สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 มีนาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday March 22, 2022 18:06 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (22 มีนาคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                      เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ                                                   วนอุทยานสวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหาร                                        ส่วนตำบล พ.ศ. ?.
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขต                                                  จตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี                                         อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอ                                        บางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี จังหวัด                                                            พระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอ                                                      แก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอ                                        สูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการความ                                                  ร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชน                                        จีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค                                                             ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา)                                         พ.ศ. ?.
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผย                                                  ข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ                                                   พ.ศ. 2540 พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา                                                   พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งปลา                                        ทะเลสวยงามที่มีชีวิตออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 พ.ศ. ?.
                    6.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่ง                                                  สินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 46) พ.ศ. 2531 พ.ศ. ?. (สินค้าหอยมุก                                        และผลิตภัณฑ์)
                    7.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ สังคม

                    8.           เรื่อง           ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ                                                             พ.ศ. 2566 ? 2570
                    9.           เรื่อง           การกำหนดและทบทวนกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนให้มีขนาด                                                  ที่เหมาะสม
                    10.           เรื่อง           รายงานผลการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียน                                        ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564                                                   และการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลัง                                        เป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2564
                    11.           เรื่อง           ขออนุมัติขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้าง                                                  พื้นฐาน (Development Policy Loan : เงินกู้ DPL) สำหรับโครงการจัดทำระบบ                                                  บริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai)
                    12.           เรื่อง           ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2564
                    13.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย
                    14.           เรื่อง           รายงานการประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี                                                   (พ.ศ. 2561-2580) ช่วงระยะปี 2561-2564 และรายงานประเมินผลตามแผน                                                  แม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
                    15.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล                                                  และข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2565
                    16.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง                                         รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำ                                        โครงการการบริหารจัดการ Organizational Quarantine (OQ) สำหรับแรงงาน                                        ต่างด้าวและผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
                    17.          เรื่อง           มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับ                                                  สินเชื่อภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบ                                                  วิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

พ.ศ. 2563

                    18.           เรื่อง           ขออนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง                                         รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก                                        การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัย                                                  เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์โควิด 19
                    19.           เรื่อง           รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ                                                   พ.ศ. 2564 และรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบ                                                  และประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    20.           เรื่อง           มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ
                    21.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง                                                   รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติของศูนย์                                                  ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่าง                                        วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ราม 61 วัน (ห้วงที่ 1-2)
                    22.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง                                         รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจาก                                        การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    23.          เรื่อง          การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร

ต่างประเทศ

                    24.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย

และกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ รัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดีย

(ฉบับปรับปรุง)

                    25.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการรับรองร่างเอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของการประชุม                                                  อาเซียน ว่าด้วยแรงงานต่างด้าวและร่างเอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่                                                            ของคณะกรรมการด้านการตรวจแรงงานอาเซียน และการประชุมวิชาการว่าด้วย

การตรวจแรงงานอาเซียน

                    26.           เรื่อง            ผลการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    27.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย                                         ครั้งที่ 2

แต่งตั้ง

                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี                                                  อวกาศและภูมิสารสนเทศ แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    30.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการต่อสัญญาจ้างผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน

แห่งประเทศไทย

                    31.           เรื่อง           การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้าน                                                            ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    32.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396




























กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยานสวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ ทส. รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ทส. เสนอว่า
                     1. พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอัตราไม่เกินร้อยละสิบของเงินที่เรียกเก็บได้จากการรักษาสภาพ ความปลอดภัย ความสะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การให้บริการ และการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ แก่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อนำไปใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงาน หรือการอนุรักษ์บำรุงรักษา และฟื้นฟูอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ประกอบกับพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 มาตรา 22 วรรคสอง บัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หรือกำหนดให้รัฐต้องดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวหรือยังมิได้ดำเนินการนั้นภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ และบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ และมาตรา 39 (1) แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมาย และการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 บัญญัติให้ระยะเวลาสองปีตามมาตรา 22 วรรคสอง สำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ
                     2. เพื่อให้การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ   วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล ตามมาตรา 30 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ จึงต้องเร่งดำเนินการออกกฎกระทรวงให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ทส. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลนำเงินค่าบริการและค่าตอบแทนดังกล่าวไปใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติงาน หรือการอนุรักษ์บำรุงรักษา และฟื้นฟูอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติที่อยู่ในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ
                     3. ทส. ได้ดำเนินการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายลำดับรองตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 เมื่อวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม 2563 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์ ถนนวิภาวดีรังสิต เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 426 คน และในคราวประชุมคณะอนุกรรมการอุทยานแห่งชาติพิจารณากลั่นกรองร่างกฎหมายลำดับรองประกอบพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันพุธที่ 31 มีนาคม 2564 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงการแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนในอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล      พ.ศ. ?.
                     4. ในคราวประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม 2564 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวตามข้อ 3. ด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้แบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนที่เรียกเก็บได้ของอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ แต่ละแห่งในอัตราร้อยละห้าให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลทุกแห่งที่เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ โดยให้นำส่งให้แก่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นภายในเดือนธันวาคมของทุกปี
                     2. กำหนดให้ในแต่ละปีงบประมาณให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โอนเงินค่าบริการและค่าตอบแทนให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เพื่อแบ่งให้แก่เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นที่ตั้งของอุทยานแห่งชาติ วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ หรือสวนรุกขชาติ ของแต่ละเทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในจำนวนแห่งละเท่า ๆ กัน โดยให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นแบ่งเงินค่าบริการและค่าตอบแทนให้แก่เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเงินดังกล่าว
                    3. กำหนดห้ามมิให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลนำเงินค่าบริการและค่าตอบแทนที่ได้รับไปใช้จ่ายนอกวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลรายงานการใช้เงินค่าบริการและค่าตอบแทนที่ได้รับให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นรวบรวมส่งให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ทราบภายในเก้าสิบวันนับแต่สิ้นปีงบประมาณ
                    4. กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลที่มีสิทธิได้รับเงินค่าบริการและค่าตอบแทนตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 อยู่ก่อนวันที่กฎกระทรวงฉบับนี้มีผลใช้บังคับให้ได้รับเงินค่าบริการและค่าตอบแทนตามกฎหมายนี้แทนต่อไป

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                     1. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดยให้กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย) ตรวจสอบและแก้ไขแผนที่ท้ายของร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และให้ดำเนินการต่อไปได้
                     2. ให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    3. ให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติกรณีการตราร่างกฎหมายที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย ให้หน่วยงานของรัฐผู้เสนอร่างกฎหมายทำการตรวจสอบความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองที่จำเป็นต้องระบุในเนื้อหาของร่างกฎหมาย และแผนที่ท้ายอันเป็นข้อเท็จจริงและรายละเอียดเชิงพื้นที่ให้เป็นปัจจุบัน และต้องมีผลตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองจากกรมการปกครองเสนอมาพร้อมกับร่างกฎหมายนี้ด้วย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่กระทรวงคมนาคมเสนอ คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน เพื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร ? หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร ? นครราชสีมา) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการดังกล่าวแล้ว และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้มีมติเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการดังกล่าวด้วยแล้ว โดยร่างพระราชกฤษฎีกามีกำหนดใช้บังคับ 4 ปี และให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนภายใน 60 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด โดยการตราพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวจะมีการเวนคืนที่ดินประมาณ 667 ไร่ และอาคาร 1,130 หลังเพื่อก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงสายใหม่ขนาดทาง 1.435 เมตร จำนวน 2 ทาง ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร โดยเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงใหม่ จำนวน 4 สถานี และศูนย์ควบคุมการเดินรถและซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ 1 แห่ง พร้อมการก่อสร้างรั้วสองข้างทางตลอดแนวเส้นทางรถไฟ ยกเลิกจุดตัดทางรถไฟเสมอระดับทุกแห่ง และก่อสร้างสะพานข้ามทางรถไฟ ทางรถยนต์ลอดและทางคนลอดใต้ทางรถไฟแทน โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยประเมินมูลค่าโครงการแล้วเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 179,412.21 ล้านบาท (ค่ารื้อย้ายและเวนคืน สัญญา งานโยธา) ทั้งนี้ เมื่อก่อสร้างทางรถไฟฟ้าความเร็วสูงตามโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ จะเป็นการพัฒนาระบบรางของประเทศไทยให้มีความเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ อันเป็นการเสริมศักยภาพของประเทศไทยในการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยกำหนดแผนการดำเนินโครงการคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในปี พ.ศ. 2569 และสำนักงบประมาณแจ้งว่าจะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้การรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตจตุจักร เขตหลักสี่ เขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร อำเภอลำลูกกา อำเภอธัญบุรี อำเภอคลองหลวง อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี อำเภอบางปะอิน อำเภอพระนครศรีอยุธยา อำเภออุทัย อำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อำเภอหนองแซง อำเภอเสาไห้ อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอแก่งคอย อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง อำเภอ           สีคิ้ว อำเภอสูงเนิน อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เพื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทางและสิ่งจำเป็นอื่นตามโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร ? หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร ? นครราชสีมา) มีกำหนดใช้บังคับ 4 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนภายใน 60 วันนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงาน ก.พ.ร. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 (เป็นข้อมูลข่าวสารที่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย หากเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือเศรษฐกิจของประเทศ เป็นต้น) เพื่อกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการให้สอดคล้องกับระดับตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐในปัจจุบัน รายละเอียดดังนี้
                    1. ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2562) ออกตามความในพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
                    2. กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดังต่อไปนี้ มีอำนาจมีคำสั่งให้เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
                              2.1 ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการฝ่ายตุลาการที่เป็นข้าราชการธุรการ ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการฝ่ายอัยการที่เป็นข้าราชการธุรการ ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการรัฐสภาสามัญ หรือข้าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้น และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไประดับชำนาญงานซึ่งปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานประเภทวิชาการระดับชำนาญการ ประเภทอำนวยการ ประเภทบริหาร หรือเทียบเท่ากับตำแหน่งดังกล่าวขึ้นไป
                              2.2 ผู้บริหารมหาวิทยาลัยซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้น
                              2.3 ข้าราชการทหาร หรือข้าราชการตำรวจ ซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้น และเป็นผู้ซึ่งมีชั้นยศตั้งแต่ พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี หรือพันตำรวจตรีขึ้นไป
                              2.4 ข้าราชการตุลาการซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้น และเป็นผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการตุลาการชั้น 2 ขึ้นไป
                              2.5 คณะกรรมการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครองซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้น
                              2.6 ข้าราชการอัยการซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้นและเป็นผู้ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ข้าราชการอัยการชั้น 2 ขึ้นไป
                              2.7 ผู้บริหารท้องถิ่น หรือปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปลัดเทศบาล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หรือปลัดเมืองพัทยา ซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้น
                              2.8 บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจหรือพนักงานวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้น และเป็นผู้ปฏิบัติงานหัวหน้างานหรือเทียบเท่าขึ้นไป
                              2.9 บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งควบคุมการปฏิบัติงานขององค์การมหาชน หรือพนักงานองค์การมหาชน ซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้น และเป็นผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้างานหรือเทียบเท่าขึ้นไป
                              2.10 บุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยงานอิสระของรัฐหรือผู้บริหารระดับเลขาธิการ ผู้อำนวยการ หรือตำแหน่งอื่นที่มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกันของหน่วยงานอิสระของรัฐ หรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานอิสระของรัฐที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหารดังกล่าว ซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้น
                              2.11 บุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งควบคุมการปฏิบัติงานขององค์กร ควบคุมการประกอบวิชาชีพ หรือหัวหน้าสำนักงานขององค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพหรือเจ้าหน้าที่ขององค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว ซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้น
                              2.12 บุคคลหรือคณะบุคคลซึ่งควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นของรัฐหรือพนักงานหน่วยงานอื่นของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่ครอบครองหรือควบคุมดูแลข้อมูลข่าวสารนั้น และเป็นผู้ปฏิบัติงานในตำแหน่งหัวหน้างานหรือเทียบเท่าขึ้นไป

4. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. .... ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินไปประกอบการพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริไปพิจาณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างระเบียบฯ ที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอเป็นการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2547 เพื่อรองรับการปรับปรุงระบบการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษาให้มีความเชื่อมโยงผ่านระบบดิจิทัลเต็มรูปแบบ โดยกำหนดให้การส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาต้องดำเนินการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 และแก้ไขขั้นตอนการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น รวมทั้งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 ที่กำหนดเกี่ยวกับการส่งเรื่องที่มีการเผยแพร่ให้แพร่หลายพอสมควรแล้วไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                    สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประกาศเรื่องในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2547 ให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งสอดคล้องกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
                    1. แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องที่สามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้เฉพาะในส่วนตามข้อ 3.1.2 จากเดิมที่กำหนดให้เรื่องที่สามารถประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้นั้น ได้แก่
                              1.1 กฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งของหน่วยงานเจ้าของเรื่องและเรื่องที่กฎหมายหรือมติคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ
                              1.2 เรื่องที่ สลค. พิจารณาเห็นสมควรประกาศให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ ซึ่งได้แก้ไขเป็น ?เรื่องนอกจากข้อ 3.1.1 ที่หน่วยงานเจ้าของเรื่องส่งประกาศซึ่งเป็นเรื่องที่ สลค. พิจารณาว่าเป็นประโยชน์               มีความจำเป็น และสมควรประกาศให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ? เพื่อให้มีความชัดเจนว่า ส่วนราชการสามารถส่งเรื่องอื่นนอกจากที่กำหนดตามข้อ 3.1.1 มาประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ แต่เป็นดุลพินิจในการพิจารณาของ สลค. ว่าเรื่องดังกล่าวเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้สามารถประกาศราชกิจจานุเบกษาได้หรือไม่
                    2. แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งเรื่องมาประกาศในราชกิจจานุเบกษาจากเดิมที่กำหนดให้การส่งเรื่องมาประกาศในราชกิจจานุเบกษายังต้องมีการส่งเอกสารมายัง สลค. พร้อมทั้งต้องจัดเก็บเอกสารต้นฉบับไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการตรวจสอบยืนยันความถูกต้องโดยแก้ไขเป็นให้ส่งเรื่องมาประกาศในราชกิจจานุเบกษาผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถจัดส่งเอกสารแนบท้ายเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สลค. กำหนด รวมทั้งไม่จำเป็นต้องมีการจัดเก็บต้นเรื่องในรูปแบบเอกสารอีกต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2564
                    3. แก้ไขระยะเวลาการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยกำหนดที่หน่วยงานเจ้าของเรื่องส่งเรื่องไปถึง สลค. ก่อนวันที่ประสงค์จะให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่น้อยกว่าสองสัปดาห์ จากเดิมที่กำหนดให้ส่งก่อนวันที่ประสงค์จะให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไม่น้อยกว่าสามวันทำการ เพื่อให้ สลค. สามารถบริหารจัดการเรื่องที่ส่งมาประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยได้กำหนดข้อยกเว้นในกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องประสานกับ สลค. เป็นกรณี ๆ ไป
                    4. เพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ โดยในกรณีที่ได้มีการจัดพิมพ์เรื่องดังกล่าวให้แพร่หลายตามจำนวนพอสมควร ประกาศทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานนั้น หรือสถานที่อื่นใดซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าจะทำให้ประชาชนได้รู้ถึงเรื่องดังกล่าว หรือได้จัดพิมพ์ไว้เพื่อขายหรือจำหน่ายจ่ายแจก ณ ที่ทำการของหน่วยงานเจ้าของเรื่อง ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องที่ส่งเรื่องไปประกาศอ้างอิงถึงสิ่งพิมพ์ที่ได้มีการจัดพิมพ์เพื่อให้แพร่หลายดังกล่าวด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
                    5. กำหนดบทเฉพาะกาลให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องที่ยังไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ได้สามารถดำเนินการส่งเรื่องและเอกสารแนบไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยวิธีปกติที่เคยปฏิบัติมาไปพลางก่อน ทั้งนี้ ต้องไม่เกินเก้าสิบวันนับแต่วันที่ระเบียบนี้ใช้บังคับ และในกรณีที่มีเหตุจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถปฏิบัติตามระเบียบนี้ภายในกำหนดเวลาได้ ให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องทำความตกลงกับ สลค. เพื่อพิจารณาผ่อนผันการปฏิบัติเป็นรายกรณีไป
                    นอกจากนี้ ยังได้แก้ไขบทนิยามและบทบัญญัติในส่วนอื่น ๆ ให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับการแก้ไขให้การส่งเรื่องไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาดำเนินการผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ด้วยแล้ว

5. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิตออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิตออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ พณ. เสนอว่า
                     1. ตามที่ พณ. ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิตออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2549 โดยกำหนดให้ปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิตตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ เป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองจากกรมประมงเพื่อแสดงประกอบพิธีการศุลกากร
                     2. ต่อมา กรมการค้าต่างประเทศได้ประชุมร่วมกับกรมประมงเพื่อพิจารณาทบทวนมาตรการนำเข้าและส่งออกสินค้าประมง โดยเห็นควรยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ตามข้อ 1. ภายหลังจากที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ใช้บังคับประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก หรือห้ามนำผ่านราชอาณาจักร และได้ปรับปรุงบัญชีแนบท้ายประกาศดังกล่าวเสร็จแล้ว
                    3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงนามในประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2564   มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2564 โดยประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดังกล่าวได้กำหนดให้มีการควบคุมการส่งออกปลาทะเลสวยงามตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ตามข้อ 1. แล้ว โดยได้มีการปรับปรุงชนิด วงศ์และชื่อวิทยาศาสตร์ให้เป็นปัจจุบัน
                    4. ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดขั้นตอนและกระบวนการทำงานของหน่วยงานของรัฐ และลดความซ้ำซ้อนของการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากกรมประมงได้มีมาตรการกำกับดูแลการส่งออกปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิตแล้ว พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศพิจารณาแล้ว จึงได้ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิตออกไปนอกราชอาณาจักร และได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความเห็นต่อร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าวแล้ว รวมทั้งได้จัดทำการรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของกรมการค้าต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 19 พฤศจิกายน ? 20 ธันวาคม 2564 ซึ่งมีผู้ให้ความเห็นรวมทั้งสิ้น              4 ราย โดยเห็นด้วยต่อร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ดังกล่าวทั้งหมด
                    5. โดยที่พระราชบัญญัติการส่งออกไปนอกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งสินค้า พ.ศ. 2522 มาตรา 5 บัญญัติให้ในกรณีที่จำเป็นหรือสมควรเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สาธารณประโยชน์ สาธารณสุข ความมั่นคงของประเทศความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อประโยชน์อื่นใดของรัฐให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษาในเรื่องการกำหนดให้สินค้าใดที่ส่งออก หรือนำเข้าเป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หนังสือรับรองคุณภาพสินค้า หรือหนังสือรับรองอื่นใดตามความตกลงหรือประเพณีทางการค้าระหว่างประเทศ และกำหนดมาตรการอื่นใดเพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบในการส่งออกหรือการนำเข้า ทั้งนี้ ให้ใช้บังคับโดยอนุโลมกับการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกประกาศตามมาตรานี้ด้วย ดังนั้น การยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ตามข้อ 1. จำเป็นต้องดำเนินการโดยการออกประกาศ
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งปลาทะเลสวยงามที่มีชีวิตออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2549 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 46) พ.ศ. 2531 พ.ศ. ?. (สินค้าหอยมุกและผลิตภัณฑ์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 46) พ.ศ. 2531 พ.ศ. ?. (สินค้าหอยมุกและผลิตภัณฑ์) ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ พณ. รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ ที่ พณ. เสนอ เป็นการยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 46) พ.ศ. 2531 เนื่องจากปัจจุบันได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อควบคุมการส่งออกหอยกาบน้ำจืด หอยมุกชนิดต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์แล้ว อีกทั้งยังเป็นการยกเลิกกฎหมายที่หมดความจำเป็นและลดความซ้ำซ้อนของกฎหมายด้วย
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยการส่งสินค้าไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 46) พ.ศ. 2531 ลงวันที่ 9 มิถุนายน 2531 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. .... ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ อว. เสนอว่า
                    1. ได้มีกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. 2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 มีสาระสำคัญกำหนดและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี เกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ทั้งนี้ ไม่รวมผู้ขอรับใบอนุญาตที่เป็นหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามกฎหมาย ดังนี้
                              1.1 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี อาทิ
                              - ใบอนุญาตผลิตวัสดุกัมมันตรังสี ฉบับละ 10,000 บาท
                              - ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีให้คิดตามค่ากัมมันตภาพของวัสดุกัมมันตรังสี ดังนี้ ค่ากัมมันตภาพไม่เกิน 37 เทระเบ็กเคอเรล (TBq) ฉบับละ 10,000 บาท ค่ากัมมันตภาพเกิน 37 แต่ไม่เกิน 370 เทระเบ็กเคอเรล (TBq) ฉบับละ 25,000 บาท
                              - ใบอนุญาตนำเข้าวัสดุกัมมันตรังสี ดังนี้ ค่ากัมมันตภาพไม่เกิน 37 เทระเบ็กเคอเรล (TBq) ฉบับละ 1,000 บาท ค่ากัมมันตภาพเกิน 37 แต่ไม่เกิน 370 เทระเบ็กเคอเรล (TBq) ฉบับละ 2,500 บาท
                              1.2 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดรังสี อาทิ
                              - ใบอนุญาตทำเครื่องกำเนิดรังสี ฉบับละ 50,000 บาท
                              - ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี ดังนี้ เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 1 ฉบับละ 2,000 บาท ประเภทที่ 2 ฉบับละ 1,000 บาท
                              - ใบอนุญาตเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสี ดังนี้ ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ ใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตส่งออก ฉบับละ 200 บาท
                              1.3 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ อาทิ
                              - ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์ ดังนี้ วัสดุต้นกำลังไม่เกิน 10 ตัน ฉบับละ 5,000 บาท
                              - ใบอนุญาตนำเข้าวัสดุนิวเคลียร์ ฉบับละ 5,000 บาท
                              - ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 500 บาท
                              1.4 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ อาทิ
                              - สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่ไม่มีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ดังนี้ ใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อตั้งสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ ฉบับละ 10,000,000 บาท ใบอนุญาตก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ ฉบับละ 10,000,000 บาท
                              - สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่มีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ดังนี้ ใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อตั้งสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ ใบอนุญาตก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ ฉบับละ 10,000,000 บาท
                              1.5 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ทางนิวเคลียร์และรังสี ใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ฉบับละ 500 บาท ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 200 บาท การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละประเภท และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต ฉบับละ 100 บาท
                              1.6 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับการจัดการกากกัมมันตรังสี อาทิ
                              - ใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อตั้งสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี ใบอนุญาตก่อสร้างสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี ฉบับละ 1,000,000 บาท
                    2. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อภาวะทางเศรษฐกิจ อว. จึงเห็นควรให้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสีเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ รวมทั้งใบอนุญาตและที่เกี่ยวกับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ในข้อ 1.1 - 1.3 และข้อ 1.5 ของกฎกระทรวงตามข้อ 1 ที่ปัจจุบันได้มีการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับกิจการดังกล่าว เพื่อเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบแก่ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสีที่เป็นภาคเอกชน ทั้งด้านการแพทย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การศึกษาวิจัย หรือการรักษาความมั่นคงปลอดภัย รวมถึงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี อว. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. .... เพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
                    3. การยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสีตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่าจะทำรัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. 2564 ในปี พ.ศ. 2565 ประมาณ 3,529,250 บาท แต่อย่างไรก็ตาม                การออกกฎกระทรวงดังกล่าวจะเกิดผลดีต่อผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม การเกษตร การแพทย์              การศึกษาวิจัย และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี รวมถึงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีมากกว่ารายได้ที่รัฐต้องสูญเสีย เนื่องจากเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับการประกอบกิจการดังกล่าว และจะเป็นการช่วยเหลือเยียวยาและลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการอันเป็นการส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    เป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ รวมทั้งใบอนุญาตและที่เกี่ยวกับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. 2564 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

เศรษฐกิจ สังคม

8. เรื่อง ร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566 ? 2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2566 ? 2570 (ร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนฯ ฉบับที่ 2) และรับทราบกรอบวงเงินงบประมาณที่ใช้ดำเนินการตามร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนฯ ฉบับที่ 2 รวมทั้งสิ้น 14,326.5403               ล้านบาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. รายงานว่า
                    1. ร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนฯ ฉบับที่ 2 ที่ สธ. เสนอในครั้งนี้เป็นการดำเนินการตามนัยมาตรา 10 (1) และมาตรา 10 (4) แห่งพระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ถือเป็นร่างนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ฉบับที่ 2 ที่จัดทำขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 25611 ซึ่งเป็นการดำเนินการต่อเนื่องจากแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนฯ ฉบับที่ 1 ที่จะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2565 โดยได้มีการทบทวนสถานการณ์ด้านวัคซีนทั้งในและต่างประเทศ การประเมินความเสี่ยงภูมิคุ้มกันหรือความเข้มแข็งด้านวัคซีนของประเทศ รวมทั้งทบทวนนโยบายและแผนยุทธศาสตร์ด้านวัคซีนและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยผ่านการรับฟังความเห็นจากประชาชนและผู้เชี่ยวชาญในหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเรียบร้อยแล้ว และที่ประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี                   (นายอนุทินฯ) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนฯ ฉบับที่ 2 พร้อมโครงการและกรอบวงเงินงบประมาณแล้ว โดยมอบให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ (สถาบันวัคซีนแห่งชาติ) ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของที่ประชุมก่อนเสนอต่อสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    2. สธ. แจ้งว่า แผนดังกล่าวเป็นกรอบในการขับเคลื่อนผลักดันการพัฒนาสู่ความมั่นคงด้านวัคซีนในระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) โดยยึดหลักความสอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านความมั่นคง ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ และด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติในหลายประเด็น เช่น ประเด็นที่ 4อุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต แผนย่อยอุตสาหกรรมและบริการทางการแพทย์ครบวงจร อีกทั้งยังมีแนวคิดที่สอดรับกับนโยบายและแผนพัฒนาของชาติ เช่น กรอบแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 แผนยุทธศาสตร์ สธ. 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579 (ร่าง) ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) และแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12
                    3. ร่างแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนฯ ฉบับที่ 2 มีวิสัยทัศน์ให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านวัคซีน ประชาชนทุกคนในประเทศเข้าถึงการป้องกันโรคด้วยวัคซีนที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 11 แผนงาน 67 โครงการ ระยะเวลาการดำเนินงาน 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) วงเงินรวมทั้งสิ้น 14,326.5403 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : การพัฒนาระบบและบริหารจัดการงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้มีประสิทธิภาพทั้งในภาวะปกติและภาวะฉุกเฉิน (จำนวน 15 โครงการ)
ตัวอย่างตัวชี้วัด          - การจัดซื้อจัดหาวัคซีนรูปแบบใหม่ในภาวะปกติ อย่างน้อย 1 ชนิดวัคซีน
- การจัดซื้อจัดหาและสำรองวัคซีนในภาวะฉุกเฉินและการสำรองวัคซีนในระดับภูมิภาค จำนวน 1 ระบบ และอย่างน้อย 1 ชนิดวัคซีน
- การพิจารณานำวัคซีนใหม่ที่มีความสำคัญทางสาธารณสุขมาใช้ในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคหรือชุดสิทธิประโยชน์ หรือการเพิ่มจำนวนโดส หรือการเพิ่มกลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 1 กลุ่ม
แนวทางการพัฒนา          - พัฒนาระบบบริหารจัดการวัคซีนแบบบูรณาการ รองรับประชากรทุกกลุ่มเป้าหมาย
- เพิ่มประสิทธิภาพกลไกการนำวัคซีนใหม่บรรจุในแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค
โครงการ/หน่วยงานรับผิดชอบ          - โครงการสำรองวัคซีนรองรับการระบาด (กรมควบคุมโรค)
- โครงการรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคหัดและหัดเยอรมัน (MR) ในกลุ่มเสี่ยง (กรมควบคุมโรค)
- โครงการพัฒนา Big Data ฐานข้อมูลกลางการให้บริการวัคซีนและระบบ PHR ข้อมูลการรับบริการวัคซีนรายบุคคล (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)
- โครงการพัฒนาระบบข้อมูลและบริหารจัดการวัคซีน (Vaccine Information and Management System : VIMS) (สถาบันวัคซีนแห่งชาติ)
งบประมาณ
(ล้านบาท)          2,889.7600
          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2568          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2569          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2570
          583.6400          575.4100          582.4500          575.6800          572.5800
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : การส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยพัฒนา และอุตสาหกรรมการผลิตวัคซีนอย่างครบวงจร (จำนวน 26 โครงการ)
ตัวอย่างตัวชี้วัด          - วัคซีนที่ได้รับการขึ้นทะเบียนไม่น้อยกว่า 1 ชนิด ในปี 2570
- วัคซีนสัตว์ต้นแบบ อย่างน้อย 1 ชนิด ในปี 2566
- มาตรการสนับสนุนการจัดซื้อวัคซีนที่ผลิตในประเทศ อย่างน้อย 2 เรื่อง
- แผนความต้องการใช้วัคซีนระยะ 5 ปี เพื่อเตรียมการผลิตรองรับกรณีที่มีความต้องการเพิ่มมากขึ้น 1 ฉบับ
แนวทางการพัฒนา          - พัฒนาศักยภาพรองรับการวิจัยพัฒนา/การผลิตวัคซีนด้วยเทคโนโลยี (1) Viral vector platform (2) Nucleic acid platform (3) Inactivated/Cell-based platform และ (4) Inactivated/Egg-based platform
- พัฒนาศักยภาพรองรับการวิจัยพัฒนาวัคซีนสัตว์
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการทดสอบในสัตว์ทดลอง
- สนับสนุนด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยพัฒนาวัคซีน
- สร้างหลักประกันมาตรการสนับสนุนอุตสาหกรรมวัคซีนภายในประเทศ
- สนับสนุนการจัดการองค์ความรู้สำหรับผู้ผลิตในประเทศ
โครงการ/หน่วยงานรับผิดชอบ          - โครงการการพัฒนา adenoviral vector platform สำหรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนต้นแบบ (กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์)
- โครงการการพัฒนาเทคโนโลยีฐานสำหรับพัฒนาต้นแบบวัคซีนจาก Viral vectorเพื่อตอบสนองต่อโรคอุบัติใหม่ (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ)
- โครงการการพัฒนาต้นแบบวัคซีนเด็งกี่ (วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก (Dengue Vaccine)] เพื่อทดสอบในมนุษย์ (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ)
- การพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงจากเชื้อโรต้า (Rotavirus vaccine) (สภากาชาดไทย)
- โครงการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสำหรับสัตว์ (กรมปศุสัตว์)
- โครงการการจัดตั้งโรงงานโดยใช้เทคโนโลยีการใช้เซลล์เพาะเลี้ยงในระดับต้นแบบและระดับอุตสาหกรรม (องค์การเภสัชกรรม)
- โครงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดซื้อวัคซีนที่ผลิตในประเทศ (สถาบันวัคซีนแห่งชาติ)
งบประมาณ
(ล้านบาท)          9,911.3873
          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2568          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2569          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2570
          2,298.2283          3,868.8654          1,371.3673          1,130.4551          1,242.4712

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : การพัฒนาศักยภาพบุคลากรรองรับภารกิจความมั่นคงด้านวัคซีน (จำนวน 23 โครงการ)
ตัวอย่างตัวชี้วัด          - หลักสูตรระยะสั้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมวัคซีนหรือหลักสูตรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 หลักสูตร
- บุคลากรด้านการวิจัยพัฒนา และผลิตวัคซีนได้รับการอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ จำนวน 285 คน
แนวทางการพัฒนา          - สนับสนุนความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่จำเป็น และขาดแคลนในงานด้านวัคซีน
- สนับสนุนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาและหน่วยงานเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่จำเป็นและขาดแคลนในงานด้านวัคซีน
โครงการ/หน่วยงานรับผิดชอบ          - โครงการการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้านวัคซีนอย่างครบวงจร (สถาบันวัคซีนแห่งชาติ)
- โครงการสร้างความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยวัคซีนทางคลินิก (มหาวิทยาลัยมหิดล)
- โครงการการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านวัคซีนผ่านเครือข่ายความร่วมมือ (องค์การเภสัชกรรม)
งบประมาณ
(ล้านบาท)          315.8930
          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2568          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2569          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2570
          71.4348          60.6438          64.8558          61.9568          57.0018

ยุทธศาสตร์ที่ 4 : เสริมสร้างขีดความสามารถขององค์กรภาคีเครือข่ายด้านวัคซีนของประเทศ (จำนวน 3 โครงการ)
ตัวอย่างตัวชี้วัด          - จำนวนโครงการความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการดำเนินงานด้านวัคซีนไม่น้อยกว่าปีละ 1 โครงการ
- จำนวนโครงการความร่วมมือขององค์กรภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชนที่ได้รับทุนสนับสนุนหรือร่วมให้ทุนการพัฒนางานด้านวัคซีน ไม่น้อยกว่าปีละ 2 โครงการ
แนวทางการพัฒนา          - สร้างกลไกด้านการเงินเพื่อสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกันของเครือข่ายด้านวัคซีน
- สนับสนุนงบประมาณ ข้อมูลเชิงลึกทั้งด้านเทคนิคและวิชาการแก่เครือข่ายด้านวัคซีน
โครงการ/หน่วยงานรับผิดชอบ          - โครงการสนับสนุนการวิจัยพัฒนาวัคซีนโดยความร่วมมือกับเครือข่ายด้านวัคซีน (สถาบันวัคซีนแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
- โครงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ด้านการวิจัย เพื่อพัฒนาวัคซีน การรักษา การวินิจฉัย สำหรับโรคอุบัติใหม่และตอบโต้อาวุธชีวภาพ เพื่อความมั่นคงของประเทศ (สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร)
งบประมาณ
(ล้านบาท)          1,209.5000
          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2568          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2569          ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2570
          325.3640          218.7000          224.8000          212.9360          227.7000
ทั้งนี้ คณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติ โดยสถาบันวัคซีนแห่งชาติ จะทำหน้าที่ติดตามและประเมินผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนฯ ฉบับที่ 2 เป็นรายปีพร้อมจัดทำข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่อความสำเร็จของการดำเนินงานที่ไม่บรรลุผลตามเป้าหมาย รวมทั้งสรุปผลการดำเนินงานภายหลังจากสิ้นสุดแผนระยะ 5 ปี และประเมินผลกระทบในภาพรวม และรายงานผลให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
                    4. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของร่างแผนดังกล่าวแล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564รวมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น (1) ควรมีการวางเป้าหมายทั้งระบบ โดยเน้นที่ความมั่นคงด้านวัคซีนเป็นลำดับแรก และมีเป้าหมายเรื่องการพัฒนาวัคซีนมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการผลิตเพื่อส่งออกให้กับประเทศอาเซียนและกลุ่มประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (2) ควรพิจารณาวางยุทธศาสตร์ร่วมกับแผนและการดำเนินงานอื่น ๆ ที่มีเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกันและสามารถต่อยอดร่วมกันได้ เช่น ยาชีววัตถุ (biologics) (3) ควรควบรวมการพัฒนาวัคซีนสำหรับมนุษย์และวัคซีนสำหรับสัตว์ เนื่องจากในอนาคตจะอยู่บนฐานการใช้เทคโนโลยีเดียวกันหรือมีลักษณะคล้ายกัน (4) ควรพิจารณาเรื่องการร่วมลงทุนระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการวิจัยพัฒนาและผลิตวัคซีนสำหรับตอบสนองกลุ่มโรคประจำถิ่นของภูมิภาคอาเซียน และ (5) ควรต่อยอดโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและแอปพลิเคชันจากสถานการณ์โควิด 19
ทั้งช่องทางการสื่อสาร ระบบข้อมูลลงทะเบียน ข้อมูลการฉีดวัคซีนของประชาชน บนฐานการทำให้เป็นระบบเดียวที่เป็นเอกภาพและมีความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ สธ. ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาฯ เรียบร้อยแล้ว
1พระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2561

9. เรื่อง การกำหนดและทบทวนกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนให้มีขนาดที่เหมาะสม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) ได้รับยกเว้นการปฏิบัติดามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 (เรื่อง รายงานการประเมินผลองค์การมหาชนตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 เรื่อง การทบทวนความจำเป็นในการมีอยู่ขององค์การมหาชน) โดยให้เพิ่มกรอบอัตรากำลังได้ในครั้งนี้
                    2. เห็นชอบเป็นหลักการให้โรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) ได้รับยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 (เรื่อง รายงานการประเมินผลองค์การมหาชนตามข้อสั่งการนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 เรื่อง การทบทวนความจำเป็นในการมีอยู่ขององค์การมหาชน) โดยให้เพิ่มกรอบอัตรากำลังได้ ทั้งนี้ ให้ใช้เงินรายได้ของโรงพยาบาลฯ ในการจ้างบุคลากร และรายงานการปรับเพิ่มกรอบอัตรากำลังให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนทราบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่คณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้วอนุมัติกรอบอัตรากำลังใหม่
                    3. เห็นชอบแนวทางการกำหนดและทบทวนกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนให้มีขนาดที่เหมาะสม โดยให้ตรึงกรอบอัตรากำลังขององค์การมหาชนจนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ทั้งนี้ ให้ใช้แนวทางนี้กับองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะส่วนองค์การมหาชนประเภทอื่นที่จะมีขึ้นในอนาคตนั้น ให้สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนจัดทำแนวทางฯ เพื่อเสนอคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
                    4. ให้คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน สำนักงาน ก.พ.ร. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย

10. เรื่อง รายงานผลการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 และการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน (คณะกรรมการฯ) เสนอดังนี้
                    1. รับทราบผลการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ชื่อทุนหมุนเวียน/กองทุน          ปีบัญชี 2562          ปีบัญชี 2563
1. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู          350.00          -
2. กองทุนสิ่งแวดล้อม          -          81.41
                    2. พิจารณาเรียกให้ทุนหมุนเวียน จำนวน 7 ทุน นำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียน ปีบัญชี 2564 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,100.08 ล้านบาท ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินภายใน 60 วัน หลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการฯ รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564 เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูได้นำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2562 จำนวน 350 ล้านบาท และกองทุนสิ่งแวดล้อมได้นำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2563 จำนวน 81.41 ล้านบาท เรียบร้อยแล้ว
                    2. กรมบัญชีกลาง [กระทรวงการคลัง (กค.)] ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ได้เสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามนัยมาตรา 8แห่งพระราชกฤษฎีกาการกำหนดจำนวนเงินสะสมสูงสุด และการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน พ.ศ. 2561 ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2564 จำนวน 7 ทุนหมุนเวียน รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,100.08 ล้านบาท ดังนี้
ทุนหมุนเวียน          ทุนหรือผลกำไรส่วนเกิน
ของทุนหมุนเวียนที่ต้องนำส่งคลัง
เป็นรายได้แผ่นดิน* (ล้านบาท)
1. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตรูปถ่ายทางอากาศ          15.23
2. เงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ          1,385.95
3. เงินทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน          1,170.59
4. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อจัดทำแผ่นป้ายทะเบียนรถ          282.05
5. กองทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ          160.28
6. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาเอกชน          79.45
7. เงินทุนหมุนเวียนศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ          6.53
รวมทั้งสิ้น          3,100.08
* หมายเหตุ : 1. ทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนที่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
                    = เงินคงเหลือ ณ วันต้นปีบัญชี - จำนวนเงินสะสมสูงสุดที่คำนวณได้
                  2. ทุนหมุนเวียนข้างต้นได้ตรวจสอบข้อมูลการคำนวณจำนวนเงินสะสมสูงสุด ทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนที่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน และความเพียงพอของจำนวนเงินสะสมสูงสุดที่ทุนหมุนเวียนพึงมีไว้ใช้จ่ายในการดำเนินงานตามนัยมาตรา 6 และมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาการกำหนดจำนวนเงินสะสมสูงสุด และการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน พ.ศ. 2561 และได้แจ้งยืนยันผลการคำนวณดังกล่าวต่อกรมบัญชีกลางเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ด้วยแล้ว

11. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan : เงินกู้ DPL) สำหรับโครงการจัดทำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan: เงินกู้ DPL) สำหรับโครงการจัดทำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New Government Fiscal Management Information System Thai : New GFMIS Thai) ของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ออกไปอีก 6 เดือน จากเดิมที่จะสิ้นสุดภายในเดือนมีนาคม 2565 เป็นสิ้นสุดระยะเวลาการเบิกจ่ายภายในเดือนกันยายน 2565
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2564 อนุมัติขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (Development Policy Loan : เงินกู้ DPL) สำหรับโครงการจัดทำระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New Government Fiscal Management Information System Thai : New GFMIS Thai) ของสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง วงเงินรวมทั้งสิ้น 817.50 ล้านบาท ออกไปอีก 6 เดือน โดยจะสิ้นสุดระยะเวลาการเบิกจ่ายในเดือนมีนาคม 2565 นั้น ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังได้เบิกจ่ายกู้ DPL เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับโครงการดังกล่าวแล้ว จำนวน 654 ล้านบาท คงเหลือวงเงินที่ยังไม่เบิกจ่าย จำนวน 163.50 ล้านบาท  เนื่องจากโครงการจัดทำระบบ New GFMIS Thai ไม่สามารถขึ้นระบบได้ตามกำหนดในวันที่ 4 มกราคม 2565 โดยมีสาเหตุมาจากข้อบกพร่อง (Defect) ที่พบจากการทดสอบระบบ เช่น ระบบกลางประมวลผลจ่าย (Central Payment) ระบบรับและนำส่งส่วนกลาง (Central Receipt Process: Central RP) ระบบกลางอนุมัติ (Central Approve) เป็นต้น บริษัท ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้รับจ้าง จึงต้องแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ รวมทั้ง ทดสอบระบบ             ต่าง ๆ ร่วมกับสำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสร้างความพร้อมสำหรับการขึ้นใช้งานระบบ New GFMIS Thai โดยคณะกรรมการติดตามและกำกับดูแลการดำเนินการพัฒนาระบบ New GFMIS Thai ได้พิจารณาและกำหนดการขึ้นใช้งานระบบ New GFMIS Thai พร้อมกันทุกส่วนราชการทั่วประเทศ (Roll Out) ในวันที่ 4 เมษายน 2565 ทั้งนี้ การเลื่อนขึ้นใช้งานระบบ New GFMIS Thai ส่งผลต่อการตรวจรับงานและการเบิกจ่ายเงินกู้ DPL สำหรับโครงการดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุของโครงการจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาตรวจสอบและประเมินผลความครบถ้วนถูกต้อง สมบูรณ์ของระบบ New GFMIS Thai จากการใช้งานจริงจึงจะตรวจรับงานได้ในครั้งนี้กระทรวงการคลังจึงขออนุมัติขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายเงินกู้ DPL สำหรับโครงการ จัดทำระบบ New GFMIS Thai ออกไปอีก 6 เดือน จากเดิมที่จะสิ้นสุดภายในเดือนมีนาคม 2565 เป็นสิ้นสุดการเบิกจ่ายภายในเดือนกันยายน 2565 เพื่อให้สำนักงานปลัดกระทรวงการคลังในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการสามารถประเมินผลระบบ New GFMIS Thai ได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และสมบูรณ์

12. เรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่และภาพรวม ปี 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ (เดือนตุลาคม?เดือนธันวาคม) และภาพรวมปี 2564 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561  มาตรา 20 (5) ที่บัญญัติให้ สศช. รายงานภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสสี่ (เดือนตุลาคม-เดือนธันวาคม) และภาพรวม ปี 2564  สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 สถานการณ์แรงงานไตรมาสสี่ ปี 2564 พบว่า เริ่มฟื้นตัวจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยอัตราการมีงานทำเพิ่มขึ้นและอัตราการว่างงานต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสสอง (เดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน) ของปี 2563 ส่วนภาพรวมปี 2564 การจ้างงานเพิ่มขึ้นแต่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูงกว่าปีก่อนเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจและการจ้างงาน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                                        1.1.1 สถานการณ์แรงงานไตรมาสสี่ ปี 2564 ภาพรวมการจ้างงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 37.9 ล้านคน ลดลงร้อยละ 1.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราการมีงานทำ อยู่ที่ร้อยละ 98.1 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน (เดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน) ที่มีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 97.6 และเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า (ปี 2563) ที่ร้อยละ 98.0 สะท้อนสถานการณ์การจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น  โดยการจ้างงานภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 และการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมลดลงร้อยละ 2.1  ทั้งนี้ การว่างงานลดลงต่ำสุดตั้งแต่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 โดยอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.64 ต่ำที่สุดตั้งแต่ไตรมาสสอง (เดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน) ของปี 2563 มีจำนวนผู้ว่างงานทั้งสิ้น 6.3 แสนคน ขณะที่แรงงานใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 และการว่างงานในระบบปรับตัวดีขึ้น นอกจากนี้ สัดส่วนผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานต่อผู้ประกันตนมาตรา 33 อยู่ที่ร้อยละ 2.27  ซึ่งลดลงเป็นไตรมาสที่ 5 ติดต่อกัน
                                        1.1.2 สถานการณ์แรงงานปี 2564 มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.2 ส่วนอัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.93 เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีอัตราการว่างงานร้อยละ 1.69 อย่างไรก็ตาม การว่างงานในระบบที่สะท้อนจากผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง
                                        1.13 ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะต่อไป ได้แก่ (1) การดำเนินมาตรการทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจควบคู่กับการควบคุมการแพร่ระบาด โดยต้องเน้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้นและเอื้อต่อการฟื้นตัวของกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ที่มีการจ้างงานมากกว่า 1 ใน 3 ของกำลังแรงงานทั้งหมดรวมทั้งการสร้างงานในระดับชุมชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาในระดับพื้นที่ (2) การขยายตัวของแรงงานนอกระบบที่เพิ่มขึ้น (การทำธุรกิจส่วนตัวโดยไม่มีลูกจ้างและการช่วยธุรกิจในครัวเรือนโดยไม่ได้รับค่าจ้าง) ควรมีมาตรการจูงใจให้แรงงานกลุ่มดังกล่าวสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตน  เพื่อให้มีหลักประกันที่มั่นคง (3) ภาระค่าครองชีพของประชาชนจากระดับราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ในช่วงไตรมาสสามและสี่ของปี 2564 จึงต้องมีการติดตามระดับราคาสินค้าอย่างใกล้ชิด และ (4) การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทักษะ/การปรับเปลี่ยนทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและท้องถิ่นเพื่อให้แรงงานสามารถยกระดับหรือปรับเปลี่ยนทักษะให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจและท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสม
                              1.2 หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสาม (เดือนกรกฎาคม-เดือนกันยายน) ปี 2564 ขยายตัวชะลอลง คุณภาพสินเชื่อปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แต่ต้องเฝ้าระวังการเกิดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPLs) เนื่องจากสัดส่วนสินเชื่อค้างชำระไม่เกิน 3 เดือน ต่อสินเชื่อรวม มีแนวโม้มเพิ่มสูงขึ้น โดยไตรมาสสาม ปี 2564 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.35 ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2  แต่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน (เดือนเมษายน-เดือนมิถุนายน) ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 5.1 คิดเป็นสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) อยู่ที่ร้อยละ 89.3 ซึ่งคงที่เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ส่วนด้านความสามารถในการชำระหนี้ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย โดยหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLS) คิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.89 ลดลงจากไตรมาสก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 2.92
                              ในระยะถัดไปหนี้สินครัวเรือนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นโดยมีสาเหตุจาก (1) ครัวเรือนที่มีรายได้สูงหรือ        ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตยังมีแนวโน้มก่อหนี้เพิ่ม โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อยานยนต์และสินเชื่อที่อยู่อาศัยและ (2) ประชาชนกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 มีความต้องการสินเชื่อเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลเพื่อนำมาชดเชยสภาพคล่องจากรายได้ที่ยังไม่ฟื้นตัว โดยมีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ (1) การเร่งดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ ซึ่งยังมีปัญหาในกลุ่มลูกหนี้ธนาคารเฉพาะกิจของรัฐที่ได้รับการช่วยเหลือเพียงการชะลอการชำระหนี้แบบชั่วคราว เช่น การขยายระยะเวลาและการพักชำระหนี้  ซึ่งไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม (2) การส่งเสริมให้ครัวเรือนเข้าถึงสินเชื่อเพื่อเพิ่มสภาพคล่อง โดยต้องคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของครัวเรือนเพื่อไม่ให้ครัวเรือนมีภาระหนี้มากเกินไป และ (3) การส่งเสริมให้ครัวเรือนได้รับการจ้างงานที่มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเน้นการยกระดับทักษะแรงงาน
                              1.3 การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังในไตรมาสสี่และภาพรวมของปี 2564 ลดลงและสถานการณ์สุขภาพจิตมีแนวโน้มดีขึ้น แต่ยังคงต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก ผู้สูงอายุ และกลุ่มเปราะบาง โดยไตรมาสสี่ ปี 2564 การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังลดลง ร้อยละ 67.9 เป็นการลดลงในทุกโรคโดยเฉพาะโรคมือ เท้า ปาก ส่งผลให้ภาพรวมปี 2564 ผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 54.5 ซึ่งเป็นผลจากการที่ประชาชนมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมลดลงและรักษาสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง ส่วนสถานการณ์สุขภาพจิตของคนไทยมีแนวโน้มดีขึ้นแต่มีกลุ่มคนที่คิดว่าตนเองเข้าข่ายเป็นโรคซึมเศร้าประมาณร้อยละ 46 นอกจากนี้ ยังต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อโควิด-19 ของประชากรวัยเด็กที่ยังมีสัดส่วนการได้รับวัคซีนอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุและประชากรกลุ่มเปราะบางที่อาจยังไม่ได้รับวัคซีนอย่างเพียงพอจึงจำเป็นต้องเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้มากขึ้น
                              1.4 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ในไตรมาสสี่เพิ่มขึ้น ขณะที่ภาพรวมทั้ง             ปี 2564 ลดลง โดยไตรมาสสี่ ปี 2564 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1  ซึ่งเป็นการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.2 และการบริโภคบุหรี่ลดลง ร้อยละ 2.0 ส่วนภาพรวมปี 2564 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ลดลงร้อยละ 1.8 เนื่องจากมาตรการปิดสถานบริการและสถานบันเทิง รวมทั้งมาตรการจำกัดเวลาจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แต่ยังต้องเฝ้าระวังการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19  เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ประเด็นการผลักดันให้บุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมายจะต้องมีการศึกษาอย่างรอบด้าน เนื่องจากมีงานศึกษาพบว่าผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีความเสี่ยงที่จะกลายเป็นผู้สูบทั้งบุหรี่แบบเดิมและบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างรุนแรงมากขึ้น
                              1.5 คดีอาญาโดยรวมเพิ่มขึ้น โดยไตรมาสสี่ ปี 2564 คดีอาญาในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2563 ร้อยละ 43.7  ซึ่งคดียาเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.6 คดี ประทุษร้ายต่อทรัพย์เพิ่มขึ้น ร้อยละ 17.9 และคดีชีวิต ร่างกาย และเพศ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.4 ส่วนภาพรวมปี 2564 คดีอาญาในภาพรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 41.5 โดยคดียาเสพติดเพิ่มขึ้น ร้อยละ 46.4 สูงสุดในรอบ 8 ปี คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 และคดีชีวิตร่างกายและเพศเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องติดตามและเฝ้าระวัง ได้แก่ คดียาเสพติด ซึ่งปัจจุบันขบวนการค้ายาเสพติดมีการปรับปรุงรูปแบบการสั่งซื้อและขนส่งที่หลากหลายมากขึ้นทำให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้ยาก และการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์มีการก่อคดีเพิ่มขึ้นมากถึง 3.3 เท่าในปี 2564 จึงควรนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการป้องปรามและเพิ่มการตรวจตราเพื่อลดโอกาสก่อเหตุ
                              1.6 การเกิดอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตลดลง ในไตรมาสสี่ ปี 2564 สถานการณ์การเกิดอุบัติเหตุจราจรทางบกและผู้เสียชีวิตลดลง ร้อยละ 4.9 และ 19.7 ตามลำดับ ส่วนภาพรวมปี 2564 ผู้เสียชีวิตลดลงร้อยละ 10.2 ผู้บาดเจ็บรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 โดยรถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดซึ่งสาเหตุหลักมาจากบุคคล จึงต้องใช้กฎหมายกับผู้กระทำผิดข้อบังคับทางกฎหมายอย่างเคร่งครัดเพื่อสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน
                              1.7 การรับเรื่องร้องเรียนผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ลดลง ขณะที่การรับเรื่องร้องเรียนผ่านสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เพิ่มขึ้น ในไตรมาสสี่ ปี 2564 สคบ. ได้รับเรื่องร้องเรียนสินค้าและบริการลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 29.2 โดยเป็นการร้องเรียนสินค้าและบริการทั่วไปมากที่สุด ขณะที่การร้องเรียนผ่านสำนักงาน กสทช. เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 280.8 โดยส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด ส่วนการคุ้มครองผู้บริโภคในปี 2564  มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญคือการโฆษณาขายกล่องสุ่มปริศนา ซึ่งพบปัญหาความไม่คุ้มค่าและสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือใกล้หมดอายุ รวมทั้งยังไม่มีกฎหมายกำกับดูแลอย่างชัดเจน ทั้งนี้ สคบ. อยู่ระหว่างการพิจารณาการออกกฎหมายเพื่อควบคุมการโฆษณาขายกล่องสุ่มปริศนา พร้อมทั้งจะขยายผลไปถึงการดูแลเรื่องการเสนอขายสินค้าในรูปแบบไลฟ์สด รีวิว ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น
                    2. สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ
                              2.1 โลกเสมือน (Metaverse) กับโอกาสใหม่ของประเทศไทย Metaverse เป็นการยกระดับการติดต่อสื่อสารหรือการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจากเดิมที่ใช้บริการผ่านเว็บไซต์ หรือแอปพลิเคชัน เป็นการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่ใกล้เคียงกับโลกความจริงมากขึ้น ประกอบด้วย (1) โลกเสมือน (Extended Reality: XR) เป็นสภาพแวดล้อมที่ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใช้ร่วมกัน (2) เทคโนโลยีด้านการรับรู้ ซึ่งผู้ใช้งานโลกเสมือนจำเป็นต้องมีเทคโนโลยี  VR (Virtual Reality) ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถรับรู้ได้สมจริงและเทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ที่รวมสภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือนเข้าด้วยกัน (3) ระบบการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วยการมีตัวแทน (Avatar) ของผู้ใช้บริการดิจิทัลเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมในโลกเสมือนระบบและสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนที่ต้องมีทรัพย์สินทางดิจิทัล และ (4) โครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและระบบการประมวลผลและความปลอดภัย ซึ่งทำให้ Metaverse สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น ด้านธุรกิจที่สามารถขายของได้โดยไม่ต้องมีหน้าร้านและด้านการทำงานที่ช่วยปรับปรุงรูปแบบการทำงานแบบทางไกลให้ผู้ใช้รับรู้ถึงการมีตัวตนกับเพื่อนร่วมงานจริงเสมือนอยู่ในสำนักงาน
                              ในส่วน Metaverse ในไทย จะเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการพัฒนาประเทศ เช่น เศรษฐกิจสร้างสรรค์และเศรษฐกิจดิจิทัล รวมทั้งขับเคลื่อนเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมายตามร่างแผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)  ทั้งนี้ ไทยต้องเตรียมความพร้อมเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จาก Metaverse ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องคำนึงถึงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ (1) โอกาสที่คนไทยและธุรกิจจะเข้าถึงอย่างครอบคลุมเนื่องจากอุปกรณ์ในการเข้าถึงมีราคาสูงภาคธุรกิจส่วนใหญ่ยังไม่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีและทักษะด้านดิจิทัลของคนไทยมีไม่สูง (2) การส่งเสริมการพัฒนาแรงงานด้านดิจิทัลเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ปัจจุบันการผลิตกำลังคนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของไทยยังมีข้อจำกัด แต่คาดว่าในอีก 5-10 ปีข้างหน้า ความต้องการในสายงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง (3) ความเร็วและความครอบคลุมของอินเทอร์เน็ต โดย Metaverse  จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง แต่การให้บริการอินเทอร์เน็ต 5G ของไทยยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ (4) กฎหมายที่มีความชัดเจนเพื่อการกำกับดูแล เนื่องจาก Metaverse ไม่มีขอบเขตทางกายภาพที่แน่นอน ทำให้การกระทำผิดไม่สามารถระบุสถานที่ได้อย่างชัดเจนและไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายได้ อีกทั้งการทำธุรกรรมบน Metaverse ที่ต้องใช้สินทรัพย์ดิจิทัลเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน แต่ไทยยังไม่มีการกำหนดให้สามารถนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้าและบริการได้ และ (5) ความปลอดภัยของข้อมูล ซึ่งผู้ใช้บริการจำเป็นต้องมีการป้องกันที่รัดกุมและระมัดระวังข้อมูลส่วนบุคคล
                              2.2 คนไร้บ้าน : แนวทางการยกระดับความเป็นอยู่ให้พึ่งพาตนเองได้ในสังคมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้จำนวนคนไร้บ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 โดยจากการสำรวจคนไร้บ้าน 5 เขต ในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี 2556-2563 พบว่า คนไร้บ้านมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 5.1 ต่อปี โดยมีการแก้ปัญหาและให้การช่วยเหลือคนไร้บ้าน ดังนี้ (1) ภาครัฐ โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีกลไกการช่วยเหลือผ่านศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและ (2) หน่วยงานเอกชน เช่น เครือข่ายคนไร้บ้านและมูลนิธิกระจกเงา ซึ่งให้ความช่วยเหลือในลักษณะศูนย์พักพิงและการช่วยเหลือเฉพาะหน้า ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการ เช่น (1) การไม่ทราบสถานการณ์คนไร้บ้านที่ชัดเจน  (2) การมีทักษะต่ำทำให้ประกอบอาชีพได้เพียงขั้นพื้นฐานและมีรายได้                ไม่เพียงพอต่อการพึ่งพาตนเองทำให้มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นคนไร้บ้านซ้ำ และ (3) เงื่อนไขหรือกฎระเบียบทำให้เข้าถึงสวัสดิการพื้นฐานของรัฐได้จำกัดและเข้าถึงมาตรการการช่วยเหลือของภาครัฐได้ยาก ทั้งนี้ การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไร้บ้านให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ควรมีแนวทาง เช่น (1) จัดทำฐานข้อมูลกลุ่มเปราะบางและคนไร้บ้านที่ครอบคลุมและมีการปรับปรุงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง (2) แก้ไขปัญหาคนไร้บ้านโดยบูรณาการการช่วยเหลือทั้งจากภาครัฐและเอกชน และ              (3) การปรับรูปแบบสวัสดิการปรับเงื่อนไขหรือระเบียบในการเข้ารับสวัสดิการโดยเฉพาะด้านสาธารณสุข
                              2.3 ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไทยจากมุมมองของบัญชีกระแสการโอนประชาชาติ (National Transfer Account: NTA) ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอีก 1 ปีข้างหน้า และอัตราการเกิดมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อให้สามารถออกแบบนโยบายหรือมาตรการสำหรับรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต โดย NTA จะนำรายได้ประชาชาติผนวกเข้ากับโครงสร้างอายุของประชากร ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถสะท้อนผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรได้อย่างรอบด้าน ทั้งนี้ ผลการศึกษา NTA ในปี 2562 พบว่า (1) ภาพรวมคนไทยมีรายได้จากการทำงานต่ำกว่าค่าใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่เกิดขึ้นตลอดช่วงวัย (ขาดดุลรายได้) เฉลี่ยประมาณ 3 หมื่นบาทต่อคน ขณะที่การออมของคนไทยยังอยู่ในระดับต่ำ (2) ภาครัฐมีแนวโน้มที่จะมีภาระค่าใช้จ่ายมากขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของประเทศเนื่องจากประชากรวัยแรงงานลดลง (3) การเป็นสังคมสูงวัยมากขึ้นจะเป็นปัจจัยฉุดรั้งให้เศรษฐกิจหดตัว โดยเฉลี่ยประมาณร้อยละ 0.5 ต่อปี และ (4) วัยแรงงานต้องหารายได้เพื่อดูแลเด็ก ผู้สูงอายุ และตนเอง คิดเป็นมูลค่า 7.7 ล้านบาท และจากผลการศึกษาข้างต้นมีประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการ เช่น (1) การเตรียมความพร้อมด้านทักษะของเด็กให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและทิศทางการพัฒนาประเทศ (2) การสร้างความเข้มแข็งทางการเงินของครัวเรือนทั้งการเพิ่มระดับการออมของครัวเรือนและการวางแผนเกษียณ และ (3) การปรับปรุงระบบการคลังของประเทศเพื่อสร้างสมดุลทางการคลังและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน
                    3. บทความเรื่อง ?เสียงของ SMEs ภาคการท่องเที่ยว : การปรับตัวและความเห็นต่อการช่วยเหลือของรัฐ? การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวอย่างรุนแรงโดยเฉพาะธุรกิจ SMEs สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารที่ GDP ลดลงมากถึงร้อยละ 47 ทั้งนี้ สศช. ได้สำรวจ เรื่อง การปรับตัวของแรงงานและผู้ประกอบการ SMEs จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในภาคการท่องเที่ยวที่เปิดดำเนินกิจการอยู่ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ นครราชสีมา ภูเก็ต ชลบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน 2564 โดยพบผลการสำรวจที่สำคัญ เช่น (1) รายได้ผู้ประกอบการที่ลดลงในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงินและการมีหนี้สิ้นเพิ่มขึ้น (2) พื้นฐานทางการเงิน ต้นทุนคงที่ในการดำเนินธุรกิจ และความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญต่อความอยู่รอดของธุรกิจ และ (3) เทคโนโลยีมีความจำเป็นต่อความอยู่รอดในการประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ในส่วนของมาตรการช่วยเหลือและฟื้นฟูเศรษฐกิจของภาครัฐ พบว่า (1) ประโยชน์ที่ได้รับอยู่ในระดับปานกลาง (2) มาตรการประกันสังคมและการกระตุ้นกำลังซื้อผ่านโครงการคนละครึ่งเป็นมาตรการที่กลุ่มแรงงานส่วนใหญ่เข้าถึง และ (3) การจัดการปัญหาโควิดเกี่ยวกับการเปิดรับนักท่องเที่ยวของภาครัฐยังไม่ดีพอ นอกจากนี้ ควรมีมาตรการรับมือในภาคการท่องเที่ยว ดังนี้ (1) การสนับสนุนด้านการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องและลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการ/แรงงาน (2) การส่งเสริมการท่องเที่ยว และ (3) การส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรมเพื่อการท่องเที่ยว

13. เรื่อง ขอความเห็นชอบการเสียภาษีสลากบำรุงสภากาชาดไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สภากาชาดไทยเสนอให้สภากาชาดไทย หรือเหล่ากาชาดจังหวัด หรือกิ่งกาชาดอำเภอ ซึ่งเป็นตัวแทนของสภากาชาดไทย ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากบำรุงสภากาชาดไทยประจำปี 2565 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้มอบให้สภากาชาดไทย เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลาก ซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่ายตามข้อ 12 (4) แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สภากาชาดไทยรายงานว่า
                    1. ที่ผ่านมาสภากาชาดไทยร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และสถาบันการศึกษา ได้จัดทำสลากบำรุงสภากาชาดไทยในทุก ๆ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารายได้โดยเสด็จพระราชกุศลบำรุงสภากาชาดไทย
                    2. การเล่นสลากกินแบ่งในบัญชี ข. หมายเลข 16 ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 24781 ซึ่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 17 (พ.ศ. 2503) ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 ข้อ 12 (4) แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 43 (พ.ศ. 2543) กำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตการเล่นสลากกินแบ่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อนำรายได้ไปใช้ในกิจการสาธารณกุศล โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 แห่งยอดราคาสลากซึ่งมีผู้รับซื้อก่อนหักรายจ่าย
1บัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 หมายเลข 16 คือ สลากกินแบ่ง สลากกินรวบ หรือการเล่นอย่างใดที่เสี่ยงโชคให้เงินหรือประโยชน์อย่างอื่นแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง

14. เรื่อง รายงานการประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ช่วงระยะปี 2561-2564 และรายงานประเมินผลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ช่วงระยะปี 2561-2564 และรายงานประเมินผลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ โดยในการจัดทำรายงานการประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอคณะรัฐมนตรีตามกรอบระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 (4) และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 อย่างเคร่งครัดด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) (แผนระดับ 1) และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับ 2) ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ โดยยึดหลักแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และหลักการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน
                    2. สทนช. ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานและประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ ช่วงปี 2561-2564 รวมทั้งประเมินผลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 6 (SDG 6) ?การสร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน? เพื่อให้ทราบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการข้อจำกัดในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และข้อเสนอแนะ/แนวทางที่นำไปสู่การทบทวน ปรับปรุงการดำเนินงานของแผนในปีต่อไป ซึ่ง กนช. ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ได้มีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประเมินดังกล่าวและให้เสนอคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ผลการประเมินตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ ช่วงปี 2561-2564 และแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการ จำนวน 6 ด้าน สรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมิน          แนวทางการขับเคลื่อน เช่น
ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค
- กลยุทธ์การพัฒนา ขยายเขต และเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาหมู่บ้านมีผลการดำเนินงานสูงสุด โดยแผนการก่อสร้างระบบประปาใหม่มีการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมา คือ แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพประปาหมู่บ้าน มีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 85
- กลยุทธ์/แผนงานที่ยังไม่มีผลการดำเนินงาน คือ แผนงานการปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านให้ได้มาตรฐาน SDGs และแผนงานลดการใช้น้ำภาคครัวเรือน/บริการ ซึ่งต้องเร่งรัดดำเนินการต่อไป          - การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคจัดทำแผนหลักลดน้ำสูญเสียในระบบท่อจ่ายน้ำประปาในระยะปี 2566-2570
- กำหนดค่าอัตราการใช้น้ำเฉลี่ยต่อคนต่อวันในภาคครัวเรือน ภาคบริการ และการท่องเที่ยว เพื่อใช้เป็นค่าตั้งต้นในการประหยัดน้ำ
- ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ระดับจังหวัด
- จัดหาแหล่งน้ำสำรอง/น้ำต้นทุน โดยให้ประเมินความเสี่ยงที่จะสามารถผลิตและจ่ายน้ำได้อย่างเพียงพอหรือสม่ำเสมอ
ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต
- กลยุทธ์การจัดหาน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน มีผลการดำเนินงานสูงสุด โดยแผนงานพัฒนาแหล่งน้ำชุมชน มีความก้าวหน้าสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 91 รองลงมาคือ แผนงานน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำคิดเป็นร้อยละ 79 แผนงานสระน้ำในไร่คิดเป็นร้อยละ 76 และแผนงานพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 64
- กลยุทธ์/แผนงานที่ยังไม่มีผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมและยังไม่มีการขับเคลื่อน คือ แผนงานลดการใช้น้ำภาคการเกษตรและนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในเขคพื้นที่ชลประทาน แผนงานการลดการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรม แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำทางเลือก และกลยุทธ์การเพิ่มผลิตภาพมูลค่าภาคการผลิต          - ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) จัดทำแผนหลักการลดการใช้น้ำในพื้นที่ชลประทาน และจัดลำดับความสำคัญโดยพิจารณาความจำเป็นของแต่ละพื้นที่
- กำหนดแนวทาง แผนงาน และหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละแผนงานย่อยในการจัดหาน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝนให้ชัดเจน
- เร่งรัดการแก้ไขปัญหาโครงการที่อยู่ในขอบเขตการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อปท. ให้สามารถดำเนินการได้ ทั้งการพัฒนา ปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถใช้งานได้
- เร่งรัดการจัดทำแผนหลักการใช้และอนุรักษ์แหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่ที่มีศักยภาพ และพิจารณาความเหมาะสมในกิจกรรมการใช้น้ำ
ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย
- แผนงานการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ชะลอน้ำในกลยุทธ์จัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ มีผลการดำเนินงานสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมา คือ กลยุทธ์บรรเทาอุทกภัยในเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบในระดับลุ่มน้ำ/พื้นที่วิกฤต มีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 58 และแผนงานการจัดผังน้ำในกลยุทธ์การป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง มีความคืบหน้าคิดเป็นร้อยละ 34
- กลยุทธ์/แผนงานที่ยังไม่มีผลการดำเนินงาน คือ กลยุทธ์สนับสนุนการปรับตัวและเผชิญเหตุ ซึ่งผลการประเมินไม่สามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ได้อย่างชัดเจนรายแผนงาน/โครงการ ส่วนใหญ่มีเฉพาะผลผลิตโครงการเท่านั้น          - ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) เร่งรัดการปรับปรุงผังเมือง โดยใช้ผังน้ำที่ประกาศใช้เป็นแนวทางเพื่อลดความรุนแรงของอุทกภัย
- เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการป้องกันตลิ่ง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำแผนหลักรวมถึงแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกัน
- กำหนดเป้าหมายพื้นที่ในการจัดทำแผนบรรเทาอุทกภัยในเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบในระดับลุ่มน้ำ/พื้นที่วิกฤต รวมทั้งเป้าหมายพื้นที่เสี่ยงจากอุทกภัยและเป้าหมายพื้นที่ได้รับการแก้ไขปัญหา เพื่อให้สามารถดำเนินการและเกิดผลสัมฤทธิ์ได้
ด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
- กลยุทธ์การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ มีผลการดำเนินงานสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 220 (ดำเนินการ 11 ลุ่มน้ำ มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 5 ลุ่มน้ำ) และกลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดและควบคุมการระบายน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมมีผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมาย
          - ให้มีการจัดทำแนวทางเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ (ข้อเสนอด้านกฎหมาย) โดยกรมควบคุมมลพิษ
- สนับสนุนการก่อสร้างและฟื้นฟูระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และศักยภาพของ อปท. โดยให้ครอบคลุมการจัดการน้ำเสียของชุมชนของ อปท. และกรุงเทพมหานคร
ผลการประเมิน          แนวทางการขับเคลื่อน เช่น
- กลยุทธ์/แผนงานที่ยังไม่มีการดำเนินการ คือ กลยุทธ์การป้องกันและลดการเกิดน้ำเสียที่ต้นทาง กลยุทธ์การอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศและแผนการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับไปใช้ประโยชน์          - ปรับปรุงกรอบแนวทางการติดตามปริมาณน้ำเสียที่รับการบำบัดอย่างปลอดภัยได้ตามมาตรฐานจากทุกระบบก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อมหรือนำกลับมาใช้ใหม่ และรวบรวมปริมาณน้ำที่ได้รับการบำบัดถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์จากแหล่งต่าง ๆ (ครัวเรือน บริการ อุตสาหกรรม และการเกษตร) ที่มีการบำบัดตามมาตรฐาน
ด้านที่ 5 การฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม และป้องกันการพังทลายของดิน
การดำเนินงานในแต่ละแผนงานต่ำกว่าเป้าหมาย โดยผลการดำเนินการในแผนงานการป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดิน (พื้นที่เกษตรนอกพื้นที่อนุรักษ์) มีผลการดำเนินงานสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 37 รองลงมา คือ แผนงานการป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดิน มีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 34 และแผนงานฟื้นฟูป่าต้นน้ำมีผลการดำเนินงานต่ำสุดคิดเป็นร้อยละ 21 ของพื้นที่เป้าหมาย          - จัดทำแผนหลักการลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำในเขตป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และพื้นที่เกษตรนอกพื้นที่อนุรักษ์
- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานกลยุทธ์การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำที่ได้ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งในส่วนของการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ หรืองบประมาณเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Corporate Social Responsibility: CSR)
ด้านที่ 6 การบริหารจัดการ
การดำเนินงานส่วนใหญ่แล้วเสร็จตามแผนและเป็นการดำเนินการตามพรระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน ทั้งนี้ ยกเว้นการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมที่ยังไม่มีผลการดำเนินการ โดยยังขาดหน่วยงานกลางในการรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยงานภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ เพื่อให้เกิดการบูรณาการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องให้ประชาชนรับทราบ รวมถึงสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกระดับ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน          - เพื่อลดช่องว่าง ปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ จึงต้องทบทวนและปรับปรุง กรอบแนวทางและค่าเป้าหมาย โดยการทบทวนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ประเด็นช่องว่างการดำเนินงานที่ผ่านมา
- ปรับปรุงแนวทาง ค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัดของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ และค่าตั้งต้นการประเมินให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและ SDGs
- บูรณาการฐานข้อมูลการจัดการน้ำให้เชื่อมโยงทุกมิติ
- เร่งรัดการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ให้สามารถบังคับใช้ได้ครบถ้วน
                              2.2 ผลการประเมินดัชนีตัวชี้วัดแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ1 และข้อเสนอแนะ/การปรับปรุง จำนวน 3 ประเด็นย่อย สรุปได้ ดังนี้
ประเด็นย่อย          ผลการประเมิน
19.1 การพัฒนาการจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ          - ระดับความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคเพิ่มขึ้น วัดจากการเข้าถึงน้ำประปา การเข้าถึงสุขาภิบาล และสุขภาวะจากโรค
          - ระดับความมั่นคงด้านน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น วัดจากสุขภาพแม่น้ำ การเปลี่ยนแปลงการไหล และดัชนีธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม
          - ระดับการรับมือกับภัยพิบัติด้านน้ำเพิ่มขึ้น วัดจากดัชนีอุทกภัยและวาตภัย ดัชนีภัยแล้ง และดัชนีคลื่นพายุซัดฝั่งและน้ำท่วมชายฝั่ง
          - ยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการน้ำเพิ่มขึ้น โดยใช้ผลคะแนนจากตัวชี้วัด SDG 6.5.1 ระดับการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ มีคะแนนร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโลก อยู่ที่ร้อยละ 54
ข้อเสนอแนะ/การปรับปรุง เช่น (1) ส่งเสริมการบริการน้ำดื่มให้ได้มาตรฐานและราคาที่เหมาะสมและส่งเสริมบทบาทท้องถิ่น เพิ่มการลงทุนด้านน้ำในการจัดบริการด้านน้ำและสุขาภิบาลชุมชน (2) พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ/แหล่งน้ำสำรอง เพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมและภัยแล้ง (3) การอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบน้ำใต้ดิน ลดการใช้น้ำใต้ดิน โดยจัดทำแผนที่ชั้นน้ำใต้ดิน ชั้นหินอุ้มน้ำ ควบคุมการออกใบอนุญาต และส่งเสริมมาตรการจูงใจทางเศรษฐกิจในการอนุรักษ์น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินอย่างเหมาะสม และ (4) นำน้ำเสียจากระบบครัวเรือนและอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ และลดปริมาณน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดที่ปล่อยสู่ระบบธรรมชาติ
19.2 การเพิ่มผลิตภาพของน้ำ2 ทั้งระบบในการใช้น้ำอย่างประหยัด รู้คุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่ม          - ระดับความมั่นคงด้านน้ำในเขตเมืองเพิ่มขึ้น วัดจากการเข้าถึงน้ำประปาเมือง ประเด็นน้ำเสีย ประเด็นการระบายน้ำ และคุณภาพน้ำ
          - ระดับความมั่นคงด้านน้ำเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น วัดจากค่าความเครียดน้ำ ผลิตภาพภาคเกษตร ผลิตภาพภาคอุตสาหกรรม และผลิตภาพภาคบริการ
          - ผลิตภาพจากการใช้น้ำเพิ่มขึ้น วัดจากการเปลี่ยนแปลงของการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผลการประเมินเท่ากับ 238 บาท/ลูกบาศก์เมตร
ข้อเสนอแนะ/การปรับปรุง (1) การจัดการน้ำฝนและการปรับปรุงระบบการระบายน้ำในเมืองเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (น้ำท่วมและน้ำแล้ง) ในเมือง ชุมชนแออัด และพื้นที่รอบนอก (2) พัฒนาพื้นที่เก็บกักน้ำและระบบชลประทานให้เต็มศักยภาพ (3) ปรับปรุงผลิตภาพการใช้น้ำ การส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่มีผลิตภาพสูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงการจัดการพืช ดินและน้ำ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีประหยัดน้ำชลประทานในการผลิตข้าว และ (4) ส่งเสริมการลงทุนที่เหมาะสมของท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์โครงการขนาดเล็กในการสร้างรายได้ การจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่การผลิต การกระจายสินค้า และการตลาด
19.3 การอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ3          - ช่วงปี 2560-2564 คลองสายหลักในกรุงเทพมหานครได้รับการฟื้นฟู จำนวน 227 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100
          - สำหรับลำน้ำสายหลักทุกลุ่มน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ชุมชน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงตัวชี้วัดให้เหมาะสมกับประเทศไทย และให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และอนุสัญญาแรมซาร์4
ข้อเสนอแนะ/การปรับปรุง เช่น (1) ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและดำเนินมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้ครอบคลุมทุกมิติ (2) ควรประเมินและจัดทำข้อมูลสำหรับการอนุรักษ์และจัดการแหล่งน้ำ เช่น การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ริมน้ำ คุณภาพน้ำ การเชื่อมต่อของเส้นทางน้ำ และ (3) ควรประเมินความก้าวหน้าในการฟื้นฟูระบบนิเวศทางน้ำและระบบน้ำใต้ดิน เพื่อนำไปกำหนดมาตรการปรับปรุงในอนาคต
                              2.3 ผลการประเมินเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6)5 ของประเทศไทย เช่น
เป้าหมายย่อย          ตัวชี้วัด          ผลประเมิน
SDG 6.1
น้ำดื่ม          SDG 6.1.1 สัดส่วนประชากรที่ใช้บริการน้ำดื่มปลอดภัย/บริการน้ำดื่มขั้นพื้นฐาน (ประเมินจากการเข้าถึง ระยะเวลา ความสะดวกในการจัดหา คุณภาพน้ำที่ได้มาตรฐาน และเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสม)          การเข้าถึงบริการน้ำดื่มขั้นพื้นฐานที่มีการจัดการบริหารอย่างปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก (ร้อยละ 74)
SDG 6.2
สุขภิบาลและสุขอนามัย          SDG 6.2.1a สัดส่วนของประชากรที่ใช้บริการสุขาภิบาลที่มีการจัดการอย่างปลอดภัย6          - การเข้าถึงการจัดการสุขาภิบาล คิดเป็นร้อยละ 99
- การจัดการน้ำเสียครัวเรือนที่เข้าสู่ระบบต่ำกว่าร้อยละ 26 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (ร้อยละ 54)
          SDG 6.2.1b สัดส่วนของประชากรที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือด้วยสบู่และน้ำ          มีการจัดการสุขอนามัยร้อยละ 85 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่มีค่าร้อยละ 71
SDG 6.3
คุณภาพน้ำและน้ำเสีย          SDG 6.3.1 สัดส่วนของน้ำเสีย (ครัวเรือน และอุตสาหกรรม) ที่ได้รับการบำบัดอย่างปลอดภัย          ได้รับการบำบัดอย่างปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 24 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (ร้อยละ 56)
          SDG 6.3.2 สัดส่วนของแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำโดยรอบดี (มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ 4 ครั้ง/ปี)           มีการเฝ้าระวังอยู่ในระดับดีร้อยละ 36 ซึ่งต้ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (ร้อยละ 72) (คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมากร้อยละ 2 ดีร้อยละ 37 พอใช้ร้อยละ 43 และเสื่อมโทรม ร้อยละ 18 ตามลำดับ)
หมายเหตุ : ผลการประเมินข้างต้นจะปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล SDG 6 Data Portal ของ United Nation Water (UN-Water)
                    3. สทนช. ได้จัดทำระบบติดตามประเมินผลด้านน้ำของประเทศไทย (Thai Water Assessment : TWA) เพื่อใช้ในการติดตามประเมินผลด้านทรัพยากรน้ำ ระบบรองรับการรายงาน ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เชื่อมโยงตัวชี้วัดแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ยุทธศาสตร์ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) SDG 6 และที่เกี่ยวข้อง โดยระบบดังกล่าวได้เริ่มใช้งานเมื่อเดือนธันวาคม 2564
                    4. ข้อเสนอเชิงนโยบาย แนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ ให้มีประสิทธิภาพในภาพรวม เช่น
                              4.1 เพื่อให้การขับเคลื่อนกลยุทธ์/แผนงาน/โครงการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ เป็นไปตามเป้าหมาย ควรเร่งรัดดำเนินการในกลยุทธ์/แผนงาน/โครงการที่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่าแผนหรือยังไม่ได้ดำเนินการ โดยการวิเคราะห์กำหนดค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดในแต่ละกลยุทธ์/แผนงาน และต้องประเมินหาค่าเริ่มต้นเพื่อเป็นฐานในการดำเนินงานและเชื่อมโยงเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่สามารถนำมาเปรียบเทียบผลการพัฒนาด้านน้ำในระยะต่อ ๆ ไปของแผนได้
                              4.2 ควรมีการทบทวนภารกิจของหน่วยงานที่จะสามารถถ่ายโอนภารกิจ7 เพิ่มเติมให้ อปท. ได้ โดยส่วนราชการปรับบทบาทหน้าที่ในการเป็นพี่เลี้ยงหน่วยงานท้องถิ่นให้สามารถทำงานตามโครงสร้างและส่งเสริมบทบาทท้องถิ่นให้ดำเนินการตามภารกิจให้มากขึ้น
                              4.3 ติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ อย่างต่อเนื่อง
1 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) มีทั้งหมด 23 ประเด็น โดยประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ 1) ความมั่นคงด้านน้ำของประเทศเพิ่มขึ้น 2) ผลิตภาพของน้ำทั้งระบบเพิ่มขึ้นในการใช้น้ำอย่างประหยัดและสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้น้ำ และ 3) แม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพให้มีระบบนิเวศที่ดี
2 ผลิตภาพของการใช้น้ำ หมายถึง ปริมาณน้ำหนึ่งหน่วยสามารถสร้างมูลค่าให้กับประเทศเป็นจำนวนเงินเท่าไร โดยวัดจากมูลค่าจากผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหารด้วยประมาณการใช้น้ำของประเทศ
3 สทนช. แจ้งว่า ประเด็น 19.3 การอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ ใช้ตัวชี้วัดเดียวกันกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ ด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ำและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ
4 อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำโดยเป็นการส่งเสริมให้ประเทศต่าง ๆ มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ลำดับที่ 110 จากทั้งหมด 169 ประเทศ
5 เป้าหมายที่ 6 ?การสร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคน? ประกอบด้วยเป้าหมายย่อย 8 เป้าหมาย ได้แก่ 1) SDG 6.1 น้ำดื่ม 2) SDG 6.2 สุขาภิบาลและสุขอนามัย 3) SDG 6.3 คุณภาพน้ำและน้ำเสีย 4) SDG 6.4 ประสิทธิภาพการใช้น้ำและความขาดแคลนน้ำ 5) SDG 6.5 การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ 6) SDG 6.6 ระบบนิเวศเกี่ยวกับแหล่งน้ำ 7) SDG 6.a ความร่วมมือระหว่างประเทศและการเสริมสร้างศักยภาพ และ 8) SDG 6.b การมีส่วนร่วม (ชุมชน ท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำและสุขาภิบาล)
6 สถานที่ขับถ่าย/ชำระล้าง รวมถึงมีระบบท่อประปาน้ำเสียรวม ถังบำบัดน้ำเสีย หรือส้วมหลุม
7 สทนช. แจ้งว่า การถ่ายโอนภารกิจให้ อปท. นั้นเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

15. เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปผลการประชุม กตน. ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน.
1) การขับเคลื่อนให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน
          1.1) รายงานการดำเนินงานและแผนงานของหน่วยงาน
                    1.1.1) การแก้ไขปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน โดยมีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน เช่น
                              (1) แก้ไขปัญหาหนี้ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดย กยศ. ได้ดำเนินการให้เงินกู้ไปแล้ว 6.15 ล้านราย วงเงิน 6.75 แสนล้านบาท มีการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ เช่น ลดเบี้ยปรับร้อยละ 100 กรณีปิดบัญชีคราวเดียว 58,286 ราย และลดเบี้ยปรับร้อยละ 80 กรณีชำระหนี้ทันงวด 325,261 ราย และกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ได้บูรณาการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน กยศ. อย่างเร่งด่วนและเป็นระบบ ทั้งก่อนศาลมีคำพิพากษา และภายหลังจากศาลมีคำพิพากษา และดำเนินโครงการเอื้ออาทร ไกล่เกลี่ยหนี้ กยศ. หลังศาลมีคำพิพากษา
                              (2) กำหนดให้ การไกล่เกลี่ยและการปรับโครงสร้างหนี้เป็นวาระของประเทศ (เน้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (Specialized Financial Institutions : SFIs) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) โดยกระทรวงการคลัง (กค.) ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) SFIs และธนาคารพาณิชย์ ดำเนินโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ซึ่งเป็นการพัฒนาเว็บไซต์ แชทบอท และไลน์ เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางปรับธุรกิจและมาตรการต่าง ๆ ให้กับลูกหนี้เป็นรายกรณี และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ดำเนินโครงการพักชำระหนี้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามความสมัครใจ โดยมีกองทุนฯ เข้าร่วม 413 กองทุน สมาชิก 32,055 ราย วงเงินกู้ที่พักชำระ 901 ล้านบาท
                              (3) แก้ไขปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดย กค. อยู่ระหว่างหารือร่วมกับ ธปท. เพื่อกำหนดแนวทางกำกับดูแลสินเชื่อและธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายสินเชื่อ และ ยธ. (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) ได้จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยช่วยเหลือลูกหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้และพักชำระหนี้ รวมทั้งสิ้น 4,657 คัน
                              (4) แก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการครูและข้าราชการตำรวจ โดยกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการ เช่น ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สวัสดิการตัดเงินเดือนให้เป็นสวัสดิการที่แท้จริง โดยสหกรณ์ออมทรัพย์ครูไม่น้อยกว่า 10 แห่ง ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงมาเหลือไม่เกินร้อยละ 5 และขยายผลการแก้ไขหนี้ครูผ่านสหกรณ์ต้นแบบ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีข้าราชการตำรวจได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินแล้ว 3,025 ราย
                    1.1.2) การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดย กค. ดำเนินการ เช่น (1) จับกุมเจ้าหนี้นอกระบบที่กระทำผิดกฎหมายตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559-ธันวาคม 2564 จำนวน 10,375 คน และ (2) เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อในระบบให้กับลูกหนี้นอกระบบและประชาชนทั่วไป เช่น สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ โดยมีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว 1,029 ราย ใน 75 จังหวัด อนุมัติสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ให้กับประชาชนรายย่อยแล้ว 1.24 ล้านบัญชี วงเงิน 1.69 หมื่นล้านบาท และ ยธ. ดำเนินการ เช่น (1) จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 187 เรื่อง ทุนทรัพย์ 118.50 ล้านบาท และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564) จำนวน 32 เรื่อง ทุนทรัพย์ 7.06 ล้านบาท และ (2) แก้ไขปัญหาการฉ้อโกงหลอกลวงประชาชน โดยได้ดำเนินคดีที่มีความเกี่ยวพันกับฐานความผิดแชร์ลูกโซ่ ได้แก่ เรื่องสืบสวนที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 10 เรื่อง และคดีพิเศษที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 17 เรื่อง
          1.2) ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น
                    1.2.1) กค. เสนอว่า (1) ควรขยายระยะเวลามาตรการให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมีมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมทุกกลุ่มที่ค้างชำระ และ (2) ควรเร่งแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ กยศ. (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
                    1.2.2) ยธ. เสนอว่า (1) ควรส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผ่านโปรแกรม Session Call และจัดให้ความรู้การใช้ระบบดังกล่าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (2) ควรจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอย่างสม่ำเสมอ (3) ควรแก้ไขปัญหาการฉ้อโกงประชาชนโดยประสานความร่วมมือกับตำรวจชาวจีนเพื่อร่วมมือในการสืบสวนสอบสวนกวาดล้างผู้กระทำผิดดังกล่าว โดยร่วมกันบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ขายบัญชีธนาคารให้ผู้อื่นใช้งาน และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไม่หลงเชื่อการกู้เงินผ่านแอปพลิเคชันเงินกู้
                    1.2.3) สทบ. มีแนวทางแก้ไข โดย สทบ. ขับเคลื่อนโครงการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน โดยความร่วมมือจากสถาบันการเงิน หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ในการช่วยสมาชิกในการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์และช่องทางจัดจำหน่าย การพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน รวมทั้งกำหนดมาตรการสนับสนุนและสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนและปัจจัยการผลิตในการประกอบอาชีพ          ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
1) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาคำนิยามของ ?หนี้นอกระบบ? และดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน รวมทั้งควรมีหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบด้วย
2) การแก้ไขปัญหาหนี้สินในแต่ละมิติที่มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องกลุ่มเป้าหมาย วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ขั้นตอน วิธีการ และกรอบระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ชัดเจน และให้ กค. กำหนดรูปแบบของการติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยบูรณาการการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผล ให้มีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมและสามารถสร้างการรับรู้ต่อสาธารณชนได้อย่างต่อเนื่อง
3) การแก้ไขหนี้สินครัวเรือน คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ได้รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ใน 8 ประเด็นเร่งด่วน ดังนั้น ในการจัดทำรายงานเรื่องดังกล่าว ขอให้ กตน. รายงานประเด็นที่มีความก้าวหน้าเพิ่มเติมจากที่ได้มีการรายงานมาให้คณะรัฐมนตรีทราบแล้ว โดยยึดประเด็นตามแนวทางของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว
มติที่ประชุม : รับทราบและเห็นควรให้สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ร่วมกับ กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณา
2) การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจน
          2.1) รายงานการดำเนินงานและแผนงานในภาพรวม
                    2.1.1) การแก้ไขปัญหาความยากจนของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) โดย (1) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแก้ไขปัญหาความยากจนระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนตลอดทุกช่วงวัย และการแก้ไขปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำแบบชี้เป้า โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลจากระบบ TPMAP ไปดำเนินการร่วมกับภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทำให้สามารถระบุคนจนเป้าหมายได้ เช่น จังหวัดสมุทรสงคราม นำข้อมูลจาก TPMAP ไปใช้ศึกษาปัญหาเชิงลึกในจังหวัดและใช้ระบบการบันทึกประวัติการปฏิบัติงาน (Logbook) ในการลงพื้นที่ช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด โดยพบว่า จังหวัดสมุทรสงครามตกเกณฑ์ในด้านรายได้และการศึกษา ซึ่งหน่วยงานภาครัฐได้จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาตามความต้องการของแต่ละพื้นที่แล้ว และ (2) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ดำเนินโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลของรัฐ กิจกรรมพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud service: GDCC) เพื่อรองรับการใช้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์และระบบประมวลผลของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ Big data ของภาครัฐ เช่น ระบบเกี่ยวกับการเพาะปลูก ระบบตู้แดง (โครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ) และระบบระเบียนสุขภาพส่วนบุคคล และสนับสนุนการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยสื่อสัญญาณสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ไปยังหมู่บ้านห่างไกลและไม่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ 24,700 หมู่บ้าน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 เป็นต้นมา ภายใต้ชื่อ ?โครงการเน็ตประชารัฐ? ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนเข้าใช้บริการ Wi-Fi เน็ตประชารัฐ กว่า 10.64 ล้านคน
          2.2) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เช่น
                    2.2.1) สศช. เสนอว่า ควรประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนให้ทราบถึงจุดประสงค์ในการดำเนินงานของ ศจพ. ซึ่งเน้นการพัฒนาคนอย่างยั่งยืนมากกว่าการให้ความช่วยเหลือ
                    2.2.2) ดศ. เสนอว่า 1) ทรัพยากรระบบ GDCC ที่มีตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานของหน่วยงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีหน่วยงานขอใช้บริการจำนวนมาก และ 2) ดศ. ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ทำให้โครงการเน็ตประชารัฐมียอดค่าใช้จ่ายค้างชำระในการให้บริการการบำรุงรักษาโครงข่าย และการบริหารจัดการระบบ          ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
1) เนื่องจากภาครัฐมีนโยบายช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนที่มีกลุ่มเป้าหมายหรือเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือที่ต่างกัน เช่น ข้อมูลคนยากจนจาก TPMAP ของ สศช. ข้อมูลคนยากจนจากการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของ กค. ดังนั้น สศช. และ กค. ควรกำหนดคำนิยาม วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และวิธีการให้ความช่วยเหลือที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนในแต่ละนโยบายของภาครัฐ
2) รัฐบาลไทยได้หารือกับสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) เกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนในหลายโอกาส และมีแนวคิดในการเดินทางไปศึกษาดูงานการแก้ไขปัญหาความยากจนของจีน ซึ่งผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้มีข้อแนะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึง กต. ร่วมกันวางแผนงานเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ เหตุผลและความจำเป็นและการนำผลการดูงานไปประยุกต์ใช้ต่อไป
3) ควรหาวิธีการเพื่อให้มีฐานข้อมูลคนเร่ร่อน กลุ่มคนเปราะบาง และกลุ่มคนอื่น ๆ ที่ยังไม่อยู่ใน TPMAP
มติที่ประชุม : รับทราบและให้ สศช. และ กค. รับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณา
3) ประเด็นติดตามขับเคลื่อนของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี
          3.1) การนำระบบตั๋วร่วมมาใช้ในการเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชน
                    3.1.1) การดำเนินงานในปัจจุบันและแผนงานในอนาคต เช่น (1) การนำบัตร EMV (Europay Mastercard and Visa) มาใช้ในการพัฒนาระบบตั๋วร่วม ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีแบบไร้สัมผัส (Contactless) มาใช้ชำระค่าโดยสารในระบบขนส่งสาธารณะด้วยบัตรเพียงใบเดียว ทำให้ผู้โดยสารไม่ต้องพกบัตรหลายใบ ช่วยลดระยะเวลาในการซื้อตั๋วโดยสาร และช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการระบบตั๋วของผู้ให้บริการ (2) แผนงานการนำบัตร EMV มาใช้กับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ปี 2564 - 2565 ได้แก่ รถไฟฟ้า (สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน และสายสีแดง) โดยกำหนดให้บริการ EMV เต็มรูปแบบได้ภายในเดือนมีนาคม 2565 (3) การจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... เพื่อเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับทั้งภาคราชการและภาคเอกชน และให้มีการจัดทำโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของระบบตั๋วร่วม ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น โดยคาดว่า จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้ภายในกลางปี 2565 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในเดือนธันวาคม 2565 (4) การศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตเมือง โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร (ราคาเมื่อปี 2544) มีค่าแรกเข้า เริ่มต้นที่ 10 บาท และมีอัตราค่าโดยสาร 1.8 บาท/กิโลเมตร ส่วนโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร ปี 2562 มีค่าแรกเข้าเริ่มต้น ที่ 11.87 บาท และมีอัตราค่าโดยสาร 2.14 บาท/กิโลเมตร
                    3.1.2) ข้อเสนอแนะ โดยกระทรวงคมนาคม (คค.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ ธปท. เสนอว่า (1) ควรผลักดันแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมไทย เชื่อมโลก (เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมไร้รอยต่อ) โดยส่งเสริมให้เกิดการใช้โครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมและส่งเสริมให้เกิดการใช้บัตรโดยสารร่วมในระบบขนส่งสาธารณะ และ (2) ผลักดันร่างพระราชบัญญัติฯ ให้มีผลบังคับใช้ได้โดยเร็ว

ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
1) ควรกำหนดแผนการดำเนินงาน/ช่วงระยะเวลาการดำเนินการนำระบบตั๋วร่วมมาใช้ว่าปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนใด สัดส่วนความสำเร็จคิดเป็นร้อยละเท่าไร เพื่อให้เกิดความสะดวกในการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน และสามารถสื่อสารประชาสัมพันธ์ได้เป็นระยะ
2) การจัดทำร่างพระราชบัญญัติฯ มีความสำคัญและจำเป็น เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับอัตราค่าโดยสารร่วม จึงควรเร่งดำเนินการควบคู่ทั้งกระบวนการทางกฎหมายและทางเทคนิคในการใช้บัตร EMV ในการเดินทางเชื่อมต่อ รวมทั้งเร่งรัดเรื่องการจัดทำระบบตั๋วร่วมไปด้วย
3) ควรประชาสัมพันธ์การนำบัตร EMV มาใช้กับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะซึ่งสามารถเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแก่ประชาชนได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565
มติที่ประชุม : รับทราบและให้ คค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณา
          3.2 การนำสายไฟ/สายสื่อสารลงดิน
                    3.2.1) ผลการดำเนินการ เช่น (1) การจัดระเบียบสายสื่อสาร โดยในปี 2564 โดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ติดตั้งสายสื่อสารตามมาตรฐานไฟฟ้า 19 เส้นทาง ระยะทาง 108 กิโลเมตร และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ติดตั้งฯ 3,891 เส้นทาง ระยะทาง 7,964.54 กิโลเมตร (2) การนำสายสื่อสารลงใต้ดิน โดยในปี 2559-2564 กทม. ปริมณฑล และส่วนภูมิภาค ได้มีการนำสายสื่อสารลงดิน รวม 62 เส้นทาง ระยะทาง 107.86 กิโลเมตร
                    3.2.2) แผนการดำเนินการ
                              (1) แผนการนำสายสื่อสารลงดิน โดยในปี 2565 ดำเนินการในพื้นที่เขต กฟน. 6 โครงการ 32 เส้นทาง ระยะทางรวม 84.4 กิโลเมตร และในพื้นที่ กฟภ. 4 โครงการ 33 เส้นทาง ระยะทางรวม 51.31 กิโลเมตร
                              (2) แผนการบูรณาการแผนการจัดระเบียบสายสื่อสาร โดยในปี 2565-2566 ดำเนินการจัดระเบียบสายกรณีเร่งด่วน ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ระยะทาง 450 กิโลเมตร และในปี 2565-2567 กำหนดแผนการจัดระเบียบฯ ทั่วประเทศ ในพื้นที่ระยะทางรวม 6,000 กิโลเมตร
                    3.2.3) ข้อเสนอแนะ โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และ กทม. เสนอว่า (1) ทุกหน่วยงานต้องประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาในระหว่างการดำเนินงานให้งานสำเร็จร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารและการนำสายสื่อสารลงดิน (2) ผู้ประกอบกิจการขาดเงินทุนในการนำสายสื่อสารลงดิน และการจัดระเบียบสายสื่อสาร รัฐควรให้การสนับสนุนจัดทำมาตรการช่วยเหลือ และรับฟังความเห็นของผู้ประกอบกิจการ และ (3) มอบหมายสำนักงาน กสทช. เป็นหน่วยงานหลักในการวางหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบสายสื่อสารและการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน          ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
1) ให้สำนักงาน กสทช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนแม่บท หรือแผนระยะยาวในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และกรอบระยะเวลาการดำเนินการจัดระเบียบสายไฟและสายสื่อสารลงดิน เพื่อให้มีความชัดเจนและเกิดผลเป็นรูปธรรม
2) ควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานของรัฐบาล และสามารถใช้ประโยชน์จากการดำเนินการร่วมกัน
3) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขสายไฟและสายสื่อสารที่รกร้างและไม่เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
มติที่ประชุม : รับทราบและให้สำนักงาน กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณา
4) รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และงบประมาณที่เกินกว่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป
          4.1) ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 21 มกราคม 2565 โดยในภาพรวมมีผลการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 1,310,314.69 ล้านบาท (รายจ่ายประจำ 1,046,604.65 ล้านบาท และรายจ่างลงทุน 263,710.04 ล้านบาท)
          4.2) สรุปรายการผูกพันใหม่ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่มีวงเงินทั้งสิ้นเกิน 1,000 ล้านบาท ภาพรวมรายการผูกพันใหม่ฯ 5 กระทรวง วงเงินภาระผูกพัน มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 9 รายการ 19,999.15 ล้านบาท          มติทที่ประชุม : รับทราบ

16. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดทำโครงการการบริหารจัดการ Organizational Quarantine (OQ) สำหรับแรงงานต่างด้าวและผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 331.59 ล้านบาท สำหรับจัดทำโครงการการบริหารจัดการ Organizational Quarantine (OQ) สำหรับแรงงานต่างด้าวและผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองของกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (บช.ตชด.) ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ตช. รายงานว่า
                    1. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ตช. ได้มอบหมายให้ บช.ตชด. จัดทำโครงการ OQ สำหรับแรงงานต่างด้าวและผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมือง โดยใช้พื้นที่ของตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) เป็นสถานที่ควบคุมแรงงานต่างด้าวและผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมือง เพื่อเข้าสู่มาตรการการคัดกรองและควบคุมโรคติดต่อและเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดสู่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งที่ผ่านมา (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - กันยายน 2564) มีคนไทยและแรงงานต่างด้าวที่เข้ารับการกักตัวแล้ว จำนวน 2,999 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 14 มีนาคม 2565) โดยศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศปก.ศบค.) และศูนย์บูรณาการแก้ไขสถานการณ์โควิด 19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมีเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธาน ได้มีการประชุมเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 และมีมติรับทราบข้อมูลการกักตัวในสถานที่กักกันในรูปแบบเฉพาะองค์กร (OQ) ของ ตชด. โดยให้ ตชด. ขับเคลื่อนต่อไป ทั้งนี้ หากกระทรวงแรงงานมีแรงงานตามบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเข้าแรงงานจำนวนมากอาจขอใช้ประโยชน์จาก ตชด. ได้
                    2. ตช. เห็นว่า ภารกิจในการจัดทำโครงการ OQ สำหรับแรงงานต่างด้าวและผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองในพื้นที่กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดน (กองร้อยฯ) เป็นภารกิจสำคัญในการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนและความมั่นคงของประเทศ ซึ่ง ตช. (บช.ตชด.) ได้จัดทำสถานที่เพื่อควบคุมแรงงานต่างด้าวและผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองและนำเข้าสู่มาตรการการคัดกรองและควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ไปสู่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ทั้งนี้ สาระสำคัญของโครงการ OQ สำหรับแรงงานต่างด้าวและผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 วัตถุประสงค์
                                        2.1.1 เพื่อเป็นการบริหารจัดการด้านสาธารณสุขของผู้ลักลอบหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ทั้งคนไทยและคนต่างด้าวทั้งระบบ (ควบคุม/คัดกรอง/ป้องกัน) จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
                                        2.1.2 เพื่อเป็นการควบคุมดูแลและป้องกันคนไทยในประเทศจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จากกรณีคนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในประเทศไทย
                              2.2 แนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
หัวข้อ          สาระที่สำคัญ
องค์ประกอบด้าน
สถานที่กักกันโรค          1. อาคารกองร้อยหน่วยกำลังในหน่วย ตชด. จำนวน 14 แห่ง* (เข้ากักกันตัวได้ครั้งละ 50 คน/1 กองร้อย/1 รอบ)
2. อาคารเต็นท์สนามขนาด 250 เตียง จำนวน 14 แห่ง (เข้ากักกันตัวได้ครั้งละ 250 คน/1 กองร้อย/1 รอบ)
3. จัดทำแนวเขตแสดงอาณาบริเวณพื้นที่ควบคุม (รั้วลวดหนามและช่องทางเข้าออกทางเดียว) และระบบรักษาความปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง (เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย กล้อง CCTV และไฟฟ้าส่องสว่าง) เพื่อป้องกันการหลบหนีการควบคุม
4. มีพื้นที่บริการด้านการแพทย์และการบริหารจัดการในพื้นที่ควบคุมอย่างชัดเจน ได้แก่ เต็นท์บริการด้านการแพทย์ เต็นท์กองอำนวยการ/ศูนย์ประสาน เต็นท์เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย เต็นท์ประกอบอาหาร เป็นต้น
5. มีพื้นที่ประกอบอาหารให้กับผู้เข้ารับการกักกันและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและการบริการด้านน้ำดื่มเครื่องดื่มตามความเหมาะสมที่เพียงพอต่อความต้องการ
6. มีระบบสาธารณูปโภครองรับผู้เข้ารับการกักกันที่เพียงพอ ได้แก่ ระบบน้ำดื่มน้ำใช้ ห้องน้ำ ห้องสุขา และรถสุขาเคลื่อนที่ เครือข่ายสัญญาณโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ตและการบริการอื่น ๆ
7. มีระดับการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อม การบำบัดน้ำเสีย และการจัดการขยะติดเชื้อที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุข
องค์ประกอบของเจ้าหน้าที่ประจำสถานที่กักกันโรค          1. ผู้บังคับกองร้อยฯ เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ และปลัดอำเภอในพื้นที่และสาธารณสุขอำเภอ เป็นรองผู้บัญชาการเหตุการณ์
2. เจ้าหน้าที่ติดตามและบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
3. เจ้าพนักงานโรคติดต่อและเจ้าหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประจำสถานที่กักกันตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดกำหนดมอบหมาย
4. เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
แผนการปฏิบัติและหน่วยรับผิดชอบการปฏิบัติงานในสถานที่กักกันโรค          1. การรักษาความปลอดภัยสถานที่ : กองร้อยฯ รับผิดชอบจัดกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบริเวณโดยรอบสถานที่กักกันโรค แยกเป็น (1) อาคารกองร้อยหน่วยกำลังในหน่วย ตชด. จำนวน 3 จุด และช่องทางเข้าออก จำนวน 1 จุด รวมเป็น 4 จุด ใช้กำลังพลจำนวน 12 นาย/วัน (2) เต็นท์สนาม จำนวน 3 จุด และช่องทางเข้าออกจำนวน 1 จุด รวมจำนวน 4 จุด ใช้กำลังพล จำนวน 24 นาย/วัน
2. การปฏิบัติด้านการแพทย์และสาธารณสุข : สาธารณสุขอำเภอในพื้นที่รับผิดชอบจัดทีมติดตามและบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข รับผิดชอบติดตาม ตรวจสอบป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และงานด้านการแพทย์ (หมุนเวียนสับเปลี่ยนวงรอบละ 8 ชั่วโมง/ผลัด)
3. ชุดล่ามแปลภาษา : แรงงานจังหวัดรับผิดชอบจัดเจ้าหน้าที่ชุดล่ามแปลภาษาประจำสถานที่กักกันโรคตลอด 24 ชั่วโมง
4. การสนับสนุนการปฏิบัติด้านอื่น ๆ : อำเภอและหน่วยงานในพื้นที่จัดเจ้าหน้าที่ติดต่อประสานงานประจำศูนย์ประสานงานกักกันโรคหมุนเวียนสับเปลี่ยนวงรอบละ 8 ชั่วโมง/ผลัด
?                              2.3 ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เดือน (เดือนตุลาคม 2564 - กันยายน 2565) โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 331.59 ล้านบาท (งบดำเนินงาน) สรุปได้ ดังนี้
รายการ          วงเงิน (ล้านบาท)
1. ค่าใข้จ่ายในส่วนของอาคารกองร้อยหน่วยกำลังในหน่วย ตชด. จำนวน 14 แห่ง          142.11
2. ค่าใช้จ่ายในส่วนของอาคารเต็นท์สนาม ขนาด 250 เตียง จำนวน 14 แห่ง           189.48
รวมทั้งสิ้น          331.59
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายตามข้อ 1 และข้อ 2 เช่น ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ ค่าทำลายขยะ ค่าซักเครื่องนอน ค่าถุงมือยาง และค่าหน้ากากอนามัย เป็นต้น
* โครงการ OQ จะดำเนินการในพื้นที่กองร้อยฯ จำนวน 14 แห่ง ใน 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี (2 แห่ง) จังหวัดสระแก้ว (2 แห่ง) จังหวัดกาญจนบุรี (1 แห่ง) จังหวัดราชบุรี (1 แห่ง) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (1 แห่ง) จังหวัดหนองคาย (1 แห่ง) จังหวัดเชียงราย (1 แห่ง) จังหวัดตาก (3 แห่ง) จังหวัดระนอง (1 แห่ง) และจังหวัดสงขลา (1 แห่ง)

17. เรื่อง มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ได้รับสินเชื่อภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. โครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft Loan Extra (โครงการ PGS ระยะพิเศษ Soft Loan Extra) เพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) ที่ได้รับสินเชื่อภายใต้พระราชกำหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พร.ก. Soft Loan) ที่ใกล้จะครบกำหนด 2 ปี ยังคงได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่องและป้องกันมิให้ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มดังกล่าวผิดนัดชำระหนี้ในวงกว้าง ซึ่งจะเป็นการประคับประคองกิจการและพยุงการจ้างงานภายใต้สถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง (ขอรับการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง จำนวน 15,750 ล้านบาท)
                    2. การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 (เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและเสนอมาตรการช่วยเหลือ SMEs เพิ่มเติม) เพื่อปรับปรุงการดำเนินโครงการค้ำประกันสินเชื่อ Portfolio Guarantee Scheme ระยะพิเศษ Soft Loan พลัส (โครงการ PGS ระยะพิเศษ Soft Loan พลัส) (ขอรับการชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ จำนวน 104.27 ล้านบาท)
รวมถึงอนุมัติงบประมาณวงเงินรวม 15,854.27 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีเพื่อดำเนินโครงการ ตามข้อ 1 และข้อ 2 พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค.รายงานว่า
                    1. พ.ร.ก. Soft Loan ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2563 มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs และรักษาเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจของประเทศในช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 โดย ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 มีผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับสินเชื่อตาม พ.ร.ก. Soft Loan คงเหลือ 69,082 ราย วงเงินสินเชื่อจำนวน 128,865 ล้านบาท และมีลูกหนี้จำนวน 60,838 ราย คิดเป็นร้อยละ 88 ของลูกหนี้ที่ได้รับสินเชื่อภายใต้ พ.ร.ก. Soft Loan ซึ่งจะครบกำหนดภายในเดือนเมษายน 2565 ถึงเดือนตุลาคม 2565 ทั้งนี้ การระบาดของโรคโควิด 19 ยืดเยื้อและยาวนานเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับสินเชื่อภายใต้ พ.ร.ก. Soft Loan ที่จะเริ่มครบกำหนด 2 ปี และต้องชำระเงินกู้ทั้งจำนวนตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 ให้ได้รับสินเชื่ออย่างต่อเนื่องและป้องกันมิให้ผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มดังกล่าวผิดนัดชำระหนี้ในวงกว้าง กค. จึงขอเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับสินเชื่อภายใต้ พ.ร.ก. Soft Loan ซึ่งประกอบด้วยโครงการ PGS ระยะพิเศษ Soft Loan Extra และการปรับปรุงการดำเนินโครงการ PGS ระยะพิเศษ Soft Loan พลัส โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1.1 โครงการ PGS ระยะพิเศษ Soft Loan Extra (โครงการใหม่) มีสาระสำคัญของหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสรุปได้ ดังนี้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับสินเชื่อภายใต้ พ.ร.ก. Soft Loan ที่จะครบกำหนดเวลาการชำระหนี้คืนให้ยังคงได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินอย่างต่อเนื่อง ให้สามารถประคับประคองกิจการและพยุงการจ้างงานภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอน โดยคาดว่าจะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ได้รับสินเชื่อเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 67,400 ราย ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินที่เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 84,000 ล้านบาท
กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย          ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับสินเชื่อภายใต้ พ.ร.ก. Soft Loan
วงเงินค้ำประกันรวม          90,000 ล้านบาท
อายุการค้ำประกัน          ไม่เกิน 8 ปี
วงเงินค้ำประกันสินเชื่อต่อราย          ไม่เกินยอดสินเชื่อคงค้างล่าสุด หรือไม่เกินวงเงินสินเชื่อในกรณีเป็นสินเชื่อประเภทหมุนเวียนตาม พ.ร.ก. Soft Loan
ระยะเวลารับคำขอค้ำประกันสินเชื่อ          ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2566
ค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ          ร้อยละ 1.75 ต่อปี เมื่อเริ่มค้ำประกันในต้นปีที่ 1 ตลอดอายุการค้ำประกันโครงการ โดยรัฐบาลจะชดเชยค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการ SMEs ใน 2 ปีแรก ในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อปี ของวงเงินค้ำประกัน (รวมร้อยละ 1.5)
การขอรับการชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันจากรัฐบาล          บสย. ขอรับการชดเชยความเสียหายตามที่เกิดขึ้นจริงเป็นเงินจำนวน 15,750 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 1) เงินชดเชยการจ่ายค่าประกันชดเชยจากรัฐบาลในอัตราร้อยละ 16 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันโครงการ จำนวน 14,400 ล้านบาท (ร้อยละ 16 ของ 90,000 ล้านบาท) และ 2) เงินชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ จำนวน 1,350 ล้านบาท (ร้อยละ 1.5ของวงเงิน 90,000 ล้านบาท)
หมายเหตุ : ประมาณการรายจ่ายตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการรวมทั้งสิ้นไม่เกิน 27,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1) งบประมาณจากภาครัฐ จำนวน 15,750 ล้านบาท และ 2) รายได้ของ บสย. จำนวน 11,250 ล้านบาท
การจ่ายค่าประกันชดเชยให้แก่สถาบันการเงิน          1) บสย. จะจ่ายค่าประกันชดเชยตลอดโครงการไม่เกินค่าธรรมเนียมรับตลอดอายุการค้ำประกันของโครงการ ร้อยละ 14 รวมกับงบประมาณการจ่ายชดเชยที่ได้รับการเบิกจ่ายจากรัฐบาลร้อยละ 16 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันโครงการ คิดเป็นระดับการจ่ายค่าประกันชดเชยไม่เกินร้อยละ 30 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันโครงการ
2) บสย. จะรับผิดชอบในการจ่ายค่าประกันชดเชยภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดเมื่อครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ออกหนังสือค้ำประกัน
3) สถาบันการเงินที่ได้รับการจ่ายชดเชยตาม พ.ร.ก. Soft Loan แล้ว ไม่สามารถขอรับค่าประกันชดเชยตามหนังสือค้ำประกัน บสย. ได้อีก
                              1.2 การปรับปรุงการดำเนินโครงการ PGS ระยะพิเศษ Soft Loan พลัส เนื่องจากปัจจุบันได้สิ้นสุดระยะเวลาการขอรับสินเชื่อโครงการ PGS ระยะพิเศษ Soft Loan พลัสภายใต้ พ.ร.ก. Soft Loan ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 แล้ว โดยมีผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับการค้ำประกันภายใต้โครงการดังกล่าว จำนวน 4,726 ราย วงเงินค้ำประกัน 6,951 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อการบรรเทาภาระให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้โครงการ PGS ระยะพิเศษ Soft Loan พลัส ที่ต้องเริ่มจ่ายค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อในปี 2565 ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ยังมีความไม่แน่นอนและส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเพื่อให้สอดคล้องกับเงื่อนไขการเก็บค่าธรรมเนียมโครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS ระยะพิเศษ Soft Loan Extra (ตามข้อ 1.1) กค. จึงเห็นควรให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563 (เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีและเสนอมาตรการช่วยเหลือ SMEs เพิ่มเติม) เพื่อปรับปรุงการดำเนินการโครงการ PGS ระยะพิเศษ Soft Loan พลัส จากเดิม ผู้ประกอบการ SMEs จะต้องเริ่มจ่ายค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ ในต้นปีที่ 3 ร้อยละ 1.75 ต่อปี เป็น ให้รัฐบาลชดเชยค่าธรรมเนียมแทนผู้ประกอบการ SMEs ร้อยละ 0.75 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี (ปีที่ 3 และปีที่ 4 นับจากวันที่ได้รับสินเชื่อภายใต้ พ.ร.ก. Soft Loan โดยผู้ประกอบการ SMEs จะรับภาระการจ่ายค่าธรรมเนียมเหลือเพียงร้อยละ 1 ต่อปี) ดังนั้น บสย. จะขอรับการชดเชยค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อ จำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 104.27 ล้านบาท (ร้อยละ 1.5 ของวงเงินอนุมัติค้ำประกันโครงการ จำนวน 6,951 ล้านบาท)
                    2. กค. (บสย.) ได้จัดทำรายละเอียดการดำเนินการตามมาตรา 27 และมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อประกอบการเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว โดยในส่วนของการดำเนินการตามมาตรา 28 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กค. แจ้งว่า ณ สิ้นวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ภาระที่รัฐต้องรับชดเชยตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวมียอดคงค้างจำนวน 1,045,086.12 ล้านบาทหรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 33.71 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (วงเงิน 3,100,000 ล้านบาท) ดังนั้น หากคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ บสย. ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อดำเนินมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับสินเชื่อภายใต้ พ.ร.ก. Soft Loan จำนวน 15,854.27 ล้านบาท จะส่งผลให้ภาระที่รัฐบาลต้องรับชดเชย ซึ่งเมื่อรวมโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว จะมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 1,060,940.39 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 34.22 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งยังคงไม่เกินอัตราร้อยละ 35 ที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนดไว้และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 29 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการดำเนินโครงการดังกล่าว บสย. จะจัดทำบัญชีสำหรับการดำเนินกิจกรรม มาตรการ หรือโครงการที่ได้รับมอบหมายแยกต่างหากจากบัญชีการดำเนินงานทั่วไป พร้อมทั้งเสนอรายงานผลการดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมายและผลสัมฤทธิ์ต่อรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยให้สาธารณชนทราบ รวมทั้งเผยแพร่ผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อไป
18. เรื่อง ขออนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์โควิด 19
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (งบกลางฯ) จำนวน 811.77 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้า [กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และสมาชิกกองอาสารักษาดินแดน (สมาชิก อส.)] ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ของกรมการปกครอง จำนวน 270,590 คน ในอัตรา 500 บาท/คน/เดือน ระยะเวลา 6 เดือน (เดือนตุลาคม ? มีนาคม 2565) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. รายงานว่า
                    1. มท. (กรมการปกครอง) ในฐานะหน่วยงานภาครัฐที่มีภารกิจในการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายในประเทศ และมีกลไกการบริหารราชการเพื่อ ?บำบัดทุกข์บำรุงสุข? ให้แก่ประชาชนทั่วประเทศตั้งแต่ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน มท. จึงเป็นหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาและบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มาโดยตลอด ซึ่งกรมการปกครองมีเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์โควิด 19 ได้แก่ กำนันผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน โดยมีบทบาทสำคัญในการป้องกันและลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดเข้าสู่ตำบล หมู่บ้าน รวมทั้งสมาชิก อส. ที่มีหน้าที่ช่วยเหลือและสนับสนุนการรักษาความสงบภายในท้องที่ร่วมกับพนักงานฝ่ายปกครอง ตำรวจ ทหาร และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามนโยบายของรัฐบาลและ มท.
                    2. ผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าตั้งแต่เดือนเมษายน 2564 - ปัจจุบัน สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          ผลการปฏิบัติงาน
1. การควบคุมการเดินทางเคลื่อนย้ายข้ามพื้นที่ชายแดนและพื้นที่ตอนใน          1) พื้นที่ชายแดน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าร่วมปฏิบัติงานเฝ้าระวังตรวจตรา สอดส่องดูแลมิให้มีการลักลอบเข้าประเทศ การเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวโดยผิดกฎหมาย
2) พื้นที่ตอนใน เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าร่วมกันตั้งด่าน จุดตรวจ/จุดสกัดดูแลการสัญจรข้ามพื้นที่จังหวัด และภายในจังหวัดของประชาชนรวมทั้งสำรวจ ตรวจสอบ และคัดกรองผู้เดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน/ชุมชนโดยบันทึกข้อมูลในระบบ ?Thai Quarantine Monitor 2021? ของ มท.เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาบริหารความช่วยเหลือประชาชนทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว
2. การสนับสนุนการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19          โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าร่วมจัดเตรียมสถานที่ และวัสดุอุปกรณ์ในสถานที่ราชการและเอกชนที่มีความพร้อมตามมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการวางระบบการลงทะเบียนฉีดวัคซีนร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
3. การสนับสนุนจังหวัดและอำเภอในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม          โดยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าร่วมสนับสนุนจังหวัดและอำเภอในการจัดตั้ง
- โรงพยาบาลสนาม จำนวน 466 แห่ง รองรับได้ 45,797 เตียง
- สถานที่กักกันตัวแห่งรัฐในพื้นที่จังหวัด จำนวน 4,207 แห่ง รองรับได้78,114 เตียง
- สถานที่กักกันตัวทางเลือก จำนวน 129 แห่ง รองรับได้ 19,143 เตียง
- ที่พักคอย จำนวน 1,198 แห่ง รองรับได้ 33,010 เตียง
- สถานที่แยกกักตัวในชุมชน จำนวน 4,133 เตียง รองรับได้ 116,834 เตียง
4. อื่น ๆ เช่น          - ควบคุมดูแลการเดินทางรับ - ส่ง ผู้ติดเชื้อที่มีความต้องการกลับไปรักษาที่โรงพยาบาลภูมิลำเนา รวม 20,516 คน
- กวดขันการลักลอบเล่นการพนัน การเปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือมาตรการควบคุมโรคตามที่ทางราชการกำหนด เพื่อป้องกัน
การรวมกลุ่มและลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
- ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เชิงรุกแก่ประชาน
                    3. เนื่องจากเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ของกรมการปกครองต้องปฏิบัติหน้าที่ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน แก้ไข และควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดมาอย่างต่อเนื่องและยาวนานด้วยความอดทน เสียสละ เสี่ยงต่อสุขภาพอนามัยและชีวิตต่อการติดโรคโควิด 19 ประกอบกับกรมการปกครองไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้า และไม่สามารถปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณมาดำเนินการได้ จึงจำเป็นต้องเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลางฯ โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
ตำแหน่ง          จำนวน
(คน)          ขอรับการจัดสรร
                    อัตรา/เดือน          จำนวน          งบประมาณ
(ล้านบาท)
กำนัน          6,288


500 บาท

6 เดือน
(เดือนตุลาคม 2564 ? มีนาคม 2565)          18.86
ผู้ใหญ่บ้าน          60,481                              181.44
แพทย์ประจำตำบล          5,845                              17.54
สารวัตรกำนัน          12,416                              37.25
ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน          159,029                              477.09
สมาชิก อส.          26,531                              79.59
รวมทั้งสิ้น          270,590                              811.77
                    4. มท. ชี้แจงว่า กรมการปกครองเคยได้รับการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2563 จำนวน 677.79 ล้านบาท สำหรับเบิกจ่ายเป็นเงินเพิ่มพิเศษรายเดือนให้แก่กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในอัตราเดือนละ 500 บาท/คน/เดือน และแพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ในอัตราเดือนละ 300 บาท/คน/เดือน โดยไม่ได้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณสำหรับสมาชิก อส. ซึ่งต่างจากการเสนอขอรับการจัดสรรในครั้งนี้ เนื่องจาก
                              4.1 ประเด็นการขอรับการจัดสรรในอัตรา 500 บาท/คน/เดือน เท่ากันทุกตำแหน่ง : เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำและให้เกิดความเสมอภาคระหว่างบุคลากรที่ปฏิบัติงานด่านหน้า ซึ่งทุกตำแหน่งได้ปฏิบัติงานด้วยความอดทน เสียสละ เท่าเทียมกัน จึงพิจารณาเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณเทียบเท่ากับ อสม. [คณะรัฐมนตรีเคยมีมติ (8 กุมภาพันธ์ 2565) อนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลางฯ ภายใต้โครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของ อสม. จำนวน 1.05 ล้านคน ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด 19 ในชุมชน วงเงินจำนวน 3,150.92 ล้านบาท ในอัตรา 500 บาท/คน/เดือน ระยะเวลา 6 เดือน (เดือนตุลาคม 2564 - มีนาคม 2565)]
                              4.2 ประเด็นการขอรับการจัดสรรให้แก่สมาชิก อส. : สมาชิก อส. มีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและกองกำลังประจำถิ่นที่มีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ประจำการทำให้มีความเข้าใจสถานการณ์ในพื้นที่เป็นอย่างดีเช่นเดียวกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ โดยสมาชิก อส. เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในฐานะเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์โควิด 19 ร่วมกับกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ โดยเฉพาะมิติการรักษาความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงภายใน ได้แก่ การสกัดกั้นการลักลอบเข้าประเทศ การเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวโดยผิดกฎหมาย ตั้งจุดตรวจลาดตระเวนชายแดน การจับกุมผู้หลบหนีเข้าเมือง/ผู้นำพา/ผู้ให้ที่พักพิง การคัดกรองผู้เดินทางเข้ามาในหมู่บ้าน/ชุมชน การสนับสนุนการฉีดวัคซีนป้องกันโรค โดยการจัดเตรียมสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ในสถานที่ราชการและเอกชนที่มีความพร้อม อำนวยความสะดวกให้ประชาชนเข้ารับการฉีดวัคซีนร่วมกับ อสม. และ รพ.สต. สนับสนุนจังหวัด อำเภอในการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม/สถานที่กักกันตัวแห่งรัฐในพื้นที่จังหวัด (State Quarantine)/สถานที่กักกันตัวทางเลือก (Alternative Quarantine) ที่พักคอย/สถานที่แยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation) กวดขันการลักลอบเล่นการพนัน การเปิดสถานบริการ สถานประกอบการที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ ผับ บาร์ คาราโอเกะ ที่ฝ่าฝืนกฎหมายร่วมกับนายอำเภอ ปลัดอำเภอ เป็นต้น
                    5. มท. แจ้งว่า สำนักงบประมาณได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้กรมการปกครองใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลางฯ ภายในกรอบวงเงิน 811.77 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าตอบแทนเสี่ยงภัยเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าในสถานการณ์ของโรคโควิด 19 จำนวน 270,590 คน ในอัตรา 500 บาท/คน/เดือน ระยะเวลา 6 เดือน (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 - มีนาคม 2565) โดยอัตราการเบิกจ่ายค่าตอบแทนเสี่ยงภัยจะต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง

19. เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และรายงานผลการประเมินตนเองของคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และเห็นชอบข้อเสนอแนะของ ค.ต.ป. โดยให้รัฐมนตรีหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และจังหวัดที่มีประเด็นสมควรปรับปรุงแก้ไขรับข้อเสนอแนะไปพิจารณาดำเนินการ พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการต่อ ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ ต่อไป
                    2. รับทราบรายงานผลการประเมินตนเองของ ค.ต.ป. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และให้คณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
1. ค.ต.ป. ในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบรายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่ง ค.ต.ป. ได้กำหนดแนวทางการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการในลักษณะของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)1 โดยแบ่งเป็น (1) รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการเพื่อส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า (early warning) และ (2) รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการตามประเด็นการตรวจสอบหลัก รวม 8 ประเด็นหลัก เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงมาตรการของรัฐบาลให้มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนต่อการปฏิบัติงานของส่วนราชการและแก้ไขปัญหาเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานของรัฐ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
          1.1 รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการพื่อส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า (early warning) เป็นข้อเสนอแนะจากข้อค้นพบสำคัญที่เป็นข้อจำกัด/ปัญหาเร่งด่วนที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการแก้ไขภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่ง ค.ต.ป. ได้นำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีข้อสั่งการให้แจ้งหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว สรุปได้ ดังนี้

เรื่องที่ 1 การพัฒนาเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจให้เป็นเมืองน่าอยู่เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา Phuket Smart City เพื่อเตรียมความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ กรณีที่มีการเปิดประเทศและนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจของจังหวัดภูเก็ต
ข้อเสนอแนะ เช่น          ผลการดำเนินการ
การดำเนินการตามแผนการกระจายวัคซีนโควิด-19 ในระยะที่ 2 กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ควรพิจารณาให้ความสำคัญต่อกลุ่มผู้ประกอบอาชีพภาคการท่องเที่ยวและบริการเป็นอันดับแรก และพิจารณาแนวทางการให้เอกชนสามารถนำเข้าวัคซีนโควิด-19          สธ. ดำเนินการตามข้อเสนอแนะแล้ว
เรื่องที่ 2 การฟื้นฟูเศรษฐกิจกรณีกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและการท่องเที่ยวและกลุ่ม  ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เพื่อแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการอยู่รอดและการเติบโตของ SMEs โดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจรายย่อย และเป็นการเรียกความเชื่อมั่นในด้านการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ของประเทศในภาพรวม
ข้อเสนอแนะ เช่น          ผลการดำเนินการ
กระทรวงการคลัง (กค.) พิจารณากำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในการลดการชำระค่าเช่าอาคารสถานที่ให้กับผู้ประกอบการที่ไม่สามารถเปิดให้บริการหรือประกอบธุรกิจได้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19          กค. โดยกรมสรรพากรอยู่ระหว่างการดำเนินมาตรการทางภาษีเพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการผ่านการชำระภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax) โดยกรณีที่ผู้เช่าชำระภาษีเงินได้ผ่านระบบดังกล่าวจะได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จากเดิมอัตราร้อยละ 5 หรือร้อยละ 3 เหลือร้อยละ 2
          1.2 รายงานผลการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการตามประเด็นการตรวจสอบหลัก ซึ่งมีความสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) สรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ เช่น          ผลการดำเนินการ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน
ประเด็นการตรวจสอบที่ 1 การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
1.1 เร่งผลักดันให้เกิดการบูรณาการฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยว เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวให้เป็นรูปธรรมและปรับปรุงช่องทางบริการการเดินทางเข้าประเทศให้สะดวกรวดเร็วโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์และแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น TAGTHAi ในการให้ข้อมูลการท่องเที่ยว โดยบูรณาการและการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานอย่างชัดเจน กำหนดแนวทางในการพลิกโฉมการท่องเที่ยวโดยยึดหลัก Bio-Circular-Green Economy (BCG) ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และคณะกรรมการนโยบายท่องเที่ยวแห่งชาติ ต้องเป็นหน่วยงานหลักในการร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว          กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.)
1.2 กำหนดมาตรการทางการเงินช่วยเหลือผู้ประกอบการในภาคการท่องเที่ยวที่อยู่ในกลุ่มเศรษฐกิจนอกระบบให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อ             ต่าง ๆ ได้เพิ่มมากขึ้น          กก. กค.
1.3 ปรับปรุงกฎหมายให้ครอบคลุมประเภทของโรงแรมรูปแบบใหม่ในปัจจุบัน และการขอใบอนุญาตประกอบกิจการให้ครอบคลุมกับผู้ประกอบการขนาดเล็ก เพื่อให้ความสามารถขอรับมาตรฐาน SHA (Amazing Thailand Safety and Health Administration) ได้          กระทรวงมหาดไทย (มท.)
1.4 วางแผนการร่วมมือแบบบูรณาการในการเตรียมแรงงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป          กก. กระทรวงแรงงาน (รง.) สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)
1.5 ยกระดับความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวให้มากขึ้น โดยการดำเนินการและประสานกับตำรวจท่องเที่ยว          กก.
1.6 ศึกษารูปแบบโมเดลของจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง ในการพัฒนารูปแบบและวิธีการทำงานการสร้างสมดุลและสานพลังระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ การสร้างนวัตกรรมในเรื่องของการบริหารจัดการของพื้นที่ด้านการท่องเที่ยวและการบริการประชาชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงหรือสภาวะวิกฤตในอนาคต          มท.
ประเด็นการตรวจสอบที่ 2 การขับเคลื่อนพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก (OTOP/SMEs)
2.1 ให้หน่วยงานที่มีภารกิจหลักในแต่ละด้านเป็นเจ้าภาพในการรวบรวมตัวชี้วัดและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำมากำหนดผลสัมฤทธิ์ร่วมกัน เช่น ตัวชี้วัดเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจขนาดย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจด้านการบริการ ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และจัดลำดับความสำคัญของอุตสาหกรรม S-Curve กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดเกี่ยวกับด้านรายรับที่สามารถวัดผลลัพธ์เรื่องการเติบโตของเศรษฐกิจฐานรากถึงรายได้ของคนในพื้นที่และการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นสร้างรายได้ให้กับประชาชนเท่าใด รวมถึงประสานการทำงานเพื่อให้มีข้อมูลเชิงลึกในการวิเคราะห์พฤติกรรมและกำลังซื้อการจับจ่ายใช้สอยในระดับพื้นที่จากระบบ payment system ที่ใช้ในการชำระสินค้า หรือการทำรายการต่าง ๆ ผ่าน application          กค. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
2.2 ปรับกลไกและบทบาทของภาครัฐให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยเป็นเจ้าภาพหลักในการหารือร่วมกับภาคเอกชนในพื้นที่เพื่อวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากระดับหมู่บ้านและตำบลให้เป็นรูปธรรม รวมถึงการปรับกฎระเบียบเพื่อให้เอื้อต่อการทำงานในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในระดับพื้นที่          มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
2.3 ศึกษาและวางแผนการเจรจากับประเทศคู่ค้าเพื่อเปิดตลาดสินค้าส่งออกและสนับสนุนภาคบริการที่มีศักยภาพและโดดเด่นให้สามารถขยายตัวในตลาดต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่อง          พณ.
2.4 จัดทำแผนพัฒนาการใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งศึกษา ออกแบบระบบข้อมูลและสร้าง application ที่ใช้สนับสนุนการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่เป้าหมาย          กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนา platform กลางที่ใช้ในการซื้อขายสินค้า          ดศ.
2.6 สร้างความเข้มแข็งในระดับพื้นที่ ดังนี้
     2.6.1 คณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ (กอ.นตผ.) ขยายผล OTOP โดยให้มีการคัดเลือกพื้นที่ในการจะส่งเสริมธุรกิจด้านการบริการสุขภาพทำเป็น Sandbox ของการพัฒนาในเชิงรูปแบบร่วมกันระหว่าง Area และ Function และให้ท้องถิ่นสามารถเสนอแนะความต้องการของชุมชน รวมทั้งมีบทบาทเป็นเจ้าภาพที่ชัดเจนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นและอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัด โดยการจัดทำแผนปฏิบัติราชการของกลุ่มจังหวัด/จังหวัด ให้เป็น One plan อย่างแท้จริง
มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)
     2.6.2 สนับสนุนงบประมาณ (งบกลาง) ให้กับ กอ.นตผ. โดยเน้นภารกิจที่เชื่อมโยงกับโครงการ OTOP รวมถึงส่งเสริมการใช้สินค้า บริการ หรือท่องเที่ยวโดยชุมชน          มท. (กรมการพัฒนาชุมชน)
     2.6.3 กำหนดแนวทางในการพัฒนา SMEs ที่จะเชื่อมโยงไปกับอุตสาหกรรมในแต่ละพื้นที่ โดยจัดทำเป็นโครงการนำร่องภายใน 1-2 ปี เช่น อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจรโดยเชื่อมโยงกับกิจกรรมด้านสุขภาพและการท่องเที่ยวในพื้นที่          สสว.
ประเด็นการตรวจสอบที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกร เพื่อเตรียมไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ
3.1 กำหนดกลไกที่สร้างความเข้าใจในความหมายและเป้าหมายเรื่อง ?การพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรเพื่อเตรียมไปสู่การเป็นผู้ประกอบการ? ที่ตรงกัน และให้มีวิสัยทัศน์ร่วมกัน (Shared Vision) โดยร่วมกันกำหนดและแผนในลักษณะการบูรณาการเพื่อกำนหดเป้าหมายความสำเร็จร่วมกัน          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
สำนักงบประมาณ (สงป.) สศช.
3.2 กำหนดกลไกและวิธีการทำงานระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้เกิดการพัฒนาเกษตรกรร่วมกันอย่างบูรณการทั้งระดับส่วนกลางและระดับพื้นที่          กษ. สงป. สศช. สำนักงาน ก.พ.ร.
3.3 สนับสนุนการพัฒนาฐานข้อมูลเกษตรกรกลาง (Farmer One) ให้เป็นฐานข้อมูลหลักของเกษตรกร          กษ. พณ.
3.4 ติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ ?การตลาดนำการผลิต? เพื่อให้เป็นกรณีศึกษา
ข้อเสนอแนะ เช่น          ผลการดำเนินการ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
ประเด็นการตรวจสอบที่ 4 การพัฒนาศูนย์กลางทางเศรษฐกิจให้เป็นเมืองน่าอยู่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
4.1 กำหนดหน่วยงานเจ้าภาพหลักในระดับนโยบายที่ดูแลในเชิงบูรณาการ ดำเนินการกำหนดนิยามและขอบเขตของการพัฒนากำหนดมาตรฐานของเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ กำกับ ควบคุมความเชื่อมโยงและความสอดคล้องการพัฒนาในระดับพื้นที่กับระดับประเทศ และปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สนับสนุนต่อการขับเคลื่อนเมืองน่าอยู่อัจฉริยะ          ดศ. [สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)] มท.
4.2 กำกับให้องค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เป็นเจ้าภาพหลักในระดับพื้นที่ร่วมกับ อปท. อื่น ๆ ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะขนาดใหญ่          มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น)
4.3 สนับสนุนให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่เป้าหมายในการพัฒนาเมืองน่าอยู่อัจฉริยะจัดตั้ง ?ศูนย์ปฏิบัติการและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะน่าอยู่? เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการวิจัยและให้คำปรึกษาแนะนำการพัฒนาด้านเทคโนโลยีเพื่อรองรับการเป็นเมืองอัจฉริยะให้แก้ อปท.          กระทรวงการอุมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
4.4 กำหนดนโยบายให้รัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนให้ความร่วมมือสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ          กค.(สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ) สำนักงาน ก.พ.ร. [คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.)]
4.5 ดำนเนิการจำกัดพื้นที่ทดลอง (Sandbox) ในจังหวัดภูเก็ตเพื่อทดลองให้ อปท. จัดเก็บและเชื่อมโยงข้อมูลผ่าน City Data Platform รวมทั้งการทดลองปลดล็อกในการเข้าถึงการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ          ดส. [สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa)] มท.
4.6 จัดสรรงบประมาณการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ลงสู่พื้นที่เป้าหมายให้ชัดเจนและตรงกับความต้องการของพื้นที่ โดยจัดสรรงบประมาณการพัฒนาเมืองให้กับจังหวัด และมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบทั้งหน่วยงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น เพื่อให้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการดำเนินงาน          สงป.
4.7 ปรับแผนดำเนินการ เป้าหมาย และตัวชี้วัดการขับเคลื่อนตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 6 พื้นที่ และเมืองน่าอยู่อัจริยะ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง          ดศ. มท. สศช.
ประเด็นการตรวจสอบที่ 5 การส่งมอบงานบริการสาธารณะทางสังคมอย่างทั่วถึงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
5.1 กำหนดนดยบายในการส่งเสริมกลุ่มเปราะบางและกลุ่มด้อยโอกาสให้เกิดการพึ่งพาตัวเองได้ในระยะยาว และการดำเนินงานโครงการควรมีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยน และช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที โดยเฉพาะในช่วงวิกฤต/ฉุกเฉิน          กค. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
มท. รง.
5.2 กำหนดบทบาทและตัวชี้วัด (KPI) ในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือและลดความซ้ำซ้อนของการดำเนินงาน รวมทั้งออกแบบนโยบายการจัดบริการสาธารณะทางสังคมและการใช้ทรัพยากรร่วมกันระหว่างหน่วยงาน          กค. พม. มท.
5.3 ปรับปรุงระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานให้เป็นปัจจุบัน และสามารถเชื่อมโยงกันได้ โดยใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก          ดศ.
5.4 จัดช่องทางในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย รวมทั้งการสนับสนุนให้ชุมชนเป็นผู้กระจายข่าวสาร และควรมีกลไกในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ของรัฐที่เป็นเอกภาพ          กค. พม. มท. รง. (สำนักงานประกันสังคม) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สธ. สศช.
5.5 กำหนดบทบาทและตัวชี้วัดของกลไกระดับพื้นที่ให้ชัดเจนพร้อมทั้งสร้างความร่วมมือภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนการทำงานและส่งเสริมภาคเอกชน ชุมชน ให้เข้ามามีบทบาทร่วมทำงานกับภาครัฐในพื้นที่ให้มากขึ้น          พม. มท. ศธ. สธ.
5.6 พัฒนาระบบงบประมาณที่ยืดหยุ่น ให้สามารถเบิกจ่ายได้อย่างทันท่วงทีในช่วงวิกฤต และพัฒนารูปแบบการระดมทุนและการดำเนินงานบริการสาธารณะทางสังคมรูปแบบใหม่ ๆ          กค. (กรมบัญชีกลาง) สงป.
5.7 ให้หน่วยงานเกี่ยวข้องดำเนินการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานอย่างเป็นระบบเพื่อการช่วยเหลือที่ตรงกลุ่มเป้าหมายและไม่เกิดการตกหล่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีและเตรียมความพร้อมให้แก่กลุ่มผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเปราะบาง          พม. ดศ. มท. รง. ศธ.
5.8 ทบทวนกฎระเบียบให้เอื้อตอ่การดำเนินงานในภาวะฉุกเฉินพร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับข้อกฎหมายและความเข้าใจที่ถูกต้องแก่เจ้าหน้าที่เพื่อสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน          กค. (กรมบัญชีกลาง) สงป.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)
ยุทธศาสตร์ที่ 5  การสร้างการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ประเด็นการตรวจสอบที่ 6 การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัยในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
6.1 บูรณการและจัดทำแผนโดยมีเป้าหมายสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งในระดับประเทศ หน่วยงาน และระดับพื้นที่ และเร่งรัดการออกกฎหมายลำดับรองภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561          สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
6.2 จัดทำข้อมูลและพัฒนาการเชื่อมโยงระบบข้อมูลเรื่องการจัดการน้ำระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีความเป็นเอกภาพลดความคลาดเคลื่อนของข้อมูล          อว. (สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ) สทนช.
6.3 เชื่อมโยงเป้าหมายเดียวกันในการแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในพื้นที่ความเสี่ยงสูง (Area base) รับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ และสร้างความเข้าใจและความมีส่วนร่วมของโครงการให้กับประชาชนในพื้นที่ เพื่อที่ประชาชนจะมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมและให้ความร่วมมือกับภาครัฐ          อว. (สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ)
กษ. (กรมชลประทาน)
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)
(กรมทรัพยากรน้ำ) สทนช.
6.4 ขยายผลการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ที่ได้ผลดีเป็นแนวทางให้ชุมชนต่าง ๆ นำไปปรับใช้กับบริบทในพื้นที่ของตนเองได้อย่างเหมาะสมและบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้          กษ. (กรมชลประทาน)
ทส. (กรมทรัพยากรน้ำ) สทนช.
6.5 กำหนดกระบวนการถ่ายโอนและรับโอนภารกิจด้านน้ำจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์ตลอดจนการบำรุงรักษาแหล่งน้ำ          สปน. (คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
ประเด็นการตรวจสอบที่ 7 ระบบการบริหารด้านการบริหารจัดการภาครัฐ : การจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance)
7.1 กำหนดแนวปฏิบัติที่ชัดเจนเพื่อขับเคลื่อนให้ทุกหน่วยงานภาครัฐเริ่มจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูล โดยอาจร่วมมือกับมหาวิทยาลัยหรือหน่วยงานอื่นเพื่อเร่งให้เกิดการขยายผล รวมถึงมีการติดตตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานพร้อมทั้งปัญหาและอุปสรรคเพื่อสามารถขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดได้อย่างเป็นรูปธรรม          สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
7.2 จัดทำบัญชีข้อมูล (Data Catalog) แบบสมดุล เพื่อให้การเปิดเผยข้อมูลกับการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ
7.3 ออกแบบบัญชีข้อมูล (Data Catalog) โดยกำหนด Data Classification หรือระดับชั้นความลับ เพื่อช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลและการกำกับข้อมูลในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถนำชุดข้อมูลมาจัดทำเป็นข้อมูลเปิด (Open Data) เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไปได้
7.4 ถอดบทเรียนองค์กรที่ประสบความสำเร็จในการจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่ให้หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ นำไปเป็นแนวทางพัฒนาองค์กรต่อไป
7.5 พัฒนารูปแบบการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลของระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ระบบการจัดการงบประมาณอิเล็กทรอนิกส์ (e-Budgeting) และระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) เพื่อให้สามารถติดตามข้อมูลได้ตลอดทั้งวงจรของการบริหารแผนงาน/โครงการ การใช้โครงสร้างของรหัสเดียวกัน เพื่อให้สามารถอ้างอิงข้อมูลร่วมกันได้ การจัดทำ Dashboard วิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลบูรรการร่วมกับส่วนราชการอื่น เช่น หน่วยงานเจ้าภาพงบประมาณแผนงานของการบูรณาการ          กค. (กรมบัญชีกลาง) สงป. สศช.
7.6 เร่งผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำข้อมูลหลักของหน่วยงาน (Master Data)          ดศ. สำนักงาน ก.พ.ร. สพร.
7.7 เร่งสร้างและรักษาบุคลากรภาครัฐที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเสริมและพัฒนาทักษะ (upskill) และสร้างทักษะใหม่ (reskill) ให้กับบุคลากรภาครัฐเพื่อให้มีศักยภาพในการบริหารและปฏิบัติงานด้านดิจิทัล          อว. สำนักงาน ก.พ. สพร.
7.8 ศึกษารูปแบบโครงสร้างของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการบริหารจัดการข้อมูลภาครัฐของประเทศให้มีความเหมาะสม          สำนักงาน ก.พ.ร. สพร.
7.9 ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายในการขับเคลื่อนด้านดิจิทัลให้มีความชัดเจนเพื่อให้เอื้อต่อการปฏิบัติงานและสอดคล้องกับสถานการณ์          ดศ. สคก. สำนักงาน ก.พ.ร.
ประเด็นการตรวจสอบที่ 8 ประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลในการดำเนินงานสวัสดิการภาครัฐ : ระบบหลักประกันสุขภาพ
8.1 จัดทำระบบการตรวจสอบการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล Fraud Detection and Fraud Analytics โดยใช้ AI และ Machine Learning ทั้งในระดับบุคลและระดับหน่วยบริการ รวมทั้งให้ระบบประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเร่งดำเนินการเรื่องการพิสูจน์ตัวตนหรืออัตลักษณ์ของบุคคลก่อนเข้ารับบริการเพื่อการป้องกันการทุจริต          กค. (กรมบัญชีกลาง) รง. (สำนักงานประกันสังคม) สธ. [สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)]
8.2 หารือร่วมกับ ดศ. เพื่อหาข้อสรุปเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์กลางภาครัฐ          สธ. (สปสช.)
8.3 พัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อให้การใช้งานระบบมีความเป็นศูนย์กลางช่วยลดรอยต่อของระบบงาน รวมถึงการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ การให้ความสำคัญกับโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับ Disaster Recovery Site (DR Site) Site การใช้ Hardware Software และการสร้าง Database ควรคำนึงถึงการเพิ่มประสิทธิภาพและการต่อยอดในอนาคตตลอดจนต้นทุนในการจัดซื้อใบอนุญาต          รง. (สำนักงานประกันสังคม)
8.4 ยกระดับระบบสารสนเทศโดยจัดทำ Disaster Recovery Site (DR Site) เพื่อป้องกันปัญหาความเสียหายจากการสูญเสียข้อมูล           กค. (กรมบัญชีกลาง)
8.5 ทบทวนระยะเวลาเพื่อกำหนดรอบการประมวลข้อมูลสถานะของบุคคลในระบบฐานข้อมูลให้เร็วขึ้น รวมถึงให้ สธ. เป็นเจ้าภาพหลักหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำ Big data (health information)          กค. (กรมบัญชีกลาง) รง. (สำนักงานประกันสังคม) สธ. (สปสช.)
          2. ค.ต.ป. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2564 และครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ได้มีมติรับทราบรายงานผลการประเมินตนเองของ ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 สรุปได้ ดังนี้
                    2.1 ผลการประเมินตนเองของ ค.ต.ป. อ.ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง ใน 4 ด้าน ได้แก่ 1) องค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการ (skill) 2) ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการ (knowledge) 3) การรายงานผลจากการตรวจสอบฯ (output) และ 4) การบรรลุเป้าหมายของการดำเนินการ (outcome) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    (1) สรุปผลการประเมินตนเองฯ ครั้งที่ 1 ค.ต.ป. มีผลการประเมินตนเองเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ย 3.87) โดยด้านองค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการมีผลการประเมินสูงที่สุด และภาพรวมผลการประเมินตนเองของ อ.ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวงมีผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.06) โดยด้านองค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการมีผลการประเมินสูงที่สุด
                    (2) สรุปผลการประเมินตนเองฯ ครั้งที่ 2 ค.ต.ป. มีผลการประเมินตนเองเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.02) โดยด้านองค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการมีผลการประเมินสูงที่สุด และภาพรวมผลการประเมินตนเองของ อ.ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง ผลการปฏิบัติงานเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก (คะแนนเฉลี่ย 4.14) โดยด้านองค์ประกอบและแนวปฏิบัติของคณะกรรมการมีผลการประเมินสูงที่สุด
                    ผลการประเมินตนเองภาพรวมเฉลี่ย ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 2 เพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 1 โดยมีผลการประเมินเพิ่มขึ้นในด้านการรายงานผลจากการตรวจสอบ (output) และด้านการบรรลุเป้าหมายของการดำเนินการ (outcome) เนื่องมาจากการประเมินครั้งที่ 2 เป็นช่วงเวลาของการสรุปข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบและประเมินผล และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ค.ตป. ได้จัดทำผลการติดตาม ตรวจสอบและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด้นสำคัญเร่งด่วนเพื่อส่งสัญญาณเตือนล่วงหน้า (early warning) เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ซึ่งสอดคล้องกับผลการประเมินตนเองในด้านการรายงานผลจากการตรวจสอบฯ (output) และด้านการบรรลุเป้าหมายของการดำเนินการ (outcome) ที่เพิ่มขึ้น
                    2.2 ความเห็นและข้อเสนอแนะของ ค.ต.ป. อ.ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวงงที่มีต่อแนวทางการตรวจสอบและกลไกการดำเนินงาน เช่น ควรมีการกำหนดประเด็นในการติดตามร่วมกัน (Joint Issues) ของ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง ในประเด็นที่คล้ายคลึงกันเพื่อนำไปสู่การบูรณการการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ควรมีการประสานการทำงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันให้มากขึ้น รวมทั้งเพิ่มช่องทางการสื่อสารออนไลน์ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง และ อ.ค.ต.ป. คณะต่าง ๆ เพื่อให้การติดตตาม ตรวจสอบ และประเมินผลภาคราชการ บรรลุเป้าหมายร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
                    2.3 ฝ่ายเลขานุการ ค.ต.ป. ได้ดำเนินการตามข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยได้จัดทำแนวทางการตรวจสอบและประเมินผล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่ง ค.ต.ป. ได้กำหนดให้ ค.ต.ป. ประจำกระทรวงร่วมตรวจสอบในประเด็นการตรวจสอบย่อยตามห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ที่ อ.ค.ต.ป. กำหนด เพื่อให้การตรวจสอบมุ่งไปสู่เป้าหมายเดียวกัน การจัดทำแผนการประชุมเสริมสร้างองค์ความรู้ใหม่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียนเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่าง อ.ค.ต.ป. และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง
1เป็นการบูรณาการการตรวจสอบระหว่างคณะอนุกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (อ.ค.ต.ป.) คณะต่าง ๆ และ ค.ต.ป. ประจำกระทรวง เพื่อให้การตรวจสอบมุ่งไปสู่ทิศทางและเป้าหมายเดียวกัน ในประเด็นการตรวจสอบที่สำคัญ (agenda) นโยบายเร่งด่วน (hot issue) หรือนโยบายสำคัญ (flagship) ที่เชื่อมโยงกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติรวมทั้งประเด็นสนับสนุนการฟื้นฟูประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่วนราชการต้องเร่งแก้ไขและเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศต่อไป (post-COVID recovery)

20. เรื่อง มาตรการลดการใช้พลังงานในหน่วยงานภาครัฐ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบมาตรการประหยัดพลังงานตามที่เสนอในแนวทางประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐ
                    2. อนุมัติเป็นหลักการให้หน่วยงานราชการดำเนินการตามข้อเสนอของกระทรวงพลังงานลดการใช้พลังงานร้อยละ 20 พร้อมทั้งรายงานผลการประหยัดพลังงานผ่าน www.e-report.energy.go.th เพื่อกระทรวงพลังงานจะได้รายงานผลต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงพลังงาน ได้จัดทำแนวทางประหยัดพลังงานในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้หน่วยงานราชการนำไปปฏิบัติ และได้ผลประหยัดพลังงานตามเป้าหมายที่กำหนด โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                    1. กำหนดเป้าหมาย : ลดใช้พลังงานลงให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 20 (รวมไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง)
                    2. มาตรการที่ปฏิบัติได้ทันที มีแนวทางดังนี้
                              2.1 ให้หน่วยงานราชการลดการใช้ไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิงลงร้อยละ 20ตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ของการประเมินผลตัวชี้วัดการลดใช้พลังงานของหน่วยงานราชการ ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ร่วมกับ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงานดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 - 2563 โดยปรับเพิ่มเป้าหมายลดใช้พลังงานจากเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 ในช่วงครึ่งปีหลังของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                              2.2 แนวทางดำเนินการ
                                        (1) การรายงานข้อมูลการใช้พลังงาน
                                        - ให้หน่วยงานราชการรายงานข้อมูลการใช้พลังงานผ่าน
                                        www.e-report.energy.go.th ซึ่งทุกหน่วยงานได้มีบัญชีสำหรับเข้าระบบ                                                            เพื่อรายงานข้อมูลการใช้พลังงานแล้ว
                                        (2) มาตรการลดใช้พลังงานด้านไฟฟ้า
                                        - ให้หน่วยงานราชการจัดซื้ออุปกรณ์/เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่เป็นอุปกรณ์
                                        ประหยัดพลังงาน หรือมีฉลากประสิทธิภาพเบอร์ 5
                                        - กำหนดเวลาเปิด - ปิดเครื่องปรับอากาศ เช่น 8.30 - 16.30 น. และปรับอุณหภูมิ                                        ให้อยู่ที่ 25 - 26 องศาเซลเซียส และล้างเครื่องปรับอากาศเป็นประจำทุก 6 เดือน
                                        - กำหนดการใช้ลิฟต์ให้หยุดเฉพาะชั้น เช่น การหยุดเฉพาะชั้นคู่ หรืออาจจะสลับ                                        ให้มีการหยุดเฉพาะชั้นคี่และปิดลิฟต์บางตัวในช่วงเวลาที่มีการใช้งานน้อย
                                        และรณรงค์ขึ้น ? ลงชั้นเดียวไม่ใช้ลิฟต์
                                        - พิจารณาให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทำงานที่บ้าน (Work from Home)
                                        ทั้งนี้ให้เป็นไปตามความเหมาะสมของสถานการณ์
                                        (3) มาตรการลดใช้น้ำมันเชื้อเพลิง
                                        - ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารแทนการเดินทาง เช่น การประชุมออนไลน์ การจัดส่ง                                                  เอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
                                        - ให้พนักงานขับรถยนต์ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 อย่าง                                        เคร่งครัด และขับรถในอัตราความเร็วที่สม่ำเสมอ เพื่อช่วยลดการใช้น้ำมัน                                                  เชื้อเพลิง
                                        - เลือกใช้รถยนต์ให้เหมาะสมกับสภาพการเดินทาง และจำนวนผู้เดินทาง
                    3. มาตรการระยะยาว มีแนวทางดังนี้
                              3.1 ให้ ?อาคารของรัฐที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม? ก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประมาณ 800 แห่ง เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานไม่ให้เกิน ?ค่ามาตรฐานการจัดการใช้พลังงาน? ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อเป็นตัวอย่างในการจัดการอาคารของเอกชนที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม
                              3.2 ให้นำมาตรการบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้แผนปฏิรูปประเทศด้านพลังงาน มาใช้กับหน่วยงานราชการ โดยให้กระทรวงพลังงาน สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดวิธีการและแนวทางที่สามารถนำมาใช้ปฏิบัติได้จริง
                    ผลการประหยัดพลังงานที่ผ่านมา
                    การดำเนินงานที่ผ่านมาหน่วยงานราชการได้ดำเนินการรายงานข้อมูลการใช้พลังงานในระบบ www.e-report.energy.go.th ที่กำหนดให้หน่วยงานราชการลดการใช้พลังงานร้อยละ 10 ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2564 โดยใช้ปี พ.ศ. 2562 เป็นปีฐาน เพื่อเปรียบเทียบกับปี พ.ศ. 2563 และ 2564 ในด้านการใช้ไฟฟ้า ที่ประหยัดได้ 100.4 ล้านหน่วย และ 149.0 ล้านหน่วย ตามลำดับ และด้านการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลงได้ 5.7 ล้านลิตร และ 17.6 ล้านลิตร ตามลำดับ รวมผลประหยัด 2 ปี สามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้ 249.4 ล้านหน่วย และสามารถลดการใช้น้ำมันลง 23.3 ล้านลิตร
                    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                    หากหน่วยงานราชการลดการใช้พลังงานร้อยละ 20 ในครึ่งปีหลังของปีงบประมาณพ.ศ. 2565 คาดว่าจะลดการใช้พลังงานได้ดังนี้
                    1. ลดการใช้ไฟฟ้าได้ 120 ล้านหน่วย คิดเป็นเงินมูลค่า 600 ล้านบาท (ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 5 บาท) ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) 70,800 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (ไฟฟ้า 1 หน่วย = 0.590 กิโลกรัมเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์) และลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงได้ 12 ล้านลิตร คิดเป็นเงินมูลค่า 420 ล้านบาท (ค่าน้ำมันคิดเฉลี่ยหน่วยละ 35 บาท) ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 26,275 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ (เบนซิน 1 ลิตร = 2.1896 กิโลกรัม เทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์) รวมลดปริมาณการใช้พลังงานลงคิดเป็นมูลค่า 1,020 ล้านบาท ลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 97,075 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์
                    2. การกำกับดูแลอาคารของรัฐที่เข้าข่ายเป็นอาคารควบคุม คาดว่าจะสามารถลดการใช้พลังงาน คิดเป็นไฟฟ้า 174.45 ล้านหน่วย คิดเป็นมูลค่า 872.25 ล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 102,925 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์
                    3. การดำเนินงานตามมาตรการบริษัทจัดการพลังงาน (ESCO) สำหรับหน่วยงานภาครัฐคาดว่าจะสามารถลดใช้พลังงานคิดเป็นไฟฟ้า 1,058.33 ล้านหน่วย คิดเป็นมูลค่า 5,291.65 ล้านบาท ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 624,414 ตันเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์

21. เรื่อง ขอรับการสนับสนุบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ราม 61 วัน (ห้วงที่ 1-2)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน 249.59 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง ตช. (ศปม.ตช.) ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน 2564       (61 วัน) หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ

22. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะการระบาดระลอกมกราคม 2565 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ระยะเวลาดำเนินโครงการเดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน 2565)
                    2. อนุมัติรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนทั้งสิ้น 8,458,385,141 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตุลาคม-ธันวาคม 2564) และการดำเนินการโครงการในเดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน 2565)
                    3. อนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมตามโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่               9 พฤศจิกายน 2564 จากเดิมถึงเดือนธันวาคม 2564 เป็นถึงเดือนกันยายน 2565 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่             2 กุมภาพันธ์ 2564 จากเดิมถึงเดือนธันวาคม 2564 เป็นถึงเดือนกันยายน 2565
                    สาระสำคัญ
                    1. สำนักงบประมาณแจ้งว่า ได้นำเรื่องกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้วนายกรัฐมนตรีมีบัญชาเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ภายในกรอบวงเงิน 8,458,385,141 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระลอกมกราคม 2565 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยมีค่าตอบแทนเสี่ยงภัยในการปฏิบัติงาน และค่าตอบแทนบุคลากรนอกเหนือภารกิจปกติ (ให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 นอกสถานพยาบาล) (ค้างจ่าย) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตุลาคม-ธันวาคม 2564) ค่าใช้สอยและค่าวัสดุ ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และกรมอนามัย
                    2. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 เป็นต้นมา กระทรวงสาธารณสุขได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 วันที่ 5 พฤษภาคม 2564 และวันที่ 10 สิงหาคม 2564 เห็นชอบโครงการและอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส           โคโรนา 2019 ตลอดระยะเวลาดำเนินโครงการ กระทรวงสาธารณสุขได้มีการปรับแผนมาตรการด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในแต่ละช่วงเวลา โดยแต่ละโครงการมีงบประมาณเหลือจ่ายทำให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณตามที่ได้รับอนุมัติไม่เป็นไปตามแผนที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 อนุมัติให้ทุกโครงการขยายระยะเวลาดำเนินโครงการจนถึงเดือนธันวาคม 2564
                    ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข มีภารกิจที่จะต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อเนื่องมาจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเกิดประโยชน์สูงสุดกับทางราชการและประชาชน จึงได้ปรับแผนการใช้จ่ายเงินประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบประมาณเหลือจ่าย เพื่อนำมาแก้ไขปัญหา ในสถานการณ์เร่งด่วนก่อนตามข้อเสนอสำนักงบประมาณ แต่การดำเนินโครงการเกินระยะเวลาโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี จึงต้องขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการออกไปจนถึงเดือนกันยายน 2565

23. เรื่อง การขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรคราวที่ 17 ออกไปอีก  2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 และสิ้นสุดในวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ตามที่เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เสนอ
                    เรื่องเดิม เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 16) ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 และสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคม 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ในประเทศ
                    การดำเนินการที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจุบันการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินใกล้จะสิ้นสุดลง สมช. ในฐานะศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) ได้จัดการประชุมเพื่อประเมินความเหมาะสมในการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 17 มีนาคม 2565 ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล และได้เสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันศุกร์ที่ 18 มีนาคม 2565 มีมติเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไปด้วยแล้ว โดยมีเหตุผลและความจำเป็นตามสรุปสาระสำคัญของการประชุมรายละเอียด ดังนี้
                    1. กรมควบคุมโรคได้รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาด ดังนี้
                              1.1 สถานการณ์ในระดับโลก ยังคงพบสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส             โคโรนา 2019 โดยเฉพาะเชื้อกลายพันธุ์สายพันธุ์โอมิครอนในหลายประเทศ ข้อมูล ณ วันที่ 17 มีนาคม 2565 ประเทศที่พบผู้ติดเชื้อสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ เกาหลีใต้ เยอรมณี เวียดนาม ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มจำนวนขึ้น เนื่องจากหลายประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการด้านสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนกลับไปดำเนินชีวิตตามปกติมากขึ้น โดยหลายประเทศได้เน้นไปที่การมีมาตรการกระตุ้นให้ประชาชนฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรงที่เกิดจากการติดเชื้อ และรณรงค์การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อลดผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจ
                              1.2 สถานการณ์กรระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ในประเทศเพื่อนบ้าน                  แนวโน้มสถานการณ์ยังคงน่าห่วงกังวลและต้องติดตามอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเมียนมา เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในเมียนมา ปัจจุบันยังไม่มีแนวโน้มการพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ส่งผลต่อสถานการณ์การ
ลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายที่ยังคงมีอย่างต่อเนื่องอันจะเพิ่มความเสี่ยงของการนำพาโรคระบาดมากยิ่งขึ้น
                              1.3 สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ในประเทศไทย ระลอกเดือนกุมภาพันธ์ 2565-มีนาคม 2565 ปรากฏผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อกระจายทั่วประเทศ เนื่องจากรัฐบาลได้เริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการด้านสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาด เพื่อเป็นการทำให้เศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตของประชาชนกลับคืนสู่สภาวะปกติ การกลับมาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตามปกติ อาทิ การทำงาน การเดินทางไปโรงเรียน                  การพบปะสังสรรค์ และการรวมกลุ่มทางสังคมอย่างเต็มรูปแบบเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดของโรคเป็นวงกว้างมากขึ้น
                    2. สำหรับแนวโน้มสถานการณ์การแพร่ระบาดในห้วง 1-2 เดือนต่อจากนี้เป็นช่วงที่ต้องมี                การบูรณาการประสานการปฏิบัติทางด้านสาธารณสุขอย่างเต็มกำลังเพื่อรักษาขีดความสามารถทางด้านสาธารณสุข เนื่องจากในห้วงเดือนเมษายนเป็นช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ประชาชนเดินทางกลับภูมิลำเนาและเดินทางไปท่องเที่ยว
ในหลายท้องที่ อาจจะก่อให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อโรคไปในวงกว้างมากขึ้น จึงมีความจำเป็นต้องอาศัยอำนาจ            ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในการบูรณาการประสานการปฏิบัติระหว่างหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการทางด้านสาธารณสุขที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
                    3. มาตรการป้องกันโรคโควิด - 19 ในการจัดงานช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการควบคุมแบบบูรณาการเฉพาะช่วงเวลาเทศกาลสงกรานต์ตามที่กรมควบคุมโรคเสนอ โดยมีมาตรการที่สำคัญ อาทิ 1) ให้ประชาชนที่เดินทางกลับภูมิลำเนา และการเข้าร่วมงานเทศกาล กิจกรรมตามประเพณีจะต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และให้ประเมินความเสี่ยงของตนเอง หากพบว่ามีอาการหรือมีความเสี่ยง ให้หลีกเลี่ยงการเข้าร่วมงาน หรือให้พิจารณาตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ ATK ก่อนเดินทางหรือก่อนร่วมงานภายใน 72 ชั่วโมง 2) ผู้จัดงานและกิจการ กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานสงกรานต์ให้ลงทะเบียนบนระบบ และประเมินตนเองตามประเภทมาตรการ COVID Free Setting การขออนุญาตจัดงานให้เป็นไปตามเขตพื้นที่สถานการณ์ หรือตามที่คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครกำหนด และให้มีมาตรการในการควบคุมกำกับอย่างเข้มงวด              3) การกำหนดมาตรการสำหรับกิจกรรมประเพณีสงกรานต์ในพื้นที่สาธารณะโดยห้ามเล่นน้ำ ประแป้ง หรือปาร์ตี้โฟม ในพื้นที่สาธารณะที่ไม่มีการควบคุม เช่น ท้องถนน และการห้ามจำหน่ายและบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่            จัดงานประเพณีสงกรานต์ที่ได้รับอนุญาต เป็นต้น
                    4. มติของที่ประชุม ที่ประชุมมีความเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต่อไปอีกคราวหนึ่ง เพื่อประโยชน์ในการบูรณาการปฏิบัติงานและการดำเนินมาตรการที่จำเป็นในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และให้การบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคมีความต่อเนื่อง จึงเห็นสมควรให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร คราวที่ 17 เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่                  1 เมษายน 2565 จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565

ต่างประเทศ

24. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ รัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดีย (ฉบับปรับปรุง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ รัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดีย (Memorandum of Understanding between Ministry of Commerce, Royal Thai Government and Department of Industries and Commerce, Government of Telangana, Republic of India) ฉบับปรับปรุง ทั้งฉบับภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาฮินดี
                    2. อนุมัติให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
                    ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ รัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดีย ที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอครั้งนี้เป็นร่างบันทึกความเข้าใจฯ ที่ปรับปรุงมาจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 5 มกราคม 2564 ตามคำร้องขอของกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์สาธารณรัฐอินเดีย (รัฐบาลกลางของสาธารณรัฐอินเดีย) โดยยังคงมีสาระสำคัญคงเดิม คือ เป็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจเริ่มต้น (Startups) ตลอดจนการแลกเปลี่ยนด้านการค้า อุตสาหกรรม เทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญระหว่างสองประเทศ อันจะมีส่วนช่วยพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย และบรรลุเป้าหมายการขยายตัวของมูลค่าการค้าระหว่างไทยและอินเดีย โดยเฉพาะจะมีส่วนช่วยให้สินค้าไทยสามารถเชื่อมโยงเข้ากับห่วงโซ่อุปทานของอินเดียและเพิ่มโอกาสการส่งออกสินค้าไทยเข้าสู่รัฐเตลังคานา สาธารณรัฐอินเดียได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย โดยดำเนินการผ่านความร่วมมือต่าง ๆ เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน การเชื่อมโยงแพลตฟอร์มดิจิทัลของทั้งสองประเทศ การอำนวยความสะดวกในการจัดกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ เป็นต้น
                    ทั้งนี้จะมีการจัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจฯ รูปแบบออนไลน์ในช่วงต้นเดือนเมษายน 2565

25. เรื่อง ขอความเห็นชอบการรับรองร่างเอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของการประชุมอาเซียน ว่าด้วยแรงงานต่างด้าวและร่างเอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการด้านการตรวจแรงงานอาเซียน และการประชุมวิชาการว่าด้วยการตรวจแรงงานอาเซียน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสาร 2 ฉบับ ได้แก่ 1) ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของการประชุมอาเซียนว่าด้วยแรงงานต่างด้าว (Terms of reference of the ASEAN Forum on Migrant Labour: AFML) (ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของการประชุม AFML) และ 2) ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการด้านการตรวจแรงงานอาเซียนและการประชุมวิชาการว่าด้วยการตรวจแรงงานอาเซียน (Terms of reference of the ASEAN Labour Inspection Committee and ASEAN Labour Inspection Conference: ALIC) (ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ALIC และการประชุม) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ รง. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย รวมทั้ง อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนามในหนังสือถึงสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อรับรองร่างเอกสารฯ ทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างเอกสารขอบเขตอำนาจหน้าที่ของการประชุม AFML และขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ALIC และการประชุม ALIC ซึ่งได้รับการรับรองในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสแรงงานอาเซียน (Senior Labour Officials Meeting: SLOM) ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564 เป็นเอกสารซึ่งจะช่วยสนับสนุนความพยายามและความร่วมมือระดับภูมิภาคในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิแรงงานให้ดียิ่งขึ้น โดย รง. จะต้องแจ้งยืนยันการรับรองร่างเอกสารฯ ทั้ง 2 ฉบับต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนก่อนการประชุม AFML และการประชุม ALIC โดยร่างเอกสารทั้ง 2 ฉบับ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของการประชุม AFML มีวัตถุประสงค์เพื่อแบ่งปันข้อมูล แนวปฏิบัติที่ดี นวัตกรรม ข้อท้าทาย และผลลัพธ์ในการนำนโยบาย กฎหมาย และโครงการไปปฏิบัติ เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานต่างด้าว รวมทั้งเพื่อแบ่งปันประสบการณ์ ข้อท้าทาย และแนวปฏิบัติที่ดีในการนำข้อเสนอของ AFML ไปปฏิบัติ ตลอดจนเพื่อแนะนำเชิงกลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติที่ได้จากการเจรจาหารือรายสาขาของการประชุม AFML ในฐานะเป็นข้อมูลให้กับรัฐบาล องค์กรนายจ้าง ลูกจ้าง และประชาสังคม
                    2. ขอบเขตอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ALIC และการประชุม ALIC มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
                              1) คณะกรรมการ ALIC
                              - เพื่ออำนวยความสะดวกในการแบ่งปันข้อมูล แนวปฏิบัติที่ดี และนวัตกรรมในการส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสภาพการทำงานและการคุ้มครองแรงงานในประเทศสมาชิกอาเซียน
                              - เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาคและการทำงานประสานระหว่างสาขา เพื่อยกระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการตรวจแรงงานในภาคส่วนหรือระบบที่ยากต่อการเข้าถึง
                              - เพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะของการประชุม ALIC และริเริ่มการนำไปปฏิบัติในระดับภูมิภาค
                              - เพื่อให้ข้อมูลเชิงเทคนิคและคำแนะนำแก่ ACE ATUC และองค์กรเฉพาะรายสาขาอื่น ๆ
                              - เพื่อเพิ่มศักยภาพและความเป็นมืออาชีพให้กับผู้ตรวจแรงงานในอาเซียน
                              - เพื่อบริหารจัดการกรณีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นแรงงานข้ามพรมแดน
                              2) การประชุม ALIC
                              - เพื่อแบ่งปันข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ที่เป็นปัจจุบันของนโยบาย กลยุทธ์ กฎหมาย แนวปฏิบัติที่ดี และนวัตกรรม ตลอดจนข้อท้าทายและแนวทางต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรลุข้อควรปฏิบัติในที่ทำงานผ่านการตรวจแรงงาน ทั้งในด้านของสภาพการทำงานทั่วไปและด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
                              - เพื่อสร้างและคงไว้ซึ่งเครือข่ายผู้ตรวจแรงงานในอาเซียน เพื่อยกระดับศักยภาพและความเป็นมืออาชีพด้านการตรวจแรงงานภายในประเทศสมาชิกอาเซียน
                              - เพื่อส่งเสริมความเป็นมืออาชีพของประเทศสมาชิกอาเซียนในทุกมิติของการตรวจแรงงาน
                              - เพื่อส่งเสริมการดำเนินการตามกฎหมายและข้อบังคับด้านแรงงาน

26. เรื่อง  ผลการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 8 (ASEM Education Ministers? Meeting: ASEMME8) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) พ.ศ. 2573 ซึ่ง ศธ. เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2564 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (21 กันยายน 2564) เห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาภายใต้กรอบความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป (อาเซม) พ.ศ. 2573] โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยและประธานการประชุมภายใต้แนวคิดหลัก ?การศึกษาอาเซม พ.ศ. 2573 : สู่อนาคตที่ยืดหยุ่น มั่งคั่ง และยั่งยืนมากขึ้น? มีผู้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาจากประเทศสมาชิกเอเชียและยุโรป ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ และเครือข่ายด้านการศึกษาของอาเซม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การกล่าวถ้อยแถลงของรัฐมนตรีด้านการศึกษาประเทศสมาชิกเอเชียและยุโรปเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการในอนาคตที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ด้านการศึกษาอาเชม และมีการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาและเครือข่ายด้านการศึกษาของอาเซม โดยมีการแถลงคำมั่นและสนับสนุนการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของอาเซม พ.ศ. 2573 ซึ่งที่ประชุมเน้นย้ำถึงความร่วมมืออย่างแข็งขันระหว่างประเทศสมาชิกเอเชียและยุโรป ท่ามกลางสถานการณ์ในโลกปัจจุบันที่ต้องคำนึงถึงทักษะความรู้รอบด้าน              ทั้งเทคโนโลยีดิจิทัล การเรียนรู้ตลอดชีวิต และการพัฒนาที่ยั่งยืน
          2. สำนักเลขาธิการด้านการศึกษาของอาเซม และผู้แทนเครือข่ายด้านการศึกษาของอาเซมได้นำเสนอและรายงานสรุปโครงการและข้อริเริ่มด้านการศึกษาอาเซมที่ได้ดำเนินการ เช่น การส่งเสริมการศึกษาที่ครอบคลุมและความเสมอภาค ความคืบหน้าในงานวิจัยเกี่ยวกับการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และผลการศึกษาของการวิเคราะห์ทั่วประเทศเกี่ยวกับคลังข้อมูลของกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ
                    3. ที่ประชุมได้รับรอง (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้านการศึกษาของอาเซม พ.ศ. 2573 ซึ่งเป็นเอกสารหลักของการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการศึกษาของอาเซม พ.ศ. 2573 เพื่อเสริมสร้างและเตรียมความพร้อมภาคการศึกษาให้สามารถรับมือกับความท้าทายในระดับโลกในปัจจุบันและอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์สำหรับการดำเนินความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกในทศวรรษหน้า คือ 1) เสริมสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเอเชีย-ยุโรป ด้วยการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายและการแลกเปลี่ยนที่สมดุลและครอบคลุม 2) ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตรวมถึงการอาชีวศึกษาและการฝึกอบรม 3) สนับสนุนการพัฒนาทักษะและสมรรถนะ และ 4) สร้างความโปร่งใสและความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับการให้การรับรอง การตรวจสอบ และการประกันคุณภาพ ทั้งนี้ ได้มีการปรับถ้อยคำของเอกสารโดยไม่กระทบกับสาระสำคัญตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (21 กันยายน 2564) เห็นชอบในหลักการไว้
                    4. การเชิญชวนประเทศสมาชิกพิจารณาสมัครเพื่อทำหน้าที่สำนักเลขาธิการด้านการศึกษาในวาระต่อไป (ระหว่างเดือนมกราคม 2565-ธันวาคม 2568) ต่อจากราชอาณาจักรเบลเยียมซึ่งหมดวาระในการทำหน้าที่ดังกล่าวในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 รวมทั้งพิจารณารับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมด้านการศึกษาของอาเซมในระดับต่าง ๆ เช่น การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซมอย่างไม่เป็นทางการในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2565 การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซม ครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 และการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการศึกษาของอาเซม ครั้งที่ 2 พร้อมทั้งการประชุมรัฐมนตรีศึกษาเอเชีย -ยุโรป ครั้งที่ 9 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม 2566

27. เรื่อง ผลการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย ครั้งที่ 2
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอผลการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจยูเรเซีย (Eurasian Economic Commission :EEC) ครั้งที่ 2 และมอบหมายหน่วยงานต่าง ๆ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานร่วมระหว่างไทยกับ EEC ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 โดยมีรองนายกรัฐมมตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานร่วม ซึ่งเป็นการหารือผ่านกลไกกรอบคณะทำงานร่วมระหว่างกันในระดับรัฐมนตรีภายใต้กรอบบันทึกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ EEC สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. การแลกเปลี่ยนสถานการณ์ด้านเศรษฐกิจและแนวโน้มการดำเนินนโยบายเพื่อรองรับผลกระทบภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยเห็นพ้องการสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันในการแก้ไขผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
                    2. การแลกเปลี่ยนความสัมพันธ์ด้านการค้าและความร่วมมือด้านการลงทุน ได้แก่ แลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนโยบาย กฎระเบียบด้านการค้าและการลงทุน และการขยายโอกาสทางเศรษฐกิจโดยสนับสนุนกิจกรรมด้านการค้าและส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน
                    3. การแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่ออำนวยความสะดวกและขจัดอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษี ได้แก่ การติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงานที่ต่อเนื่องจากการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 1 ดังนี้
                              1) มาตรการเยียวยาทางการค้า ไทยมีการผลักดันให้ EEC ยอมรับการใช้เอกสารการแจ้งการไต่สวนเป็นภาษาอังกฤษและขอให้สองฝ่ายแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการไต่สวนระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการแลกเปลี่ยนรายชื่อหน่วยงานรับผิดชอบหลักและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการหารือในระดับผู้เชี่ยวชาญ
                              2) กฎระเบียบด้านศุลกากร มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบและขั้นตอนทางศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้า และสถานะการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายด้านศุลกากรภายในประเทศเพื่อรองรับการเติบโตของการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                              3) กฎระเบียบทางเทคนิคและมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช EEC แจ้งยืนยันการบังคับใช้มาตรการฯ ที่สอดคล้องและเป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศ
                    4. การหารือความเป็นไปได้ในการสร้างความร่วมมือระหว่างกันในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการขยายการค้า การลงทุน การดำเนินความสัมพันธ์ และการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยหารือแนวทางความร่วมมือด้านวิชาการ การพัฒนาบุคลากร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลนโยบาย แนวปฏิบัติ และกฎระเบียบ ดังนี้
                              1) ความร่วมมือด้านดิจิทัล มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านนโยบายและกฎหมายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านดิจิทัล
                              2) ความร่วมมือด้านการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร มีการหารือถึงแนวทางการผลักดันและส่งเสริมความร่วมมือด้านเกษตรอัจฉริยะและโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model) ในภาคการเกษตร นอกจากนี้ ไทยเสนอให้มีความร่วมมือด้านการพัฒนามนุษย์ผ่านการฝึกอบรม การประชุมเชิงวิชาการด้านเกษตรชีวภาพ การทำการเกษตรแม่นยำสูง และการทำเกษตรแบบอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และประหยัดทรัพยากร รวมทั้งเสนอให้สองฝ่ายจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขายและการพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราร่วมกัน
                    5. การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) ของสองฝ่าย EEC แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการและขั้นตอนการพิจารณาจัดทำ FTA ก้บประเทศหรือกลุ่มประเทศที่สาม โดยไทยยืนยันเจตจำนงในการเริ่มต้นกระบวนการจัดทำความตกลง FTA ระหว่างไทยกับสหภาพเศรษฐกิจยูเรเชียและการเสนอให้สองฝ่ายมุ่งเน้นการดำเนินงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดมากขึ้นเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายดังกล่าว


แต่งตั้ง

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายพีระ อารีรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) ระดับสูง] สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ แทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

30. เรื่อง ขอความเห็นชอบการต่อสัญญาจ้างผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการต่อสัญญาจ้าง นายภคพงศ์                         ศิริกันทรมาศ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเดือนละ 480,000 บาท (ตามมติคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 12/2564 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 และครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565) รวมทั้งค่าตอบแทนพิเศษประจำปีและสิทธิประโยชน์อื่นที่ผู้รับจ้างจะได้รับตามที่กระทรวงการคลังให้ความเห็นชอบแล้ว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้าง แต่ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ

31. เรื่อง การปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้งกรรมการปฏิรูป และกรรมการปฏิรูปและเลขานุการในคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แทนผู้ที่ลาออก จำนวน 2 คน ดังนี้
                     1. รองศาสตราจารย์กัมปนาท ภักดีกุล                     เป็นกรรมการ
                    2. นางสาววรรณภา คล้ายสวน                               เป็นกรรมการและเลขานุการ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นางลลิตา                         สิริพัชรนันท์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