คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ) รายงานการแก้ไขปัญหาภัยแล้งตามที่ได้รับมอบหมายให้ติดตามดูแลในจังหวัดปทุมธานี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งได้ไปตรวจติดตามสถานการณ์ในพื้นที่จริง เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2548 สรุปได้ดังนี้
1. สภาพโดยทั่วไป
1.1 จังหวัดปทุมธานีมีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ตารางกิโลเมตรเศษ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยปกติน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงฤดูฝนจะมีระดับเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร ซึ่งทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมและมักจะเกิดขึ้นทุกปีในลักษณะน้ำท่วมขังและน้ำล้นตลิ่งระยะเวลาท่วมต่อครั้งประมาณ 10 — 15 วัน ส่วนใหญ่ฤดูแล้งยังประสบปัญหาในเรื่องน้ำเน่าเสียอันเนื่องมาจากการทับถมของผักตบชวา เศษปฏิกูลต่างๆ เป็นต้น จังหวัดได้จัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกันและบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2548 โดยในส่วนพื้นที่คูคลองที่มีระดับน้ำลดต่ำลงได้ดำเนินการสูบน้ำ เพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรรมให้ทันทีที่มีการร้องขอ สำหรับปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคเกิดขึ้นเพียงบางหมู่บ้าน ซึ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาแล้ว
1.2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่เกษตรประมาณ 1,000,000 ไร่เศษ เกิดช่วงภัยแล้งมาตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2547 จนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่เกษตรเสียหายรวม 7 อำเภอ เนื้อที่ประมาณ 28,000 ไร่ ได้มีการเตรียมการและให้ความช่วยเหลือ อาทิเช่น การขุดลอกเปิดทางน้ำ กำจัดวัชพืช ซ่อมแซมระบบประปา เป่าล้างบ่อบาดาล ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ รวมงบประมาณที่ใช้ดำเนินการไปประมาณ 42 ล้านบาทเศษ
2. สถานการณ์ปัจจุบัน
2.1 จังหวัดปทุมธานีในปี 2548 นี้ ถือว่าไม่ประสบภาวะขาดแคลนน้ำ โดยในคลองต่างๆ ยังสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรกรรมปลูกข้าวนาปรัง ประมาณ 310,000 ไร่ ไม่เกิดความเสียหายและมีการดำเนินการรองรับกรณีเกิดขาดแคลนน้ำ โดยมีเครื่องสูบน้ำขนาด 8 — 12 นิ้ว สนับสนุนรองรับอยู่ และมีโครงการชลประทานที่สำคัญๆ 4 โครงการ คือ 1) โครงการชลประทานปทุมธานีรองรับพื้นที่ประมาณ 70,000 ไร่ ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอสามโคก 2) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองพระยาบรรลือรองรับพื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคกบางส่วน และอำเภอเมือง 3) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือรองรับพื้นที่ประมาณ 400,000 ไร่ ในอำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ 4) โครงการส่งน้ำและบำรุงรังสิตใต้รองรับพื้นที่ประมาณ 230,000 ไร่ ในอำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา
2.2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยาขณะนี้ปัญหาภัยแล้งได้คลี่คลายลงใน 11 อำเภอ ยังคงประสบภัยแล้งอีก 5 อำเภอ คือ อำเภอบางไทร อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอนครหลวง อำเภอพระนครศรีอยุธยา โดยจังหวัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกำลังดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
ในส่วนของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือกับทางจังหวัดในเรื่องการใช้เครื่องจักรกลในการเก็บกักน้ำ ขุดลอก บำรุงรักษาร่องน้ำ และกำจัดผักตบชวาอยู่ด้วยอีกทางหนึ่ง สำหรับปัญหาการสนับสนุนในส่วนอื่นๆ กับทางจังหวัดเพื่อเสริมสร้างศักยภาพตามที่ได้รับการร้องขอจากจังหวัดปทุมธานี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในเรื่องเส้นทางคมนาคม เช่น การขยายเขตทางที่คับแคบ การสร้างทางขึ้น — ลงเส้นทางยกระดับโทลเวย์ที่รังสิต การสร้างทางเชื่อมต่อในแนวขนานลำคลองชลประทาน เป็นต้น ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม นั้น ก็ได้รับและมอบให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วยแล้ว
3. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
3.1 โดยที่ปัญหาน้ำในจังหวัดปทุมธานีในเรื่องน้ำแล้งมีผลกระทบน้อยมากเนื่องจากมีเส้นทางแม่น้ำหล่อเลี้ยงและมีมาตรการรองรับเพียงพอ สิ่งสำคัญ คือ โครงการที่ได้วางไว้จะต้องมีการดำเนินการที่ต่อเนื่อง รวมทั้งการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอมิให้เกิดปัญหาคูคลองตื้นเขิน แต่ส่วนสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาน้ำท่วมล้นซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ดังนั้นจึงได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีไปพิจารณาจัดทำแผนแม่บทเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำให้เป็นไปทั้งระบบและเกิดผลที่ยั่งยืน โดยตรวจสอบสภาพปัญหาจัดทำรายละเอียดโครงการ แผนงาน เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
3.2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถือได้ว่ามีการแก้ไขปัญหาได้ผลในระดับหนึ่งแต่สภาพอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากปัญหาคูคลอง ซึ่งมีจำนวนถึง 860 คลอง มีการตื้นเขินและขาดงบประมาณการบำรุงรักษาหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ที่อำเภอนครหลวง และอำเภอท่าเรือ มีโครงการชลประทานดาดคอนกรีตคลองส่งน้ำระยะทาง 10 กว่ากิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมานานหลายปี ขณะนี้ ทำได้เพียง 2 ตอน และมีงบประมาณปี 2548 เพียงจำนวน 20 ล้านบาท นอกจากนี้ แผนขุดลอกคูคลองต่างๆ ยังไม่มีแผนแม่บทและไม่มีความชัดเจน ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ได้เสนอตัวอย่างเช่น คลองพระยาบรรลือ คลองพระอุดม มีระยะทางยาวหลายสิบกิโลเมตร มีภาวะน้ำตื้นเขิน หากมีการดูแลบำรุงรักษาขุดลอกที่ดีก็จะช่วยแก้ไขปัญหาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียงต่อเนื่องได้ด้วย จึงได้กำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและหน่วยงานชลประทานจังหวัด รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนแม่บทในการขุดลอกคูคลองและการแก้ไขปัญหาผลกระทบในส่วนของผักตบชวาและวัชพืชในคลองใหญ่และคลองซอยระหว่างหน่วยงานชลประทานและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการศึกษาแก้ไขผลกระทบจากน้ำเค็มหนุนขึ้นด้วย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ในภาพรวมเป็นการด่วน โดยให้ศึกษารายละเอียดในสภาพปัญหาทุกท้องที่และรับฟังข้อมูลความต้องการจากท้องถิ่นโดยตรงด้วย แล้วรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมโดยด่วนเพื่อดำเนินการต่อไป สำหรับการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานท้องถิ่นซึ่งได้ดำเนินการในลักษณะที่ใช้งบประมาณไม่มากแต่ให้ผลต่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเห็นว่าควรสนับสนุน เช่น การขุดลอกและกำจัดวัชพืชเพื่อส่งน้ำเข้าพื้นที่เกษตรตามตัวอย่างที่ตำบลบางไทร อำเภอบางไทร นับว่าเกิดผลดี โดยในภาพรวมที่อำเภอบางไทรสามารถรักษาพื้นที่เกษตรกรรมได้ถึง 200,000 ไร่ เสียหายเพียง 28,000 ไร่ โดยได้แนะนำให้ท้องถิ่นมีมาตรการที่จะบำรุงรักษาสภาพให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยจัดจ้างแรงงานท้องถิ่นตรวจระวังบำรุงรักษาเป็นประจำก็จะทำให้ไม่ต้องเสียงบประมาณในการขุดลอกครั้งใหญ่ซึ่งมีจำนวนมากบ่อยครั้ง นอกจากนี้สำหรับอำเภอที่ยังประสบปัญหาภัยแล้งอยู่ แต่อยู่ในศักยภาพที่จังหวัดและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นดูแลแก้ไขได้ขอให้เร่งดำเนินการเพื่อให้ปัญหาหมดไปโดยเร็ว หากมีปัญหาข้อขัดข้องและต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนในส่วนใดก็ให้เร่งดำเนินการโดยด่วน โดยสามารถประสานงานโดยตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. สภาพโดยทั่วไป
1.1 จังหวัดปทุมธานีมีเนื้อที่ประมาณ 1,500 ตารางกิโลเมตรเศษ ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา โดยปกติน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาในช่วงฤดูฝนจะมีระดับเพิ่มสูงขึ้นเฉลี่ยประมาณ 50 เซนติเมตร ซึ่งทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมและมักจะเกิดขึ้นทุกปีในลักษณะน้ำท่วมขังและน้ำล้นตลิ่งระยะเวลาท่วมต่อครั้งประมาณ 10 — 15 วัน ส่วนใหญ่ฤดูแล้งยังประสบปัญหาในเรื่องน้ำเน่าเสียอันเนื่องมาจากการทับถมของผักตบชวา เศษปฏิกูลต่างๆ เป็นต้น จังหวัดได้จัดทำแผนเฉพาะกิจป้องกันและบรรเทาปัญหาความแห้งแล้งจังหวัดปทุมธานี พ.ศ. 2548 โดยในส่วนพื้นที่คูคลองที่มีระดับน้ำลดต่ำลงได้ดำเนินการสูบน้ำ เพื่อแก้ปัญหาเกษตรกรรมให้ทันทีที่มีการร้องขอ สำหรับปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคเกิดขึ้นเพียงบางหมู่บ้าน ซึ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นได้ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาแล้ว
1.2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพื้นที่เกษตรประมาณ 1,000,000 ไร่เศษ เกิดช่วงภัยแล้งมาตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคม 2547 จนถึงปัจจุบัน มีพื้นที่เกษตรเสียหายรวม 7 อำเภอ เนื้อที่ประมาณ 28,000 ไร่ ได้มีการเตรียมการและให้ความช่วยเหลือ อาทิเช่น การขุดลอกเปิดทางน้ำ กำจัดวัชพืช ซ่อมแซมระบบประปา เป่าล้างบ่อบาดาล ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ รวมงบประมาณที่ใช้ดำเนินการไปประมาณ 42 ล้านบาทเศษ
2. สถานการณ์ปัจจุบัน
2.1 จังหวัดปทุมธานีในปี 2548 นี้ ถือว่าไม่ประสบภาวะขาดแคลนน้ำ โดยในคลองต่างๆ ยังสามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เกษตรกรรมปลูกข้าวนาปรัง ประมาณ 310,000 ไร่ ไม่เกิดความเสียหายและมีการดำเนินการรองรับกรณีเกิดขาดแคลนน้ำ โดยมีเครื่องสูบน้ำขนาด 8 — 12 นิ้ว สนับสนุนรองรับอยู่ และมีโครงการชลประทานที่สำคัญๆ 4 โครงการ คือ 1) โครงการชลประทานปทุมธานีรองรับพื้นที่ประมาณ 70,000 ไร่ ในเขตอำเภอเมืองและอำเภอสามโคก 2) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาคลองพระยาบรรลือรองรับพื้นที่อำเภอลาดหลุมแก้ว อำเภอสามโคกบางส่วน และอำเภอเมือง 3) โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษารังสิตเหนือรองรับพื้นที่ประมาณ 400,000 ไร่ ในอำเภอคลองหลวง อำเภอหนองเสือ 4) โครงการส่งน้ำและบำรุงรังสิตใต้รองรับพื้นที่ประมาณ 230,000 ไร่ ในอำเภอธัญบุรี อำเภอลำลูกกา
2.2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยาขณะนี้ปัญหาภัยแล้งได้คลี่คลายลงใน 11 อำเภอ ยังคงประสบภัยแล้งอีก 5 อำเภอ คือ อำเภอบางไทร อำเภอผักไห่ อำเภอเสนา อำเภอนครหลวง อำเภอพระนครศรีอยุธยา โดยจังหวัดองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นกำลังดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
ในส่วนของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม โดยเฉพาะกรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท และกรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ได้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือกับทางจังหวัดในเรื่องการใช้เครื่องจักรกลในการเก็บกักน้ำ ขุดลอก บำรุงรักษาร่องน้ำ และกำจัดผักตบชวาอยู่ด้วยอีกทางหนึ่ง สำหรับปัญหาการสนับสนุนในส่วนอื่นๆ กับทางจังหวัดเพื่อเสริมสร้างศักยภาพตามที่ได้รับการร้องขอจากจังหวัดปทุมธานี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในเรื่องเส้นทางคมนาคม เช่น การขยายเขตทางที่คับแคบ การสร้างทางขึ้น — ลงเส้นทางยกระดับโทลเวย์ที่รังสิต การสร้างทางเชื่อมต่อในแนวขนานลำคลองชลประทาน เป็นต้น ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงคมนาคม นั้น ก็ได้รับและมอบให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการด้วยแล้ว
3. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
3.1 โดยที่ปัญหาน้ำในจังหวัดปทุมธานีในเรื่องน้ำแล้งมีผลกระทบน้อยมากเนื่องจากมีเส้นทางแม่น้ำหล่อเลี้ยงและมีมาตรการรองรับเพียงพอ สิ่งสำคัญ คือ โครงการที่ได้วางไว้จะต้องมีการดำเนินการที่ต่อเนื่อง รวมทั้งการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอมิให้เกิดปัญหาคูคลองตื้นเขิน แต่ส่วนสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ปัญหาน้ำท่วมล้นซึ่งเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ดังนั้นจึงได้สั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีไปพิจารณาจัดทำแผนแม่บทเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำให้เป็นไปทั้งระบบและเกิดผลที่ยั่งยืน โดยตรวจสอบสภาพปัญหาจัดทำรายละเอียดโครงการ แผนงาน เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป
3.2 จังหวัดพระนครศรีอยุธยาถือได้ว่ามีการแก้ไขปัญหาได้ผลในระดับหนึ่งแต่สภาพอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากปัญหาคูคลอง ซึ่งมีจำนวนถึง 860 คลอง มีการตื้นเขินและขาดงบประมาณการบำรุงรักษาหรือพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น ที่อำเภอนครหลวง และอำเภอท่าเรือ มีโครงการชลประทานดาดคอนกรีตคลองส่งน้ำระยะทาง 10 กว่ากิโลเมตร ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการมานานหลายปี ขณะนี้ ทำได้เพียง 2 ตอน และมีงบประมาณปี 2548 เพียงจำนวน 20 ล้านบาท นอกจากนี้ แผนขุดลอกคูคลองต่างๆ ยังไม่มีแผนแม่บทและไม่มีความชัดเจน ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในพื้นที่ได้เสนอตัวอย่างเช่น คลองพระยาบรรลือ คลองพระอุดม มีระยะทางยาวหลายสิบกิโลเมตร มีภาวะน้ำตื้นเขิน หากมีการดูแลบำรุงรักษาขุดลอกที่ดีก็จะช่วยแก้ไขปัญหาของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียงต่อเนื่องได้ด้วย จึงได้กำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและหน่วยงานชลประทานจังหวัด รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาจัดทำแผนแม่บทในการขุดลอกคูคลองและการแก้ไขปัญหาผลกระทบในส่วนของผักตบชวาและวัชพืชในคลองใหญ่และคลองซอยระหว่างหน่วยงานชลประทานและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น รวมทั้งการศึกษาแก้ไขผลกระทบจากน้ำเค็มหนุนขึ้นด้วย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้ในภาพรวมเป็นการด่วน โดยให้ศึกษารายละเอียดในสภาพปัญหาทุกท้องที่และรับฟังข้อมูลความต้องการจากท้องถิ่นโดยตรงด้วย แล้วรายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมโดยด่วนเพื่อดำเนินการต่อไป สำหรับการแก้ไขปัญหาของหน่วยงานท้องถิ่นซึ่งได้ดำเนินการในลักษณะที่ใช้งบประมาณไม่มากแต่ให้ผลต่อการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเห็นว่าควรสนับสนุน เช่น การขุดลอกและกำจัดวัชพืชเพื่อส่งน้ำเข้าพื้นที่เกษตรตามตัวอย่างที่ตำบลบางไทร อำเภอบางไทร นับว่าเกิดผลดี โดยในภาพรวมที่อำเภอบางไทรสามารถรักษาพื้นที่เกษตรกรรมได้ถึง 200,000 ไร่ เสียหายเพียง 28,000 ไร่ โดยได้แนะนำให้ท้องถิ่นมีมาตรการที่จะบำรุงรักษาสภาพให้สามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยจัดจ้างแรงงานท้องถิ่นตรวจระวังบำรุงรักษาเป็นประจำก็จะทำให้ไม่ต้องเสียงบประมาณในการขุดลอกครั้งใหญ่ซึ่งมีจำนวนมากบ่อยครั้ง นอกจากนี้สำหรับอำเภอที่ยังประสบปัญหาภัยแล้งอยู่ แต่อยู่ในศักยภาพที่จังหวัดและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นดูแลแก้ไขได้ขอให้เร่งดำเนินการเพื่อให้ปัญหาหมดไปโดยเร็ว หากมีปัญหาข้อขัดข้องและต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนในส่วนใดก็ให้เร่งดำเนินการโดยด่วน โดยสามารถประสานงานโดยตรงกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 พฤษภาคม 2548--จบ--