินความมีประสิทธิผลครั้งแรกของอนุสัญญามินามาตะฯ ที่เสนอโดยราชอาณาจักรนอร์เวย์และแคนาดา หลายภาคีสมาชิกให้ความเห็นว่ากรอบการดำเนินงานฯ จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการปรึกษาหารืออย่างไม่เป็นทางการต่อเนื่องล่วงหน้าก่อนการประชุมฯ ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง ทั้งยังมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกรอบการดำเนินงานสำหรับการประเมินความมีประสิทธิผลตามบทบัญญัติของอนุสัญญามินามาตะฯ ที่กำหนดให้เริ่มดำเนินการภายในเดือนสิงหาคม 2566 2.2 ร่างคำแนะนำสำหรับการกรอกรายงานระดับชาติของสำนักเลขาธิการอนุสัญญามินามาตะฯ ที่จะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของภาคีสมาชิกในการจัดทำและส่งรายงานระดับชาติฉบับสมบูรณ์ ซึ่งมีกำหนดให้จัดส่งภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ผ่านระบบออนไลน์ 2.3 การสนับสนุนงบประมาณของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก ในรอบที่ 8 ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 - 30 มิถุนายน 2569 สามารถปรับให้เหมาะสมกับประเด็นการสนับสนุนใหม่ที่ได้รับจากที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศด้านสารเคมี และมีข้อสังเกตว่างบประมาณที่จัดสรรให้กับการแก้ปัญหามลพิษด้านสารเคมีเพียงร้อยละ 15 ของเงินสนับสนุนภายใต้กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกยังไม่เพียงพอ 3. อินโดนีเซียจะนำเสนอปฏิญญาบาหลีว่าด้วยการต่อต้านการค้าปรอทอย่างผิดกฎหมายทั่วโลก (Bali declaration on combating global illegal trade of mercury) ในการประชุมฯ ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง โดยมีสาระสำคัญคือการต่อต้านการค้าปรอทอย่างผิดกฎหมายทั่วโลก ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกนำไปใช้ในการทำเหมืองแร่ทองคำพื้นบ้านและขนาดเล็กแม้มีข้อห้ามอย่างเป็นทางการในหลายประเทศ เพื่อให้เกิดความตระหนักและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศให้เกิดการต่อต้านการค้าปรอทที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว 23. เรื่อง ผลการประชุม United Nations Global Sustainable Transport Conference ครั้งที่ 2 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอผลการประชุม United Nations Global Sustainable Transport Conference ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 14 - 16 ตุลาคม 2564 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ภาพรวมการประชุม องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ร่วมกับจีนจัดการประชุมฯ โดยมีผู้แทนจากประเทศสมาชิกภายใต้ UN จากภูมิภาคต่าง ๆ ผู้แทนจากองค์การระหว่างประเทศ และภาคส่วน ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนซึ่งเป็นหนึ่งในเสาหลักที่สำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันในวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของ UN และมีแนวคิดสำคัญคือ ?Sustainable Transport, Sustainable Development? ที่ให้ความสำคัญกับการขจัดความยากจน การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ความเป็นอยู่ของประซาชน ความเชื่อมโยงระดับโลกการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาภูมิภาค นวัตกรรม และความยั่งยืนของเมืองต่าง ๆ นอกจากนี้ ได้หารือเกี่ยวกับแนวทางที่นำไปสู่การขนส่งที่ยั่งยืนซึ่งได้กำหนดมาตรการ โดยคำนึงถึงการเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายของประเทศ การพัฒนาที่ยั่งยืน และความตกลงปารีส รวมถึงส่งเสริมการทำงานร่วมกันในทุกระดับ เช่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันระหว่างประเทศ อีกทั้งยังมีการหารือเกี่ยวกับการรับมือกับความท้าทายในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาการขนส่ง ที่ยั่งยืน 2. พิธีเปิดการประชุมและการประชุมเต็มคณะ เลขาธิการสหประชาชาติ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้กล่าวถ้อยแถลงโดยเน้นย้ำความมุ่งมั่นที่จะมุ่งสู่การพัฒนาระบบการขนส่งที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการฟื้นฟูจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ได้ส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ การขนส่ง การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก และความยากจนของประชาชนที่เพิ่มมากขึ้น 3. ประเด็นหารือที่สำคัญ ได้แก่ (1) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการขนส่งที่ยั่งยืน (2) การขนส่งที่ยั่งยืนกับการแก้ไขปัญหาความยากจน ความเป็นอยู่และการเติบโต (3) การขนส่งที่ยั่งยืนและ การพัฒนาระดับภูมิภาค (4) การเชื่อมโยงและการขนส่งที่ยั่งยืน ซึ่งรวมถึงพื้นที่ชนบทและประเทศต่าง ๆ ภายใต้สถานการณ์พิเศษ (5) บทบาทของภาคธุรกิจในการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืน (6) การขนส่งที่ยั่งยืน และการพัฒนา สีเขียว: การแก้ไข การปรับตัวและความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (7) นโยบายด้านการขนส่งที่ยั่งยืน และ (8) การขนส่งและเมืองที่ยั่งยืน 4. ร่างแถลงการณ์ปักกิ่ง ที่ประชุมได้นำเสนอร่างแถลงการณ์ปักกิ่งซึ่งเน้นย้ำความสำคัญของการขนส่งที่ยั่งยืนที่สามารถเข้าถึงได้ การเพิ่มความปลอดภัย การปรับปรุง ความยืดหยุ่น ความมีประสิทธิภาพ และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการนำไปสู่การบรรลุการเปลี่ยนแปลงด้านการขนส่งอย่างยั่งยืน อีกทั้งมีการติดตามและนำไปปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลสำเร็จต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและความตกลงปารีส ทั้งนี้ ร่างแถลงการณ์ปักกิ่งเป็นเอกสารที่ไม่มีการเปิดให้เจรจาซึ่งจะมีการนำเสนอเอกสารดังกล่าวในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติต่อไป 5. ความเห็นและข้อสังเกต การประชุมดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อหารือเกี่ยวกับการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี ค.ศ. 2030 โดยมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของไทยระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 -2580) ซึ่งประกอบด้วย 3 แนวคิดพื้นฐาน ได้แก่ (1) การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ (2) การขนส่งที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (3) การเข้าถึงระบบขนส่งอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม นอกจากนี้ คค. ได้มุ่งเน้นการพัฒนาระบบการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและคาร์บอนต่ำ โดยพัฒนาแผนปฏิบัติการการตั้งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศในภาคการขนส่งและกำหนดเป้าหมายในการลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 31 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2030 ดังนั้น การประชุมดังกล่าวจึงเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาสู่ระบบการขนส่งที่ยั่งยืนภายใต้ความร่วมมือจากภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับโลกและภูมิภาคเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี ค.ศ. 2030 ต่อไป 24. เรื่อง ผลการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ สมัยที่ 27 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอผลการประชุมใหญ่สหภาพสากลไปรษณีย์ (Universal Postal Union: UPU) สมัยที่ 27 เมื่อวันที่ 9 - 27 สิงหาคม 2564 ณ กรุงอานีจานสาธารณรัฐโกตดิวัวร์ (โกตดิว้วร์) [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 มกราคม 2563) อนุมัติให้ไทยสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งสมาชิกสภาบริหารและสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ของ UPU สมัยที่ 27 ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (27 กรกฎาคม 2564) เห็นชอบการมอบอำนาจให้แก่หัวหน้าคณะและรองหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการอภิปราย ลงมติ และลงนามในกรรมสารสุดท้ายของการประชุมฯ สมัยที่ 27 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (17 สิงหาคม 2564) เห็นชอบการมอบอำนาจให้ประเทศมาเลเซียทำหน้าที่แทนประเทศไทยในการลงคะแนนเสียงและข้อมติต่าง ๆ แบบการลงคะแนนแบบลับ (Secret Vote) เฉพาะในกรณีการลงมติเลือกตั้งในตำแหน่งสำคัญในการประชุมฯ สมัยที่ 27] โดยคณะผู้แทนไทยได้เข้าร่วมการประชุมฯ ผ่านระบบการประชุมทางไกล มีประเทศสมาชิก UPU เข้าร่วมประชุมฯ 165 ประเทศ ซึ่งการประชุมฯ ประกอบด้วย การประชุมเต็มคณะและการประชุมคณะกรรมการ 6 คณะ สรุปได้ ดังนี้ การประชุม ผลการประชุม/มติที่ประชุม 1. การประชุมเต็มคณะ - เห็นชอบการแก้ไขกฎในการเข้าร่วมประชุมใหญ่ UPU สมัยที่ 27 โดยให้แต่ละประเทศเข้าร่วมประชุมแบบทางไกลและลงมติผ่านการลงคะแนนทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Voting) ในประเด็นทั่วไป ยกเว้นการลงคะแนนแบบลับสำหรับการเลือกตั้งตำแหน่งต่าง ๆ ซึ่งจะทำการเลือกตั้ง ณ กรุงอาบีจานโกตดิวัวร์ - เห็นชอบให้ UPU ดำเนินการรับรองกิจกรรม UPU หมู่เกาะซากอสที่ให้เป็นดินแดนของมอริเชียส และปลดปล่อยจากการเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักร - ผลการเลือกตั้งตำแหน่งต่าง ๆ ของสำนักงานระหว่างประเทศ UPU ระหว่าง ปี ค.