คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานสรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการแก้ไขปัญหา ปี 2547 ต่อเนื่องปี 2548 และการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการ สรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์ความแห้งแล้ง ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2547 เกิดภาวการณ์ทางธรรมชาติฝนทิ้งช่วงเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในภาคต่าง ๆ รวม 63 จังหวัด ทั้งน้ำเพื่อการบริโภคและอุปโภค โดยเฉพาะความเสียหายในภาคเกษตรธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานในเดือนมีนาคม 2548 ว่าสภาวะภัยแล้งทำให้ผลผลิตการเกษตรลดลงร้อยละ 16.6 จากระยะเดียวกันของปี 2547 โดยผลผลิตพืชได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งมาก ได้แก่ อ้อยโรงงาน ข้าว มันสำปะหลัง และไม้ผล หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
1.1 สถานการณ์น้ำ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (30 อ่าง) ปี 2547/48 เมื่อเทียบกับปี 2546/47 ในระยะเดียวกัน ในช่วงฤดูแล้งปีนี้ (ต.ค.47-ก.พ.48) ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวฝนตกน้อย ส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนไหลลงอ่าง 5,597 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งน้อยกว่าปีก่อน 2,780 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้หลายหน่วยงานประเมินในขณะนั้นว่า ความแห้งแล้งปีนี้จะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมามาก
1.2 ความเสียหาย ในการสำรวจเบื้องต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2548 พื้นที่การเกษตรประสบภัยแล้ง ประมาณ 26 ล้านไร่ หรือร้อยละ 20 ของพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศ (131 ล้านไร่) เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง 1.4 ล้านราย พื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน
2. ผลการดำเนินงาน
2.1 ลดจำนวนพื้นที่เดือดร้อน ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ได้มีการปรับปรุงการปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษกู้ภัยแล้ง ตามพระราชกระแสรับสั่ง โดยเพิ่มฐานปฏิบัติการฝนหลวงจาก 8 ฐานหลักเป็น 9 ฐานหลัก และฐานเติมสารฝนหลวง 12 ฐาน เพิ่มเที่ยวบินเพื่อปฏิบัติการฝนหลวงทั้งกลางวันและกลางคืน โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องบินเพิ่มเติมจากเหล่าทัพ จำนวน 13 ลำ จัดตั้งเครือข่ายระบบสารสนเทศ ในระบบ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) และใช้ DNS (Domain Name Server) ของบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับทุกฐาน เร่งรัดและปรับปรุงวิธีการจัดซื้อสารฝนหลวงและจัดหาเครื่องมือตรวจสอบสารฝนหลวงแบบเคลื่อนที่ (Portable Testing Kit) ประจำฐานปฏิบัติการฝนหลวงทุกฐาน เพื่อตรวจสอบคุณภาพสารฝนหลวงก่อนนำขึ้นเครื่องบินประจำวัน ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมาขึ้นบินแล้ว รวม 2,541เที่ยวบิน มีฝนตกเกือบทุกจังหวัดทำให้พื้นที่ประสบภัยแล้งโดยเฉพาะพื้นที่สีแดง ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีแนวโน้มขาดน้ำอุปโภคและบริโภค จากที่สำรวจครั้งแรก 13,747 หมู่บ้าน ลดลงเหลือ 1,093 หมู่บ้านหรือลดลงร้อยละ 92.05 ในขณะนี้ การปฏิบัติการฝนหลวงยังคงดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อให้ความช่วยเหลือจังหวัดที่ยังประสบความเดือดร้อนเรื่องน้ำ เช่น จังหวัดนครราชสีมา นครสวรรค์ ศรีสะเกษ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
2.2 เพิ่มปริมาณน้ำฝน ผลจากการปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงเมษายนปีนี้ ทำให้ปริมาณน้ำฝนไหลลงอ่างฯ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำเขื่อนที่สำคัญ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนแม่งัด เขื่อนกิ่วลม เขื่อนแม่กวง เขื่อนน้ำพุง และเขื่อนน้ำอูน มีปริมาณน้ำสูงกว่าปีก่อน
2.3 ลดความเสียหายสวนผลไม้ การระดมเครื่องสูบน้ำ จำนวน 742 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำของกรมชลประทาน จำนวน 295 คัน รวมทั้งฝนที่ได้รับจากปฏิบัติการฝนหลวง ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม้ผล-ไม้ยืนต้น รอดพ้นจากภาวะแห้งตาย และขณะเดียวกันยังให้ผลผลิตที่ดี ดังเห็นได้จากปริมาณผลไม้ที่ออกสู่ตลาดในปีนี้มีจำนวนมาก สภาวการณ์นี้ดีกว่าที่คาดการณ์ความเสียหายในเบื้องต้น
