สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 มิถุนายน 2565

ข่าวการเมือง Tuesday June 7, 2022 17:28 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (7 มิถุนายน 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม กระทรวง                                                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวม 4 ฉบับ
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้องเป็นไปตามมาตรฐาน

พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ

                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลห้วยแย้
                                        ตำบลวังตะเฆ่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองบัวระเหว และตำบลชีบน อำเภอ                                                  บ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล                                        กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ-สังคม
                    6.           เรื่อง           สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน

ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

                    7.           เรื่อง            ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ

ณ เดือนเมษายน 2565

                    8.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2565
                    9.           เรื่อง            สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์

พ.ศ. 2565

                    10.           เรื่อง           ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2502 เรื่อง การเดินรถขนส่ง                                                  ต่างจังหวัด เพื่อให้บริษัท ขนส่ง จำกัด มีภารกิจด้านการขนส่งสินค้าและ

พัสดุภัณฑ์

                    11.           เรื่อง           การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการ

บ้านล้านหลัง ระยะที่ 2)

                    12.           เรื่อง           รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2565
                    13.           เรื่อง           รายงานความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร                                         ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 - 2570)
                    14.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน
                    15.           เรื่อง           (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570)
                    16.           เรื่อง           โครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของ                                                  ประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำเรียนฟรี มีอาชีพ)
                    17.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง                                         รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์                                        ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ                                                   ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 รวม 62 วัน                                                      (ห้วงที่ 3 - 4)




ต่างประเทศ
                    18.           เรื่อง            การพิจารณาเพิ่มราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือ                                                  เดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการ                                                  ชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ใน                                                            ราชอาณาจักรไม่เกิน 30 วัน (ผ.30)
                    19.            เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 26 การประชุม                                                  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 8 และ                                        การประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    20.           เรื่อง            การต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านโทรคมนาคมเทคโนโลยี                                                  สารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อ                                                  เศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและ                                                            โทรคมนาคมแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์
                    21.            เรื่อง            การเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรี                                                  แห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA)
                    22.            เรื่อง           ขอความเห็นชอบท่าทีไทยเพิ่มเติมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้า                                        โลกสมัยสามัญ  ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    23.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญา (Final Declaration) สำหรับการประชุม                                                  ระดับสูงว่าด้วยทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ ?น้ำสำหรับ
                                        การพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018 - 2028 ครั้งที่ 2  (The Second High - Level                                         International Conference on the International Decade for Action                                                   ?Water for Sustainable Development? , 2018 - 2028 หรือ Second                                                   Dushanbe Water Action Decade Conference)
แต่งตั้ง
                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    26.           เรื่อง           แต่งตั้งอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์                                                  ทางการ) ประจำปี 2565 (ฮ.ศ. 1443)
?
กฎหมาย
1. เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการของหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวม 4 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ 1. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. 2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ?. 3. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ?. 4. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. รวม 4 ฉบับของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวง รวม 4 ฉบับดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

ทั้งนี้ สคก. เสนอว่า ทส. ได้ส่งร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ รวม 4 ฉบับ เพื่อปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมการแบ่งส่วนราชการ หน้าที่และอำนาจของสำนักงานปลัดกระทรวง กรมควบคุมมลพิษ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทส. เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจที่เพิ่มขึ้น และเหมาะสมกับสภาพงานที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้มีมติเห็นชอบแล้ว ให้ สคก. ตรวจพิจารณา สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวง ทั้ง 4 ฉบับดังกล่าวเสร็จแล้ว โดยสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. และสำนักงาน ก.พ.ร.) กระทรวงการคลัง และ ทส. (สำนักงานปลัดกระทรวง) ได้มีหนังสือยืนยันให้ความเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวง รวม 4 ฉบับดังกล่าวแล้ว

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

1. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง ทส. พ.ศ. 2560 โดยมีการตัดโอนสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 ? 16 และภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 ? 16 ไปเป็นของกรมควบคุมมลพิษ

                     2. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ?. เป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมควบคุมมลพิษ ทส. โดยมีการตัดโอนสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 ? 16 จากสำนักงานปลัดกระทรวง ทส. มาเป็นของกรมควบคุมมลพิษ และเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 1 ? 16 พร้อมทั้งปรับปรุงภารกิจเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ                ที่เพิ่มขึ้น และเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป
                    3. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ?. เป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทส. โดยปรับปรุงภารกิจและเปลี่ยนชื่อ               กองพัฒนาระบบการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็น กองพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และกองวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็น กองประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป
                    4. ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ            กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทส. โดยปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมจากสำนักส่งเสริมการมี              ส่วนร่วมของประชาชน เป็น ?กองส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน? เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพของงานที่เปลี่ยนแปลงไป

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไนทรัสออกไซด์ทางการแพทย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ?. 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมออกซิเจนทางการแพทย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ?. รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้

                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง รวม 2 ฉบับ ที่ อก. เสนอ เป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไนทรัส ออกไซด์ทางการแพทย์ และออกซิเจนทางการแพทย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานอ้างอิง               การพัฒนาเทคโนโลยี การทำและการใช้ภายในประเทศ และเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้มีความปลอดภัยในการใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่ง อก. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว ประกอบกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวรวม 2 ฉบับเป็นการล่วงหน้าแล้ว และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคเห็นชอบกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                    1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไนทรัสออกไซด์ทางการแพทย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ?. มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมไนทรัสออกไซด์ทางการแพทย์               ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 30 ? 2564 โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับ                    แต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
                     2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมออกซิเจนทางการแพทย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ?. มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมออกซิเจนทางการแพทย์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 540 ? 2564 โดยให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันประกาศ           ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ อก. เสนอว่า

                    1. โดยที่กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. 2564 จะสิ้นสุดการใช้บังคับในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2565 แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการโรงงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบต่อผู้ประกอบกิจการโรงงาน อก. จึงเห็นควรขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่           ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 (โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่เมื่อจะประกอบกิจการต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบก่อน เครื่องจักรไม่เกิน 50 แรงม้า และมีจำนวนคนงานไม่เกิน 50 คน) และผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 (โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่การตั้งโรงงานจะต้องได้รับใบอนุญาตก่อนจึงจะดำเนินการได้ เครื่องจักรเกินกว่า 50 แรงม้า และมีจำนวนคนงานเกินกว่า 50 คน หรือเป็นโรงงานที่มีมลภาวะ) ออกไปอีก 1 ปี (ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีเป็นปีที่ 3) อก. พิจารณาแล้วจึงได้ยกร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน พ.ศ. .... โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 6 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน                 พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมมีอำนาจออกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมได้ ประกอบกับมาตรา 43 วรรคสอง                      แห่งพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรงงาน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 บัญญัติให้ในกรณีของค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับโรงงานจำพวกที่ 2 ที่อยู่ในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐมนตรีแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว รัฐมนตรีจะออกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวไม่ได้ เว้นแต่มี                 เหตุสมควรอันเกิดจากภัยธรรมชาติ หรือภาวะทางเศรษฐกิจ รัฐมนตรีจะออกกฎกระทรวงลดหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเหตุดังกล่าวได้

2. อก. ได้ดำเนินการจัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยรายงานว่าการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวจะก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้

2.1 ประมาณการการสูญเสียรายได้ซึ่งได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีที่จะต้องเรียกเก็บจากผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 3 เป็นเวลา 1 ปี จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 280,405,800 บาท ดังนี้

ประเภทค่าธรรมเนียมรายปี          จำนวนโรงงาน          รายได้การจัดเก็บค่าธรรมเนียม          หมายเหตุ
1. โรงงานจำพวกที่ 2








          3,350          2,908,950          เฉพาะโรงงานที่เข้าข่ายตามพระราชบัญญัติโรงงาน              (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 สถานะแจ้งเริ่มประกอบกิจการโรงงานแล้ว ซึ่งมีเครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 50 แรงม้า หรือกำลังเทียบเท่าตั้งแต่ 50 แรงม้าขึ้นไป หรือใช้คนงานตั้งแต่ 50 คน      ขึ้นไป ทั้งนี้ ไม่รวมถึงโรงงานในพื้นที่การนิคมอุตสาหกรรม
2. โรงงานจำพวกที่ 3          56,994          277,496,850
รวม          60,344          280,405,800

2.2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบกิจการโรงงาน อันเนื่องมาจากภาวะทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และเพื่อเป็นการพยุงสถานะของโรงงานให้มีการประกอบกิจการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเกิดผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีมูลค่ามากกว่ารายได้ที่รัฐจะต้องสูญเสียไป

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                    เป็นการขยายระยะเวลาการยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีที่เรียกเก็บตามพระราชบัญญัติโรงงาน               พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่             3 ทุกขนาด เป็นเวลา 1 ปี โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565 จนถึงวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2566

4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองบัวระเหว และตำบลชีบน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองบัวระเหว และตำบลชีบน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ พ.ศ. ....                 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว โดยให้แก้ไขระยะเวลาใช้บังคับร่างพระราชกฤษฎีกา จาก ?พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนด 4 ปี? เป็น ?พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนด 3 ปี? ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้วเป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอ หนองบัวระเหว และตำบลชีบน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ อาคารประกอบและสิ่งจำเป็นในการชลประทานอื่นตามโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชัยภูมิ เพื่อประโยชน์แก่การชลประทานสำหรับพื้นที่การเกษตร การอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัย รวมทั้งเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด ทั้งนี้ เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จจะทำให้เกษตรกรและประชาชนในพื้นได้รับประโยชน์ ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ สามารถเก็บกักน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูฝนได้จำนวน 75,000 ไร่ และฤดูแล้งได้จำนวน 30,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 3 อำเภอ 6 ตำบล 63 หมู่บ้าน 7,556 ครัวเรือน รวมทั้งจะเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุนสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าตามลำน้ำชีตั้งแต่บริเวณท้ายอ่างเก็บน้ำในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิจนถึงจุดบรรจบลำน้ำพองในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น และเป็นเหล่งน้ำสำหรับทำการประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ตลอดจนช่วยป้องกันและบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ได้ ซึ่งสำนักงบประมาณแจ้งว่า จะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป เมื่อร่างพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับแล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

                    กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลห้วยแย้ ตำบลวังตะเฆ่ ตำบลโคกสะอาด อำเภอหนองบัวระเหว และตำบลชีบน อำเภอบ้านเขว้า จังหวัดชัยภูมิ เพื่อก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ อาคารประกอบ และสิ่งจำเป็นในการชลประทานอื่นตามโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชัยภูมิ โดยมีกำหนดใช้บังคับ                  3 ปี (เดิมกำหนดไว้ 4 ปี) โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ โดยร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตฯ เป็นการตรากฎหมายเฉพาะขึ้นเพื่อรองรับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ แทนการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อาจมีความเชื่อมโยงกับกฎหมายฉบับอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาอย่างรอบด้าน ส่วนการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะเป็นการแก้ไขบทบัญญัติเพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตฯ ทั้งนี้ การตรากฎหมายดังกล่าวจะเป็นการรองรับสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ได้รับการรับรองในทางระหว่างประเทศ อันเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมของโลกในปัจจุบัน

สาระสำคัญ

1. ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ประกอบด้วย 4 หมวด 46 มาตรา ดังนี้

1.1 อารัมภบท (มาตรา 1 - 5) : กำหนดเงื่อนเวลาในการบังคับใช้กฎหมาย คำนิยามสำคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะ คำว่า ?คู่ชีวิต? รวมทั้งกำหนดรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้

                              1.2 หมวด 1 การจดทะเบียนคู่ชีวิต (มาตรา 6 - 14) : กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการ             จดทะเบียนคู่ชีวิต

1.3 หมวด 2 การเป็นคู่ชีวิต (มาตรา 15 - 38) : แบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่

(1) ส่วนที่ 1 บททั่วไป (มาตรา 15 - 21) : กำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัวมาใช้บังคับกับคู่ชีวิตหากไม่มีบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในหมวดนี้รวมถึงเรื่องอื่น ๆ เช่น ภูมิลำเนาของคู่ชีวิต อำนาจในการจัดการแทนผู้เสียหายและอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายของคู่ชีวิต

(2) ส่วนที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ชีวิต (มาตรา 22 - 23) : กำหนดหน้าที่ของคู่ชีวิตต่อกัน และกรณีที่คู่ชีวิตไม่สามารถอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวโดยปกติสุขได้

(3) ส่วนที่ 3 ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต (มาตรา 24 - 27) : กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการทำสัญญาเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนการจดทะเบียนคู่ชีวิต สินส่วนตัว ทรัพย์สินร่วมกันของคู่ชีวิต รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินร่วมกันของคู่ชีวิต

(4) ส่วนที่ 4 ความเป็นโมฆะของการจดทะเบียนคู่ชีวิต (มาตรา 28 - 31) : กำหนดหลักเกณฑ์ที่ทำให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตเป็นโมฆะ และผลสืบเนื่องจากการที่การจดทะเบียนคู่ชีวิตนั้นเป็นโมฆะ

                                        (5) ส่วนที่ 5 การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต (มาตรา 32 - 38) : กำหนดเหตุที่ทำให้           การเป็นคู่ชีวิตสิ้นสุดลง หลักเกณฑ์การสมัครใจเลิกกันจากการเป็นคู่ชีวิต การขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนคู่ชีวิต และเหตุแห่งการฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต ตลอดจนผลสืบเนื่องการสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต

1.4 หมวด 3 บุตรบุญธรรม (มาตรา 39 - 44) : กำหนดเงื่อนไขการรับบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิต และให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตโดยอนุโลม

1.5 หมวด 4 มรดก (มาตรา 45 - 46) : กำหนดสิทธิและหน้าที่ในการรับมรดกของคู่ชีวิตและให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวกับคู่ชีวิตมาใช้บังคับกับคู่ชีวิตโดยอนุโลม

                    2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ประกอบด้วย 5 มาตรา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452              (การจดทะเบียนสมรสซ้อน) 1516 (1) (เหตุฟ้องหย่า) และ 1528 (การสิ้นสุดสิทธิในการรับค่าเลี้ยงชีพ) เพื่อให้รองรับกรณีคู่ชีวิตด้วย

เศรษฐกิจ-สังคม
6. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเพื่อขอความร่วมมือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (29 พฤศจิกายน 2548) ที่รับทราบแนวทางการจัดระเบียบของระบบกระบวนการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของประชาชนและมอบหมายให้ทุกกระทรวงดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดยให้ สปน. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการติดตามผลการดำเนินการและสรุปรายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบทุก 3 เดือน] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ตุลาคม-ธันวาคม 2564)

                              1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชนที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทาง                           การร้องทุกข์ 1111 รวมทั้งสิ้น 17,687 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ 15,585 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 88.12 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2,102 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 11.88

1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้

(1) ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 930 เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข 734 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 651 เรื่อง กระทรวงการคลัง 586 เรื่อง และกระทรวงคมนาคม 331 เรื่อง

                                        (2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 187 เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 122 เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 101 เรื่อง การประปาส่วนภูมิภาค 97 เรื่อง และการประปา             นครหลวง 95 เรื่อง

(3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 950 เรื่อง จังหวัดนนทบุรี 260 เรื่อง สมุทรปราการ 252 เรื่อง ปทุมธานี 202 เรื่อง และชลบุรี 189 เรื่อง

2. การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สรุปได้ ดังนี้

                              2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ                    ที่ผ่านมา โดยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีเรื่องร้องทุกข์ 34,091 เรื่อง ซึ่งน้อยกว่าในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 2,069 เรื่อง (มีเรื่องราวร้องทุกข์ 36,160 เรื่อง)

2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่

(1) การรักษาพยาบาล เช่น ขอให้มีการยกระดับมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งให้มีมาตรการเข้มงวดในการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์เทศกาลวันปีใหม่และกิจกรรมที่เป็นการรวมตัวกันของผู้คนจำนวนมาก (1,736 เรื่อง)

                                        (2) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน โดยขอให้แก้ไขปัญหามลภาวะทางเสียงจาก            สถานบันเทิง สถานประกอบการ ร้านอาหาร บ้านเรือน และวัยรุ่นมั่วสุมรวมกลุ่มแข่งขันรถจักรยานยนต์ส่งเสียงดังรบกวน (921 เรื่อง)

(3) ไฟฟ้า เช่น ขอให้แก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องและซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างริมทาง หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า และเสาไฟฟ้า (734 เรื่อง)

                                        (4) การเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐ เช่น การจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ                (688 เรื่อง)

(5) ค่าครองชีพ เช่น ขอความช่วยเหลือในการพิจารณาสิทธิตามโครงการเยียวยานายจ้างและลูกจ้างในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 และมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้างสาธารณะที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (686 เรื่อง)

                                        (6) โทรศัพท์ เช่น ขอให้ปรับปรุงระบบการให้บริการทางโทรศัพท์หมายเลข            สายด่วน 1422 ของกรมควบคุมโรค หมายเลขสายด่วน 1506 ของสำนักงานประกันสังคม ตลอดจนหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานของสำนักงานเขตและหน่วยงานอื่น ๆ ในส่วนภูมิภาค และขอชมเชยศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชนหมายเลขสายด่วน 1111 กด 2 และกด 0 (673 เรื่อง)

(7) น้ำประปา เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาน้ำประปาไม่ไหล ไหลอ่อนและไม่มีคุณภาพ และขอให้ขยายเขตการให้บริการน้ำประปา (572 เรื่อง)

(8) ถนน เช่น ให้ปรับปรุงซ่อมแซม/ก่อสร้างถนน พื้นผิวถนน สะพานกลับรถ บาทวิถี ตีเส้นแบ่งช่องการจราจร ขยายช่องทางจราจร ไฟฟ้าส่องสว่างริมทางและติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจร รวมทั้งขอให้ปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลต์หรือถนนคอนกรีต (519 เรื่อง)

(9) อุทกภัย เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่จังหวัดที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา และขอให้ระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังซ้ำซาก (514 เรื่อง)

                                        (10) การเมือง เช่น ขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง และ              ขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และขอให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีในการบริหารประเทศ (478 เรื่อง)

2.3 รายงานสรุปการสอบถามข้อมูลและเสนอข้อคิดเห็น ร้องขอความช่วยเหลือและ แจ้งเหตุ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผ่านสายด่วน 1111 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม -31 ธันวาคม 2564) สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : เรื่อง

ลำดับที่          ประเภทเรื่อง          จำนวน          ดำเนินการจนได้ข้อยุติ          รอผลการพิจารณา
1          การสอบถามข้อมูลและเสนอข้อคิดเห็น           58,967          58,967          -
2          ขอความช่วยเหลือและแจ้งเหตุ          3,404          3,176          228
รวมทั้งสิ้น          62,371          62,143          228

                              2.4 การแจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายและการร้องเรียนซึ่งเป็นเหตุให้เกิด             การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านสายด่วน 1111 (ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม -31  ธันวาคม 2564) สรุปได้ ดังนี้

หน่วย : เรื่อง

ลำดับที่          ประเภทเรื่อง          จำนวน          ดำเนินการ
จนได้ข้อยุติ          รอผลการพิจารณา
1          แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดกรณีบ่อนการพนัน           1,026          840          186
2          แจ้งเบาะแสการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และแจ้งเบาะแสแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมาย          697          472          225
รวมทั้งสิ้น          1,723          1,312          411

3. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์

                    สปน. พบว่า ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ยังคงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และคุณภาพการให้บริการ โดยอาจมีสาเหตุมาจาก (1) ขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมาตรการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ                 โรคโควิด-19 ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้งทำให้การรับรู้ของประชาชนไม่ชัดเจนและสับสน (2) คุณภาพ              การให้บริการผ่านช่องทางสายด่วนยังขาดการให้ข้อมูลเชิงลึกอย่างเบ็ดเสร็จ และมีปริมาณการรอสายและการโอนสายจำนวนมากและ (3) ขาดการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจในลักษณะองค์รวม โดยหน่วยงานต่าง ๆ แก้ไขปัญหา              ตามอำนาจหน้าที่ของตนโดยที่ขาดการทำงานในเชิงบูรณาการและครบวงจร

4. แนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดย สปน. จะได้ประสานแจ้งและขอความร่วมมือให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้

4.1 ขอให้หน่วยงานเจ้าของข้อมูลจัดทำเนื้อหาข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมประชาชนทุกภาคส่วนให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

4.2 ขอให้ทุกหน่วยงานที่มีสายด่วนปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการให้บริการทั้งด้านองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่ผู้รับสาย การบริหารจัดการคู่สายที่ต้องเพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ ควรต้องพัฒนาเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนที่หลากหลายโดยเฉพาะช่องทางออนไลน์เพื่อรองรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน

                              4.3 กรณีปัญหาด้านเศรษฐกิจและค่าครองชีพของประชาชนควรมีการประชุมหารือหน่วยงานเจ้าภาพเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในแต่ละภาคส่วนให้มีความชัดเจน รวมถึงกระตุ้น             ให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานในทุกภาคการผลิตไปพร้อมกัน เช่น กำหนดรูปแบบการจำลองธุรกิจใหม่ ๆ                 กับภาคธุรกิจภายหลังสถานการณ์โรคโควิด-19

7. เรื่อง  ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนเมษายน 2565

นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนเมษายน 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

1.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติผ่านการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อน การบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ สศช. ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ?จัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567? เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างเป็นรูปธรรมและให้ผู้เข้าร่วมประชุมเป็น ?ครู ก? ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานได้ รวมทั้งสามารถพัฒนาและจัดทำข้อเสนอโครงการฯ ให้เกิดการขับเคลื่อนไปสู่การบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างแท้จริง

                              1.2 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผ่านแผนระดับที่ 3 ในการดำเนินการที่ผ่านมา พบว่า หน่วยงานของรัฐยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนในหลักการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน... โดยหลักการในการมีแผนปฏิบัติการด้าน...ให้มีเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้นซึ่งอาจมีตามที่กฎหมายกำหนดหรือมีตามความจำเป็นที่ไม่ใช่เป็นเพียงการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานภายในกระทรวงเดียวกันเท่านั้น ทำให้การเสนอแผนปฏิบัติการด้าน...เข้าสู่กระบวนการพิจารณากลั่นกรองมีจำนวนมาก ทั้งนี้ ตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติ (4 ธันวาคม 2560)1 เกี่ยวกับการจัดทำแผนระดับที่ 3 จนถึงเดือนมีนาคม 2565 มีการเสนอแผนระดับที่ 3 จำนวน 137 แผน โดยมีสถานะในการดำเนินการ ดังนี้ (1) แผนฯ ซึ่งผ่านกระบวนการพิจารณาและรายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบแล้วและยังมีผลบังคับใช้อยู่              72 แผน (2) แผนฯ ที่อยู่ระหว่างการพิจารณากลั่นกรองของ สศช. 28 แผน (3) แผนฯ ที่ยกเลิกการดำเนินการ/สิ้นสุดการดำเนินการ 31 แผน และ (4) แผนฯ ที่ผ่านกระบวนการพิจารณาของ สศช. และอยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี 6 แผน เช่น 1) (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) 2) แผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ พ.ศ. 2564-2570  ฉบับปรับปรุง              พ.ศ. 2566-2570 และ 3) (ร่าง) แผนการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2564-2565
                              1.3 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบแฟ้ม              บ้านพัฒนาคนไทย (Logbook) ให้เป็นเครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลครัวเรือนและข้อมูลบุคคลเพื่อการพัฒนาแต่ละช่วงวัยในพื้นที่ ทั้งนี้ ข้อมูลการพัฒนาคนทุกช่วงวัยดังกล่าวเป็นข้อมูลสำคัญในการคำนวณและกำหนดดัชนีการพัฒนาคนหลากหลายมิติในระดับประเทศและพื้นที่ กำหนดเกณฑ์ของขั้นการพัฒนา (อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน) รวมทั้งเป็นข้อมูลสนับสนุน ศจพ. ในระดับต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อนำไปกำหนดและชี้ประเด็นการพัฒนาแบบพุ่งเป้าไปยังกลุ่มเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยได้อย่างยั่งยืน

2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ (รอบตุลาคม-ธันวาคม 2564) มีกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ที่ดำเนินการล่าช้าไม่เป็นไปตามแผนขับเคลื่อนกิจกรรม Big Rock ที่กำหนดไว้ 7 กิจกรรม ได้แก่

ด้าน          กิจกรรม
(1) การเมือง          ?สร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ
?ปรับปรุงโครงสร้างและเนื้อหาของรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูป
(2) กฎหมาย          ? จัดให้มีกลไกทางกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงให้เป็นโทษปรับเป็นพินัยเพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
?จัดทำประมวลกฎหมายเพื่อรวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกันเพื่อความสะดวกในการใช้งาน
(3) กระบวนการยุติธรรม           จัดหาทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจให้ครบทุกสถานีทั่วประเทศ
(4) การป้องกันและปราบปราม              การทุจริตและประพฤติมิชอบ          พัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต              ที่มีประสิทธิภาพ
(5) การศึกษา           การจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและระบบอื่น ๆ ที่เน้นการฝึกปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ นำไปสู่การจ้างงานและการสร้างงาน

                    3. การติดตาม  การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติพัฒนาระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR)  ให้สามารถแสดงผลข้อมูลสถิติ สถานการณ์ และงานวิจัย โดยได้พัฒนาระบบจัดการคุณภาพข้อมูลเปิดบนฐานข้อมูลเปิดภาครัฐเพื่อสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน           ตามยุทธศาสตร์ชาติ  (Open-D) เพื่อให้สะดวกต่อการนำเข้าและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลรวมถึงพัฒนาหน้าแสดงผลให้มีรูปแบบที่เข้าใจง่าย ซึ่งจะทำหน่วยงานของรัฐมีข้อมูลเชิงประจักษ์ประกอบการวิเคราะห์จัดทำโครงการ/                    การดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับต่าง ๆ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรม

4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติในเรื่องที่เกี่ยวกับการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรแปรรูปและผลิตภัณฑ์ และการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของเศรษฐกิจฐานรากและคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการได้เสนอประเด็นการตรวจสอบและประเมินผลตามห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านเศรษฐกิจ (2) ด้านสังคม (3) ด้านการพัฒนาศักยภาพคน และ (4) ด้านการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งผู้ตรวจราชการที่เกี่ยวข้องต้องใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนการตรวจราชการและแผนการตรวจสอบและประเมินผลประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันและเป็นไปตามห้วงเวลาของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ดังนั้น จึงต้องมีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐอย่างต่อเนื่องตามหลักการบริหารงานคุณภาพ โดยใช้ระบบ eMENSCR เป็นเครื่องมือกลางในการดำเนินการเพื่อให้สามารถรายงานตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงเพื่อส่งสัญญาณเตือนได้ทันทีในกรณีที่พบความเสี่ยงหรือมีข้อเสนอแนะ/แนวทางแก้ไขที่จำเป็นเร่งด่วน

1คณะรัฐมนตรีมีมติ (4 ธ.ค 60) เห็นชอบการจำแนกแผนออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย แผนระดับที่ 1 แผนระดับที่ 2 และแผนระดับที่ 3 โดยในการเสนอแผนระดับที่ 3 ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเสนอแผนระตับที่ 3            ไปยัง สศช. เพื่อพิจารณากลั่นกรองตามขั้นตอนที่ สศช. เสนอ

8. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2565

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนมีนาคม 2565 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้

สาระสำคัญ

ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนมีนาคม 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวเล็กน้อยร้อยละ 0.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนมีนาคม 2565 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของ              ปีก่อน คือ

1. เครื่องปรับอากาศ หดตัวร้อยละ 12.23 จากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงและชะลอการตัดสินใจซื้อออกไป ส่งผลให้ตลาดในประเทศหดตัว เช่นเดียวกับการส่งออกที่หดตัว จากปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และคิวเรือในการขนส่งที่ยังมีอยู่

2. Hard Disk Drive หดตัวร้อยละ 8.18 จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การผลิตทำได้ ไม่เต็มที่ มีปัญหาขาดแคลนชิ้นส่วน รวมถึงไม่สามารถส่งสินค้าได้ตามแผนจากปัญหาเที่ยวบินในการขนส่ง

3. เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ หดตัวร้อยละ 12.00 จากสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลต่อกำลังซื้อ การขาดวัตถุดิบนำเข้าจากต่างประเทศที่ล่าช้าจากปัญหาการขนส่ง

อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนมีนาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน

1. น้ำตาล ขยายตัวร้อยละ 61.25 จากผลผลิตอ้อยที่มีมากกว่าปีก่อน และปีนี้ปิดหีบช้ากว่าปีก่อน

2. การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 17.51 จากจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นหลังผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศ รวมถึงมาตรการสนับสนุนการท่องเที่ยวต่าง ๆ ของรัฐ กระตุ้นการเดินทางท่องเที่ยวในประเทศมากขึ้น

9. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ ดังนี้

สาระสำคัญ

คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 รับทราบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล และช่วงวันหยุด พ.ศ. 2565

ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ดำเนินการตามแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล และช่วงวันหยุด พ.ศ. 2565 โดยร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 ภายใต้ชื่อ ?ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ? ระหว่างวันที่ 11 - 17เมษายน 2565 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยสรุปผลการดำเนินการ ดังนี้

สถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2565 (รวม 7 วัน) จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ

(ครั้ง)          จำนวนผู้บาดเจ็บ (คน)
(admit)          จำนวนผู้เสียชีวิต
(ราย)
1,917          1,869          278

โดยผลการดำเนินงานช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 11-17 เมษายน 2565 เปรียบเทียบกับเทศกาลสงกรานต์ 3 ปีย้อนหลัง ส่วนใหญ่เป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนด ในภาพรวม ประกอบด้วย

1. การเกิดอุบัติเหตุ 1,917 ครั้ง สดลงร้อยละ 38.99 ผู้บาดเจ็บ (admit) 1,869 คน ลดลงร้อยละ 42.17 ผู้เสียชีวิต 278 ราย ลดลงร้อยละ 22.85

2. การเกิดอุบัติเหตุใหญ่ 20 ครั้ง ลดลงร้อยละ 43.40

3. การเสียชีวิต ณ ที่เกิดเหตุ 168 ราย ลดลงร้อยละ 10.80

4. ผู้เสียชีวิตในพฤติกรรมเสี่ยงหลัก ได้แก่ ดื่มแล้วขับ ลดลงร้อยละ 38.46 ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ลดลงร้อยละ 26.47 และขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ลดลงร้อยละ 15.36

                    ส่วนผลการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย 2 ประเด็น ได้แก่ ผู้เสียชีวิตในพฤติกรรมเสี่ยง            หลักจากการไม่สวมหมวกนิรภัย ลดลงร้อยละ 3.84 และดัชนีความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุ เท่ากับ 14.50

10. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2502 เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด เพื่อให้บริษัท ขนส่ง จำกัด มีภารกิจด้านการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2502 เรื่อง การเดินรถขนส่งต่างจังหวัด จากเดิมให้บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) รับภาระเดินเฉพาะรถโดยสาร เป็นให้ บขส. มีภารกิจ             ด้านการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ

สาระสำคัญ

                    1. บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ได้เริ่มดำเนินธุรกิจให้บริการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์แบบ Hub to Hub ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2551 โดยใช้การรับส่งไปกับรถโดยสารประจำทางระหว่างสถานีขนส่งผู้โดยสาร            (บขส. มีศูนย์สำหรับกระจายสินค้าและพัสดุภัณฑ์ทั่วประเทศจำนวน 104 แห่ง) และการเช่ารถบรรทุกของส่วนงานรับส่งพัสดุภัณฑ์ของ บขส. เพื่อชดเชยรายได้จากธุรกิจเดินรถโดยสารประจำทางที่ลดลง ประกอบกับยังไม่มีการมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐใดทำหน้าที่ดังกล่าวแทนองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) ซึ่งถูกยุบเลิกตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2548 ทั้งนี้ ในช่วงปี 2560 ? 2564 บขส. มีรายได้จากการขนส่งพัสดุภัณฑ์เฉลี่ยปีละ 149.32 ล้านบาท [กำไรเฉลี่ย 63.17 ล้านบาท (ร้อยละ 42.31)] ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 8.36 ของรายได้ทั้งหมด และมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ในกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อย ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 5 ของตลาดธุรกิจดังกล่าว
                    2. ในช่วงที่ผ่านมาการดำเนินธุรกิจเดินรถโดยสารประจำทางซึ่งเป็นธุรกิจหลักของ บขส. ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของบริการทดแทน อาทิ สายการบินต้นทุนต่ำ การใช้รถยนต์ส่วนบุคคล การแข่งขันจากผู้ให้บริการภาคเอกชนรายอื่น สภาพเศรษฐกิจและสังคม และการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ปัจจุบัน บขส. มีปริมาณผู้โดยสารคงเหลือเพียงร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับปี 2561 และปี 2562 โดยในช่วงปี 2560 - 2564 บขส. มีรายได้เฉลี่ยจากธุรกิจดังกล่าว ปีละ 1,636.06 ล้านบาท แต่ยังคงมีพนักงานจำนวนมากถึง 2,850 คน ทำให้รายได้จากการให้บริการไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจให้บริการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ของ บขส. ไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2502 ที่กำหนดให้ บขส. รับภาระเดินเฉพาะรถโดยสาร และให้ ร.ส.พ. รับภาระเดินเฉพาะรถขนส่งสินค้าขนส่งจากบ้านถึงบ้าน (Door to Door) ดังนั้น กระทรวงคมนาคม (คค.) โดย บขส. จึงมีความประสงค์ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เพื่อให้ บขส. สามารถ                ดำเนินกิจการดังกล่าวได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาและขยายธุรกิจให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร และสามารถนำรายได้จากการขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์มาชดเชยรายได้จากธุรกิจเดินรถโดยสารประจำทางที่ลดลงได้ โดย บขส. ได้กำหนดกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการในการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อดำเนินธุรกิจขนส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์แบบ Door to Door สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
การดำเนินการในระยะต่อไป          ? ทำความร่วมมือกับบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท.) [รัฐวิสาหกิจภายใต้กำกับของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.)] และผู้ประกอบการเอกชนในการรับขนสินค้าและพัสดุภัณฑ์เพื่อขยายจุดกระจายสินค้า เพิ่มส่วนแบ่งตลาด และขยายฐานลูกค้า โดยจะมีการกำหนดเส้นทางการบริการร่วมกันและพิจารณาขยายเส้นทางในปีต่อ ๆ ไป โดยในระยะแรกจะเป็นการขนส่งภายในประเทศ และจะมีการขยายไปสู่เส้นทางระหว่างประเทศต่อไป (รถโดยสารระหว่างประเทศที่เดินรถอยู่เดิมแล้ว) รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลในการติดตามสินค้าและพัสดุภัณฑ์1
? คัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งรายย่อยในพื้นที่เพื่อร่วมบริการขนส่งแบบ Hub to Door ภายใต้หลักเกณฑ์เดียวกับการคัดเลือกรถร่วมบริการของ รสภ.
ทั้งนี้ ระยะแรกจะดำเนินการเช่ารถรับส่งพัสดุภัณฑ์ตามเดิม และอาจพิจารณาศึกษาความคุ้มค่าในกรณีจัดซื้อรถบรรทุกต่อไป2  โดยคาดการณ์ว่ารายได้จากภารกิจดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 15 ล้านบาท และมีกำไรก่อนหักภาษีเงินได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 4.6 ล้านบาท
แผนปฏิบัติการ          ? โครงการพัฒนาการรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ร่วมกับพันธมิตร
? โครงการสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการเอกชนเพื่อการขนส่งสินค้าและ             พัสดุภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะ
? โครงการพัฒนาสถานีเดินรถให้เป็นศูนย์กระจายสินค้าและพัสดุภัณฑ์ข้ามภาค
? โครงการจัดตั้งตัวแทนรับส่งและกระจายสินค้า
1คค. (บขส.) รายงานเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565
2บขส. รายงานเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564

11. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรี โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรี โครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2) โดยปรับปรุงการกำหนดราคาซื้อขายหลักประกันต่อหน่วยและวงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกัน จากเดิม ไม่เกิน 1,200,000 บาท เป็น ไม่เกิน 1,500,000 บาท ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า
                    1. ผลการดำเนินโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 ณ วันที่ 29 มีนาคม 2565 ธอส. มียอดอนุมัติสินเชื่อแล้ว จำนวน 12,007 ราย เป็นจำนวนเงิน 10,281.30 ล้านบาท (กรอบวงเงินโครงการ 20,000 ล้านบาท) และยังมีวงเงินคงเหลือภายใต้โครงการดังกล่าวอีกจำนวน 9,718.70 ล้านบาท โดยมีการกระจายตัวของสินเชื่อที่ได้รับการอนุมัติแล้วในแต่ละช่วงวงเงินในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ดังนี้
วงเงินที่ได้รับสินเชื่อ          ร้อยละ
ต่ำกว่า 500,000 บาท          24
500,000 - 700,000 บาท          24
700,000 ? 1,000,000 บาท          27
1,000,000 ? 1,200,000 บาท          25
                    2. โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 เป็นโครงการที่ช่วยสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองในราคาที่ไม่สูงมากนัก เหมาะสมกับศักยภาพของประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยที่มีรายได้ต่อเดือน      ไม่เกิน 25,000 บาท ซึ่งยังคงมีรายได้คงเหลือเพียงพอที่จะหาที่อยู่อาศัยในระดับที่สูงขึ้น ดังนั้น เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการหาที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับคุณภาพชีวิต ความสามารถในการผ่อนชำระเงินงวด (Ability to pay) และความเหมาะสมของรายได้ กค. (ธอส.) จึงขอเสนอการทบทวนมติคณะรัฐมนตรี โครงการบ้านล้านหลังระยะที่ 2 โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการ ธอส. ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 28 กุมกาพันธ์ 2565 ได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          เดิม มติคณะรัฐมนตรี
(7 กันยายน 2564)          ขอทบทวน/ปรับปรุงในครั้งนี้
ราคาซื้อขาย
หลักประกัน          ไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อหน่วย          ไม่เกิน 1,500,000 บาทต่อหน่วย
วงเงินกู้สูงสุดต่อราย
ต่อหลักประกัน          ไม่เกิน 1,200,000 บาท          ไม่เกิน 1,500,000 บาท
ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2 ไม่ได้ก่อให้เกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณชดเชยเดิม รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ ยังคงเป็นไปตาม                   มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2564
                    3. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า การปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขโครงการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย                แห่งรัฐ (โครงการบ้านล้านหลัง ระยะที่ 2) ในครั้งนี้ จะช่วยให้ประชาชนมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการหาที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับคุณภาพชีวิตและความเหมาะสมของรายได้ และเมื่อพิจารณาผลการอนุมัติและสัดส่วนการกระจายตัวของสินเชื่อที่ใกล้เคียงกันในช่วงวงเงินต่าง ๆ (ตามข้อ 1) แล้ว การปรับปรุงการกำหนดราคาซื้อขายหลักประกันและวงเงินกู้สูงสุดดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเข้าถึงสินเชื่อของผู้มีรายได้น้อยในการจัดหาที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่แตกต่างกันแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี ในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ธอส. ควรคำนึงถึงความสามารถในการผ่อนชำระเงินงวดที่แท้จริงของลูกหนี้ทั้งในปัจจุบันและอนาคตด้วย เพื่อไม่ให้เป็นภาระในการดำรงชีวิตของลูกหนี้ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานของ ธอส. ในอนาคต

12. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2565 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2565) ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ที่ให้ กนง. ประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มของประเทศและรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 1 ปี 2565
                    กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ในการประชุมเมื่อเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2565 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ส่วนมาตรการคว่ำบาตรสหพันธรัฐรัสเซียจะไม่กระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในภาพรวม รวมทั้งโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สายพันธุ์โอไมครอนส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจน้อยกว่าระลอกก่อนหน้า โดย กนง. ประเมินว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อมาจากความผันผวนของราคาสินค้าในระยะสั้นจึงสามารถมองผ่านได้ ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นเป็นผลจากปัจจัยด้านอุปทาน ส่วนอัตราเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลางยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ทั้งนี้ กนง. เห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้มีความต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยปี 2565 จะปรับสูงขึ้นเกินกรอบเป้าหมาย จากราคาพลังงานและต้นทุนในหมวดอาหารเป็นหลัก โดยจะทยอยลดลงและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี 2566
                    2. การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน
                              2.1 เศรษฐกิจโลก โดยเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.6 และ 3.2 ในปี 2565 และ 2566 ตามลำดับ ซึ่งขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ เนื่องจากผลกระทบของมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่ส่งผลให้ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลกปรับสูงขึ้น รวมทั้งกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศและห่วงโซ่อุปทานโลกโดยเฉพาะสินค้าที่รัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกหลัก ส่วนอัตราเงินเฟ้อโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นส่งผลให้ธนาคารกลางกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักเริ่มดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น ด้านเศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีความเสี่ยงมากขึ้นจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนและมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่อาจรุนแรงและยืดเยื้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไทยในด้านอุปสงค์ประเทศคู่ค้า ราคาพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์
                              2.2 ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงินไทย โดยภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลายแต่ตึงตัวขึ้นจากความผันผวนในตลาดการเงินโลกที่สูงขึ้น ขณะที่ต้นทุนการระดมทุนของภาคธุรกิจโดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำทั้งในตลาดสินเชื่อและตลาดตราสารหนี้แต่สามารถระดมทุนได้ต่อเนื่อง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายควบคู่กับมาตรการทางการเงินและสินเชื่อ ทั้งนี้ คาดว่าภาคธุรกิจจะยังระดมทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ตามการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวก่อนที่จะปรับอ่อนค่าลงหลังเกิดความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่วนระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพแต่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจเปราะบางขึ้นในบางกลุ่มจากผลกระทบของโควิด-19 ค่าครองชีพ และต้นทุนที่สูงขึ้น ซึ่งสะท้อนจากสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ของครัวเรือนและธุรกิจที่ยังอยู่ในระดับสูง          จึงควรผลักดันการปรับโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงความสามารถในการชำระหนี้ของลูกหนี้ในระยะยาว
                              2.3 แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย
                                        2.3.1 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.2 ในปี 2565                ซึ่งลดลงจากประมาณการเดิมเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน เศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัวจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้น ส่วนปี 2566 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.4
                                        2.3.2 มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 7 โดยสูงกว่าประมาณการเดิมจากด้านราคาเป็นสำคัญโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ขณะที่ด้านปริมาณขยายตัวเนื่องจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานที่คลี่คลายลงทำให้สามารถทำการผลิตเพื่อส่งออกได้เพิ่มขึ้น และในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 1.5 ตามปริมาณการส่งออกสินค้าที่ขยายตัว
                                        2.3.3 ประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2565 อยู่ที่ 5.6 ล้านคนตามประมาณการเดิม แม้ว่าในไตรมาสแรกของปีจะมีนักท่องเที่ยวมากกว่าที่คาดการณ์ แต่ในช่วงที่เหลือของปีอาจจะได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวรัสเซียลดลงกว่าที่คาดการณ์ และในปี 2566 ประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 19 ล้านคน ปรับลดลงจากประมาณการเดิม เนื่องจากนักท่องเที่ยวรัสเซียอาจไม่สามารถเดินทางมาท่องเที่ยวได้
                                        2.3.4 การบริโภคภาคเอกชนปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวต่อเนื่องและแรงสนับสนุนของมาตรการภาครัฐ แต่ชะลอลงจากประมาณการเดิมเนื่องจากต้นทุนค่าครองชีพที่สูงขึ้นหลังปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยืดเยื้อกว่าที่คาดการณ์และการกระตุ้นมาตรการภาครัฐที่ลดลง ทั้งนี้ ในปี 2566             คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.1 จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครนที่คลี่คลาย ซึ่งจะทำให้ภาคการท่องเที่ยวปรับตัวดีขึ้นและส่งผลให้รายได้และกำลังซื้อของครัวเรือนปรับตัวดีขึ้นตาม
                                        2.3.5 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 และ 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 4.9 และ 1.7 ตามลำดับ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มสูงกว่าร้อยละ 5 ในช่วงไตรมาสที่ 2 (เดือนเมษายน - มิถุนายน) และ 3 (เดือนกรกฎาคม - กันยายน) ก่อนที่จะปรับลดลงในช่วงหลังของปี 2565 และกลับมาเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเป้าหมายในช่วงต้นปี 2566 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในช่วงไตรมาสที่ 2 และ 3 ของปี 2565 เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ต่ำและมาตรการบรรเทาค่าครองชีพของภาครัฐในปี 2564 ซึ่งส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเทียบปีต่อปีสูงขึ้นแม้ว่าระดับราคาไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาก

13. เรื่อง รายงานความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 - 2570)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอรายงานความคืบหน้าแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 - 2570) ดังนี้
                    1. แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 - 2570)              ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
                    2. แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อก. ได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ และแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะต่อไป สรุปได้ ดังนี้
                    1. ความคืบหน้าการดำเนินงานที่สำคัญในปีงบประมาณ 2564
                              1.1 มาตรการที่ 1 : สร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ มีการดำเนินงาน ดังนี้
การดำเนินงาน          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
(1) พัฒนายกระดับผู้ประกอบการ สถานประกอบการ และวิสาหกิจชุมชน โดยอบรมและให้คำปรึกษาในด้านการเพิ่มผลิตภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากลและมาตรฐานฮาลาล ถ่ายทอดความรู้เชิงธุรกิจและนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต เช่น 1) การยกระดับศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) สู่สากล 2) การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปสู่การเป็นโรงงานอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล และ 3) การแปรรูปสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม 1 จังหวัด 1 ชุมชน          อก. (กรมส่งเสิรมอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด)
(2) พัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนผ่านการอบรม ถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐาน รวม 10,712 ราย ประกอบด้วย 1) การพัฒนาเกษตรกรเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 7,800 ราย 2) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์แปรรูป 1,670 ราย 3) การพัฒนาด้านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ 1,152 ราย และ             4) การพัฒนาด้านปศุสัตว์อินทรีย์ 90 ราย          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
(3) สนับสนุนผู้ประกอบการอาหารให้มีการใช้เทคโนโลยีเชิงลึกพัฒนากระบวนการผลิตและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ จำนวน 390 ราย เช่น               การสนับสนุนผู้ประกอบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร          กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
(4) ส่งเสริมการลงทุนกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต 34 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 2,393 ล้านบาท และกิจการโรงงานผลิตพืช 8 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 756 ล้านบาท          สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
(5) ส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการใหม่/กิจกรรมพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ เช่น การให้คำปรึกษาในการปรับปรุงการดำเนินธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ 1,092 ราย          สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
(6) พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ SMEs แก่ลูกค้าและผู้ประกอบการทั่วไป 2,210 ราย          ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
                              1.2 มาตรการที่ 2 : สร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต มีการดำเนินงาน ดังนี้
การดำเนินงาน          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
(1) เชื่อมโยงกลไกและการให้บริการด้านการวิจัยและพัฒนาผ่านเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) เช่น เสริมสร้างความสามารถในการดำเนินธุรกิจนวัตกรรมให้แก่ผู้ประกอบการ 651 ราย และพัฒนากระบวนการผลิต/ผลิตภัณฑ์ใหม่ร่วมกับภาคอุตสาหกรรมอาหาร 15 ราย สร้างนักวิจัยให้สามารถผลิตและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมูลค่าสูง เช่น การวิจัยและพัฒนาสารสกัดที่มีฤทธิ์ต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังสำหรับผู้สูงอายุ และจัดให้มีศูนย์บริหารด้านการบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหารให้บริการครบวงจร เช่น การวิจัยและพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าข้าวไรซ์เบอรี่          อว.
(2) จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP กลุ่มปรับตัวสู่การพัฒนาให้มีคุณภาพมาตรฐานโดยมีผู้ประกอบการ OTOP ประเภทกลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม 791 ราย/กลุ่ม เข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดการนำความรู้ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีมาตรฐานและตรงกับความต้องการของตลาด          กระทรวงมหาดไทย
(3) ส่งเสริมการลงทุนกิจการวิจัยและพัฒนาด้านอาหาร 4 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 59 ล้านบาท โดยได้ส่งเสริมมาตรการเพิ่มเติมสิทธิและประโยชน์ตามคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับอาหารสัตว์ 1 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 80.38 ล้านบาท และกิจการวิจัยและพัฒนาด้านอาหารที่ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมหรือ                 เขตอุตสาหกรรมด้านนวัตกรรมอาหาร 1 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 1 ล้านบาท          สกท.
                              1.3 มาตรการที่ 3 : สร้างโอกาสทางธุรกิจ มีการดำเนินงาน ดังนี้
การดำเนินงาน          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
(1) จัดงานแสดงสินค้าระดับโลกในไทย ได้แก่ งานแสดงสินค้าอาหารเสมือนจริง THAIFLEX-Virtual Trade Show ผ่านทาง www.thaiflex-vts.com ระหว่างวันที่ 25 -29 พฤษภาคม 2564 และระหว่างวันที่ 29 กันยายน - 3 ตุลาคม 2564 มีมูลค่าการสั่งซื้อรวมประมาณ 3,122 ล้านบาท          กระทรวงพาณิชย์
(2) ส่งเสริมการลงทุนกิจการอุตสาหกรรมแปรรูปที่เป็น SMEs 6 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 322 ล้านบาท          สกท.
(3) จัดทำและปรับปรุงฐานข้อมูล SMEs ประเทศไทย และเชื่อมโยงข้อมูลเข้าระบบ SMEs Big Data เช่น ข้อมูล SMEs ข้อมูลการนำเข้า-ส่งออก และข้อมูลด้านการเงิน          สสว.
                              1.4 มาตรการที่ 4 : สร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม มีการดำเนินงาน ดังนี้
การดำเนินงาน          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
(1) จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร 14 เรื่อง เช่น สุรากลั่น เบียร์ และไขมันและน้ำมันจากสัตว์และพืช          อก. (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม)
(2) จัดทำโครงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการผลิตอ้อยพันธุ์ดีและส่งเสริมอ้อยพันธุ์ใหม่ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูกในแต่ละภูมิภาคและลดระยะเวลาขั้นตอนในกระบวนการปรับปรุงพันธุ์อ้อยจาก 10-12 ปี เหลือ 6-8 ปี ทั้งนี้ ได้แจกจ่ายอ้อยพันธุ์ดีปลอดโรคให้แก่เกษตรกรประมาณ 1.8 ล้านต้นกล้า          อก. (สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย)
(3) ยกระดับความปลอดภัยอาหารผ่านงานบริการต่าง ๆ เช่น 1) บริการตรวจสอบและรับรองระบบคุณภาพ 2) บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านความปลอดภัยอาหารและคุณค่าทางโภชนาการ และ 3) บริการทดสอบความชำนาญ          อก. (สถาบันอาหาร)
(4) จัดทำโครงการต่าง ๆ เช่น 1) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง    (Smart Farmer) โดยถ่ายทอดองค์ความรู้แก่เกษตรกร 3,807 ราย และ                   2) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 179 แปลง          กษ.
(5) จัดทำโครงการเตรียมความพร้อม Smart Farmer ร่วมกับเครือข่ายภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมและพัฒนาให้ลูกค้าเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร 10,000 ราย          กระทรวงการคลัง (ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร)
(6) จัดทำโครงการพัฒนาฝีมือเพื่อเพิ่มทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปด้านต่าง ๆ เช่น 1) ด้านนานาชาติเพื่อการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 2) ด้านการเพิ่มศักยภาพฝีมือและสมรรถนะแรงงาน และ 3) ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและส่งเสริมศักยภาพพื้นที่จังหวัด โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรม 4,767 คน          กระทรวงแรงงาน (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)
(7) ส่งเสริมการลงทุนกิจการกลุ่มนักลงทุนและธุรกิจ Startup ที่ให้บริการระบบเกษตรสมัยใหม่ มีผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน 37 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 12,095 ล้านบาท และส่งเสริมกิจการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและกิจการผลิตหรือถนอมอาหาร          สกท.
(8) จัดทำโครงการสนับสนุนคลัสเตอร์ SME เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและเชื่อมโยงระหว่างผู้ประกอบการ SMEs ในรูปแบบคลัสเตอร์อาหาร 6 คลัสเตอร์ ซึ่งมีผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ได้รับความรู้ 852 ราย          สสว.
                    2. ปัญหาอุปสรรคในการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร
                              2.1 รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอนาคตยังเป็นสินค้าแปรรูปขั้นต้นซึ่งมีมูลค่าเพิ่มต่ำ แม้ว่ามีการผลักดันจากภาครัฐในเบื้องต้นแล้วแต่ยังมีสินค้าออกสู่ตลาดไม่มาก เนื่องจากสินค้าเดิมยังขายได้ดีและไม่มั่นใจในผลิตภัณฑ์ใหม่
                              2.2 การส่งเสริมการลงทุนในกิจการวิจัยและพัฒนา ผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ตั้งโรงงานเดิม และในส่วนของผู้ขอรับการส่งเสริมในนามบุคคลธรรมดาหรือบริษัทจัดตั้งใหม่จะมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ ซึ่งหากมีการลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการขนาดใหญ่ พื้นที่เมืองนวัตกรรมอาหารอาจไม่สามารถรองรับได้ อีกทั้งพื้นที่เมืองนวัตกรรมอาหารตั้งอยู่ในสถาบันศึกษาซึ่งห่างไกลจากบริเวณที่ตั้งของโรงงานอุตสาหกรรม
                              2.3 ผู้ประกอบการบางรายยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และการตระหนักถึงความสำคัญของการได้รับการรับรองมาตรฐานสากลต่าง ๆ ประกอบกับผู้ประกอบการบางรายที่เป็น SMEs/OTOP                  ประสบปัญหาการขาดเงินทุนในการพัฒนา/ปรับปรุงสถานประกอบการให้ได้การรับรองตามมาตรฐาน ข้อกำหนด และระเบียบของประเทศคู่ค้า ส่งผลให้ไม่สามารถส่งออกสินค้าได้
                              2.4 ผู้ประกอบการมีต้นทุนการผลิตและต้นทุนด้านพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับขาดแคลนแรงงานในสายการผลิตจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้ผู้ประกอบการ              บางรายต้องปิดกิจการ
                    3. การขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารในระยะต่อไป จะใช้กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ดังนี้
                              3.1 พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารอนาคต เช่น อาหารเสริมสุขภาพ อาหารทางการแพทย์ และอาหารอินทรีย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในประเทศ และเป็นการมุ่งเน้นการให้ความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร
                              3.2 พัฒนาผู้ประกอบการ โดยมุ่งเน้นเรื่องระบบการตรวจสอบย้อนกลับในกระบวนการผลิตอาหารถึงแหล่งที่มาเพื่อสร้างความมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับบริโภค
                              3.3 พัฒนาและยกระดับฝีมือแรงงานให้มีทักษะและมาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาดและสามารถรองรับความท้าทายจากผลกระทบของการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีได้
                              3.4 ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้แก่ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอัตโนมัติ มาใช้ในกระบวนการผลิตอย่างครบวงจร

14. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอรายงาน                   ผลการดำเนินการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ประจำเดือนมกราคม - มีนาคม 2565 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (23 มกราคม 2561) ที่ให้ สปน. รายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกเดือน] โดยมีส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                    1. กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้รายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน                 (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565) โดยมีประชาชนที่ลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทานแล้ว 6,926,500 คน จำแนกได้ ดังนี้ กรุงเทพมหานคร 455,485 คน และส่วนภูมิภาค 6,471,015 คน โดยแบ่งออกเป็น เพศชาย 3,101,077 คน เพศหญิง 3,825,423 คน
                    2. การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ 20 หน่วยงาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 837,741 คน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา 904                   สรุปได้ ดังนี้
การดำเนินการ/กิจกรรม          ส่วนราชการ          จำนวน
(ครั้ง)
1) จิตอาสาพัฒนา ได้แก่ (1) การปรับปรุงภูมิทัศน์และทำความสะอาดศาสนสถาน โรงเรียน สถานที่ราชการ สถานที่ท่องเที่ยว และบริเวณโดยรอบ (2) การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน (3) การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม (4) การบริจาคโลหิตและมอบสิ่งของ (5) การปลูกต้นไม้ (6) การพัฒนาแหล่งน้ำ (ขุดลอกคลอง การฉีดจุลินทรีย์ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย และกำจัดวัชพืช) (7) การทำแนวป้องกันไฟป่า และ (8) จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และวิชาชีพ          กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ มท. กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงบประมาณ กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)          12,659
2) จิตอาสาภัยพิบัติ ได้แก่ (1) การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย และภัยหนาว (มอบถุงยังชีพ บริจาคสิ่งของและซ่อมแซมบ้านเรือน) (2) การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (การคัดกรองเชิงรุก การพ่นยาฆ่าเชื้อและจัดเตรียมโรงพยาบาลสนาม) และ (3) การอบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัย          กห. กค. พม. อว. กษ. มท. ยธ. วธ. ศธ. สธ. อก. กปส. และ ตช.          1,683
3) จิตอาสาเฉพาะกิจ ได้แก่ (1) การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมรับเสด็จพระบรม         วงศานุวงศ์ (2) การจัดเตรียมสถานที่และร่วมพิธีเนื่องในวันสำคัญ และ (3) การบริจาคโลหิตถวายเป็น             พระราชกุศล          กห. กก. พม. อว. กษ. ดศ. ยธ. ศธ. สธ. และ ตช.          76
4) วิทยากรจิตอาสา 904 โดยเป็นการบรรยายความรู้หลักสูตรจิตอาสา สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย จิตอาสาเพื่อการพัฒนาและแก้ไขปัญหายาเสพติด และโครงการจิตอาสาพระราชทานตามพระราชดำริ          กก. พม. อว. กษ. ทส. ยธ. รง. วธ. สธ. อก. และ ตช.          48
รวม          14,466
                    สปน. ได้ดำเนินการติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ. จอส. พระราชทาน) โดยการลงพื้นที่ และรวบรวมรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                              1. โครงการในภารกิจของ ศอญ. จอส. พระราชทาน ซึ่ง สปน. ได้รายงานผลการดำเนินงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบแล้ว 10 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการที่ได้รับเงินพระราชทานบริจาคช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้ (2) โครงการพัฒนาพื้นที่คลองเปรมประชากร (3) โครงการพัฒนาฟื้นฟูสภาพแวดล้อมคลองแสนแสบ (4) โครงการพัฒนาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ (5) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำบึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร (6) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ (7) โครงการพัฒนาสระบ่อดินขาว จังหวัดนครสวรรค์ (8) โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา (9) โครงการพัฒนาคูน้ำริมถนนวิภาวดีรังสิต และ (10) โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดขอนแก่น
                              2. เข้าร่วมการประชุมติดตามงานประจำสัปดาห์ร่วมกับ ศอญ. จอส. พระราชทาน พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 12 ครั้ง และตรวจเยี่ยมเพื่อติดตามการใช้ประโยชน์ศูนย์พักพิงร่วมใจอุ่นไอรักจังหวัดนครศรีธรรมราช ปัตตานี และสงขลา
                              3. จัดกิจกรรมและสนับสนุนการดำเนินงานจิตอาสา รวม 3 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม              410 คน
                              4. ประสานการดำเนินการจัดกิจกรรมจิตอาสาของหน่วยงานภาครัฐเพื่อให้เกิดความรู้             รัก สามัคคี เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ชุมชน สังคม และประเทศชาติโดยรวมอย่างต่อเนื่อง

15. เรื่อง (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สมช. รายงานว่า โดยที่มาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติสภาความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2559 บัญญัติให้เพื่อประโยชน์ในการธำรงซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ ให้คณะรัฐมนตรีจัดให้มีนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติขึ้นตามข้อเสนอแนะของสภาความมั่นคงแห่งชาติ ประกอบกับนโยบายและแผนระดับชาติฯ                 (พ.ศ. 2562-2565) กำลังจะหมดห้วงการบังคับใช้ สมช. จึงได้ดำเนินการจัดทำ (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการดำเนินการป้องกัน แจ้งเตือน แก้ไข หรือระงับยับยั้งภัยคุกคามเพื่อธำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแห่งชาติ โดยให้หน่วยงานของรัฐนำไปถ่ายทอดและจัดทำแผนระดับที่ 3 ที่จะเริ่มดำเนินการพร้อมกันในห้วงที่ 2 ของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ระหว่าง พ.ศ. 2566-2570 ได้อย่างสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งเผยแพร่ให้ทุกภาคส่วนเสนอมุมมองข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม                   ในการปรับปรุง (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566-2570) ให้มีความสมบูรณ์และครบถ้วนมากขึ้น ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งในการดำเนินการจัดทำ (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ                (พ.ศ. 2566-2570) ได้ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งในรูปแบบการประชุม การสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมมนาวิชาการการจัดส่งข้อคิดเห็นและการเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ทางเว็บไซต์ของ สมช. อันนำมาสู่การจัดทำข้อมูลประกอบการจัดทำ (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566-2570) ทั้งนี้ ในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 (นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน) ได้มีมติรับทราบ (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566-2570) และให้ สมช. เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบต่อไป สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
เรื่อง          สาระสำคัญ
(1) หลักการ
และเหตุผล          สถานการณ์ความผันผวนและวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญโดยเฉพาะผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 รวมถึงรูปแบบภัยคุกคามจะมีความหลากหลายและผสมผสาน และปัญหาข้ามพรมแดนจะมีความเกี่ยวพันซับซ้อนมากขึ้นจึงจำเป็นต้องมีกรอบทิศทางของประเทศในห้วง 5 ปีข้างหน้า โดยมีวิสัยทัศน์ คือ ?ประเทศชาติมีเสถียรภาพ ประชาชนอยู่ดีสุข ปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ มีศักยภาพบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติอย่างยั่งยืน?
(2) ความสำคัญ          การกำหนดนโยบายและแผนการขับเคลื่อนงานด้านความมั่นคงให้สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน โดยมุ่งเน้นการระบุทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาประเทศเฉพาะประเด็นปัญหาความมั่นคงสำคัญที่มีผลกระทบและความเสี่ยงสูง และเสริมสร้างแนวทางการพัฒนาศักยภาพความมั่นคงของประเทศ เพื่อขยายผลกรอบแนวคิดความมั่นคงแบบองค์รวม รวมถึงการกำหนดจุดเน้นและแนวทางสำคัญเชิงลึกของเป้าหมาย ตัวชี้วัด และกลยุทธ์ให้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น              ซึ่งจะส่งผลต่อการยกระดับการเสริมสร้างความมั่นคงของประเทศไปสู่เป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ?ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข?
(3) เค้าโครง
และสาระสำคัญ          (3.1) ความสำคัญและสถานะของนโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566-2570) ให้ความสำคัญกับบริบทความมั่นคงของไทย มีเป้าหมายสูงสุดในการรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติ มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินการในห้วงที่ผ่านมา หลักการ สถานะ และความสำคัญของการจัดทำนโยบายและแผนดังกล่าว
(3.2) สถานการณ์ ผลกระทบ และแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงบริบทความมั่นคงในระยะ 5 ปี ได้แก่ 1) ความสำคัญของภูมิยุทธศาสตร์ ภูมิรัฐศาสตร์ และภูมิเศรษฐศาสตร์ไทยที่ส่งผลต่อความมั่นคงแห่งชาติ 2) การประเมินขีดความสามารถของประเทศเพื่อเสริมสร้างกำลังอำนาจของชาติ และ 3) ความเปลี่ยนแปลงของบริบทความมั่นคงในระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับภายในประเทศ
(3.3) วิสัยทัศน์ กรอบแนวคิด วัตถุประสงค์ และเป้าหมาย คือ ?ประเทศชาติมีเสถียรภาพ ประชาชนอยู่ดีมีสุข ปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ มีศักยภาพ บริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติอย่างยั่งยืน? โดยเชื่อมโยงกรอบแนวคิด              การน้อมนำพระราชปณิธาน สืบสาน รักษา ต่อยอด เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวพระราชดำริหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และยุทธศาสตร์พระราชทาน ?เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา? ความมั่นคงแบบองค์รวม การพัฒนาอย่างยั่งยืน การบูรณาการเพื่อส่งเสริมความร่วมมือของทุกภาคส่วน การบริหารจัดการความเสี่ยงและการพลิกฟื้นเพื่อให้สามารถป้องกันและแก้ไขภัยคุกคาม และมีการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างศักยภาพความมั่นคงของประเทศ
(3.4) นโยบายและแผนความมั่นคง ประกอบด้วย 17 นโยบายและแผนความมั่นคง สรุปได้ ดังนี้
          (3.4.1) หมวดประเด็นความมั่นคง เป็นประเด็นภัยคุกคามที่มีผลกระทบและแนวโน้มความเสี่ยงสูงต่อความมั่นคงแห่งชาติและผลประโยชน์แห่งชาติ รวม 13 นโยบาย และแผนความมั่นคง ดังนี้
1) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1.1) การป้องกันและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น พัฒนาหลักสูตรหรือการเรียนรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ทั้งในและนอกชั้นเรียน และจัดทำและเผยแพร่ชุดข้อมูลความรู้เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ 1.2) การส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของคนในชาติอย่างสันติและเคารพในความแตกต่างหลากหลายบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชน เช่น ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม และเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการความหลากหลายของคนในชาติบนพื้นฐานของความเสมอภาค ความเท่าเทียมกัน และการไม่เลือกปฏิบัติ และ 1.3) การให้ความสำคัญกับทุกศาสนา ผู้ที่มีหลักความเชื่อต่าง ๆ และผู้ที่ไม่นับถือศาสนา
2) การปกป้องอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติ และการพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 2.1) การป้องกันอธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลและทางอากาศ เช่น จัดให้มีระบบการข่าว การลาดตระเวน การเฝ้าตรวจ ป้องกัน และรักษาพื้นที่ และปรับปรุงและพัฒนาแผนระบบป้องกันประเทศ และ 2.2) การพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ เช่น เตรียมกำลังเชิงยุทธศาสตร์ และพัฒนากองทัพไปสู่ความทันสมัย
3) การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ หลัก ได้แก่ 3.1) การสร้างสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชายแดนให้มีความปลอดภัยและมีศักยภาพในการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคาม เช่น สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนชายแดนไทยและประเทศรอบบ้าน และจัดทำระบบป้องกันพื้นที่ชายแดนของจังหวัดชายแดน 3.2) การยกระดับและพัฒนาจุดผ่านแดนให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันภัยคุกคามและเชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้า และการสัญจรชายแดน เช่น พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานบริเวณพื้นที่ทางธรรมชาติหรือจุดผ่านแดนประเภทต่าง ๆ และพัฒนาระบบการสัญจรข้ามแดน และ 3.3) การแก้ไขปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับประเทศรอบบ้าน โดยให้สมดุลระหว่างผลประโยชน์แห่งชาติและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
4) การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 4.1) การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับการดำเนินการด้านความมั่นคงทางทะเล เช่น ป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหาอาชญากรรมทางทะเล และเสริมสร้าง และใช้ประโยชน์จากความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับประเด็นทางทะเล 4.2) การเสริมสร้างการใช้ประโยชน์ทางทะเลอย่างสมดุลและยั่งยืนภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจสีน้ำเงิน เช่น ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทางทะเลอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล และ 4.3) การบริหารจัดการองค์ความรู้ทางทะเลและการสร้างความตระหนักรู้ความสำคัญของทะเล
5) การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 5.1) การเสริมสร้างความปลอดภัยและขจัดเงื่อนไขความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเสริมสร้างขีดความสามารถในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้ 5.2) การยกระดับการพัฒนาที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและบริบทของพื้นที่ โดยยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของประชาชน และความเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่                   5.3) การสร้างความเข้มแข็งของสังคมในพื้นที่ โดยพัฒนาการอำนวยความยุติธรรมและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ รวมทั้งการลดเงื่อนไขความหวาดระแวงและรื้อฟื้นความไว้เนื้อเชื่อใจต่อกัน และ 5.4) การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของภาครัฐและการประสานความร่วมมือกับทุกส่วนที่เกี่ยวข้องในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้
6) การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมือง ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 6.1) การป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มที่มีปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล เช่น เร่งรัดการจัดทำสถานะบุคคลให้แก่ผู้ที่มีสถานะและสิทธิ และทบทวน ปรับปรุง และพัฒนากฎหมายที่มีอยู่ 6.2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย โดยบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และ 6.3) การป้องกันและแก้ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองกลุ่มเปราะบางต่อความมั่นคงและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และกลุ่มอื่น ๆ ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น เพิ่มความเข้มข้นในการสกัดกั้นและป้องกันการหลบหนีเข้าเมืองเป็นพิเศษ และจัดระบบการตรวจสอบและติดตามความเคลื่อนไหวของผู้หลบหนีเข้าเมือง
7) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่                         7.1)              การยกระดับความเชื่อมั่นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในระดับสากล เช่น เร่งรัดการบริหารจัดการคดีค้ามนุษย์ และเสริมสร้างความเข้าใจ การรับรู้ และบูรณาการความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของไทยแก่นานาประเทศ และ     7.2) การพัฒนาขีดความสามารถและสมรรถนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ เช่น จัดทำ ปรับปรุง และพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริมและพัฒนาการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์
8) การป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 8.1) การเสริมสร้างความเข้มแข็งในปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน และสังคมให้มีภูมิคุ้มกันและสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างพื้นที่ปลอดภัยและลดความต้องการยาเสพติด 8.2) การลดอุปทานยาเสพติดและปราบปรามเครือข่ายยาเสพติด/องค์กรอาชญากรรม เช่น สกัดกั้นการลักลอบลำเลียงยาเสพติดตั้งแต่พื้นที่ชายแดนไม่ให้เข้าสู่พื้นที่ตอนในของประเทศและพัฒนาเทคโนโลยีและฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 8.3) การสร้างความสมดุลบนพื้นฐานสิทธิมนุษยชนในการบำบัด ฟื้นฟู และการผนวกสู่สังคมได้อย่างปกติสุข และ 8.4) การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด
9) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 9.1) การลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ เช่น พัฒนามาตรการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยที่เกิดซ้ำซากและเป็นภัยซ้ำซ้อน และพัฒนาแหล่งข้อมูลความเสี่ยงสาธารณภัยแห่งชาติ และ 9.2) การจัดการสาธารณภัยให้มีมาตรฐานตามหลักสากล เช่น เสริมสร้างการจัดการในภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการให้เป็นไปตามมาตรฐานในการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉินและพัฒนาระบบการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้า
10) การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 10.1) การป้องกัน รับมือ และลดความเสี่ยงกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ เช่น เสริมสร้างศักยภาพของกลไกและหน่วยงานระดับชาติ และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี และ                 10.2) การเสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการใช้ไซเบอร์เป็นช่องทางในการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์
11) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่                 11.1) การป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันในการรับมือกับภัยก่อการร้าย เช่น แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และข่าวกรองด้านการก่อการร้ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และป้องกันการเดินทางผ่านเข้าและออกของนักรบก่อการร้ายต่างชาติ และ 11.2) การเสริมสร้างการตอบโต้เหตุวิกฤตการก่อการร้าย เช่น พัฒนากลไกการรับมือขณะเกิดเหตุก่อการร้ายให้เป็นเอกภาพ และพัฒนาระบบแจ้งเตือนการสื่อสาร และการประชาสัมพันธ์ต่อเหตุววิกฤตจากการก่อการร้าย
12) การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 12.1) การรักษาดุลยภาพระหว่างประเทศสำคัญทางยุทธศาสตร์ เช่น ทบทวนและกำหนดแนวทางท่าทีของไทยต่อประเทศมหาอำนาจ และกลุ่มประเทศที่มีบทบาทสำคัญทางยุทธศาสตร์และรักษาความร่วมมือด้านความมั่นคงระหว่างไทยกับประเทศสำคัญทางยุทธศาสตร์ 12.2) การเสริมสร้างบทบาทของไทยในประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน 12.3) การส่งเสริมความเข้าใจและพัฒนาความร่วมมือด้านความมั่นคงกับประเทศรอบบ้านและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และ 12.4) การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อป้องกันการแพร่ขยายอาวุธทำลายล้างสูง
13) การบริหารจัดการความเสี่ยงโรคติดต่ออุบัติใหม่ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่                13.1) การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในการบริหารจัดการความเสี่ยงโรคติดต่ออุบัติใหม่ทั้งในภาวะปกติและภาวะไม่ปกติ เช่น พัฒนาระบบการเฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยโรคติดต่ออุบัติใหม่ และพัฒนาระบบการสื่อสารความเสี่ยงและประชาสัมพันธ์แนวทางป้องกันและควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ 13.2) การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ และ 13.3) การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงโรคติดต่ออุบัติใหม่
[หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข สมช. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล]
          (3.4.2) หมวดประเด็นศักยภาพความมั่นคง โดยเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนา            ขีดความสามารถของประเทศในการป้องกันและแก้ไขประเด็นความมั่นคงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวม 4 นโยบาย ดังนี้
1) การพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมแห่งชาติ และการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ระดับชาติ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 1.1) การเสริมสร้างศักยภาพการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับภัยคุกคาม และวิกฤตการณ์ระดับชาติ เช่น ทบทวนและพัฒนากลไกการบริหารจัดการทั้งในระดับนโยบาย ระดับอำนวยการ และระดับปฏิบัติการ และส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศในระดับทวิภาคีและพหุภาคี 1.2) การจัดการทรัพยากรเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับภัยคุกคามทุกรูปแบบ และ 1.3) การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ระดับชาติ เช่น กำหนด ทบทวน และพัฒนาหลักเกณฑ์หรือแนวทางการวิเคราะห์และประเมินระดับความรุนแรงของภัยคุกคาม และยกระดับการบูรณาการสำหรับการบริหารจัดการภัยคุกคามในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
2) การพัฒนาระบบข่าวกรองแห่งชาติ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 2.1) การพัฒนาการประเมินสถานการณ์ความมั่นคงเชิงยุทธศาสตร์ในระยะยาว 2.2) การพัฒนาและขยายเครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นนอกภาครัฐให้เข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้านการข่าวกรอง และ                     2.3) การเชื่อมโยง บูรณาการ และแจ้งเตือนข้อมูลด้านการข่าวเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการข่าว และพัฒนาระบบ กลไกการเชื่อมโยง และ                   การบูรณาการข้อมูลด้านการข่าว
3) การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 3.1) การเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคงเพื่อประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย และ 3.2) การพัฒนากลไกการบริหารจัดการบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง เช่น จัดทำแผนหรือแนวทางการขับเคลื่อนการบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง และจัดทำธรรมภิบาลข้อมูลและรักษาข้อมูลให้มีความมั่นคงปลอดภัย
4) การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ 4.1) การป้องกันและแก้ไขปัญหาเชิงพื้นที่เป้าหมายให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เช่น ส่งเสริมการป้องกัน แก้ไข และพัฒนาพื้นที่เป้าหมายที่มีความสอดคล้องกับบริบทความมั่นคงเฉพาะพื้นที่ และ                        4.2) การบริหารจัดการความมั่นคงเชิงพื้นที่และพัฒนาเครือข่ายการเสริมสร้างความมั่นคงเชิงรุกในระดับพื้นที่ภาครัฐและนอกภาครัฐ
[หน่วยงานรับผิดชอบหลัก ได้แก่ สมช. สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) กอ.รมน.]
(3.5) การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผล โดยให้มีรายงานความคืบหน้าการดำเนินการรอบ                 6 เดือน และรายงานสรุปผลสัมฤทธิ์การดำเนินการประจำปี เพื่อรายงานผลให้สภาความมั่นคงแห่งชาติรับทราบในภาพรวม
                    ทั้งนี้ สมช. จะปรับปรุงและพัฒนา (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566-2570)                ตามความเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในภาพรวมต่อไป

