สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 1 มีนาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday March 1, 2022 17:55 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (1 มีนาคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจาก                                                  ผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศ                                        และต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจ                                                  วิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบในกระบวนการ                                                  พิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข
                                        เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณา                                                  อนุญาตยา  พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..)                                         พ.ศ. .... (การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร)
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือนเพื่อใช้ในการคำนวณเงินสะสม                                                  เงินสมทบ เงินชดเชย และบำเหน็จบำนาญของพนักงานมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. ....

                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุม

การขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474

                    5.           เรื่อง           ร่างอนุบัญญัติออกตามความในพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย                                        และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 จำนวน 3 ฉบับ

(กำหนดให้หน่วยงานของรัฐรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ

ก่อนการออกกฎ)

                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลทรายขาว

อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พ.ศ. ....

                    7.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการ                                        ก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้ พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ ? สังคม
                    8.           เรื่อง           ขออนุมัติในหลักการจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิง                                        สุขภาพ จังหวัดภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก
                    9.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
                                        ครั้งที่ 3/2564 เรื่อง การให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริม                                        เศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ
                    10.           เรื่อง           การโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่คู่สัญญาในการขายที่ราชพัสดุที่ตกเป็นของแผ่นดินตาม                                                  คำพิพากษาของศาล
                    11.            เรื่อง           ขออนุมัติหลักการก่อสร้างที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง
                    12.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ความรุนแรงต่อเด็กในครอบครัว                                         ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ

คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา

                    13.           เรื่อง           มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2564
                    14.           เรื่อง           ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565
                    15.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม

ครั้งที่ 5/2565

                    16.           เรื่อง            สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดน                                                  ภาคใต้ (กพต.) ครั้งที่ 3/2564
                    17.           เรื่อง           ขอรับความอนุเคราะห์ในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                                                   พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                    18.           เรื่อง           หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วย                                                  ฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัส
                                        โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)                                                   (ฉบับที่ 8)

ต่างประเทศ
                    19.           เรื่อง           ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของการประชุมว่า                                        ด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศ                                        ในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 6
                    20.           เรื่อง           รายงานความก้าวหน้าโครงการอาคารแสดงประเทศไทย งาน World Expo 2020                                         Dubai
                    21.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-                                                  สาธารณรัฐเกาหลี
                    22.            เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตย                                        ประชาชนลาว
                    23.            เรื่อง            การสมทบในกองทุนเพื่อการพัฒนา ACMECS (ACMECS Development Fund)                                         ของญี่ปุ่นเพื่อดำเนินโครงการ ACMECS Branding Project สนับสนุนภาคธุรกิจ                                        และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงท่ามกลาง                                                  สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
                    24.            เรื่อง           การจัดทำความตกลง Air Travel Bubble ระหว่างไทย-อินเดีย
                    25.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างข้อตกลงด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย                                        กับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

แต่งตั้ง

                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งโฆษกกระทรวง รองโฆษกกระทรวง และผู้ช่วยโฆษก                                                            กระทรวงมหาดไทย
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม

ยาเสพติด

                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบในกระบวน            การพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจาก          ผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา          ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     2. ให้ สธ. รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี            ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างประกาศ รวม 2 ฉบับ ที่ สธ. เสนอ เป็นการปรับปรุงประกาศกระทรวงสาธารณสุขซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 77/2559 เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการพิจารณาอนุญาตผลิตภัณฑ์สุขภาพ ลงวันที่ 27 ธันวาคม พุทธศักราช 2559 เกี่ยวกับอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือ            การตรวจสอบในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา และอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติยา (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2562 ซึ่งบัญญัติให้มีการออกประกาศ   ฉบับใหม่แทนประกาศเดิมที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าว ซึ่ง                 ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... และ            ร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... โดยภาพรวมยังคงกำหนดรายการและอัตราสูงสุดที่จะจัดเก็บเช่นเดียวกับประกาศที่ออก        ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา พ.ศ. .... ได้เพิ่มเติมรายการและอัตราสูงสุดที่จะจัดเก็บบางรายการ อาทิ การออกและการต่อหนังสือรับรองมาตรฐานการผลิตยาแผนปัจจุบันของสถานที่ผลิตยาในต่างประเทศ การตรวจรับรองสถานที่วิจัยทางคลินิกในมนุษย์ การขออนุญาตการศึกษาวิจัยยาในมนุษย์ เป็นต้น ทั้งนี้                       การดำเนินการจัดเก็บค่าขึ้นบัญชีและค่าใช้จ่ายตามร่างประกาศในเรื่องนี้ รวม 2 ฉบับ สธ. จะได้ออกประกาศ                 เพื่อกำหนดค่าขึ้นบัญชีและค่าใช้จ่ายที่จะจัดเก็บจริงอีกครั้งหนึ่ง
                     สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    ร่างประกาศ รวม 2 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงอัตราค่าขึ้นบัญชีสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้เชี่ยวชาญ องค์กรผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่ทำหน้าที่            ในการประเมินเอกสารทางวิชาการ การตรวจวิเคราะห์ การตรวจสถานประกอบการ หรือการตรวจสอบในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา และกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายสูงสุดที่จะจัดเก็บจากผู้ยื่นคำขอในกระบวนการพิจารณาอนุญาตยา โดยอาจให้มีการทบทวนอัตราดังกล่าวทุก 5 ปี หรือเมื่อมีเหตุจำเป็น

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....                      (การพิจารณาพิพากษาคดีอาญาเกี่ยวกับภาษีอากร)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้
                     1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร (ฉบับที่ ..)     พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตและความเห็นของกระทรวงการคลังและคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอ                         สภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                     2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ
                     3. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม                         สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ เป็นการกำหนดให้ศาลภาษีอากรซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีภาษีที่เป็นคดีแพ่งให้มีอำนาจพิจารณาพิพากษาในส่วนคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากร และให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวโดยอนุโลม เพื่อเป็นการลดภาระแก่คู่ความที่ต้อง                     ดำเนินกระบวนพิจารณาในสองศาล ลดกระบวนการพิจารณาในการสืบพยานหลักฐานในส่วนคดีอาญาของศาล               ซึ่งข้อเท็จจริงจะปรากฏในสำนวนคดีแพ่ง การใช้ดุลพินิจในการกำหนดโทษในคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากรไม่มี              ความแตกต่างกันจะดำเนินการโดยศาลชำนัญพิเศษด้านภาษีอากรที่มีผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญในกฎหมายภาษีอากรโดยเฉพาะ และคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                     1. กำหนดบทนิยามคำว่า ?คดีภาษีอากร? ใหม่ และกำหนดให้ศาลภาษีอากรมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากร โดยให้คดีที่อยู่ในเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวไม่อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร รวมทั้งในกรณีที่มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีท้ายพระราชบัญญัตินี้ให้กระทำเป็น                         พระราชกฤษฎีกา ตลอดจนให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาหรือกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง มาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวโดยอนุโลม
                     2. กำหนดให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลภาษีอากรกลางโดยอนุมัติประธานศาลฎีกา มีอำนาจ                       ออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในส่วนของคดีอาญาโดยต้องไม่ทำให้สิทธิในการต่อสู้คดีอาญาของจำเลยลดน้อยลงกว่าที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย
                     3. แก้ไขเพิ่มเติมการทราบกำหนดนัดของศาลในคดีส่วนแพ่ง
                     4. แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ ฎีกา คำพิพากษาหรือคำสั่งศาลในคดีอาญาที่เกี่ยวกับภาษีอากร โดยให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม รวมถึงให้นำประมวลกฎหมาย                วิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีดังกล่าวในศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษและศาลฎีกาโดยอนุโลมด้วย



3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือนเพื่อใช้ในการคำนวณเงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย     และบำเหน็จบำนาญของพนักงานมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือนเพื่อใช้ในการคำนวณเงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และบำเหน็จบำนาญของพนักงานมหาวิทยาลัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ สำหรับงบประมาณที่จะต้องจ่ายเป็นเงินสมทบเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตั้งแต่ปีงบประมาณ                   พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2565 ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                     ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                     1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่              1 ธันวาคม พ.ศ. 2557 บัญญัติให้ยกเลิกบัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 และให้ใช้บัญชีเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายพระราชบัญญัตินี้แทนทำให้อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารขั้นสูง (เทียบเท่าอันดับ ท.11 เดิม) 64,340 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 76,800 บาท ซึ่งสูงกว่าเงินเดือนอ้างอิงขั้นสูงของอันดับ ท. 11               ตามกฎกระทรวงกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือนเพื่อใช้ในการคำนวณเงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และบำเหน็จบำนาญของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2554 ทำให้พนักงานมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งที่ได้รับการเลื่อนเงินเดือนอ้างอิงถึงขั้นสูงสุดของอันดับ ท.11 แล้วต้องใช้เงินเดือนอ้างอิงต่ำกว่าเงินเดือนเดิมที่เคยได้รับอยู่ในตอน               เป็นข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย
                     2. โดยที่ข้อ 3 ของกฎกระทรวงกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือนเพื่อใช้ในการคำนวณเงินสะสม                 เงินสมทบ เงินชดเชย และบำเหน็จบำนาญของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2554 กำหนดให้พนักงานมหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญ (กบข.) ต่อไป ให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือนท้ายกฎกระทรวงนี้เป็นบัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิง และในกรณีที่มีการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญเพิ่มขึ้นให้ กค. ปรับบัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิงให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญ
                     3. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้บัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิงของพนักงานมหาวิทยาลัยมี                 ความถูกต้องเหมาะสม และสอดคล้องกับอัตราเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญในปัจจุบัน จึงเห็นสมควรปรับปรุงบัญชีอ้างอิงอัตราเงินเดือนของข้าราชการพลเรือนสามัญท้ายกฎกระทรวงกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือนเพื่อใช้ในการคำนวณเงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และบำเหน็จบำนาญของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ. 2554
                     4. กค. ได้พิจารณาการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยเห็นว่าไม่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐ เนื่องจากอัตราเงินเดือนในบัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิงฯ ไม่ใช่อัตราที่มีการจ่ายเงินเดือนจริง แต่เป็นอัตราที่ใช้เพื่อการคำนวณเงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และบำเหน็จบำนาญของพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิก กบข. ต่อไป แต่เมื่อร่างกฎกระทรวงฉบับนี้มีผลใช้บังคับ จะใช้งบประมาณเบื้องต้นจำนวน 11,375,482 บาท ซึ่งเป็นเงินที่รัฐบาลจะต้องจ่ายเป็นเงินสมทบเข้า กบข. จำนวน 3% ของอัตราเงินเดือนในบัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิงฯ                ที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 - พ.ศ. 2565
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     ปรับปรุงบัญชีอัตราเงินเดือนอ้างอิงของพนักงานมหาวิทยาลัยท้ายกฎกระทรวงกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือนเพื่อใช้ในการคำนวณเงินสะสม เงินสมทบ เงินชดเชย และบำเหน็จบำนาญของพนักงานมหาวิทยาลัย               พ.ศ. 2554 (อัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารขั้นสูง เทียบเท่าอันดับ ท.11              เดิม จำนวน 64,340 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 76,800 บาท) ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2557 เป็นต้นไป



4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและ     ค้าของเก่า พุทธศักราช 2474
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    มท. เสนอว่า
                     1. เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (2 มกราคม 2563) เห็นชอบแนวทางการทบทวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมในการอนุมัติ อนุญาต ของทางราชการ ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้ส่วนราชการพิจารณาทบทวนการจัดเก็บค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับปัจจุบัน
                      2. มท. จึงได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในข้อ 1. โดยทบทวนอัตราค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตประกอบอาชีพขายทอดตลาดและค้าของเก่าที่จัดเก็บตามข้อ 8 ของกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 (ฉบับที่ 2) ตามแนวทางของสำนักงาน ก.พ.ร. โดยมีความเห็นว่า สมควรปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตประกอบอาชีพขายทอดตลาดและค้าของเก่าให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากได้นำแนวทางการให้บริการประชาชนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ มาใช้กับการอนุญาตมีผลเป็นการลดต้นทุนการดำเนินการของภาครัฐและลดภาระต้นทุนใน                 การประกอบอาชีพของประชาชน เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบข้อมูลของผู้กำกับดูแล รวมทั้งสร้างความโปร่งใสและอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน
                     3. มท. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตประกอบอาชีพขายทอดตลาดและค้าของเก่าซึ่งจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้เฉลี่ยประมาณปีละ 117,065,000 บาท (พิจารณา                จากจำนวนใบอนุญาตประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 24,485 ฉบับ และรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตจำนวน 234,130,000 บาท) อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะเป็นการช่วยลดภาระต้นทุนในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยที่มีเงินทุนจำนวนน้อยในการเริ่มต้นประกอบธุรกิจ ซึ่งจะเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในภาคธุรกิจขายทอดตลาดและค้าของเก่า ประกอบกับการปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมจะเป็นการสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการในการเข้ามาอยู่ในระบบการกำกับดูแลของภาครัฐ อีกทั้ง ยังเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนและสร้างขวัญกำลังใจให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     กำหนดให้ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมในการออกใบอนุญาตประกอบการอาชีพขายทอดตลาดและ   ค้าของเก่าตามกฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 (ฉบับที่ 2) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2524) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474 ดังนี้
หน่วย : บาท/ปี
ประเภทใบอนุญาต          กฎกระทรวงมหาดไทยออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474                (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม          ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ ..  (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช 2474
(1) การขายทอดตลาด           15,000          7,500
(2) การค้าของเก่า
   (ก) ประเภทโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุ              ตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
   (ข) ประเภทเพชร พลอย ทอง นาก เงิน หรืออัญมณี
   (ค) ประเภทรถยนต์ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์
   (ง) ประเภทอื่น ๆ
1,2500


10,000

7,500

5,000
6,250


5,000

3,750

2,500

5. เรื่อง ร่างอนุบัญญัติออกตามความในพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 จำนวน 3 ฉบับ (กำหนดให้หน่วยงานของรัฐรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบก่อนการออกกฎ)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ดังนี้
                     1. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. .... และร่างแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                      2. รับทราบร่างประกาศคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การดำเนินการอื่นของระบบกลาง        พ.ศ. ....
รวม 3 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติต่อไป
                     ทั้งนี้ ร่างอนุบัญญัติออกตามความในพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและ                การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 รวม 3 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็น            การกำหนดให้หน่วยงานของรัฐรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบก่อนการออกกฎ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริม                   การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการออกกฎที่มีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน เพื่อพัฒนาคุณภาพของกฎให้จำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเท่าที่จำเป็น
                     สาระสำคัญของร่างอนุบัญญัติ
                     ร่างอนุบัญญัติออกตามความในพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและ                       การประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมายจัดทำขึ้นจำนวน 3 ฉบับ                      มีสาระสำคัญดังนี้
                     1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ               พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ร่างกฎที่มีลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นร่างกฎที่ต้องดำเนินการ ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายฯ กล่าวคือ การจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชน และนำผลนั้นมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการออกกฎทุกขั้นตอน
                                  (1) ร่างกฎที่กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขเกี่ยวกับการขออนุญาต ขออนุมัติ                  ขอความเห็นชอบ จดทะเบียน ขึ้นทะเบียน แจ้ง ขอประทานบัตร ขออาชญาบัตร
                               (2) ร่างกฎที่กำหนดให้ประชาชนต้องปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือโดยวิธีการใดวิธีการหนึ่งในการประกอบอาชีพหรือดำรงชีวิตของประชาชน หรือในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ หรือยื่นเอกสารใด ๆ ให้หน่วยงานของรัฐ บรรดาที่มิใช่ร่างกฎตาม (1)
                     ทั้งนี้ ยกเว้นร่างกฎเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงหรือความปลอดภัยของประเทศ ร่างกฎที่มิได้ใช้บังคับเป็นการทั่วไปกับประชาชน ร่างกฎที่จำเป็นต้องตราขึ้นโดยรีบด่วนเพื่อประโยชน์สำคัญของประเทศเกี่ยวกับความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ และร่างกฎอื่นที่             ไม่มีผลกระทบต่อประชาชน
                     2. ร่างแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ในกรณีที่ต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น จากกฎสามารถนำแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายรวมทั้งแบบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายมาใช้ได้โดยอนุโลม ทั้งนี้ กรณีการออกกฎที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ให้ผู้มีอำนาจลงนามในกฎนั้นมีหน้าที่ตรวจสอบความครบถ้วนของการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎดังกล่าวแทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
                     3. ร่างประกาศคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การดำเนินการอื่นของระบบกลาง พ.ศ. ....                มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ระบบกลางสามารถใช้ในการดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับกฎได้เป็นการเพิ่มเติม เช่น การรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำร่างกฎการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎ เป็นต้น เพื่อประโยชน์ในการเข้าถึงของประชาชน

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง              จังหวัดเลย พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปถือปฏิบัติโดยเคร่งครัดต่อไป และรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ กษ. เสนอ เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ทำนบดิน หัวงาน และอาคารประกอบตามโครงการ                อ่างเก็บน้ำห้วยน้ำทบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เพื่อประโยชน์แก่การชลประทานสำหรับพื้นที่การเกษตร การอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการป้องกันและการบรรเทาอุทกภัย รวมทั้งเพื่อให้เจ้าหน้าที่และพนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปในที่ดินของเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย               ซึ่งอสังหาริมทรัพย์และทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด และ            สำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                     กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย เพื่อประโยชน์             แก่การชลประทาน ในการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ทำนบดิน หัวงาน และอาคารประกอบของโครงการอ่างเก็บน้ำ                  ห้วยน้ำทบ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มีกำหนดใช้บังคับ 2 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่                    พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้ พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย


                      ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                     1. กฎกระทรวง ฉบับที่ 48 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร                    พ.ศ. 2522 มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุที่ใช้เป็นโครงสร้างหลักของอาคาร และกระจกที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นจากเหตุเพลิงไหม้ เนื่องจากโครงสร้างหลักของอาคารส่วนใหญ่จะใช้วัสดุที่มีอัตราการทนไฟได้ไม่นาน เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้อาคารดังกล่าวจะเกิดการยุบตัวหรือพังทลายได้ง่าย ทำให้ไม่สามารถเข้าช่วยเหลือหรือขนย้ายประชาชนหรือทรัพย์สินออกจากอาคารดังกล่าวได้ทัน              อันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชนจำนวนมาก
                     2. เนื่องจากปัจจุบันวิทยาการเกี่ยวกับวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการใช้วัสดุและผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลายและซับซ้อนมากยิ่งขึ้น กฎกระทรวงฯ             ตามข้อ 1. ยังไม่ครอบคลุมเนื้อหาและรายละเอียดที่สำคัญ ซึ่งหากไม่มีการควบคุมในเรื่องดังกล่าวอย่างเหมาะสมอาจก่อให้เกิดภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของประชาชนได้ ดังนั้น เห็นควรออกกฎกระทรวงฯ                โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (3) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และมาตรา 8 (2) (4) และ (6) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3)              พ.ศ. 2543 จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารประเภทควบคุมการใช้ พ.ศ. .... ขึ้น โดยแยกเรื่องการกำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชน เป็นการเฉพาะ                   ซึ่งคณะกรรมการควบคุมอาคารได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     กำหนดลักษณะและคุณสมบัติของวัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารที่อาจเป็นภยันตรายต่อสุขภาพ ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของประชาชน ดังนี้
                     1. กำหนดให้วัสดุและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการก่อสร้างอาคารต้องคำนึงถึงความมั่นคงแข็งแรง                ความปลอดภัย การสาธารณสุข และการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม ไม่ทำให้เกิดฝุ่นละอองอันอาจเกิดอันตราย             ต่อสุขภาพ ไม่ปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่าย (volatile organic compounds) ในปริมาณที่อาจก่อให้เกิดอันตราย               ต่อสุขภาพ เช่น สารอินทรีย์ประเภทฟอร์มาลดีไฮด์
                     2. กำหนดให้การใช้วัสดุตกแต่งผิวพื้น หรือวัสดุปูพื้น ที่ไม่มีการใช้วัสดุตกแต่งผิวเพิ่มเติม ประเภทที่ใช้กันอย่างดั้งเดิม ได้แก่ ไม้ ลิโนเลียม หินขัด คอนกรีต กระเบื้องเซรามิค กระเบื้องดินเผา หินธรรมชาติ หินเทียม แผ่นพื้นไฟเบอร์ซีเมนต์ พื้นโลหะ และแผ่นชิ้นไม้อัดซีเมนต์ที่มีความหนาแน่นสูง วัสดุปูพื้นที่ยืดหยุ่น และ                     ไม่มีส่วนประกอบของเส้นใย ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้
                     3. กำหนดให้การใช้วัสดุตกแต่งผิวพื้นภายใน ให้คำนึงถึงคุณสมบัติของวัสดุเกี่ยวกับ                          การลุกติดไฟอย่างรวดเร็ว และการเกิดควัน สำหรับวัสดุตกแต่งผิวผนังภายนอกหรือวัสดุที่ใช้เป็นผนังภายนอกอาคารต้องยึดเกาะกับตัวอาคารหรือส่วนต่าง ๆ ของอาคารด้วยวิธีที่ไม่ก่อให้เกิดการร่วงหล่น และในการใช้วัสดุเป็นผนังภายนอกอาคารให้คำนึงถึงคุณสมบัติของวัสดุในการต้านทานต่อสภาพภูมิอากาศ ลม น้ำ และความชื้น หากผนังภายนอกผลิตจากวัสดุประเภทโลหะ ให้คำนึงถึงคุณสมบัติในการต้านทานต่อการกัดกร่อนด้วย ผนังภายนอกที่เป็นระบบผนังสำเร็จรูปต้องสามารถต้านทานแรงหรือน้ำหนักบรรทุกที่กระทำได้อย่างปลอดภัย หากผนังภายนอกของอาคารสูงต้องได้รับการออกแบบให้สามารถต้านแรงลมได้
                     4. กำหนดให้วัสดุที่เป็นผิวของผนังภายนอกอาคารหรือวัสดุตกแต่งผิวภายนอกอาคารต้องมีปริมาณการสะท้อนแสงได้ไม่เกินร้อยละสามสิบ (กำหนดเช่นเดียวกันกับกฎกระทรวงฉบับที่ 48 ฯ)
                     5. กำหนดให้หลังคาและส่วนประกอบของวัสดุหลังคาต้องได้รับการออกแบบและติดตั้งให้สามารถต้านทานแรงหรือน้ำหนักบรรทุกที่กระทำได้อย่างปลอดภัย ต้องยึดติดกับโครงสร้างหลังคาอย่างมั่นคง
                     6. กำหนดให้กระจกที่ใช้เป็นผนังภายนอก ประตู หน้าต่าง และช่องเปิดของผนังภายนอกของอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ และอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ที่ระดับความสูงตั้งแต่ชั้นที่ 2 ขึ้นไป ต้องเป็นกระจกนิรภัยหลายชั้น (ร่างกฎกระทรวงฯ ได้กำหนดนิยาม ?กระจกนิรภัยหลายชั้น? เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น (อ้างอิงตามประมวลข้อบังคับอาคาร (Building Code) ของประเทศสหรัฐอเมริกา) หากกระจกที่ใช้เป็นผนังภายใน ประตู หน้าต่าง และช่องเปิดของผนังภายในของห้องโถงหรือทางเดินร่วมภายในอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่และอาคารขนาดใหญ่พิเศษ ต้องเป็นกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (ร่างกฎกระทรวงฯ ได้กำหนดนิยาม ?กระจกนิรภัยเทมเปอร์? เพื่อให้เกิดความชัดเจนขึ้น อ้างอิงตามประมวลข้อบังคับอาคาร (Building Code) ของประเทศสหรัฐอเมริกา) ในกรณีที่ใช้กระจกเป็นวัสดุ           พื้นทางเดิน หรือพื้นบันได ต้องเป็นกระจกนิรภัยหลายชั้น โดยกระจกแต่ละชั้นต้องสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ตามที่กำหนด กระจกที่ใช้เป็นผนังภายนอกอาคาร หรือใช้ตกแต่งผนังภายนอกอาคาร ต้องเป็นกระจกที่มีปริมาณ                  การสะท้อนแสงได้ไม่เกินร้อยละสามสิบ
                     7. กำหนดประเภทของแผ่นยิปซัมที่ใช้ในอาคาร ให้คำนึงถึงสภาพหรือวัตถุประสงค์ของการใช้งาน แผ่นยิปซัมที่ใช้ต้องเป็นประเภททนไฟ ทนความชื้นหรือสามารถต้านทานความชื้นได้

เศรษฐกิจ ? สังคม
8. เรื่อง ขออนุมัติในหลักการจัดสรรงบประมาณให้แก่โครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จังหวัดภูเก็ตสู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการจัดสรรงบประมาณให้กับ สธ. ดำเนินโครงการยกระดับ              การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก โดยใช้ที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ภก. 153 (บางส่วน) เนื้อที่ 141 - 2 - 64 ไร่ ตั้งอยู่ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2569 จำนวนทั้งสิ้น 1,411.70 ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. รายงานว่า
                    1. โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต ซึ่งเป็นโรงพยาบาลศูนย์สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) ได้เสนอโครงการยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจังหวัดภูเก็ต สู่เมืองท่องเที่ยวเชิงสุขภาพระดับโลก (โครงการฯ) [ชื่อเดิม แผนงานสำคัญเพื่อการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาของจังหวัด : เมืองบริการทางการแพทย์ระดับนานาชาติ (International Medical City)] เข้าสู่แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต (พ.ศ. 2561 - 2565) ฉบับทบทวน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีการดำเนินการที่สำคัญคือการจัดสร้างศูนย์บริการทางการแพทย์ครบวงจร โดยใช้ที่ดินราชพัสดุหมายเลขทะเบียนที่ ภก. 153 (บางส่วน) เนื้อที่ 141 - 2 - 64 ไร่ และมีแผนการดำเนินงาน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 (ปี 2566) งานศึกษาและเตรียมความพร้อมโครงการ มีกิจกรรม อาทิ การศึกษาความเป็นไปได้                  การออกแบบอาคาร การจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) การสร้างรั้วโครงการ ป้าย และถนนบางส่วน ระยะที่ 2 (ปี 2566 - 2567) การเตรียมพื้นที่ก่อสร้างและโครงสร้างพื้นฐาน มีการดำเนินการ                         อาทิ การเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง การปรับทัศนียภาพและภูมิสถาปัตย์และระยะที่ 3 (ปี 2567 - 2569) งานก่อสร้าง อาทิ การก่อสร้างศูนย์บริการทางการแพทย์ครบวงจร ทั้ง 4 ศูนย์ (ตามข้อ 3) มีกรอบงบประมาณในการดำเนินโครงการเป็นเงินทั้งสิ้น 1,411.70 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 มีมติเห็นชอบในหลักการแล้ว
                    2. เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2563 กรมธนารักษ์ได้อนุญาตให้ สธ. โดยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตใช้ที่ดินราชพัสดุหมายเลขทะเบียนที่ ภก. 153 (บางส่วน) เนื้อที่ 141 - 2 - 64 ไร่ เพื่อดำเนินโครงการฯ โดยใช้งบประมาณแผ่นดิน ทั้งนี้ ต้องเข้าทำประโยชน์ในที่ดินราชพัสดุตามวัตถุประสงค์ที่ขออนุญาตภายในกำหนด 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินราชพัสดุ (สิ้นสุดกำหนดวันที่ 13 ตุลาคม 2566) ต่อมากรมธนารักษ์ได้มีหนังสือถึง สป.สธ. เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2563 แจ้งถึงการอนุญาตดังกล่าว โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการใช้ที่ราชพัสดุ และหากมีการนำพื้นที่ทั้งหมดหรือบางส่วนไปจัดหาประโยชน์หรือให้เอกชนร่วมลงทุนจะต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ระเบียบ หลักเกณฑ์          ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562


                    3. สาระสำคัญของโครงการฯ สรุปได้ ดังนี้
รายการ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          (1) เพื่อพัฒนาเมืองภูเก็ตให้เป็นศูนย์กลางการบริการทางการแพทย์มูลค่าสูงเชื่อมโยงการท่องเที่ยวนานาชาติ ที่มีมูลค่าทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับโลก ภายใต้โครงการ Phuket Sandbox
(2) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ตและประเทศ โดยส่งเสริมผลผลิตและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวหรือภาคบริการอื่น
(3) เพื่อสร้างโอกาสในการลงทุนหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะนำไปสู่ความปกติใหม่ (New Normal)
(4) เพื่อเพิ่มการจ้างงานและลดอัตราการว่างงานให้กับประชาชนในพื้นที่หลังสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19
(5) เพื่อเสริมสร้างความพร้อมของระบบโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยี วิทยาการทางการแพทย์ และระบบบริการทางการแพทย์รองรับการจัดบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับนานาชาติที่ทันสมัยที่มุ่งเน้นยกระดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพสู่เวทีโลก
(6) เพื่อรองรับการจัดงาน EXPO 2028 - Phuket, Thailand ในปี 2571
หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ          สธ. โดยโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต
สถานที่          ที่ดินราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ภก.153 (บางส่วน) ตำบลไม้ขาว                 อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เนื้อที่ 141 ? 2 - 64 ไร่
การดำเนินการ/กิจกรรม          ดำเนินโครงการโดยจัดสร้างศูนย์บริการทางการแพทย์ครบวงจร ประกอบด้วย
(1) ศูนย์บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขระดับนานาชาติครบวงจร(International Health/Medical Plaza)
(2) ศูนย์อภิบาลสุขภาพผู้สูงอายุนานาชาติ (Premium Long Term Care)
(3) ศูนย์ใจรักษ์ (Hospice Care)2
(4) ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูครบวงจร (Rehabilitation Center)
แหล่งเงิน          งบประมาณรายจ่ายประจำปี (ปี 2566 - 2569)
ระยะเวลาดำเนินการ          4 ปี (ปีงบประมาณ 2566 - 2569)
รูปแบบการบริหารจัดการโครงการ          สธ. (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) แจ้งว่าอยู่ระหว่างการหารือ [โดยมี 5 รูปแบบ ได้แก่ (1) ภาครัฐดำเนินการเอง (2) รูปแบบพิเศษ (3) โรงพยาบาลกึ่งรัฐกึ่งเอกชน (4) องค์กรมหาชน และ (5) ภาครัฐร่วมลงทุนกับภาคเอกชน]
การจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน EIA)          จำเป็นต้องจัดทำรายงาน EIA3 โดย สป.สธ. แจ้งว่าจะดำเนินการหลังจาก
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการจัดสรรงบประมาณให้ สธ. ดำเนินโครงการแล้ว
ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น          - เกิดการจ้างงาน และเป็นการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับภาคประชาชน
- เป็นการสร้างโอกาสการลงทุน และเกิดการกระจายรายได้สำหรับภาคเอกชน
- เกิดรายได้จากนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามา ส่งผลให้มีมูลค่าเศรษฐกิจสูงขึ้น รวมทั้งเป็นต้นแบบด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ



9. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2564 เรื่อง การให้สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการโยบายเขตพัฒนาทิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2564 เรื่อง สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ
                    2. เห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกำหนดสิทธิถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิทธิถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดของผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ และเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้กำหนดผู้เจรจาและทำความตกลงเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในร่างประกาศนี้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
                    3. ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ขอให้กระทรวงแรงงานและกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ผลการประชุม กพอ.ฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้
                       1.1 เห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษ พ.ศ. ....
                       1.2 เห็นชอบให้โครงการเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) เป็นโครงการตัวอย่างในการนำร่องด้านสิทธิประโยชน์
                       1.3 มอบหมายให้ สกพอ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันกำหนดสิทธิประโยชน์ที่จำเป็นและเหมาะสมเพื่อให้โครงการสนามบินอู่ตะเภาเป็นเมืองการบินภาคตะวันออกและเป็นศูนย์กลางการบินและ                  โลจิสติกส์ของภูมิภาคอาเซียน และเสนอ กพอ. เพื่อเห็นชอบต่อไป
                    2. กำหนดเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษรวม 6 เขต ได้แก่
                       (1) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เมืองการบินภาคตะวันออก
                       (2) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
                       (3) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล
                       (4) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
                       (5) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ (พัทยา)
                       (6) เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ : การแพทย์จีโนมิกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา (บางแสน)