ศ. 2022 - 2025 ดังนี้ ตำแหน่ง ผลการเลือกตั้ง (1) เลขาธิการ UPU Mr. Masahiko Metoki จากญี่ปุ่น (2) รองเลขาธิการ UPU Mr. Marjan Osvald จากสาธารณรัฐสโลวีเนีย (3) สมาชิกสภาบริหาร (5 ภูมิภาค) ไทยได้รับเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาบริหารในภูมิภาคที่ 4 : เอเชียและโอเชียเนีย (Southern Asia and Oceania) (4) สมาชิกสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ (5 ภูมิภาค) ไทยไม่ได้รับเลือกตั้งในตำแหน่งนี้สำหรับภูมิภาคที่ 4 (5) เจ้าภาพจัดการประชุมใหญ่ UPU ครั้งที่ 28 สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (การประชุมครั้งต่อไป กำหนดจัดขึ้นในปี ค.ศ. 2025 ณ ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) - พิจารณาข้อเสนอการแก้ไข/เพิ่มเติมรายละเอียดในเอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น ธรรมนูญ ข้อบังคับทั่วไป และอนุสัญญาสากลไปรษณีย์ โดยไทยได้ลงนามในกรรมสารสุดท้ายภายหลังจากจบการประชุมใหญ่ฯ [ตามมติคณะรัฐมนตรี (27 กรกฎาคม2564)] 2. การประชุมคณะกรรมการภายใต้ UPU 2.1 คณะกรรมการที่ 1: การแต่งตั้งคณะผู้แทน - รับทราบการแต่งตั้งผู้ทำการแทนของประเทศสมาชิก 45 ประเทศ เนื่องจากไม่สามารถเข้าร่วมประชุมใหญ่ฯ และทำการเลือกตั้ง ณ สถานที่ประชุมใหญ่ฯ (physical) ณ กรุงอาบีจาน โกตดิวัวร์ ซึ่งไทยได้แต่งตั้งให้ประเทศมาเลเซียเป็นผู้ทำการแทนสำหรับการลงคะแนนเสียงแบบ Secret Vote เฉพาะในกรณีการลงมติเลือกตั้งตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ เช่น เลขาธิการ UPU รองเลขาธิการ UPU [ตามมติคณะรัฐมนตรี (17 สิงหาคม 2564)] 2.2 คณะกรรมการที่ 2 : การเงิน - เห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานการเงินในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาและข้อเสนอการจัดสรรงบประมาณร้อยละ 10 ของงบประมาณประจำปีของ UPU ในการทยอยจ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพของสหประชาชาติ - อนุมัติเพดานงบประมาณประจำปีของ UPU ระหว่างปี ค.ศ. 2022 ? 2025 จำนวน 38.89 ล้านฟรั่งก์สวิส และการจ่ายค่าบำรุงสมาชิก UPU 2.3 คณะกรรมการที่ 3 : นโยบายทั่วไปและการบริหารจัดการสหภาพ - เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์อานีจาน 4 ปีข้างหน้าและแผนปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง และการแก้ไขกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการให้สัตยาบันยอมรับ และอนุมัติกรรมสาร - เห็นชอบข้อเสนอให้กำหนดโควต้าสมาชิกสภาบริหารและสภาปฏิบัติการไปรษณีย์ อย่างละ 1 ที่นั่งของภูมิภาคเอเชียและโอเชียเนีย ให้กลุ่มประเทศหมู่เกาะแปชิฟิก - ห็นชอบรายงานของคณะทำงานการขยายบทบาทไปรษณีย์ไปสู่ภาคส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากภาคไปรษณีย์ และการจัดการประชุมใหญ่ วาระพิเศษ ครั้งที่ 3 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ในปี ค.ศ. 2023 2.4 คณะกรรมการที่ 4 : อนุสัญญา - รับทราบการพิจารณากำหนดระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการไปรษณีย์ระหว่างประเทศ โดยปรับแก้ไขระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ เช่น การปรับปรุงคุณภาพบริการ การแลกเปลี่ยนข้อมูลศุลกากรล่วงหน้าทางอิเล็กทรอนิกส์ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการ 2.5 คณะกรรมการที่ 5: บริการทางการเงินไปรษณีย์ - รับทราบบทบาทของบริการทางการเงินในการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจ เช่น ความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรในการให้บริการทางการเงิน การขยายบริการให้เข้ากับผู้ใช้บริการโดยเฉพาะประชาชนภาคสังคมและการพิจารณาข้อเสนอขอแก้ไขมาตราต่าง ๆ ในข้อตกลงบริการการเงินไปรษณีย์ 2.6 คณะกรรมการที่ 6 : ความร่วมมือและการพัฒนา - รับทราบกิจกรรมความร่วมมือและการพัฒนาต่าง ๆ ระหว่างปี ค.ศ. 2017-2020 การจัดทำแผนปฏิบัติการความร่วมมือและพัฒนา ประจำปี ค.ศ. 2021 นโยบายความร่วมมือและพัฒนาสำหรับปี ค.ศ. 2022 ? 