16. เรื่อง โครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำเรียนฟรี มีอาชีพ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ) (โครงการอาชีวะฯ) ในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ทั่วประเทศ (เฉพาะสถานศึกษาของรัฐ) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ในระยะแรก ส่วนระยะต่อ ๆ ไป ให้รายงานผลการดำเนินการระยะแรกต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณาเห็นชอบการดำเนินการในระยะต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ศธ. รายงานว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (16 พฤศจิกายน 2564) มอบหมายให้ สอศ. ดำเนินโครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ ศธ. ได้กำหนดนโยบายการเพิ่มโอกาสและเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ1 สอศ. จึงได้จัดทำโครงการอาชีวะฯ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อช่วยเหลือเยาวชนในกลุ่มที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาและกลุ่มที่ขาดโอกาสทางการศึกษา มีฐานะยากจน ตลอดจนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ในลักษณะโรงเรียนอยู่ประจำที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกและมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในเรื่องต่าง ๆ พร้อมทั้งมีอุปกรณ์การเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมวินัย คุณธรรม จริยธรรม ลดความเสี่ยงในการถูกชักจูงไปในทางที่ไม่สมควร สรุปสาระสำคัญของโครงการอาชีวะฯ ได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          1. เพื่อสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย และส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพกำลังคน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งปลูกฝังค่านิยมด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนสายอาชีพที่มีฐานะยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษา หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล ให้มีทักษะวิชาชีพ สามารถทำงานประกอบอาชีพได้ และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ
2. เพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียน สร้างทางเลือกสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีความสนใจในการเรียนต่อสายอาชีพให้เข้าสู่การศึกษาระดับอาชีวศึกษา และเมื่อนักเรียนจบการศึกษาแล้วจะได้รับวุฒิการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และสามารถสร้างความมั่นคงในการประกอบวิชาชีพได้
3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา (หลังสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3) กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาสายอาชีพที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
ระยะเวลา
การดำเนินโครงการ          ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ใช้งบประมาณของ สอศ.) มีสถานศึกษาเข้าร่วม จำนวน 88 แห่ง
สถานที่ดำเนินการ          สถานศึกษาในสังกัด สอศ. ทั่วประเทศ (เฉพาะสถานศึกษาของรัฐ) โดยในระยะที่ 1 จำแนกเป็น 1. วิทยาลัยเทคนิค 2 แห่ง 2. วิทยาลัยการอาชีพ 39 แห่ง                      3. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 47 แห่ง รวม 88 แห่ง
กลุ่มเป้าหมาย          นักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา (หลังสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3) และเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา/อยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยมีแผนการรับนักเรียนเข้าศึกษา รุ่นที่ 1 (ปีการศึกษา 1/2565) จำนวน 5,280 คน (สถานศึกษา 88 แห่ง แห่งละ 60 คน)

แผนการดำเนินงาน/การใช้จ่ายงบประมาณ          ปีงบประมาณ
พ.ศ.          งบประมาณ
(ล้านบาท)          กิจกรรม
2565          202.40          - สถานศึกษาปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอพักที่มีอยู่เดิมหรืออาคารเรียนเพื่อใช้เป็นอาคารหอพักชั่วคราวในสถานศึกษากลุ่มที่ 1 จำนวน 88 แห่ง
- รับนักเรียนเข้าศึกษารุ่นที่ 1 จำนวน 5,280 คน ในสถานศึกษา จำนวน             88 แห่ง
หมายเหตุ : ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เจียดจ่ายจากงบประมาณของ ศธ.

ประโยชน์ที่จะได้รับ          1. เยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา มีฐานะยากจน และอยู่ในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงนักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาได้รับการสนับสนุนทางด้านการศึกษาสายอาชีพ พัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ สามารถประกอบอาชีพมีงานทำและมีรายได้
2. มีสถานศึกษาในสังกัด สอศ. ที่จะดำเนินโครงการอาชีวะฯ ทั่วประเทศ
3. ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เน้นการสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเท่าเทียมกับผู้อื่น
ตัวชี้วัด          1. จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการอาชีวะฯ และได้รับการศึกษาตามแผนการเรียนการสอนที่กำหนด
2. ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาภายใต้โครงการอาชีวะฯ ที่ผ่านการประเมินมาตรฐานอาชีพ
3. ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาภายใต้โครงการอาชีวะฯ มีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ
ทั้งนี้ หากสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนที่มีศัยภาพและความพร้อมในการดำเนินการ จะสามารถดำเนินโครงการได้เอง และในกรณีที่สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนจะเข้าร่วมโครงการฯ สอศ. จะมีหลักเกณฑ์ในการตรวจประเมินความพร้อม เช่น มีความพร้อมของหอพักและสิ่งอำนวยความสะดวกในสภาพที่ดี เป็นสถานศึกษาเอกชนที่มีประสบการณ์ในการดำเนินโครงการฯ และประสบความสำเร็จมาก่อน มีความพร้อมด้านบุคลากรที่จะรองรับการดำเนินโครงการฯ เป็นต้น และเมื่อสถานศึกษาเอกชนผ่านหลักเกณฑ์การตรวจประเมินดังกล่าวแล้ว จะสามารถเข้าร่วมโครงการอาชีวะฯ และได้รับค่าจัดการเรียนการสอน (เงินอุดหนุนรายหัวสำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของนักเรียน) เหมือนของรัฐ ซึ่ง ศธ. (สอศ.) ได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศธ. จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในส่วนของสถานศึกษาเอกชนต่อไป
1เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการเรียนการสอนตามปกติ ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพความบกพร่องหรือความแตกต่างทางร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์ รวมถึงเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้วย

17. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2565 รวม 62 วัน              (ห้วงที่ 3 - 4)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน 168.28 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง (ศปม.) ตช. ระหว่างวันที่               1 ธันวาคม 2564 - 31 มกราคม 2565 รวม 62 วัน หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะยุติลง ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ตช. รายงานว่า
                    1. ตช. ได้ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนภารกิจของรัฐบาล ตามที่ได้รับการสั่งการจากหน่วยบังคับบัญชา และได้มีการประสานงานขอความร่วมมือจากส่วนราชการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในภารกิจแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งถึงแม้ในห้วงเวลาที่ผ่านมาสถานการณ์ดังกล่าวจะมีแนวโน้มดีขึ้นจากการที่สามารถฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนได้อย่างต่อเนื่องและเป็นไปตามเป้าหมาย อย่างไรก็ดี การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ได้กลับมาแพร่ระบาดอย่างรุนแรงอีกครั้งจากสายพันธุ์                  โอมิครอนที่ติดเชื้อได้ง่ายกว่าสายพันธุ์เดลต้า ดังนั้น ตช. จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคงไว้ซึ่งมาตรการการเฝ้าระวังและสอบสวนโรค โดยมีการปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2564 - 31 มกราคม 2565 รวม 62 วัน (ห้วงที่ 3 - 4) ทั้งนี้ รายละเอียดของภารกิจการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง วงเงิน และอัตรากำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจ                 สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ภารกิจของฝ่ายอำนวยการ (ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค) ทำหน้าที่ออกคำสั่งปฏิบัติ จัดทำแผนปฏิบัติการ ประสานข้อสั่งการ รวบรวมผลการปฏิบัติงาน จัดทำรายงานผลและสถิติข้อมูลการปฏิบัติ เช่น ข้อมูลการตั้งด่านตรวจทุกประเภท ข้อมูลการใช้กำลังพล เป็นต้น
                              1.2 ภารกิจของฝ่ายปฏิบัติการ ประกอบด้วย
                                        1.2.1 การตั้งด่านตรวจ
                                                  (1) จุดตรวจคัดกรองโรค เพื่อตรวจคัดกรองบุคคลที่เดินทางผ่านเข้าออกพื้นที่รับผิดชอบและป้องกันการแพร่ระบาดตลอด 24 ชั่วโมง (วันละ 3 ผลัด ผลัดละ 8 ชั่วโมง)
                                                  (2) จุดตรวจพื้นที่ชายแดน เพื่อป้องกันและปราบปรามการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย
                                                  (3) จุดตรวจปมคมนาคม (บริเวณพื้นที่รอยต่อตามแนวชายแดน/รอยต่อระหว่างจังหวัด และจุดศูนย์รวมเส้นทางหลายสาย) เพื่อสกัดกั้น ควบคุมเส้นทางที่อาจมีการใช้เป็นเส้นทางลักลอบเคลื่อนย้ายแรงงานต่างด้าวหรือบุคคลที่เป็นกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ควบคุมหรือพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ
                                        1.2.2 การตั้งชุดปฏิบัติการ
                                                  (1) ชุดเคลื่อนที่เร็วประจำสถานีตำรวจ จำนวน 1,484 สถานี โดยสนับสนุนการตั้งด่านตรวจตามข้อ 1.2.1 การตรวจสถานประกอบการต่าง ๆ และป้องกันปราบปรามการรวมกลุ่มหรือการมั่วสุม
                                                  (2) ชุดตรวจร่วม ปฏิบัติภารกิจร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบ ชี้แจง กำกับดูแลการดำเนินกิจการหรือกิจกรรมให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในประกาศข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง
                                                  (3) ชุดรักษาความปลอดภัยสถานที่กักกันโรคหรือโรงพยาบาลสนาม ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่สถานที่กักกันโรคหรือโรงพยาบาลสนาม และควบคุมป้องกันไม่ให้มีการลักลอบออกนอกพื้นที่โดยไม่ได้รับอนุญาต
                                                  (4) ชุดรักษาความปลอดภัยพื้นที่ควบคุม (โรงงาน/แคมป์ก่อสร้าง) เป็นชุดควบคุมดูแลตรวจสอบการผ่านเข้าออกเพื่อป้องกันไม่ให้มีการลักลอบออกนอกพื้นที่ควบคุม
                                                  (5) ชุดภารกิจแซนด์บ๊อกซ์ เป็นชุดปฏิบัติการที่ปฏิบัติงานตรวจคัดกรองโรคประจำด่านตรวจทางบก สนามบินนานาชาติจังหวัด ท่าเทียบเรือต่าง ๆ
                                                  (6) ชุดส่งตัวผู้ติดเชื้อไปส่งสถานพยาบาล เป็นชุดสนับสนุน อำนวยความสะดวก รวมถึงรถนำขบวนในการเดินทางไปยังสถานพยาบาลของผู้ป่วยติดเชื้อในพื้นที่รับผิดชอบ
                                                  (7) ชุดตรวจสถานประกอบกิจการ ทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลให้กับชุมชนเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล เช่น การห้ามชุมนุม มั่วสุม เป็นต้น
                                                  (8) ชุดตรวจอนุญาตเข้าออก เป็นชุดควบคุมดูแลและตรวจสอบการผ่านเข้าออกของบุคคลให้เป็นไปตามแนวทางและมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาล
                              1.3 วงเงินและอัตรากำลังพลที่ปฏิบัติภารกิจสรุปได้ ดังนี้
รายการค่าใช้จ่าย          วงเงิน (ล้านบาท)
          ห้วงที่ 3 (31 วัน)
1 ? 31 ธันวาคม 2564          ห้วงที่ 4 (31 วัน)
1 ? 31 มกราคม 2565          รวมห้วงที่ 3 - 4
1. ค่าตอบแทนกำลังพลฝ่ายอำนวยการ          2.68          2.72          5.40
2. ค่าตอบแทนกำลังพลฝ่ายปฏิบัติการ          86.30          75.93          162.23
3. ค่าวัสดุน้ำมันเชื้อเพลิง          0.35          0.30          0.65
รวมวงเงิน          89.33          78.95          168.28
อัตรากำลังพลสูงสุดต่อวันในแต่ละห้วง (นาย)          7,147          6,351          -
                    2. ตช. แจ้งว่า การปฏิบัติงานในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง การบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 เป็นภารกิจที่ ตช. ได้รับมอบหมายเพิ่มเติมจากรัฐบาล ซึ่งงบประมาณที่ ตช. ได้รับการจัดสรรตามปกติได้มีการวางแผนการใช้จ่ายไว้แล้ว จึงไม่สามารถปรับแผนการใช้จ่ายงบประมาณได้อีก
                    3. สำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบให้ ตช. ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน 168.28 ล้านบาท สำหรับการปฏิบัติงานของ ศปม. (ตช.) ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2564 - 31 มกราคม 2565 รวม 62 วัน (ห้วงที่ 3 - 4)



