คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินงานตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
พระราชดำรัส
1. ปัญหาแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนถูกฟ้อง (คดีของ พญ.สุทธิพร ไกรมาก)
2. เพิ่มงานบริการเชิงรุกด้านการส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น
3. ความสะอาดของโรงพยาบาล บ้านพักและอาคารผู้ป่วย
4. เรื่องการซ่อมแซมอาคารโครงสร้างพื้นฐาน
5. ระบบการสุขาภิบาล การอนามัยพื้นฐาน
6. ระบบการส่งต่อผู้ป่วย พระองค์ท่านให้ความสนพระทัยระบบการรักษาผู้ป่วยทางไกลหรือเทเลเมดดิซีน (Tele-Medicine)
การดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข
1. ปัญหาแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนถูกฟ้อง (คดีของ พญ.สุทธิพร ไกรมาก)
คดีอาญา
ศาลจังหวัดทุ่งสง มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2550 โดยพิพากษาว่า พญ.สุทธิพร ไกรมาก กระทำการโดยประมาทเลินเล่อฉีดยาชาเข้าไขสันหลังในปริมาณเกินขนาด จึงให้จำคุก 3 ปี ต่อมาศาลอนุญาตให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการอุทธรณ์ โดยใช้หลักประกันเป็นเงินสดในธนาคารจำนวน 200,000 บาท
คดีแพ่ง
วันที่ 16 กันยายน 2548 ศาลจังหวัดนนทบุรี มีคำพิพากษา คดีระหว่างนางสาวสิริมาศ แก้วคงจันทร์ โจทก์ กับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดโดยความประมาทเลินเล่อของแพทย์ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นโมฆะ จำเลยไม่พ้นผิด ให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขชดใช้ค่าเสียหาย เป็นเงิน 600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะให้โจทก์เสร็จ โจทก์และจำเลยต่างยื่นอุทธรณ์ และเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2550 ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาว่า คดีนี้ขาดอายุความให้ยกฟ้องโจทก์ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2550 โจทก์ยื่นฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
การแก้ไขปัญหาการฟ้องคดีแพทย์
กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1) จัดตั้งศูนย์สันติวิธี เพื่อทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ย และเผยแพร่ให้แนวทางแก่โรงพยาบาลในการ ไกล่เกลี่ย กรณีที่สมควรดำเนินการไกล่เกลี่ย
2) จัดโครงการเผยแพร่อบรมให้ความรู้ด้านกฎหมาย แนวทางแก้ไข ป้องกันการฟ้องร้องทางคดีให้แก่แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ
3) จัดให้มีพนักงานราชการตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญกฎหมายประจำแต่ละเขต 12 เขต
4) ตั้งคณะกรรมการพิจารณากรณีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่อื่น มีข้อโต้แย้ง พิพาท หรือถูกฟ้องคดี เนื่องจากการให้การรักษาพยาบาล มีหน้าที่ไกล่เกลี่ย ให้ความร่วมมือ จัดเตรียมข้อมูล
5) กำหนดแนวทางปฏิบัติกรณีแพทย์มีข้อโต้แย้งหรือถูกฟ้องคดี จะต้องปฏิบัติอย่างไร
6) ประสานความร่วมมือกับสภาวิชาชีพต่าง ๆ
7) ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขและผู้พิพากษาศาลจังหวัดนนทบุรี โดยกระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอข้อมูลทางวิชาการ/ข้อเท็จจริง/และข้อจำกัดในการรักษาพยาบาลให้ศาลจังหวัดนนทบุรีทราบ
8) แต่งตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อศึกษา และหาแนวทางในการที่จะปรับปรุง พัฒนา หรือจัดทำกฎหมายขึ้นมา เพื่อให้สอดรับกับปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ ขณะนี้กฎหมายได้ผ่านความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี และขณะนี้อยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา
สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการภายหลังที่มีคำพิพากษาจำคุกแพทย์
1) จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือแพทย์
2) จัดหาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญ
3) ดำเนินการให้มีการเร่งรัดการอุทธรณ์ และให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ และกฎหมาย ช่วยพิจารณาคำอุทธรณ์
4) ให้มีคณะทำงานติดตามผล
5) จัดให้มีทนายความซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ไว้เป็นการประจำ
สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการในระยะยาวต่อไป
1) พิจารณาทบทวน ปรับปรุง หนังสือให้ความยินยอมในการรักษาพยาบาล
2) ผลักดันให้มีกฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับเรื่องการให้บริการทางการแพทย์ให้เกิดความเป็นธรรม ทั้งผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และหน่วยงานของรัฐ
2.1 ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
2.2 ร่าง พ.ร.บ. ความรับผิดและวิธีพิจารณาความสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ พ.ศ. ....
นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งกองทุนช่วยเหลือทางการแพทย์ขึ้น เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย กองทุนช่วยเหลือทางการแพทย์ พ.ศ. 2551”
3) ให้มีการศึกษาวิจัย เพื่อหาทางป้องกันปัญหาในเชิงระบบ
2. เพิ่มงานบริการเชิงรุกด้านการส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น งานบริการเชิงรุกที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ ในปี 2551 คือ การป้องกันอันตรายและและความพิการจากสถานการณ์ฉุกเฉิน และภัยพิบัติหมู่ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพ อาหารปลอดภัย ส่งเสริมและป้องกันโรคทางจิต การป้องกันดูแลช่วยเหลือผู้มีภาวะซึมเศร้าและผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย การส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังและป้องกันโรคในวัยรุ่น การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โรคอ้วนคนไทยไร้พุง พัฒนาการในเด็กปฐมวัย งานอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา การเพิ่มความเข้มแข็งภาคประชาชนระดับตำบล เสริมงานสาธารณสุข การส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โครงการส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังโรควัยทำงาน โครงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและเฝ้าระวังโรคกลุ่มผู้สูงอายุ
3. ความสะอาดของโรงพยาบาล บ้านพักและอาคารผู้ป่วย
4. เรื่องการซ่อมแซมอาคารโครงสร้างพื้นฐาน
5. ระบบการสุขาภิบาล การอนามัยพื้นฐาน
ทั้งสามเรื่องดังกล่าวข้างต้นกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการ ดังนี้
1) การแก้ปัญหาเชิงระบบ เป็นนโยบายที่กระทรวงสาธารณสุข ได้เน้นย้ำกับสถานบริการต่าง ๆ ทุกระดับว่าจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของชุมชน และป้องกันการติดเชื้อภายในโรงพยาบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ ทุกสถานบริการต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (HA : Hospital Accreditation) หรือ HNQA (Hospital Network Quality Audit) ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานการดำเนินการ และมีการประเมินผล หากโรงพยาบาลใดยังไม่ได้มาตรฐานก็ต้องได้รับการแก้ไข
2) การแก้ปัญหาเชิงกายภาพ กระทรวงสาธารณสุขจะได้สั่งการให้ทุกโรงพยาบาลปรับปรุง อาคารสถานที่ ความสะอาด และระบบที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการผู้ป่วยซึ่งรวมถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยส่วนหนึ่งสามารถดำเนินการได้เลยโดยใช้งบลงทุนภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และในส่วนที่ต้องการงบประมาณในวงเงินที่สูง กระทรวงสาธารณสุขได้ของบประมาณพัฒนาระบบบริการทุติยภูมิในโครงการ Megaproject ปี 2551-2554 แล้วเพื่อให้พร้อมที่จะรองรับการบริการประชาชนทั่วไป ผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยให้ได้รับความสะดวกด้วย ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
6. ระบบการส่งต่อผู้ป่วย พระองค์ท่านให้ความสนพระทัยระบบการรักษาผู้ป่วยทางไกลหรือเทเลเมดดิซีน (Tele-Medicine) กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานระบบการรักษาผู้ป่วยทางไกลหรือเทเลเมดดิซีน (Tele-Medicine) โรงพยาบาลเกาะยาว และศูนย์สุขภาพชุมชน เกาะยาวใหญ่ แล้ว ยังได้ดำเนินการในลักษณะคล้ายกันที่ พื้นที่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ใช้งานลักษณะการให้คำแนะนำ และบริการเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และพื้นที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ใช้งานลักษณะการให้คำแนะนำ และการรับส่งข้อมูลด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข เช่น การเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยที่สถานีอนามัยกับฐานข้อมูลที่ รพ.หล่มสัก เป็นต้น
แนวทางที่จะดำเนินการ Tele-Medicine/Tele-Health ต่อไป
