คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานสรุปข้อมูลความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ครั้งที่ 16) ตั้งแต่วันที่ 26 ธันวาคม 2547 จนถึงวันที่ 2 พฤษภาคม 2548 ดังนี้
1. พื้นที่ประสบภัยและความเสียหาย (ข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน 2548)
1.1 พื้นที่ประสบภัยพิบัติ บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันของจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันตก 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง และสตูล รวม 25 อำเภอ/กิ่งอำเภอ 95 ตำบล 407 หมู่บ้าน
1.2 ราษฎรได้รับความเดือดร้อน มีจำนวน 58,550 คน 12,017 ครอบครัว
1.3 จำนวนผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย (ข้อมูลถึงวันที่ 29 เมษายน 2548)
— จำนวนผู้เสียชีวิต รวม 5,395 คน (แยกเป็นคนไทย 1,975 คน คนต่างประเทศ 2,245 คน ไม่สามารถระบุได้ ว่าเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศ 1,175 คน)
— บาดเจ็บ รวม 8,457 คน (แยกเป็นคนไทย 6,065 คน คนต่างประเทศ 2,392 คน)
— รับแจ้งสูญหาย รวม 2,822 คน (แยกเป็นคนไทย 1,924 คน คนต่างประเทศ 898 คน) (ได้ผ่านการตรวจสอบ ครั้งที่ 95 ณ วันที่ 29 เมษายน 2548 โดยตัดรายชื่อแจ้งซ้ำ/กลับภูมิลำเนาเดิม/บาดเจ็บ/เสียชีวิต/พบตัวแล้ว)
1.4 จำนวนเด็กกำพร้า ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัย ที่บิดาหรือมารดาหรือผู้อุปการะเดิมเสียชีวิต มีจำนวนทั้งสิ้น 1,221 คน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 49 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2548 กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ) แยกเป็น
- กำพร้าบิดา 413 คน - กำพร้ามารดา 474 คน
- กำพร้าทั้งบิดามารดา 92 คน - ผู้อุปการะเดิมเสียชีวิต 34 คน
และมีเด็กกำพร้าที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิตอยู่ในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ จำนวน 208 คน
1.5 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
— บ้านเรือนราษฎรเสียหาย รวม 4,806 หลัง แยกเป็นเสียหายทั้งหลัง 3,302 หลัง เสียหายบางส่วน 1,504 หลัง
— พื้นที่การเกษตร เสียหายคิดเป็นมูลค่า 6,625,174.50 บาท
— ด้านประมง พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเครื่องมือประมง เสียหายคิดเป็นมูลค่า 1,808,891,883 บาท
— ด้านปศุสัตว์ เสียหายคิดเป็นมูลค่า 17,625,605.50 บาท
— ด้านสถานประกอบการ เสียหายคิดเป็นมูลค่า 13,101,249,720 บาท
— รวมมูลค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของราษฎรทั้ง 6 จังหวัด ประเมินในขั้นต้นประมาณ 14,934.39 ล้านบาท (ไม่รวมบ้าน/ที่อยู่อาศัย)
1.6 ความเสียหายด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ ผลการสำรวจความเสียหายด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ ได้แก่ ท่าเทียบเรือ สะพาน ถนน ท่อระบายน้ำ พนัง/เขื่อน ระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และอื่นๆ ได้รับความเสียหาย ประเมินในขั้นต้น ประมาณ 1,057.39 ล้านบาท
1.7 ความเสียหายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสำรวจความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการประเมินเบื้องต้นที่สามารถสังเกตได้ ได้รับความเสียหายทั้งด้านสภาพชายหาด ป่าชายเลน ป่าไม้ แหล่งน้ำจืด แนวปะการัง รวมทั้งเกิดสภาพดินเค็มในบางพื้นที่ ซึ่งจังหวัดได้ประสานงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและแก้ไขแล้ว
2. การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
2.1 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย (จนถึงวันที่ 29 เมษายน 2548) ได้จ่ายเงินช่วยเหลือไปแล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 321,036,471 บาท เพิ่มจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเงิน 510,000 บาท แยกเป็น
— เงินตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เป็นเงิน 214,314,171 บาท (ค่าจัดการศพ 1,940 ราย บาดเจ็บ 3,411 ราย ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ค่าเครื่องครัว เครื่องนอน ฯลฯ)
— เงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นเงิน 99,594,000 บาท (ค่าจัดการศพ 1,819 ราย บาดเจ็บ 7,226 ราย ว่างงาน 22,537 ราย)
— เงินช่วยเหลือของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นเงิน 7,128,300 บาท (ค่าขนย้ายครอบครัว/สงเคราะห์ครอบครัว ฯลฯ 5,060 ราย)
2.2 การจ่ายเงินช่วยเหลือชาวประมงและผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2548) รวมเป็นเงิน 442,002,216 บาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 1,723,724 บาท แยกเป็น
— เรือประมง 7,299 ลำ เป็นเงิน 228,322,744 บาท
— ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 7,547 ราย เป็นเงิน 118,872,812 บาท
— เครื่องมือประมง 6,810 ราย เป็นเงิน 41,700,970 บาท
— เรือท่องเที่ยว 981 ราย เป็นเงิน 46,078,340 บาท
— กิจการแพปลา 59 แพ เป็นเงิน 7,027,350 บาท
2.3 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย จากเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 100,000,000 บาท กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการรายย่อยถึงวันที่ 29 เมษายน 2548 จ่ายแล้ว จำนวน 4,237 ราย เป็นเงิน 83,910,000 บาท (จากยอด 4,266 ราย)
2.4 การจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ประสบภัย การก่อสร้างบ้านพักถาวร (หลังละ 100,000 บาท) ในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัด ข้อมูลสำรวจจำนวนความต้องการ (ณ วันที่ 22 เมษายน 2548) มีเป้าหมายยอดรวมทั้งสิ้น 2,952 หลัง
3. ผลความคืบหน้าการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและบริหารจัดการศพของศูนย์ปฏิบัติการฯ (TTVI) (ณ วันที่ 27 เม.ย. 48)
- ยอดจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5,395 คน
- ตรวจพิสูจน์ยืนยันบุคคลผู้เสียชีวิต โดยญาติรับศพไปแล้ว (ช่วงแรก) จำนวน 1,656 ศพ แยกเป็น คนไทย 1,446 ศพ คนต่างชาติ 210 ศพ
- สามารถพิสูจน์ยืนยันบุคคลและรับศพไปแล้ว 1,468 ศพ (สุสานไม้ขาว 1,262 ศพ วัดย่านยาว 99 ศพ สุสานทุ่งโหรง 107 ศพ) แยกเป็น คนไทย 127 ศพ คนต่างชาติ 1,341 ศพ)
- คงเหลือศพคนต่างชาติและศพคนไทยที่รอการยืนยัน จำนวน 2,297 ศพ แยกเป็น วัดย่านยาว จ.พังงา 568 ศพ (คนไทย) สุสานไม้ขาว จ.ภูเก็ต 1,729 ศพ (คนต่างชาติ)
- คณะกรรมการอำนวยการฯ มีมติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2548 ให้จัดสร้างสถานที่เก็บศพคนไทยขึ้นที่สุสานบางมะรวน ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางให้ญาติผู้เสียชีวิตมารับศพที่ผ่านการยืนยันตรวจสอบแล้ว ความคืบหน้า ปรับพื้นที่ ถมดินบดอัด วางตู้คอนเทนเนอร์ 23 ตู้ พร้อมไฟฟ้าแล้วเสร็จ ขณะนี้ได้ขนย้ายศพจากบางม่วงหมดแล้ว การก่อสร้างอาคารสถานที่ทำงานคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2548 ศพจากวัดย่านยาวพร้อมขนย้ายมาที่บางมะรวนทั้งหมดในต้นเดือนพฤษภาคม 2548
4. กรมที่ดิน ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เอกสารสิทธิชำรุด สูญหาย และทำการรังวัดปูเขตที่ดินที่หลักเขตสูญหาย ตลอดจนช่วยเหลือการจัดระเบียบที่ดิน สรุปผลการปฏิบัติงานจนถึงวันที่ 29 เมษายน 2548 ดังนี้
4.1 การอำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
จังหวัด การขอออกใบแทน บริการถ่ายเอกสาร การจดทะเบียน การจัดระเบียบที่ดิน
(แปลง) สิทธิที่ดิน (แปลง) จำนองที่ดิน (แปลง) (แปลง)
พังงา 712 437 20 1,406
ภูเก็ต 48 58 19 39
กระบี่ 17 48 20 -
ระนอง 3 - - 42
รวม 780 543 59 1,487
หมายเหตุ - การขอออกใบแทน และบริการถ่ายเอกสารสิทธิที่ดิน กรมที่ดินออกค่าใช้จ่ายให้
- การจดทะเบียนจำนองที่ดิน ได้ลดค่าธรรมเนียม
4.2 การตรวจสอบแนวเขตที่ดินในพื้นที่จังหวัดพังงา โดยซ่อมหมุดหลักฐานแผนที่ 85 หมุด ตรวจสอบแนวเขต 597 แปลง ผลการดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %
4.3 การเดินสำรวจสอบเขตที่ดินทั้งตำบล และการเดินสำรวจออกโฉนดในพื้นที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ระนอง และสตูล เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 กันยายน 2548 ผลการดำเนินงาน ดังนี้
- สอบเขตที่ดินทั้งตำบล แล้วเสร็จ 494 แปลง เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 177 แปลง (เป้าหมาย 5 จังหวัด คือ พังงา ภูเก็ต ระนอง กระบี่ สตูล รวม 6,838 แปลง)
- เดินสำรวจออกโฉนด แล้วเสร็จ 9,190 แปลง เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 1,813 แปลง (เป้าหมาย 4 จังหวัด คือ พังงา กระบี่ สตูล ตรัง รวม 31,680 แปลง)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. พื้นที่ประสบภัยและความเสียหาย (ข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน 2548)
1.1 พื้นที่ประสบภัยพิบัติ บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันของจังหวัดภาคใต้ฝั่งตะวันตก 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง ตรัง และสตูล รวม 25 อำเภอ/กิ่งอำเภอ 95 ตำบล 407 หมู่บ้าน
1.2 ราษฎรได้รับความเดือดร้อน มีจำนวน 58,550 คน 12,017 ครอบครัว
1.3 จำนวนผู้เสียชีวิต บาดเจ็บ และสูญหาย (ข้อมูลถึงวันที่ 29 เมษายน 2548)
— จำนวนผู้เสียชีวิต รวม 5,395 คน (แยกเป็นคนไทย 1,975 คน คนต่างประเทศ 2,245 คน ไม่สามารถระบุได้ ว่าเป็นคนไทยหรือคนต่างประเทศ 1,175 คน)
— บาดเจ็บ รวม 8,457 คน (แยกเป็นคนไทย 6,065 คน คนต่างประเทศ 2,392 คน)
— รับแจ้งสูญหาย รวม 2,822 คน (แยกเป็นคนไทย 1,924 คน คนต่างประเทศ 898 คน) (ได้ผ่านการตรวจสอบ ครั้งที่ 95 ณ วันที่ 29 เมษายน 2548 โดยตัดรายชื่อแจ้งซ้ำ/กลับภูมิลำเนาเดิม/บาดเจ็บ/เสียชีวิต/พบตัวแล้ว)
1.4 จำนวนเด็กกำพร้า ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ที่ประสบภัย ที่บิดาหรือมารดาหรือผู้อุปการะเดิมเสียชีวิต มีจำนวนทั้งสิ้น 1,221 คน เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 49 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 22 เมษายน 2548 กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ) แยกเป็น
- กำพร้าบิดา 413 คน - กำพร้ามารดา 474 คน
- กำพร้าทั้งบิดามารดา 92 คน - ผู้อุปการะเดิมเสียชีวิต 34 คน
และมีเด็กกำพร้าที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิตอยู่ในพื้นที่จังหวัดอื่นๆ จำนวน 208 คน
1.5 ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
— บ้านเรือนราษฎรเสียหาย รวม 4,806 หลัง แยกเป็นเสียหายทั้งหลัง 3,302 หลัง เสียหายบางส่วน 1,504 หลัง
— พื้นที่การเกษตร เสียหายคิดเป็นมูลค่า 6,625,174.50 บาท
— ด้านประมง พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเครื่องมือประมง เสียหายคิดเป็นมูลค่า 1,808,891,883 บาท
— ด้านปศุสัตว์ เสียหายคิดเป็นมูลค่า 17,625,605.50 บาท
— ด้านสถานประกอบการ เสียหายคิดเป็นมูลค่า 13,101,249,720 บาท
— รวมมูลค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพของราษฎรทั้ง 6 จังหวัด ประเมินในขั้นต้นประมาณ 14,934.39 ล้านบาท (ไม่รวมบ้าน/ที่อยู่อาศัย)
1.6 ความเสียหายด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ ผลการสำรวจความเสียหายด้านสิ่งสาธารณประโยชน์ ได้แก่ ท่าเทียบเรือ สะพาน ถนน ท่อระบายน้ำ พนัง/เขื่อน ระบบสาธารณูปโภค ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ และอื่นๆ ได้รับความเสียหาย ประเมินในขั้นต้น ประมาณ 1,057.39 ล้านบาท
1.7 ความเสียหายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การสำรวจความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการประเมินเบื้องต้นที่สามารถสังเกตได้ ได้รับความเสียหายทั้งด้านสภาพชายหาด ป่าชายเลน ป่าไม้ แหล่งน้ำจืด แนวปะการัง รวมทั้งเกิดสภาพดินเค็มในบางพื้นที่ ซึ่งจังหวัดได้ประสานงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบและแก้ไขแล้ว
2. การช่วยเหลือผู้ประสบภัย
2.1 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย (จนถึงวันที่ 29 เมษายน 2548) ได้จ่ายเงินช่วยเหลือไปแล้ว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 321,036,471 บาท เพิ่มจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เป็นเงิน 510,000 บาท แยกเป็น
— เงินตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ เป็นเงิน 214,314,171 บาท (ค่าจัดการศพ 1,940 ราย บาดเจ็บ 3,411 ราย ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ค่าเครื่องครัว เครื่องนอน ฯลฯ)
— เงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นเงิน 99,594,000 บาท (ค่าจัดการศพ 1,819 ราย บาดเจ็บ 7,226 ราย ว่างงาน 22,537 ราย)
— เงินช่วยเหลือของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นเงิน 7,128,300 บาท (ค่าขนย้ายครอบครัว/สงเคราะห์ครอบครัว ฯลฯ 5,060 ราย)
2.2 การจ่ายเงินช่วยเหลือชาวประมงและผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2548) รวมเป็นเงิน 442,002,216 บาท เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 1,723,724 บาท แยกเป็น
— เรือประมง 7,299 ลำ เป็นเงิน 228,322,744 บาท
— ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 7,547 ราย เป็นเงิน 118,872,812 บาท
— เครื่องมือประมง 6,810 ราย เป็นเงิน 41,700,970 บาท
— เรือท่องเที่ยว 981 ราย เป็นเงิน 46,078,340 บาท
— กิจการแพปลา 59 แพ เป็นเงิน 7,027,350 บาท
2.3 การจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อย จากเงินกองทุนช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 100,000,000 บาท กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้จ่ายเงินให้ผู้ประกอบการรายย่อยถึงวันที่ 29 เมษายน 2548 จ่ายแล้ว จำนวน 4,237 ราย เป็นเงิน 83,910,000 บาท (จากยอด 4,266 ราย)
2.4 การจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้ประสบภัย การก่อสร้างบ้านพักถาวร (หลังละ 100,000 บาท) ในพื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัด ข้อมูลสำรวจจำนวนความต้องการ (ณ วันที่ 22 เมษายน 2548) มีเป้าหมายยอดรวมทั้งสิ้น 2,952 หลัง
3. ผลความคืบหน้าการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและบริหารจัดการศพของศูนย์ปฏิบัติการฯ (TTVI) (ณ วันที่ 27 เม.ย. 48)
- ยอดจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 5,395 คน
- ตรวจพิสูจน์ยืนยันบุคคลผู้เสียชีวิต โดยญาติรับศพไปแล้ว (ช่วงแรก) จำนวน 1,656 ศพ แยกเป็น คนไทย 1,446 ศพ คนต่างชาติ 210 ศพ
- สามารถพิสูจน์ยืนยันบุคคลและรับศพไปแล้ว 1,468 ศพ (สุสานไม้ขาว 1,262 ศพ วัดย่านยาว 99 ศพ สุสานทุ่งโหรง 107 ศพ) แยกเป็น คนไทย 127 ศพ คนต่างชาติ 1,341 ศพ)
- คงเหลือศพคนต่างชาติและศพคนไทยที่รอการยืนยัน จำนวน 2,297 ศพ แยกเป็น วัดย่านยาว จ.พังงา 568 ศพ (คนไทย) สุสานไม้ขาว จ.ภูเก็ต 1,729 ศพ (คนต่างชาติ)
- คณะกรรมการอำนวยการฯ มีมติเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2548 ให้จัดสร้างสถานที่เก็บศพคนไทยขึ้นที่สุสานบางมะรวน ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า เพื่อเป็นจุดศูนย์กลางให้ญาติผู้เสียชีวิตมารับศพที่ผ่านการยืนยันตรวจสอบแล้ว ความคืบหน้า ปรับพื้นที่ ถมดินบดอัด วางตู้คอนเทนเนอร์ 23 ตู้ พร้อมไฟฟ้าแล้วเสร็จ ขณะนี้ได้ขนย้ายศพจากบางม่วงหมดแล้ว การก่อสร้างอาคารสถานที่ทำงานคาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2548 ศพจากวัดย่านยาวพร้อมขนย้ายมาที่บางมะรวนทั้งหมดในต้นเดือนพฤษภาคม 2548
4. กรมที่ดิน ได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เอกสารสิทธิชำรุด สูญหาย และทำการรังวัดปูเขตที่ดินที่หลักเขตสูญหาย ตลอดจนช่วยเหลือการจัดระเบียบที่ดิน สรุปผลการปฏิบัติงานจนถึงวันที่ 29 เมษายน 2548 ดังนี้
4.1 การอำนวยความสะดวกในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม
จังหวัด การขอออกใบแทน บริการถ่ายเอกสาร การจดทะเบียน การจัดระเบียบที่ดิน
(แปลง) สิทธิที่ดิน (แปลง) จำนองที่ดิน (แปลง) (แปลง)
พังงา 712 437 20 1,406
ภูเก็ต 48 58 19 39
กระบี่ 17 48 20 -
ระนอง 3 - - 42
รวม 780 543 59 1,487
หมายเหตุ - การขอออกใบแทน และบริการถ่ายเอกสารสิทธิที่ดิน กรมที่ดินออกค่าใช้จ่ายให้
- การจดทะเบียนจำนองที่ดิน ได้ลดค่าธรรมเนียม
4.2 การตรวจสอบแนวเขตที่ดินในพื้นที่จังหวัดพังงา โดยซ่อมหมุดหลักฐานแผนที่ 85 หมุด ตรวจสอบแนวเขต 597 แปลง ผลการดำเนินการแล้วเสร็จ 100 %
4.3 การเดินสำรวจสอบเขตที่ดินทั้งตำบล และการเดินสำรวจออกโฉนดในพื้นที่จังหวัดพังงา ภูเก็ต กระบี่ ระนอง และสตูล เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 กันยายน 2548 ผลการดำเนินงาน ดังนี้
- สอบเขตที่ดินทั้งตำบล แล้วเสร็จ 494 แปลง เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 177 แปลง (เป้าหมาย 5 จังหวัด คือ พังงา ภูเก็ต ระนอง กระบี่ สตูล รวม 6,838 แปลง)
- เดินสำรวจออกโฉนด แล้วเสร็จ 9,190 แปลง เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 1,813 แปลง (เป้าหมาย 4 จังหวัด คือ พังงา กระบี่ สตูล ตรัง รวม 31,680 แปลง)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 3 พฤษภาคม 2548--จบ--