10. เรื่อง การโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่คู่สัญญาในการขายที่ราชพัสดุที่ตกเป็นของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่คู่สัญญาในการขายที่ราชพัสดุที่ได้มาโดย           คำพิพากษาของศาลให้ตกเป็นของแผ่นดิน จำนวน 86 ราย 94 รายการ (131 แปลง) ตามกฎกระทรวงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่มิใช่ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ พ.ศ. 2562 ข้อ 9 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า
                    1. ศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ทรัพย์สินพร้อมดอกผลที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 25421 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ตกเป็นของแผ่นดิน มีผลทำให้ทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาลมีสถานะเป็นที่ราชพัสดุตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ได้แจ้งผลคดี พร้อมทั้งส่งมอบทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ตามคำพิพากษาของศาลดังกล่าว รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,470 แปลง2 (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2564) ให้แก่ กค. (กรมธนารักษ์) เพื่อดูแลบริหารจัดการตามกฎหมายว่าด้วยที่ราชพัสดุ โดยกรมธนารักษ์ได้ดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมรับโอนอสังหาริมทรัพย์ในนาม กค. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์และนำส่งขึ้นทะเบียนที่ราชพัสดุแล้ว
                    2. กรมธนารักษ์ โดยคณะกรรมการพิจารณาการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาลและโดยประการอื่น (ตามคำสั่งกรมธนารักษ์ที่ 9/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาการบริหารจัดการทรัพย์สินที่ตกเป็นของแผ่นดินตามคำพิพากษาของศาลและโดยประการอื่น) พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากทรัพย์สินบางรายการมีสภาพไม่เหมาะสม สำหรับการใช้ในราชการหรือนำไปจัดหาประโยชน์ ประกอบกับกรมธนารักษ์ไม่มีอัตรากำลังและงบประมาณในการดูแล บำรุงรักษา หากปล่อยทรัพย์สินไว้โดยเฉพาะที่เป็นอาคาร               สิ่งปลูกสร้างจะมีสภาพทรุดโทรมและเสี่ยงต่อการถูกบุกรุก ก่อให้เกิดความเสียหายที่ต้องหาผู้รับผิดชอบ ซึ่งเกิดจากการกระทำละเมิดได้ ดังนั้น เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการทรัพย์สิน รวมทั้งเพื่อเพิ่มรายได้แผ่นดินอีกทางหนึ่ง จึงเห็นสมควรนำที่ราชพัสดุมาประมูลขาย จำนวน 182 แปลง (130 รายการ) กรมธนารักษ์จึงได้ดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎกระทรวงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่มิใช่ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้                    เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ พ.ศ. 2562 และระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีประมูลขายหรือแลกเปลี่ยนที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2564
                    3. คณะกรรมการพิจารณาให้ความเห็นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุตามกฎกระทรวงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่มิใช่ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ พ.ศ. 2562 ได้ประชุมพิจารณากลั่นกรองเรื่องการขายที่ราชพัสดุแล้วมีความเห็นโดยสรุปว่า กรมธนารักษ์ได้รับมอบทรัพย์สิน            มานาน โดยไม่มีหน่วยงานใดประสงค์ขอใช้ ทรัพย์สินบางรายการมีสิ่งปลูกสร้างในที่ดินถูกปล่อยทิ้งร้างขาดการดูแลและบำรุงรักษา ทำให้มีสภาพทรุดโทรม บางรายการตั้งอยู่ในโครงการหมู่บ้านจัดสรร ทำเลที่ตั้งไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นสถานที่ราชการ บางรายการไม่มีทางเข้า - ออก หรือต้องใช้ทางเข้า - ออก ร่วมกับที่ดินแปลงอื่น หรือตั้งอยู่ห่างไกลจากถนนสายหลัก จึงไม่สะดวกในการเข้าถึงหรือทำประโยชน์ในแปลงที่ดิน บางรายการมีขนาดพื้นที่ไม่เกิน 50 ตารางวา ทำให้มีข้อจำกัดในการใช้ในราชการหรือนำไปพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ทรัพย์สินบางรายการมีบริวารหรือผู้อยู่อาศัยของเจ้าของทรัพย์เดิม หรือผู้เช่าเดิมยังคงอยู่ ส่งผลให้มีข้อจำกัดในการใช้ โดยต้องดำเนินการให้เจ้าของเดิมออกไปจากพื้นที่ก่อน และในส่วนทรัพย์สินที่เป็นห้องชุดมีภาระค่าใช้จ่ายส่วนกลางตั้งแต่รับมอบทรัพย์สินที่ทางราชการต้องรับภาระ ดังนั้น เพื่อมิให้เป็นภาระต่อทางราชการในการดูแลทรัพย์สินดังกล่าว และลดความเสี่ยงที่อาจเกิดความเสียหายต่อตัวทรัพย์ที่อยู่ในความดูแลของทางราชการ จึงมีมติให้ประมูลขายที่ราชพัสดุ พร้อมทั้งทบทวน/กำหนดมูลค่าขั้นต่ำของที่ราชพัสดุที่จะดำเนินการประมูลขาย 182 แปลง (130 รายการ) มูลค่ารวม 341.4726 ล้านบาท ตามกฎกระทรวงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่มิใช่ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ พ.ศ. 2562 และให้กรมธนารักษ์นำเสนอ กค. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดต่อไป
                    4. กค. โดยอธิบดีกรมธนารักษ์จึงอาศัยอำนาจตามคำสั่ง กค. ที่ 2741/2563 สั่ง ณ วันที่                       9 ธันวาคม 2563 เรื่อง การมอบอำนาจของรองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สินให้แก่อธิบดีกรมธนารักษ์ พิจารณาแล้วให้ความเห็นชอบการขายที่ราชพัสดุในพื้นที่ 25 จังหวัด จำนวน 182 แปลง                      (130 รายการ) โดยวิธีการประมูลเป็นการทั่วไป พร้อมเห็นชอบการกำหนดมูลค่าที่ราชพัสดุที่จะขายรวมทั้งสิ้น 341.4726 ล้านบาท และได้รายงานผลการใช้อำนาจให้รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านทรัพย์สิน ทราบด้วยแล้ว ต่อมากรมธนารักษ์ได้อาศัยอำนาจระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีประมูลขายหรือแลกเปลี่ยนที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2564 ออกประกาศประมูล ขายที่ราชพัสดุผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยในระหว่างการประกาศเปิดประมูลขายที่ราชพัสดุ จำนวน 182 แปลง (130 รายการ) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์นั้น กรมธนารักษ์ได้ระงับการประมูลขายที่ราชพัสดุในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 1 แปลง (1 รายการ) เนื่องจากต้องประเมินมูลค่าที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างใหม่ จึงคงเหลือที่ราชพัสดุที่กรมธนารักษ์สามารถออกประกาศประมูลขายที่ราชพัสดุต่อไปได้ จำนวน 181 แปลง (129 รายการ) มูลค่ารวมทั้งสิ้น 340.9676 ล้านบาท
                    5. ผลการดำเนินการขายที่ราชพัสดุในระบบประมูลขายที่ราชพัสดุผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของกรมธนารักษ์ ระหว่างวันที่ 9 - 14 กันยายน 2564 พบว่า มีผู้เสนอราคาสูงสุดเพื่อซื้อที่ราชพัสดุ จำนวน 137 แปลง (99 รายการ) มูลค่ารวมที่ประมูลได้เป็นเงิน 289.6376 ล้านบาท [ไม่มีผู้เสนอราคา 44 แปลง (30 รายการ) มูลค่ารวมที่ไม่มีการประมูล 139.19 ล้านบาท] โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกเบื้องต้นซึ่งถือเป็นผู้มีสิทธิซื้อที่ราชพัสดุ                ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีประมูลขายหรือแลกเปลี่ยนที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2564 มาจัดทำสัญญาจะซื้อจะขายกับกรมธนารักษ์รวม 86 ราย รวมจำนวน 131 แปลง (94 รายการ) มูลค่ารวมของราคาที่เสนอสูงสุดเป็นเงิน 204.9486 ล้านบาท และได้วางเงินมัดจำ ร้อยละ 10 ของราคาที่เสนอสูงสุดเป็นเงิน 20.4949 ล้านบาท (กรมธนารักษ์นำส่งเป็นรายได้แผ่นดินแล้ว) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยวิธีประมูลขายหรือแลกเปลี่ยน            ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2564 ข้อ 23 ส่วนเงินคงเหลือร้อยละ 90 ของราคาที่เสนอสูงสุด เป็นเงิน 184.4537 ล้านบาท กรมธนารักษ์จะได้รับและนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินก็ต่อเมื่อคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่คู่สัญญาการขายที่ราชพัสดุจำนวน 86 ราย 131 แปลง (94 รายการ) ข้างต้นแล้ว ตามข้อ 9 ของกฎกระทรวงการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่มิใช่ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ พ.ศ. 2562
1ปัจจุบันมีพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 192 รองรับการดำเนินการดังกล่าว
2ในจำนวน 1,470 แปลง รวมถึงการโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่คู่สัญญาในการขายที่ราชพัสดุที่ได้มาโดยคำพิพากษาของศาล จำนวน 189 แปลง (115 ราย 131 รายการ) ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ด้วย

11.  เรื่อง ขออนุมัติหลักการก่อสร้างที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการก่อสร้างที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช.  ส่วนกลาง (จำนวน 2 อาคาร) และก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณตามนัยมาตรา 42  แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 524,147,000 บาท ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) เสนอ   โดยให้ผูกพันระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2567 รวมเวลา 3 ปี โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                    1. ปีที่ 1 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565) ใช้เงินคงเหลือสะสมสำนักงาน ป.ป.ช. จำนวน 104,829,400 บาท
                    2. ปีที่ 2-3 (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2567) จำนวน 419,317,600 บาท ให้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักงาน ป.ป.ช. รายงานว่า
                    สำนักงาน ป.ป.ช. มีสถานที่ทำการตั้งอยู่บนที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ นบ. 828 (บางส่วน) ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เนื้อที่ประมาณ 42-2-21 ไร่ มีอาคารทั้งสิ้น 7 อาคาร โดยสามารถรองรับการปฏิบัติราซการได้เพียง 800 คน แต่ปัจจุบันมีอัตรากำลังซึ่งปฏิบัติงานภายในสำนักงาน ป.ป.ช. เฉพาะส่วนกลาง จำนวนประมาณ 2,000 คน ดังนั้น อาคารสำนักงาน ป.ป.ช. ที่มีอยู่ดังกล่าวจึงไม่เพียงพอต่อการรองรับจำนวนอัตรากำลังที่เพิ่มขึ้น สำนักงาน ป.ป.ช. จึงได้จัดจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามของศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นที่ปรึกษาเพื่อศึกษาสภาพการใช้พื้นที่ในปัจจุบันโดยได้วิเคราะห์และจัดทำรายละเอียดแนวโน้มความต้องการพื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับภารกิจของหน่วยงานในอนาคต ศึกษาศักยภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้พื้นที่ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดและแนวทางการวางผังรวมบริเวณพื้นที่ส่วนต่อขยายของสำนักงาน ป.ป.ช. พร้อมกำหนดรูปแบบอาคารเบื้องต้น ให้มีความสอดคล้องกับกลุ่มอาคารเดิม             ซึ่งจากรายงานผลการวิเคราะห์สภาพการใช้พื้นที่ดังกล่าวพบว่า มีปัญหาเรื่องพื้นที่ทำงานมีจำกัด ไม่สอดคล้องกับอัตรากำลังในปัจจุบัน และไม่เพียงพอต่ออัตรากำลังที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตอีก 5-10 ปี ดังนั้น สำนักงาน ป.ป.ช. จึงมีความจำเป็นต้องก่อสร้างที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. ส่วนกลาง เพื่อรองรับภารกิจที่เพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเพื่อให้มีสถานที่ในการจัดเก็บข้อมูลที่สำคัญอย่างเป็นระบบ มีความมั่นคง ปลอดภัย และ           ใช้รับรองการประชุมและสัมมนาทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ สรุปได้ ดังนี้
                              1. อาคารหลังที่ 8 เป็นอาคารสำหรับรองรับการปฏิบัติราชการของสำนักต่าง ๆ ที่มี            การขยายตัวและมีพื้นที่การปฏิบัติงานไม่เพียงพอ ลักษณะอาคารเป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 8 ชั้น และอาคารจอดรถยนต์ 7 ชั้น
                              2. อาคารหลังที่ 9 เป็นอาคารรับรอง ประชุม สัมมนา เพื่อสนับสนุนให้มีสถานที่                 ในการประชุม สัมมนา ขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตลอดจนการประชุมระหว่างประเทศในทุกระดับ การจัดเลี้ยงอย่างเป็นทางการเพื่อรองรับบุคลากรและคณะต่าง ๆ จากในประเทศและต่างประเทศ ลักษณะเป็นอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสูง 4 ชั้น

12. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ความรุนแรงต่อเด็กในครอบครัว ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ความรุนแรงต่อเด็กในครอบครัว ของคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    พม. ได้ประชุมหารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยที่ประชุมเห็นว่ารายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นประโยชน์และสามารถนำมาปรับปรุงการดำเนินงานได้ ซึ่งขณะนี้ พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ          ผลการพิจารณา
   1) แนวทางการค้นหาข้อเท็จจริง
       ควรมีการศึกษาเด็กที่ถูกกระทำความรุนแรง ว่าเหตุใดจึงถูกกระทำ หรือถูกกระทำด้วยวิธีใด และศึกษาในตัวผู้กระทำว่ากระทำด้วยสาเหตุอะไร และวิธีการใด

   - พม. ได้มีการสำรวจรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ความรุนแรงต่อเด็ก สตรี และความรุนแรงในครอบครัวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดทำรายงานตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา ประจำทุกปี ได้แก่ สาเหตุ/ปัจจัยของการกระทำความรุนแรง และประเภทของการกระทำความรุนแรง
   2) แนวทางการช่วยเหลือ เยียวยา
         2.1 เมื่อพบเห็นเหตุการณ์กระทำความรุนแรงต่อเด็ก จะต้องเข้าไปให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที หรือแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ให้เข้ามาดูแลช่วยเหลือ และควรตระหนักถึงปัญหาความรุนแรงต่อเด็กด้วยการทำงานในเชิงรุก โดยใช้กระบวนการจากทีมสหวิชาชีพ
ดำเนินการช่วยเหลือ เยียวยา
      2.2 ศูนย์ข้อมูลกลาง ควรมีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวอย่างเป็นระบบ โดยอาจใช้ฐานจาก ?ศูนย์พึ่งได้ สธ.? เป็นแหล่งรวบรวมกลางควรปรับทัศนคติเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว โดยเน้น ?ฐานชุมชน? และการทำงานเชิงรุก และการคุ้มครองและเยียวยาผู้ถูกกระทำ ต้องมีสถานที่รองรับ โดยอาศัยทีมสหวิชาชีพเข้าร่วมให้คำปรึกษาและเยียวยาอย่างทันท่วงที

   - มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานร่วมกันเมื่อเกิดเหตุความรุนแรงในครอบครัว ในลักษณะสหวิชาชีพ ได้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่จากศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว นักสังคมสงเคราะห์ นักจิตวิทยา หรือบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่ และพนักงานสอบสวน เข้าไปสืบเสาะข้อเท็จจริง และระงับเหตุคุ้มครองช่วยเหลือเยียวยาครอบครัว และกรมกิจการเด็กและเยาวชนได้จัดให้มีแอปพลิเคชั่น (Application) ?คุ้มครองเด็ก? และเว็บไซต์ https//cpis.dcy go.th เพื่อแจ้งข้อมูลผ่านระบบแจ้งเหตุ
   - หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันเสริมสร้าง และพัฒนาศักยภาพผู้ปฏิบัติงานด้านความรุนแรงในครอบครัว ในส่วนของพนักงานเจ้าหน้าที่ และทีมสหวิชาชีพในการปฏิบัติงานในพื้นที่ รวมทั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ให้มีบทบาทในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และประสานการดำเนินงานกับทีมสหวิชาชีพเกี่ยวกับการกระทำความรุนแรงในครอบครัวในพื้นที่
   - พม. ได้จัดทำระบบฐานข้อมูลครอบครัว (Family Big Data) โดยบูรณาการด้านข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์พึ่งได้ สธ. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) มท. สำนักงานอัยการสูงสุด ศาลเยาวชนและครอบครัวมีการจัดตั้งและผลักดันการดำเนินงานของกลไกชุมชน คือ ศพค. ที่มีทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในการเฝ้าระวัง ป้องกันและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
   - การคุ้มครองและเยียวยาผู้ถูกกระทำ พม. มีหน่วยงานบ้านพัก                   เด็กและครอบครัวทั้งในเขตกรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาคทุกจังหวัดรองรับและให้การคุ้มครองผู้ถูกกระทำ โดยมีพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว               พ.ศ. 2550 และทีมสหวิชาชีพ ช่วยเหลือเยียวยา และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้กระทำ
   3) แนวทางป้องกัน
      3.1 มิติครอบครัว การเตรียมความพร้อมครอบครัวรุ่นใหม่ ควรส่งเสริมให้มีการดำเนินการในกลุ่มวัยรุ่นและกลุ่มชุมชนคนยากจนในเมืองเพิ่มขึ้น ควรส่งเสริมให้ส่วนราชการหรือองค์กรรัฐวิสาหกิจมีเนอร์สเซอรี่เพื่อให้แม่มีโอกาสใกล้ชิดบุตร และส่งเสริมให้มีศูนย์ให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวกระจายออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะการใช้ฐานศูนย์พึ่งได้ สธ. (OSCC) ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนและองค์กรภาคเอกชน และการพัฒนาระบบโปรแกรม MySis ให้คำปรึกษาด้านครอบครัว              โดยใช้ Chatbot ในการสนทนาโต้ตอบ

