คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการบังคับใช้กฏหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนขับขี่รถจักรยานยนต์ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ และให้ส่งแนวทางการบังคับใช้กฏหมายดังกล่าวให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่าได้จัดการประชุมหารือร่วมกับเจ้าพนักงานตำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานการประชุม เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนขับขี่รถจักรยานยนต์ภายใต้กรอบการบังคับใช้กฎหมายให้มีความชัดเจน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งมีข้อสรุปแนวทางการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน รวม 7 ประเด็น ดังนี้
1. การสังคายนากฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 รวมถึงกฎกระทรวง ประกาศกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ. ไม่ให้ซ้ำซ้อน โดยเห็นควรจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนกฎกระทรวงให้มีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันและไปรวมอยู่ในที่เดียวกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ
2. การออกใบอนุญาตขับรถให้แก่ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ต้องมีความเข้มงวดมากขึ้นทั้งในความรู้และการสอบปฏิบัติ ทั้งนี้ ในเรื่องคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตขับรถ ประเภทรถจักรยานยนต์ ซึ่งกฎหมายกำหนดอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป สามารถขออนุญาตได้ โดยต้องขับขี่รถจักรยานยนต์ที่มีขนาดไม่เกิน 90 ซีซี ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วรถจักรยานยนต์ในปัจจุบันขนาดเครื่องยนต์เกิน 90 ซีซี ดังนั้นผู้ที่จะขอใบอนุญาตขับรถได้จึงต้องอายุ 18 ปีขึ้นไป
3. การหารือเรื่องหมวกกันน็อคสำหรับเด็ก ควรให้มีมาตรการหรือการดำเนินการจัดทำหมวกกันน็อคที่เหมาะสมสำหรับเด็ก โดยรัฐอาจให้การสนับสนุนสถานประกอบการจัดทำเพื่อแจกฟรีหรือจำหน่ายราคาถูก โดยให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้ดำเนินการประสานขอความร่วมมือกับสถานประกอบการ
4. การติดตั้งอุปกรณ์รถจักรยานยนต์เพิ่มเติม ต้องกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนว่าประเภทใดจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น โดยพิจารณาภายใต้กรอบการบังคับใช้ พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 12 รถใดที่จะจดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฏกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออก โดยกรมการขนส่งทางบกต้องกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเพิ่มเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบรถจักรยานยนต์อันจะก่อให้เกิดอันตรายให้พนักงานตำรวจรับทราบ เพื่อจะได้ปฏิบัติงานได้อย่างโปร่งใสและชัดเจน
5. ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายท่อไอเสียที่ไม่มีมาตรฐาน มอก. ให้ดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 โดยให้เด็กเป็นพยานบุคคล และแจ้งเบาะแสแหล่งจำหน่าย
6. การตรวจจับเด็กและเยาวชนที่ขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางสาธารณะรวมถึงการตกแต่งรถใด ปฏิบัติตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาอย่างเคร่งครัดภายใต้หลักเมตตาธรรม เจ้าพนักงานตำรวจต้องพิจารณาใช้มาตรการดำเนินการอันไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กและเยาวชน
7. ผู้กระทำความผิดเรื่องท่อไอเสียดังเกินมาตรฐาน ให้จับกุมตามกฎหมาย ส่วนกรณีท่อไอเสียไม่มีมาตรฐานให้พนักงานตำรวจสั่งระงับการใช้ยานพาหนะและให้แก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง
ทั้งนี้ ให้มีการซักซ้อมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในแนวทางปฏิบัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รายงานว่าได้จัดการประชุมหารือร่วมกับเจ้าพนักงานตำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานการประชุม เพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนขับขี่รถจักรยานยนต์ภายใต้กรอบการบังคับใช้กฎหมายให้มีความชัดเจน และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งมีข้อสรุปแนวทางการบังคับใช้กฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชน รวม 7 ประเด็น ดังนี้
1. การสังคายนากฎหมาย พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522 รวมถึงกฎกระทรวง ประกาศกระทรวงที่ออกตาม พ.ร.บ. ไม่ให้ซ้ำซ้อน โดยเห็นควรจะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทบทวนกฎกระทรวงให้มีความสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันและไปรวมอยู่ในที่เดียวกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติ
2. การออกใบอนุญาตขับรถให้แก่ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ต้องมีความเข้มงวดมากขึ้นทั้งในความรู้และการสอบปฏิบัติ ทั้งนี้ ในเรื่องคุณสมบัติของผู้ขอใบอนุญาตขับรถ ประเภทรถจักรยานยนต์ ซึ่งกฎหมายกำหนดอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป สามารถขออนุญาตได้ โดยต้องขับขี่รถจักรยานยนต์ที่มีขนาดไม่เกิน 90 ซีซี ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้วรถจักรยานยนต์ในปัจจุบันขนาดเครื่องยนต์เกิน 90 ซีซี ดังนั้นผู้ที่จะขอใบอนุญาตขับรถได้จึงต้องอายุ 18 ปีขึ้นไป
3. การหารือเรื่องหมวกกันน็อคสำหรับเด็ก ควรให้มีมาตรการหรือการดำเนินการจัดทำหมวกกันน็อคที่เหมาะสมสำหรับเด็ก โดยรัฐอาจให้การสนับสนุนสถานประกอบการจัดทำเพื่อแจกฟรีหรือจำหน่ายราคาถูก โดยให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้ดำเนินการประสานขอความร่วมมือกับสถานประกอบการ
4. การติดตั้งอุปกรณ์รถจักรยานยนต์เพิ่มเติม ต้องกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนว่าประเภทใดจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น โดยพิจารณาภายใต้กรอบการบังคับใช้ พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 12 รถใดที่จะจดทะเบียนแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่ารถนั้นมีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ครบถ้วนถูกต้องตามที่กำหนดในกฏกระทรวง หรือเพิ่มสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้าไปซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายหรือจิตใจของผู้อื่น ห้ามมิให้ผู้ใดใช้รถนั้นจนกว่าจะจัดให้มีครบถ้วนถูกต้องหรือเอาออก โดยกรมการขนส่งทางบกต้องกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเพิ่มเครื่องอุปกรณ์และส่วนควบรถจักรยานยนต์อันจะก่อให้เกิดอันตรายให้พนักงานตำรวจรับทราบ เพื่อจะได้ปฏิบัติงานได้อย่างโปร่งใสและชัดเจน
5. ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายท่อไอเสียที่ไม่มีมาตรฐาน มอก. ให้ดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ.2511 โดยให้เด็กเป็นพยานบุคคล และแจ้งเบาะแสแหล่งจำหน่าย
6. การตรวจจับเด็กและเยาวชนที่ขับขี่รถจักรยานยนต์บนทางสาธารณะรวมถึงการตกแต่งรถใด ปฏิบัติตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาอย่างเคร่งครัดภายใต้หลักเมตตาธรรม เจ้าพนักงานตำรวจต้องพิจารณาใช้มาตรการดำเนินการอันไม่ก่อให้เกิดอันตรายแก่เด็กและเยาวชน
7. ผู้กระทำความผิดเรื่องท่อไอเสียดังเกินมาตรฐาน ให้จับกุมตามกฎหมาย ส่วนกรณีท่อไอเสียไม่มีมาตรฐานให้พนักงานตำรวจสั่งระงับการใช้ยานพาหนะและให้แก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้อง
ทั้งนี้ ให้มีการซักซ้อมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในแนวทางปฏิบัติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 ธันวาคม 2548--จบ--