คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง ปี 2551 ณ วันที่ 17 มีนาคม
2551 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 17 มีนาคม 2551 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 47,344 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ
คิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (51,975 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,631 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ
7 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 8,204 และ 5,240
ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 61 และ 55 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน
13,444 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปี 2550 (17,034 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,590 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 406 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯทั้ง
หมด น้อยกว่าปี 2550 (549 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 143 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ อยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 40 จำนวน 4 อ่างฯ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ อ่าง
เก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ อ่างเก็บน้ำคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี มีปริมาตรน้ำคิดเป็นร้อยละ
23,33,33 และ 38 ซึ่งปริมาณน้ำมีเพียงพอสำหรับช่วงฤดูแล้งนี้
สถานการณ์น้ำของอ่างเก็บน้ำภาคตะวันออก
จังหวัดชลบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบางพระ หนองค้อ มาบประชัน หนองกลางดงชากนอก ห้วยขุนจิต
และห้วยสะพาน มีปริมาตรน้ำรวม 73.56 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ
จังหวัดระยอง ลุ่มน้ำระยอง มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ดอกกราย และ คลองใหญ่ มีปริมาตร
น้ำรวม 145.26 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง มีปริมาตรน้ำ 175.75 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 70 ของความจุอ่างฯ
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤตแนวโน้มเพิ่มขึ้น และ
บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำวัง บริเวณอำเภอแจ้ห่ม เมือง จังหวัดลำปาง และอำเภอสามเงา จังหวัดตากปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำยม บริเวณอำเภอสอง เมือง จังหวัดแพร่ อำเภอสวรรคโลก ศรีสำโรง เมือง จังหวัดสุโขทัย อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต แนวโน้มลดลง
แม่น้ำน่าน บริเวณอำเภอเมือง วังทอง จังหวัดพิษณุโลก อำเภอเมือง บางมูลนาก จังหวัดพิจิตร อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำป่าสัก บริเวณอำเภอหล่มเก่า หล่มสัก เมือง วิเชียรบุรี หนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอชัยบาดาล วังม่วง จังหวัดสระบุรี
ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำชี บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร ปริมาณน้ำอยู่ใน
เกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำโขง บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดเลย ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้นอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย อำเภอเมือง
จังหวัดนครพนม ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง
แม่น้ำมูล บริเวณอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอลำปลายมาศ สตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอห้วยทับทัน ราศี
ไศล เมือง จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเขื่องใน เมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
3. คุณภาพน้ำ
สภาพความเค็มในแม่น้ำสายหลัก ณ จุดเฝ้าระวังของแม่น้ำเจ้าพระยา 0.102 กรัม/ลิตร แม่น้ำท่าจีน 0.173 กรัม/ลิตร แม่น้ำแม่
กลอง 0.058 กรัม/ลิตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ ณ วันที่ 7 มีนาคม 2551 (เกณฑ์ค่าความเค็ม น้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค ไม่เกิน 2.0 กรัม/
ลิตร)
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ( วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 — 30 เมษายน 2551)
ผลการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ ณ วันที่ 17 มีนาคม 2551 มีพื้นที่ปลูกรวม จำนวน 13.14 ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาด
การณ์ 2%) แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 10.83 ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 7%) และพืชไร่-ผัก จำนวน 2.31 ล้านไร่ (82%ของพื้นที่คาด
การณ์) รายละเอียดดังนี้
เขตเพาะปลูก ข้าวนาปรัง พืชไร่-พืชผัก รวม
คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล
ในเขตชลประทาน 7.53 8.39 0.9 0.71 8.43 9.1
นอกเขตชลประทาน 2.5 2.44 1.9 1.6 4.4 4.04
รวม 10.03 10.83 2.8 2.31 12.83 13.14
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 - 13 มีนาคม 2551
1. ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แพร่ ฉะเชิงเทรา นครนายก สระแก้ว และกาญจนบุรี ได้ให้
ความช่วยเหลือแล้ว 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ นครนายก และฉะเชิงเทรา และยังไม่ได้รับความช่วยเหลืออีก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
เชียงราย สระแก้ว และกาญจนบุรี เกษตรกรประสบภัย จำนวน 7,406 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 127,343 ไร่ แยกเป็น ข้าว
116,360 ไร่ พืชไร่ 10,721 ไร่ และพืชสวน 262 ไร่
2. ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย จำนวน 1 จังหวัดได้แก่ จังหวัดสุโขทัย เกษตรกรประสบภัย จำนวน 75 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ
2,701 ตัว แยกเป็นโค 1,618 ตัว และ แพะ 1,083 ตัว
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ ด้านอุปโภคบริโภค และ การปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน ทั้งประเทศ ปี 2550/2551 แล้ว 56
จังหวัด จำนวน 809 เครื่อง โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 250 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด จำนวน 304
เครื่อง ภาคกลาง 11 จังหวัด จำนวน 111 เครื่อง ภาคตะวันออก 5 จังหวัด จำนวน 59 เครื่อง ภาคตะวันตก 3 จังหวัด จำนวน 47 เครื่อง
และภาคใต้ 4 จังหวัด จำนวน 38 เครื่อง
สนับสนุนรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือแล้ว จำนวน 27 คัน เป็นการช่วยเหลือเพื่ออุปโภคบริโภค 1 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 10
คัน เป็นการช่วยเหลือสวนผลไม้ในภาคตะวันออก 3 จังหวัด จำนวน 17 คัน ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา 2 คัน จันทบุรี 14 คัน และนครนายก 1
คัน คิดเป็นปริมาณน้ำทั้งหมด 15.11 ล้านลิตร
2. การปฏิบัติการฝนหลวง ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 13 มีนาคม 2551
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงเริ่มปฏิบัติแล้ว จำนวน 6 ศูนย์ ( 6 หน่วยปฏิบัติการ) ได้แก่ ภาคเหนือตอนบน
หน่วยฯเชียงใหม่ ภาคเหนือตอนล่าง หน่วยฯพิษณุโลก ภาคกลาง หน่วยฯนครสวรรค์ ภาคตะวันออก หน่วยฯระยอง ภาคใต้ตอนบน หน่วยฯหัวหิน และ
ภาคใต้ หน่วยฯสุราษฎร์ธานี เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับป่าไม้ในภาคต่างๆ รวมทั้งเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำ
น้อย(ต่ำกว่า 30% ของความจุอ่างฯ) คือ อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ และการบรรเทาปัญหามลภาวะในภาคเหนือ
ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 13 มีนาคม 2551 ขึ้นบินปฏิบัติการรวม จำนวน 37 วัน 490 เที่ยวบิน มีฝนตก
รวม วัดปริมาณน้ำฝนได้ 266 สถานี ปริมาณน้ำฝน 0.1-98.3 มิลลิเมตรในพื้นที่ 45 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง
ตาก แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก สุโขทัย น่าน กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม
สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ชลบุรี ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี
ชุมพร นครศรีธรรมราช ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ พัทลุง สงขลา ปัตตานี ระนอง ตรัง สตูล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มีนาคม 2551--จบ--
2551 ประกอบด้วย สถานการณ์น้ำ ผลการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ผลกระทบด้านการเกษตร และการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์น้ำ
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ณ วันที่ 17 มีนาคม 2551 มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 47,344 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ
คิดเป็นร้อยละ 69 ของความจุอ่างฯทั้งหมด น้อยกว่าปี 2550 (51,975 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 4,631 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ
7 ของความจุอ่างฯทั้งหมด
อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 8,204 และ 5,240
ล้านลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 61 และ 55 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับ โดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน
13,444 ล้านลูกบาศก์เมตร น้อยกว่าปี 2550 (17,034 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 3,590 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 406 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 42 ของความจุอ่างฯทั้ง
หมด น้อยกว่าปี 2550 (549 ล้านลูกบาศก์เมตร) จำนวน 143 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ อยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าร้อยละ 40 จำนวน 4 อ่างฯ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ อ่าง
เก็บน้ำลำนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ อ่างเก็บน้ำคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี มีปริมาตรน้ำคิดเป็นร้อยละ
23,33,33 และ 38 ซึ่งปริมาณน้ำมีเพียงพอสำหรับช่วงฤดูแล้งนี้
สถานการณ์น้ำของอ่างเก็บน้ำภาคตะวันออก
จังหวัดชลบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 7 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำบางพระ หนองค้อ มาบประชัน หนองกลางดงชากนอก ห้วยขุนจิต
และห้วยสะพาน มีปริมาตรน้ำรวม 73.56 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 41 ของความจุอ่างฯ
จังหวัดระยอง ลุ่มน้ำระยอง มีปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล ดอกกราย และ คลองใหญ่ มีปริมาตร
น้ำรวม 145.26 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ
อ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง มีปริมาตรน้ำ 175.75 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 70 ของความจุอ่างฯ
2. สภาพน้ำท่า
แม่น้ำปิง บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤตแนวโน้มเพิ่มขึ้น และ
บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำวัง บริเวณอำเภอแจ้ห่ม เมือง จังหวัดลำปาง และอำเภอสามเงา จังหวัดตากปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำยม บริเวณอำเภอสอง เมือง จังหวัดแพร่ อำเภอสวรรคโลก ศรีสำโรง เมือง จังหวัดสุโขทัย อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต แนวโน้มลดลง
แม่น้ำน่าน บริเวณอำเภอเมือง วังทอง จังหวัดพิษณุโลก อำเภอเมือง บางมูลนาก จังหวัดพิจิตร อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์
ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้น
แม่น้ำป่าสัก บริเวณอำเภอหล่มเก่า หล่มสัก เมือง วิเชียรบุรี หนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อำเภอชัยบาดาล วังม่วง จังหวัดสระบุรี
ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยวิกฤต แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณอำเภอสรรพยา จังหวัดชัยนาท อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
แนวโน้มทรงตัว
แม่น้ำชี บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กิ่งอำเภอทุ่งเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอมหาชัยชนะ จังหวัดยโสธร ปริมาณน้ำอยู่ใน
เกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
แม่น้ำโขง บริเวณอำเภอเมือง จังหวัดเลย ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มเพิ่มขึ้นอำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย อำเภอเมือง
จังหวัดนครพนม ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย แนวโน้มลดลง
แม่น้ำมูล บริเวณอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อำเภอลำปลายมาศ สตึก จังหวัดบุรีรัมย์ อำเภอห้วยทับทัน ราศี
ไศล เมือง จังหวัดศรีสะเกษ อำเภอเขื่องใน เมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ แนวโน้มลดลง
3. คุณภาพน้ำ
สภาพความเค็มในแม่น้ำสายหลัก ณ จุดเฝ้าระวังของแม่น้ำเจ้าพระยา 0.102 กรัม/ลิตร แม่น้ำท่าจีน 0.173 กรัม/ลิตร แม่น้ำแม่
กลอง 0.058 กรัม/ลิตร อยู่ในเกณฑ์ปกติ ณ วันที่ 7 มีนาคม 2551 (เกณฑ์ค่าความเค็ม น้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค ไม่เกิน 2.0 กรัม/
ลิตร)
การเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ( วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 — 30 เมษายน 2551)
ผลการเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้งทั้งประเทศ ณ วันที่ 17 มีนาคม 2551 มีพื้นที่ปลูกรวม จำนวน 13.14 ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาด
การณ์ 2%) แยกเป็น ข้าวนาปรัง จำนวน 10.83 ล้านไร่ (เกินกว่าพื้นที่คาดการณ์ 7%) และพืชไร่-ผัก จำนวน 2.31 ล้านไร่ (82%ของพื้นที่คาด
การณ์) รายละเอียดดังนี้
เขตเพาะปลูก ข้าวนาปรัง พืชไร่-พืชผัก รวม
คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล คาดการณ์ ผล
ในเขตชลประทาน 7.53 8.39 0.9 0.71 8.43 9.1
นอกเขตชลประทาน 2.5 2.44 1.9 1.6 4.4 4.04
รวม 10.03 10.83 2.8 2.31 12.83 13.14
ผลกระทบด้านการเกษตร ช่วงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 - 13 มีนาคม 2551
1. ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย แพร่ ฉะเชิงเทรา นครนายก สระแก้ว และกาญจนบุรี ได้ให้
ความช่วยเหลือแล้ว 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดแพร่ นครนายก และฉะเชิงเทรา และยังไม่ได้รับความช่วยเหลืออีก 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
เชียงราย สระแก้ว และกาญจนบุรี เกษตรกรประสบภัย จำนวน 7,406 ราย พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย 127,343 ไร่ แยกเป็น ข้าว
116,360 ไร่ พืชไร่ 10,721 ไร่ และพืชสวน 262 ไร่
2. ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย จำนวน 1 จังหวัดได้แก่ จังหวัดสุโขทัย เกษตรกรประสบภัย จำนวน 75 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ
2,701 ตัว แยกเป็นโค 1,618 ตัว และ แพะ 1,083 ตัว
การให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตร
1. การสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
สนับสนุนเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือ ด้านอุปโภคบริโภค และ การปลูกพืชฤดูแล้งในเขตชลประทาน ทั้งประเทศ ปี 2550/2551 แล้ว 56
จังหวัด จำนวน 809 เครื่อง โดยแยกเป็น ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 250 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด จำนวน 304
เครื่อง ภาคกลาง 11 จังหวัด จำนวน 111 เครื่อง ภาคตะวันออก 5 จังหวัด จำนวน 59 เครื่อง ภาคตะวันตก 3 จังหวัด จำนวน 47 เครื่อง
และภาคใต้ 4 จังหวัด จำนวน 38 เครื่อง
สนับสนุนรถบรรทุกน้ำช่วยเหลือแล้ว จำนวน 27 คัน เป็นการช่วยเหลือเพื่ออุปโภคบริโภค 1 จังหวัด คือ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 10
คัน เป็นการช่วยเหลือสวนผลไม้ในภาคตะวันออก 3 จังหวัด จำนวน 17 คัน ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา 2 คัน จันทบุรี 14 คัน และนครนายก 1
คัน คิดเป็นปริมาณน้ำทั้งหมด 15.11 ล้านลิตร
2. การปฏิบัติการฝนหลวง ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 13 มีนาคม 2551
ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงเริ่มปฏิบัติแล้ว จำนวน 6 ศูนย์ ( 6 หน่วยปฏิบัติการ) ได้แก่ ภาคเหนือตอนบน
หน่วยฯเชียงใหม่ ภาคเหนือตอนล่าง หน่วยฯพิษณุโลก ภาคกลาง หน่วยฯนครสวรรค์ ภาคตะวันออก หน่วยฯระยอง ภาคใต้ตอนบน หน่วยฯหัวหิน และ
ภาคใต้ หน่วยฯสุราษฎร์ธานี เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับป่าไม้ในภาคต่างๆ รวมทั้งเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาตรน้ำ
น้อย(ต่ำกว่า 30% ของความจุอ่างฯ) คือ อ่างเก็บน้ำแม่กวง จังหวัดเชียงใหม่ และการบรรเทาปัญหามลภาวะในภาคเหนือ
ผลการปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ — 13 มีนาคม 2551 ขึ้นบินปฏิบัติการรวม จำนวน 37 วัน 490 เที่ยวบิน มีฝนตก
รวม วัดปริมาณน้ำฝนได้ 266 สถานี ปริมาณน้ำฝน 0.1-98.3 มิลลิเมตรในพื้นที่ 45 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำปาง
ตาก แม่ฮ่องสอน พิษณุโลก สุโขทัย น่าน กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี กาญจนบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี กรุงเทพฯ นครปฐม
สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา ระยอง ชลบุรี ตราด จันทบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี
ชุมพร นครศรีธรรมราช ยะลา นราธิวาส พังงา ภูเก็ต กระบี่ พัทลุง สงขลา ปัตตานี ระนอง ตรัง สตูล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มีนาคม 2551--จบ--