1) จากที่กระทรวงสาธารณสุขเคยดำเนินการโครงการแพทย์ทางไกลผ่านดาวเทียมมาตั้งแต่ ปี 2540 แต่เนื่องจากอุปสรรคด้านงบประมาณด้านบุคลากร และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องยุติโครงการ ในปี 2546 ต่อมาเมื่อปี 2549 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) ร่วมกับมูลนิธิ พอ.สว. และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีแนวคิดที่จะศึกษาความเหมาะสมในการนำเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์และสนับสนุนการให้บริการ Tele-Medicine/Tele-Health ในลักษณะโครงการวิจัยเพื่อศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการ ของระบบการรักษาผู้ป่วยในท้องที่ห่างไกลและทุรกันดาร โดยดำเนินการใน จ.ตาก จ.น่าน และ จ.ตราด และได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 10 ล้านบาทจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอการจัดสรรงบประมาณ
2) กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ได้เสนอโครงการปฏิรูประบบข้อมูลสุขภาพภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุข ใน Megaproject ปีงบประมาณ 2552-2554 ซึ่งจะพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลการแพทย์ผู้ป่วยจากทุกสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและส่งต่อข้อมูลการแพทย์ของผู้ป่วย (Medical Record Exchange) ซึ่งส่วนหนึ่งในโครงการเป็นการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แก่หน่วยงานสาธารณสุขระดับโรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัย ให้สามารถรับส่งข้อมูล ภาพ และเสียงได้ อันจะนำไปสู่การใช้งานในลักษณะการให้บริการ Tele-Medicine/Tele-Health ต่อไป
3) สำหรับแนวทางในการนำอุปกรณ์ทางการแพทย์มาใช้ในการให้บริการ Tele-Medicine/Tele-Health นั้น จะได้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในจุด ที่มีความจำเป็นและคุ้มค่าในการลงทุน (Cost-effectiveness) ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มีนาคม 2551--จบ--
พระราชดำรัส
1. ปัญหาแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนถูกฟ้อง (คดีของ พญ.สุทธิพร ไกรมาก)
2. เพิ่มงานบริการเชิงรุกด้านการส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น
3. ความสะอาดของโรงพยาบาล บ้านพักและอาคารผู้ป่วย
4. เรื่องการซ่อมแซมอาคารโครงสร้างพื้นฐาน
5. ระบบการสุขาภิบาล การอนามัยพื้นฐาน
6. ระบบการส่งต่อผู้ป่วย พระองค์ท่านให้ความสนพระทัยระบบการรักษาผู้ป่วยทางไกลหรือเทเลเมดดิซีน (Tele-Medicine)
การดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข
1. ปัญหาแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนถูกฟ้อง (คดีของ พญ.สุทธิพร ไกรมาก)
คดีอาญา
ศาลจังหวัดทุ่งสง มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2550 โดยพิพากษาว่า พญ.สุทธิพร ไกรมาก กระทำการโดยประมาทเลินเล่อฉีดยาชาเข้าไขสันหลังในปริมาณเกินขนาด จึงให้จำคุก 3 ปี ต่อมาศาลอนุญาตให้ได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวระหว่างการอุทธรณ์ โดยใช้หลักประกันเป็นเงินสดในธนาคารจำนวน 200,000 บาท
คดีแพ่ง
วันที่ 16 กันยายน 2548 ศาลจังหวัดนนทบุรี มีคำพิพากษา คดีระหว่างนางสาวสิริมาศ แก้วคงจันทร์ โจทก์ กับสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจำเลยฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดโดยความประมาทเลินเล่อของแพทย์ทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตาย ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เป็นโมฆะ จำเลยไม่พ้นผิด ให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขชดใช้ค่าเสียหาย เป็นเงิน 600,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดจนกว่าจะให้โจทก์เสร็จ โจทก์และจำเลยต่างยื่นอุทธรณ์ และเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2550 ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาว่า คดีนี้ขาดอายุความให้ยกฟ้องโจทก์ ต่อมาเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2550 โจทก์ยื่นฎีกาคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา
การแก้ไขปัญหาการฟ้องคดีแพทย์
กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
1) จัดตั้งศูนย์สันติวิธี เพื่อทำหน้าที่ในการไกล่เกลี่ย และเผยแพร่ให้แนวทางแก่โรงพยาบาลในการ ไกล่เกลี่ย กรณีที่สมควรดำเนินการไกล่เกลี่ย
2) จัดโครงการเผยแพร่อบรมให้ความรู้ด้านกฎหมาย แนวทางแก้ไข ป้องกันการฟ้องร้องทางคดีให้แก่แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ
3) จัดให้มีพนักงานราชการตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญกฎหมายประจำแต่ละเขต 12 เขต
4) ตั้งคณะกรรมการพิจารณากรณีแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่อื่น มีข้อโต้แย้ง พิพาท หรือถูกฟ้องคดี เนื่องจากการให้การรักษาพยาบาล มีหน้าที่ไกล่เกลี่ย ให้ความร่วมมือ จัดเตรียมข้อมูล
5) กำหนดแนวทางปฏิบัติกรณีแพทย์มีข้อโต้แย้งหรือถูกฟ้องคดี จะต้องปฏิบัติอย่างไร
6) ประสานความร่วมมือกับสภาวิชาชีพต่าง ๆ
7) ได้มีการหารือร่วมกันระหว่างผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขและผู้พิพากษาศาลจังหวัดนนทบุรี โดยกระทรวงสาธารณสุขได้นำเสนอข้อมูลทางวิชาการ/ข้อเท็จจริง/และข้อจำกัดในการรักษาพยาบาลให้ศาลจังหวัดนนทบุรีทราบ
8) แต่งตั้งคณะกรรมการฯ เพื่อศึกษา และหาแนวทางในการที่จะปรับปรุง พัฒนา หรือจัดทำกฎหมายขึ้นมา เพื่อให้สอดรับกับปัญหาการฟ้องร้องแพทย์ ขณะนี้กฎหมายได้ผ่านความเห็นชอบในหลักการจากคณะรัฐมนตรี และขณะนี้อยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา
สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการภายหลังที่มีคำพิพากษาจำคุกแพทย์
1) จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือแพทย์
2) จัดหาทนายความที่มีความเชี่ยวชาญ
3) ดำเนินการให้มีการเร่งรัดการอุทธรณ์ และให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ และกฎหมาย ช่วยพิจารณาคำอุทธรณ์
4) ให้มีคณะทำงานติดตามผล
5) จัดให้มีทนายความซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญ ไว้เป็นการประจำ
สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการในระยะยาวต่อไป
1) พิจารณาทบทวน ปรับปรุง หนังสือให้ความยินยอมในการรักษาพยาบาล
2) ผลักดันให้มีกฎหมายที่กำหนดเกี่ยวกับเรื่องการให้บริการทางการแพทย์ให้เกิดความเป็นธรรม ทั้งผู้รับบริการ ผู้ให้บริการ และหน่วยงานของรัฐ
2.1 ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ....
2.2 ร่าง พ.ร.บ. ความรับผิดและวิธีพิจารณาความสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ พ.ศ. ....
นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งกองทุนช่วยเหลือทางการแพทย์ขึ้น เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย กองทุนช่วยเหลือทางการแพทย์ พ.ศ. 2551”
3) ให้มีการศึกษาวิจัย เพื่อหาทางป้องกันปัญหาในเชิงระบบ
2. เพิ่มงานบริการเชิงรุกด้านการส่งเสริมสุขภาพให้มากขึ้น งานบริการเชิงรุกที่กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการ ในปี 2551 คือ การป้องกันอันตรายและและความพิการจากสถานการณ์ฉุกเฉิน และภัยพิบัติหมู่ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่เป็นปัญหาสุขภาพ อาหารปลอดภัย ส่งเสริมและป้องกันโรคทางจิต การป้องกันดูแลช่วยเหลือผู้มีภาวะซึมเศร้าและผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย การส่งเสริมสุขภาพ เฝ้าระวังและป้องกันโรคในวัยรุ่น การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ โรคอ้วนคนไทยไร้พุง พัฒนาการในเด็กปฐมวัย งานอนามัยสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา การเพิ่มความเข้มแข็งภาคประชาชนระดับตำบล เสริมงานสาธารณสุข การส่งเสริมสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม โครงการส่งเสริมสุขภาพและเฝ้าระวังโรควัยทำงาน โครงการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและเฝ้าระวังโรคกลุ่มผู้สูงอายุ
3. ความสะอาดของโรงพยาบาล บ้านพักและอาคารผู้ป่วย
4. เรื่องการซ่อมแซมอาคารโครงสร้างพื้นฐาน
5. ระบบการสุขาภิบาล การอนามัยพื้นฐาน
ทั้งสามเรื่องดังกล่าวข้างต้นกระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการ ดังนี้
1) การแก้ปัญหาเชิงระบบ เป็นนโยบายที่กระทรวงสาธารณสุข ได้เน้นย้ำกับสถานบริการต่าง ๆ ทุกระดับว่าจะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีของชุมชน และป้องกันการติดเชื้อภายในโรงพยาบาลโดยกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้ ทุกสถานบริการต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐานรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (HA : Hospital Accreditation) หรือ HNQA (Hospital Network Quality Audit) ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานการดำเนินการ และมีการประเมินผล หากโรงพยาบาลใดยังไม่ได้มาตรฐานก็ต้องได้รับการแก้ไข
2) การแก้ปัญหาเชิงกายภาพ กระทรวงสาธารณสุขจะได้สั่งการให้ทุกโรงพยาบาลปรับปรุง อาคารสถานที่ ความสะอาด และระบบที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการผู้ป่วยซึ่งรวมถึงระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โดยส่วนหนึ่งสามารถดำเนินการได้เลยโดยใช้งบลงทุนภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และในส่วนที่ต้องการงบประมาณในวงเงินที่สูง กระทรวงสาธารณสุขได้ของบประมาณพัฒนาระบบบริการทุติยภูมิในโครงการ Megaproject ปี 2551-2554 แล้วเพื่อให้พร้อมที่จะรองรับการบริการประชาชนทั่วไป ผู้ป่วยฉุกเฉิน ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยและญาติผู้ป่วยให้ได้รับความสะดวกด้วย ตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
6. ระบบการส่งต่อผู้ป่วย พระองค์ท่านให้ความสนพระทัยระบบการรักษาผู้ป่วยทางไกลหรือเทเลเมดดิซีน (Tele-Medicine) กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินงานระบบการรักษาผู้ป่วยทางไกลหรือเทเลเมดดิซีน (Tele-Medicine) โรงพยาบาลเกาะยาว และศูนย์สุขภาพชุมชน เกาะยาวใหญ่ แล้ว ยังได้ดำเนินการในลักษณะคล้ายกันที่ พื้นที่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ ใช้งานลักษณะการให้คำแนะนำ และบริการเกี่ยวกับโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และพื้นที่ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ใช้งานลักษณะการให้คำแนะนำ และการรับส่งข้อมูลด้านการแพทย์ และการสาธารณสุข เช่น การเชื่อมต่อข้อมูลผู้ป่วยที่สถานีอนามัยกับฐานข้อมูลที่ รพ.หล่มสัก เป็นต้น
แนวทางที่จะดำเนินการ Tele-Medicine/Tele-Health ต่อไป
1) จากที่กระทรวงสาธารณสุขเคยดำเนินการโครงการแพทย์ทางไกลผ่านดาวเทียมมาตั้งแต่ ปี 2540 แต่เนื่องจากอุปสรรคด้านงบประมาณด้านบุคลากร และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมที่พัฒนาอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องยุติโครงการ ในปี 2546 ต่อมาเมื่อปี 2549 คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) ร่วมกับมูลนิธิ พอ.สว. และสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีแนวคิดที่จะศึกษาความเหมาะสมในการนำเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์และสนับสนุนการให้บริการ Tele-Medicine/Tele-Health ในลักษณะโครงการวิจัยเพื่อศึกษาหารูปแบบที่เหมาะสมในการให้บริการ ของระบบการรักษาผู้ป่วยในท้องที่ห่างไกลและทุรกันดาร โดยดำเนินการใน จ.ตาก จ.น่าน และ จ.ตราด และได้รับการสนับสนุนงบประมาณ 10 ล้านบาทจากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช) ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอการจัดสรรงบประมาณ
2) กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร ได้เสนอโครงการปฏิรูประบบข้อมูลสุขภาพภาครัฐ กระทรวงสาธารณสุข ใน Megaproject ปีงบประมาณ 2552-2554 ซึ่งจะพัฒนาการเชื่อมโยงข้อมูลการแพทย์ผู้ป่วยจากทุกสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและส่งต่อข้อมูลการแพทย์ของผู้ป่วย (Medical Record Exchange) ซึ่งส่วนหนึ่งในโครงการเป็นการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แก่หน่วยงานสาธารณสุขระดับโรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัย ให้สามารถรับส่งข้อมูล ภาพ และเสียงได้ อันจะนำไปสู่การใช้งานในลักษณะการให้บริการ Tele-Medicine/Tele-Health ต่อไป
3) สำหรับแนวทางในการนำอุปกรณ์ทางการแพทย์มาใช้ในการให้บริการ Tele-Medicine/Tele-Health นั้น จะได้พิจารณาดำเนินการเพิ่มเติมในจุด ที่มีความจำเป็นและคุ้มค่าในการลงทุน (Cost-effectiveness) ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มีนาคม 2551--จบ--