http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (15 มี.ค. 65) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน และเคมีภัณฑ์ พ.ศ. ?. 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ?. 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี
พ.ศ. 2560) เศรษฐกิจ ? สังคม
4. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าจ้าง ผู้ปฏิบัติงานให้ราชการสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน 5. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อสนับสนุนการจัดการศพ ผู้สูงอายุตามประเพณี 6. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน 7. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับ รถบรรทุกน้ำหนักเกินของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ 8. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ
ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564)
9. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนมกราคม 2565 10. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนธันวาคม 2564 11. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและ
ความเท่าเทียมทางสังคม ครั้งที่ 1/2564
12. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 6/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2565 13. เรื่อง ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการจัดหาเวชภัณฑ์ยาและขยายระยะเวลาดำเนินการ โครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565
14. เรื่อง (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 ? 2567 (ฉบับ ปรับปรุง ครั้งที่ 2) 15. เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้าน แรงงาน (MOU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ซึ่ง วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2565 ต่างประเทศ 16. เรื่อง การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทาง การเงิน [Financial Action Task Force (FATF)] 17. เรื่อง รายงานผลการประชุมสมัชชาใหญ่สมัยสามัญขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่ง สหประชาชาติ ครั้งที่ 24 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง 18. เรื่อง ผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสุมทรอินเดีย ครั้งที่ 21 19. เรื่อง การเข้าร่วมการประกาศเริ่มการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของ อาเซียน 20. เรื่อง การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 4 ในรูปแบบการ ประชุมด้วยตนเอง (In - person) แต่งตั้ง 21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) 22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ) 23. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ 24. เรื่อง ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ 25. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 แทน ตำแหน่งที่ว่างลง 26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวง วัฒนธรรม 27. เรื่อง ขอความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ คค. พิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ พ.ศ. ?. เป็นการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การป้องกันและขจัดมลพิษเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน พ.ศ. 2547 ทั้งในส่วนขององค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน เพื่อให้สอดคล้องและทันเหตุการณ์และสถานการณ์ปัจจุบัน ขยายหลักการการป้องกันและขจัดมลพิษให้ครอบคลุมทั้งน้ำมันและเคมีภัณฑ์ เพื่อให้ครบถ้วนและสอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการป้องกันมลพิษจากเรือ ค.ศ. 1973/1978 (International Convention for the Prevention of Pollution from Ships, MARPOL 73/78) เพื่อรองรับการตรวจประเมินจากองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization : IMO) และเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าเป็นภาคีพิธีสารว่าด้วยการเตรียมการ ปฏิบัติการ และความร่วมมือในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำเนื่องจากสารอันตรายและสารพิษ เห็นควรดำเนินการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วต่อไป สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมัน พ.ศ. 2547 และปรับปรุงใหม่เป็น ?ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ พ.ศ. ?.? เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการมลพิษทางน้ำ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ เรื่อง สาระสำคัญ 1. บทนิยาม - เพิ่มเติมบทนิยามให้ครอบคลุมถึงการจัดการมลพิษทางน้ำที่เกิดจากเคมีภัณฑ์ด้วย ดังนี้ - ?มลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์? หมายความว่ามลพิษที่เกิดจากการเททิ้งหรือการรั่วไหลของน้ำมันหรือเคมีภัณฑ์ หรือการทิ้งสิ่งปนเปื้อนน้ำมันหรือเคมีภัณฑ์ลงสู่ทะเลหรือลำน้ำอื่น - ?การจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์? หมายความว่า การดำเนินการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ และ การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมจากมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันหรือเคมีภัณฑ์ - ?เคมีภัณฑ์? หมายความรวมถึง สารอันตรายหรือสารพิษที่รั่วไหลลงสู่ทะเลหรือลำน้ำอื่น แล้วก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตมนุษย์ ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม หรือเป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำ หรือสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลหรือลำน้ำ ทั้งนี้ รวมถึงสารที่มิใช่สารพิษแต่เมื่อไหลลงสู่ทะเลหรือลำน้ำในปริมาณมากแล้วก่อให้เกิดมลพิษทางน้ำ - แก้ไขบทนิยามคำว่า ?น้ำมัน? ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดย ?น้ำมัน? หมายความว่า น้ำมันดิบตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม แต่ไม่หมายความรวมถึงก๊าซธรรมชาติและก๊าซธรรมชาติเหลว 2. กลไกการทำงาน - ให้มี ?คณะกรรมการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์? เรียกโดยย่อว่า ?กจน.? ขึ้นใหม่ (เดิม คือ คณะกรรมการป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำจากน้ำมัน) เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขชื่อร่างระเบียบ โดยปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการและหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการชุดเดิมให้ชัดเจนขึ้น ดังนี้ 1. องค์ประกอบ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ (เดิมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นประธานกรรมการ) รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมายเป็น รองประธานกรรมการ กรรมการโดยตำแหน่ง 26 คน กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวน 6 คน เป็นกรรมการ โดยมีอธิบดีกรมเจ้าท่าเป็นกรรมการและเลขานุการ และเพิ่มเติมให้ผู้แทนของกองทัพเรือและผู้แทนของ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลหน่วยงานละหนึ่งคนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ 2. หน้าที่และอำนาจ - กำหนดนโยบายและจัดทำแผนจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ - ให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการของหน่วยปฏิบัติการ - ควบคุม กำกับดูแล ติดตาม และประเมินผลการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ - กำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินค่าใช้จ่ายในการขจัดคราบน้ำมันและเคมีภัณฑ์และค่าเสียหายที่เกิดจากมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ - เสนอคณะรัฐมนตรีในการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายให้แก่บุคคลซึ่งได้รับความเสียหายจากมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ - ให้กรมเจ้าท่าปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยธุรการของ กจน. และเป็นศูนย์ประสานงานในการขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ 3. หน่วยปฏิบัติการและแผนปฏิบัติการ - ให้กำหนดรายชื่อหน่วยปฏิบัติการที่เป็นหน่วยงานหลักและหน่วยสนับสนุนไว้ในแผนจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ และกำหนดหน้าที่ของหน่วยงานตามระเบียบให้ชัดเจน โดยหากเป็นหน่วยงานหลักตามแผนการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ให้ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติการ ให้สอดคล้องกับแผนจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ และ แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติด้วย - กำหนดให้ ?แผนปฏิบัติการ? แบ่งออกเป็น 3 ช่วง คือ 1) แผนป้องกันมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ 2) แผนขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ และ 3) แผนฟื้นฟูสภาพแวดล้อมจากมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ โดยอย่างน้อยต้องประกอบด้วย รายชื่อหน่วยปฏิบัติการเพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ ตามแผนปฏิบัติการ หน้าที่และอำนาจของหน่วยปฏิบัติการ วิธีการจัดการมลพิษ ทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ รวมทั้งแนวทางการตรวจสอบและติดตาม การจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ - เมื่อ กจน. พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนปฏิบัติการแล้ว ให้หน่วยปฏิบัติการที่เป็นหน่วยงานหลักและหน่วยปฏิบัติการที่เป็นหน่วยงานสนับสนุนซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐจัดทำคำขอตั้งงบประมาณตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณต่อไป หากมิใช่หน่วยงานของรัฐให้จัดทำประมาณการค่าใช้จ่ายในการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์เสนอต่อ กจน. เพื่อทราบ 4. การดำเนินการในกรณีเหตุฉุกเฉินจำเป็น - กำหนดให้ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินจำเป็นต้องขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ และไม่อาจจัดให้มีการประชุม กจน. ได้ ประธานกรรมการอาจใช้อำนาจแทน กจน. ในการควบคุมและกำกดับดูแลจัดการมลพิษทางน้ำได้ แล้วแจ้งให้ กจน. ทราบโดยเร็ว - กำหนดให้ในการขจัดมลพิษทางน้ำในกรณีฉุกเฉินหรือฟื้นฟูสภาพแวดล้อมให้หน่วยปฏิบัติการที่เป็นหน่วยงานหลัก หรือหน่วยปฏิบัติการที่เป็นหน่วยสนับสนุนดำเนินการตามแผนปฏิบัติการโดยเร็ว - กำหนดให้ในการขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ในกรณีฉุกเฉิน ให้หน่วยปฏิบัติการแต่งตั้งข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่เข้าร่วมปฏิบัติงานกับ ศูนย์ประสานงานและรายงานผลการปฏิบัติการให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบ พร้อมทั้งให้การสนับสนุนด้านผู้เชี่ยวชาญ กำลังคน สถานที่ เครื่องมือ วัสดุ สารเคมี ยานพาหนะ และสิ่งอื่นที่จำเป็นต่อการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการตามที่ ศูนย์ประสานงานร้องขอ โดยให้ศูนย์ประสานงานรายงานความคืบหน้าให้เลขานุการ กจน. ทราบทุกระยะ และให้เลขานุการ กจน. แจ้ง กจน. ทราบโดยเร็ว 5. อื่น ๆ - กำหนดให้บรรดาเงินที่มีผู้มอบให้เพื่อใช้ในการจัดการมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ ให้หน่วยปฏิบัติการที่เป็นหน่วยงานของรัฐนำไปใช้เพื่อกิจการ ตามระเบียบนี้ โดยไม่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้สำนักงบประมาณเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาต่อไป สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ยกเลิกกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2559 และปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี โดยการจัดตั้ง ?สำนักงานงบประมาณเขต? เพิ่มจำนวน 7 เขต ได้แก่ สำนักงบประมาณเขตที่ 12 ? 18 และปรับชื่อจาก ?กองจัดทำงบประมาณเขตที่ 1 ? 11? เป็น ?สำนักงานงบประมาณเขตที่ 1 ? 11? รวมทั้งปรับหน้าที่และอำนาจสำนักงานงบประมาณเขตที่ 1 ? 18 และส่วนราชการภายในสำนักงบประมาณ ให้สอดคล้องกัน ดังนี้ 1. ปรับหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการภายในสำนักงบประมาณ (สงป.) ให้มีอำนาจและหน้าที่ ในการให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานกับหน่วยรับงบประมาณในการจัดทำงบประมาณ รวมถึงการบริหารจัดการงบประมาณรายจ่าย การควบคุมงบประมาณ ที่คำนึงถึงความจำเป็น ภารกิจ สถานะเงินนอกงบประมาณ ความสามารถในการหารายได้ การใช้จ่ายและการก่อหนี้ผูกพัน รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยรับงบประมาณ ตลอดจนการวิเคราะห์และจัดทำข้อเสนองบประมาณรายจ่าย และงบประมาณรายจ่ายบูรณาการ รวมทั้งวิเคราะห์เงินนอกงบประมาณและการจ่ายเงินของหน่วยรับงบประมาณ และมีบทบาทในการประสานงานกับราชการส่วนกลาง หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น จัดเตรียมข้อมูลและคำชี้แจงประกอบงบประมาณรายจ่ายเสนอต่อรัฐสภา และปฏิบัติงานหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 2. ปรับหน้าที่และอำนาจของสำนักงานงบประมาณเขตให้สามารถดูแลสนับสนุนและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการด้านงบประมาณให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ดีขึ้น โดยให้สำนักงานงบประมาณเขตมีหน้าที่และอำนาจในการให้คำปรึกษา แนะนำ และประสานงานกับหน่วยงานของรัฐและหน่วยรับงบประมาณระดับพื้นที่ใน การจัดทำงบประมาณ การบริหารงบประมาณรายจ่าย การควบคุมงบประมาณ รวมถึงการจัดทำงบประมาณของแผนพัฒนาในระดับพื้นที่ โดยให้มีการบูรณาการงบประมาณกับหน่วยงานของรัฐและหน่วยรับงบประมาณ ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาในระดับพื้นที่และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำงบประมาณในพื้นที่ความรับผิดชอบ 3. ปรับบทบาท ภารกิจ หน้าที่และอำนาจ เพื่อให้สอดรับกับบทบาทภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ การแบ่งส่วนราชการปัจจุบัน (กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2559) การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง (ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ?.) หมายเหตุ (1) สำนักอำนวยการ (1) สำนักอำนวยการ - (2) กองกฎหมายและระเบียบ (2) กองกฎหมายและระเบียบ - (3) ? (13) กองจัดทำงบประมาณ เขตที่ 1 ? 11 (23) ? (40) สำนักงานงบประมาณ เขตที่ 1 ? 18 - จัดตั้งเพิ่มจำนวน 7 เขต ได้แก่ เขตที่ 12 ? 18 - เปลี่ยนชื่อ เป็น ?สำนักงานงบประมาณ? (14) กองจัดทำงบประมาณด้านการบริหาร (3) กองจัดทำงบประมาณด้านการบริหาร มีหน้าที่และอำนาจดูแลด้านการบริหารและงบกลาง (15) กองจัดทำงบประมาณด้านความมั่นคง 1 (4) กองจัดทำงบประมาณด้านความมั่นคง 1 มีหน้าที่และอำนาจดูแลด้านความมั่นคงภายใน (16) กองจัดทำงบประมาณด้านความมั่นคง 2 (5) กองจัดทำงบประมาณด้านความมั่นคง 2 มีหน้าที่และอำนาจดูแลด้านความมั่นคงของรัฐและกระบวนการยุติธรรม (17) กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 1 (6) กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 1 มีหน้าที่และอำนาจดูแลด้านเศรษฐกิจ การค้า การต่างประเทศ และการคลัง (18) กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 2 (7) กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 2 แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจโดยแก้ไขภารกิจให้ครอบคลุมถึงด้านสหกรณ์ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ (เดิมเฉพาะด้านเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติ) (19) กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 3 (8) กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 3 แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจโดยแก้ไขให้ครอบคลุมถึงด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และแรงงาน (เดิมเฉพาะด้านแรงงาน) (20) กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 4 (9) กองจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 4 มีหน้าที่และอำนาจดูแลด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม (21) กองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 1 (10) กองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 1 มีหน้าที่และอำนาจดูแลด้านการศึกษา (22) กองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 2 (11) กองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 2 แก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่และอำนาจโดยแก้ไขภารกิจให้ครอบคลุมถึงด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (เดิมเฉพาะด้านการอุดมศึกษา) (23) กองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 3 (12) กองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 3 ลดหน้าที่และอำนาจเหลือเพียงด้านสาธารณสุขและการพัฒนาสังคม (เดิมรวมทั้งแรงงาน) (24) กองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 4 (13) กองจัดทำงบประมาณด้านสังคม 4 มีหน้าที่และอำนาจดูแลด้านวัฒนธรรม การท่องเที่ยว และกีฬา (25) กองจัดทำงบประมาณเพื่อการบูรณาการงบประมาณเขตพื้นที่และการบูรณาการงบประมาณในการบริหารราชการในต่างประเทศ (14) กองจัดทำงบประมาณเพื่อการบูรณาการงบประมาณและยุทธศาสตร์ระดับพื้นที่ แก้ไขหน้าที่และอำนาจอยู่ในเฉพาะระดับพื้นที่ (26) กองจัดทำงบประมาณองค์การบริหารรูปแบบพิเศษและรัฐวิสาหกิจ (15) กองจัดทำงบประมาณองค์การบริหารรูปแบบพิเศษและรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่และอำนาจดูแลด้านการบริหารรูปแบบพิเศษ (27) กองนโยบายงบประมาณ (16) กองนโยบายงบประมาณ เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม (28) กองประเมินล (17) กองประเมินผล เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการจัดทำข้อมูลผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณในปีงบประมาณที่ล่วงมา (29) กองพัฒนาระบบงบประมาณและการจัดการ (18) กองพัฒนาระบบงบประมาณและการจัดการ มีหน้าที่และอำนาจวิเคราะห์และพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการของระบบงบประมาณให้มีความเหมาะสมและเกิดความความคุ้มค่า (30) กองมาตรฐานงบประมาณ (19) กองมาตรฐานงบประมาณ เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการดำเนินการจัดทำบัญชีนวัตกรรมไทย (31) กองยุทธศาสตร์การงบประมาณ (20) กองยุทธศาสตร์การงบประมาณ เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติโอนงบประมาณรายจ่าย และรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบ (32) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ (21) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ เพิ่มหน้าที่และอำนาจจัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อให้สอดคล้องกับแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (33) สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการงบประมาณ (22) สถาบันพัฒนาบุคลากรด้านการงบประมาณ - 3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2560) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนนิการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงสาธารณสุขไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ มท. เสนอว่ากรมโยธาธิการและผังเมืองได้รายงานสภาพปัญหาจากการประกาศใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2560 ว่า สภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การบังคับใช้ผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรีไม่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาที่จังหวัดลพบุรี เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งได้กำหนด ?อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ? เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก โดยมี ?ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2561 - 2579? สนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อผลิตใช้ในราชการและเพื่อการพาณิชย์ เป็นนโยบายสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการส่งเสริมการดำเนินกิจการโรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และกำหนด ?อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ? เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมชีวภาพอย่างครบวงจรในอาเซียน จึงขอให้มีการแก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2560 เฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ต่อมาได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ทั้งฉบับ และได้แก้ไขรูปแบบการประกาศใช้บังคับกฎหมายในส่วนของผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทำผังขึ้นใหม่ โดยให้ดำเนินการประกาศใช้บังคับเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย (เดิมประกาศใช้บังคับเป็นกฎกระทรวง) ประกอบกับมาตรา 111 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ บัญญัติให้การแก้ไขหรือยกเลิกกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด ให้กระทำได้โดยประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น และในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2560 และนำไปปิดประกาศเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแสดงข้อคิดเห็นระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 ถึงวันที่ 17 สิงหาคม 2564 เมื่อครบกำหนดปิดประกาศปรากฎว่าไม่มีผู้มีส่วนได้เสียยื่นข้อคิดเห็น และได้นำเสนอการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวต่อคณะกรรมการผังเมืองในการประชุม เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 โดยให้กรมโยธาธิการและผังเมืองจัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2560) ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ซึ่งบัญญัติว่า ?เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 29 แล้ว ไม่มีผู้มีส่วนได้เสียผู้ใดยื่นคำร้องตามมาตรา 30 หรือมี แต่คณะกรรมการผังเมืองสั่งยกคำร้องดังกล่าวหรือเมื่อกรมโยธาธิการและผังเมืองไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ดำเนินการเพื่อออกประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น แล้วแต่กรณี โดยไม่ชักช้า ในการนี้ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองนำประกาศกระทรวงมหาดไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรงเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน? ทั้งนี้ ในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมก่อนที่จะได้จัดทำเป็นร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผังเมือง ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ (สงป.) ฯลฯ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ 1. แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรม (สีเขียว) ดังนี้ 1.1 ยกเลิกข้อห้ามการประกอบกิจการโรงงานทุกประเภทในการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) ในที่ดินบริเวณ อ.1 อ.2 และ อ.3 เพื่อให้สามารถประกอบกิจการโรงงานในที่ดินบริเวณดังกล่าวได้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) ที่ส่งเสริมการประกอบอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ 1.2 เพิ่มที่ดินบริเวณ อ.2/1 ในที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) เพื่อสนับสนุนการตั้งศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพ (Bio Hub) เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพในพื้นที่จังหวัดลพบุรี 1.3 แก้ไขเพิ่มเติมให้โรงงานบางประเภทในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ที่ดินประเภท ก.3 ในกิจการที่สนับสนุน Bio Hub สามารถดำเนินกิจการที่เป็นอาคารสูง หรืออาคารใหญ่ได้ ในบริเวณ ก.3 - 1 ถึงบริเวณ ก.3 - 11 และ บริเวณ ก.3 - 14 เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ตามนโยบาย Thailand 4.0 เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (S-Curve) และอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ (New S-Curve) ที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดการลงทุน เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม อันจะเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ ได้แก่ 1.3.1 ลำดับที่ 42 (1) โรงงานทำเคมีภัณฑ์ สารเคมี หรือวัสดุเคมี ที่มิใช่ (3) ซึ่งมิใช่ปุ๋ย เฉพาะที่ใช้วัตถุดิบพื้นฐานทางการเกษตรหรือผลิตภัณฑ์อื่นที่ต่อเนื่องโดยใช้กระบวนการเคมีชีวภาพเท่านั้น 1.3.2 ลำดับที่ 42 (2) โรงงานเก็บรักษา ลำเลียง แยก คัดเลือก หรือแบ่งบรรจุเฉพาะเคมีภัณฑ์อันตราย ซึ่งมิใช่ปุ๋ย 1.3.3 ลำดับที่ 43 (1) โรงงานทำปุ๋ย หรือสารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ 1.3.4 ลำดับที่ 43 (3) โรงงานบดดิน หรือการเตรียมวัสดุอื่นเพื่อผสมปุ๋ยหรือสารป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือสัตว์ 1.3.5 ลำดับที่ 89 โรงงานผลิตก๊าซ ซึ่งมิใช่ก๊าซธรรมชาติและโรงงานส่งหรือจำหน่ายก๊าซ แต่ไม่รวมถึงโรงงานส่งหรือจำหน่ายก๊าซที่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง 2. แก้ไขบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2560 ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ที่กำหนดประเภท ชนิด จำพวกของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการ โดยให้โรงงานบางประเภทสามารถดำเนินการได้ตามประเภท ชนิด และจำพวกของโรงงานที่ห้ามประกอบกิจการท้ายประกาศนี้แทน คือ ให้โรงงานลำดับที่ 99 โรงงานผลิตซ่อมแซม ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด อาวุธ หรือสิ่งอื่นใดที่มีอำนาจในการประหาร ทำลาย หรือทำให้หมดสมรรถภาพในทำนองเดียวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิด และรวมถึงสิ่งประกอบของสิ่งดังกล่าว ประกอบกิจการในที่ดิน ก.1 ได้ในบางส่วน (เดิมไม่สามารถประกอบกิจการได้) เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้านนวัตกรรม ตามนโยบาย Thailand 4.0 เกี่ยวกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ที่ต้องการส่งเสริมให้เกิดการลงทุน เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมอันจะเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะ 3. แก้ไขเพิ่มเติมแผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดลพบุรี พ.ศ. 2560 ในที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) และในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ให้สอดคล้องกับการเพิ่มที่ดินบริเวณ อ.2/1 เศรษฐกิจ ? สังคม 4. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการสำหรับสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และโรงเรียน กรอบวงเงิน 1,848,047,228 บาท ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ศธ. รายงานว่า 1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นส่วนราชการที่มีภารกิจในการจัดและส่งเสริมการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ เท่าเทียมและทั่วถึง โดยมีสถานศึกษาในความรับผิดชอบ จำนวน 29,583 แห่ง ศูนย์การศึกษาพิเศษ1 77 แห่ง โรงเรียนศึกษาพิเศษ2 48 แห่ง และโรงเรียนการศึกษาสงเคราะห์3 52 แห่ง ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 61,119 อัตรา 16 ตำแหน่ง เช่น ธุรการโรงเรียน นักการภารโรง ครูรายเดือนแก้ไขปัญหาโรงเรียนขาดแคลนครูขั้นวิกฤต และครูพี่เลี้ยงเด็กพิการ เป็นต้น (ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2564) เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 8,315,058,114 บาท แต่โดยที่ สพฐ. ได้รับจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบดำเนินงาน รายการค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ จำนวน 5,063,847,500 บาท ทำให้งบประมาณ ที่จะนำมาเป็นค่าตอบแทนและค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอ จำนวน 3,251,210,614 บาท 2. สพฐ. ได้มีหนังสือไปยังสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการสำหรับ สพท. และโรงเรียน วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,251,210,614 บาท โดย สงป. ได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ ศธ. โดย สพฐ. ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นภายในกรอบวงเงิน 1,848,047,228 บาท (ลดลงจากที่ สพฐ. ขอไว้เดิม จำนวน 1,403,163,386 บาท) เพื่อเป็นค่าตอบแทนและค่าจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการสำหรับ สพท. และโรงเรียนเท่าที่จำเป็นและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง และให้ ศธ. นำเรื่องดังกล่าวขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3) ต่อไป 3. ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2565 สพฐ. ต้องจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการสำหรับ สพท. และโรงเรียนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 58,873 อัตรา (ลดลงจากเดือนตุลาคม 2564 จำนวน 2,246 อัตรา เนื่องจากมีการลาออกของลูกจ้าง) 16 ตำแหน่ง 1ศูนย์การศึกษาพิเศษ เป็นรูปแบบที่จัดขึ้นสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในแต่ละลักษณะโดยเฉพาะ เช่น โรงเรียนสอนคนหูหนวก โรงเรียนสอนคนตาบอด หรือจัดตั้งเป็นชั้นเรียนเฉพาะในโรงเรียนปกติ เช่น ชั้นเรียนเด็กพิเศษ 2โรงเรียนศึกษาพิเศษ หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาเพื่อคนพิการ เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีความบกพร่องหรือพิการทางหู เด็กที่มีความบกพร่องหรือพิการทางตา และเด็กที่มีความบกพร่องหรือพิการทางร่างกาย (แขน - ขา) 3โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ หมายถึง โรงเรียนที่จัดการศึกษาให้แก่เด็กด้อยโอกาส เช่น เด็กยากไร้ เด็กเร่ร่อน เด็กที่พึ่งพาตนเองและครอบครัวไม่ได้ เด็กที่ถูกทำร้ายหรือถูกรังแกจากครอบครัว เด็กกำพร้าจากเหตุการณ์ประสบภัยธรรมชาติ ภัยจากการสู้รบเพื่อป้องกันประเทศชาติและความมั่นคง และภัยโรคติดต่อร้ายแรง อาทิ โรคเอดส์ เป็นต้น 5. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงินทั้งสิน 172,365,000 บาท เพื่อเป็นเงินอุดหนุนสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี* ที่ค้างจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวนทั้งสิ้น 57,455 ราย ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง พม. รายงานว่า 1. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 มาตรา 11 (12) บัญญัติให้ผู้สูงอายุมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี และประกาศ พม. เรื่อง การสนับสนุนการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี ข้อ 4 กำหนดให้การสงเคราะห์ในการจัดการศพ ตามประเพณี หมายถึง การช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีรายละ 3,000 บาท (เดิม 2,000 บาท) ประกาศ ณ วันที่ 25 มีนาคม 2563 2. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานครได้สำรวจข้อมูลและพบว่า ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 มีผู้สูงอายุที่เสียชีวิตและรอรับการช่วยเหลือค่าจัดการศพ จำนวนทั้งสิ้น 127,168 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 381,504,000 บาท (127,168 ราย x 3,000 บาท) โดยในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 พม. ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายในการสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี จำนวน 69,713 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 209,139,000 บาท ซึ่งไม่เพียงพอต่อการให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุที่เสียชีวิตและรอรับการช่วยเหลือค่าจัดการศพจำนวนดังกล่าวข้างต้น ดังนั้น พม. (กรมกิจการผู้สูงอายุ) จึงเสนอสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 3. สงป. ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ พม. (กรมกิจการผู้สูงอายุ) ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 172,365,000 บาท เพื่อเป็นเงินอุดหนุนสนับสนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณีที่ค้างจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 57,455 ราย (127,168 ราย - 69,713 ราย) และให้ พม. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3) ด้วย *การสงคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี ผู้สูงอายุที่เสียชีวิตต้องเข้าหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1) อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป 2) สัญชาติไทย 3) ผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (หากผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์บัตรสวัสดิการแห่งรัฐแต่ยังไม่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือยังไม่ได้ลงทะเบียน จะต้องมีหนังสือรับรองตามแบบที่อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุกำหนด) และ 4) ผู้สูงอายุซึ่งอยู่ในศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุ สถานสงเคราะห์ สถานดูแล สถานคุ้มครอง หรือสถานใด ๆ ของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ดำเนินการจัดการศพตามประเพณี โดยมูลนิธิสมาคมวัด มัสยิด โบสถ์ ทั้งนี้ ผู้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ในการจัดการศพ (เช่น ครอบครัวผู้เสียชีวิต ญาติ ผู้รับผิดชอบจัดการศพ) ต้องยื่นคำขอในท้องที่ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน ภายใน 6 เดือนนับตั้งแต่วันที่ออกใบมรณบัตรพร้อมเอกสารสำคัญ เช่น ใบมรณบัตรของผู้สูงอายุ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐของผู้สูงอายุหรือหนังสือรับรอง บัตรประจำตัวประชาชน สมุดบัญชีหรือเลขที่บัญชีธนาคารของผู้ยื่นคำขอ (กรณีประสงค์จะขอรับเงินสด ให้ดำเนินการตามระเบียบของทางราชการ) เป็นต้น (กรุงเทพมหานครยื่นคำขอที่สำนักงานเขต และจังหวัดอื่นยื่นคำขอในท้องที่ เช่น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ที่ว่าการอำเภอ เป็นต้น) 6. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ รายงาน ผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทานประจำเดือนตุลาคม ? ธันวาคม 2564 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (23 มกราคม 2561) ที่ให้ สปน. รายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน] โดยมีส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการที่สำคัญ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน สรุปได้ ดังนี้ 1.1 รวบรวมข้อมูลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564) โดยมีประชาชนที่ลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทานแล้ว จำนวน 6,896,269 คน จำแนกได้ ดังนี้ กรุงเทพมหานคร จำนวน 455,861 คน และส่วนภูมิภาค จำนวน 6,440,408 คน โดยแบ่งออกเป็น เพศชาย จำนวน 3,086,681 คน เพศหญิง จำนวน 3,809,588คน 1.2 ติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ซึ่ง สปน. ได้รายงานผลการดำเนินงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบแล้ว ได้แก่ (1) โครงการที่ได้รับเงินพระราชทานบริจาคช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้ (2) โครงการ 1 จังหวัด 1 ถนนเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และ (3) โครงการสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก 2. การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ 17 หน่วยงาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 963,925 คน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา 904 สรุปได้ ดังนี้ การดำเนินการ/กิจกรรม ส่วนราชการ จำนวน (ครั้ง) 1) จิตอาสาพัฒนา ได้แก่ (1) การปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่ทำงานและบริเวณโดยรอบ (2) การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน (3) การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม (4) การบริจาคโลหิตและสิ่งของ (5) การปลูกต้นไม้ (6) การพัฒนาแหล่งน้ำ (ขุดลอกคลอง สร้างฝายชะลอน้ำ และกำจัดผักตบชวา) (7) การบริการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน (8) การทำแนวป้องกันไฟป่า และ (9) การบรรยายให้ความรู้แก่ประชาชน กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงพาณิชย์ มท. กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) 9,217 2) จิตอาสาภัยพิบัติ ได้แก่ (1) การช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในพื้นที่ ต่าง ๆ (มอบถุงยังชีพและบริจาคสิ่งของ) (2) การอำนวยความสะดวกให้ประชาชนที่เดินทางมาฉีดวัคซีน และ (3) การอบรมภัยพิบัติให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ กห. กค. พม. มท. ยธ. วธ. สธ. อก. ตช. และ กปส. 885 3) จิตอาสาเฉพาะกิจ ได้แก่ (1) การร่วมรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ (2) การจัดเตรียมสถานที่และร่วมพิธีเนื่องในวันสำคัญ และ (3) การบริจาคโลหิตถวายเป็นพระราชกุศล กห. กค. พม. กษ. ยธ. วธ. สธ. อก. สำนักงบประมาณ ตช. และ กปส. 43 4) วิทยากรจิตอาสา 904 โดยเป็นการบรรยายความรู้ในเรื่องการขับเคลื่อนงานจิตอาสาภาคประชาชน การน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การสร้างจิตสำนึกความเป็นพลเมือง และโครงการจิตอาสาพระราชทานตามพระราชดำริ กห. พม. กษ. ยธ. วธ. และ ตช. 18 รวม 10,163 3. สปน. ได้ดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน บูรณาการงานจิตอาสาภาครัฐ และติดตามโครงการจิตอาสาพระราชทาน ดังนี้ 3.1 เข้าร่วมการประชุมติดตามงานประจำสัปดาห์ร่วมกับศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 10 ครั้ง สรุปได้ ดังนี้ 3.1.1 รับทราบความคืบหน้าของโครงการต่าง ๆ เช่น (1) โครงการ?โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง กรมราชทัณฑ์? (2) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์ (3) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร (4) การดำเนินการคลองเปรมประชากร คลองแสนแสบ และคลองลาดพร้าว (5) การพัฒนาคูคลองในพื้นที่เขตหลักสี่ และ (6) การจัดตั้งศูนย์พักคอยในชุมชน (Community Isolation) และศูนย์พักพิงร่วมใจอุ่นไอรัก 3.1.2 รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานจิตอาสาภาครัฐของส่วนราชการ การจัดตั้งศูนย์อำนวยการจิตอาสาระดับกระทรวง/กรม และความคืบหน้าโครงการอารยเกษตรภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3.1.3 เสนอที่ประชุมในการจัดสัมมนาร่วมกับผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานจิตอาสาให้ภาครัฐสนับสนุนประชาชนร่วมกันทำกิจกรรมจิตอาสาด้วยตนเอง และการประสานอาชีวะจิตอาสาทุกจุดตรวจดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ณ จุดบริการประชาชนภายใต้มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ช่วงเทศกาลปีใหม่ 3.2 จัดสัมมนา ?การขับเคลื่อนงานจิตอาสาภาคประชาชน มุ่งผลสัมฤทธิ์? เมื่อวันที่ 15 - 16 ธันวาคม 2564 โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และระดมความคิดเห็นในการขับเคลื่อนงานจิตอาสา ภาคประชาชน 3.3 ประสานการดำเนินการจัดกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดความ รู้รัก สามัคคี เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยรวมอย่างต่อเนื่องต่อไป 7. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (28 ธันวาคม 2564) ที่ให้ คค. เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปพิจารณาดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว และให้รายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบภายใน 30 วัน] สรุปสาระสำคัญ ได้ ดังนี้ 1. การแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน1 โดยมีอำนาจหน้าที่ เช่น 1.1 ตรวจสอบการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. และ รับข้อเสนอแนะไปกำหนดแนวทางการบูรณาการของหน่วยงานในการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งกำกับดูแลการทำงานอย่างต่อเนื่อง 1.2 พิจารณาเสนอแนะแนวทาง นโยบาย มาตรการทางกฎหมาย และวิธีการป้องกัน การทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินเพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1.3 จัดทำรายงานผลการดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบและรายงานผลการดำเนินงาน ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมทราบทุก 30 วัน 2. การประชุมคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 สรุปได้ ดังนี้ 2.1 ผลการตรวจสอบการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ประเด็น การดำเนินการ/มติที่ประชุม (1) การบังคับใช้กฎหมายให้สามารถเอาผิดและลงโทษผู้ประกอบการที่บรรทุกน้ำหนักเกินอย่างเป็นรูปธรรม โดยในการจับกุมผู้กระทำความผิดฐานใช้รถบรรทุกน้ำหนักเกิน ให้เจ้าพนักงานทางหลวงแจ้งต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้ประกอบการรถบรรทุกในฐานะเป็นผู้ใช้ จ้าง วาน ของผู้ขับขี่รถบรรทุกคันก่อเหตุ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 842 - การจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกินของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) จะสิ้นสุดเมื่อลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจในท้องที่นั้น ๆ และจะมีการเพิ่มข้อความในบันทึกการจับกุมให้ดำเนินการกับผู้ว่าจ้างด้วย ทั้งนี้ ทล. จะสรุปผลการจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกินเป็นรายเดือนให้กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ดำเนินการลงโทษในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยจะมีการระบุหมายเลขทะเบียนรถจังหวัดที่รถจดทะเบียน และระบุว่ารถมีการดัดแปลงหรือไม่ เพื่อให้ ขบ. ตรวจสอบว่าตัวถังส่วนที่บรรทุกเป็นไปตามแบบที่กำหนดหรือไม่ หากพบว่ามีการกระทำความผิดให้ลงโทษตามกฎหมายอย่างเคร่งครัดต่อไป - ที่ประชุมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเกี่ยวกับการระบุข้อความเพิ่มเติมให้ตำรวจดำเนินการกับผู้กระทำความผิดหรือผู้จ้างวาน ซึ่งจะต้องมีหลักฐานเพิ่มเติม ดังนี้ 1) ให้ ทล. หารือและบูรณาการการดำเนินการร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เพื่อพิจารณาแนวทาง วิธีการดำเนินการตามกฎหมาย และหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อประกอบสำนวนและให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ ให้ประสานงานกับ ขบ. ในการลงโทษปรับผู้กระทำผิดด้วย 2) ให้ ทล. และ ทช. จัดส่งผลการจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกินให้ ขบ. อย่างต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการกับผู้ประกอบการที่มีการต่อเติม ดัดแปลง และแก้ไขรถบรรทุกอย่างเคร่งครัดต่อไป (2) การพิจารณาการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MoU) ในการควบคุม กำกับ ดูแลถนนในแต่ละเขตความรับผิดชอบอย่างบูรณาการ เพื่อจัดการกับรถบรรทุกที่กระทำความผิดอย่างเข้มงวด และการอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงาน รวมทั้งการจับกุมผู้กระทำความผิดให้แก่เจ้าหน้าที่ของ ทช. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลและควบคุมการใช้ถนนของรถบรรทุก - หน่วยงานในสังกัด คค. ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคอุตสาหกรรมปิโตรเลียม และสหพัฒธ์และสมาคมด้านการขนส่งได้มีการลงนามใน MoU โครงการรถบรรทุกสีขาว ว่าด้วยความร่วมมือในการกำกับควบคุมยานพาหนะไม่ให้บรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด และมีการจัดอบรมให้ความรู้แก่หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าพนักงานทางหลวงและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน - ที่ประชุมมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้ 1) ให้ ทล. พิจารณาปรับปรุงคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและจัดหลักสูตรอบรมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจับกุมให้ อปท. 2) ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นคัดเลือก อปท. ที่มีปัญหาเรื่องรถบรรทุกน้ำหนักเกินและขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลให้ ทช. ดำเนินการต่อไป 3) ให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายรวบรวมรายชื่อสมาคม สมาพันธ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งด้วยรถบรรทุก เพื่อให้ ทล. จัดทำ MoU เพิ่มเติมต่อไป (3) การจัดประชุมหารือร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อแก้ไขปัญหาในประเด็นการบังคับใช้กฎหมาย - ทล. ได้ศึกษาแนวทางแก้ไขกฎหมายในเบื้องต้นแล้ว โดยจะแก้ไขจากโทษอาญาให้เป็นโทษทางแพ่งที่มีอัตราก้าวหน้า รวมทั้งได้ศึกษาการเก็บค่าธรรมเนียมรถบรรทุกพิเศษ เช่น กลุ่มรถขนาดใหญ่ โดยจะแก้ไขพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด - ที่ประชุมมอบหมายให้ ทล. ประสานกับ ตช. เพื่อพิจารณาการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (4) การออกมาตรการให้รถบรรทุกมีใบชั่งระบุน้ำหนักบรรทุกตั้งแต่ต้นทางโดยเครื่องชั่งที่ได้รับการตรวจสอบมาตรฐานจากสำนักงานกลางชั่งตวงวัด กระทรวงพาณิชย์ เพื่อให้การควบคุมน้ำหนักที่ต้นทางเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ศูนย์กระจายสินค้า ท่าเรือ นิคมอุตสาหกรรม และโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากนี้ รถบรรทุกต้องมีป้ายแสดงน้ำหนักที่บรรทุกจริงขณะวิ่งและมีช่องทางให้ประชาชนแจ้งเบาะแสเมื่อพบผู้กระทำความผิด - มาตรการภายในสถานีขนส่งสินค้าของ ขบ. จะมีการบันทึกน้ำหนักโดยใช้เครื่องชั่งน้ำหนักขณะรถเคลื่อนที่ (Weight In Motion: WIM) ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ชั่ง ตวง วัด ส่วนมาตรการของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) รถบรรทุกที่วิ่งออกจากท่าเรือจะต้องมีการชั่งน้ำหนักทุกครั้งเพื่อควบคุมน้ำหนักที่ต้นทางให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด แต่เครื่องชั่งดังกล่าวยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานเครื่องชั่งน้ำหนัก อย่างไรก็ตาม กทท. ได้มีประกาศ เรื่อง ขอความร่วมมือผู้ประกอบการในการควบคุมพิกัดน้ำหนักรถบรรทุกที่ผ่านเข้า-ออกเขตรั้วศุลกากรท่าเรือกรุงเทพให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการหรือผู้ใช้บริการรายใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม กทท. จะงดให้บริการ นอกจากนี้ ทล. และ ขบ. ได้เปิดบริการสายด่วนเพื่อรับแจ้งเบาะแสเมื่อพบผู้กระทำความผิดด้วยแล้ว - การกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมยังไม่มีมาตรการบังคับให้โรงงานต้องมีเครื่องชั่งน้ำหนักและการใช้เทคโนโลยี On Board Weighing System เพื่อแสดงน้ำหนักที่บรรทุกจริงขณะวิ่ง ซึ่งจะต้องมีการลงทุนจำนวนมาก จึงเป็นการยากที่จะบังคับให้ผู้ประกอบการติดตั้งเทคโนโลยีดังกล่าว อย่างไรก็ตาม การบูรณาการความร่วมมือระหว่าง ทล. (รับผิดชอบด่านชั่งน้ำหนัก) ขบ. [รับผิดชอบข้อมูลระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (Global Positioning System: GPS) ติดตามรถ] และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) (รับผิดชอบข้อมูลใบชั่งระบุน้ำหนักบรรทุกตั้งแต่ต้นทาง) ซึ่งมีระบบการทำงานร่วมกันในรูปแบบ Online จะช่วยประหยัดทรัพยากรและลดระยะเวลาในการสุ่มตรวจสอบรถบรรทุกน้ำหนักเกิน - ที่ประชุมมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้ 1) ให้ อก. พิจารณาแนวทาง/มาตรการให้มีการชั่งน้ำหนักตั้งแต่ต้นทางเพื่อควบคุมน้ำหนักที่ต้นทางให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด 2) ให้ ทล. หารือร่วมกับ ขบ. ในการเชื่อมโยงข้อมูลระบบ GPS 3) ให้ กทท. ประสานงานกับสำนักงานกลางชั่งตวงวัดในการตรวจสอบรับรองมาตรฐานเครื่องชั่งน้ำหนัก (5) การผลักดันการนำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้ในการดำเนินการ เช่น เทคโนโลยีการตรวจชั่งน้ำหนักรถบรรทุกโดยใช้เครื่องชั่งน้ำหนักขณะเคลื่อนที่ความเร็วสูง (High-Speed Weigh-In-Motion: HSWIM) และเทคโนโลยีการตรวจชั่งน้ำหนักรถบรรทุกชนิดติดตั้ง ใต้สะพาน (Bridge Weigh-In-Motion: BWIM) มาใช้ในการจับกุมรถบรรทุกน้ำหนักเกินเพื่อลดปฏิสัมพันธ์และการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะส่งผลให้การบังคับใช้หรือปฏิบัติตามกฎหมายเป็นไปอย่างเท่าเทียม เสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ - ทล. และ ทช. ได้นำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติ HSWIM และ BWIM มาใช้ในการตรวจชั่งน้ำหนักรถบรรทุกแล้ว แต่ยังขาดการรับรองเครื่องชั่งน้ำหนักจากสำนักงานกลางชั่งตวงวัดเพื่อให้สามารถนำไปใช้ในกระบวนการดำเนินคดีตามกฎหมายได้ - ควรมีการพิจารณา 2 ประเด็น คือ 1) การพัฒนาและผลักดันการนำระบบเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้งาน โดยต้องผ่านการรับรองมาตรฐานจากสำนักงานกลางชั่งตวงวัด และ 2) แนวทางการนำข้อมูลและเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการบังคับใช้กฎหมายเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ - ที่ประชุมมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการ ดังนี้ 1) ให้ ทล. หารือร่วมกับสำนักงานกลางชั่งตวงวัดเพื่อกำหนดแนวทาง/มาตรฐานรับรองการใช้เครื่องชั่งน้ำหนัก WIM ทุกรูปแบบ 2) ให้ ทล. หารือร่วมกับ ตช. เกี่ยวกับการใช้ WIM ทุกรูปแบบและรูปถ่ายจากกล้องวงจรปิด CCTV ว่าสามารถใช้เป็นเอกสารหลักฐานประกอบสำนวนเพื่อดำเนินคดีทางกฎหมายได้หรือไม่ รวมถึงหาแนวทางในการแก้ไขกฎหมาย 3) ให้ ทล. ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ WIM ทุกรูปแบบในตำแหน่งที่มีความเหมาะสม (6) การเพิ่มมาตรการการกำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่มีปัญหาการทุจริต และการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยกฎหมายจากผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้น - ทล. ทช. และ ขบ. ได้กำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัดและกำหนดมาตรการลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือทุจริตโดยดำเนินการลงโทษทางวินัยขั้นเด็ดขาด และ ตช. มีมาตรการในการกำกับดูแลเจ้าหน้าที่ โดยมีศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับพฤติกรรมข้าราชการตำรวจ - ที่ประชุมเห็นควรเพิ่มมาตรการกำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพิ่มเติม โดยได้มอบหมายให้ ทล. ทช. ขบ. และ ตช. จัดส่งข้อมูลมาตรการกำกับดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่เพิ่มเติมเพื่อให้ฝ่ายเลขานุการสรุปในภาพรวมต่อไป 2.2 แนวทาง นโยบาย มาตรการทางกฎหมาย และวิธีการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน 2.2.1 ทล. ทช. และ ขบ. ได้จัดทำแนวทาง มาตรการ และวิธีการป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ประกอบด้วย มาตรการระยะสั้น ระยะยาว มาตรการเชิงรุก และมาตรการทางกฎหมายเบื้องต้น โดยจะมีการนำข้อมูลผลการตรวจสอบการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มาจัดกลุ่มและกำหนดเป็นแนวทาง/มาตรการเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินต่อไป 2.2.2 ที่ประชุมมอบหมาย ดังนี้ (1) ให้หน่วยงานพิจารณามาตรการเพิ่มเติมและจัดส่งข้อมูลให้ฝ่ายเลขานุการเพื่อจัดกลุ่มและกำหนดแนวทาง/มาตรการเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน เพื่อนำเสนอที่ประชุมครั้งต่อไป (2) ให้ฝ่ายเลขานุการรายงานผลการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ 3. คณะกรรมการพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกินอยู่ระหว่างติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการ รวมทั้งพิจารณากำหนดแนวทาง/มาตรการเพิ่มเติมเพื่อจัดกลุ่มและประมวลข้อมูล กำหนดกิจกรรม และจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action plan) ให้มีความชัดเจน โดยจะรับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ไปกำหนดแนวทางการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ??_________________________ 1 คำสั่ง คค. ที่ 18/2565 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาแนวทางการดำเนินการเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับรถบรรทุกน้ำหนักเกิน ลงวันที่ 14 มกราคม 2565 2 ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 84 บัญญัติให้ผู้ใดก่อให้ผู้อื่นกระทำความผิดไม่ว่าด้วยการใช้ บังคับ ขู่เข็ญ จ้าง วานหรือยุยงส่งเสริม หรือด้วยวิธีอื่นใด ผู้นั้นเป็นผู้ใช้ให้กระทำความผิด ถ้าความผิดมิได้กระทำลงไม่ว่าจะเป็นเพราะผู้ถูกใช้ไม่ยอมกระทำ ยังไม่ได้กระทำ หรือเหตุอื่นใด ผู้ใช้ต้องระวางโทษเพียงหนึ่งในสามของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ถ้าผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดนั้น ผู้ใช้ต้องได้รับโทษเสมือนเป็นตัวการ และถ้าผู้ถูกใช้เป็นบุคคลอายุไม่เกินสิบแปดปี ผู้พิการ ผู้ทุพพลภาพ ลูกจ้างหรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้ใช้ ผู้ที่มีฐานะยากจน หรือผู้ต้องพึ่งพาผู้ใช้เพราะเหตุป่วยเจ็บหรือไม่ว่าทางใด ให้เพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้ใช้กึ่งหนึ่งของโทษที่ศาลกำหนดสำหรับผู้นั้น 8. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 9 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2564) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. นโยบายหลัก 11 ด้าน นโยบายหลัก มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ 1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ 1.1) กิจกรรมเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร 5 ธันวาคม 2564 โดย แจกต้นกล้าให้แก่กำลังพลที่มาร่วมกิจกรรมฯ จำนวน 1,000 ต้น และให้กำลังพลดังกล่าวรับฟังการบรรยายพิเศษจากวิทยากรในหัวข้อเรื่อง ?