2025 และการปรับปรุงนโยบายกองทุนคุณภาพบริการในการจัดสรรเงินทุนให้แก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด นอกจากนี้ คณะผู้แทนไทยมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะว่า ไทยได้รับการเลือกตั้งให้เป็นสมาชิกสภาบริหารในภูมิภาคที่ 4 : เอเชียและโอเชียเนีย ทำให้ไทยสามารถมีส่วนร่วมในการบริหารงานของ UPU ได้โดยตรง ดังนั้น ไทยจึงจำเป็นต้องแสดงบทบาทและการมีส่วนร่วมใน UPU อย่างแข็งขันและเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมบทบาทผู้นำและการมีส่วนร่วมของไทยในเวทีระหว่างประเทศ 25. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 10 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้ 1. รับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 10 2. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาเพื่อเตรียมการเจรจาในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยให้คำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และเตรียมมาตรการบรรเทาผลกระทบในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนยึดท่าทีตามกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา ของประเทศไทย และให้ พณ. รับความเห็นของกระทรวงวัฒนธรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง พณ. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสินิตย์ เลิศไกร) เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเนการาบรูไนดารุสซาลามในฐานะประธานอาเซียนปี 2564 เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล สรุปได้ ดังนี้ 1. การหารือเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับแนวทางแก้ไขผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยให้ความสำคัญกับการเปิดตลาดการค้าและการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ส่งเสริมความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานการค้าดิจิทัล การพัฒนาที่ยั่งยืน และความร่วมมือในระดับโลกเพื่อควบคุมการระบาด รวมถึงส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ ไทยได้เน้นย้ำความสำคัญของระบบการค้าที่เปิดกว้าง เป็นธรรม ไม่เลือกปฏิบัติ และสนับสนุนบทบาทขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เพื่อลดอุปสรรคและอำนวยความสะดวกทางการค้าให้กับวัคซีนและยาที่จำเป็น รวมถึงส่งเสริมความโปร่งใสและกติกาทางการค้าที่เป็นธรรมสำหรับกลุ่มประเทศ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้กล่าวขอบคุณแคนาดาที่บริจาคอุปกรณ์ทางการแพทย์และเงินให้แก่กองทุนของอาเซียนเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 2. การหารือกับสภาธุรกิจแคนาดา-อาเซียน ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของสภาธุรกิจแคนาดา-อาเซียน ที่ให้ความสำคัญกับการเปิดเสรีทางการค้า โดยเฉพาะการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา การเปิดพรมแดนให้นักธุรกิจสามารถเดินทางระหว่างกัน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน การส่งเสริมเศรษฐกิจและการค้าดิจิทัลและการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ไทยได้แสดงความยินดีที่สภาธุรกิจแคนาดา-อาเซียนให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยที่อยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) 3. การหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-แคนาดา ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน-แคนาดา โดยเฉพาะการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์อาเซียนในการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) นอกจากนี้ แคนาดามีความพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค โดยเฉพาะการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นการค้าใหม่ ๆ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ เศรษฐกิจดิจิทัล การค้าบริการ การมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการ SMEs รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดทำความตกลงการค้าเสรีของแคนาดา ทั้งนี้ แคนาดามีแผนที่จะจัดการหารือด้านนโยบาย ครั้งที่ 5 ในช่วงสิ้นปี 2564* เพื่อเตรียมความพร้อมในการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา 4. การจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา ที่ประชุมเห็นชอบการเปิดเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจเร่งจัดทำแผนงานและเริ่มการเจรจาโดยเร็ว โดยเบื้องต้นกำหนดให้สรุปผลการเจรจาภายใน 2 ปี รวมทั้งเห็นชอบ Reference Paper [ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ (9 พฤศจิกายน 2564) เห็นชอบ] เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีร่วมกัน โดยไม่ได้เป็นการผูกมัดผลการเจรจาที่จะตกลงร่วมกันต่อไป 5. พณ. คาดว่าอาเซียนและแคนาดาจะสามารถสรุปแผนงานเจรจาและเริ่มการเจรจารอบแรกได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 ทั้งนี้ ได้จัดทำขอบเขตสาระเบื้องต้นที่จะเจรจาในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา พร้อมรายชื่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาพรวมการเจรจา - อำนวยความสะดวกและขยายการค้าการลงทุน ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม ลดอุปสรรคทางการค้า รวมทั้งเปิดเสรีทางการค้าอย่างครอบคลุม และเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจ - ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises: MSME) - ส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มผลิตภาพและนวัตกรรม รวมถึงส่งเสริมความเข้มแข็งของห่วงโซ่อุปทาน พณ. การค้าสินค้า - ลดอัตราภาษีสำหรับสินค้าต้นทางอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยคำนึงถึงความอ่อนไหวและระดับการพัฒนาที่แตกต่างกันระหว่างอาเซียนและแคนาดา ตลอดจนสมาชิกอาเซียน - มีกลไกที่มุ่งป้องกันและแก้ไขผลกระทบจากข้อจำกัดการค้าที่ไม่ใช่ภาษี มาตรการและการปรับเปลี่ยนตารางการลดภาษีเป็นรูปแบบใหม่ของระบบพิกัดอัตราภาษี (HS Code) - พณ. - กระทรวงการคลัง (กค.) - กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) - กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) มาตรการปกป้องและเยียวยาทางการค้า ยืนยันสิทธิและภาระผูกพันของประเทศที่เข้าร่วมภายใต้มาตรา 5 ของแกตต์ 1994 (มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและมาตรการตอบโต้การอุดหนุน) และความตกลงว่าด้วยการปกป้องของ WTO พณ. พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า - คำนึงถึงมาตรฐานและแนวทางปฏิบัติขององค์การศุลกากรโลกและองค์การระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มประสิทธิภาพและการบริหารกระบวนการทางศุลกากรอย่างคุ้มค่า - กำหนดมาตรฐานของขั้นตอนทางศุลกากรที่เกี่ยวกับการค้าเพื่อให้มีความสอดคล้อง คาดการณ์ได้ และมีความโปร่งใสในการดำเนินการ และการบริหารกฎหมาย กฎระเบียบ รวมถึงกระบวนการทางศุลกากร - กค. - พณ. อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า - ตระหนักถึงกลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อสนับสนุนจัดการกฎระเบียบที่มากขึ้นและขจัดอุปสรรคที่ไม่จำเป็นต่อการค้า - เพิ่มความโปร่งใส เสริมสร้างความเข้มแข็ง ความร่วมมือ รวมถึงการทำงานร่วมกันเพื่อสร้างขีดความสามารถ และการหารือทางเทคนิคผ่านกลไกที่เหมาะสมและอำนวยความสะดวกทางการค้า - อก. - สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ - กษ. - กระทรวงสาธารณสุข การลงทุน มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมด้านการลงทุนที่เสรี เอื้ออำนวยและแข่งขันได้อย่างยั่งยืนระหว่างประเทศที่เข้าร่วม รวมถึงกฎระเบียบเกี่ยวกับการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน โดยไม่จำกัดสิทธิของรัฐในการกำกับดูแลการลงทุนและนักลงทุน ทั้งนี้ การเจรจาจะครอบคลุม 4 องค์ประกอบ ได้แก่ การส่งเสริม การคุ้มครอง การอำนวยความสะดวก และการเปิดเสรี - พณ. - กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) - สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) แรงงาน การค้าและการลงทุนจะไม่เป็นการลดทอนสิทธิในการคุ้มครองแรงงาน ซึ่งการส่งเสริมสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานเป็นการสนับสนุนการเติบโตอย่างเท่าเทียมและมั่นคง - กระทรวงแรงงาน สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมธรรมาภิบาลด้านสิ่งแวดล้อมและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก - กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - กษ. พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ อำนวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และเป็นช่องทางการค้าและขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม โดยเฉพาะสำหรับ MSME - พณ. - กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม - กค. นโยบายการแข่งขันทางการค้า มุ่งส่งเสริมการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรมและโปร่งใส การคุ้มครองผู้บริโภค รวมถึงการเคารพในสิทธิของอธิปไตยของประเทศที่เข้าร่วมเจรจาในการพัฒนา บริหารจัดการและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายการแข่งขันทางการค้า - สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า - สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค MSME ความสนใจ ความต้องการ และความท้าทายที่ MSME เผชิญในการทำธุรกิจในตลาดต่างประเทศ รวมถึงความจำเป็นในการลดอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ และเพื่ออำนวยความสะดวกในการกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้งหลังจากการปิดกิจการอันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดใหญ่ - สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ มีกฎเกณฑ์และขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพและโปร่งใส ในการระงับข้อพิพาทในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญกาและข้อกังวลเกี่ยวกับการตีความและการดำเนินการตามความตกลงการค้าเสรี - กต. - สคก. - สำนักงานอัยการสูงสุด - พณ. ประเด็นอื่น ๆ - อาจให้มีบทบัญญัติที่จะช่วยให้มั่นใจว่าภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมจะสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา - การพิจารณาแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับประเด็นด้านวัฒนธรรมในความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดาเพิ่มเติมต่อไป - พณ. - กต. - กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ - กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) * จากการประสานข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 พบว่า แคนาดายังไม่มีการจัดการหารือด้านนโยบาย ครั้งที่ 5 โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายในปี 2565 แต่งตั้ง 26. เรื่อง รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการ (จำนวน 13 ราย) คณะรัฐมนตรีรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของส่วนราชการ (จำนวน 13 ราย) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง เนื่องจากในช่วงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (เดือนกันยายน 2564) ที่ผ่านมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ของส่วนราชการบางแห่ง ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) สลค. สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) มีการเกษียณอายุราชการและโยกย้ายเปลี่ยนตำแหน่ง ซึ่งส่วนราชการที่มีการเปลี่ยนแปลง ปคร. ดังกล่าว ได้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ใหม่ และแจ้งให้ สลค. ทราบเพิ่มเติม เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ จำนวน 13 ราย ดังนี้ ส่วนราชการ รายชื่อ ปคร. 1. กห. พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ รองปลัดกระทรวงกลาโหม 2. อว. นายพาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 3. ทส. นายปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. พณ. นายกีรติ รัชโน รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ 5. มท. นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย 6. ศธ. นายปรีดี ภูสีน้ำ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ 7. สปน. นายมงคลชัย สมอุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 8. สลค. นางอุดมพร เอกเอี่ยม รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 9. สงป. นายยุทธนา สาโยชนกร รองผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ 10. สทนช. นายชยันต์ เมืองสง รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 11. สำนักงาน กปร. นายปวัตร์ นวะมะรัตน รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 12. ตช. พลตำรวจโท ธนาศักดิ์ ฤทธิเดชไพบูลย์ ผู้บัญชาการประจำสำนักงานผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ทำหน้าที่นายตำรวจประสานงานรัฐสภา) 13. สคทช. นางรวีวรรณ ภูริเดช ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ 27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นางศุกร์ศิริ บุญญเศรษฐ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ 2. นางบุษกร ปราบณศักดิ์ รองอธิบดีกรมธนารักษ์ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาการประเมินราคาอสังหาริมทรัพย์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมธนารักษ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายพิศุทธิ์ สุขุม ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิศวกรรมโยธา) ระดับสูง] กองควบคุมการก่อสร้าง กรมโยธาธิการและผังเมือง ให้ดำรงตำแหน่ง วิศวกรใหญ่ (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป