สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 29 มีนาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday March 29, 2022 17:58 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (29 มีนาคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการ                                        ที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ                                        ให้แก่กิจการของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน)
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษ

หมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. ?.

                    3.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี                                         พ.ศ. .... [แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี
                                        พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ 2)                                                   พ.ศ. 2558]
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่ตาว และตำบลแม่กุ                                         อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ?.
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติ                                        แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542                                         พ.ศ. ?.

เศรษฐกิจ ? สังคม
                    6.           เรื่อง           ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง
                    7.           เรื่อง           การปรับปรุงวัตถุประสงค์ในการใช้เงินกู้สำหรับการกู้เงินภายใต้ Euro                                                             Commercial Paper (ECP) Programme
                    8.           เรื่อง           โครงการบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and                                                   Cloud Services : GDCC)
                    9.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)

ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2564

                    10.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่าย                                        ภาครัฐ ครั้งที่ 1/2565
                    11.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกุมภาพันธ์                                         2565
                    12.           เรื่อง           ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2565                                         (ครบ 2 ปี 6 เดือน) และการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life)                                         พ.ศ. 2565
                    13.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564
                    14.           เรื่อง           ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ                                        เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพ                                        การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง

ปี 2565

                    15.           เรื่อง           การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่าน                                        ทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี ? สุขสวัสดิ์)                                         ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565
                    16.           เรื่อง           ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง                                                   รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                    17.           เรื่อง           มาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคา                                                  พลังงานอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป

ต่างประเทศ

                    18.            เรื่อง           การบริจาคเงินในการเพิ่มทุนของสมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ ครั้งที่ 20
                    19.            เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ร่างถ้อย                                        แถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6 และร่างถ้อยแถลงร่วม                                                  ของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ? ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3
                    20.            เรื่อง           การนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ? อุทยาน                                        แห่งชาติน้ำหนาวให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน
                    21.            เรื่อง           การขอขยายระยะเวลาการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลตามพันธกรณีของ                                                  อนุสัญญาออตตาวา  ครั้งที่ 3
                    22.            เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรี                                                  ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 27

แต่งตั้ง

                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ
                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    26.           เรื่อง           แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพลังงาน)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและ                                        สร้างสรรค์
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติเพิ่มเติม
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396















กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (การยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะให้แก่กิจการของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ              พัฒนาระบบสถาบันการเงิน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย           การกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และ              ให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจัดตั้งขึ้นตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 พ.ศ. 2528 มีฐานะเป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์               เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยมีหน้าที่ดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ดำเนินการเกี่ยวกับการชำระคืนต้นเงินกู้และการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่ กค. กู้เพื่อช่วยเหลือการจัดการและฟื้นฟูสถาบันการเงินที่ประสบปัญหาวิกฤติทางการเงินเมื่อปี 2540 และบริหารสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นจากการให้ความช่วยเหลือสถาบันการเงินในอดีต เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ตามพันธกิจที่รัฐบาลมอบหมาย
                     2. กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะประเภท            การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2536 และเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากดอกเบี้ยรับ แต่โดยที่การบริหารสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีรายรับจากการ             ให้กู้ยืมเงิน การลงทุนในพันธบัตร และการฝากเงิน ถือเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (5) แห่งประมวลรัษฎากรในอัตราร้อยละ 3 ตามมาตรา 91/6               แห่งประมวลรัษฎากร (รวมภาษีท้องถิ่นเป็นร้อยละ 3.3)
                    3. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า ภารกิจหลักของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในปัจจุบัน คือ การบริหารสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อนำเงินไปชำระคืนต้นเงินกู้และชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่ กค. กู้เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 จึงเห็นควรเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วย             การกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. โดยแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการกำหนดกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ (ฉบับที่ 240) พ.ศ. 2534 เพื่อกำหนดให้กิจการของกองทุนฯ เป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของกองทุนฯ  ในการชำระหนี้สาธารณะและลดภาระผูกพันของรัฐบาลให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
                     4. กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่ามาตรการทางภาษีดังกล่าวจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ประมาณปีละ 2.7 ล้านบาท แต่มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้
                               4.1 ช่วยให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีต้นทุนการดำเนินงานลดลงและมีประสิทธิผลในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น
                               4.2 ช่วยสนับสนุนการชำระหนี้สาธารณะและลดภาระผูกพันของรัฐบาล
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดให้กิจการของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นกิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                     1. เริ่มมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9            ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยอาศัยอำนาจตามกฎกระทรวงฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาโดยลำดับ ซึ่งปัจจุบันกฎกระทรวงที่ใช้บังคับในกรณีดังกล่าว ได้แก่
                               1.1 กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7              สายกรุงเทพมหานคร ? บ้านฉาง พ.ศ. 2564
                               1.2 กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9             สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง ? บางแค ช่วงพระประแดง ?            ต่างระดับบางขุนเทียน พ.ศ. 2555
                               1.3 กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9              สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน ? บางพลี พ.ศ. 2558
                     2. ที่ผ่านมาในช่วงเทศกาลปีใหม่ เทศกาลสงกรานต์ของแต่ละปี หรือช่วงภัยพิบัติจากอุทกภัยกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่มีผลกระทบกับการจราจรของประชาชนบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 อย่างมีนัยสำคัญ จึงได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้มี             การยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 เพื่อความสะดวกในการเดินทางและการจราจร อีกทั้งยังเป็นการแบ่งเบาภาระของประชาชนด้วย
                     3. เนื่องจากวันหยุดราชการประจำปีกำหนดให้วันที่ 13 ? 15 เมษายน 2565 เป็นวันหยุดสงกรานต์     ทำให้มีวันหยุดต่อเนื่องในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของปี พ.ศ. 2565 ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2565 รวม 5 วัน ซึ่งคาดหมายได้ว่าจะมีประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นผลให้การจราจรติดขัดในทุกสายทางที่ออกและเข้ากรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยเฉพาะบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางที่จะมีปัญหาการจราจรติดขัดหลายกิโลเมตร เนื่องจากประชาชนรอชำระค่าธรรมเนียมผ่านทาง
                    4. เพื่อเป็นการช่วยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้การจราจร            มีความคล่องตัว ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน รวมทั้งเป็นการลดการใช้พลังงานของประเทศ และลดมลพิษทางอากาศ สมควรยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน - บางพลี ตอนพระประแดง ? บางแค ช่วงพระประแดง ? ต่างระดับบางขุนเทียน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของ ปี พ.ศ. 2565 ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันอังคารที่ 12 เมษายน 2565 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันจันทร์ที่ 18 เมษายน 2565
                     5. คค. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565 ซึ่งจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 147,236,209 บาท โดยคาดการณ์จากปริมาณจราจรช่วงการดำเนินมาตรการดังกล่าวประมาณ 4,190,425 คัน อย่างไรก็ตาม การยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ โดยสามารถประเมินเป็นมูลค่าเงินได้ประมาณ 205,865,501 บาท ซึ่งประเมินจากมูลค่าการประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถและมูลค่าจากการประหยัดเวลาในการเดินทาง นอกจากนี้ ยังมีผลประโยชน์ที่ไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าเงินได้รวมอยู่ด้วย เช่น ความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทาง เป็นปัจจัยสนับสนุนต่อการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยว ตลอดจนการลดมลพิษทางอากาศอันเนื่องจากการจราจรติดขัดบริเวณหน้าด่านเก็บเงินค่าธรรมเนียมผ่านทาง เป็นต้น
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร ?              บ้านฉาง ตอนกรุงเทพมหานคร ? เมืองพัทยา รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางวัว) ทางแยกเข้าชลบุรี ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ทางแยกเข้าพัทยา และตอนบ้านหนองปรือ ? บ้านฉาง รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง - บางแค ช่วงพระประแดง ? ต่างระดับบางขุนเทียน และตอนบางปะอิน - บางพลี ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2565 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2565

3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... [แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558]
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรมไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่ากรมโยธาธิการและผังเมืองได้รายงานสภาพปัญหาจากการมีการประกาศใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ว่า สภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป และเพื่อประโยชน์สาธารณะในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งได้กำหนด ?อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ? เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายหลัก โดยมี ?ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2561 - 2579? สนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อผลิตใช้ในราชการและเพื่อการพาณิชย์ เป็นนโยบายสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการส่งเสริมการดำเนินกิจการโรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งพื้นที่จังหวัดสระบุรีเป็นพื้นที่เป้าหมายหนึ่งของการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อผลิตใช้ในราชการและเพื่อการพาณิชย์ในอนาคต อันเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล จึงขอให้มีการแก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 เฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ
                    ต่อมาได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่               25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ทั้งฉบับ และได้แก้ไขรูปแบบการประกาศใช้บังคับกฎหมายในส่วนของผังเมืองรวมที่กรมโยธาธิการและผังเมืองเป็นผู้วางและจัดทำผังขึ้นใหม่ โดยให้ดำเนินการประกาศใช้บังคับเป็นประกาศกระทรวงมหาดไทย (เดิมประกาศใช้บังคับเป็นกฎกระทรวง) ประกอบกับมาตรา 111 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมืองฯ บัญญัติให้การแก้ไขหรือยกเลิกกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเฉพาะบริเวณหรือเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใด ให้กระทำได้โดยประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น และในการประชุมคณะกรรมการผังเมือง ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 และนำไปปิดประกาศเพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียแสดงข้อคิดเห็นระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 14 มิถุนายน 2564 เมื่อครบกำหนดปิดประกาศปรากฏว่าไม่มีผู้มีส่วนได้เสียยื่นข้อคิดเห็น และได้นำเสนอการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวต่อคณะกรรมการผังเมืองในการประชุม เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2564 โดยให้กรมโยธาธิการและผังเมืองจัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เพื่อเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณา
                    มท. โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองจึงได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับ              ผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2554 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558) ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในมาตรา 32               วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 ซึ่งบัญญัติว่า ?เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 29 แล้ว                 ไม่มีผู้มีส่วนได้เสียผู้ใดยื่นคำร้องตามมาตรา 30 หรือมีแต่คณะกรรมการผังเมืองสั่งยกคำร้องดังกล่าวหรือ            เมื่อกรมโยธาธิการและผังเมืองไม่มีความเห็นเป็นอย่างอื่น ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองหรือเจ้าพนักงานท้องถิ่น แล้วแต่กรณี ดำเนินการเพื่อออกประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น แล้วแต่กรณี โดยไม่ชักช้า             ในการนี้ ให้กรมโยธาธิการและผังเมืองนำประกาศกระทรวงมหาดไทยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีโดยตรงเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อน? ทั้งนี้ ในกระบวนการวางและจัดทำผังเมืองรวมก่อนที่จะได้จัดทำเป็นร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผังเมือง ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงบประมาณ (สงป.) ฯลฯ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านโครงสร้างพื้นฐานและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกระกาศ
                    1. แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)               สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น นอกจากเกษตรกรรม การอยู่อาศัย พาณิชยกรรม สถาบันการศึกษา สถาบันศาสนา สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ ให้สามารถดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูง (เดิมกำหนดให้ดำเนินหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 16 เมตร) เนื่องจากโรงงานที่เป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) จะมีโรงงานลำดับที่ 77 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับรถยนต์หรือรถพ่วง และลำดับที่ 95 โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับยานที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ รถพ่วง จักรยานสามล้อ จักรยานสองล้อ จะต้องดำเนินการในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน              16 เมตร เท่านั้น ประกอบกับเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งจะมีการใช้เครื่องจักรที่มีลักษณะพิเศษ จึงควรกำหนดให้ประกอบกิจการในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูง เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในพื้นที่ในการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัด (อ้างอิงตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 กำหนดนิยามคำว่า ?อาคารสูง?หมายความว่า อาคารที่บุคคลอาจเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้ที่มีความสูงตั้งแต่ยี่สิบสามเมตรขึ้นไป)
                    2. แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงานริมทางหลวงแผ่นดิน และริมทางรถไฟ โดยกำหนดให้การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงานริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1             (ถนนพหลโยธิน) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 362 และริมทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือให้อาคารที่ประกอบกิจการโรงงานมีระยะห่างตามแนวขนานริมเขตทางไม่น้อยกว่า 30 เมตร                   (เดิมการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงานริมทางหลวงแผ่นดินและริมทางรถไฟดังกล่าว ให้มีระยะห่าง              ตามแนวขนานริมเขตทางไม่น้อยกว่า 100 เมตร) เพื่อให้มาตรฐานความปลอดภัยริมถนนเป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน
                    3. แก้ไขบัญชีท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2554 โดยกำหนดให้โรงงานลำดับที่ 77 (1) โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับรถยนต์หรือรถพ่วงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อการสร้าง ประกอบ ดัดแปลง หรือเปลี่ยนแปลงสภาพรถยนต์ หรือรถพ่วง โดยที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม              (สีเขียว) ให้สามารถประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 ได้ (โรงงานขนาดใหญ่ที่จะต้องได้รับใบอนุญาตก่อน)             [เดิมได้เฉพาะโรงงานจำพวกที่ 1 (โรงงานขนาดเล็ก) และจำพวกที่ 2 (โรงงานขนาดกลางที่ต้องแจ้งให้ทราบก่อนประกอบกิจการ] และที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้าและเกษตรกรรม (สีม่วงมีเส้นทแยงสีเขียว) ให้สามารถประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และจำพวกที่ 3 ได้ (เดิมไม่มีการอนุญาตให้ประกอบกิจการ) ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริม  การดำเนินกิจการโรงงานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่ตาว และตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้พื้นที่ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่ตาว และตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ?. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้พื้นที่ตำบลพระธาตุผาแดง ตำบลแม่ตาว และตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก เป็นพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม โดยจำแนกพื้นที่เป็น 3 บริเวณ ตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวง ดังนี้
                               1.1 บริเวณที่ 1 ได้แก่ พื้นที่ศักยภาพแร่ตะกั่ว-สังกะสี ซึ่งเป็นพื้นที่ห้ามทำเหมืองแร่ เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดสารแคดเมียม
                               1.2 บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่กระจายตัวของสารแคดเมียม
                               1.3 บริเวณที่ 3 ได้แก่ พื้นที่นอกบริเวณที่ 1 และบริเวณที่ 2
                    2. กำหนดให้พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมห้ามกระทำการหรือประกอบกิจการ อาทิ การทำเหมืองหรือ    การแต่งแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ การขุดลอกทางน้ำธรรมชาติ การปล่อยมลพิษลงสู่แหล่งน้ำ การขุด ตัก และ            เจาะดิน เป็นต้น
                    3. กำหนดให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติจังหวัดตากทำหน้าที่ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ ประสานงาน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และประสานจังหวัดตาก ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และภาคประชาชน ที่อยู่ในพื้นที่ จัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนำไปบรรจุในแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด หรือแผนงานและงบประมาณของหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต่อไป
                     4. กำหนดให้การกระทำ กิจกรรม หรือกิจการใดที่ต้องห้ามตามกฎกระทรวงนี้ ถ้าได้รับอนุญาตอยู่            ก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้จนกว่าจะสิ้นกำหนดระยะเวลาที่ได้รับอนุญาตหรือจนกว่าจะมีคำสั่งไม่อนุญาตหรือไม่ต่ออายุใบอนุญาต โดยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 พ.ศ. ?.                     ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ และมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเร่งผลิตแพทย์นิติเวชศาสตร์ให้เพียงพอแก่การดำเนินการชันสูตรพลิกศพ ตามมาตรา 150 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเร่งจัดให้มีการอบรมทาง            นิติเวชศาสตร์ให้แก่เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้สามารถออกชันสูตรพลิกศพแทนแพทย์ ตามมาตรา 148 (3) (4) และ (5) ได้ต่อไป และรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่ ยธ. เสนอ เป็นการขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา 7                       แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 ออกไปอีก 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2570 ซึ่งการขยายระยะเวลาดังกล่าวได้เคยขยายระยะเวลามาแล้ว 3 ครั้ง ได้แก่ ช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2548 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ที่ต้องทำการชันสูตรพลิกศพในปัจจุบันมีจำนวนไม่เพียงพอต่อการออกไปชันสูตรพลิกศพ ณ ที่เกิดเหตุได้ เพื่อให้แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือได้รับหนังสืออนุมัติจากแพทยสภาตามมาตรา 150 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สามารถมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ที่ผ่านการอบรมทางนิติเวชศาสตร์ไปร่วมตรวจชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุในเบื้องต้นแทนแพทย์ ในกรณีที่ต้องชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 148 (3) ถูกสัตว์ทำร้ายตาย (4) ตายโดยอุบัติเหตุ และ (5) ตายโดยยังมิปรากฏเหตุแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ต่อไป ซึ่งจะทำให้กระบวนการชันสูตรพลิกศพเป็นไปด้วยความรวดเร็วและอำนวยความยุติธรรมอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดให้ขยายระยะเวลาการใช้บังคับมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2542 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2570 เพื่อให้แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์ซึ่งได้รับวุฒิบัตรหรือได้รับหนังสืออนุมัติจากแพทยสภาตามมาตรา 150 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา สามารถมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่ผ่านการอบรมทางนิติเวชศาสตร์ไปร่วมตรวจชันสูตรพลิกศพในที่เกิดเหตุในเบื้องต้นแทนแพทย์ ในกรณีที่ต้องชันสูตรพลิกศพตามมาตรา 148 (3) (4) และ (5) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้ต่อไป


เศรษฐกิจ ? สังคม
6. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา จังหวัดลำปาง (โครงการกิ่วคอหมาฯ) ดังนี้

จากเดิม [มติคณะรัฐมนตรี (7 เมษายน 2563)]          เป็น
17 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 - 2564)          19 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 - 2566)
                    ภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม 3,670.50 ล้านบาท
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า
                    1. กรมชลประทานได้เริ่มดำเนินโครงการกิ่วคอหมาฯ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 โดยมีผลการดำเนินงานจนถึงปัจจุบัน ดังนี้
                              1.1 งานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ได้แก่
                                        1.1.1 เขื่อนหัวงานและอาคารประกอบ กรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2551 ซึ่งปัจจุบันสามารถเก็บกักน้ำได้ 170 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษากิ่วลม ? กิ่วคอหมา สำนักงานชลประทานที่ 2 กรมชลประทาน เป็นผู้รับผิดชอบการบริหารจัดการน้ำ
                                        1.1.2 ระบบชลประทานกิ่วลม 3 ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ          ปี พ.ศ. 2554 และปี พ.ศ. 2555 ตามลำดับ สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานรวม 23,000 ไร่
                                        1.1.3 ระบบชลประทานแจ้ห่ม ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ            ปี พ.ศ. 2555 และปี พ.ศ. 2558 ตามลำดับ สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานรวม 20,000 ไร่
                              1.2 งานที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 1 รายการ ได้แก่ งานจ้างก่อสร้างระบบชลประทานกิ่วลม 3 ระยะที่ 3 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                                        1.2.1 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2555 อนุมัติการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการระบบชลประทานกิ่วลม 3 ระยะที่ 3 โครงการกิ่วคอหมาฯ วงเงินก่อหนี้ผูกพันทั้งสิ้น 300.70 ล้านบาท (รวมเงินสำรองจ่ายเผื่อเหลือเผื่อขาด 14.30 ล้านบาท) โดยให้ผูกพันงบประมาณตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 - พ.ศ. 2558
                                        1.2.2 กรมชลประทานได้ว่าจ้างผู้รับจ้างก่อสร้างระบบชลประทานกิ่วลม 3 ระยะที่ 3 โครงการกิ่วคอหมาฯ ตามสัญญาเลขที่ กจ.21/2555 ลงวันที่ 24 กันยายน 2555 วงเงินสัญญา 197.64 ล้านบาท อายุสัญญา 900 วัน เริ่มสัญญาวันที่ 18 ตุลาคม 2555 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 5 เมษายน 2558 ต่อมากรมชลประทานได้อนุมัติให้มีการขยายอายุสัญญาตามมติคณะรัฐนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2556 (เรื่อง การพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้างที่ได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนแรงงานอันเนื่องมาจากการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท) เป็นเวลา 150 วัน อนุมัติลดค่าปรับ เป็นเวลา 370 วัน และต่อมาแก้ไขสัญญาเพิ่มเติมพร้อมอนุมัติ            งดค่าปรับ 1,117 วัน สิ้นสุดสัญญาวันที่ 21 ธันวาคม 2563 ปัจจุบันมีผลงานสะสม ร้อยละ 42.36
                                        1.2.3 ปัญหาและอุปสรรค
                                                  1) เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของราษฎรเปลี่ยนแปลงไป ทำให้แบบก่อสร้างที่ออกแบบไว้เดิมไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้ กรมชลประทานจึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขแบบก่อสร้างให้มีความสอดคล้องกับภูมิประเทศและมีความเหมาะสมกับทางด้านวิศวกรรม เพื่อให้การใช้งานเป็นไปตามวัตถุประสงค์โครงการและมีผลกระทบต่อราษฎรในพื้นที่น้อยที่สุด ซึ่งปัจจุบันกรมชลประทานได้ดำเนินการแก้ไขแบบก่อสร้างและแก้ไขสัญญาเรียบร้อยแล้ว
                                                  2) จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019            ทำให้รัฐบาลมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร เพื่อจำกัดการเคลื่อนย้าย การเดินทางของบุคคล และสกัดกั้นการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด ส่งผลให้ผู้รับจ้างประสบปัญหาขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร - เครื่องมือไม่เพียงพอ และไม่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสถานที่ก่อสร้างได้ ส่งผลให้ผู้รับจ้างไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ประกอบกับปัจจุบันกรมชลประทานอยู่ระหว่าง            การพิจารณามาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  [ตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด              ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 693 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2564]
                    2. จากข้อเท็จจริงและสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น ทำให้ กษ. โดยกรมชลประทานดำเนินการก่อสร้างระบบชลประทานกิ่วลม 3 ระยะที่ 3 โครงการกิ่วคอหมาฯ ล่าช้ากว่าแผนงานที่วางไว้ จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกิ่วคอหมา ฯ โดยใช้งบประมาณภายใต้กรอบวงเงินโครงการที่ได้รับอนุมัติไว้เดิม 3,670.50 ล้านบาท เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    3. แผนปฏิบัติการ
                              3.1 ช่วงระยะเวลา 1 - 3 เดือน เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการแล้ว กรมชลประทานจะดำเนินการเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จและดำเนินการตามเงื่อนไขสัญญาต่อไป
                              3.2 ช่วงระยะเวลา 4 - 12 เดือน จะดำเนินการจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำและจัดทำแผนการจัดสรรน้ำและบำรุงรักษา เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานตามแผนงานที่วางไว้
                    4. เนื่องจากสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มีความเห็นโดยเห็นควรให้ชี้แจงเพิ่มเติมในส่วนของแผนการดำเนินโครงการซึ่งกรมชลประทานมีแผนที่จะต้องดำเนินการจ่ายค่าชดเชยค่าที่ดิน และได้วางแผนการใช้จ่ายงบประมาณสิ้นสุดในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 แต่ไม่ได้รายงานผลการดำเนินงานในส่วนดังกล่าวมาด้วย ซึ่ง กษ. ได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า โครงการกิ่วคอหมาฯ มีที่ดินที่ต้องดำเนินการจัดหา จำนวน 5,105 แปลง           คิดเป็นเนื้อที่ 2,443 - 0 - 96 ไร่ ปัจจุบันจ่ายค่าชดเชยแล้ว 792.87 ล้านบาท (5,090 แปลง คิดเป็นเนื้อที่ 2,441 - 0 - 96 ไร่) และในส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการตรวจสอบทรัพย์สิน เนื่องจากบางส่วนมีการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ใหม่ และเปลี่ยนแปลงการถือครองกรรมสิทธิ์ไปจากเดิม โดยมีแผนการดำเนินการให้แล้วเสร็จปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

7. เรื่อง การปรับปรุงวัตถุประสงค์ในการใช้เงินกู้สำหรับการกู้เงินภายใต้ Euro Commercial Paper (ECP) Programme
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอการปรับปรุงวัตถุประสงค์ในการใช้เงินกู้สำหรับการกู้เงินภายใต้ Euro Commercial Paper (ECP) Programme วงเงิน 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อให้สามารถรองรับการกู้เงินภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และกฎหมายอื่นที่ให้อำนาจ กค. กู้เงินตราต่างประเทศได้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า เนื่องจากการระบาดอย่างรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019นับตั้งแต่ปี 2563 ต่อเนื่องถึงปี 2564 ได้ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้รัฐบาลมีความจำเป็นต้องออกกฎหมายกู้เงินอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม โดยการออกพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม              ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 ต่อเนื่องถึงพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ซึ่งในมาตรา 3 ของพระราชกำหนดทั้ง 2 ฉบับ ได้กำหนดให้ กค. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้เงินบาทหรือเงินตราต่างประเทศในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยแต่โดยที่วัตถุประสงค์ในการใช้เงินกู้สำหรับการกู้เงินภายใต้ ECP Programme ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562 เป็นไปตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมและรองรับการกู้เงินกรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดให้ กค. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีสามารถกู้เงินตราต่างประเทศได้ ดังนั้น เพื่อให้การกู้เงินภายใต้ ECP Programme สามารถรองรับการกู้เงินภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และกฎหมายอื่นที่ให้อำนาจ กค. กู้เงินตราต่างประเทศได้ กค. จึงเห็นสมควรปรับปรุงวัตถุประสงค์             ในการใช้เงินกู้สำหรับการกู้เงินภายใต้ ECP Programme ดังนี้
                    1. เพื่อใช้เป็นเงินกู้ระยะสั้นสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ (Refinance) (คงเดิม)
                              1.1 เพื่อใช้เป็นเงินกู้ระยะสั้นสำหรับการทำ Refinance เงินกู้ต่างประเทศของภาครัฐบาล โดยกำหนดจะนำมาใช้เป็นการชั่วคราวก่อนที่จะพิจารณากู้เงินระยะยาวตามความเหมาะสมของภาวะตลาดต่อไป
                              1.2 เพื่อใช้ในการ Refinance เงินกู้ที่มีระยะเงินกู้คงเหลือไม่เกิน 3 ปี หรือมีอายุเฉลี่ย            ไม่เกิน 1.75 ปี และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขยายระยะเงินกู้ดังกล่าวออกไป
                    2. เพื่อใช้เป็นวงเงินสำหรับแผนงานหรือโครงการที่มีความจำเป็นต้องใช้เงินในโอกาสแรก แต่อยู่ระหว่างการพิจารณาจัดหาแหล่งเงินกู้ระยะยาว หรือเป็นการใช้เงินในลักษณะ Bridge Financing ก่อนการจัดหาเงินกู้ระยะยาวมาใช้ทดแทน (ปรับวัตถุประสงค์โดยเพิ่มวัตถุประสงค์ใหม่ 1 ข้อ) ในกรณีดังนี้
                              2.1 แผนงานหรือโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมตามที่ได้รับบรรจุในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (คงเดิม)
                              2.2 แผนงานหรือโครงการภายใต้กฎหมายอื่นใดที่ให้อำนาจ กค. สามารถกู้เงินเป็น               สกุลเงินตราต่างประเทศได้ นอกเหนือจากการกู้เงินภายใต้พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548             และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ปรับเพิ่ม)
                    3. เพื่อใช้เป็นวงเงินสำหรับเสริมสร้างความมั่นคงทางการเงินของประเทศ (คงเดิม)
                    ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้ ECP Programme ตามข้อ 1 และข้อ 2 มาใช้ในโครงการของรัฐวิสาหกิจ ให้รัฐวิสาหกิจนั้น ๆ กู้เงินดังกล่าวต่อจาก กค. ตามนัยเงื่อนไขที่ กค. ได้ผูกพัน

8. เรื่อง โครงการบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Services : GDCC)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอดังนี้
                    1. รับทราบผลการดำเนินงานการให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ1 (Government Data Center and Cloud Services : GDCC)
                    2. เห็นชอบให้ ดศ. จัดให้มีคลาวด์กลางภาครัฐและให้บริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) (NT) เป็นผู้ดำเนินคลาวด์กลางภาครัฐ อันเนื่องมาจากการควบรวมกิจการและได้รับไปทั้งทรัพย์สิน หนี้ สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (บมจ. กสท โทรคมนาคม) ทั้งหมด             ตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
                    3. เห็นชอบกรอบงบประมาณรายจ่ายผูกพันต่อเนื่อง 3 ปี (พ.ศ. 2566 - 2568) โครงการบริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (โครงการฯ) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 6,216.42 ล้านบาท
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ดศ. รายงานว่า
                    1. ในปีงบประมาณ 2563 - 2565 ดศ. โดยสำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สดช.) ได้ร่วมกับ NT (บมจ. กสท โทรคมนาคม ในขณะนั้น) ดำเนินโครงการพัฒนาระบบคลาวด์               กลางภาครัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
                              1.1 ตั้งแต่ปี 2563 ดศ. ได้ดำเนินการให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐแก่หน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่อง โดยจัดให้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (VM) จำนวน 8,000 VM และต่อมาได้เพิ่ม                           ขีดความสามารถของระบบคลาวด์กลางภาครัฐเพื่อรองรับความต้องการใช้งานระบบคลาวด์กลางภาครัฐและพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) ของหน่วยงานที่เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ การโอนย้ายข้อมูลและระบบงานจาก G-Cloud มายังคลาวด์   กลางภาครัฐเสร็จสิ้น เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2564 โดยทรัพยากรหลักในการให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐของ ดศ. ที่ผ่านมาสรุปได้ ดังนี้
รายการ          ปี 2563          ปี 2564          ปี 2565
(ความสามารถในการให้บริการของ ดศ. ในปัจจุบัน)
เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (VM)          8,000          12,000
(เพิ่มขึ้น 4,000)          12,000
(คงเดิม)
หน่วยประมวลผลกลางเสมือน (vCPU)          32,000          48,000
(เพิ่มขึ้น 16,000)          48,000
(คงเดิม)
หน่วยความจำหลัก หรือ RAM (GB)          64,000          96,000
(เพิ่มขึ้น 32,000)          96,000
(คงเดิม)
พื้นที่จัดเก็บข้อมูล (GB)          960,000          1,880,196
(เพิ่มขึ้น 920,196)
[ประกอบด้วย 1,440,000 (ตามจำนวน VM) + 440,196 (NT สนับสนุน)1]          3,000,000
(เพิ่มขึ้น 1,119,804)
[ประกอบด้วย 1,440,000 (ตามจำนวน VM) + 1,560,000 (จัดซื้อเพิ่มเติม)2]
หมายเหตุ : 1. ในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 หน่วยงานภาครัฐมีความต้องการใช้ระบบคลาวด์กลางภาครัฐในส่วนของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเร่งด่วนจำนวนมาก NT จึงสนับสนุนพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 440,196 GB ในปีประมาณ 2564 สำหรับปีงบประมาณ 2565 (ผลการดำเนินงาน ณ เดือนธันวาคม 2564) ดศ. ได้จัดซื้อพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 1,560,000 GB โดยอยู่ในกรอบวงเงินที่ ดศ. ได้รับจัดสรรสำหรับปีงบประมาณ 2565
               2. ส่วนของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเทียบเคียงเป็น VM ที่ให้บริการได้เพิ่มขึ้น จำนวน 13,000 VM และช่วงเดือนมกราคม 2565 สดช. ได้รับจัดสรรงบประมาณจากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อขยายทรัพยากรคลาวด์จำนวน 8,000 VM ทำให้มีทรัพยากรคลาวด์ทั้งสิ้น จำนวน 33,000 VM ซึ่งสามารถรองรับยอดที่ให้บริการ 31,568 VM ได้

โดย ดศ. รายงานเพิ่มเติมว่า หน่วยงานได้ใช้บริการคลาวด์กลางภาครัฐที่ได้รับจัดสรรในการดำเนินภารกิจต่าง ๆ                    ใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการให้บริการด้านข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ (2) ด้านการให้บริการแอปพลิเคชัน แก่ภาคประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ และ (3) ด้านการจัดเก็บข้อมูลและระบบภายในของหน่วยงาน                (Back Office) มีตัวอย่างการใช้งาน เช่น ระบบบริการการออกหนังสือสำคัญการส่งออกนำเข้าสินค้า (DFT SMART Licensing Systems : SMART-1) ของกรมการค้าต่างประเทศ ระบบสารสนเทศของศูนย์ไซเบอร์กองทัพอากาศ ระบบงานภายในกองบิน 5 กองบิน 46 ของกองทัพอากาศ ระบบรับร้องนิติกรณ์เอกสาร กรมการกงสุล เป็นต้น
                              1.2 ในการดำเนินโครงการพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ดศ. ได้ดำเนินการ                        เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐที่สำคัญ ดังนี้ (1) การพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐในลักษณะ Active - Active กล่าวคือ หากระบบคลาวด์ของสถานที่ (Site) ใดไม่สามารถทำงานได้ ระบบคลาวด์ของอีกสถานที่ (Site) จะทำงานทดแทนได้ทันที โดยมีการรับประกัน Service Level Agreement (SLA) ร้อยละ 99.99              มีระยะเวลาที่ระบบคลาวด์ทั้งหมดไม่สามารถใช้งานได้ (Total Failure) ไม่เกิน 4 นาที 23 วินาทีต่อเดือน (2) การจัดให้มีระบบเฝ้าระวังด้านความปลอดภัย ระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์และมีบุคลากรดูแลระบบและให้คำแนะนำตลอด 24 ชั่วโมง 7 วัน (3) การได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 27001 ISO/IEC 20000-1 และ CSA Star ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการใช้งานบนระบบคลาวด์และเป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ดศ. ยังได้ดำเนินการปรับปรุงแผนการดำเนินการและการให้บริการระบบคลาวด์ให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับจัดสรรและให้สามารถรองรับความต้องการใช้งาน รวมถึงจัดทำหลักเกณฑ์การให้บริการคลาวด์กลางภาครัฐเพื่อจัดลำดับความสำคัญของการให้บริการและการเรียกคืนทรัพยากรจากระบบงานที่หน่วยงานไม่ใช้บริการแล้วเพื่อบริหารทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                              1.3 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการใช้งานระบบคลาวด์กลางภาครัฐ ดศ. ได้จัดฝึกอบรมบุคลากรภาครัฐให้มีทักษะด้านการใช้งานระบบประมวลผลคลาวด์ (Cloud Computing) ผ่านหลักสูตร GOCC Training and Certification เพื่อให้หน่วยงานมีบุคลากรที่สามารถใช้ประโยชน์จากระบบคลาวด์กลางภาครัฐได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จนถึงปัจจุบัน มีผู้เข้ารับการอบรมแล้วจำนวน                    2,065 คน
                              1.4 ในช่วงเดือนสิงหาคม 2564 ดศ. ได้จัดส่งแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐในด้านต่าง ๆ ได้แก่ (1) ขั้นตอนการขอใช้บริการ (2) คุณภาพของบริการคลาวด์กลางภาครัฐ และ (3) การรับแจ้งปัญหา สอบถามข้อมูล โดยได้รับผลการประเมินจากหน่วยงานที่ตอบแบบสอบถาม 170 หน่วยงาน จากทั้งหมด 380 หน่วยงานอยู่ในระดับ พอใจมาก - มากที่สุด สำหรับทั้ง 3 ด้านของการบริการ
                    2. เนื่องจากยังมีคำขอใช้บริการคลาวด์กลางภาครัฐที่ยังไม่ได้รับการจัดสรร ดศ. จึงมีความจำเป็นต้องขยายความสามารถในการให้บริการด้วยการดำเนินโครงการฯ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายผูกพันต่อเนื่อง 3 ปี (พ.ศ. 2566 ? 2568) เป็นวงเงินจำนวน 6,216.42 ล้านบาท            ตามที่ ดศ. เสนอในครั้งนี้ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
2.1 วัตถุประสงค์          (1) เพื่อตอบสนองแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและการพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
(2) เพื่อให้มีระบบกลางในการให้บริการคลาวด์สำหรับหน่วยงานภาครัฐที่มีมาตรฐานและปลอดภัย
(3) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถเข้าถึงทรัพยากรคอมพิวเตอร์ได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง
(4) เพื่อรองรับการใช้งาน การวิเคราะห์ และการใช้ประโยชน์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐ (Government Big Data Institute : GBDi)
(5) เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐสามารถเลือกใช้บริการได้ตรงตามความต้องการของแต่ละหน่วยงานมากขึ้นบน Government Cloud Marketplace3
(6) เพื่อประหยัดงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผล
2.2 เป้าหมาย          ให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐแก่หน่วยงานภาครัฐโดยมีทรัพยากรที่สามารถรองรับความต้องการใช้ระบบของหน่วยงานภาครัฐได้อย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทรัพยากร (หน่วย)          จำนวนทรัพยากร
ที่มีอยู่ปัจจุบัน          จำนวนทรัพยากรเป้าหมาย ณ ปี 2568
เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (VM)          12,000          อย่างน้อย 25,000
(เพิ่มขึ้น 13,000)
หน่วยประมวลผลกลางเสมือน (vCPU)          48,000          อย่างน้อย 100,000
(เพิ่มขึ้น 52,000)
หน่วยความจำหลัก (GB)          96,000          อย่างน้อย 200,000
(เพิ่มขึ้น 104,000)
พื้นที่จัดเก็บข้อมูล (GB)          3,000,000
[1,440,000
(ตามจำนวน VM)
+ 1,560,000
(จัดซื้อเพิ่มเติม)]          อย่างน้อย 6,000,000
(เพิ่มขึ้น 3,000,000)
[3,000,000
ตามจำนวน VM)
+ 3,000,000*
(จัดซื้อเพิ่มเติม)]















          พร้อมจัดเตรียมลิขสิทธิ์โปรแกรมระบบจัดการฐานข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือนจำนวนอย่างน้อย 2,000 VM และนำร่องการให้บริการ Government Cloud Marketplace
* ส่วนของพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเทียบเคียงเป็น VM ที่ให้บริการได้เพิ่มขึ้น จำนวน 25,000 VM เมื่อรวมแล้ว จะมีทรัพยากรคลาวด์ทั้งสิ้น จำนวน 50,000 VM ซึ่งจะสามารถรองรับยอดที่ให้บริการอยู่เดิมและที่รอใช้บริการรวมทั้งสิ้น จำนวน 43,584 VM ได้
2.3 โครงสร้างพื้นฐาน          ระบบคลาวด์กลางภาครัฐจะตั้งอยู่ในศูนย์ข้อมูล (Data Center) ของ NT ที่อาคาร CAT Tower บางรัก และศูนย์โทรคมนาคมนนทบุรี โดยเป็นศูนย์ข้อมูลที่มีความปลอดภัยและมั่นคงด้านระบบไฟฟ้า และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 27001 และมาตรฐาน CSA Star ทั้ง 2 แห่ง ทั้งนี้ เพื่อทำงานเป็นระบบสำรองระหว่างกัน ซึ่งเป็นการรับประกันการให้บริการอย่างต่อเนื่อง (uptime/availability) ขั้นต่ำ ร้อยละ 99.99
                              2.4 โครงการฯ จะใช้จ่ายจากแหล่งเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2566 - 2568 จำนวนเงินปีละ 2,072.14 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งสิ้น 6,216.4245 ล้านบาท โดยมีประมาณการรายจ่าย ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ลำดับ          รายละเอียด          ปี 66          ปี 67          ปี 68          รวม
(1)          ค่าเช่าใช้ระบบเพื่อให้บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ
          (1.1) ค่าเช่าใช้บริการระบบคลาวด์ จำนวนไม่น้อยกว่า 25,000 VM          1,284.00          1,284.00          1,284.00          3,852.00
          (1.2) ค่าเช่าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเพิ่ม จำนวน 3,000 TB          192.60          192.60          192.60          577.80
(2)          ค่าบริการการบริหารจัดการ Log และ Managed Security Service จำนวนไม่น้อยกว่า 25,000 VM          450.00          450.00          450.00          1,350.00
(3)          ค่าบริการสิทธิของระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล (Database license)          76.51          76.51          76.51          229.53
(4)          ค่าบริการ Cloud Marketplace          50.00          50.00          50.00          150.00
(5)          ค่าบริการระบบศูนย์ปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operation
Center: NOC) และ Call Center 24 ชั่วโมง 7 วัน          19.03          19.03          19.03          57.09
          รวมทั้งสิ้น          2,072.14          2,072.14          2,072.14          6,216.42
                              2.5 ประโยชน์ที่จะได้รับ
                                    ดศ. ได้ประเมินว่า การดำเนินโครงการฯ จะทำให้รัฐประหยัดงบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลของประเทศในส่วนของค่าเช่าคลาวด์ได้ 4,116.8585 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 76.22 และส่งเสริมระบบสารสนเทศของประเทศให้มั่นคงปลอดภัย เนื่องจากข้อมูลและระบบงานของหน่วยงานภาครัฐอยู่ในระบบคลาวด์กลางภาครัฐที่มีมาตรฐานสากลด้านความมั่นคงปลอดภัยและตั้งอยู่ภายในประเทศ นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังเป็นพื้นฐานสำคัญของการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่รัฐบาลดิจิทัล รวมถึงการใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่              (Big Data) เพื่อการบริหารจัดการและการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
1บริการระบบคลาวด์กลางภาครัฐ คือ การให้บริการพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและระบบงานแก่หน่วยงานภาครัฐที่ต้องการใช้บริการโดยหน่วยงานสามารถข้าถึงและจัดการข้อมูล/ระบบงานของตนได้ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการลดภาระงบประมาณของหน่วยงานที่อาจต้องใช้ลงทุนอุปกรณ์ ระบบ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
2เครื่องคอมพิวเตอร์เสมือน (VM) เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานหลักสำหรับการให้บริการระบบคลาวด์ โดย 1 VM ตามมาตรฐานการของบประมาณของ ดศ. ประกอบด้วย (1) หน่วยประมวลผลกลาง หรือ vCPU จำนวน 4 vCPU (2) หน่วยความจำหลัก หรือ RAM จำนวน 8 Gigabyte (GB) และ (3) พื้นที่จัดเก็บข้อมูล หรือ Storage จำนวน 120 GB ทั้งนี้ ในทางปฏิบัติ องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์เสมือนแต่ละองค์ประกอบสามารถปรับเพิ่ม ? ลดจำนวนได้ตามความจำเป็น
3Government Cloud Marketplace คือ บริการออนไลน์ที่รวบรวมบริการคลาวด์ชนิดต่าง ๆ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถค้นหาและเลือกซื้อบริการคลาวด์ในรูปแบบอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากบริการคลาวด์แบบโครงสร้างพื้นฐานที่ ดศ. ให้บริการอยู่

9. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2564 (1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2564) [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 28/7 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้ กนง. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. เป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 ธันวาคม 2564) อนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงิน โดย กนง. ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อแบบยืดหยุ่นเพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน ควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพด้านราคาในระยะปานกลางและการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน
                    2. การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและแนวโน้ม
                              2.1 ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม
                                        2.1.1 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม - กันยายน) ปี 2564 หดตัวร้อยละ 0.3 จากช่วงเดียวกันของปี 2563 โดยชะลอลงในช่วงต้นไตรมาสจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สายพันธุ์เดลต้าที่รุนแรงและขยายวงกว้าง ส่งผลให้ภาคบริการชะลอลงมากและภาคการผลิตได้รับผลกระทบจากจำนวนชั่วโมงทำงานที่ลดลง อย่างไรก็ตาม กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัวได้บ้างในช่วงปลายไตรมาส เนื่องจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ส่วนในไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม - ธันวาคม) ปี 2564 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายและการกระจายวัคซีนได้ตามเป้าหมาย ทำให้ภาครัฐสามารถผ่อนคลายมาตรการควบคุมและออกมาตรการเพื่อกระตุ้นการบริโภคและรักษาระดับการจ้างงาน ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมฟื้นตัว ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเริ่มฟื้นตัวจากนโยบายเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยไม่ต้องกักตัว (Test&Go) ก่อนจะปิดรับลงทะเบียนชั่วคราวในช่วงปลายปีเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน
                                        2.1.2 เศรษฐกิจไทยปี 2564 คาดว่ามีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 0.9 และจะขยายตัวต่อเนื่องในปี 2565 และ 2566 ที่ร้อยละ 3.4 และ 4.7 ตามลำดับ (ข้อมูล ณ วันที่ 22 ธันวาคม 2564*) ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนจะส่งผลกระทบเฉพาะในช่วงแรกของปี 2565 ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวจากการใช้จ่ายในประเทศ นักท่องเที่ยวต่างชาติที่คาดว่าจะทยอยเดินทางมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 และการฟื้นตัวในหลายสาขาธุรกิจมีแนวโน้มดีขึ้น อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวและภาคโรงแรมมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ช้ากว่าสาขาอื่น ส่วนการส่งออกสินค้ามีแนวโน้มชะลอลงตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ขณะที่นักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2565 จะขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิมโดยอยู่ที่ 5.6 ล้านคน และการลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มฟื้นตัวได้ตามอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศแต่ขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากความไม่แน่นอนของสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจลงทุนของภาคธุรกิจ ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปยังคงเปราะบางและมีความไม่แน่นอนสูง จึงต้องมีการติดตาม ดังนี้ (1) พัฒนาการการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ซึ่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของสถานการณ์และความเข้มงวดของมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด (2) ความเชื่อมั่นของประชาชนและภาคธุรกิจ (3) ความต่อเนื่องและเพียงพอของมาตรการภาครัฐเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และ (4) ปัญหาข้อจำกัดด้านอุปทาน**ทั่วโลกที่อาจยืดเยื้อและส่งผลต่อธุรกิจในภาคการผลิตและการส่งออก
                              2.2 ภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้ม
                                        2.2.1 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปช่วงครึ่งหลังของปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.56 โดยอยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินซึ่งเพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ที่ร้อยละ 0.89 จากอัตราเงินเฟ้อหมวดพลังงาน ขณะที่ราคาอาหารสดปรับตัวสูงขึ้นตามอุปทานที่ลดลง เนื่องจากปัญหาอุทกภัยและโรคระบาด ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานช่วงครึ่งหลังของปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.19 และอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวยังอยู่ในกรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน
                                        2.2.2 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มอยู่ในกรอบเป้าหมาย โดย กนง. ประเมินว่าในปี 2565 และ 2566 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยจะอยู่ที่ร้อยละ 1.7 และ 1.4 ตามลำดับ ซึ่งจะสูงขึ้นชั่วคราวจากราคาพลังงานและข้อจำกัดในการผลิตและขนส่งสินค้าในต่างประเทศและคาดว่าจะคลี่คลายในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 ส่วนราคาอาหารสดมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาสุกรที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดและการเพิ่มขึ้นของต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อมีความเสี่ยงสูงจากพัฒนาการเงินเฟ้อโลกที่ปรับขึ้นเร็ว และอาจเกิดการส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการมายังผู้บริโภคมากขึ้นหากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนยังส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานโลกเกิดภาวะชะงักงัน รวมถึงหากราคาพลังงานโลกอยู่ในระดับสูงเป็นเวลานานอาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตโดยรวมสูงขึ้น
                              2.3 เสถียรภาพระบบการเงิน ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ยังคงเปราะบางจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายระลอก ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่แน่นอนและแตกต่างกันในแต่ละภาคธุรกิจ อีกทั้งภาระหนี้ภาคครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง รวมถึงฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าสาขาอื่น อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพระบบสถาบันการเงินยังเข้มแข็งและสามารถรองรับคุณภาพสินเชื่อที่อาจด้อยลงในอนาคตได้
                    3. การดำเนินนโยบายการเงิน
                              3.1 การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.5 ต่อปี เพื่อให้ภาวะการเงินผ่อนคลายและเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดแล้วในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 และมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะทยอยกลับมามากขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อเป็นการปรับเพิ่มขึ้นชั่วคราวจากราคาพลังงานเป็นหลักและคาดว่าอัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางจะอยู่ในกรอบเป้าหมาย นอกจากนี้ กนง. เห็นว่า มาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะมาตรการสาธารณสุขเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาตรการการคลังที่ควรสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ควรเร่งกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบอย่างตรงจุด
                              3.2 การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงจากไตรมาสก่อน (เมษายน - มิถุนายน) เนื่องจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) เงินทุนเคลื่อนย้ายออกส่วนหนึ่งจากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าในประเทศและ (2) การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐภายหลังจากที่ธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาส่งสัญญาทยอยลดปริมาณการเข้าซื้อสินทรัพย์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ปรับดีขึ้น ส่วนไตรมาสที่ 4 ปี 2564 มีการเคลื่อนไหวที่ผันผวน โดยในช่วงกลางไตรมาสเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นตามความเชื่อมั่นที่ดีขึ้นจากแผนการเปิดประเทศแต่ในช่วงเดือนธันวาคมเงินบาทกลับอ่อนค่าเร็วเนื่องจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) การแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนและ (2) การลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศอุตสาหกรรมหลัก ทั้งนี้ กนง. เห็นควรผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX Ecosystem) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ให้มีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
                              3.3 การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงินในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ได้แก่ (1) เสถียรภาพภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ โดย ธปท. ได้ดำเนินมาตรการ เช่น 1) การพักชำระหนี้สำหรับลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เป็นเวลา 2 เดือน และ 2) การปรับปรุงหลักเกณฑ์สินเชื่อฟื้นฟูเพื่อเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อของ SMEs (2) เสถียรภาพระบบสถาบันการเงิน โดย ธปท. ได้ดำเนินมาตรการ เช่น 1) การคงการจัดชั้นสำหรับลูกหนี้รายย่อยและ SMEs ที่เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 และ 2) การขยายระยะเวลาปรับลดอัตราการนำส่งเข้ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเหลือร้อยละ 0.23 จนถึงสิ้นปี 2565 (3) เสถียรภาพตลาดการเงิน โดย ธปท. ได้ดำเนินมาตรการขยายระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือของกองทุนเพื่อรักษาสภาพคล่องของการระดมทุนในตลาดตราสารหนี้ จนถึงสิ้นปี  2565
                              3.4 การสื่อสารนโยบายการเงิน ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 กนง. ได้พัฒนาการสื่อสารนโยบายการเงิน ดังนี้ (1) เผยแพร่เอกสารข้อมูลประกอบการประชุม กนง. ไปพร้อมกับการเผยแพร่รายงานการประชุม กนง. ฉบับย่อ โดยเผยแพร่ข้อมูลเศรษฐกิจและการเงินในส่วนที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนและ                       (2) ปรับปรุงรูปแบบรายงานนโยบายการเงินเป็นรูปแบบ Interactive PDF เพื่อตอบสนองความต้องการอ่านในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
                    4. การปรับลดจำนวนครั้งการประชุม กนง. ในการประชุม กนง. ครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่                     22 ธันวาคม 2564 กนง. มีมติให้ปรับจำนวนการประชุม กนง. จาก 8 ครั้งต่อปี เป็น 6 ครั้งต่อปี ตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของเศรษฐกิจซึ่งข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากในช่วงเวลาสั้น ๆ รวมทั้งจะช่วยลดความผันผวนจากการคาดการณ์ของตลาดการเงินต่ออัตราดอกเบี้ยนโยบายและช่วยให้ตลาดการเงินสามารถคาดการณ์ทิศทางนโยบายการเงินได้ชัดเจนขึ้น
* จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2564 ธปท. แจ้งว่าเป็นข้อมูลล่าสุด ณ ปัจจุบัน โดยจะมีการปรับปรุงข้อมูลอีกครั้งในการประชุม กนง. ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 30 มีนาคม 2565
10. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ                        ครั้งที่ 1/2565

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเสนอผลการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

                    1. มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565             ในเรื่องเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้
                              1.1 เป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบวงเงิน              ที่ได้รับอนุมัติเบิกจ่ายลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรี
                              1.2 ปรับปรุงงบลงทุนระหว่างปี 2565 ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 (1 ตุลาคม -            31 ธันวาคม 2564) และปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงไตรมาส 1 และ 2 (1 มกราคม -               31 มีนาคม 2565) ของปี รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

2. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ

2.1 ภาพรวมการเบิกจ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 1,306,123 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท

รายการ          วงเงินงบประมาณ/
แผนการใช้จ่าย          เบิกจ่ายแล้ว          ร้อยละ
เบิกจ่าย
งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565          3,100,000          983,614          31.73
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี          237,241          75,530          31.84
เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ)          287,439          53,269          18.53
โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท)
(ณ วันที่ 4 มกราคม 2565)          88,408          73,877          83.56
โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564
(กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท)          191,441          119,833          62.60
รวม          3,304,529          1,306,123          33.45
(ข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2565)
                              ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่                   มูลค่าโครงการตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป รวม 102 โครงการ มูลค่าโครงการทั้งหมด 2.51 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 35,418 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.37 ของแผนการใช้จ่ายเงิน (1 ตุลาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564)

2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน

2.2.1 กระทรวงที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนกระทรวงที่มีผลการเบิกจ่ายต่ำสุด เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย

2.2.2 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่สำคัญ ได้แก่

รายการ          จำนวน
(รายการ)          วงเงิน
(ล้านบาท)          เบิกจ่ายแล้ว
(ล้านบาท)          คิดเป็น
(ร้อยละ)
รายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินต่อรายการเกิน 1,000 ล้านบาท          18          30,061          11,035          36.71
รายจ่ายลงทุนรายการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณใหม่ที่มีวงเงินรวม 1,000 ล้านบาทขึ้นไป          8          3,524          -          -
หน่วยงานที่ได้รับรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท และมีผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 13 (ไม่รวมงบกลาง)           26          165,864          6,430          3.88

2.2.3 ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินการและการเบิกจ่ายงบประมาณและล่าช้า เช่น (1) การเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินโครงการ เช่น มีการปรับแบบรูปรายการหรือแบบแปลนงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับพื้นที่จริงเนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่หรืออยู่ระหว่างขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ (2) การดำเนินงาน เช่น หน่วยรับงบประมาณต้องหารือกับหน่วยงานต้นสังกัดหรือทบทวนราคากลางเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ หรือกรณีมีผู้เสนอราคารายเดียวหรือไม่มีผู้เสนอราคา ทำให้ต้องยกเลิกการประกวดราคาและประกาศเชิญชวนใหม่ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) หน่วยรับงบประมาณควรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของโครงการก่อนดำเนินการ เช่น การกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะและเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันทีหลังจากได้รับการจัดสรรงบประมาณ (2) กรณีมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายรายแต่ถูกต้องตามเงื่อนไขเพียงรายเดียว คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ดุลยพินิจให้ดำเนินการต่อไปได้ และกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือมีแต่ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข หัวหน้าส่วนราชการสามารถใช้ดุลยพินิจให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง

2.3 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ

                                        2.3.1 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2564 ทั้ง 43 แห่ง                     มีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ          กรอบลงทุน
ทั้งปี
(1)          เบิกจ่ายจริง
สะสม
(2)          ร้อยละเบิกจ่ายจริงสะสม
/กรอบลงทุนทั้งปี
(2)/(1)          เบิกจ่ายจริง
สะสม
ปี 63
1. ปีงบประมาณ (ต.ค. 63 - ก.ย. 64)
          จำนวน 34 แห่ง (12 เดือน)           174,009          145,461          84          100,783
2. ปีปฏิทิน (ม.ค. 64 - ธ.ค. 64)
          จำนวน 9 แห่ง (12 เดือน)          176,465          161,724          92          153,039
3. รวม 43 แห่ง (1+2)           350,474          307,185          88          253,822
(ข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2565)

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 2563 ที่รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายได้ 253,822 ล้านบาท                หรือคิดเป็นร้อยละ 81 ของกรอบลงทุนทั้งปี ทำให้ในปี 2564 มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสูงกว่าปี 2563 จำนวน 53,363 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21

2.3.2 รัฐวิสาหกิจมีกรอบลงทุนปี 2565 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 318,103 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายสะสม 3 เดือน (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) จำนวน 14,263 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 95 ของแผนเบิกจ่ายสะสม (15,007 ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของกรอบลงทุนทั้งปี ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจปีปฏิทินจะเริ่มมีผลการเบิกจ่ายประจำปี 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป

                                        2.3.3 รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาการเบิกจ่ายงบลงทุนล่าช้า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด และรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณที่มีปัญหาการเบิกจ่ายงบลงทุน ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย               การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและองค์การเภสัชกรรม
                                        2.3.4 รัฐวิสาหกิจมีแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนประจำปี 2565 กระจุกตัวในช่วง                 ครึ่งหลังของปี

2.3.5 ข้อเสนอแนะเพื่อให้กระทรวงเจ้าสังกัดกำกับให้รัฐวิสาหกิจพิจารณาดำเนินการดังนี้ (1) เร่งขออนุมัติปรับปรุงงบลงทุนระหว่างปี 2565 ให้แล้วเสร็จ โดยให้เสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติภายในไตรมาสแรกของปีบัญชี รวมถึงให้เร่งรัดรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณที่ดำเนินการล่าช้ากว่าที่กรอบระยะเวลากำหนดด้วย ทั้งนี้ ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการลงทุนโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้กรอบวงเงินลงทุนลดลงควรเป็นผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือที่รัฐวิสาหกิจไม่สามารถควบคุมได้หรือเป็นการดำเนินการเชิงนโยบายเท่านั้น (2) ปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ของปี 2565 และให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายงบลงทุนโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีกรอบงบลงทุนสูงและมีปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้าในปี 2564

2.4 การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป

2.4.1 โครงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่มีจำนวน 102 โครงการ มูลค่ารวม 2.51 ล้านล้านบาท และมีมูลค่าการลงทุนในปี 2565 จำนวน 192,776 ล้านบาท (ไม่รวมโครงการที่ใช้เงินงบประมาณทั้งหมดของส่วนราชการ) โดยแหล่งเงินลงทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท

หน่วยงาน          แหล่งเงิน
          การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน          เงินกู้
ต่างประเทศ          เงินกู้
ในประเทศ          เงินรายได้          งบประมาณ          กองทุน          รวม
ส่วนราชการ          29,178          14,048          -          -          24,416          -          67,642
รัฐวิสาหกิจ          296,031          84,282          1,505,266          355,100          142,791          43,537          2,427,007
รวม          325,209          98,329          1,505,266          355,100          167,208          43,537          2,494,649
(ข้อมูล ณ วันที่ 21 มกราคม 2565)

2.4.2 สถานะการดำเนินการของโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป มีดังนี้

โครงการ          จำนวน
(โครงการ)          มูลค่า
(ล้านบาท)
โครงการที่รัฐดำเนินการเอง          81          2,090,000
   - ลงนามในสัญญาแล้ว          31          704,915
   - ลงนามในสัญญายังไม่ครบหรือยังไม่ได้ลงนามในสัญญา          50          1,380,000
โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน          21          421,934
   - ลงนามในสัญญาแล้ว           4          125,390
   - ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา           17          296,544

2.5 การเบิกจ่ายเงินกู้โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 จำนวน 1,126 โครงการ วงเงิน 986,964 ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน 943,554 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96 ของวงเงินอนุมัติ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีแผนเบิกจ่ายวงเงินรวม 88,408 ล้านบาท และมีแผนการเบิกจ่ายสะสม (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) วงเงินรวม 85,633 ล้านบาท ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าของโครงการเบิกจ่ายสะสม (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) จำนวน 126 โครงการ วงเงินรวม 73,877 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84 ของแผนการเบิกจ่ายปีงบประมาณ 2565 และร้อยละ 86 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม โดยการดำเนินการดังกล่าวมีปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น

ประเด็น          ปัญหา/อุปสรรค          แนวทางแก้ไขปัญหา
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-19          - สานการณ์โควิด-19 ทำให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนของแผนงานเร่งรัดการเข้าถึงวัคซีนสำหรับคนไทยไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ ประกอบกับครุภัณฑ์บางส่วนมีความจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้โครงการมีผลการดำเนินการล่าช้า
- การอุทธรณ์ผลการประกวดราคาในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสำหรับการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการเบิกจ่ายค่าวัสดุทางการแพทย์          - หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินโครงการให้สามารถรองรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนที่ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนซึ่งรวมถึงรองรับความล่าช้าในการส่งมอบครุภัณฑ์ของโครงการ
- คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐได้กำหนดแนวทางปฏิบัติดังนี้ (1) หากมีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายราย แต่เอกสารถูกต้องตามที่เงื่อนไขเพียงรายเดียว ให้สามารถดำเนินการใหม่โดยวิธีเฉพาะเจาะจงได้ (2) หากมีความจำเป็นจะต้องจ่ายเงินค่าพัสดุล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างกำหนด และยกเว้นการวางหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าตามระเบียบ กค. ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 91 วรรคสอง
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยาและชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19          การโอนเงินให้ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษไม่สำเร็จ เนื่องจากเปลี่ยนบัญชีรับเงินหรือบัญชีถูกปิด รวมถึงบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหวเกินระยะเวลาที่กำหนด          กรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยเบิกจ่ายแทนจะโอนเงินให้ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการอีกครั้ง รวมถึงมีหนังสือแจ้งไปยังธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อให้เร่งแจ้งร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการทราบถึงปัญหาและแก้ไขรายการที่โอนไม่สำเร็จ
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19          - เกิดความล่าช้าในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนวิจารณ์การจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งกรณีที่มีผู้ยื่นเพียงรายเดียว จึงต้องยกเลิกและการไม่มีผู้มายื่นข้อเสนอทำให้ต้องเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่
- สถานการณ์อุทกภัยทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการในกิจกรรมได้


- นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ โดยภาครัฐและเอกชน มีความต้องการทำงานไม่ตรงกับตำแหน่งงานที่สถานประกอบการมีความต้องการจ้างงาน          - หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ



- เร่งดำเนินโครงการโดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมให้สามารถดำเนินการได้ทันทีหลังจากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ
- จับคู่ความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ประกอบการที่มีความต้องการจ้างงานผ่านเว็บไซต์
https://thaimengaantam.doe.go.th
                    6. การเบิกจ่ายเงินกู้โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564                (กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 จำนวน 43 โครงการ วงเงิน 342,317 ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน 229,653 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67 ของวงเงินอนุมัติ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีแผนการเบิกจ่ายวงเงินรวม 191,441 ล้านบาท และมีแผนเบิกจ่ายสะสม (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) วงเงินรวม 138,503 ล้านบาท โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการมีการเบิกจ่าย จำนวน 30 โครงการ วงเงินรวม 119,833 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63 ของแผนการเบิกจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และร้อยละ 87 ของแผนเบิกจ่ายสะสมตามลำดับ โดยมีปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น
ประเด็น          ปัญหา/อุปสรรค          แนวทางแก้ไขปัญหา
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19          - สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานปลัด อว. และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการไม่สามารถเบิกจ่ายแทนกันได้


- ผู้ประกันตนในโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ไม่ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชน ทำให้ไม่สามารถโอนเงินเข้าบัญชีสำเร็จ          - ทำความตกลงกับกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับแนวทางการเบิกจ่ายแทนกัน ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานปลัด อว. และสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องทำหน้าที่เบิกจ่าย
- สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินซ้ำให้กับผู้ประกันตนที่โอนเงินไม่สำเร็จทุกสัปดาห์

11. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)                 ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ  ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

                              1.1 การดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ              มีมติเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เห็นชอบหลักการ แนวทางและการดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยให้มีการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (Ways) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกหรือบริบทของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งยังคง ?เป้าหมาย? (End) ตามยุทธศาสตร์ชาติไว้เช่นเดิมโดยมีแนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเฉพาะเป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อยที่อาจไม่ส่งผลต่อเป้าหมายระดับประเด็น ปรับปรุงตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาให้มีความเหมาะสมและสะท้อนการบรรลุเป้าหมายได้อย่างแท้จริง โดย สศช. จะเสนอคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการปรับปรุงแผนแม่บทฯ ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าจะบังคับใช้แผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุงภายในเดือนกันยายน 2565
                              1.2 การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565  เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ                   สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570)  ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 2 ที่ระบุทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่ครอบคลุมเฉพาะประเด็นการพัฒนาประเทศที่มีลำดับความสำคัญสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพลิกโฉมประเทศไทยสู่ ?สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน? ประกอบด้วย 13 หมุดหมาย ภายใต้ 4 มิติการพัฒนา ดังนี้ (1) มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย (6 หมุดหมาย) (2) มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม (3) หมุดหมาย) (3) มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2 หมุดหมาย) และ (4) มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ (2 หมุดหมาย) ทั้งนี้ สศช. จะเสนอ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ตามขั้นตอนต่อไปและคาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนตุลาคม 2565

1.3 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) มีมติเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ดังนี้

                                        1.3.1 รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานตามแนวทางการขับเคลื่อน                  การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยปี 2565 มีกลุ่มคนเป้าหมายของระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP)                   จำนวน 1,025,782 คน เพิ่มขึ้นจำนวน 42,466 คน จากปี 2562 ที่มีจำนวน 983,316 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2565
                                        1.3.2 เห็นชอบเมนูแก้จน ที่จำแนกตาม 3 ขั้นการพัฒนา ได้แก่ อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน และ 5 มิติความขัดสน ประกอบด้วย (1) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (2) การศึกษาและทักษะที่จำเป็น                (3) สถานะทางสุขภาพ (4) คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และ (5) การเข้าถึงบริการ ความช่วยเหลือ และการมีส่วนร่วมในสังคม ซึ่งเมนูแก้จนจะมีข้อมูลแนวทาง มาตรการ และการดำเนินการ ให้ ศจพ. ทุกระดับนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยแบบพุ่งเป้าในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1.3.3 มอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพหลัก 5 มิติ ได้แก่ (1) มิติสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) (2) มิติความเป็นอยู่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) (3) มิติการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) (4) มิติรายได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน มท. ศธ. กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง (5) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ พม. ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าภาพหลักจะต้องดำเนินการร่วมกับ ศจพ. ทุกระดับและทีมปฏิบัติการจัดทำโครงการ/การดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยใช้ข้อมูลจากระบบ TPMAP และเมนูแก้จนเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำโครงการฯ

2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ

                    การรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สศช. อยู่ระหว่างจัดทำรายงานความคืบหน้าฯ รอบเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2564 เพื่อรายงานการดำเนินงานของกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่าง    มีนัยสำคัญ (Big Rock) จำนวน 62 กิจกรรม และสถานะการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) จำนวน 45 ฉบับ เพื่อแสดงความก้าวหน้าในการดำเนินงานและประเด็นปัญหา รวมทั้ง              ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลในการกำกับ ติดตาม เร่งรัดการดำเนินการได้อย่างทันการณ์และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด โดยมีตัวอย่าง เช่น ความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ในกิจกรรมปฏิรูปที่ 1               การปฏิรูปการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขรวมถึงโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ เพื่อความมั่นคงแห่งชาติด้านสุขภาพ ดำเนินการแล้วเสร็จในเป้าหมายย่อยที่ 1 โดย สธ. ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจครบทั้ง 76 จังหวัด เพื่อเป็นกลไกบริหารสถานการณ์แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ส่วนเป้าหมายย่อยที่ 2 ที่มีการดำเนินการล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ สธ. และหน่วยงานร่วมดำเนินการจำเป็นต้องเร่งจัดทำร่างแผนบูรณาการเพื่อยกระดับศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานและแผนปรับปรุงโครงสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพและการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข พ.ศ. 2564-2565 ให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกันยายน 2565 ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้
                    3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและ                แผนการปฏิรูปประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการ                 ตามยุทธศาสตร์ชาติและรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2564* และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 รับทราบรายงานดังกล่าวด้วยแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับประเด็นท้าทายที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินการสู่การบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องกฎหมายและกระบวนงานที่มีความล้าสมัย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและเร่งรัดดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้มีความทันสมัย

4. การสร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ได้เผยแพร่คู่มือการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติและคู่มือการจัดทำแผนระดับที่ 3 ผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจัดทำโครงการ/การดำเนินงานบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์และยกระดับการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ของเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

                    5. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติในการประชุม คจพ. เมื่อวันที่               9 กุมภาพันธ์ 2565 นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายนโยบายการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและการพัฒนาคน                 ทุกช่วงวัย โดยให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ข้อมูลจากระบบ TPMAP เป็นเครื่องมือในการชี้เป้าการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า และเร่งศึกษาทำความเข้าใจวิธีการใช้งานระบบ TPMAP เมนูแก้จน และหลักการจัดทำโครงการในการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการดำเนินการที่มีอยู่ให้สอดคล้องกันตาม 3 ขั้นตอน การพัฒนา มิติความขัดสน และภูมิสังคมในพื้นที่ รวมทั้งให้หน่วยงานเร่งปรับปรุงข้อจำกัดเรื่องกฎหมายและกฎระเบียบและดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับระบบ TPMAP เพื่อให้เป็นระบบหลักในการแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพุ่งเป้า
                    6. นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้ สศช. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของการดำเนินการ             ตามยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศที่เป็นรูปธรรมให้ประชาชนทราบโดยทั่วกันต่อไป
????????
* คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 กุมภาพันธ์ 2565) รับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ  ณ เดือนมกราคม 2565 ซึ่งมีรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2564 รวมอยู่ด้วย

12. เรื่อง ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2565 (ครบ 2 ปี                  6 เดือน) และการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life) พ.ศ. 2565

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) [สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.)] เสนอ ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนต่อการบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2565 (ครบ 2 ปี 6 เดือน) และการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life) พ.ศ. 2565 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (17 มิถุนายน 2545) ที่ให้ สสช. จัดเก็บข้อมูลและสถิติตัวเลข รวมทั้งสำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลัก ๆ ของรัฐบาล แล้วรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ] โดย สสช. ได้สัมภาษณ์สมาชิกในครัวเรือนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ 6,970 คน ระหว่างวันที่ 5-18 มกราคม 2565 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

ประเด็น          ผลการสำรวจความคิดเห็น
การบริหารงานของรัฐบาล พ.ศ. 2565 (ครบ 2 ปี 6 เดือน)
1. การติดตามข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล          ประชาชน ร้อยละ 83.7 ติดตามข้อมูลข่าวสารของรัฐบาล ร้อยละ 16.3 ไม่ติดตาม เหตุผลคือ ไม่สนใจ ไม่มีเวลาว่าง และอื่น ๆ (เช่น ไม่ชอบ) โดยติดตามทางโทรทัศน์มากที่สุด (ร้อยละ 71.8) รองลงมาคือ สื่อสังคมออนไลน์ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ทวิตเตอร์ และยูทูบ (ร้อยละ 55.5) ทั้งนี้ ผู้ที่มีอายุน้อยได้ติดตามจากสื่อสังคมออนไลน์สูงกว่าผู้มีอายุมาก และผู้ที่มีการศึกษาสูงได้ติดตามจากสื่อสังคมออนไลน์สูงกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่า
2. ความพึงพอใจในภาพรวมต่อ
การดำเนินงานของรัฐบาล          ประชาชนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 33.9 พึงพอใจระดับปานกลาง ร้อยละ 40.9 พึงพอใจในระดับน้อย-น้อยที่สุด ร้อยละ 18.9  และไม่พึงพอใจเลย ร้อยละ 6.3 โดยภาคใต้และภาคใต้ชายแดน           มีความพึงพอใจในระดับมาก-มากที่สุดสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 57.9 และร้อยละ 54.5 ตามลำดับ) ขณะที่ภาคอื่นมีประมาณร้อยละ 26-35
3. ความพึงพอใจต่อนโยบายของรัฐบาล          นโยบายของรัฐบาลที่ประชาชนมีความพึงพอใจมาก-มากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) โครงการคนละครึ่ง (ร้อยละ 66.9) (2) โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ร้อยละ 63.6) (3) โครงการเราชนะ (ร้อยละ 62.9) (4) มาตรการเยียวยาแรงงานในระบบและนอกระบบ (ร้อยละ 48.2) และ (5) โครงการประกันรายได้เกษตรกร (ร้อยละ 32.4)
4. มาตรการเยียวยา/โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประโยชน์ต่อประชาชน          มาตรการเยียวยา/โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 5 อันดับแรก ได้แก่                 (1) โครงการคนละครึ่ง (ร้อยละ 81.5) (2) โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (ร้อยละ 70) (3) โครงการเราชนะ (ร้อยละ 62.2) (4) มาตรการลดค่าน้ำ                ค่าไฟ (ร้อยละ 57.2) และ (5) โครงการ ม.33 เรารักกัน (ร้อยละ 32.1) โดยประชาชนในเกือบทุกกลุ่มอาชีพ (ยกเว้นเกษตรกร รับจ้างทั่วไป                    ขับรถรับจ้าง กรรมกร และพ่อบ้าน/แม่บ้านที่อยู่บ้านเฉย ๆ) ระบุว่าโครงการคนละครึ่งมีประโยชน์ต่อคนในประเทศมากที่สุด
5. ความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของประเทศ          ประชาชนเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 30.4 เชื่อมั่นระดับปานกลาง ร้อยละ 39.7 เชื่อมั่นในระดับน้อย-น้อยที่สุด ร้อยละ 21.3 และ                    ไม่เชื่อมั่นเลย ร้อยละ 8.6 โดยภาคใต้และภาคใต้ชายแดนมีความเชื่อมั่นในระดับมาก-มากที่สุดในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 52.8 และร้อยละ 52.2 ตามลำดับ) ขณะที่ภาคอื่นมีประมาณร้อยละ 21-31
6. ข้อเสนอแนะต่อการบริหารงานของรัฐบาล          ข้อเสนอแนะการบริหารงานของรัฐบาล 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) การแก้ไขปัญหาค่าครองชีพสูง เช่น ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค                        ลดค่าน้ำประปา/ไฟฟ้า/แก๊สหุงต้ม/น้ำมันเชื้อเพลิง (ร้อยละ 17.6)                   (2) การช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม เช่น ขยายระยะเวลา/เพิ่มวงเงินโครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ                     บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และเพิ่มเงินให้ผู้สูงอายุ (ร้อยละ 10.6) (3) การแก้ไขปัญหาโดยคำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก รวดเร็ว ตรงจุด และโปร่งใส                     (ร้อยละ 9) (4) การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น ฉีดวัคซีนให้ครอบคลุม แจกชุดตรวจ Antigen Test Kit (ATK) ฟรี และควบคุมไม่ให้มีราคาแพง แจกอุปกรณ์ป้องกันฟรี (เช่น หน้ากากอนามัย และแอลกอฮอล์) (ร้อยละ 5.9) และ (5) การแก้ไขปัญหาด้านการเกษตร เช่น พยุงราคาสินค้าเกษตร หาตลาดรองรับและจัดหาที่ดินทำกิน (ร้อยละ 4.9)
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของ สสช.
1) ควรมีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของรัฐบาลเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชนผ่านสื่อต่าง ๆ หลากหลายช่องทาง เข้าถึงได้ง่าย และรวดเร็ว โดยเฉพาะช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ
2) ควรมีมาตรการ/โครงการที่มุ่งลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน เช่น ขยายเวลาลดค่าน้ำประปา/ไฟฟ้า                   พยุงราคาแก๊สหุงต้ม/น้ำมันเชื้อเพลิง และจำหน่ายสินค้าราคาถูก (ร้านธงฟ้า) ในชุมชน
3) ควรช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรอย่างเร่งด่วน เช่น จัดหาตลาดรองรับพืชผล                   ทางการเกษตร และพยุงราคาสินค้าเกษตร
4) ควรมีมาตรการ/โครงการช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 เช่น มาตรการลดดอกเบี้ยเงินกู้               พักชำระหนี้ ขยายระยะเวลา/เพิ่มวงเงินโครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ              เพิ่มวงเงินให้แก่ผู้สูงอายุ
5) ควรมีมาตรการลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดและป้องกันการกลับมาแพร่ระบาดซ้ำของโรคโควิด-19 เช่น            ฉีดวัคซีนกระตุ้นให้ครอบคลุมมากที่สุด การตรวจ ATK ฟรี/ควบคุมไม่ให้มีราคาแพง และแจกอุปกรณ์ป้องกัน                  การแพร่ระบาดฟรี
การปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal Life) พ.ศ. 2565
1. ความกังวลต่อสถานการณ์                    การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19          ประชาชน ร้อยละ 97.7 มีความกังวลต่อสถานการณ์ดังกล่าว ร้อยละ 2.3 ไม่มีความกังวล
2. การปฏิบัติตัวของประชาชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค    โควิด-19          แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ (1) กรณีเมื่ออยู่กับคนในบ้าน ประชาชนร้อยละ 90 ปฏิบัติตัวตามมาตรการของภาครัฐเพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ติดตามข่าวสารและข้อปฏิบัติจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นระยะ เฝ้าระวังเป็นพิเศษกับสมาชิกในครอบครัวที่เป็นกลุ่มเสี่ยงและสังเกตอาการผิดปกติของสมาชิกในครอบครัวอย่างสม่ำเสมอ อย่างไรก็ตาม ประชาชนยังไม่สามารถปฏิบัติตัวตามมาตรการของภาครัฐได้อย่างเต็มที่ เช่น การสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา (ร้อยละ 62.8) การแยกกันรับประทานอาหาร/แยกห้องอยู่อาศัย (ร้อยละ 58) และ (2) กรณีเมื่อออกนอกบ้าน ประชาชนร้อยละ 90 ปฏิบัติตามมาตรการภาครัฐ โดยสวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือด้วยสบู่หรือ              เจลแอลกอฮอล์ ตรวจวัดไข้ก่อนเข้าไปยังสถานที่ เดินทางโดยรถส่วนตัว และงดรับประทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
3. การปรับเปลี่ยนการใช้วิถีชีวิตเป็นแบบ New Normal Life          ประชาชนมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ (1) จัดเตรียมอุปกรณ์ก่อนออกจากบ้าน เช่น หน้ากากอนามัย และเจลแอลกอฮอล์             (ร้อยละ 90.4) (2) หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่แออัดการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มหรืองานเลี้ยงสังสรรค์ (ร้อยละ 64.1) และ (3) ออกนอกบ้านเท่าที่จำเป็น เช่น ลดการไปห้างสรรพสินค้าและตลาดนัด (ร้อยละ 60.5) โดยผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเริ่มมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน และผู้ที่มีอายุ 18-49 ปี มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้มากกว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปด้วย
4. การใช้สื่อสังคมออนไลน์และ               แอปพลิเคชัน          ประชาชนใช้แอปพลิเคชันเกี่ยวกับติดต่อการสื่อสารและการรับข้อมูลมากที่สุด (ร้อยละ 81.5) เช่น ไลน์ วอตส์แอปป์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และ              อินสตาแกรม รองลงมาแอปพลิเคชันเกี่ยวกับทางการเงิน (ร้อยละ 70.7) เช่น เป๋าตัง ถุงเงิน และกรุงไทยเน็ก และแอปพลิเคชันเกี่ยวกับความบันเทิง             (ร้อยละ 69.7) เช่น เน็ตฟลิกซ์ ยูทูบ และติ๊กต็อก โดยผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้นใช้มากกว่าผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่า และผู้ที่มี                อายุ 18-49 ปี ใช้มากกว่าผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปด้วย
5. ความสุขของประชาชนในภาพรวม          ประชาชนมีความสุขในภาพรวมในระดับมาก-มากที่สุด ร้อยละ 53.1 มีความสุขระดับปานกลาง ร้อยละ 37.3 มีความสุขในระดับน้อย-น้อยที่สุด ร้อยละ 8.9 และไม่มีความสุขเลย ร้อยละ 0.7 โดยภาคใต้และภาคใต้ชายแดนมีความสุขในภาพรวมอยู่ในระดับมาก-มากที่สุดสูงกว่าภาคอื่น (ร้อยละ 68.5)
6. แผนการปรับตัวรับมือหากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีความรุนแรงอีกครั้ง          ประชาชนมีแผนการปรับตัวรับมือ ได้แก่ (1) ปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต เช่น ออกจากบ้านทุกครั้งต้องใส่หน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการออกไปนอกบ้านหากไม่จำเป็น (ร้อยละ 87.3) (2) ประหยัดและใช้จ่ายน้อยลง      (ร้อยละ 82.2) และ (3) แก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจโดยนำเงินออมออกมาใช้จ่าย (ร้อยละ 25.7)
7. นโยบายการให้ประชาชนแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนป้องกันโรค    โควิด-19 หรือผลการตรวจโควิด-19 เพื่อเข้าสถานที่ต่าง ๆ          ประชาชนเห็นด้วย ร้อยละ 85.1 และไม่เห็นด้วย ร้อยละ 14.9 (เนื่องจากเห็นว่า นโยบายดังกล่าวมีความยุ่งยาก ทำให้เสียเวลารวมถึงชุดตรวจ ATK มีราคาแพง และเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคล) ทั้งนี้ มีประชาชนที่เคยถูกขอให้แสดงหลักฐานฯ (ร้อยละ 32.4) ณ สถานที่ราชการ (ร้อยละ 13.5) โรงพยาบาล (ร้อยละ 12.3) และสถานที่ทำงาน (ร้อยละ 9.8) ในขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่เคยถูกขอให้แสดงหลักฐานฯ (ร้อยละ 67.6)
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของ สสช.
1. ควรมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หลากหลายช่องทางและเป็นไปในแนวทางเดียวกัน รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่กับคนในครอบครัวและเมื่อออกนอกบ้าน
2) ควรมีการส่งเสริม ป้องกัน และลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยรัฐต้องสนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงอุปกรณ์ทางการแพทย์/ชุดตรวจโควิด-19 (เช่น ATK และหน้ากากอนามัย) ได้ในราคาย่อมเยา หรือตรวจ ATK ให้ฟรีสำหรับการเข้าสถานที่ราชการต่าง ๆ และควรมีมาตรการส่งเสริมและกระตุ้นให้ผู้ที่ไม่ต้องการฉีดวัคซีนหันมาฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้น หรือผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 โดสแล้วกลับมาฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น เพื่อให้เกิดภูมิคุ้มกันหมู่มากที่สุด
3) ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เช่น การใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชัน การให้ความช่วยเหลือประชาชนผ่านมาตรการเยียวยาและ               ฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยใช้แอปพลิเคชัน
4) ควรมีการส่งเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ประชาชนรู้เท่าทันภัยที่เกิดจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อไม่ให้ถูกหลอกลวงได้ง่าย โดยเฉพาะให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้สูงอายุมากที่สุด
5) ควรมีนโยบายหรือมาตรการช่วยเหลือเยียวยาอย่างต่อเนื่องให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านมาตรการหรือโครงการต่าง ๆ

13. เรื่อง รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564 และรายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 13 (13)                    แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เสนอรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ที่ให้ ทส. รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายฯในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ กก.วล. ในการประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 มีมติเห็นชอบร่างรายงานดังกล่าวทั้ง 2 ฉบับแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. รายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2564 มีการนำเสนอภาพรวมการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม สถานการณ์และการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกและภูมิภาค ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของประเทศที่นำไปบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 72,381.84 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.19 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีข้อมูลที่สำคัญ ดังนี้

                              1.1 สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมรายสาขา จำนวน 11 สาขา โดยในช่วงปี 2563-เดือนมิถุนายน 2564 มีสาขาที่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นจำนวน 9 สาขา ได้แก่ 1) ทรัพยากรดินและการใช้ที่ดิน มีการนำเข้าวัตถุอันตรายทางการเกษตรลดลงและการนำเข้าปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 2) ทรัพยากรแร่ ปริมาณการผลิต การใช้ และการส่งออกแร่ลดลงแต่มีปริมาณการนำเข้าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 3) พลังงาน มีการใช้พลังงานขั้นสุดท้าย พลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทนลดลง 4) ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า พื้นที่ป่าไม้ค่อนข้างคงที่ พื้นที่ป่าอนุรักษ์เพิ่มขึ้นและจำนวนจุดความร้อนสะสมลดลง 5) ทรัพยากรน้ำ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งประเทศเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้น ปริมาณน้ำบาดาลไม่มีการเปลี่ยนแปลง และคุณภาพน้ำบาดาลทั่วไปมีคุณภาพดี              6) ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงและพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น 7) ความหลากหลายทางชีวภาพ พบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกในประเทศไทย ได้แก่ พืช 7 ชนิด สัตว์ 2 ชนิด และจุลินทรีย์ 12 ชนิด 8) สิ่งแวดล้อมชุมชน ในกรุงเทพมหานครมีชุมชนแออัดลดลงและมีพื้นที่สีเขียวต่อจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น และ 9) สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรม โดยมีกลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการบรรจุเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติ และสาขาที่มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ควรเฝ้าติดตาม จำนวน 2 สาขา ได้แก่ 1) สถานการณ์มลพิษ พบว่า ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนลดลง แต่มีขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นจากการสั่งสินค้าและอาหารผ่านทางระบบออนไลน์ ขณะที่ปริมาณมูลฝอยติดเชื้อในระยะครึ่งปีแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น และค่าเฉลี่ยรายปีฝุ่นละออง PM10 และ PM2.5 ทั้งประเทศลดลง แต่ในภาคเหนือมีแนวโน้มสถานการณ์หมอกควันรุนแรงขึ้น มีสาเหตุจากสภาพอากาศแห้งแล้งยาวนานและเกิดไฟป่าได้ง่าย และ 2) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีของประเทศสูงกว่าค่าปกติ 0.9 องศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อย

1.2 ประเด็นสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ พ.ศ. 2564 ได้แก่

1.2.1 การนำขยะไปผลิตกระแสไฟฟ้า ได้คัดเลือกเทศบาลตำบลบ้านคลอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นพื้นที่กรณีศึกษาในการคัดแยกขยะชุมชน รวบรวมและเก็บขนเพื่อนำไปปรับปรุงคุณภาพเป็นขยะเชื้อเพลิง ก่อนนำเข้าสู่กระบวนการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทำให้เทศบาลมีการจัดการขยะที่ดีและเป็นต้นแบบให้แก่พื้นที่อื่น ๆ

                                        1.2.2 การบริหารจัดการน้ำ ได้คัดเลือกบ้านธารมะยม อำเภอแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นที่สูงและเคยประสบปัญหาน้ำแล้ง เนื่องจากพื้นที่ป่าต้นน้ำถูกทำลายจากไฟไหม้ป่าเป็นประจำ เป็นพื้นที่กรณีศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการร่วมมือกันฟื้นฟูพื้นที่ป่าด้วย             การปลูกต้นไม้ สร้างฝายชะลอน้ำ ทำแนวกันไฟ และร่วมกันดับไฟป่า จนทำให้ป่าไม้กลับมามีสภาพสมบูรณ์และพื้นที่ป่าสามารถกักเก็บน้ำได้ ชุมชนมีน้ำใช้อุปโภคและบริโภคตลอดทั้งปี
                                        1.2.3 การจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้คัดเลือกเทศบาลเมืองศรีราชา จังหวัดชลบุรี เป็นพื้นที่กรณีศึกษาแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อฯ ที่มีประสิทธิภาพ โดยเทศบาลได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขในพื้นที่สร้างความร่วมมือกับประชาชนในการป้องกันโรคและจัดการมูลฝอยที่ติดเชื้อฯ ที่ถูกหลักสุขาภิบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถควบคุม            การแพร่ระบาดของโรคได้เป็นอย่างดี

1.3 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จากข้อมูลสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมรายสาขาและประเด็นสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ พ.ศ. 2564 ได้มีการวิเคราะห์และคาดการณ์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโดยมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในประเด็นสำคัญ ดังนี้

1.3.1 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายระยะสั้น (1-2 ปี) ได้แก่

ประเด็น          ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย          หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
1) การจัดการขยะพลาสติกและพลาสติกทะเล          ควรประชาสัมพันธ์สร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนลดการใช้พลาสติก คัดแยกขยะพลาสติกตั้งแต่ต้นทางและนำกลับไปใช้ใหม่และการจัดการขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้งอย่างเหมาะสม รวมทั้งป้องกันไม่ให้ขยะบนบกไหลลงสู่ทะเล การติดตั้งทุ่นกักขยะพลาสติกบริเวณปากแม่น้ำหรือขยะจากการประกอบการท่องเที่ยวและประมงปล่อยทิ้งลงทะเล อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลได้          - กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- กรมควบคุมมลพิษ
- กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
2) การจัดการมูลฝอยติดเชื้อโควิด-19          ควรให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 [เรื่องการแก้ไขปัญหาขยะติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในระยะเร่งด่วน] เพื่อให้ อปท. สามารถนำมูลฝอยติดเชื้อตกค้างไปเผาทำลายที่โรงงานอุตสาหกรรมและโรงงานผลิตไฟฟ้าได้          - กรมควบคุมมลพิษ
- กรมอนามัย
- กรมโรงงานอตุสาหกรรม
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
3) การคุ้มครองพื้นที่มีความสำคัญหรือมีความอ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม          ประสานความร่วมมือและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนพร้อมนำหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์เชิงพื้นที่บนหลักการสร้างสมดุลด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่การพัฒนาที่ยั่งยืนมาเป็นแนวทางในการฟื้นฟู คุ้มครองและอนุรักษ์ให้ทันท่วงทีและต่อเนื่อง          - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- กรมป่าไม้
- กรมทรัพยากรน้ำ
-กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
- สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)
- กรมศิลปากร
- กรมควบคุมมลพิษ
- กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

1.3.2 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายระยะยาว (3-10 ปี) ได้แก่

ประเด็น          ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย          หน่วยงานรับผิดชอบหลัก
1) การส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน          ควรส่งเสริมให้เกิดเป็นสังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น การทำเกษตรอินทรีย์หรือเกษตรปลอดภัย มีกระบวนการผลิตตามแนวทางอุตสาหกรรมสีเขียวและอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ การบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานหมุนเวียน การเผยแพร่ ความรู้ด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนให้กับประชาชน รวมถึงการจัดการเรียนการสอนในเรื่องดังกล่าวให้แก่นักเรียนและนักศึกษา          - กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
- สผ.
- กรมควบคุมมลพิษ
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
- สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
- กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
- สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
- สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
-สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเดิม)
- กรมประชาสัมพันธ์
- สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
- กรมโรงานอุตสาหกรรม
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- หอการค้าไทย
2) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก          - ควรกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงานด้วยการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
- ควรส่งเสริมการขนส่งที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น
- ควรเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องจักรในกระบวนการผลิตในภาคการเกษตร
- ควรลดการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรและใส่ปุ๋ยตามความเหมาะสมของดินและความต้องการของพืช รวมทั้งลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการปลูกต้นไม้และป่าชายเลน          - สผ.
- องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (มหาชน)
- สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
- สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
- สนข.
- พพ.
- สวทช.
- สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- กรมป่าไม้
- กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
- สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- หอการค้าไทย
3) การใช้ทรัพยากรให้เกิดการหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ          ควรมีการจัดการที่ดีเพื่อป้องกันการรั่วไหลของโลหะหนักที่ปนอยู่รั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมด้วยการเพิ่มบทบาทและความรับผิดชอบให้แก่ผู้ผลิตเป็นผู้เก็บรวบรวมและขนส่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้สามารถนำไปคัดแยก รีไซเคิล และนำกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตซ้ำ รวมถึงมีการจัดการอย่างถูกวิธี ไม่เกิดมลพิษตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน          - กรมควบคุมมลพิษ
- กรมโรงงานอุตสาหกรรม
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
- สวทช.
- กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

2. รายงานผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2562

2.1 ผลการติดตามการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบายฯ จำนวน 91 ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 71 หน่วยงาน ได้มีการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องจำนวน 322 โครงการ สามารถแบ่งกลุ่มการดำเนินงานออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านกฎหมายและนโยบาย ด้านการบริหารจัดการ และด้านการสนับสนุน มีผลการดำเนินงานที่สำคัญ เช่น

(1) ด้านกฎหมายและนโยบาย          (2) ด้านการบริหารจัดการ          (3) ด้านการสนับสนุน
ข้อเสนอแนะ (ทรัพยากรดินและการใช้ดิน) : ปรับปรุงเครื่องมือทางผังเมือง จัดให้มีการวางผังเมืองในทุกระดับโดยเน้นขอบเขตพื้นที่ลุ่มน้ำในการกำหนดการใช้ที่ดินและการมีแผนการใช้ที่ดินที่เน้นความสำคัญของระบบนิเวศและศักยภาพของที่ดิน ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดปัญหาการใช้ที่ดินผิดประเภทและปัญหาผลกระทบภายนอกระหว่างกิจกรรมต่างๆ
กรมโยธาธิการและผังเมืองได้วางนโยบายระดับประเทศ วางและจัดทำผังนโยบายระดับภาค              วางและจัดทำผังเมือง รวมเมือง/ชุมชน และผังเมืองรวมจังหวัดเพื่อกำหนดกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ระดับประเทศ วางผังภาคให้เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบทการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ โดยมุ่งให้เกิดการพัฒนาเมืองหรือชนบท          กรมที่ดิน ได้บริหารจัดการการใช้ประโยชน์ในที่ดินสาธารณประโยชน์ที่มีการบุกรุกเพื่อให้ราษฎรได้เข้าอยู่อาศัยในที่ดินของรัฐโดยถูกต้องมีความมั่นคงในการถือครองที่ดินส่งผลให้เกิดความมั่นใจในการประกอบกิจการในที่ดิน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และลดข้อพิพาทระหว่างรัฐกับราษฎร เกี่ยวกับสิทธิการครอบครองที่ดินของรัฐ และการรังวัดออกและตรวจสอบหนังสือสำคัญ สำหรับที่หลวง (น.ส.ล.) เพื่อการจัดที่ดิน          กรมโยธาธิการและผังเมืองได้วางผังระบายน้ำจังหวัดใน 25 ลุ่มน้ำ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยของพื้นที่ สิ่งปลูกสร้างและโครงสร้างพื้นฐานที่กีดขวางทางน้ำที่มีผลต่อการระบายน้ำของชุมชนเมืองพร้อมทั้งเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา
ข้อเสนอแนะ [สถานการณ์มลพิษ (คุณภาพอากาศ)] : จัดทำแนวทางและรูปแบบการเพิ่มภาษีสำหรับรถยนต์เก่า โดยพิจารณารูปแบบของต่างประเทศมาปรับใช้เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศไทย รวมทั้งสนับสนุนการติดตั้งอุปกรณ์ที่ลดเขม่าจากการเผาไม้ ซึ่งสามารถดักจับเขม่าควันต่าง ๆ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ไม่ให้ปล่อยออกไปสู่อากาศได้
กรมสรรพสามิตได้ปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า สนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคเอเชียและสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ          สำนักงานเศรษฐกิจการคลังมีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์ รถจัรยานยนต์ตามปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (Co2) การลดอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งแบบพลังงานไฟฟ้า และการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล B10 และ B20          กรมการขนส่งทางบกได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ใช้รถใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ดังนี้
1) รถที่ใช้ไฟฟ้า กำหนดให้จัดเก็บในอัตรากึ่งหนึ่งของรถที่ใช้น้ำมันเว้นแต่รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คนที่จัดเก็บตามน้ำหนักของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน 2) รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเพียงอย่างเดียว กำหนดให้จัดเก็บภาษีในอัตรากึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดไว้ และ 3) รถที่ใช้ก๊าซธรรมชาติร่วมหรือสลับกับน้ำมันเชื้อเพลิง กำหนดให้จัดเก็บในอัตรา 3 ใน 4 ของอัตราที่กำหนดไว้
ข้อเสนอแนะ [สถานการณ์มลพิษ (ขยะมูลฝอย ของเสียอันตราย มูลฝอยติดเชื้อ และสารอันตราย)] : จัดเก็บภาษีผลิตภัณฑ์ที่ยากต่อการรีไซเคิลหรือกำจัดยาก หรือขยะไม่ย่อยสลาย เช่น เก็บภาษีกล่องโฟม และภาษีพลาสติกย่อยสลายยาก และสนับสนุนการลดค่าธรรมเนียมการเก็บขยะสำหรับแหล่งกำเนิดขยะหากมีการใช้วัสดุแทน และเร่งรัดการออกกฎหมายเพื่อขยายบทบาทและความรับผิดชอบของภาคเอกชน (ผู้ผลิต) ในการจัดการของเสียอันตรายประเภทซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างศึกษาการใช้มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการใช้วัสดุทดแทนกล่องโฟมและพลาสติก เพื่อจูงใจให้เกิดการใช้วัสดุทดแทนกล่องโฟมและพลาสติก และลดปัญหาขยะจากกล่องโฟมและพลาสติก          สำนักงานเศรษฐกิจการคลังมีมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองทางชีวภาพเพื่อเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการซื้อผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้เองฯ          กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมได้มีการศึกษารูปแบบการจัดการมลพิษจากขยะชุมชนและขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ

2.2 ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการดำเนินงานให้บรรลุตามข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

ปัญหา อุปสรรค          แนวทางการแก้ไข
1) สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การดำเนินงานล่าช้ากว่ากำหนด          ปรับปรุงการปฏิบัติงาน/เตรียมแผนการดำเนินงานเพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ
2) การบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังมีไม่มากและมีความซ้ำซ้อน          บูรณาการการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลาง ภูมิภาค และพื้นที่ให้สอดคล้องกัน
3) ภาคส่วนต่าง ๆ ยังไม่มีความเข้าใจการดำเนินงานในเชิงนโยบายที่ชัดเจน เช่น การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์และการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม          เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจการกำหนดนโยบายการพัฒนาเชิงพื้นที่
4) การพัฒนาฐานข้อมูลและการจัดทำระบบสารสนเทศต้องใช้ความรู้เฉพาะทางและไม่เป็นมาตรฐานเดียวกัน          พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สามารถบูรณาการข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ข้อมูลทันสมัย และผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลและใช้งานได้ง่าย

14. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 5,615.4699 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ปี 2565 จำนวน 2,525 รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ โดยรายละเอียดของแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ

สาระสำคัญ

1. สทนช. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ 9 มาตรการ เพื่อป้องกันและบรรเทาภัยแล้งปี 2564/2565 โดยแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดทำแผนงานรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ซึ่งแผนงานโครงการดังกล่าวได้ผ่านคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดพิจารณาความเหมาะสม พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญของแผนงานแล้ว โดย สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้ดำเนินการตรวจสอบ และกลั่นกรองแผนงานโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีแผนงานโครงการที่ต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2565 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จำนวน 4,181 รายการในกรอบวงเงินงบประมาณ11,674.7813 ล้านบาท ซึ่งสำนักงบประมาณได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว นายกรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ดำเนินโครงการดังกล่าว รวม2,525 รายการ โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบงบประมาณ 5,615.4699 ล้านบาท จำแนกตามหน่วยงาน ได้ดังนี้

(1) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล จำนวน 112 รายการ งบประมาณ 1,413.7738 ล้านบาท

(2) กรมชลประทาน จำนวน 621 โครงการ งบประมาณ 1,162.0394 ล้านบาท

(3) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จำนวน 670 โครงการ งบประมาณ1,064.2424 ล้านบาท

(4) กรมทรัพยากรน้ำ จำนวน 111 โครงการ งบประมาณ 972.8865 ล้านบาท

(5) องค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 497 โครงการ งบประมาณ 567.7936 ล้านบาท

(6) จังหวัด จำนวน 492 โครงการ งบประมาณ 355.4454 ล้านบาท

(7) กรมเจ้าท่า จำนวน 11 โครงการ งบประมาณ 49.4980 ล้านบาท

(8) เทศบาลเมือง จำนวน 9 โครงการ งบประมาณ 27.0388 ล้านบาท

(9) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จำนวน 2 โครงการ งบประมาณ 2.7520 ล้านบาท

ดังนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2564/2565 และป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายและผลกระทบเป็นวงกว้าง รวมถึงสามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ จึงมีความจำเป็นต้องขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินรวมทั้งสิ้น 5,615.4699 ล้านบาท

15. เรื่อง การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี ? สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบเรื่อง การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี ? สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้

ข้อเท็จจริง

                    เนื่องจากรัฐบาลโดยกระทรวงคมนาคมได้มีนโยบายในการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี ? สุขสวัสดิ์) เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและรวดเร็วในการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 ให้สอดคล้องกับการยกเว้นค่าธรรมเนียมผ่านทางหลวงพิเศษของกรมทางหลวง โดยให้ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา ? ชลบุรี)                    ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี และทางเชื่อมต่อทางพิเศษกาญจนาภิเษก               (บางพลี - สุขสวัสดิ์) กับทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) โดยคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เห็นชอบในหลักการการกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา ? ชลบุรี) ทางยกระดับด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี และทางเชื่อมต่อทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) กับทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี ? สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 โดยไม่มี                 การจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2565 เวลา 00.01 นาฬิกา ถึงวันที่                      18 เมษายน 2565 เวลา 24.00 นาฬิกา ตามที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เสนอและอนุมัติให้การทางพิเศษ              แห่งประเทศไทยนำเรื่องการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษทั้งสองสายทางดังกล่าวเสนอคณะรัฐมนตรี               ทราบต่อไป

สาระสำคัญ

การทางพิเศษแห่งประเทศไทยขอให้กระทรวงคมนาคมเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบกรณีการทางพิเศษแห่งประเทศไทยยกเว้นการเก็บค่าผ่านทางพิเศษในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

การดำเนินการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษดังกล่าวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 จากการวิเคราะห์พบว่า หากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถีและทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 12 เมษายน 2565 เวลา 00.01 นาฬิกา ถึงวันที่ 18 เมษายน 2565 เวลา 24.00 นาฬิกา รวม 7 วันดังกล่าว คาดว่าจะมีปริมาณจราจรที่ใช้ทางพิเศษ รายได้ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไม่ได้เรียกเก็บ และผลประโยชน์ที่ได้รับ ดังนี้

1. ทางพิเศษบูรพาวิถี ระหว่างวันที่ 12 เมษายน 2565 เวลา 00.01 นาฬิกาถึงวันที่ 18 เมษายน 2565 เวลา 24.00 นาฬิกา

ผลการวิเคราะห์          เฉลี่ย/วัน          หากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ยกเว้นค่าผ่านทาง รวม 7 วัน
ปริมาณจราจร          141,004 คัน/วัน          987,028 คัน
รายได้ที่ไม่ได้เรียกเก็บ          5,499,156 บาท/วัน          38,494,092 บาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับ
- VOC Saving
- VOC Saving
3,587,561 บาท/วัน
7,281,833 บาท/วัน
25,112,927 บาท
50,972,831 บาท
รวม          10,869,394 บาท/วัน          76,085,758 บาท

2. ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี ? สุขสวัสดิ์) ระหว่างวันที่ 12 เมษายน 2565 เวลา 00.01 นาฬิกา ถึงวันที่ 18 เมษายน 2565 เวลา 24.00 นาฬิกา

ผลการวิเคราะห์          เฉลี่ย/วัน          หากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย
ยกเว้นค่าผ่านทาง รวม 7 วัน
ปริมาณจราจร          194,795 คัน/วัน          1,363,565 คัน
รายได้ที่ไม่ได้เรียกเก็บ          8,345,108 บาท/วัน          58,415,126 บาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับ
- VOC Saving
- VOC Saving
4,018,417 บาท/วัน
5,997,734 บาท/วัน
28,128,919 บาท
41,984,138 บาท
รวม          10,016,151 บาท/วัน          70,113,057 บาท
                    เพื่อให้การดำเนินการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี และทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 5 มาตรา 19 และมาตรา 39 ประกอบกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ลงนามในสัญญาโอนและรับโอนสิทธิในรายได้ส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงการทางพิเศษฉลองรัชและโครงการทางพิเศษบูรพาวิถี ซึ่งตามสัญญาข้อ 4.4 กรณีการปรับอัตราค่าผ่านทาง (ค) ที่กำหนดว่า การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องขอความยินยอมล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษรจากกองทุนรวมอย่างน้อยสิบห้าวันทำการ ก่อนการปรับหรือเปลี่ยนแปลงอัตราค่าผ่านทางของโครงการฯ การกำหนดส่วนลดอัตราค่าผ่านทางของโครงการฯ หรือการยกเว้นการจัดเก็บค่าผ่านทางของโครงการฯ ในกรณีใด ๆ ยกเว้นในกรณี (2) ... การยกเว้นหรือกำหนดส่วนลดอัตราค่าผ่านทางของโครงการฯ ที่เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล ตลอดช่วงเวลาให้สิทธิตามสัญญา (ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อม) ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมีมติเห็นชอบและกระทรวงคมนาคมได้มีประกาศกำหนดแล้ว การทางพิเศษแห่งประเทศไทย จึงเห็นควรนำ                   ร่างประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดให้ทางพิเศษบูรพาวิถี (ทางพิเศษสายบางนา ? ชลบุรี) ทางยกระดับ   ด้านทิศใต้สนามบินสุวรรณภูมิเชื่อมทางพิเศษบูรพาวิถี และทางเชื่อมต่อทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) กับทางพิเศษบูรพาวิถีเป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ ประเภทของรถที่ต้องเสียหรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษและอัตราค่าผ่านทางพิเศษ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2565 และร่างประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดให้ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษสายเชื่อมระหว่างถนนวงแหวนอุตสาหกรรมกับทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) เป็นทางต้องเสียค่าผ่านทางพิเศษ ประเภทของรถที่ต้องเสียหรือยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษ และอัตราค่าผ่านทางพิเศษ (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2565 ซึ่งคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและลงนาม ก่อนลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อมีผลใช้บังคับต่อไป

16. เรื่อง ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 199.65 ล้านบาท ให้กรมธุรกิจพลังงาน โดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้อนุมัติและดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน ผ่านวิธีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแทนกัน และให้กระทรวงพลังงานดำเนินมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ

                    ทั้งนี้ พน. เสนอว่า เนื่องจากราคาขายปลีก LPG จะปรับขึ้นเดือนละ 1 บาท/กิโลกรัม จำนวน 3 ครั้ง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการบรรเทาผลกระทบแก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยเพิ่มวงเงินส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จากจำนวน 45 บาท/คน/3 เดือน เป็น                     100 บาท/คน/3 เดือน ในช่วงเดือนเมษายน 2565 ถึงเดือนมิถุนายน 2565 รวมระยะเวลา 3 เดือน

สาระสำคัญ

                    มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านราคา LPG โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อ                 ก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นราคา LPG และลดภาระค่าครองชีพสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยจะเพิ่มการช่วยเหลือผู้ใช้ LPG ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

(1) การกำหนดสิทธิ์และวงเงินงบประมาณ

                              ปัจจุบันผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีจำนวนประมาณ 13.5 ล้านคน ที่ผ่านมาได้มีการใช้สิทธิ์ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 45 บาท/คน/3 เดือน จำนวนประมาณ 3.0 ล้านคน คาดว่าการยกระดับความช่วยเหลือเป็น 100 บาท/คน/3 เดือน จะจูงใจให้มีผู้ใช้สิทธิ์เพิ่มขึ้นจากเดิม รวมประมาณ 3.63 ล้านคน ในช่วง 3 เดือน มติ กบง. เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2565 เห็นชอบการเพิ่มส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อยอีก 55 บาท/คน/3 เดือน              เป็น 100 บาท/คน/3 เดือน ดังนั้น คาดว่าจะใช้งบประมาณ 199.65 ล้านบาท (55 บาท/คน/3 เดือน ประมาณ 3.63 ล้านคน) ในช่วง 3 เดือน

(2) การดำเนินการภายหลังได้รับงบประมาณ

                              กรมบัญชีกลางจะเป็นผู้ดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน ผ่านวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณแทนกัน โดยกรมบัญชีกลางจะดำเนินการเบิกจ่ายส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จำนวน 100 บาท/คน/3 เดือน ให้กับร้านค้าก๊าซหุงต้มที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปใช้สิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 โดยแบ่งเป็นส่วนลด 45 บาท เบิกจ่ายจากกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม และส่วนลดเพิ่ม 55 บาท เบิกจ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เมื้อสิ้นสุดโครงการแล้ว ให้กรมบัญชีกลาง           ส่งเงินคืนกรมธุรกิจพลังงาน ทั้งนี้ กรณีโอนเงินไม่สำเร็จ ให้ดำเนินการติดตามเพื่อโอนเงินให้แก่ร้านค้าก๊าซหุงต้ม จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2565

(3) การใช้ส่วนลดของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

คาดว่าผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะสามารถใช้สิทธิ์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 รวมระยะเวลา 3 เดือน

(4) งบประมาณ

ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 199.65 ล้านบาท

17. เรื่อง มาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้

1. เห็นชอบในหลักการของข้อเสนอมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป

2. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน กระทรวงแรงงาน กำกับและติดตามให้หน่วยงานในสังกัดที่มีอำนาจและหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป ตามขั้นตอนของระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

3. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณ และธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกันพิจารณาติดตามและปรับปรุงมาตรการการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่เหมาะสมตามสถานการณ์ของราคาพลังงานในตลาดโลก โดยคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจ ความพร้อมและความสามารถทางการเงินของภาครัฐภายใต้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

4. มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรวบรวมข้อเสนอแนวทางหรือมาตรการผลกระทบของประชาชนและผู้ประกอบการจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปที่มีลักษณะมุ่งเป้าของกระทรวงต่าง ๆ เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

สาระสำคัญ

แนวทางการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ (1) มาตรการให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วน เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย แรงงานและเกษตรกรประชาชนทั่วไป รวมถึงผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานจากความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป และ (2) มาตรการให้ความช่วยเหลือในระยะต่อไป เพื่อติดตามและปรับปรุงมาตรการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาจากความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ของราคาพลังงานในตลาดโลกและบริบทที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. มาตรการในระยะเร่งด่วน

1.1 หลักการ เป็นการให้ความช่วยเหลือประชาชนแบบมุ่งเป้า โดยเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่เกิดขึ้นโดยตรง ได้แก่ กลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มแรงงานและเกษตรกร ประชาชนทั่วไปรวมถึงผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากราคาพลังงานที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

1.2 ระยะเวลาการให้ความช่วยเหลือ ตั้งแต่เดือนเมษายน - สิงหาคม 2565 ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของแต่ละแนวทางการให้ความช่วยเหลือ

1.3 แนวทางการให้ความช่วยเหลือ

1) การลดภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยการบริหารจัดการราคาเชื้อเพลิงและค่าไฟฟ้าที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวันของประชาชน และเป็นปัจจัยการผลิตพื้นฐานของสถานประกอบการโดยเฉพาะสถานประกอบการขนาดเล็ก เพื่อบรรเทาไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น (Cost-Push Inflation) ซึ่งจะกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนเป็นวงกว้าง ดังนี้

1.1) ราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) มีการกำหนดราคาขายปลีก LPG ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2565 ให้อยู่ในอัตรา ดังนี้ เดือนเมษายน 2565 เท่ากับ 333 บาทต่อถัง [(ขนาด 15 กิโลกรัม) เดือนพฤษภาคม 2565 เท่ากับ 348 บาทต่อถัง และเดือนมิถุนายน 2565 เท่ากับ 363 บาทต่อถัง] ทั้งนี้ จากการประมาณการแนวโน้มราคา LPG ในตลาดโลกในช่วงดังกล่าว คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 6,380 ล้านบาท ซึ่งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจะเป็นผู้บริหารจัดการ

1.2) ราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับรถยนต์ (NGV) ตรึงราคาขายปลีก NGV ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2565 เท่ากับ 15.59 บาทต่อ กก. โดยขอความร่วมมือจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (บมจ.ปตท.) ซึ่งจากการประมาณการแนวโน้มราคาก๊าซ NGV ในช่วงดังกล่าว คาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 1,590 ล้านบาท

1.3) ราคาค่าไฟฟ้า โดยการให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน เป็นระยะเวลา 4 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม 2565 ทั้งนี้ จากการประมาณการแนวโน้มความต้องการไฟฟ้า ราคาค่าเชื้อเพลิงและอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงดังกล่าว คาดว่าจะทำให้ภาครัฐมีภาระค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 2,000 - 3,500 ล้านบาท โดยในเบื้องต้นจะใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

1.4) เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ กำกับดูแลราคาสินค้าและบริการโดยสารเฉพาะสินค้าที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประชาชนของประชาชน เพื่อไม่ให้ผู้ประกอบการฉวยโอกาสปรับราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นเกินความจำเป็นและความเหมาะสม และในกรณีที่ราคาพลังงานมีแนวโน้มลดลง เห็นควรกำหนดให้มีกลไกในการกำกับดูแลให้ผู้ประกอบการปรับราคาสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับต้นทุนที่มีแนวโน้มลดลง พร้อมทั้งขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการในการมุ่งเน้นการควบคุมและบริหารจัดการต้นทุนภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวควบคู่ไปด้วย

2) การลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบอาชีพในภาคขนส่ง โดยการบริหารจัดการราคาค่าเชื้อเพลิงที่เป็นต้นทุนสำคัญ ดังนี้

2.1) ราคาน้ำมันดีเซล โดยการบริหารราคาน้ำมันดีเซลโดยใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและภาษีสรรพสามิต โดยตรึงราคาน้ำมันดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตรในเดือนเมษายน 2565 หลังจากนั้นในช่วงเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2565 ในกรณีที่ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศยังคงสูงเกินกว่าราคาที่กำหนดไว้ รัฐจะอุดหนุนราคาส่วนเพิ่มร้อยละ 50 ทั้งนี้ จากการประมาณการราคาน้ำมันดีเซลในตลาดเอเชียในช่วงเวลาดังกล่าวคาดว่าจะมีราคาเฉลี่ยประมาณ 115 - 135 เหรียญ สรอ. ต่อบาร์เรล คาดว่าภาครัฐจะมีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการราคาน้ำมันดีเซล รวมประมาณ 33,140 ล้านบาท

2.2) ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล โดยให้ส่วนลดแก่ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์สาธารณะ (รถมอเตอร์ไซค์รับจ้าง) ที่มีใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะที่จดทะเบียนเป็นผู้ขับขี่จักรยานยนต์รับจ้างกับกรมการขนส่งทางบก จำนวนประมาณ 157,000 ราย จำนวน 5 บาทต่อลิตร ไม่เกิน 250 บาทต่อคนต่อเดือน ในช่วงเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2565 ทั้งนี้ จากการประมาณการค่าใช้จ่ายตามแนวทางดังกล่าว จะทำให้ภาครัฐมีภาระค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 120 ล้านบาท โดยในเบื้องต้นจะใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

2.3) ราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) โดยการขอความร่วมมือจาก บมจ.ปตท. สำหรับผู้ขับขี่รถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) ที่ลงทะเบียนภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน จำนวน 17,460 ราย สามารถซื้อก๊าซ NGV ในอัตรา 13.62 บาทต่อ กก. ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2565 วงเงินไม่เกิน 10,000 บาท ต่อเดือน ทั้งนี้ จากการประมาณการแนวโน้มราคาก๊าซ NGV ในช่วงดังกล่าวจะทำให้ บมจ.ปตท. จะมีภาระค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 171 ล้านบาท

3) การดูแลค่าครองชีพประชาชนผู้มีรายได้น้อย โดยการให้ส่วนลดค่าก๊าซ LPG แก่กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มกำลังซื้อและลดภาระต้นทุนในการประกอบอาชีพให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ในช่วงเดือนเมษายน - มิถุนายน 2565 ดังนี้

3.1) กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั่วไป โดยการให้ส่วนลดสำหรับซื้อก๊าซ LPG เพิ่มเติมอีก จำนวน 55 บาท ต่อ 3 เดือน รวมเป็น 100 บาทต่อ 3 เดือน ซึ่งคาดว่าจะมีผู้ใช้สิทธิประมาณ 3.6 ล้านราย ทั้งนี้ จากการประมาณการค่าใช้จ่าย คาดว่าจะทำให้ภาครัฐมีภาระค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 200 ล้านบาท โดยในเบื้องต้นจะใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น

3.2) กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐทั่วไปที่เป็นผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ได้ลงทะเบียนกับ บมจ. ปตท. โดยการขอความร่วมมือจากบมจ. ปตท. ในการให้ส่วนลดสำหรับซื้อก๊าซ LPG ไม่เกิน 100 บาทต่อรายต่อเดือน ทั้งนี้ คาดว่าตามแนวทางดังกล่าวจะทำให้มีค่าใช้จ่ายรวมประมาณ 1.65 ล้านบาท

4) ยกเลิกการจ่ายเงินชดเชยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเกรดพรีเมี่ยมเนื่องจากเป็นน้ำมันที่ใช้กับกลุ่มรถยนต์ของผู้ที่มีกำลังซื้อสูง เพื่อลดภาระการสนับสนุนของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยจะสามารถบริหารเงินในส่วนนี้สำหรับชดเชยให้กับกลุ่มที่มีความจำเป็นต่อไป

5) การสนับสนุนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพของราคาพลังงานของประเทศ โดยพิจารณาจัดสรรเงินอุดหนุน ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉินและจำเป็น ตามมาตรา 6 (2) ของพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง 2562 ให้แก่ กองทุนฯ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่สถาบันการเงินที่จะให้สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องแก่กองทุนฯ

6) การลดภาระค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ประกอบการขนส่งด้วยรถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะ โดยมอบหมายกระทรวงคมนาคม พิจารณาความเหมาะสมของการลดอัตราหรืองดการจัดเก็บค่าใช้จ่ายในการต่ออายุทะเบียนรถบรรทุกและรถโดยสารสาธารณะในปี 2565 และนำเสนอเพื่อพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

7) การดูแลกลุ่มแรงงานที่ได้รับผลกระทบ โดยการลดภาระค่าครองชีพให้แก่ผู้ประกันตนและลดต้นทุนการผลิตให้แก่นายจ้าง ผ่านกลไกของกองทุนประกันสังคม ดังนี้

7.1) นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยกำหนดให้มีการลดอัตราเงินสมทบฝ่ายนายจ้างและผู้ประกันตามมาตรา 33 จากเดิมฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือฝ่ายร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับงวดค่าจ้างเดือนพฤษภาคม ? กรกฎาคม 2565 ทั้งนี้ คาดว่าจะการดำเนินการดังกล่าวจะทำให้มีวงเงินประมาณ 33,857 ล้านบาท

7.2) ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 โดยกำหนดให้มีการลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตามมาตรา 39 จากเดิมร้อยละ 9 ของฐานค่าจ้าง 4,800 บาท (เดือนละประมาณ 432 บาท) เหลือร้อยละ 1.90 ของค่าจ้าง 4,800 บาท (เดือนละ 91 บาท) สำหรับงวดค่าจ้างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2565

7.3) ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 โดยกำหนดให้มีการลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตามมาตรา 40 จากเดิม 70 - 300 บาทต่อเดือน เป็น 42 - 180 บาทต่อเดือน (แล้วแต่กรณี) จำนวน 6 เดือน สำหรับงวดค่าจ้างเดือนกุมภาพันธ์ - กรกฎาคม 2565

ทั้งนี้ ในเบื้องต้น การดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวจะทำให้กองทุนประกันสังคม มีรายรับจากเงินสมทบกองทุนประกันสังคม ลดลงรวมประมาณ 33,857 ล้านบาทสำหรับมาตรการที่ 7.1) ? 7.2) และประมาณ 1,367 ล้านบาท สำหรับมาตรการที่ 7.3)

8) การดูแลกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาปัจจัยการผลิต โดยการแก้ไขปัญหาปุ๋ยแพงและปุ๋ยขาค รวมถึงปัญหาอาหารสัตว์ โดยปัจจุบันคณะทำงานของกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือดูแลกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของราคาปัจจัยการผลิต ดังนั้น จึงเห็นควรมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์ เร่งดำเนินการจัดทำข้อเสนอแนวทางการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรต่อไป

2. มาตรการให้ความช่วยเหลือในระยะต่อไป : เพื่อให้ภาครัฐมีข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางการพิจารณาให้ความช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพของประชาชนและผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปในลักษณะมุ่งเป้าได้ เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณและธนาคารแห่งประเทศไทย ร่วมกันพิจารณาติดตามและปรับปรุงมาตรการการให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่เหมาะสมตามสถานการณ์ของราคาพลังงานในตลาดโลก โดยคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจความพร้อมและความสามารถทางการเงินของภาครัฐภายใต้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วย ทั้งนี้ กรณีที่กระทรวงผู้รับผิดชอบพิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการลดผลกระทบของประชาชนและผู้ประกอบการจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปที่มีลักษณะมุ่งเป้า เห็นควรให้กระทรวงรับผิดชอบเสนอแนวทางการให้ความช่วยเหลือให้ สศช. รวบรวมก่อนเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป

3. ผลที่คาดว่าจะได้รับ การดำเนินการตามข้อเสนอมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรปจะช่วยลดภาระค่าครองชีพของผู้มีรายได้น้อย แรงงานและเกษตรกร ประชาชนทั่วไป และสามารถลดค่าใช้จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการในช่วงระยะเวลาของมาตรการ

ต่างประเทศ

18. เรื่อง การบริจาคเงินในการเพิ่มทุนของสมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ ครั้งที่ 20
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการบริจาคเพิ่มทุนในสมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (International Development Association : IDA) ครั้งที่ 20 (IDA 20) ของประเทศไทย จำนวน 327.70 ล้านบาท โดยแบ่งชำระออกเป็น 4 งวด ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ? 2569 รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กค.) และ               สำนักงบประมาณดำเนินการให้ส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป [รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการของประเทศไทยในธนาคารโลกจะลงคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบร่างมติการเพิ่มทุนใน IDA 20 ตามที่คณะกรรมการบริหารธนาคารโลกเสนอต่อสภาผู้ว่าการธนาคารโลกภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 เวลา 18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น               ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา (เป็นการลงคะแนนผ่าน Electronic Form)] ตามที่การกระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

                    สมาคมพัฒนาการระหว่างประเทศ (IDA) เป็นสถาบันในกลุ่มธนาคารโลก มีวัตถุประสงค์              เพื่อช่วยเหลือด้านการพัฒนาแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่ยากจนที่สุดในรูปแบบเงินให้เปล่า (Grant) และเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน ซึ่งในครั้งนี้กระทรวงการคลังขอเสนอให้ประเทศไทยบริจาคเงินเพิ่มทุนใน IDA ครั้งที่ 20 (IDA 20) จำนวน 327.70 ล้านบาท หรือประมาณ 10.32 ล้านดอลลาร์สหรัฐ [เพิ่มขึ้นจาก IDA 19 จำนวน 167.79 ล้านบาท                     (IDA 19 ประเทศไทยบริจาค 159.91 ล้านบาท) ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มตามกรอบวงเงินบริจาคใน IDA 20 เพื่อสนับสนุนการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาที่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) รวมถึงปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ] โดยจะทยอยชำระเป็น 4 งวด ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ? 2569 เพื่อไม่ให้เกิดภาระด้านงบประมาณ และสามารถบริจาคในรูปเงินบาทได้จึงไม่มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยที่ผ่านมาประเทศไทยได้บริจาคเงินเพิ่มทุนใน IDA มาแล้ว 3 ครั้ง (IDA 17 IDA 18 IDA 19)               รวมทั้งสิ้น 495.91 ล้านบาท ซึ่งการบริจาคเพิ่มทุนใน IDA 20 สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและเป็นการรักษาจุดยืนของประเทศไทยที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแก่ประเทศกำลังพัฒนาที่มีฐานะยากจน ซึ่งรวมถึงประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากผลการพัฒนาของประเทศเหล่านี้ในทางอ้อมผ่านช่องทางการค้า การลงทุน และความเชื่อมโยงของภูมิภาค และเป็นการส่งเสริมบทบาทภูมิภาคอาเซียนในการเป็นกำลังสำคัญ                เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภูมิภาคและเศรษฐกิจโลกต่อไป ซึ่งเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบในครั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะดำเนินการลงคะแนนเสียงให้ความเห็นชอบร่างมติการเพิ่มทุนใน IDA 20 ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 (เวลา 18.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา) และลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนงเพื่อยืนยันจำนวนเงินที่ประเทศไทยต้องการบริจาคอย่างเป็นทางการแก่ IDA รวมทั้งลงนามใน                 ตั๋วสัญญาใช้เงินคลังประเภทจ่ายเมื่อทวงถามและไม่มีดอกเบี้ย และนำส่งสำเนาแก่ IDA ต่อไป

19.  เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6 และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ? ญี่ปุ่น                ครั้งที่ 3

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6 และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ? ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3 โดยอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้การรับรองเอกสารร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6 และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ? ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3 ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนถ้อยคำในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) ดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ

สาระสำคัญของเรื่อง

กก. รายงานว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและคณะได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน1 ครั้งที่ 6 (6th ASEAN Ministerial Meeting on Sports : AMMS-6) และการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3 (3rd ASEAN Plus Japan Ministerial Meeting on Sports : 3rd AMMS+Japan) ผ่านระบบการประชุมทางไกล เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือด้านกีฬาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งทบทวนและประเมินผลโครงการและกิจกรรมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียนและองค์กรย่อยตามแผนการดำเนินการด้านกีฬาอาเซียนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์แผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และสายงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากีฬาอาเซียน โดยมีสาระสำคัญของการประชุมสรุปได้ ดังนี้

1. ผลการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6

                              1.1 ประเทศสิงคโปร์ ในฐานะประธานการประชุม ได้รายงานการดำเนินการตามแผนงานอาเซียนด้านกีฬา ปี ค.ศ. 2021 - 2025 รวมทั้งแจ้งความคืบหน้าของผลลัพธ์การประชุมอาเซียนด้านกีฬา ประกอบด้วย (1) แผนงานอาเซียนด้านกีฬา ปี ค.ศ. 2021 ? 2025 (2) การศึกษาวิจัย ASEAN Active Citizens Worldwide เกี่ยวกับคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของกีฬา (3) บันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (ASEAN-WADA MOU) และ (4) แถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน เรื่อง การสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับนักกีฬาอาเซียนในการแข่งขันซีเกมส์ รวมทั้งมีการพิจารณารับรองเอกสาร 4 ฉบับ                  เพื่อนำไปใช้ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 402 ได้แก่ (1) แผนงานอาเซียนด้านกีฬา ปี ค.ศ. 2021 ? 2025                 (2) แผนความร่วมมือประจำปี ASEAN-FIFA (3) แถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน เรื่อง การสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับนักกีฬาอาเซียนในการแข่งขันซีเกมส์ และ (4) บันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (ASEAN-WADA MOU)
                              1.2 รัฐมนตรีกีฬาของประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการกล่าวแถลงการณ์เกี่ยวกับ               ความร่วมมืออาเซียนด้านกีฬาภายใต้แผนงานอาเซียนด้านกีฬา ปี ค.ศ. 2021 ? 2025 โดยในส่วนของประเทศไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มีแถลงการณ์ของเทศไทยถึงแนวนโยบายและโครงการที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลไทยที่ส่งเสริมด้านการกีฬาในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเซื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) โดย กก. ได้พัฒนาการจัดการแข่งขันกีฬาในรูปแบบการป้องกันควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะ (Bubble and Seal) ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการจัดกิจกรรมเฉพาะองค์กรตามมาตรการด้านสาธารณสุขส่งผลให้ประเทศไทยได้รับความเชื่อมั่นจากแวดวงกีฬานานาชาติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาในระดับนานาชาติหลายรายการ อาทิ                    (1) การแข่งขัน HSBC Badminton World Federation World Tour (2) การแข่งขันวอลเลย์บอลชายหาดชิงแชมป์โลกและโอลิมปิก รอบคัดเลือก และ (3) การแข่งขัน Asian Golf Tour 2021 นอกจากนี้ ในด้านนโยบายและ                   แนวทางการพัฒนาการกีฬาของประเทศไทยในภาพรวม ประเทศไทยได้มีการจัดทำแผนพัฒนากีฬาแห่งชาติ                   ซึ่งประกอบด้วย กีฬาขั้นพื้นฐาน กีฬามวลชน และกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ ตลอดจนส่งเสริมธุรกิจและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมการกีฬา ซึ่งสอดคล้องกับแผนงานอาเซียนด้านกีฬา ปี ค.ศ. 2021 - 2025 และแผนความร่วมมือประจำปี ASEAN-FIFA ทั้งนี้ ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 7 และประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ในปี 2565

2. ผลการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3

ประเทศสิงคโปร์ ในฐานะประธานการประชุม รายงานความคืบหน้าของความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นภายใต้แผนงานอาเซียนด้านกีฬา ปี ค.ศ. 2021 ? 2025 และได้เน้นย้ำถึงการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับประเด็นสตรีในกีฬาและส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศผ่านกีฬา การส่งเสริมการสร้างขีดความสามารถสำหรับกิจกรรมต่อต้านการใช้สารต้องห้ามและการส่งเสริมการศึกษาครูพลศึกษาและการกีฬาเพื่อคนพิการ

                    3. ที่ประชุมได้เสนอร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียนครั้งที่ 6  (Joint Statement of AMMS-6) และร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3 (Joint statement of 3rd AMMS+Japan) โดยประเทศไทยได้แจ้งที่ประชุมว่าประเทศไทยสามารถรับรองในหลักการของร่างถ้อยแถลงร่วมทั้ง 2 ฉบับ แต่การรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมทั้ง 2 ฉบับ สามารถดำเนินการอย่างเป็นทางการ                 ได้ในภายหลัง ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงร่วมทั้ง 2 ฉบับ สรุปได้ ดังนี้
ชื่อเอกสาร          สาระสำคัญ
1. ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ครั้งที่ 6          (1) เพื่อสร้างความร่วมมือด้านกีฬาระหว่างประทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งทบทวนแผนการดำเนินการด้านกีฬาอาเซียนให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์แผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน5 ที่ประชุมได้รายงานการดำเนินงานตามแผนงานอาเซียนด้านกีฬา ปี ค.ศ. 2021 ? 2025 ซึ่งประกอบด้วย 5 ประเด็นสำคัญ ได้แก่ 1) การสนับสนุนด้านกีฬาเพื่อผลลัพธ์การพัฒนาที่สำคัญและสันติภาพ 2) การส่งเสริมวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีผ่านการมีส่วนร่วมในกีฬาและกิจกรรมทางกายภาพ 3) การพัฒนาศักยภาพทางวิชาชีพ ความซื่อสัตย์ในการกีฬา และวิทยาศาสตร์การกีฬา 4) การส่งเสริมความตระหนักของอาเซียนผ่านกิจกรรมกีฬา การท่องเที่ยวเชิงกีฬา และอุตสาหกรรมกีฬา และ 5) การระดมทรัพยากรและการมีส่วนร่วมของพันธมิตร และการติดตามประเมินผลสำหรับความร่วมมืออาเซียนด้านกีฬา
(2) ที่ประชุมยินดีกับการจัดตั้งความร่วมมืออย่างเป็นทางการกับสำนักเลขาธิการเครือจักรภพ(Commonwealth Secretariate6) โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของกีฬาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมทั้งการดำเนินการตามกรอบการติดตามและประเมินผลของแผนงานอาเซียนด้านกีฬา ปี ค.ศ. 2021 - 2025 และขอขอบคุณสำนักเลขาธิการเครื่อจักรภพ และองค์การเพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization : UNESCO) ที่สนับสนุนการจัดลำดับความสำคัญของแผนงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) และแผนปฏิบัติการคาซาน (Kazan Action Plan)7
(3) ที่ประชุมแสดงความยินดีกับการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (F?d?ration Internationale de Football Association: FIFA)                    ที่ประสบความสำเร็จในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2562 โดยที่ประชุมได้แสดงความขอบคุณต่อ FIFA และสมาคมฟุตบอลของประเทศสมาชิกอาเซียนสำหรับการสนับสนุนที่เข้มแข็ง ตลอดจนการรณรงค์โครงการสร้างจิตสำนึกสาธารณะในบริบทของการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ผ่าน                 การดำเนินกิจกรรมโดยใช้แฮชแท็ก (Hashtag) ได้แก่ #BeActive #FiveSteps และ #ReachOut พร้อมทั้งมุ่งหวังที่จะร่วมมือกับ FIFA ประกอบด้วย 4 ความร่วมมือหลัก ได้แก่ 1) การส่งเสริมคุณธรรมด้านกีฬา 2) การกีฬาเพื่อการพัฒนา  3) โปรแกรมฟุตบอลสำหรับโรงเรียนของ FIFA และ 4) การสร้างขีดความสามารถอย่างมืออาชีพ
(4) ที่ประชุมแสดงความยินดีกับกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนสำหรับความสำเร็จในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ปี ค.ศ. 2020 ที่ได้รับเหรียญรางวัล จำนวน 48 เหรียญจากการมีส่วนร่วมของนักกีฬา จำนวน 50 คน จาก 6 ประเทศสมาชิก
3.2 ร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน ? ญี่ปุ่น ครั้งที่ 3

(1) ที่ประชุมรับทราบถึงความก้าวหน้าในมิตรภาพและความช่วยเหลือระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นในปีที่ผ่านมา และยืนยันคำมั่นที่เสริมสร้างความร่วมมือด้านกีฬาระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นนำโดย ?แผนการดำเนินงานฉบับปรับปรุงในการแถลงวิสัยทัศน์ว่าด้วยมิตรภาพและความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น : วิสัยทัศน์ร่วมกัน อัตลักษณ์ร่วมกัน อนาคตร่วมกัน? มาดำเนินงาน (2) ที่ประชุมแสดงความชื่นชมในความร่วมมือระหว่างองค์กรต่อต้านการใช้สารเสพติดต้องห้ามในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia Regional Anti-Doping Organization : SERRADO) และหน่วยงานต่อต้านการใช้สารกระตุ้นของญี่ปุ่น (Japan Anti-Doping Agency : JADA) ที่สร้างขีดความสามารถในการต่อต้านการใช้สารกระตุ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ปี ค.ศ. 2020 และการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ปี ค.ศ. 2019 (3) ที่ประชุมแสดงความยินดีกับญี่ปุ่นสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ปี ค.ศ. 2020 ได้ประสบความสำเร็จท่ามกลางสถานการณ์ที่ยากลำบากจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 (4) ที่ประชุมแสดงความขอบคุณสำหรับความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่นในด้านกีฬาและพึงพอใจในความคืบหน้าของโครงการ ASEAN - Japan Actions on Sports และการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในกีฬาที่ประสบความสำเร็จ รวมถึงเริ่มดำเนินการด้านกีฬาในระยะที่ 2 ของอาเซียนและญี่ปุ่น โดยเน้นที่การพัฒนาครูและผู้ฝึกสอนพลศึกษาการเพิ่มการมีส่วนร่วมของสตรีในกีฬา การพัฒนากีฬาสำหรับคนพิการ และการรณรงค์ต่อต้านการใช้สารต้องห้ามและการเสริมสร้างศักยภาพ

1องค์ประชุมประกอบด้วย รัฐมนตรีกีฬาอาเซียนและหัวหน้าคณะผู้แทนจากบรูไนดารุสซาลาม กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม และญี่ปุ่น (ในการประชุมรัฐมนตรีกีฬาอาเซียน - ญี่ปุ่น)
2ประเทศกัมพูชา ในฐานะประธานอาเซียนในปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว

20.  เรื่อง การนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ? อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ? อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ปัจจุบันประเทศไทยมีการแบ่งพื้นที่ป่าอนุรักษ์หรือพื้นที่ป่าคุ้มครองหลากหลายประเภท เช่น                 พื้นที่มรดกโลก พื้นที่สงวนชีวมณฑล อุทยานมรดกแห่งอาเซียน เป็นต้น โดยในส่วนของอุทยานมรดกแห่งอาเซียนในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองแล้วมีจำนวนทั้งหมด 7 แห่ง ได้แก่ (1) อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ (2) อุทยานแห่งชาติ  ตะรุเตา (3) กลุ่มอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ หมู่เกาะสิมิลัน และอ่าวพังงา (4) กลุ่มป่าแก่งกระจาน (อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี) (5) อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม ? เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง (6) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง และ (7) อุทยานแห่งชาติเขาสก ซึ่งในครั้งนี้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ได้ขอความเห็นชอบการนำเสนออุทยานแห่งชาติภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ? อุทยานแห่งชาติน้ำหนาวให้เป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียนเพิ่มเติม ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีลักษณะโดดเด่นและเป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาขึ้นทะเบียนอุทยานมรดกอาเซียน รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                    - อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาเพชรบูรณ์ จังหวัดเลย ซึ่งปกคลุมไปด้วยป่า            ตามธรรมชาติมากกว่าร้อยละ 98 และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชหายาก เช่น หญ้าดอกลำโพง กุหลาบขาว กุหลาบแดง เป็นต้น รวมทั้งมีสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น เลียงผา ลิ่นชวา เต่าเหลือง เป็นต้น โดยอุทยานแห่งชาติภูกระดึงมีลักษณะเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด (Mesa) ที่มีลักษณะโดดเด่นเพียงหนึ่งเดียวในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ในพื้นที่มีกิจกรรมที่มีเชื่อมโยงกับประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญ คือ กิจกรรมสรงน้ำพระพุทธเมตตา
                    - เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว ? อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว ตั้งอยู่บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์                 ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ป่า ร้อยละ 96.65 และมีความหลากหลายทางธรณีวิทยาและลักษณะของถ้ำ โดยพื้นที่ที่มีความโดดเด่น เช่น ถ้ำครอบ ถ้ำใหญ่น้ำหนาว เป็นต้น เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชหายาก เช่น จำปีศรีเมืองไทย กระโถนพระฤาษี สนสามพันปี เป็นต้น รวมทั้งมีสัตว์ป่าสงวนและสัตว์ป่าคุ้มครอง เช่น แมวลายหินอ่อน เลียงผา            เนื้อทราย เสือลายเมฆ เป็นต้น นอกจากนี้ ในพื้นที่มีประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่สำคัญ เช่น ประเพณีการแขวนทุง (แขวนธง) ประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นต้น

21.  เรื่อง การขอขยายระยะเวลาการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลตามพันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา               ครั้งที่ 3
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบการยื่นคำขอขยายระยะเวลาการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลตามพันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา ครั้งที่ 3 ออกไปอีก 3 ปี 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569
                    2. เห็นชอบต่อร่างคำขอขยายระยะเวลาการทำลายทุ่นระเบิดสังหารบุคคลตามพันธกรณีของอนุสัญญาออตตาวา ครั้งที่ 3 ของไทย เพื่อนำส่งผ่านกระทรวงการต่างประเทศไปยังฝ่ายเลขานุการอนุสัญญาฯ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2565 ทั้งนี้ ตามขั้นตอนของที่ประชุมรัฐภาคีฯ ไทยยังสามารถปรับปรุงร่างคำขอฯ เพิ่มเติมตามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของฝ่ายเลขานุการอนุสัญญาฯ และคณะกรรมการประจำฯ ที่เกี่ยวข้องก่อนการประชุมรัฐภาคีฯ ให้สมบูรณ์และครบถ้วนมากขึ้น ดังนั้น หากการปรับปรุงร่างคำขอฯ ดังกล่าวไม่กระทบต่อสาระสำคัญที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติข้างต้น ให้กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หารือร่วมกันในการปรับปรุงถ้อยคำให้สมบูรณ์เพื่อเสนอที่ประชุมรัฐภาคีฯ พิจารณา และรายงานคณะรัฐมนตรีทราบในโอกาสแรกต่อไป
                    3. มอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการทุนระเบิดแห่งชาติ ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย และส่วนราชการอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติ และแจ้งผลการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้กระทรวงการต่างประเทศทราบ เพื่อประโยชน์ในการรายงานต่อฝ่ายเลขานุการอนุสัญญาฯ ต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างคำขอขยายระยะเวลาการทำลายทุ่นระเบิดฯ ครั้งที่ 3 ของไทย มีสาระสำคัญ ในภาพรวม               โดยสรุป ดังนี้
                    1. เนื้อหาทั่วไปของคำขอขยายระยะเวลาฯ ประกอบด้วย 1) สรุปสาระสำคัญของการดำเนินการตามพันธกรณี และความคืบหน้าของการดำเนินการตามคำขอขยายระยะเวลาการทำลายทุ่นระเบิดฯ ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2  2) เหตุผลที่ไม่สามารถดำเนินการเก็บกู้ทุ่นระเบิดฯ ได้แล้วเสร็จตามกำหนด รวมถึงปัญหา อุปสรรคที่พบ แนวทางการรับมือ/แก้ไข และความจำเป็นที่ต้องขยายระยะเวลา และ 3) แผนการดำเนินการในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายของอนุสัญญาฯ พร้อมกรอบเวลาที่คาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จ
                    2. สรุปความคืบหน้าในการดำเนินการตามพันธกรณี หลังจากที่ไทยได้เริ่มเข้าเป็นรัฐภาคี เมื่อปี 2540 ถึงปัจจุบัน ปรากฏว่าไทยได้ดำเนินการเก็บกู้ทุ่นระเบิดและปลดปล่อยพื้นที่แล้วกว่า 2,517 ตารางกิโลเมตร (จากพื้นที่ทุ่นระเบิดที่ประเมินไว้ 2,557 ตารางกิโลเมตร) หรือประมาณร้อยละ 98.5 เหลือพื้นที่ที่จะต้องดำเนินการเก็บกู้ฯ อีก 40 ตารางกิโลเมตร ใน 7 จังหวัด (สถานะเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564) ซึ่งเมื่อครบกำหนดการขอขยายระยะเวลาฯ ครั้งที่ 2 ในเดือนตุลาคม 2566 คาดว่ายังคงเหลือพื้นที่ปนเปื้อนที่ไม่สามารถเข้าดำเนินการเก็บกู้ฯ อีก 14.3 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่รอการปักปันเขตแดน
3. เหตุผลที่ไม่สามารถดำเนินการเก็บกู้ทุ่นระเบิดฯ ได้แล้วเสร็จตามกำหนด ไทยยังคงมีพื้นที่
ที่มีทุ่นระเบิดตกค้างตามแนวชายแดนจำนวนมาก ประกอบด้วยพื้นที่ที่ยังไม่ได้จัดทำหลักเขตแดน และพื้นที่
เจรจาปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้านยังไม่ได้ข้อยุติ จึงไม่สามารถดำเนินการเก็บกู้ฯ ฝ่ายเดียวได้ การยื่นคำขอขยายระยะเวลาฯ ครั้งที่ 3 นี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดฯ มีเวลาเพียงพอในการดำเนินการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อให้การเก็บกู้ฯ ในพื้นที่เหล่านี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
                    4. แผนการดำเนินการในอนาคตเพื่อบรรลุเป้าหมายของอนุสัญญาฯ
                              4.1 วิธีการสำรวจและเก็บกู้ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ในอดีตไทยได้เน้นไปที่วิธีการแบบเดิมในการเก็บกู้ฯ โดยการเดินสำรวจพื้นที่ และใช้การสำรวจทางเทคนิค (Technical Survey: TS) ซึ่งใช้เวลา บุคลากร และงบประมาณสูง ต่อมาได้มีการปรับปรุงวิธีดำเนินการ และแสวงหาความร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องจนสามารถใช้การสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิด (Non - Technical Survey: NTS) ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ข้อมูลประวัติศาสตร์ สถิติ การสอบถามจากคนในพื้นที่ เป็นต้น ส่งผลให้การปรับลดพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                              4.2 การพัฒนาบุคลากร นอกจากการพัฒนาบุคลากรโดยศูนย์ปฏิบัตการทุ่นระเบิดฯ แล้ว ยังได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศด้านมนุษยธรรมที่เกี่ยวข้อง อาทิ องค์การความช่วยเหลือแห่งประชาชนชาวนอร์เวย์ (Norwegian People's Aid: NPA) ซึ่งได้ให้การสนับสนุนการฝึกอบรมต่าง ๆ มาโดยต่อเนื่อง เช่น หลักสูตรพัฒนาความพร้อมให้กับหน่วยเก็บกู้และตรวจสอบวัตถุระเบิด (Explosive Ordnance Disposal: EOD) เพื่อให้การทำงานของเจ้าหน้าที่มีศักยภาพและความพร้อมมากขึ้นอันส่งผลต่อการเก็บกู้ฯ ที่ปลอดภัย แม่นยำ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
                              4.3 การดึงชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม การใช้การสำรวจที่ไม่ใช่ทางเทคนิค (NTS) โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนและท้องถิ่น ทำให้ศูนย์ปฏิบัติการทุ่นระเบิดฯ เข้าถึงและสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันกับชุมชนในพื้นที่เสี่ยงและเพิ่มการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งสามารถกำหนดพื้นที่เสี่ยงหรือพื้นที่ปลอดภัยได้อย่างชัดเจน ทำให้การปรับลดพื้นที่ปนเปื้อนทุ่นระเบิดมีความแม่นยำ และรวดเร็วขึ้น
                              4.4 การส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคและนานาชาติ ไทยได้บรรจุหัวข้อการเก็บกู้ฯ ในการประชุมด้านความมั่นคงที่สำคัญ อาทิ การประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา (ASEAN Defence Ministers' Meeting Plus: ADMM - Plus) การจัดการฝึกอบรมให้กับประเทศเพื่อนบ้าน และการหารือเพื่อแสวงหาแนวทางความร่วมมือด้านการเก็บกู้ฯ บริเวณแนวชายแดนในรูปแบบที่เหมาะสม ตลอดจนแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน โดยการเข้าร่วมในเวทีระหว่างประเทศเหล่านี้ ทำให้ไทยได้รับฟังความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ตลอดจนแนวทางการดำเนินการที่มีประสิทธิภาพของประเทศอื่น ๆ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับสถานการณ์การเก็บกู้ฯ ของไทย
                              4.5 การแก้ไขปัญหาในพื้นที่ที่รอการปักปันเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน (Area to be Demarcated: AD) จากพื้นที่ที่จะต้องดำเนินการเก็บกู้ฯ (สถานะเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564) อีก 40 ตารางกิโลเมตร มีพื้นที่ที่ไทยยังไม่สามารถเข้าไปทำการเก็บกู้ฯ โดยเฉพาะพื้นที่ชายแดนที่มีการปักปันเขตแดนกับประเทศเพื่อนบ้านยังไม่ได้ข้อยุติ คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 14.3 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคาดว่าจะยังเป็นพื้นที่ปนเปื้อนคงเหลือ เมื่อครบกำหนดการขอขยายระยะเวลาฯ ครั้งที่ 2 ในเดือนตุลาคม 2566 โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเจรจาหารือกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง และแสวงหาแนวทางที่สามารถร่วมมือกันเก็บกู้ฯ ในพื้นที่ต่อไป โดยไม่กระทบกับประเด็นการเจรจาด้านเขตแดน

22.  เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 27
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 27 โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒธรรมอาเซียน ครั้งที่ 27 ร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 27 ในวันที่ 30 มีนาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video conference) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 27             มีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1) การสนับสนุนการเป็นประธานอาเซียนของราชอาณาจักรกัมพูชา ภายใต้แนวคิดหลัก ?อาเซียน เอ ซี ที การจัดการกับความท้าทายร่วมกัน? ?ASEAN A.C.T.: Addressing Challenges Together? ซึ่งเน้นย้ำความมุ่งมั่นของอาเซียนด้าน ?ความเป็นหนึ่งเดียวกัน? ในฐานะประชาคมเดียวและปณิธานในการดำเนินการร่วมกันเพื่อจัดการและก้าวข้ามข้อท้าทายต่าง ๆ ที่ภูมิภาคอาเซียนกำลังเผชิญอยู่ และมุ่งหวังที่จะบรรลุแผนงานสำคัญต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งรวมถึงแผนงานสำคัญภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ได้แก่ (1) เสริมสร้างค่านิยม ความตระหนักรู้ และอัตลักษณ์อาเซียน (2) ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการเสริมพลังสตรี  (3) เสริมสร้างสุขภาพ ความเป็นอยู่ที่ดี และการคุ้มครองทางสังคมสำหรับประชาชนของอาเซียน และ (4) เสริมสร้างขีดความสามารถและประสิทธิผลเชิงสถาบันต่าง ๆ ของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
                    2) การชื่นชมความก้าวหน้าในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตามแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2568 ในการสร้างประชาคมที่มีปฏิสัมพันธ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนมีความครอบคลุม มีความยั่งยืน มีภูมิคุ้มกัน และมีพลวัต นอกจากนี้ ชื่นชมความพยายามของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในอาเซียนท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ตลอดมา โดยการดำเนินงานตามแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2568 ให้สอดคล้องกันกับแผนงานขององค์กรอาเซียนเฉพาะสาขาภายหลังปี พ.ศ. 2563 และ
กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนและแผนดำเนินงานอื่น ๆ  ตามข้อเสนอแนะในการประเมินผลครึ่งแผนของแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน พ.ศ. 2568 และรับทราบผลการประชุมคณะทำงานอาเซียนตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมแห่งการป้องกัน เพื่อมุ่งสู่สังคมที่มีสันติสุข ไม่แบ่งแยกมีภูมิคุ้มกัน สุขภาพดีและมีความกลมเกลียว ครั้งที่ 5 รายงานการประชุมประสานงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 17 และความก้าวหน้าเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ฉบับรวมด้านการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4
                    3) การชื่นชมการพัฒนาของแนวทางในระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยการเปิดการศึกษาอีกครั้งของโรงเรียน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย การทบทวนการเรียนรู้ และการสานต่อ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพยายามการให้บริการการศึกษาอีกครั้งสำหรับเด็กซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) และรับทราบว่าการแพร่ระบาดดังกล่าวทำให้เกิดบทเรียนสำหรับอาเซียนเกี่ยวกับความสำคัญของการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการศึกษา ด้วยเหตุนี้ จึงสนับสนุนการพัฒนาปฏิญญาว่าด้วยการปรับเปลี่ยนไปสู่ยุคดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเซียน และเน้นย้ำว่าความพยายามเหล่านี้จะช่วยหนุนเสริมกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนและแผนดำเนินงานอื่น ๆ
                    4) การเน้นย้ำถึงความสำคัญในการเสริมพลังเยาวชนและสตรีอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุน
การพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียน และมุ่งหวังการรับรองแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยปีแห่งเยาวชนอาเซียน พ.ศ. 2565 ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และมีภูมิคุ้มกันยิ่งขึ้น: การเสริมพลังการเป็นผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน และแผนปฏิบัติการในระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยการส่งเสริมสตรี สันติภาพ และความมั่นคงในอาเซียน รวมถึงมุ่งหวังการเปิดตัวของกรอบกลยุทธ์ระดับภูมิภาคว่าด้วยการบูรณาการประเด็นทางเพศภาวะ และการรับรองแผนงานอาเซียนด้านเยาวชน พ.ศ. 2564 - 2568 และแผนงานอาเซียนด้านการกีฬา                  พ.ศ. 2564 - 2568 โดยรัฐมนตรีอาเซียนด้านเยาวชนและการกีฬา ตามลำดับ
                    5) การเน้นย้ำถึงความสำคัญของบทบาทด้านกีฬาในกระบวนการเสริมสร้างประชาคมอาเซียนและสนับสนุนการพัฒนาปฏิญญาว่าด้วยการยกระดับบทบาทของกีฬาเพื่อการเสริมสร้างประชาคมอาเซียนและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และปฏิญญาว่าด้วยการส่งเสริมอัตลัษณ์อาเซียน โดยการคุ้มครองการกีฬาและการละเล่นพื้นบ้านในโลกสมัยใหม่ และรับทราบการพัฒนาของแผนความร่วมมืออาเซียน-สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ พ.ศ. 2564 - 2565 และถ้อยแถลงร่วมของรัฐมนตรีกีฬาอาเซียนว่าด้วยการจัดตั้งมูลนิธินักกีฬาอาเซียนในเอเชี่ยนเกมส์
                    6) การยืนยันคำมั่นในการเสริมสร้างสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอาเซียน โดยสนับสนุนการพัฒนาแผนแม่บทอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาชนบท และปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการขจัดความเหลื่อมล้ำและการติดตามเพื่อยุติโรคเอดส์ภายในปี พ.ศ. 2570 และชื่นชมความพยายามขององค์กรอาเซียน              เฉพาะสาขาในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการคุ้มครองทางสังคมเพื่อประชาชนอาเซียนโดยการพัฒนาปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน แนวทางระดับภูมิภาค               ว่าด้วยบทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ในเรื่องการคุ้มครองทางสังคมแผนที่นำทางสำหรับการขจัดการข่มเหงรังแกเด็กในอาเซียน และแนวทางสำหรับการปฏิบัติงานตามกรอบระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยการป้องกัน เพศภาวะ และความครอบคลุมในการบริหารจัดการภัยพิบัติ
                    7) การรับทราบถึงความพยายามในการส่งเสริมคำมั่นอาเซียนในประเด็นที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยินดีสนับสนุนการพัฒนาแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อที่ประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 ยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2565 - 2570 และรายงานสภาพสิ่งแวดล้อมอาเซียน ครั้งที่ 6 และมุ่งหวังถึงการจัดตั้งศูนย์อาเซียนสำหรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้สนับสนุนข้อริเริ่มต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการภัยพิบัติ ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานตามปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันว่าด้วยข้อริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์และองค์รวมเพื่อเชื่อมโยงการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติของอาเซียน รวมถึงการพัฒนาข้อกำหนดและขอบเขตของแพลตฟอร์มการฟื้นตัวจากภัยพิบัติเพื่อให้มั่นใจว่ามีแนวทางของอาเซียนในการบริหารจัดการภัยพิบัติและการพัฒนากรอบอาเซียนเพื่อการคาดการณ์ล่วงหน้าในการบริหารจัดการภัยพิบัติ
                    8) การรับทราบรายงานการประเมินผลของประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนเกี่ยวกับการสมัครเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต ซึ่งจัดทำโดยสำนักเลขาธิการอาเซียน รายงานการประเมินผลดังกล่าวได้รับการพัฒนาจากข้อมูลการค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเข้าเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเตจากประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และจากการประชุมผ่านระบบทางไกลชึ่งจัดขึ้นในวันที่ 8 และ 10 กันยายน 2563 และรับทราบว่ารายงานดังกล่าวจะได้รับการปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจากข้อค้นพบจากการเดินทางไปค้นหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเข้าเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนของติมอร์-เลสเต ณ ติมอร์-เลสเต เมื่อมีการอนุญาตให้มีการเดินทางข้ามพรมแดนได้
                    9) การรับทราบความก้าวหน้าในการเตรียมการโครงการ ASEAN Aid อย่างต่อเนื่องและรับทราบความก้าวหน้าของการศึกษาความเป็นไปได้ของสถาบันอาเซียนสำหรับการศึกษาข้อเสนอเชิงนโยบาย  ศูนย์อาเซียนสำหรับวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ปฏิญญาเสียมเรียบว่าด้วยการส่งเสริมประชาคมอาเซียนที่สร้างสรรค์และปรับตัวได้เพื่อสนับสนุนวัฒนธรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการดำเนินงานตามแพลตฟอร์มการวิจัยและพัฒนาสำหรับประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน และเน้นย้ำถึงความสำคัญของข้อริเริ่มเหล่านี้เพื่อเสริมสร้างความสามารถของสถาบันในประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน นอกจากนี้ ชื่นชมการทำงานของเจ้าหน้าที่เสาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนประจำการที่คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน สนับสนุนการจัดส่งเจ้าหน้าที่เสาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนประจำการที่คณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียน และมุ่งหวังที่จะเห็นเจ้าหน้าที่เสาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนจากทุกประเทศสมาชิกอาเซียนประจำการ ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
                    10) การรับรองในหลักการต่อเอกสารผลลัพธ์สำคัญเพื่อเสนอต่อผู้นำอาเซียนซึ่งประกอบด้วยเอกสารผลลัพธ์สำคัญเพื่อรับรองและเอกสารผลลัพธ์สำคัญเพื่อรับทราบในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40               และ 41
                    11) การขอบคุณราชอาณาจักรกัมพูชาในการเป็นประธานที่มีประสิทธิผลและการเตรียมการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเชียน ครั้งที่ 27 และคาดหวังที่จะมีการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 28 ในเดือนตุลาคม 2565


แต่งตั้ง

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                   (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้ง นายสมพร อารยชาติสกุล วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ กรมชลประทาน ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา                   (ด้านควบคุมการก่อสร้าง) (วิศวกรโยธาทรงคุณวุฒิ) กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่วันที่                    16 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

24. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอการแต่งตั้งโฆษก ศธ.                    [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 มกราคม 2559) ที่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทุกกระทรวงแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่โฆษกกระทรวงอย่างเป็นทางการ แล้วแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมรายชื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ] เนื่องจากนางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้ตรวจราชการ ศธ. ได้ขอลาออกจากตำแหน่งโฆษก ศธ. ดังนั้น เพื่อให้               การประชาสัมพันธ์เผยแพร่นโยบายรัฐบาล นโยบายของรัฐมนตรีว่าการ ศธ. ตลอดจนผลการดำเนินงานของ ศธ. เป็นไปอย่างคล่องตัว จึงได้แต่งตั้งนายวีระ แข็งกสิการ รองปลัด ศธ. เป็นโฆษก ศธ. ซึ่ง ศธ. ได้มีคำสั่งที่                       สร 149/2565 เรื่อง แต่งตั้งโฆษก ศธ. ลงวันที่ 16 มีนาคม 2565 ด้วยแล้ว

25. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายพิศุทธิ์  สุขุม เป็นกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกร แทน นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ กรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาวิศวกรให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)

26. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพลังงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน              2 ราย ดังนี้
                     1. นายเริงชัย คงทอง ตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
                     2. นายพิสุทธิ์ เพียรมนกุล ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จำนวน 9 คน ดังนี้
                     1. นางพงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านกฎหมาย
                     2. นายพีรพน พิสณุพงศ์ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านศิลปวัฒนธรรม
                    3. นางสรวงมณฑ์ สิทธิสมาน ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการศึกษา
                    4. นายธวัชชัย ไทยเขียว ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการพัฒนาเด็กเยาวชนและครอบครัว
                    5. นายยศพร ปัญจมะวัต ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านสุขภาพจิต
                    6. นางกรกนก ศิริวงษ์ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านคนพิการและผู้สูงอายุ
                    7. นางสุนทรี ทับทิมไทย ชัยสัมฤทธิ์โชค ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านการคุ้มครองผู้บริโภค
                    8. นายอภิรักษ์ หาญพิชิตวณิชย์ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านสื่อสารมวลชน
                    9. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ด้านสื่อสารมวลชน
                    ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงวัฒนธรรม (สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์) รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติเพิ่มเติม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้ง นายรณชัย จิตรวิเศษ เป็นกรรมการในคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติเพิ่มเติม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