   - พม. มีการดำเนินโครงการเสริมสร้างศักยภาพครอบครัวลดความรุนแรงในเด็กเล็ก ในพื้นที่เป้าหมาย 23 จังหวัด วัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างให้ครอบครัวมีศักยภาพ สามารถเลี้ยงดู ดูแล และพัฒนาเด็กเล็กโดยไม่ใช้ความรุนแรง และได้ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชน มีการจัดสถานรับเลี้ยงเด็ก หรือเนอร์สเซอรี่ และได้ประกาศเจตนารมณ์ ?การเสริมพลังบทบาทหญิงและชายเพื่อการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ?
   - การให้คำปรึกษามีการพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่องและร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีระบบเพื่อนครอบครัว (Family line) ให้คำปรึกษา ทั้งนี้ พม. จะพัฒนาระบบให้คำปรึกษา Chatbot ในการสนทนาโต้ตอบต่อไป ทั้งนี้ พม. มีแผนปฏิบัติการด้านครอบครัว พ.ศ. 2563 - 2565 คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาศักยภาพของครอบครัว ส่งเสริมให้ครอบครัวมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน มีสัมพันธภาพที่ดี และยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างหลักประกันความมั่นคงของครอบครัว ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนลดพื้นที่เสี่ยง เพิ่มพื้นที่ปลอดภัย สร้างพื้นที่การเรียนรู้สำหรับครอบครัวผ่านการดำเนินการในโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ
      3.2 มิติทางชุมชน ผลักดันให้ท้องถิ่นมีแผนและกิจกรรมส่งเสริมครอบครัวเพิ่มมากขึ้น ใช้ฐานชุมชนเป็นตัวตั้งในการป้องกัน เฝ้าระวังค้นหาครอบครัวโดยอาศัยกลไกอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ประจำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุข กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มทางสังคม และส่งเสริมให้มีศักยภาพ มีความเข้มแข็ง และได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณ เพื่อแก้ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว              - มท. มีการส่งเสริมให้ อปท. ดำเนินการหรือสนับสนุนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรักและความอบอุ่นในครอบครัว สนับสนุนการใช้ฐานชุมชนเป็นตัวตั้งในการป้องกัน โดยมีกำนัน ผู้ใหญ่บ้านเป็นกลไกในชุมชน รวมทั้งกรมกิจการเด็กและเยาวชนให้มีชุมชนคุ้มครองเด็กระดับตำบล จำนวน 1,762 แห่ง ดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ในการช่วยเหลือคุ้มครองเด็กในตำบล เพื่อทำให้เด็กที่ประสบปัญหา/เสี่ยง เข้าสู่สังคมร่วมกับเด็กในกลุ่มปกติได้ และ พม. ได้สนับสนุนให้มีการจัดตั้ง ศพค. ขึ้นทั่วประเทศ และสนับสนุนงบประมาณให้แก่ ศพค. รวมทั้งสื่อองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพของคณะทำงาน ศพค. อย่างต่อเนื่องทุกปี
      3.3 มิติทางสังคม ส่งเสริมให้มีการขับเคลื่อนกระบวนการรณรงค์ลดความรุนแรง และจัดกิจกรรมรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อเด็กและบุคคลในครอบครัวและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมควรร่วมมือกับสื่อสารมวลชน เพื่อเสนอสื่อที่ส่งเสริมให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ มีพื้นที่การนำเสนอสาระเกี่ยวกับครอบครัวเพิ่มมาก             - พม. ได้ส่งเสริมให้มีการขับเคลื่อนกิจกรรมดังกล่าวอย่างต่อเนื่องทุกปี รวมทั้ง มท. โดย อปท. ได้ดำเนินการ/สนับสนุนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรัก และความอบอุ่นในครอบครัว และ พม. ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนที่ได้เคยร่วมลงนาม MOU การดำเนินงานยุติความรุนแรงในครอบครัว
   - พม. ได้สร้างความร่วมมือกับสื่อสารมวลชนในโครงการพลังบวกสาม และเชิญสื่อร่วมเป็นคณะกรรมการคัดเลือก/ครอบครัว/ผู้ปฏิบัติงาน/บุคคลดีเด่น ที่เป็นตัวแบบของครอบครัวและสังคม เป็นต้น
      3.4 มิติทางการศึกษาสถาบันการศึกษาต้องขับเคลื่อนการรณรงค์ลดความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนในครอบครัว รวมถึงผลิตสื่อในรูปแบบต่าง ๆ
เพื่อเผยแพร่รณรงค์ และส่งเสริมจัดกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชนมีทักษะชีวิตที่สามารถแก้ปัญหาที่ต้องเผชิญในชีวิตประจำวัน             - พม. ร่วมกับคณะกรรมาธิการ สังคม เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาสสภานิติบัญญัติแห่งชาติ รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และโรงเรียนต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ดำเนินโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ ?New Gen Say No คนรุ่นใหม่ไร้ความรุนแรง? เพื่อเป็นการขับเคลื่อนการรณรงค์ รวมถึงได้ผลิตสื่อรณรงค์ยุติความรุนแรงเผยแพร่ในกิจกรรมดังกล่าว และ มท. ได้ให้สถานศึกษาในสังกัด อปท. ระดับปฐมวัยจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560
      3.5 มิติการสร้างต้นแบบที่ดี บูรณาการระหว่างครอบครัว สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรณรงค์ให้บุคคลเรียนรู้ถึงพิษภัยของปัจจัยที่ก่อให้เกิดความรุนแรงต่อเด็กและเยาวชนในครอบครัว             - พม. ได้จัดกิจกรรมวันแห่งครอบครัวทั่วประเทศและกระตุ้นให้               เกิดครอบครัวไทยใจอาสา การยกย่องเชิดชูเกียรติครอบครัว/บุคคลให้เป็นต้นแบบ และมีการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน ในสภาเด็กและเยาวชน ซึ่งมี 3 ระดับคือ ระดับอำเภอ ระดับจังหวัดระดับชาติ เป็นต้นแบบที่ดีให้แก่เด็กและเยาวชน
      3.6 มิติทางกฎหมาย ควรทบทวนพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2562 การบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 และพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ให้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบมากที่สุดเพื่อคุ้มครองผู้ถูกทำร้ายให้มากที่สุด และผลักดันให้สามีสามารถลาเลี้ยงดูบุตรหลังภรรยาคลอดบุตรตามมติคณะรัฐมนตรี (8 กุมภาพันธ์ 2553) โดยมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555             - พม. อยู่ระหว่างปรับปรุงกฎหมายโดยมีข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายเป็นรายหมวด รวมถึงข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายออกเป็นสองฉบับ ซึ่งด้านหนึ่งเป็นการส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง และอีกด้านเป็นการคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคลในครอบครัวจากความรุนแรงที่เกิดขึ้น สำหรับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการช่วยเหลือ คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว และประมวลกฎหมายอาญา มีการพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อคุ้มครองผู้ถูกทำร้ายให้มากที่สุด ส่วนการให้สามีลาเลี้ยงดูบุตรในปี 2563 พม. ร่วมกับองค์กรธุรกิจและองค์กรพัฒนาเอกชน รวม 17 องค์กร ประกาศเจตนารมณ์ ?การเสริมพลังบทบาทหญิงและชายเพื่อการเลี้ยงดูบุตรอย่างมีคุณภาพ? ให้หน่วยงานอนุญาตให้พนักงานชาย (บิดา) สามารถลาเพื่อช่วยเหลือภรรยาดูแลเลี้ยงดูบุตร 15 วัน โดยได้รับค่าจ้าง หรืออนุญาตให้ลาได้มากกว่านั้นตามนโยบายบริษัท


13. เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่              15 กันยายน 2564 (จำนวน 10 เรื่อง) ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 ที่ให้ถือว่าการประชุม กก.วล. เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องสิ่งแวดล้อม และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 (เรื่อง มติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 ครั้งที่ 11/2548 และครั้งที่ 12/2548) รับทราบมติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ที่ให้นำมติ กก.วล เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญ และเรื่องที่ กก.วล. พิจารณาได้ข้อยุติแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ สรุปได้ ดังนี้
เรื่อง          มติ กก.วล.
1. โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด
ระยะที่ 3 (ครั้งที่ 1) ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)          รับทราบมติคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานทางน้ำ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 ที่ได้ให้ความเห็นชอบรายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนอย่างรุนแรง โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดฯ โดยให้ กนอ. ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ตามที่เสนอไว้ในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด และพิจารณากำหนดมาตรการเยียวยาให้ครอบคลุมกลุ่มอาชีพประมงพื้นบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบจากโครงการฯ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
2. โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8-9 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)          เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการฯ ต่อรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทั้ง 5 โครงการ (ลำดับที่ 2-6) โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการ ดังนี้
(1) ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ในรายงานฯ
(2) จัดตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการฯ ที่กำหนด
(3) พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ตามแนวทางที่กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
(4) โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นการดำเนินการตามแผนลดการใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้า
(5) โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมแนวเส้นทางและรูปแบบการก่อสร้างที่คำนึงถึงการระบายน้ำและไม่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง
(6) โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพลฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นการส่งเสริมและปรับปรุงระบบการเกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นให้แก่เกษตรกรในพื้นที่รับประโยชน์และประเด็นการปลูกป่าทดแทนในพื้นที่    ต้นน้ำ
3. โครงการโรงไฟฟ้า                    สุราษฎร์ธานี ชุดที่ 1-2 ของ กฟผ.
4. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองแนวใหม่ สายอำเภอหาดใหญ่-ชายแดนไทย-มาเลเซีย ของกรมทางหลวง
5. โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำญวน จังหวัดพะเยา ของกรมชลประทาน
6. โครงการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล แนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ของกรมชลประทาน
7. ร่างมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะ เพื่อให้จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินการขับเคลื่อนเพื่อมุ่งสู่แนวทางการจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะอย่างเบ็ดเสร็จ ในระยะเวลา 5-10 ปีข้างหน้า ประกอบด้วยมาตรการในการจัดการขยะมูลฝอย ณ ต้นทาง กลางทาง และปลายทาง          เห็นชอบหลักการของมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาการบริการจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะตามที่คณะอนุกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยบนเกาะเสนอ และให้ ทส. รับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย (มท.) ไปพิจารณาดำเนินการเกี่ยวกับการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเพื่อกำหนดแนวทางหรือมาตรการเพื่อให้ อปท. มุ่งเน้นการหาวิธีการบริการจัดการขยะมูลฝอยบนพื้นที่เกาะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยไม่ขนย้ายขยะมูลฝอยออกจากเกาะและให้ มท. พิจารณามาตรการและแนวทางเพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยทั้ง 14 เกาะ และรายงานความก้าวหน้าต่อ กก.วล. ทราบต่อไป
8. สถานการณ์การเกิดเพลิงไหม้กรณีโรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก บริษัท หมิงตี้ เคมีคอล จำกัด จังหวัดสมุทรปราการ          รับทราบสถานการณ์การเกิดเหตุเพลิงไหม้โรงงานผลิตเม็ดโฟมและพลาสติก บริษัท หมิงตี้ฯ และเห็นชอบให้มีการจัดทำมาตรการเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติภัยสารเคมีและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ตามที่กรมควบคุมมลพิษเสนอ รวมทั้งให้กระทรวงอุตสาหกรรมและ ทส. ร่วมกันหาแนวทางเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลักษณะดังกล่าวอีก
9. การปรับปรุงค่ามาตรฐานก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ (CO) และก๊าซไฮโดรคาร์บอน (HC) จากไอเสียรถยนต์ใช้งานขนาดเล็ก          (1) เห็นชอบการปรับปรุงค่ามาตรฐานก๊าซ CO และก๊าซ HC จากไอเสียรถยนต์ใช้งานขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายในที่มีการจุดระเบิดด้วยประกายไฟ ตามความเห็นของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ
(2) เห็นชอบร่างประกาศ ทส. 3 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างประกาศฯ เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งก๊าซ CO และก๊าซ HC ของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายในที่มีการจุดระเบิดด้วยประกายไฟและใช้น้ำมันปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. .... 2) ร่างประกาศฯ เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งก๊าซ CO และก๊าซ HC ของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายในที่มีการจุดระเบิดด้วยประกายไฟและใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง พ.ศ. .... และ 3) ร่างประกาศฯ เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการปล่อยทิ้งก๊าซ CO และก๊าซ HC ของรถยนต์ไฮบริด พ.ศ. .... (อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา)
(3) ให้กระทรวงคมนาคม (กรมการขนส่งทางบก) ออกประกาศกำหนดมาตรฐานก๊าซ CO และก๊าซ HC จากท่อไอเสียรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์ชนิดเผาไหม้ภายในที่มีการจุดระเบิดด้วยประกายไฟ ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ ทส. เสนอ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์สำหรับการตรวจสภาพรถยนต์ประจำปีและส่วนอื่นที่เกี่ยวข้องต่อไป
10. การกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานประกอบการขนาดเล็กที่ผลิตสินค้าหรือให้บริการบางประเภท          เห็นชอบการกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานประกอบการขนาดเล็กที่ผลิตสินค้าหรือให้บริการบางประเภท ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเสนอ และให้กรมควบคุมมลพิษพิจารณากำหนดค่าพารามิเตอร์ของสีในมาตรฐานการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิด เพื่อแก้ไขปัญหาสีของน้ำทิ้งในภาพรวมในลำรางสาธารณะหรือแหล่งน้ำธรรมชาติให้มีสีไม่แตกต่างจากสีน้ำธรรมชาติต่อไป (ประกาศ ทส. เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานประกอบการขนาดเล็กที่ผลิตสินค้าหรือให้บริการบางประเภท                 อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา)

14. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2564 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม)                 ทั้งปี 2564 และแนวโน้มปี 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาตรา 20 (5) ที่บัญญัติให้ สำนักงานสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  (สศช.) จัดทำฐานข้อมูลเศรษฐกิจและสังคม บัญชีประชาชาติของประเทศ ตามระบบสากล เพื่อประกอบการจัดทำนโยบายการพัฒนาประเทศ และรายงานภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] ตามที่สำนักงานสภาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.9 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 0.2 โดยเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สี่ของปี 2564 ขยายตัวจากไตรมาสที่สามของปี 2564 ร้อยละ 1.8 (ปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว) รวมทั้งปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2563 ที่ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.2
                              1.1 ด้านการใช้จ่าย การส่งออกสินค้าและบริการและการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น การบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐกลับมาขยายตัว ส่วนการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวลดลง โดยการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวร้อยละ 0.3 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 3.2 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่คลี่คลายลงและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของภาครัฐที่ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการดำเนินมาตรการเพื่อกระตุ้น                   การใช้จ่ายของภาครัฐ นอกจากนี้ การใช้จ่ายหมวดบริการลดลงร้อยละ 1.7 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 5.4
                              การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 8.1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนที่ขยายตวร้อยละ 1.5 โดยรายจ่ายค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 11.4 และการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาด ขยายตัวร้อยละ 38.5 ส่วนอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำอยู่ที่ร้อยละ 35.5 (สูงกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่มีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 23.8 และสูงกว่าไตรมาสเดียวกันของ              ปีก่อนที่มีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 32.3)
                              การลงทุนรวมลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 0.4 โดยการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 1.7 ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 6.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจลดลงร้อยละ 15.9 ส่วนอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนอยู่ที่ร้อยละ 16.0 (ต่ำกว่าไตรมาสก่อนหน้าที่มีอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 24.0 แต่สูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 12.1) นอกจากนี้ การลงทุนภาคเอกชนลดลงร้อยละ 0.9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.6
                              1.2 ด้านภาคต่างประเทศ
                                        1.2.1 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 70,543 ล้านดอลลาร์สหรัฐขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 21.3 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.7 โดยปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.8 และราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ รถยนต์นั่ง ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อาหารสัตว์ ข้าว และยางพารา และสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น ผลิตภัณฑ์ยางและ                 ปลากระป๋องและปลาแปรรูป ทั้งนี้ การส่งออกสินค้าไปยังตลาดหลักส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่อง
                                        1.2.2 การนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 59,666 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.6 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 31.8 โดยปริมาณและราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.0 และร้อยละ 5.7 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 10.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
                              1.3 ด้านการผลิต โดยสาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 3.8 ปรับตัว               ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 0.9 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวร้อยละ 3.2 ปรับตัว                     ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 1.4 สาขาไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ ไอน้ำและระบบการปรับอากาศขยายตัวร้อยละ 2.1 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 2.4 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 ต่อเนื่องจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 สาขาเกษตรกรรม                   การป่าไม้ และการประมง ขยายตัวร้อยละ 0.7 ชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 โดยมีผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ลดลง เช่น สุกรและข้าวเปลือก ขณะที่ผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น อ้อยและปาล์มน้ำมัน และสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลงร้อยละ 4.9 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบไตรมาสก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 19.0 สอดคล้องกับการปรับตัวดีขึ้นของการท่องเที่ยวในประเทศและการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศซึ่งมีจำนวน 342,024 คน โดยเป็นผลจากนโยบายเปิดประเทศแบบไม่กักตัวและไม่จำกัดพื้นที่ (Test & Go) และการผ่อนคลายมาตรการเดินทางของหลายประเทศ
                              1.4 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.64 ต่ำกว่าไตรมาสก่อนหน้าซึ่งมีจำนวนร้อยละ 2.25 ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.4 ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 2.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาท) เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 อยู่ที่ 2.46 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 มีมูลค่า 9.644 ล้านล้านบาท คิดเป็น                 ร้อยละ 59.6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP)
                    2. เศรษฐกิจไทยปี 2564 ขยายตัวร้อยละ 1.6 ปรับตัวดีขึ้นจากปี 2563 ที่ลดลงร้อยละ 6.2               ด้านการใช้จ่าย มูลค่าการส่งออกสินค้า การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการลงทุนรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.8 ร้อยละ 0.3 และร้อยละ 3.4 ตามลำดับ ด้านการผลิต สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม และสาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมบำรุง ขยายต้วร้อยละ 1.4 ร้อยละ 4.9 และร้อยละ 1.7 ตามลำดับ ขณะที่สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารและสาขาการขนส่งฯ ลดลงร้อยละ 14.4 และร้อยละ 2.9 ตามลำดับ รวมทั้งปี 2564 GDP อยู่ที่ 16.2 ล้านล้านบาท GDP ต่อหัวของคนไทย เฉลี่ยอยู่ที่ 232,176 บาทต่อคนต่อปี ส่วนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.2 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 2.2 ของ GDP
                    3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญประกอบด้วย (1) การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ (2) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว (3) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า และ (4) แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐจะขยายตัวร้อยละ 4.9 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.5 และ       ร้อยละ 3.8 ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5-2.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP
                    4. การบริหารเศรษฐกิจในปี 2565 ควรให้ความสำคัญประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ (1) การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ภายในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด (2) การสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลภาคเศรษฐกิจ โดยเร่งรัดติดตามมาตรการต่าง ๆ ให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่มีข้อจำกัดในการเข้าถึงและในสาขาเศรษฐกิจที่มีข้อจำกัดในการฟื้นตัว แก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานควบคู่ไปกับการพิจารณามาตรการเพื่อช่วยเหลือแรงงานเพิ่มเติม และเร่งรัดมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ภาคธุรกิจ (3) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภายในประเทศ เช่น การดูแลกลไกตลาดเพื่อแก้ไขและบรรเทาผลกระทบจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ และการพิจารณาการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ 2566 โดยให้ความสำคัญกับโครงการลงทุนที่มีวัตถุประสงค์ในการสร้างงานสร้างอาชีพในระดับชุมชน (4) การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน โดยให้ความสำคัญกับมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และมาตรการจูงใจในการชำระหนี้ (5) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า เช่น การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าสำคัญไปยังตลาดหลักควบคู่กับการสร้างตลาดใหม่และการแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อระบบการขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์             (6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน เช่น การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ               การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ (7) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ (8) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ และ (9) การขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ               เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สนับสนุนการกระจายรายได้ และปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

15. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม  ครั้งที่ 5/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ดังนี้
                    1. อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน โดยขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายงบประมาณของโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    2. อนุมัติให้กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่โดยภาครัฐและเอกชน (โครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ฯ) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็น สิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565
                    3. อนุมัติให้กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการปรับปรุง พัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร (โครงการปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ำฯ) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2565 และยกเลิกการดำเนินโครงการ 2 โครงการย่อย กรอบวงเงิน 16.5 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ดำเนินการดังกล่าวมีความซ้ำซ้อนกับภารกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    4. อนุมัติให้จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดสกลนครเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ/ยกเลิกโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019                พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) ตามข้อ 3 (4) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    5. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1 - 4 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จและปฏิบัติตามข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ พ.ศ. 2563) รวมทั้งดำเนินการตามความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของ คกง. โดยเคร่งครัด
                    6. มอบหมายให้กรมการจัดหางานเร่งดำเนินการเรียกคืนเงินจากทั้งลูกจ้างและสถานประกอบการเพื่อส่งคืนเงินกู้ (โครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ฯ) เนื่องจากกรณีลูกจ้างลาออกจากงานก่อนครบกำหนด และนายจ้างรายงานข้อมูลการออกจากงานให้กรมการจัดหางานล่าช้าภายหลังจากที่กรมการจัดหางานจ่ายเงินสมทบให้ลูกจ้างแล้ว จำนวน 0.2777 ล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นควรมอบหมายให้กรมการจัดหางานรับข้อสังเกตของ คกง. ในประเด็นการพิจารณารายละเอียดข้อมูลวันและเวลาการจ่ายเงินเดือนและการจัดทำรายงานของสถานประกอบการของลูกจ้าง จำนวน 39 ราย เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาแนวทางการเรียกคืนเงินดังกล่าวตามขั้นตอนต่อไป โดยในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการติดตามได้เห็นควรให้กรมการจัดหางานดำเนินการเรียกเงินคืนตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยในระหว่างที่ดำเนินการดังกล่าวไม่แล้วเสร็จ เห็นควรให้กรมการจัดหางานดำเนินการจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ และ              เร่งดำเนินการคืนเงินกู้เหลือจ่ายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ไปพลางก่อนได้
                    7. มอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่จะจัดทำข้อเสนอโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับโครงการ                    เราเที่ยวด้วยกัน จำเป็นต้องพิจารณานำบทเรียนที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการเราเที่ยวด้วยกันไปใช้ประกอบการปรับปรุงกระบวนการและวิธีการในการตรวจสอบเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารโครงการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คกง. รายงานว่า ที่ประชุม คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565              มีมติที่เกี่ยวกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
โครงการ/รายการ          มติคณะรัฐมนตรีเดิม          มติ คกง.
(1) โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ของ ททท.          สิ้นสุด
เดือนกุมภาพันธ์ 2565          ขยายระยะเวลาโครงการ
เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2565
- พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่จะจัดทำข้อเสนอโครงการที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับโครงการเราเที่ยวด้วยกัน รายละเอียดตามข้อ 7
(2) โครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ฯ ของกรมการจัดหางาน          สิ้นสุด
เดือนกุมภาพันธ์ 2565           ขยายระยะเวลาโครงการ
เป็นสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565
 - พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมการจัดหางานเร่งดำเนินการเรียกคืนเงินจากทั้งลูกจ้างและสถานประกอบการเพื่อส่งคืนเงินกู้ (โครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ฯ) เนื่องจากกรณีลูกจ้างลาออกจากงานก่อนครบกำหนด และนายจ้างรายงานข้อมูลการออกจากงานให้กรมการจัดหางานล่าช้าภายหลังจากที่กรมการจัดหางานจ่ายเงินสมทบให้ลูกจ้างแล้ว จำนวน 0.2777 ล้านบาท1 รวมทั้งรับข้อสังเกตของ คกง. ตามข้อ 6 ไปดำเนินการต่อไปด้วย
(3) โครงการปรับปรุง พัฒนาแหล่งน้ำฯ ของกรมทรัพยากรน้ำ (2 โครงการย่อย)
ระยะเวลาดำเนินโครงการ          สิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564          ขยายระยะเวลาโครงการ
เป็นสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2565
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมแหล่งน้ำฟาร์มตัวอย่าง          กรอบวงเงิน 9.5 ล้านบาท          ขอยกเลิกการดำเนินโครงการย่อย
จำนวน 2 โครงการ
กรอบวงเงินรวม 16.5 ล้านบาท ส่งผลให้
กรอบวงเงินของโครงการปรับปรุง
พัฒนาแหล่งน้ำฯ คงเหลือทั้งสิ้น
จำนวน 1810.03 ล้านบาท
(วงเงินอนุมัติ 1,826.530 ล้านบาท)
โครงการปรับปรุงซ่อมแซมแหล่งน้ำคลองไทร          กรอบวงเงิน 7 ล้านบาท
(4) โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก 2 จังหวัด ของกระทรวงมหาดไทย
จังหวัดเชียงใหม่ (1 โครงการ)
โครงการขยายผลการเกษตรตามแนวทฤษฎีใหม่ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้กับราษฎรอย่างยั่งยืน (โครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ บ้านดงเย็น หมู่ที่ 15 ตำบลบ้านแป๊ะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่)          กรอบวงเงิน 9.378                ล้านบาท          ยกเลิการดำเนินโครงการ
กรอบวงเงิน 9.378 ล้านบาท
จังหวัดสกลนคร (1 โครงการ)
โครงการเสริมสร้างศักยภาพแรงงานที่ประกอบอาชีพที่เป็นอันตรายต่อสาธารณะก้าวสู่ช่างมืออาชีพ          ระยะเวลาโครงการ
เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2564          ปรับระยะเวลาโครงการ
เป็นเดือนกุมภาพันธ์ - มีนาคม 2565
1เนื่องจากในระหว่างดำเนินโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่ฯ ได้มีกลุ่มลูกจ้างลาออกก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา แต่นายจ้าง/สถานประกอบการได้แจ้งให้กรมการจัดหางานทราบล่าช้า ทำให้กรมการจัดหางานได้มีการจ่ายเงินอุดหนุนในส่วนของลูกจ้างกลุ่มดังกล่าวแล้ว จึงจำเป็นต้องมีการติดตามเรียกคืนเงินอุดหนุนส่วนเกินคืนจากทั้งลูกจ้างและนายจ้าง/สถานประกอบการ จำนวน 0.2777 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากรมการจัดหางานได้ดำเนินการติดตามเรียกคืนเงินได้แล้วบางส่วน โดยคงเหลือที่อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 0.1356 ล้านบาท จากลูกจ้างจำนวน 39 ราย (ประมาณ 5,000 - 7,000 บาทต่อราย)

16. เรื่อง  สรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต.)                   ครั้งที่ 3/2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (กพต) ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการบริหารราชการจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2553 มาตรา 7 (6) ที่บัญญัติให้ กพต. มีอำนาจหน้าที่เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อคณะรัฐมนตรี] ตามที่                ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เสนอ โดยมีเรื่องสำคัญสรุปได้ ดังนี้

ประเภท/เรื่อง/ประเด็น          การดำเนินการ/ข้อสั่งการประธาน กพต./มติ กพต.
1. เรื่องเพื่อทราบ (1 เรื่อง)
การถ่ายโอนภารกิจจ้างวิทยากรผู้สอนภาษาไทยให้แก่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
          - การดำเนินการ : ให้ ศอ.บต. ถ่ายโอนภารกิจการจ้างวิทยากรผู้สอนภาษาไทยให้แก่กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. : ให้ ศอ.บต. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องขยายผลความสำเร็จไปยังกลุ่มเป้าหมายอื่นเป็นการเร่งด่วน โดยเฉพาะในเด็กเล็กช่วงวัย 4-7 ขวบ
มติ กพต. : รับทราบ
2. เรื่องติดตามความก้าวหน้าการดำเนินการตามข้อสั่งการประธาน กพต. (2 เรื่อง)
2.1 ความคืบหน้าการช่วยเหลือและพัฒนาแรงงานไทยในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้กลุ่มที่เดินทางกลับจากต่างประเทศภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)
          - การดำเนินการ : ขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ โดยเน้นการช่วยเหลืออำนวยความสะดวก สร้างงาน สร้างอาชีพ เพื่อให้มีรายได้ โดยดำเนินการใน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) ผู้ที่พร้อมไปทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมนอกพื้นที่ โดย ศอ.บต. ร่วมกับกระทรวงแรงาน (รง.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันดำเนิน ?โครงการเปิดพื้นที่ประเทศไทยรองรับแรงงานไทยที่กลับจากต่างประเทศ? ซึ่งเป็นการจัดส่งคนไปทำงานนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 3,448 คน 2) ผู้ที่ประสงค์จะประกอบอาชีพในภูมิลำเนาเดิม โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด และกรมประมงดำเนินการสร้างอาชีพทางเลือก และฝึกอบรมทักษะอาชีพเข้าสู่ตลาดแรงงาน รวมทั้งสิ้น 6,178  คน และ 3) การเตรียมความพร้อมเข้าสู่การทำงานภาคเกษตรประเภทสวนปาล์มในประเทศมาเลเซีย โดย ศอ.บต. ร่วมกับ รง. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.)  ให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสิทธิประโยชน์ การปฏิบัติตน การรักษาวินัย กฎหมายเกี่ยวกับแรงงานและการสาธารณสุขภายหลังจากสถานการณ์โรคโควิด-19 คลี่คลาย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือเพื่อพิจารณาทบทวนปรับปรุงบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจ้างแรงงานไทยระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลมาเลเซียให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. : มอบหมายให้ รง. กต. และ ศอ.บต. จัดระบบและอำนวยความสะดวกการทำงานในประเทศมาเลเซีย ปรับปรุงระเบียบกฎหมายที่ใช้บังคับให้เป็นปัจจุบัน เพื่อบริหารจัดการแรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและรองรับการเปิดประเทศ
มติ กพต. : รับทราบ
2.2 ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้          - การเนินการ : ศอ.บต. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินดำเนินการ 1) เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่จะมีการแพร่ระบาดสูงสุดในช่วงเดือนมกราคมของทุกปี โดยเน้นการประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนักรู้ของเกษตรกร ปรับปรุงสวนยางให้พ้นความเสี่ยงการแพร่เชื้อโรค ตลอดจนการดำเนินการตามมาตรการป้องกัน มาตรการเผชิญเหตุและการยับยั้งเชื้อ และมาตรการแก้ไขหรือฟื้นฟู และ 2) จัดประชุมคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจบูรณาการแก้ปัญหาโรคใบร่วงชนิดใหม่ในยางพาราในพื้นที่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อติดตามผลการดำเนินการ เช่น การดำเนินการอนุมัติโครงการพัฒนาอาชีพชาวสวนยางรายย่อยเพื่อความยั่งยืนสำหรับพื้นที่ที่เกิดโรคระบาด                การคัดเลือกพันธุ์ยางต้านทานโรค จำนวน 36 สายพันธุ์ และการให้ความช่วยเหลือ เยียวยาความเสียหายให้แก่เกษตรกรเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนและเป็นทุนสำหรับการฟื้นฟูสวนยาง
ข้อสั่งการของประธาน กพต. : ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว รวมทั้งให้คำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนโดยสูงสุด
มติ กพต. : รับทราบ
3. เรื่องเพื่อพิจารณา (8 เรื่อง)
3.1 การศึกษาแนวทางการมอบอำนาจให้เลขาธิการ ศอ.บต. ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการฯ พ.ศ. 2553          - ความเห็นที่ประชุม : ให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)               มีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการมอบอำนาจให้เลขาธิการ ศอ.บต. ตามมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการฯ พ.ศ. 2553 และเป็นอนุกรรมการในคณะอนุกรรมการจัดทำร่างระเบียบการมอบอำนาจให้เลขาธิการ ศอ.บต. เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนด้วย
- ข้อสั่งการของประธาน กพต. : ให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมมือดำเนินการตามนัยมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการฯ พ.ศ. 2553 ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์โดยเร็วด้วย
มติ กพต. : 1) เห็นชอบแนวทางการมอบอำนาจให้เลขาธิการ ศอ.บต. เป็นผู้ปฏิบัติราชการแทนตามมาตรา ๑๘ แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการฯ พ.ศ. 2553  2) เห็นชอบแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำ             ร่างระเบียบการมอบอำนาจให้เลขาธิการ ศอ.บต. เป็นผู้ปฏิบัติราชการแหน ตามนัยมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารราชการฯ พ.ศ. 2553 และ 3) เห็นชอบให้พิจารณาแนวทางการจัดตั้งศูนย์ประสานงานบริการแบบเบ็ดเสร็จตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 สำหรับเป็นศูนย์บริการร่วมและศูนย์รับคำขออนุญาตในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมอบหมายให้ ศอ.บต. ร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. ศึกษาความเป็นไปได้ และปรึกษาการทำงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
3.2 กรอบการบูรณาการขับเคลื่อนขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ภายใต้แนวคิดจัดข้าราชการรับผิดชอบครัวเรือนยากจน          - ข้อสั่งการของประธาน กพต. : ให้ทุกหน่วยงานนำกรอบการบูรณาการและประสานจังหวัด เพื่อนำฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า                (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) เป็นกลุ่มเป้าหมายในการขับเคลื่อนแผนงาน/โครงการ โดยเฉพาะผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และมอบหมายเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ทั้งระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ร่วมกันรับผิดชอบให้เห็นผลการช่วยเหลือที่เป็นรูปธรรม
- มติ กพต. : เห็นชอบกรอบการขับเคลื่อนงานขจัดความยากจนฯ โดยมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน 5 มิติ และให้กระทรวง กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้แผนงานบูรณาการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมกันขับเคลื่อนให้เกิดผลสำเร็จที่เป็นรูปธรรม
3.3 โครงการขยายพื้นที่ปลูกไม้เศรษฐกิจและไม้ผลเศรษฐกิจเพื่อสร้างความยั่งยืนทางด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2565-2570
          - ข้อสั่งการของประธาน กพต. : ให้ส่วนราชการร่วมกันทำงานอย่างเต็มที่และให้สำนักงบประมาณ (สงป.) และ สมช. สนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการด้วย
- มติ กพต. : 1) เห็นชอบหลักการโครงการขยายพื้นที่ปลูกไม้เศรษฐกิจและไม้ผลเศรษฐกิจฯ 2) เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปรับแผนงานโครงการ กิจกรรม และงบประมาณที่ได้รับจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สนับสนุนโครงการดังกล่าว และ 3) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มท. และ ศอ.บต. จัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2570 เพื่อสนับสนุนโครงการขยายพื้นที่ปลูกไม้เศรษฐกิจและไม้ผลเศรษฐกิจฯ
3.4 โครงการยกระดับการพัฒนาพื้นที่เมืองต้นแบบเบตง จังหวัดยะลา ?Amazean Jungle Trail?          - ข้อสั่งการของประธาน กพต. : ให้ ศอ.บต. และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) วางแผนการจัดโครงการกีฬาระดับโลกอื่น ๆ รวมทั้งการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่เพิ่มเติมด้วย
- มติ กพต.: 1) เห็นชอบหลักการโครงการยกระดับฯ โดยให้ กก. เป็นหน่วยงานหลักบูรณาการร่วมกับ ศอ.บต. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและจังหวัดยะลา ในการดำเนินโครงการดังกล่าว 2) เห็นชอบหลักการการขอใช้พื้นที่ตามเส้นทางที่ กก. ดำเนินการสำรวจและจัดทำร่างแผนที่เส้นทางการแข่งขัน ซึ่งจำเป็นต้องวิ่งข้ามแดนระหว่างไทยกับประเทศมาเลเซีย รวมทั้งเส้นทางในเขตป่าสงวนโดยไม่ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3) ให้ กต. ประสานงานกับประเทศมาเลเซียในการร่วมจัดการแข่งขันและขอใช้พื้นที่ตามเส้นทางที่ กก. ดำเนินการสำรวจและจัดทำร่างแผนที่เส้นทางการแข่งขัน และ 4) มอบหมายให้ กก. และ ศอ.บต. ปรับแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม และงบประมาณที่ได้รับจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สนับสนุนโครงการยกระดับฯ
3.5 โครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะบริเวณปากน้ำเทพา ตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา          - ข้อสั่งการของประธาน กพต. : ให้ส่วนราชการให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชน การปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การให้ข้อมูล และการแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนที่อาจจะเกิดขึ้นด้วย
มติ กพต. : 1) เห็นชอบหลักการโครงการก่อสร้างฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2568 และ 2) มอบหมายให้กรมเจ้าท่าจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2568 วงเงินไม่เกิน 270 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนโครงการก่อสร้างฯ
3.6 โครงการนำเรือประมงออกนอกระบบเพื่อการจัดการทรัพยากรประมงทะเลที่ยั่งยืนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นกรณีเร่งด่วน เรือชุดที่ 1          ข้อสั่งการของประธาน กพต. : ให้ทุกส่วนราชการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบอาชีพธุรกิจประมงตามปัญหาความเดือดร้อนที่ ศอ.บต. สำรวจไว้
มติ กพต. : 1) เห็นชอบกรอบวงเงินช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเรือประมง                ชุดที่ 1ภายใต้โครงการนำเรือประมงฯ จำนวน 104 ลำ และการจัดทำปะการังเทียมพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมวงเงินไม่เกิน 298 ล้านบาท โดยให้ความเห็นชอบใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นและให้ ศอ.บต. กรมประมง กรมเจ้าท่า และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการนำเรือประมงฯ และ 2) ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการนำเรือประมงฯ จัดทำคำของบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และปีงบประมาณถัดไป เพื่อดำเนินการสำหรับเรือประมงในพื้นที่จังหวัด (จังหวัดสงขลา สตูล และนราธิวาส) โดยต่อเนื่องอีก 318 ลำให้เสร็จสิ้นตามเป้าหมาย
3.7 โครงการพัฒนาศักยภาพด่านศุลกากรชายแดนไทย-มาเลเซีย (9 ด่าน) เพื่อยกระดับการค้าชายแดนและความร่วมมือในมิติต่าง ๆ
          ข้อสั่งการของประธาน กพต. : ให้ส่วนราชการทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่และให้ สงป. และ สมช. สนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการ รวมถึงให้ กต. รายงานให้ที่ประชุมทราบความคืบหน้าการเจรจาเรื่องจุดเชื่อมผ่านด่านระหว่างด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่กับด่านบูกิตกายูฮีตัมของประเทศมาเลเซีย
- มติ กพต. : 1) เห็นชอบหลักการโครงการการพัฒนาฯ กรอบวงเงินงบประมาณรวมไม่เกิน 332.63 ล้านบาท [โครงการพัฒนาและยกระดับสมรรถนะห้องปฏิบัติการชีวโมเลกุลด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ (ด่านพรมแดน) ต้นแบบ ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสงขลา และนราธิวาส จำนวน 16.09 ล้านบาท และโครงการจัดซื้อที่ดินเพื่อการขยายด่านบูเก๊ะตา จังหวัดนราธิวาส งบประมาณ 316.53 ล้านบาท] และ 2) ให้กระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค) และกระทรวงการคลัง (กค.) (กรมศุลกากร) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการปรับแผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อดำเนินโครงการพัฒนาฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
3.8 การขอทบทวนมติ กพต. เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 เรื่อง การพิจารณาให้ความช่วยเหลือด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนกรณีครอบครัวนายอับดุลเลาะ อีซอมูซอ และมติ กพต. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2563เรื่อง การให้ความช่วยเหลือเยียวยากรณีราษฎรเสียชีวิตจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ 3 ศพ บนเทือกเขาตะเว ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส          - มติ กพต.: เห็นชอบให้ทบทวนมติ กพต. เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 และมติ กพต. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 โดยให้ ศอ.บต. เป็นหน่วยรับผิดชอบแทนกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในการเบิกจ่ายทุนการศึกษารายปี และเงินยังชีพรายเดือนให้แก่ผู้ได้รับความเสียหายและผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยเทียบเคียงหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2548 และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้กับบุตรของนายอับดุลเลาะฯ และบุตรของนายบูดีมัน มะลี จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ทั้งนี้ อายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ และให้มีผลตั้งแต่ได้รับการอนุมัติตามมติ กพต. เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2562 และมติ กพต. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2563 ตามลำดับ