2.4 การปลูกพืชฤดูแล้ง เนื่องจากภัยแล้งต่อเนื่อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศเตือนเกษตรกรให้ลดการปลูกข้าวนาปรังในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน แต่ปรากฏว่า ณ วันที่ 29 เมษายน 2548 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังแล้ว 9.46 ล้านไร่ สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1.94 ล้านไร่ (เป้าหมาย 7.52 ล้านไร่) และสูงกว่าปีก่อน ทั้ง ๆ ที่ปีนี้แล้งกว่า
การบริหารจัดการน้ำและปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อแก้ไขภัยแล้ง ส่งผลให้มีการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นข้าวนาปรังส่วนที่เพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย จำนวน 1.94 ล้านไร่ คิดเป็นข้าวเปลือกประมาณ 1.25 ล้านตัน ราคาที่เกษตรกรขายได้ตันละ 6,482 บาท เป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 8,103 ล้านบาท นอกจากนี้ มีรายงานว่าราคาผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉลี่ยในตลาดโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12-55 ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระบุว่า ราคาสินค้าเกษตรโดยรวมของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเห็นได้จากราคาที่เพิ่มขึ้นของอ้อยโรงงาน และมันสำปะหลังในปีนี้ ดังนั้น ภัยแล้งครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อ GDP ในส่วนที่อยู่ในภาคเกษตร
3. แผนการดำเนินงานระยะต่อไป เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังมีภารกิจที่ต้องเฝ้าระวังเตือนภัยล่วงหน้า และติดตามสถานการณ์ภัยอื่น ที่จะมีผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตรและความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้วางแผนเตรียมการในระยะต่อไป ดังนี้
1. ตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยด้านการเกษตร โดยปรับปรุงโครงสร้างศูนย์ปฏิบัติแก้ไขปัญหาภัยแล้งปัจจุบันให้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ ภัยทางเศรษฐกิจ สร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้าทางการเกษตร และติดตามสถานการณ์ ซึ่งในขณะนี้อยู่กระจัดกระจายหลายหน่วยงานให้รวมอยู่ที่เดียวกัน โดยสร้างระบบข้อมูลพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2. แผนปฏิบัติการฝนหลวง โดยปฏิบัติงานสนองต่อพระบรมราโชบายในการวางแผนปฏิบัติงานตลอดปี ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ โดยทำให้ฝนตกทั้งในฤดูฝนและนอกฤดูยาวนานขึ้น เพื่อสนับสนุนการปลูกพืชในพื้นที่นอกเขตชลประทานที่มีอยู่จำนวน 108 ล้านไร่ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตรจำเป็นต้องวางแผนเพื่อรองรับบทบาทการทำงานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เช่น เพิ่มสถานที่เก็บสารเคมี พัฒนาบุคลากร รวมทั้งการวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. แผนพัฒนาลุ่มน้ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำแผนแม่บทพัฒนา 25 ลุ่มน้ำแบบบูรณาการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อุทกภัย ปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมในแต่ละลุ่มน้ำที่มีสภาพแนวโน้มเสื่อมโทรมลง และคุณภาพน้ำเสียมากขึ้น ตลอดจนเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำอย่างเป็นระบบทั่วถึงและถาวร ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน และสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยจะนำเสนอแผนปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำเฉพาะลุ่มแม่น้ำปิง และเขตลุ่มน้ำมูลเป็นโครงการนำร่อง
4. แผนพัฒนาพื้นที่เขตชลประทาน ปรับปรุงแผนการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยการจัดระบบการจัดสรรน้ำ การระบาย และการส่งน้ำ เพื่อให้เกษตรกรจะมีงานทำตลอดปี ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและแข่งขันได้ สร้างอาชีพที่ยั่งยืน และใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า ขณะเดียวกันดำเนินการปรับแผนให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าหรือหน่วยเคลื่อนที่เร็วในเรื่องอุปกรณ์เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. สถานการณ์ความแห้งแล้ง ตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน 2547 เกิดภาวการณ์ทางธรรมชาติฝนทิ้งช่วงเร็วกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดความแห้งแล้งในภาคต่าง ๆ รวม 63 จังหวัด ทั้งน้ำเพื่อการบริโภคและอุปโภค โดยเฉพาะความเสียหายในภาคเกษตรธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานในเดือนมีนาคม 2548 ว่าสภาวะภัยแล้งทำให้ผลผลิตการเกษตรลดลงร้อยละ 16.6 จากระยะเดียวกันของปี 2547 โดยผลผลิตพืชได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งมาก ได้แก่ อ้อยโรงงาน ข้าว มันสำปะหลัง และไม้ผล หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน
1.1 สถานการณ์น้ำ ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ (30 อ่าง) ปี 2547/48 เมื่อเทียบกับปี 2546/47 ในระยะเดียวกัน ในช่วงฤดูแล้งปีนี้ (ต.ค.47-ก.พ.48) ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่มีน้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยในช่วงระยะเวลาดังกล่าวฝนตกน้อย ส่งผลให้มีปริมาณน้ำฝนไหลลงอ่าง 5,597 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งน้อยกว่าปีก่อน 2,780 ล้าน ลบ.ม. สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้หลายหน่วยงานประเมินในขณะนั้นว่า ความแห้งแล้งปีนี้จะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมามาก
1.2 ความเสียหาย ในการสำรวจเบื้องต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ถึงวันที่ 1 มีนาคม 2548 พื้นที่การเกษตรประสบภัยแล้ง ประมาณ 26 ล้านไร่ หรือร้อยละ 20 ของพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศ (131 ล้านไร่) เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนจากภัยแล้ง 1.4 ล้านราย พื้นที่เกือบทั้งหมดเป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน
2. ผลการดำเนินงาน
2.1 ลดจำนวนพื้นที่เดือดร้อน ตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมา ได้มีการปรับปรุงการปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษกู้ภัยแล้ง ตามพระราชกระแสรับสั่ง โดยเพิ่มฐานปฏิบัติการฝนหลวงจาก 8 ฐานหลักเป็น 9 ฐานหลัก และฐานเติมสารฝนหลวง 12 ฐาน เพิ่มเที่ยวบินเพื่อปฏิบัติการฝนหลวงทั้งกลางวันและกลางคืน โดยได้รับการสนับสนุนเครื่องบินเพิ่มเติมจากเหล่าทัพ จำนวน 13 ลำ จัดตั้งเครือข่ายระบบสารสนเทศ ในระบบ ADSL (Asymmetric Digital Subscriber Line) และใช้ DNS (Domain Name Server) ของบริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ให้กับทุกฐาน เร่งรัดและปรับปรุงวิธีการจัดซื้อสารฝนหลวงและจัดหาเครื่องมือตรวจสอบสารฝนหลวงแบบเคลื่อนที่ (Portable Testing Kit) ประจำฐานปฏิบัติการฝนหลวงทุกฐาน เพื่อตรวจสอบคุณภาพสารฝนหลวงก่อนนำขึ้นเครื่องบินประจำวัน ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมาขึ้นบินแล้ว รวม 2,541เที่ยวบิน มีฝนตกเกือบทุกจังหวัดทำให้พื้นที่ประสบภัยแล้งโดยเฉพาะพื้นที่สีแดง ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีแนวโน้มขาดน้ำอุปโภคและบริโภค จากที่สำรวจครั้งแรก 13,747 หมู่บ้าน ลดลงเหลือ 1,093 หมู่บ้านหรือลดลงร้อยละ 92.05 ในขณะนี้ การปฏิบัติการฝนหลวงยังคงดำเนินการต่อเนื่อง เพื่อให้ความช่วยเหลือจังหวัดที่ยังประสบความเดือดร้อนเรื่องน้ำ เช่น จังหวัดนครราชสีมา นครสวรรค์ ศรีสะเกษ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
2.2 เพิ่มปริมาณน้ำฝน ผลจากการปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงกลางเดือนมีนาคมถึงเมษายนปีนี้ ทำให้ปริมาณน้ำฝนไหลลงอ่างฯ สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย ส่งผลให้อ่างเก็บน้ำเขื่อนที่สำคัญ เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนสิรินธร เขื่อนแม่งัด เขื่อนกิ่วลม เขื่อนแม่กวง เขื่อนน้ำพุง และเขื่อนน้ำอูน มีปริมาณน้ำสูงกว่าปีก่อน
2.3 ลดความเสียหายสวนผลไม้ การระดมเครื่องสูบน้ำ จำนวน 742 เครื่อง และรถบรรทุกน้ำของกรมชลประทาน จำนวน 295 คัน รวมทั้งฝนที่ได้รับจากปฏิบัติการฝนหลวง ส่งผลให้พืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม้ผล-ไม้ยืนต้น รอดพ้นจากภาวะแห้งตาย และขณะเดียวกันยังให้ผลผลิตที่ดี ดังเห็นได้จากปริมาณผลไม้ที่ออกสู่ตลาดในปีนี้มีจำนวนมาก สภาวการณ์นี้ดีกว่าที่คาดการณ์ความเสียหายในเบื้องต้น
2.4 การปลูกพืชฤดูแล้ง เนื่องจากภัยแล้งต่อเนื่อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ออกประกาศเตือนเกษตรกรให้ลดการปลูกข้าวนาปรังในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทาน แต่ปรากฏว่า ณ วันที่ 29 เมษายน 2548 มีพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังแล้ว 9.46 ล้านไร่ สูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 1.94 ล้านไร่ (เป้าหมาย 7.52 ล้านไร่) และสูงกว่าปีก่อน ทั้ง ๆ ที่ปีนี้แล้งกว่า
การบริหารจัดการน้ำและปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อแก้ไขภัยแล้ง ส่งผลให้มีการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้นข้าวนาปรังส่วนที่เพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย จำนวน 1.94 ล้านไร่ คิดเป็นข้าวเปลือกประมาณ 1.25 ล้านตัน ราคาที่เกษตรกรขายได้ตันละ 6,482 บาท เป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นประมาณ 8,103 ล้านบาท นอกจากนี้ มีรายงานว่าราคาผลผลิตทางการเกษตรโดยเฉลี่ยในตลาดโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12-55 ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ระบุว่า ราคาสินค้าเกษตรโดยรวมของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.9 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเห็นได้จากราคาที่เพิ่มขึ้นของอ้อยโรงงาน และมันสำปะหลังในปีนี้ ดังนั้น ภัยแล้งครั้งนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อ GDP ในส่วนที่อยู่ในภาคเกษตร
3. แผนการดำเนินงานระยะต่อไป เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังมีภารกิจที่ต้องเฝ้าระวังเตือนภัยล่วงหน้า และติดตามสถานการณ์ภัยอื่น ที่จะมีผลกระทบต่อการผลิตภาคเกษตรและความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้วางแผนเตรียมการในระยะต่อไป ดังนี้
1. ตั้งศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยด้านการเกษตร โดยปรับปรุงโครงสร้างศูนย์ปฏิบัติแก้ไขปัญหาภัยแล้งปัจจุบันให้เป็นองค์กรถาวร เพื่อทำหน้าที่ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ ภัยทางเศรษฐกิจ สร้างระบบเตือนภัยล่วงหน้าทางการเกษตร และติดตามสถานการณ์ ซึ่งในขณะนี้อยู่กระจัดกระจายหลายหน่วยงานให้รวมอยู่ที่เดียวกัน โดยสร้างระบบข้อมูลพร้อมที่จะปฏิบัติงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2. แผนปฏิบัติการฝนหลวง โดยปฏิบัติงานสนองต่อพระบรมราโชบายในการวางแผนปฏิบัติงานตลอดปี ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ โดยทำให้ฝนตกทั้งในฤดูฝนและนอกฤดูยาวนานขึ้น เพื่อสนับสนุนการปลูกพืชในพื้นที่นอกเขตชลประทานที่มีอยู่จำนวน 108 ล้านไร่ สำนักฝนหลวงและการบินเกษตรจำเป็นต้องวางแผนเพื่อรองรับบทบาทการทำงานที่เพิ่มขึ้นในอนาคต เช่น เพิ่มสถานที่เก็บสารเคมี พัฒนาบุคลากร รวมทั้งการวิจัยและพัฒนา ซึ่งจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3. แผนพัฒนาลุ่มน้ำ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำแผนแม่บทพัฒนา 25 ลุ่มน้ำแบบบูรณาการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อุทกภัย ปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมในแต่ละลุ่มน้ำที่มีสภาพแนวโน้มเสื่อมโทรมลง และคุณภาพน้ำเสียมากขึ้น ตลอดจนเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการใช้น้ำอย่างเป็นระบบทั่วถึงและถาวร ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความยากจน และสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยจะนำเสนอแผนปรับปรุงการบริหารจัดการน้ำเฉพาะลุ่มแม่น้ำปิง และเขตลุ่มน้ำมูลเป็นโครงการนำร่อง
4. แผนพัฒนาพื้นที่เขตชลประทาน ปรับปรุงแผนการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ด้วยการจัดระบบการจัดสรรน้ำ การระบาย และการส่งน้ำ เพื่อให้เกษตรกรจะมีงานทำตลอดปี ปลูกพืชเศรษฐกิจที่มีคุณภาพและแข่งขันได้ สร้างอาชีพที่ยั่งยืน และใช้ทรัพยากรน้ำอย่างรู้คุณค่า ขณะเดียวกันดำเนินการปรับแผนให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าหรือหน่วยเคลื่อนที่เร็วในเรื่องอุปกรณ์เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--