ในหลวงรัชกาลที่ 9 กับ การพัฒนาที่ดิน? และเรื่อง ?โครงการพระราชดำริที่เกี่ยวข้องกับดิน? 1.2) โครงการวิทยากรส่งเสริมคุณธรรม Sustainability c Moral ?ตามรอยพระราชา? สร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนจากศาสตร์พระราชา โดย การอบรมพัฒนาวิทยากรจากแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศตามเส้นทางในหนังสือเดินทางตามรอยพระราชา จำนวน 30 คน 1.3) การประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2564 ?41 ปี ด้วยพระเมตตาแห่งการศึกษาพัฒนาวิชาการ-จริยธรรม งานการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร? โดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นประธานการประชุมวิชาการฯ เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และทรงบรรยาย เรื่อง ?การพัฒนาเด็กและเยาวชนหลังโควิด-19? 1.4) รางวัลพระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษาประจำปีการศึกษา 2563 โดยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เสด็จแทนพระองค์เพื่อพระราชทานรางวัล แก่นักเรียน นักศึกษาซึ่งเรียนดี ประพฤติดี และผู้แทนสถานศึกษาที่จัดการศึกษามีคุณภาพได้มาตรฐานดีเด่นของแต่ละปีการศึกษาทั่วประเทศที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 342 คน 2) การสร้างความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ 2.1) ผลักดันความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ไทย-เกาหลี ในด้านต่าง ๆ เช่น ความร่วมมือทางทหาร และการสนับสนุนการฉีดวัคซีน 2.2) จัดตั้ง ?ศูนย์เฉพาะกิจเฝ้าระวังความปลอดภัยของประชาชน? เพื่อเฝ้าระวัง ผู้พ้นโทษไม่ให้กลับไปกระทำผิดซ้ำ และให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับสังคมได้ตามปกติ 2.3) ปราบปรามและบังคับใช้กฎหมาย โดยดำเนินการจับกุมคดียาเสพติดในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564 จำนวน 72,270 คดี จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบกในเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 293 ครั้ง และตรวจพบ การกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากร 1,509 คดี 3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม 3.1) กิจกรรมทางศาสนาเสริมสร้างความเป็นสิริมงคล ประกอบด้วย (1) กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี เสริมสิริมงคลทั่วไทย ส่งท้ายปีเก่าวิถีใหม่ ระหว่างวันที่ 31 ธันวาคม 2564 - 1 มกราคม 2565 ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และในต่างประเทศ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และ (2) ผลิตสื่อสวดมนต์ข้ามปีเสริมสิริมงคลทั่วไป ส่งท้ายปีเก่าวิถีใหม่รูปแบบ Web Application เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยสามารถเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ได้อย่างทั่วถึง 3.2) กิจกรรมท่องเที่ยววัฒนธรรม ท่องเที่ยววิถีใหม่ ประกอบด้วย (1) ส่งเสริมอัตลักษณ์ชุมชนอัตลักษณ์ไทย สู่เส้นทางท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ในงาน ?เที่ยวทั่วไทย สไตล์พรีเมี่ยม? ครั้งที่ 27 เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญทั่วประเทศ และ (2) จัดทำแอปพลิเคชัน ?เที่ยวเท่ ๆ เสน่ห์เมืองไทย? เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ยกระดับการให้บริการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว เส้นทางการท่องเที่ยว พร้อมระบบการนำทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวทั่วประเทศไทยได้อย่างถูกต้องแม่นยำ 3.3) ขึ้นทะเบียน ?โนรา? เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ ซึ่งรับรองโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก คำปราศรัยเนื่องในวาระครบรอบ 75 ปี การเป็นสมาชิกสหประชาชาติของไทย โดยนายกรัฐมนตรีได้ย้ำความพร้อมเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือและคงบทบาท ?เข้มแข็ง สร้างสรรค์ และต่อเนื่อง? ภายใต้ 3 เสาหลัก* ของสหประชาชาติ และเร่งดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ภายในปี 2573 5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย เรื่อง มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ (1) การพัฒนาภาคอุตสาหกรรม (1.1) ขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ปี 2564 เช่น ส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และขับเคลื่อนและเร่งรัดการลงทุนอุตสาหกรรมชีวภาพในพื้นที่นำร่อง (1.2) จัดทำระบบติดตามรถขนส่งกากอันตราย (E-Fully Manifest) เพื่อลดปัญหาการลักลอบทิ้งกากซ้ำซาก (2) การพัฒนาภาคเกษตร (2.1) ลงนามบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ 2 ฉบับ ได้แก่ บันทึกข้อตกลงในการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน และบันทึกข้อตกลงความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการและการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประกันภัยการเกษตร (2.2) แปรรูปยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างมูลค่าเพิ่ม โดยมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่ผู้ประกอบการมากกว่า 500 คน (3) การพัฒนาภาคการท่องเที่ยว (3.1) สร้างแพลตฟอร์ม ?ระบบการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง (Ease of Traveling) เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยค้นหาข้อมูลได้ทุกกระบวนการเกี่ยวกับการเดินทางเข้า-ออกราชอาณาจักรไทย (3.2) จัดงานประกาศเกียรติคุณนักกีฬาดีเด่นเนื่องในวันกีฬาแห่งชาติ ประจำปี 2564 (4) การพัฒนาการค้าการลงทุน เพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้า การบริการ และการลงทุนในภูมิภาค (4.1) บูรณาการส่งเสริมการค้าชายแดน เกิดมูลค่าทางการค้า 8.6 แสนล้านบาท โดยมีการดำเนินการ เช่น ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้าในประเทศและการเชื่อมโยงกับ ASEAN Single Window (ASW) และการพัฒนาการเชื่อมโยงการค้าผ่านแดนไปประเทศที่สาม (4.2) จัดงาน ?Phuket Gems & Jewelry Fest? เพื่อสร้างเวทีการค้าให้กับผู้ประกอบการอัญมณีและจิวเวลรี่ไทยระหว่างวันที่ 8-12 ธันวาคม 2564 โดยมีผู้นำเข้าร่วมกิจกรรม 79 ราย จาก 31 ประเทศ เกิดการจับคู่ธุรกิจ 106 คู่ ทั้งนี้ สามารถสร้างมูลค่าการซื้อขายภายใน 1 ปี รวมกว่า 168 ล้านบาท (5) การพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน (5.1) ขับเคลื่อนการเดินเรือเฟอร์รี่ข้ามอ่าวจากภาคตะวันออกสู่ภาคใต้ โดยศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งสายการเดินเรือแห่งชาติ 2 เส้นทาง ได้แก่ การเดินเรือภายในประเทศเชื่อมโยงการเดินทางอ่าวไทย และการเดินเรือในระดับ International แบ่งเป็นสานการเดินเรือฝั่งตะวันออกและตะวันตก (5.2) ดำเนินโครงการโซล่าร์ภาคประชาชน เพื่อสนับสนุนภาคประชาชนให้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อ ใช้เอง (6) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม ดำเนินโครงการ ?ศิริราชต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G (Siriraj World Class 5G Smart Hospital)? โดยนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ในการป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสุขภาพ รวมทั้งจัดตั้ง Innovation Lab และแพลตฟอร์มนวัตกรรม (7) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ จัดงาน ?MOC แฟรนไชส์สร้างอาชีพ 2021? ระหว่างวันที่ 15-19 ธันวาคม 2564 เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจแฟรนไชส์ มีผู้เข้าร่วมงาน 4,183 ราย และมีผู้เจรจาจับคู่ธุรกิจและซื้อแฟรนไชส์ 2,556 ราย คิดเป็นมูลค่ากว่า 116 ล้านบาท 6) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญ สู่ภูมิภาค 6.1) สนับสนุนการลงทุนเขตพัฒนาพิเศษ ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) (จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) และในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) 10 จังหวัด (จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย ตราด ตาก นครพนม มุกดาหาร สงขลา สระแก้ว หนองคาย และนราธิวาส) 6.2) มอบตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทย เช่น ขอนแก่น เมืองอัจฉริยะ และฉะเชิงเทรา เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยวน่าลงทุน 7) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก 7.1) อนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาผ้าไทย เช่น ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ลายผ้าพระราชทาน ?ผ้ามัดหมี่ลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ? โดยมีผลจากการจำหน่าย จำนวน 500 ล้านบาท 7.2) ขับเคลื่อนนโยบายการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : การตรวจสอบข้อมูลเป้าหมายจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) จำนวน 983,316 คน (568,047 ครัวเรือน) โดยดำเนินการตรวจสอบข้อมูลแล้ว จำนวน 566,678 ครัวเรือน คิดเป็นร้อยละ 99.76 8) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย 8.1) ค้นหาและติดตามเด็กตกหล่นและออกกลางคันกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา ?สพฐ. ห่วงใย ปักหมุด นำนักเรียนไทย กลับสู่ห้องเรียน? ให้ได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพและศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกแห่ง 8.2) สร้างโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการและผู้ด้อยโอกาส ?กศน. ปักหมุดบ้านคนพิการและผู้ด้อยโอกาส อายุ 18 ปีขึ้นไป? 12,649 คน ให้เข้าสู่ระบบการศึกษา 8.3) ฝึกอบรมอาชีพระยะสั้น Re-Skill, Up-Skill และ New-Skill แก่นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และประชาชน 38,500 คน 9) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม 9.1) ดำเนินโครงการบริการด้านสาธารณสุข ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพ ปี 2565 กรอบวงเงิน 31,662.91 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้สถานพยาบาลตรวจคัดกรอง และรักษาพยาบาลต่าง ๆ เกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับประชาชนทั่วไป 9.2) ดำเนินโครงการเยียวยาผู้ประกันตนในกิจการสถานบันเทิงและผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ โดยให้ได้รับเงินเยียวยาในอัตรา 5,000 บาทต่อคน ซึ่งมีการโอนเงินแล้วทั้งสิ้น 35,781 ราย เป็นเงิน 178 ล้านบาท 10) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน 10.1) ดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green National Park) ในช่วงปี 2560-2564 มีอุทยานแห่งชาติเข้าร่วมโครงการฯ 117 แห่ง โดยผ่านเกณฑ์การประเมิน 102 แห่ง 10.2) พัฒนาสวนสัตว์เพื่อความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ เช่น (1) จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการเรียนรู้แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่และส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อการท่องเที่ยว และ (2) จัดทำแผนปฏิบัติการ Zoo New Norm after COVID-19 11) การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม 11.1) ดำเนินโครงการศาลทหารต้นแบบ ระยะที่ 3 โดยกำหนดขั้นตอนการบริหารจัดการคดีเพื่อสนับสนุนการพิจารณาให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ 11.2) ดำเนินโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีเรื่องไกล่เกลี่ยสำเร็จ 3,019 เรื่อง 2. นโยบายเร่งด่วน 9 เรื่อง นโยบายเร่งด่วน มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ 1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน 1.1) กยศ. ขยายเวลามาตรการลดหย่อนหนี้แก้ผู้กู้ยืม จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเหลือร้อยละ 0.01 ต่อปี 1.2) ดำเนินโครงการระบบชำระค่าผ่านทางด้วยเทคโนโลยี Europay Mastercard and Visa: EMV Contactless เพื่อให้ประชาชนเดินทางสะดวก ชีวิตสบาย แตะ-จ่าย ด้วยบัตรใบเดียว 2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 2.1) ดำเนินโครงการสร้างอาชีพใหม่หลังโควิด-19 เช่น (1) พี่สอนน้องคล่องธุรกิจ พิชิตฝัน (2) การขายของออนไลน์ (E-Commerce) และ (3) สร้างอาชีพผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) 2.2) ดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยโอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ 47,932.75 ล้านบาท และจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม 141,737.48 ล้านบาท 3) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม 3.1) ดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี 3.59 ล้านราย และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 96,626 ราย ในปีการผลิต 2564 3.2) จัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 18 ?กัญชานำไทยสมุนไพรสร้างชาติ? มีการนำเสนอศักยภาพสมุนไพรไทยพลิกฟื้นเศรษฐกิจชาติทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพ นวัตกรรมการบริการและเส้นทางท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอบรมความรู้สมุนไพรต้านภัยโควิด-19 แจกต้นกล้าพันธุ์ไม้สมุนไพรและยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร 4) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน 4.1) พัฒนาอาชีพภาคการท่องเที่ยว เปิดประตูสู่การสร้างรายได้ที่ยั่งยืน โดยฝึกอบรมและทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานให้แก่ผู้ขับรถรับจ้างสาธารณะหรือกลุ่มวินมอเตอร์ไซค์ 21 คน แรงงานในภาคบริการและการท่องเที่ยว 39 คน และแรงงานในภาคการท่องเที่ยวสาขาพนักงานนวดไทย 10 คน 4.2) ดำเนินโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs รอบที่ 2 เพื่อช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก-กลางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีสถานประกอบการลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ 21,348 ราย คิดเป็นเม็ดเงินอุดหนุนตลอดโครงการ (2 เดือน) ประมาณ 1,028.08 ล้านบาท 5) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต ดำเนินโครงการส่งเสริมและต่อยอดการพัฒนาเพื่อการขยายธุรกิจสู่สากล (SME SCALE UP) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยได้จัดทำฐานข้อมูลหน่วยงานวิจัย สถาบันการศึกษาภาคเอกชน/ศูนย์ความเชี่ยวชาญต่าง ๆ ในแต่ละสาขาการวิจัย จำนวน 58 หน่วยงาน และมีผู้ได้รับการต่อยอดการพัฒนาโดยการนำงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม หรือแนวทางการพัฒนาต่าง ๆ ไปใช้ในธุรกิจแล้ว 101 กิจการ และคาดว่าเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 154.57 ล้านบาท 6) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรษที่ 21 6.1) สร้างความรู้ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยี ดิจิทัล สื่อออนไลน์ ผ่านโครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม และโครงการเฝ้าระวังเว็บไซต์ผิดกฎหมาย 6.2) ดำเนินโครงการพัฒนามหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย เพื่อการจัดการเรียนการสอนในระบบเปิด ซึ่งมีจำนวนผู้เรียนมากถึง 1.30 ล้านคน และมีผู้เรียนจบจนได้รับใบประกาศนียบัตรมากกว่า 1.10 ล้านใบ 7) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เช่น การจับกุม ยาบ้า 19.61 ล้านเม็ด ยาไอซ์ 604.2 กิโลกรัม และกัญชาแห้ง/กัญชาอัดแท่ง 8,400 กิโลกรัม 8) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน 8.1) ดำเนินโครงการ Digital Transcript ยกระดับอุดมศึกษาไทย สู่ยุคดิจิทัล ?สะดวก รวดเร็ว เชื่อถือได้? โดยลดงบประมาณในการออกเอกสารสำคัญทางการศึกษาในรูปแบบกระดาษ มีสถาบันอุดมศึกษาพร้อมให้บริการ 39 แห่ง 8.2) ดำเนินโครงการอาชีวะอาสา ร่วมด้วยช่วยประชาชน เทศกาลปีใหม่ 2565 โดยให้บริการจุดพักรถ-พักคน บนถนนสายหลักและสายรอง 225 ศูนย์ทั่วประเทศ รวมทั้งให้บริการศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน เพื่อลดรายจ่ายให้แก่ประชาชนผ่านแอปพลิเคชัน ?ช่างพันธุ์ R อาชีวะซ่อมทั่วไทย? โดยทีมช่างพันธุ์ R อาชีวะจิตอาสาจาก 100 ศูนย์ Fix it Center ทั่วไทย ออกให้บริการซ่อมถึงบ้านฟรี 9) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย 9.1) จัดการน้ำท่วมและอุทกภัย โดยดำเนินโครงการต่าง ๆ เช่น โครงการบรรเทาอุทกภัย อำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ (ระยะที่ 1) และโครงการปรับปรุงคลองยม-น่าน (เพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขตพื้นที่ต่อเนื่องสุโขทัย) 9.2) สนับสนุนวิจัยโครงการส่งน้ำและบำรุงท่อทองแดง เพิ่มปริมาณส่งน้ำในพื้นที่เพาะปลูกชลประทานช่วงฤดูแล้ง โดยพัฒนาระบบสนับสนุนการตัดสินใจบริหารจัดการน้ำชลประทาน * 3 เสาหลักของสหประชาชาติ ได้แก่ ด้านสันติภาพและความมั่งคง ด้านสิทธิมนุษยชน และด้านการพัฒนา 9. เรื่อง สรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนมกราคม 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการประจำเดือนมกราคม 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ 1. สถานการณ์ราคาสินค้าและบริการเดือนมกราคม 2565 ดังนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคอยู่ในระดับ 103.01 เป็นผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมกราคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 3.23 (YoY) จากร้อยละ 2.17 ในเดือนก่อนหน้า เงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นในเดือนนี้เป็นเงินเฟ้อระดับปานกลางที่ค่อนข้างต่ำเกือบเป็นเงินเฟ้ออ่อนหากพิจารณาสถานการณ์เงินเฟ้อทั่วโลก อาทิ สหรัฐอเมริกา สูงขึ้นร้อยละ 7.0 (YoY) สหราชอาณาจักรสูงขึ้นร้อยละ 5.4 (YoY) อินเดีย สูงขึ้นร้อยละ 5.59 (YoY) เกาหลีใต้ สูงขึ้นร้อยละ 3.7 (YoY) และฟิลิปปินส์ สูงขึ้นร้อยละ 3.6 (YoY) (อัตราเงินเฟ้อของแต่ละประเทศอาจจะไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้โดยตรง เนื่องจากแต่ละประเทศมีปัจจัยเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องแตกต่างกัน) ซึ่งอัตราเงินเฟ้อของไทยยังถือว่ามีความเหมาะสมภายใต้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและคาดว่าจะเป็นการสูงขึ้นเพียงชั่วคราว เนื่องจากคาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกจะปรับตัวลดลงตามอุปทานที่ทยอยปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับตัวลดลง นอกจากนี้ คาดว่าปัญหาการขาดแคลนตู้สินค้าเปล่าและแรงงานจะสามารถคลี่คลายได้ในช่วงครึ่งปีหลังเช่นกัน สาเหตุสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 3.23 (YoY) คือ สินค้าในกลุ่มพลังงาน ที่ได้ส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเงินเฟ้อ โดยสินค้ากลุ่มพลังงานมีผลต่อการสูงขึ้นของเงินเฟ้อถึงร้อยละ 2.25 เมื่อเทียบกับสินค้าในกลุ่มอาหารสด อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด และไข่ไก่ ส่งผลต่อเงินเฟ้อน้อยมาก โดยเนื้อสุกร มีผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.67 ไก่สด มีผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.03 และไข่ไก่ มีผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.05 นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ปรับราคาสูงขึ้นเล็กน้อยตามต้นทุน (ค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และ ค่าจ้างแรงงาน) จึงส่งผลต่อเงินเฟ้อไม่มากนัก อาทิ น้ำมันพืช อาหารบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน และค่าบริการส่วนบุคคล นอกจากนี้ จากการที่อัตราเงินเฟ้อในเดือนมกราคม 2565 เพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 3.23 (YoY) เพราะฐานราคาเดือนเดียวกันของปี 2564 ค่อนข้างต่ำ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า สินค้าในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิง ที่สูงขึ้นร้อยละ 27.89 (YoY) ส่งผลให้เงินเฟ้อในเดือนนี้สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่สินค้ากลุ่มอาหาร เพิ่มสูงขึ้นเพียงร้อยละ 2.39 (YoY) จึงยังไม่ถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อของไทยเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับสินค้าในกลุ่มพลังงาน อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ปรับลดลง อาทิ ข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า ผักสด ผลไม้สด เสื้อผ้า ค่าเช่าบ้าน และค่าเล่าเรียน ส่งผลให้เงินเฟ้อของไทยขยายตัวในระดับที่ไม่สูงมากนัก เงินเฟ้อที่สูงขึ้นในเดือนนี้ สอดคล้องกับเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญหลายตัวที่ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านอุปสงค์ ได้แก่ ยอดการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ปริมาณนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ และการส่งออกสินค้าที่ยังคงขยายตัวได้ดี ด้านอุปทาน ได้แก่ กำลังการผลิตดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ดัชนีการจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง และยอดการจัดเก็บภาษีธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับดัชนีราคาผู้ผลิต ที่สูงขึ้นร้อยละ 8.7 (YoY) จากร้อยละ 7.7 ในเดือนก่อนหน้าและดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง ที่สูงขึ้นร้อยละ 6.1 (YoY) จากร้อยละ 8.9 ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 44.6 จากระดับ 47.0 ในเดือนก่อนหน้า 2. แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป เดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นอีก สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามราคา ในตลาดโลก ประกอบกับราคาฐานของเดือนเดียวกันในปีที่ผ่านมายังอยู่ในระดับต่ำ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นตามค่าวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าจ้างแรงงาน และยกเลิกการยกเว้นการเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี 2565 ซึ่งจะส่งผลต่อภาคการผลิตและราคาขายปลีกสินค้าและบริการในลำดับต่อไป 10. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนธันวาคม 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนธันวาคม 2564 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2564 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 6.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการซื้อในประเทศและต่างประเทศที่เริ่มขยายตัวในหลายสินค้า หลังจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนธันวาคม 2564 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ 1. รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 9.15 ตามการขยายตัวของตลาดส่งออกเป็นหลัก ด้วยผลของเศรษฐกิจโลกพื้นตัว หนุนให้กลุ่มประเทศคู่ค้ามีความต้องการรถยนต์มากขึ้น 2. การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 7.54 จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดและการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยว หลังประชาชนได้รับวัคซีนในอัตราสูง ทำให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีมากขึ้น ความต้องการน้ำมันขนส่งและเดินทางจึงเพิ่มสูงตาม 3. น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 31.52 จากการเปิดหีบอ้อยเร็วกว่าปีก่อนและมีจำนวนโรงงานที่เริ่มเปิดหีบมากกว่าปีก่อน รวมถึงสภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมากกว่าปีก่อน ส่งผลให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบปีนี้มีมากกว่า 4. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 14.24 ตามความต้องการใช้ในตลาดโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่อง เพื่อนำไปใช้ในกลุ่มสินค้าในชีวิตประจำวันต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น อาทิ รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน 5. ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางรถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 16.08 ตามการขยายตัวของตลาดส่งออกที่เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าฟื้นตัวและมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามามากขึ้น รวมถึงขยายตัวตามความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง 11. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม ครั้งที่ 1/2564 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม (กบสท.) เสนอ ผลการประชุม กบสท. ครั้งที่ 1/2564 และมอบหมายให้ สศช. ประสานกับกระทรวงมหาดไทย (มท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละแนวทาง เพื่อจัดกลุ่มแนวทางที่ต้องเร่งดำเนินการให้เห็นผลภายในปี 2565 สาระสำคัญของเรื่อง การประชุม กบสท. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. รับทราบเรื่องต่าง ๆ ดังนี้ (1) ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม พ.ศ. 2563 และการแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน (2) สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำและความยากจนของประเทศไทย ปี 2563 และ (3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความเสมอภาคและความเท่าเทียมทางสังคม ประกอบด้วย แผนระดับ 1 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม แผนระดับ 2 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง ใน 4 ประเด็น ได้แก่ เศรษฐกิจฐานราก ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม พื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ และพลังทางสังคม รวมทั้งร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) 2. เห็นชอบหลักการของแนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคและ ความเท่าเทียมทางสังคม ใน 4 ระดับ ได้แก่ ระดับบุคล ระดับครัวเรือนและชุมชน ระดับชุมชน และระดับเมือง (ศูนย์กลางความเจริญแต่ละภูมิภาค) เพื่อเป็นกรอบการขับเคลื่อน โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ระดับ ประเด็นการขับเคลื่อน (1) ระดับบุคคล สร้างระบบและกลไกให้ความช่วยเหลือเด็กนักเรียนยากจนพิเศษเป็นรายบุคคล โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ กลุ่มนักเรียนยากจนพิเศษในครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น* และกลุ่มเด็กอายุ 15-21 ปี ที่ไม่ได้อยู่ในระบบการศึกษาและไม่ได้ทำงาน ซึ่งต้องมีการระบุตัวตนของกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน โดยเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ให้อยู่ในระบบเดียวกัน เช่น ฐานข้อมูลสำหรับการพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (TPMAP) ฐานข้อมูลของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของภาคครัวเรือนไทย 1) มาตรการให้ความช่วยเหลือเฉพาะเป็นรายบุคคล เช่น (1) วางแผน พัฒนา และติดตตามเด็กยากจนพิเศษจากครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น (2) จัดทำข้อมูลและแผนการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่นและหลากหลายเป็นรายบุคคล (3) ติดตามช่วยเหลือให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นและพัฒนาทักษะอาชีพและ (4) เพิ่มโอกาสการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 2) เชื่อมโยงการเรียนรู้ทุกประเภทและเปิดทางเลือกในการเรียนรู้ โดยเร่งรัดการจัดทำระบบธนาคารหน่วยกิตในทุกระดับการศึกษาเพื่อให้เกิดการเทียบโอนระหว่างทักษะ ประสบการณ์ กับคุณวุฒิการศึกษาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 3) มาตรการช่วยเหลือครอบครัวของเด็ก เช่น ให้ความช่วยเหลือทางสังคมแบบมุ่งเป้าและส่งเสริมการประกอบอีพที่มีรายได้สูงขึ้น (2) ระดับครัวเรือนและชุมชน ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยใช้กลไกกองทุนประชารัฐสวัสดิการและเพิ่มบทบาทให้กองทุนร่วมสนับสนุนแผนงานโครงการพัฒนาชุมชนจากภาคเอกชนและภาคประชาสังคม มีกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มประชากรร้อยละ 40 ที่มีรายได้ต่ำสุด กลุ่มผู้ประกอบการท้องถิ่น และวิสาหกิจชุมชน 1) เพิ่มการเข้าถึงดิจิทัลทั้งระบบ เช่น (1) อุดหนุนการเข้าถึงและเพิ่มศักยภาพการใช้ดิจิทัลทั้งระบบแก่กลุ่มเปราะบางเพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการพื้นฐานด้านสาธารณสุข การศึกษา และการประกอบอาชีพ และ (2) ออกมาตรการจูงใจให้เข้ารับการอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ 2) บูรณาการฐานข้อมูลคลัสเตอร์ผู้ประกอบการท้องถิ่นกับหน่วยวิจัยและพัฒนาของสถาบันศึกษาในระดับจังหวัดให้อยู่ในรูปของ Open Data เพื่อเป็นคลังข้อมูลและความรู้กลางให้ผู้ประกอบการและประชาชนสามารถเข้าถึงอย่างเท่าเทียมเพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนท้องถิ่น (3) ระดับชุมชน พัฒนาหลักประกันและความคุ้มครองทางสังคมให้ครอบคลุม แก้ไขปัญหาคนตกหล่นจากมาตรการสวัสดิการแห่งรัฐหรือระบบฐานข้อมูลที่สำคัญ 1) ปรับปรุงฐานข้อมูล TPMAP และข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) โดยใช้กลไกในพื้นที่ของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) และกลไกของภาคีพัฒนาอื่น ๆ ในพื้นที่ เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลรายบุคคลให้ครอบคลุมประชากรจากครัวเรือนยากจนข้ามรุ่นทุกคนและเป็นปัจจุบัน 2) เพิ่มระดับการออมในระบบประกันสังคมและการออมภาคสมัครใจ โดยปรับปรุงรูปแบบการจ่ายเงินสมทบและสิทธิประโยชน์ให้มีความหลากหลาย ส่งเสริมการออมเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับวัยเกษียณอายุ และพัฒนาระบบบริการข้อมูลทางการเงินเพื่อการเกษียณ 3) จัดทำระบบให้ความช่วยเหลือในยามวิกฤตจากบทเรียนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้ทุนทางสังคมและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการกำหนดแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาและเชื่อมโยงหน่วยงานรัฐกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่ให้พร้อมช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอย่างมีประสิทธิภาพ (4) ระดับเมือง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการในเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของภูมิภาคให้เข้าถึงประชาชนทุกกลุ่ม โดยระยะแรกดำเนินการโดยเน้นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ 6 เมือง (กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น เมืองในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จังหวัดสงขลา และภูเก็ต) ตามที่กำหนดในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในแผนย่อยของประเด็นพื้นที่และเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ 1) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและบริการของเมืองเพื่อรองรับการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้แก่ (1) ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบคมนาคมขนส่ง ระบบดิจิทัล สาธารณสุข และการศึกษาให้สอดคล้งกับอัตลักษณ์และความต้องการของพื้นที่เพื่อพัฒนาภาคให้เป็นฐานเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ (2) พัฒนาระบบข้อมูลสาสนเทศเพื่อการพัฒนาพื้นที่และเมืองร่วมกันระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน โดยวางแผนการพัฒนาให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง และภัยพิบัติ และ (3) เสริมสร้างสมรรถนะประชาชนท้องถิ่นในทุกระดับให้มีศักยภาพในการบริหารจัดการพื้นที่และเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ในเมืองเพื่อประชาชนทุกกลุ่ม พัฒนาระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยส่งเสริมให้ภาคส่วนต่าง ๆ สร้างและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย มีคุณภาพ และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน โดยมีมาตรการทางภาษีและมาตรการจูงใจ ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ สศช. ประสานงานกับ มท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละแนวทางเพื่อจัดกลุ่มแนวทางที่ต้องเร่งดำเนินการให้เห็นผลภายในปี 2565 * ครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น คือครัวเรือนที่มีเด็กและเยาวชนอายุ 0-18 ปี และมีความขัดสนทางรายได้หรือมิใช่รายได้ อย่างน้อยอย่างใดอย่างหนึ่ง จาก 4 มิติ ได้แก่ (1) มิติด้านสุขภาพ (2) มิติด้านสิ่งแวดล้อม (3) มิติด้านการศึกษา และ (4) มิติด้านความมั่นคงทางการเงิน 12. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมติและรับทราบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 และผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2565 ดังนี้ 1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2565 1.1 อนุมัติให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ม.ขอนแก่น) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการผลิตชั้นกรองของหน้ากาก N95 โดยอาศัยคุณสมบัติทริโบอิเล็กทริคของเส้นใยนาโนธรรมชาติและนาโนซิลเวอร์ (B056) (โครงการผลิตชั้นกรองของหน้ากาก N95) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนเมษายน 2565 และเปลี่ยนแปลงการจัดหาวัสดุโพลิเมอร์ (Polymer) สำหรับการผลิตชั้นกรองหน้ากาก N95 จากการจัดหาโดยการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นจากบริษัทผู้ผลิตภายในประเทศ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 1.2 อนุมัติให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ม.เชียงใหม่) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (โครงการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด 19) ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ กรอบวงเงิน 51 ล้านบาท โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นสิ้นสุดเดือนตุลาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบแล้ว 1.3 อนุมัติให้ ม.เชียงใหม่ เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการการพัฒนาห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 เพื่อรองรับการเป็นเครือข่ายห้องปฏิบัติการวินิจฉัยการติดเชื้อโรคโควิด 19 และเชื้อโรคระบาดอื่น ๆ ในเขตภาคเหนือ (โครงการการพัฒนาห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3) ของ ม.เชียงใหม่ โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมเดือนธันวาคม 2564 เป็นเดือนกันยายน 2565 เนื่องจากได้ดำเนินการผูกพันสัญญาแล้ว ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบแล้ว 1.4 อนุมัติให้มหาวิทยาลัยมหิดล (ม.มหิดล) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผลผลิตทางการเกษตรเพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ จังหวัดกาญจนบุรี (โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์แปรรูปฯ) กรอบวงเงิน 1.2 ล้านบาท โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นเดือนเมษายน 2565 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้การดำเนินโครงการล่าช้ากว่าแผนที่ได้รับอนุมัติไว้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 1.5 อนุมัติให้จังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงมหาดไทย (มท.) ขยายระยะเวลาโครงการจ้างงานเพื่อสนับสนุนการผลิตผักปลอดภัยปรุงอาหารให้ผู้ป่วยโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ (โครงการจ้างงานเพื่อสนับสนุนการผลิตผักปลอดภัยฯ) กรอบวงเงิน 894,240 บาท จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นเดือนเมษายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว 1.6 มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการตามข้อ 1.1 - 1.5 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการตามที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ และเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยกรณีที่ได้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้เร่งดำเนินการคืนเงินกู้เหลือจ่ายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ตามข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจประทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ พ.ศ. 2563) โดยเคร่งครัด 1.7 รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ กู้เงินฯ พ.ศ. 2563) ราย 3 เดือน ครั้งที่ 7 (1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มกราคม 2565) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของ คกง. โดยเคร่งครัด 2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 7/2565 2.1 อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5(2)1 แห่งพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5(1)2 แห่งพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพิ่มเติม (ครั้งที่ 4) จำนวน 34,500 ล้านบาท เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19 2.2 อนุมัติโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (โครงการค่าบริการฯ) ปี 2565 รอบที่ 2 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เพื่อเป็นค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคโควิด 19 และบริการอื่นที่เกี่ยวข้องที่หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลให้บริการแล้วระหว่างเดือนธันวาคม 2564 - เดือนกุมภาพันธ์ 2565 กรอบวงเงินรวม 34,528.866 ล้านบาท โดยเห็นควรให้ สปสช. ให้ความสำคัญกับการกำกับและตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้แก่หน่วยบริการให้สอดคล้องกับการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 ที่เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ กรณีโรคโควิด 19 (หลักเกณฑ์ UCEP Plus) ให้สาธารณชนให้ถูกต้อง ตลอดจนเห็นควรมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพของช่องทางการติดต่อสื่อสารของระบบบริการรักษาพยาบาลให้มีความเพียงพอต่อผู้ป่วย 2.3 มอบหมายให้ สปสช. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการค่าบริการฯ ปี 2565 รอบที่ 2 และดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้ สบน. สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) โดยเคร่งครัด 2.4 มอบหมายให้ สปสช. ดำเนินการประมาณการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในช่วงเดือนมีนาคม - กันยายน 2565 ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ UCEP Plus และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยกรณีที่มีกรอบวงเงินค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของเดือนธันวาคม 2564 - กุมภาพันธ์ 2565 เหลือจ่าย เห็นควรให้ สปสช. เสนอขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการค่าบริการฯ ปี 2565 รอบที่ 2 เพื่อนำไปเป็นค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในเดือนมีนาคม 2565 ตามขั้นตอนของระเบียบที่เกี่ยวข้อง 2.5 รับทราบผลการดำเนินโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เสนอ และให้ สศค. รายงานเงินกู้เหลือจ่ายให้ สบน. ทราบ และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 2.6 อนุมัติให้ สศค. เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ โดยปรับลดกรอบวงเงินของโครงการ ดังนี้ (1) โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 จาก 42,000 ล้านบาท เป็น 33,270.5775 ล้านบาท หรือลดลง 8,729.4225 ล้านบาท และ (2) โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ จาก 3,000 ล้านบาท เป็น 49.637 ล้านบาท หรือลดลง 2,950.363 ล้านบาท ทำให้มีกรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นรวม 11,679.7855 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้ สศค. เร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ต่อไป 2.7 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย โดยกรณีที่เห็นว่าไม่สามารถใช้จ่ายเงินกู้ได้ตามเป้าหมายที่ได้รับอนุมัติ ให้เร่งเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาปรับกรอบวงเงินของโครงการให้เป็นไปตามความเหมาะสมและความจำเป็น 2.8 อนุมัติให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเยียวยาผู้ประกันตน ในกิจการสถานบันเทิง และผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ (โครงการเยียวยากิจการสถานบันเทิง) โดยสามารถให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ในลักษณะถัวจ่ายภายใต้จำนวนกลุ่มเป้าหมายและกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เพื่อให้การให้ความช่วยเหลือตามโครงการเยียวยากิจการสถานบันเทิงครอบคลุมกลุ่มผู้ประกันตนและผู้ประกอบอาชีพอิสระในสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 2.9 อนุมัติให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (โครงการบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา) จำนวน 12 หน่วยงาน เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ โดยขยายระยะเวลาโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็นเดือนพฤษภาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว โดยเห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการติดตามตัวนักเรียน นักศึกษา หรือผู้ปกครอง และการโอนเงินซ้ำ (Retry) ภายในเดือนเมษายน 2565 เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามที่เสนอได้ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็ว 2.10 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการบรรเทาค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาเร่งรัดการเบิกจ่ายตามโครงการ และหากดำเนินการแล้วเสร็จ เห็นควรให้เร่งรายงานผลและคืนเงินเหลือจ่ายตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 2.11 รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 2 (1 พฤศจิกายน 2564 - 31 มกราคม 2565) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ตามข้อ 2.4.2 โดยเคร่งครัดตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง ?????___________________________ 1 เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 2 เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19 13. เรื่อง ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการจัดหาเวชภัณฑ์ยาและขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอดังนี้ 1. อนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยา จากยา Molnupiravir เป็นยา Favipiravir และยา Remdesivir และปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณของโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 2. อนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินการตามโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 จากเดิมระยะเวลาดำเนินการเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม 2564 เป็นระยะเวลาดำเนินการเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565 สาระสำคัญ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนเงิน 528,400,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกเมษายน 2564 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วยค่ายา Molnupiravir จำนวนเงิน 500,000,000 บาท และค่าครุภัณฑ์รายการระบบหมอพร้อม จำนวนเงิน 28,400,000 บาท กระทรวงสาธารณสุข ได้ขอเปลี่ยนแปลงรายการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยา จากยา Molnupiravir จำนวน 50,000 โดส วงเงิน 500,000,000 บาท เป็นยา Favipiravir จำนวน 17,065,457 เม็ด และยา Remdesivir จำนวน 5,166 Vial เนื่องจากแนวทางเวชปฏิบัติการวินิจฉัย ดูแลรักษาและป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (CPG COVID-19) กำหนดให้ยา Favipiravir เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ทั้งที่ไม่มีอาการปอดอักเสบหรือมีอาการปอดอักเสบเล็กน้อย โดยมีอัตราการใช้ยาร้อยละ 87 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อทั้งหมด และสำหรับยา Remdesivir ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงและผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงแต่มีข้อห้ามในการใช้ยา Favipiravir โดยมีอัตราการใช้ยาร้อยละ 2 ของผู้ป่วยติดเชื้อทั้งหมด ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงมีความต่อเนื่อง จึงมีความจำเป็นต้องสำรองยาดังกล่าวไว้ให้เพียงพอสำหรับรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 และปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณในการดำเนินโครงการที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณของโครงการ เป็นเดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกันยายน 2565 ซึ่งเกินระยะเวลาดำเนินโครงการที่กำหนดไว้ สำนักงบประมาณแจ้งว่า ได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว นายกรัฐมนตรีมีบัญชาเห็นชอบให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเปลี่ยนแปลงรายการจัดซื้อเวชภัณฑ์ยาจากยา Molnupiravir จำนวน 50,000 โดส เป็นยา Favipiravir และยา Remdesivir โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวน 528,391,929 บาท เพื่อจัดซื้อยา Favipiravir และยา Remdesivir และดำเนินโครงการพัฒนาระบบข้อมูลการให้บริการระบบหมอพร้อม และวัคซีนโควิด 19 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของแผนงาน/โครงการอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญด้วย 14. เรื่อง (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 ? 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ได้เห็นชอบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 (ครั้งที่ 155) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 ในส่วนของแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้ แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง : หลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนที่ขอปรับปรุงตามมติคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 3/2564 (ครั้งที่ 155) เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง : หลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนที่ขอปรับปรุงตามมติคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565 (ครั้งที่ 157) เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 4. การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องมีจำนวนเงินเพียงพอเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้ แล้วต้องไม่เกินจำนวน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 การใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในกรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ให้จ่ายได้เพื่อกิจการดังต่อไปนี้ 1) เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกองทุนน้ำมันฯ หรือการบริหารกองทุนน้ำมันฯ และกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุนน้ำมันฯ 4. การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องมีจำนวนเงินเพียงพอเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้แล้วต้องไม่เกินจำนวน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 การใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในกรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ให้จ่ายได้เพื่อกิจการดังต่อไปนี้ 1) เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง 2) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานกองทุนน้ำมันฯ หรือการบริหารกองทุนน้ำมันฯ และกิจการอื่นที่เกี่ยวกับหรือเกี่ยวเนื่องกับการจัดการกิจการของกองทุนน้ำมันฯ 5. เมื่อเกิดวิกฤตการณ์ด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ตามแนวทางดังนี้ 4) กรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้ติดลบ หากระดับราคายังอยู่ในระดับวิกฤต จนส่งผลให้ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ ให้เริ่มดำเนินกลยุทธ์การถอนกองทุนน้ำมันฯ (Exit Strategy) โดยปรับสัดส่วนการช่วยเหลือลงครึ่งหนึ่ง และยังคงดำเนินการหารือเรื่องการปรับลดภาษีสรรพสามิต เพื่อให้ระดับราคาไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก และเริ่มดำเนินการกู้เงินเพื่อให้กองทุนฯ ไม่ขาดสภาพคล่อง 4) กรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้ติดลบหากระดับราคายังอยู่ในระดับวิกฤต จนส่งผลให้ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ ตามมาตรา 26 วรรคสอง หรือ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะ เมื่อใกล้วงเงินกู้ยืมเงินที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ให้เริ่มดำเนินการพิจารณา กลยุทธ์การถอนกองทุนน้ำมันฯ (Exit Strategy) โดยปรับสัดส่วนการช่วยเหลือลงครึ่งหนึ่ง และยังคงดำเนินการหารือเรื่องการปรับลดภาษีสรรพสามิต เพื่อให้ระดับราคาไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากนัก และเริ่มดำเนินการกู้เงินเพื่อให้กองทุนฯ ไม่ขาดสภาพคล่อง 5) กรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ 20,000 ล้านบาท หรือ ติดลบตามจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง หยุดการชดเชย ตัอข้อ 5) ออก- สาระสำคัญ 1. จากสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความผันผวนจากสถานการณ์ความไม่สงบของต่างประเทศ โดยเฉพาะกรณีความขัดแย้งระหว่างประเทศรัสเซียและประเทศยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจึงต้องรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ให้อยู่ในระดับราคาที่เหมาะสม ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 โดยจ่ายเงินชดเชยราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ตั้งแต่เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2565 เฉลี่ยประมาณ 7,250 - 7,600 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการตามหลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้นเพื่อให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นผู้กำกับดูแลในการดำเนินการช่วยเหลือประชาชนเพื่อลดผลกระทบต่อการดำรงชีพและให้เกิดประโยชน์สูงสุด ด้วยสาเหตุของความผันผวนด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงได้จัดทำ (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 - 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) โดยทบทวนหลักเกณฑ์การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในการรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในกรณีเกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้ 1.1 ทบทวนการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จากเดิม ข้อ 4. ?...การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้แล้วต้องไม่เกินจำนวน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 การใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในกรอบวงเงิน 40,000 ล้านบาท ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562...? แก้ไขเป็น ?...การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรา 26 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 การใช้จ่ายเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562...? 1.2 ทบทวนกรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้ติดลบ จากเดิม ข้อ 5 4) ?...จนส่งผลให้ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ ให้เริ่มดำเนินกลยุทธ์การถอนกองทุนน้ำมันฯ (Exit Strategy) โดยปรับสัดส่วนการช่วยเหลือลงครึ่งหนึ่ง และยังคงดำเนินการหารือเรื่องการปรับลดภาษีสรรพสามิต...? แก้ไขเป็น ?...จนส่งผลให้ฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ ตามมาตรา 26 วรรคสอง หรือวรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะเมื่อใกล้วงเงินกู้ยืมเงินที่ได้รับตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามกฎหมายดังกล่าว ให้เริ่มดำเนินการพิจารณากลยุทธ์การถอนกองทุนน้ำมันฯ (Exit Strategy) และยังคงดำเนินการหารือเรื่องการปรับลดภาษีสรรพสามิต...? 1.3 ทบทวนกรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใกล้ติดลบ จากเดิม ข้อ 5 5) ?...กรณีฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบ 20,000 ล้านบาท หรือ ติดลบตามจำนวนที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 26 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 ให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงหยุดการชดเชย...? แก้ไขเป็น ตัดข้อ 5) ออก 2. กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ได้เสนอ (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 - 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 3 ต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีก่อนหน่วยงานนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เสนอแนะและให้ความเห็นว่า (ร่าง) แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563 ? 2567 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2) ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (แผนฯ) เป็นการปรับปรุงในส่วนของหลักเกณฑ์การบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้หลักเกณฑ์และกลไกที่ใช้ในการบริหารจัดการกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีความยืดหยุ่นในการรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมถือเป็นการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดที่ไม่ใช่สาระสำคัญของแผน ระดับที่ 3 ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 ประกอบกับเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบการทบทวนแผนฯ ตามขั้นตอนแล้ว จึงเห็นควรให้กระทรวงพลังงานเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณารับทราบแผนฯ ตามขั้นตอนของมาตรา 14 (1) แห่งพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562 15. เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติดังนี้ 1. เห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน (MOU) ภายใต้บันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงาน (Agreement) ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ 2. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงานสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ .... ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ รง. เสนอว่า 1. ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ลงวันที่ 1 มีนาคม 2549 ประกอบกับบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา กำหนดให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) สามารถขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานได้เป็นเวลา 2 ปี และสามารถต่ออายุการอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานอีกครั้งเดียว เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี (รวมทั้งหมดไม่เกิน 4 ปี)โดยเมื่อครบระยะเวลาดังกล่าวแล้ว คนต่างด้าวต้องเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นระยะเวลา 30 วัน ก่อนที่จะสามารถขออนุญาตกลับเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานตามบันทึกความเข้าใจฯ ได้อีกครั้งหนึ่ง 2. ปัจจุบันมีคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจฯ ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2565 จำนวนทั้งสิ้น 106,580 คน (กัมพูชา 26,840 คน ลาว 25,504 คน และเมียนมา 54,236 คน) ซึ่งเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาการให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานแล้ว คนต่างด้าวดังกล่าวต้องเดินทางกลับออกไปนอกราชอาณาจักรตามข้อ 1 แต่โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงมีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ซึ่งเป็นสายพันธ์ที่สามารถกระจายได้เร็ว และมีโอกาสทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่น รัฐบาลจึงต้องกำหนดมาตรการเพื่อป้องกันควบคุม และยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งรวมไปถึงการเดินทางเข้าออกประเทศ ส่งผลให้การดำเนินการของคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจฯ ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ในปี พ.ศ. 2565 ประสบกับอุปสรรค ข้อขัดข้อง รวมถึงการไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้โดยสะดวก ประกอบกับนายจ้างและผู้ประกอบการยังคงมีความต้องการกำลังแรงงานซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญในการฟื้นฟูประเทศทั้งในสถานการณ์ที่เป็นอยู่ และภายหลังสถานการณ์การระบาดของโรคคลี่คลาย ดังนั้น เพื่อให้คนต่างด้าวดังกล่าวซึ่งประสงค์จะทำงานสามารถอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานต่อไปได้ อันจะส่งผลให้ภาคธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศสามารถขับเคลื่อนได้ต่อไปภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รง. จึงได้กำหนดมาตรการเพื่อให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจฯ ที่วาระการจ้างงานครบกำหนด 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2565 สามารถอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้ โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศ โดยให้มีการยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษเพื่อการทำงานสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ?. เพื่อให้คนต่างด้าวดังกล่าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้เป็นกรณีพิเศษอีก 6 เดือนเพื่อดำเนินการขออนุญาตทำงานหรือขอต่ออายุใบอนุญาตทำงาน และขอรับการตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปได้อีกไม่เกิน 2 ปี รวมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ของตนให้เป็นไปตามมาตรการดังกล่าว 3. รง. โดยกรมการจัดหางาน ได้มีหนังสือถึงทางการกัมพูชา ลาว และเมียนมาเกี่ยวกับการระงับเป็นการชั่วคราวต่อการบังคับใช้พันธกรณีที่กำหนดให้แรงงานจะต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง และการบริหารจัดการเฉพาะกิจสำหรับการต่ออายุใบอนุญาตทำงานและการขยายเวลาให้อยู่ในราชอาณาจักรสำหรับแรงงานต่างด้าวซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจฯ ตามข้อ 2 ซึ่งทางการของประเทศกัมพูชา ลาว และเมียนมาได้มีหนังสือแจ้งให้ทราบแล้วว่าเห็นชอบกับการดำเนินการดังกล่าวด้วยแล้ว 4. ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบการดำเนินการเพื่อให้คนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจฯ ที่วาระการจ้างงานครบกำหนด 4 ปี ในปี พ.ศ. 2565 สามารถอยู่และทำงานได้ต่อไป โดยไม่ต้องเดินทางกลับประเทศ สาระสำคัญของร่างประกาศ 1. กำหนดให้คนต่างด้าว 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ซึ่งเข้ามาทำงานตามบันทึกความเข้าใจฯ ที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อทำงานสิ้นสุดลงในระหว่างวันที่ 1 มกราคม ? 31 ธันวาคม 2565 สามารถอยู่ในราชอาณาจักรต่อไปได้เป็นกรณีพิเศษอีก 6 เดือน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง เพื่อดำเนินการขออนุญาตทำงานหรือขอต่อใบอนุญาตทำงาน และขอรับการตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป 2. ให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 ไปตรวจขออนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ที่กองบังคับการตรวจคนเข้าเมือง 1 สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหรือสถานที่อื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนด โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปเพื่อทำงานไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่การอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรสิ้นสุดลง ต่างประเทศ 16. เรื่อง การสมัครเข้าเป็นสมาชิกของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน [Financial Action Task Force (FATF)] คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยสมัครเข้าเป็นสมาชิกของคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อดำเนินมาตรการทางการเงิน (Financial Action Task Force: FATF) และให้รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ซึ่งกำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีในส่วนของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงในการสมัครเข้าเป็นสมาชกของ FATF ตามร่างหนังสือแสดงเจตจำนงตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง FATF เป็นองค์กรความร่วมมือระหว่างรัฐบาล จัดตั้งขึ้นในปี 2532 โดยที่ประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศ G71 ปัจจุบันมีสมาชิก 39 ราย และมีเครือข่ายความร่วมมือซึ่งเรียกว่า FATF-Style Regional Bodies (FSRBs) 9 แห่ง ในทุกภูมิภาคของโลก เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมและติดตามความคืบหน้าการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti-Money Laundering and Combating Financing of Terrorism: AML/CFT) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่ได้เป็นสมาชิกของ FATF แต่เป็นสมาชิกของกลุ่ม APG (หนึ่งใน FSRBs) ซึ่งเป็นเครือข่ายและสมาชิกสมทบของ FATF (ตามมติคณะรัฐมนตรี 10 เมษายน 2544 และ 5 พฤษภาคม 2563) โดย FATF ได้กำหนดวัตถุประสงค์ คุณสมบัติของสมาชิก กระบวนการและการจัดทำกรอบระยะเวลาในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกภาพ และการชำระค่าธรรมเนียม สรุปได้ ดังนี้ 1. วัตถุประสงค์ (1) เป็นองค์กรหลักในการกำหนดมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT (2) ผลักดันการปฏิบัติตามมาตรการด้าน AML/CFT เพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมที่เกี่ยวกับการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างสูง และเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินระหว่างประเทศ (3) ประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT ในเรื่องความสอดคล้องด้านกรอบกฎหมาย ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน การติดตามความคืบหน้าในการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และการออกมาตรการตอบโต้ประเทศที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานสากล และ (4) จัดทำแนวโน้มและวิธีการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายของอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง 2. คุณสมบัติของสมาชิก ประเทศผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิก FATF ต้องมีคุณสมบัติใน ผลการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล ดังนี้ (1) ความสอดคล้องด้านกรอบกฎหมาย 1.1) ต้องมีคะแนนผลการประเมินที่ได้คะแนนในระดับสอดคล้อง น้อยที่สุด (Non-Compliant: NC) และสอดคล้องบางส่วน (Partially Compliant: PC) ไม่เกิน 7 ข้อ 1.2) ข้อแนะนำที่ 3 (ความผิดฐานฟอกเงิน) ข้อแนะนำที่ 5 (ความผิดฐานการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย) ข้อแนะนำที่ 10 (การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า) ข้อแนะนำที่ 11 (การเก็บรักษาหลักฐาน) และข้อแนะนำที่ 20 (การรายงานธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย) ต้องอยู่ในระดับสอดคล้องมาก (Largely Compliant: LC หรือสอดคล้องมากที่สุด/ไม่มีข้อบกพร่อง (Compliant: C) (2) ความสอดคล้องด้านประสิทธิภาพ 2.1) ต้องมีคะแนนความสอดคล้องด้านประสิทธิผลในระดับปานกลางและต่ำรวมกันไม่เกิน 6 ด้าน 2.2) ต้องมีคะแนนความสอดคล้องด้านประสิทธิผลในระดับต่ำ ไม่เกิน 3 ด้าน 3. การชำระค่าธรรมเนียม การเข้าเป็นสมาชิก FATF จะต้องมีการชำระค่าธรรมเนียมสมาชิกรายปีเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายที่จะใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของกลุ่ม FATF ซึ่งขึ้นกับขนาดเศรษฐกิจของประเทศนั้น ๆ โดยประมาณการค่าธรรมเนียมสมาชิกรายปีของประเทศไทยจากการคำนวณจากสถิติเชิงปริมาณจะอยู่ระหว่าง 2.65-2.95 ล้านบาท นอกจากนี้ ในปีถัดไปค่าธรรมเนียมสมาชิกรายปีจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยประมาณร้อยละ 5-6 ขึ้นอยู่กับขนาดของ GDP และกิจกรรม/โครงการของ FATF ในแต่ละปี ทั้งนี้ การเข้าเป็นสมาชิกของ FATF จะเพิ่มบทบาทการทำงานด้าน AML/CFT ของประเทศไทยในเวทีระหว่างประเทศ และส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีในฐานะที่เป็นประเทศที่มีการดำเนินงานตามมาตรฐานสากลในระดับเดียวกับนานาอารยประเทศที่พัฒนาแล้ว เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการเงินของประเทศไทย สร้างความน่าเชื่อถือด้านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศได้เป็นอย่างดี และนำมาซึ่งความร่วมมือระหว่างประเทศต่อไปในอนาคต รวมทั้งประโยชน์จากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้ด้านวิชาการจากประเทศต่าง ๆ ??????????????????????????????????____________________________ 1กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 7 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดา สาธารณรัฐฝรั่งเศส สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐอิตาลี ประเทศญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา 17. เรื่อง รายงานผลการประชุมสมัชชาใหญ่สมัยสามัญขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ ครั้งที่ 24 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอรายงานผลการประชุมสมัชชาใหญ่สมัยสามัญขององค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ* (United Nations World Tourism Organization: UNWTO) ครั้งที่ 24 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2564 ณ กรุงมาดริด ราชอาณาจักรสเปน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมและมีรัฐมนตรีท่องเที่ยวและผู้แทน จำนวน 84 คน ผู้แทนจากประเทศสมาชิก UNWTO และผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชนด้านการท่องเที่ยวกว่า 1,000 คน จาก 135 ประเทศ เข้าร่วมการประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. การประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อรับทราบผลการดำเนินงานของสภาผู้บริหารองค์การการท่องเที่ยวโลก การอนุมัติแผนงาน ปี 2565 - 2566 และอนุมัติงบประมาณ สำหรับการดำเนินงานขององค์การการท่องเที่ยวโลก รวมทั้งกำหนดแนวนโยบายและทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโลก เพื่อสร้างเส้นทางใหม่ของการท่องเที่ยวภายหลังการฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่ปลอดภัยอย่างรวดเร็ว 2. สถานการณ์การท่องเที่ยวปี 2563 มีจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศลดลงกว่าร้อยละ 74 หรือประมาณหนึ่งพันล้านคน เมื่อเทียบกับปี 2562 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ประเทศต่าง ๆ กำหนดข้อจำกัดในการเดินทางที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงการปิดพรมแดนของประเทศ ส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของโลกสูญเสียรายได้ประมาณ 1.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และประชากร 100-120 ล้านคนในภาคการท่องเที่ยวประสบปัญหาการตกงานโดยเฉพาะในวิสาหกิจการท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อม 3. การดำเนินงานตามแผนงานทั่วไปขององค์การการท่องเที่ยวโลก ที่ประชุมรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนงานและให้การรับรองข้อริเริ่มโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญ และอนุมัติข้อตกลงภายใต้การทำงานของคณะกรรมการย่อยของสภาผู้บริหารองค์การการท่องเที่ยวโลก ดังนี้ 3.1 โครงการนำร่อง ?The Best Tourism Villages by UNWTO? โดยให้ประเทศสมาชิก UNWTO คัดเลือกชุมชนนำร่องเข้าร่วมประกวดหมู่บ้านท่องเที่ยวที่ดีที่สุด สำหรับประเทศไทยชมรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนตำบลบ่อสวก อำเภอเมือง จังหวัดน่าน ได้รับรางวัล Upgrade Programme ประจำปี 2564 ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนจาก UNWTO และพันธมิตรในการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการยกระดับสู่การเข้าร่วมประกวดรางวัลในปีต่อไป โดยการเข้าประกวดรางวัลครั้งนี้ได้รับการผลักดันจากองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และ กก. 3.2 โครงการ ?Global Tourism Plastics Initiative? โดย UNWTO ร่วมมือกับโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ และมูลนิธิ Ellen MacArthur กำหนดให้องค์กรด้านการท่องเที่ยวต้องลงนามร่วมกันเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการพลาสติกให้เกิดผลเป็นรูปธรรมภายในปี 2568 เช่น ขจัดบรรจุภัณฑ์และสิ่งของที่เป็นพลาสติกและนำบรรจุภัณฑ์พลาสติกกลับมาใช้ใหม่หรือย่อยสลายได้ร้อยละ 100 3.3 การอนุมัติรายการข้อตกลงภายใต้การทำงานของคณะกรรมการย่อยของสภาผู้บริหารองค์การการท่องเที่ยวโลก ได้แก่ 1) การลงนามในข้อตกลงเกี่ยวกับอาคารสำนักงานใหญ่ UNWTO แห่งใหม่ ณ กรุงมาดริด ราชอาณาจักรสเปน 2) การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติรอบปี 2565 - 2566 ซึ่งที่ประชุมมีมติที่จะไม่เข้าร่วมเป็นสมาชิกฯ เนื่องจากยังติดขัดในขั้นตอนการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่และงบประมาณที่จะใช้ในการเข้าร่วมและดำเนินการ แต่อาจจะพิจารณาอีกครั้งในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในรอบปี 2567 - 2568 3) การอนุมัติประมวลกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองนักท่องเที่ยวและให้การรับรองข้อเสนอแนะของคณะกรรมการเพื่อพัฒนาประมวลกฎหมายฯ ว่าเป็นเครื่องมือที่ไม่มีผลผูกพันตามกฎหมาย และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิก UNWTO ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายนี้ และ 4) การอนุมัติวัตถุประสงค์ ลำดับความสำคัญ และผลลัพธ์ของร่างแผนงานปี 2565 ? 2566 4. การรับรองร่างงบประมาณประจำปีขององค์กรในช่วงปี 2565 ? 2566 เป็นจำนวนเงินรวม 30.438 ล้านยูโร และให้อำนาจเลขาธิการ UNWTO ดำเนินการตามจำนวนเงินที่รวบรวมได้ 5. การรับรองการแต่งตั้งนาย Zurab Pololikashvili ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการ UNWTO ในช่วงปี 2565 - 2568 6. การจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคของ UNWTO โดยให้ใช้กรอบกฎหมายและกรอบการปฏิบัติงานในการพิจารณาคัดเลือกสถานที่จัดตั้งสำนักงานภูมิภาค UNWTO และยินดีกับข้อเสนอของสาธารณรัฐอาร์เจนตินา สาธารณรัฐบราซิล สาธารณรัฐกาบูเวร์ดี สาธารณรัฐกานา สาธารณรัฐเคนยา สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และราชอาณาจักรโมร็อกโก เพื่อเป็นเจ้าภาพจัดตั้งสำนักงานภูมิภาคของ UNWTO 7. การรายงานของคณะกรรมการจริยธรรมการท่องเที่ยวโลก ที่ประชุมรับทราบระเบียบปฏิบัติของคณะกรรมการฉบับปรับปรุง และอนุมัติการแก้ไขพิธีสารว่าด้วยการดำเนินการตามหลักจรรยาบรรณสากลสำหรับการท่องเที่ยว ร่วมทั้งส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกพิจารณาให้สัตยาบัน ยอมรับ และ/หรือลงนามในอนุสัญญาและพิธีสารเลือกรับที่รับรองในสมัชชาใหญ่ ครั้งที่ 23 และกำหนดให้เป็นเรื่องสำคัญเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 8. การกำหนดประเทศเจ้าภาพและหัวข้อการจัดงานวันท่องเที่ยวโลก ที่ประชุมรับทราบการรายงานกิจกรรมการจัดงานวันท่องเที่ยวโลก ปี 2563 - 2564 ซึ่งเป็นการจัดงานครั้งแรกในระดับอนุมิภาคในหัวข้อ ?Tourism and Rural Development : การท่องเที่ยวและการพัฒนาชนบท? และ ?Tourism for Inclusive Growth : การท่องเที่ยวเพื่อการเติบโตอย่างครอบคลุม? และรับรองหัวข้อและกำหนดการเป็นเจ้าภาพจัดงานเฉลิมฉลองวันท่องเที่ยวโลก ปี 2565 - 2566 โดยปี 2565 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในหัวข้อ ?Rethinking Tourism? และปี 2566 ณ กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ในหัวข้อ ?Tourism and Green Investments? 