คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน และอนุมัติมติการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน ครั้งที่ 1/2551 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
มติคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน
1. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม เร่งรัดการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางที่มีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ก่อสร้างแล้ว เพื่อให้การประกวดราคาและการก่อสร้างโครงการเป็นไปตามเป้าหมาย ได้แก่
1.1 โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
1.2 โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ
1.3 โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
2. มอบหมายให้กระทรวงการคลังเจรจากับธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (JBIC) เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาการประเมินและการประกวดราคาโครงการ
3. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมจัดเตรียมรายละเอียดโครงการให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
3.1 โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค
3.2 โครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-พหลโยธิน-สะพานใหม่
3.3 โครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สำโรง-สมุทรปราการ
3.4 โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก โดยให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างโครงการ ตามข้อ 3.1-3.3 และให้ รฟม.รับไปพิจารณาแนวทางการปรับเส้นทางสายสีน้ำเงิน ช่วงท่าพระให้เชื่อมโยงถึงอ้อมน้อยด้วย สำหรับโครงการตามข้อ 3.4 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการก่อสร้าง
4. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และ รฟม. เร่งศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดในเส้นทางเพิ่มเติมตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางของประชาชนจากเขตปริมณฑลเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และเกิดการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายรถไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ดังนี้
4.1 ศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และศึกษาความเหมาะสมและออกแบบในเส้นทางที่เหลือตามนโยบายของรัฐบาล (สนข.)
4.2 ศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการส่วนต่อขยายของสายสีเขียวเข้ม ช่วงสะพานใหม่ถึงลำลูกกา คลอง 4 และส่วนต่อขยายสายสีเขียวอ่อน จากสมุทรปราการถึงบางปู โดยเร่งด่วน (สนข.)
4.3 ศึกษาและออกแบบโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายวงแหวนรอบในตามแนวถนนรัชดาภิเษก (รฟม.)
5. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณามอบหมายให้ รฟม. เป็นผู้กำกับดูแลสัมปทานบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด ตามสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร แทน กรุงเทพมหานครเพื่อให้การพัฒนาเส้นทางส่วนต่อขยายสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการก่อสร้างและการเดินรถ โดยรัฐจะพิจารณาจ่ายคืนเงินค่าก่อสร้างทางวิ่งและตัวสถานีช่วงสะพานสาธร-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ที่กรุงเทพมหานครได้จ่ายไปคืนให้กับกรุงเทพมหานคร และมอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาซื้อหนี้จากเจ้าหนี้/ผู้ให้กู้ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด รวมถึงการพิจารณาเข้าถือหุ้นในบริษัทฯ ดังกล่าวตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อให้การบริหารจัดการและการเดินรถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
6. ในระหว่างที่การเจรจาต่อรองกับผู้รับสัมปทานโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ตาม ข้อ 5 ยังไม่สัมฤทธิผล ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินงานโครงการในสายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้งในส่วนสีเขียวเข้ม และส่วนสีเขียวอ่อน ให้เชื่อมต่อกับโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนส่วนอื่น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในการได้ใช้บริการอย่างรวดเร็ว และสามารถเดินทางเชื่อมโยงกับโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนส่วนอื่น ๆ ได้
7. มอบหมายให้กระทรวงการคลังจัดตั้งคณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ทำหน้าที่พิจารณาความเหมาะสมของแหล่งเงินทุน แผนการใช้จ่ายเงิน และรูปแบบการระดมทุนสำหรับ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐในสาขาต่าง ๆ สำหรับการลงทุนโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เห็นควรให้รัฐบาล รับภาระการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และเอกชนรับผิดชอบในการลงทุนระบบตัวรถ และการจัดการเดินรถ
8. เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการขยายโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการสร้างฐานการผลิตรถไฟฟ้าในประเทศไทย รวมทั้งการพัฒนาบุคลากร การวิจัยและพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างจริงจัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มีนาคม 2551--จบ--
มติคณะกรรมการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและระบบขนส่งมวลชน
1. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม เร่งรัดการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางที่มีมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ก่อสร้างแล้ว เพื่อให้การประกวดราคาและการก่อสร้างโครงการเป็นไปตามเป้าหมาย ได้แก่
1.1 โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ
1.2 โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงตลิ่งชัน-บางซื่อ
1.3 โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
2. มอบหมายให้กระทรวงการคลังเจรจากับธนาคารเพื่อความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่น (JBIC) เพื่อลดขั้นตอนและระยะเวลาการประเมินและการประกวดราคาโครงการ
3. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมจัดเตรียมรายละเอียดโครงการให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
3.1 โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง-บางแค
3.2 โครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ช่วงหมอชิต-พหลโยธิน-สะพานใหม่
3.3 โครงการระบบรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน ช่วงแบริ่ง-สำโรง-สมุทรปราการ
3.4 โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ-หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ-พญาไท-มักกะสัน-หัวหมาก โดยให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างโครงการ ตามข้อ 3.1-3.3 และให้ รฟม.รับไปพิจารณาแนวทางการปรับเส้นทางสายสีน้ำเงิน ช่วงท่าพระให้เชื่อมโยงถึงอ้อมน้อยด้วย สำหรับโครงการตามข้อ 3.4 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการก่อสร้าง
4. มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และ รฟม. เร่งศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละเอียดในเส้นทางเพิ่มเติมตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งจะช่วยให้การเดินทางของประชาชนจากเขตปริมณฑลเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว และเกิดการใช้ประโยชน์จากโครงข่ายรถไฟฟ้าได้อย่างเต็มที่ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ดังนี้
4.1 ศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และศึกษาความเหมาะสมและออกแบบในเส้นทางที่เหลือตามนโยบายของรัฐบาล (สนข.)
4.2 ศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการส่วนต่อขยายของสายสีเขียวเข้ม ช่วงสะพานใหม่ถึงลำลูกกา คลอง 4 และส่วนต่อขยายสายสีเขียวอ่อน จากสมุทรปราการถึงบางปู โดยเร่งด่วน (สนข.)
4.3 ศึกษาและออกแบบโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายวงแหวนรอบในตามแนวถนนรัชดาภิเษก (รฟม.)
5. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยพิจารณามอบหมายให้ รฟม. เป็นผู้กำกับดูแลสัมปทานบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด ตามสัญญาสัมปทานระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร แทน กรุงเทพมหานครเพื่อให้การพัฒนาเส้นทางส่วนต่อขยายสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการก่อสร้างและการเดินรถ โดยรัฐจะพิจารณาจ่ายคืนเงินค่าก่อสร้างทางวิ่งและตัวสถานีช่วงสะพานสาธร-บางหว้า และช่วงอ่อนนุช-แบริ่ง ที่กรุงเทพมหานครได้จ่ายไปคืนให้กับกรุงเทพมหานคร และมอบหมายให้กระทรวงการคลังพิจารณาซื้อหนี้จากเจ้าหนี้/ผู้ให้กู้ของบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด รวมถึงการพิจารณาเข้าถือหุ้นในบริษัทฯ ดังกล่าวตามความจำเป็นและเหมาะสม เพื่อให้การบริหารจัดการและการเดินรถเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน
6. ในระหว่างที่การเจรจาต่อรองกับผู้รับสัมปทานโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร ตาม ข้อ 5 ยังไม่สัมฤทธิผล ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินงานโครงการในสายสีเขียวส่วนต่อขยายทั้งในส่วนสีเขียวเข้ม และส่วนสีเขียวอ่อน ให้เชื่อมต่อกับโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนส่วนอื่น ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนในการได้ใช้บริการอย่างรวดเร็ว และสามารถเดินทางเชื่อมโยงกับโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนส่วนอื่น ๆ ได้
7. มอบหมายให้กระทรวงการคลังจัดตั้งคณะกรรมการกำกับด้านการเงินและการระดมทุนสำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ทำหน้าที่พิจารณาความเหมาะสมของแหล่งเงินทุน แผนการใช้จ่ายเงิน และรูปแบบการระดมทุนสำหรับ โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐในสาขาต่าง ๆ สำหรับการลงทุนโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน เห็นควรให้รัฐบาล รับภาระการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และเอกชนรับผิดชอบในการลงทุนระบบตัวรถ และการจัดการเดินรถ
8. เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายที่ชัดเจนในการขยายโครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแนวทางการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการสร้างฐานการผลิตรถไฟฟ้าในประเทศไทย รวมทั้งการพัฒนาบุคลากร การวิจัยและพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างจริงจัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มีนาคม 2551--จบ--