คณะรัฐมนตรีพิจารณายุทธศาสตร์การจัดสรรและวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ซึ่งประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ 1 รายการ คือ
1) ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
3) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างสมดุล
4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
6) ยุทธศาสตร์การต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
7) ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงของรัฐ
8) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี
9) รายการค่าดำเนินการภาครัฐ
2. เห็นชอบนโยบายงบประมาณ วงเงินงบประมาณ และโครงสร้างงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ซึ่งการกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายได้พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
2.1 การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2552 ซึ่งคาดว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศจะมีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้น ประมาณร้อยละ 5.5 และอัตราเงินเฟ้อ ประมาณร้อยละ 3.5
2.2 ประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 1,585,500 ล้านบาท
2.3 นโยบายกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ควบคุมสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้นไม่เกินร้อยละ 50 และสัดส่วนภาระหนี้ต่อวงเงินงบประมาณรายจ่ายไม่เกินร้อยละ 15
2.4 นโยบายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 กำหนดให้เป็นงบประมาณขาดดุล โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 1,835,000 ล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ จำนวน 249,500 ล้านบาท
2.5 รายจ่ายลงทุนมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ในจำนวนที่เหมาะสม เนื่องจากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ รัฐบาลจะใช้แหล่งเงินทุนที่เป็นเงินนอกงบประมาณและการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน นอกจากนี้ ภาระงบประมาณรายจ่ายประจำตามกฎหมายเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เช่น รายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง เป็นต้น
ทั้งนี้ สาระสำคัญของโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 สรุปได้ดังนี้
(1) งบประมาณรายจ่าย จำนวน 1,835,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 175,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ประกอบด้วย
(1.1) รายจ่ายประจำ จำนวน 1,332,039 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 118,049.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.6 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับสัดส่วน ร้อยละ 73.1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
(1.2) รายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 31,938 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.7 ของวงเงินงบประมาณรวม
(1.3) รายจ่ายลงทุน จำนวน 407,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 6,516.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.2 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับสัดส่วนร้อยละ 24.1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
(1.4) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 64,023 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 18,496 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.6 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.5 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับสัดส่วนร้อยละ 2.8 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
(2) รายได้สุทธิ จำนวน 1,585,500 ล้านบาท
(3) ดุลงบประมาณขาดดุล ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่เกินร้อยละ 50 และลดลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 สำหรับสัดส่วนภาระหนี้ต่อวงเงินงบประมาณรายจ่าย ประมาณร้อยละ 11
สาระสำคัญของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จากโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 1,835,000 ล้านบาท รายละเอียดวงเงินงบประมาณในมิติรายจ่ายจะประกอบด้วย
(1) รายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็น
(2) รายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง
(3) รายจ่ายชำระหนี้
(4) รายจ่ายตามนโยบายรัฐบาล
(4.1) รายจ่ายตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
(4.2) รายจ่ายสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
(4.3) เงินอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
(4.4) เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
3. เห็นชอบแนวทางในการจัดทำและเสนอของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
เพื่อให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาล คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ พิจารณาเสนอของบประมาณตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนดส่งสำนักงบประมาณภายในวันที่ 17 เมษายน 2551 โดยขอให้นำแนวนโยบายที่นายกรัฐมนตรีได้มอบในการประชุมชี้แจงนโยบายของรัฐบาลและแนวทางการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 มาประกอบการดำเนินการ ทั้งนี้ ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการพิจารณาทบทวนภารกิจของหน่วยงานที่มีลำดับความสำคัญต่ำและไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล (Redeploy) รวมทั้งการจัดลำดับความสำคัญ (Prioritize) และเสนอคำของบประมาณตามแนวทางดังต่อไปนี้
3.1 จัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
3.2 วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ กลั่นกรองเป้าหมายการให้บริการระดับกระทรวงและหน่วยงานที่สามารถบรรลุความสำเร็จตามนโยบายของรัฐบาล โดยคำนึงถึงความสอดรับกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
3.3 ทบทวนเป้าหมายการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐานและภารกิจยุทธศาสตร์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 บนพื้นฐานความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานตามศักยภาพของหน่วยงาน รวมทั้งผลการดำเนินงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ และพิจารณาทบทวนรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็น รายจ่ายตามนโยบายต่อเนื่อง โดยชะลอ ปรับลด หรือยกเลิก ผลผลิต/โครงการ กิจกรรมที่หมดความจำเป็น หรือมีความสำคัญในระดับต่ำ หรือมีความซ้ำซ้อนกัน โดยจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การดำเนินงานที่ชัดเจน ครอบคลุมการใช้จ่ายในทุกแหล่งเงินทั้งเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และเงินจากแหล่งอื่น
3.4 นำเครื่องมือการวิเคราะห์การจัดการงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรีมาพิจารณาประกอบการดำเนินงาน ดังนี้
3.4.1 การวางแผนและบริหารโครงการ ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/4680 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2550
3.4.2 การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล แผนงาน/โครงการที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาล ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุดที่ นร 0506/5083 ลงวันที่ 4 เมษายน 2550
3.4.3 การวิเคราะห์ความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ (Performance Assessment Rating Tool : PART) ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/23450 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2550
4. เห็นชอบการจัดสรรงบประมาณให้กับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ. ศ. 2550 ซึ่งกำหนดหลักการให้รัฐสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด โดยให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ ความต้องการของประชาชนในจังหวัด แนวนโยบายของรัฐบาล และแผนการบริหารราชการแผ่นดิน สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รัฐบาลได้กำหนดให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัดมีงบประมาณเพื่อการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
5. เห็นชอบการจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ที่ต้องการให้มีการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยลำดับ ทั้งในรูปของภาษีและอากร เงินอุดหนุนและรายได้อื่น จนทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่องในระดับที่ดี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รัฐบาลจะมุ่งเน้นการสร้างศักยภาพและเร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นเองให้สูงขึ้น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จึงเห็นควรให้มีการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 150,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ที่ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนไว้ 147,840 ล้านบาท เป็นเงิน 2,660 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.8 โดยรายได้ของท้องถิ่นคิดเป็นร้อยละ 25.25 ของรายได้สุทธิของรัฐบาล
6. เห็นชอบปฎิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ปรับปรุงครั้งที่ 2)
เนื่องจากขั้นตอนการนำเสนอแผนการบริหารราชการแผ่นดินต่อคณะรัฐมนตรี ในปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เปลี่ยนแปลงจากวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นวันอังคารที่ 11 มีนาคม 2551 สำนักงบประมาณจึงได้ปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ให้สอดคล้องกับระยะเวลาตามข้อเท็จจริง ดังนี้
6.1 สำนักงบประมาณเสนอนโยบายงบประมาณ วงเงิน และโครงสร้างงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และวงเงินรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็นและรายจ่ายตามข้อผูกพันต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในวันที่ 18 มีนาคม 2551
6.2 รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีที่รับผิดชอบมอบหมายนโยบาย ให้กระทรวง รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐจัดทำเป้าหมาย และยุทธศาสตร์กระทรวงที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ในระหว่างวันที่ 19 - 20 มีนาคม 2551 เพื่อให้กระทรวง รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐจัดทำรายละเอียดวงเงินและคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เสนอรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีพิจารณากลั่นกรองและให้ความเห็นชอบในระหว่างวันที่ 19 มีนาคม — 16 เมษายน 2551 และส่งสำนักงบประมาณ ในวันที่ 17 เมษายน 2551
6.3 สำนักงบประมาณพิจารณาและจัดทำข้อเสนอรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ พร้อมหลักเกณฑ์การปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ในระหว่างวันที่ 18 เมษายน — 12 พฤษภาคม 2551 เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2551
6.4 รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีที่รับผิดชอบมอบหมายนโยบายให้กระทรวง รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในระหว่างวันที่ 21 — 22 พฤษภาคม 2551 และส่งสำนักงบประมาณในวันที่ 23 พฤษภาคม 2551
6.5 สำนักงบประมาณพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ในระหว่างวันที่ 24 — 28 พฤษภาคม 2551 เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในวันที่ 3 มิถุนายน 2551
6.6 สำหรับระยะเวลาตามขั้นตอนต่างๆ ยังคงเป็นไปตามปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มีนาคม 2551--จบ--
1. เห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ซึ่งประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ 1 รายการ คือ
1) ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูความเชื่อมั่นของประเทศ
2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
3) ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้ขยายตัวอย่างสมดุล
4) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5) ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม
6) ยุทธศาสตร์การต่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
7) ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงของรัฐ
8) ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการที่ดี
9) รายการค่าดำเนินการภาครัฐ
2. เห็นชอบนโยบายงบประมาณ วงเงินงบประมาณ และโครงสร้างงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ซึ่งการกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายได้พิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
2.1 การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 2552 ซึ่งคาดว่าระบบเศรษฐกิจของประเทศจะมีอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้น ประมาณร้อยละ 5.5 และอัตราเงินเฟ้อ ประมาณร้อยละ 3.5
2.2 ประมาณการรายได้สุทธิ จำนวน 1,585,500 ล้านบาท
2.3 นโยบายกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ควบคุมสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเบื้องต้นไม่เกินร้อยละ 50 และสัดส่วนภาระหนี้ต่อวงเงินงบประมาณรายจ่ายไม่เกินร้อยละ 15
2.4 นโยบายงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 กำหนดให้เป็นงบประมาณขาดดุล โดยกำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 1,835,000 ล้านบาท ขาดดุลงบประมาณ จำนวน 249,500 ล้านบาท
2.5 รายจ่ายลงทุนมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ในจำนวนที่เหมาะสม เนื่องจากการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ รัฐบาลจะใช้แหล่งเงินทุนที่เป็นเงินนอกงบประมาณและการร่วมลงทุนกับภาคเอกชน นอกจากนี้ ภาระงบประมาณรายจ่ายประจำตามกฎหมายเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เช่น รายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง เป็นต้น
ทั้งนี้ สาระสำคัญของโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เมื่อเปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 สรุปได้ดังนี้
(1) งบประมาณรายจ่าย จำนวน 1,835,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 175,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.5 ประกอบด้วย
(1.1) รายจ่ายประจำ จำนวน 1,332,039 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 118,049.9 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 72.6 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับสัดส่วน ร้อยละ 73.1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
(1.2) รายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง จำนวน 31,938 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.7 ของวงเงินงบประมาณรวม
(1.3) รายจ่ายลงทุน จำนวน 407,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 6,516.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 22.2 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับสัดส่วนร้อยละ 24.1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
(1.4) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ จำนวน 64,023 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 จำนวน 18,496 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.6 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.5 ของวงเงินงบประมาณรวม เทียบกับสัดส่วนร้อยละ 2.8 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2551
(2) รายได้สุทธิ จำนวน 1,585,500 ล้านบาท
(3) ดุลงบประมาณขาดดุล ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ไม่เกินร้อยละ 50 และลดลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 สำหรับสัดส่วนภาระหนี้ต่อวงเงินงบประมาณรายจ่าย ประมาณร้อยละ 11
สาระสำคัญของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จากโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 1,835,000 ล้านบาท รายละเอียดวงเงินงบประมาณในมิติรายจ่ายจะประกอบด้วย
(1) รายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็น
(2) รายจ่ายชดใช้เงินคงคลัง
(3) รายจ่ายชำระหนี้
(4) รายจ่ายตามนโยบายรัฐบาล
(4.1) รายจ่ายตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
(4.2) รายจ่ายสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
(4.3) เงินอุดหนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542)
(4.4) เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
3. เห็นชอบแนวทางในการจัดทำและเสนอของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
เพื่อให้การจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาล คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ พิจารณาเสนอของบประมาณตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนดส่งสำนักงบประมาณภายในวันที่ 17 เมษายน 2551 โดยขอให้นำแนวนโยบายที่นายกรัฐมนตรีได้มอบในการประชุมชี้แจงนโยบายของรัฐบาลและแนวทางการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2551 มาประกอบการดำเนินการ ทั้งนี้ ควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการพิจารณาทบทวนภารกิจของหน่วยงานที่มีลำดับความสำคัญต่ำและไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล (Redeploy) รวมทั้งการจัดลำดับความสำคัญ (Prioritize) และเสนอคำของบประมาณตามแนวทางดังต่อไปนี้
3.1 จัดทำงบประมาณให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
3.2 วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของยุทธศาสตร์ กลั่นกรองเป้าหมายการให้บริการระดับกระทรวงและหน่วยงานที่สามารถบรรลุความสำเร็จตามนโยบายของรัฐบาล โดยคำนึงถึงความสอดรับกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
3.3 ทบทวนเป้าหมายการดำเนินงานตามภารกิจพื้นฐานและภารกิจยุทธศาสตร์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 บนพื้นฐานความเป็นไปได้ในการปฏิบัติงานตามศักยภาพของหน่วยงาน รวมทั้งผลการดำเนินงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณ และพิจารณาทบทวนรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็น รายจ่ายตามนโยบายต่อเนื่อง โดยชะลอ ปรับลด หรือยกเลิก ผลผลิต/โครงการ กิจกรรมที่หมดความจำเป็น หรือมีความสำคัญในระดับต่ำ หรือมีความซ้ำซ้อนกัน โดยจัดลำดับความสำคัญของยุทธศาสตร์และกลยุทธ์การดำเนินงานที่ชัดเจน ครอบคลุมการใช้จ่ายในทุกแหล่งเงินทั้งเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ และเงินจากแหล่งอื่น
3.4 นำเครื่องมือการวิเคราะห์การจัดการงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรีมาพิจารณาประกอบการดำเนินงาน ดังนี้
3.4.1 การวางแผนและบริหารโครงการ ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/4680 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2550
3.4.2 การวิเคราะห์ความเสี่ยงตามหลักธรรมาภิบาล แผนงาน/โครงการที่สำคัญตามนโยบายรัฐบาล ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุดที่ นร 0506/5083 ลงวันที่ 4 เมษายน 2550
3.4.3 การวิเคราะห์ความสำเร็จของการดำเนินงานจากการใช้จ่ายงบประมาณ (Performance Assessment Rating Tool : PART) ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนที่สุด ที่ นร 0506/23450 ลงวันที่ 12 ธันวาคม 2550
4. เห็นชอบการจัดสรรงบประมาณให้กับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ. ศ. 2550 ซึ่งกำหนดหลักการให้รัฐสนับสนุนให้จังหวัดมีแผนและงบประมาณเพื่อพัฒนาจังหวัด โดยให้จังหวัดจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในระดับชาติ ความต้องการของประชาชนในจังหวัด แนวนโยบายของรัฐบาล และแผนการบริหารราชการแผ่นดิน สำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รัฐบาลได้กำหนดให้จังหวัด/กลุ่มจังหวัดมีงบประมาณเพื่อการพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด
5. เห็นชอบการจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสอดคล้องกับหลักการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 ที่ต้องการให้มีการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ซึ่งที่ผ่านมามีการจัดสรรรายได้ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาโดยลำดับ ทั้งในรูปของภาษีและอากร เงินอุดหนุนและรายได้อื่น จนทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่องในระดับที่ดี ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รัฐบาลจะมุ่งเน้นการสร้างศักยภาพและเร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ของท้องถิ่นเองให้สูงขึ้น เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จึงเห็นควรให้มีการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 150,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ที่ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนไว้ 147,840 ล้านบาท เป็นเงิน 2,660 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.8 โดยรายได้ของท้องถิ่นคิดเป็นร้อยละ 25.25 ของรายได้สุทธิของรัฐบาล
6. เห็นชอบปฎิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 (ปรับปรุงครั้งที่ 2)
เนื่องจากขั้นตอนการนำเสนอแผนการบริหารราชการแผ่นดินต่อคณะรัฐมนตรี ในปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เปลี่ยนแปลงจากวันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2551 เป็นวันอังคารที่ 11 มีนาคม 2551 สำนักงบประมาณจึงได้ปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ให้สอดคล้องกับระยะเวลาตามข้อเท็จจริง ดังนี้
6.1 สำนักงบประมาณเสนอนโยบายงบประมาณ วงเงิน และโครงสร้างงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ที่สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน และวงเงินรายจ่ายขั้นต่ำที่จำเป็นและรายจ่ายตามข้อผูกพันต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในวันที่ 18 มีนาคม 2551
6.2 รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีที่รับผิดชอบมอบหมายนโยบาย ให้กระทรวง รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐจัดทำเป้าหมาย และยุทธศาสตร์กระทรวงที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ในระหว่างวันที่ 19 - 20 มีนาคม 2551 เพื่อให้กระทรวง รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐจัดทำรายละเอียดวงเงินและคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ประมาณการรายได้ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เสนอรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีพิจารณากลั่นกรองและให้ความเห็นชอบในระหว่างวันที่ 19 มีนาคม — 16 เมษายน 2551 และส่งสำนักงบประมาณ ในวันที่ 17 เมษายน 2551
6.3 สำนักงบประมาณพิจารณาและจัดทำข้อเสนอรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ พร้อมหลักเกณฑ์การปรับปรุงงบประมาณรายจ่ายประจำปีฯ ในระหว่างวันที่ 18 เมษายน — 12 พฤษภาคม 2551 เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2551
6.4 รองนายกรัฐมนตรี/รัฐมนตรีที่รับผิดชอบมอบหมายนโยบายให้กระทรวง รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในระหว่างวันที่ 21 — 22 พฤษภาคม 2551 และส่งสำนักงบประมาณในวันที่ 23 พฤษภาคม 2551
6.5 สำนักงบประมาณพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ในระหว่างวันที่ 24 — 28 พฤษภาคม 2551 เสนอต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในวันที่ 3 มิถุนายน 2551
6.6 สำหรับระยะเวลาตามขั้นตอนต่างๆ ยังคงเป็นไปตามปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มีนาคม 2551--จบ--