สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 พฤษภาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday May 3, 2022 17:39 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (3 พฤษภาคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                      เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่..)

พ.ศ. ....

                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี

ดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้โลหะ

เคลือบฟลูออโรพอลิเมอร์สำหรับอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....

                    4.           เรื่อง          ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์                                                       แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ สังคม

                    5.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย

พ.ศ. 2563 ? 2565

                    6.           เรื่อง           ร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

ในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ. 2564 - 2580)

                    7.           เรื่อง           รายงานผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะปี 2564
                    8.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมีนาคม

2565

                    9.           เรื่อง           รายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายศูนย์ราชการสะดวก
                    10.           เรื่อง           สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2565
                              11.           เรื่อง           รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2565
                    12.           เรื่อง           มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565
                    13.          เรื่อง           รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ

ตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 14 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564)

                    14.           เรื่อง           การผ่อนปรนมาตรการภาษีนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ภายใต้องค์การการค้าโลก                                                   (WTO) ในโควตา
                    15.           เรื่อง           โครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2565
                    16.           เรื่อง          (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)
                    17.           เรื่อง           รายงานประจำปีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ                                                             ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    18.          เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
                    19.           เรื่อง โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2565




ต่างประเทศ

                    20.           เรื่อง           การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาล

แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติ

ไทย - ลาว

                    21.           เรื่อง          ผลการประชุมระดับระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 17
                    22.           เรื่อง          แผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส

(ค.ศ. 2022 ? 2024)

                    23.           เรื่อง           ผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
                    24.           เรื่อง           ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย

อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (13th IMT-GT Summit)

                    25.           เรื่อง           กรอบการเจรจาของประเทศไทยและองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเพื่อเข้าร่วม

การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพ

เป็นทะเลทราย สมัยที่ 15

แต่งตั้ง

                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง

(สำนักนายกรัฐมนตรี)

                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสิน
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ                                         แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง)



สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

















กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบ ดังนี้
                     1. เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ (ฉบับที่..)               พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                     2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
                     3. ให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในการดำเนินการเวนคืนที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                     แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 เพื่อแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการที่บทบัญญัติบางมาตรากำหนดให้ทรัพย์สินหรือเงินที่เจ้าของไม่มาขอรับภายในระยะเวลาที่กำหนดให้ตกเป็นของแผ่นดินซึ่งอาจขัดหรือแย้งต่อมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เป็นประเด็นปัญหาในทางปฏิบัติอันเกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนี้
                     1. แก้ไขระยะเวลาที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนมีอำนาจอนุมัติให้ขยายระยะเวลาในการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้น ของคณะกรรมการกำหนดราคาอสังหาริมทรัพย์เบื้องต้นและเงินค่าทดแทน โดยกำหนดให้ขยายได้เท่าที่จำเป็นแต่ต้องไม่เกิน 180 วัน เพื่อให้คณะกรรมการฯ มีระยะเวลาดำเนินการที่เหมาะสม (เดิมขยายได้ไม่เกิน 90 วัน)
                     2. แก้ไขเพิ่มเติมให้เจ้าของทรัพย์สินที่รื้อถอนหรือผู้มีสิทธิได้เงินค่าทดแทนยังคงมีสิทธิขอรับเงินที่เกิดจากการเวนคืนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของตนตามกฎหมายโดยไม่ตัดสิทธิในเงินดังกล่าวแม้พ้นกำหนดระยะเวลาขอรับเงินตามที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
                               2.1 กำหนดให้ในการรื้อถอนโรงเรียน สิ่งปลูกสร้าง หรืออสังหาริมทรัพย์ เจ้าหน้าที่มีหน้าที่แจ้งให้เจ้าของทรัพย์สินมารับทรัพย์สินที่เจ้าหน้าที่รื้อถอนคืนไปภายในระยะเวลาที่กำหนดซึ่งต้องไม่น้อยกว่า 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ถ้าพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้วเจ้าของไม่มารับทรัพย์สินคืนไป ให้เจ้าหน้าที่ขายทรัพย์สินนั้นโดยวิธีการขายทอดตลาด หรือวิธีอื่นตามที่เห็นสมควรแล้วนำเงินที่ได้จากการขายส่งคืนแก่เจ้าของทรัพย์สิน นอกจากนี้ หากเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้ขายทรัพย์สินนั้นและเจ้าของมารับคืน ให้เจ้าหน้าที่คืนทรัพย์สินนั้นให้แก่เจ้าของเดิมไป (เดิมในกรณีที่เจ้าของมิได้เรียกเอาทรัพย์สินหรือเงินที่เจ้าหน้าที่เก็บรักษาไว้คืน ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่มีการรื้อถอนหรือขนย้าย ให้ทรัพย์สินหรือเงินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน)
                               2.2 กำหนดให้เจ้าหน้าที่มีหน้าที่ถอนเงินค่าทดแทนที่วางไว้ต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์ หรือฝากไว้กับธนาคารออมสิน เพื่อส่งคืนคลัง เมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่มารับภายใน 5 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับเงินค่าทดแทนหรือนับแต่วันที่คดีถึงที่สุดหรือนับแต่วันที่ได้ฝากเงินไว้ โดยไม่ตัดสิทธิของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่จะยื่นคำร้องขอรับเงินค่าทดแทนคืนภายหลังจากพ้นระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว (เดิมเงินค่าทดแทนที่วางไว้ ถ้าผู้มีสิทธิไม่ไปขอรับเงินภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีหนังสือแจ้งหรือวันที่ปิดประกาศ ให้เงินนั้นตกเป็นของแผ่นดิน)
                    3. แก้ไขเพิ่มเติมให้บุคคลผู้ใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลครอบคลุมถึงผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนในทุกกรณี โดยกำหนดให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาล และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทน ซึ่งผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทน ได้แก่ เจ้าของที่ดินที่ต้องเวนคืน เจ้าของโรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรืออสังหาริมทรัพย์อื่น เจ้าของต้นไม้ยืนต้นที่ขึ้นอยู่ในที่ดิน ผู้เช่าหรือผู้เช่าช่วงที่ดิน โรงเรือน หรือสิ่งปลูกสร้างอื่นในที่ดินที่ต้องเวนคืน บุคคลผู้เสียสิทธิในการใช้ทางวางท่อน้ำ ท่อระบายน้ำ สายไฟฟ้าผ่านที่ดินที่ต้องเวนคืน และผู้ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากต้องออกจากอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องเวนคืน (เดิมกำหนดให้เจ้าของเท่านั้นเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลและมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทน ซึ่งตามบทนิยาม เจ้าของ หมายถึง เจ้าของหรือผู้ครอบครองซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมาย)
                    4. กำหนดให้องค์ประกอบของคณะกรรมการซึ่งทำหน้าที่พิจารณาการคืนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาทประกอบด้วยเจ้าหน้าที่เวนคืนเป็นประธานกรรมการ ผู้แทนกรมธนารักษ์และผู้แทนกรมที่ดินเป็นกรรมการ (ได้ตัดผู้แทนสำนักงบประมาณและผู้แทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ออก เนื่องจากมิใช่หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับอสังหาริมทรัพย์ที่คืนให้แก่เจ้าของเดิมหรือทายาท เพื่อให้คณะกรรมการมีความคล่องตัวมากขึ้น)

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ ศธ. เสนอว่า
                     1. มาตรา 63/15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 บัญญัติให้ในกรณีที่มีการบังคับให้ชำระเงินและคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุดแล้ว หากหน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงินประสงค์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดกรมบังคับคดี ดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ให้ยื่นคำขอต่อศาลภายในสิบปีนับแต่วันที่คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุดเพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดี เพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองนั้น และมาตรา 63/15 วรรคหก บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐตามมาตรา 63/15 หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
                     2. โดยที่คุรุสภามีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานในกำกับของ ศธ. ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 คุรุสภามีอำนาจหน้าที่กำหนดมาตรฐานวิชาชีพ ออกและเพิกถอนใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กำกับดูแลการปฏิบัติตามมาตรฐานและจรรยาบรรณของวิชาชีพและการพัฒนาวิชาชีพ เป็นสภาวิชาชีพทางการศึกษาที่เป็นหน่วยงานของรัฐประเภทองค์การมหาชน กรณีที่คุรุสภาได้มีคำสั่งทางปกครองให้ชำระเงิน แต่ไม่มีการชำระเงินต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครอง ซึ่งคุรุสภาขาดบุคลากรที่จะดำเนินการบังคับตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ประกอบกับคุรุสภามิได้มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่นที่จะขอให้กรมบังคับคดีดำเนินการทางปกครองแทนได้ ดังนั้น เพื่อให้การบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินของคุรุสภาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีความจำเป็นออกกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดให้คุรุสภาเป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองได้ ตามมาตรา 63/15 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดให้คุรุสภาเป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการทางปกครองแทนได้ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้โลหะเคลือบฟลูออโรพอลิเมอร์สำหรับอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้โลหะเคลือบฟลูออโรพอลิเมอร์สำหรับอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ อก. เสนอ เป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้โลหะเคลือบฟลูออโรโพลิเมอร์สำหรับอาหารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้พลาสติกสำหรับอาหารที่มีคุณภาพ อันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัยจากสารเคมีปนเปื้อนที่อาจส่งผลต่อสุขภาพ ซึ่ง อก. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้โลหะเคลือบฟลูออโรพอลิเมอร์สำหรับอาหาร มาตรฐานเลขที่ มอก. 2622 ? 2556 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4604 (พ.ศ. 2557) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมภาชนะและเครื่องใช้โลหะเคลือบฟลูออโรพอลิเมอร์สำหรับอาหาร ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557
                    2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                    1. กรุงเทพมหานคร (กทม.) มีโครงการก่อสร้างทางหลวงท้องถิ่นสายเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนเทพรักษ์ (เดิมชื่อถนนโครงการถนนพหลโยธิน - ถนนรัตนโกสินทร์สมโภช เปลี่ยนชื่อเป็น ?ถนนเทพรักษ์?) ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นถนนตามแนวผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร สาย ค.1 ตามโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2549 (ปัจจุบัน คือ สาย ข.10 สายเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนวัดเกาะ เป็นโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2556) โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณสามแยกลาดปลาเค้า (ถนนรามอินทรา) มุ่งหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขนานระหว่างซอยรามอินทรา 17 และซอยรามอินทรา 19 ไปบรรจบถนนเทพรักษ์ ขนาดเขตทางกว้าง 30 เมตร ยาวประมาณ 2,200 เมตร โดยจะทำการก่อสร้างเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล) ขนาด 6 ช่องจราจร ไป - กลับ ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาความหนาแน่นของการจราจรในพื้นที่เขตบางเขนและเขตสายไหม
                    2. กทม. จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขน และแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนเทพรักษ์เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค ตลอดจนเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด โดย กทม. ได้จัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดของประชาชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 โดยการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินโครงการเรียบร้อยแล้ว โดยประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการดำเนินโครงการ มท. จึงขอยืนยันให้ดำเนินการร่างพระราชกฤษฎีกาที่ สคก. ตรวจพิจารณาแล้วต่อไป
                    3. สำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่า กทม. มีแผนการจัดกรรมสิทธิ์และการเบิกจ่ายค่าทดแทน ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี นับแต่เดือนมกราคม 2564 ถึงเดือนธันวาคม 2567 และประมาณการค่าจัดกรรมสิทธิ์จำนวน 1,321,000,000 บาท โดยใช้จ่ายจากงบประมาณของ กทม. จึงเห็นควรให้ กทม. เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป อนึ่ง เพื่อให้การดำเนินการตามร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทางราชการ กรุงเทพมหานครจะต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอน โดยพิจารณาถึงความคุ้มค่า ต้นทุนที่เหมาะสมและผลสัมฤทธิ์ หรือประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ รวมทั้งความเสี่ยง ความเสียหาย และภาระเพิ่มเติมที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบด้วย
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงอนุสาวรีย์ แขวงท่าแร้ง เขตบางเขนและแขวงคลองถนน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างและขยายทางหลวงท้องถิ่นสายเชื่อมระหว่างถนนรามอินทรากับถนนเทพรักษ์ มีกำหนดใช้บังคับ 4 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

เศรษฐกิจ สังคม

5. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 ? 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ. 2558 ? 2565 ตามความในมาตรา 23 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กษ. รายงานว่า แผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 ? 2565 เป็นแผนการดำเนินงานต่อเนื่องจากแผนการบริหารจัดการประมงทะเลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 ? 2562 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติแล้ว [รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน] โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
เป้าประสงค์          ตัวอย่างมาตรการ
1. ทรัพยากรประมงฟื้นคืนสู่ระดับที่เหมาะสมและขยายการทำประมงอย่างยั่งยืนสู่ทะเลลึกและนอกน่านน้ำ
          - ควบคุมจำนวนเรือประมงอย่างเข้มงวดและจัดสรรจำนวนวันทำการประมงของเรือแต่ละลำ
- กำหนดขนาดตาอวนที่เหมาะสมเพื่อลดการจับลูกสัตว์น้ำ
- สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลอย่างต่อเนื่อง
- กำหนดจำนวนใบอนุญาตเพื่อคงการลงแรงประมงไว้ที่ระดับการทำประมงที่เหมาะสม
2. การประมงที่ปลอดจากการทำการประมง IUU          - ทบทวนความก้าวหน้าแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำการประมง IUU (Thailand NPOA-IUU)
- เสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (MCS)
- ร่วมมือ/แลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Fisheries Development Center: SEAFDEC) องค์การบริหารจัดการประมงระดับภูมิภาค (Regional Fisheries Management Organization: RFMO) เป็นต้น
3. แหล่งอาศัยของสัตว์น้ำและสิ่งแวดล้อมมีความสมบูรณ์          - บริหารจัดการทรัพยากรประมงเชิงระบบนิเวศน์สำหรับชุมชนชายฝั่งและจัดตั้งพื้นที่อนุรักษ์
- ลดการใช้ถุงพลาสติกในเรือประมงพาณิชย์ รวมทั้งศึกษาและประเมินปริมาณขยะที่พื้นท้องน้ำอ่าวไทย
4. การปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของชาวประมงพื้นบ้านและชุมชนประมงชายฝั่ง          - สร้างความเข้มแข็งให้กับคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
- กำหนดพื้นที่สำหรับการใช้เครื่องมือทำการประมงต่าง ๆ
- ให้สิทธิการทำประมงตามความเหมาะสม
5. ศักยภาพในการบริหารจัดการประมงอย่างมีประสิทธิภาพ          - พัฒนาระบบการจัดการข้อมูลประมงที่เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
- ฝึกอบรมและสร้างเสริมประสบการณ์ให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการการประมง

6. เรื่อง ร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ. 2564 - 2580)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ. 2564 ? 2580) (ร่างนโยบายและเป้าหมายฯ)                ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างนโยบายและเป้าหมายฯ สรุปได้ ดังนี้
                    1. วิสัยทัศน์ของ สทป.
                        เป็นหนึ่งในผู้ดำด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศของภูมิภาค รวมทั้งยกระดับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศสู่สากล
                    2. เหตุผลและความจำเป็น
                        เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานของ สทป. และเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการกำกับดูแล ติดตาม และประเมินผล ให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ และใช้เป็นกลไกหลักระดับนโยบายในการบูรณาการและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งระบบ
                    3. วัตถุประสงค์
                        1) เพื่อขับเคลื่อนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขัน ลดการพึ่งพาหรือนำเข้ายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศและสร้างรายได้ให้กับประเทศ
                        2) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การศึกษาวิจัย การพัฒนา การผลิต และการนำมาใช้ประโยชน์
                        3) เพื่อปรับเปลี่ยนสถานะของประเทศไทยจากการเป็น ?ผู้ซื้อ? มาเป็น ?ผู้วิจัย ผู้พัฒนา และผู้ผลิต?
                    4. นโยบายและเป้าหมายที่สำคัญจำนวน 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
เป้าหมาย
เช่น          - ยุทโธปกรณ์ที่เกิดจากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศของ สทป. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน
- ระบบการบริหารจัดการองค์กรในภาพรวมสามารถรองรับวัตถุประสงค์ หน้าที่ และอำนาจที่ได้รับเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันของเทคโนโลยีหรือสถานการณ์ได้
ตัวชี้วัดที่ 1          สทป. มีการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ (โครงการฯ) ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานสามารถนำไปสู่การร่วมทุนหรือการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและสามารถเพิ่มขีดความสามารถของ กห. ให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติได้
ค่าเป้าหมาย
พ.ศ. 2564 - 2565          พ.ศ. 2566 - 2570          พ.ศ. 2571 - 2575          พ.ศ. 2576 - 2580
มีการริเริ่มโครงการหรือผลผลิตภายใต้โครงการฯ รวมสะสมไม่น้อยกว่า 2 โครงการ          มีการริเริ่มโครงการฯ หรือผลผลิตภายใต้โครงการฯ รวมสะสมไม่น้อยกว่า 10 โครงการ          มีการริเริ่มโครงการฯ หรือผลผลิตภายใต้โครงการฯ รวมสะสมไม่น้อยกว่า 15 โครงการ          มีการริเริ่มโครงการฯ หรือผลผลิตภายใต้โครงการฯ รวมสะสมไม่น้อยกว่า 20 โครงการ
ตัวชี้วัดที่ 2          การบริหารจัดการองค์กรในภาพรวมเป็นไปตามมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพหรือมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่สามารถรองรับวัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจที่ได้รับเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 และการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันของเทคโนโลยีหรือสถานการณ์ได้
ค่าเป้าหมาย
พ.ศ. 2564 - 2565          พ.ศ. 2566 - 2570          พ.ศ. 2571 - 2575          พ.ศ. 2576 - 2580
สปท. ผ่านมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพหรือมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง          สทป. ผ่านมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ หรือมาตรฐานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีการทบทวนหรือปรับปรุงระบบบริหารจัดการองค์กรให้สอดคล้องกับ PMQA 4.0 และมีการแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจพบในรอบการประเมินที่ผ่านมา
ตัวอย่างโครงการสำคัญ
เช่น          1) โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศ และ 2) การพัฒนาระบบการทดสอบ และรับรองผลการทดสอบในอุตสาหกรรมความมั่นคง
หน่วยงาน
รับผิดชอบหลัก          กห. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และ สทป.
2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กห. หน่วยงานอื่นของรัฐ และภาคเอกชน
เป้าหมาย
เช่น          - เกิดการร่วมลงทุนเพื่อสร้างฐานการผลิตในประเทศไทยระหว่าง สทป. กห. หน่วยงานของรัฐ หรือภาคเอกชน และนำไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านยุทโธปกรณ์ได้
- มีการศึกษา พัฒนา ร่วมมือและประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) หรือพื้นที่ที่เหมาะสม
- สามารถให้บริการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมสู่ประชาสังคมในรูปแบบของบริการทางวิชาการและเทคนิค
ตัวชี้วัดที่ 1          อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศมีการขยายตัว
ค่าเป้าหมาย
พ.ศ. 2564 - 2565          พ.ศ. 2566 - 2570          พ.ศ. 2571 - 2575          พ.ศ. 2576 - 2580
นำมูลค่าการลงทุนของ สทป. มาคำนวณเป็นค่าพื้นฐาน (ค่าฐานสำหรับ
การคำนวณอัตราการขยายตัว) ณ สิ้นปี งบประมาณ พ.ศ. 2565          อุตสาหกรรมความมั่นคง
ที่ สทป. มีส่วนเกี่ยวข้องขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565          อุตสาหกรรมความมั่นคงที่ สทป. มีส่วนเกี่ยวข้องขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2575 และ พ.ศ. 2580 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ตัวชี้วัดที่ 2          มีการพัฒนาพื้นที่รองรับกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นที่ที่เหมาะสม
ค่าเป้าหมาย
พ.ศ. 2564 - 2565          พ.ศ. 2566 - 2570          พ.ศ. 2571 - 2575          พ.ศ. 2576 - 2580
มีการรวบรวมข้อมูลเตรียมการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา ร่วมมือและประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นทื่ที่เหมาะสม          มีการศึกษาความเป็นไปได้
ในการพัฒนา ร่วมมือและประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นที่ที่เหมาะสม          จัดทำแผนและรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนา ร่วมมือและประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC  หรือพื้นที่ที่เหมาะสม          มีพื้นที่รองรับกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นที่ที่เหมาะสม
ตัวชี้วัดที่ 3          มีการจัดตั้งศูนย์ให้บริการในด้านการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ค่าเป้าหมาย
พ.ศ. 2564 - 2565          พ.ศ. 2566 - 2570          พ.ศ. 2571 - 2575          พ.ศ. 2576 - 2580
มีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งศูนย์บริการและให้บริการข้อมูลในด้านการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ          กำหนดขอบเขตการให้บริการของศูนย์บริการฯ          บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการของศูนย์บริการฯ          จัดตั้งศูนย์บริการฯ
ตัวอย่างโครงการสำคัญ เช่น          1) โครงการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 2) โครงการยานเกราะล้อยางแบบ 4X4 3) โครงการอากาศยานไร้คนขับ 4) โครงการปืนใหญ่และกระสุน 5) โครงการพัฒนาพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ และ 6) โครงการพัฒนานวัตกรรมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เทคโนโลยีป้องกันประเทศสู่ประชาสังคม
หน่วยงาน
รับผิดชอบหลัก          กห. กระทรวงการคลัง (กค.) อว. อก.สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และ สทป.
3. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรม การค้นคว้าวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ และการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
เป้าหมาย
เช่น          - พัฒนาศักยภาพบุคลากรของ สทป. ให้สามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่มี รวมถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะไปขับเคลื่อนให้เกิดผลและสามารถรองรับผลกระทบจากเทคโนโลยีของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลัน (Technology Disruption)
- มีบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้
- องค์ความรู้ของ สทป. ได้รับการจัดเก็บในรูปแบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ทำให้ภาคประชาสังคมสามารถเข้าถึงได้ มีความคล่องตัวในการใช้งาน และสามารถนำองค์ความรู้มาต่อยอดในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้ในระยะยาว
ตัวชี้วัดที่ 1          มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ สทป. เพิ่มขึ้น
ค่าเป้าหมาย
พ.ศ. 2564 - 2565          พ.ศ. 2566 - 2570          พ.ศ. 2570 - 2575          พ.ศ. 2575 - 2580
มีการรวบรวมข้อมูลบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเกิดจากการ
พัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ สทป. เพื่อเป็นข้อมูลฐาน          มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศร่วมกับ สทป. สะสมเพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2565 ร้อยละ 5 ในปี พ.ศ. 2570          มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ สทป. สะสมเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 ร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2575          มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ สปท. สะสมเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 ร้อยละ 15 ในปี พ.ศ. 2580
ตัวชี้วัดที่ 2          จำนวนองค์ประกอบความรู้ของ สทป. รวมถึงบทความทางวิชาการในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ สทป. ที่มีการแผยแพร่ในรูปแบบต่าง ๆ
ค่าเป้าหมาย
พ.ศ. 2564 - 2565          พ.ศ. 2566 - 2570          พ.ศ. 2571 - 2575          พ.ศ. 2576 - 2580
มีการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการรวมสะสมไม่น้อยกว่า 2 เรื่อง           มีการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการรวมสะสมไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง           มีการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการรวมสะสมไม่น้อยกว่า 30 เรื่อง          มีการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการรวมสะสมไม่น้อยกว่า 40 เรื่อง
ตัวอย่างโครงการสำคัญ
เช่น          1) โครงการพัฒนาบุคลากรในภาควิชาการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเอกชน และ 2) โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการพลังงานทหาร
หน่วยงาน
รับผิดชอบหลัก          กห. อว. กระทรวงแรงงาน และ สทป.
4. ด้านการประสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กับหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เป้าหมาย
เช่น          - การประสานและสร้างความร่วมมือของ สทป. ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความมั่นคงของประเทศ และเสถียรภาพของภูมิภาค พร้อมรับมือต่อความท้าทายด้านความมั่นคงจากภายนอก
- โครงการที่เกิดจากความร่วมมือของ สทป. มีกระบวนการดำเนินการที่เป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบระหว่างประเทศ มาตรฐานสากล และพันธกรณีของประเทศไทย
- เกิดเครือข่ายคลัสเตอร์หรือการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลก
ตัวชี้วัดที่ 1          มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา หรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ค่าเป้าหมาย
พ.ศ. 2564 - 2565          พ.ศ. 2566 - 2570          พ.ศ. 2571 - 2575          พ.ศ. 2576 - 2580
มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรวมสะสมไม่น้อยกว่า 2 ฉบับ          มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรวมสะสมไม่น้อยกว่า 20 ฉบับ          มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรวมสะสมไม่น้อยกว่า 30 ฉบับ          มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรวมสะสมไม่น้อยกว่า 40 ฉบับ
ตัวชี้วัดที่ 2          มีโครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา หรือภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ค่าเป้าหมาย
พ.ศ. 2564 - 2565          พ.ศ. 2566 - 2570          พ.ศ. 2571 - 2575          พ.ศ. 2576 - 2580
โครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสะสมไม่น้อยกว่า 2 โครงการ          โครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสะสมไม่น้อยกว่า 3 โครงการ          โครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสะสมไม่น้อยกว่า 4 โครงการ          โครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสะสมไม่น้อยกว่า 5 โครงการ
ตัวชี้วัดที่ 3          จำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเครือข่ายคลัสเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลกได้
ค่าเป้าหมาย
พ.ศ. 2564 - 2565          พ.ศ. 2566 - 2570          พ.ศ. 2570 - 2575          พ.ศ. 2575 - 2580
มีการเตรียมการหรือการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการรวมเครือ ข่ายคลัสเตอร์ด้านอุตสาหกรรมความมั่นคง          มีจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเครือข่ายคลัสเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลกได้ไม่น้อยกว่า 20 ราย          มีจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเครือข่ายคลัสเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลกได้ไม่น้อยกว่า 30 ราย          มีจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเครือข่ายคลัสเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลกได้ไม่น้อยกว่า 40 ราย
ตัวอย่างโครงการสำคัญ
เช่น          1) โครงการพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนากับภาคส่วนต่าง ๆ            2) โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศ และ 3) การพัฒนาเครือข่ายคลัสเตอร์ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมความมั่นคง
หน่วยงาน
รับผิดชอบหลัก          กห. กค. อว. อก. สศช. สกพอ. และ สทป.
5. ด้านการเป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้แก่ กห. และหน่วยงานของรัฐ เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
เป้าหมาย
เช่น          มีระบบสารสนเทศในการจัดเก็บหรือทำฐานข้อมูล เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลกลางรองรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ตัวชี้วัด          มีระบบสารสนเทศที่สามารถจัดเก็บหรือทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศสามารถสนับสนุนข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ โดยมีการปรับปรุงฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อสนับสนุนข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ของ สทป. ผ่านสื่อเผยแพร่หรือระบบสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการหรือประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้
ค่าเป้าหมาย
พ.ศ. 2564 - 2565          พ.ศ. 2566 - 2570          พ.ศ. 2571 - 2575          พ.ศ. 2576 - 2580
มีระบบสารสนเทศที่สามารถจัดเก็บหรือทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สามารถสนับสนุนข้อมูลแก่บุคคล
หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ความรู้ของ สทป. ผ่านสื่อเผยแพร่ หรือระบบสารสนเทศต่างๆ ให้ผู้ใช้บริการหรือประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้           มีการปรับปรุงฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อสนับสนุนข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ของ สทป. ผ่านสื่อเผยแพร่หรือระบบสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการหรือประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้
ตัวอย่างโครงการสำคัญ เช่น          1) โครงการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์เทคโลโลยีป้องกันประเทศ และ 2) การพัฒนาระบบสารสนเทศ
หน่วยงาน
รับผิดชอบหลัก          กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และ สทป.
                    5. ประมาณการวงเงินงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ? 2580 รวมทั้งสิ้น 33,019.457 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ.          วงเงิน (ล้านบาท)          วงเงินเพิ่มขึ้น/ลดลง          ร้อยละ
2564          846.02          -          -
2565          415.72          - 430.30          -50.86
2566          1,707.50          1,291.78          310.73
2567          1,758.73          51.23          3.00
2568          1,811.50          52.77          3.00
2569          1,865.84          54.34          3.00
2570          1,921.81          55.97          3.00
2571          1,979.47          57.66          3.00
2572          2,038.85          59.38          3.00
2573          2,100.02          61.17          3.00
2574          2,163.02          63.00          3.00
2575          2,227.90          64.88          3.00
2576          2,294.74          66.84          3.00
2577          2,363.58          68.84          3.00
2578          2,434.49          70.91          3.00
2579          2,507.52          73.03          3.00
2580          2,582.75          75.23          3.00
รวมทั้งสิ้น          33,019.46          -          -
                    6. การติดตามประเมินผล
                        สทป. จะรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการตามร่างนโยบายและเป้าหมายฯ ต่อ                     (1) คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ (2) คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศทราบ ทั้งนี้ อาจรายงานให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศหรืออุตสาหกรรมความมั่นคงตามความเหมาะสม หรือเมื่อได้รับการร้องขอ เช่น กห. สภาพัฒนาฯ สภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น
                    7. ความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยง เช่น


ประเด็นความเสี่ยง          แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง
1) การบริหารโครงการสำคัญไม่สำเร็จตามแผนการดำเนินงาน เนื่องจากการจัดหาและการใช้งบประมาณในโครงการสำคัญและโครงการที่มีงบประมาณสูงล่าช้ากว่าแผนปฏิบัติงาน          สทป. ได้กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแล การดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนา เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาข้อขัดข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ รวมทั้งให้ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำแผนและรายงานผลการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
2) ไม่สามารถบูรณาการด้านการรับรองมาตรฐานในระดับประเทศได้ เนื่องจากต้องมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้อำนาจและหน้าที่แก่ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และโครงสร้างพื้นฐานในการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับอุตสาหกรรมด้านต่าง ๆ
          สทป. อาจร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงจัดการประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางการรับรองมาตรฐานระดับประเทศ หรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดให้มีโครงการนำร่องเพื่อบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นตามลำดับความเร่งด่วนและจำเป็น
3) การแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นอุปสรรคในการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศไม่สามารถแก้ไขหรือใช้เวลานานเนื่องจากการผลิตและขายยุทโธปกรณ์มีข้อจำกัดในการดำเนินการและเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ รวมทั้งมีผู้รับผิดชอบหลักหลายกระทรวงทำให้การแก้ไขกฎหมายให้เกิดความคล่องตัวอาจใช้เวลานาน และต้องมีการหารือร่วมกับกระทรวงที่รับผิดชอบ          สทป. ควรมีการทบทวนปัญหาและอุปสรรคของกฎหมายต่าง ๆ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูล และอาจใช้กลไกของคณะกรรมการฯ ในการเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือใช้กลไกของคณะทำงานพัฒนาระเบียบและข้อบังคับของ สทป. เพื่อเสนอแก้ไขระเบียบหรือข้อบังคับภายใน สทป. ที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน

4) การประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ป้องกันประเทศอาจขัดต่อพันธกรณีหรือกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากอาจมีข้อกฎหมายที่ สทป. ยังขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการพิจารณาร่างสัญญาหรือความตกลง และยังมีความเสี่ยงในกรณีที่เกิดการละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมหรือรับรอง          สทป. อาจดำเนินการโดยการส่งร่างสัญญาหรือความตกลงกับต่างประเทศให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ หรือสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนมีการลงนามในสัญญา รวมถึงอาจจ้างที่ปรึกษาหรือสรรหาเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศในการให้คำปรึกษากับ สทป.
                    ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                    ร่างนโยบายและเป้าหมายฯ จะส่งผลในภาพรวมให้เกิดการขับเคลื่อนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้ก้าวไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศในอนาคตสามารถแข่งขัน รวมทั้งลดการพึ่งพาหรือนำเข้ายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศและสร้างรายได้ให้กับประเทศในด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เอื้ออำนวยต่อ สทป. และภาคเอกชนในการดำเนินกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การศึกษาวิจัย การพัฒนา การผลิต และการนำมาใช้ประโยชน์ และเพื่อปรับเปลี่ยนสถานะของประเทศไทยจากการเป็นผู้ซื้อมาเป็นผู้วิจัย ผู้พัฒนา และผู้ผลิต เพื่อการใช้งานภายในประเทศและการส่งออกต่อไป
                    ร่างนโยบายและแผนฯ สอดคล้องกับแผนต่าง ๆ แล้ว เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 ? 2565)

7. เรื่อง รายงานผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะปี 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะปี 2564 [เป็นการดำเนินการตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 296/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ สั่ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2562 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตรฯ) เป็นประธานกรรมการ และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สศด.) เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งข้อ 2.5 กำหนดให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีหน้าที่และอำนาจรายงานผลการดำเนินการขับเคลื่อนแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะต่อคณะรัฐมนตรี] โดยการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะปี 2564 มีความก้าวหน้าและการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
กิจกรรม          ความก้าวหน้า/การดำเนินการ
1. การประกาศมอบตราสัญลักษณ์เพื่อรับรองการเป็นพื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะ          คณะกรรมการฯ มีมติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 รับทราบการประกาศมอบตราสัญลักษณ์ฯ 15 เมือง แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.1 เมืองเดิมน่าอยู่ 13 เมือง เช่น ภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ จังหวัดภูเก็ต สามย่านสมาร์ทซิตี้ กรุงเทพมหานคร และการพัฒนาเมืองเก่าอย่างชาญฉลาด เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
1.2 เมืองใหม่ทันสมัย 2 เมือง ได้แก่ เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง และเมืองอัจฉริยะมักกะสันเพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน กรุงเทพมหานคร
2. การประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะเพื่อขับเคลื่อนสู่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ          สศด. เปิดรับสมัครเมืองที่มีความประสงค์ที่จะเข้ารับการพิจารณาเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ โดยมีข้อเสนอที่ได้รับการประกาศให้เป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ 54 ข้อเสนอ 31 จังหวัด แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) เมืองเดิมน่าอยู่ 50 เมือง และ (2) เมืองใหม่ทันสมัย 4 เมือง (ดศ. แจ้งว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณา)
3. กิจกรรมสนับสนุนการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ          3.1 การจัดงาน Thailand Smart City Week 2020 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 - 22 ตุลาคม 2563 ในรูปแบบออนไลน์ร่วมกับการจัดแสดงสาธิตการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่จริง โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การสัมมนาด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การประกวดแข่งขัน Thailand Smart City Week 2020 Hackathon และการจัดแสดงนิทรรศการในรูปแบบ Virtual Exhibition
3.2 การจัดหลักสูตร The Fundamentals of smart city เป็นการอบรมออนไลน์สำหรับคนทั่วไปที่ต้องการเข้าใจความรู้พื้นฐานองค์ความรู้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ มีผู้เรียนจบ และได้รับประกาศนียบัตร 651 คน
3.3 การพัฒนากำลังคนด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะผ่านโครงการพัฒนานักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ มีผู้ผ่านการคัดเลือกในรอบออดิชัน 30 คน เพื่อลงไปดำเนินการใน 30 พื้นที่ 25 จังหวัด ในฐานะ Smart City Ambassadors และจะมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบ Bootcamp เพื่อให้นักพัฒนาเมืองระดับท้องถิ่นและ Ambassadors มีโอกาสเรียนรู้เชิงลึก และดำเนินกิจกรรมอย่างเข้มข้น
4. ความร่วมมือเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน          ในการประชุมความร่วมมือเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียนปี 2564 ไทยได้นำเสนอความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ ดังนี้
4.1 กรุงเทพมหานคร : การพัฒนาสถานีกลางบางซื่อและพื้นที่โดยรอบให้ใช้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งขับเคลื่อนการเติบโตของชุมชนเมือง ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
4.2 ชลบุรี : การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานและการทำระบบไฟฟ้าแรงดันกลางและต่ำขนาดเล็ก ณ นิคมอุตสาหกรรมอมตะ
4.3 ภูเก็ต : โครงการปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลภาพการจราจรจากกล้องวงจรปิดเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรโครงการออกแบบระบบการขนส่งที่ขับเคลื่อนด้วยการบูรณาการทางเลือกการขนส่งสาธารณะเพื่อให้บริการ โครงการท่าเรืออัจฉริยะ นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ มีการพิจารณากรอบความคิดของโครงการฯ การออกแบบชุดเครื่องมือเพื่อการวางแผนการเงินให้กับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และการออกแบบเว็บไซต์เพื่อใช้ในการสื่อสารกันระหว่างพันธมิตร
5. การศึกษากลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ          คณะกรรมการฯ มีมติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 เห็นชอบหลักการ (ร่าง) แผนการบูรณาการเมืองอัจฉริยะประเทศไทย พ.ศ. 2566 ? 2570 โดยปรับชื่อเป็น (ร่าง) แนวทางบูรณาการพุ่งเป้าตามหมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 เป้าหมาย ดังนี้
5.1 พัฒนาระบบนิเวศและสร้างความตระหนักการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ
5.2 การพัฒนาระบบข้อมูลเมืองและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเมืองอัจฉริยะ
5.3 ส่งเสริมการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเมือง

8. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมีนาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมีนาคม 2565 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
                              1.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติผ่านการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ มีโครงการฯ ที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ             พ.ศ. 2565 จำนวน 571 โครงการ และประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 406 โครงการ ซึ่ง สศช. จะติดตามการดำเนินการและเร่งชี้แจงและทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยขณะนี้ สศช. อยู่ระหว่างเตรียม
จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ทั้ง 3 ระดับและทุกหน่วยงานของรัฐสามารถจัดทำโครงการฯ ที่มีคุณภาพและส่งผลต่อการขับเคลื่อนการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ ได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้ สศช. ได้แบ่งการดำเนินการเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การเตรียมการก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติ    การฯ โดยให้หน่วยงานพิจารณาทบทวนความเกี่ยวข้องต่อปัจจัยภายใต้ห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทยของเป้าหมายแผนแม่บทย่อย รวมถึงจัดทำร่างข้อเสนอโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระยะที่ 2 การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการฯ ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 และระยะที่ 3 การดำเนินการหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการฯ โดยให้ทุกหน่วยงานจัดทำข้อเสนอโครงการฯ ตามแนวทางที่กำหนดเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณตามกระบวนการต่อไป
                              1.2 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) มีการตั้งคณะทำงานกำหนดขั้นการพัฒนาการแก้ปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อทำหน้าที่กำหนดค่ามาตรฐานสำหรับประเมินการหลุดพ้นของขั้นการพัฒนา (การอยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน) เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในระดับบุคคลและระดับครัวเรือนให้สามารถอยู่รอดและดำรงชีวิตได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งได้ร่วมกับหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.) สรุปบทเรียนบางกอกน้อยโมเดลที่มีจุดเน้นในการนำศักยภาพของภาคีการพัฒนาต่าง ๆ มาร่วมกันแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย ตามเมนูแก้จนที่ครอบคลุม 5 มิติความขัดสน* และ                   3 ขั้นการพัฒนา
                    2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ
                    สศช. ได้จัดทำรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (รอบเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564) โดยความคืบหน้าการดำเนินงานตามกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ทั้ง                  62 กิจกรรม มีสถานะดีขึ้นเมื่อเทียบกับรายงานฯ รอบที่ผ่านมา สามารถดำเนินการได้ตามเผน 55 กิจกรรม (คิดเป็น            ร้อยละ 89) และดำเนินการได้ล่าช้ากว่าแผน 7 กิจกรรม เช่น ด้านกระบวนการยุติธรรม กิจกรรมปฏิรูปที่ 3                  การจัดหาทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจให้ครบทุกสถานีทั่วประเทศ กำหนดให้ภายในปี 2564 จะต้องขยายผลทนายความประจำสถานีตำรวจได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 โดยดำเนินการไปแล้วเพียง 203 สถานี จาก 1,482 สถานี หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ซึ่งจำเป็นต้องเร่งขยายผลให้ครบถ้วนทุกสถานีภายในสิ้นปี 2565 ส่วนความคืบหน้าการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมาย 45 ฉบับ ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนธันวาคม 2565 โดยปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.2564 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล พ.ศ. 2564 โดยกฎหมายที่เหลือ 43 ฉบับ อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของหน่วยงาน
                    3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ได้ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) พัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) โดยใช้แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลด้วยปัญญาประดิษฐ์ เพื่อใช้ในการสืบค้นข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานในระบบ eMENSCR ในมิติต่าง ๆ และช่วยในการวิเคราะห์ความคล้ายหรือความซ้ำซ้อนของโครงการ/การดำเนินงานที่ผ่านมา รวมถึงการจัดทำนโยบายและวางแผนการพัฒนาประเทศเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติบนหลักการบริหารงานคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA) ทั้งนี้ ได้จัดอบรมวิธีการใช้งานส่วนที่พัฒนาเพิ่มเติมของระบบดังกล่าวให้กับหน่วยงานของรัฐแล้ว เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565
                    4. การสร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคีต่าง ๆ ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ได้จัดทำสื่อข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization) แสดงภาพการถ่ายระดับของแผน 3 ระดับ ไปสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและรวมข้อมูลแผน 3 ระดับไว้ในที่เดียว โดยได้เผยแพร่สื่อข้อมูลดังกล่าวผ่านทางเว็บไชต์ของยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศด้วยแล้ว
                    5. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ สศช. ได้ขอให้หน่วยงานของรัฐจัดทำและพัฒนาข้อมูลสนับสนุนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาตามยุทธศาสตร์ชาติ เช่น ข้อมูลสถิติ สถานการณ์ งานวิจัย หรือข้อมูลอื่น ๆ พร้อมนำเข้าข้อมูลดังกล่าวในฐานข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ (Open Data Portal for Monitoring and Evaluation Government Projects under National Strategy: Open-D) ให้เป็นปัจจุบันและสม่ำเสมอ ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐนำเข้าระบบ สรุปได้ ดังนี้ (1) ข้อมูลสถิติ สถานการณ์ ยังขาดความครอบคลุมในประเด็นแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติบางประเด็น เช่น ประเด็นศักยภาพการกีฬาและประเด็นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม (2) การนำเข้าข้อมูลงานวิจัยมีจำนวนน้อยและขาดความครอบคลุมในหลายประเด็น (3) หน่วยงานมีการนำเข้าข้อมูลในรูปแบบไฟล์ PDF ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการประมวลผลข้อมูลและไม่เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูล
อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเร่งรัดการนำข้อมูลสถิติ สถานการณ์ หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่จัดทำและพัฒนาในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา รวมถึงงานวิจัยที่แล้วเสร็จและมีความสอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทยของเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ เข้าในระบบ Open-D โดยต้องอยู่ในรูปแบบไฟล์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการปรับปรุงแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดจนให้ทุกภาคส่วนสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลเปิดของภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ
*5 มิติความขัดสน ประกอบด้วย (1) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (2) การศึกษาและทักษะที่จำเป็น (3) สถานะทางสุขภาพ (4) คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และ (5) การเข้าถึงบริการ ความช่วยเหลือ

9. เรื่อง รายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายศูนย์ราชการสะดวก
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ รายงานผลการขับเคลื่อนนโยบายศูนย์ราชการสะดวก   (Government Easy Contact Center : GECC) (เป็นหน่วยงานทำหน้าที่ให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนให้เกิดการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนที่เดินทางมาติดต่อราชการกับหน่วยงานของรัฐ) โดยมีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน ผลการดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
                    1. การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการประเมินผล และการรับรองมาตรฐาน GECC  โดย สปน. พิจารณาร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. ดังนี้
หัวข้อ          ประเด็นการพิจารณา
1.1 มุมมองการให้บริการของ GECC           1.1.1 ด้านสถานที่ สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย ไม่สร้างภาระให้แก่ประชาชน
1.1.2 ด้านบุคลากร มีจิตบริการ ให้บริการด้วยคุณภาพและประสิทธิภาพเกิดความเชื่อมั่น
1.1.3 ด้านงานที่ให้บริการ ต้องตอบสนองความต้องการของประชาชนไม่ยุ่งยาก ซับซ้อน และบริการมีมาตรฐาน
1.1.4 ด้านอื่น ๆ ตามความเหมาะสมตามภารกิจ โดยต้องมีมาตรฐานในการบริการประชาชน
1.2 หลักเกณฑ์          1.2.1 เกณฑ์ด้านกายภาพ (Self Checkist) มี 14 ข้อ (ต้องดำเนินการให้ครบถ้วน พิจารณาจากจุดให้บริการหรือข้อมูลที่สามารถเห็นได้ในเชิงประจักษ์ เช่น (1) มีการให้บริการนอกเวลาราชการ และ (2) สามารถเข้าถึงสถานบริการด้วยรถสาธารณะ
1.2.2 เกณฑ์ด้านคุณภาพ มี 42 ข้อ 70 คะแนน พิจารณาจากข้อมูลด้านสถานที่ ด้านบริการ ด้านบุคลากร และด้านเทคโนโลยี แบ่งเป็น  1) เกณฑ์ขั้นพื้นฐาน มี 20 ข้อ ข้อละ 1 คะแนน (ต้องดำเนินการให้ครบถ้วน) และ 2) เกณฑ์ขั้นสูง มี 20 ข้อ ข้อละ 2 คะแนน และมี 2 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน (ต้องได้อย่างน้อย 34 คะแนน) เช่น (1) การศึกษาความต้องการและความคาดหวังของผู้รับบริการ (2) คุณภาพการให้บริการ และการจัดการข้อร้องเรียน และ (3) การทบทวนปรับปรุงการดำเนินงาน
1.2.3 เกณฑ์ด้านผลลัพธ์ มี 6 ข้อ 30 คะแนน (ต้องได้อย่างน้อย 16 คะแนน) พิจารณาจากความพึงพอใจของประชาชนในการรับบริการ ความสะดวกในการติดต่อราชการ และการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการให้บริการประชาชน
1.3 ระดับการรองรับ (3 ระดับ)          ระดับพื้นฐาน (สีฟ้า) : มีการให้บริการ สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่าย (70-79 คะแนน)
ระดับก้าวหน้า (สีเงิน) : มีการเพิ่มเติมนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการให้บริการ (80-89 คะแนน)
ระดับเป็นเลิศ (สีทอง) : มีการเพิ่มเติมนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับให้บริการด้วยระบบดิจิทัล สะดวกทุกที่ ทุกเวลา (90-100 คะแนน)
ทั้งนี้ มีระยะเวลาการรับรองมาตรฐาน 3 ปี นับแต่ปีที่ได้รับการรับรอง
1.4 สิ่งจูงใจ          1.4.1 โล่การรับรองมาตรฐาน GECC เป็นสิ่งย้ำเตือนให้เห็นถึงคุณค่าของหน่วยงานของรัฐที่พัฒนางานในด้านต่าง ๆ จนสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างเต็มศักยภาพถือเป็นคุณค่าอันทรงเกียรติของหน่วยงานในการรักษามาตรฐาน GECC
1.4.2 ตรารับรองมาตรฐาน GECC เป็นเครื่องหมายที่แสดงให้รู้ว่าประชาชนจะได้รับการบริการที่มีมาตรฐาน สะดวก รวดเร็ว เข้าถึงง่ายเบ็ดเสร็จได้ ณ จุดจุดเดียว

                    2. การส่งเสริมผลักดันให้หน่วยงานของรัฐมีการพัฒนาการให้บริการประชาชนตามมาตรฐาน GECC เช่น (1) การจัดประชุมชี้แจงเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ แนวทาง และวิธีการประเมินเพื่อขอรับการรับรองมาตรฐาน GECC (2) การกำหนดต้นแบบ GECC ในระดับเป็นเลิศ (สีทอง) เพื่อเป็นองค์ความรู้และกระตุ้นให้หน่วยงานมีการพัฒนาการให้บริการตามแนวทางการปฏิบัติที่ดี (3) การเปิดช่องทางให้คำปรึกษาหารือผ่านเฟซบุ๊กตลอด 24 ชั่วโมง และ (4)  การสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ GECC ให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นใดของรัฐ ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
                    3. การตรวจประเมินมาตรฐาน GECC แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
                              3.1 ขั้นตอนที่ 1 ตรวจคัดกรองเอกสารใบสมัครเบื้องต้นตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน GECC ผ่านระบบการรับสมัครออนไลน์ที่เว็บไซต์ศูนย์บริการประชาชน สปน. (www.psc.opm.co.th) เมื่อผ่านการตรวจคัดกรองเอกสารใบสมัครจึงจะได้รับการพิจารณาตรวจประเมินในพื้นที่ต่อไป
                              3.2 ขั้นตอนที่ 2 ตรวจประเมินในพื้นที่ตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน GECC โดยใช้ระบบ            เทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการตรวจประเมินให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น ระบบ Video Conference และการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ ณ จุดให้บริการ โดยขั้นตอนที่ 1-2 คณะอนุกรรมการตรวจประเมินมาตรฐาน GECC ที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการอำนวยการ GECC ซึ่งมีผู้แทนจาก สปน. และสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นผู้พิจารณาตรวจประเมิน
                              3.3 ขั้นตอนที่ 3 พิจารณาตัดสินให้การรับรองโดยคณะกรรมการอำนวยการ GECC ซึ่งมีหน่วยงานของรัฐสมัครขอรับการรับรองมาตรฐาน 5,296 ศูนย์ และได้รับการรับรองมาตรฐาน 2,351 ศูนย์ (ร้อยละ 44.39) โดยมี GECC ที่อยู่ระหว่างการรับรองมาตรฐาน GECC ประจำปี 2563-2564 จำนวน 1,343 ศูนย์ ทั้งนี้ ในปี 2565 สปน. ได้เปิดรับสมัครการขอรับการรับรองมาตรฐาน GECC ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-28 กุมภาพันธ์ 2565 ผ่านระบบออนไลน์โดยมีหน่วยงานของรัฐสมัครขอรับการรับรองมาตรฐาน 1,490 ศูนย์ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจคัดกรองเอกสาร
                    4. การจัดพิธีมอบโล่และตรารับรองมาตรฐาน GECC ประจำปี เพื่อเป็นเกียรติแก่หน่วยงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานกับกระตุ้นให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญกับการให้บริการประชาชนมากขึ้น และได้ขออนุญาตนำลายมือชื่อนายกรัฐมนตรีสลักลงบนโล่การรับรองมาตรฐาน GECC เพื่อมอบให้แก่หน่วยงาน โดยในปี 2564 มีหน่วยงานของรัฐที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน 888 ศูนย์ แบ่งเป็น (1) ระดับเป็นเลิศ     (สีทอง) 2 ศูนย์ ได้แก่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร คณะแพทยศาสตร์ และสำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี                     สาขาศรีราชา (2) ระดับก้าวหน้า (สีเงิน) 101 ศูนย์ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และ (3) ระดับพื้นฐาน (สีฟ้า) จำนวน 785 ศูนย์ เช่น สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ศูนย์บริการประชาชนกระทรวงพาณิชย์ และการไฟฟันครหลวง ทั้งนี้ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจผ่านการรับรอง 501 ศูนย์ (ร้อยละ 56.42)  ซึ่งมากกว่าหน่วยงานราชการที่ผ่านการรับรอง 387 ศูนย์ (ร้อยละ 43.58)
                    5. การตรวจประเมินการรักษามาตรฐาน GECC โดยมีแนวทางการตรวจประเมินการรักษามาตรฐาน GECC ผ่านระบบออนไลน์อย่างต่อเนื่อง ได้แก่ (1) ตรวจประเมินแบบ Surprise Check โดยการตรวจประเมินจุดให้บริการหรือข้อมูลที่สามารถเห็นได้ในเชิงประจักษ์ เช่น งานบริการ ระบบคิว/จุดแรกรับ และระบบการประเมินความพึงพอใจ (2) มาตรการเกี่ยวกับหน่วยงานที่ไม่ผ่านการตรวจประเมินการรักษามาตรฐาน เช่น มีหนังสือแจ้งหน่วยงานที่ไม่ผ่านการตรวจประเมินการรักษามาตรฐาน เพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงการให้บริการให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน โดยในปี 2564 มี GECC ที่ไม่ผ่านการตรวจประเมินฯ 16 ศูนย์ ซึ่ง สปน. ได้มีหนังสือแจ้งหน่วยงานเพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงแล้ว
                    6. ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อน GECC เช่น (1) ควรมีการสร้างสิ่งจูงใจให้แก่หน่วยงานของรัฐที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GECC (2) ควรส่งเสริมการใช้ระบบไอทีและแอปพลิเคชันในการให้บริการ และ (3) ควรมีแนวทางการช่วยเหลือสนับสนุนการทำงานงบประมาณ และอัตรากำลัง จากส่วนกลางสำหรับหน่วยงานที่มีบทบาทหน้าที่สำคัญต่อคุณภาพชีวิต การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และแก้ไขปัญหาของประชาชนในพื้นที่
                    7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ เช่น (1) ประชาชนและภาคเอกชนเกิดความพึงพอใจและมีความเชื่อมั่นต่อการให้บริการของหน่วยงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GECC และได้รับการบริการที่ดี ?มีความสะดวก รวดเร็ว และเข้าถึงการบริการได้ง่าย? และ (2) หน่วยงานของรัฐสร้างภาพลักษณ์ที่ดีด้านการบริการต่อองค์กรและบุคลากร รวมทั้งมีแรงผลักดันในการส่งเสริมและพัฒนาการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

10. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ  ดังนี้
          สาระสำคัญ
          1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนมีนาคม และไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ดังนี้
                    ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนมีนาคม 2565 เท่ากับ 104.79 (ปี 2562 = 100) สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 5.73 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สาเหตุหลักมาจากสินค้าและบริการในประเทศปรับราคาสูงขึ้นตามต้นทุน ทั้งราคาพลังงาน วัตถุดิบที่นำเข้า และค่าขนส่ง ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และพันธมิตร ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจหลายประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาได้รับผลกระทบที่รุนแรงเพราะต้นทุนทางเศรษฐกิจมีความเปราะบาง สำหรับสินค้าในกลุ่มอาหารสดปรับสูงขึ้นกว่าปีที่แล้วไม่มาก ขณะที่ข้าวสาร ผลไม้สด ค่าเช่าบ้าน เสื้อผ้าและรองเท้า ราคาปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง และเมื่อพิจารณาดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เทียบกับเดือนที่ผ่านมา สูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.66 (MoM) เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว โดยสินค้าบางรายการราคาปรับลดลง
                    ปัจจัยที่ทำให้เงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมีนาคมอยู่ที่ร้อยละ 5.73 (YoY) ยังคงเป็นราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ที่สูงขึ้นร้อยละ 32.43 (YoY) โดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ 31.43 และค่ากระแสไฟฟ้าสูงขึ้นร้อยละ 39.95 ซึ่งเป็นไปตามราคาพลังงานในตลาดโลก สินค้าประเภทอาหาร ได้แก่ เนื้อสัตว์ (เนื้อสุกร และไก่สด) ไข่ไก่            ผักสดบางชนิด (มะนาว ผักคะน้า ผักกาดขาว และพริกสด) เครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว และกะปิ) และอาหารปรุงสำเร็จบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน (กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว ข้าวราดแกง และอาหารตามสั่ง) ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ รวมทั้งฐานราคาในเดือนเดียวกันของปีก่อนอยู่ในระดับต่ำมีส่วนทำให้เงินเฟ้อในเดือนนี้สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่จำเป็นอีกหลายรายการที่ราคาปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง อาทิ ข้าวสาร ผลไม้สด เสื้อผ้าและรองเท้า และค่าเช่าบ้าน เป็นต้น
                              ดัชนีราคาผู้บริโภค เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2565 สูงขึ้นร้อยละ 0.66 (MoM) เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (เดือนก่อนหน้าสูงขึ้นร้อยละ 1.06) จากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นร้อยละ 6.87 เป็นสำคัญ นอกจากนี้ อาหารปรุงสำเร็จบริโภคในบ้าน-นอกบ้าน (ข้าวราดแกง อาหารตามสั่ง กับข้าวสำเร็จรูป และข้าวแกง/ข้าวกล่อง) เครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช ซอสปรุงรส และซอยหอยนางรม) ปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าที่ราคาปรับลดลง ได้แก่ เนื้อสุกร ข้าวสาร นมและผลิตภัณฑ์นม (นมข้นหวาน และนมถั่วเหลือง) รวมถึงของใช้ส่วนบุคคล (แป้งผัดหน้า น้ำยาบ้วนปาก สบู่ถูตัว ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว) ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค ไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 4.75 (YoY) และเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 1.91 (QoQ)
                    สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนมีนาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 11.4 (YoY) ตามต้นทุน  การผลิตและราคาวัตถุดิบที่ปรับสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง (เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี) รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารและสินค้าเกษตรสำคัญ ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง สูงขึ้นร้อยละ 8.6 (YoY) เป็นการสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้าตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตวัสดุก่อสร้าง (น้ำมัน เหล็ก ถ่านหิน และอลูมิเนียม) ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 43.8 จากระดับ 44.6 ในเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยลบจากราคาพลังงานและสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น รวมทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม มาตรการช่วยเหลือที่ภาครัฐทยอยออกมาเพิ่มเติม และราคาสินค้าเกษตรสำคัญที่เพิ่มสูงขึ้น จะเป็นปัจจัยบวกต่อความเชื่อมั่นผู้บริโภคในระยะต่อไป
                    2. แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565
                    กระทรวงพาณิชย์ปรับคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2565 เป็นระหว่างร้อยละ 4.0 - 5.0 (ค่ากลางที่             ร้อยละ 4.5) จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ในเดือนธันวาคม 2564 ระหว่างร้อยละ 0.7 ? 2.4 (ค่ากลางที่ร้อยละ 1.5) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง ทั้งนี้ มาตรการของภาครัฐ ทั้งการกำกับดูแลราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น การพยุงราคาพลังงาน และการอุดหนุนค่าสาธารณูปโภค รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 จะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อของไทย

11. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    1. สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2565
          การส่งออกของไทยในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมูลค่า 23,483.1 ล้านเหรียญสหรัฐ (770,819 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 16.2 การส่งออกของไทยขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 ซึ่งสอดคล้องกับการส่งออกของหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย เนื่องจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักทั่วโลกอยู่ในทิศทางฟื้นตัวต่อเนื่อง  ทั้งภาคการผลิต และภาคการบริโภค สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตโลก (Global Manufacturing PMI) ที่อยู่เหนือระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 20 ทั้งนี้ แม้จะมีการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน แต่ระบบสาธารณสุขของแต่ละประเทศยังสามารถรับมือการระบาดได้ดี โดยเฉพาะมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดในภาคอุตสาหกรรมของไทยที่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อการส่งออกไม่หยุดชะงัก และยังสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยังมีความไม่แน่นอนจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป
                    มูลค่าการค้ารวม
มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 การส่งออก มีมูลค่า 23,483.1            ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 16.2 การนำเข้า มีมูลค่า 23,359.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 16.8 ดุลการค้าเกินดุล 123.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กุมภาพันธ์) การส่งออก มีมูลค่า 44,741.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 12.2 การนำเข้า มีมูลค่า 47,144.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 18.7 ดุลการค้า ขาดดุล 2,403.1 ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกุมภาพันธ์ 2565 การส่งออก มีมูลค่า 770,818.8 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 28.2 การนำเข้า มีมูลค่า 776,612.0 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 28.7 ดุลการค้า ขาดดุล 5,793.2 ล้านบาท ขณะที่ 2 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กุมภาพันธ์) การส่งออก มีมูลค่า 1,479,131.1  ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 24.5 การนำเข้า มีมูลค่า 1,579,300.8 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 31.6 ดุลการค้า 2 เดือนแรก  ขาดดุล 100,169.7 ล้านบาท
                    ตลาดส่งออกสำคัญ
                    การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัวต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการส่งออกไป
ทวีปออสเตรเลีย และทวีปแอฟริกาที่ปรับดีขึ้น โดยหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือนก่อน ด้วยอานิสงส์จากแนวโน้มการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ทำให้มีความต้องการซื้อจากประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 15.8
โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 27.2 จีน ร้อยละ 3.0 ญี่ปุ่น ร้อยละ 2.6 อาเซียน (5) ร้อยละ 31.5 CLMV ร้อยละ 14.4 และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 8.3 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 12.2 ขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ 14.2 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 13.8 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 8.2 และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ร้อยละ 23.0 ขณะที่ทวีปออสเตรเลีย และทวีปแอฟริกา หดตัวร้อยละ 2.5 และร้อยละ 0.8 ตามลำดับ และ (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 260.8
          2.          ปัจจัยสนับสนุนและมาตรการส่งเสริมการส่งออก
                    การส่งออกของไทยที่ขยายตัวได้ดีมีปัจจัยสนับสนุนจาก (1) การขยายตัวต่อเนื่องของภาคการผลิตทั่วโลก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ยุโรป จีน เกาหลีใต้ และอาเซียน (ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์) และ               (2) สถานการณ์ค่าระวางเรือและการขาดแคลนเรือขนตู้คอนเทนเนอร์เริ่มมีสัญญาณดีขึ้น
          มาตรการและแผนส่งเสริมการส่งออกกระทรวงพาณิชย์ที่สำคัญ อาทิ (1) เพิ่มศักยภาพการส่งออกสินค้าเกษตร ตามยุทธศาสตร์ ?เกษตรผลิต พาณิชย์ตลาด? เช่น การจัดประกวดหาข้าวพันธุ์ใหม่เสริมศักยภาพส่งออก ให้ไทยมีพันธุ์ข้าวตรงต่อความต้องการตลาด ผลผลิตต่อไร่สูง ลดต้นทุนการผลิต แข่งขันด้านราคาได้ เพื่อบรรลุเป้าหมายการส่งออก 7 ล้านตันในปี 2565 (2) ผลักดันการส่งออกไปยังตลาดใหม่ อาทิ ตะวันออกกลาง โดยเฉพาะการรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางการค้ากับซาอุดีอาระเบีย ซึ่งสามารถผลักดันให้องค์การอาหารและยาซาอุดีอาระเบีย (SFDA) อนุญาตนำเข้าไก่จากไทยได้สำเร็จ (3) สนับสนุนการค้าออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่างประเทศ เช่น การนำสินค้าไทยขายบนแพลตฟอร์ม PChome ของไต้หวัน และมีแผนร่วมมือกับแพลตฟอร์ม PINKOI เพิ่มช่องทางจำหน่ายให้สินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้า BCG และแพลตฟอร์มออนไลน์ของไปรษณีย์ไต้หวัน และ (4) ส่งเสริมกิจกรรม OBM และส่งเสริมการขายกับห้างสรรพสินค้าในต่างประเทศต่อเนื่อง อาทิ การจัด OBM กลุ่มอาหารแห่งอนาคต สินค้า BCG สร้างมูลค่า 3,450 ล้านบาท (ชาติคู่เจรจา 5 อันดับแรก คือ อินเดีย เมียนมา ญี่ปุ่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายกับห้างดองกี้ของญี่ปุ่น ในสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป ผลไม้ และ ข้าว

12. เรื่อง มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการตามมาตรการดังกล่าว โดยรายงานให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) พร้อมทั้งสรุปผลการดำเนินงานรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สทนช. รายงานว่า สทนช. ได้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปี 2564 และกำหนดมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันต่อสถานการณ์ นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินการตามมาตรการฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สทนช. ได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้งปี 2565/2566 ด้วย ซึ่ง กนช. ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2565 มีมติเห็นชอบมาตรการฯ และโครงการดังกล่าวแล้วและให้เสนอคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2565 จำนวน 13 มาตรการ สรุปได้ ดังนี้
การดำเนินงาน/กลไก          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
มาตรการที่ 1 คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ (เดือนมีนาคม 2565 เป็นต้นไป)
(1) ประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในช่วงเดือนมีนาคม - ธันวาคม 2565 และปรับปรุงข้อมูลทุกเดือนเพื่อส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เตรียมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน
(2) ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำจากภาวะฝนน้อยกว่าค่าปกติ และฝนทิ้งช่วงในเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2565 เพื่อให้หน่วยงานนำไปกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการในเชิงป้องกันล่วงหน้าในพื้นที่เสี่ยง          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และ สทนช.
มาตรการที่ 2 การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก (ภายในเดือนสิงหาคม 2565)
(1) จัดทำแผนการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำ/แก้มลิงเพื่อรองรับน้ำหลากและเป็นพื้นที่หน่วงน้ำ1ในช่วงฤดูน้ำหลาก บริหารจัดการเพื่อป้องกันและบรรเทาระดับความรุนแรงของน้ำท่วม รวมถึงจัดทำแผนเก็บกักน้ำไว้ใช้ก่อนสิ้นฤดูฝน เช่น พื้นที่ทุ่งบางระกำ และพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
(2) กำหนดหลักเกณฑ์การใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนองและการจ่ายเงินค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหาย          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และ มท.
มาตรการที่ 3 ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ - กลาง และเขื่อนระบายน้ำ (ภายในเดือนเมษายน 2565)
(1) ทบทวน ปรับปรุงหลักเกณฑ์และมาตรฐานการบริหารจัดการน้ำสำหรับใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่น เกณฑ์การระบายน้ำเขื่อน/อาคารระบายน้ำ การคาดการณ์ฝน และประเมินน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำ
(2) ติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ - กลาง เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำหรือเกณฑ์ควบคุม
(3) จัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำแหล่งน้ำขนาดใหญ่ - กลาง ในช่วงภาวะวิกฤต          กษ. ทส. และกระทรวงพลังงาน (พน.)
มาตรการที่ 4 ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำ สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน (ภายในเดือนกรกฎาคม 2565)
(1) ตรวจสอบสภาพความมั่นคงและซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำ อาคารควบคุมบังคับน้ำ รวมทั้งระบบระบายน้ำ
(2) ตรวจสอบสถานีโทรมาตรและซ่อมแซมให้มีสภาพพร้อมใช้งานสามารถตรวจวัด แสดงผล และเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อให้ทุกหน่วยงานใช้ในการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ได้อย่างต่อเนื่อง          อว. กษ. ดศ. ทส. พน. และ มท.
มาตรการที่ 5 ปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ (ภายในเดือนกรกฎาคม 2565)
(1) สำรวจและจัดทำแผนดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ และการปรับปรุงคูคลองเพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำและระบายน้ำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
(2) ทบทวน/ตรวจสอบสิ่งที่กีดขวางการไหลของน้ำในระบบทางน้ำ จากการศึกษาการจัดทำผังน้ำเพื่อจัดทำแผนปรับปรุงแก้ไขต่อไป          กษ. กระทรวงคมนาคม (คค.) ทส. และ มท.
มาตรการที่ 6 ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา (ภายในเดือนกรกฎาคม 2565)
(1) จัดทำแผนบูรณาการด้านเครื่องจักร เครื่องมือ/สารชีวภัณฑ์ ในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืช และดำเนินการขุดลอกคูคลอง
(2) ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนประชาชนในชุมชนช่วยกันจัดเก็บหรือกำจัดผักตบชวา
(3) มอบหมายคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการเพื่อแก้ไขปัญหาผักตบชวากำหนดแนวทางและมาตรการในการแก้ไขปัญหาผักตบชวาในช่วงก่อนฤดูฝนและระหว่างฤดูฝน ปี 2565          อว. กษ. คค. ทส. มท. และ สทนช.
มาตรการที่ 7 เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ (ภายในเดือนกรกฎาคม 2565)
(1) เตรียมความพร้อมแผนป้องกันและบรรเทาภาวะน้ำท่วม ฝนน้อยกว่าค่าปกติ ฝนทิ้งช่วง และแผนเผชิญเหตุ
(2) เตรียมความพร้อมด้านบุคลากร เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม ฝนน้อยกว่าค่าปกติ ฝนทิ้งช่วง สำหรับให้ความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง
(3) เตรียมความพร้อมเครื่องจักร เครื่องมือให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและเข้าช่วยเหลือได้ทันสถานการณ์
(4) ติดตามวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ฝนน้อยกว่าค่าปกติด้วยภาพถ่ายดาวเทียม และอากาศยานไร้คนขับ กำหนดแนวทางและเงื่อนไขของการแจ้งเตือนตามระดับความรุนแรงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
(5) การปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงฝนทิ้งช่วง          กระทรวงกลาโหม (กห.) อว. กษ. คค. ทส. มท. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
มาตรการที่ 8 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ (ก่อนฤดูฝน-ตลอดช่วงฤดูฝน)
(1) วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน และส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
(2) ลดการสูญเสียน้ำโดยการปรับปรุงวิธีการส่งน้ำและซ่อมแซมระบบการส่งน้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้น้ำให้ได้ประโยชน์สูงสุด          กษ. ทส. พน. และ มท.
มาตรการที่ 9 ตรวจความมั่นคงและปลอดภัยคัน/ทำนบ/พนังกั้นน้ำ (ก่อนฤดูฝน-ตลอดช่วงฤดูฝน)
ตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรงของคันกั้นน้ำ ทำนบ และพนังกั้นน้ำ และซ่อมแซม/ปรับปรุงให้มีสภาพดี รวมทั้งเตรียมแผนเสริมความสูงหากจำเป็น (แผนชั่วคราว)          อว. กษ. คค. มท. สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มาตรการที่ 10 จัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ (ภายในเดือนพฤษภาคม 2565)
(1) บูรณาการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับชาติและในระดับพื้นที่
(2) วางแผนจัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุระดับต่าง ๆ (อย่างน้อยภาคละ 1 พื้นที่)          มท. สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มาตรการที่ 11 ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย (ตลอดช่วงฤดูฝน)
(1) ตั้งศูนย์บัญชาการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าสำหรับเผชิญเหตุในพื้นที่ เพื่อเตรียมความพร้อมและการบริหารจัดการสถานการณ์ โดยใช้การจัดตั้งศูนย์บัญชาการบริหารจัดการน้ำส่วนหน้าภาคใต้เป็นต้นแบบ
(2) บูรณาการการทำงานร่วมกับกลไกการทำงานของแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ          กห. อว. กษ. ดศ. ทส. มท. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี [สปน. (กรมประชาสัมพันธ์)] สทนช. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มาตรการที่ 12 การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ (ก่อนฤดูฝน-ตลอดช่วงฤดูฝน)
สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ในการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ช่วงฤดูฝน ปี 2565 ให้ทุกภาคส่วนได้รับรู้และเข้าใจผ่านคณะกรรมการลุ่มน้ำ คณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด องค์กรผู้ใช้นำ เครือข่ายต่าง ๆ และประชาชน          มท. สปน. (กรมประชาสัมพันธ์) สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
มาตรการที่ 13 ติดตาม ประเมินผล และปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย (ตลอดช่วงฤดูฝน)
(1) กำหนดประเด็นตัวชี้วัดการดำเนินการ
(2) ติดตาม วิเคราะห์ และประเมินสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด
(3) สรุปผลเพื่อปรับปรุงการดำเนินงาน          สทนช. และทุกหน่วยงาน
หมายเหตุ มาตรการที่ 9 - 11 เป็นมาตรการเพิ่มเติมจากมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2564
                    2. การจัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 เพื่อให้สอดคล้องกับการดำเนินการตามมาตรการรับมือฤดูฝน                     ปี 2565 จำนวน 13 มาตรการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล (สทนช. ได้ประสานแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่จำเป็นต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จและสอดคล้องกับมาตรการดังกล่าว แต่ยังไม่มีแหล่งงบประมาณ)
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          (1) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ฤดูฝน ปี 2565
(2) เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงการเกิดอุทกภัย
(3) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บน้ำในฤดูฝน ปี 2565/2566
พื้นที่เป้าหมาย          (1) พื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัย ตามที่ สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด
(2) พื้นที่เสี่ยงที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไข/บรรเทาปัญหาโดยเร่งด่วน ตามที่หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดเสนอผ่านคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด
ระยะเวลาดำเนินการ          120 วัน นับตั้งแต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
กิจกรรม และประเภทแผนงานโครงการ          (1) การซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์
(2) การปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ และกำจัดผักตบชวา
(3) การขุดลอกคูคลอง
(4) การเตรียมพร้อมวางแผนเครื่องจักร เครื่องมือ
(5) การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อเก็บกักไว้ใช้ช่วงฤดูแล้ง
1 พื้นที่หน่วงน้ำ คือ พื้นที่สำหรับพักน้ำหรือเก็บกักน้ำฝนไว้ชั่วคราว ก่อนที่จะปล่อยระบายลงสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ

13. เรื่อง รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 14 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่านเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 14 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564) และเสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
                    รายงานดังกล่าวประกอบด้วยสาระสำคัญ 4 ส่วน ได้แก่ 1) รายงานความคืบหน้าของกิจกรรม Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 2) ความคืบหน้าของกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 3) ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ และ 4) การดำเนินการในระยะต่อไป สรุปได้ดังนี้
                    1. ความคืบหน้าตามแผนการปฏิรูปประเทศระหว่างเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564
                              1.1 รายงานความคืบหน้าของกิจกรรม Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) สศช. ได้รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ จากการที่หน่วยงานรับผิดชอบหลักได้รายงานความคืบหน้าของการดำเนินการกิจกรรม Big Rock ที่เกี่ยวข้องตามเป้าหมายย่อย (Milestone : MS) ระดับความสำเร็จตามระยะเวลาแล้วเสร็จ ปัญหาและอุปสรรค และข้อเสนอแนะในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) โดยมีสถานะความคืบหน้าการดำเนินการของกิจกรรม Big Rock รวมทั้งสิ้น 62 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผน รวม 55 กิจกรรม และ 2) กิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน รวม 7 กิจกรรม สรุปได้ดังนี้
                                        1.1.1 ด้านการเมือง ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 3 กิจกรรม และกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนฯ รวม 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 3 (BR0103) การสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และกิจกรรมที่ 5 (BR0105) การปรับปรุงโครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูป โดยกิจกรรมที่ 3 (BR0103) ซึ่งสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นมาของสภาพปัญหาของความขัดแย้งจากกรณีศึกษาทั้งประเทศไทย และต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง รวมทั้งศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความปรองดอง โดยหน่วยงานจะต้องเร่งสรุปผลการศึกษาต่าง ๆ สำหรับใช้เป็นแนวทางประกอบการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้เตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
                                        1.1.2 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมที่ 5 (BR0205) ขจัดอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และการเบิกจ่ายเงินเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว คุ้มค่า โปร่งใส ปราศจากการทุจริต ซึ่งได้มีการดำเนินการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างของกรมบัญชีกลางกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในรูปแบบ web service ร่วมกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมเจ้าท่า กรมการขนส่งทางบก กรมศุลกากร โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 3 (MS3) ที่กำหนดให้มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเข้ากับระบบของหน่วยงานตรวจสอบและหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                                        1.1.3 ด้านกฎหมาย ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 3 กิจกรรม และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนฯ รวม 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 2 (BR0302) จัดให้มีกลไกทางกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย เพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และกิจกรรมที่ 5 (BR0305) จัดทำประมวลกฎหมายเพื่อรวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกันเพื่อความสะดวกในการใช้งาน โดยกิจกรรมที่ 5 (BR0305) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ระหว่างการสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่หน่วยงานภาครัฐต่อร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก พ.ศ. .... และรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรีก่อนเสนอร่างดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา โดยหน่วยงานจะต้องเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จและนำเสนอตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่ให้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อรัฐสภา ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
                                        1.1.4 ด้านกระบวนการยุติธรรม ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 4 กิจกรรม และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนฯ รวม 1 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 3 (BR0403) การจัดหาทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจให้ครบทุกสถานีทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันสภาทนายความได้จัดให้มีทนายความให้คำปรึกษาในสถานีตำรวจเรียบร้อยแล้ว จำนวน 203 สถานี จาก 1,482 สถานี ซึ่งหน่วยงานจะต้องเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้ขยายผลให้มีทนายความให้คำปรึกษาในสถานีตำรวจไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของสถานีตำรวจทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
                                        1.1.5 ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมที่ 1 (BR0501) การสร้างเกษตรมูลค่าเพิ่ม ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการทำเกษตรมูลค่าต่ำ และไม่เหมาะสมกับพื้นที่ไปสู่การปลูกพืชเลี้ยงปศุสัตว์ และประมงที่มีมูลค่าสูงผ่านการวางแผนการผลิตของกลุ่มแปลงใหญ่เป้าหมาย โดยอยู่ระหว่างสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการวิเคราะห์จัดทำแผนรายแปลงและจัดทำแผนธุรกิจร่วมกันของสมาชิกในแปลงใหญ่ด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ และด้านอื่น ๆ ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้มีการปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการทำเกษตรมูลค่าต่ำและไม่เหมาะสมกับพื้นที่ไปสู่การปลูกพืชเลี้ยงปศุสัตว์ และประมงที่มีมูลค่าสูง โดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
                                        1.1.6 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 4 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมที่ 4 (BR0604) ปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ กรณีเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด ซึ่งหน่วยงานได้มีการทบทวนผลการปฏิบัติตามมาตรการของเขตควบคุมมลพิษ การจัดลำดับความสำคัญของผลกระทบสิ่งแวดล้อมในเขตควบคุมมลพิษ การกำกับติดตามผลการดำเนินงานพื้นที่เขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยอง และการศึกษาและจัดทำข้อเสนอการออกกฎระเบียบในการลงโทษ/เก็บค่าใช้จ่ายเพื่อการป้องกันและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมจากผู้ก่อมลพิษในเขตควบคุมมลพิษตลอดจนการประสานติดตามการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการและมาตรการลดและขจัดมลพิษที่ได้รับการปรับปรุงแล้ว โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่เขตควบคุมมลพิษมาบตาพุดเป็นไปตามค่าเกณฑ์มาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                                        1.1.7 ด้านสาธารณสุข ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนทั้งหมด เช่น กิจกรรมที่ 1 (BR0701) การปฏิรูปการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข รวมถึงโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ เพื่อความมั่นคงแห่งชาติด้านสุขภาพ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข และมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจครบทั้ง 76 จังหวัด เพื่อเป็นกลไกบริหารสถานการณ์แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้มีกลไกบริหารสถานการณ์และบัญชาการเหตุการณ์ที่สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ
                                        1.1.8 ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 3 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมที่ 1 (BR0801) การพัฒนาระบบคลังข้อมูลข่าวสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการจัดการ Fake News ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีการดำเนินโครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม และกรมประชาสัมพันธ์ มีการดำเนินโครงการพัฒนาคลังข้อมูลข่าวสารเพื่อประชาสัมพันธ์ภาครัฐเชิงรุก ซึ่งพัฒนาระบบคลังข้อมูลอัจฉริยะ เพื่อการวิเคราะห์การประชาสัมพันธ์ภาครัฐเชิงรุก รวบรวมข้อมูลมาจัดเก็บไว้ในคลังข้อมูลข่าวสารในรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้มีการจัดการคลังข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ผ่านการตรวจสอบและได้รับการยืนยันภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
                                        1.1.9 ด้านสังคม ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมที่ 2 (BR0902) ผลักดันให้มีฐานข้อมูลทางสังคมและคลังความรู้ในระดับพื้นที่ เพื่อให้สามารถจัดสวัสดิการและสร้างโอกาสในการประกอบอาชีพที่ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งกรมการปกครองมีการจัดทำโครงการพัฒนาตำบลแบบบูรณาการ โดยการจ้างงานประชาชนในตำบล อำเภอ ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในทุกตำบล (7,255 ตำบล) เพื่อเก็บข้อมูลการพัฒนาพื้นที่แบบบูรณาการ (Data Base) ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการวางแผนพัฒนาพื้นที่ในทุกระดับ โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้มีระบบการจัดเก็บข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลกลางทางสังคมที่มีการบูรณาการในระดับพื้นที่
                                        1.1.10 ด้านพลังงาน ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมที่ 2 (BR1002) การพัฒนาศูนย์สารสนเทศพลังงาน ซึ่งสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติเป็นหน่วยงานภายใต้ สนพ. เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2563 รวมทั้งได้มีคำสั่งมอบหมายให้ข้าราชการไปปฏิบัติหน้าที่ที่ศูนย์ฯ ตามโครงสร้างกลุ่มงานแล้วเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564 โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้มีศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติภายใต้กระทรวงพลังงาน
                                        1.1.11 ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 4 กิจกรรม และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนฯ รวม 1 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 2 (BR1102) การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งหน่วยงานได้มีการศึกษาทบทวนพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้ง่าย และจัดส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการหารือคณะกรรมการกฤษฎีกาก่อนจะเสนอตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ซึ่งหน่วยงานต้องเร่งผลักดันการออกกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จ เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้ประชาชนในวงกว้างสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยสะดวกผ่านการผลักดันการออกกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารสาธารณะที่ประชาชนควรได้รับทราบข้อมูลข่าวสารโดยไม่ต้องร้องขอและหน่วยงานภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลในครอบครองผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
                                        1.1.12 ด้านการศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 4 กิจกรรม และกิจกรรมที่มีการดำเนินการล่าช้ากว่าแผน รวม 1 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 4 (BR1204) การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบนำไปสู่การจ้างงานและการสร้างงาน ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการส่งเสริมการขับเคลื่อนการบริหารจัดการความร่วมมือในอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีให้มีคุณภาพโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน และการพัฒนาสมรรถนะครูให้มีความเป็นเลิศและเชี่ยวชาญเฉพาะ (Excellent Teacher) โดยหน่วยงานจะต้องเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้มีพัฒนาระบบความร่วมมือการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูป ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
                                        1.1.13 ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมที่ 5 (BR1305) การบริหารจัดการศักยภาพบุคลากรของประเทศ โดยสำนักงาน ก.พ. ได้ดำเนินการจัดสรรทุนรัฐบาลในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และการปฏิรูปประเทศ (สาขาวิชาที่ขาดแคลน: Digital Transformation) ด้าน Data Science และ Cyber security เพื่อทำงานด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในส่วนราชการ ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 2 (MS2) ที่กำหนดให้มีระบบทุนการศึกษาของรัฐบาลเพื่อดึงดูดผู้มีศักยภาพสูงเข้าสู่ภาครัฐ (Talent Attraction)
                    2. ความคืบหน้ากฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 จากกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) รวมทั้งสิ้น 45 ฉบับ ซึ่งมีสถานะความคืบหน้าของกฎหมาย ประกอบด้วย (1) ดำเนินการแล้วเสร็จรวม 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล พ.ศ. 2564 และ (2) อยู่ระหว่างการดำเนินการ รวม 43 ฉบับ โดยมีสถานะความคืบหน้าในการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ไปในทิศทางที่ดีขึ้นจากการรายงานความคืบหน้าฯ ครั้งที่ 13 (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564) ทั้งนี้ สศช. จะประสานหน่วยงานผู้รับผิดชอบเพื่อเร่งรัดดำเนินการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และเสนอตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)          จำนวน
กฎหมาย
(ฉบับ)          อยู่ระหว่างการดำเนินการ          แล้ว
เสร็จ
                    หน่วยงาน
ของรัฐ
จัดทำร่าง
กฎหมาย          สลค.
พิจารณา
เพื่อเสนอ ครม. เห็นชอบหลักการ          สคก. ให้
ความเห็น
ต่อร่าง
กฎหมาย          รัฐสภา
พิจารณาร่าง
กฎหมายก่อน
ประกาศใช้
1. ด้านการเมือง          2          2
2. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน          2          2
3. ด้านกฎหมาย          5          3                              1          1
4. ด้านกระบวนการยุติธรรม          1                                        1
5. ด้านเศรษฐกิจ          7          3          4
6. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม          1          1
7. ด้านสาธารณสุข          1                              1
8. ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ          2          1          1
9. ด้านสังคม           4          2                    1                    1
10. ด้านพลังงาน          8          8
11. ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ          10          8                    2
12. ด้านการศึกษา          1                                        1
13. ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงานและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์          1          1
รวมจำนวนกฎหมาย (ฉบับ)          45          31          5          4          3          2
                    3. ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อการรายงานความคืบหน้าฯ (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564) ซึ่ง สศช. ได้รวบรวมรายละเอียดการดำเนินการตามประเด็นข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับแผนการปฏิรูปประเทศ ทั้ง 13 ด้าน ในรายงานความคืบหน้าฯ (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564) เรียบร้อยแล้ว
                              ทั้งนี้ ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศในระยะเร่งด่วนปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และระยะปานกลาง พ.ศ. 2566 - 2570 เพื่อให้เห็นผลการดำเนินการตามเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ และผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 259 ของรัฐธรรมนูญฯ ในระยะเวลา 5 ปี โดย สศช. ได้นำประเด็นข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าวไปใช้เป็นแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม เช่น (1) การจัดทำคู่มือการจัดทำแผนปฏิบัติราชการรายปี แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี และแผนปฏิบัติการด้านต่าง ๆ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐใช้เป็นเครื่องมือในการวางแผนและจัดทำแผนการดำเนินการที่สามารถขับเคลื่อนเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนการปฏิรูปประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) การจัดทำคู่มือโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่หน่วยงานของรัฐในการจัดทำโครงการฯ ที่มีประสิทธิภาพ ครบถ้วน และสมบูรณ์ รวมทั้งสามารถปิดช่องว่างเชิงนโยบายและยกระดับการพัฒนาในแต่ละเป้าหมาย เพื่อให้เสนอเป็นโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างแท้จริงต่อไป และ (3) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐเกิดความตระหนักรู้ความเข้าใจในหลักการของการจัดทำโครงการฯ และมีส่วนร่วมในกระบวนการ/ขั้นตอนการจัดทำโครงการฯ รวมทั้งสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และความเข้าใจในการจัดทำโครงการฯ ภายในหน่วยงานของตนเอง และสามารถจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างแท้จริงนำไปสู่การบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ได้อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
                    4. การดำเนินการในระยะต่อไป
                              สศช. จะดำเนินการประสานและบูรณาการร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานร่วมดำเนินการกิจกรรม Big Rock เพื่อเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินการ การกำกับ ติดตามการดำเนินโครงการภายใต้กิจกรรม Big Rock ให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด รวมทั้งหน่วยงานรับผิดชอบโครงการต้องนำเข้าข้อมูล แผนงาน/โครงการในระบบ eMENSCR ให้ครบถ้วน พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการในระดับโครงการ และหน่วยงานรับผิดชอบหลักต้องรายงานความก้าวหน้าในระดับเป้าหมายย่อย (MS) ในระบบ eMENSCR อย่างต่อเนื่องในทุกสิ้นไตรมาส เพื่อให้มีข้อมูลที่เพียงพอในการติดตามเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการตามกิจกรรม Big Rock ได้อย่างตรงจุดและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย ตัวชี้วัดอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับการสรุปประมวลข้อมูลดังกล่าวประกอบการจัดทำรายงานความคืบหน้าตามมาตรา 270 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรายงานรัฐสภาทราบในรอบการรายงานต่อไป

14. เรื่อง การผ่อนปรนมาตรการภาษีนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ในโควตา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการผ่อนปรนมาตรการภาษีนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์  ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ในโควตา ตามมติคณะกรรมการนโยบายอาหารเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 ตามที่คณะกรรมการนโยบายอาหารเสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการหารือร่วมกับทุกภาคส่วน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐ                    ภาคเกษตรกรผู้ปลูก เกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้รวบรวม และผู้ผลิตอาหารสัตว์ มาโดยตลอด ในการแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์เพื่อเป็นการลดภาระต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์อันจะช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ต้นทุนในภาคปศุสัตว์และส่งผลให้ประชาชนไม่ต้องรับภาระราคาสินค้าปศุสัตว์ที่เพิ่มขึ้น โดยพิจารณาข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปริมาณผลผลิต ข้อมูลสต็อกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน และความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในการผลิตอาหารสัตว์ในช่วงเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2565 โดยเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 ทุกฝ่ายได้มีข้อยุติร่วมกันว่า ปริมาณข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ยังไม่เพียงพอ มีประมาณ 1.20 ล้านตัน และเห็นควรเสนอให้มีการผ่อนปรนมาตรการ ดังนี้
                              1.1 มาตรการนำเข้าข้าวสาลี : เห็นควรผ่อนปรนเงื่อนไขการนำเข้าข้าวสาลีโดยยกเว้นการซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 3 ส่วน ต่อการนำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วน เป็นการชั่วคราว ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2565 ทั้งนี้ หากมีการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 เป็นต้นมา รวมกันทุกช่องทางในปริมาณ 1.20 ล้านตัน ให้สิ้นสุดการผ่อนปรนและกลับไปใช้มาตรการเดิม
                              1.2 มาตรการภาษีนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้ WTO ในโควตา : เห็นควรผ่อนปรนจาก
                              เดิม ให้ อศส. เป็นผู้นำเข้าเพียงผู้เดียว ในอัตราภาษีร้อยละ 20 ปริมาณไม่เกิน 54,700 ตัน
                              เป็น ให้ อคส. และผู้นำเข้าทั่วไป เป็นผู้นำเข้าได้ ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2565 ในอัตราภาษีร้อยละ 0 ปริมาณไม่เกิน 0.6 ล้านตัน (หรือ ร้อยละ 50 ของความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน)
                    2. เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
(นบขพ.) ในการประชุม ครั้งที่ 2/2565 มีมติ ดังนี้
                              2.1  เห็นชอบการผ่อนปรนมาตรการนำเข้าข้าวสาลี และมาตรการภาษีนำเข้าข้าวโพด
เลี้ยงสัตว์ภายใต้ WTO ในโควตา
                              2.2  เห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาตรวจสอบการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน (ข้าวสาลีและข้าวบาร์เลย์)
                              2.3 เห็นชอบให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายอาหารพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    3. เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 คณะกรรมการนโยบายอาหาร ในการประชุมครั้งที่ 1/2565           (ครั้งที่ 80) ได้มีมติเห็นชอบการผ่อนปรนมาตรการภาษีนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ในโควตา ซึ่งเป็นไปตามมติ นบขพ. ครั้งที่ 2/2565 วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 ดังนี้
                    เดิม ให้ อคส. เป็นผู้นำเข้าเพียงผู้เดียว ในอัตราภาษีร้อยละ 20 ปริมาณไม่เกิน 54,700 ตัน
                    เป็น ให้ อคส. และผู้นำเข้าทั่วไป เป็นผู้นำเข้าได้ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2565  ในอัตราภาษีร้อยละ 0 ปริมาณไม่เกิน 0.6 ล้านตัน (หรือ ร้อยละ 50 ของความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบทดแทน)
                    ทั้งนี้ มอบกระทรวงการคลัง (กรมศุลกากร) นำประกาศกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้องกับอัตราภาษีนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 1005.9099 รหัส 001 เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ และกระทรวงพาณิชย์ (กรมการค้าต่างประเทศ) ออกระเบียบกระทรวงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้อง

15. เรื่อง โครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (โครงการฯ) ปีการผลิต 2565 ตามสาระสำคัญที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (นบขพ.) มีมติให้ความเห็นชอบการดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2565 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวม Tier 1 และ Tier 2 จำนวน 2.12 ล้านไร่ ภายใต้วงเงินงบประมาณจำนวน 224,442,600 บาท
                    2. เห็นชอบให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทดรองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาล และเบิกเงินชดเชยตามจำนวนที่จ่ายจริงพร้อมด้วยอัตราต้นทุนเงิน ในอัตราต้นทุนทางการเงินของ ธ.ก.ส. ประจำไตรมาสบวก 1 ต่อปี (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 1.98) ในปีงบประมาณถัดไป โดยให้มีการปรับเปลี่ยนอัตราต้นทุนทางการเงินตามอัตราที่แท้จริงทุกไตรมาส ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินในอัตราปัจจุบันรวม 228,886,563.48 บาท
                    3. มอบหมายให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการ ดังนี้
                              3.1 ขายกรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2565 ให้ได้ตามเป้าหมายและตามกำหนดเวลาการเอาประกันภัยของเกษตรกรทั้งในส่วน Tier 1 และ Tier 2
                              3.2 บริหารจัดการความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ให้สอดคล้องกับหลักการประกันภัย
                              3.3 ร่วมกับสำนักงาน คปภ. สมาคมประกันวินาศภัยไทย (สมาคมฯ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันธ์โครงการฯ รวมทั้งให้ความรู้ด้านการประกันภัยให้แก่เกษตรกรและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในความสำคัญของการประกันภัย
                    4. มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานงานกับ ธ.ก.ส. และสมาคมฯ ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลเอกสารทะเบียนเกษตรกร แบบประมวลรวบรวมความเสียหายและการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย (แบบ กษ 02) แบบรายงานข้อมูลความเสียหายจริงของเกษตรกร 2 (แบบ กษ 02 เพื่อการประกันภัย) และข้อมูลผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัลที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตลอดจนดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ เพื่อรองรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น พร้อมทั้งเก็บข้อมูลพื้นที่ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 (ระเบียบกระทรวงการคลังฯ) และรายงานข้อมูลดังกล่าวให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
                    5. มอบหมายให้สมาคมฯ พิจารณากำหนดรูปแบบการประเมินความเสียหายแก่เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายแต่มิได้อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ร่วมกับ ธ.ก.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาต่อไป ทั้งนี้ ให้พิจารณานำวิธีการประเมินความเสียหายในรูปแบบเชิงวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีมาใช้ร่วมด้วย
                    6. มอบหมายให้สำนักงาน คปภ. ปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้เป็นไปตามรูปแบบและหลักเกณฑ์ของการรับประกันภัยของโครงการฯ ปีการผลิต 2565 รวมทั้งอนุมัติกรมธรรม์และอัตราเบี้ยประกันภัยให้แล้วเสร็จและสามารถเริ่มรับประกันภัยในปีการผลิต 2565 ได้ทันทีภายหลังคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ รวมทั้งดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจและประชาสัมพันธ์โครงการฯ ปีการผลิต 2565 และในปีการผลิตต่อ ๆ ไป ในภาพรวมแบบเชิงรุกอย่างต่อเนื่องร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    หลักการและรายละเอียดการดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2565 ที่ นบขพ. ได้มีมติให้ความเห็นชอบในการประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 ดังนี้
หัวข้อ          โครงการฯ ปีการผลิต 2565
อัตราเบี้ยประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1)
(ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)
และพื้นที่เป้าหมาย          ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. 160 บาท/ไร่                     (พื้นที่เป้าหมาย 2 ล้านไร่)
          ลูกค้าเกษตรกรทั่วไป/ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ซื้อเพิ่ม (พื้นที่เป้าหมาย 6 หมื่นไร่)
                    พื้นที่ความเสี่ยงต่ำ 150 บาท/ไร่
                    พื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง 350 บาท/ไร่
                    พื้นที่ความเสี่ยงสูง 550 บาท/ไร่
อัตราเบี้ยประกันภัยโดยสมัครใจ (Tier 2)
(ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม)
และพื้นที่เป้าหมาย          พื้นที่ความเสี่ยงต่ำ 90 บาท/ไร่          (พื้นที่เป้าหมาย 6 หมื่นไร่)
          พื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง 100 บาท/ไร่
          พื้นที่ความเสี่ยงสูง 110 บาท/ไร่
ความคุ้มครอง Tier 1           ภัยธรรมชาติ 1,500 บาท/ไร่
ภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่
1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก 2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง 3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น 4) ภัยอากาศหนาว หรือน้ำค้างแข็ง 5) ลูกเห็บ 6) ไฟไหม้ 7) ช้างป่า และภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด          ภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด 750 บาท/ไร่
ความคุ้มครอง Tier 2           ภัยธรรมชาติ 240 บาท/ไร่
          ภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด 120 บาท/ไร่
อุดหนุนเบี้ยประกันภัยเฉพาะ Tier 1          - ธ.ก.ส. อุดหนุนเบี้ยประกันภัยสำหรับลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. 64 บาท/ไร่ (ไม่เกิน 2.8 ล้านไร่)
- รัฐบาลอุดหนุนเบี้ยประกันภัย ดังนี้
   - สำหรับลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. 96 บาท/ไร่ รวมทั้งให้การอุดหนุนอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือคิดเป็น 108.27 บาท/ไร่
   - สำหรับเกษตรกรทั่วไป 90 บาท/ไร่ รวมทั้งให้การอุดหนุนอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือคิดเป็น 101.57 บาท/ไร่ (พื้นที่ความเสี่ยงต่ำ) 116.64 บาท/ไร่ (พื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง) และ 131.71 บาท/ไร่ (พื้นที่ความเสี่ยงสูง)
การพิจารณาค่าสินไหมทดแทน          การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
ระยะเวลาจำหน่าย          กำหนดวันเริ่มจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบโครงการฯ และกำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ ดังนี้
1) กรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูฝน ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2565
2) กรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง ไม่เกินวันที่ 15 มกราคม 2566
ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา
งบประมาณและแหล่งที่มาของงบประมาณ          งบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2565 สำหรับอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย Tier 1 จำนวน 2.06 ล้านไร่ จำนวนทั้งสิ้น 224,442,600 บาท (สองร้อยยี่สิบสี่ล้านสี่แสนสี่หมื่นสองพันหกร้อยบาทถ้วน) โดยให้ ธ.ก.ส. ทดรองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาลและเบิกเงินชดเชยจากรัฐบาลตามจำนวนที่จ่ายจริงรวมกับต้นทุนเงินในอัตราต้นทุนทางการเงินของ ธ.ก.ส. ประจำไตรมาสบวก 1 ต่อปี (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 1.98) ในปีงบประมาณถัดไป โดยให้มีการปรับเปลี่ยนอัตราต้นทุนทางการเงินตามอัตราที่แท้จริงทุกไตรมาส

16. เรื่อง (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) (ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13) ตามที่ สศช. เสนอ
                    2. มอบหมาย สศช. นำเสนอร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ต่อรัฐสภาเพื่อทราบก่อนกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อทรงมีพระบรมราชโองการให้ใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. รายงานว่า
                    1. การจัดทำ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 มีกระบวนการดำเนินงานที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้



ช่วงเวลา          การดำเนินการ
เดือนมีนาคม -
เมษายน 2564          สศช. นำกรอบร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) แล้ว เข้าสู่กระบวนรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทุกภาคส่วน ผ่านช่องทางต่าง ๆ
เดือนมิถุนายน 2564          คณะกรรมการยกร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ได้ดำเนินการยกร่างรายละเอียดของหมุดหมายการพัฒนาทั้ง 13 หมุดหมาย ตามที่กำหนดไว้ในกรอบแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
เดือนกันยายน 2564          รับฟังความคิดเห็นในเวทีการประชุมประจำปี 2564 ของ สศช. ผ่านช่องทางออนไลน์และได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนและสื่อมวลชนทราบถึงกระบวนการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ที่จะมีขึ้นในระยะต่อไป
เดือนพฤศจิกายน 2564 - มกราคม 2565          รับฟังความคิดเห็นต่อร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ผ่านการประชุมระดมความเห็นใน 18 กลุ่มจังหวัด และ 7 กลุ่มเฉพาะในส่วนกลาง และได้ส่งหนังสือเพื่อขอความเห็นไปยังหน่วยงานต่าง ๆ
เดือนกุมภาพันธ์ 2565          - สภาพัฒนาฯ ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 มีมติเห็นชอบร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ที่ได้ปรับปรุงตามผลการรับฟังความคิดเห็นข้างต้น ตามที่ สศช. เสนอ
- คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีมติเห็นชอบและให้นำร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
                    2. ร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เป็นแผนระดับที่ 2 ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในการแปลงยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติและกำหนดทิศทางการพัฒนาที่ประเทศควรมุ่งเน้นในระยะ 5 ปีถัดไป (พ.ศ. 2566 - 2570) เพื่อให้ ?ประเทศไทยมีความมั่งคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง? ตามเจตนารมณ์ของยุทธศาสตร์ชาติ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
หลักการแนะแนวคิด          หลักการและแนวคิด 4 ประการ ได้แก่
(1) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(2) การสร้างความสามารถในการ ?ล้มแล้ว ลุกไว?
(3) เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs)
(4) การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green Economy: BCG)
วัตถุประสงค์          พลิกโฉมประเทศไทยสู่ ?สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน?
เป้าหมายหลัก
ของการพัฒนา          มีเป้าหมายหลัก 5 ประการ ได้แก่
(1) การปรับโครงสร้างการผลิตสู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม
(2) การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่
(3) การมุ่งสู่สังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม
(4) การเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน
(5) การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงและการเปลี่ยนแปลงภายใต้บริบทโลกใหม่
ตัวชี้วัด
และค่าเป้าหมาย
ของแต่ละเป้าหมายหลัก          (1)           รายได้ประชาชาติต่อหัวเท่ากับ 9,300 ดอลลาร์สหรัฐ (300,000 บาท)
          [ปี 2564 รายได้ประชาชาติต่อหัวเท่ากับ 7,097 ดอลลาร์สหรัฐ (227,000 บาท)]
(2)           ดัชนีความก้าวหน้าของคน1 อยู่ในระดับสูง เท่ากับ 0.7209
          (ปี 2563 ความก้าวหน้าของคนอยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ 0.6501)
(3)          ความแตกต่างของความเป็นอยู่ (รายจ่าย) ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสูงสุดร้อยละ 10 และต่ำสุดร้อยละ 40 มีค่าต่ำกว่า 5 เท่า
          (ปี 2562 ความแตกต่างของความเป็นอยู่ (รายจ่าย) มีค่าเท่ากับ 5.66 เท่า)
(4)          ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
          เมื่อเทียบเคียงกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกปกติที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
          (ปี 2561 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคพลังงาน ลดลงร้อยละ 16)
(5)           ดัชนีรวมสะท้อนความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง2 มีค่า
          ไม่ต่ำกว่า 100
หมุดหมายการพัฒนา          มีทั้งหมด 13 หมุดหมายการพัฒนา จำแนกออกได้เป็น 4 มิติ ดังนี้
1. มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย (6 หมุดหมาย)
- หมุดหมายที่ 1          ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
- หมุดหมายที่ 2           ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน
- หมุดหมายที่ 3           ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก
- หมุดหมายที่ 4           ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง
- หมุดหมายที่ 5           ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค
- หมุดหมายที่ 6           ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมดิจิทัลของอาเซียน
2. มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม (3 หมุดหมาย)
- หมุดหมายที่ 7           ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้
- หมุดหมายที่ 8           ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน
- หมุดหมายที่ 9           ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม
3. มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2 หมุดหมาย)
- หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
- หมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
4. มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ (2 หมุดหมาย)
- หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูง มุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต
- หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน

แนวทางการขับเคลื่อน          ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่
ส่วนที่ 1 กลไกการขับเคลื่อน
ประกอบด้วย 2 กลไกการ ได้แก่
(1) กลไกการบูรณาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ร่วมมือกับภาคีจากภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานที่มีความสำคัญในระดับสูงต่อการบรรลุเป้าหมายของแต่ละหมุดหมาย โดยเฉพาะการดำเนินงานที่มีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานการดำเนินงานที่เป็นการริเริ่มขึ้นใหม่ หรืออยู่นอกเหนือจากภารกิจปกติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) กลไกตามภารกิจและกลไกในระดับพื้นที่ ขับเคลื่อนผ่านการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานและการดำเนินงานในระดับพื้นที่ โดยการจัดทำแผนระดับที่ 3 ให้สนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13
ส่วนที่ 2 กลไกงบประมาณ
ผลักดันให้ระบบการจัดสรรงบประมาณของประเทศเป็นไปในทิศทางที่มุ่งสนับสนุนการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ โดยการผนวกประเด็นการพัฒนาที่ต้องการมุ่งเน้นในแต่ละปีเข้ากับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ รวมถึงสนับสนุนให้ภาคเอกชนและภาคีการพัฒนาต่าง ๆ ที่มีศักยภาพเข้ามาร่วมลงทุน
ส่วนที่ 3 การเสริมสร้างบทบาทของทุกภาคส่วนในการร่วมขับเคลื่อนแผน    พัฒนาฯ ฉบับที่ 13
สนับสนุนการประสานกำลังของ ?บวร? (บ้าน วัด โรงเรียน) เพื่อแก้ไขปัญหาและยกระดับการพัฒนาของชุมชนท้องถิ่น ตลอดจนการเสริมสร้างความร่วมมือกับประชาคมและองค์การระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในประเด็นการพัฒนาที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค

แนวทางการติดตามประเมินผล          ครอบคลุมการดำเนินงาน 3 ส่วน ได้แก่
(1) การติดตามความก้าวหน้า (สำหรับโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ)
(2) การประเมินผลสัมฤทธิ์ (สำหรับโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ)
(3) การประเมินผลกระทบ (การศึกษาวิเคราะห์ถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13)
                    3. หมุดหมายการพัฒนา จำนวน 13 หมุดหมาย ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 เป็นการถ่ายทอดเป้าหมายหลักไปสู่การขับเคลื่อนที่ชัดเจนซึ่งมีที่มาจากการประเมินโอกาสและความเสี่ยงของประเทศไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และผลการพัฒนาในประเทศในระยะเวลาที่ผ่านมา โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หมุดหมายที่ 1 ไทยเป็นประเทศชั้นนำด้านสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูง
เป้าหมาย          - การเพิ่มมูลค่าของสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูป
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริหารจัดการของภาคเกษตรเพื่อคุณภาพ ความมั่นคงทางอาหาร และความยั่งยืนของภาคเกษตร
- การเพิ่มศักยภาพและบทบาทของผู้ประกอบการเกษตรในฐานะหุ้นส่วนเศรษฐกิจของห่วงโซ่อุปทานที่ได้รับส่วนแบ่งประโยชน์อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
ตัวอย่าง
ตัวชี้วัด
และค่าเป้าหมาย          - ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศสาขาเกษตรเติบโต ร้อยละ 4.5 ต่อปี
- มีตลาดกลางสินค้าเกษตรภูมิภาคในภาคเหนือ 2 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 แห่ง ภาคใต้ 2 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง และภาคตะวันออก 1 แห่ง เมื่อสิ้นสุดแผน
- พื้นที่ที่สามารถลดความเสี่ยงภัยน้ำท่วม-น้ำแล้ง และเกิดระบบจัดการน้ำชุมชน จำนวน 4,000 ตำบล เมื่อสิ้นสุดแผน
- ผู้ประกอบการเกษตรเพิ่มขึ้น ปีละ 4,000 ราย
ตัวอย่าง
กลยุทธ์          - การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมแบบมุ่งเป้า เพื่อให้เกิดการยกระดับกระบวนการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่ม
- การส่งเสริมการผลิตและการขยายตัวของตลาด ของสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปที่มีมูลค่าสูง
- การพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรให้มีความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน รวมทั้งการใช้น้ำซ้ำ
- การส่งเสริมให้เอกชนลงทุนพัฒนาตลาดกลางและตลาดออนไลน์สินค้าเกษตร รวมถึงสินค้ากลุ่มปศุสัตว์และประมง
- การสนับสนุนระบบประกันภัยและรับรองคุณภาพมาตรฐานสินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปที่เกษตรกรเข้าถึงได้
- การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์มและกิจกรรมหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มมูลค่าผลผลิตของเกษตรกร
- การยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร
หมุดมายที่ 2 ไทยเป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน
เป้าหมาย          - การเปลี่ยนการท่องเที่ยวไทยเป็นการท่องเที่ยวคุณภาพสูงที่เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพอื่น ๆ
- การปรับโครงสร้างการท่องเที่ยวให้พึ่งพานักท่องเที่ยวในประเทศและมีการกระจายโอกาสทางเศรษฐกิจมากขึ้น
- การท่องเที่ยวไทยต้องมีการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนในทุกมิติ
ตัวอย่าง
ตัวชี้วัด
และค่าเป้าหมาย          - นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติมีค่าใช้จ่ายต่อวันเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี
- รายได้จากการท่องเที่ยวของเมืองท่องเที่ยวรองเฉลี่ยทุกเมือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี (ค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของเมืองรองทั้งหมด)
- ผู้ประกอบการและแหล่งท่องเที่ยวได้รับมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ต่อปี
ตัวอย่าง
กลยุทธ์          - การส่งเสริมการพัฒนากิจกรรม สินค้า และบริการ การท่องเที่ยวมูลค่าเพิ่มสูง
- การยกระดับบริการและการบริหารจัดการการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของตลาดสากล
- การปรับปรุงกฎหมาย/กฎระเบียบ และขั้นตอนที่ล้าสมัยและเป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจและการขอใบอนุญาตของผู้ประกอบการรายย่อย
หมุดหมายที่ 3 ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญของโลก
เป้าหมาย          - การสร้างอุปสงค์ของรถยนต์ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ เพื่อการใช้ในประเทศและส่งออก
- ผู้ประกอบการเดิมสามารถปรับตัวไปสู่การผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและมีการลงทุนเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าที่สำคัญภายในประเทศ
- การสร้างความพร้อมของปัจจัยสนับสนุนอย่างเป็นระบบ
ตัวอย่าง
ตัวชี้วัด
และค่าเป้าหมาย          - ปริมาณการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (ยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์) จำนวน 380,250 คัน คิดเป็นร้อยละ 17 ของยานยนต์ทั้งหมด ภายในปี 2570
- อุตสาหกรรมยานยนต์ไทยเป็นฐานการผลิตอันดับ 1 ในอาเซียน และ 1 ใน 10 ของโลก
- จำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้าสาธารณะ/หัวจ่ายชาร์จเร็ว เพิ่มขึ้น 5,000 หัวจ่าย ภายในปี 2570
ตัวอย่าง
กลยุทธ์          - การส่งเสริมให้ผู้ใช้ในภาคส่วนต่าง ๆ ของประเทศปรับเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น
- การกำหนดเป้าหมาย/แผน และดำเนินการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมยานยนต์เดิมไปสู่ยานยนต์ไฟฟ้า อย่างเป็นระบบชัดเจนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ในระยะ 5 ปี
- การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไร้คนขับ
- การปรับปรุงและจัดทำกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้เอื้อกับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและให้ความสำคัญกับการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน
หมุดหมายที่ 4 ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์และสุขภาพมูลค่าสูง
เป้าหมาย          - ไทยมีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจจากสินค้าและบริการสุขภาพ
- องค์ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุขมีศักยภาพเอื้อต่อการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการทางสุขภาพ
- ประชาชนไทยได้รับความเป็นธรรมในการเข้าถึงบริการสุขภาพ
- การเปลี่ยนผ่านการผลิตและบริโภคไปสู่ความยั่งยืน
ตัวอย่าง
ตัวชี้วัด
และค่าเป้าหมาย          - สัดส่วนมูลค่าเพิ่มสินค้าและบริการสุขภาพต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอยู่ที่ร้อยละ 1.7
- มูลค่าการนำเข้าครุภัณฑ์ทางการแพทย์ลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 (20,000 ล้านบาท) เมื่อสิ้นสุดแผน
- สัดส่วนค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของครัวเรือนต่อค่าใช้จ่ายสุขภาพทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 12
ตัวอย่าง
กลยุทธ์          - การส่งเสริมบริการทางการแพทย์ที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
- การผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพระดับโลก
- การสร้างมูลค่าเพิ่มให้อุตสาหกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ
- การสร้างเสริมขีดความสามารถทางวิชาการด้านการศึกษา วิจัย และเทคโนโลยีทางการแพทย์
- การยกระดับศักยภาพระบบบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขเพื่อลดผลกระทบต่อบริการทางเศรษฐกิจและสุขภาพ
หมุดหมายที่ 5 ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนและยุทธศาสตร์ทางโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาค
เป้าหมาย          - ไทยเป็นประตูการค้าการลงทุนในภูมิภาค
- ไทยเป็นห่วงโซ่อุปทานของภูมิภาค
- ไทยเป็นประตูและทางเชื่อมโครงข่ายคมนาคมและโลจิสติกส์ของภูมิภาค
ตัวอย่าง
ตัวชี้วัด
และค่าเป้าหมาย          - อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ (โดยสถาบันนานาชาติเพื่อการพัฒนาการบริหารจัดการ) มีอันดับดีขึ้น
- มูลค่าการลงทุนรวมในประเทศขยายตัวเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 6 ต่อปี หรือสัดส่วนการลงทุนรวมต่อผลผลิตมวลรวมในประเทศเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 27 ต่อปี
- สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศน้อยกว่าร้อยละ 11
ตัวอย่าง
กลยุทธ์          - การสร้างจุดยืนของไทยภายใต้บริบทโลกใหม่
- การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและปัจจัยสนับสนุนเพื่อเป็นประตูการค้าการลงทุนและฐานเศรษฐกิจสำคัญของภูมิภาค
- ผลักดันการลงทุนเพื่อปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเป้าหมายสู่ไทยแลนด์ 4.0
หมุดหมายที่ 6 ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะและอุตสาหกรรมดิจิทัลของอาเซียน
เป้าหมาย          - เศรษฐกิจดิจิทัลภายในประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
- การส่งออกของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของประเทศเพิ่มขึ้น
- อุตสาหกรรมดิจิทัลและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะของประเทศมีความเข้มแข็งขึ้น
ตัวอย่างตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย           - สัดส่วนมูลค่าเพิ่มของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ภายในปี 2570
- มีบุคลากรที่มีทักษะด้าน ?ผู้บูรณาการระบบอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ? เพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ จำนวน 400,000 ราย ภายในปี 2570
- จำนวนสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 6,000 แห่ง ภายในปี 2570 โดย 1 ใน 3 เป็นผู้ประกอบการที่ย้ายมาจากต่างประเทศ
ตัวอย่างกลยุทธ์          - การขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจไทยด้วยดิจิทัล
- การพัฒนาต่อยอดฐานอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
- การพัฒนาระบบนิเวศเพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะอุตสาหกรรมและบริการดิจิทัล
หมุดหมายที่ 7 ไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้
เป้าหมาย          - วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตและแข่งขันได้
- วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีศักยภาพสูงในการดำเนินธุรกิจ สามารถยกระดับและปรับตัวเข้าสู่การแข่งขันใหม่
- วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมสามารถเข้าถึงและได้รับการส่งเสริมอย่างมีประสิทธิผลจากภาครัฐ
ตัวอย่างตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย          - สัดส่วนผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 40
- ส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 ในปี 2570
ตัวอย่างกลยุทธ์          - การพัฒนาระบบนิเวศให้เอื้ออำนวยต่อการทำธุรกิจและการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- การส่งเสริมการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เป็นผู้ประกอบการในยุคดิจิทัล
- การพัฒนาระบบนิเวศให้เอื้อต่อการสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพ และผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม รวมทั้งให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม และเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายระดับโลก และยกระดับสู่ตลาดต่างประเทศ
- การส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคมให้มีศักยภาพการดำเนินการในเชิงธุรกิจ
หมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน
เป้าหมาย          - การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคและการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษขยายตัวเพิ่มขึ้น
- ความไม่เสมอภาคในการกระจายรายได้ของภาคลดลง
- การพัฒนาเมืองให้มีความน่าอยู่ อย่างยั่งยืน มีความพร้อมในการรับมือและปรับตัวต่อ
การเปลี่ยนแปลงทุกรูปแบบ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างทั่วถึง
ตัวอย่างตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย          - มูลค่าการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มขึ้นตามเป้าหมายในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 ประเด็น 9 เขตเศรษฐกิจพิเศษโดยเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกมีมูลค่าการลงทุน 500,000 ล้านบาท พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้มีมูลค่าการลงทุน 100,000 ล้านบาท และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนมีมูลค่า 10,000 ล้านบาท
- เมืองอัจฉริยะมีจำนวนรวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 105 พื้นที่ ภายในปี 2570
ตัวอย่างกลยุทธ์          - การสร้างความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานราก
การส่งเสริมกลไกความร่วมมือภาครัฐ เอกชน ประชาชน และประชาสังคมเพื่อการพัฒนาพื้นที่และเมือง
- การสร้างความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน โลจิสติกส์ และดิจิทัลรองรับพื้นที่เศรษฐกิจหลักและเมือง
หมุดหมายที่ 9 ไทยมีความยากจนข้ามรุ่นลดลง และคนไทยทุกคนมีความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอ เหมาะสม
เป้าหมาย          - ครัวเรือนที่มีแนวโน้มกลายเป็นครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น มีโอกาสในการเลื่อนสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม จนสามารถหลุดพ้นจากความยากจนได้อย่างยั่งยืน
- คนไทยทุกช่วงวัยได้รับความคุ้มครองทางสังคมที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต
ตัวอย่างตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย          - อัตราการเข้าเรียนสุทธิแบบปรับของเด็กจากครัวเรือนยากจนข้ามรุ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 และระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
- แรงงานที่อยู่ในระบบประกันสังคมมีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของกำลังแรงงานรวม
- สัดส่วนของผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่เข้าถึงบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพิ่มขึ้นเป็นไม่ต่ำว่าร้อยละ 70
ตัวอย่างกลยุทธ์          - การแก้ปัญหาความยากจนข้ามรุ่นแบบมุ่งเป้าให้ครัวเรือนหลุดพ้นความยากจนอย่างยั่งยืน
- การสร้างโอกาสที่เสมอภาคแก่เด็กจากครัวเรือนยากจนข้ามรุ่น
- การยกระดับความคุ้มครองทางสังคมสำหรับคนทุกช่วงวัย
- การพัฒนาระบบความคุ้มครองทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ
หมุดหมายที่ 10 ไทยมีเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
เป้าหมาย          - การเพิ่มมูลค่าจากเศรษฐกิจหมุนเวียน และการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
- การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
- การสร้างสังคมคาร์บอนต่ำและยั่งยืน
ตัวอย่างตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย          - มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียนเพิ่มขึ้น สามารถสนับสนุน
การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ในปี 2570
- พื้นที่ป่าไม้เพิ่มขึ้นโดยเป็นป่าไม้ธรรมชาติ ร้อยละ 33 และพื้นที่ป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ร้อยละ 12 ของพื้นที่ประเทศภายในปี 2570
- สัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทนต่อปริมาณการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายเพิ่มขึ้น มีสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 24 ภายในปี 2570
ตัวอย่างกลยุทธ์          - การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคมคาร์บอนต่ำ
- การสร้างรายได้สุทธิให้ชุมชน ท้องถิ่นและเกษตรกรจากเศรษฐกิจหมุนเวียนและสังคม
คาร์บอนต่ำ
- การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาดบนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หมุดหมายที่ 11 ไทยสามารถลดความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เป้าหมาย          - ความเสียหายและผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลดลง
- ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลดลง
- สังคมไทยมีภูมิคุ้มกันจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ตัวอย่างตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย          - จำนวนประชาชนที่เสียชีวิต สูญหาย และได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยธรรมชาติลดลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 ในแต่ละภัย
- มีแผนที่แสดงพื้นที่เสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับพื้นที่
- มีกองทุนเพื่อสนับสนุนการป้องกันและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการศึกษาวิจัยและเป็นแหล่งเงินรับประกันภัยต่อ
ตัวอย่างกลยุทธ์          - การป้องกันและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ในพื้นที่สำคัญ (พื้นที่ชุมชนเมืองและสิ่งปลูกสร้าง พื้นที่ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจและประวัติศาสตร์)
- การใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
หมุดหมายที่ 12 ไทยมีกำลังคนสมรรถนะสูงมุ่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ตอบโจทย์การพัฒนาแห่งอนาคต
เป้าหมาย          - คนไทยได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพในทุกช่วงวัย มีสมรรถะที่จำเป็นสำหรับโลกยุคใหม่มีคุณลักษณะตามบรรทัดฐานที่ดีของสังคม มีคุณธรรม จริยธรรม และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกโฉมฉับพลันของโลก สามารถดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมได้อย่างสงบสุข
- กำลังคนมีสมรรถนะสูง สอดคล้องกับความต้องการของภาคการผลิตเป้าหมายและสามารถสร้างงานอนาคต
- ประชาชนทุกกลุ่มเข้าถึงการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ตัวอย่างตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย          - ดัชนีพัฒนาการเด็กสมวัยเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 88 ณ เมื่อสิ้นสุดแผน
- จำนวนผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาความยากจนหลายมิติลดลงร้อยละ 20 ของจำนวนผู้สูงอายุที่ยากจนต่อปี
- การจัดอันดับในด้านบุคลากรผู้มีความสามารถ สถาบันการศึกษาด้านการบริหารธุรกิจมีคะแนนเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี
ตัวอย่างกลยุทธ์          - คนไทยทุกช่วงวัยได้รับการพัฒนาในทุกมิติ
- การพัฒนากำลังคนสมรรถนะสูง
หมุดหมายที่ 13 ไทยมีภาครัฐที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และตอบโจทย์ประชาชน
เป้าหมาย          - การบริการภาครัฐ มีคุณภาพ เข้าถึงได้ (สะดวก ประหยัด ตอบโจทย์ประชาชน)
- ภาครัฐที่มีขีดสมรรถนะสูง คล่องตัว (เปิดกว้าง ทันสมัย โปร่งใส)
ตัวอย่างตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย          - ความพึงพอใจในคุณภาพการให้บริการของภาครัฐ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
- ผลการสำรวจรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ในองค์ประกอบ ดัชนีรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีการมีส่วนร่วมทางอิเล็กทรอนิกส์ ดัชนีทุนมนุษย์ และดัชนีการให้บริการภาครัฐออนไลน์ ไม่ต่ำกว่าอันดับที่ 40 ของโลก และมีคะแนนไม่ต่ำกว่า 0.82
ตัวอย่างกลยุทธ์          - พัฒนาคุณภาพการให้บริการภาครัฐที่ตอบโจทย์ สะดวก และประหยัด
- ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการและโครงสร้างของภาครัฐให้ยืดหยุ่น เชื่อมโยง เปิดกว้าง และมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ
- สร้างระบบบริหารภาครัฐที่ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนและพัฒนาบุคลากร ให้มีทักษะที่จำเป็นในการให้บริการภาครัฐดิจิทัล และปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ มาตรการภาครัฐให้เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ
1 ความก้าวหน้าของคน ประกอบด้วยตัวชี้วัด 8 ด้าน ได้แก่ สุขภาพ การศึกษา ชีวิตการงาน รายได้ ที่อยู่อาศัยและสภาพแวดล้อมชีวิตครอบครัวและชุมชน การคมนาคมและการสื่อสาร และการมีส่วนร่วม ทั้งนี้ ในปี 2563 ความก้าวหน้าของคนอยู่ในระดับปานกลาง (0.6501)
2 ตัวชี้วัดย่อยสำหรับดัชนีรวมสะท้อนความสามารถในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 4 ตัวชี้วัด ได้แก่ (1) ขีดความสามารถของการปฏิบัติตามกฎอนามัยระหว่างประเทศและการเตรียมความพร้อมฉุกเฉินด้านสุขภาพ (2) อันดับความเสี่ยงด้านภูมิอากาศ (3) อันดับความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล และ (4) อันดับประสิทธิภาพของรัฐบาล (สศช. อยู่ระหว่างการพัฒนาตัวชี้วัดดังกล่าวเพื่อใช้ในการติดตามความก้าวหน้าของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13)

17. เรื่อง รายงานประจำปีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เสนอรายงานประจำปีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 มาตรา 16 (6) ที่บัญญัติให้สำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพยช. มีอำนาจหน้าที่จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กพยช. เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี] ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
เรื่อง          ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) ภาพรวมสถานการณ์กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2563          1.1) สถิติจำนวนคดีที่รับแจ้งความ 2,054,098 คดี และจำนวนผู้ต้องหาที่จับกุมได้ ในปี 2562-2563 จำนวน 1,386,529 คน
1.2) สถิติจำนวนคดีอาญาที่เข้าสู่การพิจารณา 1,788,836 คดี และคดีเสร็จไปของศาลชั้นต้นทั่วราชอาณาจักร 1,673,379 คดี
1.3) สถิติจำนวนผู้อยู่ในการควบคุมของกรมราชทัณฑ์ทั่วประเทศ แบ่งเป็น นักโทษเด็ดขาด 896,580 คน ผู้ต้องขังระหว่าง (อุทธรณ์-ฎีกาไต่สวน-พิจารณา และสอบสวน) 177,598 คน และกระทำผิดซ้ำหลังจากได้รับการปล่อยตัวใน   ปีแรก 88,399 คน
1.4) สถิติคดีรับเข้าของศาลปกครองชั้นต้น 24,195 คดี และคดีแล้วเสร็จ 21,648 คดี
2) ผลการดำเนินงาน      ของ กพยช. และคณะอนุกรรมการภายใต้ กพยช. 8 คณะ          เรื่อง          ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
2.1 ผลการดำเนินงานของ กพยช.          2.1.1 การจัดทำร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การกำหนดมาตรการแทนการจำคุก) อยู่ระหว่างทบทวนสาระสำคัญของร่าง             พ.ร.บ.ฯ โดยเฉพาะประเด็นการพิจารณามาตรการแทนการจำคุกต่อผู้กระทำผิดอาญาที่มีอยู่เดิมตามกฎหมายมาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
2.1.2 การพัฒนาการเรียนการสอนหลัก      สูตรอบรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.
2562 ด้วยวิธีการสอนแบบออนไลน์ โดยเพิ่มเติม
รูปแบบการเรียนการสอน 2 รูปแบบ ได้แก่
1) การเรียนการสอนแบบออนไลน์เต็มรูปแบบ และ 2) การเรียนการสอนแบบผสมผสานทั้งการสอนออนไลน์และในห้องเรียน
2.1.3 การอำนวยความยุติธรรมด้วยมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา โดยมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาร่างกฎหมายมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา กรณีมาตรการชะลอการฟ้อง โดยเพิ่มเติมองค์ประกอบคณะอนุกรรมการฯ 2 คน ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมาตรการแทนการฟ้องคดีอาญา พ.ศ. ....

2.2 ผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการภายใต้ กพยช. (8 คณะ)          เช่น 1) กำหนดแนวทางการกำหนดสถานที่อื่นที่ใช้ในการขังจำคุก หรือควบคุมผู้ต้องหา จำเลย หรือผู้ต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด 2) เตรียมความพร้อมในการบังคับใช้ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. .... 3) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม พ.ศ. .... 4) กำหนดแนวทางการดำเนินการเผยแพร่กฎหมายเพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ 5) กำหนดแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพด้านผู้บังคับใช้กฎหมาย 6) จัดทำเนื้อหาในหัวข้อวิชาที่เป็นองค์ความรู้ด้านกระบวนการยุติธรรม และ 7) กำหนดข้อเสนอการปรับปรุงรายละเอียดตัวชี้วัดประสิทธิภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
2.3 ผลการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ของ กพยช. ตามมาตรา 10แห่งพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารฯ          2.3.1 จัดทำแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติและแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศกระบวนการยุติธรรม
2.3.2 เสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารงานยุติธรรม เช่น แนวทางการกำหนดสถานที่อื่นที่ใช้ในการขัง จำคุก หรือควบคุมผู้ต้องหา จำเลยหรือผู้ต้องจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด และเตรียมความพร้อมในการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
2.3.3 ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลการบังคับการให้เป็นไปตามกฎหมายหรือการปฏิบัติตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เช่น การขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562-2565) และโครงการทบทวนและประเมินผลเครื่องมือการประเมินผลการบังคับใช้กฎหมาย
2.3.4 ศึกษา วิเคราะห์ และวิจัย เพื่อกำหนดแนวทาง กลยุทธ์ และมาตรการในการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารงานยุติธรรม เช่น การจัดทำร่างพระราชบัญญัติประวัติอาชญากรรม พ.ศ. .... และการจัดทำร่างกฎหมายเพื่อป้องกันอันตรายจากผู้กระทำผิดหรือผู้พ้นโทษที่มีลักษณะเป็นภัยต่อสังคม

3) การขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับ    ที่ 3 (พ.ศ. 2562-2565)          แบ่งเป็น 2 ประเด็น ประกอบด้วย 1) รายงานข้อมูลสถานการณ์ตามตัวชี้วัดแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562-2565) เช่น ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ย 3.35 และความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนน้อยลง ร้อยละ 25.60 และ 2) รายงานผลการดำเนินการโครงการสำคัญ ภายใต้แผนแม่บทฯ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีการดำเนินโครงการทั้งสิ้น 184 โครงการ และใช้งบประมาณทั้งสิ้น 7,388.30 ล้านบาท
4) ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ (สกธ.) เพื่อสนับสนุนภารกิจ ของ กพยช.
          4.1) พัฒนาข้อมูลและสถิติที่สำคัญต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม โดยการจัดทำรายงานสถานการณ์อาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมประจำปี พ.ศ. 2563
4.2) จัดทำวารสารกระบวนการยุติธรรม เป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรม ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วารสารฯ ได้ผ่านการรับรองคุณภาพวาสารวิชาการของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จัดให้เป็นวารสารกลุ่มที่ 1 ในฐานข้อมูล TCI
4.3) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรม ตามแนวทางการเผยแพร่กฎหมาย เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ ในรูปแบบออนไลน์ ประกอบด้วย การจัดอบรมสื่อ ให้ความรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ?เกมจับคนผิด Justice Game? สื่อเสียง ?กฎหมายง่ายจัง แค่ฟังก็เข้าใจ? เพื่อเสริมสร้างการรับรู้กฎหมายให้ประชาชนในพื้นที่ และในรูปแบบออฟไลน์ โดยจัดทำหนังสือและคู่มือกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สำหรับเด็กและเยาวชน และประชาชน
4.4) ขับเคลื่อนงานด้านกระบวนการยุติธรรมในมิติเชิงพื้นที่ ผ่านกรอบแนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพโดยจัดทำแนวทางในการป้องกันอาชญากรรมและจัดทำเครื่องมือที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน การจัดทำโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมสำหรับเด็กและเยาวชนในโรงเรียนไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม
4.5) พัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ประกอบด้วย การฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับสูง (รุ่นที่ 12) การฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง (รุ่นที่ 16) การฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันอาชญากรรมกับการอำนวยความยุติธรรมในสังคม (Crime Prevention) รุ่นที่ 4 และการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในกระบวนการยุติธรรม รุ่นที่ 5

18. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 2.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากความต้องการซื้อในประเทศและต่างประเทศที่ทยอยฟื้นตัวในหลายสินค้า
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
                    1. การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 15.88 จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด หลังประชาชนได้รับวัคซีนครอบคลุม ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมเศรษฐกิจต่าง ๆ ใกล้ระดับปกติมากขึ้น รวมถึงการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้การบริโภคน้ำมันสูงกว่าปีก่อน
                    2. การผลิตเบียร์ ขยายตัวร้อยละ 40.94 จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาด จนกลับมาใช้ชีวิตได้เกือบเป็นปกติ ทำให้การบริโภคค่อย ๆ ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงตัวแทนจำหน่ายเร่งสำรองสินค้าไว้จำหน่ายในช่วงสงกรานต์ ก่อนจะปรับราคาเบียร์สูงขึ้นตามราคาต้นทุนวัตถุดิบ
                    3. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 6.18 ตามความต้องการสินค้าในตลาดโลกที่ขยายตัวต่อเนื่อง
                    4. รถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 2.22 ขยายตัว หลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดและกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจใกล้เคียงกับระดับปกติ มีการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศผ่านโครงการต่าง ๆ ของรัฐ และสินค้าเกษตรหลายรายการให้ผลผลิตดีและมีราคาสูง
                    5. เสื้อผ้าสำเร็จรูป ขยายตัวร้อยละ 23.26 จากการขยายตัวของตลาดในประเทศและตลาดส่งออก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าทั้งเอเชีย ยุโรป และอเมริกา โดยเป็นสินค้าชุดกีฬา เสื้อยืด และชุดชั้นใน เป็นต้น
19. เรื่อง โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบการดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี (โครงการฯ) ปีการผลิต 2565ตามสาระสำคัญที่คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) มีมติให้ความเห็นชอบการดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2565 ซึ่งมีพื้นที่เป้าหมายรวม Tier 1 และ Tier 2 จำนวน 29 ล้านไร่ ภายใต้วงเงินงบประมาณจำนวน 1,925,065,000 บาท
                    2. เห็นชอบให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ทดรองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาล และเบิกเงินชดเชยจากรัฐบาลตามจำนวนที่จ่ายจริงรวมกับต้นทุนเงิน ในอัตราต้นทุนทางการเงินของ ธ.ก.ส. ประจำไตรมาสบวก 1 ต่อปี (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 1.98) ในปีงบประมาณถัดไป โดยให้มีการปรับเปลี่ยนอัตราต้นทุนทางการเงินตามอัตราที่แท้จริงทุกไตรมาส ซึ่งคิดเป็นจำนวนเงินรวม 1,963,181,287 บาท
                    3. มอบหมายให้ ธ.ก.ส. ดำเนินการ ดังนี้
                              3.1 ขายกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2565 ให้ได้ตามเป้าหมายและตามกำหนดเวลาการเอาประกันภัยของเกษตรกรทั้งในส่วน Tier 1 และ Tier 2
                              3.2 บริหารจัดการความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ให้สอดคล้องกับหลักการประกันภัย
                              3.3 ร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยไทย (สมาคมฯ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชาสัมพันโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้ความรู้ด้านการประกันภัยให้แก่เกษตรกรและบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างความตระหนักรู้ในความสำคัญของการประกันภัย
                    4. มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสานงานกับ ธ.ก.ส. และสมาคมฯ ดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลเอกสารทะเบียนเกษตรกร แบบประมวลรวบรวมความเสียหาย และการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัย (แบบ กษ 02) แบบรายงานข้อมูลความเสียหายจริงของเกษตรกร (แบบ กษ 02 เพื่อการประกันภัย) และข้อมูลผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัลที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร ตลอดจนดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบฐานข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ เพื่อรองรับการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น พร้อมทั้งเก็บข้อมูลพื้นที่ประสบภัย ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 (ระเบียบกระทรวงการคลังฯ) และรายงานข้อมูลดังกล่าวให้ สศค. เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
                    5. มอบหมายให้สมาคมฯ พิจารณากำหนดรูปแบบการประเมินความเสียหายแก่เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายแต่มิได้อยู่ในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ร่วมกับ ธ.ก.ส. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาต่อไป ทั้งนี้ ให้พิจารณานำวิธีการประเมินความเสียหายในรูปแบบเชิงวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยีมาใช้ร่วมด้วย
                    6. มอบหมายให้สำนักงาน คปภ. ปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีให้เป็นไปตามรูปแบบและหลักเกณฑ์ของการรับประกันภัยของโครงการฯ ปีการผลิต 2565 รวมทั้งอนุมัติกรมธรรม์และอัตราเบี้ยประกันภัยให้แล้วเสร็จและสามารถเริ่มรับประกันภัยในปีการผลิต 2565 ได้ทันทีภายหลังคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ รวมทั้งดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจและประชาสัมพันธ์โครงการฯ ปีการผลิต 2565 และในปีการผลิตต่อ ๆ ไป ในภาพรวมแบบเชิงรุกอย่างต่อเนื่องร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    หลักการและรายละเอียดการดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2565 ตามที่ นบข. ได้มีมติเห็นชอบแล้วในการประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 27 เมษายน 2565 ดังนี้
หัวข้อ          โครงการฯ ปีการผลิต 2565
อัตราเบี้ยประกันภัยพื้นฐาน (Tier 1) (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่ม) และพื้นที่เป้าหมาย          ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. 99 บาท/ไร่                    (พื้นที่เป้าหมาย 28 ล้านไร่)
          เกษตรกรทั่วไป/ลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. ซื้อเพิ่ม        (พื้นที่เป้าหมาย 5 แสนไร่)
          พื้นที่ความเสี่ยงต่ำ 99 บาท/ไร่
          พื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง 199 บาท/ไร่
          พื้นที่ความเสี่ยงสูง 218 บาท/ไร่
อัตราเบี้ยประกันภัยโดยสมัครใจ (Tier 2) (ไม่รวมอากรแสตมป์และภาษี มูลค่าเพิ่ม) และพื้นที่เป้าหมาย          พื้นที่ความเสี่ยงต่ำ 27 บาท/ไร่

(พื้นที่เป้าหมาย 5 แสนไร่)
          พื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง 60 บาท/ไร่
          พื้นที่ความเสี่ยงสูง 110 บาท/ไร่
ความคุ้มครอง Tier 1          ภัยธรรมชาติ 1,190 บาท/ไร่
ภัยธรรมชาติ 7 ภัย ได้แก่
1) น้ำท่วมหรือฝนตกหนัก 2) ภัยแล้ง ฝนแล้งหรือฝนทิ้งช่วง 3) ลมพายุหรือพายุไต้ฝุ่น 4) ภัยอากาศหนาว หรือน้ำค้างแข็ง 5)ลูกเห็บ 6) ไฟไหม้ 7) ช้างป่า และภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด          ภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด 595 บาท/ไร่

ความคุ้มครอง Tier 2          ภัยธรรมชาติ 240 บาทไร่
          ภัยศัตรูพืชหรือโรคระบาด 120 บาท/ไร่
อุดหนุนเบี้ยประกันภัยเฉพาะ Tier 1          - ธ.ก.ส. อุดหนุนเบี้ยประกันภัยสำหรับลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. 39.6 บาท/ไร่ (ร้อยละ 40 ของเบี้ยประกันภัย) ไม่เกิน 28 ล้านไร่
- รัฐบาลอุดหนุนเบี้ยประกันภัย ดังนี้
- สำหรับลูกค้าสินเชื่อ ธ.ก.ส. 59.4 บาท/ไร่ (ร้อยละ 60 ของเบี้ยประกันภัย)รวมทั้งให้การอุดหนุนอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือคิดเป็น 67.4 บาท/ไร่
- สำหรับเกษตรกรทั่วไปทุกกลุ่ม 59.4 บาท/ไร่ (ร้อยละ 60 ของเบี้ยประกันภัยพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ) รวมทั้งให้การอุดหนุนอากรแสตมป์และภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นทั้งหมด หรือคิดเป็น 67.4 บาท/ไร่ (พื้นที่ความเสี่ยงต่ำ) 74.40 บาท/ไร่ (พื้นที่ความเสี่ยงปานกลาง) และ 75.73 บาท/ไร่ (พื้นที่ความเสี่ยงสูง)
การพิจารณาค่าสินไหมทดแทน          การประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ
ระยะเวลาจำหน่าย          กำหนดวันเริ่มจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบโครงการฯ และกำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ แตกต่างกัน
ตามภูมิภาค ดังนี้
1) ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มที่ 1) จำนวน 42 จังหวัด กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2565
2) ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (กลุ่มที่ 2) จำนวน 16 จังหวัด
กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ไม่เกินวันที่ 31 พฤษภาคม 2565
3) ภาคตะวันตก จำนวน 5 จังหวัด กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ไม่เกิน
วันที่ 30 มิถุนายน 2565
4) ภาคใต้ จำนวน 14 จังหวัด กำหนดวันสิ้นสุดการขายกรมธรรม์ไม่เกินวันที่
31 ธันวาคม 2565
ทั้งนี้ เกษตรกรสามารถซื้อกรมธรรม์ประกันภัยได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา
งบประมาณและแหล่งที่ มาของงบประมาณ          งบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการฯ ปีการผลิต 2565 สำหรับอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัย Tier 1 พื้นที่ 28.5 ล้านไร่ จำนวนทั้งสิ้น 1,925,065,000 บาท(หนึ่งพันเก้าร้อยยี่สิบห้าล้านหกหมื่นห้าพันบาทถ้วน) โดยให้ ธ.ก.ส. ทดรองจ่ายเงินอุดหนุนค่าเบี้ยประกันภัยแทนรัฐบาลและเบิกเงินชดเชยจากรัฐบาลตามจำนวนที่จ่ายจริงรวมกับต้นทุนเงินในอัตราต้นทุนทางการเงินของ ธ.ก.ส.ประจำไตรมาสบวก 1 ต่อปี (ปัจจุบันเท่ากับร้อยละ 1.98) ในปีงบประมาณถัดไป โดยให้มีการปรับเปลี่ยนอัตราต้นทุนทางการเงินตามอัตราที่แท้จริงทุกไตรมาส


ต่างประเทศ

20. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย - ลาว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดทำและเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาล                           แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย - ลาว (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) รวมทั้งอนุมัติให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้แก่อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    การจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย - ลาว เป็นโครงการสำคัญตามกรอบการดำเนินงานความร่วมมือไทย - ลาว พ.ศ. 2561 - 2564 (Framework for Thai - Lao Cooperation 2018 - 2021) ที่ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เห็นชอบร่วมกันเมื่อปี 2560 มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีที่มีต่อกัน เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่มีค่าหายากและใกล้สูญพันธุ์ เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจทางธรรมชาติแบบยั่งยืนของ สปป.ลาว และเพื่อสร้างความร่วมมือของนักพฤกษศาสตร์ในการศึกษาด้านพันธุ์ไม้ของสองประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (4 ธันวาคม 2561) เห็นชอบบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวว่าด้วยโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย - ลาว (บันทึกความเข้าใจฯ) เพื่อการดำเนินการจัดทำโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย - ลาว ใน สปป.ลาว ในเขตโรงเรียนมัธยมสมบูนนาซอน บ้านนาซอน เมืองปากงึม นครหลวงเวียงจันทน์ โดยได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2561 และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) ได้ดำเนินการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไว้สำหรับดำเนินกิจกรรมโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย - ลาว จำนวน 10.95 ล้านบาท แต่ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างและเบิกจ่ายงบประมาณให้แล้วเสร็จได้ทันตามกำหนดเวลา เนื่องจากความล่าช้าในการอนุญาตการเข้าไปปฏิบัติงานใน สปป. ลาว จึงทำให้งบประมาณสำหรับการก่อสร้างตกพับไป รวมทั้งบันทึกความเข้าใจฯ ได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564 แต่โดยที่ทั้งสองฝ่ายยังมีความประสงค์จะดำเนินโครงการจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย - ลาว ต่อไป ดังนั้น ทส. จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับใหม่ โดยยังคงมีหลักการและเนื้อหาเหมือนฉบับเดิม และได้มีการปรับขยายระยะเวลาดำเนินโครงการออกไปถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ทั้งนี้ ทส. (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) ได้ขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ไว้สำหรับดำเนินโครงการแล้ว จำนวน 10.95 ล้านบาท ส่วนที่เหลือจำนวน 4.29 ล้านบาท (จากจำนวนงบประมาณโครงการรวม 15.24 ล้านบาท) เป็นงบประมาณในส่วนของการฝึกอบรมผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งจะมีการขอตั้งงบประมาณเพิ่มเติมเมื่อจัดสร้างสวนรุกขชาติไทย - ลาว เสร็จเรียบร้อยแล้วต่อไป

21. ผลการประชุมระดับระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 17
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอรายงานผลการประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue: ACD) ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2564 ภายใต้หัวข้อ ?สภาพปกติใหม่และการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยและแข็งแรง? ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยสาธารณรัฐตุรกี (ตุรกี) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (19 มกราคม 2564) เห็นชอบร่างเอกสารที่จะรับรองโดยที่ประชุม ACD จำนวน 3 ฉบับ* ตามที่ กต. เสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย] ซึ่งประเทศไทยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม ผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
          1. ที่ประชุมฯ ได้รับรองปฏิญญาอังการา ซึ่งมีสาระสำคัญไม่ต่างจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ          แต่มีการเพิ่มเติมข้อความในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
          1.1 การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก ACD เพื่อรับมือกับผลกระทบของโรคระบาดต่อเศรษฐกิจและชุมชน และการอำนวยความสะดวกในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการเติบโตที่ยั่งยืน สมดุล และครอบคลุม
                    1.2 การเน้นย้ำความมุ่งมั่นต่อวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 รวมทั้งเน้นย้ำความสำคัญของการขับเคลื่อนวิสัยทัศน์ ACD 2030 เพื่อสร้างสังคมที่เข้มแข็งและมีพลวัตในภูมิภาค
                    1.3 การเน้นย้ำความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกต่อการสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ในสถานการณ์โรคระบาด
                    1.4 การแสดงความยินดีที่ตุรกียอมรับการขยายวาระการเป็นประธาน ACD จนถึงเดือนกันยายน 2564
                    1.5 การสนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกใช้มาตรการเฝ้าระวังทุกประเภทเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยว รวมถึงการแสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิก เพื่อพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติเมื่อสถานการณ์โรคโควิด-19 ดีขึ้น
                    1.6 การส่งเสริมความร่วมมือและการสนับสนุนประเทศสมาชิกเพื่อบูรณาการยุทธศาสตร์                      การส่งเสริมการท่องเที่ยวระดับชาติ และยกระดับความร่วมมือสำหรับการตรวจ ติดตาม คัดกรอง และรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19
                    1.7 การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อบรรเทาและปรับตัวต่อผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติ
                    1.8 การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและการกระจายวัคซีน ยา และอุปกรณ์การแพทย์              อย่างเป็นธรรม และสามารถเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสม
                    1.9 ACD จะไม่ดำเนินมาตรการเศรษฐกิจ การเงิน และการค้าฝ่ายเดียวที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติ
                    2. ถ้อยแถลงของหัวหน้าคณะผู้แทนไทย โดยได้เน้นย้ำความสำคัญของ ACD ในฐานะเวทีหารือและความร่วมมือที่ช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์ในภูมิภาคเอเชีย และผลักดันความร่วมมือด้านการส่งเสริมความมั่นคงด้านสุขภาพเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนตามแนวคิดสังคม 3H คือ ประซาซนมีสุขภาพดี (Healthy) สังคมมีคุณภาพและมาตรฐานสูง (High Standard) และมีสุขอนามัยและสะอาด (Hygienic) โดยส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว ควบคู่กับการปรับใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
* ร่างเอกสารลัพธ์ผลลัพธ์ 3 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างปฏิญญาอังการา ซึ่งมีเจตนารมณ์ในการขับเคลื่อนความร่วมมือในทวีปเอเชีย เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างครอบคลุมและยั่งยืน การเสริมสร้างความมั่นคงของมนุษย์ และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 (2) ร่างแผนงาน ACD ค.ศ. 2021-2030 และ (3) ร่างหลักการจัดตั้งสำนักเลขาธิการถาวรของ ACD ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ (12 เมษายน 2565) รับทราบผลการประชุม ACD ที่ได้ลงนามเอกสาร (2) และ (3) ตามที่ กต. เสนอ

22. เรื่อง แผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2022 ? 2024)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2022 ? 2024) ฉบับภาษาไทยและภาษาฝรั่งเศส ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการยุโรปและการต่างประเทศ (นายฌอง-อีฟว์ เลอ ดริยอง) ได้ลงนามร่วมกันในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเกี่ยวกับความร่วมมือในอินโด-แปซิฟิก (Ministerial Forum for Cooperation in the Indo-Pacific) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (30 พฤศจิกายน 2564) ที่เห็นชอบแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2021 ? 2023) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแผนการฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบไว้ ให้ กต. ดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง] ซึ่งการประชุมดังกล่าว มีการดำเนินการ สรุปได้ ดังนี้
                    1. การลงนามในแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส(ค.ศ. 2022 ? 2024) เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลให้คณะผู้แทนไทยไม่สามารถเดินทางเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของอาเซียนและกลุ่มประเทศ G7 (ASEAN-G7 Foreign Ministers? Meeting) ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 11 - 12 ธันวาคม 2564 ทั้งสองฝ่ายจึงเห็นพ้องเลื่อนการจัดพิธีลงนามแผนการฯ เป็นวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ณ กรุงปารีส ฝรั่งเศส ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเกี่ยวกับความร่วมมือในอินโด-แปซิฟิก เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสภายในปี 2567 และเห็นพ้องให้ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาของแผนการฯ จากเดิมช่วงปี ค.ศ. 2021 ? 2023 เป็นช่วงปี ค.ศ. 2022 ? 2024 เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงโดยยังคงระยะเวลาของการดำเนินแผนการ 3 ปีเช่นเดิม ซึ่งแผนการฯ ได้ระบุความร่วมมือใน 4 ส่วน ได้แก่ (1) การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคง (2) การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน (3) การเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับประชาชน และ (4) การส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นระดับโลก ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนช่วงเวลาของแผนการฯ เป็นการแก้ไขที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศ รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อแผนกิจกรรมที่ระบุในแผนการฯ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ดังกล่าว
                    2. การหารือทวิภาคีในประเด็นต่าง ๆ โดยไทยได้ขอบคุณฝรั่งเศสที่ได้บริจาควัคชีนป้องกันโรค                  โควิด-19 ยี่ห้อไฟเซอร์ (Pfizer) 400,140 โดส ซึ่งได้ขนส่งมายังไทยแล้วเมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2565 (ฝรั่งเศสบริจาควัคนไฟเซอร์ให้ไทยเพิ่มเติมอีก 2,868,480 โดสและได้ขนส่งมายังไทยแล้ว เมื่อวันที่ 24 - 26 มีนาคม 2565 และวัคซีนสำหรับเด็ก 900,000 โดส ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินการ) และไทยได้ขอรับการสนับสนุนจากฝรั่งเศสในการเจรจาความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านไทย-สหภาพยุโรป รวมทั้งการรื้อฟื้นการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อสถานการณ์ในภูมิภาค                    เช่น สถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสถานการณ์ความตึงเครียดบริเวณชายแดนยูเครน-สหพันธรัฐรัสเชีย

23. เรื่อง ผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการเยือนฯ ต่อไปตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย (ดาโตะ ชรี อิซมาอิล ซาบรี ยาคบ) ได้เยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลไทย เมื่อวันที่ 24 - 26 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อแนะนำตัวในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่ ตามธรรมเนียมปฏิบัติของประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นผู้นำรัฐบาลต่างประเทศคนแรกที่เดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการนับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การเยือนครั้งนี้จึงเป็นโอกาสสำคัญในการกระชับความสัมพันธ์ระดับผู้นำของไทยกับมาเลเซีย ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และผลักดันความร่วมมือทวิภาคีที่สำคัญ โดยนายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้หารือในรูปแบบกลุ่มเล็ก แบบเต็มคณะ และระหว่างงานเลี้ยงมื้อค่ำ สรุปได้ ดังนี้
                    1. ผลการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ผลการหารือ
1. ภาพรวมความสัมพันธ์ไทย-มาเลเซีย          แสดงจตนาที่จะกระชับความร่วมมือทวิภาคีในทุกมิติ โดยเฉพาะความความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อฟื้นฟูประเทศจากผลกระทบของโรคโควิด-19 การเปิดประเทศ ความร่วมมือด้านความมั่นคงและการพัฒนาพื้นที่ชายแดน และการเสริมสร้างความเข้มแข็งของอาเซียน รวมถึงใช้กลไกทวิภาคี เช่น คณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (Joint Commission for Bilateral Cooperation: JC) และคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน (Joint Development Strategy for Border Areas: JDS) เพื่อปูทางไปสู่การประชุมประจำปีระดับนายกรัฐนตรี (Annual Consultation: AC)
2. ความร่วมมือในการเปิด
ประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19          เปิดพรมแดนทางอากาศ ทางบก และทางน้ำระหว่างกันภายใต้มาตรการ Vaccinated Travel Lane (VTL) ของมาเลเซีย และมาตรการ Test and Go ของไทย
3. ความร่วมมือ
ด้านสาธารณสุข          รับรองเอกสารการฉีดวัคซีนแบบดิจิทัลร่วมกันโดยฝ่ายมาเลเซียประสงค์ให้เชื่อมโยงแฮปพลิเคชันหมอพร้อมของไทยกับแอปพลิเคชัน MySejahtera ของมาเลเซีย ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกการเดินทางระหว่างทั้งสองประเทศ และเสนอให้ร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโรคโควิด-19 รวมทั้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะสำหรับเด็ก ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมาเลเซียแสดงความชื่นชมมาตรการของไทยในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 โดยเฉพาะโครงการ ?คนละครึ่ง?
4. ความเชื่อมโยง
พื้นที่ชายแดน
          ย้ำหลักการเปิดการเดินทางระหว่างกัน รวมทั้งการขับเคลื่อนโครงการความเชื่อมโยงชายแดน เช่น การสร้างถนนเชื่อมต่อด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่-บูกิตกายูฮิตัม และการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก 2 แห่ง ให้มีผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว รวมถึงการสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพมหานคร-กรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อเชื่อมต่อกับเส้นทางกรุงกัวลาลัมเปอร์-สาธารณรัฐสิงคโปร์
5. ความร่วมมือ
ด้านเศรษฐกิจ          การส่งเสริมการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจบริเวณชายแดนเพื่อช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจจากสถานการณ์โรคโควิด-19 โดยเน้นการขับเคลื่อนการเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันให้ได้ตามเป้าหมาย 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568
6. ความร่วมมือ
ด้านแรงงาน          การอำนวยความสะดวกให้แรงงานไทยในมาเลเซียเดินทางกลับไทยในช่วงสถานการณ์โรคโควิด-19
7. สถานการณ์ในจังหวัด
ขายแดนภาคใต้          การหารือเกี่ยวกับการพูดคุยเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยนายกรัฐมนตรีมาเลเซียยืนยันเจตนารมณ์ที่จะทำหน้าที่ผู้อำนวยความสะดวกการพูดคุยดังกล่าวและนายกรัฐมนตรีได้ยืนยันนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมสังคมพหุวัฒนธรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งสองประเทศ
8. ความร่วมมือด้านความมั่นคง
          นายกรัฐมนตรีเสนอให้กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงชายแดน โดยเฉพาะการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติ การป้องกันการกระทำที่ผิดกฎหมาย และความร่วมมือในการส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน รวมถึงความมั่นคงทางไซเบอร์
9. สถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ          ทั้งสองฝ่ายเห็นถึงความสำคัญของบทบาทของอาเซียนในการจัดการกับประเด็นในภูมิภาค และสนับสนุนการทำงานของอาเซียน รวมทั้งการปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อ* ของผู้นำอาเซียนเกี่ยวกับสถานการณ์ในสาธารณรัฐ
แห่งสหภาพเมียนมา นอกจากนี้ ได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในประเทศยูเครน โดยแสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียกับประเทศยูเครน และการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลและอพยพคนชาติออกจากประเทศยูเครน

                    ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้แถลงข่าวร่วมกันที่ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล โดยไม่มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหาของร่างแถลงข่าวร่วมฯ ในสาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565
*ฉันทามติ 5 ข้อ ได้แก่ (1) ทุกฝ่ายหยุดความรุนแรง (2) ทุกฝ่ายเจรจาอย่างสันติ (3) ให้มีทูตพิเศษเพื่อให้เกิดกระบวนการเจรจา (4) อาเซียนช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และ (5) ทูตพิเศษเข้าไปเมียนมาเพื่อพูดคุยกับทุกฝ่าย

24. เรื่อง ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (13th IMT-GT Summit)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ        สามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย [13th  IMT-GT (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle) Summit] เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 และเห็นชอบการมอบหมายภารกิจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยรับทราบผลการประชุมฯ แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป และพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานแผนงาน IMT-GT ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. รายงานว่า
                    1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงาน IMT-GT เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับความก้าวหน้า                 ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และทิศทางการดำเนินงานในอนาคตของแผนงาน IMT-GT สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                              1.1 ความก้าวหน้าของแผนงาน IMT-GT ภายใต้แผนการดำเนินงานระยะห้าปี               พ.ศ. 2560 - 2564 [Implementation Blueprint (IB) 2017-2021] ได้แก่
                                        (1) โครงการความเชื่อมโยงทางกายภาพ (Physical Connectivity
Projects: PCPs) ที่ประชุมฯ ได้รับทราบความคืบหน้าโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 14 โครงการจากทั้งหมด 47 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมประมาณ 39,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในส่วนของประเทศไทยดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 6 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง โครงการขยายท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ (การปรับปรุงระยะสั้น) โครงการปรับปรุงด่านศุลกากรปาตังเบซาร์ โครงการปรับปรุงด่านศุลกากรวังประจัน โครงการเมืองยางพารา และนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา
                                        (2) การดำเนินงาน 3 สาขาหลัก และ 4 สาขาสนับสนุน ได้แก่
สาขา          โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
3 สาขาหลัก
(1) การเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร มุ่งสู่การเป็นภาคการเกษตรที่มีความสามารถในการแข่งขันเพื่อความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืน          เช่น โครงการพัฒนาผลิตภาพการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว โครงการพัฒนาแพะสายพันธุ์แดงสุราษฎร์ และโครงการฝึกอบรมเกษตรกรรุ่นใหม่ ระยะที่ 1
(2) การท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคอย่างยั่งยืน ครอบคลุม และมีขีดความสามารถในการแข่งขัน          เช่น การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างอุทยานธรณีทะเลสาบโทบา [สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย)] อุทยานธรณีลังกาวี [ประเทศมาเลเซีย (มาเลเซีย)] และอุทยานธรณีสตูล (ไทย)
(3) ผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล สร้างฐานอุตสาหกรรมฮาลาลขั้นสูงและมีนวัตกรรม
          เช่น การศึกษาความแตกต่างด้านมาตรฐานฮาลาลระหว่างประเทศสมาชิกและโครงการฝึกอบรม
ผู้เชี่ยวชาญฮาลาล
4 สาขาสนับสนุน
(1) การค้าและการลงทุน เพื่ออำนวยความสะดวก
 การค้าและการลงทุนในอนุภูมิภาค
          เช่น การจัดทำกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ด้านศุลกากร
การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน ซึ่งมีกำหนดลงนามในปี 2565 และการศึกษาระยะเวลาตรวจปล่อยสินค้า
(2) การเชื่อมโยงด้านการขนส่งและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มุ่งเน้นการพัฒนาการเชื่อมโยงทางกายภาพและกฎระเบียบ          การดำเนินการที่ผ่านมา เช่น การเตรียมการจัดตั้งคณะทำงานสาขาเทคโนโลยีดิจิทัล และโครงการ
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีกำหนดเปิดตัวในปี 2565
(3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา และวัฒนธรรม          เช่น โครงการเครือข่ายศูนย์พัฒนาทักษะระดับอาชีวะ แผนงาน IMT-GT และโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์
และนักศึกษาประจำปี
(4) สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน          เช่น การจัดการประชุมคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 และการจัดการประชุมเมืองสีเขียว
                                        (3) ที่ประชุมฯ รับทราบการสนับสนุนของธนาคารพัฒนาเอเชียในการจัดทำรายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจและการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อนำข้อเสนอแนะ             เชิงนโยบายไปปรับใช้กับการดำเนินงานของแผนงาน IMT-GT ในอนาคต
                                        (4) การยกร่างแผนการดำเนินงานระยะห้าปี พ.ศ. 2565 ? 2569 (IB 2022-2026) ที่ประชุมฯ รับทราบการกำหนด 5 ยุทธศาสตร์สำคัญ ในการขับเคลื่อนแผนงาน IMT-GT ได้แก่ (1) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเพื่อบุรณาการอนุภูมิภาค (2) การเจริญเติบโตด้วยการขับเคลื่อนของภาคเอกชน (3) การจัดตั้งกลไกเชิงสถาบันที่มีความตื่นตัวสูง (4) การเจริญเติบโตแบบมีส่วนร่วม และ (5) เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจภาคทะเล และเศรษฐกิจหมุนเวียน นอกจากนี้ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะทำงานสาขาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเป็นคณะทำงานสาขาที่ 8 การยกระดับเครือข่ายมหาวิทยาลัย (UNIVERSITY NETWORK: UNINET) เป็นสถาบันคลังสมองของแผนงาน IMT-GT และการยกระดับสภาธุรกิจเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ มีกำหนดรับรอง และประกาศใช้ IB 2022-2026 อย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี 2565
                              1.2 ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้นำและผู้เข้าร่วมประชุมอื่น ๆ
ผู้นำและผู้เข้าร่วมประชุม          ความเห็นและข้อเสนอแนะ
นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย
          (1) ส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามกรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Urban Development Framework: SUDF)
(2) เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกเชิงสถาบันโดยเฉพาะกลไกสภาธุรกิจและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของสภาธุรกิจในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)
(3) กระชับความร่วมมือกับหุ้นส่วนการพัฒนา โดยขอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียจัดตั้งกองทุนพัฒนาโครงการระดับอนุภูมิภาคและการส่งเสริมการลงทุนจากแหล่งทุนทวิภาคี รวมถึงสนับสนุนให้สำนักเลขาธิการอาเซียนเป็นสื่อกลางระหว่าง IMT-GT และประเทศคู่เจรจาของอาเซียน
ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย
          พัฒนาความเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและกฎระเบียบระหว่างกันในอนุภูมิภาค ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าเกษตรมูลค่าสูง และห่วงโซ่อุปทานอาหาร เสริมสร้างความยั่งยืนทางพลังงาน และเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
นายกรัฐมนตรีประเทศไทย
          - ข้อเสนอแนะ 3 ประการ ได้แก่
(1) เร่งพัฒนาและต่อยอดโครงการเพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
(2) ขยายผลโครงการที่เกี่ยวกับการเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูงที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด เช่น ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูป
(3) พัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ควบคู่กับการเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันและการยกระดับแรงงานในอุตสาหกรรมฮาลาล
- การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่
(1) เสริมสร้างความเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมไร้รอยต่อ โดยเร่งรัดโครงการ PCPs ที่ยังไม่แล้วเสร็จและพิจารณาบรรจุโครงการใหม่
(2) เร่งรัดการลงนามในกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแคนของสินค้าและบุคคลตามแผนงาน IMT-GT
(3) เสริมสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาโครงการภายใต้สาขาความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการดำเนินโครงการเมืองสีเขียว และโครงการตามแผนการลงทุนตามกรอบ SUDF ซึ่งมีความสอดคล้องกับโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ของไทย
นอกจากนี้ ได้นำเสนอความสำเร็จของโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์และประกาศความพร้อมในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำเข้าไทยโดยไม่ต้องกักตัว
เลขาธิการอาเซียน
          (1) ส่งเสริมการบูรณาการแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน และกลไกทางการเงินสีเขียวของอาเซียน ร่วมกับกรอบ SUDF และข้อริเริ่มเมืองสีเขียวของแผนงาน IMT-GT
(2) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อริเริ่มต่าง ๆ ภายใต้กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน
(๓) เสริมสร้างความเข้าใจเรื่องความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) แก่ภาคเอกชนในอนุภูมิภาคผ่านกลไกของสภาธุรกิจ
รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย
          (1) สนับสนุนเงินจำนวน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ไทยและอินโดนีเซีย เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) รวมทั้งให้การสนับสนุนไทยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุข การปกป้องกลุ่มเปราะบาง การช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการกระตุ้นเศรษฐกิจ
(2) สนับสนุนการฟื้นตัวหลังโควิด-19 โดยจัดทำรายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจและการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น การขยายความเชื่อมโยงระหว่างกัน การดึงดูดการลงทุนในสินค้าและบริการมูลค่าสูง และการสร้างโอกาสการจ้างงาน
(3) ส่งเสริมการฟื้นตัวสีเขียวผ่านการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพและการเงินที่ยั่งยืนสำหรับแผนงาน IMT-GT

                              1.3 ที่ประชุมเห็นชอบแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงาน IMT-GT โดยไม่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมจากร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564
                              1.4 แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป
                                        (1) ยกร่าง IB 2022 - 2026 เพื่อเป็นแผนการดำเนินงานในระยะห้าปีข้างหน้า โดยมีกำหนดรับรองและประกาศใช้อย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี 2565
                                         (2) กำหนดการลงนามกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสินค้าและบุคคลตามแผนงาน IMT-GT ในที่ประชุมระดับรัฐมนตรี ปี 2565
                                        (3) เร่งผลักดันโครงการความเชื่อมโยงที่สำคัญ เช่น การก่อสร้างถนนเชื่อมโยงด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่กับด่านศุลกากรบูกิตกาบูฮิตัมของมาเลเซีย เร่งพัฒนาและต่อยอดโครงการเพื่อสนับสนุนการเป็นจุดหมายปลายทางเดียวด้านการท่องเที่ยว มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูงที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด และพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก
                                        (4) ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน IMT-GT ครั้งที่ 28 ในเดือนกันยายน 2565 หรือเดือนตุลาคม 2565 ณ จังหวัดภูเก็ต

25. เรื่อง กรอบการเจรจาของประเทศไทยและองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย สมัยที่ 15
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบท่าทีการเจรจาของประเทศไทยสำหรับเป็นกรอบในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (อนุสัญญาฯ) สมัยที่ 15 และ รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 15 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (อนุสัญญาฯ) เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 (พ.ศ. 2535) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อร่วมกันดำเนินการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายหรือความเสื่อมโทรมของที่ดิน เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งและแก้ไขปัญหาความยากจน ตั้งแต่ระดับประเทศจนถึงท้องถิ่น และสนับสนุนโดยความร่วมมือระหว่างประเทศ ใช้ยุทธศาสตร์การบูรณาการในระยะยาวเพื่อการอนุรักษ์และจัดการที่ดินและน้ำอย่างยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลถึงการพัฒนาความเป็นอยู่โดยเฉพาะในระดับชุมชน
                    ทั้งนี้ครั้งล่าสุดคณะรัฐมนตรีมีมติ (27 สิงหาคม 2562) เห็นชอบท่าทีการเจรจาของประเทศไทยสำหรับเป็นกรอบในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 14 ในระหว่างวันที่ 2 - 13 กันยายน 2562 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย และรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาดังกล่าว สำหรับในครั้งนี้เลขาธิการว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายได้แจ้งกำหนดการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 15 และการประชุมคู่ขนานขององค์กรย่อยต่าง ๆ ของอนุสัญญาฯ ในระหว่างวันที่ 9 ? 20  พฤษภาคม 2565 ณ เมืองอาบีจาน สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ ทวีปแอฟริกา ซึ่งการประชุมฯ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาความร่วมมือและดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ให้มีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้าเพื่อการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จในเรื่องต่าง ๆ
                    2. สำนักเลขาธิการว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายได้แจ้งกำหนดการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ สมัยที่ 15 และการประชุมคู่ขนานขององค์กรย่อยต่าง ๆ ของอนุสัญญาฯ ได้แก่ (1) การประชุมคณะกรรมการทบทวนการดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ สมัยที่ 20 (the 20th  Session of the Committee for the Review of the Implementation of the Convention of the UN Convention
to Combat Desertification: CRIC 20) (2) การประชุมคณะกรรมการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 15 (the Fifteenth session of the Committee on Science and Technology: CST 15) (3) การประชุมคณะกรรมการร่วม (Committee of the Whole: COW) และ (4) การประชุมผู้นำระดับสูง (High Level Segment) ในวันที่ 10 พฤษภาคม 2565
                    3. การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาความร่วมมือและดำเนินงานตามอนุสัญญาฯ ให้มีประสิทธิภาพและมีความก้าวหน้า เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ความสำเร็จในการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย การป้องกันความเสื่อมโทรมของที่ดิน การบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง และการแก้ไขปัญหาความยากจน ประเด็นการประชุมและเจรจาที่สำคัญ ได้แก่ การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาฯ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ และแนวทางการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ
                    4. ท่าทีการเจรจาของประเทศไทย การจัดทำท่าทีการเจรจาของประเทศไทยในการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานต่าง ๆ ในคณะกรรมการอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย (ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานกรรมการ) ซึ่งได้มีการพิจารณาและให้ความเห็นชอบร่างท่าทีการเจรจา และองค์ประกอบผู้แทนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ผ่านการประชุมออนไลน์ ซึ่ง กษ. โดยกรมพัฒนาที่ดินได้จัดทำท่าทีตามประเด็นสำคัญของอนุสัญญาฯ ประกอบด้วย การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทที่เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาฯ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ และแนวทางการดำเนินงานของอนุสัญญาฯ ในปี 2566 - 2567 และประเด็นอื่น ๆ สำหรับใช้เป็นกรอบในการเจรจาในระหว่างการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ
                    5. องค์ประกอบผู้แทน เพื่อเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาฯ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 10 กรมพัฒนาที่ดิน กษ. เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และผู้แทนกรมพัฒนาที่ดิน 2 คน


แต่งตั้ง

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอรับโอนข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 2 ราย เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามกรอบอัตรากำลังที่ว่าง ดังนี้
                     1. นายประเสริฐ ศิรินภาพร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
                     2. นายสุริยน พัชรครุกานนท์ รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป โดยผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมในการโอนแล้ว

27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสิน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอ ให้คณะกรรมการธนาคารออมสินมีจำนวนเกินสิบเอ็ดคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน (นับรวมประธานกรรมการและกรรมการอื่นที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง และผู้อำนวยการธนาคารออมสินซึ่งเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง) ตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการธนาคารออมสิน เพิ่มเติม จำนวน 4 คน ดังนี้
                     1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อนามัย ดำเนตร
                    2. นายวิษณุ ตัณฑวิรุฬห์
                     3. นายรังสรรค์ ธรรมมณีวงศ์
                    4. นายทวีศิลป์ วิษณุโยธิน
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งนายรุจิโรจน์ อนามบุตร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการผังเมือง) ในคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติ แทน นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ได้ขอลาออกจากตำแหน่ง เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอโอนข้าราชการพลเรือนสามัญในสังกัดไปแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในประเภทบริหารระดับสูง เพื่อการสับเปลี่ยนหมุนเวียน จำนวน 2 ราย ดังนี้
                     1. โอน นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดี (นักบริหารสูง) กรมสรรพากร ไปดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหารสูง) กรมสรรพสามิต
                     2. โอน นายลวรณ แสงสนิท อธิบดี (นักบริหารสูง) กรมสรรพสามิต ไปดำรงตำแหน่งอธิบดี                 (นักบริหารสูง) กรมสรรพากร
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