9. การกำหนดสถานที่และวันประชุมสมัชชาใหญ่สมัยสามัญ ครั้งที่ 25 ในปี 2566 ที่ประชุมได้พิจารณาเลือกให้สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ 10. การประชุมสภาผู้บริหารองค์การการท่องเที่ยวโลก ครั้งที่ 116 ที่ประชุมรับทราบว่า ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ สมัยที่ 116 ในเดือนมีนาคม 2565 โดยมีวาระสำคัญ คือ การพิจารณาข้อปฏิบัติและกรอบการดำเนินงานที่เป็นไปตามกฎหมายเพื่อพิจารณาและอนุมัติการจัดตั้งสำนักงานภูมิภาค UNWTO *องค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ ปัจจุบันมีประเทศสมาชิก 158 ประเทศ เช่น ประเทศออสเตรเลีย ประเทศแคนาดา ประเทศไทย โดยจะจัดการประชุมสมัชชาใหญ่สมัยสามัญขององค์การฯ ทุก 2 ปี ซึ่งเป็นการประชุมผู้นำการท่องเที่ยวของโลกที่ใหญ่ที่สุด เพื่อกำหนดทิศทางและนโยบายด้านการท่องเที่ยวของโลก ตลอดจนอนุมัติงบประมาณเพื่อให้สำนักงานเลขาธิการองค์การการท่องเที่ยวโลกใช้ดำเนินการในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยเฉพาะในด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน 18. เรื่อง ผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสุมทรอินเดีย ครั้งที่ 21 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสุมทรอินเดีย (India Ocean Rim Association: IORA) ครั้งที่ 21 และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ ต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง กต. รายงานว่า การประชุม IORA ครั้งที่ 21 ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ณ กรุงธากา สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ (บังกลาเทศ) ในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของบังกลาเทศ (ดร. อาบุลคาลัม อับดุล โมเมน) เป็นประธาน และมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีและระดับอื่น ๆ ของประเทศสมาชิก IORA เข้าร่วม จำนวน 23 ประเทศ และประเทศหุ้นส่วนคู่เจรจา 9 ประเทศ สำหรับไทย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้มอบหมายให้ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยการประชุมฯ มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้ ประเทศสมาชิก IORA ร่วมรับรองแถลงการณ์ธากา ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ มีสาระสำคัญไม่แตกต่างจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบไว้ แต่มีการแก้ไขรายละเอียดบางประการ พร้อมทั้งไทยได้จัดทำถ้อยแถลงของผู้แทนไทย โดยเน้นย้ำบทบาทของไทยในประเต็นต่าง ๆ ได้แก่ (1) การส่งเสริมบทบาทของภาคเอกชนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโรคโควิด-19 โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(2) การส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจของสตรี (3) การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก IORA และอาเซียน รวมถึงประเทศหุ้นส่วนคู่เจรจาเพื่อขยายโอกาสทางเศรษฐกิจ และ (4) การส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภาคทะเลระหว่างประเทศสมาชิก 19. เรื่อง การเข้าร่วมการประกาศเริ่มการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมอบหมายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมการประกาศเริ่มการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียนในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 28 เพื่อที่จะดำเนินการตามเป้าหมายในการทบทวนและปรับปรุงเพื่อยกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียนตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. อาเซียนได้จัดทำร่างข้อเสนอเอกสารแนวทางการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน เป็นเอกสารที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพื้นฐานความเข้าใจร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนถึงแนวทางการเจรจาให้มีทิศทางที่ชัดเจน โดยจะไม่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ไม่มีผลผูกพันต่อผลลัพธ์ทางการเจรจา และท่าทีของประเทศสมาชิกระหว่างการเจรจาแต่อย่างใด ทั้งนี้ ร่างเอกสารข้อเสนอแนวทางการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ยังอยู่ระหว่างการหารือในรายละเอียดของเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) อย่างไรก็ดี เนื้อหาและสารัตถะของร่างเอกสาร ประกอบด้วย หลักการทั่วไป วัตถุประสงค์ของการเจรจา ตลอดจนเค้าโครงที่คาดว่าจะครอบคลุมในการเจรจา 2. ประเทศสมาชิกอาเซียน มีกำหนดให้ประกาศเริ่มการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 28 โดยมีเป้าหมายเจรจาให้แล้วเสร็จภายในปี 2567 3. ผลกระทบ อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย โดยในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีสัดส่วนการค้าเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 21.82 ของมูลค่าการค้ารวมของไทยกับทั้งโลก ทั้งนี้ ไทยมีการค้ารวมกับอาเซียนในปี 2564 มูลค่า 110,799 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 19,231 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ดังนั้น การประกาศเริ่มการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียนจึงมีความสำคัญและสร้างประโยชน์ต่อการค้าของไทยเป็นอย่างมากเนื่องจากจะเป็นการเจรจาเพื่อทบทวนและปรับปรุงความตกลงฯ ให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับรูปแบบการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบัน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ประโยชน์จากการรวมตัวทางเศรษฐกิจภายในภูมิภาค ซึ่งไทยสามารถใช้โอกาสนี้ในการเจรจาเพื่อเอื้อประโยชน์ ส่งเสริม และอำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้าของไทยในอาเซียนให้มากขึ้น ทั้งนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีเป้าหมายจะประกาศเริ่มการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 28 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 16 ? 17 มีนาคม 2565 20. เรื่อง การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอท สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In - person) คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้ 1. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทย สำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In - person) 2. เห็นชอบต่อกรอบการเจรจา และท่าทีของประทศไทย สำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญา มินามาตะฯ สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In - person) 3. หากมีข้อเจรจาใดที่นอกเหนือจากกรอบการเจรจาฯ และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย(Legally binding) ต่อประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่จนสิ้นสุดการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In - person) ในวันที่ 25 มีนาคม 2565 4. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาบาหลีว่าด้วยการต่อต้านการค้าปรอทอย่างผิดกฎหมายทั่วโลกและการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อการประสานงาน ป้องกัน และแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้าปรอทผิดกฎหมายของประเทศไทย ภายใต้คณะอนุกรรมการอนุสัญญามินามาตะฯ เพื่อเป็นกลไกการดำเนินงานตามปฏิญญาดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กรมควบคุมมลพิษดำเนินการได้ และมอบหมายให้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยให้การรับรอง (Endorsement) ต่อร่างปฏิญญาบาหลีฯ ในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In - person) สาระสำคัญ 1. องค์ประกอบคณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In - person) ระหว่างวันที่ 21 - 25 มีนาคม 2565 ณ เกาะบาหลีสาธารณรัฐอินโดนีเซีย คือ นางสาวธีราพร วิริวุฒิกร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการกากของเสียและสารอันตราย ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย และผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ 1 คน ส่วนการรับฟังถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ ประกอบด้วย ประธานอนุกรรมการอนุสัญญามินามาตะฯ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการอนุสัญญามินามาตะฯ และผู้แทน 9 กระทรวงที่เกี่ยวข้องภายใต้คณะอนุกรรมการอนุสัญญามินามาตะฯ ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน กระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมองค์ประกอบของคณะผู้แทนไทยทั้งสิ้น 49 คน 2. กรอบการเจรจาสำหรับการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญามินามาตะฯ สมัยที่ 4 ในรูปแบบการประชุมด้วยตนเอง (In - Person) ประกอบด้วย 1) สนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักการและจุดมุ่งหมายของอนุสัญญา มินามาตะฯ ในการปกป้องสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากการปลดปล่อยสู่บรรยากาศ และการปล่อยสู่ดินหรือน้ำของปรอทและสารประกอบปรอทจากกิจกรรมของมนุษย์ 2) คำนึงถึงสภาพการณ์ต่าง ๆ และความต้องการจำเพาะของประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในระดับประเทศด้านการจัดการสารเคมีอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจร โดยผ่านการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและทางด้านการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคีต่าง ๆ 3) คำนึงถึงขีดความสามารถและสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในการดำเนินตามอนุสัญญามินามาตะฯ และสะท้อนหลักการความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน 4) สนับสนุนความร่วมมือและการบูรณาการร่วมกันในการดำเนินงานตามพันธกรณีข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยเป็นภาคี ข้อตกลงที่สอดคล้องกับศักยภาพ และขีดความสามารถของประเทศจากการใช้ปรอทและสารประกอบปรอท 5) สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ที่ขยายการบังคับใช้ถึง พ.ศ. 2565 นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 ? 2580 และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการสารเคมี พ.ศ. 2562 - 2565 3. ร่างปฏิญญาบาหลีว่าด้วยการต่อต้านการค้าปรอทอย่างผิดกฎหมายทั่วโลก วัตถุประสงค์เพื่อเข้าถึงกระแสหลักของปัญหาการค้าปรอทอย่างผิดกฎหมายเติมเต็มอนุสัญญามินามาตะฯ และต่อต้านกาค้าปรอทอย่างผิดกฎหมาย โดยมีกำหนดปรับปรุงร่างปฏิญญาบาหลีฯ จำนวน 3 ครั้ง ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะอนุกรรมการอนุสัญญามินามาตะฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 ได้พิจารณาร่างปฏิญญาบาหลีฯ ครั้งที่ 1 โดยเห็นชอบในการขอปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ ดังกล่าวในภาพรวมประเทศไทย ทั้งในส่วนอารับภบทและปฏิบัติการ อาทิ เพิ่มประเด็นด้านสุขภาพ และระบบแจ้งเตือนและแบ่งปันข้อมูล เป็นต้น ในการนี้ กรมควบคุมมลพิษได้จัดส่งความเห็นในการขอปรับปรุงดังกล่าวให้สาธารณรัฐอินโดนีเซียรับทราบ เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 รวมทั้งเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อการประสานงาน ป้องกัน และแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้าปรอทผิดกฎหมายของประเทศไทย ภายใต้คณะอนุกรรมการอนุสัญญามินามาตะฯ เพื่อเป็นกลไกการดำเนินงานตามปฏิญญาบาหลีฯ ซึ่งปัจจุบันร่างปฏิญญาบาหลีฯ ผ่านการปรับปรุง ครั้งที่ 2 แล้ว และจะมีกำหนดปรับปรุงร่างปฏิญญาบาหลีฯ ครั้งสุดท้าย คือ ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 16 กุมภาพันธ์ - 16 มีนาคม 2565 โดยจะเผยแพร่ผลการปรับปรุงนี้ ในวันที่ 21 มีนาคม 2565 และจะตอบข้อซักถามต่อภาคีสมาชิก ในวันที่ 25 มีนาคม 2565 แต่งตั้ง 21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายภัทรพล จึงสมเจตไพศาล นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านสาธารณสุข) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งนายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวง การต่างประเทศ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้ 1. นายตุลย์ ไตรโสรัส กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฮ่องกง สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 2. นายสรจักร บูรณะสัมฤทธิ กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเจดดาห์ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาปูโต สาธารณรัฐโมซัมบิก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศทั้ง 2 ราย ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ 23. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแตงตั้ง นายวิธพล เจาะจิตต์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากถึงแก่กรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว 24. เรื่อง ขอความเห็นชอบในการแต่งตั้งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอการแต่งตั้ง นายชูกิจ ลิมปิจำนงค์ เป็นผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยให้มี ผลตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป (ตามมติคณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติใน การประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565) 25. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 แทนตำแหน่งที่ว่างลง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลในคณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 แทนกรรมการผู้แทนฝ่ายรัฐบาลเดิมที่ลาออก จำนวน 2 คน ดังนี้ 1. นายนิยม สองแก้ว 2. นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน 26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงวัฒนธรรม จำนวน 2 ราย ดังนี้ 1. นายพนมบุตร จันทรโชติ รองอธิบดีกรมศิลปากร แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม 2. นางโชติกา อัครกิจโสภากุล ผู้ช่วยปลัดกระทรวงวัฒนธรรม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงวัฒนธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง 27. เรื่อง ขอความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ ดังนี้ 1. ขอยกเว้นการสิ้นสุดลงของคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย (Thai National Mekong Committee : TNMC) ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2557 ที่เสนอโดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) 2. แต่งตั้งคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย โดยมีรัฐมนตรีที่กำกับ ดูแล สทนช. เป็นประธานกรรมการ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นรองประธานกรรมการ และมีกรรมการ กรรมการและเลขานุการ กรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ รวม 29 คน องค์ประกอบคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย มีดังนี้ 1. รัฐมนตรีที่กำกับดูแล สทนช. ประธานกรรมการ 2. เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รองประธานกรรมการ 3. ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรรมการ 4. ปลัดกระทรวงมหาดไทย กรรมการ 5. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรรมการ 6. เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ* กรรมการ 7. ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ กรรมการ 8. เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรรมการ 9. ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรรมการ 10. อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรรมการ 11. อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กรรมการ 12. อธิบดีกรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กรรมการ 13. อธิบดีกรมชลประทาน กรรมการ 14. อธิบดีกรมเจ้าท่า กรรมการ 15. อธิบดีกรมประมง กรรมการ 16. อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กรรมการ 17. อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กรรมการ 18. อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ* กรรมการ 19. เลขาธิการสำนักงานนโยบาย กรรมการ และแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 20. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน* กรรมการ 21. เจ้ากรมอุทกศาสตร์* กรรมการ 22. อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง* กรรมการ 23. นายสมเกียรติ ประจำวงษ์* กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวางแผนและกลยุทธ์) 24. นายสุรชัย ศศิสุวรรณ กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการองค์กร) 25. นางรวีวรรณ ภูริเดช* กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการติดตามผลกระทบข้ามพรมแดน) 26. นายชัยยุทธ สุขศรี กรรมการ (ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการน้ำ) 27. รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ 28. ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ 29. ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ ผู้ช่วยเลขานุการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หมายเหตุ * กรรมการในคณะกรรมการฯ ที่เสนอแต่งตั้งเพิ่มเติม