คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อม 6 ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ครั้งที่ 2 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อม 6 ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion —GMS) : Environment Ministers’ Meeting (EMM) ครั้งที่ 2 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 28 — 29 มกราคม 2551 โดยมีผู้แทนจากประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า ประเทศไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเข้าร่วมประชุมโดยประเทศไทย นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยพร้อมด้วยผู้แทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเข้าร่วมประชุมดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ๆ สรุปได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการประชุม คือ ทบทวนกิจกรรมปัจจุบันของ GMS Core Environment Program : Biodiversity Conservation Corridors Initiative ตลอดจนรวบรวมปัญหาที่ประเทศสมาชิก GMS ต้องเผชิญและรับข้อแนะนำจากรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดทำและนำสาระของแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรี (Joint Ministerial Statement) ของ EMM เสนอเป็นแถลงการณ์ร่วมสุดยอด (Joint Summit Declaration) ในการประชุมสุดยอดผู้นำ the 3rd GMS Summit of Leader เพื่อให้การรับรองต่อไปในการประชุมเดือนมีนาคม 2551
2. แถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีประเทศสมาชิก GMS มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 การประชุมดังกล่าวให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่อง “สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนา” และความจำเป็นเชิงรุกเพื่อความยั่งยืนควบคู่ไปกับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ
2.2 ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมของ GMS ครั้งที่ 1 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการ Biodiversity Conservation Corridors Initiative-BCI เพื่อขจัดความยากจนในอนุภูมิภาค
2.3 ที่ประชุมแสดงความห่วงใยต่อปัญหาเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตลอดจนความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพ จึงได้เปิดรับการสนับสนุนด้านงบประมาณ และการสนับสนุนจาก public private partnership ในการตั้งรับความเสี่ยงของปัญหาดังกล่าว
2.4 ที่ประชุมให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมการจัดการทรัพยากรและการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในกระบวนการพัฒนาแผนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2.5 ที่ประชุมให้คำมั่นว่าจะพัฒนาศักยภาพกระทรวง ตลอดจนสถาบันด้านสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในอนุภูมิภาคเพื่อต่อสู้กับปัญหาในอนุภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุน Core Environment Program (CEP) ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว
2.6 ที่ประชุมให้ความสำคัญและชื่นชมความก้าวหน้าในการดำเนินการ CEP และตกลงร่วมกันที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้ภาคประชาสังคม มหาวิทยาลัย ตลอดจนเยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาค
3. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวสุนทรพจน์โดยเน้นในสองประเด็นหลักคือ การดำเนินการของไทยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพและผลกระทบของเรื่องดังกล่าวที่มีต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และความปลอดภัย ซึ่งที่ประชุม Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ให้ความเห็นร่วมกันว่าความร่วมมือในภูมิภาคที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตควรประกอบด้วยประเด็นต่าง ๆ คือ
3.1 การค้นหาวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นประเด็นท้าทายสำคัญที่ประเทศในภูมิภาคต้องเผชิญซึ่งหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหา คือ ความจำเป็นต้องสร้างความเติบโตในท่ามกลางความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและท่ามกลางการแบ่งปันวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาค
3.2 การก้าวไปสู่ความสำเร็จในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคซึ่งขณะนี้ประเทศไทยจัดทำแนวทางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยสนับสนุนเทคโนโลยีที่สะอาดรวมทั้งจัดทำกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมการจัดตั้งองค์กรก๊าซเรือนกระจก และด้วยเหตุผลความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนร่วมกันจึงเสนอให้มีการตั้งศูนย์ฝึกอบรม เพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งระดับชาติและภูมิภาคให้เป็นไปตามบาหลี Road map เรื่องการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อลดการทำลายแหล่งเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการทำลายป่าโดยประเทศไทยเพิ่มความพยายามให้อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปในอนาคตอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งส่งเสริมความหลากหลายและคุณค่าของทรัพยากรชีวภาพซึ่งประเทศสมาชิก GMS สามารถร่วมมือกันได้
3.3 ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงประสบความสำเร็จในการริเริ่มจัดทำโครงการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมต่อด้านความหลากหลายชีวภาพ (Biodiversity Corridors Initiative) ภายใต้แผนงานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งความสำเร็จของความร่วมมือดำเนินงานตั้งแต่เริ่มเปิดตัวโครงการเมื่อต้นปีที่ผ่านมามีความเชื่อมั่นได้ว่าจะบรรลุการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความยั่งยืนในอนุภูมิภาคได้ภายในปี ค.ศ. 2010 โดยประเทศในกลุ่มอนุภาคฯ มีความคาดหวังร่วมกันในการหามาตรการอนุรักษ์ผืนป่าขนาดใหญ่ให้มีความเชื่อมต่อด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์จะได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอย่างยั่งยืนสืบไป นอกจากนี้ ยังตระหนักว่าบทเรียนในการบริหารจัดการทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับหน่วยงานและบุคลากร ตลอดจนช่วยสนับสนุนการขยายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมแบบอื่น ๆ ในอนุภูมิภาคในระยะยาว
3.4 ประเทศไทยยืนยันเจตนารมณ์ในการประชุมรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อม GMS ครั้งที่ 1 ที่เสนอให้จัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ (Research and Training Center on Nature Conservation) เพื่อเป็นศูนย์ความรู้ (Knowledge Hub) ของประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในการพัฒนาและสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการพื้นที่อนุรักษ์และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
3.5 รัฐบาลไทยตระหนักถึงความสำคัญของผืนป่าขนาดใหญ่จึงเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ คือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนในการจัดทำโครงการเชื่อมต่อป่า (Corridors) ภายในกลุ่มป่าเขาใหญ่-ดงพญาเย็นระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน และโครงการแนวเชื่อมต่อป่าเทือกเขาตะนาวศรีระหว่างกลุ่มป่าตะวันตกและกลุ่มป่าแก่งกระจานตามแนวพรมแดนกับสหภาพพม่า ซึ่งคาดหวังว่าจะก่อให้เกิดผืนป่าอนุรักษ์ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยตระหนักว่าความสำเร็จและความยั่งยืนในการบริหารจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาครัฐบาล องค์กรเอกชน ผู้ประกอบการ องค์กรท้องถิ่น ชุมชน สถาบันการศึกษา และโรงเรียนเป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มีนาคม 2551--จบ--
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รายงานว่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้เป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อม 6 ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion —GMS) : Environment Ministers’ Meeting (EMM) ครั้งที่ 2 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ ระหว่างวันที่ 28 — 29 มกราคม 2551 โดยมีผู้แทนจากประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ได้แก่ สาธารณรัฐประชาชนจีน ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สหภาพพม่า ประเทศไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเข้าร่วมประชุมโดยประเทศไทย นายศักดิ์สิทธิ์ ตรีเดช ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีรักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยพร้อมด้วยผู้แทนจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเข้าร่วมประชุมดังกล่าว โดยมีสาระสำคัญ ๆ สรุปได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการประชุม คือ ทบทวนกิจกรรมปัจจุบันของ GMS Core Environment Program : Biodiversity Conservation Corridors Initiative ตลอดจนรวบรวมปัญหาที่ประเทศสมาชิก GMS ต้องเผชิญและรับข้อแนะนำจากรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเพื่อจัดทำและนำสาระของแถลงการณ์ร่วมระดับรัฐมนตรี (Joint Ministerial Statement) ของ EMM เสนอเป็นแถลงการณ์ร่วมสุดยอด (Joint Summit Declaration) ในการประชุมสุดยอดผู้นำ the 3rd GMS Summit of Leader เพื่อให้การรับรองต่อไปในการประชุมเดือนมีนาคม 2551
2. แถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีประเทศสมาชิก GMS มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 การประชุมดังกล่าวให้ความสำคัญกับแนวคิดเรื่อง “สิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนา” และความจำเป็นเชิงรุกเพื่อความยั่งยืนควบคู่ไปกับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจ
2.2 ที่ประชุมรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อมของ GMS ครั้งที่ 1 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการ Biodiversity Conservation Corridors Initiative-BCI เพื่อขจัดความยากจนในอนุภูมิภาค
2.3 ที่ประชุมแสดงความห่วงใยต่อปัญหาเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตลอดจนความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของปัญหาความหลากหลายทางชีวภาพ จึงได้เปิดรับการสนับสนุนด้านงบประมาณ และการสนับสนุนจาก public private partnership ในการตั้งรับความเสี่ยงของปัญหาดังกล่าว
2.4 ที่ประชุมให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมการจัดการทรัพยากรและการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมในกระบวนการพัฒนาแผนเพื่อส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน
2.5 ที่ประชุมให้คำมั่นว่าจะพัฒนาศักยภาพกระทรวง ตลอดจนสถาบันด้านสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในอนุภูมิภาคเพื่อต่อสู้กับปัญหาในอนุภูมิภาค รวมทั้งสนับสนุน Core Environment Program (CEP) ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว
2.6 ที่ประชุมให้ความสำคัญและชื่นชมความก้าวหน้าในการดำเนินการ CEP และตกลงร่วมกันที่จะช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนให้ภาคประชาสังคม มหาวิทยาลัย ตลอดจนเยาวชนได้เข้ามามีส่วนร่วมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอนุภูมิภาค
3. ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวสุนทรพจน์โดยเน้นในสองประเด็นหลักคือ การดำเนินการของไทยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความหลากหลายทางชีวภาพและผลกระทบของเรื่องดังกล่าวที่มีต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และความปลอดภัย ซึ่งที่ประชุม Intergovernmental Panel on Climate Change (IPCC) ให้ความเห็นร่วมกันว่าความร่วมมือในภูมิภาคที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตควรประกอบด้วยประเด็นต่าง ๆ คือ
3.1 การค้นหาวิธีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นประเด็นท้าทายสำคัญที่ประเทศในภูมิภาคต้องเผชิญซึ่งหัวใจสำคัญของการแก้ไขปัญหา คือ ความจำเป็นต้องสร้างความเติบโตในท่ามกลางความแตกต่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจและท่ามกลางการแบ่งปันวัฒนธรรมและความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาค
3.2 การก้าวไปสู่ความสำเร็จในการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคซึ่งขณะนี้ประเทศไทยจัดทำแนวทางการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยสนับสนุนเทคโนโลยีที่สะอาดรวมทั้งจัดทำกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมการจัดตั้งองค์กรก๊าซเรือนกระจก และด้วยเหตุผลความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาโลกร้อนร่วมกันจึงเสนอให้มีการตั้งศูนย์ฝึกอบรม เพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งระดับชาติและภูมิภาคให้เป็นไปตามบาหลี Road map เรื่องการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อลดการทำลายแหล่งเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากการทำลายป่าโดยประเทศไทยเพิ่มความพยายามให้อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไปในอนาคตอยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งส่งเสริมความหลากหลายและคุณค่าของทรัพยากรชีวภาพซึ่งประเทศสมาชิก GMS สามารถร่วมมือกันได้
3.3 ประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงประสบความสำเร็จในการริเริ่มจัดทำโครงการความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความเชื่อมต่อด้านความหลากหลายชีวภาพ (Biodiversity Corridors Initiative) ภายใต้แผนงานด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งความสำเร็จของความร่วมมือดำเนินงานตั้งแต่เริ่มเปิดตัวโครงการเมื่อต้นปีที่ผ่านมามีความเชื่อมั่นได้ว่าจะบรรลุการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความยั่งยืนในอนุภูมิภาคได้ภายในปี ค.ศ. 2010 โดยประเทศในกลุ่มอนุภาคฯ มีความคาดหวังร่วมกันในการหามาตรการอนุรักษ์ผืนป่าขนาดใหญ่ให้มีความเชื่อมต่อด้านความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อสร้างความมั่นใจว่า ทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์จะได้รับการอนุรักษ์ให้เป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติอย่างยั่งยืนสืบไป นอกจากนี้ ยังตระหนักว่าบทเรียนในการบริหารจัดการทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพที่ได้รับจากการดำเนินงานโครงการจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับหน่วยงานและบุคลากร ตลอดจนช่วยสนับสนุนการขยายความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมแบบอื่น ๆ ในอนุภูมิภาคในระยะยาว
3.4 ประเทศไทยยืนยันเจตนารมณ์ในการประชุมรัฐมนตรีด้านสิ่งแวดล้อม GMS ครั้งที่ 1 ที่เสนอให้จัดตั้งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ (Research and Training Center on Nature Conservation) เพื่อเป็นศูนย์ความรู้ (Knowledge Hub) ของประเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในการพัฒนาและสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการจัดการพื้นที่อนุรักษ์และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
3.5 รัฐบาลไทยตระหนักถึงความสำคัญของผืนป่าขนาดใหญ่จึงเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ คือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือและให้การสนับสนุนในการจัดทำโครงการเชื่อมต่อป่า (Corridors) ภายในกลุ่มป่าเขาใหญ่-ดงพญาเย็นระหว่างอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่และอุทยานแห่งชาติทับลาน และโครงการแนวเชื่อมต่อป่าเทือกเขาตะนาวศรีระหว่างกลุ่มป่าตะวันตกและกลุ่มป่าแก่งกระจานตามแนวพรมแดนกับสหภาพพม่า ซึ่งคาดหวังว่าจะก่อให้เกิดผืนป่าอนุรักษ์ที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยตระหนักว่าความสำเร็จและความยั่งยืนในการบริหารจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาครัฐบาล องค์กรเอกชน ผู้ประกอบการ องค์กรท้องถิ่น ชุมชน สถาบันการศึกษา และโรงเรียนเป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 มีนาคม 2551--จบ--