17. เรื่อง ขอรับความอนุเคราะห์ในการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไปดำเนินการตามที่เสนอ วงเงินงบประมาณ จำนวน 2,000,000,000.00 บาท (สองพันล้านบาทถ้วน) ตามที่ กษ. เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน คือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 โดยใช้เงินงบประมาณที่เหลืออยู่ ซึ่งกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรได้ใช้จ่ายงบประมาณที่มีอยู่เป็นไปตามแผนงานปี 2565 แต่งบประมาณไม่เพียงพอ                       ในการดำเนินงานจึงมีความจำเป็นต้องเสนอของบกลางเป็นการเร่งด่วน เป็นเงินจำนวน  2,000,000,000.00 บาท                  (สองพันล้านบาทถ้วน) ดังนี้
                    1. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารสำนักงาน ไตรมาสที่ 3 - 4 (งบบุคลากร งบดำเนินงาน) งบประมาณ 230,382,500.00 บาท
                    2. การแก้ไขปัญหาหนี้ งบประมาณจำนวน 1,500,000,000.00 บาท เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 3,425 ราย
                    3. การฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร งบประมาณจำนวน 269,617,500.00 บาท เกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 42,034 ราย 776 องค์กร
                    ทั้งนี้ กองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจัดตั้งโดยพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 มีวัตถุประสงค์ 1) ส่งเสริมและสนับสนุนการรวมกลุ่มของเกษตรกรในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการแก้ไขปัญหาของเกษตรกร 2) ส่งเสริมและสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกร 3) พัฒนาความรู้ในด้านเกษตรกรรมหรือกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรเกษตรกร               4) พัฒนาศักยภาพในการพึ่งพาตนเองและเกื้อกูลซึ่งกันและกันระหว่างเกษตรกร และแก้ไขปัญหาหนี้ของเกษตรกร

18. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 8)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) (ฉบับที่ 8) ตามที่ สธ. เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) (ฉบับที่ 8) มีสาระสำคัญดังนี้
                    1. กำหนดให้ยกเลิกความในข้อ 4 แห่งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19)) และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                    ?สถานพยาบาลจะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามระดับกลุ่มอาการของผู้ป่วย ในช่วงเวลานับแต่รับผู้ป่วยตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลอื่น ในบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้
                    กรณีสถานพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยไปรับการดูแลรักษายังสถานพยาบาลอื่นตามข้อ 3 (1) หากผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยปฏิเสธไม่ขอให้ส่งต่อ หรือกรณีผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วย ประสงค์จะไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลอื่นตามข้อ 3 (3) ผู้ป่วยต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง?
                    2. กำหนดให้ยกเลิกบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19)) (ฉบับที่ 2) ถึง (ฉบับที่ 7) และให้ใช้บัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้แทน
                    3. กำหนดให้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2565
เป็นต้นไป
                    4. กำหนดให้สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยก่อนวันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ใช้บังคับให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID -19)) (ฉบับที่ 2) ถึง (ฉบับที่ 7)
                    ให้สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยนับแต่วันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้มีผลใช้บังคับ ให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้
                    5. กำหนดให้เพิ่มหมายเหตุท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ความดังต่อไปนี้
                              (1) รายการที่ไม่ปรากฏในรายการข้างตัน อนุโลมให้ใช้ราคาเบิกจ่ายโครงการ UCEP
                              (2) ยา Favipiravir เบิกจากกระทรวงสาธารณสุข
                              (3) ค่าพาหนะส่งต่อผู้ป่วยให้เป็นไปตามคู่มือแนวทางปฏิบัติในการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                              (4) ยา Remdesivir 100 mg inj. ให้เบิกจากกระทรวงสาธารณสุข
                              (5) กรณีผู้ป่วยระดับกลุ่มอาการสีเขียว ให้เบิกเฉพาะรายการ ?ค่าบริการเหมาจ่ายสำหรับการดูแลการให้บริการผู้ป่วยโควิด 19 สำหรับผู้ป่วยสีเขียว กรณี Home Isolation, Community Isolation,              Hotel Isolation, Hospitel, โรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม (ค่ายาพื้นฐาน ค่าบริการพยาบาลทั่วไป ค่าติดตามอาการ ค่าให้คำปรึกษาของแพทย์ ค่า PPE ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าอาหาร 3 มื้อ รวมถึงค่าที่พักกรณี                     Hotel Isolation , Hospitel , โรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม)?
                    6. การใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19)) ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19)) (ฉบับที่ 2) ถึง (ฉบับที่ 7) ก่อนวันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้และให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้

ต่างประเทศ
19. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย ครั้งที่ 6
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Meeting of the Ministers of Foreign Affairs of the on Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia: CICA)  ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 11-12 ตุลาคม 2564 ณ กรุงนูร์-ซุลตัน สาธารณรัฐคาซัคสถาน (คาซัคสถาน) โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศคาซัคสถานเป็นประธาน CICA [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (5 ตุลาคม 2564) เห็นชอบร่างเอกสารที่จะรับรองโดยที่ประชุม CICA จำนวน 5 ฉบับ และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนพิเศษของรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน  ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรับรองเอกสารดังกล่าวตามที่ กต. เสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารที่จะรับรองดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ให้ กต. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว] ซึ่งการประชุมดังกล่าวมีคณะผู้แทนจากประเทศสมาชิก CICA และองค์การระหว่างประเทศเข้าร่วม [สำหรับไทย รองนายกรัฐมนตรี (นายดอนฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มอบหมายให้เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงนูร์-ซุลตัน (เรือเอก ชัชวรรณ สาครสินธุ์) เป็นผู้แทนพิเศษเข้าร่วมการประชุมฯ] โดยมีแนวคิดหลักของการประชุมฯ คือ ?ความมั่นคงและการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียในสถานการณ์ใหม่ ๆ ของโลกยุคหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)? และได้มีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงประเด็นการรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ ด้วย ดังนี้
                    1. เอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ ที่ได้รับรองเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ (1) ข้อบังคับการประชุมของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (2) แนวปฏิบัติมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย                    (3) ระเบียบว่าด้วยสภาผู้ทรงคุณวุฒิของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย และ (4) กฎระเบียบการประชุมคลังสมองของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย [โดยเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ ในข้อ (2) และข้อ (4) มีการปรับเปลี่ยนเอกสารเพียงเล็กน้อยในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย]
                    2. เอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ที่ไม่สามารถบรรลุฉันทามติร่วมกันได้ จำนวน 1 ฉบับ ได้แก่               ?ร่างปฏิญญาการประชุม CICA ครั้งที่ 6? เนื่องจากประเทศสมาชิกไม่สามารถประนีประนอมกันได้ในหลายประเด็น เช่น รูปแบบของความร่วมมือของพหุภาคี ความปลอดภัยของข้อมูล การตรวจสอบแหล่งที่มาของเชื้อโรคโควิด-19 แนวทางการพัฒนาโลก สถานการณ์ในตะวันออกกลาง ดังนั้น ประธาน CICA จึงได้เสนอขอปรับรูปแบบของเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ เป็นถ้อยแถลงของประธาน CICA ซึ่งมีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. ด้านความมั่นคง          - การร่วมกันพัฒนา CICA เพื่อให้ดำเนินการตามแนวทางฉันทามติที่มีประสิทธิผลเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือบนพื้นฐานของการเคารพในหลักการความเสมอภาคแห่งอธิปไตย บูรณภาพแห่งดินแดน ความเป็นอิสระทางการเมือง การไม่แทรกแซงกิจการภายใน
- การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน และกฎหมายระหว่างประเทศ
- การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบพหุภาคีแบบเป็นตัวแทนที่ยุติธรรมและยั่งยืน เพิ่มมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และปฏิเสธแรงกดดันทางการเมืองและเศรษฐกิจโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อรัฐสมาชิกใด ๆ
- การเน้นย้ำถึงผลกระทบของการก่อการร้าย การแบ่งแยกดินแดน และความสุดโต่ง รวมไปถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชน วิกฤตทางการเงิน และความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม
- การให้ประเทศสมาชิกทั้งหมดปฏิบัติตามพันธกรณีด้านการควบคุมอาวุธ การลดอาวุธ และการไม่แพร่ขยายอาวุธ โดยคำนึงถึงภัยคุกคามในวงกว้างที่เกี่ยวข้องกับอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง รวมถึงตระหนักถึงคุณประโยชน์ของเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียกลางและความสำคัญของการรับรองความปลอดภัยและความมั่นคงของกิจกรรมในห้วงอวกาศส่วนนอก และให้ใช้แนวทางที่ครอบคลุมในการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้าย
- การส่งเสริมการพัฒนาความเป็นสถาบันของ CICA และการดำเนินมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในทางปฏิบัติ รวมถึงการบรรจุมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจใหม่ด้านความปลอดภัยทางระบาดวิทยา และการรักษาความปลอดภัยและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
- การจัดการหารืออย่างมีแบบแผนเกี่ยวกับการยกระดับ CICA ให้เป็นองค์กรระหว่างประเทศเพื่อความมั่นคงและความร่วมมือระดับภูมิภาคในเอเชีย
2. การเมืองระหว่างประเทศ
          - การฟื้นฟูสันติภาพและการพัฒนาเศรษฐกิจในสาธารณรัฐอัฟกานิสถาน (อัฟกานิสถาน) บนพื้นฐานของกระบวนการเจรจาทางการเมืองที่ครอบคลุม รวมถึงการจัดการกับสถานการณ์ด้านมนุษยธรรมและการรักษาไว้ซึ่งสิทธิมนุษยชน สิทธิสตรี เด็ก และชนกลุ่มน้อยในอัฟกานิสถาน
- การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและปาเลสไตน์บนพื้นฐานของการแก้ปัญหาของสองรัฐ โดยมีความจำเป็นต้องเจรจาทวิภาคีโดยตรงระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐของอิสราเอลและปาเลสไตน์
3. ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนา          - การตระหนักถึงความท้าทายเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคโควิต-19 และความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศในการก้าวข้ามผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลกจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
- การดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของสหประชาชาติและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากร แบ่งปันแนวปฏิบัติด้านการพัฒนาสากลที่เป็นเลิศ และส่งเสริมการพัฒนาระดับโลกที่เข้มแข็ง ดีต่อสุขภาพ และยั่งยืน
- การเสริมสร้างความร่วมมือในการปกป้องสิ่งแวดล้อม การบรรเทา และการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน การเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้พลังงานที่ยั่งยืน การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และส่งเสริมประชาคมแห่งชีวิตเพื่อมนุษย์ และธรรมชาติ และความจำเป็นในการผลักดันนโยบายให้เป็นรูปธรรม
- การเน้นย้ำความสำคัญของเศรษฐกิจดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล และการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การปรับใช้และบูรณาการเทคโนโลยีดีจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ การลดความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัล และการสร้างขีดความสามารถของบุคลากรด้านดิจิทัลเพื่อรับมือกับผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการอำนวยความสะดวกในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
- การเน้นย้ำถึงความสำคัญเชิงกลยุทธ์ของความเชื่อมโยงเพื่อการค้าและการพัฒนา และการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก เช่น การพัฒนาระเบียงคมนาคมขนส่ง การขนส่งหลากหลายรูปแบบและศูนย์โลจิสติกส์ และการส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบดิจิทัลของการขนส่ง
- การยึดมั่นต่อระบบการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้าง โปร่งใส ไม่เลือกประติบัติครอบคลุม และยึดกฎเป็นพื้นฐานโดยมีองค์การการค้าโลก (World Trade Organisation: WTO) เป็นแกนหลัก ทั้งนี้ มีการผลักดันการประชุมระดับรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 12 อย่างจริงจัง
4. ด้านสังคม วัฒนธรรม และอื่น ๆ
          - การสนับสนุนการกระชับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรม การพัฒนาการหารือระหว่างอารยธรรม การส่งเสริมความร่วมมือในด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ระหว่างประเทศสมาชิก
- การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือด้านกีฬาระหว่างประเทศสมาชิกและต่อต้านการใช้กีฬาเป็นเครื่องมือทางการเมือง
- การเข้ามาของเติร์กเมนิสถานเพื่อเป็นผู้สังเกตการณ์ของ CICA

20. เรื่อง รายงานความก้าวหน้าโครงการอาคารแสดงประเทศไทย งาน World Expo 2020 Dubai
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอรายงานความก้าวหน้าโครงการอาคารแสดงประเทศไทย งาน World Expo 2020 Dubai [ในช่วง 3 เดือนแรกของการจัดแสดงงาน (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564)] โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564- 31 มีนาคม 2565 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (17 กรกฎาคม 2561) ที่เห็นชอบในหลักการแผนการดำเนินงานและกรอบงบประมาณเพื่อใช้จัดงานนิทรรศการ World Expo 2020 Dubai วงเงิน 950.53 ล้านบาท และมติคณะรัฐมนตรี (3 สิงหาคม 2564) รับทราบรายงานความก้าวหน้าโครงการอาคารแสดงประเทศไทยฯ และสถานะงบประมาณที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการจัดงาน เนื่องจากการเลื่อนกำหนดจัดงาน โดยให้พิจารณาจากแหล่งเงินอื่น เช่น เงินจากภาคเอกชนสมทบ   (ซึ่งต่อมาได้รับสนับสนุนจากภาคเอกชนครอบคลุมค่าใช้จ่ายดังกล่าว เป็นเงิน 12.48 ล้านบาท)] ซึ่งอาคารแสดงประเทศไทยได้เปิดจัดแสดงอย่างเป็นทางการแล้ว เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานในพิธีเปิด สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. ภาพรวมโครงการฯ
                    1.1 ตั้งแต่วันเปิดอาคารแสดงประเทศไทย มีผู้เข้าชมแล้วทั้งสิ้น 713,945 คน (ข้อมูล                ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564) เฉลี่ยวันละ 7,760 คน โดยความนิยมของผู้เข้าชมอาคารแสดงดังกล่าวอยู่ในลำดับที่ 1             ในโชน Mobility และเป็นลำดับที่ 4 จากอาคารจัดแสดงระดับประเทศทั้งหมดในงาน World Expo 2020 Dubai
                    1.2 อาคารแสดงประเทศไทยได้รับความสนใจจากทั้งสื่อไทยและสื่อต่างประเทศ โดยมีองค์ประกอบสำคัญ  3 ประการ ดังนี้
                                        (1) เนื้อหาและรูปแบบการนำเสนอของนิทรรศการภายในอาคารทั้ง 4 ห้อง              ซึ่งนำเสนอความงดงามของศิลปวัฒนธรรมไทย การเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงภูมิภาคและพัฒนาการของไทย                พระอัจฉริยภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ และการต่อยอดความพร้อมจากรากฐานที่ดีของประเทศไทย                  เพื่อขับเคลื่อนสู่อนาคต
                                        (2) ความนิยมของร้านอาหารไทย ได้คัดเลือกผู้ประกอบการร้านอาหารไทยที่มีประสบการณ์ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งร้านอาหารไทยได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และชาวต่างชาติอย่างต่อเนื่อง โดยมีลูกค้ารวมแล้วกว่า 40,000 คน หรือประมาณร้อยละ 5 ของ              ผู้เข้าชมอาคารทั้งหมด
                                        (3) การแสดงประจำวันบริเวณเวทีหน้าอาคารแสดงประเทศไทย จำนวน 4 ชุด ได้แก่ การแสดงชุด Thai Fighting Spirit การแสดงชุด Thai Rhythm การแสดงชุด Thai Miracle และการแสดงชุด Loy Krathong
                    2. กิจกรรมที่สำคัญ
                              2.1 จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมไทย เช่น การแสดงมวยไทยประยุกต์ร่วมกับเกมและแอนิเมชัน                  การแสดงสี่ภาคผสมจังหวะดนตรีที่ทันสมัย และการแสดงโขน
                              2.2 จัดกิจกรรมตามเทศกาลต่าง ๆ เช่น เทศกาลอาหารไทยและสุขภาพ เทศกาลลอยกระทง และงานวันชาติไทย
                    2.3 จัดกิจกรรมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เช่น กิจกรรมเฉลิมฉลองครบรอบ 45 ปี  การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกิจกรรมวันอาเซียน
                    2.4 รับรองบุคคลสำคัญระดับราชวงศ์ ระดับรัฐบาล และองค์การระหว่างประเทศ เช่น                (1) Princess Sora bint Saud Al-Saud ราชอาณาจักรชาอุดิอาระเบีย (2) รัฐมนตรีแห่งรัฐว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ (3) เลขาธิการสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
                    3. แผนงานกิจกรรมในช่วง 3 เดือนหลัง (เดือนมกราคม-มีนาคม 2565)
          มีกำหนดจัดกิจกรรมเพื่อแสดงศักยภาพด้านต่าง ๆ ของไทย เช่น เทศกาลดิจิทัลและนวัตกรรม        (เช่น นำเสนอโครงการเน็ตประชารัฐ สินค้าและบริการของดิจิทัล สตาร์ทอัพไทย และนวัตกรรมสินค้าฮาลาล) เทศกาลพลังงานและสิ่งแวดล้อม (เช่น นำเสนอนวัตกรรมด้านพลังงานแห่งอนาคต) สัปดาห์เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย และผลิตภัณฑ์ของไทย (เช่น มวยไทย นวดไทย และอาหารไทย) และเทศกาลแห่งความสุข (นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรตามฤดูกาล)

21. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ พณ. สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทน ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
                    4. เห็นชอบผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติเป็นผู้แทนไทยเข้าร่วมเป็นกรรมการบริหารของศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
[จะมีการลงนวมในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างวันที่ 16 - 17 มีนาคม 2565]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 16 เมื่อเดือนกันยายน 2562 ณ กรุงเทพมหานคร สาธารณรัฐเกาหลีได้เสนอเอกสารการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (ASEAN-Korea Industrial Innovation Center: AKIIC) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือด้านนวัตกรรมอุตสาหกรรม รวมทั้งการนำเทคโนโลยีไปใช้ในเชิงพาณิชย์ระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี ต่อมาในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 33 เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 ที่ประชุมเห็นพ้องให้มีการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี โดยมอบหมายให้คณะทำงานร่วม (Joint Working Group) ระหว่างอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีหารือในการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว โดยคณะทำงานร่วมฯ ได้มีการหารือเกี่ยวกับบันทึกความเข้าใจฯ เป็นระยะ และสามารถสรุปผลการขัดเกลาถ้อยคำทางกฎหมายเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 สำนักเลขาธิการอาเซียนจึงได้เวียนร่างบันทึกความเข้าใจฯ ให้ภาคีสมาชิกเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะมีการลงนามต่อไป
                    2. การจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKIIC) ซึ่งเป็นข้อเสนอของสาธารณรัฐเกาหลีในฐานะประเทศหนึ่งที่มีความโดดเด่นและมีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม จะช่วยเสริมสร้างความร่วมมือและเพิ่มขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมอุตสาหกรรมเพื่อยกระดับการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลีให้มากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ของไทย โดยการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะนำไปสู่การดำเนินโครงการความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมต่อไป
                    3. ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์ของศูนย์ฯ          มุ่งเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี ในความร่วมมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมอุตสาหกรรม โดยการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนอย่างแข็งขัน
ที่ตั้งของศูนย์ฯ          ศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKIIC) จะตั้งอยู่ ณ สาธารณรัฐเกาหลี (ประเทศเจ้าภาพ)
หน้าที่ของศูนย์ฯ          เสริมสร้างความร่วมมือด้านเทคโนโลยีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับสาธารณรัฐเกาหลี รวมถึงการถ่ายทอดเทคโนโลยี ส่งเสริมการเชื่อมโยงเทคโนโลยีด้านอุตสาหกรรมและการนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ การจัดสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการต่าง ๆ
โครงสร้างของศูนย์ฯ          - ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหาร เลขาธิการ และเจ้าหน้าที่ รวมทั้งคณะที่ปรึกษา               ซึ่งอาจพิจารณาจัดตั้งภายหลัง
- คณะกรรมการบริหาร 11 คน โดยแต่ละภาคีสมาชิกจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่อาวุโสของแต่ละภาคีสมาชิก 1 คน เป็นกรรมการบริหาร
- คณะกรรมการบริหารจะแต่งตั้งกรรมการบริหาร 1 คนจากคณะกรรมการบริหารเป็นประธานกรรมการบริหารโดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 1 ปี
- เลขาธิการจะได้รับการเสนอชื่อโดยภาคีสมาชิก และคัดเลือกโดยคณะกรรมการบริหาร ทั้งนี้ เลขาธิการมีวาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี และเลขาธิการจะต้องไม่เป็นบุคคลสัญชาติเดียวกันกับประธานกรรมการบริหาร
สถานะทางกฎหมายของศูนย์ฯ          ศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKIIC) มีสถานะเป็นนิติบุคคล และมีความสามารถในการทำนิติกรรมต่าง ๆ
หน้าที่ของประเทศเจ้าภาพสิทธิประโยชน์และความคุ้มกัน          - สาธารณรัฐเกาหลี (ประเทศเจ้าภาพ) จะจัดสรรพื้นที่สำนักงานสำหรับศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKIIC) และรับผิดชอบค่าเช่าพื้นที่สำนักงานดังกล่าว
- สาธารณรัฐเกาหลี (ประเทศเจ้าภาพ) จะมอบเอกสิทธิ์และความคุ้มกันให้แก่ศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKIIC) เลขาธิการและเจ้าหน้าที่ตามความเหมาะสม
- สิทธิประโยชน์และความคุ้มกันอาจจำเป็นสำหรับการปฏิบัติหน้าที่และจะเป็นไปตามข้อตกลงแยกอีกฉบับระหว่างศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKIIC) กับสาธารณรัฐเกาหลี (ประเทศเจ้าภาพ
ขอบเขตความร่วมมือ          - จัดตั้งกรอบแนวทางทั่วไปสำหรับความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือด้านนวัตกรรมอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีระหว่างภาคีสมาชิก
- ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ในสาขาที่สนใจร่วมกัน
- ดำเนินโครงการร่วมสำหรับการวิจัยและพัฒนา การให้คำปรึกษาทางเทคนิคการถ่ายทอดและความร่วมมือทางเทคโนโลยี การนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และการจัดสัมมนานานาชาติ
กิจกรรมและโครงการ          - สร้างแพลตฟอร์มเพื่ออำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ระหว่างอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี
- สนับสนุนแผนงานการให้คำแนะนำทางเทคโนโลยีอุตสาหกรรมสำหรับภาคเอกชนที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคอาเซียน
- สนับสนุนการสร้างเครือข่ายและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน
- สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาร่วมด้านนวัตกรรมอุตสาหกรรมระหว่างภาคีสมาชิก
- การแบ่งปันและการวางแนวนวัตกรรมทางอุตสาหกรรมเพื่อรับมือต่อความต้องการและประเด็นระดับโลกล่วงหน้า
ความร่วมมือของศูนย์ฯ กับหน่วยงานอื่น          - สถาบันเพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีแห่งเกาหลี (Korean Institute for Advancement of Technology : KIAT) อำนวยความสะดวกและประสานงานในการปฏิบัติงานของสาธารณรัฐเกาหลีต่อกิจกรรมและโครงการของศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKIIC)
- สำนักเลขาธิการอาเซียนอำนวยความสะดวกและประสานงานความร่วมมือของประเทศสมาชิกอาเซียน
งบประมาณ          - ประเทศที่เสนอโครงการจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใด ๆ ภายใต้บันทึกความเข้าใจ
- สาธารณรัฐเกาหลีจะรับผิดชอบ (1) ค่าดำเนินการศูนย์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลี (AKIIC) รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรที่จ้างโดยศูนย์ฯ อาทิ เลขาธิการและเจ้าหน้าที่ของศูนย์ และ (2) ค่าใช้จ่ายในการวางแผนและดำเนินโครงการ อาทิ การถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ดำเนินการโดยสาธารณรัฐเกาหลี และกิจกรรมการสร้างเครือข่าย
การมีผลใช้บังคับ          - เมื่อมีการลงนามบันทึกความเข้าใจแล้ว จะจัดเก็บเอกสารต้นฉบับไว้ที่สำนักเลขาธิการอาเซียนและกระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐเกาหลี โดยประเทศสมาชิกอาเซียนจะได้รับสำเนาบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อดำเนินกระบวนการภายในในการให้สัตยาบันต่อไป
- บันทึกความเข้าใจจะมีผลบังคับใช้ 30 วัน หลังจากวันที่ภาคีสมาชิกประเทศสุดท้ายนำฝากตราสารการให้สัตยาบัน การให้ความเห็นชอบ หรือการยอมรับ กับสำนักเลขาธิการอาเซียน
22.  เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) (Memorandum of Understanding between The Government of the Kingdom of Thailand and The Government of the Lao People's Democratic Republic Regarding Cooperation on the Development of Electrical Energy in the Lao People's Democratic Republic)
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว และให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่ผู้ลงนาม โดยวิธีการลงนามแบบเสมือนจริง (Virtual Signing Ceremony)
                    ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ พน. นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พน. รายงานว่า
                    1. กพช. ในคราวประชุม ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 มีมติเห็นชอบการขยายกรอบปริมาณรับซื้อไฟฟ้าภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและ สปป.ลาว เรื่อง ความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว จาก 9,000 เมกะวัตต์ เป็น 10,500 เมกะวัตต์ เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี พ.ศ. 2608 ของประเทศไทย และสอดคล้องกับข้อเสนอของ สปป.ลาว ซึ่งเป็นการปิดความเสี่ยงในการขยายกรอบปริมาณรับซื้อไฟฟ้าภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ในอนาคต และเป็นการรักษาความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ ไฟฟ้าจากพลังน้ำมีต้นทุนต่ำกว่าพลังงานสะอาดเภทอื่น จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมอัตราค่าไฟฟ้าของประเทศในอนาคตเมื่อประเทศไทยมีระดับการใช้พลังงานเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้ การขยายกรอบดังกล่าวอยู่ภายใต้กรอบความมั่นคงทางพลังงานที่กำหนดให้รับซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ประเทศใดประเทศหนึ่งได้ไม่เกินร้อยละ 13 ของกำลังการผลิตทั้งหมดในระบบ
                    2. เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2565 คณะทำงานพิจารณากรอบบันทึกความเข้าใจความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ฝ่ายไทย) ซึ่งมีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ได้จัดประชุมหารือทวิภาคีกับคณะผู้แทนของฝ่าย สปป.ลาว ซึ่งมีปลัดกระทรวงพลังงานและบ่อแร่ (นายเพ็ดสะหวัน รัตตะนะธงไช) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนของฝ่าย สปป.ลาว เพื่อร่วมกันพิจารณากรอบร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในหลักการที่จะขยายกรอบปริมาณรับซื้อไฟฟ้าภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างไทยและ สปป.ลาว เรื่องความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าใน สปป.ลาว จาก 9,000 เมกะวัตต์ เป็น 10,500 เมกะวัตต์ และเห็นชอบในสารัตถะ ถ้อยคำ และเนื้อหาของร่างบันทึกความเข้าใจฯ (ตามข้อ 1) รวมถึงเห็นชอบร่วมกันที่จะให้มีการลงนามร่วมกันในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างทั้งสองประเทศอย่างเป็นทางการ โดยวิธีการลงนามแบบเสมือนจริง (Virtual Signing Ceremony) เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างทั้งสองประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
          3. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ          รายละเอียด
การขยายกรอบปริมาณรับซื้อไฟฟ้า          ขยายความร่วมมือด้านพลังนไฟฟ้าจากปริมาณกำลังการผลิตเดิม 9,000 เมกะวัตต์ โดยเพิ่มปริมาณกำลังการผลิตขึ้นอีก 1,500 เมกะวัตต์ รวมเป็นปริมาณกำลังการผลิตใหม่ประมาณ 10,500 เมกะวัตต์ สำหรับขายพลังงานไฟฟ้าให้กับราชอาณาจักรไทย
แนวทางการดำเนินการ          ให้การไฟฟ้าฝ้ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ/หรือหน่วยงานของประเทศไทยอื่น ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นผู้รับผิดชอบการซื้อขายไฟฟ้าและพิจารณาความร่วมมือในการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการใน สปป.ลาว ให้สอดคล้องกับแผนการพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย รวมไปถึงการพัฒนาระบบสายส่งไฟฟ้าในเชิงเทคนิคให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสำหรับการส่งผ่านไฟฟ้าจาก สปป.ลาว สำหรับเงื่อนไขและรายละเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวันซื้อขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ของแต่ละโครงการนั้น จะต้องมีการพิจารณาในรายละเอียดต่อไป
การส่งเสริมความร่วมมือด้านต่าง ๆ เช่น          - จัดตั้งคณะทำงานเพื่อจัดทำการศึกษาร่วมกันในรายละเอียดในเชิงเทคนิคและเศรษฐศาสตร์สำหรับการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งแบบสายส่งต่อสายส่ง
- พัฒนาไฟฟ้าจากแหล่งเชื้อเพลิงความร้อนและส่งเสริมการพัฒนาระบบโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าและระบบการขายปลีกไฟฟ้าใน สปป.ลาว นอกเหนือจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ
- จัดสรรทรัพยากรน้ำ รวมถึงความร่วมมืออื่น ๆ ในการลดการปล่อยคาร์บอนภายใต้เงื่อนไขของการพัฒนาที่ยั่งยืนและผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
- พิจารณา (1) การก่อสร้างระบบสายส่งไฟฟ้าข้ามพรมแดนของแต่ละประเทศและ/หรือ (2) สายส่งพลังงานไฟฟ้าที่จะเชื่อมโยงกับระบบสายส่งเดิมไปยังและ/หรือจากประเทศที่สาม
กลไกการร่วมมือกันเพื่อให้เกิดผลสำเร็จของร่างบันทึกความเข้าใจฯ          ให้คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างประเทศไทยกับประเทศเพื่อนบ้านของราชอาณาจักรไทยและคณะกรรมการร่วมเพื่อพัฒนาพลังงานไฟฟ้าแห่ง สปป.ลาว รวมถึงผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับมอบหมาย ร่วมมือกันเพื่อให้เกิดผลสำเร็จของบันทึกความเข้าใจเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
การบังคับใช้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ          - มีผลบังคับใช้และใช้แทนที่บันทึกความเข้าใจฉบับเดิมเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 ตั้งแต่วันที่มีการลงนามของทั้งสองฝ่าย
- ความตกลงต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้วหรืออยู่ระหว่างดำเนินการภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับลงวันที่ 6 มิถุนายน 2536 วันที่ 19 มิถุนายน 2539 วันที่ 18 ธันวาคม 2549 วันที่ 22 ธันวาคม 2550 และวันที่ 6 กันยายน 2559 ยังคงดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องโดยยังมีผลบังคับใช้ และยังเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือในการพัฒนาไฟฟ้าที่สอดคล้องกับบันทึกความเข้าใจฉบับนี้

