http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (30 พฤษภาคม 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบัน ชาวไร่อ้อย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. 2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้น้ำมันปาล์มและแฟรกชันของน้ำมัน ปาล์ม และน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัด
ระเบียบในการนำเข้าและนำผ่าน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ?.
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง
เขตเลือกตั้งที่ 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ สังคม
4. เรื่อง โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำ และซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย และแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ปี 2565 - 2567 5. เรื่อง วันผ้าไทยแห่งชาติ 6. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการ นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 12 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 มีนาคม 2565) 7. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนเมษายน 2565 ต่างประเทศ 8. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Economic
Ministers: AEM Retreat) ครั้งที่ 28
9. เรื่อง ร่างกรอบการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือ รอบด้านระหว่างสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกกับราชอาณาจักรไทย (Partnership and Cooperation Framework Agreement: PCA) 10. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว 11. เรื่อง การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของ ของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 15 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญา รอตเตอร์ดัม ว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมี อันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่าง ประเทศสมัยที่ 10 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษ ที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 10 ในรูปแบบ face-to-face 12. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย ? แปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030)
ครั้งที่ 2
13. เรื่อง รายงานผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย ? มาเลเซีย ครั้งที่ 55 แต่งตั้ง 14. เรื่อง ขอความเห็นชอบการปรับปรุงชื่อ องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่
ของคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น
15. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ
โรงพยาบาลบ้านแพ้ว
16. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างระเบียบฯ ที่ อก. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตาม (3) และ (4) ของข้อ 8 แห่งระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อยฯ เพื่อยกเว้นการตรวจสอบคุณสมบัติให้แก่สหกรณ์ที่มีฐานะเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยอยู่เดิม ที่กำหนดให้ต้องมีสมาชิกเป็นชาวไร่อ้อยไม่น้อยกว่า 600 คน และต้องมีปริมาณอ้อยของสมาชิกที่ส่งให้แก่โรงงานใดโรงงานหนึ่งรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 55 ของปริมาณอ้อยที่โรงงานนั้นหีบทั้งหมดในแต่ละฤดูการผลิตออกไปจนกว่าจะถึงฤดูการผลิตปี 2566/2567 ทั้งนี้ เมื่อร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ?. ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการในชั้นนิติบัญญัติ มีผลบังคับใช้แล้วจะต้องมีการปรับปรุงกฎหมายลำดับรองเพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ?. ที่ปรับปรุงแก้ไขใหม่ รวมทั้งเพื่อให้ระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย อันเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพของชาวไร่อ้อยซึ่งเป็นสมาชิกสหกรณ์ต่อไป สาระสำคัญของร่างระเบียบ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อยกเว้นการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเป็นสถาบันชาวไร่อ้อย ตาม (3) และ (4) ของข้อ 8 แห่งระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยการจดทะเบียนสถาบันชาวไร่อ้อย ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ออกไปอีก โดยให้ใช้บังคับกับสหกรณ์ชาวไร่อ้อยที่มีฐานะเป็นสถาบันชาวไร่อ้อยอยู่เดิมตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2566/2567 เป็นต้นไป 2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้น้ำมันปาล์มและแฟรกชันของน้ำมันปาล์ม และน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้าและนำผ่าน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ?. คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้น้ำมันปาล์มและแฟรกชันของน้ำมันปาล์ม และน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้าและนำผ่าน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างประกาศที่ พณ. เสนอ เป็นการปรับปรุงประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้น้ำมันปาล็มและแฟรกชันของน้ำมันปาล์ม และน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มเป็นสินค้าที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการจัดระเบียบในการนำเข้าและนำผ่าน พ.ศ. 2563 โดยเพิ่มบทนิยามคำว่า ?หนังสือรับรอง? เพื่อใช้รับรองการนำผ่านสินค้าน้ำมันปาล์มและแฟรกชันของน้ำมันปาล์มจะทำให้บริสุทธิ์หรือไม่ก็ตามแต่ต้องไม่ดัดแปลงทางเคมี และกำหนดด่านนำผ่านน้ำมันปาล์มและแฟรกชันของน้ำมันปาล์มโดยเริ่มต้นที่ด่านศุลกากรสะเดาและสิ้นสุดที่ด่านศุลกากรหนองคายเพื่อไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยสอดคล้องกับพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศในส่วนของอนุสัญญาบาร์เซโลนาว่าด้วยเสรีภาพในการผ่านแดน ค.ศ. 1921 และความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 รวมทั้งเพื่อรักษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และป้องกันไม่ให้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวใช้มาตรการตอบโต้ทางการค้ากับสินค้าส่งออกของไทยที่ใช้เส้นทางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวผ่านแดนไปยังจีนและเวียดนาม สาระสำคัญของร่างประกาศ 1. เพิ่มบทนิยามคำว่า ?หนังสือรับรอง? หมายความว่า หนังสือสำคัญที่ออกโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือหน่วยงานอื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์มอบหมาย เพื่อใช้รับรองการนำผ่านสินค้าน้ำมันปาล์มและแฟรกชันของน้ำมันปาล์มจะทำให้บริสุทธิ์หรือไม่ก็ตาม แต่ต้องไม่ดัดแปลงทางเคมี 2. กำหนดการนำผ่านน้ำมันปาล์มและแฟรกชันของน้ำมันปาล์มจะทำให้บริสุทธิ์หรือไม่ก็ตามแต่ต้องไม่ดัดแปลงทางเคมี ตามพิกัดอัตราศุลกากรย่อย 1511.90.20 1511.90.31 1511.90.32 1511.90.36 1511.90.37 1511.90.39 1511.90.41 1511.90.42 และ 1511.90.49 (เช่น น้ำมันปาล์มเพื่อใช้บริโภค และแฟรกชันของน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ เพื่อใช้เป็นส่วนประกอบในการทำสบู่) ไปยัง สปป.ลาว ที่มีหนังสือรับรองโดยมีจุดเริ่มต้นที่ด่านศุลกากรสะเดา และมีจุดสิ้นสุดที่ด่านศุลกากรหนองคาย ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการในการออกหนังสือรับรองให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กำหนด 3. กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป 3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้วตามที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งเสนอว่า ด้วยศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้งได้มีคำพิพากษา คดีหมายเลขแดงที่ ลต สส 1/2565 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 พิพากษาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4 ใหม่ แทนนายวัฒนา สิทธิวัง ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 133 สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งขอเรียนว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา 105 วรรคหนึ่ง (1) กำหนดให้ในกรณีที่เป็นตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งว่างลงเพราะเหตุอื่นใด นอกจากถึงคราวออกตามอายุของสภาผู้แทนราษฎร หรือเมื่อมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ให้ดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่ตำแหน่งนั้นว่างลง เว้นแต่อายุของสภาผู้แทนราษฎรจะเหลืออยู่ไม่ถึงหนึ่งร้อยแปดสิบวัน ดังนั้น เพื่อให้การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด จึงขอส่งร่างพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง พ.ศ. .... และร่างแผนการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งจะพิจารณาเพื่อมีประกาศกำหนดวันเลือกตั้ง และการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ภายหลังพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำปาง เขตเลือกตั้งที่ 4 แทนตำแหน่งที่ว่าง มีผลใช้บังคับ เศรษฐกิจ สังคม 4. เรื่อง โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ปี 2565 - 2567 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยใหกับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5 ) ปี 2565 - 2567 โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย กลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร สถาบันชาวไร่อ้อย กลุ่มบุคคล และวิสาหกิจชุมชน วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท ดังนี้ 1.1 กำหนดระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นตามโครงการ โดยแยกตามวัตถุประสงค์การกู้เงิน หากกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งโดยการพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบการให้น้ำและเพื่อปรับพื้นที่ปลูกอ้อย กำหนดชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นไม่เกิน 6 ปี และหากกู้เงินเพื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร กำหนดชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นไม่เกิน 8 ปี 1.2 ให้รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ย โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการ ดังนี้ 1.2.1 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการสำหรับเกษตรกรรายคน คิดดอกเบี้ยในอัตรา MRR โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระในส่วนที่เหลือ (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี คิดจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลชดเชยร้อยละ 3 ธ.ก.ส. รับภาระร้อยละ 1.50 ต่อปี) 1.2.2 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการสำหรับกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร หรือสถาบันชาวไร่อ้อย หรือกลุ่มบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชน คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระในส่วนที่เหลือ (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR เท่ากับร้อยละ 4.875 ต่อปี คิดจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลชดเชยร้อยละ 2 ธ.ก.ส. รับภาระร้อยละ 0.875 ต่อปี) 1.2.3 กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ วัตถุประสงค์เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ประเภทรถบรรทุกและพ่วงบรรทุก ให้เรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี รัฐบาลไม่ต้องชดเชยดอกเบี้ยในส่วนนี้ และ ธ.ก.ส. รับภาระในส่วนที่เหลือ (เดิม ธ.ก.ส. รับภาระร้อยละ 1 ต่อปี จากอัตรา MLR - 1) 2. อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ปี 2565 - 2567 ให้กับ ธ.ก.ส. จำนวน 789.75 ล้านบาท สาระสำคัญของเรื่อง อก. รายงานว่า 1. อก. โดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ร่วมกับ ธ.ก.ส. สถาบันชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาล ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจรมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 ได้แก่ โครงการฯ ปี 2559 - 2561 และปี 2562 - 2564 โดยโครงการดังกล่าวเป็นการให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่เกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยบางส่วนให้ ธ.ก.ส. และมีโรงงานน้ำตาลเป็นผู้ค้ำประกัน เพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แก่ (1) การพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร้อ้อย (เช่น การขุดบ่อสระกักเก็บน้ำ การสร้างระบบส่งน้ำ เป็นต้น) และการปรับพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเป็นแปลงใหญ่ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรกลการเกษตร และ (2) การจัดซื้อเครื่องจักรกลทางการเกษตร (เช่น รถตัดอ้อย รถแทรกเตอร์ และรถบรรทุกอ้อย เป็นต้น) อันจะเป็นการสนับสนุนเป้าหมายการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยครบวงจร สนับสนุนการจัดหาแหล่งน้ำและบริหารจัดการน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อเกิดภัยแล้ง ลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และลดปัญหาการขาดแคลนแรงงานในไร่อ้อย โดยโครงการทั้งสองโครงการได้มีการจ่ายเงินกู้จนสิ้นสุดระยะเวลาจ่ายเงินกู้แล้ว มีผลการดำเนินงาน ดังนี้ กิจกรรม ผลการจ่ายเงินกู้โครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตอ้อยอย่างครบวงจร โครงการฯ ปี 2559 -2561 โครงการฯ ปี 2562 - 2564 1. การพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย สัญญา 592 สัญญา ต้นเงิน 118.00 ล้านบาท สัญญา 856 สัญญา ต้นเงิน 135.97 ล้านบาท 2. การปรับพื้นที่ปลูกอ้อย (เฉพาะโครงการฯ ปี 2562 - 2564) - สัญญา 21 สัญญา ต้นเงิน 19.12 ล้านบาท 3. การจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรยกเว้นรถแทรกเตอร์และรถบรรทุกอ้อย (เช่น รถตัดอ้อย รถคีบอ้อย เป็นต้น) สัญญา 394 สัญญา ต้นเงิน 2,679.44 ล้านบาท สัญญา 751 สัญญา ต้นเงิน 3,770.33 ล้านบาท 4. การจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรประเภทรถแทรกเตอร์และรถบรรทุกอ้อย สัญญา 665 สัญญา ต้นเงิน 818.20 ล้านบาท สัญญา 470 สัญญา ต้นเงิน 653.58 ล้านบาท รวม สัญญา 1,651 สัญญา ต้นเงิน 3,615.64 ล้านบาท (ร้อยละ 40.17 ของเป้าหมาย) สัญญา 2,098 สัญญา ต้นเงิน 4,579.00 ล้านบาท (ร้อยละ 76.32 ของเป้าหมาย) เป้าหมายโครงการ ต้นเงิน 9,000.00 ล้านบาท (ปีละ 3,000.00 ล้านบาท) ต้นเงิน 6,000.00 ล้านบาท (ปีละ 2,000.00 ล้านบาท) ระยะเวลาการจ่ายเงินกู้ 6 กันยายน 2559 - 30 กันยายน 2561 19 กรกฎาคม 2562 - 30 กันยายน 2564 2. อก. เห็นว่า ควรมีการดำเนินโครงการในรูปแบบดังกล่าวข้างต้นต่อเนื่องเป็นระยะที่ 3 อีก 3 ปี ปี 2565 - 2567 เนื่องจากในปัจจุบันและอนาคตอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายยังมีความจำเป็นต้องมีแหล่งเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยที่เหมาะสมเพื่อจัดหาแหล่งน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลนในการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย การปรับพื้นที่การปลูกอ้อยมุ่งสู่เกษตรแปลงใหญ่ การจัดหาเครื่องจักรกลทางการเกษตรเพื่อทดแทนแรงงาน การส่งเสิรมการตัดอ้อยสดเพื่อให้ได้อ้อยสดคุณภาพดี และการลดอ้อยไฟไหม้เพื่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) และได้เปลี่ยนชื่อโครงการจาก เดิม ?โครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจร? เป็น ?โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยสำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ปี 2565 - 2567? เพื่อให้เกิดความชัดเจนและตรงตามวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการ โดยมีรูปแบบการดำเนินโครงการในหลักการเช่นเดียวกับโครงการที่ได้เคยดำเนินการมาแล้วในปี 2559 - 2561 และปี 2562 - 2564 สรุปได้ ดังนี้ 2.1 เป้าหมาย จัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อใช้ในการปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อยอย่างครบวงจร โดยเริ่มตั้งแต่กระบวนการการเตรียมพื้นที่ การเตรียมดิน การปลูกอ้อย การบำรุงรักษา การตัดอ้อย การขนอ้อยส่งโรงงานและการนำใบอ้อยไปใช้ประโยชน์ ในระยะเวลา 3 ปี วงเงินสินเชื่อปีละ 2,000 ล้านบาท ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 - 2567 2.2 วัตถุประสงค์การกู้เงินและวงเงินกู้ โดยวงเงินกู้แต่ละรายเมื่อรวมทุกวัตถุประสงค์แล้ว ต้องไม่เกิน 38.05 ล้านบาท 2.2.1 เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย รายละไม่เกิน 500,000 บาท ได้แก่ (1) การขุดบ่อสระกักเก็บน้ำ (2) การเจาะบ่อบาดาล (3) การจัดทำระบบน้ำ (4) การจัดซื้อเครื่องสูบน้ำและอุปกรณ์ให้น้ำในไร่อ้อย และ (5) การรวมกลุ่มสร้างหรือพัฒนาปรับปรุงระบบการส่งน้ำ โดยการรวมกลุ่มชาวไร้อ้อยและโรงงานน้ำตาลเป็นผู้เสนอในรูปแบบของโครงการ 2.2.2 เพื่อปรับพื้นที่ปลูกอ้อย เป็นแปลงใหญ่ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรกลการเกษตร รายละไม่เกิน 500,000 บาท ในอัตราไม่เกินไร่ละ 2,500 บาท 2.2.3 เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร (1) รถตัดอ้อย รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท (2) รถคีบอ้อย รายละไม่เกิน 2 ล้านบาท (3) รถแทรกเตอร์ รายละไม่เกิน 6 ล้านบาท (4) อุปกรณ์ส่วนควบ (เช่น เครื่องสางใบอ้อย เครื่องกวาดใบอ้อย เป็นต้น) รายละ 50,000 บาท - 5 ล้านบาท ตามวงเงินที่กำหนดไว้ในแต่ละรายการ (5) รถบรรทุกและพ่วงบรรทุก รายละไม่เกิน 5 ล้านบาท ทั้งนี้ มีเงื่อนไขวงเงินกู้ที่กำหนดไว้เพิ่มเติมด้วย เช่น รถตัดอ้อยใหม่ขนาดใหญ่ วงเงินกู้ไม่เกิน 15 ล้านบาท รถตัดอ้อยเก่าขนาดเล็ก วงเงินกู้ไม่เกิน 3 ล้านบาท 2.3 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ 2.3.1 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการสำหรับเกษตรกรรายคน คิดดอกเบี้ยในอัตรา MRR โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระในส่วนที่เหลือ (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MRR เท่ากับร้อยละ 6.50 ต่อปี คิดจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลชดเชยร้อยละ 3 ธ.ก.ส. จึงรับภาระร้อยละ 1.50 ต่อปี) 2.3.2 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามโครงการสำหรับกลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์การเกษตร หรือสถาบันชาวไร่อ้อย หรือกลุ่มบุคคล หรือวิสาหกิจชุมชน คิดดอกเบี้ยในอัตรา MLR โดยเรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี รัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี และ ธ.ก.ส. รับภาระในส่วนที่เหลือ (ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย MLR เท่ากับรอยละ 4.875 ต่อปี คิดจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลชดเชยร้อยละ 2 ธ.ก.ส. จึงรับภาระร้อยละ 0.875 ต่อปี) 2.3.3 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้วัตถุประสงค์เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ประเภทรถบรรทุกและพ่วงบรรทุก ให้เรียกเก็บจากผู้กู้ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี รัฐบาลไม่ต้องชดเชยดอกเบี้ยในส่วนนี้ และ ธ.ก.ส. รับภาระในส่วนที่เหลือ (เดิม ธ.ก.ส. รับภาระร้อยละ 1 ต่อปี จากอัตรา MLR - 1) 2.4 วงเงินสินเชื่อจากเงินทุนของ ธ.ก.ส. วงเงิน 2,000 ล้านบาทต่อปี ระยะเวลา 3 ปี รวมทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาท โดยให้โรงงานน้ำตาลเป็นผู้ค้ำประกันลูกค้าผู้กู้แต่ละรายเต็มวงเงินกู้ 2.5 ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้ 2.5.1 วัตถุประสงค์การกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยการพัฒนาแหล่งน้ำและพัฒนาระบบการให้น้ำ และเพื่อปรับพื้นที่ปลูกอ้อย กำหนดชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นไม่เกิน 6 ปี 2.5.2 วัตถุประสงค์การกู้เงินเพื่อการซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร กำหนดชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นไม่เกิน 8 ปี 2.6 ระยะเวลาดำเนินการ 2.6.1 ระยะเวลาจ่ายเงินกู้ 3 ปี วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2567 2.6.2 ระยะเวลาดำเนินโครงการ วันที่ 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2575 2.6.3 ระยะเวลาชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ 8 ปี โดยรัฐบาลชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่ ธ.ก.ส. แทนผู้กู้ นับแต่วันรับเงินกู้ แต่ไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2575 2.7 งบประมาณ กรอบงบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยตามโครงการให้กับ ธ.ก.ส. 789.75 ล้านบาท โดยรัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ย และให้ ธ.ก.ส. ขอรับจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง 5. เรื่อง วันผ้าไทยแห่งชาติ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ ?วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันผ้าไทยแห่งชาติ? ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง วธ. รายงานว่า 1. ที่ผ่านมา วธ. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นหน่วยงานหลักในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย โดยมีนโยบายในการส่งเสริม สืบสาน รักษาต่อยอด และอนุรักษ์ผ้าไทยที่เป็นเอกลักษณ์ประจำชาติของประเทศไทย รณรงค์ให้คนไทยโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ตระหนักถึงคุณค่าและหันมานิยมสวมใส่ผ้าไทยเพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและชุมชน เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ฟื้นฟูเศรษฐกิจของชาติและพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ กิจกรรม/โครงการ รายละเอียดการจัดงาน การจัดงาน ?ทรัพย์แผ่นดิน ศิลป์สยาม : Thai Treasures? เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 87 พรรษา 12 สิงหาคม 2562 การจัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ การแสดงแฟชั่นโชว์ชุดไทยพระราชนิยมและชุดผ้าไทยร่วมสมัยที่ออกแบบโดยดีไซเนอร์ชั้นนำ การออกร้านจำหน่ายผ้าพื้นถิ่นของชุมชนต่าง ๆ จากทุกภูมิภาค การเสวนา และการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อสืบสานภูมิปัญญาการทอผ้าไทยจากรุ่นสู่รุ่น และส่งเสริมให้ผ้าไทยเป็นที่รู้จักในนานาชาติ โครงการอนุรักษ์ผ้าไทยและรณรงค์สวมใส่ผ้าไทย จัดขึ้นเพื่อสืบสานพระราชปณิธานด้านศิลปหัตถกรรมด้ายผ้าทอ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เรื่องผ้าไทยในแต่ละท้องถิ่นและสร้างค่านิยมให้คนไทยหันกลับมาสวมใส่ผ้าไทยในชีวิตประจำวันอีกครั้ง โดยเผยแพร่ผ่านสื่อช่องทางต่าง ๆ เช่น รายการโทรทัศน์ สารคดี นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับชุมชนด้วย โครงการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทย (Cultural Product of Thailand : CPOT) เป็นการส่งเสริมการต่อยอดภูมิปัญญาการทอผ้าในแต่ละท้องถิ่น มาพัฒนาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ผ้าประเภทต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า กระเป๋า ผ้าพันคอ รองเท้า ฯลฯ ให้เป็นสินค้าที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยพัฒนาด้านวัสดุและการออกแบบเพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพและยกระดับความสามารถในการแข่งขันทั้งในและต่างประเทศ สามารถสร้างรายได้ให้กับชุมชนและสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานราก รวมทั้งส่งเสริมการจำหน่ายและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมไทยให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างผ่านนิทรรศการ งานแสดงสินค้าและระบบออนไลน์ 2. โดยในปีนี้ (พ.