สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 10 พฤษภาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday May 10, 2022 17:04 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (10 พฤษภาคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 172 วรรคห้า และเพิ่มวรรคหก)

                    2.          เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย                                        วิทยฐานะเข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ                                                  นครปฐม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                    3.           เรื่อง           การดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการ                                                  กระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง

สู่ประเทศไทย

                    4.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)                                         (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร ลดและเพิ่มอัตราอากร                                                  ศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก

(ฉบับที่ ...)

                    7.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามา                                        อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน                                        โดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย

เศรษฐกิจ ? สังคม
                    8.           เรื่อง           การเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2563/64 ของ                                        เกษตรกรที่มีวันเพาะปลูกก่อน 1 เมษายน 2563 และเก็บเกี่ยวหลัง

วันที่ 1 ธันวาคม 2563 (เพิ่มเติม)

                    9.           เรื่อง           ข้อเสนองบประมาณการดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อ                                                  ประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งใน
                                        ภูมิภาคยุโรป ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565                                                   และวันที่ 19 เมษายน 2565
                    10.           เรื่อง           การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ 16 สาขา
                    11.          เรื่อง           สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ

ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 11 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 -

28 กุมภาพันธ์ 2565)

                    12.           เรื่อง            สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ                                        ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2/2565
                    13.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ                                                   ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้า                                        ร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท 910 รูป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์                                         พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม                                                  พระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยไม่ถือเป็นวันลา
                    14.           เรื่อง           รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564                                         และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน                                         2563 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                    15.           เรื่อง           แนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
                    16.           เรื่อง           มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนใน                                                            อสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืน (มาตรการฯ REIT buy-                                                  back)
                    17.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม
                                        ครั้งที่ 8/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้                                         ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565


ต่างประเทศ
                    18.           เรื่อง            การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมของการประชุมสุดยอด                                                  อาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ
                    19.           เรื่อง           ร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล เรื่อง การตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการ                                                  ป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับ                                                  กระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
                    20.           เรื่อง            รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกลไกเครดิตร่วม JCM ภายใต้ความ                                                  ร่วมมือทวิภาคี ระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น (Joint Crediting                                                   Mechanism: JCM)
                    21.            เรื่อง            ผลการประชุมผู้นำความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลาย                                                  สาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral                                         Technical and Economic Cooperation-BIMSTEC) หรือบิมสเทค ครั้งที่ 5                                         และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    22.           เรื่อง            ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและ

ผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 25

                    23.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้าน                                        การบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง
                    24.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 และ                                                  เอกสารที่เกี่ยวข้อง
แต่งตั้ง
                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง กระทรวงเกษตร                                        และสหกรณ์
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396




กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.      (แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 172 วรรคห้า และเพิ่มวรรคหก)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา              (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุด และสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไปประกอบการพิจาณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ด้านกระบวนการยุติธรรม ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                     2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ
                     3. ให้สำนักงานศาลยุติธรรมรับความเห็นของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมาย          วิธีพิจารณาความอาญาเพื่อให้การพิจารณาและสืบพยานของศาลในกรณีที่เกิดภัยพิบัติสาธารณะหรือมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อความปลอดภัย สามารถดำเนินการจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะการประชุมทางจอภาพโดยคู่ความหรือพยานอยู่นอกศาลได้ เมื่อจำเลยยินยอมและศาลเห็นสมควร แต่ต้องไม่เป็นที่เสียหายหรือก่อให้              เกิดความไม่เป็นธรรมต่อจำเลย จะทำให้กระบวนพิจารณาคดีของศาลในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมทั้งกรณีที่เกิดภัยพิบัติสาธารณะหรือมีเหตุจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อความปลอดภัย เป็นไปด้วยความรวดเร็ว ก่อให้เกิดความสะดวกแก่คู่ความและพยาน ไม่เกิดความล่าช้าและผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนและความปลอดภัยของสังคม อันเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน
                     สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                     1. กำหนดให้ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติสาธารณะหรือมีเหตุจำเป็นเพื่อความปลอดภัยเมื่อจำเลยยินยอมและศาลเห็นสมควร การพิจารณาและสืบพยานอาจดำเนินการโดยจัดให้มีการถ่ายทอดภาพและเสียงในลักษณะ            การประชุมทางจอภาพโดยคู่ความหรือพยานอยู่นอกศาลได้ แต่ต้องไม่เป็นที่เสียหายหรือก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม           ต่อจำเลย ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับประธานศาลฎีกา และให้ถือว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นการพิจารณาและสืบพยานในห้องพิจารณาของศาล
                     2. กำหนดให้ข้อบังคับของประธานศาลฎีกาตามข้อ 1. ต้องให้หลักประกันอย่างเพียงพอ                       ในการพิจารณาคดีโดยเปิดเผย การติดต่อสื่อสารระหว่างจำเลยกับทนายความเป็นการเฉพาะตัว และต้องคำนึง                 ถึงบุคคลที่กฎหมายให้ความคุ้มครองหรือดูแลเป็นพิเศษ

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ                เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ ..)             พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา              ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558            เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ รวมทั้งสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว ซึ่งสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

3. เรื่อง การดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและ               การลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบดังนี้
                    1. เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ
                    2. เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    3. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่  ป. ../ .... เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (Long-Term Resident Visa) และร่างประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป. ../.... เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้  สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เสนอว่า
                    1. โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ รัฐบาลจึงได้มีมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 14 กันยายน 2564 โดยกำหนดให้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน เพื่อดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงเข้ามาพำนักในไทย เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภาพรวม เพื่อให้เกิดการลงทุน การหมุนเวียนของเศรษฐกิจ มีการใช้จ่ายภายในประเทศเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องมีรายได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลดีแก่ประชาชนและแรงงานไทย และยังทำให้ไทยมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว
                    2. ประกอบกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้ประสานงานมายัง สกท. เพื่อขอให้บุคลากรกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศสามารถใช้บริการที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์วีซ่าและใบอนุญาตทำงาน พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติมได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่กองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการใช้จ่ายสูง รวมทั้งสนับสนุนการส่งเสริมอำนาจละมุน (Soft Power) ของไทยด้วย
                    3. สกท.พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 14 กันยายน 2564 จึงได้ดำเนินการปรับปรุงประกาศและระเบียบที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งกำหนดกระบวนการบูรณาการการทำงานและมอบหมายภารกิจต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป โดย สกท. ได้ประชุมหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ ตามร่างประกาศและร่างระเบียบ                   รวม 3 ฉบับแล้ว สรุปได้ดังนี้
                              3.1 การดำเนินการเพื่อรองรับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทยภายใต้ Long-Term Resident Visa สกท. ได้จัดทำร่างประกาศและระเบียบ รวม 3 ฉบับ พร้อมทั้งกระบวนการดำเนินการรับรองคุณสมบัติ การขอรับการตรวจลงตรา และ             การขยายระยะเวลาการอยู่ในราชอาณาจักร ดังนี้
                                        3.1.1 ร่างประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและ  การลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (Long-Term Resident Visa : LTR) โดยกำหนดสาระสำคัญให้เป็นไปตามหลักการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 14 กันยายน 2564 ซึ่ง สกท. ได้กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติและให้ครอบคลุมประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) บางกลุ่มด้วย สำหรับหลักเกณฑ์เงินลงทุนขั้นต่ำในประเทศไทย สกท. จะพิจารณาถึงเงินลงทุน                ในปัจจุบันของชาวต่างชาติด้วย เพื่อรองรับชาวต่างชาติที่ได้ลงทุนในประเทศไทยไปแล้ว และยังรักษาการลงทุนเหล่านั้นไว้อยู่ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                                                  (1) ปรับปรุงการยื่นคำขอที่ต้องแสดงหลักฐานกรณีประกันสุขภาพ ให้สามารถใช้สิทธิประกันสังคม หรือเงินฝากในบัญชีในประเทศไทยหรือในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ เป็นหลักฐานแทนกรมธรรม์ประกันสุขภาพของเอกชนได้ พร้อมทั้งลดมูลค่าความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันสุขภาพซึ่งคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยเป็นไม่น้อยกว่า 50,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อไม่ก่อให้เกิดภาระมากเกินความจำเป็นแก่ผู้ยื่นคำขอที่อยู่ในระบบประกันสังคมที่ให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทย รวมทั้งเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้สูงอายุ เนื่องจากบริษัทประกันอาจปฏิเสธการขายกรมธรรม์ประกันสุขภาพแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งมูลค่าความคุ้มครอง 50,000 เหรียญสหรัฐนั้นถือว่าสูงกว่าเงื่อนไขที่กำหนดสำหรับการตรวจลงตราประเภทอื่นที่คล้ายคลึงกัน เช่น การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว รหัส 0 ? X พำนักระยะยาว 10 ปี (Non - Immigrant Visa ?O ? X? Long Stay) ซึ่งกำหนดให้คนต่างชาติต้องมีกรมธรรม์ประกันสุขภาพ โดยมีจำนวนเงินเอาประกันภัยสำหรับค่ารักษาพยาบาลในกรณีผู้ป่วยนอกไม่น้อยกว่า 40,000 บาท และในกรณีผู้ป่วยในไม่น้อยกว่า 400,000 บาท
หลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรี
(14 กันยายน 2564)          หลักเกณฑ์ตามร่างประกาศ สกท.ฯ ที่ปรับปรุง
? การยื่นคำขอ LTR ต้องมีประกันสุขภาพคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในไทยจากบริษัทประกันที่ได้รับการรับรอง ไม่น้อยกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐขึ้นไป ตลอดระยะเวลาถือวีซ่า          ? การยื่นคำขอ LTR ต้องแสดงกรมธรรม์ประกันสุขภาพซึ่งคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในไทยไม่น้อยกว่า 50,000 เหรียญสหรัฐซึ่งมีระยะเวลาคุ้มครองคงเหลือไม่น้อยกว่า 10 เดือน ณ วันที่ออกหนังสือรับรองคุณสมบัติ หรือสิทธิประกันสังคมซึ่งคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทย หรือเงินฝากในบัญชีในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า
100,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
? ในกรณีมีผู้ติดตามต้องแสดงหลักฐานเงินฝากในบัญชี จะต้องแสดงเงินฝากเพิ่มขึ้นในบัญชีในไทยหรือในต่างประเทศในนามของผู้ยื่นคำขอหลักหรือในนามของผู้ติดตามเอง ไม่น้อยกว่า 25,000 เหรียญสหรัฐต่อคน ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน นับถึงวันที่ยื่นคำขอ
                                                  (2) ปรับปรุงคุณสมบัติของกลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-from-Thailand Professional) โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์คุณสมบัติของบริษัทนายจ้างในต่างประเทศ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและลดการใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาเลือกใช้หลักเกณฑ์ตามประเภทของคนต่างชาติ
หลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรี
(14 กันยายน 2564)          หลักเกณฑ์ตามร่างประกาศ สกท.ฯ ที่ปรับปรุง
ทำงานกับนายจ้างในต่างประเทศ ซึ่งต้องมีลักษณะแบ่งเป็น 2 กรณีขึ้นอยู่กับประเภทผู้ขอ ดังนี้
? สำหรับประเภท Digital Nomad:
   - บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ
   - บริษัทเอกชนที่ดำเนินงานมาอย่างน้อย 3 ปี และมีรายได้รวมมากกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
? สำหรับประเภท Corporate Program:
   - มีประสบการณ์ทำงานกับบริษัทใด ๆ ที่มีรายได้รายปีละมากกว่า 1 พันล้านเหรียญ          ? ทำงานกับนายจ้างในต่างประเทศ ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ต่อไปนี้

   - บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หรือ
   - บริษัทมีการดำเนินงานมาแล้ว ไม่น้อยกว่า 3 ปี และมีรายได้รวมกันในระยะเวลา 3 ปี ไม่น้อยกว่า150 ล้านเหรียญสหรัฐ นับถึงวันที่ยื่นคำขอ

                                                  (3) ปรับปรุงคุณสมบัติของกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (High-Skilled Professional) โดยปรับปรุงการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้มีความชัดเจน ให้ครอบคลุมผู้เชี่ยวชาญที่เข้ามาทำงานในสถาบันฝึกอบรมเฉพาะทางสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัยและหน่วยงานภาครัฐ พร้อมทั้งกำหนดคุณสมบัติด้านรายได้และประสบการณ์ให้มีความยืดหยุ่นสำหรับผู้ที่จบการศึกษาระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความรู้ความเชี่ยวชาญในสายงาน บุคลากรทักษะสูงที่มีความจำเป็นสำหรับสถาบันอุดมศึกษาหรือสถาบันวิจัยหรือสถาบันฝึกอบรมเฉพาะทางของรัฐ หรือหน่วยงานภาครัฐผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าขึ้นไป รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกษียณอายุแล้ว
หลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรี
(14 กันยายน 2564)          หลักเกณฑ์ตามร่างประกาศ สกท.ฯ ที่ปรับปรุง
1. ผู้มีประสบการณ์ทำงานและทักษะสูง และจะเข้ามาทำงานในไทยให้แก่บริษัทในอุตสาหกรรมเป้าหมายต้องเป็นไปตามพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 หรือผู้เชี่ยวชาญหรือนักวิจัยที่จะเข้ามาทำงานในหน่วยงานรัฐ หรือเข้ามาเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย

2. มีรายได้ส่วนบุคคล (เงินเดือนหรือรายได้จากการลงทุน) ปีละ 80,000 เหรียญสหรัฐ ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือ
3. มีรายได้ส่วนบุคคลปีละ 40,000 เหรียญสหรัฐ หากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และมีประสบการณ์ทำงานอย่างน้อย 5 ปีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย           1. ผู้เชี่ยวชาญที่มีสัญญาจ้างหรือสัญญาบริการกับกิจการในประเทศ หรือกิจการในต่างประเทศโดยได้รับมอบหมายให้เข้ามาทำงานในไทยหรือผู้เชี่ยวชาญซึ่งแสดงหลักฐานการทำงานให้กับสถาบันอุดมศึกษา สถาบันวิจัย หรือสถาบันฝึกอบรมเฉพาะทาง หรือหน่วยงานภาครัฐในประเทศ และต้องเป็นการทำงานในกิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
2. มีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 80,000 เหรียญสหรัฐต่อปีในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันที่ยื่นคำขอ หรือ

3. ในกรณีผู้ยื่นคำขอแสดงหลักฐานการสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าขึ้นไปในสาขาด้านวิทยาศาสตร์หรือเทคโนโลยี หรือมีความรู้ความเชี่ยวชาญในสายงานซึ่งจะเข้ามาทำงานในไทย ต้องแสดงหลักฐานการมีรายได้ส่วนบุคคลเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 40,000 เหรียญสหรัฐต่อปีในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันที่ยื่นคำขอ
ทั้งนี้ ในกรณีผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกษียณอายุแล้วสามารถแสดงหลักฐานการมีรายได้ส่วนบุคคล เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 40,000 เหรียญสหรัฐต่อปีในระยะเวลา 2 ปีก่อนการเกษียณโดยอนุโลมได้ หรือ
4. ในกรณีผู้ยื่นคำขอแสดงหลักฐานการเข้ามาทำงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันวิจัยของรัฐ สถาบันฝึกอบรมเฉพาะทางของรัฐ หรือหน่วยงานภาครัฐ ได้รับการยกเว้นไม่ต้องแสดงหลักฐานรายได้ขั้นต่ำ
5. มีประสบการณ์การทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมายไม่น้อยกว่า 5 ปีในห้วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา นับถึงวันที่ยื่นคำขอ ยกเว้นผู้ที่เข้ามาทำงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือสถาบันวิจัยของรัฐหรือสถาบันฝึกอบรมเฉพาะทางของรัฐ หรือหน่วยงานภาครัฐ หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าขึ้นไป
                                        3.1.2 ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. .... โดยกำหนดเพิ่มเติมให้ผู้พำนักระยะยาวและผู้ติดตาม ร่วมถึงบุคลากรกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศมีสิทธิใช้บริการที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน และกำหนดให้เลขาธิการ สกท. มีอำนาจในการแต่งตั้งผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์บริการวีซ่าฯ กำหนดให้ศูนย์บริการวีซ่าฯ มีอำนาจในการแก้ไขและยกเลิกตราประทับที่ได้รับจากสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองในพื้นที่รับผิดชอบอื่น รวมทั้งแก้ไขและยกเลิกการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ในต่างประเทศได้
                                        3.1.3 กำหนดกระบวนการรับรองคุณสมบัติ และกระบวนการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยการบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และสร้างความชัดเจนให้แก่คนต่างชาติและเจ้าหน้าที่พนักงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                                                  (1) การดำเนินการรับรองคุณสมบัติและการขอรับการตรวจลงตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร โดยหลังจากศูนย์บริการวีซ่าฯ (One Stop Service Center for Visa and Work Permit: OSS) ภายใต้ สกท. รับคำขอรับรองคุณสมบัติที่คนต่างด้าวยื่นผ่านช่องทางออนไลน์ที่ สกท. กำหนด ให้ศูนย์บริการวีซ่าฯ ส่งคำขอรับรองคุณสมบัติพร้อมหลักฐานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป
                                                  (2) การขยายระยะเวลาการอยู่ในราชอาณาจักรหลังจากครบกำหนดเวลาอนุญาตสูงสุดไม่เกิน 5 ปี โดยคนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะขออยู่ในราชอาณาจักรต่อไปอีกภายหลังจากที่ครบกำหนดเวลาอนุญาตในครั้งแรก จะต้องดำเนินการยื่นคำขอต่อศูนย์บริการวีซ่าฯ ผ่านช่องทางที่ สกท. กำหนด ก่อนการอนุญาตเดิมสิ้นสุด โดยเป็นการยื่นเอกสารหลักฐานเพื่อยืนยันสถานภาพและเงื่อนไขสำคัญ เช่น การลงทุนขั้นต่ำในประเทศไทย สถานะการจ้าง
                              3.2 การปรับปรุงมาตรการการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) สกท. ได้แก้ไขร่างประกาศ สกท. พร้อมทั้งปรับปรุงการรับรองคุณสมบัติ ดังนี้
                                        3.2.1 ร่างประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) โดยยังคงหลักเกณฑ์ประเภท คุณสมบัติ และเงื่อนไขเดิมของ Smart Visa ตามมติคณะรัฐมนตรี (6 พฤศจิกายน 2561) ที่เห็นชอบการปรับปรุงคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และสิทธิประโยชน์ ภายใต้การตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa)1 เพื่อดึงดูดผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นให้เข้ามาในประเทศไทย ตามที่ สกท. เสนอ โดยในครั้งนี้ สกท. จะปรับปรุงร่างประกาศ สกท. เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ไม่มีความจำเป็นต้องพำนักระยะยาวในประเทศไทย โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมของ Smart Visa อุตสาหกรรมเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 และเพิ่มเติมอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีศักยภาพสูงในอนาคต สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
หลักเกณฑ์เดิม ตามประกาศ สกท. ที่ ป.12/2561 เรื่อง คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข
สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว
เป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa)          หลักเกณฑ์ตามร่างประกาศ สกท.ฯ ที่ปรับปรุง
1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
4. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ

5. อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต
6. อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์
7. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
8. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
9. อุตสาหกรรมดิจิทัล
10. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
11. การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก
12. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

13. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน          1. อุตสาหกรรมยานยนต์
2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับคุณภาพ

4. อุตสาหกรรมการเกษตร อาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ
5. อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์
6. อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์
8. อุตสาหกรรมดิจิทัล
9. อุตสาหกรรมการแพทย์
10. อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ
11. อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) โดยตรงและมีนัยสำคัญ เช่นการผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น
12. อุตสาหกรรมอากาศยานและอวกาศ
13. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
14. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
15. การบริหารเทคโนโลยี นวัตกรรม และ Startup
Ecosystem
16. การพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย
17. ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International
Business Center-IBC)
18. การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก
                                        3.2.2 การปรับปรุงการรับรองคุณสมบัติ Smart Visa บางประการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการดำเนินการที่สืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (6 พฤศจิกายน 2561) โดยให้ สกท. วางระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อใช้ในการปรับปรุงโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยการปรับปรุงการรับรองคุณสมบัติ Smart Visa จะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับมาตรการ Long-Term Resident Visa โดยจะยกเว้นหรือยกเลิกการดำเนินการที่ไม่จำเป็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการและลดระยะเวลาการพิจารณารับรองคุณสมบัติ Smart Visa สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
การรับรองคุณสมบัติเดิม          การรับรองคุณสมบัติที่ สกท. เสนอปรับปรุง
1. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและพฤติการณ์


2. กรมการจัดหางาน ตรวจสอบว่าไม่เป็นการทำงานต้องห้ามตามกฎหมาย


3. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) รับรองคุณสมบัติผู้เชี่ยวชาญ
4. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล รับรองอุตสาหกรรมเป้าหมาย
5. การรับรองคุณสมบัติประเด็นอื่น ๆ ตามประกาศสกท. ที่ ป. 13/2561 เรื่อง วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยื่นขอรับรองคุณสมบัติสำหรับคนต่างด้าวที่ประสงค์จะยื่นขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa)          1. กต. ประสานงานกับสำนักข่าวกรองแห่งชาติในการตรวจสอบประวัติและพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อประเทศ เฉพาะกรณีคนต่างชาติในกลุ่มสัญชาติเฝ้าระวังหรือกรณีที่มีข้อสงสัย
2. กรมการจัดหางานตรวจสอบว่าไม่เป็นการทำงานต้องห้ามตามกฎหมาย ในกรณีที่ไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าตำแหน่งหรือหน้าที่ของคนต่างชาติเข้าข่ายเป็นงานหรืออาชีพต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวหรือไม่
3. สวทช. สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล วช. วว. หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ รับรองคุณสมบัติผู้เชี่ยวชาญ ในกรณีที่หลักฐานการศึกษาหรือประสบการณ์ทำงานไม่ปรากฏอย่างชัดแจ้งว่าคนต่างชาติเป็นผู้มีทักษะหรือความเชี่ยวชาญหรือไม่
4. สกท. รับรองอุตสาหกรรมเป้าหมาย


5. การรับรองคุณสมบัติประเด็นอื่น ๆ ตามประกาศ
สกท. ที่ ป. 13/2561 เรื่อง วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยื่นขอรับรองคุณสมบัติสำหรับคนต่างด้าวที่ประสงค์จะยื่นขอรับการตรวจลงตรา ประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa)
                    4. ทั้งนี้ เมื่อได้มีการแก้ไขปรับปรุงหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการออก Smart Visa พร้อมทั้งกำหนดกระบวนการบูรณาการการทำงานและมอบหมายภารกิจต่าง ๆ ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 3 แล้ว กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) และ สกท. จะดำเนินการแก้ไขประกาศและคำสั่งที่เกี่ยวกับการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น เพื่อให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายและวิธีการรับรองคุณสมบัติที่กำหนดข้างต้น
                    สาระสำคัญของร่างระเบียบและร่างประกาศ
                    1. ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. .... (ร่างระเบียบฯ) มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน พ.ศ. 2540 โดยกำหนดให้ (1) ผู้พำนักระยะยาวและผู้ติดตาม รวมถึงบุคลากรกองถ่ายภาพยนตร์ต่างประเทศมีสิทธิใช้บริการที่ศูนย์บริการวีช่าฯ (2) กำหนดให้เลขาธิการ สกท. มีอำนาจในการแต่งตั้งผู้อำนวยการและผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์บริการวีซ่าฯ และ (3) กำหนดให้ศูนย์บริการวีซ่าฯ มีอำนาจในการแก้ไขและยกเลิกตราประทับที่ได้รับจาก สตม. ในพื้นที่รับผิดชอบอื่น และการแก้ไขและยกเลิกการตรวจลงตราจากสถานเอกอัครราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ในต่างประเทศได้
                    2. ร่างประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป. ../.... เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (Long-Term Resident Visa) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และคุณสมบัติของคนต่างด้าว ที่จะขอรับการออกวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว สรุปได้ดังนี้
                              2.1 กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขสำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย (Long-Term Resident Visa) ของคนต่างด้าว [ประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy Global Citizen) ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealthy Pensioner) ผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work-From-Thailand Professional) และผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ (High-Skilled Professional) และผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของคนต่างด้าวดังกล่าว] และแก้ไขเพิ่มเติมในบางประเด็น เช่น ผู้ยื่นคำขอ
                                        1) ต้องแสดงกรมธรรม์ประกันสุขภาพซึ่งคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทยไม่น้อยกว่า 50,000 เหรียญสหรัฐซึ่งมีระยะเวลาคุ้มครองคงเหลือไม่น้อยกว่า 10 เดือน ณ วันที่ออกหนังสือรับรองคุณสมบัติ หรือสิทธิประกันสังคมซึ่งคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในประเทศไทย หรือเงินฝากในบัญชีในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ ไม่น้อยกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐ ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนนับถึงวันที่ยื่นคำขอ
                                        2) ต้องแสดงหลักฐานการมีรายได้ส่วนบุคคลขั้นต่ำ เช่น มีรายได้ส่วนบุคคล เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 80,000 เหรียญสหรัฐต่อปี ในระยะเวลา 2 ปีก่อนวันที่ยื่นคำขอ
                                        3) ต้องแสดงสัญญาจ้างหรือสัญญาบริการกับกิจการในประเทศ หรือกับกิจการในต่างประเทศ
                                        4) ต้องแสดงหลักฐานการมีประสบการณ์การทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 5 ปีในห้วงระยะเวลา 10 ปีนับถึงวันที่ยื่นคำขอ ยกเว้นผู้ที่เข้ามาทำงานในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ หรือสถาบันวิจัยของรัฐ หรือสถาบันฝึกอบรมเฉพาะทางของรัฐ หรือหน่วยงานภาครัฐ หรือผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกหรือเทียบเท่าขึ้นไป
                              2.2 กำหนดให้คนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2.1 และได้รับสิทธิเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและสิทธิอื่น ๆ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามที่ มท. สตม. และหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องประกาศกำหนด
                    3. ร่างประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป. ../ .... เรื่องหลักเกณฑ์และเงื่อนไข สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) (ร่างประกาศฯ) มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไข การรับรองคุณสมบัติผู้มีสิทธิขอ Smart Visa สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ โดยยกเลิกประกาศ สกท. ที่ ป.12/2561 ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2561 เรื่อง คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข สำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) และออกประกาศฉบับใหม่ โดยยังคงประเภท คุณสมบัติ และเงื่อนไขเดิมของ Smart Visa ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 และเพิ่มประเภทอุตสาหกรรมเป้าหมายให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมของ Smart Visa และอุตสาหกรรมเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 รวมทั้งอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีศักยภาพสูงในอนาคต สรุปได้ดังนี้
                              3.1 กำหนดคุณสมบัติคนต่างด้าว (ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นนักลงทุน และผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง ซึ่งประสงค์จะทำงาน ลงทุน จัดตั้งหรือประกอบธุรกิจในประเทศไทยในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตามที่ สกท. กำหนด และผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของคนต่างด้าวดังกล่าว) ที่ประสงค์จะยื่นขอรับรองคุณสมบัติเพื่อขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) ต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขตามที่ สกท. กำหนด เช่น
                                        1) ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยหน่วยงานในเครือข่ายของศูนย์บุคลากรทักษะสูง (Strategic Talent Center: STC) หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                                        2) ต้องมีการลงทุนโดยตรงในนามของผู้ขอไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาท ในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ หรือในบริษัทเงินร่วมลงทุน
                              3.2 กำหนดให้คนต่างด้าวที่มีคุณสมบัติตามข้อ 3.1 (ยกเว้นคู่สมรสและบุตรของคนต่างด้าวที่เป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ขอรับอนุญาตระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน) ได้รับสิทธิเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและสิทธิอื่น ๆ ตามที่มีการอนุญาตให้คนต่างด้าว บางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น นักลงทุน และผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง โดยต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ มท. สตม. และหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้องประกาศกำหนด
1 วีซ่าประเภทพิเศษที่กำหนดให้แก่ชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (10 S - Curve) จำนวน 10 อุตสาหกรรม เพื่อดึงดูดบุคลากรทักษะสูงและนักลงทุนที่จะมีส่วนช่วยเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ตอบสนองการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและนโยบายประเทศไทย 4.0 รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้แก่บุคลากรชาวไทยทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดย สกท. ได้เปิดให้บริการ Smart Visa ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 61 [ทั้งนี้ ตามมติ ครม. (6 พ.ย. 61) ยังคงหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้คนต่างชาติ (ผู้ได้รับสิทธิ) ต้องไม่ทำงานต้องห้าม ตามที่กฎหมายกำหนดไว้เช่นเดิมและมีการเพิ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย อีก 3 อุตสาหกรรม ได้แก่ (1) การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ (3) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน]

4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยรับความเห็นหน่วยงานไปประกอบการพิจารณา  แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    แก้ไขหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของคณะกรรมการประกันสังคม คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม กรรมการการแพทย์ และกรรมการอุทธรณ์แก้ไขวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการประกันสังคม ที่ปรึกษาและคณะกรรมการการแพทย์แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการประกันสังคมมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารพนักงานและลูกจ้าง รวมทั้งการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 และมาตรา 39 กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของผู้ประกันตนเกี่ยวกับสิทธิการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง การให้ผู้รับบำนาญสามารถกลับเข้าเป็นผู้ประกันตนสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรโดยเป็นการเหมาจ่าย รวมทั้งการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราการได้รับเงินทดแทนจากการขาดรายได้ของผู้ประกันตนที่ทุพพลภาพ ประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ หลักเกณฑ์การรับเงินบำนาญชราภาพ และหลักเกณฑ์การได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงาน กำหนดมาตรการการลงโทษทางอาญาแก่นายจ้าง รายละเอียดดังนี้
                    1. แก้ไขหลักเกณฑ์ วิธีการได้มาของคณะกรรมการประกันสังคมในส่วนของผู้แทนฝ่ายนายจ้างและผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี การกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการประกันสังคม กรรมการการแพทย์ และกรรมการอุทธรณ์ แก้ไขวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการประกันสังคมที่ปรึกษา และคณะกรรมการการแพทย์ให้มีเพียงวาระเดียว และแก้ไขอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการของคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น
                    2. แก้ไขเพิ่มเติมให้คณะกรรมการประกันสังคมมีอำนาจในการวางระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินของกองทุน และการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้และวางระเบียบและกำหนดข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคลของพนักงานและลูกจ้างของสำนักงาน
                    3. แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขของการเป็นผู้ประกันตน ดังนี้
                              3.1 กำหนดให้ลูกจ้างซึ่งอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์และจากเดิมอายุไม่เกิน 60 ปี เป็น อายุไม่เกิน 65 ปี หรืออายุขั้นสูงตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเป็นผู้ประกันตน เพื่อให้แรงงานกลุ่มผู้สูงอายุได้รับความคุ้มครองในระบบประกันสังคม
                              3.2 กำหนดให้ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 โดยจ่ายเงินสมทบมาแล้ว จากเดิม ไม่น้อยกว่า 12 เดือน เป็น ไม่น้อยกว่า 48 เดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนได้สิ้นสุดลง ถ้าผู้นั้นประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไป ให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนดภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนเพื่อปรับเงื่อนไขในส่วนของระยะเวลาการส่งเงินสมทบของผู้ประกันตนที่ต้องการมาสมัครเข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้เหมาะสม
                    4. แก้ไขการคำนวณเงินเพิ่มค้างชำระเงินสมทบของผู้ประกันตนตามมาตรา 39 โดยผู้ประกันตนซึ่งไม่ส่งเงินสมทบหรือส่งไม่ครบจำนวนภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ต้องจ่ายเงินเพิ่มในอัตราร้อยละสองต่อเดือนของจำนวนเงินสมทบที่ยังมิได้นำส่งหรือของจำนวนเงินสมทบที่ยังขาดอยู่นับแต่วันถัดจากวันที่ต้องนำส่งเงินสมทบ จากเดิมสำหรับเศษของเดือนถ้าถึงสิบห้าวันหรือกว่านั้นให้นับเป็นหนึ่งเดือน ถ้าน้อยกว่านั้นให้ปัดทิ้ง เป็น ทั้งนี้ เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกินจำนวนเงินสมทบที่ต้องจ่าย เพื่อให้การคำนวณเงินเพิ่มค้างชำระเงินสมทบมีความชัดเจนและเป็นธรรมต่อผู้ประกันตน
                    5. แก้ไขหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนของผู้ประกันตน
                              5.1 กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างที่ได้ส่งเงินสมทบครบตามเงื่อนเวลา และภายหลังการสิ้นสภาพเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรต่อไปอีก 6 เดือน (จากเดิม ผู้ประกันตนที่สิ้นสภาพจะได้รับประโยชน์ทดแทน 4 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร และกรณีตาย) เพื่อขยายความคุ้มครองให้ผู้ประกันตนได้รับมากขึ้น
                              5.2 กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนซึ่งเป็นผู้รับบำนาญชราภาพประสงค์จะเป็นผู้ประกันตนต่อไปให้แสดงความจำนงต่อสำนักงานตามระเบียบที่เลขาธิการกำหนดภายใน 6 เดือนนับแต่วันสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน และให้นำส่งเงินสมทบเพื่อให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน 3 กรณี คือ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุกพลภาพและกรณีตายโดยสิทธิดังกล่าวไม่สามารถโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีและในกรณีที่ตรวจสอบแล้วพบว่าผู้ประกันตนหรือบุคคลซึ่งมีสิทธิมีหนี้อันเกิดจากการดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ สปส. มีสิทธิหักเงินประโยชน์ทดแทนที่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิมีหนี้ค้างชำระกลับเข้ากองทุน (จากเดิม ผู้ประกันตนซึ่งเป็นผู้รับบำนาญชราภาพไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนอีกได้) เพื่อให้ผู้ที่สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับทั้งเงินบำนาญชราภาพรายเดือน และสิทธิประโยชน์ดังกล่าว
                    6. แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรไม่เกินสองครั้ง เป็นการเหมาจ่ายในอัตราครั้งละร้อยละห้าสิบของค่าจ้าง จากเดิม 90 วัน เป็นเวลา 98 วัน หรือระยะเวลาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง เพื่อกำหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรเพิ่มขึ้น
                    7. แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนทุพพลภาพอันมิใช่จากการทำงานมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ จากเดิม ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เป็น ร้อยละ 70 ของค่าจ้าง เพื่อกำหนดให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพเพิ่มขึ้น
                    8. แก้ไขเพิ่มเติมประเภทของประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพเพิ่มขึ้น ได้แก่ 1) เงินเลี้ยงชีพรายเดือน เรียกว่า เงินบำนาญชราภาพ 2) เงินบำเหน็จที่จ่ายให้ครั้งเดียว เรียกว่า เงินบำเหน็จชราภาพ และ 3) เงินที่จ่ายให้ก่อนรับเงินบำนาญชราภาพ เรียกว่า ?เงินบำนาญจ่ายล่วงหน้า? (จากเดิม กำหนดประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพไว้ 2 ประเภท คือเงินบำนาญชราภาพ และเงินบำเหน็จชราภาพ) เพื่อกำหนดให้ผู้ประกันตนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพก่อนที่จะได้รับนั้น สามารถมีสิทธิได้รับเงินก้อนส่วนหนึ่งก่อนได้
                    9. แก้ไขเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนที่จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือนมีสิทธิเลือกได้รับเงินบำนาญชราภาพหรือเงินบำเหน็จชราภาพ ตั้งแต่เดือนถัดจากเดือนที่อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และกำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนสามารถยื่นขอรับเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาก่อน หรือสามารถนำไปเป็นหลักประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงิน (จากเดิม กำหนดให้ผู้รับประกันตนที่ส่งงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเท่านั้น และผู้ประกันตนไม่สามารถยื่นขอรับเงินกรณีชราภาพบางส่วนออกมาก่อนหรือสามารถนำหลักประกันมาใช้ได้)
                    10. กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนซึ่งมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพถึงแก่ความตายก่อนที่จะได้รับประโยชน์ทดแทน หรือผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายภายใน 60 เดือนนับแต่เดือนที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพ ให้สำนักงานหักเงินชราภาพของผู้ประกันตนซึ่งมีหน้าที่ต้องชำระอันเกิดจากการดำเนินการที่นำเงินชราภาพบางส่วนไปเป็นหลักประกันกับสถาบันการเงินไว้เพื่อส่งใช้กองทุนก่อนในกรณีมีเงินชราภาพเหลืออยู่ และเมื่อหักเงินดังกล่าวแล้วเหลือเท่าไรให้ทายาทของผู้นั้นซึ่งมีชีวิตอยู่ในวันที่ผู้ประกันตน หรือผู้รับเงินบำนาญชราภาพถึงแก่ความตายมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตรา และการหักส่วนลดเงินบำเหน็จหรือบำนาญชราภาพที่จะได้รับตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (เดิม มิได้กำหนดให้สำนักงานประกันสังคมสามารถหักเงินชราภาพได้)
                    11. กำหนดเพิ่มเติมให้ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานต่อเมื่อผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือนและต้องอยู่ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนการว่างงานและจะต้องมิใช่ผู้ได้รับหรือเคยได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีชราภาพ และมีอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ (เดิม กำหนดให้ผู้ประกันตนที่มีอายุเกิน 55 ปีบริบูรณ์ได้รับสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเท่านั้น) เพื่อให้ผู้ประกันตนที่มีอายุเกิน 55 ปีบริบูรณ์แต่ไม่ถึง 60 ปีบริบูรณ์และที่ยังคงทำงานได้สามารถมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เสียก่อนที่จะได้ประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเพื่อให้ได้รับประโยชน์ทดแทนใดประโยชน์ทดแทนหนึ่งให้แล้วเสร็จก่อน
                    12. แก้ไขมาตรการการลงโทษทางอาญาแก่นายจ้าง ดังนี้
                              12.1 กำหนดให้นายจ้างซึ่งไม่ยื่นแบบรายการต่อสำนักงานภายในกำหนดเวลา หรือไม่แจ้งเป็นหนังสือต่อสำนักงานขอให้เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการภายในกำหนดเวลา หรือไม่ยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (เดิม กำหนดให้นายจ้างที่มีเจตนาไม่ยื่นแบบรายงานหรือไม่แจ้งเป็นหนังสือมีความผิด)
                              12.2 กำหนดให้นายจ้างผู้ใดยื่นแบบรายการ หรือแจ้งขอเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเพิ่มเติมรายการ หรือยื่นแบบรายการแสดงการส่งเงินสมทบ อันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
                    13. กำหนดให้มีบทเฉพาะกาล
                              13.1 กำหนดให้ให้คณะกรรมการประกันสังคมซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ยังคงปฏิบัติหน้าที่อยู่ต่อไปจนกว่าจะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการประกันสังคมตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 180 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
                              13.2 กำหนดให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ได้ออกตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศที่ออกตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ


5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (บจธ.) เสนอ  และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาโดยให้ บจธ. ส่งผลการประประเมินของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อประกอบการตรวจพิจารณาด้วย
                    สาระสำคัญ
                    เป็นการแก้ไขบทบัญญัติในการยุบเลิกสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) โดยให้ขยายระยะเวลาดำเนินการออกไปอีก และให้ยุบเลิกเมื่อ ?ครบระยะเวลา 3 ปี นับแต่เมื่อพ้นวันที่ 7 มิถุนายน 2565?

6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก (ฉบับที่ ...)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การยกเว้นอากร ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก (ฉบับที่ ...) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เพื่อกระทรวงการคลังจะได้ดำเนินการออกประกาศกระทรวงการคลังให้มีผลใช้บังคับต่อไป
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการคลัง โดยกรมศุลกากร ได้ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง               การยกเว้นอากร ลดและเพิ่มอัตราอากรศุลกากรตามข้อผูกพันในความตกลงมาร์ราเกชจัดตั้งองค์การการค้าโลก                   (ฉบับที่ ...) ซึ่งมีสาระสำคัญในการลดอัตราอากรนำเข้าสำหรับสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้ WTO ในโควตา ตามประเภทย่อย 1005.90.99 รหัสย่อย 71 จากเดิมอัตราในโควตาร้อยละ 20 เป็นอัตราอากรในโควตาร้อยละ 0 ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กรกฎาคม 2565
                    ประโยชน์ที่ได้รับจากการลดอัตราอากรและยกเว้นอากรศุลกากร
                    (1) บรรเทาปัญหาต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ในช่วงที่ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไม่เพียงพอ
                    (2) สนับสนุนการบริหารวัตถุดิบให้มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ
                    (3) ส่งเสริมมาตรการดูแลคุ้มครองเกษตรกรและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในระบบอุตสาหกรรม

7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ของกระทรวงมหาดไทย ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย
                    1. กำหนดประเภทการตรวจลงตรา สำหรับผู้พำนักระยะยาวขึ้นมาใหม่ โดยเป็นการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ประเภทผู้พำนักระยะยาว (long - term resident visa : LTR Visa) โดยมีอายุการตรวจลงตรา 10 ปี
                    2. กำหนดคุณสมบัติของคนต่างด้าว ที่ได้รับสิทธิการตรวจลงตราประเภท LTR Visa รวมถึงผู้ติดตามของคนต่างด้าว (คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีอายุไม่เกิน 20 ปี จำนวนไม่เกิน 4 คน)               4 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
                              2.1 กลุ่มประชากรผู้มีความมั่งคั่งสูง (Wealthy global citizen)
                              2.2 กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ (Wealth pensioner)
                              2.3 กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย (Work - from - Thailand professional)
                              2.4 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (High - skilled professional)
                              ทั้งนี้ คนต่างด้าวดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ สกท. ประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
                    3. กำหนดวิธีการยื่นคำขอหนังสือรองรับคุณสมบัติ โดยกำหนดให้ดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก (เดิม ไม่ได้กำหนดไว้) ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้หรือมีเหตุอื่นทำให้ไม่สามารถดำเนินการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ยื่นคำขอ ณ สกท. หรือสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในต่างประเทศ หรือสถานที่หรือวิธีการอื่นที่ สกท. กำหนด
                    4. กำหนดหลักเกณฑ์การยื่นคำขอรับการตรวจลงตรา (long - term resident visa : LTR Visa) โดยกำหนดให้คนต่างด้าวได้รับหนังสือรับรองคุณสมบัติตามข้อ 3 แล้ว ให้คนต่างด้าวยื่นคำขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ ประเภทผู้พำนักระยะยาว (long - term resident visa : LTR Visa) โดยสามารถยื่นขอรับการตรวจลงตราได้จากสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยในต่างประเทศ หรือจาก สตม. สำหรับใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง ภายในอายุการใช้งานการตรวจลงตรา 10 ปี โดยต้องยื่นขอรับการตรวจลงตราภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือรับรอง
                    5. กำหนดให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามของคนต่างด้าวที่ได้รับ LTR Visa เสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราครั้งเดียวในอัตรา 50,000 บาท (เดิม กำหนดให้คนต่างด้าวและผู้ติดตามเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตราในอัตราครั้งเดียว 100,000 บาท)
                    6. การแจ้งที่พัก คนต่างด้าวและผู้ติดตามจะต้องแจ้งข้อมูลที่พักต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองเมื่อพำนักในราชอาณาจักรทุก 1 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาต
                    7. การอนุญาตให้ทำงาน เมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานสามารถยื่นคำขอใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
                    8. การขอเปลี่ยนประเภทวีซ่า หากคนต่างด้าวและผู้ติดตามซึ่งได้รับ LTR Visa มีความประสงค์จะขอรับการตรวจลงตราเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรด้วยวัตถุประสงค์อื่นให้สามารถกระทำได้ โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ สตม. กำหนด
                    9. การเพิกถอนวีซ่า คนต่างด้าวจะถูกเพิกถอนวีซ่า LTR เมื่อไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยนี้ และคุณสมบัติไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด
                    ทั้งนี้ กำหนดให้ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้น 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

เศรษฐกิจ ? สังคม
8. เรื่อง การเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2563/64 ของเกษตรกร                 ที่มีวันเพาะปลูกก่อน 1 เมษายน 2563 และเก็บเกี่ยวหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2563 (เพิ่มเติม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบความคืบหน้าผลการดำเนินการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง (โครงการประกันรายได้ฯ) และมาตรการคู่ขนาน
                    2. ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 จากเดิม เห็นชอบการให้สิทธิเกษตรกรกลุ่มที่แจ้งปลูกตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563 และมีช่วงเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 8 - 12 เดือน รวมทั้งยังไม่เคยได้รับสิทธิในโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2562/63 จำนวนเกษตรกรรวมทั้งสิ้น 84,186 ครัวเรือน พื้นที่ 856,578 ไร่ เข้าร่วมโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2563/64 เป็น ให้สิทธิเกษตรกรกลุ่มที่แจ้งปลูกตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 -                    31 มีนาคม 2563 และมีช่วงเก็บเกี่ยวตั้งแต่ 8 - 12 เดือน (เก็บเกี่ยวหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2563) และไม่ซ้ำแปลงที่มีสิทธิตามโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2563/64 จำนวน 204,334 ครัวเรือน ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้มี           การตรวจสอบสิทธิแล้ว โดยมีจำนวนเกษตรกรที่เพิ่มขึ้นอีก 120,148 ครัวเรือน ประมาณการวงเงินชดเชย ที่เพิ่มขึ้น 1,191.18 ล้านบาท ภายใต้กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2563
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติวันที่ 25 ตุลาคม 2564 กรมส่งเสริมการเกษตรได้ตรวจสอบสิทธิเกษตรกรที่มีสิทธิตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้ตรวจสอบและยืนยันข้อมูลจำนวนเกษตรกร 120,148 ครัวเรือน ประมาณการวงเงินชดเชย 1,191.18 ล้านบาท
                    2. ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) ครั้งที่ 1/2565 [รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) เป็นประธาน] เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
                              2.1 รับทราบผลการดำเนินโครงการประกันรายได้ฯ และมาตรการคู่ขนาน ปี 2563/64 และ ปี 2564/65 ดังนี้
มติที่ประชุม นบมส.          รายละเอียด
          ปี 2563/64          ปี 2564/65
1) รับทราบผลการดำเนินโครงการประกันรายได้ฯ                ปี 2563/64 และ ปี 2564/65          คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูก                 มันสำปะหลังได้พิจารณากำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงและชดเชยส่วนต่างตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2563/64 ทั้งสิ้น                12 งวด โดย ธ.ก.ส. โอนเงินให้เกษตรกรแล้ว จำนวน 549,986 ครัวเรือน (ไม่นับซ้ำ) จำนวนเงิน 3,652.15 ล้านบาท (ร้อยละ 38.16 ของวงเงินจ่ายชดเชยทั้งหมด)          คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังได้พิจารณากำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงและชดเชยส่วนต่างตามโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง               ปี 2564/65 แล้ว 4 งวด ไม่มีการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกร เนื่องจากราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทั้ง 4 งวดสูงกว่าราคาเป้าหมาย (กิโลกรัมละ 2.5 บาท)
2) รับทราบผลการดำเนินมาตรการคู่ขนาน ปี 2563/64 และ ปี 2564/65
     2.1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง



2.1) มีการจ่ายเงินกู้จำนวน 1,913 ราย เป็นเงิน 269.78 ล้านบาท คิดเป็น          ร้อยละ 38.26 ของเกษตรกรเป้าหมาย 5,000 ราย


2.1) มีการจ่ายเงินกู้จำนวน 212 สัญญา จำนวนเงิน 40.79 ล้านบาท คิดเป็น               ร้อยละ 7.07 ของเกษตรกรเป้าหมาย               3,000 ราย

     2.2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
2.2) มีการจ่ายเงินกู้จำนวน 18 ราย เป็นเงิน 168.7 ล้านบาท คิดเป็น 0.067 ล้านตัน (จากเป้าหมาย 0.6 ล้านตัน)
2.2) มีการจ่ายเงินกู้จำนวน 4 สัญญา จำนวนเงิน 54.6 ล้านบาท คิดเป็นผลผลิตประมาณ 0.027 ล้านตัน

     2.3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกมันสำปะหลัง          มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 75 ราย ปริมาณเก็บสต็อกสูงสุดเดือนมีนาคม 2564 ปริมาณผลิตภัณฑ์รวม 0.97              ล้านตัน ขณะนี้อยู่ระหว่างการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการ 68 ราย ใน 22 จังหวัด มูลค่าขอรับการชดเชยทั้งสิ้น 86.53 ล้านบาท          มีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวน 111 ราย วงเงินสินเชื่อจำนวน 14,851.24              ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ


  2.4) โครงการเพิ่มศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง
(ไม่มีการดำเนินโครงการฯ ในปีนี้)

สนับสนุนเงินทุนเพื่อจัดหาเครื่องสับมันสำปะหลังให้แก่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมาย (วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์การเกษตร            กลุ่มเกษตรกร กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน หรือกลุ่มเกษตรกรอื่นที่อยู่ภายใต้การรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ) เพื่อผลิตมันเส้นช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม เป้าหมาย               650 เครื่อง เครื่องละ 15,000 บาท ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินโครงการ
                              2.2 การเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2563/64 ของเกษตรกรที่มีวันเพาะปลูกก่อน 1 เมษายน 2563 และเก็บเกี่ยวหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2563 (เพิ่มเติม)
                                        2.2.1 รับทราบข้อมูลเกษตรกรตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรตรวจสอบ               สิทธิเกษตรกรที่มีสิทธิตามโครงการประกันรายได้ฯ ปี 2563/64 เฉพาะในส่วนที่ได้ขยายระยะเวลา (ระหว่าง               1 ตุลาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 โดยมีช่วงเก็บเกี่ยวตั้งแต่                8 - 12 เดือน และไม่ซ้ำแปลง จำนวน 120,148 ครัวเรือน ประมาณการวงเงินชดเชย 1,191.18 ล้านบาท
                                        2.2.2 เห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการจ่ายเงินชดเชยประกันรายได้ให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูกมันสำปะหลัง โดยมีวันเพาะปลูกตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2562 - 31 มีนาคม 2563 และเก็บเกี่ยวหลังวันที่ 1 ธันวาคม 2563 ภายใต้กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้เมื่อวันที่       18 สิงหาคม 2563 ทั้งนี้ ให้กรมส่งเสริมการเกษตร และ ธ.ก.ส. ตรวจสอบคุณสมบัติเกษตรกรก่อนการเบิกจ่าย              ตามหลักเกณฑ์โครงการฯ
                    3. พณ. ได้รายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 ที่ได้มอบหมายให้ พณ. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
25 ตุลาคม 2564          ผลความคืบหน้า
1) พิจารณากำหนดแนวทางในการตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียนพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรในโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูก             มันสำปะหลังให้ถูกต้องแม่นยำ          กรมส่งเสริมการเกษตร กษ. ได้กำหนดแนวทางในการตรวจสอบข้อมูลการลงทะเบียน ดังนี้
(1) แจ้งสำนักงานเกษตรจังหวัดตรวจสอบและยืนยันข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 มีนาคม 2564 เพื่อเป็นหลักฐานในการยืนยันความถูกต้องของข้อมูล
(2) ประมวลผลข้อมูลเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังส่งให้ ธ.ก.ส. ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกร ผู้ปลูกมันสำปะหลัง ครั้งที่ 12/2564
(3) ตามคู่มือการขึ้นทะเบียนเกษตรกร กรอบการแจ้งการเพาะปลูกมันสำปะหลังของกรมส่งเสริมการเกษตรนั้น เกษตรกรสามารถมาแจ้งเพาะปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยสามารถแจ้งได้เมื่อเพาะปลูกแล้วอย่างน้อย 15 วัน ถึง 1 เดือนก่อนการเก็บเกี่ยว โดยสามารถแจ้งได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือผ่านแอปพลิเคชัน              สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล โดยมีขั้นตอนการตรวจสอบข้อมูล ดังนี้
     (3.1) ตรวจสอบเอกสารหลักฐาน
     (3.2) ระบบโปรแกรมตรวจสอบความถูกต้อง เช่น ตรวจสอบข้อมูลพื้นที่และขอบเขตเอกสารสิทธิ์ น.ส.4 จากกรมที่ดิน
     (3.3) ตรวจสอบทางสังคม โดยจัดพิมพ์ข้อมูลติดประกาศเพื่อให้เกษตรกร             ในหมู่บ้าน/ชุมชนนั้นตรวจสอบ
     (3.4) การตรวจสอบพื้นที่และจัดทำผังแปลงเกษตรกรรมดิจิทัล ดำเนินการโดยใช้เครื่อง GPS ออกเดินสำรวจรอบแปลงพื้นที่จริง เพื่อวัดและจับพิกัดแปลง หรือวาดแปลงด้วยระบบ
2) การเร่งรัดการขยายตลาดส่งออกสินค้ามันสำปะหลังไปยังต่างประเทศฯ          พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการขยายตลาดส่งออกสินค้า                 มันสำปะหลังไปยังต่างประเทศ ดังนี้
(1) ตลาดใหม่ (เป้าหมายหลัก ได้แก่ สาธารณรัฐตุรกี ราชอาณาจักรนิวซีแลนด์ สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐเกาหลี และประเทศญี่ปุ่น) : กรมการค้าต่างประเทศได้จัดประชุมร่วมกับผู้ส่งออกมันสำปะหลังของไทย เพื่อเจรจาการค้ากับผู้ค้าในสาธารณรัฐตุรกี เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้ามันอัดเม็ดและกากมันอัดเม็ดเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของสาธารณรัฐตุรกี ทั้งนี้ สาธารณรัฐตุรกีมีความต้องการนำเข้าสูงมาก อย่างไรก็ดี เนื่องจากค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นและอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลลีราตุรกีมีความผันผวนสูงมากส่งผลให้ภาคเอกชนชะลอการซื้อขายกับสาธารณรัฐตุรกีออกไปก่อน
(2) ตลาดเดิม (สาธารณรัฐประชาชนจีน) : เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2564 กรมการค้าต่างประเทศได้จัดประชุมร่วมกับผู้ส่งออกมันสำปะหลังของไทยและนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารสัตว์ของไทย เพื่อเจรจาการค้ากับผู้ค้าในสาธารณรัฐประชาชนจีน (เมืองเซี่ยเหมิน) เพื่อส่งเสริมการส่งออกสินค้ามันเส้นเข้าสู่อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในจีน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่รองรับผลผลิตได้มาก โดยปัจจุบันสามารถสร้างมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นแล้ว 7,401 ล้านบาท (ข้อมูล                 ณ วันที่ 18 เมษายน 2565)
(3) กิจกรรมจับคู่ธุรกิจออนไลน์ (OBM) ระหว่างวันที่ 29 - 30 มีนาคม 2565 กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินการร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจัดกิจกรรม OBM ระหว่างผู้ส่งออกไทยและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง จาก               11 ประเทศ 1 เขตเศรษฐกิจ (เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐอินเดีย ประเทศญี่ปุ่น สหพันธรัฐมาเลเซีย เป็นต้น) คาดการณ์มูลค่าซื้อขายภายใน 1 ปี 650.88 ล้านบาท
3) การดำเนินการทำประกันภัยผลผลิตมันสำปะหลังเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือเยียวยาในกรณีต่าง ๆ          อยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

9. เรื่อง ข้อเสนองบประมาณการดำเนินมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป ตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่                29 มีนาคม 2565 และวันที่ 19 เมษายน 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมวันที่ 29 มีนาคม 2565 และวันที่                   19 เมษายน 2565 ในมาตรการให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน เป็นระยะเวลา 4 เดือน (เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565) โดยผู้ใช้ไฟฟ้าดังกล่าวที่จ่ายค่าไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้า             นครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้าจากการลดค่า Ft ที่ 0.2338 บาทต่อหน่วย
                    2. เห็นชอบงบประมาณในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวโดยใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยให้ กฟน. และ กฟภ. เบิกจ่ายจากสำนักงบประมาณ (สงป.) ต่อไป

                    สาระสำคัญ
                    1. ส่วนต่างอัตราค่า Ft ตามมติคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งได้เห็นชอบค่า Ft สำหรับการเรียกเก็บในงวดเดือนมกราคม - เมษายน 2565 และมีการปรับค่า Ft เพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565 สรุปได้ ดังนี้
มติ กกพ.          ระยะเวลา          ค่า Ft (บาทต่อหน่วย)
วันที่ 17 พฤศจิกายน 2564          เดือนมกราคม - เมษายน 2565          0.0139
วันที่ 30 มีนาคม 2565          เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565          0.2477
ส่วนต่างค่า Ft (ที่เพิ่มขึ้น)          0.2338
                    2. มท. (กฟน. และ กฟภ.) ได้ดำเนินมาตรการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 และวันที่ 19 เมษายน 2565 เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องมาจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป โดยให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ที่จ่ายค่าไฟฟ้าให้แก่ กฟน. และ กฟภ. และมียอดการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือนเป็นระยะเวลา 4 เดือน (เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565) โดยจะได้รับส่วนลดค่าไฟฟ้าจากการลดค่า Ft ที่ 0.2338 บาทต่อหน่วย (ส่วนต่างค่า Ft ที่เพิ่มขึ้นจากเดิม) ผ่านใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือน โดยผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ต้องมีการลงทะเบียน
                    3. มท. (กฟน. และ กฟภ.) ได้ประมาณการงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวสรุปได้ ดังนี้
ประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า          กฟน.          กฟภ.          รวม
          ล้านราย          ล้านบาท          ล้านราย          ล้านบาท          ล้านราย          ล้านบาท
บ้านอยู่อาศัย          2.02          206.75          15.99          1,444.95          18.01          1,651.70
กิจการขนาดเล็ก
(ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ)          0.10          9.44          0.70          63.81          0.80          73.25
รวม          2.12          216.19          16.69          1,508.76          18.81          1,724.95
                    4. สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ มท. โดย กฟน. และ กฟภ. ดำเนินการตามมาตรการให้ส่วนลดอัตราค่า Ft โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในกรอบวงเงินจำนวนทั้งสิ้น 1,724.95 ล้านบาท เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานอันเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป โดย กฟน. และ กฟภ. ให้ส่วนลดอัตราค่า Ft ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ที่มียอดการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน เป็นระยะเวลา 4 เดือน (เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565) จำนวน 216.19 ล้านบาท และ 1,508.76 ล้านบาท ตามลำดับ
                    5. มท. แจ้งว่า มาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าทำให้ลดภาระค่าไฟฟ้า/ค่าครองชีพแก่ประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ทำให้ประชาชนและกิจการขนาดเล็ก มีเงินเพื่อการบริโภคและอุปโภคเป็นการลดผลกระทบและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการ รวมไปถึงการใช้ชีวิตของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจไทยในภาพรวมสามารถขับเคลื่อนได้ในระยะต่อไป

10. เรื่อง การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ 16 สาขา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 11) ประกาศ ณ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ประกาศใน             ราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้ รง. รับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    รง. รายงานว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 79 (4) บัญญัติให้คณะกรรมการค่าจ้างมีอำนาจหน้าที่กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ1 และมาตรา 87 วรรคสี่ บัญญัติให้ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ให้คณะกรรมการค่าจ้างศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละอาชีพตามมาตรฐานฝีมือที่กำหนดไว้ โดยวัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ และความสามารถ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด [ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) ประกาศ ณ วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2562 กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 313 - 336 บาท/วัน ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา] และมาตรา 88 บัญญัติให้คณะกรรมการค่าจ้างประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ โดยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งในการจัดทำอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ คณะกรรมการค่าจ้างได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (คณะอนุกรรมการฯ) จำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการฯ กลุ่มสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง คณะอนุกรรมการฯ กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ และคณะอนุกรรมการฯ กลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ เพื่อศึกษาและจัดทำ (ร่าง) อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ จำนวน 16 สาขา (ร่างอัตราค่าจ้างฯ) เสนอคณะกรรมการค่าจ้างพิจารณา โดยได้พิจารณาข้อมูลผล             การสำรวจความคิดเห็นสถานประกอบกิจการ ลูกจ้างและผู้ผ่านการทดสอบฝีมือแรงงานแห่งชาติ ลักษณะการทำงานในแต่ละสาขา การจ่ายค่าจ้างจริงในตลาดแรงงาน และความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง รวมถึงความเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนา ทั้งนี้ คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 212 (รองปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน) ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 ได้พิจารณา (ร่าง) อัตราค่าจ้างฯ ตามที่คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 คณะเสนอ โดยมีมติ ดังนี้
                    1. เห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ (กลุ่มสาขาอาชีพเดิม               2 กลุ่ม และกำหนดเพิ่มเติมขึ้นใหม่ 1 กลุ่ม) จำนวน 16 สาขา (กำหนดขึ้นใหม่) ที่คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 คณะเสนอ ดังนี้
หน่วย : บาท/วัน
กลุ่มสาขาอาชีพ/สาขา          ระดับ 1          ระดับ 2          ระดับ 3
กลุ่มสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง (กลุ่มสาขาอาชีพเดิม)
1. สาขาช่างติดตั้งยิปซัม          450          595          -
2. สาขาช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์          645          -          -
3. สาขาช่างปูกระเบื้องผนังและพื้น          450          550          650
4. สาขาช่างสีอาคาร          465          600          -
5. สาขาช่างก่อและติดตั้งคอนกรีตมวลเบา          475          575          -
กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ (กลุ่มสาขาอาชีพที่กำหนดเพิ่มเติมในครั้งนี้)
1. สาขาช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ)          450          550          650
2. สาขาช่างประกอบติดตั้งเฟอร์นิเจอร์          430          550          -
3. สาขาช่างฝีมือเครื่องประดับแนวอนุรักษ์ (เทคนิคโบราณ)          525          -          -
4. สาขาช่างเครื่องถม          625          -          -
กลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ (กลุ่มสาขาอาชีพเดิม)
1. สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (หัตถบำบัด)          460          575          -
2. สาขาผู้ประกอบขนมอบ          400          505          -
3. สาขาพนักงานต้อนรับส่วนหน้า          440          565          -
4. สาขาพนักงานแผนกบริหารอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร          440          -          -
5. สาขาช่างแต่งผมสตรี          440          510          650
6. สาขาช่างแต่งผมบุรุษ          430          500          630
7. สาขาการดูแลผู้สูงอายุ          500          -          -
หมายเหตุ : มาตรฐานฝีมือแรงงาน คือ ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพสาขาต่าง ๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยแบ่งเกณฑ์วัดระดับฝีมือแรงงานเป็น 3 ระดับ และจะมีรายละเอียดของเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา ซึ่งผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้รับใบรับรองผ่านการทดสอบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
                    2. เห็นชอบวันที่ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมีผลใช้บังคับ คือ เก้าสิบวันหลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
1 อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดขึ้นในแต่ละสาขาอาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในแต่ละสาขาอาชีพและแต่ละระดับให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรม อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ลูกจ้างมีการพัฒนาฝีมือแรงงานและมีผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนาของประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมถึง               เพิ่มศักยภาพแรงงานไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2 คณะกรรมการค่าจ้างชุดปัจจุบัน คือ คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 โดยคณะกรรมการค่าจ้างแต่ละชุดจะได้รับ            การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี

11. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 11 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-28 กุมภาพันธ์ 2565)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ  สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 11 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-28 กุมภาพันธ์ 2565) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. นโยบายหลัก 9 ด้าน
นโยบายหลัก          มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์          1.1) กิจกรรมผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง/ผู้นำต้องทำก่อน ได้น้อมนำ            แนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการแล้ว 76 จังหวัด มีผู้นำที่เข้าร่วม              110,201 คน
1.2) พิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ประชาสัมพันธ์ทางเพจเฟซบุ๊ก                 ?พิราบลายพราง? เกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันฯ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565
มียอดถูกใจเพจ 11,361 คน และมียอดกดติดตามเพจ 12,104 คน

2) การสร้างความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ          2.1) ป้องกันการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สามารถจับกุมผู้ลักลอบ             เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบก 366 ครั้ง และผู้ต้องหา                5,508 คน
2.2) โครงการเฝ้าระวังเว็บไซต์ผิดกฎหมาย มีคำสั่งศาลให้ระงับการแพร่หลาย
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย 18 คำสั่งศาล รวม 341 URLs

3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม          3.1) เปิดพิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า             จังหวัดพังงา เพื่อเป็นสถานที่รำลึกถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก สร้างงาน และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่
3.2) จัดงานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT
GRAND EXPOSITION ระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์การค้าพารากอน และผ่านระบบออนไลน์ มีผู้เข้าเยี่ยมชมจาก 20 ประเทศ มีผู้ซื้อรายใหญ่เข้าร่วมเจรจา 70 ราย และสามารถจับคู่เจรจาธุรกิจ ได้ถึง 265 คู่ มียอดสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้ามูลค่ากว่า 2 ล้านบาท
3.3) จัดกิจกรรมทางพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชา พ.ศ. 2565 โดยมีกิจกรรมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา ในรูปแบบปกติ ณ สถานที่ที่กำหนด และจัดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์
4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก          4.1) สานต่อความร่วมมือรอบด้านการค้า การลงทุน การบริหารจัดการ
ทรัพยากรน้ำ เทคโนโลยีการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 นายแร็มโก โยฮันเนิส ฟัน ไวน์คาร์เดินเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้ารับหน้าที่และหารือเกี่ยวกับความร่วมมือ เช่น การฟื้นการเจรจา FTA ไทย-EU
4.2) มุ่งสร้างความเป็นหุ้นส่วนไทย-สหภาพยุโรปทุกมิติ  เมื่อวันที่                     11  กุมภาพันธ์ 2565 นายเดวิด  เดลี  เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่และหารือในประเด็นความร่วมมือที่สำคัญ  เช่น ด้านยุทธศาสตร์เพื่อความร่วมมือในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของสหภาพยุโรป

5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย           เรื่อง          มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ
(1) พัฒนาภาคอุตสาหกรรม          (1.1) กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสังคม
ในนิคมสร้างตนเอง (ขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในนิคมสร้างตนเอง) โดยใช้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular- Green (BCG) Economy] โดยส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย 203 คน
(2.2) ผลักดัน ?จันทบุรี? สู่ ?นครอัญมณีของโลก? โดยจัดงาน ?เทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2021-2022? ภายใต้แนวคิด ?Chanthaburi : City of Gems? ระหว่างวันที่ 3-7 กุมภาพันธ์ 2565  มีผู้เข้าร่วมงาน 11,480 คน สร้างเม็ดเงินเข้าสู่อุตสาหกรรมบริการและท่องเที่ยวในช่วงที่มีการจัดงาน มากกว่า 200 ล้านบาท
(2) พัฒนาภาคเกษตร          (2.1) นำโมเดล BCG ขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบองค์รวมในจังหวัดราชบุรี โดยนำผลงานวิจัย ?การบริหารจัดการน้ำระดับแปลงเกษตรกรด้วยระบบน้ำหยดสำหรับอ้อย? โดยคาดว่าจะสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยในพื้นที่ได้อย่างน้อย              1.5 เท่า และสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่า 2,000 บาท ต่อไร่    ต่อปี
(2.2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (วันที่ 1 ตุลาคม 2564-28 กุมภาพันธ์ 2565) เช่น ควบคุม ตรวจสอบ และรายงานผลการเข้าออกเรือประมงพาณิชย์ 78,061 ครั้ง และตรวจสอบการนำเข้าสินค้าประมงจากเรือประมงต่างประเทศ 10,488 ครั้ง
(3) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว          (3.1) นำคณะนักท่องเที่ยวชาวซาอุดีอาระเบีย 71 คน               เดินทางเข้าราชอาณาจักรไทย โดยเที่ยวบินปฐมฤกษ์สายการบิน Saudia Airlines เที่ยวบิน SV 846 จากเมืองเจดดาห์-กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย-กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ) เที่ยวบินแรกในรอบ 32 ปี
(3.2) กระตุ้นและพลิกฟื้นเศรษฐกิจ โดยการจัดงาน ?เทศกาลเที่ยวเมืองไทย? ครั้งที่ 40 ประจำปี 2565 ณ สวนลุมพินี เพื่อเป็นการเปิดมุมมองประสบการณ์ใหม่ของการท่องเที่ยวและกระตุ้นให้ผู้คนอยากเดินทางท่องเที่ยว
(4) พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน          ดำเนินโครงการก่อสร้างงานโยธา โดยเดินหน้าก่อสร้างมอเตอร์เวย์ สาย 82 ทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว  เพื่อเสริมศักยภาพระบบการขนส่งทางถนนพื้นที่กรุงเทพฯ เชื่อมต่อภาคใต้ มีระยะทางรวม 16.4 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 18,759 ล้านบาท และมีแผนเปิดให้บริการในปี 2568
(5) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ          (5.1) จัดงานสัมมนา Thailand Digital Competitiveness 2022 ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อสื่อสารข้อมูลสถานะความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 500 คน
(5.2) ลงนามความร่วมมือเพื่อนำร่อง 10 บริการ ผ่านระบบคลาวด์กลางภาครัฐ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมลงนามบันทึกความเข้าใจกับบริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด (AWS) เพื่อนำบริการคลาวด์ของ AWS เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบคลาวด์กลางภาครัฐ เพื่อใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ทั่วโลกของ AWS
(6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม          (6.1) จัดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564-2565
ครั้งที่ 23 ภายใต้แนวคิด ?วิถีใหม่ ใส่ใจชีวิต สู่สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรม? โดยได้มีการเผยแพร่ความก้าวหน้าผลงานสิ่งประดิษฐ์ไทยสู่สาธารณชน และรวบรวมผลงานประดิษฐ์คิดค้นกว่า 1,000 ผลงาน
(6.2) ขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG วิจัยและพัฒนาแมลงเป็นแหล่งโปรตีนเสริมอาหารสัตว์ ใช้ประโยชน์จากจิ้งหรีดมาเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ซึ่งได้นำไปสู่การร่วมวิจัยกับหน่วยงานระดับนานาชาติ

6) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก          6.1) โครงการพัฒนาเยาวชนชนเผ่าเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อสร้าง
แรงบันดาลใจและเป้าหมายชีวิตใหม่ให้แก่ชาวเขา 9 ชนเผ่า เช่น กะเหรี่ยง ม้ง
และลาหู่ รวมทั้งราษฎรที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพอยู่ในพื้นที่สูงไม่ต่ำกว่า 3 ปี โดยการฝึกอบรมให้ความรู้ เช่น ด้านออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับสินค้า และฝึกอบรมด้านอาชีพให้กับกลุ่มล่ามภาษามือ
6.2) ดำเนินโครงการ ?SMART LOCAL by DBD? พาณิชย์ ช่วยเหลือ
ผู้ประกอบการสินค้าชุมชน เพื่อยกระดับศักยภาพสินค้าชุมชนในการช่วยเหลือ
ผู้ประกอบการ โดยมีกิจกรรม เช่น SMART LOCAL SHOP ภายใต้แคมเปญ
?ช้อปฟิน ของเด่นพื้นที่ ของดีพื้นถิ่น? และ SMART LOCAL BCG เปลี่ยนให้เกิดการรักชุมชน รักษ์โลก ภายใต้แนวคิด BCG-Economy Model คาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 50 ล้านบาท
7) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย          7.1) โครงการ ?SAFE สถานศึกษาปลอดภัย? กระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 8 กระทรวง 2 หน่วยงาน เพื่อจัดการปัญหาความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับนักเรียนและเยาวชน เช่น ภัยจากการใช้ความรุนแรง อุบัติเหตุ โดยจัดตั้งศูนย์ MOE Safety Center เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถติดตามแก้ไขได้ถึงต้นตอของปัญหาเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งเหตุได้
7.2) จัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา จัดทำข้อเสนอ
แนวทางการจัดการศึกษาฯ ซึ่งเป็นแนคิดที่เกิดจากความตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยให้ทันกับบริบทโลก
ที่เปลี่ยนแปลงไป โดยออกข้อกำหนด เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข
การจัดการศึกษาฯ พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และแนวทางสำหรับ
สถาบันอุดมศึกษาในการเสนอขอจัดการศึกษาฯ
8) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม          โครงการนำร่องโรงพยาบาลอัจริยะ เพื่อวางรากฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระบบ 5G โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สนับสนุนงบประมาณดำเนินการในปีแรกของโครงการ ?ศิริราชต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G? เช่น พัฒนาเชื่อมต่อระบบทำนายปริมาณ การใช้เพื่อการบริหารการจัดการสินค้าคงคลัง ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ทางการแพทย์
9) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน          9.1) แก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหลจากการกู้ท่อน้ำมัน จังหวัดระยอง โดยหาสาเหตุป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหล พร้อมทั้งกำชับให้กรมควบคุมมลพิษพิจารณาการใช้สารช่วยกระจายตัว (Dispersant) อย่างละเอียดรอบคอบ รวมทั้งให้จังหวัดทำความเข้าใจและดูแลประชาชนให้ได้รับความพอใจในการเยียวยา ตลอดจนเร่งดำเนินคดีจากความเสียหายต่อประชาชน
9.2) การดำเนินงานการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน พ.ศ. 2564
โดยเปรียบเทียบจุดความร้อน (Hotspot) ระบบชุดเครื่องวัดรังสีอินฟราเรด
ที่มองเห็นได้ ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ ระหว่างปี 2563 และปี 2564
โดยในภาพรวมทั่วประเทศมี Hotspot ที่ลดลงจาก 85,714 เหลือ 33,230
                    2. นโยบายเร่งด่วน 9 เรื่อง
นโยบายเร่งด่วน          มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน          1.1) ลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลง 3 บาทต่อลิตร
มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์-20 พฤษภาคม 2565
1.2) โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียน
และเป็นค่าลงทุน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปีแรก
โดยตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์ปกติของธนาคาร
ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 อนุมัติสินเชื่อแล้ว 3,508 ราย เป็นเงิน 15,888 ล้านบาท
1.3) การบริหารจัดการที่ดินในรูปแบบสวัสดิการสังคม (สมาชิกนิคม) เพื่อช่วยเหลือราษฎรยากจนที่ขาดแคลนที่ดินทำกินและออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (นค.3) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีสมาชิกได้รับบริการ 309 คน

2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน          2.1) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยโอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-28 กุมภาพันธ์ จำนวน 20,343.85 ล้านบาท และจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม 55,398.85 ล้านบาท
2.2) โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด  ด้วยการสนับสนุนให้กับครอบครัวที่มีรายได้น้อย เดือนละ 600 บาท ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี              มีผู้ได้รับเงิน 2.34 ล้านคน
3) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม          3.1) โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) เช่น พัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri Map เป็นการผลิตสินค้าเกษตรชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่ 8,223 ไร่ และส่งเสริมเกษตรเชิงรุก              ด้านการประมง 441 ราย
3.2) ดำเนินโครงการสร้างหลักประกันทางรายได้ให้แก่เกษตรกรผ่านการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง (ระยะที่ 3) มีผู้ได้รับประโยชน์ ได้แก่ เจ้าของสวนยาง 1.23 ล้านราย และคนกรีดยาง 142,059 คน
3.3) โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5
ฤดูการผลิตปี 2564/2565 โดยจัดทำโครงการจัดซื้อเครื่องสางใบอ้อย             288 เครื่อง และสมาคมชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ 37 แห่ง และโรงงานน้ำตาล               21 แห่ง ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาการรับอ้อยสดคุณภาพดี
และการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้
3.4) ดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี 3.59 ล้านราย และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 96,626 ราย ในปีการผลิต 2564
4) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน          4.1) ขับเคลื่อนโครงการ Factory Sandbox ด้วยหลักการ ?เศรษฐกิจศาสตร์คู่กับสาธารณสุข? สามารถดำเนินการตรวจและรับการรักษาโรคติดเชื้อ
ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ใน 12 จังหวัด ให้แก่สถานประกอบการ
730 แห่ง ลูกจ้าง 349,016 คน และฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ลูกจ้าง
112,746 คน สามารถรักษาระดับการจ้างงานในภาคการผลิตและส่งออกสำคัญ
3 ล้านตำแหน่ง
4.2) โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับช่วยเหลือผู้รับงานไปทำงานที่บ้าน
โดยอนุมัติวงเงินกู้ยืม 5 ล้านบาท ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0 ต่อปี
(จากเดิมร้อยละ 3) ในงวดที่ 1-12 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 วงเงินกู้ไม่เกิน
50,000 บาท ระยะเวลาชำระคืน 2 ปี
5) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต          ดำเนินโครงการจัดให้มีโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อการประกอบกิจการและบริการโทรคมนาคมที่ครอบคลุมพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ (Eastern Economic Corridor: EEC) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่โดยจัดโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อให้บริการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่านความถี่ 2600 MHz ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ครอบคลุมพื้นที่ในเขต EEC ร้อยละ 95.70 และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด มีความครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ EEC ร้อยละ 94.46 ของพื้นที่
6) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษ          ที่ 21           6.1) โครงการส่งเสริมเด็กทุนไทยสร้างชาติด้วยเทคโนโลยีบิ๊กดาต้า                    (Big Data) โดยประกาศรับสมัครนิติบุคคลเพื่อขอรับการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการพัฒนาศักยภาพกำลังคน และบุคลากรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ด้าน Data Science และ Data Engineering และประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการยกระดับทักษะบุคลากรด้าน                 Big Data
6.2) โครงการรัฐร่วมเอกชนสร้างทักษะดิจิทัลใหม่ เรียนจบ ไม่ตกงานยกระดับทักษะกำลังคนดิจิทัลที่ศึกษาในสาขาไอที ให้มีความรู้ความสามารถ
ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและรองรับอุตสาหกรรมของประเทศ
และเพิ่มเติมทักษะใหม่แก่กำลังคนดิจิทัลในสาขาที่ไม่ใช่ไอทีให้สามารถทำงานในสายดิจิทัลที่ขาดแคลนได้
7) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้          7.1) โครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้และส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการประมง โดยอบรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด สัตว์น้ำชายฝั่งและการทำประมงพื้นบ้าน 1,190 ราย และปล่อยสัตว์น้ำสู่ทะเล 800,000 ตัว
7.2) โครงการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยให้ความช่วยเหลือ 5,218 ราย 57.56  ล้านบาท
7.3) สกัดกั้นและปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีการจับกุมผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติยาเสพติด 100 ครั้ง ผู้ต้องหา 108 คน ยึดได้ของกลางยาบ้า 17.06 ล้านเม็ด และกัญชาแห้ง 1,864.236กิโลกรัม
8) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน          8.1) การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแก่บุคลากรทักษะสูง/ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหาร และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศผ่าน SMART Visa มีผู้ผ่านการรับรองคุณสมบัติทั้งสิ้น 46 คำขอ
8.2) โครงการพัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงปลอดภัยด้านดิจิทัล เช่น ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ e- Timestamp จำนวน 16.69 ล้านฉบับ e-Tax invoice by Email จำนวน 453,036 ฉบับ และ Web Validation จำนวน 43,592 ฉบับ
9) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย          9.1) การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย เช่น (1)โครงการบรรเทาอุทกภัย
เมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยก่อสร้างคลองระบายน้ำ
สาย 3 พร้อมอาคารประกอบ และ (2) โครงการคลองระบายน้ำหลาก                     บางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยขุดคลองระบายน้ำหลาก พร้อมอาคารประกอบ
9.2) การเตรียมความพร้อมด้านภัยแล้งและอุทกภัย ในห้วงวันที่                        1-28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยดำเนินการด้านภัยแล้ง เช่น ใช้กลไกของคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการของจังหวัดกำหนดแนวทางการใช้น้ำในลักษณะต่าง ๆ เพื่อการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศ การเกษตร และอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ และด้านอุทกภัย เช่น ในช่วงระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์-2 มีนาคม 2565 มีสถานการณ์อุทกภัย                 1 ห้วง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่
7 จังหวัดภาคใต้ มีประชาชนได้รับผลกระทบ 20,730 ครัวเรือน
มีผู้เสียชีวิต 1 ราย


12. เรื่อง  สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2/2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบและเห็นชอบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ  สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกลและ          ให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 โดยมีรัฐมนตรีประจำ                 สำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน.
1) การฉ้อโกงหลอกลวงการจำหน่ายสินค้าผ่านระบบออนไลน์
          1.1) รายงานการดำเนินงานและแผนงานของหน่วยงาน เช่น
                    1.1.1) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
(สคบ.) ได้รับเรื่องร้องทุกข์เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าออนไลน์ ในปี 2564 จำนวน 5,943 เรื่อง ยุติแล้ว 3,116 เรื่อง (ร้อยละ 53.2) โดยตั้งแต่ปี 2561-2563 มีสถิติเรื่องร้องทุกข์การซื้อขายออนไลน์ ธุรกิจขายตรง และตลาดแบบตรง รวม 10,713 เรื่อง รวมทั้งได้แก้ไขปัญหาการซื้อขายสินค้าออนไลน์กำกับดูแลการโฆษณาสินค้าที่อวดอ้างสรรพคุณเกินความจริงและพัฒนานวัตกรรม เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวกรวดเร็วในการใช้บริการ
                    1.1.2) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้จัดการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายทางสื่อต่าง ๆ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เช่น เฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพทางสี่อต่าง ๆ โดยพบการกระทำผิด 22,166 รายการ และดำเนินคดีและ สั่งระงับโฆษณา 1,502 คดี โดยมีคดีสิ้นสุดและมีการเปรียบเทียบปรับแล้ว 742 คดี รวมค่าปรับคดีโฆษณา 15.42 ล้านบาท
                    1.1.3) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(สมอ.) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564-กุมภาพันธ์ 2565 ได้ตรวจสอบ
รายการทีวีที่มีผู้ชมสูงสุด 15 รายการ โดยตรวจสอบเฝ้าระวัง
1,300 ครั้ง และยังไม่พบการกระทำความผิด          ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. :
สคบ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค การกำกับดูแลการโฆษณาสินค้าที่อวดอ้างสรรพคุณเกินความจริง การใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา และการทำงานเชิงรุกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังรวมทั้งประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมในการแก้ไขปัญหาการซื้อขายสินค้าออนไลน์ของ สคบ. ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างต่อเนื่องด้วย
มติที่ประชุม : รับทราบและเห็นควรให้ สคบ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมฯ ไปพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

          1.2) ข้อเสนอแนะ เช่น
                    1.2.1) สคบ. เสนอว่า (1) ควรพัฒนาเทคโนโลยี
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มาใช้ในการตรวจสอบ
โฆษณาที่เป็นเท็จหรือเกินความจริง และ (2) ควรสร้างความตระหนัก
ให้กับผู้บริโภคและพัฒนาผู้ประกอบธุรกิจให้ประกอบธุรกิจอย่างมี             ธรรมาภิบาล
                    1.2.2) อย. เสนอว่า (1) ควรขยายการทำบันทึกความเข้าใจกับแพลตฟอร์มอีมาร์เก็ตเพลส ในการส่งข้อมูลผู้กระทำผิดให้หน่วยงานรัฐบังคับใช้กฎหมายด้วยความรวดเร็ว และ (2) ควรส่งเสริมจริยธรรมและสร้างสำนึกความรับผิดชอบของผู้ประกอบการผลิต
                    1.2.3) สมอ. เสนอว่า ควรจัดให้มีแนวทางในการดำเนินการตรวจติดตามให้ครอบคลุมการเสนอขายสินค้าผ่านช่องทางดาวเทียม และเครื่อข่ายอินเทอร์เน็ตที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตทีวี หรือเคเบิ้ลทีวีที่ต้องเป็นสมาชิก

2) มาตรการส่งเสริมการจ้างงาน
          2.1) รายงานการดำเนินงานและแผนงานของหน่วยงาน เช่น
                    2.1.1) กระทรวงแรงงาน (รง.) ได้ดำเนินการ เช่น
(1) จัดทำโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในระบบประกันสังคมที่มีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน ให้ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องและฟื้นฟูกิจการ รวมทั้งพยุงการจ้างงานให้ลูกจ้างสัญชาติไทยไม่ถูกเลิกจ้าง โดยรัฐจ่ายเงินอุดหนุนในอัตรา 3,000 บาทต่อคนต่อเดือนระยะเวลา 3 เดือน (2) ให้บริการจัดหางานในประเทศและต่างประเทศ และการพัฒนาการให้บริการด้วยระบบเทคโนโลยี
เช่น ให้บริการจัดหางาน ณ สำนักงาน ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ และให้บริการผ่านระบบ e-Sevice ที่เว็บไซต์มีงานทำ รถ Mobile Unit และการจัดงาน Job Expo และพัฒนาแพลตฟอร์มการให้บริการจัดหางาน และ (3) ให้บริการแรงงานนอกระบบ โดยพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ 90,583 คน ก่อให้เกิดรายได้เฉลี่ย
6,353 บาทต่อคนต่อเดือน
                    2.1.2) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ ได้ดำเนินการ เช่น (1) ส่งเสริมการจ้างงานคนพิการในสถานประกอบการ 8,294 คน (2) ส่งเสริมการฝึกทักษะ และส่งเสริมการมีงานทำให้กับผู้สูงอายุ 595,744 คน และ (3) สร้างอาชีพใหม่หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโรนา 2019          มติที่ประชุม : รับทราบ และเห็นควรให้ รง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะไปพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
          2.2) ข้อเสนอแนะของ รง. เช่น (1) ควรติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมเพื่อจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ             เมื่อประเทศปลายทางเปิดรับแรงงานไทยเข้าไปทำงาน (2) ควรปรับรูปแบบการทำงานเป็นการทำงานผ่านระบบออนไลน์ และ                   (3) ควรประชาสัมพันธ์การจ้างงานผู้สูงอายุและมาตรการจูงใจจากภาครัฐ (เช่น นำค่าจ้างมาหักภาษีได้ 2 เท่า) และข้อดีของการจ้างงานผู้สูงอายุ
3) รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565 และงบประมาณที่เกินกว่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป
          3.1) ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565
โดยในภาพรวมมีผลการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 1,565,157.55       ล้านบาท (รายจ่ายประจำ 1,210,578.54 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน
354,579.01 ล้านบาท)
          3.2) สรุปรายการผูกพันใหม่ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
ที่มีวงเงินทั้งสิ้นเกิน 1,000 ล้านบาท ภาพรวมรายการผูกพันใหม่ฯ
5 กระทรวง (กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคมและกระทรวงยุติธรรม) วงเงินภาระผูกพัน ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561
จำนวน 9 รายการ 19,999.15 ล้านบาท          มติที่ประชุม : รับทราบ


13. เรื่อง ขอความเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท 910 รูป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยไม่ถือเป็นวันลา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ข้าราชการทุกประเภท พนักงานราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ พนักงานรัฐวิสาหกิจ ลาเข้าร่วมโครงการบรรพชาอุปสมบท 910 รูป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 โดยไม่ถือเป็นวันลา เสมือนเป็นการปฏิบัติราชการและได้รับเงินเดือนตามปกติ ระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม ? 13 สิงหาคม 2565 (24 วัน) ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สปน. รายงานว่า คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ได้เห็นชอบให้ดำเนินโครงการบรรพชาอุปสมบท 910 รูป เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 12 สิงหาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และส่งเสริมให้ประขาชนจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน มีส่วนร่วมในโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ รวมทั้งศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติธรรมตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ระหว่างวันที่ 21 กรกฎาคม- 13 สิงหาคม 2565 โดยผู้เข้าบรรพชาอุปสมบท 910 คน ซึ่งเป็นข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ได้แก่ (1) ส่วนกลาง 91 คน จัดพิธี ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก และ (2) ส่วนภูมิภาคทุกจังหวัด 819 คน จัดพิธี ณ วัดในจังหวัดต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การดำเนินการ          วัน เวลา และสถานที่
การรับสมัคร          วันที่ 18 เมษายน-31 พฤษภาคม 2565
พิธีปลงผม          วันที่ 21 กรกฎาคม 2565
- ส่วนกลาง ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
- ส่วนภูมิภาค ณ วัดในจังหวัดต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ
พิธีมอบผ้าไตร          วันที่ 22 กรกฎาคม 2565 ณ ทำเนียบรัฐบาล
การเตรียมการก่อนบรรพชาอุปสมบท          วันที่ 23-24 กรกฎาคม 2565
- ส่วนกลาง ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
- ส่วนภูมิภาค ณ วัดในจังหวัดต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ
พิธีบรรพชาอุปสมบท          วันที่ 25 กรกฎาคม 2565
- ส่วนกลาง ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
- ส่วนภูมิภาค ณ วัดในจังหวัดต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ
การศึกษาและปฏิบัติธรรม          วันที่ 25 กรกฎาคม-13 สิงหาคม 2565
- ส่วนกลาง ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
- ส่วนภูมิภาค ณ วัดในจังหวัดต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ
พิธีทำบุญตักบาตร พระสงฆ์ จำนวน 91 รูป          วันที่ 12 สิงหาคม 2565
- ส่วนกลาง ณ ท้องสนามหลวง
- ส่วนภูมิภาค ณ ศาลากลางจังหวัด หรือสถานที่ที่เหมาะสม
พิธีลาสิกขา          วันที่ 13 สิงหาคม 2565
- ส่วนกลาง ณ วัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก
- ส่วนภูมิภาค ณ วัดในจังหวัดต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ

14. เรื่อง รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอรายงาน     การสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564 และรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ [ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 18 (12) และมาตรา 43         ที่บัญญัติให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจัดทำรายงานเกี่ยวกับผลงานและอุปสรรคในการดำเนินงานแล้วรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปีภายในหกเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และเสนองบดุลและรายงานการรับจ่ายเงินของกองทุนในปีที่ล่วงมา ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบรับรองแล้วต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบภายในสามเดือนนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ] โดยรายงานดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. รายงานการสร้างระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2564     (คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565) มีผลการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. การเบิกจ่ายงบประมาณ          มีการเบิกจ่ายงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับหน่วยบริการ      ที่จัดบริการให้ผู้มีสิทธิ จำนวน 144,252.95 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 101.331 (จากงบประมาณ 142,364.82 ล้านบาท)
2. ความครอบคุลมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ          ประชากรไทยผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 47.74 ล้านคน ได้ลงทะเบียนสิทธิเพื่อเลือกหน่วยบริการประจำตน จำนวน 47.56 ล้านคน คิดเป็นความครอบคลุมสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ร้อยละ 99.61
3. หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ2          มีหน่วยบริการขึ้นทะเบียนให้บริการผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 14,549 แห่ง (เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 12,245 แห่ง) โดยจำแนกตามประเภทการขึ้นทะเบียน ได้แก่ หน่วยบริการปฐมภูมิจำนวน 11,830 แห่ง หน่วยบริการประจำ จำนวน 1,215 แห่ง หน่วยบริการรับส่งต่อทั่วไป จำนวน 1,081 แห่ง และหน่วยบริการรับส่งต่อเฉพาะด้านจำนวน 3,254 แห่ง (หน่วยบริการ 1 แห่ง สามารถขึ้นทะเบียนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มากกว่า 1 ประเภท)
4. ผลงานบริการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร          มีการให้บริการตามสิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย 1) บริการพื้นฐานในงบเหมาจ่ายรายหัว เช่น บริการสุขภาพทั่วไป มีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน        ใช้บริการต่ำกว่าเป้าหมาย บริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล มีผู้มาใช้บริการต่ำกว่าเป้าหมาย และบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ คนพิการได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการต่ำกว่าเป้าหมาย และ 2) บริการเฉพาะกลุ่ม (นอกงบเหมาจ่ายรายหัว) เช่น จำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวี ผู้ป่วยเอดส์ เข้ารับยาต้านไวรัสสูงกว่าเป้าหมาย รวมถึงกลุ่มเสี่ยงเข้ารับการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีสูงกว่าเป้าหมาย จำนวนผู้ป่วยไตวายเรื้อรังเข้ารับบริการล้างไต ฟอกไต ปลูกถ่ายไต สูงกว่าเป้าหมาย สำหรับผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับการดูแลในชุมชนตามแผนการดูแลรายบุคคลต่ำกว่าเป้าหมาย ทั้งนี้ในส่วนของผลงานบริการที่ต่ำกว่าเป้าหมายนั้น เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และนโยบายการเว้นระยะห่างทางสังคม รวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบสาธารณสุขระดับปฐมภูมิวิถีใหม่ที่เน้นการจัดบริการนอกหน่วยบริการเพื่อลดความแออัด
5. คุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข          - หน่วยบริการรับส่งต่อได้รับการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลระดับ HA (Hospital Accreditation)3 จำนวน 933 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 86.23 (จากหน่วยบริการที่เข้ารับการประเมิน จำนวน 1,082 แห่ง)
- ผลการดำเนินงานตัวชี้วัดตามเกณฑ์คุณภาพผลงานบริการปี 2564 เช่น ประชากรไทย อายุ 35-74 ปี ทุกสิทธิ ที่ได้รับการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดคัดกรองความดันโลหิตสูง และคัดกรองมะเร็งปาดมดลูกภายใน 5 ปี น้อยลงกว่าปี 2563
- ประชาชนพึงพอใจต่อการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในระดับมากถึงมากที่สุด ร้อยละ 97.07 ผู้ให้บริการ ร้อยละ 80.94 และองค์กรภาคี ร้อยละ 92.27
6. การคุ้มครองสิทธิ          - มีประชาชนสอบถามข้อมูล ร้องเรียน ร้องทุกข์ และประสานส่งต่อผู้ป่วย ผ่านช่องทางต่าง ๆ จำนวน 2,585,915 เรื่อง โดยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับโควิด-19 จำนวน 642,700 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 24.85
- มีผู้รับบริการยื่นคำร้องช่วยเหลือเบื้องต้น จำนวน 1,026 คน ได้รับการชดเชยจำนวน 845 คน รวม 208.26 ล้านบาท ผู้ให้บริการยื่นคำร้อง จำนวน 760 คน ได้รับการชดเชย จำนวน 677 คน รวม 9.87 ล้านบาท
- สปสช. สนับสนุนการจัดตั้งเครือข่ายงานคุ้มครองสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เช่น ศูนย์บริการหลักประกันสุขภาพในหน่วยบริการ จำนวน 885 แห่ง (ใน 77 จังหวัด) และหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอื่นที่เป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน ตามมาตรา 50 (5)4 จำนวน 126 แห่ง (ใน 70 จังหวัด)
7. การมีส่วนร่วมพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ          มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จำนวน 7,741 แห่ง เข้าร่วมบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น เพื่อจัดกิจกรรมสำหรับดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่ (เช่น กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง) วงเงินจำนวน 3,589 ล้านบาท ประกอบด้วย 1) งบจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 2,311 ล้านบาท 2) เงินสมทบจาก อปท. จำนวน 1,233 ล้านบาท และ 3) เงินสมทบจากชุมชนและอื่น ๆ จำนวน 45 ล้านบาท
8. ความท้าทายในการดำเนินงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ          - การพัฒนารูปแบบการเบิกจ่ายให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงและปัญหาทางการเงินของหน่วยบริการ
- การปรับเปลี่ยนของเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ ๆ การเกิดโรคอุบัติใหม่อย่างรวดเร็ว และไม่สามารถคาดการณ์ได้ ทำให้ระบบสาธารณสุขและระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติต้องมีความพร้อมและยืดหยุ่นสามารถปรับตัวรองรับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และพัฒนาระบบบริการที่เหมาะสม คุ้มค่า รวมถึงให้สอดคล้องกับชีวิตวิถีใหม่
- การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบปฏิบัติการขนาดใหญ่ (Big Data) รวมถึงการจัดระบบเทคโนโลยีสนับสนุนการยืนยันตัวตนเข้ารับบริการและการตรวจสอบการเบิกจ่ายแบบ Real Time และติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกองทุนฯ
- การเพิ่มความเข้มแข็งในระบบบริการปฐมภูมิและบริการสุขภาพชุมชน พร้อมเร่งรัดการปรับระบบบริการให้ประชาชนเข้าถึงมากที่สุด
                    2. รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2563 ซึ่ง สตง. ตรวจสอบรับรองแล้วเห็นว่า ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด (คณะกรรมการฯ มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2564)
                    ในส่วนของรายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 อยู่ระหว่างเสนอ สตง. เพื่อตรวจสอบรับรอง
1การเบิกจ่ายงบกองทุนฯ จำแนกได้ 7 รายการ โดยมีรายการที่เบิกจ่ายตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 4 รายการ ได้แก่                 1)  งบบริการสาธารณสุขเหมาจ่ายรายหัว 2) ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3) พื้นที่กันดาร/เสี่ยงภัย และ     4) บริการระดับปฐมภูมิที่มีแพทย์ประจำครอบครัวและรายการที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้รับอนุมัติให้ใช้เงินจากบัญชีรายได้สูง (ต่ำ)                 กว่าค่าใช้จ่ายสะสมเพื่อเป็นค่าบริการสาธารณสุขในรายการที่ค่าใช้จ่ายสูงกว่างบประมาณที่ได้รับจัดสรร จำนวน 3 รายการ ได้แก่                    1) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ 2) ผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง และ 3) ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (เช่น ผู้สูงอายุติดเตียง ผู้พิการ)
2หน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นหน่วยบริการจากหลากหลายสังกัด ทั้งภาครัฐและเอกชนที่ครอบคลุมบริการสาธารณสุขในทุกมิติบริการ เพื่อให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง
3การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) คือ กลไกประเมินเพื่อกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาระบบงานภายในโรงพยาบาล โดยมีการพัฒนาอย่างเป็นระบบและพัฒนาทั้งองค์กร ทำให้องค์กรเกิดการเรียนรู้ มีการประเมินและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
4พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 50 (5) บัญญัติให้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานกำหนดให้มีหน่วยรับเรื่องร้องเรียนเพื่อให้ประชาชนสามารถเสนอเรื่องร้องเรียนได้โดยสะดวกและเป็นอิสระจากผู้ถูกร้องเรียน

15. เรื่อง แนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เรื่อง แนวทาง หลักการ และการดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนแม่บทฯ) ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ เสนอดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ รายงานว่า
                    1. ยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทฯ 23 ประเด็น ได้รับการประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2561 และวันที่ 18 เมษายน 2562 ตามลำดับ โดยยุทธศาสตร์ชาติจัดเป็นแผนระดับที่ 1 ตามนัยของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 ซึ่งเป็นกรอบการพัฒนาประเทศที่ครอบคลุมในทุกมิติ รวมทั้งมีความยืดหยุ่นตามบริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกและประเทศ พร้อมรองรับผลกระทบเชิงลบในมิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และถ่ายระดับเป้าหมายและประเด็นการพัฒนาจากยุทธศาสตร์ชาติ (Ends) ไปสู่แผนระดับที่ 2 แผนแม่บทฯ (Ways) ซึ่งเป็นแผนที่ใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนประเทศในมิติต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติทั้ง 6 ด้าน โดยมีการบูรณาการระหว่างยุทธศาสตร์ชาติด้านที่เกี่ยวข้องและมีการกำหนดค่าเป้าหมายที่จะต้องบรรลุอย่างเป็นรูปธรรมในแต่ละห้วงการพัฒนา ห้วงละ 5 ปี ซึ่งจะใช้ถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติในแผนระดับที่ 3 (แผนปฏิบัติราชการ/โครงการ) ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    2. ข้อมูลจากรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2564 ที่ สศช. ได้จัดทำขึ้น ในส่วนของการประเมินผลความก้าวหน้าตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ทั้ง 23 ประเด็น ซึ่งประกอบด้วย เป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ 37 เป้าหมาย และเป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทฯ 140 เป้าหมาย และได้ใช้ข้อมูลสถิติ สถานการณ์ งานวิจัย และดัชนีชี้วัดที่จัดทำขึ้นจากหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ กับสถานการณ์ภายในและภายนอกประเทศ รวมถึงการดำเนินงาน/โครงการที่หน่วยงานของรัฐที่ถูกนำเข้าในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) สิ้นสุด ณ เดือนตุลาคม 2564 จำนวน 62,641 โครงการ พบว่า
                              2.1 สถานะการบรรลุค่าเป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ ทั้ง 37 เป้าหมาย มีการพัฒนาลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2563 เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนค่าสีจากสถานะสีเหลืองเป็นสีส้มและสีแดงมากขึ้น อย่างไรก็ดี มีเป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ ที่สามารถบรรลุค่าเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในปี 2565 (เป้าหมายห้วงปี 2561 - 2565 (สีเขียว) จำนวน 7 เป้าหมาย หรือคิดเป็นร้อยละ 18.9 ของเป้าหมายระดับประเด็นแผนแม่บทฯ ซึ่งเป็นเป้าหมายระดับประเด็นเดิมจากปี 2563 ที่บรรลุตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในปี 2565 แล้ว
                              2.2 สถานะการบรรลุเป้าหมายระดับแผนย่อยของแผนแม่บทฯ รวม 140 เป้าหมาย มีการพัฒนาขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2562 และปี 2563 โดยมีสถานการณ์บรรลุค่าเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในปี 2565 (สีเขียว) จำนวน 39 เป้าหมาย หรือคิดเป็นร้อยละ 27.9ของเป้าหมายระดับแผนย่อยทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับค่าเป้าหมายสีเหลืองและส้มที่มีจำนวนน้อยลงเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
                    3. โดยที่พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 11 บัญญัติให้มีการทบทวนยุทธศาสตร์ชาติทุก 5 ปี ซึ่งยุทธศาสตร์ชาติจะครบกำหนด 5 ปี ในวันที่ 13 ตุลาคม 2566 และมาตรา 10 วรรคสี่ บัญญัติให้ในกรณีที่คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติเห็นว่า มีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมแผนแม่บทฯ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือความจำเป็นของประเทศ ให้คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีก่อน ซึ่ง สศช. ได้ดำเนินการพิจารณาทบทวนยุทธศาสตร์ชาติตามความในมาตรา 11 ดังกล่าวพบว่า สถานการณ์ของโลกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันไม่ได้ส่งผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ของยุทธศาสตร์ชาติแต่อย่างใด ดังนั้น จึงจะยังคง ?เป้าหมาย? ตามยุทธศาสตร์ชาติ (Ends) ไว้เช่นเดิม แต่จะมีการปรับแผนแม่บทฯ (Ways) โดย สศช. พิจารณาแล้วเห็นว่า แผนแม่บทฯ มีข้อจำกัดในส่วนของเป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมายและแนวทางการพัฒนา ทั้งนี้ ข้อจำกัดในส่วนของเป้าหมายอาจมีสาเหตุมาจากการกำหนดตัวชี้วัดที่ไม่สะท้อนต่อเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ดังนั้น ในการปรับแผนแม่บทฯ จึงไม่มีการปรับเป้าหมายแต่จะดำเนินการปรับเฉพาะในส่วนของตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาเท่านั้น
                    4. สศช. ได้มีการจัดประชุมหารือร่วมกับประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 6 คณะ และได้เสนอหลักการและแนวทางการปรับแผนแม่บทฯ ต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติพิจารณาในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมีมติเห็นชอบหลักการ/แนวทาง และการดำเนินการปรับแผนแม่บทฯ และให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป มีสาระสำคัญของแนวทางดำเนินการสรุปได้ ดังนี้
หลักการ          แนวทางการดำเนินการ
ตัวชี้วัด          ดำเนินการพิจารณาตัวชี้วัดของเป้าหมายในระดับประเด็นแผนแม่บทฯ และระดับแผนย่อย โดย
(1) กรณีใช้ตัวชี้วัดเทียบเคียง (Proxy)1 แบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้
     (1) กรณีไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัด จะพิจารณาใช้ตัวชี้วัดเทียบเคียงหรือตัวชี้วัดอื่นที่เหมาะสมเป็นตัวชี้วัดแทน หากตัวชี้วัดเดิมเหมาะสมอยู่แล้ว ให้มอบหมายหน่วยงานดำเนินการจัดเก็บข้อมูล
     (2) กรณีมีการยกเลิกการจัดเก็บข้อมูลของตัวชี้วัด จะพิจารณาใช้ตัวชี้วัดหรือตัวชี้วัดอื่นที่เหมาะสมเป็นตัวชี้วัดหลักแทน หากตัวชี้วัดเดิมมีความเหมาะสมอยู่แล้ว ให้มอบหมายหน่วยงานดำเนินการจัดเก็บข้อมูล
     (3) กรณีไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดที่ต่อเนื่อง จะพิจารณาใช้ตัวชี้วัดเทียบเคียงเป็นตัวชี้วัดเพิ่มเติม เพื่อใช้ประเมินผลควบคู่กับตัวชี้วัดหลักตัวเดิม
          (2) กรณีตัวชี้วัดที่กำหนดอาจไม่สะท้อนเป้าหมายแผนแม่บทฯ ที่กำหนดไว้ จะพิจารณาตัวชี้วัดใหม่ที่สามารถสะท้อนเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม
          (3) กรณีตัวชี้วัดที่กำหนดไม่มีนิยามหรือคำจำกัดความที่ชัดเจน จะพิจารณาคำนิยามหรือคำจำกัดความของตัวชี้วัดให้มีความชัดเจน เพื่อให้สามารถจัดเก็บข้อมูลที่สะท้อนเป้าหมายและประเมินผลการดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม
          (4) กรณีตัวชี้วัด 1 ตัวชี้วัด ใช้วัดผลมากกว่า 1 เป้าหมาย จะพิจารณาว่าตัวชี้วัดที่กำหนดสามารถสะท้อนเป้าหมายใดได้มากที่สุดและจะกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดของเป้าหมายนั้น โดยจะพิจารณากำหนดตัวชี้วัดใหม่ให้กับอีกเป้าหมายที่เคยใช้ตัวชี้วัดร่วมกัน
ค่าเป้าหมาย          ดำเนินการทบทวนค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดย
(1) กรณีสถานะการบรรลุเป้าหมาย ณ ปี 2564 ได้มีการบรรลุค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในห้วงที่ 2 ของการพัฒนา (ปี 2566 - 2570) เรียบร้อยแล้ว จะพิจารณาปรับค่าเป้าหมายให้มีความท้าทายมากขึ้นและสอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์ในปัจจุบัน
          (2) กรณีไม่ได้มีการกำหนดค่าเป้าหมายที่จะบรรลุในแต่ละห้วง 5 ปี ของการพัฒนาจะพิจารณากำหนดค่าเป้าหมายในแต่ละห้วงการพัฒนา ทั้งนี้ ค่าเป้าหมายที่กำหนดจะต้องมีความท้าทายและสอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์ในปัจจุบัน
          (3) กรณีค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแต่ละห้วง 5 ปี ของการพัฒนาอาจไม่มีความชัดเจน จะพิจารณาปรับคำหรือกำหนดคำนิยามของค่าเป้าหมายให้มีความชัดเจน
แนวทางการพัฒนา          ดำเนินการทบทวนแนวทางการพัฒนาในกรณีที่พบว่า แนวทางการพัฒนาในแต่ละแผนย่อยอาจไม่สอดคล้องหรือครอบคลุมห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (Final Value Chain Thailand: FVCT)2 รวมทั้งไม่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนด ให้พิจารณาปรับแนวทางการพัฒนาให้มีความครอบคลุม และสอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่าฯ
ทั้งนี้ ในส่วนของการดำเนินการปรับแผนแม่บทฯ จะมอบหมาย สศช. ดำเนินการปรับแผนแม่บทฯ ทั้ง 23 ประเด็น เนื่องจากแผนแม่บทฯ มีการกำหนดประเด็นในลักษณะที่มีความบูรณาการและเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์ชาติด้านที่เกี่ยวข้อง โดยเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบหลักการแนวทาง และการดำเนินปรับแผนแม่บทฯ ตามที่ สศช. เสนอในครั้งนี้แล้ว สศช. จะดำเนินกระบวนการแก้ไขปรับแผนแม่บทฯ และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ก่อนเสนอคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุงตามลำดับแล้วจึงประกาศใช้ต่อไป โดยคาดการณ์ว่ากระบวนการทั้งหมดจะเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายน 2565
1เนื่องจากตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ยังไม่มีการจัดเก็บข้อมูลหรือมีการเลื่อนการดำเนินการ ทำให้ต้องอ้างอิงตัวชี้วัดเทียบเคียง (Proxy) ในการติดตามและประเมินผลแทน
2สศช. ได้จัดทำห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย (FVCT) (ฉบับแก้ไข ปี 2566) จำแนกรายแผนแม่บทฯ 23 ประเด็น ประกอบด้วย 140 เป้าหมายระดับแผนย่อย ทั้งนี้ เมื่อหน่วยงานทราบเป้าหมายที่หน่วยงานมีความเกี่ยวข้อง หน่วยงานจะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ FVCT ของเป้าหมายระดับแผนย่อยนั้น ๆ เพื่อพิจารณาวิเคราะห์ว่า หน่วยงานมีความเกี่ยวข้องกับปัจจัยและองค์ประกอบใดของ FVCT เพื่อใช้ประกอบการจัดทำโครงการ/การดำเนินงานของหน่วยงาน เพื่อการขับเคลื่อนเป้าหมายระดับแผนย่อยตามห่วงโซ่คุณค่าของเป้าหมายระดับแผนย่อยนั้น

16. เรื่อง มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืน (มาตรการฯ REIT buy-back)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติ ดังนี้
                    1. เห็นชอบมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืน ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    2. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    3. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    4. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สำหรับกรณีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามที่กระทรวงการคลังเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    5. การจัดสรรงบประมาณเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามมาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืนให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้เกิดการขาดสภาพคล่องในการประกอบธุรกิจเป็นการชั่วคราว นอกจากนี้ สถานการณ์เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป ยังคงมีความอ่อนไหวต่อปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทั้งสายพันธุ์ที่ระบาดในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นใหม่ในอนาคต ปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่อุปทานการผลิตและการขนส่งระหว่างประเทศ รวมถึงความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เป็นต้น ดังนั้น กค. จึงได้พิจารณามาตรการทางด้านภาษีและค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trust : REIT) ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืน (มาตรการฯ REIT buy-back) โดยมีภาระผูกพันในการซื้อทรัพย์สินคืนในระยะเวลาที่กำหนด (เจ้าของเดิมต้องขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นกิจการที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เช่น โรงแรม หรือสวนสนุก ให้แก่ทรัสตีของกองทรัสต์ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ และเจ้าของกิจการเดิมต้องกลับมาซื้อคืนภายใน 5 ปี นับจากวันที่ขายไป) เพื่อเสริมสภาพคล่องของภาคธุรกิจที่ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน และกรณีธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบแต่ไม่ได้รับเงินกู้จากธนาคารพาณิชย์
                    2. กค. พิจารณาแล้วเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการตามข้อ 1 จึงได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 3 ฉบับ ดังนี้
                              2.1 ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อยกเว้นภาษีตามประมวลรัษฎากร
                              2.2 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเพื่อลดหย่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดิน
                              2.3 ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สำหรับกรณีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดเพื่อลดหย่อนการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
                    3. กค. ได้ดำเนินการจัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ดังนี้
                              3.1 มาตรการด้านภาษี คาดการณ์ว่าจะมีการจัดตั้งกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืนจำนวน 8 กอง โดยมีธุรกรรมการลงทุนของทุกกองรวมกันประมาณ 30,000 ล้านบาท เป็นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 7 ปี (ตั้งแต่ปี 2565 - ปี 2572) จึงคาดว่าจะสูญเสียรายได้ภาษีอากรจากธุรกรรมการลงทุนดังกล่าวประมาณ 9,240 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาดำเนินมาตรการ
                              3.2 มาตรการค่าธรรมเนียม คาดการณ์ว่าการลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จะทำให้ อปท. สูญเสียรายได้จำนวนประมาณ 170.57 ล้านบาทต่อปี เป็นระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 7 ปี (ตั้งแต่ปี 2565 - ปี 2572) หรือประมาณ 1,194 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาดำเนินมาตรการ
                    สาระสำคัญของมาตรการและร่างกฎหมาย
                    มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืน ประกอบด้วยร่างพระราชกฤษฎีกา 1 ฉบับ และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย 2 ฉบับ รวม 3 ฉบับ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
มาตรการทางภาษีและค่าธรรมเนียมสำหรับทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดในการซื้อทรัพย์สินคืน
1. วัตถุประสงค์          - เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 หรือได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ในการเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการและลดภาระให้แก่ภาคธุรกิจในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน โดยจัดตั้งกองทรัสต์ตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน ที่มีข้อกำหนดขายคืน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดขายคืนที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
2. กลุ่มเป้าหมาย          - บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของและเป็นผู้ขายทรัพย์สินให้แก่กองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการออกและเสนอขายหน่วยทรัสต์ของกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่มีข้อกำหนดขายคืนคามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
3. วิธีและระยะเวลาดำเนินงาน          - มาตรการด้านภาษี เจ้าของเดิมต้องขายอสังหาริมทรัพย์ เช่น โรงแรม สวนสนุก หรือสวนสัตว์ ให้แก่ทรัสตีของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืนภายใน 2 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับและเจ้าของเดิมต้องซื้อทรัพย์สินคืนจากทรัสตีของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน โดยทรัสตีของกองทรัสต์ต้องโอนอสังหาริมทรัพย์นี้ให้แก่เจ้าของเดิมภายใน 5 ปี นับแต่วันที่เจ้าของเดิมได้ขายทรัพย์สินดังกล่าว
- มาตรการด้านค่าธรรมเนียม เจ้าของเดิมต้องโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดให้แก่ทรัสตีของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืนภายใน 2 ปี นับแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดินสำหรับกรณีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืนตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ประกาศกระทรวงมหาดไทยตามประมวลกฎหมายที่ดินฯ) และประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สำหรับกรณีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ประกาศกระทรวงมหาดไทยตามกฎหมายว่าด้วย               อาคารชุดฯ) ใช้บังคับ และทรัสตีของกองทรัสต์ต้องโอนอสังหาริมทรัพย์หรือ ห้องชุดให้แก่เจ้าของเดิมภายใน 5 ปี นับแต่วันที่เจ้าของเดิมโอนอสังหาริมทรัพย์หรือห้องชุดให้แก่ทรัสตีของกองทรัสต์
4. ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 3 ฉบับ          - ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
     (1) ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการขายทรัพย์สินให้แก่ทรัสตีของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขายทรัพย์สินมีภาระผูกพันในการซื้อทรัพย์สินดังกล่าวคืน ทั้งนี้ เฉพาะการขายทรัพย์สินที่เป็นไปตามคณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด ซึ่งได้กระทำภายใน 2 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ (จากเดิมภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 20 ภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3.3 และอากรแสตมป์ร้อยละ 0.5)
     (2) ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่ทรัสตีของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลผู้ขายทรัพย์สินมีภาระผูกพันในการซื้อทรัพย์สินดังกล่าวคืน สำหรับการขายทรัพย์สินที่ได้ซื้อมาตามข้อ (1) คืนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ขายทรัพย์สิน ทั้งนี้ เฉพาะการขายทรัพย์สินคืนที่เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด ซึ่งได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ซื้อทรัพย์สินจากเจ้าของเดิม (จากเดิมเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 ภาษีธุรกิจเฉพาะร้อยละ 3.3 และอากรแสตมป์ร้อยละ 0.5)
ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด โดยในกรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ให้สิทธิที่ได้รับยกเว้นภาษีสิ้นสุดลง และต้องเสียภาษีอากรย้อนหลัง พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ (ถ้ามี)
- ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย รวม 2 ฉบับ ดังนี้
     (1) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามประมวลกฎหมายที่ดินสำหรับกรณีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืนตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ในอัตราร้อยละ 0.001 (จากเดิมร้อยละ 2)
     (2) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด สำหรับกรณีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของกองทรัสต์ที่มีข้อกำหนดขายคืน ตามหลักเกณฑ์ ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ในอัตราร้อยละ 0.001 (จากเดิมร้อยละ 2)

17. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2565 และผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่              26 เมษายน 2565 ดังนี้
                    1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 8/2565
                              1.1 อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) (A001) (โครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพฯ) ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค สป.สธ. โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 เป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
                              1.2 อนุมัติให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการตลาดวิถีอินทรีย์โรงพยาบาลอุตรดิตถ์สู่การสร้างสุขภาวะที่ดีให้ประชาชน (โครงการตลาดวิถีอินทรีย์ฯ) โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
                              1.3 อนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการคนละครึ่ง โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 และโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ เป็นสิ้นสุดเดือนกันยายน 2565 เพื่อให้ครอบคลุมกรณีที่ต้องมีการจ่ายเงินคืนให้แก่ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลโครงการ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
                              1.4 อนุมัติให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ                 (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) (โครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นสิ้นสุดเดือนมิถุนายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
                              1.5 อนุมัติให้จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดราชบุรี จังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดสกลนคร จังหวัดชัยนาท และจังหวัดสุพรรณบุรีเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญและยกเลิกโครงการภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ตามข้อ 3.1 (5) โดยในกลุ่มโครงการที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จแต่ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ทันภายในระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จำนวน 3 โครงการ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งดำเนินการเบิกจ่ายโครงการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2565 และกลุ่มโครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคา ก่อสร้างหรือส่งมอบวัสดุ ครุภัณฑ์ จำนวน 63 โครงการ เห็นควรให้กำหนดเงื่อนไขว่าในกรณีที่จังหวัดไม่สามารถลงนามและผูกพันสัญญาได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2565 ให้จังหวัดเสนอขอยกเลิกการดำเนินโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอน เพื่อให้กระทรวงการคลัง (กค.) สามารถบริหารเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                              1.6 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1.1 - 1.5 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ และปฏิบัติตามข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ พ.ศ. 2563) รวมทั้งรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของ คกง. ไปดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป
                              1.7 มอบหมายให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาหารือถึงแนวทางการจัดหาแหล่งเงินสำหรับรองรับการปฏิบัติตามกระบวนการตรวจสอบ/การติดตามผู้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข และวินิจฉัยการกระทำที่ผิดเงื่อนไขของโครงการ รวมถึงโครงการใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการคนละครึ่ง เพื่อให้สามารถกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินการเกี่ยวกับการกู้เงินตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563
                              1.8 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) กำกับให้จังหวัดและหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 เร่งดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกรอบเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ พร้อมทั้งติดตามความคืบหน้าของโครงการเศรษฐกิจฐานรากที่เหลืออีกประมาณ 407 โครงการ พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 โดยเคร่งครัด
                    2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565
                              2.1 อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ Thailand Festival Experience โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนเมษายน 2565 เป็นสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม 2565 และเปลี่ยนแปลงกำหนดการจัดงานและพื้นที่จัดงานในแต่ละกิจกรรม รวมทั้งปรับปรุงเงื่อนไขของการกำหนดกลุ่มเป้าหมายของโครงการ Music Festival & Rhythm in Memory (กิจกรรมแสดงดนตรี Rock on the Beach Music festival) จากเดิม ?กลุ่มผู้มีรายได้สูง 100%? เป็น ?กลุ่มผู้มีรายได้สูง? ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                              2.2 อนุมัติให้มหาวิทยาลัยมหิดล (ม.มหิดล) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการความเป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 แบบครบวงจรในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ (2B-034) (โครงการความเป็นเลิศฯ) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                              2.3 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 2.1-2.2 เร่งแก้ไขข้อมูลในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ และปฏิบัติตามข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) รวมทั้งให้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด และรับความเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของ คกง. ไปดำเนินการโดยเคร่งครัดต่อไป

ต่างประเทศ

18.  เรื่อง  การขอความเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ      สมัยพิเศษ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน ? สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ (ร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน ? สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ

                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. กต. รายงานว่า สหรัฐอเมริกา จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน - สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ ระหว่างวันที่ 12 - 13 พฤษภาคม 2565 ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายกรัฐมนตรีมีกำหนดเข้าร่วมการประชุมดังกล่าว และจะมีการรับรอง (adopt) ร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมฯ  เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ
                    2. ร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างอาเซียน - สหรัฐอเมริกา ในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน โดยเน้นย้ำประเด็นสำคัญ ได้แก่ การต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และการฟื้นตัวร่วมกัน  การส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็งกว่าเดิม การส่งเสริมความร่วมมือทางทะเล การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระดับประชาชน การส่งเสริมการพัฒนาในอนุภูมิภาค การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการส่งเสริมนวัตกรรม การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือและประสานงานในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ
                    ทั้งนี้ ร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้นจึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

19. เรื่อง ร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล เรื่อง การตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ดังนี้
                    1. ร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูล US-TH-AF-22-0001 สำหรับความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนา ว่าด้วยการตรวจจับจากระยะไกลสำหรับการป้องกันพื้นที่รอบฐานทัพ (ร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ) โดยหากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ ให้ กห. พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม
                    2. ให้เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้เจ้ากรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกลาโหม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลดังกล่าว


                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. กห. และกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกาได้ร่วมกันจัดทำร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ เพื่อใช้เป็นเอกสารสำหรับกำหนดแนวทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัยระหว่างโรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราชกับโรงเรียนนายเรืออากาศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการดำเนินการตามแนวทางของกรอบความตกลงฯ ซึ่งได้ลงนามไปแล้ว ( 14 กรกฎาคม 2561) โดยร่างผนวกการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนาอันเป็นความสนใจร่วมกันในด้านที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้จากระยะไกลและการประมวลผลสัญญาณ (remote sensing and signal processing)

20. เรื่อง  รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกลไกเครดิตร่วม JCM ภายใต้ความร่วมมือทวิภาคี ระหว่างประเทศไทย และประเทศญี่ปุ่น (Joint Crediting Mechanism: JCM)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการกลไกเครดิตร่วม (Joint Crediting Mechanism: JCM) ภายใต้ความร่วมมือทวิภาคี ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น (มีการลงนามความตกลงทวิภาคีฯ เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2558) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2560 ให้ ทส. รายงานผลการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ ภายใต้ JCM ให้คณะรัฐมนตรีทราบ โดยมีผลความก้าวหน้าการดำเนินการ ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2564 (ครั้งที่ 6) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงการต้นแบบ กระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศญี่ปุ่นได้ให้เงินทุนสนับสนุนในการพัฒนาโครงการต้นแบบ JCM จำนวน 40 โครงการ คิดเป็นมูลค่า 2,393 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดการลงทุนร่วมภายใต้กลไกเครดิตร่วม JCM มากกว่า 8,048 ล้านบาท และมีหน่วยงานผู้รับทุนเป็นบริษัทเอกชนไทย จำนวน 34 แห่ง โดยโครงการที่ได้รับทุนเป็นโครงการประเภทการผลิตพลังงานหมุนเวียน จำนวน 19 โครงการ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จำนวน 21 โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ 208,777 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
                    2. สถานภาพการดำเนินโครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน1 สามารถแบ่งตามศักยภาพการลดก๊าซเรือนกระจกของโครงการได้ ดังนี้ (1) โครงการที่ได้รับการขึ้นทะเบียน จำนวน 8 โครงการ มีปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้เท่ากับ 49,859 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี และ (2) โครงการที่ได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิต จำนวน 5 โครงการ มีปริมาณคาร์บอนเครดิตเท่ากับ 4,032 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ฝ่ายไทย 2,015 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ฝ่ายญี่ปุ่น 2,017 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า)
                    3. ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินการ คือ การพัฒนาโครงการต้นแบบ JCM ต้องมีผู้ร่วมพัฒนาโครงการฝ่ายญี่ปุ่น ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยใช้งานฐานข้อมูลจับคู่ทางธุรกิจ JCM Global Match และร่วมกับสภาอุตสาหกรรมในการส่งเสริมให้ที่ปรึกษาของหน่วยงานให้ทุนฝ่ายญี่ปุ่นเข้าถึงผู้ประกอบการไทยที่ต้องการพัฒนาโครงการต้นแบบ JCM
1โครงการต้นแบบ JCM ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นจะเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภายใต้ JCM ก็ต่อเมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการร่วม JCM เอกสารที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจะรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้ของโครงการ มีหน่วยเป็นตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ส่วนปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่โครงการสามารถลดได้จริงจากการดำเนินงานเรียกว่า ?คาร์บอนเครดิต? ซึ่งคณะกรรมการร่วม JCM เป็นผู้ให้การรับรองคาร์บอนเครดิตและสัดส่วนคาร์บอนเครดิตที่จะแบ่งปันกันระหว่างฝ่ายไทยและฝ่ายญี่ปุ่น

21.  เรื่อง  ผลการประชุมผู้นำความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation-BIMSTEC) หรือบิมสเทค ครั้งที่ 5 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมผู้นำความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation-BIMSTEC) (การประชุมผู้นำบิมสเทคฯ) ครั้งที่ 5 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ ต่อไปตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า การประชุมผู้นำบิมสเทคฯ ครั้งที่ 5 และการประชุมที่เกี่ยวข้องจัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ? 30 มีนาคม 2565 ในรูปแบบผสมผสาน (Hybrid) เพื่อทบทวนผลการดำเนินความร่วมมือในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ผลักดันความร่วมมือและหารือเกี่ยวกับแนวทางความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ในการรับมือกับสถานการณ์โรคติดเชื้อไว้รัสโคโรนา 2019  (โควิด-19) และสภาพปกติใหม่ โดยนายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุมผู้นำบิมสเทคฯ ครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล และรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีบิมสเทคครั้งที่ 18 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 ณ กรุงโคลัมโบ ศรีลังกา โดยมีผลการะชุมฯ สรุปได้ ดังนี้

ประเด็น          ผลการประชุมฯ
1. การกล่าวถ้อยแถลงในที่ประชุมฯ ของแต่ละประเทศ          ที่ประชุมฯ เน้นย้ำการฟื้นฟูเศรษฐกิจและเสริมสร้างความเข้มแข็งของความร่วมมือบิมสเทคท่ามกลางวิกฤตทางเศรษฐกิจและการเมืองในปัจจุบัน ผ่านความร่วมมือด้านการค้า ความเชื่อมโยงและความมั่นคง รวมทั้งเห็นพ้องให้มีการผลักดันโครงการสำคัญภายใต้แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงทางคมนาคมและการเจรจาความตกลงการค้าเสรี และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2. ถ้อยแถลงของนายกรัฐมนตรี          เน้นย้ำการผลักดันการปฏิบัติตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงด้านคมนาคมให้เกิดผลเป็นรูปธรรม รวมถึงผลักดันการจัดทำแผนแม่บทด้านความเชื่อมโยงโครงข่ายพลังงาน รวมทั้งส่งเสริมการปรับสาขาและสาขาย่อยความร่วมมือ และเพิ่มบทบาทของบิมสเทคผ่านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน
3. ประเด็นที่ให้ความสำคัญ          ผู้นำและผู้แทนประเทศสมาชิกให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ เช่น การสร้างเครือข่ายระบบไฟฟ้า การขับเคลื่อนความเชื่อมโยงดิจิทัลโดยผลักดันด้านการใช้อินเทอร์เน็ตโดยไม่มีค่าใช้จ่ายทั่วภูมิภาค การทำเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การผลักดันให้อ่าวเบงกอลเป็นสะพานเชื่อมต่อความมั่งคั่งความเชื่อมโยง และความมั่นคง การท่องเที่ยวโดยเน้นความสำคัญในการเชื่อมโยงมรดกทางวัฒนธรรมในภูมิภาคระหว่างกัน และการลดปัญหาความยากจน
4. การรับมอบตำแหน่ง          ไทยได้รับมอบตำแหน่งประธานบิมสเทคต่อจากศรีลังกา โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวรับมอบตำแหน่ง และประกาศวิสัยทัศน์ ?PRO BIMSTEC? ในการเป็นประธานของไทย ซึ่งมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับประเทศสมาชิกอย่างใกล้ชิดเพื่อมุ่งให้อนุภูมิภาคอ่าวเบงกอลมีความมั่นคั่ง ยั่งยืน และเปิดกว้างสู่โอกาสโดยไทยมุ่งใช้แนวคิดนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Cirular-Green Economy Model: BCG) เป็นแนวคิดหลักในการขับเคลื่อนความร่วมมือในกรอบบิมสเทค
5. การลงนาม/รับรองเอกสารผลลัพธ์
การประชุมฯ          ที่ประชุมฯ ได้ลงนามและรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม ดังนี้
(1) กฎบัตรบิมสเทค (ลงนามโดยนายกรัฐมนตรี)
(2) อนุสัญญาบิมสเทคว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางอาญา  [ลงนามโดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)]
(3) บันทึกความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีบิมสเทค [ลงนามโดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย)]
(4) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสถาบันการทูตของประเทศสมาชิกบิมสเทค (ลงนามโดยเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคลัมโบ)
(5) ปฏิญญาการประชุมผู้นำบิมสเทค ครั้งที่ 5 แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงด้านคมนาคมบิมสเทค และการปรับลดสาขาความร่วมมือจาก 14 สาขา เหลือ 7 สาขา (รับรองโดยที่ประชุมฯ ไม่มีการลงนาม)
ทั้งนี้ กต. แจ้งว่า เอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ มีสาระสำคัญไม่แตกต่างจากฉบับที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้

22. เรื่อง  ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 25
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers? and Central Bank Governors? Meeting: AFMGM+3) ครั้งที่ 25 ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 25 ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลาง         อาเซียน+3 ครั้งที่ 5 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
          ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ มีเนื้อหาเพื่อแสดงถึงเจตนารณ์ร่วมกันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 เพื่อสนับสนุนความร่วมมือในต้านต่าง ๆ อาทิ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคเพื่อสนับสนุนการเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน และการเสริมสร้างประสิทธิภาพของความร่วมมือของอาเซียน+3 รวมทั้งการกำหนดทิศทางความร่วมมือทางการเงินอาเซียน+3 ในอนาคตซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. การพัฒนาและแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาค เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน+3 ยังคงเผชิญกับความท้าทายที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ซึ่งการเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนและการใช้มาตรการกักกันที่ตรงเป้าหมายมากขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2564 ได้ลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสนับสนุนการฟื้นตัวของภูมิภาค ส่งผลให้ภูมิภาคมีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ร้อยละ 6 ในปี 2564 อย่างไรก็ตาม การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่องและการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและพลังงานก่อให้เกิดความเสี่ยงที่สำคัญต่อแนวโน้มการค้าและการลงทุน การเติบโตทางเศรษฐกิจ และอัตราเงินเฟ้อของภูมิภาค
                    2. การเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินของภูมิภาค ได้แก่ 1) มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM)  2) สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO)  3) มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABM) และ 4) ทิศทางความร่วมมือทางการเงินอาเซียน+3
                    ทั้งนี้ราชอาณาจักรกัมพูชาและสาธารณรัฐประชาชนจีนจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Ministers? and Central Bank Governors? Meeting: AFMGM+3) ครั้งที่ 25 (การประชุมฯ) ในวันที่ 12 พฤษภาคม 2564 ในรูปแบบการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยในการประชุมฯ จะมีการพิจารณารับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ

23. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบินและนวัตกรรมที่ทั่วถึง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบิน และนวัตกรรมที่ทั่วถึง และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะผู้แทนไทยโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณา             อีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) หรือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบิน และนวัตกรรมที่ทั่วถึงตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบิน และนวัตกรรมที่ทั่วถึงเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของผู้นำด้านการบินโลก เพื่อเน้นย้ำบทบาทที่สำคัญของการบินพลเรือนในการสร้างความเชื่อมโยงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจของโลกโดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยจะนำมาตรฐานและแนวปฏิบัติขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization: ICAO) มาใช้เพื่อขับเคลื่อนการฟื้นฟูภาคการบินอย่างยั่งยืน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ โดยคำนึงถึงมาตรการด้านสาธารณสุข นอกจากนี้ ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ยังเน้นย้ำบทบาทของผู้นำด้านการบินในการสนับสนุนการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพื่อพัฒนาภาคการบินพลเรือนให้มีความปลอดภัย รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความท้าทายที่เกิดขึ้นทั่วโลกผ่านการดำเนินการต่าง ๆ อาทิ                การพัฒนาบุคลากรภาคการบินให้มีความพร้อมต่อการปฏิบัติงาน และการพัฒนาการเข้าถึงการขนส่งทางอากาศสำหรับผู้ทุพพลภาพ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม รวมทั้งส่งเสริมบทบาทของสตรีในภาคการบิน

24. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการต่อเอกสารผลลัพธ์ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่
                              (1) แถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 (กรณีที่รัฐมนตรีการค้าเอเปค              ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจเอเปคไม่มีข้อขัดข้อง)
                              (2) แถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปค สำหรับการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 (กรณีที่เขตเศรษฐกิจเอเปคไม่สามารถเห็นชอบร่วมกันเพื่อรับรองเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ (1))
                              (3) เอกสารแนบว่าด้วยบริการที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์
                              (4) แถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปค สำหรับการประชุมภาครัฐ-ภาคเอกชน (PPD)
                    ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
                              1) ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 1 (1) และ (3) หรือ
                              2) ออกประกาศแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปค สำหรับการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 ตามข้อ 1 (2) หรือ
                              3) ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 1 (1) และ (3) พร้อมทั้งออกประกาศแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปค สำหรับการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 ตามข้อ 1 (2)
                    ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามผลลัพธ์ของประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค
                    3. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ออกประกาศเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 1 (4) ในฐานะประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปคสำหรับการประชุม PPD
                    4. ให้ความเห็นชอบในหลักการต่อพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 4 ภายใต้พิธีสารระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเปรูเพื่อเร่งเปิดเสรีการค้าสินค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้า และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 4 ในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    เอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 และพิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 4 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 มีสาระสำคัญ ได้แก่ 1) ยึดมั่นในระบบการค้าพหุภาคีและการนำไปสู่ผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก สมัยสามัญ ครั้งที่ 12 (MC12) 2) ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้า และการไหลเวียนสินค้าจำเป็น 3) ส่งเสริมวาระการปฏิรูปโครงสร้างในเอเปค และให้ความสำคัญกับความยากง่ายในการประกอบธุรกิจ 4) ตระหนักถึงความสำคัญของการเดินทางข้ามพรมแดนอย่างปลอดภัยและไร้รอยต่อเพื่อฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยว 5) เน้นย้ำการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ สนับสนุนทักษะดิจิทัล 6) รับทราบความคืบหน้าการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio Circular-Green (BCG) Economy Model เพื่อรับมือกับสภาพภูมิอากาศ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 7) เน้นการใช้นโยบายการค้าและสิ่งแวดล้อมที่สมดุล เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมถึงความจำเป็นในการส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน 8) สนับสนุนให้เขตเศรษฐกิจเอเปคที่มีความพร้อม ดำเนินการคงสถานะการอุดหนุนเชื้อเพลิงฟอสซิล 9) ยินดีกับความคืบหน้าในการปรับปรุงพิกัดศุลกากรของสินค้าสิ่งแวดล้อมให้ทันสมัยและการจัดทำรายการสินค้าสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงเทคโนโลยีใหม่ด้วยความสมัครใจและไม่ผูกพัน 10) ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจและการเสริมสร้างขีดความสามารถสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises: MSMEs) สตรีและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส โดยส่งเสริม MSMEs ให้สามารถเปลี่ยนผ่านไปสู่การดำเนินงานสีเขียว (Green transition)
                    2. ร่างแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปค สำหรับการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค
                              2.1 ในกรณีที่ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคมีฉันทามติรับรองเอกสารตามข้อ 1 (1) และข้อ 1 (3) จะมีเอกสารผลลัพธ์ ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 และเอกสารแนบว่าด้วยบริการที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์ หรือแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 เอกสารแนบว่าด้วยบริการที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์ และแถลงการณ์ประธานรัฐนตรีการค้าเอเปค สำหรับการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 เพื่อเสริมแถลงการณ์ร่วมฯ โดยอาจมีประเด็นอ่อนไหวหรือประเด็นที่ยังไม่มีฉันทามติจากทุกเขตเศรษฐกิจเพื่อสะท้อนเหตุการณ์การเมืองระหว่างประเทศและแสดงจุดยืนของไทยต่อเอเปค
                              2.2 ในกรณีที่ที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคไม่สามารถมีฉันทามติรับรองเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 1 (1) และข้อ 1 (3) จะมีเอกสารผลลัพธ์ ได้แก่ แถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปค สำหรับการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2565 โดยอาจมีประเด็นอ่อนไหวหรือประเด็นที่ยังไม่มีฉันทามติจากทุกเขตเศรษฐกิจเพื่อสะท้อนเหตุการณ์การเมืองระหว่างประเทศและแสดงจุดยืนของไทยต่อเอเปค
                    3. ร่างเอกสารแนบว่าด้วยบริการที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์ มีสาระสำคัญได้แก่ การจัดทำนิยามของ ?บริการที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์? คือกิจกรรมทางเศรษฐกิจสำคัญที่มีผลต่อการสร้างความเชื่อมั่นของห่วงโซ่อุปทานและทำให้สามารถคาดการณ์ได้ในเรื่องการขนส่ง จัดเก็บและส่งสินค้าและบริการ โดยรวมไปถึงการดำเนินการด้านพิธีการศุลกากร การจัดการคลังสินค้า การจัดเก็บโกดังสินค้า ค่าขนส่งสินค้า การส่งสินค้าข้ามประเทศ การกระจายสินค้าทั้งทางอากาศ ทางน้ำ ทางราง และทางบก รวมถึงโทรคมนาคม
                    4. ร่างแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีการค้าเอเปค สำหรับการประชุม PPD มีสาระสำคัญ ได้แก่ 1) รายงานว่ารัฐมนตรีการค้าเอเปคกับ ABAC ได้หารือเรื่อง FTAAP ในช่วงโควิด-19 และการดำเนินงานในอนาคต 2) ความท้าทายที่เกิดจากโควิด-19 กลับทำให้เรามุ่งมั่นที่จะผลักดันเรื่อง FTAAP เพื่อมีส่วนช่วยฟื้นฟูทางเศรษฐกิจและเตรียมรับมือกับวิกฤตในอนาคต    3) รับทราบถึงการทำงานตามปฏิญญาลิมา ปี ค.ศ. 2016 ที่รองรับประเด็นการค้าดั้งเดิมและการค้าการลงทุนใหม่ 4) รับทราบพัฒนาการของการจัดทำ FTAAP ซึ่งครอบคลุมเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 5) รับทราบถึงการที่เอเปคมีความเห็นแตกต่างในบางประเด็นภายใต้วาระ FTAAP จึงสนับสนุนให้มีฉันทามติในประเด็นการค้า/การลงทุนใหม่ภายใต้บริบทโควิด-19 6) ABAC ได้นำเสนอมุมมองที่สำคัญ อาทิ ข้อบทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายใต้ FTAs การให้สตรีกับ MSMEs เข้าสู่ห่วงโซ่คุณค่าโลก การลดข้อจำกัดทางการค้าสินค้ายา/เวชภัณฑ์ และมาตรการรับมือประเด็นสิ่งแวดล้อมภายใต้ FTAs 7) รัฐมนตรีการค้าเอเปคยังให้ความสำคัญกับทั้งประเด็นการค้า/การลงทุนดั้งเดิมและประเด็นการค้า/การลงทุนใหม่ 8) เอเปคเป็นเวทีเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งสนับสนุนข้อสั่งการของผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา ปี ค.ศ. 2040 และแผนปฏิบัติการ Aotearoa และ 9) เน้นย้ำความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมมีความรับผิดชอบร่วม และมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการเรื่อง FTAAP ต่อไป
                    5. พิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 4 ภายใต้พิธีสารระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเปรูเพื่อเร่งเปิดเสรีการค้าสินค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้า มีสาระสำคัญ ได้แก่ 1) ปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อบทกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการค้าในปัจจุบันและในอนาคต อาทิ อนุญาตให้ใช้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ใช้การลงนามและประทับตราด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature and Seal: ESS) ยกเลิกข้อกำหนดให้การขนส่งสินค้าผ่านประเทศนอกภาคีต้องเป็นไปตามเหตุผลด้านภูมิศาสตร์ และเพิ่มเติมข้อบทให้รองรับการจัดทำหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-CO) ในอนาคต เพื่อให้ข้อบทด้านกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลง TPCEP มีความทันสมัยเท่าเทียมกับความตกลง FTA ฉบับอื่น ๆ ที่ไทยเป็นภาคี และ 2) ปรับโอนพิกัดศุลกากรของกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าเฉพาะรายสินค้าจากระบบฮาร์โมไนซ์ 2007 (HS 2007) เป็นระบบฮาร์โมไนซ์ 2017 (HS 2017) ซึ่งเป็นการดำเนินการทางเทคนิคให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติขององค์การศุลกากรโลกที่มีการปรับโอนพิกัดศุลกากรเป็นประจำทุก 5 ปี
                    ทั้งนี้ พิธีสารเพิ่มเติมฉบับที่ 4 ถือเป็นส่วนหนึ่งของพิธีสารระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเปรูเพื่อเร่งเปิดเสรีการค้าและอำนวยความสะดวกทางการค้า ภายใต้ความตกลง TPCEP โดยจะมีการลงนาม ใน 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาสเปน โดยในกรณีที่มีความแตกต่างกัน ให้ถือตามฉบับภาษาอังกฤษ

แต่งตั้ง
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง นางศิริพร ศริพันธุ์ ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักอำนวยการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านวิจัยและประเมินผลการศึกษา (นักวิชาการศึกษาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่                ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอแต่งตั้ง นายนฤชา ฤชุพันธุ์ ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการระดับสูง) กองส่งเสริมการลงทุน 4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม           การลงทุน ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการลงทุน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                     1. นางชื่นชีวัน ลิมป์ธีระกุล ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                     2. นายสุวิทย์ วิจิตรโสภา รองเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                    3. นายนพพร บุญแก้ว ผู้ช่วยปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี                ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นางสาวณัฐธ์ภัสส์           ยงใจยุทธ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีอีกหนึ่งวาระ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2565



29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งนายประกอบ เผ่าพงศ์  รองอธิบดี (นักบริหารระดับต้น) กรมส่งเสริมสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง                 เป็นต้นไป
...........................

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