ต่างประเทศ
18. เรื่อง  การพิจารณาเพิ่มราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราและอยู่ในราชอาณาจักรไม่เกิน 30 วัน (ผ.30)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการเพิ่มราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (ซาอุดีอาระเบีย) ในรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเพื่อการท่องเที่ยวได้รับการยกเว้นการตรวจลงตรา และอยู่ในราชอาณาจักรไม่เกิน 30 วัน (ผ.30)1  โดยมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง [กระทรวงมหาดไทย (มท.) และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.)]ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขประกาศหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไปตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนชาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการ (ระหว่างวันที่ 25 ? 26 มกราคม 2565) ทั้งสองฝ่ายได้ประกาศปรับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันให้กลับสู่ระดับปกติอย่างสมบูรณ์ ซึ่งผลการหารือที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การส่งเสริมการติดต่อระหว่างภาคประชาชน โดยจะทำให้มีชาวซาอุดีอาระเบียเดินทางมาท่องเที่ยวยังประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมารัฐบาลซาอุดีอาระเบียจะอนุญาตให้ซาวชาอุดีอาระเบียเดินทางมายังประเทศไทย (ปีละประมาณ 30,000 คน) ด้วยเหตุผล ดังนี้ (1) การเข้าร่วมการประชุมสัมมนา การแข่งขันกีฬา/วัฒนธรรมนานาชาติ (2) การนำเข้าสินค้าจากประเทศไทย (3) การทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขในเรื่องที่เกี่ยวกับการนำเข้าสินค้า (4) การรักษาพยาบาล (5) การเยี่ยมญาติของนักการทูต และ (6) การเยี่ยมเยียนครอบครัวในประเทศไทย ซึ่งคาดว่าภายหลังจากการปรับความสัมพันธ์ระหว่างกันสู่ระดับปกติจะทำให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเป็น 100,000 ? 150,000 คนต่อปี
                    2. ปัจจุบันผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางชาวซาอุดีอาระเบียสามารถขอรับการตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง (Visa on Arrival: VOA)2  โดยสามารถพำนักอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นเวลา 15 วัน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศที่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจะขอรับการตรวจลงตรา              ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมือง ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2562 และสามารถขอรับการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวได้ที่สถานเอกอัศรราชทูตและสถานกงสุลใหญ่ของประเทศไทยในต่างประเทศ และสามารถพำนักอยู่ในประเทศไทยได้เป็นเวลาไม่เกิน 60 วัน ในขณะที่คนชาติของกลุ่มประเทศความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับอื่น ๆ                   (Gulf Cooperation Council: GCC) ได้แก่ รัฐกาตาร์ ราชอาณาจักรบาห์เรน รัฐคูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์              และรัฐสุลต่านโอมาน สามารถเดินทางมายังประเทศไทยได้โดยใช้สิทธิ ผ.30
                    3. กต. ได้จัดการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มท. สตม. สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) และกรมการกงสุล เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งทุกหน่วยงาน              ไม่มีข้อขัดข้องต่อการเพิ่มซาอุดีอาระเบียในรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิ ผ.30 เนื่องจากสอดคล้องกับนโยนายของรัฐบาลในการส่งเสริมการดึงดูดนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการกระจายรายได้ไปยังภูมิภาคต่าง ๆ  นอกจากนี้ ชาวซาอุดีอาระเบียยังเป็นนักท่องเที่ยวคุณภาพ มีการใช้จ่ายสูงและมักเดินทางเป็นครอบครัวขนาดใหญ่
                    4. กต. เห็นว่า การเพิ่มซาอุดีอาระเบียในรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิ ผ.30 จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการอำนวยความสะดวกการเดินทางและการติดต่อระหว่างภาคธุรกิจ และประชาชน ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากหลังจากการปรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับซาอุดีอาระเบียสู่ระดับปกติอย่างสมบูรณ์ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชนของทั้งสองประเทศต่อไป รวมถึงเพื่อที่ซาอุดีอาระเบียจะได้รับสิทธิการตรวจลงตราเท่าเทียมกับประเทศ GCC อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
1 Free Visa (ผ.30) คือ ผู้ถือหนังสือเดินทางจะได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราในการเข้าประเทศ เพื่อการท่องเที่ยวเป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน ซึ่งประเทศที่ได้รับสิทธิการยกเว้นการตรวจลงตรา มีทั้งหมด 56 ประเทศ
2  Visa on Arrival (VOA) คือ วีซ่าที่ผู้ถือหนังสือเดินทางสามารถขอได้ ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองในประเทศเพื่อการท่องเที่ยวเป็นระยะเวลาไม่เกิน 15 วัน โดยที่ไม่ต้องทำวีซ่ล่วงหน้า (ทำวีซ่าเมื่อถึงประเทศไทย)             ซึ่งประเทศที่ได้รับสิทธิการขอวีซ่าประเภทนี้ มีสัญชาติของ 18 ประเทศ และ 1 เขตเศรษฐกิจ เท่านั้น

19.  เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 26 การประชุมรัฐมนตรีว่า                 การกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 8 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีว่า              การกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers? Meeting: AFMM) ครั้งที่ 26 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers? and Central Bank Governors? Meeting: AFMGM) ครั้งที่ 8 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 7 - 8 เมบายน 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนและแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 8 โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประธานการประชุม [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (5 เมษายน 2565) เห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรี AFMGM ครั้งที่ 8 และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 8 ตามที่ กค. เสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 8 ที่จะรับรองดังกล่าวในส่วนที่ไมใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ กค. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว] ซึ่งมีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
การประชุม          ผลการประชุม
1. การประชุม AFMM ครั้งที่ 26          - ที่ประชุมได้หารือร่วมกันในประเด็นเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนและข้อริเริ่มด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงของอาเซียน รวมทั้งติดตามความคืบหน้าและร่วมพิจารณาให้การรับรองประเด็นสำคัญภายใต้ความร่วมมือทางด้านการเงินอาเซียน เช่น การจัดหาเงินทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐาน  ความร่วมมือด้านการประกันภัย โครงการการบริหารการเงินและการประกันภัย ด้านภัยพิบัติสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน และการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันในการเชื่อมโยงข้อมูลหนังสือรับรอง เช่น ใบขนสินค้าอาเซียนผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window.ASM) รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานตราสารหนี้ ส่งเสริมความยั่งยืนอาเซียนเพื่อความครอบคลุม ยั่งยืน และเชื่อมโยงรวมทั้งสนับสนุนให้มีความร่วมมือด้านสินทรัพย์ดิจิทัล นอกจากนี้ ได้ชื่นชมการดำเนินการของกองทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียน พร้อมทั้งสนับสนุนให้กองทุนดังกล่าวพิจารณาให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาดและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภูมิภาค
2. การประชุม AFMGM ครั้งที่ 8
          - ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะเชิงนโยบายกับผู้แทนภาคเอกชนเกี่ยวกับการยกระดับด้านการเงินที่ยั่งยืน เช่น การพัฒนาตลาดคาร์บอนในอาเซียน และการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมด้านการค้าและการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ได้หารือและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ค.ศ. 2025 ความคืบหน้าของความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุม AFMGM เช่น แผนงานการบูรณาการทางการเงินของอาเซียน และความร่วมมือด้านการเงินยั่งยืนของอาเซียน
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้สนับสนุนข้อเสนอแนะในประเด็นการผลักดันให้มีการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียน และได้กล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศไทยในการดำเนินนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน รวมถึงได้ขอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเร่งดำเนินกระบวนการภายในประเทศเพื่อให้สามารถมีการลงนามในร่างพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน ฉบับที่ 9 ได้สำเร็จภายในปี 2565 นอกจากนี้ ได้มีข้อเสนอแนะในการพัฒนามาตรฐานและเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียน (ASEAN Taxonomy) เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดหมวดหมู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริงในกรอบอาเซียนเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน
- แถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 8 โดยมีการปรับปรุงแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งมีบางถ้อยคำแตกต่างจากฉบับร่างที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (5 เมษายน 2565) เห็นชอบร่างเถลงการณ์ฯ ไว้ โดยไม่กระทบสาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นผลลัพธ์ของการประชุมฯ ด้วยแล้ว
3. การประชุมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและ            ผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
          - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนได้หารือกับผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศในประเด็นสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและภูมิภาคอาเซียน รวมถึงแนวทางการดำเนินนโยบายของภาครัฐเพื่อให้เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนฟื้นตัวได้อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และมีภูมิคุ้มกัน ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก ได้แก่ (1) เสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง (2) พัฒนาแนวทางในการระดมทรัพยากรภายในประเทศ เช่น การปฏิรูปภาษีเพื่อเป็นแหล่งงบประมาณให้รัฐบาลใช้ในการดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และ (3) เพิ่มการลงทุนเพื่อการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทั่วถึงและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2565 ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3 - 4 ต่อปี โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการฟื้นตัวของภาคการบริโภคภายในประเทศ สถานการณ์ภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการกระตุ้นเศษฐกิจด้วยมาตรการของภาครัฐที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและยังต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่อาจยืดเยื้อปัญหาความเปราะบางด้านตลาดแรงงานและหนี้ครัวเรือน ความขัดแย้งระหว่างสหพันธรัฐรัสเซีย-ยูเครน และราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำความสำคัญของการระดมทรัพยากรในประเทศ เช่น การปฏิรูปภาษีและการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ด้านการคลังบางประการ อีกทั้งสถาบันการเงินระหว่างประเทศต่าง ๆ ควรพิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไขการให้กู้ยืมแก่ประเทศอาเซียน กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ย และผ่อนปรนเกณฑ์การพิจารณาเงื่อนไขการปล่อยกู้ต่าง ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกในภาวะที่มีความผันผวนสูงและไม่ปกติ เพื่อให้รัฐบาลในประเทศต่าง ๆ สามารถมีพื้นที่การคลังเพียงพอในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
4. การเสวนาหัวข้อ ?การเงินยั่งยืน : การระดมทรัพยากรทางการเงินเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19?          - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เข้าร่วมการเสวนาข้างต้นร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งผู้แทนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ โดยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจและแนวทางในการระดมทรัพยากรภายในประเทศผ่านกลไกการเงินที่ยั่งยืนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19 นอกจากนี้ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์โดยได้กล่าวถึงความสำคัญในการปฏิรูปด้านการคลัง โดยเฉพาะการปฏิรูปภาษีเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19 โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการจัดเก็บภาษี และได้กล่าวถึงการดำเนินการของไทยในการส่งเสริมการเงินเพื่อความยั่งยืน เช่น การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการระดมทุนเพื่อนำไปใช้ในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

20. เรื่อง  การต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านโทรคมนาคมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงคมนาคมและโทรคมนาคมแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามใน (ร่าง) หนังสือเห็นชอบการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงคมนาคมและโทรคมนาคมแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ (บันทึกความเข้าใจฯ) (Extension of the Memorandum of Understanding on Cooperation in the Field of Telecommunication, Information and Communication Technology and Digital Technology between the Ministry of Digital Economy and Society of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Transport and Communications of the Republic of Finland) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ)  ดำเนินการได้ โดยให้แจ้งคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างหนังสือเห็นชอบการต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. บันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนระหว่าง                      2 ประเทศ ในการพัฒนาด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการส่งเสริมการค้า การแลกเปลี่ยน ด้านเทคนิค การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งจะนำไปสู่การส่งเสริมความร่วมมือด้านการลงทุน การพัฒนาด้านเทคนิค การขยายตลาด และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์บนพื้นฐานของความเท่าเทียมและผลประโยชน์ร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศนำไปสู่ความร่วมมืออย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยจะดำเนินความร่วมมือใน 9 สาขา ดังนี้ (1) นโยบายและกฎระเบียบด้านโทรคมนาคม เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication Technology: ICT) และเทคโนโลยีดิจิทัล (2) การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม ICT และดิจิทัล ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ชอฟต์แวร์ ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) และการบริการที่เกี่ยวข้อง (3) โครงสร้างพื้นฐานด้านบรอดแบนด์และการพัฒนาการให้บริการ (4) นวัตกรรมด้านดิจิทัล เช่น Big Data Internet of Things (IoT) และปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) (5) ระบบนิเวศด้านดิจิทัล (Digital Ecosystem) รวมถึงเมืองอัจฉริยะ (Smart City) (6) โอกาสด้านดิจิทัล เช่น การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมโอกาสและศักยภาพของประชาชน  (Digital Inclusion) (7)  การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (8) ส่งเสริมกลุ่มธุรกิจ Startups ผู้ประกอบการ และ SMES ในด้านดิจิทัล (9) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ความร่วมมือและความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
                    ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้นับจากวันที่ลงนามเป็นระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ลงนาม และสามารถต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ ออกไปได้ตามความยินยอมของคู่ภาคี
                    2. ที่ผ่านมา ได้มีการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว อาทิ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลได้ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฟินแลนด์ประจำประเทศไทย (สถานทูตฟินแลนด์ฯ จัดงาน Business Matching ระหว่างองค์กรธุรกิจของทั้งสองประเทศ รวมถึงการเข้าร่วมงาน Slush 2018 ณ ประเทศฟินแลนด์ ซึ่งเป็นเวทีพบปะกันระหว่าง Startups และนักลงทุนในภูมิภาคยุโรป เพื่อสร้างเครือข่ายและกลไกส่งเสริมการลงทุนที่จะสนับสนุนการเติบโตของระบบนิเวศดิจิทัล Startups ของไทย แต่โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่งผลให้การดำเนินงานตามความร่วมมือได้หยุดชะงักไป ประกอบกับบันทึกความเข้าใจฯ ครบกำหนดอายุ 3 ปี เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2564 ฝ่ายฟินแลนด์ได้แสดงความประสงค์ที่จะดำเนินความร่วมมือดังกล่าวกับไทยต่อไปในอนาคต กระทรวงคมนาคมและโทรคมนาคมแห่งสาธารณรัฐฟินแลนด์ โดยสถานทูตฟินแลนด์ฯ และ ดศ. จึงได้มีการหารือเพื่อจัดทำ (ร่าง) หนังสือเห็นชอบการต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ จนได้ข้อยุติเมื่อเดือนมกราคม 2565 มีสาระสำคัญเป็นการต่ออายุความร่วมมือออกไปเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่                        22 สิงหาคม 2564 จนถึงวันที่ 21 สิงหาคม 2567 และสามารถต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ ออกไปได้ตามความยินยอมของคู่ภาคี ทั้งนี้ (ร่าง) หนังสือเห็นชอบการต่ออายุบันทึกความเข้าใจดังกล่าวไม่ได้มีผลผูกพันตามกฎหมายต่อคู่ภาคี โดยจะดำเนินการตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องของทั้ง 2 ประเทศ และขึ้นอยู่กับความพร้อมและเงินทุนของคู่ภาคี

21.  เรื่อง  การเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบการเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) ของประเทศไทย
                    2. เห็นชอบกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับ EFTA
                    3. เห็นชอบร่างเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับ EFTA ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าว ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    4. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมประกาศหรือออกแถลงการณ์เปิดการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับ EFTA และร่วมให้ความเห็นชอบเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาฯ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ปัจจุบันประเทศไทยมีความตกลงการค้าเสรี 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ [ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เป็นความตกลงฉบับล่าสุดที่มีผลใช้บังคับเมื่อต้นปี 2565] ส่งผลให้ประเทศไทยมีมูลค่าการค้ากับ 18 ประเทศที่มีการทำความตกลงด้วย โดยครอบคลุมร้อยละ 64 ของการค้าของประเทศไทยกับทั่วโลก อีกทั้งประเทศไทยยังมีแผนที่จะจัดทำความตกลงกับคู่ค้าสำคัญอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 ที่จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รักษาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ขณะเดียวกัน พณ. มีนโยบายให้ขยายการจัดทำความตกลงเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนของประเทศไทย ซึ่ง EFTA (ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์) เป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพและได้แสดงความสนใจที่จะจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศไทย โดยมีการหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง
                    2. พณ. ได้จัดทำร่างกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรปและร่างเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาฯ โดยได้มีการสอบถามความเห็นและหารือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ [รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเซาว์) เป็นประธาน] ด้วยแล้ว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1) ร่างเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาฯ มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเจรจาในภาพรวม ได้แก่ (1) ร่างเอกสารฯ เป็นการวางแนวทางข้อเสนอขอบเขตและหลักการสำคัญ รวมถึงขั้นตอนต่อไปสำหรับการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับ EFTA (2) ภาคีทั้งสองฝ่ายมุ่งหวังให้เกิดความตกลงการค้าเสรีที่มีความครอบคลุมถึงเรื่องต่าง ๆ ครอบคลุม 16 หัวข้อ (3) ความตกลงจะต้องมีความสอดคล้องกับความตกลงขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) โดยเฉพาะข้อ 24 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT) และข้อ 5 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services (GATS) (4) การเจรจาจะถูกดำเนินการบนพื้นฐานของการเสนอร่างถ้อยคำที่จะถูกส่งให้กันล่วงหน้าโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย
                              2) ร่างกรอบการเจรจาฯ มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเจรจาในภาพรวม ได้แก่ (1) เพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน (2) เพื่อส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและ             การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (3) เจรจาให้ได้ประโยชน์ในภาพรวมสูงสุด โดยคำนึงถึงความพร้อม ระดับการพัฒนา และภูมิคุ้มกันของประเทศ ตลอดจนการมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDG) และ (4) ให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วนที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยให้มีระยะเวลาในการปรับตัวและมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
                    ทั้งนี้ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ อาทิ ประเทศไทยจะสามารถส่งออกสินค้าต่าง ๆ ไปยังกลุ่มประเทศ EFTA ได้มากขึ้น เช่น สินค้าเกษตร (ข้าว ข้าวโพดหวาน เนื้อสุกร) เครื่องแต่งกาย ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น และนำเข้าสินค้าจากกลุ่มประเทศ EFTA ได้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เช่น ปุ๋ยเคมี อัญมณี เครื่องประดับ เครื่องสำอาง เป็นต้น

22.  เรื่อง ขอความเห็นชอบท่าทีไทยเพิ่มเติมสำหรับการประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลกสมัยสามัญ            ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบข้อเสนอท่าทีไทยเพิ่มเติมสำหรับการประชุมการประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลกสมัยสามัญครั้งที่ 12 (the Twelfth Ministerial Conference: MC12) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบควบคู่กับท่าทีไทยสำหรับการประชุม MC12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง   ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายพิจารณาใช้ดุลยพินิจตามสถานการณ์ ตามความเหมาะสม ในเรื่องที่จะเป็นประโยชน์ของไทยต่อไป
                    2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม MC12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ หากเป็นกรณีที่เข้าข่ายตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เห็นควรแจ้ง WTO ว่าไทยต้องดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายภายในประเทศให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะมีผลผูกพันกับไทย
                    3. หากมีการปรับปรุงแก้ไขเอกสารตามข้อ 2 ที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์และผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบในภายหลัง
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    นอกเหนือจากข้อเสนอท่าทีไทยในประเด็นที่ได้รับความเห็นชอบแล้วจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2564 ประเทศสมาชิก WTO อยู่ระหว่างหารือประเด็นเกี่ยวกับ (1) ความมั่นคงทางอาหาร (2) ปฏิญญาว่าด้วยเรื่องสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (3) การสนับสนุนการพ้นสถานะของ LDCs (4) แนวทางการเสริมสร้างบทบาทของ WTO ในการรับมือกับโรคโควิด - 19 และโรคระบาดในอนาคต และ (5) การค้ากับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ได้ข้อสรุปเป็นส่วนหนึ่งของผลลัพธ์การประชุม MC12
                    ทั้งนี้ เอกสารผลลัพธ์การประชุม MC12 จะไม่มีการลงนาม ซึ่งกระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างหารือเพื่อสอบถามความเห็นของกรมสนธิสัญญาและกฎหมายและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                    สำหรับการประชุม MC12 และการประชุมที่เกี่ยวข้องกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 ? 15 มิถุนายน 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

23. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญา (Final Declaration) สำหรับการประชุมระดับสูงว่าด้วยทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ ?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018 - 2028 ครั้งที่ 2             (The Second High - Level International Conference on the International Decade for Action ?Water for Sustainable Development? , 2018 - 2028 หรือ Second Dushanbe Water Action Decade Conference)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญา (Final Declaration) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมระดับสูงว่าด้วยทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ ?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018 - 2028 ครั้งที่ 2 (The Second High - Level International Conference on the International Decade for Action ?Water for Sustainable Development? , 2018 - 2028 หรือ Second Dushanbe Water Action Decade Conference) ทั้งนี้ เนื่องจากร่างปฏิญญาฯ ดังกล่าว อาจยังมิใช่ร่างสุดท้าย ดังนั้น หากมีความจำป็นต้องแก้ไขที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมการประชุมให้การรับรองร่างปฏิญญาฯ ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้งตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. การประชุมระดับสูงว่าด้วยทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ ?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018 - 2028 ครั้งที่ 2 กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 9 มิถุนายน 2565 ณ กรุงดูซานเบ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ภายใต้หัวข้อ ?Catalyzing water action and partnership at the local, national, regional and global levels? ซึ่งจะมีพิธีเปิดการประชุมในวันที่ 7 มิถุนายน 2565 และรับรองปฏิญญา (Final Declaration) ที่เป็นเอกสารของผลลัพธ์ของการประชุม ในวันที่ 8 มิถุนายน 2565 โดยร่างปฏิญญาฯ ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ จำนวน 4 ประการ ได้แก่
                              (1) สร้างหลักประกันว่าทุกคนจะสามารถเข้าถึงน้ำที่ปลอดภัยและราคาเหมาะสมสุขาภิบาลและสุขอนามัยที่เพียงพอและเท่าเทียม กำหนดกลยุทธ์ระยะยาวในการป้องกันโรคระบาดที่เพิ่มขึ้นการเตรียมความพร้อม และการตอบสนอง รวมถึงวิกฤตการณ์โควิด - 19 โดยลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดหาน้ำและสุขาภิบาล น้ำเสียและการจัดการของเสีย ส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ดีด้าน WASH อย่างต่อเนื่อง
                              (2) ตระหนักถึงความสำคัญของน้ำเพื่อการดำรงชีวิตและการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง ส่งเสริมการดำเนินการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการ โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างครอบคลุม เสริมสร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนและการจัดการน้ำอย่างยั่งยืนผ่านข้อตกลงที่หมาะสมซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการบูรณาการทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคตามความเหมาะสม ตลอดจนส่งเสริมแนวทางความเชื่อมโยงระหว่างน้ำ พลังงาน อาหาร ระบบนิเวศ โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อเนื่องภายใต้วิกฤตในทุกระดับ
                              (3) สร้างความเชื่อมโยงระหว่างน้ำ สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยพัฒนาหน่วยงานด้านน้ำ นโยบาย และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ปรับปรุงการประสานงานและจัดการกับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ที่คำนึงถึงผลกระทบด้านลบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพต่อความมั่นคงด้านน้ำ
                              (4) ส่งเสริมความร่วมมือและหุ้นส่วนระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ในทุกระดับรวมถึงหน่วยงานท้องถิ่น องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรลุ่มน้ำ นักลงทุน และผู้บริจาค โดยเสริมสร้างการประสานงานและการเชื่อมโยงภายในขอบเขตเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ 6 (SDG 6) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อื่น ๆ ด้วยการส่งเสริมความรับผิดชอบและการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ เทคโนโลยีประสบการณ์ และแนวปฏิบัติที่ดีตามความเหมาะสม เชื่อมโยงการตัดสินใจและนวัตกรรมสู่การปฏิบัติ
                              โดยพิจารณาให้เร่งรัดการสร้างความมั่นคงด้านน้ำ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนา
ที่ยั่งยืนที่ 6 (SDG 6) และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) อื่น ๆ ภายในปี พ.ศ. 2573 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนผ่านการยกระดับนโยบายและการจัดลำดับความสำคัญ รวมถึงการสนับสนุนระหว่างประเทศสำหรับประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้ การประชุมด้านน้ำแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2566 ควรเป็นแรงผลักดัน ตลอดจนการสนับสนุนด้านหน่วยงานและการเงิน เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายนี้ร่วมกัน
                    2. ร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ มีสาระเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมระดับผู้นำในการพัฒนาการบริหารการจัดการและการดำเนินการด้านทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนและครอบคลุมทุกภาคส่วน โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กอปรกับไม่มีการลงนามในร่างเอกสารดังกล่าว ดังนั้น ร่างปฏิญญาฯ จึงไม่ใช่สนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

แต่งตั้ง
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                   (กระทรวงสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นางสาวชุลีพร จิระพงษา นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค            ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2564
                     2. นางสาววันทนา ปวีณกิตติพร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านบักเตรีทั่วไป (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์เชี่ยวชาญ) กลุ่มแบคทีเรียวิทยาทางการแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์     ดำรงตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์การแพทย์ (เทคโนโลยีชีวภาพ) (นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ทรงคุณวุฒิ) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 13 มกราคม 2565
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแต่งตั้ง นางณัฐนันทน์             อัศวเลิศศักดิ์ กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา                 ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักนายกรัฐมนตรี             เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรง             พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

26. เรื่อง แต่งตั้งอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ) ประจำปี 2565 (ฮ.ศ. 1443)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งนายซากีย์ พิทักษ์คุมพล              เป็นอะมีรุ้ลฮัจย์ หรือรออิสบิซาตุลฮัจย์ อัลรัสมียะห์ (หัวหน้าคณะผู้แทนฮัจย์ทางการ) ประจำปี 2565 (ฮ.ศ. 1443) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