คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ณ เดือนมิถุนายน 2548 และเห็นชอบทิศทางที่จะดำเนินการต่อไป ตามที่เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรรมการและเลขานุการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติเสนอ โดยสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกันให้ข้อมูลจัดทำรายงานผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ณ เดือนมิถุนายน 2548 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน เพื่อจัดสรรให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 91,711 ล้านบาท โดยได้ชำระคืนเงินกู้ให้แก่ทั้งสองธนาคาร ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย (ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2544-23 มกราคม 2548) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 56,537 ล้านบาท คงเหลือหนี้ที่ต้องใช้คืน จำนวน 42,488 ล้านบาท โดยอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมได้ลดลง ตามลำดับจากปี 2544 ที่อัตราร้อยละ 4.75 ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.75
2. ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
2.1 การจัดตั้งและการเติบโตของกองทุน : การดำเนินงานตามนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของรัฐบาลบรรลุผลสำเร็จ โดยเห็นได้จากเมื่อเริ่มนโยบายปี 2544 จนถึงปี 2547 มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแล้ว จำนวน 77,789 กองทุน รัฐบาลได้จัดสรรเงินให้กองทุนละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับพัฒนาอาชีพสร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนในชุมชน ซึ่งได้จัดสรรเงินให้กับหมู่บ้านหรือชุมชนต่าง ๆ จำนวน 77,508 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 98.32 ของเป้าหมาย (78,829 หมู่บ้าน/ชุมชน) โดยจำแนกเป็นรายปี ดังนี้
ในปี 2544 จัดสรรและโอนเงิน จำนวน 66,188 กองทุนหรือล้านบาท
ในปี 2545 เพิ่มขึ้น 8,098 กองทุน รวมเป็น 74,286 กองทุนหรือล้านบาท
ในปี 2546 เพิ่มขึ้น 366 กองทุน รวมเป็น 74,652 กองทุนหรือล้านบาท
ในปี 2547-ปัจจุบัน เพิ่มขึ้น 2,856 กองทุน รวมเป็น 77,508 กองทุนหรือล้านบาท
ปัจจุบันมีสมาชิกกองทุน จำนวน 11.62 ล้านคน และมีกรรมการกองทุน จำนวน 1.1 ล้านคน
2.2 ผลการบริหารจัดการกองทุน
2.2.1 เงินทุนหมุนเวียน : ปัจจุบันเงินทุนหมุนเวียนของกองทุน มีจำนวนทั้งสิ้น 117,213.04 ล้านบาท มาจากภาครัฐ 79,819 ล้านบาท (จากการจัดสรรเงินกองทุนละ 1 ล้านบาท จำนวน 77,508 ล้านบาท และการเพิ่มทุนกองทุนละ 1 แสนบาท จำนวน 2,311 ล้านบาท) จากภาคประชาชน (เงินออม หุ้น เงินทุนจากการประกอบการ) จำนวน 22,526.06 ล้านบาท และภาคสถาบันการเงิน (โครงการขยายวงเงินกู้) อีกจำนวน 14,867.98 ล้านบาท
2.2.2 การให้กู้ยืม : มีสมาชิกกู้ยืมเงินจากกองทุนไปแล้ว 10.07 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 86.66 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ในอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 6.84 ต่อปี กองทุนส่วนใหญ่ได้มีการบริหารการกู้ยืมแล้ว 3-4 รอบ มีจำนวนเงินกู้ยืมหมุนเวียนสะสม 2.80 แสนล้านบาท
2.2.3 การชำระคืนเงินกู้ : ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าการชำระคืนเงินกู้ยืมของสมาชิก จำแนกออกได้ดังนี้ สามารถชำระคืนได้ทั้งหมด ร้อยละ 93.6 ชำระได้บางส่วน ร้อยละ 3.1 เจรจาขอผ่อนผัน ร้อยละ 2.9 และส่วนที่คาดว่าจะชำระคืนไม่ได้ ร้อยละ 0.4 จากการสำรวจดังกล่าว สอดคล้องกับบัญชีจ่ายเงินและชำระคืนรายกองทุนของธนาคาร กล่าวคือมีการชำระเงินกู้คืนในปี 2545 ร้อยละ 93.85 ปี 2546 ร้อยละ 98.03 และปี 2547 ร้อยละ 95.26
2.2.4 การใช้ประโยชน์จากเงินกู้ยืม : ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า เงินกู้ยืมดังกล่าวประชาชนนำไปใช้ประโยชน์ จำแนกออกได้ดังนี้ ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ การผลิต ค้าขาย และบริการ ร้อยละ 81.3 บรรเทาเหตุฉุกเฉิน ความเดือดร้อนในครัวเรือน ร้อยละ 14.5 ใช้ชำระหนี้เงินนอกระบบ ร้อยละ 3.2 และใช้ประโยชน์อื่น ๆ ร้อยละ 1..0
2.2.5 ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน : จากการประเมินผลประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนที่จัดตั้งและโอนเงิน ครบ 1 ปีแล้ว จำนวน 73,633 กองทุน ของ สทบ. พบว่า มีกองทุนที่มีมาตรฐานดีเยี่ยม จำนวน 24,902 กองทุน หรือร้อยละ 33.82 มาตรฐานปานกลาง จำนวน 46,633 กองทุน หรือร้อยละ 63.33 มาตรฐานที่ต้องปรับปรุง จำนวน 2,098 กองทุน หรือ ร้อยละ 2.85
2.3 ผลในด้านเศรษฐกิจและสังคมระดับฐานราก : พบว่านโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ทำให้ชุมชนมีการพัฒนารายได้ดีขึ้น ร้อยละ 54.6 และพัฒนาอาชีพดีขึ้น ร้อยละ 40.4 และตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่ผ่านมากองทุนมีรายได้จากดอกเบี้ย (จากบัญชีรายกองทุนของธนาคาร) รวมจำนวน 15,578 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 3,895 ล้านบาท และจากรายได้ดังกล่าวได้มีการจัดสรรเงิน จำนวน 3,349.27 ล้านบาท เพื่อเป็นสวัสดิการของชุมชน โดยแยกเป็นกิจกรรมด้านการพัฒนาส่วนรวม ร้อยละ 43.1 ด้านทุนการศึกษา ร้อยละ 40.1 และด้านฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี ช่วยเหลือผู้สูงอายุ คนพิการ การจัดงานศพ และการรักษาพยาบาล ร้อยละ 16.8
2.4 ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายกองทุน : จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชาชนเห็นว่า นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ประสบความสำเร็จ ร้อยละ 92.2 และมีความพึงพอใจต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ร้อยละ 95.6
3. ทิศทางที่จะดำเนินการต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้เตรียมการเพื่อให้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 กำหนดให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อทำหน้าที่บริหารนโยบายกองทุนหมู่บ้านฯ แทนองค์กรเดิม โดยมีกรอบแผนการดำเนินการ (Roadmap) ให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--
1. ผลการดำเนินงานของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน เพื่อจัดสรรให้กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 91,711 ล้านบาท โดยได้ชำระคืนเงินกู้ให้แก่ทั้งสองธนาคาร ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ย (ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2544-23 มกราคม 2548) เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 56,537 ล้านบาท คงเหลือหนี้ที่ต้องใช้คืน จำนวน 42,488 ล้านบาท โดยอัตราดอกเบี้ยการกู้ยืมได้ลดลง ตามลำดับจากปี 2544 ที่อัตราร้อยละ 4.75 ปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 2.75
2. ผลการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
2.1 การจัดตั้งและการเติบโตของกองทุน : การดำเนินงานตามนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองของรัฐบาลบรรลุผลสำเร็จ โดยเห็นได้จากเมื่อเริ่มนโยบายปี 2544 จนถึงปี 2547 มีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแล้ว จำนวน 77,789 กองทุน รัฐบาลได้จัดสรรเงินให้กองทุนละ 1 ล้านบาท เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนสำหรับพัฒนาอาชีพสร้างงาน สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนในชุมชน ซึ่งได้จัดสรรเงินให้กับหมู่บ้านหรือชุมชนต่าง ๆ จำนวน 77,508 หมู่บ้าน/ชุมชน คิดเป็นร้อยละ 98.32 ของเป้าหมาย (78,829 หมู่บ้าน/ชุมชน) โดยจำแนกเป็นรายปี ดังนี้
ในปี 2544 จัดสรรและโอนเงิน จำนวน 66,188 กองทุนหรือล้านบาท
ในปี 2545 เพิ่มขึ้น 8,098 กองทุน รวมเป็น 74,286 กองทุนหรือล้านบาท
ในปี 2546 เพิ่มขึ้น 366 กองทุน รวมเป็น 74,652 กองทุนหรือล้านบาท
ในปี 2547-ปัจจุบัน เพิ่มขึ้น 2,856 กองทุน รวมเป็น 77,508 กองทุนหรือล้านบาท
ปัจจุบันมีสมาชิกกองทุน จำนวน 11.62 ล้านคน และมีกรรมการกองทุน จำนวน 1.1 ล้านคน
2.2 ผลการบริหารจัดการกองทุน
2.2.1 เงินทุนหมุนเวียน : ปัจจุบันเงินทุนหมุนเวียนของกองทุน มีจำนวนทั้งสิ้น 117,213.04 ล้านบาท มาจากภาครัฐ 79,819 ล้านบาท (จากการจัดสรรเงินกองทุนละ 1 ล้านบาท จำนวน 77,508 ล้านบาท และการเพิ่มทุนกองทุนละ 1 แสนบาท จำนวน 2,311 ล้านบาท) จากภาคประชาชน (เงินออม หุ้น เงินทุนจากการประกอบการ) จำนวน 22,526.06 ล้านบาท และภาคสถาบันการเงิน (โครงการขยายวงเงินกู้) อีกจำนวน 14,867.98 ล้านบาท
2.2.2 การให้กู้ยืม : มีสมาชิกกู้ยืมเงินจากกองทุนไปแล้ว 10.07 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 86.66 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ในอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 6.84 ต่อปี กองทุนส่วนใหญ่ได้มีการบริหารการกู้ยืมแล้ว 3-4 รอบ มีจำนวนเงินกู้ยืมหมุนเวียนสะสม 2.80 แสนล้านบาท
2.2.3 การชำระคืนเงินกู้ : ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าการชำระคืนเงินกู้ยืมของสมาชิก จำแนกออกได้ดังนี้ สามารถชำระคืนได้ทั้งหมด ร้อยละ 93.6 ชำระได้บางส่วน ร้อยละ 3.1 เจรจาขอผ่อนผัน ร้อยละ 2.9 และส่วนที่คาดว่าจะชำระคืนไม่ได้ ร้อยละ 0.4 จากการสำรวจดังกล่าว สอดคล้องกับบัญชีจ่ายเงินและชำระคืนรายกองทุนของธนาคาร กล่าวคือมีการชำระเงินกู้คืนในปี 2545 ร้อยละ 93.85 ปี 2546 ร้อยละ 98.03 และปี 2547 ร้อยละ 95.26
2.2.4 การใช้ประโยชน์จากเงินกู้ยืม : ผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า เงินกู้ยืมดังกล่าวประชาชนนำไปใช้ประโยชน์ จำแนกออกได้ดังนี้ ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ การผลิต ค้าขาย และบริการ ร้อยละ 81.3 บรรเทาเหตุฉุกเฉิน ความเดือดร้อนในครัวเรือน ร้อยละ 14.5 ใช้ชำระหนี้เงินนอกระบบ ร้อยละ 3.2 และใช้ประโยชน์อื่น ๆ ร้อยละ 1..0
2.2.5 ประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุน : จากการประเมินผลประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนที่จัดตั้งและโอนเงิน ครบ 1 ปีแล้ว จำนวน 73,633 กองทุน ของ สทบ. พบว่า มีกองทุนที่มีมาตรฐานดีเยี่ยม จำนวน 24,902 กองทุน หรือร้อยละ 33.82 มาตรฐานปานกลาง จำนวน 46,633 กองทุน หรือร้อยละ 63.33 มาตรฐานที่ต้องปรับปรุง จำนวน 2,098 กองทุน หรือ ร้อยละ 2.85
2.3 ผลในด้านเศรษฐกิจและสังคมระดับฐานราก : พบว่านโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ทำให้ชุมชนมีการพัฒนารายได้ดีขึ้น ร้อยละ 54.6 และพัฒนาอาชีพดีขึ้น ร้อยละ 40.4 และตลอดระยะเวลา 4 ปี ที่ผ่านมากองทุนมีรายได้จากดอกเบี้ย (จากบัญชีรายกองทุนของธนาคาร) รวมจำนวน 15,578 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 3,895 ล้านบาท และจากรายได้ดังกล่าวได้มีการจัดสรรเงิน จำนวน 3,349.27 ล้านบาท เพื่อเป็นสวัสดิการของชุมชน โดยแยกเป็นกิจกรรมด้านการพัฒนาส่วนรวม ร้อยละ 43.1 ด้านทุนการศึกษา ร้อยละ 40.1 และด้านฟื้นฟูวัฒนธรรมประเพณี ช่วยเหลือผู้สูงอายุ คนพิการ การจัดงานศพ และการรักษาพยาบาล ร้อยละ 16.8
2.4 ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อนโยบายกองทุน : จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ประชาชนเห็นว่า นโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ประสบความสำเร็จ ร้อยละ 92.2 และมีความพึงพอใจต่อนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ร้อยละ 95.6
3. ทิศทางที่จะดำเนินการต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้เตรียมการเพื่อให้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2547 กำหนดให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อทำหน้าที่บริหารนโยบายกองทุนหมู่บ้านฯ แทนองค์กรเดิม โดยมีกรอบแผนการดำเนินการ (Roadmap) ให้แล้วเสร็จภายในเดือนตุลาคม 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 สิงหาคม 2548--จบ--