23.  เรื่อง  การสมทบในกองทุนเพื่อการพัฒนา ACMECS (ACMECS Development Fund) ของญี่ปุ่นเพื่อดำเนินโครงการ ACMECS Branding Project สนับสนุนภาคธุรกิจและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมใน   อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้ประสานงาน ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา และในนามของประเทศสมาชิก ACMECS ในการรับโอนเงินสมทบทุนฯ จากฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อโอนเงินไปยังประเทศสมาชิกและหน่วยงานภายในประเทศของไทย สำหรับดำเนินโครงการรายประเทศ ภายใต้โครงการ ACMECS Branding Project ตามจำนวนเงินที่ฝ่ายญี่ปุ่นอนุมัติ
                    2. เห็นชอบต่อร่างหนังสือโต้ตอบฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงร่างหนังสือโต้ตอบฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ประเทศสมาชิก ACMECS ได้มอบหมายให้ไทยเป็นผู้ดำเนินการมีหนังสือโต้ตอบกับญี่ปุ่น และเปิดบัญชีธนาคารในนามของ ACMECS ที่ไทย ตามที่ฝ่ายญี่ปุ่นร้องขอ รวมทั้งประสานงานเพื่อรวบรวมข้อเสนอโครงการของประเทศสมาชิก ACMECS รายประเทศเป็นโครงการบูรณาการ เพื่อสนอญี่ปุ่น
                    2. ต่อมา ไทยได้ดำเนินการจัดส่งข้อเสนอโครงการ ACMECS Branding Project เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจและ SMEs ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดฯ (ACMECS Branding Project for Supporting Business Community and SMEs in the Mekong Sub-region amidst the COVD-19 Pandemic) ให้กับญี่ปุ่นแล้ว ภายในวงเงินงบประมาณ 1,388,888 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งประกอบด้วยโครงการรายประเทศ จำนวน 5 โครงการ (ประเทศสมาชิก ACMECS ละ 1 โครงการ) และฝ่ายญี่ปุ่นได้อนุมัติตามคำขอด้วยแล้ว
                    3. สำหรับข้อเสนอโครงการของไทยที่เสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ขอความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำโครงการเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้แก่ SMEs ของไทยในการฟื้นฟูเศรษฐกิจตามวัตถุประสงค์การให้เงินทุนของญี่ปุ่น โดยโครงการของไทยเน้น 4 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก/พลาสติกชีวภาพ ยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และการเกษตร โดยระยะที่ 1 จะเป็นการศึกษาความต้องการของ SMEs และการจัดการฝึกอบรม และระยะที่ 2 จะเป็นการจัดกิจกรรมการจับคู่ทางธุรกิจและนิทรรศการแสดงสินค้าแบบออนไลน์ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนแม่บท ACMECS ด้วย
                    4. ร่างหนังสือโต้ตอบฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              4.1 รัฐบาลญี่ปุ่นตัดสินใจมอบเงินสมทบทุนให้แก่กองทุน ACMDF จำนวน 1,388,888 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการดำเนินโครงการ ACMECS Branding Project ดังกล่าว และขอให้กระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้ประสานงาน ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา และในนามของประเทศ
สมาชิก ACMECS รับรองว่า ACMECS ยอมรับข้อกำหนด ดังนี้
                              (1) กระทรวงการต่างประเทศจะแจ้งรายละเอียดบัญชีธนาคารของ ACMECS สำหรับ             รับโอนเงินสมทบทุนฯ เป็นลายลักษณ์อักษรให้ฝ่ายญี่ปุ่นทราบ
                              (2) เงินสมทบทุนฯ จะถูกนำไปใช้อย่างเหมาะสมและเพื่อการดำเนินโครงการ ACMECS Branding Project เท่านั้น โดยไทยจะโอนเงินสมทบทุนฯ ให้ประเทศสมาชิก เพื่อดำเนินโครงการรายประเทศตามจำนวนเงินตามที่ได้รับการอนุมัติจากฝ่ายญี่ปุ่น รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบของสิ่งที่ส่งมาด้วย
                              (3) ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องจะถูกหักจากเงินสมทบทุนฯ
(4) ส่งเสริมความพยายามในการประชาสัมพันธ์การสมทบทุนฯ ของฝ่ายญี่ปุ่น
                              (5) ประเทศสมาชิก ACMECS จะส่งรายงานการสิ้นสุดโครงการและข้อมูลตามที่ร้องขอให้ฝ่ายญี่ปุ่น ผ่านสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศสมาชิกหรือที่รับผิดชอบประเทศสมาชิกนั้น ๆ
                              (6) ประเทศสมาชิก ACMECS กับญี่ปุ่นจะปรึกษาหารือกันเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ที่เกิดจากหรือเกี่ยวข้องกับเงินสมทบทุนฯ ที่อาจจะเกิดขึ้น
                              (7) ภายหลังการสิ้นสุดโครงการ แต่ละประเทศสมาชิก ACMECS จะต้องส่งเอกสารรายงานทางการเงินให้ฝ่ายญี่ปุ่น ผ่านสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศสมาชิก ACMECS นั้น ๆ โดยหากมียอดเงินคงเหลือ ประเทศสมาชิก ACMECS จะหารือกับฝ่ายญี่ปุ่นเกี่ยวกับแนวทางการใช้ประโยชน์จากเงินจำนวนดังกล่าว (รวมถึงการคืนเงินให้ฝ่ายญี่ปุ่น)
                              4.2 กระทรวงการต่างประเทศในฐานะผู้ประสานงาน ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา และในนามของประเทศสมาชิก ACMECS รับรองว่า ข้อกำหนดข้างต้นเป็นที่ยอมรับได้ของ ACMECS
                    5. ในส่วนการดำเนินโครงการของไทย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดได้พิจารณาให้ความเห็นชอบการรับเงินสมทบทุนฯ ในจำนวนตามคำขอ
โครงการของฝ่ายไทยมาดำเนินโครงการในฐานะที่ไทยเป็นประเทศสมาชิก ACMECS ด้วยแล้ว ทั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2547 เรื่องแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการขอรับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
                    6. ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศอยู่ระหว่างการดำเนินการทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง เพื่อขอเปิดบัญชีธนาคารสำหรับรับเงินสมทบทุนฯ









24. เรื่อง การจัดทำความตกลง Air Travel Bubble ระหว่างไทย-อินเดีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบการจัดทำความตกลง Air Travel Bubble ระหว่างไทย-อินเดีย
                    2. เห็นชอบร่างหนังสือตอบกลับของไทยต่อข้อเสนอของอินเดีย และอนุมัติผู้ลงนามฯ โดยมอบกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
                    สาระสำคัญ
1. การรับขนผู้โดยสารบนเที่ยวบินระหว่างไทยและอินเดีย สามารถรับขนผู้มีสัญชาติไทย อินเดีย เนปาล ภูฏาน และผู้มีสัญชาติต่างประเทศอื่น ๆ ที่ถือวีช่าเดินทางเข้าประเทศไทยและอินเดีย โดยก่อนที่สายการบินจะออกบัตรโดยสาร/Boarding Pass ให้กับผู้โดยสาร สายการบินต้องมั่นใจว่าผู้โดยสารทุกคนมีคุณสมบัติที่สามารถเข้าประเทศได้
2. ผู้โดยสารที่เดินทางบนเที่ยวบินจะต้องเป็นการเดินทางระหว่างไทยและอินเดียเท่านั้น
3. สายการบินที่กำหนดของทั้งสองฝ่ายจะได้รับอนุญาตให้ทำการบินไปยังจุดต่าง ๆ ตามที่ระบุไว้ในความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งอินเดียว่าด้วยบริการเดินอากาศระหว่างอาณาเขตของแต่ละฝ่ายและพ้นจากนั้นไป
4. สายการบินที่กำหนดของทั้งสองฝ่ายจะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายบัตรโดยสารระหว่างอินเดียและไทยในแต่ละเส้นทางผ่านเว็บไชต์ ตัวแทนจำหน่ายและระบบสำรองที่นั่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Global Distribution Systems)
5. การทำการบินให้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในคู่มือการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedures: SOP) ซึ่งออกโดยเจ้าหน้าที่การเดินอากาศ และแนวทางที่เกี่ยวกับโควิด-19 อื่น ๆ ซึ่งออกโดยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ
6. กรมการบินพลเรือนอินเดียและสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะอนุญาตการทำการบินเป็นรายเดือน และให้อนุญาตบนหลักการความเท่าเทียมของจำนวนที่นั่งโดยสายการบินจะยื่นขอรับการอนุญาตจากรัฐบาลที่เกี่ยวข้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน
ทั้งนี้ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 อินเดียได้ระงับเที่ยวบินพาณิชย์ระหว่างประเทศตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2563 โดยอนุญาตเฉพาะเที่ยวบินอพยพหรือเที่ยวบินพาณิชย์ของประเทศที่ได้จัดทำความตกลง Air Travel Bubble กับอินเดียแล้ว ให้สามารถเดินทางเข้าอินเดียได้ ดังนั้น การจัดทำความตกลง Air Travel Bubble ระหว่างไทย - อินเดีย จะทำให้สายการบินของทั้งสองประเทศสามารถทำการบินรับขนผู้โดยสารในรูปแบบพาณิชย์ได้ โดยสายการบินและผู้โดยสารยังคงปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขในการเข้าประเทศของแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นการช่วยให้สายการบินของไทยสามารถสร้างรายได้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด 19 นอกจากนี้ สายการบินสามารถรับขนนักท่องเที่ยวจากอินเดียมายังประเทศไทย อันเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ

25. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างข้อตกลงด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างข้อตกลงด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ทั้ง 2 ฉบับ ได้แก่
                              (1) ร่างข้อตกลงว่าด้วยการจัดหาแรงงานทำงานบ้านระหว่างกระทรวงแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (Draft Agreement on Domestic Workers Recruitment between the Ministry of Labour of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Human Resources and Social Development of the Kingdom of Saudi Arabia)
                              (2) ร่างข้อตกลงว่าด้วยการจัดหาแรงงานระหว่างกระทรวงแรงงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (Draft Agreement on Workers Recruitment between the Ministry of Labour of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Human Resources and Social Development of the Kingdom of Saudi Arabia)
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ลงนามในข้อตกลงด้านแรงงานฯ ทั้ง 2 ฉบับ ในนามของผู้แทนฝ่ายไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมซาอุดีอาระเบียหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามร่วมฝ่ายซาอุดีอาระเบีย
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้ลงนามในข้อตกลงด้านแรงงานฯ ทั้ง 2 ฉบับ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างข้อตกลงด้านแรงงานฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงแรงงานดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
                    สาระสำคัญ
                    ร่างข้อตกลงด้านแรงงานฯ ทั้ง 2 ฉบับนี้ประกอบด้วยข้อบท 9 ข้อ คือ
                    ข้อ 1 วัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาแรงงานไปทำงานในประเทศซาอุดีอาระเบียอย่างถูกกฎหมายและปกป้องสิทธิของนายจ้างและแรงงาน รวมถึงการบังคับใช้กฎระเบียบสัญญาจ้างระหว่างกัน
                    ข้อ 2 ขอบเขตความร่วมมือ กล่าวถึง กระบวนการจ้างงานตามกฎหมายในประเทศตั้งแต่การจัดหาจนถึงการส่งกลับ การจัดหาดำเนินการโดยหน่วยงานจัดส่งที่ได้รับการจดทะเบียน มีจริยธรรมด้านการจัดหาแรงงาน และมีการควบคุมค่าใช้จ่ายของทั้งสองประเทศ ต้องไม่หักค่าใช้จ่ายจากการตัดเงินเดือนของแรงงาน ให้สิทธิของภาคีคู่สัญญาหากมีข้อพิพาทตามกฎระเบียบภายใน ใช้มาตรการทางกฎหมายหากหน่วยงานจัดหาแรงงานปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎระเบียบ หาแนวทางการแก้ไขปัญหาการดำเนินงานและการบังคับใช้ข้อตกลงฉบับนี้ และให้ความสำคัญลำดับแรกกับการจัดหาแรงงานโดยการจัดการหรือกำกับโดยรัฐบาลของประเทศคู่ภาคี
                    ข้อ 3 ความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาสังคมซาอุดีอาระเบีย การจัดหา การจ้างและการทดแทนแรงงานต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง อาทิ การส่งเสริม ปกป้องและคุ้มครองสวัสดิการและสิทธิของแรงงาน กำหนดหน้าที่ของนายจ้างที่อำนวยความสะดวกเปิดบัญชีธนาคารเงินเดือนให้แรงงานฝากโดยระบุในสัญญาจ้าง จัดตั้งกลไกให้ความช่วยเหลือแรงงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง อำนวยความสะดวกให้ดำรงสภาพความเป็นอยู่ได้เร็วอำนวยความสะดวกในการออก Exit Visa เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้างหรือกรณีเร่งด่วน
                    ข้อ 4 ความรับผิดชอบของกระทรวงแรงงานไทย แรงงานที่จัดหาจะต้องมีสุขภาพดีไม่มีโรคติดต่อ ผ่านการตรวจสุขภาพจากสถานพยาบาลที่น่าเชื่อถือของไทย ไม่มีประวัติเสื่อมเสีย แรงงานมีทักษะและได้รับการอบรมขนบธรรมเนียมประเพณีของซาอุดีอาระเบียก่อนการเดินทาง ต้องเคารพประเพณี ศีลธรรม จริยธรรม             ในระหว่างพำนักอยู่ในประเทศซาอุดีอาระเบีย กระตุ้นให้แรงงานทำงานครบตามสัญญาจ้าง เร่งดำเนินการให้แรงงานเดินทางได้ภายใน 1 เดือน หลังจากได้รับ Visa และอำนวยความสะดวกให้แรงงานกลับหากไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง
                    ข้อ 5 คณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee) ประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง เพื่อดำเนินการติดตาม ทบทวนการปฏิบัติแบบมีระยะเวลากำหนดตามข้อตกลงนี้ แต่ละฝ่ายผลัดกันเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมหารือตามที่สองฝ่ายเห็นชอบ นอกจากนี้ อาจจัดตั้งคณะอนุกรรมการ (Sub - Committee) เพื่อปรึกษาหารือได้ตามความจำเป็น และให้ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขข้อพิพาทตามข้อกำหนดของข้อตกลงนี้หรือ                  ข้อเพิ่มเติม
                    ข้อ 6 การยุติข้อพิพาท ระหว่างปฏิบัติตามข้อตกลงจะเป็นไปอย่างฉันมิตร โดยการหารือผ่านกระบวนการทางการทูต
                    ข้อ 7 การแก้ไข หากปรับแก้ไขข้อตกลงต้องได้รับการยินยอมทั้งสองฝ่ายเป็นลายลักษณ์อักษรและมีผลในวันที่สองฝ่ายเห็นชอบ
                    ข้อ 8 การมีผลบังคับใช้ ภาคีแต่ละฝ่ายจะต้องแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรภายหลังผ่านกระบวนการทางการทูตเมื่อข้อตกลงผ่านกระบวนการทางกฎหมายภายในประเทศเสร็จสิ้น
                    ข้อ 9 การมีผลบังคับใช้และระยะเวลาการสิ้นสุด ข้อตกลงมีผลใช้บังคับ 5 ปี และต่ออายุอัตโนมัติในระยะเวลาเดียวกันจนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งผ่านกระบวนการทางการทูตเป็นลายลักษณ์อักษรเมื่อต้องการระงับใช้ชั่วคราวหรือสิ้นสุดข้อตกลง ก่อนวันสิ้นอายุข้อตกลง 2 เดือน ถึงแม้ว่าข้อตกลงสิ้นสุด แต่ข้อกำหนดยังคงใช้บังคับกับสัญญาจ้างเช่นเดียวกับที่ข้อตกลงยังคงมีอยู่

แต่งตั้ง

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งนายวิวัฒน์   เขาสกุล รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านยุทธศาสาตร์ภาษีสรรพสามิต (นักวิชาการสรรพสามิตทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวง รองโฆษกกระทรวง และผู้ช่วยโฆษกกระทรวงมหาดไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแต่งตั้งโฆษกกระทรวง รองโฆษกกระทรวง และผู้ช่วยโฆษกกระทรวงมหาดไทย เพื่อปฎิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของทางราชการ ตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอ ดังนี้
                    1. นายชัยวัฒน์  ชื่นโกสุม รองปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นโฆษกกระทรวงมหาดไทย
                    2. นายไตรภพ  วงศ์ไตรรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงมหาดไทย เป็นรองโฆษกกระทรวงมหาดไทย
                    3. นายทรงกลด  สว่างวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ ช่วยราชการสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และนายบรรจบ  จันทรัตน์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นผู้ช่วยโฆษกกระทรวงมหาดไทย
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด แทนกรรมการฯ เดิม จำนวน 3 ราย ดังนี้
1.          นายพรเทพ  ศิริวนารังสรรค์
2.          นายอุทัย  สินมา
3.          นายวิทยา  สุริยะวงค์
          ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแต่งตั้ง นายประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล เป็นกรรมการผู้ช่วย
รัฐมนตรีอีกวาระหนึ่ง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