ศ. 2565) รัฐบาลมีนโยบายจัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2565 ซึ่งจะมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการและพระราชกรณียกิจด้านต่าง ๆ เพื่อให้เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ได้ศึกษาหาความรู้จากโครงการต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาสร้างความเจริญรุ่งเรืองและความผาสุกให้กับประชาชนชาวไทย ในการนี้ เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณและแสดงออกถึงความจงรักภักดี รัฐบาลจึงกำหนดจัดกิจกรรมและโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ ซึ่งสอดคล้องกับโครงการต่าง ๆ ของพระองค์ เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด และขยายผลให้เป็นรูปธรรม โดยจะดำเนินการให้เป็นไปอย่างสม พระเกียรติทุกประการ 3. วธ. เห็นว่า การประกาศให้มี ?วันผ้าไทยแห่งชาติ? เป็นการกำหนดวันในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนได้น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการส่งเสริมเรื่อง ?ผ้าไทย? เป็นที่ประจักษ์มายาวนาน จากสิ่งทอท้องถิ่นที่สูญหายไปให้กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง สามารถสร้างอาชีพและสร้างรายได้นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนเป็นการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่ ซึ่งวันที่เหมาะสมที่จะประกาศให้เป็นวันผ้าไทยแห่งชาติ คือวันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปี เนื่องมาจากวันที่ 12 สิงหาคม เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 4. คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาเกี่ยวกับการกำหนดวันผ้าไทยแห่งชาติสรุปได้ ดังนี้ 4.1 คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบในหลักการกำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันผ้าไทยแห่งชาติ โดยให้จัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับ ?คำนิยาม? เพื่อประกอบการเสนอเรื่องวันผ้าไทยแห่งชาติเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป 4.2 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2565 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานได้มีมติเห็นชอบ ดังนี้ 4.2.1 นิยาม ?ผ้าไทย? 4.2.2 กำหนดให้วันที่ 12 สิงหาคม ของทุกปีเป็นวันผ้าไทยแห่งชาติ 4.2.3 ชื่อภาษาอังกฤษ ?วันผ้าไทยแห่งชาติ : National Thai Textile Day? ทั้งนี้ ขอให้เพิ่มเติมข้อมูลในส่วนของนิยาม ?ผ้าไทย? ให้ครบถ้วน สมบูรณ์ในประเด็นกรรมวิธีในการทำ โดยเฉพาะวิธีการมัดย้อม 5. วธ. ได้จัดทำข้อมูลตามความเห็นของคณะกรรมการข้างต้นแล้ว สรุปได้ ดังนี้ ประเด็น รายละเอียด นิยาม ?ผ้าไทย? (National Thai Textile Day) ผ้าที่สร้างสรรค์ขึ้นจากมรดกภูมิปัญญาของไทยที่ได้รับการสืบทอด ต่อยอดจากรุ่นสู่รุ่นบ่งบอกถึงอัตลักษณ์ประจำถิ่นที่ผลิตขึ้นภายในประเทศโดยฝีมือคนไทย โดยใช้เทคนิค อาทิ การทอ จก ยก ขิด ล้วง ปัก มัดหมี่ มัดย้อม บาติก พิมพ์ โดยใช้เส้นใยธรรมชาติที่หลากหลาย เช่น ไหม ฝ้าย ใยกัญชง ใยสับปะรด ที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น เป็นต้น การเชื่อมโยงถึงวันที่ 12 สิงหาคม เป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งทรงส่งเสริมการทอผ้าพื้นถิ่นของไทยทุกประเภทและในทุกจังหวัด ทรงแนะนำเพื่อพัฒนาคุณภาพและฝีมือของชาวบ้านเพื่อให้มีรายได้เสริม นอกจากนี้ยังทรงรับซื้อผ้าทอพื้นถิ่นเพื่อนำมาสนับสนุนให้นักออกแบบเครื่องแต่งกายไทยออกแบบสร้างสรรค์เป็นชุดแต่งกายไทย ทรงสนับสนุนให้เพิ่มเติมคุณค่าด้วยการปักด้วยเส้นไหมหรือวัสดุสวยงามต่าง ๆ หรือให้ออกแบบผ้าทอพื้นถิ่นของประเทศไทยให้เป็นชุดแต่งกายตามสมัยนิยมสำหรับใช้ในโอกาสต่าง ๆ ที่หลากหลาย อีกทั้งทรงส่งเสริมศิลปะด้านการออกแบบเครื่องอาภรณ์ประดับควบคู่ไปกับการส่งเสริมชุดแต่งกายไทยทั้งโอกาสประเพณีนิยมและตามแฟชั่นสมัยใหม่ด้วย เป็นต้น ตัวอย่างของประเทศอื่น ๆ ที่ได้กำหนดวันผ้าแห่งชาติ ประเทศ วันสำคัญ อินโดนีเซีย วันที่ 2 ตุลาคม ของทุกปี : วันบาติกแห่งชาติ ญี่ปุ่น วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ของทุกปี : วันฟุนโดชิ (วันผ้าเตี่ยว) จอร์เจีย วันที่ 3 พฤษภาคม ของทุกปี : วันสิ่งทอแห่งชาติ สโลวัก วันที่ 8 กันยายน ของทุกปี : วันเครื่องแต่งกายพื้นบ้าน สโลวีเนีย เดือนกันยายน ของทุกปี : วันมรดกเครื่องแต่งกายและเครื่องแต่งกายประจำชาติ บังกลาเทศ วันที่ 4 ธันวาคม ของทุกปี : วันสิ่งทอแห่งชาติ 6. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 12 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 มีนาคม 2565) คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 12 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564- 31 มีนาคม 2565) ตามที่คณะกรรมการติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. นโยบายหลัก 9 ด้าน ประกอบด้วย นโยบายหลัก มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ 1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ 1.1) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับศาสตร์พระราชาและเกษตรทฤษฎีใหม่ ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี รุ่นที่ 4 และรุ่นที่ 5 เพื่อนำองค์ความรู้ไปเป็นแนวปฏิบัติและขยายผลในโครงการและศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่รับผิดชอบ 1.2) ปลูกฝังจิตสำนึกต่อความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์และประวัติศาสตร์ชาติผ่านเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ 462 ครั้ง และประชาสัมพันธ์ออนไลน์ทางเพจเฟซบุ๊ก ?พิราบลายพราง? ประจำเดือนมีนาคม 2565 จำนวน 34 โพสต์ ยอดกดถูกใจ 11,322 คน และยอดกดติดตามเพจ 12,061 คน 2) การสร้างความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ 2.1) จัดสรรทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาคนด้านความปลอดภัยไซเบอร์แก่บุคลากรของกองทัพไทยให้มีศักยภาพสูงในการป้องกันและพัฒนาปฏิบัติการทางไซเบอร์หรือความมั่นคงภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมทั้งพัฒนากำลังพลให้มีความรู้ความสามารถเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2.2) จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบก 424 ครั้ง ผู้ต้องหา จำนวน 5,526 คน 2.3) ปลุกจิตสำนึก เกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีความเป็นชาติไทย โดยส่งเสริมให้เยาวชนได้แสดงออกถึงความกตัญญูต่อบุพการี ผู้มีพระคุณ ชาติและพิทักษ์เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้เครือข่าย ?ชมรมกตัญญูคลับ? มีสมาชิกกว่า 4,500 คน 3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม 3.1) ผลักดันการใช้ ?Soft Power? ความเป็นไทยและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยจัดงาน ?มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 3 Thailand Biennale,Chiang Rai 2023? เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 มีผู้เข้าชมทั้งออฟไลน์และออนไลน์มากกว่า 340,000 คน สร้างรายได้การท่องเที่ยวและบริการในพื้นที่กว่า 272 ล้านบาท 3.2) จัดนิทรรศการสร้างองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม เช่น นิทรรศการ ?วิจิตราภรณ์และงานประณีตศิลป์แห่งโขน? สืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและนิทรรศการศิลปะการออกแบบร่วมสมัยในโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยจัดแสดงองค์ความรู้และผลงานการออกแบบที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น 28 ชุดผลงานจาก 28 อำเภอ ใน 3 จังหวัด (จังหวัดกระบี่ จันทบุรี และสุพรรณบุรี) 4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก 4.1) เข้าร่วมประชุมผู้นำธุรกิจอาเซียน เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาร่วมกับผู้นำรัฐบาลและผู้บริหารภาคธุรกิจระดับโลกหัวข้อ ?การนำความเติบโตกลับมาสู่ระดับก่อนโควิด? โดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุล ความเข้มแข็งจากการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และความครอบคลุมในการสร้างระบบนิเวศทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทย 4.2) ขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 นางอามีนา เจ โมฮัมเหม็ด รองเลขาธิการสหประชาชาติ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในโอกาสเยือนไทย โดยมีการหารือความร่วมมือในประเด็นต่าง ๆ เช่น ความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน การเงิน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ภายในปี ค.ศ. 2030 4.3) รับมอบตำแหน่งประธานผู้นำความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (The Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมพิธีรับตำแหน่งประธาน BIMSTEC เป็นเวลา 2 ปี โดยไทยมุ่งมั่นที่จะสานต่อและขับเคลื่อนการดำเนินงาน ได้แก่ (1) ความมั่งคั่งผ่านกรอบความร่วมมือพหุภาคีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรคโควิด-19 และสร้างความเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยี (2) ความยั่งยืนให้ประเทศสมาชิกสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อต่อสู้กับความท้าทายต่าง ๆ โดยฟื้นฟูและนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ (3) เปิดกว้างให้ความสำคัญกับ ?คน? สร้างความตระหนักรู้และมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในทุกภาคส่วน เพื่อร่วมขับเคลื่อน BIMSTEC ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่าง ?มั่งคั่ง ยั่งยืนและเปิดกว้างสู่โอกาส? 5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย 5.1) เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง โดยกรมสรรพสามิตได้ออกกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2565 (ยกเว้นอัตราภาษีสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพื่อนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม-15 กันยายน 2565 5.2) พัฒนาภาคเกษตร เช่น (1) การเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร A.M. ความถี่ 1386 KHz. เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารและพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกล สามารถแข่งขันในตลาดได้ และ (2) จัดนิทรรศการ Digital for Agri-Dev ภายในงาน World Expo 2020 Dubai เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าเกษตรไทย และเตรียมพร้อมขยายสินค้าไปยังตลาดที่มีศักยภาพรวมทั้งหมดกว่า 20 ชนิดสินค้า 5.3) การพัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้าการบริการและการลงทุนในภูมิภาค โดยการบุกตลาดส่งออกสินค้าไก่แปรรูปไปราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียเป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี คาดว่าภายในสิ้นปี 2565 จะสามารถส่งออกได้ประมาณ 6,000 ตัน เกิดมูลค่าการค้า 400-500 ล้านบาท 5.4) พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) 6 สัญญา และลงนามข้อตกลงคุณธรรมโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทางรวม 23.6 กิโลเมตร ตามแผนงานจะก่อสร้างภายในปี 2565 และคาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ภายในปี 2570 5.5) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ เช่น จัดกิจกรรมการเรียนรู้และแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ ?Hackulture นวัต...วัฒนธรรม? เพื่อการกระตุ้นให้เยาวชนหรือคนรุ่นใหม่หันมาสนใจวัฒนธรรมไทยและร่วมกันถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติในรูปแบบ Digital Content มีผู้ส่งผลงาน 66 ทีม และจัดทำแนวทางการชำระภาษีสำหรับคนขายของออนไลน์ 5.6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม โดยจัดกิจกรรม ?ขับเคลื่อนโปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้? จังหวัด ศรีสะเกษ มุ่งเน้นให้ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการของทุ่งกุลาร้องไห้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นมากขึ้น และถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรเฉลี่ย 2,600-3,300 บาท/ไร่ 6) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย 6.1) ลงนามบันทึกข้อตกลงการบูรณาการความร่วมมือ 7 กระทรวง : การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (กลุ่มเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุ) พ.