http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (12 เมษายน 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 110 ปี วชิรพยาบาล พ.ศ. .... 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขต เลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... เศรษฐกิจ ? สังคม 4. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 เรื่อง ขอให้ธนาคารแห่ง ประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรและผู้ประกอบ กิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Aquaculture Practice) และ CoC (Code of Conduct) 5. เรื่อง ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อ เสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิต ไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 6. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 7. เรื่อง แผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ 2565 (แผนปฏิบัติการประจำปี 2565) 8. เรื่อง รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กองทุนยุติธรรม 9. เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 5/2564 10. เรื่อง การขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์และเงื่อนไขในโครงการทุนเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้า จุฬาภรณ์ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมายุ 60 พรรษา เพื่อพัฒนาผู้มี อัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2565 12. เรื่อง การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเทศกาลสงกรานต์ของกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 13. เรื่อง รายงานผลการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแผนการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สิน ครัวเรือนและยุติธรรมพบประชาชนในส่วนภูมิภาค ต่างประเทศ 14. เรื่อง ปฏิญญากลาสโกว์ของผู้นำด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Glasgow Leaders? Declaration on Forests and Land Use) 15. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง 16. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย 17. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้าน การเรียนการสอนภาษาจีนระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ นวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้าน ภาษาจีนระหว่างประเทศกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน 18. เรื่อง กรอบความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีน ระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์แลกเปลี่ยนและ ส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการแห่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน แต่งตั้ง 19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) 20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) 21. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยแทนตำแหน่ง
ที่ว่างลง
22. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย 23. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
ครั้งที่ 1
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 110 ปี วชิรพยาบาล พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 110 ปี วชิรพยาบาล พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ กค. เสนอว่า 1. พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้เป็นสถานพยาบาลช่วยเหลือประชาชนที่เจ็บป่วย และจัดหาอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ การพยาบาล โดยพระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชพิธีเปิดสถานพยาบาล เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2455 และได้พระราชทานนามว่า ?วชิรพยาบาล? และเมื่อปี 2553 กรุงเทพมหานคร (กทม.) ได้จัดตั้งมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในกำกับกรุงเทพมหานคร ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล สังกัดมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 2. ต่อมา กทม. จึงได้ขอความร่วมมือกรมธนารักษ์ กค. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 110 ปี วชิรพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและเฉลิมพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงก่อตั้งโรงพยาบาลวชิรพยาบาล และเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสสำคัญดังกล่าว ซึ่ง กค. ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามแบบที่ทูลเกล้าฯ ถวายแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกดังกล่าวมาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 110 ปี วชิรพยาบาล พ.ศ. .... มาเพื่อดำเนินการ สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 110 ปี วชิรพยาบาล 2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. .... ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของกรมทรัพยากรน้ำ ทส. ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรน้ำ ทส. พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากร พ.ศ. 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทรัพยากรน้ำฯ หมายเหตุ (1) สำนักงานเลขานุการกรม (1) สำนักงานเลขานุการกรม เพิ่มภารกิจด้านการสนับสนุนการตรวจราชการของกรม และภารกิจด้านงานกฎหมาย (2) สำนักบริหารจัดการน้ำ (2) กองการจัดสรรน้ำ - ปรับหน้าที่รองรับการควบคุมกำกับการดำเนินการและส่งเสริมเกี่ยวกับสัมปทานประกอบกิจการประปาและเพิ่มภารกิจรองรับการสนับสนุนให้คำแนะนำเทคนิควิชาการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประปาหมู่บ้าน รวมทั้งกำกับ ดูแลการจัดสรรและการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะ และศึกษา วิเคราะห์ ติดตามประเมินผลมาตรการที่เกี่ยวข้องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำ - เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองการจัดสรรน้ำ? (3) สำนักพัฒนาแหล่งน้ำ (3) กองพัฒนาแหล่งน้ำ 1 - เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการก่อสร้างเพื่อการพัฒนาและบำรุงรักษาแหล่งน้ำ - เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองพัฒนาแหล่งน้ำ 1? (4) กองพัฒนาแหล่งน้ำ 2 จัดตั้งใหม่ เพิ่มภารกิจเพื่อรองรับการวางแผน พัฒนา จัดหา ด้านวิศวกรรมและเครื่องกล (4) สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรน้ำ (5) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน - เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการจัดทำแผนปฏิบัติการระดับประเทศด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำสาธารณะ บูรณาการเชื่อมโยงกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการขับเคลื่อนการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ รวมถึงเพิ่มบทบาทภารกิจงานด้านประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ - เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองยุทธศาสตร์และแผนงาน? (5) ศูนย์ป้องกันวิกฤติน้ำ (6) กองวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ - ปรับภารกิจรองรับการจัดทำข้อมูล บูรณาการข้อมูลทรัพยากรน้ำ การติดตาม ควบคุมดูแล การจัดสรรน้ำ และการวิเคราะห์ คาดการณ์สภาวะวิกฤตน้ำ รวมทั้งเฝ้าระวัง ป้องกันบรรเทาและแก้ไขปัญหาวิกฤตดังกล่าว - เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองวิเคราะห์และประเมินสถานการณ์น้ำ? (6) สำนักวิจัย พัฒนา และอุทกวิทยา (7) กองวิจัย พัฒนา และอุทกวิทยา - ปรับเพิ่มหน้าที่และอำนาจในการพัฒนาและเพิ่มระบบเตือนภัยล่วงหน้าด้านทรัพยากรน้ำเพื่อให้ครอบคลุมภารกิจในการบริการหรือเผยแพร่พัฒนาข้อมูล สถิติอุทกวิทยาและอุตุนิยมวิทยา (7) สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟู แหล่งน้ำ (8) กองอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ - เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการกำกับ ดูแล การอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะและพื้นที่ชุ่มน้ำ ศึกษา วิเคราะห์ ประสาน และดำเนินการเสนอให้มีประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม รวมทั้งส่งเสริม จัดการน้ำ กำกับดูแลทรัพยากรน้ำเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการน้ำ - เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ? (8) ศูนย์สารสนเทศทรัพยากรน้ำ (9) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - ปรับภารกิจให้สอดคล้องกับนโยบายของประเทศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยปรับหน้าที่ความรับผิดชอบให้เกิดความชัดเจน เพื่อรองรับนโยบายประเทศไทย 4.0 ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) การจัดทำข้อมูลภูมิสารสนเทศพื้นที่ของประเทศ (FGDS) - เปลี่ยนชื่อ เป็น ?ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร? (9) สำนักประสานความร่วมมือระหว่างประเทศ - ยุบเลิก (10) สำนักส่งเสริมและประสานมวลชน - ยุบเลิก (11) ? (20) สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค 1 - 10 (10) ? (19) สำนักงานทรัพยากรน้ำที่ 1 - 10 - เพิ่มภารกิจในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรน้ำสาธารณะ แหล่งน้ำในพื้นที่นอก เขตชลประทาน และแหล่งน้ำในพื้นที่ต้นน้ำและโครงการพระราชดำริ รวมถึงส่งเสริม สนับสนุน การมีส่วนร่วมของประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำ 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอว่า ด้วยศาลฎีกาได้มีคำพิพากษา เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 ว่านางสาวปารีณา ไกรคุปต์ ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 235 วรรคหนึ่ง (1) วรรคสาม และวรรคสี่ ประกอบพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 81 และมาตรา 87 และมาตรฐานทางจริยธรรมของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ รวมทั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน และหัวหน้าหน่วยงานธุรการของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ พ.ศ. 2561 ข้อ 3 ข้อ 17 ประกอบข้อ 27 วรรคสอง ให้นางสาวปารีณา ไกรคุปต์พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี นับแต่วันที่ 25 มีนาคม 2564 อันเป็นวันที่ศาลฎีกามีคำสั่งให้นางสาวปารีณา ไกรคุปต์ หยุดปฏิบัติหน้าที่ ให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของนางสาวปารีณา ไกรคุปต์ ตลอดไป รวมถึงไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 235 วรรคสี่ และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของนางสาวปารีณา ไกรคุปต์ มีกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่วันที่ศาลฎีกามีคำพิพากษา สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งขอเรียนว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 105 วรรคหนึ่ง (1) กำหนดให้ในกรณีที่เป็นตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งว่างลงเพราะเหตุอื่นใด นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง เว้นแต่อายุของสภาผู้แทนราษฎรจะเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ดังนั้น เพื่อให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จึงขอส่งร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... และร่างแผนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งจะพิจารณาเพื่อมีประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ภายหลังพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดราชบุรี เขตเลือกตั้งที่ 3 แทนตำแหน่งที่ว่าง มีผลใช้บังคับ เศรษฐกิจ ? สังคม 4. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 เรื่อง ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Aquaculture Practice) และ CoC (Code of Conduct) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 เป็นดังนี้ 1. เห็นชอบให้การสนับสนุนด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด และแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.) และเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC) หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมประมงหรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) 2. มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน และแจ้งให้สถาบันการเงินรับทราบว่าสถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อกับผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด และ แจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.) และเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC) หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมประมงหรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจาก มกอช. ได้ ซึ่งเป็นการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามเจตนารมณ์เดิม สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 ที่ได้เห็นชอบให้การสนับสนุนด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ตามเงื่อนไขสรุปได้ ดังนี้ มติคณะรัฐมนตรี (30 กันยายน 2546) ข้อเสนอของ กษ. ในครั้งนี้ 1. อยู่นอกพื้นที่ป่าชายเลน 1. ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดและแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.) 2. เป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Aquaculture Practice) และ CoC (Code of Conduct) จากกรมประมง 2. เป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC) หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจาก กรมประมงหรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) 3. มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้สถาบันการเงินรับทราบว่าสถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อกับ ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน (ตามข้อ 2) ซึ่งเป็นการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม 3. มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน และแจ้งให้สถาบันการเงินรับทราบว่าสถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อกับผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการ (ตามข้อ 1) และผ่านการรับรองมาตรฐาน (ตามข้อ 2) ซึ่งเป็นการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามเจตนารมณ์เดิม โดย กษ. (กรมประมง) ยืนยันว่า ข้อเสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้จะไม่เป็นการส่งเสริมให้มีการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น และได้เสนอข้อมูลประกอบการพิจารณาทบทวน มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สรุปได้ ดังนี้ 1. ในปัจจุบันได้มีกฎหมายที่กำกับการดูแลการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลไม่ให้อยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามเจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรีเดิมแล้ว โดยเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ขอรับการรับรองมาตรฐานต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) กับ กรมประมงก่อน โดยต้องแสดงเอกสารหลักฐานข้อมูลที่ดินว่าสถานประกอบกิจการมิได้อยู่ในเขตพื้นที่ต้องห้าม ตามกฎหมาย เช่น เขตพื้นที่ป่าชายเลน เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ การตรา พระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และการประกาศใช้กฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้การประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ซึ่งต้องดำเนินกิจการอยู่ภายในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงตามที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนด และผู้ประกอบกิจการต้องแจ้งประกอบกิจการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น การประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลจึงถูกควบคุมพื้นที่เพาะเลี้ยงตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดก่อนขอรับการรับรองมาตรฐานอีกทางหนึ่งด้วย 2. มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในปัจจุบันทั้ง 3 มาตรฐาน ได้รับการพัฒนาปรับปรุงตามแนวปฏิบัติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO Guideline) ที่เป็นมาตรฐานสากล โดยมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) ของกรมประมง ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับพื้นฐานมีพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญตามความจำเป็น คือ มีข้อกำหนด ด้านคุณภาพน้ำทิ้งและดินเลน ซึ่งเป็นมาตรฐานพื้นฐานที่ผู้รับซื้อยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ส่วนมาตรฐาน ฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC) และมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับ การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรเป็นมาตรฐานที่สูงขึ้นไป 3. ในปัจจุบัน เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลจะมีการเลือกขอรับการรับรองมาตรฐานเพียงมาตรฐานหนึ่งที่เหมาะสมเท่านั้น แต่เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (30 กันยายน 2546) กำหนดเงื่อนไขให้ต้องได้รับการรับรองทั้งมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) และมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC) จึงส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถขอรับสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ในทางปฏิบัติ เนื่องจากสถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร แห่งประเทศไทย ซึ่งการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นการดำเนินการที่ขัดกับมติคณะรัฐมนตรี (30 กันยายน 2546) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขอแก้ไขทบทวนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เพื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป 5. เรื่อง ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้ 1. เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออก เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า (Transmission System Improvement Project in Eastern Region to Enhance System Security : TIPE) (โครงการ TIPE) และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 (Independent Power Producer 3 : IPP3) (โครงการ IPP3) ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท โครงการ วงเงินลงทุนที่คณะรัฐมนตรี อนุมัติไว้เดิม วงเงินลงทุน ที่ขอคณะรัฐมนตรี อนุมัติปรับเพิ่มขึ้น วงเงินลงทุน รวมใหม่ทั้งโครงการ โครงการ TIPE 12,000 9,000 21,000 โครงการ IPP3 7,250 6,200 13,450 2. อนุมัติวงเงินงบประมาณลงทุนในปี พ.ศ. 2564 และ ปี พ.ศ. 2565 สำหรับโครงการ TIPE และโครงการ IPP3 ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท โครงการ วงเงินงบประมาณลงทุนในปี พ.ศ. 2564 วงเงินงบประมาณลงทุนในปี พ.ศ. 2565 งบดำเนินการ งบเบิกจ่าย งบดำเนินการ งบเบิกจ่าย โครงการ TIPE 7,917.386 3,649.925 9,062.305 2,360.677 โครงการ IPP3 4,599.286 1,801.670 8,530.074 4,260.634 สาระสำคัญของเรื่อง พน. รายงานว่า 1. เนื่องด้วยการดำเนินโครงการ TIPE และโครงการ IPP3 จะต้องมีการรอนสิทธิและจ่ายทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดินและทรัพย์สิน (ค่าทดแทนฯ) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยองและจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งตามรายงานการศึกษาความเหมาะสมของแต่ละโครงการ กฟผ. ได้ประมาณการค่าทดแทนฯ โดยใช้ราคาประเมิน ทุนทรัพย์ที่ดินที่ใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (ราคาประเมินทุนทรัพย์ฯ) ปี พ.ศ. 2551 - 2555 ของ กรมธนารักษ์ มาเป็นฐานในการคำนวณ และมีสมมติฐานที่เกี่ยวข้องสรุปได้ ดังนี้ 1.1 ค่าทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดิน กำหนดไว้ในอัตรา 2 เท่า1 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ฯ ปี พ.ศ. 2551 - 2555 1.2 ค่าทดแทนทรัพย์สิน (อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง และต้นไม้) กำหนดไว้ในอัตรา ร้อยละ 20 ของค่าทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดิน การประมาณการค่าทดแทนฯ ตามรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ หน่วย : ล้านบาท โครงการ ค่าทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าทดแทนทรัพย์สิน รวมค่าทดแทนฯ โครงการ TIPE 1,679.75 335.95 2,015.70 โครงการ IPP3 1,626.08 325.22 1,951.30 2. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติโครงการแล้ว กฟผ. ได้ดำเนินการเข้าพื้นที่เพื่อขอประกาศเขตสำรวจระบบโครงข่ายไฟฟ้า (เขตสำรวจฯ) ประกาศเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า และจ่ายค่าทดแทนฯ ให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินและทรัพย์สินในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ กฟผ. อยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2563 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 ได้พิจารณากำหนดราคาที่ดินและทรัพย์สินสำหรับการคำนวณค่าทดแทนฯ เขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าของโครงการ TIPE2 และโครงการ IPP3 และมีมติให้ กฟผ. นำราคาประเมินทุนทรัพย์ฯ ปี พ.ศ. 2559 - 2562 ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปี พ.ศ. 2563 มาปรับในอัตรา 7.45 เท่า3 เพื่อเป็นเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามหลักเกณฑ์ที่ กกพ. กำหนด ส่วนค่าทดแทนทรัพย์สินให้ใช้บัญชีราคากลางอาคาร โรงเรือน และสิ่งปลูกสร้างของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ปี 2562 และบัญชีราคากลางต้นไม้และพืชผลของสำนักงาน กกพ. ปี 2562 เป็นเกณฑ์ในการคิดคำนวณ4 จึงส่งผลให้ราคาที่ดินและทรัพย์สินที่นำมาใช้ในการ คิดคำนวณค่าทดแทนฯ เพิ่มสูงกว่าราคาที่ประมาณการไว้ในรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการของ ทั้ง 2 โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยสามารถสรุปรายละเอียดวงเงินลงทุนของทั้ง 2 โครงการได้ ดังนี้ 2.1 โครงการ TIPE กฟผ. แจ้งขอปรับวงเงินลงทุนโครงการ TIPE เพิ่มขึ้นไม่เกิน 9,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินโครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (สายส่ง) และสถานีไฟฟ้าแรงสูงทั้งหมดได้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2570 โดยในปัจจุบันมีสายส่งภายใต้โครงการ TIPE จำนวนทั้งสิ้น 7 แห่ง แบ่งเป็น (1) สายส่งที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างจำนวน 5 แห่ง และ (2) สายส่งที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน 2 แห่ง โดยรายละเอียดวงเงินของโครงการ TIPE สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท รายการ ราคาตามรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ปี 2555 ราคาตามมติ กกพ. ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2563 กรอบวงเงิน ที่ปรับเพิ่ม กรอบวงเงิน ที่ กฟผ. เสนอปรับเพิ่มเงินลงทุน ในครั้งนี้ ค่าทดแทน กรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,679.750 8,650.573 6,970.823 ไม่เกิน 9,000 ค่าทดแทน ทรัพย์สิน 335.950 2,250.000 1,914.050 รวม 2,015.700 10,900.573 8,884.873 ทั้งนี้ หากไม่ได้รับอนุมัติวงเงินดังกล่าวจะไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้แล้วเสร็จ และจะส่ง ผลกระทบต่อระดับค่ากระแสลัดวงจรเกินพิกัดอุปกรณ์ป้องกันของระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออก ซึ่งในกรณี เกิดเหตุขัดข้องจะทำให้ไฟฟ้าดับในบริเวณกว้าง 2.2 โครงการ IPP3 กฟผ. แจ้งขอปรับวงเงินลงทุนโครงการ IPP3 เพิ่มขึ้นไม่เกิน 6,200 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินโครงการก่อสร้างสายส่งและสถานีไฟฟ้าแรงสูงทั้งหมดได้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2566 เพื่อรองรับการจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าของบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกซึ่งมีกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ในวันที่ 31 มีนาคม 2566 โดยในปัจจุบันมีสายส่งภายใต้โครงการ IPP3 ที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง จำนวนทั้งสิ้น 3 แห่ง โดยรายละเอียดวงเงินของโครงการ IPP3 สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท รายการ ราคาตามรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ปี 2555 ราคาตามมติ กกพ. ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2563 กรอบวงเงิน ที่ปรับเพิ่ม กรอบวงเงิน ที่ กฟผ. เสนอปรับเพิ่มเงินลงทุน ในครั้งนี้ ค่าทดแทน กรรมสิทธิ์ที่ดิน 1,626.083 6,789.740 5,163.657 ไม่เกิน 6,200 ค่าทดแทน ทรัพย์สิน 325.217 1,309.228 984.011 รวม 1,951.300 8,098.968 6,147.668 ทั้งนี้ หากไม่ได้รับอนุมัติวงเงินดังกล่าว จะส่งผลให้ กฟผ. ไม่สามารถรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกได้ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบันศักยภาพของสถานีไฟฟ้าแรงสูงปลวกแดงสามารถรองรับโรงไฟฟ้าได้เพียงโครงการเดียว ดังนั้น กฟผ. จำเป็นต้องสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ ปลวกแดง - ฉะเชิงเทรา 2 ให้แล้วเสร็จทันกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ของโรงไฟฟ้าของบริษัทดังกล่าว เครื่องที่ 1 - 45 ซึ่งหาก กฟผ. ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามกำหนด จะต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่าย (Available Payment : AP) ตามระยะเวลาที่ กฟผ. ก่อสร้างล่าช้าเกินกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ไปจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ 3. พน. โดย กฟผ. ได้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม โดยเปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน และผลกระทบค่าไฟฟ้าของทั้ง 2 โครงการทั้งในช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงของวงเงินลงทุนที่เสนอในครั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้ รายการ มติคณะรัฐมนตรีเดิม ข้อเสนอในครั้งนี้ 3.1 โครงการ TIPE กรอบวงเงินลงทุน 12,000 ล้านบาท 21,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 9,000 ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน ด้านเศรษฐศาสตร์6 (EIRR) ร้อยละ 20.62 ร้อยละ 16.02 อัตราผลตอบแทนด้านการเงิน6 (FIRR) ร้อยละ 18.39 ร้อยละ 14.28 ผลกระทบค่าไฟฟ้า7 0.25 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 0.19 สตางค์ต่อหน่วย 3.2 โครงการ IPP3 กรอบวงเงินลงทุน 7,250 ล้านบาท 13,450 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 6,200 ล้านบาท) อัตราผลตอบแทน ด้านเศรษฐศาสตร์ (EIRR) ร้อยละ 10.68 ร้อยละ 9.28 อัตราผลตอบแทนด้านการเงิน (FIRR) ร้อยละ 10.27 ร้อยละ 8.95 ผลกระทบค่าไฟฟ้า7 0.19 สตางค์ต่อหน่วย เพิ่มขึ้น 0.12 สตางค์ต่อหน่วย 1กฟผ. แจ้งเพิ่มเติมว่า การกำหนดอัตรา 2 เท่าของราคาประเมินทุนทรัพย์ฯ เป็นการประมาณการโดยอ้างอิง จากตัวเลขและสถิติจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของ กฟผ. ในช่วงเวลานั้น ส่วนการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินในอัตราร้อยละ 20 ของค่าทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นการประมาณการเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการประกาศเขตสำรวจฯ ทับซ้อนกับพื้นที่ป่าโดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ รวมถึงการคัดค้านชาวบ้าน ในพื้นที่ดำเนินโครงการ 2ระหว่างปี 2560 - 2562 โครงการ TIPE ได้ประสบปัญหาความล่าช้าในการดำเนินการ เนื่องจากมีประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ TIPE คัดค้านในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ส่งผลให้ กฟผ. ไม่สามารถประกาศเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้ครบทุกแนวสายส่งภายใต้โครงการ TIPE และทำให้การจ่ายค่า ทดแทนฯ เกิดความล่าช้า และเมื่อดำเนินการลงพื้นที่สำรวจหมุดฐานของแนวสายส่งของโครงการพบว่า มีแนวสายส่งจำนวน 2 สาย ได้แก่ สายส่ง 230 กิโลโวลต์ จุดเชื่อมบางละมุง 2 ? บางละมุง 2 และสายส่ง 500 กิโลโวลต์ บางละมุง 2 - ปลวกแดง พาดผ่านพื้นที่ป่า C โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ส่งผลให้ กฟผ. ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE) (รายงาน IEE) เสนอสำนักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาเพิ่มเติมก่อนดำเนินการ โดยเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562 สผ. ได้ให้ความเห็นชอบรายงาน IEE แล้ว 3เนื่องจากเป็นโครงการที่มีพื้นที่โครงการพาดผ่านพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) (โครงการ EEC) ส่งผลให้ราคาที่ดินและทรัพย์สินที่ต้องนำมาใช้ในการคิดคำนวณค่าทดแทนฯ ปรับเพิ่มขึ้นมาก 4อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และประกาศ กกพ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข เกี่ยวกับการกำหนดและจ่ายค่าทดแทน พ.ศ. 2552 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม 5วันที่ 31 มีนาคม 2566 วันที่ 1 ตุลาคม 2566 วันที่ 31 มีนาคม 2567 และวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ตามลำดับ 6 คู่มือแนวทางและหลักเกณฑ์การวิเคราะห์โครงการ พ.ศ. 2555 (ฉบับปรับปรุง) ของสำนักงานสภาพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แนะนำว่า สำหรับการวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านการเงินของโครงการ อัตราผลตอบแทนด้านการเงินของโครงการ (Internal Rate of Return: IRR) ควรมากกว่าอัตราเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต้นทุนเงินลงทุนของโครงการ (Weighted Cost of Capital WACC) ในขณะที่การวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ ที่ผ่านมา สศช. ได้กำหนดเกณฑ์อัตราผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) ที่เหมาะสมอยู่ระหว่างร้อยละ 9 - 12 แล้วแต่ลักษณะของโครงการ 7พน.ได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นข้อมูลผลกระทบค่าไฟฟ้าของทั้ง 2 โครงการ ดังนี้ 1) ผลกระทบค่าไฟฟ้า ก่อนเปลี่ยนแปลงวงเงินลงทุน ประเมินโดยใช้สมมติฐานตามโครงสร้างค่าไฟฟ้า ณ ปี 2554 ซึ่งสอดคล้องตามช่วงเวลาที่ได้มีการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ และ 2) ผลกระทบค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นหลังเปลี่ยนแปลงวงเงินลงทุน ประเมินโดยใช้สมมติฐานตามโครงสร้างค่าไฟฟ้า ณ ปี 2562 เพื่อให้สอดคล้องตามสถานการณ์ในปัจจุบัน 6. เรื่อง การปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) เสนอดังนี้ 1. อนุมัติและรับทราบตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ตามมติที่ประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ดังนี้ 1.1 อนุมัติการปรับปรุงแผนการก่อหนี้ใหม่ ที่ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 49,619.73 ล้านบาท จากเดิม 1,365,483.84 ล้านบาท เป็น 1,415,103.57 ล้านบาท การปรับปรุงแผนการชำระหนี้ ที่ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,035.29 ล้านบาท จากเดิม 362,233.72 ล้านบาท เป็น 363,269.01 ล้านบาท รวมทั้งเห็นควรให้หน่วยงานที่บรรจุกรอบวงเงินกู้ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ 2565 ปรับปรุง ครั้งที่ 2 เร่งรัดการดำเนินการตามแผนดังกล่าวด้วย 1.2 อนุมัติการบรรจุโครงการพัฒนา โครงการ และรายการเพิ่มเติมในการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 จำนวน 21 โครงการ/รายการ 1.3 ให้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 2 แห่ง คือ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่มีสัดส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการ (Debt Service Coverage Ratio : DSCR) ต่ำกว่า 1 สามารถกู้เงินและบริหารหนี้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 ปรับปรุงครั้งที่ 2 โดยให้รัฐวิสาหกิจดังกล่าวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการด้วย 1.4 รับทราบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้เดิม ที่ปรับลดสุทธิ 35,794.42 ล้านบาท จากเดิม 1,536,957.98 ล้านบาท เป็น 1,501,163.56 ล้านบาท 2. อนุมัติการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อ การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุน เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 มาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 และมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินโควิด 19ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) รวมทั้งขออนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 ปรับปรุงครั้งที่ 2 และให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้พิจารณาการ กู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกันและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละ ครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ หากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เองก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ 3. มอบหมายให้ รฟท. รับข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ โดยให้ รฟท. รายงานผลการดำเนินการของ บริษัท รถไฟพัฒนาสินทรัพย์ จำกัด ต่อคณะกรรมการ รฟท. และคณะกรรมการฯ เป็นระยะ สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 มีมติเห็นชอบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 ส่งผลให้วงเงินแผนการก่อหนี้ใหม่ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 49,619.73 ล้านบาท แผนการบริหารหนี้เดิมปรับลดสุทธิ 35,794.42 ล้านบาท และแผนการชำระหนี้ปรับเพิ่มขึ้นสุทธิ 1,035.29 ล้านบาท และ โดยมีสาระสำคัญของการปรับปรุงแผนฯ ในครั้งนี้ เช่น (1) การกู้เงินเพิ่มเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 10,000 ล้านบาท เพื่อนำไปชดเชยราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง (2) การปรับเพิ่มวงเงินปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) เพื่อบริหารความเสี่ยงวงเงินกู้ต่างประเทศที่คาดว่าจะลงนามสัญญา และ/หรือรองรับการระดมทุนในสกุลเงินตราต่างประเทศที่อาจจะเกิดขึ้นภายในงบประมาณ 2565 จำนวน 29,345 ล้านบาท และ (3) การกู้เงินเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาและเพื่อดำเนินโครงการหรือเพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการทั่วไปของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ปรับเพิ่มวงเงินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลช่วงบางชื่อ - ตลิ่งชัน (ระบบไฟฟ้า เครื่องกล และตู้รถไฟฟ้า) จำนวน 1,660.28 ลบ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ปรับเพิ่มเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ในปี 2565 - 2567 ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกิน 25,000 ล้านบาท รวมทั้งในครั้งนี้คณะกรรมการฯ ได้ขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติโครงการพัฒนา โครงการ และรายการที่จะขอบรรจุเพิ่มเติมและต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี จำนวน 21 โครงการหรือรายการ โดยการปรับปรุงแผนฯ ในครั้งนี้ ได้จัดทำขึ้นภายใต้กรอบกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องซึ่งกระทรวงการคลัง (กค.) คาดการณ์ว่าระดับประมาณการหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศภายหลังการปรับปรุงแผนฯ ในครั้งนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 62.76 (กรอบไม่เกินร้อยละ 70) ทั้งนี้ ระเบียบคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2561 ข้อ 15 (3) กำหนดว่า หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแผนฯ ระหว่างปี กรณีโครงการพัฒนาหรือโครงการที่ไม่ได้บรรจุไว้ในแผนฯ ให้เสนอคณะกรรมการฯ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ โดยในการปรับปรุงแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 ครั้งที่ 2 มีโครงการพัฒนา โครงการ และรายการที่ขอบรรจุเพิ่มเติม และต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี จำนวน 21 โครงการ/รายการ สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท โครงการพัฒนา/โครงการ/รายการ หน่วยงาน แหล่งเงินกู้ วงเงิน แผนการก่อหนี้ใหม่ 1. โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) กค. กู้ต่อให้ รฟม. ในประเทศ 10,873.00 2. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาขาณุวรลักษบุรี อำเภอขาณุวรลักษบุรี ? คลอง ขลุง จังหวัดกำแพงเพชร กปภ. 11.03 3. โครงการก่อสร้างปรับปรุงขยาย กปภ. สาขาพนมสารคาม - บางคล้า - (แปลงยาว) - (คลองนา) - (เทพราช) (รองรับ EEC) อำเภอพนมสารคาม - บางคล้า - แปลงยาว - เมืองฉะเชิงเทรา - บ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา 6.25 4. โครงการโรงไฟฟ้าบางปะกง (ทดแทนเครื่องที่ 1 - 2) กฟผ. 1,500.00 5. โครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้า 300.00 6. โครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 3,500.00 7. โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8 - 9 2,000.00 8. เงินกู้ระยะสั้นเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน 25,000.00 9. กู้เบิกเกินบัญชีเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องทางการเงิน อ.ส.ค. 250.00 หน่วย : ล้านบาท โครงการพัฒนา/โครงการ/รายการ หน่วยงาน แหล่งเงินกู้ วงเงิน แผนการบริหารหนี้เดิม 1. พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 1 กค. ในประเทศ ภายใต้กรอบวงเงินเดิมของการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้รัฐบาลที่ครบกำหนด ในปีงบประมาณ 2566 - 2569 จำนวน 305,000 ล้านบาท 2. พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 6 3. พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 9 4. พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ครั้งที่ 21 5. พันธบัตรรัฐบาล ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 13 6. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 3 7. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการบริหารหนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ครั้งที่ 7 8. สัญญาเงินกู้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) ต่างประเทศ 12,345.00 9. Foreign Currency Bond (USD) 17,000.00 10. พันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 7 กฟผ. ในประเทศ 1,000.00 11. พันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 11 1,000.00 12. พันธบัตรการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2555 ครั้งที่ 12 1,000.00 7. เรื่อง แผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ 2565 (แผนปฏิบัติการประจำปี 2565) คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ 2565 (แผนปฏิบัติการประจำปี 2565) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (3 พฤษภาคม 2559) ที่มอบหมายให้ พณ. (กองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ) จัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป] ทั้งนี้ คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศมีมติเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 อนุมัติแผนปฏิบัติการระยะยาว กองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประจำปี 2565-2569 และแผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ 2565 (แผนปฏิบัติการประจำปี 2565) และมีมติเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 อนุมัติปรับแผนปฏิบัติการประจำปี 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. แผนปฏิบัติการระยะยาว กองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ประจำปี 2565-2569 มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการและกิจกรรมเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการผลิตและส่งออกสินค้าและบริการให้กับผู้ผลิต ผู้ส่งออก ตลอดจนผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กในภูมิภาค วิสาหกิจชุมชน เกษตรกร และผู้ประกอบการรุ่นใหม่ รวมทั้งบริหารกิจกรรมการพัฒนาและส่งเสริมการส่งออกในยุคปกติใหม่ (New Normal) ให้มีความคล่องตัวเพื่อนำไปสู่เป้าหมายหลัก คือ สามารถผลักดันและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันด้านการค้าระหว่างประเทศของไทยให้เป็น 1 ใน 5 ของเอเชียภายในปี 2569 2. แผนการใช้จ่ายเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ปีงบประมาณ 2565 (แผนปฏิบัติการประจำปี 2565) ประกอบด้วยโครงการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวม 9 หน่วยงาน จำนวน 229 โครงการ วงเงิน 526,023,680 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ยุทธศาสตร์/กลยุทธ์/โครงการ จำนวน (โครงการ) งบประมาณ (บาท) (1) การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งออก 228 521,023,680 (1.1) ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าระหว่างประเทศ (1.1.1) การผลักดันคลัสเตอร์เป้าหมาย (1.1.2) การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการการค้าระหว่างประเทศของไทย (1.1.3) การพัฒนาส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มและการสร้างภาพลักษณ์และส่งเสริมการสร้างแบรนด์สินค้าและบริการ (1.1.4) การพัฒนาองค์กรสู่อนาคต เช่น (1) โครงการส่งเสริมการค้าข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (2) โครงการพัฒนาและส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ สินค้าเกษตรและอาหาร และ (3) โครงการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าอาหารและเครื่องดื่มของไทย 49 399,151,230 (1.2) ยุทธศาสตร์การเจรจาเชิงรุกเพื่อเปิดตลาด (1.2.1) การประชุมเจรจาเชิงรุก (1.2.2) การปกป้องผลประโยชน์และการแก้ไขอุปสรรคทางการค้า เช่น (1) โครงการประชุมความมั่งคงทางด้านอาหารและความร่วมมือข้าวระหว่างประเทศ (2) โครงการเข้าร่วมประชุมสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก และ (3) โครงการปกป้องผลประโยชน์ทางการค้าของไทย 151 36,507,050 (1.3) ยุทธศาสตร์การเร่งรัดการตลาดเชิงกลยุทธ์ (1.3.1) การรักษาและขยายตลาดเดิม เปิดตลาดใหม่ ฟื้นตลาดเก่า (1.3.2) การผลักดันการค้าผ่านช่องทางการตลาดพาณิชย์ดิจิทัลและช่องทางกระจายสินค้ารูปแบบใหม่ เช่น (1) โครงการต้อนรับและเจรจาธุรกิจกับคณะผู้แทนการค้าจากต่างประเทศ (2) โครงการส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการตลาดและทำธุรกิจระหว่างประเทศ ตลาดอาเซียน และ (3) โครงการส่งเสริมการตลาดสินค้าไทยรูปแบบใหม่ในตลาดมาเลเซีย 28 85,365,400 (2) งบงานตามนโยบายและมาตรการเร่งด่วน 1 5,000,000 โครงการงบงานตามนโยบายและมาตรการเร่งด่วน 1 5,000,000 8. เรื่อง รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กองทุนยุติธรรม คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กองทุนยุติธรรม (กองทุนฯ) (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติกองทุนฯ พ.ศ. 2558 มาตรา 37 ที่บัญญัติให้ กองทุน ฯ จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่ วันสิ้นปีบัญชี) ผลการดำเนินงานที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. ความสำเร็จของการดำเนินงานตามมาตรฐานระยะเวลางานบริการของกองทุนฯ มีผู้มาขอรับความช่วยเหลือทั้งสิ้น 4,223 ราย ดำเนินการแล้วเสร็จ 4,034 ราย และได้ให้บริการประชาชนแล้วเสร็จภายในมาตรฐานระยะเวลางานบริการของกองทุนฯ 3,640 ราย คิดเป็นร้อยละ 90.23 2. ความสำเร็จของการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนของสำนักงานกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 4,223 ราย วงเงิน 206.83 ล้านบาท ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชน จัดสรร อนุมัติการเบิกจ่าย 1) การช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี 42.00 22.42 (ร้อยละ 53.39) 2) การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย 146.00 179.13 (ร้อยละ 122.69) 3) การช่วยเหลือผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน 1.00 0.27 (ร้อยละ 27.15) 4) การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน 18.00 5.01 (ร้อยละ 27.84) รวม 207.00 206.83 (ร้อยละ 99.92) 3. การดำเนินงานที่สำคัญตามภารกิจของกองทุนฯ เช่น ภารกิจ ผลการดำเนินงาน 1) การช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินคดี (จำนวน 3 กรณี) 1.1) วินลาดพร้าว 101 ให้ความช่วยเหลือค่าทนายความและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดีในชั้นบังคับคดีแก่ผู้ขอความช่วยเหลือซึ่งเป็นนายกสมาคมผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รับจ้าง กรณีจัดตั้งกองทุนกลุ่มออมทรัพย์เพื่อให้สมาชิกกู้ยืมเงิน ซึ่งต่อมาสมาชิกบางรายผิด นัดไม่ชำระเงินกู้ให้กับกองทุนฯ จึงถูกธนาคารออมสินยื่นฟ้องผู้ขอรับความช่วยเหลือกับพวก รวม 14 ราย 1.2) ฟ้องเพิกถอนการออกโฉนดและกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ให้ความช่วยเหลือค่าทนายความแก่ชาวบ้านอำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ 45 ราย 200,000 บาท กรณีประสบปัญหาที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย เนื่องจากมีการออกโฉนดทับซ้อนกับที่ดินวัดม่วงต่อ จังหวัดเชียงใหม่ และไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินได้ 1.3) ฟ้องละเมิดเรียกค่าสินไหมทดแทน ให้ความช่วยเหลือค่าทนายความแก่ผู้เสียหาย 30,000 บาท กรณีบ้านและทรัพย์สินของชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณถนนสาย โรงเหล้า?ศรีมหาโพธิ จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุรถยนต์บรรทุกเฉี่ยวชนทรัพย์สิน 2) การขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย (จำนวน 2 กรณี) 2.1) บ้านริมคลองราชพัสดุ ให้ความช่วยเหลือชาวบ้านรายหนึ่งจากเงินกองทุนฯ 150,000 บาท กรณีการขอปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาหรือจำเลย เพื่อใช้เป็นหลักประกันในการขอปล่อยชั่วคราวในศาลชั้นฎีกาต่อศาลอาญาในข้อหาเข้าไปยึดถือ ครอบครองก่อสร้างที่ดินของรัฐ (ผู้ขอรับความช่วยเหลือก่อสร้างบ้านในแนวคลองลาดพร้าว ซึ่งเป็นที่ ราชพัสดุ อีกทั้งบ้านดังกล่าวยังกีดขวางทางน้ำไหล) 2.2) คดีฐานความผิดพยายามฆ่าผู้อื่นและมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต อนุมัติให้ความช่วยเหลือด้านหลักประกันตัวแก่ผู้ขอรับความช่วยเหลือกรณีพยายามฆ่าผู้อื่นและมีอาวุธปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตวงเงินประกันตัว 400,000 บาท เนื่องจาก ผู้ขอรับความช่วยเหลือไม่มีพฤติการณ์หลบหนี ยุ่งกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุภยันตรายประการใด อีกทั้งลักษณะการกระทำความผิดไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย ศีลธรรมและความมั่นคงของประเทศ รวมทั้งผู้ขอรับความช่วยเหลือมีฐานะยากจนและไม่มีประวัติการกระทำความผิดมาก่อน 3) การช่วยเหลือผู้ละเมิดสิทธิมนุษยชน (จำนวน 1 กรณี) ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติจากการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน ช่วยเหลือค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ในระหว่างที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติให้แก่ผู้ขอความช่วยเหลือ 86 วัน 70,090 บาท เนื่องจากมีคำพิพากษายกฟ้องคดีอาญา ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 4) การสนับสนุนการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน (จำนวน 2 กรณี) 4.1) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ อัปโหลด โพสต์ แชร์ เสรีภาพที่ทำได้ภายใต้กฎหมายหมิ่นประมาท จัดโดยมหาวิทยาลัย ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อนุมัติเงินกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการฯ 76,300 บาท โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างจิตสำนึกและการตระหนักถึงการใช้เสรีภาพขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นที่มีความสร้างสรรค์และการแสดงออกผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์กที่ปราศจากการกระทำความผิดตลอดจนเสริมสร้างความรู้ให้แก่ประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม อย่างเท่าเทียมผ่านกฎหมายสำคัญต่าง ๆ 4.2) โครงการอบรมให้ความรู้ทางด้านกฎหมายในชิวิตประจำวันแก่ประชาชนตำบลโคกก่อง จัดโดยศูนย์ยุติธรรมตำบลโคกก่อง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี อนุมัติเงินกองทุนฯ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการฯ 43,700 บาท เพื่อให้ความรู้ทางกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน รวมถึงความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิและหน้าที่ที่เกี่ยวกับระบบงานยุติธรรมที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ และเป็นหลักความรู้สำคัญเพื่อเป็นแนวทางช่วยแก้ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย 4. การประเมินผลการดำเนินงานทุนหมุนเวียน โดยมีการประเมินผลการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงของกองทุนฯ ประจำปีบัญชี 2564 ได้แก่ ด้านการเงิน 5 คะแนน ด้านการตอบสนองประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 5 คะแนน ด้านการปฏิบัติการ 4.90 คะแนน ด้านการบริหารพัฒนาทุนหมุนเวียน 4.92 คะแนน ด้านการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริหารผู้บริหารทุนหมุนเวียน พนักงาน และลูกจ้าง 5 คะแนน และด้านการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาล/กระทรวงการคลัง 4.86 คะแนน เฉลี่ยรวม 4.94 คะแนน ทั้งนี้ ได้รับคะแนนเฉลี่ยการประเมินฯ ประจำปีบัญชี 2558-2564 จำนวน 3.70 คะแนน 5. รายงานการเงินของกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 5.1 งบแสดงฐานะการเงิน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 หน่วย : ล้านบาท รายการ ปี 2564 ปี 2563 เพิ่ม/(ลด) 1) สินทรัพย์ - รวมสินทรัพย์หมุนเวียน 943.38 881.18 62.20 - รวมสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน 10.09 13.89 (3.80) รวมสินทรัพย์ 953.47 895.07 58.40 2) หนี้สิน 1.18 5.73 (4.55) 3) สินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน 952.29 889.34 62.95 5.2 งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 หน่วย : ล้านบาท รายการ ปี 2564 ปี 2563 เพิ่ม/(ลด) 1) รวมรายได้ 152.99 153.42 (0.43) 2) รวมค่าใช้จ่าย 90.02 84.34 5.68 รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ 62.97 69.08 (6.11) 9. เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 5/2564 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 (เรื่อง มติ กก.วล. ให้ถือว่าการประชุม กก.วล. เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องสิ่งแวดล้อม) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 (เรื่อง มติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 ครั้งที่ 11/2548 และครั้งที่ 12/2548) รับทราบมติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ที่ให้นำมติ กก.วล. เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญ และเรื่องที่ กก.วล. พิจารณาได้ข้อยุติแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ เรื่อง มติ กก.วล. 1. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (จำนวน 6 โครงการ) 1.1 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการฯ ในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น (1) ปรับจุดเริ่มต้นโครงการฯ จากสถานีสามเสนบริเวณแยกถนนสามเสนเป็นสถานีตลิ่งชัน (2) ขยับตำแหน่งสถานี จำนวน 2 สถานี ได้แก่ สถานีดินแดงและสถานีประชาสงเคราะห์ และ (3) เปลี่ยนแปลงมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับสภาพสิ่งแวดล้อมปัจจุบันและกฎหมายที่เกี่ยวข้องที่มีการเปลี่ยนแปลง รับทราบมติคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศเมื่อวันที่ 2 เมษยน 2564 ที่ได้ให้ความเห็นชอบรายงานการขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในรายงานฯ โดยให้ รฟม. ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแดวล้อม ตามที่เสนอไว้ในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด รวมทั้งสำรวจคุณค่าต่อคุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมของประชาชนกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงเพิ่มเติมก่อนดำเนินการก่อสร้างโครงการ 1.2 โครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อยจังหวัดนครราชสีมา (สูงเนิน) ระยที่ 1 และระยะที่ 2 ของการเคหะแห่งชาติ เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้ง 5 โครงการ และมอบหมายให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการ ดังนี้ (1) ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่เสนอไว้ในรายงานฯ อย่างเคร่งครัด (2) ตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการฯที่กำหนด (3) พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามแนวทางที่กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขกำหนด (4) โครงการอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อยฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นการนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ประโยชน์ และเพิ่มมาตรการติดตามการกำจัดกากไขมันและสิ่งปฏิกูลที่เกิดขึ้นจากโครงการต่อขีดความสามารถในการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบลนากลาง (5) โครงการถนนต่อเชื่อมฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิจารณาวิธีการได้มาซึ่งที่ดินที่เหมาะสมตามหลักการจัดรูปที่ดินที่มีความเป็นธรรม (6) โครงการทางหลวงพิเศษส่วนต่อขยายฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นด้านความปลอดภัยและป้องกันการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการก่อสร้างอย่างเคร่งครัดและเพิ่มมาตรการจัดการดินขุดที่เหลือใช้จากโครงการฯ (7) โครงการทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในประเด็นการกำจัดของเสียและสารอันตรายจากการซ่อมบำรุงเครื่องจักรและมาตรการด้านอุทกวิทยารองรับกรณีการก่อสร้างถนนวงแหวนในอนาคต (8) โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3ฯ ให้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมเพื่อไม่ให้เกิดข้อขัดแย้งและพิจารณาแนวทางเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้ใช้ถนนวงแหวนรอบนอก กทม. ด้านตะวันออก 1.3 โครงการถนนต่อเชื่อมถนนนครอินทร์-ศาลายา ของกรมทางหลวงชนบท 1.4 โครงการทางหลวงพิเศษส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอินของ กรมทางหลวง (ทล.) 1.5 โครงการทางเลี่ยงเมืองอำนาจเจริญ (ด้านทิศตะวันตก) ของ ทล. 1.6 โครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 (สายเหนือและสายใต้) กรณีโครงการระบบทางด่วนขั้นที่ 3 สายเหนือ ตอน N2 เชื่อมต่อไปยังถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (กทม.) ด้านตะวันออกของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย 2. แผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (จำนวน 2 โครงการ) 2.1 โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อทดแทนครุภัณฑ์เดิม เทศบาลเมืองบ้านพรุ จังหวัดสงขลา เพื่อใช้ในระบบฝังกลบขยะมูลฝอยแบบถูกหลักสุขาภิบาลเทศบาลเมืองบ้านพรุและพื้นที่ต่อเนื่อง เห็นชอบ 2 โครงการ วงเงินรวม 33.85 ล้านบาท โดยจำแนกเป็นงบประมาณแผ่นดิน 30.27 ล้านบาท กองทุนสิ่งแวดล้อม 200,000 บาท และท้องถิ่นสมทบ 3.38 ล้านบาท 2.2 โครงการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อใช้ในระบบ ฝังกลบขยะมูลฝอยศูนย์กำจัดขยะมูลฝอย เทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล 3. การปรับปรุงมาตรฐานค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากปล่องเตาเผาศพ ทส. โดยกรมควบคุมมลพิษได้ยกร่างประกาศ ทส. เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากปล่องเตาเผาศพ พ.ศ. ... โดยกำหนดนิยามคำว่า เตาเผาศพ กำหนดค่ามาตรฐานเขม่าควันที่ปล่อยทิ้งจากปล่องเตาเผาศพต้องมีค่าความทึบแสงไม่เกินร้อยละ 7 และกำหนดวิธีการตรวจวัดด้วยแผนภูมิเขม่าควันของรังกิลมานน์* โดยการสังเกตค่าความทึบแสงของเขม่าควัน ใช้เวลา 30 นาที และมีการบังคับใช้สำหรับเตาเผาศพในพื้นที่ กทม. เมืองพัทยา เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง เมื่อพ้นกำหนด 1 ปี และสำหรับเตาเผาศพในพื้นที่อื่นเมื่อพ้นกำหนด 3 ปี เห็นชอบการปรับปรุงมาตรฐานค่าความทึบแสงของเขม่าควันจากปล่องเตาเผาศพตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเสนอ และมอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษนำประกาศ ทส. ดังกล่าวเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาลงนามตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ต่อไป (อยู่ระหว่างกรมควบคุมมลพิษแก้ไขร่างประกาศฯ เพื่อเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนาม) * แผนภูมิเขม่าควันของริงเกิลมานน์ หมายความว่า แผนภูมิที่แสดงค่าความทึบแสงในระดับต่าง ๆ เพื่อใช้เปรียบเทียบเพื่อหาค่าความทึบแสงของเขม่าควันที่เกิดขึ้นจริง 10. เรื่อง การขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์และเงื่อนไขในโครงการทุนเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมายุ 60 พรรษา เพื่อพัฒนาผู้มีอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (รจภ.) เสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการทุนเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมายุ 60 พรรษา เพื่อพัฒนา ผู้มีอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (โครงการทุนเฉลิมพระเกียรติฯ) จำนวน 3 โครงการย่อย ดังนี้ 1. โครงการทุนเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อพัฒนาอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์เพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ต่างประเทศ ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ดังนี้ หัวข้อ จากเดิม (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561) เป็น เหตุผล และความจำเป็น วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ จำนวน 2 คนต่อปี ให้มีสมรรถนะระดับสูงด้านการวิจัย และการสร้างนวัตกรรม/เทคโนโลยี เพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ต่างประเทศ และสามารถสร้างเครือข่ายการทำวิจัยหลังจากจบการศึกษา เพื่อรักษาระดับคุณภาพงานวิจัยต่อไป เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ จำนวน 2 คนต่อปี ให้มีสมรรถนะระดับสูงด้านการวิจัย และการสร้างนวัตกรรม/เทคโนโลยี เพื่อไปศึกษาหลักสูตรสองปริญญาเอกข้ามสถาบัน (Dual Degree Program) และสามารถสร้างเครือข่ายการทำวิจัยหลังจากจบการศึกษาเพื่อรักษาระดับคุณภาพงานวิจัยต่อไป เพื่อรองรับสถานการณ์และภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และเพื่อพัฒนาหลักสูตรสร้างความร่วมมือ 2 สถาบันโดยมีลักษณะเป็นหลักสูตรสองปริญญาข้ามสถาบัน (Dual Degree Program) และจัดทำข้อตกลงร่วมกัน โดยผู้สำเร็จการศึกษาจะได้รับปริญญาทั้งของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และปริญญาบัตรของสถาบันที่มีความร่วมมือกัน ระยะเวลาศึกษา ปี งบประมาณ พ.ศ. 2562 ? 2570 (ระยะเวลาศึกษาทุนละ 5 ปี จำนวน 2 ทุนต่อปี จำนวน 5 รุ่น รวมระยะเวลา 9 ปี รวมทั้งสิ้น 10 ทุน เป็นเงิน 125 ล้านบาท) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2572 เงื่อนไข การชดใช้ทุน เมื่อสำเร็จการศึกษา ผู้ได้รับทุน ต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนที่สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์เป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุน และหากไม่ปฏิบัติงานที่ รจภ. จะต้องใช้เงินทุนทั้งหมดที่รับไป พร้อมทั้งเบี้ยปรับอีกเป็นจำนวนหนึ่งเท่าของเงินทุนที่รับไป ตัดเงื่อนไขในเรื่องของการชดใช้ทุนออกเพื่อให้มีสถานะเป็นทุนแบบให้เปล่า 2. โครงการทุนเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อส่งเสริมนักวิจัย และอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการไปทำวิจัยหลังปริญญาเอก ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียด ดังนี้ หัวข้อ จากเดิม (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2561) เป็น เหตุผล และความจำเป็น วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา/สร้างนักวิจัย และอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีสมรรถนะระดับสูงด้านการวิจัย และการสร้างนวัตกรรม/เทคโนโลยีของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ จำนวน 6 ทุน เพื่อส่งเสริมการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีให้กับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าให้เข้ามาทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (Postdoctoral Research) จำนวน 6 ทุน เพื่อรองรับสถานการณ์ และภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเปิดโอกาสให้กับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่า ให้เข้ามาทำงานวิจัยหลังปริญญาเอกที่สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ (Postdoctoral Research) เพื่อสร้างงานวิจัย และพัฒนานักวิจัยทั้งในประเทศและอาเซียนให้มีศักยภาพในการทำวิจัยและยกระดับงานวิจัย และบุคลากรให้อยู่ในระดับแนวหน้า ระยะเวลาศึกษา ปี งบประมาณ พ.ศ. 2562 ? 2567 (ระยะเวลาศึกษาทุนละ 2 ปี จำนวน 6 ทุนต่อปี จำนวน 5 รุ่น รวมระยะเวลา 6 ปี รวมทั้งสิ้น 30 ทุน เป็นเงิน 60 ล้านบาท) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2569 เงื่อนไข การชดใช้ทุน เมื่อสำเร็จการศึกษา ผู้ได้รับทุน ต้องปฏิบัติงานชดใช้ทุนที่ รจภ. เป็นระยะเวลา 2 เท่าของระยะเวลาที่ได้รับทุน และหากไม่ปฏิบัติงานที่ รจภ. จะต้องใช้เงินทุนทั้งหมดที่รับไปพร้อมทั้งเบี้ยปรับอีกเป็นจำนวนหนึ่งเท่าของเงินทุนที่รับไป ตัดเงื่อนไขในเรื่องของการชดใช้ทุนออก เพื่อให้มีสถานะเป็นทุนแบบให้เปล่า 3. โครงการทุนเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อผลิตนักวิทยาศาสตร์ผู้มีอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (หลักสูตรนานาชาติ) ขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโดยตัดเงื่อนไขในเรื่องของการชดใช้ทุนออก เพื่อให้มีสถานะเป็นทุนแบบให้เปล่า สาระสำคัญของเรื่อง รจภ. รายงานว่า 1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการโครงการเฉลิมพระเกียรติเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์เนื่องในโอกาสมหามงคลพระชนมายุ 60 พรรษา ซึ่งรวมถึงการดำเนินโครงการทุนเฉลิมพระเกียรติฯ วงเงินรวมทั้งสิ้น 810.09 ล้านบาท ด้วย นั้น โครงการ ทุนเฉลิมพระเกียรติฯ ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย ได้แก่ 1) โครงการทุนเฉลิม พระเกียรติฯ เพื่อผลิตนักวิทยาศาสตร์ผู้มีอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (หลักสูตรนานาชาติ) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2571 วงเงิน 625 ล้านบาท 2) โครงการทุนเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อพัฒนาอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ เพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ณ ต่างประเทศ วงเงิน พ.ศ. 2562 - 2570 วงเงิน 125 ล้านบาท และ 3) โครงการทุนเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อส่งเสริมนักวิจัย และอาจารย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการไปทำวิจัยหลังปริญญาเอก ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2567 วงเงิน 60 ล้านบาท 2. สภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2564 และ ครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2564 มีมติเห็นชอบในหลักการการขอเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์และเงื่อนไขในการจัดสรรทุนโครงการทุนเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อรองรับสถานการณ์และภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และ เพื่อพัฒนางานวิจัยหลังปริญญาเอก และพัฒนานักวิจัยของประเทศให้มีศักยภาพในการทำวิจัยให้อยู่ในระดับแนวหน้าต่อไป 11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2565 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้ พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2565 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาข้อเสนอ แนวทางการดำเนินการตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ครั้งที่ 5) การพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 การพิจารณาข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายเงินกู้ตาม พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ดังนี้ 1. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (2) มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (1) เพิ่มเติม (ครั้งที่ 5) จำนวน 211 ล้านบาท เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 2. อนุมัติโครงการการศึกษาความปลอดภัย (Safety) ความสามารถในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Immunogenicity) และประสิทธิภาพ (Vaccine Efficiency) ของแคนดิเดตซับยูนิตวัคซีนสำหรับป้องกัน โรคโควิด-19 ที่ใช้พืชเป็นแหล่งผลิตในมนุษย์ระยะ 2a โดยบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด ของสถาบันวัคซีนแห่งชาติ กรอบวงเงิน 211 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งมอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ร่วมกับบริษัท ใบยาไฟโตฟาร์ม จำกัด ดำเนินการตามความเห็นเพิ่มเติมของคณะกรรมการฯ โดยเคร่งครัด 3. มอบหมายให้สถาบันวัคซีนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และดำเนินการจัดทำความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้ สบน. สามารถจัดหาเงินกู้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 4. อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ Thailand Festival Experience (3 โครงการย่อย) โดยขยายระยะเวลาโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนเมษายน 2565 เป็นเดือนกรกฎาคม 2565 และเปลี่ยนแปลงพื้นที่จัดงานในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่เมืองหลักทางการท่องเที่ยวทั่วประเทศ รวมถึงเปลี่ยนแปลงชื่อโครงการย่อยและกิจกรรมภายใต้โครงการย่อย พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เร่งดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่เสนอในครั้งนี้ และแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR โดยเร็วต่อไป 12. เรื่อง การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเทศกาลสงกรานต์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเทศกาลสงกรานต์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้ สาระสำคัญ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเทศกาลสงกรานต์ ?สงกรานต์สุขใจ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม? ระหว่างวันที่ 13 ? 17 เมษายน 2565 ดังนี้ 1. ศูนย์บริการประชาชน : จัดตั้งศูนย์บริการประชาชนทางบก ทางทะเล และสนับสนุนอากาศยานเพื่อช่วยเหลือประชาชนกรณีฉุกเฉิน 2. ฟรีน้ำดื่มสะอาด : บริการน้ำดื่มสะอาดฟรี ณ จุดจ่ายน้ำบาดาล 3. ท่องเที่ยวอย่างปลอดภัยและใส่ใจสิ่งแวดล้อม : บริการแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างปลอดภัยภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เช่น อุทยานแห่งชาติ สวนสัตว์ พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา สวนพฤกษศาสตร์ สถาบันคชบาลแห่งชาติ เป็นต้น 13. เรื่อง รายงานผลการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแผนการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนและยุติธรรมพบประชาชนในส่วนภูมิภาค คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และแผนการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนและยุติธรรมพบประชาชน ในส่วนภูมิภาคตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ สาระสำคัญ 1. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของกระทรวงยุติธรรมในการแก้ปัญหาหนี้สินครัวเรือนโดย กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้จัดตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนขึ้นจำนวน 667 แห่ง แบ่งเป็นกรุงเทพมหานคร 234 แห่ง โดยครอบคลุม 180 แขวง ใน 50 เขต ของกรุงเทพมหานคร และอีก 433 แห่ง ในทุกจัดหวัดทั่วประเทศ ซึ่งจะทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีต่อศาล นอกจากนี้กรมบังคับคดี มีศูนย์ไกล่เกลี่ย ข้อพิพาทในกรุงเทพมหานคร และสำนักงานบังคับคดีจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศรวม 117 แห่ง มีผู้ไกล่เกลี่ย ที่เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและเป็นคนกลาง ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภายหลังศาลมีคำพิพากษา ทำให้ประชาชนมีช่องทางในการแก้ไขปัญหา โดยการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สะดวกและรวดเร็ว สามารถช่วยเหลือประชาชนในทุกกลุ่มหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วประเทศ 2. กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและกรมบังคับคดีกำหนดให้มีการจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบูรณาการในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทสำหรับลูกหนี้ที่มีหนี้สินภาคครัวเรือน เช่น หนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา หนี้บัตรเครดิต หนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เป็นต้น เปิดโอกาสให้ลูกหนี้ ได้เจรจาหรือผ่อนผันชำระหนี้กับเจ้าหนี้ ด้วยความสมานฉันท์ ทั้งก่อนฟ้องดำเนินคดีหรือภายหลังศาลมีคำพิพากษา รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างการรับรู้และความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประชาชนในการดำเนินชีวิตประจำวันและสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง 3. มหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้รับความร่วมมือจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และหน่วยงานเครือข่ายสถาบันการเงินต่าง ๆ รวม 17 หน่วยงาน เข้าร่วมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ได้แก่ 1) กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 2) ธนาคารออมสิน 3) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 4) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 5) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 6) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)7) ธนาคารซิตี้แบงก์ 8) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย 9) บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน)10) บริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 11) บริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด 12) บริษัท บริหารสินทรัพย์ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จำกัด 13) บริษัท ซิตี้คอร์ป ลิสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 14) บริษัท เจเอ็มที เน็ทเวอร์ค เซอร์วิสเซ็ส จำกัด (มหาชน) 15) บริษัท เคบี เจ แคปปิตอล จำกัด 16) บริษัท โตโยต้า ลีสซิ่ง (ประเทศไทย) จำกัด 17) บริษัท บริหารสินทรัพย์ เจ จำกัด โดยการให้ข้อเสนอต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน เช่น การขยายระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ การงดการยึดทรัพย์ การงดการขายทอดตลาด การให้ส่วนลดในการชำระเงินต้นและดอกเบี้ย การให้เงื่อนไขพิเศษกรณีชำระหนี้ปิดบัญชี เป็นต้น และมีการจัดแสดงนิทรรศการของหน่วยงานต่าง ๆ การเสวนาและการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การจัดการด้านการเงิน และการซื้อขายสินทรัพย์ โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กรมบังคับคดี กองทุนยุติธรรม กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายการบังคับคดี กฎหมายที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และให้คำปรึกษาด้านความรู้ทางการเงิน 4. ผลการจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระหว่างวันที่ 25 - 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพมหานคร มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ - ประชาชนตอบรับการเข้าร่วมงาน จำนวนกว่า 5,000 ราย - ประชาชนเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ย จำนวน 4,130 ราย - ไกล่เกลี่ยได้สำเร็จ จำนวน 3,843 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.76 ทุนทรัพย์รวม 930,563,196.45 บาท โดยแบ่งเป็น (1) ลูกหนี้ขอไกล่เกลี่ยกรณีก่อนฟ้อง จำนวน 2,186 ราย ทุนทรัพย์ 98,230,258.69 บาท โดยเป็นลูกหนี้ของหน่วยงานและสถาบันการเงินที่เข้าร่วมงาน จำนวน 1,964 ราย สามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ จำนวน 1,964 ราย คิดเป็นร้อยละ 100 ทุนทรัพย์ 132,118,002.28 บาท ลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนได้กว่า 255,100,032 บาท ส่วนลูกหนี้ที่ขอไกล่เกลี่ยอีกจำนวน 222 ราย ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ เนื่องจากเป็นลูกหนี้ของสถาบันการเงินอื่นที่ไม่ได้เข้าร่วมในงาน ซึ่งได้รับเรื่องไว้และประสานงานต่อไป (2) ลูกหนี้ขอไกล่เกลี่ยกรณีภายหลังศาลมีคำพิพากษา จำนวน 1,944 รายทุนทรัพย์ 907,164,667.06 บาท สามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ จำนวน 1,879 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.52 ทุนทรัพย์ 798,445,194.17 บาท ไกล่เกลี่ยไม่สำเร็จ จำนวน 9 ราย ไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ จำนวน 56 ราย - ประชาชนเข้าชมนิทรรศการของหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 2,780 ราย - ประชาชนเข้ารับการปรึกษากฎหมายและการไกล่เกลี่ย จำนวน 203 ราย - ประชาชนเข้ารับเอกสารประชาสัมพันธ์ จำนวน 5,750 ราย - ประชาชนเข้าร่วมเป็นสมาชิกแอปพลิเคชัน Line และ Facebook ของหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 646 ราย 5. กระทรวงยุติธรรม โดยกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพและกรมบังคับคดีมีแผนการจัดงานมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือนและยุติธรรมพบประชาชนในส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 11 ครั้ง เพื่อเสริมสร้างโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้ในทุกมิติอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 5.1 วันที่ 18 มีนาคม 2565 จังหวัดนครราชสีมา 5.2 วันที่ 23 มีนาคม 2565 จังหวัดสงขลา 5.3 วันที่ 1 เมษายน 2565 จังหวัดนครศรีธรรมราช 5.4 วันที่ 21 เมษายน 2565 จังหวัดพัทลุง 5.5 วันที่ 28 เมษายน 2565 จังหวัดเชียงใหม่ 5.6 วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 จังหวัดสุราษฎร์ธานี 5.7 วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 จังหวัดระยอง 5.8 วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 จังหวัดพิษณุโลก 5.9 วันที่ 10 มิถุนายน 2565 จังหวัดอุดรธานี 5.10 วันที่ 17 มิถุนายน 2565 จังหวัดราชบุรี 5.11 วันที่ 24 มิถุนายน 2565 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผลกระทบ การจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยหนี้สินครัวเรือน ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกหนี้และเจ้าหนี้ได้เจรจากันด้วยความสมัครใจ ทั้งก่อนมีการฟ้องคดีและภายหลังศาลมีคำพิพากษาแล้ว ซึ่งถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเหลือประชาชนในการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่สะดวก รวดเร็ว และเป็นธรรม ทำให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ และลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ ลดการฟ้องคดี ส่งผลให้ลูกหนี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ต้องถูกฟ้องหรือถูกบังคับคดี ก่อให้เกิดความสงบสุขในสังคม และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถเข้าถึงความเป็นธรรมได้โดยง่าย ไม่มีค่าใช้จ่าย รวมทั้งเป็นการสร้างการรับรู้เกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้กับประชาชนโดยทั่วไป ต่างประเทศ 14. เรื่อง ปฏิญญากลาสโกว์ของผู้นำด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Glasgow Leaders? Declaration on Forests and Land Use) คณะรัฐมนตรมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมปฏิญญากลาสโกว์ของผู้นำด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Glasgow Leaders? Declaration on Forests and Land Use) และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่า การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ลงนามในหนังสือแจ้งยืนยันการเข้ามร่วมปฏิญญาฯ เพื่อนำส่งให้สหราชอาณาจักรต่อไป รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นหน่วยประสานงานหลักในการดำเนินการตามปฏิญญาฯ ต่อไปตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ร่างปฏิญญาฯ มีวัตถุประสงค์เน้นย้ำความสำคัญการจัดการป่าไม้ ความหลากหลายทางชีวภาพและการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน รวมทั้งแสดงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเพื่อลดการสูญเสียป่าไม้และความเสื่อมโทรมของที่ดินภายในปี ค.ศ. 2030 ตลอดจนเปลี่ยนผ่านสู่การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน โดยมีประเด็นสำคัญ ประกอบด้วย (1) การอนุรักษ์ป่าไม้และระบบนิเวศบนบก เพื่อเร่งให้เกิดการฟื้นฟูป่าไม้และระบบนิเวศดังกล่าว (2) สนับสนุนนโยบายการค้าและการพัฒนาที่เชื่อมโยงกับการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (3) เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชุมชนท้องถิ่น พัฒนาการเกษตรให้ยั่งยืนและมีผลกำไร เสริมสร้างการรับรู้คุณค่าของผืนป่า ตลอดจนตระหนักถึงสิทธิของชนพื้นเมืองดั้งเดิมและชุมชนท้องถิ่นโดยสอดคล้องกับกฎหมายภายในและตราสารระหว่างประเทศ ที่เกี่ยวข้อง (4) ดำเนินการหรือปรับเปลี่ยนนโยบายการเกษตรยั่งยืนและความมั่นคงด้านอาหาร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเกษตรที่ยั่งยืนส่งเสริมความมั่นคงด้านอาหารและเกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม (5) สนับสนุนด้านการเงินเพื่อการเกษตรและการจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน (6) อำนวยความสะดวกให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนให้สอดคล้องกับเป้าหมายการฟื้นฟูพื้นที่ป่าและที่ดินจากความเสื่อมโทรม รวมถึงรับรองว่านโยบายและระบบมีความพร้อมที่จะเร่งให้เกิด การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่มีภูมิคุ้มกัน และนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายด้านป่าไม้ การใช้ประโยชน์ที่ดิน ความหลากหลายทางชีวภาพ และสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ทส. แจ้งว่าการเข้าร่วมปฏิญญาฯ จะเป็นการสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 ? 2580 ในการเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ร้อยละ 55 และเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2065 ตามที่นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงของประเทศไทยในการประชุมสุดยอดผู้นำโลก (World Leaders Summit) ของ COP26 เมื่อวันที่ 1 ? 2 พฤศจิกายน 2564 ณ เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร รวมถึงเป็นการเสริมสร้างบทบาทและภาพลักษณ์ของประเทศไทยด้านการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรป่าไม้และที่ดินอย่างยั่งยืนในเวทีระหว่างประเทศ โดยคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1 /2565 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] และคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] มีมติไม่ขัดข้องต่อการเข้าร่วมปฏิญญาฯ ของประเทศไทย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และกรมองค์การระหว่างประเทศ ไม่มีข้อขัดข้องต่อการเข้าร่วมปฏิญญาฯ เนื่องด้วยสอดคล้องกับการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการจัดการป่าไม้ ทรัพยากรที่ดินและการเกษตรที่ยั่งยืน รวมถึงไม่ส่งผลกระทบต่อการปลูกป่าในพื้นที่เอกสารสิทธิ์ของประชาชน 15. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนครั้งที่ 2 (The 2rd ASEAN Digital Ministers Meeting: The 2rd ADGMIN) และการประชุมอื่น ที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล ระหว่างวันที่ 27 ? 28 มกราคม 2565 [คณะรัฐมนตรี ได้มีมติ (18 มกราคม 2565) เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2และการประชุมที่เกี่ยวข้องรวม 5 ฉบับ* และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนาม รับรองและให้ความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารดังกล่าวในระหว่างการประชุมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ ดศ. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว] โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีและผู้ที่ได้รับมอบหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ (ประเทศไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเข้าร่วมการประชุมฯ) และประเทศคู่เจรจา [สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) และสาธารณรัฐอินเดีย (อินเดีย)] และเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมประชุมฯ โดยมีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้ ประเด็น ผลการประชุมฯ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 (วันที่ 27 มกราคม 2565) 1. พิธีเปิดการประชุมฯ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขนส่งและการสื่อสารของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (มียนมา) เป็นประธานการประชุมฯ และนายกรัฐมนตรีของเมียนมาได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล การดำเนินการยกระดับการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคอย่างครอบคลุม รวมทั้งสามารถรับมือและเร่งฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) 2. การร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความก้าวหน้า การพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีทีในภูมิภาค การแลกเปลี่ยนมุมมองและวิสัยทัศน์ภายใต้หัวข้อการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล:พลังขับเคลื่อนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนจากโรคโควิด-19 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้เน้นย้ำแนวทาง 4 มิติ ได้แก่ (1) การยกระดับการพัฒนาด้านข้อมูลสำหรับ digital platform (2) การสร้างโอกาสในการเสริมสร้างการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (3) การสนับสนุนภาคเอกชนและผู้บริโภค และ (4) การส่งเสริมการอำนวยความสะดวกและการบริการข้ามพรมแดนไร้รอยต่อ นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการผสานความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ 3. รับทราบรายงานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 ผลการดำเนินงานสำคัญ ปี 2564 ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ความร่วมมืออาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปี ค.ศ. 2021 ? 2025 (2) โครงการ ASEAN Guideline for 5G Ecosystem Development (3) เอกสารแนวคิดการดำเนินงานของศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ASEAN Regional Computer Emergency Response Team) (4) โครงการ ASEAN Strategic Guidance for Artificial Intelligence and Digital Workforce และ (5) โครงการ ASEAN Policy Guideline for the use of Blockchain Technology for Digital Government 4 .การอนุมัติงบประมาณ ในปี 2565 ได้อนุมัติงบประมาณจากกองทุน ASEAN ICT Fund 329,600 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อดำเนินงานโครงการภายใต้การทำงานของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านดิจิทัลและการประชุมผู้นำสภาหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแห่งอาเซียน (ASEAN Telecommunication Regulator?s Council: ATRC) 5. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 คณะกรรมการประสานงานฯ ได้รับรองแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคในการปฏิบัติตามบรรทัดฐานของรัฐ เรื่อง ความรับผิดชอบบนโลกไซเบอร์ 11 ข้อ 6. เอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุมฯ 6.1 รับรองแผนปฏิบัติการว่าด้วยการดำเนินงานหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างอาเซียน-จีน ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ปี ค.ศ. 2021 ? 2025 6.2 เห็นชอบแถลงข่าวร่วมของการประชุม ADGMIN และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีการปรับแก้ไขร่างเอกสาร เช่น ข้อมูลของคู่เจรจาเฉพาะประเทศที่เข้าร่วมประชุมฯ (จีนและอินเดีย) และการปรับแก้ถ้อยคำของการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างอาเซียนและจีน ภายใต้แผนปฏิบัติการว่าด้วยการดำเนินงานหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างอาเซียน ? จีน ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ปี ค.ศ. 2021 - 2025 6.3 รับทราบร่างปฏิญญาเนปิดอว์ โดยมีการปรับแก้ถ้อยคำจาก ?การรับรอง? เป็น ?การรับทราบ? เนื่องจากมีบางประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ระหว่างดำเนินกระบวนการภายใน และได้ปรับแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของข้อมูลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และครั้งที่ 39 ซึ่งไม่ใช่การแก้ไขในสาระสำคัญ โดยจะมีการรับรองร่างปฏิญญาฯ ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในภายหลัง การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 กับคู่เจรจา (จีนและอินเดีย) (วันที่ 28 มกราคม 2565) 7. กิจกรรมความร่วมมือในปี 2564 7.1 จีน จัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยการดำเนินงานหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างอาเซียน-จีน ด้านศรษฐกิจดิจิทัล ปี ค.ศ. 2021 - 2025 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล 7.2 อินเดีย ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล และการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาขีดความสามารถและการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับนโยบายและกฎระเบียบ 8. แผนการดำเนินงานในปี 2565 รับรองแผนงานความร่วมมือด้านดิจิทัลระหว่างอาเซียนกับจีนและอินเดีย ปี 2565 โดยให้ความสำคัญ เช่น การพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจดิจิทัล การสร้างความเชื่อมั่นด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและการพัฒนา 5G นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ 9. เอกสารที่ยังไม่มีการลงนาม/เห็นชอบ 9.1 แผนงานความร่วมมือด้านไอซีทีระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นและข้อเสนอโครงการศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น (เนื่องจากญี่ปุ่นไม่เข้าร่วมการประชุมฯ) (แต่ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบแล้ว) 9.2 บันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศว่าด้วยสาขาความร่วมมือด้านดิจิทัล (เนื่องจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศไม่ได้เข้าร่วมการประชุมฯ) รางวัล ASEAN ICT Award 2021 10. พิธีมอบรางวัล ไทยได้รับ 4 รางวัล ได้แก่ (1) รางวัลชนะเลิศในหมวด Research and Development จำนวน 1 รางวัล (2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งในหมวด Private Sector และหมวด Start-up Company จำนวน 2 รางวัล และ (3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับสองในหมวด Digital Content จำนวน 1 รางวัล ด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนที่สำคัญ เช่น การดำเนินงานของศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยได้ยกระดับการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ครอบคลุมถึงการสร้างบริการดิจิทัลที่น่าเชื่อถือผ่านข้อเสนอโครงการศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และบริการดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ ระหว่างปี ค.ศ. 2023 ? 2026 * 5 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ว่าด้วยสาขาความร่วมมือด้านดิจิทัล (2) ร่างปฏิญญาเนปิดอว์ (3) ร่างแผนปฏิบัติการว่าด้วยการดำเนินงานหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างอาเซียน-จีน ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ปี ค.ศ. 2021 ? 2025 (4) ร่างเอกสารแนวคิดข้อเสนอโครงการศูนย์ความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และบริการดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ และ (5) ร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง 16. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue: ACD) และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ ต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง กต. รายงานว่า การประชุมระดับรัฐมนตรี ACD ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ณ กรุงอังการา สาธารณรัฐตุรกี (ตุรกี) ในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) โดยมีราชอาณาจักรบาห์เรน (บาห์เรน) เป็นเจ้าภาพการประชุมฯ มีผู้แทนระดับรัฐมนตรีและระดับอื่น ๆ ของประเทศสมาชิก ACD เข้าร่วม 35 ประเทศ ซึ่งไทย มีนายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำ กต. เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมฯ มีผลการ ประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้ 1. การส่งมอบตำแหน่งประธาน ACD โดยนายเมฟเลิต ชาวูโชลู รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตรุกี ได้ส่งมอบตำแหน่งประธาน ACD วาระปี 2564 ? 2565 ให้แก่ ดร. อับดุลละฏีฟ บิน รอชิด อัซซัยยานี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ บาห์เรน โดยบาห์เรนได้ประกาศหัวข้อสำหรับการดำรงตำแหน่งประธาน คือ การฟื้นฟูสีเขียวด้านสาธารณสุขในยุคภายหลังโรคระบาด 2. การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ที่ประชุมฯ ได้รับรองแผนงาน ACD ค.ศ. 2021 - 2030 ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมระดับรัฐมนตรี ACD เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 มีสาระสำคัญไม่แตกต่างจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้ แต่มีการแก้ไขรายละเอียดบางประการ โดยเพิ่มเติมข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับการจัดทำแผนงานฯ แนวทางการดำเนินงานสำหรับความร่วมมือในกรอบ ACD ทั้ง 6 สาขา การขับเคลื่อนแผนงานฯ และโครงสร้างองค์กรของสำนักเลขาธิการถาวร และกลไกการติดตามและทบทวนการดำเนินงานภายใต้แผนงานฯ 3. ถ้อยแถลงของผู้แทนไทย เป็นการเนันย้ำเจตนารมณ์ของไทยที่จะขับเคลื่อนความร่วมมือในกรอบ ACD เพื่อประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก และเสนอให้แสวงหาแนวทางใหม่ ๆ และขยายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยนำเสนอโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model) และแสดงความพร้อมที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ACD และสมาชิกกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ในฐานะที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมในปี 2565 17. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีนระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศกระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีนระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กับศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ (ศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ) กระทรวงศึกษาธิการ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (กรอบความร่วมมือฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขและปรับปรุงถ้อยคำของร่างกรอบความร่วมมือฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้ อว. สามารถดำเนินการได้ โดยการหารือกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นผู้ลงนามในกรอบความร่วมมือฯ ร่วมกับผู้อำนวยการศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ (นายหม่า เจี้ยนเฟย) ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง อว. โดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) (เดิม) มีความร่วมมือกับศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน โดยมีผลการดำเนินความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ 1. โครงการครูอาสาสมัครชาวจีน 2. โครงการจัดแข่งขันประกวดสุนทรพจน์และความรู้ภาษาจีนระดับอุดมศึกษา ?สะพานสู่จีน? และ 3. โครงการอบรมภาษาจีน (ระยะสั้น) สำหรับร่างกรอบความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความร่วมมือในด้านการแลกเปลี่ยนภาษาและวัฒนธรรม การพัฒนาหลักสูตรภาษาจีน และการพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมสำหรับครูและอาจารย์ในด้านการสอนภาษาจีนและอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือตามเจตนารมณ์ที่มีร่วมกันของทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีกรอบแนวทางการดำเนินงานความร่วมมือ ดังนี้ 1. แผนความร่วมมือด้านภาษาระหว่างมหาวิทยาลัยไทยและจีน มีการดำเนินการดังนี้ (1) โครงการพัฒนาครูผู้สอนภาษาจีนในรูปแบบ 3+1 (ศึกษาในประเทศไทยเป็นเวลา 3 ปี และศึกษาที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเวลา 1 ปี) (2) โครงการทุนการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (3) โครงการจีนศึกษาแบบใหม่ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนระยะสั้น 2. แผนความร่วมมือด้านการพัฒนาครูในด้านภาษาจีนและอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี โดยมหาวิทยาลัยไทยและจีนจะดำเนินการร่วมกันในรูปแบบของการจับคู่ความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตรภาษาจีน รวมทั้งพัฒนาอาจารย์และครูผู้สอนระดับอาชีวศึกษาในด้านภาษาจีนและอาชีวศึกษาและเทคโนโลยี 3. การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์และความสามารถด้านภาษาจีน ?สะพานสู่ภาษาจีน? โดย อว. จะทำการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันที่มีความสามารถโดดเด่นเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับโลกในระดับอุดมศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน 4. ครูอาสาสมัครสอนภาษาจีน (ครูอาสาสมัครฯ) โดยศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ จะจัดส่งครูอาสาสมัครฯ ไปยังสถาบันอุดมศึกษาภายใต้สังกัด อว. เพื่อสอนภาษาจีนตามความต้องการและสอดคล้องกับสถานการณ์จริง นอกจากนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่อส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการและการประสานงานของครูอาสาสมัครฯ โดยศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ จะรับผิดชอบในการจัดหาครูผู้ประสานงานโครงการฯ ให้ประจำการในประเทศไทยผ่านโครงการต่าง ๆ และ อว. เป็นฝ่ายสนับสนุน และอำนวยความสะดวกในการยื่นขอวีซ่าทำงานสำหรับครูผู้ประสานงานโครงการฯ 5. การใช้ผลสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (Hanyu Shuiping Kaoshi: HSK) เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการทดสอบระดับภาษาจีนของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย โดยทั้ง 2 ฝ่ายจะส่งเสริมให้มีการพิจารณาใช้ผลสอบ HSK เป็นส่วนหนึ่งสำหรับการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเอกภาษาจีนในมหาวิทยาลัยไทย เพื่อยกระดับการเรียนการสอนภาษาจีนของไทย 6. ทุนสนับสนุนแปลงานวิจัย โดยสนับสนุนให้นักวิชาการไทยเข้าร่วมโครงการจีนศึกษาแบบใหม่ของศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ เพื่อตีพิมพ์หรือแปลผลงานทางวิชาการและวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก 7. การจัดฝึกอบรมหลักสูตรภาษาจีนสำหรับบุคลากรของ อว. เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการใช้ภาษาจีน ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือฯ จะมีผลนับตั้งแต่วันที่ทั้ง 2 ฝ่ายลงนาม โดยจะมีอายุ 5 ปี และขยายระยะเวลาออกไปอีก 5 ปีโดยอัตโนมัติ เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วัน 18. เรื่อง กรอบความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีนระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมือว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาจีนระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับศูนย์แลกเปลี่ยนและส่งเสริมความร่วมมือด้านภาษาจีนระหว่างประเทศ กระทรวงศึกษาธิการแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (กรอบความร่วมมือฯ) ทั้งนี้ หากก่อนการลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างกรอบความร่วมมือฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) หารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ ได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้ลงนามในกรอบความร่วมมือฯ ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ สาระสำคัญของร่างกรอบความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางการดำเนินความร่วมมือในด้านการส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาภาษาจีนระหว่างประเทศ เพื่อก่อให้เกิดการขยายผลและยกระดับคุณภาพการเรียนการสอนภาษาจีน โดยมีสาขาความร่วมมือ ประกอบด้วย 1. การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีน โดยศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ จะแนะนำผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนภาษาจีนในระดับต่าง ๆ ของประเทศไทยให้เหมาะสม 2. การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน โดยร่วมกันจัดตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนการสอนภาษาจีนจากทั้ง 2 ฝ่าย เพื่อดำเนินการวิจัยอย่างเป็นระบบในการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน และกำหนดแผนการทำงานสำหรับทุก 5 ปี ตามความต้องการของฝ่ายไทย 3. การฝึกอบรมครูสอนภาษาจีนชาวไทย มีการดำเนินการ ดังนี้ (1) ศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และ ศธ. ร่วมกันดำเนินโครงการความร่วมมือด้านภาษาระหว่างสถาบันอุดมศึกษาจีน-ไทย (2) มอบทุนการศึกษาสำหรับครูสอนภาษาจีนชาวไทย (3) ฝึกอบรมครูสอนภาษาจีนชาวไทยในหลากหลายรูปแบบทั้งในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน 4. การจัดส่งครูสอนภาษาจีนในรูปแบบที่หลากหลาย โดยศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ จะจัดส่งครูสอนภาษาจีนประเภทต่าง ๆ มาเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยและจัดหาครูผู้ดูแลและประสานงานโครงการครูอาสาสมัครสอนภาษาจีนนานาชาติ (ครูอาสาสมัครฯ) และโครงการอื่นที่เกี่ยวข้องให้มาประจำการที่ประเทศไทย ส่วน ศธ. จะคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาจีนของประเทศไทยให้เดินทางไปฝึกอบรมความรู้พื้นฐานด้านภาษาและวัฒนธรรมให้แก่ครูอาสาสมัครฯ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน และอำนวยความสะดวกด้านเอกสารประกอบการขอรับการตรวจลงตราหนังสือเดินทาง (วีซ่า) ให้แก่ครูผู้ดูแลและประสานงานโครงการฯ 5. การแข่งขันกล่าวสุนทรพจน์และความสามารถด้านภาษาจีน ?สะพานสู่ภาษาจีน? โดย ศธ. จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการคัดเลือกนักเรียนเพื่อไปแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศระดับโลก ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน และศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนของผู้เข้าแข่งขัน 6. โครงการจีนศึกษาแบบใหม่ โดยศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ จะช่วยเหลือนักเรียน เยาวชน ผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการไทยที่มีความโดดเด่นและมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขของโครงการเพื่อเดินทางไปศึกษาต่อในระดับปริญญาหรือทำการวิจัย ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน 7. การส่งเสริมและขยายระบบการทดสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน โดยสนับสนุนให้การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีน (Hanyu Shuiping Kaoshi: HSK) และการสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนสำหรับเยาวชน (Youth Chinese Test: YCT) เข้าสู่ระบบการเรียนการสอนในหลักสูตรภาษาจีนของ ศธ. และเป็นมาตรฐานของการประเมินผลการเรียนการสอนภาษาจีน 8. การรับรองคุณภาพครูภาษาจีนนานาชาติ โดยศูนย์ความร่วมมือด้านภาษาจีนฯ จะช่วยสนับสนุน ศธ. ในการจัดการทดสอบเพื่อรับใบรับรองคุณภาพครูภาษาจีนนานาชาติ ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือฯ จะมีผลนับตั้งแต่วันที่ทั้ง 2 ฝ่ายลงนาม โดยจะมีอายุ 5 ปี และขยายระยะเวลาออกไปอีก 5 ปี โดยอัตโนมัติ เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งยกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรให้อีกฝ่ายหนึ่งได้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วัน แต่งตั้ง 19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งนายกุศล โชติรัตน์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งนายธัชชญาณ์ณัช เจียรธนัทกานนท์ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2565 เป็นต้นไป 21. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทยแทนตำแหน่งที่ว่างลง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งนายระพี ผ่องบุพกิจ เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการรถไฟแห่งประเทศไทย แทนนายพินิจ พัวพันธ์ กรรมการอื่นเดิมที่ลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2565 เป็นต้นไป โดยให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่ากำหนดเวลาของผู้ซึ่งตนแทน 22. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวม 9 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 ดังนี้ 1. นายกุลิศ สมบัติศิริ ประธานกรรมการ 2. พลเอก สมศักดิ์ รุ่งสิตา กรรมการ 3. นางสาวนันธิกา ทังสุพานิช กรรมการ 4. นายพรพจน์ เพ็ญพาส กรรมการ 5. นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง กรรมการ 6. นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี กรรมการ 7. นางสาวนิรมาณ ไหลสาธิต กรรมการ 8. รองศาสตราจารย์กุลยศ อุดมวงศ์เสรี กรรมการ 9. นายพรชัย ฐีระเวช ผู้แทนกระทรวงการคลัง กรรมการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2565 เป็นต้นไป 23. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ครั้งที่ 1 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ให้นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ต่อไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เนื่องจากยังมีภารกิจที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บังเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย