แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ประชุมสุดยอดผู้นำ
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
แม่น้ำโขง
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ทั้ง 4 ข้อ ดังนี้
1. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี GMS
2. เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมของผู้นำ 6 ประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนาม
3. เห็นชอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนตามแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ และการเพิ่มประสิทธิผลกลไกดำเนินงานพัฒนาแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นผู้ลงนาม
4. เห็นชอบให้ สศช. สามารถปรับปรุงถ้อยคำในแถลงการณ์ร่วมของผู้นำ 6 ประเทศและบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาที่สมดุลฯ ได้ในกรณีที่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ หากมีการหารือในการประชุมคณะทำงานเตรียมการประชุม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2551
โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
แถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญครอบคลุม 4 ประเด็น ได้แก่
1. รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการแผนงาน GMS
2. กำหนดทิศทางการดำเนินงานในอนาคต จะเร่งรัดการเชื่อมโยงโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับ ความสามารถการแข่งขันของกลุ่ม ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนและการดำเนินงานเพื่อลดความยากจนให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น ดำเนินการเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหาข้ามพรมแดนต่าง ๆ เช่นโรคติดต่อ การข้ามแดนผิดกฎหมายของแรงงาน และการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการเพิ่มความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และเร่งกระบวนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้ประโยชน์จากโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาในช่วงที่ผ่านมา โดย
(1) ส่งเสริมการพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานและที่ตั้งของ GMS ซึ่งอยู่ใจกลางของเอเชียเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่ม
(2) เร่งต่อยอดการพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้เป็นแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจ (Transform Transport Corridors to Economic Corridors) อย่างเป็นรูปธรรม โดยส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และพัฒนาภาคเอกชน และเร่งสร้างบรรยากาศการค้าและการลงทุนที่ดี ซึ่งรวมทั้งการผ่อนคลายและปรับปรุงด้านกฎระเบียบ การเกิดเสรีและส่งเสริมการลงทุน และยินดีที่มีการเสนอการจัดตั้งกลไกดูแลการดำเนินงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridors Forum-ECF)
(3) เร่งอำนวยความสะดวกกิจกรรมทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดน โดยผลักดันการดำเนินงานตามความตกลงขนส่งข้ามพรมแดน (Cross Border Transport Agreement-CBTA) และกรอบกลยุทธ์การดำเนินงานอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน (Strategic Framework for Actions on Trade Facilitation and Investment (SFA-TFI)
(4) สร้างความเข้มแข็งภาคเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง GMS Business Forum โดยให้ความสำคัญกับการนำผลการหารือกับภาคเอกชนในวันที่ 30 มีนาคม 2551 สู่ปฏิบัติ โดยรวมถึงการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในกิจกรรมการส่งออก
(5) เปิดโอกาสให้ท้องถิ่น ประชาชน และเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาให้ความเห็นชอบผลการศึกษาทบทวนกลางรอบ (Midterm Review) และแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ระยะ 4 ปี (2551-2555) ของความร่วมมือ 9 สาขา โดยมุ่งเน้นการดำเนินงาน ดังนี้
(1) ด้านคมนาคมขนส่ง เร่งการก่อสร้างและปรับปรุงช่วงที่ขาดหายตามแนวพัฒนาพื้นที่
เศรษฐกิจ และขยายเชื่อมโยงกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ รวมถึงทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง
(2) ด้านพลังงาน จัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนในอนุภูมิภาค
(3) ด้านโทรคมนาคม พัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่านทางโครงข่าย GMS Information Super Highway Network เพิ่มความสำคัญ การพัฒนาการสื่อสารในพื้นที่ชนบท จัดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมของแผนงาน GMS
(4) ด้านเกษตร ดำเนินงานโครงการพัฒนาพลังงานชีวภาพและพลังงานทดแทนในพื้นที่ชนบท ขยายความร่วมมือโครงการควบคุมโรคติดต่อในสัตว์ข้ามพรมแดน และเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านเกษตรในพื้นที่ชนบท
(5) ด้านสิ่งแวดล้อม ลดวามเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะโลกร้อนและเรียกร้องให้มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้
(6) ด้านท่องเที่ยว เสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการตลาดร่วมระหว่างประเทศสมาชิก และยกระดับการดำเนินงานของ Mekong Tourism Coordinating Office ให้มีประสิทธิภาพ
(7) ด้านทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในด้านแรงงาน สาธารณสุข ศึกษา และการพัฒนาด้านสังคมอื่น ๆ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือ แผนงานพนมเปญ สถาบันลุ่มแม่น้ำโขง และการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในบริเวณชายแดน
(8) ด้านการอำนวยความสะดวกการค้า ผสานและผนวกกระบวนการและระบบเพื่ออำนวยความสะดวกการผ่านแดน โดยครอบคลุมทั้งด้านศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง การตรวจมาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ และพัฒนาระบบโลจิสติกส์สนับสนุนการค้า
(9) ด้านการลงทุน กระตุ้นความร่วมมือด้านการลงทุน และขยายบทบาทของ GMS Business Forum ในแผนงาน GMS
4. ผลักดันการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเสริมสร้างร่วมมือกับองค์กรผู้ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาและทุกภาคส่วน
การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนตามแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ และการเพิ่มประสิทธิผลกลไกดำเนินงานพัฒนาแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ (MOU toward Sustainable and Balanced Development of the GMS North-South Economic Corridor and Enhanced Organizational Effectiveness for Developing Economic Corridors)
1. ประเทศสมาชิกได้เห็นพ้องให้มีการศึกษาศักยภาพการพัฒนาและจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการตามแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ซึ่งการศึกษาระยะที่ 1 แล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2550 และปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงานศึกษาในระยะที่ 2 และเห็นพ้องให้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจเพื่อผลักดันการดำเนินงานตามแผนงานดังกล่าว โดยได้เสนอร่างบันทึกความเข้าใจให้ที่ประชุมคณะทำงานเตรียมการประชุมสุดยอดผู้นำ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 17-18 มกราคม 2551 ได้เวียนผู้ประสานงานหลักระดับประเทศเพื่อพิจารณาแล้ว และพร้อมนำเสนอคณะรัฐมนตรีของแต่ละประเทศเพื่อขออนุมัติการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ดังกล่าว โดย สศช. ได้นำเสนอผลการประชุมคณะกรรมการ กพบ. ครั้งที่ 1/2551 ให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเบื้องต้นแล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551
2. สาระของบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงเจตจำนงของประเทศสมาชิกในการส่งเสริมความร่วมมือพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นและประชาชน รวมถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจร่วมกัน โดยจะแปลงยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ สู่ปฏิบัติเป็นโครงการนำร่อง แล้วจึงขยายการดำเนินงานไปที่แนวเส้นทางอื่น ๆ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกเห็นควรให้จัดตั้งเวทีหารือเรื่องแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridors Forum-ECF) เพื่อเป็นกลไกแลกเปลี่ยนหารือและผลักดันการปฏิบัติตามแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจร่วมกัน
3. สศช. ได้หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกรมสนธิสัญญาและกฎหมายแล้วทราบว่าสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ไม่อยู่ในข่ายมาตรา 190 (การให้ความเห็นชอบในหนังสือสัญญา) วรรคสองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่กำหนดขอบเขตของหนังสือสัญญาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางหรือมีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และรัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มีนาคม 2551--จบ--
1. มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี GMS
2. เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมของผู้นำ 6 ประเทศ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนาม
3. เห็นชอบบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนตามแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ เหนือ-ใต้ และการเพิ่มประสิทธิผลกลไกดำเนินงานพัฒนาแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เป็นผู้ลงนาม
4. เห็นชอบให้ สศช. สามารถปรับปรุงถ้อยคำในแถลงการณ์ร่วมของผู้นำ 6 ประเทศและบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาที่สมดุลฯ ได้ในกรณีที่ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ หากมีการหารือในการประชุมคณะทำงานเตรียมการประชุม ครั้งที่ 5 ในวันที่ 28 มีนาคม 2551
โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
แถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าวมีสาระสำคัญครอบคลุม 4 ประเด็น ได้แก่
1. รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการแผนงาน GMS
2. กำหนดทิศทางการดำเนินงานในอนาคต จะเร่งรัดการเชื่อมโยงโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานเพื่อยกระดับ ความสามารถการแข่งขันของกลุ่ม ยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนและการดำเนินงานเพื่อลดความยากจนให้เกิดประสิทธิผลมากขึ้น ดำเนินการเชิงรุกเพื่อแก้ปัญหาข้ามพรมแดนต่าง ๆ เช่นโรคติดต่อ การข้ามแดนผิดกฎหมายของแรงงาน และการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการเพิ่มความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจ และเร่งกระบวนการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมโดยใช้ประโยชน์จากโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับการพัฒนาในช่วงที่ผ่านมา โดย
(1) ส่งเสริมการพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนจากโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานและที่ตั้งของ GMS ซึ่งอยู่ใจกลางของเอเชียเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของกลุ่ม
(2) เร่งต่อยอดการพัฒนาเส้นทางคมนาคมให้เป็นแนวพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจ (Transform Transport Corridors to Economic Corridors) อย่างเป็นรูปธรรม โดยส่งเสริมการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และพัฒนาภาคเอกชน และเร่งสร้างบรรยากาศการค้าและการลงทุนที่ดี ซึ่งรวมทั้งการผ่อนคลายและปรับปรุงด้านกฎระเบียบ การเกิดเสรีและส่งเสริมการลงทุน และยินดีที่มีการเสนอการจัดตั้งกลไกดูแลการดำเนินงานพัฒนาแนวพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridors Forum-ECF)
(3) เร่งอำนวยความสะดวกกิจกรรมทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดน โดยผลักดันการดำเนินงานตามความตกลงขนส่งข้ามพรมแดน (Cross Border Transport Agreement-CBTA) และกรอบกลยุทธ์การดำเนินงานอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน (Strategic Framework for Actions on Trade Facilitation and Investment (SFA-TFI)
(4) สร้างความเข้มแข็งภาคเอกชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง GMS Business Forum โดยให้ความสำคัญกับการนำผลการหารือกับภาคเอกชนในวันที่ 30 มีนาคม 2551 สู่ปฏิบัติ โดยรวมถึงการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในกิจกรรมการส่งออก
(5) เปิดโอกาสให้ท้องถิ่น ประชาชน และเยาวชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาให้ความเห็นชอบผลการศึกษาทบทวนกลางรอบ (Midterm Review) และแผนปฏิบัติการเวียงจันทน์ ระยะ 4 ปี (2551-2555) ของความร่วมมือ 9 สาขา โดยมุ่งเน้นการดำเนินงาน ดังนี้
(1) ด้านคมนาคมขนส่ง เร่งการก่อสร้างและปรับปรุงช่วงที่ขาดหายตามแนวพัฒนาพื้นที่
เศรษฐกิจ และขยายเชื่อมโยงกับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ รวมถึงทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิง
(2) ด้านพลังงาน จัดตั้งตลาดซื้อขายไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนในอนุภูมิภาค
(3) ด้านโทรคมนาคม พัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมส่งเสริมการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารผ่านทางโครงข่าย GMS Information Super Highway Network เพิ่มความสำคัญ การพัฒนาการสื่อสารในพื้นที่ชนบท จัดให้มีการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านโทรคมนาคมของแผนงาน GMS
(4) ด้านเกษตร ดำเนินงานโครงการพัฒนาพลังงานชีวภาพและพลังงานทดแทนในพื้นที่ชนบท ขยายความร่วมมือโครงการควบคุมโรคติดต่อในสัตว์ข้ามพรมแดน และเพิ่มการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านเกษตรในพื้นที่ชนบท
(5) ด้านสิ่งแวดล้อม ลดวามเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะโลกร้อนและเรียกร้องให้มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเพื่อการอนุรักษ์ป่าไม้
(6) ด้านท่องเที่ยว เสริมสร้างความเข้มแข็งในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการตลาดร่วมระหว่างประเทศสมาชิก และยกระดับการดำเนินงานของ Mekong Tourism Coordinating Office ให้มีประสิทธิภาพ
(7) ด้านทรัพยากรมนุษย์ ดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในด้านแรงงาน สาธารณสุข ศึกษา และการพัฒนาด้านสังคมอื่น ๆ รวมทั้งสนับสนุนความร่วมมือ แผนงานพนมเปญ สถาบันลุ่มแม่น้ำโขง และการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อในบริเวณชายแดน
(8) ด้านการอำนวยความสะดวกการค้า ผสานและผนวกกระบวนการและระบบเพื่ออำนวยความสะดวกการผ่านแดน โดยครอบคลุมทั้งด้านศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง การตรวจมาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ และพัฒนาระบบโลจิสติกส์สนับสนุนการค้า
(9) ด้านการลงทุน กระตุ้นความร่วมมือด้านการลงทุน และขยายบทบาทของ GMS Business Forum ในแผนงาน GMS
4. ผลักดันการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเสริมสร้างร่วมมือกับองค์กรผู้ให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาและทุกภาคส่วน
การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนตามแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ และการเพิ่มประสิทธิผลกลไกดำเนินงานพัฒนาแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ (MOU toward Sustainable and Balanced Development of the GMS North-South Economic Corridor and Enhanced Organizational Effectiveness for Developing Economic Corridors)
1. ประเทศสมาชิกได้เห็นพ้องให้มีการศึกษาศักยภาพการพัฒนาและจัดทำยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการตามแนวเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ ซึ่งการศึกษาระยะที่ 1 แล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2550 และปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงานศึกษาในระยะที่ 2 และเห็นพ้องให้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจเพื่อผลักดันการดำเนินงานตามแผนงานดังกล่าว โดยได้เสนอร่างบันทึกความเข้าใจให้ที่ประชุมคณะทำงานเตรียมการประชุมสุดยอดผู้นำ ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 17-18 มกราคม 2551 ได้เวียนผู้ประสานงานหลักระดับประเทศเพื่อพิจารณาแล้ว และพร้อมนำเสนอคณะรัฐมนตรีของแต่ละประเทศเพื่อขออนุมัติการลงนามในบันทึกความเข้าใจ ดังกล่าว โดย สศช. ได้นำเสนอผลการประชุมคณะกรรมการ กพบ. ครั้งที่ 1/2551 ให้คณะรัฐมนตรีรับทราบเบื้องต้นแล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2551
2. สาระของบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงเจตจำนงของประเทศสมาชิกในการส่งเสริมความร่วมมือพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพของท้องถิ่นและประชาชน รวมถึงการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจร่วมกัน โดยจะแปลงยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการของแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเหนือ-ใต้ สู่ปฏิบัติเป็นโครงการนำร่อง แล้วจึงขยายการดำเนินงานไปที่แนวเส้นทางอื่น ๆ ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกเห็นควรให้จัดตั้งเวทีหารือเรื่องแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ (Economic Corridors Forum-ECF) เพื่อเป็นกลไกแลกเปลี่ยนหารือและผลักดันการปฏิบัติตามแผนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจร่วมกัน
3. สศช. ได้หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและกรมสนธิสัญญาและกฎหมายแล้วทราบว่าสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ไม่อยู่ในข่ายมาตรา 190 (การให้ความเห็นชอบในหนังสือสัญญา) วรรคสองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่กำหนดขอบเขตของหนังสือสัญญาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวางหรือมีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา และรัฐสภาจะต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับเรื่องดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มีนาคม 2551--จบ--