ศ. 2565-2569 มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2565 เพื่อร่วมกันผลักดันในระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสร้างกลไกการดำเนินงานให้เอื้อต่อการดูแลกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงสอดรับแนวนโยบายรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 6.2) จัด ?นิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรระดับอุดมศึกษา สำหรับนักเรียนที่ศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และผู้พิการ? ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมกว่า 14 สถาบัน เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลหลักสูตรระดับอุดมศึกษา แนะแนวการศึกษาและอาชีพ และเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อพัฒนาตนเองในระดับที่สูงขึ้น 7) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม 7.1) โครงการพัฒนาเพิ่มคุณภาพการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นการพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มกลางการเชื่อมโยงฐานข้อมูลสุขภาพของประเทศ โดยการเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพผ่านระบบ Health Link มีโรงพยาบาลนำร่องกว่า 100 แห่ง สามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้สำเร็จทำให้ไทยมีคลังข้อมูลด้านสาธารณสุขขนาดใหญ่ 7.2) พัฒนาระบบออกใบรับรองแพทย์ดิจิทัลผ่าน ?หมอพร้อม? ให้เป็น Digital Health Platform ของไทย เพื่อให้บริการด้านสุขภาพแบบดิจิทัลแก่ประชาชน มีการทดสอบระบบและนำมาใช้งานจริงในโรงพยาบาล 1,028 แห่ง สามารถออกใบรับรองแพทย์ไปแล้วกว่า 125,000 ใบ 7.3) พัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิให้เข้มแข็ง มุ่งหวังให้ ?คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน? ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอสาธารณสุข และหมอประจำครอบครัว ร่วมกันดูแลสุขภาพของประชาชนให้สามารถเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ได้มีการมอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้แก่ อสม. ดีเด่นระดับชาติ 1,050,000 คน 8) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน 8.1) ประกาศ ?MISSION 2023? ผนึกกำลังลดก๊าซเรือนกระจก มุ่งเป้า 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2566 โดยได้ดำเนินการ เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบรางหรือรถไฟ และกำหนดให้การก่อสร้างต้องใช้ซีเมนต์ ไฮดรอลิกหรือซีเมนต์ที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 8.2) ลงนามความร่วมมือโครงการนำร่องการพัฒนาทางด้านพลังงานหมุนเวียนและคาร์บอนเครดิต เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและการรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนและคาร์บอนเครดิต โดยเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยผ่านโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (Energy Regulatory Commission Sandbox: ERC Sandbox) ระยะที่ 2 สู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 9) การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม จัดตั้งศูนย์คุมประพฤติภาคประชาชน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนภารกิจในการคุมความประพฤติในพื้นที่ เน้นการทำงานร่วมกับชุมชนอาสาสมัครคุมประพฤติและหน่วยงานภาคี ทั้งนี้ ได้เปิดศูนย์ต้นแบบแล้ว 12 แห่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยอง อุดรธานี และสงขลา และคาดว่าเดือนสิงหาคม 2565 จะเปิดได้ครบทุกจังหวัด 2. นโยบายเร่งด่วน 8 เรื่อง ประกอบด้วย นโยบายเร่งด่วน มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ 1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน 1.1) มาตรการลดค่าครองชีพประชาชนเป็นเวลา 3 เดือน (เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2565) สรุปได้ ดังนี้ มาตรการ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มเงินช่วยเหลือเพื่อซื้อก๊าซหุงต้ม จากเดิม 45 บาท เป็น 100 บาท/เดือน ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 3.6 ล้านคน ส่วนลดซื้อก๊าซหุงต้ม 100 บาท ผู้ค้าหาบเร่แผงลอยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 5,500 คน ค่าใช้จ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอลล์ 250 บาท/เดือน ผู้ขับขี่มอเตอร์ไซค์รับจ้างที่ขึ้นทะเบียน 157,000 คน คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ 15.59 บาท/กิโลกรัม ผู้ใช้ก๊าซ NGV ทั่วไป 318,000 คน ซื้อก๊าซ NGV ในราคา 13.62 บาท/กิโลกรัมในวงเงิน 10,000 บาท/เดือน ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ภายใต้โครงการลมหายใจเดียวกัน 17,000 คน ลดค่าไฟฟ้า [ลดค่า Ft ลง 22 สตางค์/หน่วย (เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565)] ครัวเรือนที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วย/เดือน 20 ล้านหลังคาเรือน ตรึงราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ 30 บาท/ลิตร (ถึงเดือนเมษายน 2565) ทุกครัวเรือน กำกับดูแลการปรับราคาก๊าซหุงต้มไม่ให้ สูงเกินไป (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2565) ทุกครัวเรือน ลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างและลูกจ้างในระบบประกันสังคม (จากเดิมร้อยละ 5 เหลือร้อยละ 1) นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จำนวน 11.2 ล้านคน ลดอัตราเงินสมทบผู้ประกันตน - มาตรา 39 (จากเดิมร้อยละ 9 เหลือ ร้อยละ 1.9) - มาตรา 40 (ลด 42-180 บาท/เดือน) 1.9 ล้านคน 10.7 ล้านคน 1.2) บูรณาการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากมิจฉาชีพและอาชญากรรมออนไลน์ ตั้งแต่ปี 2564 ถึงวันที่ 28 มีนาคม 2565 สามารถจับกุมดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด 5,517 คดี ผู้ต้องหา 6,348 คน และจับกุมผู้ที่เปิดบัญชีธนาคารที่นำไปใช้ในการกระทำผิดผ่านทางออนไลน์ (บัญชีม้า) 344 ราย (บัญชี) มูลค่าความเสียหายกว่า 869 ล้านบาท และในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2565 ได้มีคำสั่งศาลปิดกั้นเว็บพนันออนไลน์แล้ว 742 URL 1.3) ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ด้อยโอกาส เช่น ช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตรได้รับการลดดอกเบี้ย 976 แห่ง 353,274 ราย และการจัดที่ดินให้เกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน 7,177 ราย 1.4) ปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ประจำปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-31 มีนาคม 2565 มีการกระทำผิด 13,828 คดี (ค่าปรับ 256.35 ล้านบาท) โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา 99,654.420 ลิตร ยาสูบ 2,774,201 ซอง ไพ่ 15,277 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน 564,340 ลิตร น้ำหอม 83,980 ขวด และรถจักรยานยนต์ 815 คัน 1.5) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 (ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565) เช่น ลดเบี้ยปรับหรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระเงินคืน ร้อยละ 100 สำหรับผู้กู้ยืมทุกรายที่ชำระหนี้ปิดบัญชีในครั้งเดียว มีผู้กู้ยืมเงินใช้สิทธิ 6,589 ราย รวมเงินรับชำระหนี้ 355.71 ล้านบาท 2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน 2.1) จัดกิจกรรมทักษะชีวิตวิถีใหม่ เยาวชนไทย สร้างอาหารเป็นโดยส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 15,406 แห่ง โรงเรียน 19,857 แห่ง วัด 21,516 แห่ง มัสยิด 1,463 แห่ง โบสถ์ 1,924 แห่ง และอื่น ๆ 2,769 แห่ง 2.2) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ได้โอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-31 มีนาคม 2565 รวมทั้งสิ้น 24,414.60 ล้านบาท แบ่งเป็นสวัสดิการที่ให้เป็นวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 22,203.58 ล้านบาท และสวัสดิการที่ให้ผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (e-Money) 2,211.02 ล้านบาท 2.3) จ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-31 มีนาคม 2565 รวมทั้งสิ้น 69,010.22 ล้านบาท แบ่งเป็นประเภทเงินจ่ายต่อเนื่องรายเดือน (5 สวัสดิการ) 65,907.29 ล้านบาท และประเภทเงินจ่ายไม่ต่อเนื่อง (2 สวัสดิการ) 3,102.93 ล้านบาท 3) การให้ความช่วยเหลือเกษตรและพัฒนานวัตกรรม 3.1) โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565) เช่น ผลิตสินค้าเกษตรชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพ 23,739 ไร่ และส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมให้ปรับเปลี่ยนสู่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และส่งเสริมอาชีพทางเลือก 805 ราย 3.2) บูรณาการระบบข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและจัดทำข้อมูลทางด้านการเกษตรแบบเปิดเชื่อมโยงกับศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ เช่น (1) พัฒนาชุดโครงสร้างมาตรฐานเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการเกษตรและเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร และ (2) พัฒนา API Engine สำหรับเชื่อมโยงกับกรมที่ดินเพื่อตรวจสอบเอกสารสิทธิพื้นที่เกษตร (น.ส.4) และเชื่อมโยงกับกรมการปกครองเพื่อตรวจสอบข้อมูลบุคคลและครัวเรือน 3.3) ดำเนินโครงการประยุกต์เทคนิคทางรังสีเพื่อพัฒนาสายพันธุ์และคัดเลือกเพศของพืชกัญชงและกัญชา เพื่อศึกษากัญชาและกัญชงพันธุ์กลายที่ให้สารสำคัญสูงขึ้น ได้แก่ สาร Tetrahydrocannabinol (THC) และสาร Cannabidiol (CBD) โดยการฉายรังสีแกมมา คัดเลือกสายพันธุ์และทำนายการผลิตสารสำคัญที่พืชจะสามารถผลิตขึ้นในอนาคตได้อย่าง มีประสิทธิภาพรวมทั้งศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด THC และ CBD เพื่อให้ได้สารสำคัญปริมาณสูงสุดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยมีผลการดำเนินงาน ร้อยละ 45 3.4) ส่งเสริมการใช้ยางพาราในงานถนน ได้นำยางพารามาใช้ในงานก่อสร้างและซ่อมบำรุงโดยการทำผิวทาง ปริมาณยางดิบ 28,934 ตัน และนำยางพารามาใช้ในการปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน โดยใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีตและหลักนำทางยางธรรมชาติ รวม 35,028 ตัน 4) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน 4.1) มอบเงินช่วยเหลือแรงงานไทยกลับจากประเทศยูเครนตั้งแต่วันที่ 2-8 มีนาคม 2565 จำนวน 163 ราย รายละ 15,000 บาท 4.2) จัดทำและวิเคราะห์ข้อมูล Skill Mapping ด้านการผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะและสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานนำร่องใน 4 สายงาน ได้แก่ เกษตรกร Smart SME วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ 4.3) โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ เพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Reskill/Upskill) โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา 60 หลักสูตร 5) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต 5.1) ปรับปรุงแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ได้ปรับปรุงระบบตั๋วโดยสาร งานระบบข้อมูลและงานระบบโทรคมนาคม โดยได้ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อเปลี่ยนถ่ายคลื่นความถี่ จาก 470 MHz ไปยังความถี่ 380 MHz แล้วเสร็จ 5.2) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้ปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างทางขับระยะที่ 1 และลานจอดของศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน มีความก้าวหน้าร้อยละ 75.92 5.3) จัดกิจกรรมชักจูงนักลงทุนเพื่อลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความสนใจอุตสาหกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว และจัดสัมมนาออนไลน์ หัวข้อ ?Investment Opportunities in Advanced Agriculture and Future Food Industry in EEC for Singapore Companies? เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและโอกาสในการลงทุนระหว่างภาคเอกชนไทยและสาธารณรัฐสิงคโปร์ในอุตสาหกรรมเกษตร สมัยใหม่และอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต ตลอดจนเป็นเวทีในการจับคู่ทางธุรกิจของนักลงทุนทั้งสองฝ่าย 5.4) ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2565 จำนวน 107 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 60,362 ล้านบาท 6) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 6.1) โครงการ ?Life Director ผู้กำกับชีวิต (มีออาชีพ)? มุ่งพัฒนาเยาวชนไทย ร่วมสร้างสรรค์สังคมอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงจากภายในจิตใจให้กับเยาวชนจากสภาเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ 200 คน 6.2) โครงการการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อบ่มเพาะเยาวชนให้กับโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เช่น จัดอบรมความรู้ให้แก่ครู คัดเลือกครูแกนนำและโรงเรียนที่จะเป็นต้นแบบในการขยายผลกิจกรรม และสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการภาคเอกชนในการเชื่อมโยงจัดกิจกรรมให้เห็นเส้นทางอาชีพในกลุ่มอุตสาหกรรมในพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาความรู้และทักษะด้าน STEM Education ให้กับครูและนักเรียน 7) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ สกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดบริเวณพื้นที่ชายแดน ในห้วงเดือนมีนาคม 2565 มีการจับกุมผู้กระทำผิด 114 ครั้ง ผู้ต้องหา 124 คน ยึดได้ของกลาง ได้แก่ ยาบ้า 8,229,270 เม็ด ยาอี 13,000 เม็ด ไอซ์ 4,335,376 กิโลกรัม คีตามีน 69 กิโลกรัม ฝิ่น 1.67 กิโลกรัม และกัญชาแห้ง 1,956.031 กิโลกรัม 8) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย 8.1) จัดการน้ำท่วมอุทกภัย ได้ดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น (1) โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช (ก่อสร้างคลองระบายน้ำสาย 3 พร้อมอาคารประกอบ) (2) โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ขุดคลองระบายน้ำหลาก พร้อมอาคารประกอบ) และ (3) โครงการประตูระบายน้ำลำน้ำพุง-น้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร (ก่อสร้างประตูระบายน้ำหัวงาน และอาคารชลประทานตามแนวคลองผันน้ำ) 8.2) เปิดปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้ง ประจำปี 2565 โดยตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงประจำ 5 ภูมิภาค 10 หน่วยปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป 8.3) แจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งใน 23 จังหวัด ตั้งแต่ปลายปี 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 จำนวน 3,676 ครัวเรือน คิดเป็นปริมาณน้ำสะสม 1,837,900 ลิตร 8.4) ให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบพิบัติภัย โดยจัดกำลังพลสำรวจและซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนที่ประสบวาตภัยในพื้นที่ 23 จังหวัด มีบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 1,490 หลังคาเรือน ซ่อมแซมแล้ว 1,395 หลังคาเรือน 7. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนเมษายน 2565 คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนเมษายน 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญ 1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนเมษายน 2565 ดังนี้ ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนเมษายน 2565 เท่ากับ 105.15 (ปี 2562=100) สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 4.65(YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปัจจัยหลักยังคงเป็นราคาพลังงาน อาหารสด และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาอาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น และส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และมาตรการคว่ำบาตร ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิต การค้าและการขนส่ง ราคาสินค้าและบริการในประเทศจึงปรับสูงขึ้น และส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นในที่สุด ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับหลายประเทศที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ราคาต้นทุนหรือราคาหน้าโรงานของไทยที่สูงขึ้นค่อนข้างมาก สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต ที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 12.8 (YOY) ยังไม่ส่งผ่านไปยังราคาขายปลีกมากนัก เนื่องจากมาตรการของภาครัฐ และความต้องการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 โดยมีรายละเอียด สรุปดังนี้ สำหรับสินค้าสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้ออยู่ที่ระดับ 4.65 (YoY) อาทิ ?สินค้าในกลุ่มพลังงาน สูงขึ้นร้อยละ 21.07 ส่งผลให้สินค้าในหมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสาร สูงขึ้นร้อยละ 10.73 โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะปรับสูงขึ้นตาม และหมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 0.98 จากการสูงขึ้นของค่ากระแสไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม ราคาปรับสูงขึ้นเนื่องจากสิ้นสุดมาตรการตรึงราคาและเริ่มปรับราคาสูงขึ้นแบบขั้นบันได 3 ครั้ง ตั้งแต่เดือนเมษายน - มิถุนายน 2565 ?สินค้าในกลุ่มอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 4.83 จากการสูงขึ้นของอาหารสดในกลุ่มปศุสัตว์ อาทิ ไข่ไก่ เนื้อสุกร ไก่สด ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการเลี้ยง ผักสดบางชนิด ซึ่งปรับขึ้นตามสภาพภูมิอากาศ และปริมาณผลผลิต ส่วนน้ำมันพืช ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น นอกจากนี้ อาหารสำเร็จรูปและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น)) ปรับขึ้นเล็กน้อย ?สินค้าอื่น ๆ ที่ปรับสูงขึ้น อาทิ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก น้ำยารีดผ้า) ของใช้ส่วนบุคคล (แชมพู ยาสีฟัน สบู่ถูตัว) เนื่องจากหมดโปรโมชันลดราคาแต่ราคาสินค้ายังไม่เกินช่วงแนะนำ ขณะที่สินค้าจำเป็นอีกหลายรายการราคายังคงลดลง อาทิ ?กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ลดลงร้อยละ 3.64 (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว แป้งข้าวเจ้า) ราคาปรับลดลงตามความต้องการของตลาดและปริมาณผลผลิตที่ออกมากกว่าปีที่ผ่านมา ? กลุ่มผลไม้สด ลดลงร้อยละ 1.05 (ส้มเขียวหวาน มะม่วง กล้วยหอม) เนื่องจากผลไม้ หลายชนิดออกมาพร้อมกัน ผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น ขณะที่ความต้องการมีไม่มากนัก ดังนั้นราคาผลไม้บางประเภทจึงลดลง ? เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.17 (กางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ) เนื่องจากผู้บริโภคระมัดระวังการจับจ่ายใช้สอยมากยิ่งขึ้น ประกอบกับห้างร้านมีการจัดโปรโมชันอย่างต่อเนื่อง ? การศึกษา ลดลงร้อยละ 3.14 ตามค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาที่ปรับลดลงทุกระดับชั้น ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนมีนาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 0.34 (MOM) ซึ่งต่ำกว่าเดือนมีนาคม 2565 ที่อยู่ร้อยละ 0.66 จากราคาของผักสด ผลไม้สด เนื้อสุกร และไข่ไก่ ที่สูงขึ้นเล็กน้อย ขณะที่น้ำมันเชื้อเพลิงราคาปรับลดลง ส่วนอาหารสำเร็จรูปบางรายการราคาสูงขึ้นในอัตราที่น้อยลง ส่วนหนึ่ง เป็นผลจากมาตรการตรึงราคาน้ำมัน และมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการกำกับดูแลราคา และการขอความร่วมมือภาคเอกชนตรึงราคาสินค้า สำหรับดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนเมษายน 2565 สูงขึ้นร้อยละ 12.8 (YoY) ตามต้นทุนการผลิต วัตถุดิบ ค่าขนส่ง และเงินบาทที่อ่อนค่าลง โดยเฉพาะสินค้าในกลุ่มปิโตรเลียม และก๊าซธรรมชาติและสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง รวมถึงผลิตภัณฑ์อาหารและสินค้าเกษตรสำคัญ จากอุปทานที่มีความตึงตัว ขณะที่ความต้องการมีอย่างต่อเนื่อง ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง สูงขึ้นร้อยละ 8.8 (YoY) สูงขึ้นในทุกหมวดสินค้าตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ ทั้งราคาน้ำมัน เหล็ก ถ่านหิน และอลูมิเนียม ที่ปรับสูงขึ้นตามราคาตลาดโลกประกอบกับการลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ผลิต ส่งผลให้สินค้าขาดแคลน ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 45.7 เทียบกับระดับ 43.8 ในเดือนก่อนหน้า เป็นผลจากเศรษฐกิจภายในประเทศได้รับแรงสนับสนุนจากการส่งออกที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ เดือนพฤษภาคม 2565 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากราคน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับมาตรการตรึงราคาและการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ได้สิ้นสุดลงในเดือนเมษายนและปลายเดือนพฤษภาคมนี้ และการปรับราคาสูงขึ้นแบบขั้นบันไดของก๊าซหุงต้ม หรือ LPG ในเดือนเมษายน-มิถุนายน 2565 รวมทั้งสินค้าอุปโภคบริโภคโดยเฉพาะอาหารสดและอาหารสำเร็จรูปยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ นอกจากนี้ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลก มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และพันธมิตร และการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ยังคงเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้เงินเฟ้อของประเทศสูงขึ้นได้ในระยะต่อไป ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด 2. แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565 กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั่วไปของไทย ปี 2565 จะเคลื่อนไหวในกรอบร้อยละ 4.0-5.0 (ค่ากลางอยู่ที่ 4.5) ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง ต่างประเทศ 8. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Economic Ministers: AEM Retreat) ครั้งที่ 28 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Economic Ministers: AEM Retreat) ครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (นายสรรเสริญ สมะลาภา) เข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. การประชุม AEM Retreat ครั้งที่ 28 มีผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้ ประเด็นการประชุม ผลการประชุม (1) ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2565 เห็นชอบมาตรการสำคัญด้านเศรษฐกิจที่กัมพูชาผลักดันในฐานะประธานอาเซียนให้บรรลุผลสำเร็จในปีนี้ ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ความเชื่อมโยงทางดิจิทัล วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี 2) การลดช่องว่างการพัฒนาเพื่อความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน 3) การส่งเสริมการบูรณาการการมีส่วนร่วม ความยืดหยุ่น และความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน 4) การเป็นส่วนสำคัญของประชาคมโลกเพื่อการเติบโตและการพัฒนา โดยเฉพาะประเด็นการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และการเร่งรัดให้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) มีผลใช้บังคับกับทุกประเทศโดยเร็ว (2) การประกาศเริ่มเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA) เห็นชอบในหลักการต่อเอกสารข้อเสนอแนวทางการเจรจายกระดับ ATIGA และขอบเขตการดำเนินงานของคณะเจรจายกระดับ ATIGA โดยเอกสารข้อเสนอแนวทางการเจรจายกระดับ ATIGA จะไม่เป็นการตัดสินผลลัพธ์ของการเจรจาล่วงหน้าซึ่งประเทศสมาชิกสามารถเพิ่มหรือลดประเด็นที่จะเจรจาในขั้นตอนการเจรจาได้ ทั้งนี้ การเจรจายกระดับ ATIGA จะต้องสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เอื้อต่อการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญความท้าทาย และประเด็นการค้าใหม่ ซึ่งไทยแจ้งว่าต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการภายในประเทศและจะแจ้งยืนยันการให้การรับรองเอกสารดังกล่าวเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ (3) การขยายอายุของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการดำเนินการมาตรการที่มิใช่ภาษีสำหรับสินค้าจำเป็นภายใต้แผนปฏิบัติการฮานอยว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนให้เข้มแข็งในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (MoU) และการขยายบัญชีรายการสินค้าจำเป็นภายใต MoU ? เห็นชอบในหลักการของการขยายอายุบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่ระบุว่าอาเซียนจะไม่ใช้หรือออกมาตรการที่มิใช่ภาษีที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียนและความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ออกไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2567 ? เร่งรัดการพิจารณารายการสินค้าจำเป็นที่ขยายเพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 3 อย่างน้อย 100 รายการ โดยไทยขอให้มีการประเมินผลกระทบต่อการค้าก่อนพิจารณาการขยายอายุ MoU ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565 และพิจารณาขยายรายการสินค้าจำเป็นเพิ่มเติมก่อนที่จะเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 2 ในเดือนมิถุนายน 2565 และที่ประชุม AEM ครั้งที่ 54 ในเดือนกันยายน 2565 ต่อไป (4) การทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน - อินเดีย (ASEAN-India Trade in Goods Agreement: AITIGA) ? รับทราบสถานะล่าสุดที่อาเซียนกับอินเดียสามารถสรุปขอบเขตของการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย และขอให้ประเทศสมาชิกเร่งดำเนินกระบวนการภายในประเทศเพื่อเตรียมเสนอให้รัฐมนตรีพิจารณาให้การรับรองในลักษณะแบบเวียนโดยเร็ว ? มอบหมายเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนหารือกับฝ่ายอินเดียในการกำหนดเวลาประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-อินเดีย รอบพิเศษ เพื่อประกาศเริ่มการทบทวนความตกลง AITIGA ต่อไป (5) ยุทธศาสตร์ด้านความ สัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศนอกอาเซียน และแนวทางเจรจาในประเด็นใหม่ สนับสนุนแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ ได้แก่ การเพิ่มช่องทางการเจรจา การขยายความร่วมมือ และการยกระดับความเป็นหุ้นส่วน เพื่อประโยชน์ร่วมกันกับประเทศต่าง ๆ โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลางเพื่อแสดงบทบาทเชิงรุกทั้งในเวทีภูมิภาคและเวทีโลก ทั้งนี้ อาจพิจารณาถึงบทบาทและการมีส่วนร่วมของแต่ละประเทศในการสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของอาเซียนในอนาคต รวมทั้งประเด็นใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นจากการยกระดับความตกลงการค้าเสรีของอาเซียนกับคู่เจรจา เช่น 1) การพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล 3) แรงงาน 4) สิ่งแวดล้อม และ 5) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (6) การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค (APEC 2022) ของประเทศไทย ไทยแจ้งที่ประชุมเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ภายใต้แนวคิด ?เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล? (Open Connect Balance) ซึ่งเชื่อมโยงกับแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับประเด็นที่อาเซียนให้ความสำคัญในปีนี้ (7) สถานการณ์รัสเซีย ? ยูเครน ? หารือเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนที่มีต่ออาเซียน ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงไม่มากเนื่องจากมูลค่าการค้าระหว่างอาเซียนและรัสเซียอยู่ในระดับต่ำ แต่อาจมีผลกระทบปานกลางกับประเทศอาเซียนที่มีการนำเข้าวัตถุดิบหลักจากรัสเซีย เช่น เชื้อเพลิง แร่และโลหะ เหล็กและเหล็กกล้า ที่อาจกระทบต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน นอกจากนี้ อาเซียนอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ความผันผวนของตลาดการเงิน และการขาดช่วงของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจของอาเซียนฟื้นตัวได้ช้าลง ? ไทยเสนอให้อาเซียนดำเนินการร่วมกันทั้งในเรื่องการเปิดตลาดสินค้า การอำนวยความสะดวกทางการค้า และความร่วมมือทางด้านพลังงาน เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในภูมิภาค 2. การหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council: ASEAN-BAC) มีการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญและได้ดำเนินการในปี 2565 โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนสนับสนุนการดำเนินงานของภาคธุรกิจในประเด็นสำคัญในปี 2565 เช่น (1) การอำนวยความสะดวกทางการค้า (2) ความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน (3) การเตรียมความพร้อมอาเซียนเพื่อก้าวไปสู่สังคมดิจิทัล และ (4) การรับมือผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของ โควิด-19 โดยเฉพาะโครงการ Digital Trade Connect ที่เริ่มโดยภาคเอกชนไทย เมื่อปี 2562 ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาช่องทางเครือข่ายการค้าดิจิทัล และโครงการ Digital Travel Wallet ซึ่งมุ่งเน้นการนำดิจิทัลมาช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางร่วมกันในอาเซียนในช่วงการฟื้นตัวจากโควิด-19 3. พณ. มีความเห็น/ข้อสังเกต ดังนี้ 3.1 สมาชิกส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนการขยายบัญชีรายการสินค้าจำเป็น ครั้งที่ 3 ภายใต้ MoU ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 8 ประเทศ ยื่นรายการสินค้าเบื้องต้นแล้ว ยกเว้นไทยและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์* ทั้งนี้ พบว่าอาเซียนใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีกับสินค้าภายใต้ MoU ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 กับสินค้า 226 รายการ จากทั้งหมด 259 รายการ ซึ่งรวมถึงมาตรการของไทยในสินค้า 8 รายการ แสดงให้เห็นว่า MoU ดังกล่าวไม่ได้ตัดสิทธิ์สมาชิกอาเซียนในการใช้หรือออกมาตรการที่มิใช่ภาษี โดยเป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนที่จะร่วมมือกันในช่วงโควิด-19 และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย สมาชิกยังสามารถใช้หรือออกมาตรการที่มิใช่ภาษีได้เช่นเดิมหากมาตรการดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับพันธกรณีความตกลง ATIGA และ WTO ซึ่งจะสามารถลดข้อกังวลของ บางหน่วยงานในการใช้มาตรการที่จำเป็นได้ ทั้งนี้ ไทยอาจพิจารณาขยายรายการสินค้าภายใต้ MoU เพิ่มเติมได้โดยพิจารณาจากเจตนาและผลในทางปฏิบัติที่เกิดจาก MoU เดิมและเน้นสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 เช่น สินค้าเวชภัณฑ์ ยา และวัคซีน 3.2 อาเซียนอยู่ระหว่างการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีหลายฉบับ โดยปัจจุบันสามารถสรุปเอกสารหลักการการเจรจายกระดับความตกลงแล้วเสร็จ 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ความตกลง ATIGA และ (2) ความตกลง AITIGA และอยู่ระหว่างสรุปแผนการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ภายในเดือนกันยายน 2565 ซึ่งไทยอยู่ระหว่างจัดทำกรอบการเจรจาการค้าเสรีของไทยภายใต้การเจรจาอาเซียนและอาเซียนกับคู่เจรจาฉบับใหม่ เพื่อทดแทนกรอบการเจรจาอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่มฉบับเดิมที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2552 โดยเพิ่มประเด็นเจรจาใหม่ ๆ ให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากความตกลงแต่ละฉบับมีรูปแบบและองค์ประกอบประเด็นการเจรจาที่เกิดขึ้นใหม่และขอบเขตเกินกว่ากรอบการเจรจาที่มีอยู่ โดย พณ. จะเสนอคณะรัฐมนตรีก่อนที่ไทยจะเข้าร่วมในการเจรจาต่อไป 1ฟิลิปปินส์แจ้งว่าอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานภายในและใกล้จะได้ข้อสรุปเพื่อส่งให้สำนักเลขาธิการอาเซียน 9. เรื่อง ร่างกรอบการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านระหว่างสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกกับราชอาณาจักรไทย (Partnership and Cooperation Framework Agreement: PCA) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกรอบการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านระหว่างสหภาพยุโรป (European Union - EU) และรัฐสมาชิกกับราชอาณาจักรไทย (ร่างกรอบการเจรจาฯ) (Partnership and Cooperation Framework Agreement: PCA) และให้คณะผู้แทนฝ่ายไทยสามารถใช้ร่างกรอบการเจรจาฯ กำหนดท่าทีในการเจรจากรอบความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้านระหว่าง EU และรัฐสมาชิกกับราชอาณาจักรไทย (กรอบความตกลงฯ) รวมทั้งรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยในการเจรจากรอบความตกลงฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง กต. รายงานว่า 1. เมื่อเดือนตุลาคม 2562 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแห่งสหภาพยุโรปด้านการต่างประเทศ (Foreign Affairs Council: FAC) ได้มีมติให้ EU เพิ่มพูนความสัมพันธ์กับประเทศไทย โดยย้ำถึงการเตรียมการให้มีการลงนามกรอบความตกลงฯ ซึ่งต่อมาฝ่ายไทยและ EU เห็นพ้องที่จะรื้อฟื้นและเริ่มการเจรจารอบใหม่เพื่อปรับปรุง แก้ไข และเพิ่มเติมประเด็นในร่างกรอบความตกลงฯ ฉบับที่ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามย่อไว้เมื่อปี 2556 เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการระหว่างประเทศและสาขาความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายในช่วงที่ผ่านมา โดยปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการเตรียมการเจรจาจัดทำกรอบความตกลกดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง 2. กต. ได้จัดการประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและหน่วยงานภายใน กต. เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นมาอย่างต่อเนื่อง และได้ปรับปรุงร่างกรอบการเจรจาฯ ให้สอดคล้องกับข้อคิดเห็นของหน่วยงานดังกล่าวแล้ว รวมทั้งได้ประชุมหารือและแลกเปลี่ยนร่างกรอบการเจรจาฯ กับฝ่าย EU จนได้ข้อยุติแล้ว 3. ร่างกรอบการเจรจาฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น รายละเอียด วัตถุประสงค์ 1. กำหนดทิศทางความสัมพันธ์และความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ระหว่างประเทศไทยกับ EU บนพื้นฐานของผลประโยชน์และค่านิยมร่วม 2. ยกระดับความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายให้ใกล้ชิดและครอบคลุมในทุกมิติมากขึ้น 3. ส่งเสริมศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลและกระแสการพัฒนาของโลก 4. แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของประเทศไทยในการเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดและไว้ใจได้ของ EU ผ่านการยึดถือค่านิยมที่เป็นสากลร่วมกัน เช่น หลักประชาธิปไตย เสรีภาพ สิทธิมนุษยชน และหลักนิติธรรม เป้าหมายการเจรจา 1. เจรจาให้ได้ประโยชน์ในภาพรวมสูงสุดกับประเทศไทย โดยให้สาระของกรอบความตกลงฯ สอดคล้องกับกฎหมายภายใน สนธิสัญญาและตราสารทางกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องที่มีผลบังคับใช้กับประเทศไทย รวมถึงพันธกรณีระหว่างประเทศของประเทศไทย 2. มีขอบเขตความร่วมมือแบบกว้างและยืดหยุ่นเพียงพอสำหรับใช้เป็นกรอบในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างภาคีในอนาคต 3. มีกลไกระงับข้อพิพาทที่เบ็ดเสร็จสมบูรณ์เป็นเอกเทศในตัว โดยการหารือเพื่อทางออกที่เห็นพ้องร่วมกัน และเป็นไปตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ 4. คำนึงถึงระดับการพัฒนา หลักการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน มีภูมิคุ้มกันและความพร้อมอย่างรอบด้านของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกรอบความตกลงฯ 5. ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมกันนำกรอบความตกลงฯ ไปสู่การปฏิบัติ มีระยะเวลาในการปรับตัวและสามารถจัดเตรียมมาตรการรองรับให้การดำเนินการตามกรอบความตกลงฯ เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สาระของกรอบความตกลงฯ ขอบเขตความร่วมมือ ประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ร่วมกันและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง โดยจะร่วมมือกันทั้งในระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค และระดับพหุภาคี ตามแต่จะมีการตกลงกันในแต่ละประเด็น ทั้งนี้ การเจรจาเพื่อปรับเปลี่ยนขอบเขตของประเด็นการเจรจา ถ้อยคำ และสาระให้เหมาะสมนั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบและยินยอมของหน่วยงานเจ้าของเรื่องที่เกี่ยวข้อง รูปแบบความร่วมมือ 1. การจัดตั้งกลไกการหารือในสาขาต่าง ๆ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่าย 2. การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในสาขาต่าง ๆ 3. การสนับสนุนการปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่มีอยู่ของแต่ละฝ่าย 4. ความร่วมมืออื่น ๆ ตามที่มีการเจรจาตกลงและระบุในกรอบความตกลงฯ ซึ่งรวมถึงความตกลงหรือพิธีสารเฉพาะอื่น ๆ ด้วย เช่น พิธีสารเกี่ยวกับความร่วมมือด้านศุลกากร และความตกลงเกี่ยวกับการรับกลับ (Readmission) กลไกการติดตาม จัดตั้งคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ระหว่างฝ่ายไทยกับ EU เพื่อทบทวนและพิจารณาการปฏิบัติตามกรอบความตกลงฯ การตีความกรอบความตกลงฯ ตลอดจนกลไกการระงับข้อพิพาทภายใต้ขอบเขตของกรอบความตกลงฯ นอกจากนี้ กลไกนี้จะทดแทนการประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงไทย - EU (Thai - European Union Senior Officials? Meeting) ซึ่งเป็นกลไกการหารือภาพรวมความสัมพันธ์ในรอบปีระหว่างประเทศไทยกับ EU ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ผู้ประสานงานกลาง (ฝ่ายไทย) กต. โดยหารือกับหน่วยงานเจ้าของเรื่องที่เกี่ยวข้อง และมีบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติตามสาขาความร่วมมือกับฝ่าย EU ตามที่ระบุในกรอบความตกลงฯ สำหรับการปฏิบัติตามกรอบความตกลงฯ EU อาจประสานไปยังหน่วยงานเจ้าของเรื่องโดยตรงหรือผ่านวิถีทางการทูต ขอบเขตประเด็น ความร่วมมือภายใต้ กรอบความตกลงฯ 1. การแสดงเจตนารมณ์ของความร่วมมือและหลักการระดับสากลในภาพรวมที่ทั้งสองฝ่ายยึดมั่น เช่น หลักการประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน เป็นต้น 2. ความร่วมมือในสาขาความมั่นคง 3. ความร่วมมือระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค และระดับพหุภาคี ซึ่งรวมถึงองค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ เช่น องค์การสหประชาชาติ องค์การการค้าโลก เป็นต้น 4. ความร่วมมือในประเด็นการค้าและการลงทุน และนโยบายเศรษฐกิจการคลังอื่น ๆ เช่น มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ระบบอาหารที่ยั่งยืน เป็นต้น 5. ความร่วมมือในประเด็นเสรีภาพ ความมั่นคง และการยุติธรรม เช่น ความร่วมมือด้านนิติธรรม (Rule of Law) ความเท่าเทียมทางเพศและการเสริมพลังสตรี การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและความเป็นส่วนตัว เป็นต้น 6. ความร่วมมือในประเด็นอื่น ๆ เช่น สิทธิมนุษยชน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ความมั่นคงทางไซเบอร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น 7. แหล่งที่มาของทรัพยากรเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือ และความร่วมมือด้านการพัฒนาในประเทศที่สาม 8. การจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อเป็นกลไกเชิงสถาบันในการขับเคลื่อนการปฏิบัติตามกรอบความตกลงฯ รวมถึงกลไกระงับข้อพิพาท 9. ประเด็นความร่วมมืออื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันและไม่ขัดกับหลักการและบทบัญญัติกฎหมายของประเทศไทยที่มีอยู่ ตลอดจนพันธกรณีภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศของประเทศไทย การระงับข้อพิพาท กรณีภาคีไม่ปฏิบัติตามกรอบความตกลงฯ การระงับข้อพิพาทจะกระทำตามหลักสากลตามกฎหมายระหว่างประเทศโดยเปิดโอกาสให้ทั้งสองฝ่ายได้หารือเพื่อหาทางออกที่เห็นพ้องต้องกันภายใต้กลไกคณะกรรมการร่วมหรือในกรณีที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความจำเป็นต้องบังคับใช้มาตรการใด ๆ กับภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง มาตรการดังกล่าวจะต้องเหมาะสม พอสมควรแก่เหตุ และกระทบต่อวัตถุประสงค์ในการจัดทำความตกลงนี้น้อยที่สุด 10. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คณรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ไทย ? สปป.ลาว เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 ? 2569) ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว รวมทั้งอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ร่วมลงนามกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สปป.ลาว ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลังตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการต่างประเทศ สปป. ลาว ได้ร่วมกันจัดทำร่างแผนปฏิบัติการว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ไทย - สปป. ลาวฯ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ 1. ร่างแผนปฏิบัติการว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ไทย - สปป. ลาวฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความสัมพันธ์ไทย - สปป. ลาว เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เพื่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569) เป็นแนวทางในระดับนโยบายเพื่อขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ฯ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายให้กระชับความร่วมมือสำคัญ ได้แก่ (1) การเมืองความมั่นคงที่เข้มแข็ง (2) เครษฐกิจเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูที่มั่นคงและยั่งยืน (3) การพัฒนาอย่างยั่งยืน และ (4) ความสัมพันธ์ระดับประชาชนที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กระทรวการต่างประเทศ สปป. ลาว อยู่ระหว่างจัดทำร่างแผนปฏิบัติการฯ ฉบับภาษาลาว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศจะตรวจสอบเนื้อหาให้สอดคล้องกับฉบับภาษาไทยต่อไป 2. โดยที่ร่างแผนปฏิบัติการว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ไทย - สปป. ลาวฯ เป็นเอกสารผลลัพธ์การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี สปป. ลาว ที่แสดงวิสัยทัศน์และเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะส่งเสริมและยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ สปป. ลาว ในสาขาความร่วมมือตามนัยข้อ 1 โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างเอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178ของรัฐธรรมนูญฯ ทั้งนี้การเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี สปป. ลาว ระหว่างวันที่ 1 ? 2 มิถุนายน 2565 จะช่วยกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับ สปป. ลาว ในฐานะประเทศเพื่อนบ้านที่ใกล้ชิดและหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ รวมทั้งกำหนดแนวทางเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมและวัฒนธรรมให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนของทั้งสองประเทศ 11. เรื่อง การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 15 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศสมัยที่ 10 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 10 ในรูปแบบ face-to-face คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคี 3 อนุสัญญาในรูปแบบ face-to-face และเห็นชอบต่อกรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคี 3 อนุสัญญาในรูปแบบ face-to-face ทั้งนี้หากมีข้อเจรจาใดที่นอกเหนือจากกรอบการเจรจาฯ และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (Legally binding) ต่อประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่จนสิ้นสุดการประชุมรัฐภาคี 3 อนุสัญญา ในรูปแบบ face-to-face ในวันที่ 17 มิถุนายน 2565 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. องค์ประกอบคณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคี 3 อนุสัญญาในรูปแบบ face-to-face ระหว่างวันที่ 6 - 17 มิถุนายน 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ประกอบด้วย อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย ประธานอนุกรรมการอนุสัญญา 3 คณะ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะอนุกรรมการฯ และผู้แทนกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสิ้น 21 คน 2. กรอบการเจรจาของประเทศไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคี 3 อนุสัญญา ในรูปแบบ face-to-face ประกอบด้วย 1) สนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักการและจุดมุ่งหมายของ 3 อนุสัญญา คือ (1) อนุสัญญาบาเซลฯ การคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากของเสียอันตราย โดยให้มีการขอความยินยอมล่วงหน้า กล่าวคือ ก่อนการนำเข้า ส่งออก และนำผ่านของเสียอันตรายไปยังประเทศอื่นจะต้องแจ้งรายละเอียดและขออนุญาต ตามขั้นตอนจากหน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศที่เกี่ยวข้องก่อนการขนส่งเพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตราย (2) อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ การส่งเสริมความร่วมมือและรับผิดชอบระหว่างประเทศในเรื่องการค้าสารเคมีอันตรายบางชนิด รวมทั้งปกป้องสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากอันตรายของสารเคมีและส่งเสริมการใช้สารเคมีอย่างไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยอำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของสารเคมี ให้มีการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าก่อนการนำเข้า - ส่งออกให้แก่ประเทศภาคีสมาชิกอนุสัญญาฯ (3) อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ การคุ้มครองสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยการลดและเลิกการผลิตและการใช้ และการปลดปล่อยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน ซึ่งเป็นกลุ่มสารประกอบอินทรีย์ที่ย่อยสลายได้ยาก มีคุณสมบัติเป็นพิษ สะสมในสิ่งมีชีวิต ตกค้างยาวนานและสามารถเคลื่อนย้ายได้ไกลในสิ่งแวดล้อม 2) คำนึงถึงสภาพการณ์ต่าง ๆ และความต้องการจำเพาะของประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะความจำเป็นที่จะต้องเพิ่มขีดความสามารถในระดับประเทศด้านการจัดการสารเคมีและของเสียอันตรายอย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตลอดวงจร โดยผ่านการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคและทางด้านการเงิน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคีต่าง ๆ 3) คำนึงถึงขีดความสามารถและสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของแต่ละประเทศในการดำเนินตามอนุสัญญาบาเซลฯ อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ และอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ และสะท้อนหลักการ ความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน 4) สนับสนุนความร่วมมือและการบูรณาการร่วมกันในการดำเนินงานตามพันธกรณี ข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องที่ประเทศไทยเป็นภาคี ข้อตกลงที่สอดคล้องกับศักยภาพ และขีดความสามารถของประเทศ 5) สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้แถลงต่อรัฐสภา ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) ซึ่งขยายการบังคับใช้แผนถึง พ.ศ. 2565 นโยบายและแผนการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2580 แผนปฏิบัติการด้านการจัดการสารเคมี พ.ศ. 2562 - 2565 และแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 - 2570 (เกี่ยวข้องกับอนุสัญญาบาเซลฯ) 12. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย ? แปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพร่วมกับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ จัดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 (Second Asia-Pacific Regional Education Minister's Conference on SDG4-Education 2030 : APREMC-II) ระหว่างวันที่ 5 -7 มิถุนายน 2565 ณ กรุงเทพมหานคร โดยใช้งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ 2. เห็นชอบร่างถ้อยแถลงของการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 พร้อมคำแปล 3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นผู้ให้การรับรองในร่างถ้อยแถลงของการประชุมดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างถ้อยแถลงของการประชุม นอกเหนือจากสิ่งที่ปรากฏในสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงศึกษาธิการสามารถดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว สาระสำคัญของเรื่อง 1. สาระสำคัญที่จะมีการหารือในการประชุม APREMC-II ประกอบด้วย 1) การทบทวนความก้าวหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (SDG4) ในระยะ 7 ปีที่ผ่านมาของประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงปัญหาท้าทายในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDG4 ของภูมิภาค เน้นประเด็นปัญหาที่เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และการรับมือ การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้นโยบาย แนวปฏิบัติและนวัตกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อการฟื้นฟูและการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาภายหลังโควิด-19 2) การอภิปรายและให้ข้อคิดเห็นต่อการดำเนินการภายใต้ 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ (1) การพื้นฟูการเรียนรู้และวิกฤตด้านการศึกษา เช่น การพัฒนาหลักสูตร แนวทางการเรียนการสอนและการประเมินผล การพัฒนาครู การศึกษาปฐมวัย การเรียนรู้และพัฒนาทักษะในผู้ใหญ่ และการอุดมศึกษา (2) การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา เช่น การศึกษาที่เท่าเทียมและครอบคลุมทุกกลุ่ม การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล การศึกษาแบบองค์รวมที่มีความยืดหยุ่น และอนาคตทางการศึกษา และ (3) การเพิ่มการลงทุนด้านการศึกษาและพัฒนาการเปลี่ยนแปลง เช่น การจัดสรรงบประมาณ และฐานข้อมูลและการติดตามผล 3) การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมซึ่งเป็นถ้อยแถลงของรัฐมนตรีศึกษา (Ministerial Statement) แสดงถึงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะเร่งผลักดันความก้าวหน้าด้านการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย SDG4 รวมถึงการดำเนินการตามแผนที่นำทาง (Roadmap) ระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเพื่อให้ บรรลุเป้าหมาย SDG4 โดยยูเนสโกจะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาจัดทำร่างเอกสารดังกล่าว และเวียนให้ประเทศต่าง ๆ พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป (จะมีการรับรองเอกสารโดยไม่ลงนามในวันที่ 7 มิถุนายน 2565) 2. ขั้นตอนการดำเนินการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการจัดการประชุม APREMC-II ร่วมกับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ โดยประสานความร่วมมือกับองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) การหารือร่วมกับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ เพื่อเตรียมการด้านสารัตถะการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และการประสานงานต่าง ๆ 2) การประมาณการและจัดเตรียมงบประมาณ 3) การหารือร่วมกับองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน 4) การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ 3. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APREMC-II เป็นการแสดงศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยที่จะพัฒนาด้านการศึกษา ท่ามกลางบริบทของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและปัญหาท้าทายมากมาย โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อการศึกษา ดังนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยที่จะได้มีบทบาทเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในการบรรลุเป้าหมาย SDG4 ตลอดจนเป็นการสานต่อความต่อเนื่องวาระด้านการศึกษาระดับโลกที่สำคัญ และการกำหนดแผนงานการศึกษาในอนาคตระดับภูมิภาค 13. เรื่อง รายงานผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย ? มาเลเซีย ครั้งที่ 55 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอรายงานผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย - มาเลเซีย ครั้งที่ 55 พร้อมวีดิทัศน์ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป สาระสำคัญของเรื่อง 1. ที่ประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย - มาเลเซีย ครั้งที่ 55 ได้ปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทบทวนและประเมินผลของการปฏิบัติการร่วมตามบันทึกการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย - มาเลเซีย ครั้งที่ 54 ณ กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 15 ถึงวันที่ 16 มีนาคม 2561 ซึ่งความสัมพันธ์และความร่วมมือของทั้งสองประเทศได้ก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม สามารถแก้ไขปัญหาและเสริมสร้างความมั่นคงตามชายแคนของทั้งสองประเทศ ทำให้พื้นที่บริเวณชายแดนมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม โดยมีมติที่ประชุมที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1) เพิ่มพูนการแลกเปลี่ยนข่าวสารและข่าวกรองทุกระดับอย่างต่อเนื่องและแน่นแฟ้น 2) หาแนวทางเพิ่มประสิทธิผลของการปฏิบัติการร่วมตามแนวชายแดนเพื่อป้องกันอาชญากรรมและการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 3) ดำรงแผนปฏิบัติการโดยมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับความร่วมมือ 2 ฝ่าย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงบริเวณชายแดน 4) ปฏิบัติการประสานงานด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทา ภัยพิบัติตามแนวชายแดนด้วยความแน่นแฟ้น 5) จัดการฝึกร่วม/ผสม ไทย - มาเลเชีย โดยธำรงไว้ซึ่งแนวคิดการฝึกด้านการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและการบรรเทาภัยพิบัติ และประเมินผลการใช้ระเบียบปฏิบัติประจำและหลักนิยม รวมทั้งเชิญประเทศสมาชิกอาเซียนหรือมิตรประเทศเข้าร่วม ในฐานะผู้เข้าร่วมการฝึกหรือผู้สังเกตการณ์ 2. การเข้าเยี่ยมคำนับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมาเลเซีย ทั้งสองฝ่ายมีความยินดีที่สามารถกลับมาจัดประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย - มาเลเซีย ได้อีกครั้ง โดยมีการหารือร่วมกันในเรื่องความร่วมมือชายแดน ทั้งการก่อสร้างรั้วเดี่ยวร่วม ณ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา การก่อสร้างถนนเชื่อมต่อระหว่างด่านสะเดาแห่งใหม่กับด่านบูกิตกาฮิตัม การจัดตั้งจุดลาดตระเวนร่วมแห่งใหม่เพิ่มเติมในพื้นที่ชายแดนไทย - มาเลเซีย ปัญหาบุคคลสองสัญชาติ ตลอดจนปัญหาความขัดแย้งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย โดยฝ่ายไทยขอบคุณมาเลเซียที่มีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ในการอำนวยความสะดวกต่อกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายมีความประสงค์ที่จะดำรงความต่อเนื่องของความร่วมมือในการรักษาความมั่นคงบริเวณช่องแคบมะละกา โดยจะเสนอให้มีการประชุมในระดับนโยบาย ระหว่าง 4 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และไทย รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น แต่งตั้ง 14. เรื่อง ขอความเห็นชอบการปรับปรุงชื่อ องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 (เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น) ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้ 1. ปรับปรุงชื่อของคณะกรรมการ จาก ?คณะกรรมการบริหารโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น? เป็น ?คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลสถาบันไทยโคเซ็น? 2. ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป องค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลสถาบันไทยโคเซ็น ที่เสนอปรับปรุงในครั้งนี้ มีดังนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล เป็นที่ปรึกษา ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นรองประธานกรรมการ นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ นายผดุงศักดิ์ รัตนเดโช นายพินิติ รตะนานุกูล นายกิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย นายรัตติกร วรากูลศิริพันธุ์ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ และนายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการประกอบด้วย หัวหน้าผู้แทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น สำนักงานประเทศไทย ประธานหอการค้าญี่ปุ่น ? กรุงเทพฯ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งสถาบันไทยโคเซ็น สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการและเลขานุการ และเจ้าหน้าที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จำนวน 2 คน เป็นผู้ช่วยเลขานุการ อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลสถาบันไทยโคเซ็น ที่เสนอปรับปรุงในครั้งนี้ มีดังนี้ 1. กำหนดเป้าหมาย นโยบาย และทิศทางในการพัฒนาสถาบันไทยโคเซ็น เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2. กำหนดแผนงานบริหารโครงการและงบประมาณในภาพรวมให้เป็นไปตามนโยบายและทิศทางการพัฒนาสถาบันไทยโคเซ็น 3. กำกับดูแลการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลโครงการสถาบันไทยโคเซ็น 4. ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่ายและบูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดการพัฒนากำลังคนในการพัฒนาประเทศให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนด้านอุดมศึกษา เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ 5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเพื่อกระทำการใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลสถาบันไทยโคเซ็น รวมทั้งมอบอำนาจให้คณะอนุกรรม การ คณะทำงาน หรือบุคคลดังกล่าวทำการแทนแล้วรายงานให้คณะกรรมการทราบ 6. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย 15. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้แทนชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้แทนชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว จำนวน 2 คน แทนกรรมการผู้แทนชุดเดิมที่ขอลาออก และแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่มีอายุเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ตามลำดับ ดังนี้ 1. นายศักดา เนติพัฒน์ กรรมการผู้แทนชุมชนฯ 2. นายจักร บุญ - หลง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว 16. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 2 คน แทนกรรมการอื่นเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้ 1. รองศาสตราจารย์วรสัณฑ์ บูรณากาญจน์ 2. นางนันท์ฐิตา ศิริคุปต์ ผู้แทนกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว 17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี จำนวน 5 ราย ดังนี้ 1. จ่าเอก ยศสิงห์ เหลี่ยมเลิศ 2. สิบเอก คิมหันต์ ตลับนาค 3. นายพิศณุพงศ์ สิทธิโชคแก้วมูล 4. นายอริย์ธัช ชาติอาริยะพงศ์ 5. นายอานนท์ แสนน่าน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป