สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565

ข่าวการเมือง Tuesday February 22, 2022 17:12 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (22 กุมภาพันธ์ 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                      เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.          เรื่อง          ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา                                                    และยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการดึงดูด                                                  ชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย)
                    2.          เรื่อง          ร่างกฎกระทรวงอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสีเป็นเครื่องกำเนิดรังสี                                         พ.ศ. ?. ร่างกฎกระทรวงอัตราความเข้มข้นของวัสดุที่ประกอบอยู่ในแร่หรือสินแร่                                        เพื่อให้แร่หรือสินแร่นั้นเป็นวัสดุต้นกำลัง พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงวัสดุ                                                  นิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ?. รวม 3 ฉบับ
                    3.          เรื่อง          ร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ สังคม

                    4.           เรื่อง           ขออนุมัติดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 1/2564
                    5.           เรื่อง           ขออนุมัติดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน

ปี 2564 - 2565

                    6.           เรื่อง           แผนปฏิบัติการด้านระบบสุขภาพปฐมภูมิ (พ.ศ. 2564 - 2575)
                    7.           เรื่อง           รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28                                                          มกราคม 2563  เรื่อง การรับรายงานผลดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำ                                        การทุจริตและประพฤติมิชอบของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
                    8.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมกราคม                                         2565
                    9.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหา                                                     การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำและทัณฑสถาน                                                      จากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับ                                                  ผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    10.           เรื่อง           การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดิน                                                  แห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

ต่างประเทศ

                    11.          เรื่อง          การขอความเห็นต่อร่างแผนงานขององค์กรอาเซียนเฉพาะสาขาด้านสวัสดิการ                                                  สังคมและการพัฒนา พ.ศ. 2564 ? 2568 และกรอบผลลัพธ์การปฏิบัติงาน                                                   (SOMSWD Work Plan 2021 ? 2025 and Its Results Framework)
                    12.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. 2564 ? 2568                                                   (Draft ASEAN Work Plan on Youth 2021 - 2025)
                    13.           เรื่อง           กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่ง                                                            สหประชาชาติ สมัยที่ 5 ช่วงที่ 2 และการประชุมสมัยพิเศษ เนื่องในวาระครบรอบ                                         50 ปี ของโครการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
                    14.           เรื่อง           แนวทางการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของไทย
                    15.           เรื่อง           ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการขนส่งเอสแคป ครั้งที่ 4
                    16.            เรื่อง           ผลการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ 41
                    17.           เรื่อง           สรุปผลการหารือทวิภาคีระหว่างรองนายกรัฐมตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวง                                                  พลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมประเทศ                                        ญี่ปุ่น
                    18.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา

ครั้งที่ 11

                    19.           เรื่อง           ร่างแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) สำหรับการเยือนไทยอย่างเป็น                                                  ทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

แต่งตั้ง

                    20.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ

ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)

                    21.           เรื่อง           ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบัน                                        การบินพลเรือน


สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396























กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร                (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                     1. โดยที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (14 กันยายน 2564) เห็นชอบในหลักการมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงหรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญให้เข้ามาพักอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย อันจะเป็นการเพิ่มการบริโภคและการลงทุนในประเทศ และก่อให้เกิดรายได้ต่อเนื่องแก่ประชาชนและแรงงาน รวมทั้งทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงพอต่อภาคธุรกิจที่รัฐส่งเสริม ซึ่งประกอบด้วย 2 มาตรการหลัก ได้แก่               การออกวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว (Long-term resident Visa : LTR Visa) และการแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติ โดย กค. ได้ดำเนินการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ แยกตามประเภทของชาวต่างชาติ ดังต่อไปนี้
ประเภทของชาวต่างชาติ          คุณสมบัติ          สิทธิประโยชน์
1. กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง          1. ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หรือในอสังหาริมทรัพย์ ไม่ต่ำกว่า 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ
2. มีรายได้ส่วนบุคคลไม่ต่ำกว่าปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
3. มีทรัพย์สินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ          1. ให้สิทธิทำงานพร้อมวีซ่า
2. ให้คู่สมรสและบุตรได้รับวีซ่าผู้ติดตามไปพร้อมกันด้วย
3. ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากต่างประเทศ (รวมทั้งรายได้ที่นำเข้ามาในปีภาษีเดียวกัน)
4. ในอนาคตจะมีการพิจารณาในประเด็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะยาวและสิทธิประโยชน์อื่น
2. กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ           1. อายุ 50 ปีขึ้นไป
2. ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย ลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) หรือในอสังหาริมทรัพย์ไม่ต่ำกว่า 250,000 ดอลลาร์สหรัฐ
3. มีรายได้ปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือ
4. มีรายได้ (เงินบำนาญ) ไม่ต่ำกว่าปีละ 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ
3. กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (กลุ่มที่ทำงานออนไลน์แล้วส่งผลงานและมีรายได้จากต่างประเทศแต่มาพำนักในไทยเกิน 180 วัน)           1. มีรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือ
2. มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หากจบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป หรือครอบครองทรัพย์สินทางปัญญา หรือได้รับเงินทุน Series A
3. มีประสบการณ์ทำงาน 5 ปี
 4. กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ           1. มีรายได้ปีละไม่ต่ำกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือ
2. มีรายได้ไม่ต่ำกว่าปีละ 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ หากจบการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป
3. มีประสบการณ์ทำงาน 5 ปีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย           1. ให้สิทธิทำงานพร้อมวีซ่า
2. ให้คู่สมรสและบุตรได้รับวีซ่าผู้ติดตามไปพร้อมกันด้วย
3. เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากรายได้ในประเทศไทยในอัตราเทียบเท่ากับอัตราภาษีเงินได้ที่ได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงานในพื้นที่เศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC)
4. ในอนาคตจะมีการพิจารณาในประเด็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ระยะยาวและสิทธิประโยชน์อื่น
                     2. กค. พิจารณาแล้วจึงได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร            ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการจัดทำมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ในการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงหรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญให้เข้ามาพักอาศัยหรือทำงานในประเทศไทย รวมทั้งให้เป็นไปตามมติคณะกรรมการบริหารสถานการณ์เศรษฐกิจจากผลกระทบของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019               (โควิด-19) (ศบศ.) ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 และมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 14 กันยายน 2564 และวันที่ 7 ธันวาคม 2564
                     3. กค. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยการคาดการณ์ของ สศช. ว่า จะมีชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศไทยจำนวน 1 ล้านคน อย่างไรก็ดี จะไม่ทำให้สูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวต่างประเทศ ซึ่งไม่อยู่ในฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของประเทศไทย แต่อาจเพิ่มรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษที่จะเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราร้อยละ 17 ของเงินได้พึงประเมิน และมีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้
                               3.1 ชาวต่างชาติผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจหรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญเข้ามาพักอาศัยหรือทำงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
                               3.2 ฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มขึ้นจากกลุ่มชาวต่างชาติผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย
                               3.3 การบริโภคและการลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น
                               3.4 ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพิ่มขึ้น
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                     1. ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้แก่ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวประเภทประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง ประเภทผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ หรือประเภทผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย สำหรับเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว เนื่องจากหน้าที่งานหรือกิจการที่ทำในต่างประเทศหรือเนื่องจากทรัพย์สินที่อยู่ในต่างประเทศ และได้นำเงินได้เข้ามาในประเทศไทย โดยผู้มีเงินได้ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
                     2. ลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในการหักภาษี ณ ที่จ่ายเหลืออัตราร้อยละ 17 ของเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ผู้ถือวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว ประเภทผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ เนื่องจากการจ้างแรงงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตามกฎหมายว่าด้วยการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย กฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน หรือกฎหมายว่าด้วยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ทั้งนี้ ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด ซึ่งเมื่อคำนวณภาษีตามมาตรา 50 (1) แห่งประมวลรัษฎากรแล้วอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีในอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสูงกว่าร้อยละ 17 ของเงินได้ ในกรณีที่คำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายแล้วอยู่ในบังคับต้องเสียเท่ากับหรือน้อยกว่าร้อยละ 17 ของเงินได้ ให้ผู้มีเงินได้มีสิทธิได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้พึงประเมินดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เมื่อผู้มีเงินได้ยอมให้ผู้จ่ายเงินได้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 17 ของเงินได้นั้น
                     3. ให้ผู้มีเงินได้ซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 17 ของเงินได้ตามข้อ 2. ไว้แล้ว เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการภาษีไม่ต้องนำเงินพึงประเมินไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เฉพาะกรณีไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้คืนหรือไม่ขอเครดิตคืนภาษีที่ถูกหักไว้ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
                               3.1 ในกรณีที่มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายตามมาตรา 50 ไว้แล้วและมีสิทธิเลือกเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 48 (3) และ (4) ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิได้เมื่อไม่นำเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) และ (8) ไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ไม่ขอรับเงินภาษีที่ถูกหักไว้คืน และไม่ขอเครดิตภาษีที่ถูกหักไว้ ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
                               3.2 ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเงินได้พึงประเมินที่ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
                     4. ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับสิทธิตามข้อ 2. และข้อ 3. ต้องมีคุณสมบัติและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
                     5. กรณีที่มีการใช้สิทธิไปแล้ว และต่อมาไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในปีภาษีใด ให้สิทธิเป็นอันระงับไปในเฉพาะปีภาษีนั้น

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสีเป็นเครื่องกำเนิดรังสี พ.ศ. ?.                            ร่างกฎกระทรวงอัตราความเข้มข้นของวัสดุที่ประกอบอยู่ในแร่หรือสินแร่เพื่อให้แร่หรือสินแร่นั้นเป็นวัสดุต้นกำลัง พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ?. รวม 3 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                     1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสีเป็นเครื่องกำเนิดรังสี                  พ.ศ. ?. และร่างกฎกระทรวงอัตราความเข้มข้นของวัสดุที่ประกอบอยู่ในแร่หรือสินแร่เพื่อให้แร่หรือสินแร่นั้นเป็นวัสดุต้นกำลัง พ.ศ. ?. ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                     2. เห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวงวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ?. และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     3. ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับความเห็นของสำนักงาน                  สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงรวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ เป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นกฎหมายกำหนดกฎเกณฑ์ให้เกิดความปลอดภัยและความมั่นคงทางนิวเคลียร์และรังสี เพื่อคุ้มครองประชาชนและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ในทางสากล โดยได้แก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำในร่างกฎกระทรวงที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว
                    ร่างกฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับ มีสาระสำคัญดังนี้
                     1. ร่างกฎกระทรวงอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสีเป็นเครื่องกำเนิดรังสี พ.ศ. ?. เป็นการกำหนดอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสีเป็นเครื่องกำเนิดรังสี เพื่อควบคุมอุปกรณ์ดังกล่าวเช่นเดียวกับเครื่องกำเนิดรังสี
                     2. ร่างกฎกระทรวงอัตราความเข้มข้นของวัสดุที่ประกอบอยู่ในแร่หรือสินแร่เพื่อให้แร่หรือสินแร่นั้นเป็นวัสดุต้นกำลัง พ.ศ. ?. เป็นการกำหนดอัตราความเข้มข้นของวัสดุที่ประกอบอยู่ในแร่หรือสินแร่ เพื่อให้แร่หรือสินแร่นั้นเป็นวัสดุต้นกำลังหรือวัสดุนิวเคลียร์
                     3. ร่างกฎกระทรวงวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาต พ.ศ. ?. เป็นการกำหนดวัสดุนิวเคลียร์ที่ผู้ดำเนินการไม่ต้องขอรับใบอนุญาตมีไว้ในครอบครอง ใช้ นำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน

3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบดังนี้
                       1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความหลากหลายทางชีวภาพ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                       2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ ทส. เสนอ เป็นการกำหนดพื้นที่ในการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อเป็นกลไกการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพการอนุรักษ์ การเข้าถึง การใช้ประโยชน์ และการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ และความปลอดภัยทางชีวภาพจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมของประเทศไทย (Living Modified Organisms: LMOs) เพื่อรองรับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ และการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy : BCG Model) รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศด้านความหลากหลายทางชีวภาพอันจะเป็นการรองรับการเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพตามแผนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    1. กำหนดให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดให้หน่วยงานหนึ่งหน่วยงานใดของรัฐตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กำหนดขึ้นโดยคำแนะนำของคณะกรรมการ เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบและมีหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้คำนึงถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ความเกี่ยวข้องกับทรัพยากรชีวภาพ จำนวนบุคลากร ความสัมพันธ์กับภารกิจหลัก และปริมาณงานในความรับผิดชอบเป็นสำคัญ
                    2. กำหนดให้พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแก่การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพทั่วราชอาณาจักร ตลอดจนเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เขตไหล่ทวีปและทะเลหลวง ที่ประเทศไทยมีสิทธิและหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพตราบเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายระหว่างประเทศหรือความตกลงที่ทำกับต่างประเทศ
                    3. กำหนดให้มี ?คณะกรรมการความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ? ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ โดยมีหน้าที่และอำนาจในการเสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่นายกรัฐมนตรีในการกำหนดภารกิจให้แก่หน่วยงานของรัฐที่จะต้องรับผิดชอบ หรือกำหนดให้เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบที่ต้องดำเนินการ และเสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีของหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ กฎหมาย และพันธกรณีตามความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
                    4. กำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบพิจารณาสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดทำบัญชีรายการทรัพยากรชีวภาพในระดับท้องถิ่นส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นพัฒนา               องค์ความรู้และสมรรถนะด้านการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นมีความสามารถในการติดตามตรวจสอบการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรชีวภาพตามพระราชบัญญัตินี้
                    5. การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
                              5.1 กำหนดให้การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเป็นไปตามแผนจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ และให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการมีอำนาจออกประกาศกำหนดให้พื้นที่นั้นเป็นเขตคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อกำหนดมาตรการคุ้มครอง ป้องกัน แก้ไขและพื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ โดยมีแผนที่แสดงแนวเขตแนบท้ายประกาศ รวมทั้งมีอำนาจประกาศกำหนดให้เป็นทรัพยากรชีวภาพคุ้มครองและกำหนดมาตรการคุ้มครองและป้องกันผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพคุ้มครอง
                              5.2 กำหนดให้การกำหนดเขตคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่อยู่ในความรับผิดชอบ ดูแลรักษา หรือเป็นของหน่วยงานของรัฐต้องได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐนั้นก่อนและ               การกำหนดให้พื้นที่บริเวณใดเป็นเขตคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนท้องถิ่น และประชาชนในพื้นที่ เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาด้วย
                              5.3 กำหนดให้ที่ดินที่ของบุคคลใด ซึ่งประสงค์จะกำหนดให้เป็นเขตคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ จะต้องขอขึ้นทะเบียนและจัดทำมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ประกาศกำหนด
                              5.4 กำหนดให้เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษโดยคำแนะนำของหน่วยงานผู้รับผิดชอบจัดทำบัญชีทรัพยากรชีวภาพในพื้นที่ของตน โดยการจัดทำบัญชีดังกล่าวต้องจัดให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนท้องถิ่น
                    6. การเข้าถึง การใช้ประโยน์จากทรัพยากรชีวภาพ และการแบ่งปันผลประโยชน์
                              6.1 กำหนดกลไกในการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพ รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ตามหลักการที่กำหนดไว้ในพิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม
                              6.2 กำหนดให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบพิจารณาอนุญาตการขอเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และพิจารณาจัดทำข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ กรณีที่การใช้ประโยชน์นั้นเป็นไปเพื่อการค้า โดยจะพิจารณาเป็นรายกรณีไป
                              6.3 กำหนดให้มีระบบการรายงานความก้าวหน้าหรือผลการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพ เพื่อติดตามการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการขออนุญาตเข้าถึงการนำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการแบ่งปันผลประโยชน์จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพนั้น ๆ
                              6.4 กำหนดให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีรายได้และทรัพย์สิน ได้แก่ เงินที่ได้รับจากข้อตกลงการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรชีวภาพ เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ เงินค่าปรับทางปกครอง เงินค่าปรับจากการเปรียบเทียบ และดอกผลและผลประโยชน์อื่นใดที่เกิดจากเงินและทรัพย์สินดังกล่าว
                    7. การควบคุมผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
                              7.1 กำหนดให้หมวดนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมดูแลการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมในกระบวนการต่าง ๆ และการใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่นำเข้ามาจากต่างประเทศและที่มีอยู่ภายในประเทศให้เป็นไปอย่างปลอดภัย เหมาะสม และสอดคล้องกับการดำเนินงานในระดับสากล
                              7.2 กำหนดคำนิยามคำว่า ?ความปลอดภัยทางชีวภาพ? ?สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม? ?เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่? ?กิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม? ?ใช้ในสภาพควบคุม? ?ใช้ในภาคสนาม? ?ปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม? ?ผลิต? และ ?ชนิดพันธุ์ต่างถิ่น? เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น
                              7.3 กำหนดกลไกการกำกับดูแลกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ LMOs ที่สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนดในพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ ทั้ง LMOs ที่พัฒนาขึ้นในประเทศและที่นำเข้าจากต่างประเทศในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การนำเข้า ส่งออก นำผ่าน การดูแล ขนส่ง การบรรจุหีบห่อ การจำแนกระบุ การใช้ในสภาพควบคุม การใช้ในภาคสนาม การประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพก่อนการปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม
                              7.4 กำหนดให้มีการจัดทำบัญชีชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกราน ควบคู่ไปกับมาตรการป้องกัน ควบคุม หรือกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ซึ่งรวมถึงชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วย เพื่อควบคุม ป้องกันภัยคุกคามและผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ โดยคำนึงถึงกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                    8. กำหนดให้ผู้ใดทำให้เกิดความเสียหายต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพย์สิน เศรษฐกิจ สังคม หรือความมั่นคงทางอาหาร หรือมีผลกระทบเชิงลบต่อสุขภาพมนุษย์ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือชนิดพันธุ์ต่างถิ่น ผู้นั้นต้องรับผิดชดใช้ค่าสิ่นไหมทดแทนเพื่อการนั้น ไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดจากการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อของบุคคลดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม
                    9. กำหนดให้มีโทษทางปกครอง ดังนี้
                              9.1 กำหนดให้ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติในการจัดทำรายงานความก้าวหน้าในการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชีวภาพเสนอต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 10,000 บาท
                              9.2 กำหนดให้ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติในการแจ้งการครอบครองสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมนั้น ต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือแจ้งต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่อยู่ในบัญชีปลดปล่อยสู่สิ่งแวดล้อม ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 100,000 บาท
                              9.3 กำหนดให้ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้นอกจากโทษปรับทางปกครอง อาจได้รับการลงโทษทางปกครองอื่นร่วมด้วยอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างก็ได้ ดังนี้ (1) ตำหนิโดยเปิดเผยต่อสาธารณชน (2) สั่งให้ผู้ถูกลงโทษกระทำการหรืองดเว้นกระทำการเพื่อแก้ไขหรือป้องกันมิให้เกิดการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติกฎกระทรวง ประกาศ หลักเกณฑ์ คำสั่ง หรือเงื่อนไขที่กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้ โดยให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบหรือสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้วแต่กรณี เป็นผู้มีอำนาจลงโทษทางปกครอง
                    10. กำหนดให้มีโทษทางอาญา ดังนี้
                              10.1 กำหนดให้ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการคุ้มครอง ป้องกัน แก้ไขและพื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในเขตคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพหรือตามมาตรการคุ้มครองและป้องกันผลกระทบต่อทรัพยากรชีวภาพคุ้มครอง หรือตามมาตรการป้องกัน ควบคุม หรือกำจัดชนิดพันธุ์ต่างถิ่น หรือตามมาตรการป้องกัน ควบคุม หรือกำจัด ทำลาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                              10.2 กำหนดให้ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทำความผิดของ              นิติบุคคลนั้นเกิดจากการสั่งการหรือการกระทำของกรรมการหรือผู้จัดการหรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทำการและละเว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทำการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทำความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับความผิด           นั้น ๆ ด้วย
                    11. บทเฉพาะกาล
                              11.1 กำหนดให้ในวาระเริ่มแรกให้คณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการซึ่งเป็นรองประธานคนที่หนึ่ง และคนที่สอง และกรรมการโดยตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ไปพลางก่อน และให้รัฐมนตรีแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
                              11.2 กำหนดให้การอนุญาตเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพตามระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและการได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. 2554 ให้ดำเนินการต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

เศรษฐกิจ สังคม

4. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ ครั้งที่ 1/2564
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
                    2. อนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 เกี่ยวกับการมอบหมายหน่วยงานขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชดเชยดอกเบี้ยของผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท
                    3. อนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่                       ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ซึ่งต่อมา กษ. ขอแก้ไขข้อเสนอเป็นอนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 ในส่วนโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ดังนี้
                              3.1 แหล่งสินเชื่อ
                                        จากเดิม ผู้ประกอบการต้องมีวงเงินสินเชื่อหมุนเวียนกับสถาบันการเงิน ตามรายชื่อธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน (เฉพาะกิจ) ที่สนับสนุนสินเชื่อภายใต้โครงการ
                                        เป็น ผู้ประกอบการจะต้องมีสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและหรือสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ กับสถาบันการเงินตามรายชื่อธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงิน (เฉพาะกิจ) ที่สนับสนุนสินเชื่อภายใต้โครงการ
                              3.2 ชดเชยดอกเบี้ย
                                        จากเดิม รัฐบาลสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี จำนวนไม่เกิน 600 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 20,000 ล้านบาท
                                        เป็น รัฐบาลสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี จำนวนไม่เกิน 600 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 20,000 ล้านบาท โดยชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อไม้ยาง และหรือชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่อเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต ณ ที่ตั้งเดิมหรือที่ตั้งใหม่ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ
                    4. อนุมัติเพิ่มองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายการยางธรรมชาติ (กนย.)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า
                    1. ในคราวประชุม กนย. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ที่ประชุมมีมติในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
                              1.1 ขออนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
                                        มติ กนย.
                                        1.1.1 เห็นชอบในหลักการโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 - ธันวาคม 2565 ระยะเวลาในการชดเชยดอกเบี้ย ตามโครงการฯ 1 ปี นับตั้งแต่ได้รับอนุมัติ แต่ไม่เกิน 31 ธันวาคม 2565 กรอบวงเงินชดเชยดอกเบี้ย 603.50 ล้านบาท รายละเอียด ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          1. เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและลดต้นทุนทางการเงินให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) ในการซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
2. เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผู้ประกอบการยาง (ยางแห้ง) และภาครัฐ
เป้าหมาย          ผู้ประกอบกิจการยางสามารถซื้อผลผลิตยางแห้งของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางไม่น้อยกว่า 350,000 ตัน (คิดเป็นราคาเฉลี่ยปี 2564 ยางแผ่นดิบราคา 57 บาทต่อกิโลกรัม)
คุณสมบัติ
ของผู้ประกอบการ          1. เป็นผู้ประกอบกิจการแปรรูปยางแห้ง (ยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง)
2. เป็นผู้ประกอบการซึ่งจดทะเบียนในประเทศไทย และมีผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยมากกว่า ร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว
3. เป็นผู้ประกอบการที่ยื่นความจำนงและสมัครเข้าร่วมโครงการตามหลักเกณฑ์และรายละเอียดของโครงการและขอรับการสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยที่การยางแห่ง                ประเทศไทย (กยท.)
ระยะเวลา
ดำเนินการ          1. ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2564 - ธันวาคม 2565
2. ระยะเวลาในการสมัครเข้าร่วมโครงการ ตามหลักเกณฑ์และระยะเวลาที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด
3. ระยะเวลาในการอนุมัติวงเงินที่เข้าโครงการจนสิ้นสุดระยะเวลาการชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการ 1 ปี แต่ไม่เกินเดือนธันวาคม 2565
งบประมาณ
และแหล่งที่มา          1. แหล่งสินเชื่อ ผู้ประกอบการสามารถขอรับสินเชื่อได้ทุกสถาบันการเงิน แต่สถาบันการเงินนั้นจะต้องรับทราบและปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการ
2. รัฐบาลสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี จำนวน  ไม่เกิน 600 ล้านบาท จากวงเงินกู้ 20,000 ล้านบาท โดยให้ กยท. ขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบการ
3. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเป็นเงิน 3.5 ล้านบาท ในการประชุมชี้แจงโครงการค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย การบริหารงาน การติดตาม การตรวจปริมาณยาง ให้คำปรึกษาแนะนำและประชาสัมพันธ์สำหรับ กยท. คณะกรรมการ คณะทำงานต่าง ๆ โดยใช้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี
ประเภทสินเชื่อ          1. ประเภทสินเชื่อระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี
2. อัตราดอกเบี้ย พิจารณาตามความเสี่ยงของผู้ประกอบการ ตามเกณฑ์ที่ธนาคารกำหนด
การชดเชย
ดอกเบี้ย          1. ผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องซื้อยางมาเป็นวัตถุดิบในการผลิต (รายเดือน) เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนผลผลิตของเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง            โดยราคาซื้อเฉลี่ยรายเดือนไม่ต่ำกว่าราคาประกาศเฉลี่ยของ กยท. และหากผู้เข้าร่วมโครงการไม่มีการซื้อยางก็จะไม่ได้รับการชดเชยในเดือนนั้นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด
2. การตรวจสอบหลักฐานและเอกสารในการชดเชยดอกเบี้ย
   (1) หลักฐานการซื้อยางมาเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตในแต่ละเดือน
   (2) เอกสารบัญชียางของกรมวิชาการเกษตร ตามพระราชบัญญัติควบคุมยาง พ.ศ. 2542
   (3) เอกสารและหลักฐานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารโครงการฯ กำหนด
3. รัฐบาลจะสนับสนุนชดเชยดอกเบี้ยในอัตราตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ต่อปี ทั้งนี้ กยท. ขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อจ่ายชดเชยดอกเบี้ยแก่ผู้เข้าร่วมโครงการโดยใช้จ่ายจากรายจ่ายประจำปีตามรายจ่ายที่เกิดขึ้น โดยไม่รวมรายจ่ายชำระต้นเงินกู้และไม่รวมถึงการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นในอนาคต โดยประมาณการค่าใช้จ่ายระยะเวลาเงินกู้ไม่เกิน 1 ปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 600 ล้านบาท
ผลที่คาดว่าจะได้รับ          1. เสริมสร้างศักยภาพโครงสร้างอุตสาหกรรมยาง ทำให้ราคายางพารามีเสถียรภาพ    มากขึ้น เกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ผู้ประกอบกิจการยาง มีสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ สามารถฟื้นฟูและมีความพร้อมในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศและต่างประเทศในสถานการณ์            ที่เปลี่ยนแปลง
3. ภาคอุตสาหกรรมยางพาราภายในประเทศมีการขยายตัวมากขึ้นส่งผลโดยตรงต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
                                        1.1.2 มอบหมายให้ กษ. (กยท.) หารือกับกระทรวงการคลัง (กค.) และ สงป. เกี่ยวกับงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ ให้ชัดเจน ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
                                        1.1.3 มอบหมายให้ กษ. (กยท.) แต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะทำงานที่เกี่ยวข้องดำเนินโครงการฯ และจัดทำรายละเอียดโครงการฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
                              1.2 ขออนุมัติทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 เกี่ยวกับการมอบหมายหน่วยงานขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อชดเชยดอกเบี้ยของผู้เข้าร่วมโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) วงเงินสินเชื่อ 20,000 ล้านบาท
                                        มติ กนย. โดยเห็นชอบการมอบหมายให้ กยท. ทำหน้าที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี เพื่อจ่ายชดเชยดอกเบี้ยให้กับผู้เข้าร่วมโครงการฯ (เดิมมอบหมายให้ กยท. ประสานขอความร่วมมือจากธนาคารของรัฐเพื่อเป็นหน่วยรับชดเชยดอกเบี้ย)
                              1.3 ขออนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์
                                        มติ กนย.
                                        1.3.1 เห็นชอบเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ ได้แก่
                                                  (1) ชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนในการรับซื้อไม้ยาง และหรือชดเชยดอกเบี้ยสินเชื่อเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการขยายกำลังการผลิต/ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต ณ ที่ตั้งเดิมหรือที่ตั้งใหม่ เพื่อใช้ในการประกอบกิจการ
                                                  (2) ผู้ประกอบการจะต้องมีสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและหรือสินเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์กับสถาบันการเงิน
                              1.4 ขออนุมัติเพิ่มองค์ประกอบใน กนย.
                                        มติ กนย. เห็นชอบให้เพิ่มนายกสมาคมเกษตรกรชาวสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ เป็นกรรมการในองค์ประกอบ กนย.
                    2. กษ. (กนย.) ได้รายงานผลการประชุมหารือแนวทางการดำเนินการตามมติ กนย. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ร่วมกับ กค. สงป. และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสรุปได้ ดังนี้
มติ กนย.          ความเห็นที่ประชุม
          กค.          สงป.
1. ขออนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้แก่ผู้ประกอบกิจการยาง (ยางแห้ง) เพื่อรับซื้อยางจากเกษตรกรชาวสวนยางและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง
เห็นชอบในหลักการโครงการ และมอบหมายให้ กษ. (กยท.) หารือกับ กค. และ สงป. เกี่ยวกับงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ ให้ชัดเจนก่อนดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป และจัดทำรายละเอียดโครงการฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป          ไม่ขัดข้อง          ให้เป็นไปตาม
มติ กนย.
2. ขออนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนแก่ผู้ประกอบกิจการไม้ยางและผลิตภัณฑ์ (ตามข้อ 1.3)
เห็นชอบเพิ่มเติมหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการ พร้อมมอบนโยบายให้ กษ. (กยท.) หารือกับ กค. ในการปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ          ไม่ขัดข้อง          -

5. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินการตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2564 - 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2564 ? 2565 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 7,660,000,000 บาท โดยค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นและเป็นภาระงบประมาณ ให้ ธ.ก.ส. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินงานจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายบริหารจัดการโครงการประกันรายได้ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เห็นควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 หรือโอนงบประมาณรายจ่าย หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร แล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามที่เกิดขึ้นจริง ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. การประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วนเหลือด้านรายได้ให้แก่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันทั่วประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ประสบปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาผลผลิตที่ตกต่ำ โดยจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาเป้าหมาย (4 บาทต่อกิโลกรัม) กับราคาตลาดอ้างอิงให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรโดยตรง ถึงแม้ว่าในปัจจุบันราคาปาล์มน้ำมันจะเริ่มปรับตัวอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น แต่เนื่องจากปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ให้ผลผลิตทั้งปีและผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันส่วนใหญ่ต้องพึ่งพิงการใช้ภายในประเทศเป็นหลัก ดังนั้น ในภาวะที่สถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทยยังคงแพร่ระบาดรุนแรงในวงกว้างและมีแนวโน้มจะไม่คลี่คลายลงในระยะอันใกล้ อาจทำให้ภาวะการค้าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในภาพรวม ทั้งภาคอุตสาหกรรม บริโภค และพลังงาน ชะลอตัวลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งจะส่งผลต่อเสถียรภาพของราคาและกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2564 - 2565 เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในภาวะที่รายได้ของเกษตรกรลดลงจากรายได้ที่เกษตรกรพึงได้รับจากการขายผลผลิต และลดผลกระทบจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของเกษตรกร
                    2. ในการประชุม กนป. ครั้งที่ 1/2565 [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2564 -2565 โดยคงหลักการเช่นเดียวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562 - 2563 และปี 2564 และมอบหมาย พณ. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการและอนุมัติกรอบวงเงินดำเนินการต่อไป ซึ่งโครงการดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
เป้าหมาย          เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรทุกครัวเรือน โดยให้ความช่วยเหลือครัวเรือนละไม่เกิน 25 ไร่ และต้องเป็นพื้นที่ปลูกต้นปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้ว (อายุ 3 ปีขึ้นไป)
อัตราช่วยเหลือ          - กำหนดราคาเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ที่เหมาะสมจากการขายผลปาล์มทะลาย (อัตราน้ำมันร้อยละ 18) 4 บาทต่อกิโลกรัม1 ณ หน้าโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม
- รัฐจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาเป้าหมายกับราคาตลาดอ้างอิงให้แก่เกษตรกรโดยตรง
- ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ต่อปี ที่ใช้คำนวณวงเงินช่วยเหลือที่เกษตรกรแต่ละครัวเรือนจะได้รับ ใช้ข้อมูลผลผลิตเฉลี่ยทั้งประเทศย้อนหลัง 3 ปี (36 เดือน) โดยให้ใช้ผลผลิตช่วงเดือนกันยายน 2561 ถึงเดือนสิงหาคม 2564 เฉลี่ยทั้งประเทศเท่ากับ 2,774 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี
การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ และราคาตลาดอ้างอิง          กนป. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2564 - 2565 เพื่อทำหน้าที่พิจารณาหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ การดำเนินโครงการประกันรายได้ ระยะเวลาการจ่ายเงิน รวมทั้งการกำหนดราคาตลาดอ้างอิง เพื่อใช้ในการคำนวณเงินชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาเป้าหมาย (ราคาประกัน) กับราคาตลาดอ้างอิง ที่จะให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกร โดยกำหนดราคาตลาดอ้างอิงเท่ากันสำหรับทุกจังหวัดแหล่งผลิตตามที่คณะอนุกรรมการฯ กำหนด
การจ่ายเงินประกันรายได้          ธ.ก.ส. จ่ายเงินชดเชยส่วนต่างระหว่างราคาเป้าหมายกับราคาตลาดอ้างอิงให้แก่เกษตรกร โดยจ่ายเข้าบัญชีของเกษตรกรทุก 30 วัน หรือตามกรอบเวลาที่คณะอนุกรรมการฯ (กำหนดให้เริ่มจ่ายเงินชดเชยประกันรายได้ งวดที่ 1 ให้แก่เกษตรกรตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 เป็นต้นไป2)
ระยะเวลา          - ระยะเวลาการจ่ายเงินประกันรายได้ : เดือนกันยายน 2564 - สิงหาคม 2565
- ระยะเวลาโครงการ : เริ่มเดือนกันยายน 2564 และสิ้นสุดจนกว่า ธ.ก.ส. จะได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นค่าชดเชยส่วนต่างรายได้ให้เกษตรกรและค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการโครงการ
ค่าใช้จ่าย          - งบประมาณ วงเงิน 7,660 ล้านบาท
??_________________________
1 กรมการค้าภายในแจ้งว่า ในปี 2564 มีต้นทุนการปลูกปาล์มน้ำมันเฉลี่ยประมาณ 3.06 บาทต่อกิโลกรัม (ราคาผลปาล์มทะลายเฉลี่ยรายเดือน ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 อยู่ที่ 8.27 บาทต่อกิโลกรัม)
2 ราคาปาล์มน้ำมันตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 จนถึงปัจจุบัน มีราคาที่สูงกว่าราคาเป้าหมาย จึงไม่ต้องมีการจ่ายค่าชดเชยส่วนต่าง

6. เรื่อง แผนปฏิบัติการด้านระบบสุขภาพปฐมภูมิ (พ.ศ. 2564 - 2575)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านระบบสุขภาพปฐมภูมิ (พ.ศ. 2564 - 2575) (แผนปฏิบัติการฯ) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภายใต้แผนปฏิบัติการดังกล่าว เห็นควรให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่ได้รับจัดสรร หรือปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรรหรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร หรือใช้จ่ายจากเงินนอกงบประมาณ แล้วแต่กรณี โดยคำนึงถึงความประหยัด ความคุ้มค่า ผลสัมฤทธิ์และประโยชน์ที่จะได้รับเป็นสำคัญ ส่วนค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป เห็นควรให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายปีเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอนต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. รายงานว่า
                    1. คณะกรรมการสุขภาพปฐมภูมิ ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2563 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2563 มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ตามพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562 และให้นำเสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนแนวทางการเสนอแผนระดับที่ 3 เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
                    2. สธ. ได้เสนอ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ต่อ สศช. โดยสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ และมีความเห็นให้ สธ. พิจารณาเพิ่มเติมใน 8 ประเด็นสำคัญ เนื่องจากเห็นว่าการกำหนดแนวทางการพัฒนายังไม่ครอบคลุมระบบสุขภาพปฐมภูมิ (ระบบปฐมภูมิฯ) ในทุกมิติและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาคส่วนอื่น ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในสังกัดของ สธ.อีกทั้งยังขาดการพัฒนาแนวทางใหม่ ๆ ที่รองรับบริบทการเปลี่ยนแปลง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
(1) พันธกิจ วิสัยทัศน์ และเป้าหมาย          ควรปรับให้สะท้อนแนวคิดของระบบปฐมภูมิฯ ที่ให้ความสำคัญกับ (1) การเปลี่ยนฐานการดูแลสุขภาพจากโรงพยาบาลเป็นการใช้บ้านและชุมชน โดยมีประชาชนเป็นผู้ขับเคลื่อนระบบ (2) ปรับจากรัฐเป็นผู้ลงทุนหลักเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคเอกชน และภาคประชาชน และ (3) การจัดการกับปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health)1 เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมในระยะยาว
(2) ระยะเวลาดำเนินการ          ปรับห้วงเวลาของ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ เป็น ปี พ.ศ. 2564 ? 2575 (เดิม ปี พ.ศ. 2564 ? 2573) เพื่อให้สอดคล้องกับห้วงเวลาของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (รายละเอียดเพิ่มเติมตามข้อ 4.7.3)
(3) จัดลำดับความสำคัญประเด็นการพัฒนาในระยะต่าง ๆ          ? ระยะเร่งด่วน (ปี พ.ศ. 2564 - 2565) เน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะด้านดิจิทัล การวางแนวทางกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น ฯลฯ
? ระยะปานกลาง (ปี พ.ศ. 2566 - 2570) เน้นสร้างเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้อย่างเป็นรูปธรรม
? ระยะยาว (ปี พ.ศ. 2571 - 2575) เน้นการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้จัดบริการสุขภาพปฐมภูมิ (บริการปฐมภูมิฯ) แก่ผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิงให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ การให้ความสำคัญกับการรักษาแบบประคับประคอง การดูแลผู้ป่วยในระยะกลาง ระยะยาว และระยะสุดท้าย
(4) ปรับปรุง/เพิ่มจุดเน้นแนวทางการพัฒนาของ  แต่ละยุทธศาสตร์
(รายละเอียดยุทธศาสตร์ตามข้อ 2.3)          ? ยุทธศาสตร์ที่ 1 เช่น พัฒนาระบบพี่เลี้ยงชุมชนร่วมกับแกนนำชุมชน โดยมีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นโค้ชเพื่อให้เกิด Community Health Ecosystem ฯลฯ
? ยุทธศาสตร์ที่ 2 เช่น พัฒนาเรื่อง Coaching System/Training the Trainer ดึงดูดแพทย์ให้อบรมด้านเวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อปฏิบัติงานใน             ถิ่นฐานบ้านเกิด ฯลฯ
? ยุทธศาสตร์ที่ 3 เช่น ทำฐานข้อมูลและโครงสร้างที่สอดประสานกันเพื่อการส่งต่อข้อมูลนำนวัตกรรมใหม่มาให้บริการปฐมภูมิฯ เช่น เครื่องเจาะวัดน้ำตาลในเลือดแบบพกพา ซึ่งสามารถเชื่อมโยงผลเข้าสู่ฐานข้อมูลของคณะผู้ให้บริการสุขภาพปฐมภูมิ (คณะผู้ให้บริการฯ) ได้โดยตรง ฯลฯ
? ยุทธศาสตร์ที่ 4 เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักถึงความรับผิดชอบในการดูแลสุขภาพ ฯลฯ
? ยุทธศาสตร์ที่ 5 เช่น จัดทำแนวทางที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ให้ชัดเจน ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนโดยทีมพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)
(5) เพิ่มยุทธศาสตร์อื่น ๆ          ? เพิ่มแนวทางรองรับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ อาทิ (1) การรองรับการเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ โดยวางระบบการดูแลในชุมชน เน้นการรักษาแบบประคับประคองและระยะท้าย (2) การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้ให้บริการ เช่น Telemedicine/Personal Health Record ที่เชื่อมโยงกับอุปกรณ์ดิจิทัล (3) การรองรับโรคอุบัติใหม่ โรคระบาด และภัยธรรมชาติอย่างฉับพลัน
? การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการจัดระบบปฐมภูมิฯ ตามบริบทที่แตกต่างกัน เน้นการศึกษาและการกำหนดมาตรการที่ตอบสนองบริบทสังคมเมือง           ซึ่งมีความเปราะบางมากกว่าในหลายมิติ
? การเชื่อมโยงพระราชบัญญัติปฐมภูมิฯ กับกฎหมาย/กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
(6) การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย          จัดทำแผนภาพแสดงความเชื่อมโยงและวิเคราะห์บทบาทความรับผิดชอบและศักยภาพของหน่วยงานและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ และผู้มีส่วนได้        ส่วนเสียกับระบบปฐมภูมิฯ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์การดำเนินงานและการสนับสนุนที่ควรเพิ่มเติม และแสดงให้เห็น Value Chain และ Data Chain          ที่ช่วยให้การติดตาม การจัดสรรงบประมาณ และการบูรณาการเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่างแท้จริง
(7) การจัดทำโครงการและงบประมาณ          ให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการที่มุ่งเน้นการป้องกันและโครงการ         ใหม่ ๆ ที่รองรับบริบทในอนาคต อาทิ การลงทุนด้านเทคโนโลยี การวางแนวทางกระจายอำนาจให้ อปท.
(8) การบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล          ? ควรเพิ่มกลไกการประเมินผลระดับชาติและระดับเขตสุขภาพ และกำหนดให้มีกระบวนการพิจารณาทบทวนและปรับปรุงแผนปฏิบัติการฯ ให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในอนาคต
? การกำหนดตัวชี้วัด โดย (1) จัดกลุ่มตัวชี้วัดเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ความสำเร็จ
ในระดับของการสร้างความตระหนัก การริเริ่มดำเนินการ และการดำเนินการและ (2) จัดทำตัวชี้วัดที่สะท้อนไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่เป็นรูปธรรม อาทิตัวชี้วัดในระดับภาพรวมของแผน (เช่น อายุคาดเฉลี่ยของการมีสุขภาพดี) ตัวชี้วัดที่สะท้อนการรองรับบริบทที่เปลี่ยนแปลงในอนาคต (เช่น ความครอบคลุมของระบบการดูแลแบบประคับประคองและระยะสุดท้ายในชุมชน) และตัวชี้วัดความพร้อมในการรับมือโรคอุบัติใหม่ ทั้งนี้ ควรกำหนดค่าเป้าหมายตัวชี้วัดในแต่ละระยะให้เป็นแบบก้าวหน้า (Progressive)
                    3. สธ. ได้รับความเห็นของสภาพัฒนาฯ ไปดำเนินการปรับแก้ไข (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ และได้เสนอคณะกรรมการสุขภาพปฐมภูมิรับทราบแล้วในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564 โดยสาระสำคัญของ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ และแผนงาน/โครงการสำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์ต่าง ๆ จำนวน 36 แผนงาน/โครงการ สรุปได้ ดังนี้

(ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านระบบสุขภาพปฐมภูมิ (พ.ศ. 2564 - 2575)
วิสัยทัศน์
                    เป็นระบบปฐมภูมิฯ ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ทำให้ประชาชนสามารถจัดการสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ รวมทั้งเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างทั่วถึงเป็นธรรม มีความเชื่อมั่น ศรัทธา เพื่อมุ่งสู่การมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
                    1. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการจัดบริการปฐมภูมิฯ อย่างต่อเนื่อง และผสมผสาน ครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมโรค การป้องกันโรค การตรวจวินิจฉัยโรค การรักษาพยาบาล และการฟื้นฟูสุขภาพ
                    2. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะผู้ให้บริการฯ ให้มีคุณภาพและเพียงพอต่อการให้บริการปฐมภูมิฯ
                    3. ส่งเสริมและพัฒนาระบบบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้มีการจัดบริการ                ปฐมภูมิฯ ที่มีคุณภาพ
                    4. ส่งเสริม พัฒนา และประสานความร่วมมือด้านการจัดระบบบริการปฐมภูมิฯ ระหว่างภาครัฐ อปท. ภาคประชาชน และภาคเอกชนในการเป็นเจ้าของร่วมกัน เพื่อจัดการและพัฒนาระบบปฐมภูมิฯ ให้มีประสิทธิภาพ
                    5. ส่งเสริมและสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีศักยภาพมีความรอบรู้ในการจัดการสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม รวมถึงสามารถจัดการกับปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคม
เป้าประสงค์
                    ? ประชาชนมีความรอบรู้สามารถจัดการสุขภาพตนเองได้
                    ? ประชาชนมีความเชื่อมั่น ศรัทธา สามารถเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืน
                    ? การจัดบริการปฐมภูมิฯ มีคุณภาพตามมาตรฐาน
                    ? ระบบปฐมภูมิฯ มีกลไกและกระบวนการในการประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เพื่อพัฒนาและจัดระบบปฐมภูมิฯ ที่มีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 1
                    เพิ่มศักยภาพบริการปฐมภูมิฯ ทุกรูปแบบที่ขับเคลื่อนโดยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและคณะ               ผู้ให้บริการฯ ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่

แนวทางพัฒนา
                    จัดระบบ/พัฒนารูปแบบการบริการปฐมภูมิฯ ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลางและมุ่งสู่เป้าหมายระยะยาว (Better Health - Better Care - Better Value) เน้นการมีส่วนร่วมของภาครัฐ อปท. ภาคประชาชน และภาคเอกชน พัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้มีศักยภาพเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิและพัฒนาระบบการส่งต่อระหว่างหน่วยบริการทุกระดับ
ตัวอย่างแผนงาน/โครงการ
                    - โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
                    - โครงการจัดทำคู่มือเกณฑ์คุณภาพและมาตรฐานการให้บริการฯ

ยุทธศาสตร์ที่ 2
                    พัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวและ              คณะผู้ให้บริการฯ
แนวทางพัฒนา
                    ส่งเสริมการผลิตและพัฒนาศักยภาพแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว และคณะผู้ให้บริการฯ พัฒนากลไกการจัดการกำลังคนด้านสุขภาพให้ทำงานเป็นทีม มีความเข้าใจที่ตรงกัน และเสริมสร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากร
ตัวอย่างแผนงาน/โครงการ
                    - โครงการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวหลักสูตร Community - based training/Hospital-based training
                    - โครงการสรรหานักเรียนในพื้นที่เข้าสู่โครงการแพทย์คืนถิ่น
                    - โครงการสร้างสภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงานให้เอื้อต่อการปฏิบัติงานและเป็น happy work place

ยุทธศาสตร์ที่ 3
                    พัฒนาระบบสารสนเทศการวิจัย และนวัตกรรมระบบปฐมภูมิ
แนวทางพัฒนา
                    พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลการบริการและการบริหารจัดการระบบปฐมภูมิฯ นำเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมด้านสุขภาพมาใช้ในการให้บริการปฐมภูมิฯ สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนากำลังคนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตัวอย่างแผนงาน/โครงการ
                    - โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านระบบปฐมภูมิฯ (เน้นพัฒนา hardware/application และโปรแกรมเชื่อมโยงข้อมูล/AI ฯลฯ)

ยุทธศาสตร์ที่ 4
                    พัฒนากลไกและกระบวนการสร้างหลักธรรมาภิบาลในการอภิบาลระบบปฐมภูมิฯ
แนวทางพัฒนา
                    พัฒนาและบังคับใช้กฎระเบียบกลไกการบริหารจัดการระบบปฐมภูมิฯ การบูรณาการทรัพยากรในการจัดบริการปฐมภูมิฯ และกำกับติดตาม การประเมินผล เพื่อให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้
ตัวอย่างแผนงาน/โครงการ
                    - โครงการบูรณาการงานสุขภาพปฐมภูมิเชื่อมโยงการทำงานกับกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    - โครงการบริหารจัดการการเงินการคลังในระบบปฐมภูมิฯ
                    - โครงการติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ

ยุทธศาสตร์ที่ 5
                    เสริมสร้างองค์ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเครือข่ายและชุมชน
แนวทางพัฒนา
                    บูรณาการองค์กรทุกภาคส่วน ภาคประชาชน และภาคประชาสังคมเพื่อจัดการปัจจัยกำหนดสุขภาพทางสังคม ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลจัดการสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ รวมถึงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับระบบปฐมภูมิฯ ให้ประชาชน
ตัวอย่างแผนงาน/โครงการ
                    - โครงการขับเคลื่อน พชอ. (เน้นจัดสภาพพื้นที่ จัดหาอุปกรณ์ดูแลสุขภาพให้ประชาชน)
                    - โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการและการจัดบริการด้านสาธารณสุขของ อปท. ภายใต้พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562
                    4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ เป็นระบบปฐมภูมิฯ ที่มีประสิทธิภาพ สามารถจัดบริการปฐมภูมิฯ ที่มีคุณภาพ ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง เป็นธรรม มีความเชื่อมั่นศรัทธา และมุ่งสู่การมีสุขภาวะที่ดีอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย
                    5. ในส่วนของงบประมาณ ได้ประมาณการกรอบวงเงินงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 67,956.986 ล้านบาท โดยจะตั้งรายการเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของหน่วยงาน แบ่งเป็น
ปีงบประมาณ          วงเงิน (ล้านบาท)          หมายเหตุ
พ.ศ. 2564          3,702.260          ได้รับการจัดสรร
งบประมาณแล้ว
พ.ศ. 2565          5,531.204
พ.ศ. 2566 - 2570          35,198.430
พ.ศ. 2564 - 2575          23,525.092
รวม          67,956.986
1องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำนิยาม ?ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ? ว่าหมายถึง ปัจจัยเชิงโครงสร้างและระบบ ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมที่บุคคลเกิด เติบโต ทำงาน ดำรงชีวิตอยู่ ไปจนถึงระบบซึ่งกำหนดเงื่อนไขในชีวิตประจำวัน อาทิ นโยบายและระบบเศรษฐกิจ วาระการพัฒนา บรรทัดฐานทางสังคม นโยบายสังคมและระบบการเมือง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีอิทธิพลสำคัญต่อประเด็นความเป็นธรรมด้านสุขภาพ (Health Equity) โดยส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและกำหนดรูปแบบพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคมนั้นซึ่งสัมพันธ์โดยตรงกับผลลัพธ์ด้านสุขภาพ ยิ่งสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของบุคคลนั้นอยู่ระดับล่างเท่าไรยิ่งมีแนวโน้มที่จะสุขภาพแย่ลงไปด้วย

7. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563   เรื่อง การรับรายงานผลดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท.) เสนอ  รายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563   เรื่อง การรับรายงานผลดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักงาน ป.ป.ท. รายงานว่า ได้รับรายงานกรณีข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ (ตามมติคณะรัฐมนตรี ข้อ 2) จาก ศปท. ทั้ง 39 หน่วยงาน [ซึ่งได้รายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐในสังกัด ประกอบด้วย ส่วนราชการ (กรม จังหวัด กรุงเทพมหานคร และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น) 364 หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ 53 หน่วยงาน และองค์การมหาชน 26 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 443 หน่วยงาน] ผ่านระบบการทำงานแบบดิจิทัลเต็มรูปแบบด้วยการเปิดใช้งานระบบรับรายงานข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบทางอิเล็กทรอนิกส์ สรุปได้ ดังนี้
                    1. ผลการรับรายงานผลดำเนินการกรณีข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบจาก ศปท. ทั้ง 39 หน่วยงาน โดยรายงานข้อร้องเรียน ซึ่งหน่วยงานในสังกัดหรือกำกับรับดำเนินการ ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557- 30  กันยายน 2564 รวมทั้งสิ้น 2,423 เรื่อง ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 1,053 เรื่อง (ร้อยละ 43.46) และอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 1,370 เรื่อง (ร้อยละ 56.54) สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ศปท. ซึ่งหน่วยงานในสังกัดหรือกำกับมีข้อร้องเรียนมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) จำนวน 503 เรื่อง (ร้อยละ 20.76) กระทรวงการคลัง (กค.) จำนวน 453 เรื่อง (ร้อยละ 18.70) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) จำนวน 260 เรื่อง (ร้อยละ 10.73) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) จำนวน 223 เรื่อง (ร้อยละ 9.20) และกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) จำนวน 143 เรื่อง (ร้อยละ 5.90)
                              1.2 ศปท. ซึ่งหน่วยงานในสังกัดหรือกำกับมีข้อร้องเรียนที่อยู่ระหว่างดำเนินการมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ มท. จำนวน 338 เรื่อง (ร้อยละ 24.67) กค. จำนวน 256 เรื่อง (ร้อยละ 18.69) ทส. จำนวน 197 เรื่อง (ร้อยละ 14.38) กษ. จำนวน 156 เรื่อง (ร้อยละ 11.39) และกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 70 เรื่อง (ร้อยละ 5.11)
                              1.3 ศปท. จำนวน 8 หน่วยงาน ไม่มีข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดกระทำการทุจริตหรือประพฤติชอบ ได้แก่ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและ             ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
                              1.4 เรื่องร้องเรียนที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 1,053 เรื่อง ได้แก่ ยุติเรื่อง จำนวน 495 เรื่อง ลงโทษวินัยร้ายแรง (ไล่ออก ปลดออก ให้ออก) จำนวน 340 เรื่อง  ลงโทษวินัยไม่ร้ายแรง จำนวน 209  เรื่อง และอื่น ๆ (ผู้ถูกกล่าวหาลาออกก่อนดำเนินการเสร็จ)  จำนวน 9 เรื่อง
                    2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับรายงาน โดยพบพฤติการณ์ข้อร้องเรียน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และกลุ่มพื้นที่ที่เกิดการกระทำความผิด สรุปได้ ดังนี้
กลุ่มพื้นที่ที่เกิดการกระทำความผิด          พฤติการณ์ข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐ
(24 พฤติการณ์)
- กลุ่มที่ 1 ข้อร้องเรียนมากกว่า 200 เรื่องขึ้นไป จำนวน 1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานคร) มีข้อร้องเรียน 748 เรื่อง (ร้อยละ 30.57)
          - ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยไม่ชอบหรือทุจริต ยักยอกเงินหรือทรัพย์สินราชการ ข่มขู่เรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ในหน้าที่ ทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นตอนคัดเลือกผู้รับจ้างหรือคู่สัญญา และทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นตอนการจัดทำขอบเขตงาน (TOR) หรือราคากลาง
- กลุ่มที่ 2 ข้อร้องเรียนตั้งแต่ 151-200 เรื่อง จำนวน            1 จังหวัด (จังหวัดอุบลราชธานี) มีข้อร้องเรียน                  194 เรื่อง (ร้อยละ 8.01)
          - ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยไม่ชอบหรือทุจริต ทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างในขั้นตอนการจัดทำ TOR หรือราคากลาง ทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างเกี่ยวกับการตรวจรับงาน ยักยอกเงินหรือทรัพย์สินราชการ และทุจริตค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการ/ปฏิบัติงานล่วงเวลา/              เบี้ยเลี้ยง
- กลุ่มที่ 3 ข้อร้องเรียนตั้งแต่ 51-150 เรื่อง จำนวน             4 จังหวัด (จังหวัดสุราษฎร์ธานี เชียงใหม่ มุกดาหาร และยโสธร มีข้อร้องเรียนรวม 224 เรื่อง (ร้อยละ 9.24)
          - ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยไม่ชอบหรือทุจริต ทุจริตระดับนโยบายหรือในการจัดทำโครงการ ปฏิบัติผิดระเบียบ ทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างเกี่ยวกับการตรวจรับงาน และยักยอกเงินหรือทรัพย์สินราชการ
กลุ่มที่ 4 ข้อร้องเรียนน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 เรื่อง จำนวน 71 จังหวัด (เช่น จังหวัดนนทบุรี นครราชสีมา อำนาจเจริญ และชลบุรี) มีข้อร้องเรียนรวม 1,257 เรื่อง (ร้อยละ 51.88)
          - ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติโดยไม่ชอบหรือทุจริต ข่มขู่ เรียกรับทรัพย์สินหรือประโยชน์ในหน้าที่ ยักยอกเงินหรือทรัพย์สินราชการ ทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างทั้งโครงการและปฏิบัติผิดระเบียบ


                    นอกจากนี้ ศปท. ได้รายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 สรุปได้ ดังนี้
                    3.1 ศปท. จำนวน 30 หน่วยงาน รายงานข้อมูลผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้นไม่แล้วเสร็จในกำหนดระยะเวลา 7 วัน จำนวน 1,129 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 46.60 ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด จำนวน 2,423 เรื่อง
                    3.2 ศปท.จำนวน 30 หน่วยงาน รายงานข้อมูลผลการดำเนินการทางวินัยหรือทางอาญาไม่แล้วเสร็จในกำหนดระยะเวลา 30 วัน จำนวน 1,005 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 41.48 ของเรื่องร้องเรียนทั้งหมด จำนวน 2,423 เรื่อง
                    3.3 ศปท. จำนวน 1 หน่วยงาน รายงานข้อมูลผลการดำเนินการทางวินัยหรือทางอาญาแล้วเสร็จในกำหนดระยะเวลา 7 วัน และ 30 วัน คือ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
                    สิ่งที่จะดำเนินการต่อไป ได้แก่ 1) ติดตามเร่งรัดให้หน่วยงานของรัฐทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน ในสังกัดหรือกำกับ ศปท. ซึ่งมีเรื่องร้องเรียนที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้เร่งรัดดำเนินมาตรการทางวินัย ปกครอง อาญาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว อย่างถูกต้อง และเป็นธรรม และรายงานข้อมูลไปยังสำนักงาน ป.ป.ท. 2) พัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพระบบรับรายงานข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตประพฤติมิชอบทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถรองรับการบูรณาการเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐอื่น และ 3) ให้แต่ละหน่วยงานทำการประเมินตนเองและจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยงการทุจริตในประเด็นตามพฤติการณ์ทุจริตประพฤติมิชอบที่พบมากที่สุดของแต่ละหน่วยงาน

8. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมกราคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมกราคม 2565 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                    1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
                              1.1 สศช. ได้จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปี 2564 (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560) โดยจากการประเมินผลสัมฤทธิ์การบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติในภาพรวมปี 2564 พบว่า ความอยู่ดีมีสุขลดลง ภาพรวมการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในหลายมิติดีขึ้น สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของคุณภาพชีวิต สุขภาวะ และความเป็นอยู่ของคนไทย และขีดความสามารถในการแข่งขันและประสิทธิภาพของภาครัฐไทย รวมทั้งมีการฟื้นฟูระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การประเมินผลการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ ประกอบด้วย เป้าหมายในระดับประเด็น 37 เป้าหมาย มีสถานะการบรรลุเป้าหมาย จำนวน 7 เป้าหมาย (ร้อยละ 18.92) สถานะการบรรลุเป้าหมายที่ต่ำกว่าเป้าหมาย จำนวน 15 เป้าหมาย (ร้อยละ 40.54) สถานะการบรรลุเป้าหมายระดับเสี่ยง จำนวน 4 เป้าหมาย (ร้อยละ 10.81) และสถานะการบรรลุเป้าหมายในระดับวิกฤต จำนวน 11 เป้าหมาย (ร้อยละ 29.73) (คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเมื่อวันที่ 15กุมภาพันธ์ 2565)
                    นอกจากนี้ มีประเด็นท้าทายที่สำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ เช่น แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของบริบทโลกและการฟื้นฟูประเทศกลับสู่ระดับการพัฒนาก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-๑๙) ดังนั้น สศช. จึงมีข้อเสนอให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามหลักการบริหารงานคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA) ในการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติให้บรรลุผลสัมฤทธิ์และผลลัพธ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ สศช. ได้เผยแพร่รายงานดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565
                              1.2 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผ่านแผน 3 ระดับ ในส่วนของเผนปฏิบัติการด้าน...เพื่อเข้าสู่การพิจารณากลั่นกรอง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 มีจำนวนทั้งสิ้น 135 แผน โดยเป็นแผนฯ เข้าใหม่รอบเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564 จำนวน 5 แผน เช่น (1) แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570 (2) แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.2566-2570) และ (3) (ร่าง) กรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 และ (ร่าง) แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2566-2570 โดยมีสถานะของแผนฯ ดังนี้ (1) แผนฯ ซึ่งผ่านกระบวนการพิจารณาและรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบแล้วและยังมีผลบังคับใช้อยู่ จำนวน 67 แผน (2) แผนฯ ที่อยู่ระหว่างพิจารณากลั่นกรองหรือเห็นสมควรทบทวนปรับปรุงแผนให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นก่อนนำเสนอตามขั้นตอนต่อไป จำนวน 32 แผน (3) แผนฯ ที่ยกเลิกการดำเนินการ/สิ้นสุดการดำเนินการ จำนวน 30 แผน และ (4) แผนฯ ที่ผ่านกระบวนการพิจารณา รอบเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564 จำนวน 6 แผน เช่น 1) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570 2) แผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุแห่งชาติ ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2566-2580) และแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ ระยะกลาง 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) และ 3) ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566-2570
                              1.3 การประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 เพื่อติดตามและประเมินผลการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยมีการรายงานความเชื่อมโยงระหว่าง 17 เป้าหมายหลักสู่แผนแม่บทย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ดังนี้ (1) สถานะการบรรลุเป้าหมายที่ต่ำกว่าเป้าหมาย 10 เป้าหมาย  (ร้อยละ 58.8 และ (2) เป้าหมายระดับเสี่ยง 7 เป้าหมาย (ร้อยละ 41.2) ในขณะที่ไม่มีเป้าหมายใดมีสถานะที่ต่ำกว่าค่าเป้าหมายขั้นวิกฤต นอกจากนี้ มีประเด็นความท้าทาย ได้แก่ การบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับนโยบายและการปฏิบัติ และความเชื่อมโยงของผลการดำเนินการกับเป้าหมายอื่น ๆ ที่ส่งผลให้การขับเคลื่อน SDGS ไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เช่น (1) ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 (2) ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ และ (3) การเข้าถึงหลักประกันขั้นพื้นฐานและความคุ้มครองทางสังคมของกลุ่มเปราะบาง
                    2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ได้จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศประจำปี 2564 (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560) และได้เผยแพร่รายงานดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                              2.1 สถานะการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จของผลอันพึงประสงค์หรือผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามที่กำหนดไว้ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ทั้ง 13 ด้าน เทียบกับค่าเป้าหมายปี 2564 ส่วนใหญ่มีสถานะการบรรลุเป้าหมายใกล้เคียงหรือบรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนด จำนวนทั้งสิ้น 26 เป้าหมาย จาก 31 เป้าหมาย หรือคิดเป็นร้อยละ 84 ของเป้าหมายทั้งหมด โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ภายในปี 2565
                              2.2 สรุปสถานะความคืบหน้าการดำเนินงานตามกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big RocK) จำนวน 62 กิจกรรม
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2564 มีการดำเนินการเป็นไปตามแผน จำนวน 53 กิจกรรม (ร้อยละ 85) และล่าช้ากว่าแผน จำนวน 9 กิจกรรม (ร้อยละ 15)
                              2.3 ประเด็นท้าทายที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุเป้าหมาย ได้แก่ (1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศเกิดความล่าช้าเนื่องจากหน่วยงานต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรการการป้องกันละควบคุมโรคติดต่อ (2) การเร่งรัดการดำเนินโครงการที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายอันพึงประสงค์ ยังมีการดำเนินการโครงการที่ล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ในแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ส่งผลให้ไม่บรรลุค่าเป้าหมายตามระยะเวลาที่กำหนด (3) การผลักดันกฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ การปรับปรุงกฎหมายที่มีความล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการ ส่งผลให้เกิดความล่าช้า และ (4) การบูณาการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานยังยึดติดกับภารกิจหน้าที่ของตนเอง ส่งผลให้การบูรณาการทำงานเป็นไปอย่างล่าช้า
                              2.4 การดำเนินการในระยะต่อไป หน่วยงานรับผิดชอบหลัก หน่วยงานร่วมดำเนินการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญในการดำเนินงาน/โครงการที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายอันพึงประสงค์ของการปฏิรูปประเทศ โดยต้องประสานและบูรณาการร่วมกันอย่างใกล้ชิด
                    3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ได้ร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินการตามแนวทางการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติตามหลัก PDCA โดยภาคีที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวแล้ว ประกอบกับได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 319/2564 เรื่อง การตรวจราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ของผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งมีการกำหนดประเด็นการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลในแผนการตรวจราชการโดยใช้สถานการณ์บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติจากฐานข้อมูลระบบติดตามประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) และรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ทั้งนี้ สศช. จะร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้องสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานของรัฐดำเนินการตามหลักการ PDCA ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                    4. การสร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) สร้างการตระหนักรู้ผ่านสื่อวีดิทัศน์เกี่ยวกับสอนการใช้งานระบบ eMENSCR และการพัฒนาระบบโดยการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เพื่อนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสื่อวีดิทัศน์ดังกล่าวจะทำให้หน่วยงานของรัฐเข้าใจกระบวนการใช้งานระบบ  eMENSCR  และสามารถนำข้อมูลมาติดตาม ประเมินผล และวิเคราะห์ในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ซึ่งขณะนี้ สศช. อยู่ระหว่างจัดทำสื่อวีดิทัศน์การสอนใช้งานระบ  eMENSCR ดังกล่าว
                    5. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ จากการตรวจสอบข้อมูลจำนวนโครงการ/การดำเนินงานที่หน่วยงานของรัฐนำเข้าในระบบ eMENSCR กับรหัสงบประมาณและรหัสกิจกรรมหลักประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ที่หน่วยงานควรจะนำเข้าระบบพบว่า หน่วยงานของรัฐได้นำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานตามระยะเวลาที่กำหนด จำนวน  15,408 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 13.08 ของโครงการ/กิจกรรมในระบบ GFMIS จากจำนวน 117,785  โครงการ/กิจกรรม ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลในระบบ eMENSCR ขาดความครบถ้วนสมบูรณ์และไม่เพียงพอที่จะนำไปใช้ในการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ  ดังนั้น จึงควรเร่งรัดให้หน่วยงานนำเข้าข้อมูลและรายงานผลการดำเนินงานในระบบ eMENSCR  ตามรายการและกรอบระยะเวลาที่กำหนด เพื่อที่ สศช. จะใช้เป็นข้อมูลในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลสัมฤทธิ์ของยุทธศาสตร์ชาติและผลลัพธ์ของการดำเนินโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

9. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในเรือนจำและทัณฑสถาน จากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทาแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ในเรือนจำและทัณฑสถาน จากงบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (งบกลางฯ โควิด 19) วงเงิน 150.69 ล้านบาท ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ยธ. รายงานว่า
                    1. ยธ. (กรมราชทัณฑ์) ประสบปัญหาการติดเชื้อโรคโควิด 19 ในเรือนจำและทัณฑสถานหลายแห่ง จึงมีความจำเป็นต้องจัดหาวัสดุ อุปกรณ์เพื่อการบรรเทา แก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19 ให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศ แต่โดยที่กรมราชทัณฑ์ไม่สามารถพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ทั้งหมด [ยธ.              (กรมราชทัณฑ์) ได้แก้ไขปัญหาในเบื้องต้นแล้วบางส่วน โดยการจัดซื้อชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment หรือเสื้อ PPE) หน้ากากอนามัย (Mask) ถุงมือยาง แอลกอฮอล์น้ำ เครื่องวัดออกซิเจน        ปลายนิ้ว ชุดตรวจแอนติเจน (SARS-CoV-2 Antigen Test Kit หรือชุดตรวจ ATK) และน้ำยาตรวจหาเชื้อไวรัส Polymerase Chain Reaction (น้ำยา PCR) แจกจ่ายให้กับเรือนจำและทัณฑสถานที่มีความจำเป็นต้องใช้ แต่ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการ] ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในปัจจุบันยังไม่คลี่คลาย            จึงมีความจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากงบกลางฯ โควิด 19 เพิ่มเติม
                    2. สำนักงบประมาณแจ้งว่า นายกรัฐมนตรีมีบัญชาเห็นชอบให้ ยธ. (กรมราชทัณฑ์) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลางฯ โควิด 19 วงเงิน 150.69 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขและป้องกันโรคโควิด 19 ในเรือนจำและทัณฑสถานทั่วประเทศแล้ว โดย ยธ. จะนำไปจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้ในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19 จำนวน 19 รายการ เช่น ชุดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment หรือเสื้อ PPE) หน้ากากอนามัย (Mask) ถุงมือยาง แอลกอฮอล์น้ำ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ชุดตรวจแอนติเจน (SARS-CoV-2 Antigen Test Kit หรือชุดตรวจ ATK) และน้ำยาตรวจหาเชื้อไวรัส Polymerase Chain Reaction (น้ำยา PCR) เป็นต้น

10. เรื่อง การจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่คณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เสนอจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) รวมทั้งสิ้น 65 อัตรา ตามมติ คปร. ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการร่วม คปร. รายงานว่า
                    1. สคทช. เป็นส่วนราชการที่จัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 มีฐานะเป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัด นร. อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี มีบทบาทเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) โดยมีภารกิจในการเสนอแนะนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ขับเคลื่อนการดำเนินการตามมาตรการและแนวทางการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับที่ดินของรัฐ รวมทั้งการติดตามประเมินผลการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ นอกจากนี้ ยังมีภารกิจสำคัญเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล คือ การแก้ปัญหาลดความ           เหลื่อมล้ำการถือครองที่ดิน การปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) และกำหนดแนวทางมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการ และการพิสูจน์สิทธิการครอบครองที่ดินของบุคคลในเขตที่ดินของรัฐ
                    2. สคทช. มีการแบ่งส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สคทช. นร. พ.ศ. 2564 ประกอบด้วย 6 กอง และ 3 กลุ่มงาน คือ 1) สำนักงานผู้อำนวยการ 2) กองกฎหมาย 3) กองที่ดินของรัฐ               4) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน 5) กองส่งเสริมความร่วมมือและขับเคลื่อนการบริหารจัดการที่ดิน 6) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศที่ดินและทรัพยากรดิน 7) กลุ่มตรวจสอบภายใน 8) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และ 9) ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต มีอัตรากำลังรวม 52 อัตรา (ข้าราชการ 35 อัตรา และพนักงานราชการ 17 อัตรา) ซึ่งเป็นการตัดโอนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) [ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2564] โดยการตัดโอนอัตรากำลังดังกล่าวเป็นการตัดโอนในระยะแรกเพื่อรองรับการจัดตั้งหน่วยงานเท่านั้น จึงยังไม่เพียงพอสำหรับรองรับภารกิจจำนวนมากทั้งที่เป็นภารกิจตามกฎหมายและภารกิจตามนโยบายสำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล
                    3. คปร. ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 มีมติเห็นชอบการจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้แก่ สคทช. นร. จำนวน 65 อัตรา (อัตราที่ สคทช. ขอรับการจัดสรรฯ รวมทั้งสิ้น 165 อัตรา แบ่งเป็นข้าราชการ 65 อัตรา และพนักงานราชการ 100 อัตรา) โดยมีเงื่อนไขไม่ให้นำตำแหน่งที่ได้รับการจัดสรรมายุบเลิกเพื่อปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งอื่นเป็นระดับที่สูงขึ้น สำหรับการจัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายสำหรับอัตราข้าราชการตั้งใหม่ดังกล่าวให้ สคทช. ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สำนักงบประมาณ (สงป.) กำหนด
                    4. คปร. ได้ปฏิบัติตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยได้จัดทำรายละเอียดเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว ทั้งนี้ การอนุมัติจัดสรรอัตราข้าราชการตั้งใหม่ให้กับ สคทช. นร. รวมทั้งสิ้น 65 อัตรา จะมีค่าใช้จ่ายด้านบุคคลเพิ่มขึ้นโดยประมาณการรวมทั้งสิ้น 22,762,680 บาทต่อปี โดยจะผูกพันค่าใช้จ่ายในระยะยาวตามความจำเป็นของภารกิจของ สคทช.

ต่างประเทศ

11.  เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างแผนงานขององค์กรอาเซียนเฉพาะสาขาด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา พ.ศ. 2564 ? 2568 และกรอบผลลัพธ์การปฏิบัติงาน (SOMSWD Work Plan 2021 ? 2025 and Its Results Framework)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแผนงานขององค์กรอาเซียนเฉพาะสาขาด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา พ.ศ. 2564 - 2568 และกรอบผลลัพธ์การปฏิบัติงาน [Senior Officials Meeting on Social Welfare and Development (SOMSWD) Work Plan 2021 - 2025 and Its Results Framework] (ร่างแผนงานของ SOMSWD พ.ศ. 2564 ? 2568 และกรอบผลลัพธ์การปฏิบัติงาน) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (ASEAN Ministers in Charge of Social Welfare and Development : AMMSWD Ministers) ของประเทศไทย มีหนังสือแจ้งรับรองร่างแผนงานของ SOMSWD              พ.ศ. 2564 - 2568 และกรอบผลลัพธ์การปฏิบัติงานไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในฐานะประธานการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (Chair of AMMSWD) ในโอกาสแรก ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. พม. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานประสานงานหลัก (Focal Point) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนของประเทศไทย  โดยมีอำนาจหน้าที่ในการประสานการดำเนินงานตามแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2568 (ASCC Blueprint 2025) และเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักทั้งในระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสสำหรับการประชุมภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งรวมถึงการจัดและการเข้าร่วมการประชุมที่เกี่ยวข้องกับองค์กรอาเซียนเฉพาะสาขาด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาทั้งในระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส
                    2. องค์กรอาเซียนเฉพาะสาขาด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (SOMSWD) จะดำเนินการตามพันธกรณีของอาเซียนในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาสังคม เพื่อยกระดับมาตรฐานการดำรงชีพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและแสวงหาการมีส่วนร่วมกับองค์กรทุกภาคส่วนในสังคม รวมทั้งสนับสนุนและรายงานต่อที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (AMMSWD) โดยจะมีการจัดทำแผนงานระยะ 5 ปี เพื่อเป็นแผนงานหลักในการกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์และนโยบายการดำเนินงานที่เหมาะสมในด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาของภูมิภาค รวมถึงกรอบผลลัพธ์การปฏิบัติงาน ทั้งนี้ แผนงาน SOMSWD พ.ศ. 2559 - 2563 (SOMSWD Work plan 2016 - 2020 ) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการอาเซียนอยู่ระหว่างการจัดทำร่างแผนงานของ SOMSWD พ.ศ. 2564 ? 2568 และกรอบผลลัพธ์การปฏิบัติงาน ซึ่งจะเป็นแผนงานฉบับใหม่สำหรับการดำเนินงานในระยะอีก 5 ปีข้างหน้า โดยร่างแผนงานดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. วิสัยทัศน์          การเป็นประชาคมอาเซียนที่ สตรี เด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ มีส่วนร่วมและได้รับการส่งเสริมเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน และได้รับการยอมรับว่าเป็นสมาชิกที่เท่าเทียมและมีคุณค่าในสังคม
2.เป้าหมายและวัตถุประสงค์
          2.1  ส่งเสริมนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสวัสติการสังคมและการพัฒนาที่เสริมความเข้มแข็งและคุ้มครองกลุ่มคนเปราะบางและกลุ่มคนชายขอบ รวมถึงเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพ ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ ตลอดจนปัญหาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ภัยพิบัติ และความท้าทายอื่น ๆ ในด้านสิ่งแวดล้อม
2.2 ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ
2.3 ส่งเสริมขีดความสามารถของประเทศในการกำหนดและดำเนินการใช้ระบบการคุ้มครองทางสังคมที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดความเสี่ยงและภาวะเปราะบางของประชาชนในอาเซียน
2.4 ส่งเสริมการสร้างความเข้มแข็งของงานสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคมผ่านการยกระดับขีดความสามารถและการส่งมอบบริการทางสังคมที่มีคุณภาพแน่นแฟ้น ตอบสนอง เชื่อมโยงกัน และมุ่งเน้นพหุวิทยาการ
3. ผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวัง          3.1 ผลผลิตที่สำคัญ เช่น
3.1.1 ประเทศสมาชิกอาเซียนได้รับการส่งเสริมให้ทบทวนนโยบายระดับภูมิภาค ระดับชาติ มาตรการและแนวปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับเด็ก ทั้งที่มีอยู่เดิมและที่กำลังพัฒนาขึ้นใหม่ เพื่อมุ่งตอบสนองต่อกระแสสังคมและความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่อันจะส่งผลกระทบต่อเด็กในอาเซียน
          3.1.2 ปรับปรุงศักยภาพในการให้บริการและการเข้าถึงบริการของคนพิการโดยคำนึงถึงมิติหญิงชายของประเทศสมาชิกอาเซียน
          3.1.3 การพัฒนาองค์ความรู้ ความช่วยเหลือทางเทคนิคและการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีในการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุและการส่งเสริมสังคมที่ครอบคลุมผู้สูงอายุให้ได้รับการสนับสนุนและส่งเสริมในหมู่ประเทศสมาชิกอาเซียนและภาคีเครือข่ายในการทำงาน
          3.1.4 กลไกสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการเข้าร่วมและการมีส่วนร่วมที่เพิ่มมากขึ้นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ รวมถึงได้รับการเสริมสร้างให้เข้มแข็งและถูกทำให้เป็นสถาบัน

3.2 ผลลัพธ์ที่สำคัญ เช่น
          3.2.1 สิทธิของเด็กทุกคนในการมีชีวิต การคุ้มครอง การมีส่วนร่วมและการพัฒนาได้รับการสนับสนุนส่งเสริม และสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองจากความรุนแรง การเอารัด เอาเปรียบ และการล่วงละเมิดทุกรูปแบบ รวมถึงเด็กที่อยู่ในบริบทของการโยกย้ายถิ่นฐานได้รับการรับประกัน
          3.2.2 คนพิการและหน่วยงานที่ดูแลคนพิการได้รับการสนับสนุนส่งเสริมโดยการเพิ่มการเข้าถึงและการเพิ่มการบริการที่ครอบคลุม เพื่อมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพึ่งพาตนเองการมีงานทำ และการพึ่งพาตนเองทางเศรษฐกิจ
           3.2.3 มีหลักประกันความเป็นอยู่ที่ดีของผู้สูงอายุ โดยการส่งเสริมยุทธศาสตร์สำหรับการบรรเทาความยากจน เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางการเงินที่มุ่งเน้นไปที่ผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งสตรีผู้สูงอายุ
3.2.4 การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ และความรับผิดชอบต่อสังคมได้รับการส่งเสริมและพัฒนายิ่งขึ้น
4. การดำเนินการเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ
          4.1 กลไกระดับภูมิภาคในการดำเนินการตามแผนงาน เช่น
          4.1.1 การประชุมเจ้าหน้าที่อวุโสบวกสามด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (SOMSWD Plus Three) เป็นการประชุมประจำปีกับกลุ่มประเทศอาเซียนบวกสาม ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี โดยเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา
          4.1.2 การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนบวกสามด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (AMMSWD Plus Three) เป็นการประชุมที่มีขึ้นทุก 2 ปี กับรัฐมนตรีที่รับผิดชอบด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาของสาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี โดยเป็นเวทีในการหารือเกี่ยวกับประเด็นยุทธศาสตร์และกำกับทิศทางความร่วมมือในการพัฒนา
          4.1.3 การประชุมร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา (GO - NGO Forum โดยเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากหลายภาคส่วนมาไว้ด้วยกัน เช่น รัฐบาล องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่น ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์เกี่ยวกับนโยบายและการพัฒนาโครงการและการนำไปปฏิบัติรวมไปถึงแนวทางปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับสวัสดิการสังคมและการพัฒนา
          4.1.4 รางวัลด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาดีเด่นแห่งอาเซียน (ASEAN Outstanding Social Welfare and Development Awards : AOSWADA) โดยจะจัดให้มีพิธีมอบรางวัลขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความยอมรับและตระหนักถึงบทบาท ความสำเร็จที่โดดเด่น และการมีส่วนร่วมขององค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรภาคประชาสังคม (NGOs/CSOs) และภาคเอกชนในประเทศสมาชิกอาเซียนในด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนา และสนับสนุนให้ NGOs/CSOs และภาคเอกชน ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง
4.2 กลไกการมีส่วนร่วมและความร่วมมือด้านอื่น ๆ เช่น
          4.2.1 คณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women  and Children : ACWC) และคณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี (ASEAN Committee on Women : ACW เพื่อผลักดันประเด็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรี และสิทธิเด็กผ่านการจัดทำเป็นแผนงานต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการส่งเสริมความก้าวหน้าเรื่องสิทธิและการคุ้มครองเด็กจากการค้ามนุษย์ การโยกย้ายถิ่นฐาน การแสวงหาผลประโยชน์ในสื่อออนไลน์ และการเอารัดเอาเปรียบการคุ้มครองทางสังคม และการฟื้นคืนจากโรคระบาดใหญ่การรับประกันการบูรณาการมิติหญิงชายเพื่อให้บรรลุเป้าหมายความเสมอภาคทางเพศและการสร้างความเข้มแข็งให้กับสตรีในอาเซียนและการจัดการกับปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี
          4.2.2 เครื่อข่ายผู้เชี่ยวชาญด้านผู้ประกอบการอาเซียน (Network of Experts on Inclusive Entrepreneurship in ASEAN : NIEA เพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมการพัฒนาอย่างครอบคลุม ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนพิการและกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ในสังคมและสนับสนุนการเติบโตของผู้ประกอบการทางสังคมในอาเซียน
4.3 โครงสร้างขององค์กรและบทบาท ประกอบด้วย
          4.3.1 บทบาทของผู้แทน SOMSWD เช่น เป็นผู้ขับเคลื่อนหลักของโครงการต่าง ๆ และผลลัพธ์ตามแผนงาน รวมทั้งเป็นผู้ประสานงานระดับประเทศ ส่งเสริมโครงการระดมเงินทุน และติดต่อผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางสำหรับโครงการที่ได้ริเริ่มขึ้น
          4.3.2 บทบาทของสำนักเลขาธิการอาเซียน เช่น ให้ความช่วยเหลือทางเทคนิคสนับสนุนผู้ประสานงาน SOMSWD ของประเทศสมาชิก และ SOMSWD ในภาพรวม สำรวจและจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีศักยภาพจากประเทศคู่เจรจาของอาเซียนและหน่วยงานพันธมิตรอื่น ๆ
5. การติดตามและประเมินผล          5.1 ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ เช่น
          5.1.1 จำนวนนโยบายที่ได้รับการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับเด็ก คนพิการ ผู้สูงอายุของทุกประเทศสมาชิกอาเซียน
          5.1.2 จำนวนเวทีการเจรจา หรือการประชุมสัมมนาที่จัดขึ้นระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน ภาคีเครือข่าย องค์กรภาคประชาสังคม และภาคส่วนอื่น ๆ              ที่เกี่ยวข้อง
          5.1.3 จำนวนข้อมูลและสถิติที่ได้รับการจัดเก็บหรือแบ่งปันกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับนโยบายและโครงการเพื่อผู้สูงอายุต่าง ๆ
          5.1.4 ข้อเสนอแนะที่ได้รวบรวมมาจากเวทีการประชุมระดับภูมิภาคเหล่านี้ถูกนำไปดำเนินการ
5.2 แนวทางปฏิบัติ เช่น
          5.2.1 ประสานงานอย่างใกล้ชิดกับคณะกรรมาธิการอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิสตรีและสิทธิเด็ก (ACWC) และองค์กรเฉพาะสาขาอื่น ๆ ของอาเซียนหรือหน่วยงานในภาคส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
          5.2.2 จัดการประชุม ASEAN GO - NGO Forum ประจำปีด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนากับการประชุม SOMSWD อย่างต่อเนื่อง ในฐานะที่เป็นเวทีสำคัญเพื่อการแบ่งปันข้อมูลและการเจรจาระหว่างรัฐบาลและองค์กรพัฒนาเอกชน
          5.2.3 ให้องค์กรภาคประชาสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรระดับภูมิภาคของกลุ่มเป้าหมายผู้เปราะบางต่าง ๆ ในอาเซียน ได้มีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลแผนงานของ SOMSWD พ.ศ. 2564 - 2568 โดยผ่านเวทีและยุทธศาสตร์เชิงที่ปรึกษา
5.3 การรายงานความก้าวหน้าในการบรรลุผลลัพธ์ เช่น
          5.3.1 รายงานต่อการประชุมประจำปีของ SOMSWD เพื่อพิจารณาการดำเนินการที่จำเป็นเพื่อแก้ไขช่องว่างและเร่งดำเนินการตามแผน
          5.3.2 จัดทำรายงานสิ้นสุดแผนงานกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนงานของ SOMSWD พ.ศ. 2564 - 2568 โดยสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อนำส่งให้ SOMSWD และ AMMSWD
5.4  การประเมินผลกระทบและประสิทธิผลของโครงการ/กิจกรรมที่ดำเนินการตามแผนงานจากกลุ่มผลสัมฤทธิ์หลัก (KRAs) และมาตรการเชิงยุทธศาสตร์ตามแผนแม่บทประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2568 และจากผลผลิตและผลลัพธ์เชิงยุทธศาสตร์ต่าง ๆ รวมถึงผลผลิตและผลลัพธ์ที่คาดหวังของแผนงานของ SOMSWD พ.ศ. 2564 - 2568
          3. ร่างแผนงานของ SOMSWD พ.ศ. 2564 - 2568 และกรอบผลลัพธ์การปฏิบัติงานได้รับความเห็นชอบโดยการแจ้งเวียน (Ad - referendum Endorsement) จากเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสวัสดิการสังคมและการพัฒนาของประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะ AMMSWD Minister ของประเทศไทยจะต้องรับรองร่างแผนงานดังกล่าวร่วมกับAMMSWD Ministers ของประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ โดยการแจ้งเวียน เพื่อให้ร่างแผนงานของ SOMSWD                พ.ศ. 2564 ? 2568 และกรอบผลลัพธ์การปฏิบัติงานมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ

12. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. 2564 ? 2568 (Draft ASEAN Work Plan on Youth 2021 - 2025)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. 2564 ? 2568 (Draft ASEAN Work Plan on Youth 2021 - 2025) (ร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และหลังจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบ รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบงานด้านเยาวชนของประเทศไทย มีหนังสือแจ้งการรับรองร่างแผนงานเซียนด้านเยาวชนฯ ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน [ASEAN Secretariat (ASEC)] ในโอกาสแรกภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
                    1. กรอบการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านเยาวชน [Senior Official Meeting on Youth (SOMY)] เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาเยาวชนของอาเซียน และเป็นเวทีเพื่อหารือเกี่ยวกับการกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบาย รวมทั้งแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชน โดยจะมีการจัดทำแผนงานระยะ 5 ปี เพื่อเป็นแผนงานหลักในการดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาเยาวชน ทั้งนี้ แผนงานตามกรอบการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. 2559 - 2563 (SOMY Work Plan 2016 - 2020)1  ได้สิ้นสุดลงแล้วในปี 2563 ประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการอาเซียนจึงได้จัดทำร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ ซึ่งจะเป็นแผนงานฉบับใหม่สำหรับการดำเนินงานในระยะอีก 5 ปีข้างหน้า โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนจะนำร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ เพื่อขอความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านเยาวชน (เจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านเยาวชนได้ให้ความเห็นชอบแล้ว) และรัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบงานด้านเยาวชน [ASEAN Ministerial Meeting on Youth (AMMY)] เพื่อให้การรับรอง (Endorsement) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบงานด้านเยาวชนของประเทศไทย จะต้องรับรองร่างแผนงานดังกล่าว เพื่อให้ร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
          2. ร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ มีความสอดคล้องกับมาตรการเชิงกลยุทธ์และผลลัพธ์ของแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025 ( ASCC Blueprint 2025) และมีวิสัยทัศน์ คือ มุ่งสู่เยาวชนอาเซียนที่พร้อมรับอนาคตโดยเสริมทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 และทักษะดิจิทัล และการสร้างสถาบันกลไกของการมีส่วนร่วมของเยาวชน รวมถึงการกำหนดนโยบายระดับภูมิภาค โดยร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ ประกอบด้วยผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย 5 ประเด็นหลัก (การศึกษา สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี การจ้างงานและโอกาส การมีส่วนร่วมและการจ้าง ความตระหนักรู้ คุณค่า และอัตลักษณ์อาเซียน) 5 ผลลัพธ์ระยะสั้น 13 ผลผลิต และ 14 โครงการ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง/เห็นชอบแล้ว

1เป็นชื่อแผนงานเดิม แผนงานฉบับใหม่ที่จะใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานที่ พม. เสนอมาในครั้งนี้ เปลี่ยนชื่อเป็น (ร่าง) แผ่นงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. 2564 - 2568 (Draft ASEAN Work Plan on Youth 2021 - 2025) ทั้งนี้ พม. แจ้งว่า ที่ผ่านมาอธิบดีกรมกิจการเด็กและเยาวชนจะเป็นผู้ให้ความเห็นชอบร่างแผนงานฉบับเดิมจึงไม่ได้นำเสนอร่างแผนงานฉบับก่อนหน้าต่อคณะรัฐมนตรี ต่อมาสำนักเลขาธิการอาเซียนได้เปลี่ยนนโยบายรัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบงานด้านเยาวชนรับรองร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ ด้วย ในครั้งนี้ พม. จึงได้นำร่างแผนงานอาเซียนด้านเยาวชนฯ นำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก่อนดำเนินการต่อไป

13. เรื่อง กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ช่วงที่ 2 และการประชุมสมัยพิเศษ เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของโครการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
                    คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
          1. เห็นชอบต่อกรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุม UNEA 5.2 และการประชุมสมัยพิเศษ UNEP@50
          2. เห็นชอบในหลักการต่อร่างข้อมมติและข้อตัดสินใจ 17 เรื่อง เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับนานาประเทศและโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก
          3. เห็นชอบในหลักการให้ประเทศไทยร่วมอุปถัมภ์ (Co-sponsor) ข้อมติที่ประเทศไทยได้มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวอย่างโดดเด่นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ดังนี้ (1) Draft resolution on the Sound Management of Chemicals and Waste (2) Draft resolution for a Science-Policy Panel to support action on chemicals, waste and pollution (3) Draft resolution on Green recovery และ               (4) Draft resolution on Circular Economy
          4. เห็นชอบในหลักการต่อร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรี (Ministerial Declaration) และร่างปฏิญญาทางการเมือง (Political Declaration)
          5. อนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรี (Draft Ministerial Declaration) และร่างปฏิญญาทางการเมือง (Draft Political Declaration) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ขอให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาโดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    สาระสำคัญ
                    1. กรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุม UNEA 5.2 และการประชุมสมัยพิเสษ UNEP@50 จะดำเนินการบนพื้นฐานความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งขยายการบังคับใช้แผนถึง พ.ศ. 2565 และหมุดหมายในร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ตลอดจนแผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    2. การประชุม UNEA 5.2 และการประชุมสมัยพิเศษ UNEP@50 ประเทศสมาชิกจะร่วมกันรับรองเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญ ได้แก่
                                        2.1 ข้อมติ (Resolution) และข้อตัดสินใจ (Decision) จำนวน 17 ข้อมมติ เพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติในการสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศสมาชิกในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่มีความท้าทาย และจำเป็นต้องมีการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนา                 ที่ยั่งยืน ซึ่งประเทศสมาชิกที่ยกร่างข้อมติ (Resolution) ได้ทาบทามให้ประเทศไทยร่วมอุปถัมภ์ข้อมติ (Co-sponsor)         ที่สำคัญ ได้แก่
                                                  (1) ร่างข้อมติการจัดการมลพิษจากพลาสติกและการจัดการขยะทะเล 2 ข้อมติ ได้แก่ Draft resolution on an internationally legally binding instrument on plastic pollution โดยสาธารณรัฐรวันดาและสาธารณรัฐเปรู และ Draft resolution on an international legally binding instrument on marine plastic pollution โดยประเทศญี่ปุ่น ซึ่งร่างข้อมติทั้งสองฉบับมีวัตถุประสงค์เดียวกันในการจัดตั้งคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเพื่อการเจรจา (Intergovernmental Negotiating Committee: INC) เพื่อจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับใหม่               ด้านการจัดการมลพิษจากพลาสติกและการจัดการขยะทะเลที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่มีรายละเอียดที่แตกต่างกัน โดยร่างข้อมติที่เสนอโดยสาธารณรัฐรวันดาและสาธารณรัฐเปรูมีเป้าหมายในการจัดการพลาสติกครอบคลุมทั้งวงจรชีวิต              (Life Cycle Approach) ตระหนักถึงภาพรวมของมลพิษในสิ่งแวดล้อม และมีการระบุให้มีการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาทั้งในด้านเทคโนโลยี การเสริมสร้างสมรรถนะและการเงิน ซึ่งต่างจากร่างข้อมติที่เสนอโดยประเทศญี่ปุ่นที่มุ่งเน้นเฉพาะขยะพลาสติกที่จะลงสู่ทะเล (Downstream Approach) โดยมิได้มีการกล่าวถึงการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนา   แต่อย่างใด ซึ่งขณะนี้ ประธานร่วม (Co-chair facilitators) ของกลุ่มการจัดการพลาสติกและการจัดการขยะทะเลอยู่ระหว่างการหารือกับผู้แทนสาธารณรัฐรวันดา สาธารณรัฐเปรู และญี่ปุ่น เพื่อรวมข้อมติทั้งสอง เป็นเอกสาร Consolidated Text ฉบับเดียวเพื่อใช้เป็นเอกสารพื้นฐานของการเจรจา
                                                  (2) ร่างข้อมติด้านการจัดการสารเคมี 2 ข้อมติ เสนอโดยสมาพันธรัฐสวิส ได้แก่ Draft resolution on the Sound Management of Chemicals and Waste ซึ่งเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนจัดทำและใช้ประโยชน์จากยุทธศาสตร์การจัดการสารเคมีระหว่างประเทศฉบับใหม่ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการสารเคมีและของเสียอย่างเหมาะสมภายหลังปี ค.ศ. 2020 ตามแนวทางวัฏจักรชีวิต และการบริโภค และการผลิตอย่างยั่งยืน และ Draft resolution for a Science-Policy Panel to support action on chemicals, waste and pollution เพื่อจัดตั้งคณะกรรมการเชื่อมโยงข้อมูลทางวิทยาศาสตร์กับนโยบายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านสารเคมี ของเสีย และมลพิษ
                                                  (3) ร่างข้อมติ Draft resolution on Green recovery และ Draft resolution on Circular Economy เสนอโดยสาธารณรัฐเอริเทรียในนามกลุ่มแอฟริกัน ซึ่งเป็นข้อมติสอดคล้องกับนโยบายของประเทศไทยในการขับเคลื่อน BCG Economy Model แบบองค์รวม ซึ่งเป็นแนวทางสำคัญต่อการฟื้นฟูประเทศจากโควิด 19 ให้กลับมาเข้มแข็งและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบกับเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์กับกลุ่มแอฟริกัน
                                        2.2 ปฏิญญาระดับรัฐมนตรี (Ministerial Declaration of the United Nations Environment Assembly at its resumed fifth session ?Strengthening Actions for Nature to Achieve The Sustainable Development Goals?) มีสาระสำคัญมุ่งเน้นการดำเนินงานร่วมกันเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติอย่างยั่งยืน และมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในประเด็นต่าง ๆ อาทิ การผลิตและบริโภคอย่างยั่งยืน ความมั่นคงทางอาหาร การฟื้นฟูความเสื่อมโทรมของดิน การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Approach) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ การป้องกันมลพิษและการจัดการสารเคมี การจัดการมลพิษพลาสติก และขยะทะเล เป็นต้น
                                        2.3 ปฏิญญาทางการเมือง (Political Declaration of the Special Session of the United Nations Environment Assembly to commemorate the fiftieth anniversary of the establishment of the United Nations Environment Programme) มีเนื้อหาเน้นย้ำถึงการให้คำมั่นที่จะเสริมสร้างการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ โดยบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ทั้งในระดับนโยบายและโครงการ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้ทุกภาคส่วน โดยให้สอดคล้องกับการดำเนินงานเพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 และให้การรับรองบทบาทของ UNEA ในฐานะหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมระดับโลก และเรียกร้องให้ UNEP ยกระดับการมีส่วนร่วมในกระบวนการระหว่างประเทศ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของประเด็นสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมทุกมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงบทบาทที่สำคัญของข้อตกลง              พหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

14. เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development : HLPF) ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 6-15 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายดอนฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ซึ่งในการประชุมฯ มีการนำเสนอ (1) รายงานการทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติ โดยสมัครใจ (Voluntary National Review: VNR) ประจำปี 2564 ของไทย (2) การรับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุม HLPF และ (3) รายงานความคืบหน้าของไทยในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (8 มิถุนายน 2564 และ 13 กรกฎาคม 2564) เห็นชอบรายงาน VNR ประจำปี 2564 และร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุม HLPF ประจำปี ค.ศ. 2021] ตามที่ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญสรุป ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ/การดำเนินการที่สำคัญ
1. การนำเสนอรายงาน VNR ประจำปี 2564 ต่อที่ประชุม HLPF ของไทย          1.1 ไทยย้ำว่า ทั่วโลกต้องระดมความคิดเพื่อหาทางรับมือกับความเหลื่อมล้ำซึ่งทวีความรุนแรงขึ้นสืบเนื่องจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ       ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัล ความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ ?ความสมดุลของทุกสิ่ง? ไม่เฉพาะแต่ความสมดุลระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม แต่รวมถึงการกระจายรายได้ การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม และความปลอดภัยสำหรับทุกคน ดังนั้น ไทยจึงน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นแนวทางการพัฒนาของไทยมาประยุกต์ใช้ และพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทปัจจุบันในรูปแบบของโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว
1.2 รายงานฯ มีสาระครอบคลุมการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของไทยทั้ง 17 เป้าหมาย เช่น การขจัดความยากจน การขจัดความหิวโหย และการลดความเหลื่อมล้ำ นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำความสำคัญของการขับเคลื่อนการดำเนินการตาม SDGs อย่างบูรณาการโดยทุกภาคส่วนในประเทศ และความเชื่อมโยงระหว่าง SDGs แต่ละเป้าหมาย โดยนำเสนอตัวอย่างบทบาทของภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ เครือข่ายเยาวชน และประชาชนทั่วไปในการขับเคลื่อน SDGs อย่างเป็นรูปธรรม
2. การรับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรีเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุม HLPF          2.1 ที่ประชุม HLPF รับรองปฏิญญาระดับรัฐมนตรีซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ (ไม่มีการแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนสาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564)                          มีสาระสำคัญย้ำความมุ่งมั่นและความร่วมมือของประชาคมระหว่างประเทศ ในการขับเคลื่อนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ และ SGDs ที่มีการทบทวนเชิงลึก ในปี 2564 จำนวน 9 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 1 (ขจัดความยากจน) เป้าหมายที่ 2 (ขจัดความหิวโหย) เป้าหมายที่ 3 (สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี) เป้าหมายที่ 8 (งานที่มีคุณค่าและการเติบโตทางเศรษฐกิจ) เป้าหมายที่ 10 (ลดความเหลื่อมล้ำ) เป้าหมายที่ 12 (การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน) เป้าหมายที่ 13 (การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) เป้าหมายที่ 16 (ความสงบสุข ยุติธรรม และสถาบันที่เข้มแข็ง) และเป้าหมายที่ 17 (ภาคีเพื่อการพัฒนา) และย้ำความสำคัญของหลักการ/ประเด็นต่าง ๆ เช่น การไม่ทอดทิ้งใครไว้ข้างหลัง ความเท่าเทียมระหว่างเพศ และการส่งเสริมความเข้มแข็งของสตรี ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนา
2.2 ปฏิญญาฯ ระบุถ้อยคำ/ประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญ เช่น การแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาที่เป็นของตนเองในการเร่งรัดการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนฯ ความสำคัญของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การเข้าถึงวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเท่าเทียม บทบาทของอาสาสมัครในการดำเนินการตาม SDGs ความท้าทายและความจำเป็นในการสนับสนุนประเทศรายได้ปานกลางในการบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน การลดความเหลื่อมล้ำด้านดิจิทัล ความสำคัญของความร่วมมือใต้-ใต้ และความร่วมมือไตรภาคี นอกจากนี้ ไทยสามารถผลักดันให้มีการบรรลุถ้อยคำเกี่ยวกับมิติด้านสาธารณสุขของ Sendai Framework for Disaster Risk Reduction 2015-2030 ตามหลักการกรุงเทพฯ*  ในปฏิญญาฯ ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก
3. การรายงานความคืบหน้าของไทยในการขับเคลื่อน SDGs          - ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อน SDGs กับภาคีเพื่อการพัฒนา ดังนี้
3.1 บทบาทของภาคเอกชน ภาคเอกชนเป็นภาคีเพื่อการพัฒนาที่มีศักยภาพอย่างยิ่งในการระดมทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและการนำนโยบายของรัฐบาลไปปฏิบัติเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ การสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการดำเนินงานและการลงทุนของภาคเอกชน โดยเฉพาะในโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างความยั่งยืน รวมทั้งการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและ SDGs จึงถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนและการบรรลุ SDGs ของไทย
3.2 บทบาทอาสาสมัคร อาสาสมัครเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่ายิ่งต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน และการบรรลุ SDGs โดยเฉพาะในระดับพื้นที่ และการเข้าถึงกลุ่มเปราะบางในสังคม งานอาสาสมัครจึงควรได้รับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการคุ้มครอง และพัฒนาขีดความสามารถของอาสาสมัครอย่างเป็นระบบ และได้มาตรฐานสากล
3.3 การเสริมสร้างความตระหนัก ความท้าทายสำคัญในการขับเคลื่อน SDGs ของไทย คือ สาธารณชน รวมทั้งเยาวชนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับ SDGs ดังนั้น การให้ความรู้เรื่อง SDGs ผ่านช่องทางต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อเอื้อให้ทุกภาคส่วนมีความเข้าใจและเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ และการบรรลุ SDGs โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน  คนรุ่นใหม่ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับประเด็นท้าทายของประเทศ และของโลก และมีความสนใจที่จะร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเปลี่ยนแปลงและการขับเคลื่อนวาระสำคัญต่าง ๆ ในสังคม
4. แนวทางการขับเคลื่อน SDGs ของไทย           - ในการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 กพย. มีมติเกี่ยวกับแนวทางการขับเคลื่อน SDGs ในระยะต่อไป โดยให้ กต. ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของไทยในกรอบสหประชาชาติ ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการเผยแพร่รายงาน VNR ของไทย และผลการนำเสนอรายงาน VNR แก่ภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับ SDGs รวมถึงเพิ่มการมีส่วนร่วมและความรู้สึกการเป็นเจ้าของในการขับเคลื่อนกระบวนการพัฒนาประเทศและ SDGs โดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบและดำเนินการขจัดอุปสรรคและความท้าทายต่าง ๆ ในการขับเคลื่อน SDGs เช่น ความยากจนอันเกิดจากโครงสร้างทางสังคมที่เหลื่อมล้ำและผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งดำเนินการเชิงรุกในการขับเคลื่อน SDGs ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม และส่งเสริมบทบาทการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาคเอกชน อาสาสมัคร และเยาวชน ในการขับเคลื่อน SDGs มากขึ้น
*?หลักการกรุงเทพฯ ว่าด้วยการดำเนินการด้านสาธารณสุขตามกรอบเซนไคเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ                ค.ศ. 2015 -2030? ได้รับการรองเพื่อเป็นแนวทางในการบูรณาการด้านสาธารณสุขในการวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อภัยพิบัติโดยที่ประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการดำเนินการด้านสาธารณสุขตามกรอบเซนไคเพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ค.ศ. 2015 - 2030 ที่กรุงเพทฯ เมื่อเดือนมีนาคม 2559 ซึ่งไทยจัดขึ้นร่วมกับ United Nations Office for Disaster Risk Reduction (UNDRR) และองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO)

15. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการขนส่งเอสแคป ครั้งที่ 4
          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการขนส่งเอสแคป1 ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 14 - 17 ธันวาคม 2564 ณ ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย เข้าร่วมการประชุม เพื่อหารือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศสมาชิกเอสแคปในการพัฒนาโครงการด้านการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก                      และเพื่อประเมินความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคสำหรับการเชื่อมโยงด้านการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ระยะที่ 1 (ค.ศ. 2017 - 2021) (แผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ระยะที่ 1) รวมถึงพิจารณาและรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีด้านการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก และ     ร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคสำหรับการพัฒนาด้านการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ค.ศ. 2022-2026) (ร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ระยะที่ 2) [คณะรัฐมนตรีมีมติ (7 ธันวาคม 2564) เห็นชอบร่างปฏิญญาและ            ร่างแผนปฏิบัติการทั้ง 2 ฉบับแล้ว] ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
          1. การประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูง (14 -15 ธันวาคม 2564)
          1.1 ไทยได้กล่าวถึงการดำเนินนโยบายที่สำคัญภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งของประเทศไทยระยะยาว ประกอบด้วย 3 แนวคิดหลัก ได้แก่ (1) การขนส่งที่มีประสิทธิภาพ (2) การขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (3) การขนส่งที่ปลอดภัยและครอบคลุมเพื่อมุ่งสู่ระบบการขนส่งที่ยั่งยืน ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ระยะที่ 2 และได้นำเสนอนโยบายที่สำคัญ เช่น การสร้างสะพานเชื่อมระหว่างอ่าวไทยและมหาสมุทรอันดามัน การขนส่งเพื่อตั้งเป้าสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือก แผนการพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และการมุ่งสู่การพัฒนาด้านความปลอดภัยทางถนน นอกจากนี้ เลขาธิการบริหารเอสแคปได้ กล่าวชื่นชมการดำเนินงานของรัฐบาลไทยในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) รวมถึงการดำเนินมาตรการเปิดประเทศเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ
          1.2 การประเมินผลการดำเนินการตามปฏิญญาระดับรัฐมนตรีด้านการเชื่อมโยงด้านการขนส่งที่ยั่งยืนและแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ระยะที่ 1 ฝ่ายเลขานุการเอสแคปได้นำเสนอข้อสรุปและข้อแนะนำที่ได้จากการจัดทำรายงานการประเมินผลของแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ระยะที่ 1 เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดทำ              ร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ระยะที่ 2 โดยไทยได้แสดงความเห็นว่า ร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ระยะที่ 2               ควรมีความยืดหยุ่นและควรมีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะที่มีความต่อเนื่องในรูปแบบกายภาพและออนไลน์ นอกจากนี้ ไทยเห็นด้วยกับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ระยะที่ 2 เพื่อให้การดำเนินการ            มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
          1.3 การมุ่งสู่โครงข่ายการขนส่งและโลจิสติกส์และการสัญจรที่มีประสิทธิภาพและทนทาน             ฝ่ายเลขานุการเอสแคปได้นำเสนอการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่โครงข่ายการขนส่งและโลจิสติกส์ การสัญจรที่มีประสิทธิภาพและทนทาน และข้อมูลสถานการณ์ด้านการขนส่งระดับภูมิภาคในปัจจุบัน โดยไทยได้นำเสนอการดำเนินโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ระยะที่ 1 เช่น การสร้างการเชื่อมต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชาและการพัฒนาการเชื่อมต่อทางรางในระดับภูมิภาค รวมทั้งได้เสนอให้เอสแคปพิจารณาความตกลงในกรอบอาเซียนด้านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากรอบงานกฎหมายด้านการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก
                    นอกจากนี้ ไทยได้พัฒนาระบบ Port Community System เพื่อให้เกิดระบบคลังข้อมูล                       โลจิสติกส์และศูนย์การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างท่าเรือและระบบปฏิบัติการท่าเรือ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายในการสนับสนุนระบบอัตโนมัติและการพัฒนาสู่ระบบดิจิทัลในท่าเรือหลักของประเทศ ซึ่งไทยยินดีรับความช่วยเหลือจากเอสแคปในด้านการสนับสนุนการพัฒนาสู่ระบบดิจิทัลด้านการขนส่งทางทะเลและท่าเรือได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ไทยได้เสนอให้เอสแคปพิจารณาให้ข้อเสนอแนะในประเด็นด้านผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลต่อระบบโลจิสติกส์ทางทะเล เช่น การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ ค่าขนส่งสินค้าที่สูงขึ้น
          1.4 การมุ่งสู่ระบบและบริการด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ฝ่ายเลขานุการเอสแคปได้นำเสนอเกี่ยวกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในภาคการขนส่ง ความต้องการในการเร่งรัดการดำเนินการเพื่อลดอัตราการปล่อยคาร์บอนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงการลดอัตราการปล่อยคาร์บอนของห่วงโซ่อุปทานระดับภูมิภาคและการสัญจรคาร์บอนต่ำ โดยมีการหารือใน 2 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การสัญจรและระบบโลจิสติกส์คาร์บอนต่ำ และ (2) การขนส่งภายในเมือง ซึ่งรวมถึงการสัญจรด้วยระบบดิจิทัล ทั้งนี้ ไทยมีความมุ่งมั่นในการสนับสนุนการดำเนินการตามความตกลงระหว่างประเทศ เพื่อแก้ไขด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้จัดทำแผนปฏิบัติการการตั้งเป้าหมายในการมีส่วนร่วมของประเทศในภาคการขนส่งและกำหนดเป้าหมายในการลดอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 31 ล้านตัน ภายในปี ค.ศ. 2030 รวมถึงการส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าด้วย
          1.5 การมุ่งสู่การขนส่งและการสัญจรที่ปลอดภัยและครอบคลุม ฝ่ายเลขานุการเอสแคปได้นำเสนอความท้าทายด้านการพัฒนาความปลอดภัยทางถนน และการแก้ไขปัญหาเชิงสังคมในภาคการขนส่ง ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนสูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และอันดับ 1 ของอาเซียน โดยอุบัติเหตุจากรถจักรยานยนต์มีอัตราสูงที่สุดโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน อย่างไรก็ตาม ไทยได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน             ทางถนนและดำเนินมาตรการต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ขับขี่ เช่น การสร้างความตระหนักรู้เพื่อพัฒนาพฤติกรรมผู้ขับขี่โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง การออกแบบโครงสร้างพื้นฐานทางถนนที่มีความปลอดภัย และการส่งเสริมการใช้รถโดยสารสาธารณะ
          1.6 การสนับสนุนการดำเนินการตามร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฉบับถัดไปและร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ระยะที่ 2 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) การขนส่งที่มีประสิทธิภาพและยืดหยุ่น (2) ระบบและบริการด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และ (3) การขนส่งและสัญจรที่ปลอดภัย โดยจะดำเนินการภายใต้ 7 ประเด็นสำคัญด้านการขนส่ง ได้แก่ (1) การเชื่อมโยงด้านการขนส่งทางบกและโลจิสติกส์ระดับภูมิภาค (2) การเชื่อมโยงด้านการขนส่งทางทะเลและระหว่างภูมิภาค (3) ระบบดิจิทัลด้านการขนส่ง (4) การสัญจรและโลจิสติกส์แบบคาร์บอนต่ำ (5) การขนส่งภายในเมือง (6) ความปลอดภัยทางถนน และ (7) การขนส่งและการสัญจรที่ครอบคลุม
          2. การประชุมระดับรัฐมนตรี (16-17 ธันวาคม 2564)
          2.1 ไทยได้นำเสนอนโยบายที่สำคัญ เช่น การพัฒนาระบบรถไฟรางคู่และระบบการขนส่งมวลชนสาธารณะในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การให้ความสำคัญกับระบบดิจิทัลด้านการขนส่งผ่านการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคธุรกิจ (National Single Window: NSW) การพัฒนาระบบการจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น รวมถึงการผลักดันอุตสาหกรรมการให้บริการยานพาหนะผ่านทางแอปพลิเคชัน และได้นำเสนอนโยบายและแผนงานด้านการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการการตั้งเป้าหมายการมีส่วนร่วมของประเทศภาคการขนส่ง เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและมุ่งสู่การพัฒนาด้านความปลอดภัยทางถนนผ่านโครงการสำคัญ ได้แก่ การออกกฎกระทรวงกำหนดความเร็วของยานพาหนะบน           ทางหลวงแผ่นดินหรือทางหลวงชนบท และการพัฒนาโครงการติดตั้งแผ่นยางพาราครอบแบริเออร์
          2.2 การหารือกับเลขาธิการบริหารเอสแคป ไทยได้นำเสนอนโยบายด้านการขนส่งที่สำคัญซึ่งสอดคล้องกับร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ระยะที่ 2 โดยเฉพาะในด้านการสร้างความเชื่อมโยงการขนส่ง ความปลอดภัยทางถนน และการขนส่งคาร์บอนต่ำ รวมถึงแสดงความมุ่งมั่นในการสร้างความร่วมมือกับเอสแคปในอนาคตเพื่อมุ่งสู่การพัฒนาระบบการขนส่งที่ยั่งยืนของไทยต่อไป
          2.3 การประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี ภายใต้หัวข้อ ?การเร่งรัดการดำเนินการเชิงปฏิรูปด้านการขนส่งเพื่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน? ไทยได้กล่าวเกี่ยวกับการดำเนินนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยทางถนนที่ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ ได้แก่ มิติผู้ขับขี่ มิติรถยนต์ และมิติสภาพแวดล้อมและถนน โดยมีการดำเนินนโยบายและมาตรการที่หลากหลายเพื่อแก้ไขปัญหาด้านความปลอดภัยทางถนน รวมทั้งการกำหนดให้ปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ
           2.4 การกล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืนและมีความสอดคล้องกับร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาค ระยะที่ 2 ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบขนส่งของไทยระยะยาวสำหรับการพัฒนาด้านการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และปลอดภัย การส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า การพัฒนาความเชื่อมโยงระดับภูมิภาค การพัฒนาการขนส่งภายในเมืองผ่านแผนการพัฒนาระบบการขนส่งมวลชนสาธารณะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภายในปี 2573 การพัฒนาด้านความปลอดภัยทางถนน และการออกแบบโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับความต้องการของประชาชน
          2.5 การรับรองร่างปฏิญญาฯ และร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคสำหรับการพัฒนาฯ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีด้านคมนาคมขนส่งของประเทศสมาชิกเอสแคปในการมุ่งสู่การพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกสำหรับการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายในปี ค.ศ. 2030 ผ่านการดำเนินโครงการ/กิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาการขนส่งที่ยั่งยืน
          3. คค. เห็นว่าไทยได้มีส่วนร่วมและบทบาทในการประชุมฯ อย่างต่อเนื่อง และได้เสนอนโยบายและแผนงานที่สำคัญในด้านต่าง ๆ ที่มุ่งสู่การขนส่งที่ยั่งยืน ซึ่งการประชุมครั้งนี้เป็นเวทีที่สำคัญของประเทศสมาชิกเอสแคปในการแลกเปลี่ยนมุมมองเชิงนโยบาย แนวปฏิบัติที่ดี และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่ความร่วมมือด้านการขนส่งและการสร้างความเชื่อมโยงระดับภูมิภาคตามบริบทของเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
  คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและเปซิฟิก (Economic and Social Commission for Asia and the Pacific: ESCAP) เป็น 1 ใน 5 คณะกรรมการส่วนภูมิภาคของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ

16.  เรื่อง ผลการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ 41
                    คณะรัฐมนตรีมีมติมีมติรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอผลการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโก ครั้งที่ 41 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 - 24 พฤศจิกายน 2564 ณ องค์การยูเนสโกสำนักงานใหญ่ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อกำหนดแผนงานและงบประมาณในการดำเนินงานขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) หรือยูเนสโก ระยะ 2 ปี รวมทั้งพิจารณากำหนดนโยบายต่าง ๆ ของยูเนสโก เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในฐานะประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย พร้อมผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
                    1. การรับรองร่างแผนยุทธศาสตร์ระยะกลาง ปี 2565 ? 2572 และร่างโครงการและงบประมาณ             ปี 2565 - 2568 โดยยุทธศาสตร์ของยูเนสโกเน้นการดำเนินงานแบบบูรณาการและข้ามสาขา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายวาระการพัฒนา ค.ศ. 2030 หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ทั้ง 17 เป้าหมาย โดยยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มประเทศแอฟริกา ความเท่าเทียมระหว่างเพศ เยาวชน และกลุ่มชาติพันธุ์ รวมถึงการพัฒนาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นเกาะขนาดเล็ก
                    2. ผลการประชุมคณะกรรมาธิการทั้ง 6 ด้าน ของยูเนสโก
คณะกรรมาธิการ          ผลการประชุม
ด้านการศึกษา
          เห็นชอบแผนงาน โครงการ และงบประมาณสาขาการศึกษา เกี่ยวกับการส่งเสริมสิทธิการศึกษาที่เท่าเทียมและครอบคลุม โดยคำนึงถึงกลุ่มชายขอบ1 และบริบทปัญหาวิกฤตต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อการศึกษา รวมถึงแผนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการหลักด้านการศึกษาในการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 42 การเปิดตัวกรอบการทำงานการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเนสโกสำหรับปี ค.ศ. 2030 และการเสริมสร้างพลังคนรุ่นใหม่ให้มีทักษะที่จำเป็นและแนวคิดสำหรับแก้ไขปัญหาในระดับโลกได้อย่างเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพ
ด้านวิทยาศาสตร์
          (1) เห็นชอบแผนงาน โครงการ และงบประมาณสาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยสมุทรศาสตร์ เกี่ยวกับการสนับสนุนประเทศสมาชิกในการสร้างความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม การวิจัยและวิศวกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมถึงฟื้นฟูผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ (2) รับรองร่างข้อเสนอแนะว่าด้วยวิทยาการแบบเปิด เกี่ยวกับการส่งเสริมแนวคิดวัฒนธรรมของการเปิดกว้างในการนำวิทยาศาสตร์ไปใช้เพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมมากขึ้น อีกทั้งยังคำนึงถึงความจำเป็นในการรับมือกับปัญหาที่เป็นภัยต่อมนุษยชาติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และนำไปสู่การสร้างชีวิตที่มีสุขภาวะที่ดีและยั่งยืนในระยะยาว
ด้านสังคมศาสตร์
          (1) เห็นชอบแผนงาน โครงการ และงบประมาณสาขาสังคมและมนุษยศาสตร์ เกี่ยวกับการส่งเสริมศักยภาพของประเทศสมาชิกให้มีความก้าวหน้าด้านนโยบายและการปฏิบัติเพื่อไปสู่การพัฒนาที่ครอบคลุม ส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรม การขจัดการเลือกปฏิบัติและการเหยียดเชื้อชาติในรูปแบบต่าง ๆ และ (2) รับรองร่างข้อเสนอแนะว่าด้วยจริยธรรมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) เกี่ยวกับการกำหนดแนวทางค่านิยม หลักการ และมาตรการเชิงนโยบายที่เป็นรูปธรรมด้านจริยธรรมในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ และคาดว่าจะเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญของการกำหนดบรรทัดฐานทางจริยธรรมของความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของ AI
ด้านวัฒนธรรม
          เห็นชอบแผนงาน โครงการ และงบประมาณสาขาวัฒนธรรม เกี่ยวกับการคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางมรดกและวัฒนธรรม ส่งเสริมบทบาทขององค์กรทางวัฒนธรรมและพิพิธภัณฑ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีผลกระทบต่อมรดกโลก ส่งเสริมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมบทบาทสถาบันการศึกษาและวัฒนธรรมในดินแดนปาเลสไตน์ ซึ่งเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมปฏิญญาสากลและอนุสัญญาหลายฉบับ
ด้านสื่อสารมวลชน
          (1) เห็นชอบแผนงาน โครงการ และงบประมาณสาขาสื่อสารมวลชน เกี่ยวกับการส่งเสริมเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิ์ในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและเสรีภาพของสื่อมวลชน ความปลอดภัยของนักข่าว การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทุกรูปแบบ (2) รับรองระเบียบฉบับปรับปรุงของโครงการนานาชาติ เพื่อพัฒนาการสื่อสาร เป็นการเพิ่มโอกาสให้สื่อในประเด็นด้านเสรีภาพ อิสรภาพ และความหลากหลาย รวมถึงตอบสนองต่อความท้าทายของสื่อที่เกิดขึ้นใหม่ และ (3) รายงานผลการดำเนินการจากการประชุมสุดยอดระดับโลกว่าด้วยสังคมสารสนเทศ และความมุ่งมั่นในการควบคุมศักยภาพของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
ด้านการเงินการบริหารและความร่วมมือ          (1) อนุมัติการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี พ.ศ. 2565 ? 2566 จำนวน 1,447.76 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อนำไปใช้จ่ายในโครงการด้านต่าง ๆ ของยูเนสโกที่สำคัญ เช่น ด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านสังคมศาสตร์ และในส่วนของเงินค่าบำรุงสมาชิก ยูเนสโกย้ำประเทศสมาชิกเกี่ยวกับกำหนดการจ่ายเงินที่ตรงเวลาและเต็มจำนวน (ภายในวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี) โดยในช่วงปี 2022 - 2024 (พ.ศ. 2565-2567) ยูเนสโกจะใช้อัตราค่าบำรุงสมาชิกใหม่อ้างอิงจากสหประชาชาติ โดยประเทศไทยจะจ่ายค่าสมาชิกจากเดิมร้อยละ 0.396 เป็น 0.475 ของงบประมาณยูเนสโก ทั้งนี้ การจ่ายไม่ครบหรือช้ากว่ากำหนดจะมีความเสี่ยงต่อสิทธิในการโหวตช่วงการประชุมคณะกรรมการบริหารองค์การยูเนสโกและการประชุมสมัยสามัญของยูเนสโกและ (2) รับรองการเฉลิมฉลองบุคคลสำคัญและเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของโลกในปี 2565 - 2566 ซึ่งประเทศไทยมี 2 รายการ ได้แก่ การเฉลิมฉลองวันครบรอบ 200 ปีชาตกาล พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) และการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 100 ปี วันประสูติสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
                    3. การเลือกตั้งต่าง ๆ ของยูเนสโก
                              3.1 การเลือกตั้งผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก วาระปี 2564 ? 2568 เนื่องจากผู้อำนวยการใหญ่ฯ คนปัจจุบัน (นาง Audrey Azoulay) ครบวาระการดำรงตำแหน่งในปี 2564 ยูเนสโกจึงดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกผู้อำนวยการใหญ่ฯ ซึ่งนาง Audrey Azoulay ได้ลงสมัครตำแหน่งดังกล่าวและเป็นผู้สมัครเพียงผู้เดียว และได้รับคะแนนเสียงจากประเทศสมาชิกทั้งหมด 55 ประเทศ จากสมาชิกทั้งหมด 58 ประเทศ ดังนั้น ที่ประชุมสมัยสามัญองค์การยูเนสโกครั้งนี้จึงได้มีมติรับรอง นาง Audrey Azoulay เป็นผู้อำนวยการใหญ่ องค์การยูเนสโก
                              3.2 การเลือกตั้งคณะกรรมการสภาประสานงานระหว่างชาติว่าด้วยโครงการนุษย์และชีวมณฑล วาระ 4 ปี (พ.ศ. 2564 - 2568) ของกลุ่มประเทศเอเชียแปซิฟิก มีผู้สมัครจำนวน 5 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐออสเตรีย สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน (ถอนตัวภายหลัง) ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไทย โดยประเทศที่ได้รับเลือกคือ สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศญี่ปุ่น
1กลุ่มชายขอบหรือประชากรชายขอบ เช่น ชนกลุ่มน้อย ผู้อพยพ ประชากรที่อาศัยอยู่ในสลัม ชาวนา ชาวไร่ชนบท แรงงานไร้ทักษะฝีมือ แรงงานข้ามชาติ ซึ่งอาศัยอยู่ห่างจากศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรม คนกลุ่มนี้ขาดอำนาจการต่อรอง ขาดการศึกษา ขาดเครื่องมือที่เข้าถึงอำนาจ และถูกกีดกันออกจากระบบการต่อรองอำนาจ โดยลักษณะของกลุ่มประชากรชายขอบอาจจะแตกต่างจากประชากรส่วนใหญ่ของสังคมในแง่ของชาติพันธุ์ ผิวพรรณ ศาสนา ฐานะทางเศรษฐกิจและชนชั้นทางสังคม
2เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

17. เรื่อง สรุปผลการหารือทวิภาคีระหว่างรองนายกรัฐมตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการหารือทวิภาคีระหว่างรองนายกรัฐเนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสหกรรมประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 โดยมีประเด็นที่สำคัญ เช่น ความร่วมมือในภาคพลังงาน การส่งเลริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของทั้งสองประเทศ และข้อริเริ่ม Asia-Japan Investing for the Future Initiative (AJIF) ของประเทศญี่ปุ่น (คณะรัฐมนตรีมีมติ (11 มกราคม 2565) เห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น] ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการหารือทวิภาคีระหว่างรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น
                              1.1 ความร่วมมือด้านพลังงาน
ผลการหารือ
ฝ่ายไทย          ฝ่ายญี่ปุ่น
- กล่าวขอบคุณรัฐบาลญี่ปุ่นที่ให้การสนับสนุนการพัฒนาภาคพลังงานของประเทศไทยในด้านต่าง ๆ
เช่น โครงการศึกษาการขับเคลื่อนการลดการปล่อยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ภาคพลังงานของไทยซึ่งจะช่วยในการจัดทำแผนพลังงานชาติ รวมถึงความร่วมมือและการสนับสนุนการพัฒนาเทคนโลยีและตลาดยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อให้ไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลกและเป็นจุดโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค
- จะดำเนินนโยบายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงานและมุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดในอนาคต ซึ่งจะต้องได้รับการสนับสนุนทางการเงินและการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง          - กล่าวขอบคุณฝ่ายไทยที่ตอบรับการหารือในครั้งนี้ และแสดงความห่วงใยต่อสถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สายพันธุ์ใหม่
- ยินดีจะให้การสนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านพลังงานกับไทยผ่านกลไกข้อริเริ่ม
ด้านการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานแห่งเอเชีย (Asia Energy Transition Initiative: AETI) ที่ได้ดำเนินการร่วมกันอยู่แล้ว
- เสนอแนะให้ไทยส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริดในช่วงการเปลี่ยนผ่านเพื่อการเปลี่ยนผ่านไปสู่               ยานยนต์ไฟฟ้าเป็นไปอย่างราบรื่นยิ่งขึ้น

                              1.2 ความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน
ผลการหารือ
ฝ่ายไทย          ฝ่ายญี่ปุ่น

- ยินดีและขอบคุณสำหรับข้อริเริ่ม AJIF ของญี่ปุ่นที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาหุ้นส่วนความร่วมมือในการลงทุนระหว่างสองประเทศ โดยมุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือด้านการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูงและการสร้าง
นวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาทางเศรษฐกิจที่มีความยืดหยุ่นและยั่งยืน
- ขอบคุณผู้ประกอบการญี่ปุ่นที่ไว้ใจเลือกไทยเป็นฐานการผลิตและดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ ในอนาคตไทยวางแผนที่จะพานักธุรกิจไทยไปพบปะนักธุรกิจญี่ปุ่นเพื่อหารือเชิงธุรกิจ นอกจากนี้ อาจจะมีการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเพื่อเปิดรับนักลงทุนหรือชาวญี่ปุ่นที่เกษียณแล้วให้มาพำนักในไทยได้ในระยะยาว          - ปัจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นสนใจลงทุนในไทยเป็นจำนวนมากเนื่องจากไทยให้ความสำคัญกับการสนับสนุน
ผู้ประกอบการของญี่ปุ่นเป็นอย่างดี โดยแนวคิดข้อริเริ่ม AJIF จะช่วยส่งเสริมการลงทุนให้มีความคล่องตัว
มากยิ่งขึ้น

- ญี่ปุ่นมีแผนการสนับสนุนอุตสาหกรรม ยานยนต์ไฟฟ้าและการลงทุนด้านอุตสาหกรรมอื่น ๆ ในไทยโดยบริษัทญี่ปุ่นในไทยให้ความสำคัญกับธุรกิจที่ส่งเสริมนโยบายการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน รวมถึงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) ของไทย

                    2. การลงนามเอกสารต่าง ๆ
                              2.1 การลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนด้านพลังงานหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น เพื่อกำหนดทิศทางและกรอบการดำเนินความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างสองประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการผลักดันการปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นการใช้พลังงานสะอาด เพื่อเสริมสร้างโอกาสทางการค้าและการลงทุน และความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานอัจฉริยะแห่งอนาคต ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศในอนาคต
                              2.2 การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น โดยเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ประจำกรุงเทพมหานครเพื่อส่งเสริมการลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นในไทย สนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และพัฒนาอุตสาหกรรมของทั้งสองประเทศผ่านความร่วมมือต่าง ๆ  เช่น การเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่บริษัทญี่ปุ่นเกี่ยวกับนโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลไทย การลงทุนในต้านเทคโนโลยีขั้นสูงและการวิจัยและพัฒนา
                    ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้เห็นชอบในหลักการของบันทึกข้อตกลงฯ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาให้ข้อคิดเห็นจาก          กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ซึ่งหากไม่มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจาก กต. ทั้งสองฝ่ายจะถือว่าบันทึกข้อตกลงฯ ที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2565 มีผลบังคับใช้
                              2.3 การลงนามบันทึกแสดงเจตจำนงด้านความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น โดยเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น ประจำกรุงเทพฯ เพื่อส่งเสริมการลงทุนจากบริษัทญี่ปุ่นในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทย โดยการสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และช่องทางการลงทุน การผลักดันการลงทุนโดยมุ่งเน้นเทคโนโสยีขั้นสูงและการต่อยอดการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการลงทุนใหม่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น               กลุ่มสุขภาพดิจิทัลและการลงทุนคาร์บอนต่ำ
                    3. ถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจของฝ่ายญี่ปุ่นและฝ่ายไทยเกี่ยวกับข้อริเริ่มการเป็นหุ้นส่วนการร่วมสร้างสรรค์เพื่อนำไปสู่การลงทุนในอนาคต มีสาระสำคัญเกี่ยวกับข้อริเริ่ม AJIF เพื่อส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการลงทุน การเพิ่มมูลค่า และการสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมแห่งอนาคต รวมถึงการก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานไปสู่พลังงานสะอาดพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ เช่น ยานยนต์                    แห่งอนาคต หุ่นยนต์และอุปกรณ์ไฟฟ้าสมัยใหม่ พลังงานสะอาด เทคโนโลยีดิจิทัล การขนส่ง เวชภัณฑ์และสุขภาพ การเกษตรที่ทันสมัย และเทคโนโลยีอาหารและชีวภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

18. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคีไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 11
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ผลการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (Joint Commission on Bilateral Cooperation:JC) ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 11 และให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญ
                    กต. รายงานว่า การประชุม JC ไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 11 ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 - 18 ธันวาคม 2564 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา (กัมพูชา) โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งกัมพูชา (นายปรัก สุคน) เป็นประธานร่วมกัน โดยการประชุมครั้งนี้จัดภายใต้แนวคิด ?ฟื้นฟูไปด้วยกันสู่สันติภาพและความเจริญรุ่งเรือง? และจัดขึ้นในบริบทของการฉลองโอกาสครบรอบ 70 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับกัมพูชาเมื่อปี 2563 สรุปได้ ดังนี้
                    1. ผลการประชุมฯ มีการส่งเสริมความร่วมมือด้านต่าง ๆ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมโดยเร็วจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19          1.1 การอำนวยความสะดวกในการเดินทางข้ามแดนระหว่างกัน เช่น การใช้ระบบดิจิทัลในการตรวจสอบเอกสารรับรองการฉีดวัคซีนระหว่างกัน การจัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อหารือความเป็นไปได้ในการเปิดให้มีการท่องเที่ยวระหว่างกันโดยมีมาตรการควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะในพื้นที่ชายแดนของทั้งสองประเทศ และการเพิ่มเที่ยวบินระหว่างกัน
1.2 การนำเข้าแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานของไทยและเพิ่มโอกาสการมีงานทำให้แก่แรงงานกัมพูชา และการให้แรงงานกัมพูชาที่ต้องการหางานทำในไทยดำเนินการผ่านช่องทางที่ถูกต้อง
1.3 การกำหนดกรอบเวลาและการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายการค้า 15,000 ดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568
1.4 การส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนในแต่ละประเทศ รวมถึงเสริมสร้างบรรยากาศที่เอื้ออำนวยยิ่งขึ้นต่อการลงทุน โดยไทยหยิบยกข้อเสนอแนะของนักลงทุนไทยในกัมพูชา เช่น การปรับกฎหมายภาษีให้ชัดเจนและปฏิบัติตามได้ง่ายขึ้น และการใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่จากความตกลงยกเว้นภาษีซ้อน
1.5 การส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียวโดยเฉพาะการปรับใช้ตัวแบบเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model) เพื่อใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่อย่างเต็มที่ในการส่งเสริมการเติบโตในอนาคตและการบรรลุการพัฒนาสีเขียวและการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.6 การส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสองประเทศ โดยหารือกันเพื่อเตรียมการเปิดสะพานมิตรภาพไทย-กัมพูชาที่เชื่อมโยงจังหวัดสระแก้วกับจังหวัดบันเตียนเมียนเจย ซึ่งมีกำหนดเปิดทำการในปี 2566 และการเปิดบริการการเดินรถไฟข้ามแดนระหว่างสองจังหวัดเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวย รวมทั้งการสนับสนุนโครงการพัฒนาถนนเส้นทางต่าง ๆ
1.7 การกระชับความร่วมมือด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะในจังหวัดชายแดนเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และความพร้อมในการรับมือกับโรคอุบัติใหม่ในอนาคต โดยไทยได้ส่งมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์มูลค่ารวมประมาณ 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่กัมพูชา
2. การรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน และการส่งเสริมมิตรภาพอันใกล้ชิดระหว่างประชาชนไทยและกัมพูชา          2.1 การป้องกันและปราบปรามปัญหาการลักลอบข้ามแดนผิดกฏหมายการค้ามนุษย์ และการช่วยเหลือและส่งกลับคนไทยที่ถูกชักชวนไปทำงานหลอกลวงทางโทรศัพท์หรือกรณี call center การค้ายาเสพติด อาชญากรรมข้ามชาติประเภทอื่น ๆ และการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา
2.2 การเปิดศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดและฝึกอาชีพแห่งชาติในจังหวัดพระสีหนุ โดยไทยได้สนับสนุนทางการเงินในการก่อสร้างศูนย์ดังกล่าว จำนวน 38 ล้านบาท (1.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
2.3 การส่งเสริมความเข้าใจอันดีและมิตรภาพในระดับประชาชน ซึ่งรวมถึงความร่วมมือในด้านกีฬาและการแลกเปลี่ยนระหว่างเยาวชน
3. ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในประเด็นอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและอาเซียน          3.1 ไทยแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของกัมพูชาในการเป็นประธานการประชุมผู้นำเอเชีย-ยุโรป (Asia-Europe Meeting: ASEM) ครั้งที่ 13 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564
3.2 การส่งเสริมความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงผ่านกลไกความร่วมมือต่าง ๆ โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS) และคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC)
3.3 ไทยสนับสนุนการเป็นประธานอาเซียนของกัมพูชาในปี 2565 และแสดงความเป็นแกนกลางของอาเซียน โดยทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อสนับสนุนอาเซียนในการรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงประเด็นเมียนมาบนพื้นฐานของความเป็นสมาชิกครอบครัวอาเซียนด้วยกัน
                    นอกจากนี้ ในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส มีการหยิบยกประเด็นที่สำคัญ เช่น ผู้แทนกระทรวงพลังงานของกัมพูชากล่าวว่า การเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นที่ที่อ้างสิทธิทับซ้อนกันจะต้องทำควบคู่กันไปทั้งเรื่องการเจรจาเขตแดนและการพัฒนาร่วมด้านพลังงาน และไทยได้ขอให้กัมพูชาอำนวยความสะดวกแก่ปฏิบัติการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชาที่ยังเหลืออยู่ประมาณ 40 ตารางกิโลเมตร
                    2. ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบร่างบันทึกการประชุมฯ โดยสาระสำคัญของเอกสารไม่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบไว้แล้ว โดยมีการเพิ่มประเด็นเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างหน่วยงานตำรวจ ความร่วมมือด้านศุลกากร ความร่วมมือด้านตลาดทุนและความร่วมมือภายใต้กรอบคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง
                    3. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ เช่น
ประเด็น          การดำเนินการที่สำคัญ เช่น          หน่วยงาน
ที่รับผิดชอบ
1. ด้านการเมืองและความมั่นคง          - จัดการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมของทั้งสองประเทศ
- หารือเพื่อยกระดับ/เปิดจุดผ่านแดนเพิ่มเติม ก่อสร้างอาคารสำนักงานศุลกากร ถนน และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา
- ส่งเสริมการใช้บัตรผ่านแดน
- ยกระดับการลาดตระเวนชายแดนเพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบข้ามแดนผิดกฎหมาย
- หารือการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของทั้งสองประเทศ
- จัดการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนและการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในปี 2565
- ร่วมมือในการอำนวยความสะดวกสำหรับปฏิบัติการการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรมในพื้นที่ชายแดน
- จัดการประชุมทางวิชาการว่าด้วยการจัดการพื้นที่คุ้มครองข้ามพรมแดนภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการจัดการพื้นที่คุ้มครองและพื้นที่อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพข้ามพรมแดนระหว่างกรมการบริหารการอนุรักษ์และการปกป้องธรรมชาติ
- ช่วยเหลือและสนับสนุนในการพัฒนาขีดความสามารถในการเตือนภัยหมอกควันข้ามแดน
- สานต่อความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในการป้องกันและปราบปรามการผลิต การค้า และการใช้ยาเสพติดในภูมิภาค          กต. กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
2. ด้านเศรษฐกิจ          - อำนวยความสะดวกการค้าข้ามแดน ณ ด่านศุลกากรต่าง ๆ รวมทั้งการต่อต้านการลักลอบขนสินค้าผิดกฎหมาย และการอำนวยความสะดวกการขนส่งสินค้าผ่านแดน
- จัดการประชุมทวิภาคีหรือการประชุมผ่านระบบทางไกล เพื่อเร่งดำเนินการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการขนส่งสินค้าผ่านแดนระหว่างกัน
- ส่งเสริมความร่วมมือเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาและความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายเพื่อส่งเสริมตลาดทุนในทั้งสองประเทศ
- ส่งเสริมการค้าทวิภาคีและการลงทุน และคงเป้าหมายการค้าทวิภาคี
- จัดการประชุมคณะกรรมการร่วมการค้าชายแดนกัมพูชา-ไทย
- ส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจของสองประเทศ
- ส่งเสริมการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน
- นำเข้าแรงงานกัมพูชามาทำงานในภาคเกษตร
- เร่งรัดการเจรจาความตกลงเกี่ยวกับการจัดการการบำรุงรักษา และการใช้งานสะพานมิตรภาพไทย-กัมพูชา
- จัดการประชุมคณะทำงานร่วมสามฝ่ายว่าด้วยการเดินเรือตามแนวชายฝั่ง ระหว่างไทย-กัมพูชา-เวียดนาม ครั้งที่ 5
- ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและการพัฒนาลานกองตู้คอนเทนเนอร์เพื่อเตรียมการสำหรับการเปิดให้บริการรถไฟข้ามแดน
- อำนวยความสะดวกให้มีเที่ยวบินตรงระหว่างทั้งสองประเทศมากขึ้น
- ส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษสระแก้ว และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราดของไทยกับเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดเกาะกงและบันเตียนเมียนเจย
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและผลิตภัณฑ์ด้านการท่องเที่ยวสำหรับการฟื้นฟูและการเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- เร่งรัดการใช้การชำระเงินระหว่างประเทศ (Interoperable QR code) อย่างเต็มรูปแบบ
- หารือเกี่ยวกับพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนกัน
- เร่งรัดให้มีการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าขนาด 230/500 kV จากสถานีไฟฟ้าแรงสูงวัฒนานครในประเทศไทยไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงพระตะบองในประเทศกัมพูชา ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร
- ร่วมกันในการแบ่งปันความรู้และการพัฒนาขีดความสามารถในการปรับใช้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ในสาขาต่าง ๆ เช่น พลังงานสะอาด การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน และการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน          กค. กต. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กษ. คค. กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
3. ด้านสังคม วัฒนธรรม และอื่น ๆ          - สานต่อการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่ฝ่ายกัมพูชาในสาขาการศึกษา
- เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ความร่วมมือในการต่อต้านการลักลอบขนโบราณวัตถุ
- ส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในด้านกีฬา
- เสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคีในด้านสารสนเทศ
- ส่งเสริมความร่วมมือที่ใกล้ชิดในการบังคับใช้กฎหมายอาญา
- จัดทำแผนความร่วมมือในสาขาสาธารณสุขระยะที่สอง (พ.ศ. 2565 - 2567)
- เสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ และจัดทำแผนปฏิบัติการระยะที่ 2
- ส่งเสริมความร่วมมือในกรอบคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง
- สนับสนุนบทบาทที่สร้างสรรค์ของอาเซียนในสถานการณ์ในเมียนมาโดยผ่านการปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อ*          กต. กก. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อว. กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ สธ. สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานอัยการสูงสุด ตช. และกรมประชาสัมพันธ์
?????????????????_________________________
* ฉันทามติ 5 ข้อ ได้แก่ (1) ทุกฝ่ายหยุดความรุนแรง (2) ทุกฝ่ายเจรจาอย่างสันติ (3) ให้มีทูตพิเศษเพื่อให้เกิดกระบวนการเจรจา (4) อาเซียนช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และ (5) ทูตพิเศษเข้าไปในเมียนมาเพื่อพูดคุยกับทุกฝ่าย

19. เรื่อง ร่างแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) สำหรับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) สำหรับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างแถลงข่าวร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก โดยให้นายกรัฐมนตรีร่วมรับรองร่างแถลงข่าวร่วมฯ ในการหารือกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย              ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของ ร่างแถลงข่าวร่วมเกี่ยวกับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซียมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรีสองประเทศในการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมืออย่างรอบด้าน ตลอดจนกระชับความร่วมมือในมิติต่าง ๆ เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาทิ (1) การฟื้นฟูความเชื่อมโยงในทุกมิติ (Reconnect the Connectivities) โดยส่งเสริมการเชื่อมโยงในทุกมิติอย่างไร้รอยต่อ ซึ่งรวมถึงการเปิดการเดินทางข้ามพรมแดนและการผลักดันโครงการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานที่ยังคั่งค้างอยู่ให้มีความคืบหน้า (2) การกระตุ้นฟื้นฟูเศรษฐกิจ (Reinvigorate the Economy) โดยส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน รวมทั้งแสวงหาความร่วมมือในสาขาใหม่ ๆ (3) การเน้นย้ำความมั่นคงและเสถียรภาพ (Reassure Security and Stability) โดยให้ความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนและครอบคลุมเพื่อสร้างสันติสุข เสถียรภาพ และส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดน และ (4) การฟื้นฟูกลไกความสัมพันธ์ทวิภาคี (Revitalise Bilateral Mechanisms) โดยส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนและการหารือระหว่างกันให้มากขึ้นภายใต้กลไกการหารือทวิภาคีในระดับต่าง ๆ

แต่งตั้ง

20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นายอนุวัตร พงษ์คุณากร นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์) กลุ่มงานศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลลำปาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาศัลยกรรม) โรงพยาบาลลำปาง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลำปาง สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2564
                     2. นางผลิน กมลวัทน์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา กรมควบคุมโรค ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน สาขาวัณโรค) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2564
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

21. เรื่อง ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ประธานกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติเสนอปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ดังนี้
                     1. แต่งตั้ง นายสุวิทย์ สุขชิต ผู้แทนกลุ่มเกษตรกรทำไร่พงศ์ประศาสน์ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นกรรมการ ฯ แทนกรรมการ ฯ เดิมที่ขอลาออก
                     2. แต่งตั้ง นายศราวุฎ เรืองเอี่ยม เกษตรกรจากจังหวัดระยอง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ฯ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ฯ เดิมที่ขอลาออก
                     3. แต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นกรรมการ ฯ เพิ่มเติม
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป

22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงคมนาคม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงคมนาคม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย ดังนี้
                    1. นางพรรณี พุ่มพันธ์ รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมการขนส่งทางบก ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                    2. นายอภิสิทธิ์ พรหมเสน รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมทางหลวง ไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                    3. นายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมการขนส่งทางราง                      ไปดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหารระดับสูง) กรมการขนส่งทางราง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

23. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันการบินพลเรือน รวม 3 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2564 ดังนี้
1. นางจันทิรา บุรุษพัฒน์           ประธานกรรมการ
2. นายนภดล วณิชวรนันท์  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
3. พลอากาศโท มนัท ชวนะประยูร  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                        ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