สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 มิถุนายน 2565

ข่าวการเมือง Tuesday June 14, 2022 18:17 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (14 มิถุนายน 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                      เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง          ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศต้องเป็นไป

ตามมาตรฐาน พ.ศ. ....

                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องนวดร่างกายต้องเป็นไป

ตามมาตรฐาน พ.ศ. ....

                    3.           เรื่อง           ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมาย                                        ว่าด้วยการประมง พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้น                                        ข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าว                                        สัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม สามารถมายื่นคำขอรับหนังสือคน                                                  ประจำเรือเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และทำงานกับนายจ้าง

ในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ...........................

พ.ศ. 2565 เศรษฐกิจ สังคม

                    4.           เรื่อง           การขออนุมัติดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7                                         ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ของกรมทางหลวง
                    5.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

และคณะในศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ

พ.ศ. 2566 ? 2570

                    6.           เรื่อง           ร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570
                    7.           เรื่อง           ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่

จำนวน 2 โครงการ (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

จังหวัดปราจีนบุรี และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา

จังหวัดเชียงใหม่)

                    8.           เรื่อง           การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง

ซ่อมแซมถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับ

ความเสียหายจากอุทกภัย

                    9.           เรื่อง           พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

ประจำปี 2564 ? 2565

                    10.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2564 ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
                    11.           เรื่อง           มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565
                    12.           เรื่อง           รายงานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิ

มนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560

                    13.           เรื่อง           ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ

เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการที่มีความจำเป็น

เร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรี

                    14.           เรื่อง           ข้อเสนอการดำเนินการเพื่อยกเว้นการยื่นรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามา

ในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ต.ม. 6) กรณีการเดินทางผ่านด่าน

ท่าอากาศยาน เป็นการชั่วคราว ต่างประเทศ

                    15.           เรื่อง           ผลการประชุมสุดยอดด้านการบินชางงี 2565
                    16.           เรื่อง           (ร่าง) ข้อเสนอปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจีดพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) ต่อที่

ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่า

ที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19)

                    17.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่าง

สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

กับ The Cyberspace Administration of the People?s Republic of China

สาธารณรัฐประชาชนจีน

                    18.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อการร่วมรับรองปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นส่วนตัว

และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมระดับ

รัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคอินโด ? แปซิฟิก ณ กรุงปารีส

สาธารณรัฐฝรั่งเศส

                    19.           เรื่อง           ร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent: LOI) ว่าด้วยความร่วมมือในสาขา

เศรษฐกิจดิจิทัลและเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และการกีฬา

ของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือผ่านสถานเอกอัครราชทูต

                                        สหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย และเครือข่ายการค้าดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย                                        แปซิฟิก
                    20.           เรื่อง           รายงานผลการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อย

ตามชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย - ลาว ครั้งที่ 27

                    21.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน

ครั้งที่ 16 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศ

คู่เจรจา ครั้งที่ 9

                    22.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่ง

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับรัฐบาลออสเตรเลียว่าด้วยข้อริเริ่มออสเตรเลียสำหรับ

อนาคตของอาเซียน

                    23.           เรื่อง           ท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจ                                        และการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO)

ไทย ? สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง

                    24.           เรื่อง           ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on

the Prohibition of Nuclear Weapons - TPNW) ครั้งที่ 1 (First Meeting of

States Parties ? 1MSP) แต่งตั้ง

                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ

ระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)

                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง

(กระทรวงการต่างประเทศ)

                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง

(สำนักนายกรัฐมนตรี)

                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ



                    30.           เรื่อง          แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพ

สถานพยาบาล

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396







































กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศ เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานระหว่างประเทศในปัจจุบัน อันเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในการซื้อผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัย และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน เล่ม 2 (65) ข้อกำหนดเฉพาะเครื่องฟอกอากาศ มาตรฐานเลขที่ มอก. 60335 เล่ม 2 (65) - 2564 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6389 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องฟอกอากาศ เฉพาะด้านความปลอดภัย และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน เล่ม 2 (65) ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องฟอกอากาศ ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2564
                    2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องนวดร่างกายต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องนวดร่างกายต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องนวดร่างกาย เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานระหว่างประเทศที่ใช้ในปัจจุบัน อันจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพ และมีความปลอดภัยแก่ประชาชน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องนวดร่างกายต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน เล่ม 2 (32) ข้อกำหนดเฉพาะเครื่องนวดร่างกาย มาตรฐานเลขที่ มอก. 60335 เล่ม 2 (32) - 2564 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6388 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานที่มีลักษณะคล้ายกัน ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องนวด และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมความปลอดภัยของเครื่องใช้ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นที่คล้ายกัน เล่ม 2 (32) ข้อกำหนดเฉพาะสำหรับเครื่องนวดร่างกาย ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2564
                    2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองร้อยเจ็ดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

3. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม สามารถมายื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ........................... พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติในหลักการ
                              (1) ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ....
                              (2) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม สามารถมายื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ........................... พ.ศ. 2565
                    2. การดำเนินการออกหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าวเพื่อทำงานในเรือประมงต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมปฏิบัติงานด้วย เห็นควรมอบให้หน่วยงานดำเนินการดังต่อไปนี้
                              (1) กรมประมง จัดทำทะเบียนประวัติและออกหรือต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ
                              (2) กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสุขภาพซึ่งครอบคลุมถึงการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และทำประกันสุขภาพของคนต่างด้าว
                              (3) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดทำสัญญาจ้างซึ่งครอบคลุมการสัมภาษณ์คนต่างด้าว โดยให้สัญญาจ้างเป็นสัญญาที่ระบุระยะเวลาการจ้างและวันสิ้นสุดการจ้างไว้ด้วยพร้อมตรวจสอบความถูกต้อง และลงลายมือชื่อกำกับ
                              (4) สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรแก่คนต่างด้าว และจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics)
                              (5) กรมการปกครอง จัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ทร. 38/1) และบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู)
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. .... ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 83 วรรคสาม แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงทะเลให้สอดคล้องกับความเห็นและมติของคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
                              1.1 ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 21 เมษายน 2563 เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี                ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564
                              1.2 กำหนดให้การเปิดให้คนต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนและขอรับหนังสือคนประจำเรือ มีได้              2 กรณี ดังนี้
                                        (1) การเปิดให้คนต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนและขอรับหนังสือคนประจำเรือ กรณีคนต่างด้าวไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวแต่ต้องเป็นผู้ถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ และได้รับการตรวจลงตรา โดยมีรอยตราประทับตรวจหนังสือเดินทางขาเข้า หรือคนต่างด้าวที่เคยได้รับหนังสือคนประจำเรือตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการออกหนังสือคนประจำเรือที่ประสงค์จะทำงานในเรือประมงสามารถยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ ปีละ 2 ครั้ง ตามห้วงเวลาดังต่อไปนี้
                                                  - ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน
                                                  - ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน
                                        (2) การเปิดให้คนต่างด้าวมาขอรับหนังสือคนประจำเรือ กรณีคนต่างด้าวจะต้องมีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว
                              1.3 ในการพิจารณาออกหนังสือคนประจำเรือ กรณีคนต่างด้าวไม่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้
                                        (1) คนต่างด้าวจะต้องมีใบรับรองการตรวจสุขภาพซึ่งครอบคลุมถึงการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการประกันสุขภาพมีอายุคุ้มครองอย่างน้อยเท่ากับอายุหนังสือคนประจำเรือตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยการตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าว
                                        (2) เจ้าของเรือได้จัดทำหนังสือสัญญาจ้างตามแบบที่กำหนดในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดแบบสัญญาจ้างลูกจ้างในงานประมงทะเล ซึ่งอย่างน้อยต้องจัดทำเป็นภาษาไทย และภาษาที่ลูกจ้างซึ่งเป็นคนต่างด้าวเข้าใจได้ โดยระบุวันจ้างและวันสิ้นสุดการจ้างซึ่งต้องไม่เกินสองปีหรือไม่เกินอายุของหนังสือคนประจำเรือ และให้เจ้าหน้าที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานตรวจสอบความถูกต้อง รวมทั้งสัมภาษณ์คนต่างด้าว โดยอาจให้มีผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชนหรือผู้แทนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization) หรือผู้แทนสหวิชาชีพ ร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ด้วยก็ได้ก่อนลงลายมือชื่อกำกับรับรองความถูกต้องของสัญญาจ้างตามแบบที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด
                                        (3) คนต่างด้าวจะต้องยื่นคำขอจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดที่คนต่างด้าวยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ หรือสถานที่อื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนดภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับใบรับคำขอรับหนังสือคนประจำเรือจากกรมประมง
                                        โดยให้หนังสือคนประจำเรือมีอายุไม่เกินสองปีนับแต่วันที่ออกหนังสือคนประจำเรือ ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาจ้าง
                              1.4 กำหนดให้ต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ สำหรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว และสำหรับคนต่างด้าวที่ได้รับการต่ออายุหนังสือคนประจำเรือตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ประกอบประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 ออกไปอีกคราวละไม่เกิน 2 ปีนับแต่หนังสือคนประจำเรือเดิมสิ้นอายุ
                    2. พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 81 กำหนดว่าคนต่างด้าวผู้ใดอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการอนุญาตสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน ต้องได้รับโทษทางอาญา และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้พนักงานเจ้าหน้าที่จะส่งตัวคนต่างด้าวผู้นั้นกลับออกไปนอกราชอาณาจักรก็ได้ ประกอบกับรัฐมนตรีได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ออกคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร กรณีคนต่างด้าวผู้นั้นอยู่ในราชอาณาจักรเกินระยะเวลาได้รับอนุญาต ดังนั้น การเปิดให้คนต่างด้าวมาขึ้นทะเบียนและขอรับหนังสือคนประจำเรือจำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 โดยขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรีออกประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อยกเว้นให้คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ดังนี้
                              (1) ที่ถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุและมีรอยตราประทับตรวจหนังสือเดินทางขาเข้าโดยเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันยื่นขอรับหนังสือคนประจำเรือ และระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังเหลืออยู่
                              (2) ที่ถือหนังสือเดินทาง หรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุและมีรอยตราประทับตรวจหนังสือเดินทางขาเข้าโดยเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันยื่นขอรับหนังสือคนประจำเรือ และระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดลง แต่ไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
                              (3) ได้รับหนังสือคนประจำเรือตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง และระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดลงแต่ไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
                              (4) ที่ได้รับหนังสือคนประจำเรือตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ซึ่งได้รับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามอายุหนังสือคนประจำเรือและระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดลง แต่ไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร
                              (5) ที่ได้รับหนังสือคนประจำเรือตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2564 ซึ่งได้รับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามอายุหนังสือคนประจำเรือ และให้หมายความรวมถึงคนต่างด้าวตามคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงหมาดไทย ที่ 1/2558 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เพื่อเปิดให้คนต่างด้าวตามข้อ (1) ถึง (4) มาขึ้นทะเบียนยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ และคนต่างด้าวตามข้อ (5) มายื่นขอต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ โดยให้คนต่างด้าวกลุ่มดังกล่าวสามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวโดยมีระยะเวลาตามอายุหนังสือคนประจำเรือแต่ไม่เกิน 2 ปี โดยทั้งนี้หากคนต่างด้าวผู้ใดประสงค์จะออกนอกบริเวณท่าเทียบเรือประมงตามที่มาตรา 83 แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 กำหนดให้คนต่างด้าวผู้นั้นจะต้องได้รับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวจากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง สำหรับคนต่างด้าวซึ่งได้รับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรไว้แล้ว หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทำงานต่อไปอีก ให้ขออนุญาตอยู่ในราชอาณาจักรได้อีกไม่เกินระยะเวลาตามอายุหนังสือคนประจำเรือ ซึ่งในกรณีที่หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสิ้นอายุ ให้คนต่างด้าวดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งเอกสารดังกล่าว เพื่อใช้ในการขอรับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแล้วแต่กรณี จึงต้องเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงหมาดไทยออกประกาศดังกล่าว

เศรษฐกิจ สังคม

4. เรื่อง การขออนุมัติดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ของกรมทางหลวง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอให้กรมทางหลวงดำเนินงานก่อสร้างโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา (ส่วนต่อขยายฯ) ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 4,508 ล้านบาท โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) จัดหาเงินกู้ตามแผนบริหารหนี้สาธารณะ และให้สำนักงบประมาณ (สงป.) จัดสรรงบประมาณสำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน วงเงิน 108 ล้านบาท รวมถึงเงินงบประมาณสมทบกับแหล่งเงินกู้ โดยอัตราส่วนของแหล่งเงินกู้และเงินงบประมาณสมทบให้เป็นไปตามที่ กค. ทำความตกลงกับแหล่งเงินกู้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ส่วนต่อขยายเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา (โครงการฯ) มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับการจราจรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตบริเวณสนามบินอู่ตะเภาและมืองการบินภาคตะวันออก ซึ่งสนามบินอู่ตะเภาจะเปิดให้บริการเป็นสนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลักแห่งที่ 3 ในปี 2568 โดยจะเป็นการก่อสร้างทางยกระดับเชื่อมต่อจากทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหมายเลข 7 ถัดจากด่านเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอู่ตะเภาเข้าสู่อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ของสนามบินอู่ตะเภา (ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางเพิ่ม) รวมถึงทางเลี้ยวและทางแยกต่างระดับบริเวณจุดตัดกับถนนสุขุมวิท มูลค่าโครงการรวมทั้งสิ้น 4,508 ล้านบาท แบ่งเป็น                (1) ค่าก่อสร้างค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงาน และเงินเผื่อเหลือเผื่อขาด รวม 4,400 ล้านบาท ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามแผนบริหารหนี้สาธารณะ ปีงบประมาณ 2565 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ดำเนินการโดยกระทรวงการคลัง (กค.) และเงินงบประมาณสมทบ (อัตราส่วนของแหล่งเงินกู้และเงินงบประมาณสมทบขึ้นอยู่กับความตกลงระหว่าง กค. และแหล่งเงินกู้) และ (2) ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 108 ล้านบาท               ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ ระยะเวลาก่อสร้างระหว่างปี 2565 - 2567 เพื่อให้สอดรับกับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2568 ทั้งนี้ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน EIA) ของโครงการฯ อยู่ระหว่างปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและทางอากาศ (คชก.) ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 และเมื่อ คชก. เห็นชอบรายงาน EIA ที่แก้ไขแล้ว จะเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป ในส่วนของการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินอยู่ระหว่างดำเนินการขอใช้ที่ดินของส่วนราชการ และออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562

5. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และคณะในศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ? 2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และคณะในศูนย์สุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ? 2570 (แผนอัตรากำลังฯ) จำนวน 1,058 อัตรา งบประมาณรวม 352,498,800 บาท ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ทบทวนอัตรากำลังตามแผนให้มีความเหมาะสม โดยให้พิจารณาใช้เงินจากแหล่งเงินตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     อว. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ และคณะในศูนย์สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ? 2570 (อัตราใหม่พนักงานมหาวิทยาลัย) ดังนี้
หน่วยงาน          ความต้องการอัตรากำลัง (คน)          งบประมาณ (บาท)
1. โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ          644          178,548,000
2. คณะในศูนย์สุขศาสตร์ฯ           414          173,950,800
รวมทั้งสิ้น          1,058          352,498,800
ทั้งนี้ แผนการเพิ่มอัตรากำลังดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โดยกำหนดเป้าหมายในการขยายศักยภาพเป็นโรงพยาบาลขนาด 1,000 เตียง (จากเดิม 750 เตียง) เพื่อให้สามารถรองรับการให้บริการผู้ป่วยนอกได้ประมาณ 1,400,000 คน/ปี หรือเฉลี่ยวันละ 5,400 คน และผู้ป่วยในประมาณ 37,500 คน/ปี (จากเดิมรองรับผู้ป่วยนอกได้ 1,089,041 คน/ปี เฉลี่ยวันละ 4,200 คน และให้บริการผู้ป่วยใน 33,959 คน/ปี) ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนพื้นที่บริการสุขภาพในระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน) และแบ่งเบาภาระจำนวนผู้ป่วยจากกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งจัดหาบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับภารกิจด้านการวิจัยทางคลินิกและการวิจัยด้านสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องตามบทบาทของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิชั้นสูงและการวิจัยของศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทาง (Excellence Center) นอกจากนี้ คณะในศูนย์สุขศาสตร์ (7 คณะ) มีเป้าหมายในการเพิ่มศักยภาพการเรียนการสอน โดยเพิ่มจำนวนหลักสูตรจาก 62 หลักสูตร เป็น 70 หลักสูตร จึงมีความต้องการอัตรากำลังเพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาและหลักสูตรใหม่ เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ

6. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565 - 2570 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ กค. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมเพื่อขับเคลื่อนและผลักดันให้เป็นวาระแห่งชาติต่อไป
                    ร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงินฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. วิสัยทัศน์ คนไทยมีความตระหนักรู้ ความรู้ และทักษะในการบริหารจัดการเงินอย่างมีประสิทธิภาพและมีวินัยทางการเงิน เพื่อสร้างความมั่นคงและความเป็นอยู่ที่ดีให้ตนเองและครอบครัว
                    2. วัตถุประสงค์
                              2.1 เพื่อเป็นกรอบนโยบายและกลไกบูรณาการการดำเนินการพัฒนาทักษะทางการเงินของประเทศไทย
                              2.2 เพื่อเป็นแนวทางการจัดทำโครงการและกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะทางการเงินของคนไทยให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด
                    3. องค์ประกอบของร่างแผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย 8 มาตรการ 19 แผนงาน ดังนี้
เป้าหมาย          มาตรการ/แผนงาน
เป้าหมายที่ 1
คนไทยตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการบริหารจัดการเงินและเข้าถึงข้อมูลทางการเงิน          มาตรการที่ 1 ยกระดับความสำคัญการพัฒนาทักษะทางการเงิน
แผนงาน                    1) กำหนดให้มีการรณรงค์ระดับชาติและจัดกิจกรรมเพื่อสร้างการตระหนักรู้ทางการเงินให้แก่ประชาชน โดยกำหนดรูปแบบ (Theme) การรณรงค์ระดับชาติที่เปลี่ยนไปทุกปี และเน้นการรณรงค์สร้างค่านิยมพื้นฐานทางการเงินที่ดี
                    2) กำหนดให้การพัฒนาทักษะทางการเงินเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ
ตัวชี้วัด เช่น จำนวนผู้เข้าถึงการรณรงค์ต่อปี กำหนดให้การให้ความรู้ทางการเงินเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ เป็นต้น
มาตรการที่ 2 ส่งเสริมการเข้าถึงข้อมูลและองค์ความรู้ทางการเงินที่ถูกต้องและเชื่อถือได้เพื่อเพิ่มความตระหนักรู้และสนับสนุนการเรียนรู้และพัฒนาทักษะทางการเงินด้วยตนเองของประชาชน
แผนงาน                    1) ใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลเพื่อเพิ่มระดับการเข้าถึงข้อมูล องค์ความรู้และข่าวสารทางการเงินที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ผ่านช่องทางออนไลน์/สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) รวมทั้งการเตือนภัยทางการเงิน
                    2) พัฒนาเว็บไซต์ความรู้ทางการเงินเพื่อคนไทย www.รู้เรื่องเงิน.com เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูล ความรู้ และข่าวสารด้านการเงินสำหรับประชาชน โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานต่าง ๆ
                    3) ประชาสัมพันธ์ช่องทางติดต่อและศูนย์ให้คำปรึกษาทางการเงินของหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ ศูนย์รับฟังปัญหาลูกค้า ปรึกษาปัญหาหนี้นอกระบบ ปรึกษาการลงทุนด้านการเงิน เป็นต้น
ตัวชี้วัด เช่น จำนวนข้อมูลความรู้ในรูปแบบดิจิทัลที่มีการเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ของหน่วยงาน จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ www.รู้เรื่องเงิน.com หน่วยงานมีการประชาสัมพันธ์แจ้งช่องทางติดต่อและศูนย์ให้คำปรึกษาของตนในช่องทาง/วิธีการที่เหมาะสม เป็นต้น
เป้าหมายที่ 2
คนไทยมีความรู้และทักษะทางการเงินเพียงพอที่จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิต          มาตรการที่ 3 กำหนดกรอบสมรรถนะทางการเงินสำหรับคนไทย
แผนงาน                    พัฒนากรอบสมรรถนะทางการเงินสำหรับคนไทยแต่ละกลุ่มเป้าหมาย1
ตัวชี้วัด                    มีกรอบสมรรถนะทางการเงินสำหรับคนไทยที่ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
          มาตรการที่ 4 ผลักดันการพัฒนาทักษะทางการเงินในหลักสูตรการเรียนในระบบการศึกษา
แผนงาน                    1) ผลักดันการพัฒนาทักษะทางการเงินในหลักสูตรการเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ในรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม มุ่งให้เกิดการประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง รวมทั้งมีการทบทวนปรับปรุงให้เหมาะสมกับสถานการณ์อยู่เสมอ
                    2) ยกระดับความรู้และพัฒนาครูผู้สอน โดยการดำเนินโครงการส่งเสริมความรู้ด้าน Financial Literacy แก่กลุ่มข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยการนำเสนอหลักสูตร SET e - Learning (หลักสูตรเกี่ยวกับการวางแผนการเงินและการลงทุน) เพื่อประกอบการขอมี/เลื่อนวิทยฐานะ
                    3) ส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องการเงินส่วนบุคคลในระดับอุดมศึกษา โดยกำหนดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการเงินส่วนบุคคลแก่นักศึกษา
ตัวชี้วัด เช่น มีการพัฒนาเนื้อหา/แนวทางการเรียนการสอนเรื่องการเงินในหลักสูตรการเรียน จำนวนครูที่ได้รับความรู้จากหลักสูตร SET e - Learning จำนวนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมส่งเสริมการเรียนการสอนเรื่องการเงินส่วนบุคคลในระดับอุดมศึกษาต่อปี เป็นต้น
มาตรการที่ 5 พัฒนาทักษะทางการเงินของประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายตลอดช่วงชีวิต
แผนงาน ดำเนินโครงการให้ความรู้และพัฒนาทักษะทางการเงิน รวมถึงการเงินดิจิทัล ภัยและกลโกงการเงิน และการป้องกันและจัดการความเสี่ยงให้ประชาชนทุกกลุ่มผ่านการฝึกอบรม การสัมมนา และกิจกรรมให้ความรู้ที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยจัดลำดับความสำคัญของกลุ่มเป้าหมายตามสภาพปัญหาและความจำเป็นเร่งด่วน ดังนี้
กลุ่มเป้าหมาย          ตัวอย่างโครงการ/กิจกรรม
กลุ่มเด็กและเยาวชน          เช่น (1) โครงการการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการคุ้มครองเงินฝากและการบริหารจัดการทางการเงินแก่เยาวชนในสถานศึกษา (2) โครงการธนาคารโรงเรียน ซึ่งเป็นธนาคารจำลองที่เปิดโอกาสให้นักเรียนเป็นผู้ดำเนินการธนาคารด้วยตนเองภายใต้การดูแลของธนาคารออมสิน (3) โครงการส่งเสริมความรู้ทางการเงิน กลุ่มอาชีวศึกษา (โครงการ Fin ดี We Can Do!!!)                (4) การผลักดันหลักสูตรเกี่ยวกับการประกันภัยเข้าสู่ระบบการศึกษาทุกช่วงชั้นและผลักดันให้มีกิจกรรมนอกห้องเรียน เช่น โครงการอัจฉริยะยุวชนประกันภัย กิจกรรมประกวดโรงเรียนต้นแบบด้านประกันภัย เป็นต้น และ (5) การให้ความรู้ทักษะการบริหารจัดการเงินแก่เด็กและเยาวชน เช่น โครงการภายใต้ความร่วมมือกับกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน ผ่านการพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรมืออาชีพ (train the trainer) โครงการโรงเรียนธนาคารของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น
กลุ่มอุดมศึกษา          เช่น (1) การพัฒนาแอปพลิเคชัน ACMO me ระบบจัดการบัญชีรายรับ - รายจ่ายออนไลน์ผ่านมือถือ เพื่อช่วยในการบริหารจัดการและวางแผนทางการเงิน                (2) การจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยและเส้นทางสายอาชีพในด้านการประกันภัยในสถานศึกษา (3) โครงการเสริมศักยภาพคนรุ่นใหม่สู่ตลาดทุน และ (4) การจัดทำโครงการ Bond Academy ให้ความรู้และพัฒนาทักษะการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านการอบรมและการทำ workshop
กลุ่มผู้มีงานทำ (เอกชนมีนายจ้าง/ผู้ประกอบอาชีพอิสระ/ผู้ประกอบการ)          เช่น (1) โครงการ Happy Money สุขเงินสร้างได้ สำหรับแรงงานในระบบ/นอกระบบ เพื่อเสริมทักษะการบริหารรายได้ การจัดการหนี้สิน และการออม                      (2) โครงการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ในรูปแบบดิจิทัลด้วย SET Financial Literacy Platform (3) โครงการ Smart Entrepreneurs จัดทำศูนย์รวมข้อมูลความรู้เกี่ยวกับวิธีการระดมทุนสำหรับผู้ประกอบการ โดยเน้นกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SME) และธุรกิจสร้างใหม่ (Startup) (4) โครงการส่งเสริมทักษะความรู้ทางการเงินสำหรับคนวัยทำงาน (โครงการ Fin ดี Happy Life!!!) และ (5) โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ SME โดยมีการดำเนินการ เช่น การจัดทำชุดความรู้สำหรับพัฒนาทักษะทางการเงิน การจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ทางการเงินและบัญชี เป็นต้น
กลุ่มภาครัฐ          เช่น (1) โครงการการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการคุ้มครองเงินฝากและการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินให้กับประชาชนภาคธุรกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (2) โครงการส่งเสริมสหกรณ์นอกภาคการเกษตรให้เป็นกลไกพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก                  (3) การวางแนวทางการพัฒนาทักษะทางการเงินสำหรับข้าราชการสมาชิกตลอดช่วงชีวิต และ (4) โครงการส่งเสริมความรู้ทางการเงินพื้นฐานสำหรับข้าราชการใหม่
กลุ่มประชาชนระดับฐานราก (ผู้มีรายได้น้อยในกลุ่มอาชีพต่าง ๆ อาทิ เกษตรกร ผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชน แรงงานทั่วไป อาชีพอิสระ เป็นต้น)          เช่น (1) กิจกรรมการให้ความรู้ทางการเงินควบคู่กับการให้สินเชื่อให้กับลูกค้าฐานราก ลูกค้าองค์กรชุมชน และสมาชิกภายในกลุ่มองค์กรชุมชน (2) โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นเพื่อพัฒนาความรู้ทางการเงิน ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพด้านอาชีพให้แก่ผู้ประกอบการกลุ่มองค์กรชุมชน/วิสาหกิจชุมชน (3) โครงการซะกาต (การบริจาคทานตามหลักการศาสนาอิสลาม) เพื่อส่งเสริมอาชีพให้กับผู้ยากจน และ (4) กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านการประกันภัยเชิงรุก โดยการลงพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ ของประเทศ
กลุ่มองค์กรการเงินชุมชน          เช่น (1) การสนับสนุนการจัดตั้งสถาบันการเงินประชาชนเพื่อส่งเสริมการออมทรัพย์ การให้บริการทางการเงินและพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่สมาชิกในกลุ่มองค์กรการเงินชุมชน (2) โครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมการจัดทำบัญชีครัวเรือนที่ถูกต้อง เน้นการสร้างวินัยการเงินและการเตรียมความพร้อมในการกู้เพื่อมีบ้าน (3) การจัดตั้งทีมขับเคลื่อนการส่งเสริมการออมและการพัฒนาทักษะทางการเงิน (4) โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนของประชาชน โดยศูนย์จัดการกองทุนชุมชน และ (5) โครงการชุมชนซื่อสัตย์โดยสร้างช่องทางเข้าถึงสินเชื่อผ่านมัสยิดทั่วประเทศ (ดำเนินการโดยธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย)
กลุ่มผู้สูงวัย/เกษียณอายุ          เช่น (1) การพัฒนาเว็บไซต์ gsbseniorwow.com และแอปพลิเคชัน GSB Senior WOW เพื่อเป็นช่องทางติดต่อสื่อสารและแหล่งรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ สำหรับกลุ่มลูกค้าสูงวัยให้ได้ใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพและมีความสุข (2) กิจกรรมให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยด้านสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและการเงิน (3) การพัฒนาทักษะทางการเงินให้แก่ประชาชนวัยก่อนสูงอายุ เช่น การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อส่งเสริมการสร้างวินัยการออม การจัดประชุมขยายผลการเตรียมความพร้อมสู่วัยสูงอายุในชุมชน 5 มิติ รวมทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ (การวางแผนทางการเงิน) ให้แก่ประชาชนและเครือข่ายต่าง ๆ (4) การจัดอบรมหลักสูตร Bond basic ที่เน้นการลงทุนในหุ้นกู้ และ (5) การจัดสัมมนาการลงทุนในสินทรัพย์ต่าง ๆ ร่วมกับสภาธุรกิจตลาดทุนไทย
กลุ่มประชาชนทั่วไป          เช่น (1) โครงการห้องเรียนนักลงทุน และ (2) การให้บริการศูนย์การเรียนรู้ด้านตลาดทุน เช่น ห้องสมุดมารวย พิพิธภัณฑ์เรียนรู้การลงทุน และศูนย์ SET Investment Center เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการวางแผนการเงินและการลงทุน
กลุ่มผู้ถ่ายทอดความรู้และทักษะทางการเงิน          เช่น (1) โครงการสร้างเครือข่ายส่งเสริมความรู้ด้านการประกันภัยให้กับสาธารณชนทั่วประเทศ โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการประกันภัยให้แก่กลุ่มเป้าหมายและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง (2) โครงการคนไทยใส่ใจการเงินการลงทุน โดยให้ความรู้แก่ประชาชนกลุ่มต่าง ๆ ในเรื่องทักษะการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลและวิธีการลงทุน เพื่อความมั่นคงทางการเงิน และ                     (3) โครงการ Train the trainer ที่ให้สิทธิอาจารย์มหาวิทยาลัยต่าง ๆ เข้าร่วมอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับตราสารหนี้ที่จัดโดยสมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
กลุ่มเปราะบาง
ทางการเงินสูง          เช่น (1) โครงการส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการหนี้การศึกษาและการบริหารจัดการเงินส่วนบุคคลสำหรับผู้กู้ยืมกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) (2) การให้ความรู้และพัฒนาทักษะทางการเงินแก่กลุ่มผู้พิการทางสายตา (3) โครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินและพัฒนาคุณภาพชีวิต สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร ด้วยระบบสหกรณ์ และ (4) โครงการเสริมสร้างวินัยทางการเงินและฟื้นฟูลูกค้าปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนและลูกค้าหนี้นอกระบบ
ตัวชี้วัด เช่น ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมการสัมมนาต่าง ๆ จำนวนผู้เข้าถึงสื่อความรู้ที่เผยแพร่ จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม และจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมในแต่ละหลักสูตร เป็นต้น
          มาตรการที่ 6 พัฒนากฎระเบียบและมาตรการเพื่อสนับสนุน
แผนงาน                    1) กำหนดให้องค์กรในภาคการเงินต้องจัดให้มีกิจกรรมหรือการดำเนินการพัฒนาทักษะทางการเงิน
                    2) กำหนดให้บุคลากรภาครัฐบรรจุใหม่ได้รับการฝึกอบรมการเงินส่วนบุคคล
                    3) กำหนดให้การเข้ารับการอบรมและการผ่านแบบทดสอบความรู้เรื่องการบริหารจัดการหนี้เป็นเงื่อนไขของการได้รับอนุมัติหรือได้รับชำระวงเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาจาก กยศ.
ตัวชี้วัด ได้แก่ หน่วยงานกำกับดูแลภาคการเงินมีการออกหลักเกณฑ์หรือข้อกำหนดให้องค์กรการเงินในกำกับต้องจัดให้มีกิจกรรมหรือการดำเนินการด้านการพัฒนาความรู้และทักษะทางการเงินให้แก่ประชาชน มีการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และมีการกำหนดให้บุคลากรภาครัฐบรรจุใหม่ได้รับการฝึกอบรมการเงินส่วนบุคคล
เป้าหมายที่ 3
ประเทศไทยมีกลไกขับเคลื่อนการดำเนินการพัฒนาทักษะทางการเงินอย่างบูรณาการ เพื่อให้เกิดระบบนิเวศด้านการพัฒนาทักษะทางการเงินที่ยั่งยืน          มาตรการที่ 7 จัดตั้งกลไกขับเคลื่อนการดำเนินการพัฒนาทักษะทางการเงินอย่างบูรณาการและยั่งยืน
แผนงาน                    แต่งตั้งคณะกรรมการการพัฒนาทักษะทางการเงินเพื่อขับเคลื่อน กำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินการตามร่างแผนปฏิบัติการฯ
ตัวชี้วัด                    มีการจัดตั้งคณะกรรมการการพัฒนาทักษะทางการเงิน
มาตรการที่ 8 สร้างระบบการติดตามและประเมินผล
แผนงาน                    1) กำหนดตัวชี้วัดระดับเป้าหมาย
                    2) กำหนดตัวชี้วัดของแต่ละหน่วยงานรวมทั้งการประเมินผล
                    3) จัดให้มีการสำรวจระดับทักษะทางการเงินทุก 2 ปี
                    4) ผลักดันให้มีการบูรณาการระบบข้อมูลความรู้/ทักษะทางการเงิน
                    5) จัดทำรายงานผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรี
ตัวชี้วัด หน่วยงานมีการกำหนดตัวชี้วัดและประเมินผลการดำเนินงาน มีการสำรวจระดับทักษะทางการเงินทุก 2 ปี มีการกำหนดแนวทางในการรวบรวมและบูรณาการข้อมูลระหว่างองค์กรต่าง ๆ เพื่อช่วยในการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่ม เป็นต้น
                    4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                              4.1 คนไทยมีระดับทักษะทางการเงินสูงขึ้นในทุกด้านและเพียงพอสำหรับการบริหารจัดการเงินอย่างเหมาะสมในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
                              4.2 คนไทยมีการก่อหนี้และภาระหนี้ที่ไม่จำเป็นลดลง
                              4.3 คนไทยมีการออมเพิ่มขึ้นและมีการออมตามแผนทางการเงินและเป้าหมายในแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
                              4.4 คนไทยมีภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยง เหตุไม่คาดฝัน และแรงกดดันทางการเงิน ผ่านการวางแผนทางการเงินที่เหมาะสมตามแต่ละกลุ่มเป้าหมาย
                              4.5 คนไทยมีทักษะด้านการเงินดิจิทัล มีความรู้ความเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์จากการเงินดิจิทัลได้ รวมทั้งสามารถป้องกันและจัดการกับความเสี่ยงหรือภัยที่เกิดจากการเงินดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม
                              4.6 ประเทศไทยมีกลไกขับเคลื่อน กำกับ และติดตามผลการดำเนินการพัฒนาทักษะทางการเงินของประชาชนอย่างเป็นระบบ
                    5. ตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของร่างปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย
                              5.1 ผลสำรวจทักษะทางการเงินของคนไทยที่จัดทำโดย ธปท. สูงกว่าค่าเฉลี่ยของ OECD
                              5.2 ผลสำรวจทักษะทางการเงินของคนไทยที่จัดทำโดย ธปท. เพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 เมื่อสิ้นสุดร่างแผนปฏิบัติการฯ
                    ทั้งนี้ ร่างแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาทักษะทางการเงิน พ.ศ. 2565-2570 เป็นกรอบนโยบายระดับปานกลาง 6 ปี ที่มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 - 13 ที่มุ่งพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ โดยการพัฒนาทักษะ ความรู้ รวมถึงค่านิยมทางการเงิน เพื่อให้ประชาชนสามารถวางแผนทางการเงินได้อย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย รวมทั้งสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐที่ได้กำหนดเป้าหมายปี 2565 เป็น ?ปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน?
1 กลุ่มเป้าหมายของร่างแผนปฏิบัติการฯ ประกอบด้วย (1) กลุ่มเด็กและเยาวชน (2) กลุ่มอุดมศึกษา (3) กลุ่มผู้มีงานทำ (4) กลุ่มภาครัฐ (5) กลุ่มประชาชนฐานราก (6) กลุ่มผู้สูงวัย/ผู้เกษียณอายุ (7) กลุ่มประชาชนทั่วไป (8) กลุ่มผู้ถ่ายทอดความรู้และทักษะทางการเงิน และ (9) กลุ่มผู้มีความเปราะบางทางการเงินสูง

7. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
โครงการ          จากเดิม
(ปี/ปีงบประมาณ)          เป็น
(ปี/ปีงบประมาณ)
1. โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี
(ภายใต้กรอบวงเงินเดิม 9,078 ล้านบาท)          13 ปี
(พ.ศ. 2553 ? 2565)          15 ปี
(พ.ศ. 2553 - 2567)
2. โครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่
(ภายใต้กรอบวงเงินเดิม 15,000 ล้านบาท)          11 ปี
(พ.ศ. 2555 - 2565)          16 ปี
(พ.ศ. 2555 - 2570)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินโครงการชลประทานขนาดใหญ่ จำนวน 2 โครงการ (โครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรี และโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่) โดยทั้ง 2 โครงการได้เคยได้รับความเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการมาแล้ว และในครั้งนี้ยังคงเป็นการขอขยายระยะเวลาโครงการเนื่องจากปัญหาลักษณะเดิม (การจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนและการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่อุทยานยังไม่แล้วเสร็จ) สรุปได้ ดังนี้
โครงการ          สาเหตุที่ กษ. ต้องขอขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ
โครงการห้วยโสมง
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
จังหวัดปราจีนบุรี          เดิม ล่าช้าเนื่องจาก
1. มีการปรับแบบก่อสร้างตามภูมิประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปและเพื่อลดผลกระทบต่อประชาชน
2. ราษฎรบางส่วนไม่ยินยอมให้เข้าใช้พื้นที่จึงต้องมีการจัดทำพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ทำให้กระทบต่อระยะเวลาตามแผนงาน
          ในครั้งนี้ ล่าช้าเนื่องจาก
1. กระบวนการจัดทำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ [ปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้วเสร็จและอยู่ระหว่าง กษ. จัดทำแผนที่แนบท้ายพระราชกฤษฎีกา]
2. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รัฐบาลมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทางของบุคคล ส่งผลให้ผู้รับจ้างประสบปัญหาขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรเครื่องมือไม่เพียงพอ และไม่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสถานที่ก่อสร้างได้
โครงการเพิ่มปริมาณน้ำ
ในอ่างเก็บน้ำเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จังหวัดเชียงใหม่          เดิม ล่าช้าเนื่องจากติดปัญหาเรื่องกระบวนการขอเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนาที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ
          ในครั้งนี้ ล่าช้าเนื่องจาก
1. มีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ซึ่งบัญญัติให้การเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติต้องมีการรับฟังความคิดเห็นของชุมชนเพื่อนำมาประกอบการพิจารณา ดังนั้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงต้องทบทวนร่างพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีลานนาให้เป็นไปตามขั้นตอนดังกล่าว
2. สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รัฐบาลมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อจำกัดการเคลื่อนย้ายการเดินทางของบุคคล ส่งผลให้ผู้รับจ้างประสบปัญหาขาดแคลนวัสดุก่สร้าง เครื่องจักรเครื่องมือไม่เพียงพอและไม่สามารถเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสถานที่ก่อสร้างได้

8. เรื่อง การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางฯ 2565) วงเงิน 2,241.45 ล้านบาท เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัย จำนวน 40 จังหวัด อปท. จำนวน 625 แห่ง 889 โครงการ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. รายงานว่า
                    1. ตามที่ได้เกิดอุทกภัยจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (พายุโซนร้อนโกนเซินและพายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ตุลาคม 2564 ทำให้ประเทศไทยมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางแห่ง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่เสี่ยงภัย ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างกว้างขวาง และเป็นสาเหตุให้สิ่งก่อสร้าง ถนน สิ่งสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ของ อปท. ได้รับผลกระทบในหลายพื้นที่
                    2. มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น: สถ.) ได้รับรายงานจาก 51 จังหวัด ว่ามีความจำเป็นต้องขอรับการจัดสรรงบกลางฯ 2565 เพื่อบูรณะ/ซ่อมแซม ถนน สิ่งก่อสร้าง สิ่งสาธารณประโยชน์ของ อปท. ในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยให้กลับคืนสู่สภาพเดิม และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดย มท. ได้ตรวจสอบเอกสารคำขอรับการสนับสนุนงบประมาณดังกล่าวพบว่า มี อปท. ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณที่มีเอกสารถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 929 แห่ง 1,544 โครงการ วงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,424.84 ล้านบาท ดังนั้น มท. (สถ.) จึงได้มีหนังสือถึงสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอให้พิจารณาอนุมัติงบกลางฯ 2565 ต่อไป
                    3. สงป. แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และ สถ. แล้วแต่กรณี ในฐานะหน่วยรับงบประมาณดำเนินการตามโครงการก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อปท. ซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัย รวม 623 แห่ง 889 โครงการ             ใน 40 จังหวัด1 ภายในกรอบวงเงิน 2,241.45 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบกลางฯ 2565
                    4. มท. ได้ตรวจสอบรายการงบกลางฯ 2565 เพื่อก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนที่อยู่ในความรับผิดชอบของ อปท. ซึ่งได้รับความเสียหายจากอุทกภัยที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบพบว่า จำนวนรวมขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) และจำนวนรวมของ อปท. คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริง [หน่วยรับงบประมาณ               เป็น อบต. แห่งเดียวกัน ทำให้การนับจำนวน อบต. คลาดเคลื่อนใน 2 จังหวัด ได้แก่ (1) อบต. หนองไผ่ จังหวัดชัยภูมิ และ (2) อบต. น้ำร้อน จังหวัดเพชรบูรณ์] และได้รับการประสานจาก สงป. ว่า ให้ดำเนินการเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีให้ถูกต้องตามข้อเท็จจริง จาก จำนวน อบต. รวม 418 แห่ง เป็น รวม 420 แห่ง และ จาก จำนวน อปท. รวม 623 แห่ง เป็น รวม 625 แห่ง โดยจำนวนโครงการและกรอบวงเงินคงเดิม
                    5. รายละเอียดโครงการและกรอบวงเงินงบประมาณสรุปได้ ดังนี้
ภาคและจังหวัด          รายละเอียดโครงการ          วงเงินงบประมาณ
(ล้านบาท)
1. อบจ.
1. ภาคเหนือ ได้แก่ ลำปาง (1 โครงการ)          ก่อสร้างท่อลอดเหลี่ยมคอนกรีตเสริมเหล็ก          0.53
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ (1) ชัยภูมิ (2) นครราชสีมา (3) มหาสารคาม (4) ยโสธร (5) ขอนแก่น และ (6) สุรินทร์
(รวม 6 โครงการ)          ได้แก่ (1) ปรับปรุง/ซ่อมแซมถนนลาดยาง (2) ปรับปรุง/ซ่อมสร้างถนนแอสฟัลท์ติกคอนกรีต และ (3) ซ่อมสร้างถนนลูกรังปิดผิวลาดยางแอสฟัลต์คอนกรีต          40.55
3. ภาคกลาง ได้แก่ (1) นครสวรรค์ (2) สุโขทัย (3) ลพบุรี และ (4) อุทัยธานี    (รวม 4 โครงการ)          ได้แก่ (1) ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก และ (2) ซ่อมสร้าง/ปรับปรุงถนนลาดยางแอสฟัลท์            ติกคอนกรีต          28.74
4. ภาคตะวันออก ได้แก่ ตราด
(1 โครงการ)          ซ่อมแซมถนนลาดยางแอสฟัลท์             ติกคอนกรีต          6.20
5. ภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี
(1 โครงการ)          ปรับปรุง/ซ่อมแซมผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีตเป็นผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็กพร้อมรางระบายน้ำ          4.93
รวมทั้งสิ้น          13 จังหวัด 13 อบจ. 13 โครงการ          80.95
2. เทศบาลนคร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ได้แก่ นครราชสีมา          1. ปรับปรุงผิวจราจรคอนกรีตเสริมเหล็ก          4.20
          2.ปรับปรุงผิวจราจรแอสฟัลท์          ติกคอนกรีต          1.00
รวมทั้งสิ้น          1 จังหวัด 1 เทศบาลนคร 2 โครงการ          5.20
3. เทศบาลเมือง
1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ ชัยภูมิ          1. ปรับปรุงผิวจราจรโดยการปูแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ด้วยวิธี Overlay (ถนนชัยประสิทธิ์)          1.47
          2. ปรับปรุงผิวจราจรโดยการปูแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ด้วยวิธี Overlay (ถนนทานตะวัน)          1.81
          3. ปรับปรุงผิวจราจรโดยการปูแอสฟัลท์ติกคอนกรีต ด้วยวิธี Overlay (ถนนหน้าโรงเรียนเทศบาล 1)          1.46
2. ภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี          ซ่อมแซมไหล่ถนนโดยลงลูกรังขนาดลาดเอียง          0.23
รวมทั้งสิ้น          2 จังหวัด 2 เทศบาลเมือง 4 โครงการ          4.97
4. สถ. (เทศบาลตำบลและ อบต.)
1. ภาคเหนือ ได้แก่ (1) เชียงใหม่ (2) น่าน (3) แพร่ (4) แม่ฮ่องสอน (5) ลำปาง และ (6) อุตรดิตถ์ (รวม 33 โครงการ)
          เช่น (1) ปรับปรุงผิวจราจรจากถนนลูกรังเป็นถนนหินคลุกบดอัด (2) เสริมผิวทางด้วยแอสฟัลท์คอนกรีต (3) ก่อสร้างถนน
คอนกรีตเลริมเหล็ก (4) ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งแม่น้ำยาว เป็นต้น          45.63
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ (1) กาฬสินธุ์ (2) ขอนแก่น (3) ชัยภูมิ (4) นครราชสีมา (5) บุรีรัมย์ (6) มหาสารคาม (7) ยโสธร (8) ร้อยเอ็ด และ (9) สุรินทร์ (รวม 381 โครงการ)          เช่น (1) ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (2) ก่อสร้างระบบระบายน้ำ (3) ปรับปรุงถนนดินลูกรังที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยโดยการลงหินคลุก (4) ซ่อมสร้างถนน/เสริมผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีต เป็นต้น          1,091.97
3. ภาคกลาง ได้แก่ (1) กำแพงเพชร (2) ชัยนาท (3) นครสวรรค์ (4) นครปฐม (5) นนทบุรี (6) พิษณุโลก (7) เพชรบูรณ์ (8) ลพบุรี (9) สมุทรปราการ (10) สระบุรี (11) สุพรรณบุรี (12) สุโขทัย (13) อ่างทอง และ (14) อุทัยธานี (รวม 377 โครงการ)          เช่น (1) ก่อสร้าง/ซ่อมแซมถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (2) ปรับปรุงผิวจราจรแอสฟัลท์ติก
คอนกรีต (3) ก่อสร้างถนนลาดยางแอสฟัลท์ติก     คอนกรีต (4) ก่อสร้างท่อลอดเหลี่ยมคอนกรีตเสริมเหล็ก (5) ก่อสร้าง/ซ่อมแซมถนนหินคลุก (6) บำรุงรักษาถนนด้วยการลงหินคลุกพร้อมปรับเกลี่ย เป็นต้น          812.35
4. ภาคตะวันออก ได้แก่ (1) จันทบุรี (2) ฉะเชิงเทรา (3) ตราด (4) ระยอง และ (5) สระแก้ว (รวม 46 โครงการ)          เช่น (1) ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (2) ปรับปรุงผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีต (3) ซ่อมแซม/ก่อสร้างถนนลูกรัง (4) ซ่อมแซมก่อสร้างถนนลาดยาง เป็นต้น          107.05
5. ภาคตะวันตก ได้แก่ (1) กาญจนบุรี และ (2) ตาก (รวม 20 โครงการ)          เช่น (1) ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (2) ก่อสร้างถนนลูกรังบดอัดแน่น เป็นต้น          59.51
6. ภาคใต้ ได้แก่ (1) ชุมพร (2) พังงา (3) ระนอง และ (44) สุราษฎร์ธานี (รวม 13 โครงการ)          เช่น (1) ก่อสร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (2) เสริมผิวจราจรพาราแอสฟัลท์ติกคอนกรีต (3) ปรับปรุงถนนลูกรัง เป็นต้น          33.82
รวมทั้งสิ้น          40 จังหวัด 189 เทศบาลตำบล 420 อบต. 870 โครงการ          2,150.33
รวมทั้งหมด          40 จังหวัด 625 อปท. 889 โครงการ          2,241.45
                    6. มท. แจ้งว่า ภายหลังจากการก่อสร้าง/ปรับปรุง ซ่อมแซมถนนในครั้งนี้จะทำให้สิ่งก่อสร้าง ถนน สิ่งสาธารณประโยชน์ในพื้นที่ของ อปท. ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยได้รับการปรับปรุง/ซ่อมแซมให้กลับคืนสู่สภาพเดิม และจะทำให้ประชาชนสามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ
1 40 จังหวัด ที่นายกรัฐมนตรีเห็นชอบโดยจำแนกตามภาค มีดังนี้
1. ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ (1) เชียงใหม่ (2) น่าน (3) แพร่ (4) แม่ฮ่องสอน (5) ลำปาง และ (6) อุตรดิตถ์
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 9 จังหวัด ได้แก่ (1) กาฬสินธุ์ (2) ขอนแก่น (3) ชัยภูมิ (4) นครราชสีมา (5) บุรีรัมย์ (6) มหาสารคาม (7) ยโสธร (8) ร้อยเอ็ด และ (9) สุรินทร์
3. ภาคกลาง 14 จังหวัด ได้แก่ (1) กำแพงเพชร (2) ชัยนาท (3) นครสวรรค์ (4) นครปฐม (5) นนทบุรี (6) พิษณุโลก (7) เพชรบูรณ์ (8) ลพบุรี (9) สมุทรปราการ (10) สระบุรี (11) สุพรรณบุรี (12) สุโขทัย (13) อ่างทอง และ (14) อุทัยธานี
4. ภาคตะวันออก 5 จังหวัด ได้แก่ (1) จันทบุรี (2) ฉะเชิงเทรา (3) ตราด (4) ระยอง และ (5) สระแก้ว
5. ภาคตะวันตก 2 จังหวัด ได้แก่ (1) กาญจนบุรี และ (2) ตาก
6. ภาคใต้ 4 จังหวัด ได้แก่ (1) ชุมพร (2) พังงา (3) ระนอง และ (4) สุราษฎร์ธานี

9. เรื่อง พิจารณาให้ความเห็นชอบแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ประจำปี 2564 ? 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ประจำปี 2564 ? 2565 (แผนรักษาความมั่นคงฯ) ตามที่กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) เสนอ
                     สาระสำคัญ
                     กอ.รมน. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ประจำปี 2564 ? 2565 (แผนรักษาความมั่นคงฯ) โดยประเด็นความมั่นคงในแต่ละมิติมีความเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม แผนรักษาความมั่นคงฯ ที่เสนอในครั้งนี้จึงจัดทำบนพื้นฐานของการเชื่อมโยงประเด็นความมั่นคงในมิติต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน โดยยึดโยงกับแผนปฏิบัติการด้านความมั่นคงของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อบูรณาการการขับเคลื่อนแผนของหน่วยงานต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามกรอบของยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 ? 2580) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 ? 2565) รวมถึงเพื่อใช้ในการบูรณาการกลไกการบริหารจัดการความมั่นคงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2565 ได้มีมติให้ความเห็นชอบต่อแผนรักษาความมั่นคงฯ ด้วยแล้ว โดยแผนรักษาความมั่นคงฯ มีประเด็นเกี่ยวกับความมั่นคงและการขับเคลื่อนแผนดังกล่าว ดังนี้
                     1. การรักษาความสงบภายในประเทศ เป็นการกำหนดประเด็นความมั่นคงเกี่ยวกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในประเทศ และประเด็นความมั่นคงเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ภายในประเทศ เช่น การสร้างการรับรู้และเสริมสร้างให้ประชาชนตระหนักในหน้าที่ที่จะต้องธำรงรักษาไว้ซึ่งสถาบันหลักของชาติ
                     2. การป้องกันและแก้ไขปัญหาที่มีผลกระทบกับความมั่นคง เป็นการกำหนดประเด็นความมั่นคงในมิติต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งแต่ละปีก็จะมีทั้งประเด็นความมั่นคงเดิมและประเด็นความมั่นคงใหม่ เช่น ปัญหายาเสพติด ปัญหาแรงงานต่างด้าว ภัยคุกคามทางไซเบอร์ อาชญากรรมข้ามชาติ
                     3. การอำนวยการ บูรณาการ ขับเคลื่อนตามแผนรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร เป็นการกำหนดกลไกในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนรักษาความมั่นคงฯ เพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้

10. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2564 ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินงานประจำปี 2564 ของศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ [(เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (17 สิงหาคม 2547) ที่ให้ศูนย์                 ข้อมูลฯ มีหน้าที่รายงานความคืบหน้าและผลการดำเนินการของศูนย์ข้อมูลฯ ต่อรัฐมนตรีว่าการระทรวงการคลัง และรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การจัดเก็บ รวบรวม และประมวลผลข้อมูล1 ศูนย์ข้อมูลฯ ได้จัดเก็บรวบรวม และประมวลผลข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ 7 ประเภท ได้แก่ ที่อยู่อาศัย อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้าและอาคารพาณิชย์ โรงแรม-รีสอร์ท นิคมอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟ และที่ดินเปล่าเพื่อนำมาประมวลผล 3 ด้าน โดยสรุปรายละเอียดข้อมูลสถิติและสถานการณ์อสังหาริมทรัพย์ที่สำคัญ ดังนี้
                              1.1 ด้านอุปทาน มีข้อมูลตลาดที่อยู่อาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและใน 21 จังหวัดที่สำคัญในภูมิภาค เช่น จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี ชลบุรี ภูเก็ต สงขลา และสุราษฎร์ธานี ดังนี้
ประเภท          กรุงเทพมหานครและปริมณฑล          จังหวัดในภูมิภาค
          จำนวน (หน่วย)          มูลค่า (ล้านบาท)          จำนวน (หน่วย)          มูลค่า (ล้านบาท)
โครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ในระหว่างการขายในช่วงครึ่งหลังปี 2564          197,212
(ลดลงร้อยละ 6.5)          953,212
(ลดลงร้อยละ 11.4)          137,179
(ลดลงร้อยละ 4.0)          513,604

โครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในช่วงครึ่งหลังปี 2564          32,826
(ลดลงร้อยละ 9.9)          132,650
(ลดลงร้อยละ 32.7)          14,233
(ลดลงร้อยละ 11.1)          45,168

หน่วยเหลือขาย              ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564          165,067
(ลดลงร้อยละ 6.4)          799,404
(ลดลงร้อยละ 12.2)          117,244
(ลดลงร้อยละ 6.5)          -

หมายเหตุ : เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในไตรมาส 4 ปี 2564 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564) อยู่ที่ 52.0 จุด เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าซึ่งค่าดัชนีสูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50.0 สะท้อนให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจเพิ่มขึ้น เนื่องจากการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออื่นที่เกี่ยวเนื่อง เป็นการชั่วคราวของธนาคารแห่งประเทศไทย การต่ออายุมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์และจดจำนองสำหรับที่อยู่อาศัยไม่เกิน 3 ล้านบาทและการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศได้มากขึ้น ทำให้กำลังซื้อเริ่มกลับเข้าสู่
ภาวะปกติ
                              1.2 ด้านอุปสงค์ มีข้อมูลที่อยู่อาศัยที่ขายได้ใหม่และการโอนกรรมสิทธิ์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลและใน 21 จังหวัดที่สำคัญในภูมิภาค ดังนี้

ประเภท          กรุงเทพมหานครและปริมณฑล          จังหวัดในภูมิภาค
          จำนวน (หน่วย)          มูลค่า (ล้านบาท)          จำนวน (หน่วย)          มูลค่า (ล้านบาท)
จำนวนหน่วยขายได้ใหม่ในช่วงครึ่งหลัง ปี 2564           32,145
(ลดลงร้อยละ 7.0)          153,809
(ลดลงร้อยละ 6.8)          19,935
(เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6)          -

การโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัย2          166,402
(ลดลงร้อยละ 15.5)          581,659
(ลดลงร้อยละ 5.2)          85,523
(ลดลงร้อยละ 42.8)          191,541
(ลดลงร้อยละ 33.5)
หมายเหตุ : เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
                              1.3 ด้านราคา ในไตรมาส 4 ปี 2564 (เดือนตุลาคม ? ธันวาคม 2564) กรุงเทพมหานครและปริมณฑลมีข้อมูลสถิติและรายการดัชนี ดังนี้

รายการดัชนี          ค่าดัชนี (จุด)          เพิ่มขึ้น (ลดลง)
ราคาห้องชุด          151.2          (ร้อยละ 0.5)
ราคาบ้านจัดสรรใหม่          126.8          (ร้อยละ 0.8)
ราคาบ้านเดี่ยว          124.9          (ร้อยละ 0.9)
ราคาค่าก่อสร้าง          124.9          (ร้อยละ 1.9)
ราคาที่ดินเปล่าก่อนการพัฒนาพื้นที่          339.0          (ร้อยละ 1.7)
หมายเหตุ : เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ทั้งนี้ ราคาที่ดินยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอ             ตัวลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 6
                    2. การดำเนินงานด้านการเผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์ ศูนย์ข้อมูลฯ ได้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลและข่าวสารด้านอสังหาริมทรัพย์ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น www.reic.or.th วารสาร              ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ (วารสาร GHB-REIC) รายงานประจำปีและสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีการปรับรูปแบบการประชาสัมพันธ์เป็นการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อเผยแพร่ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ที่สำคัญและบทวิเคราะห์ดัชนีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือน
                    3. การดำเนินงานด้านอื่น ๆ จัดทำโครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอสังหาริมทรัพย์มือสอง ซึ่งแสดงปริมาณอุปสงค์และอุปทานอสังหาริมทรัพย์มือสองของตลาดและอสังหาริมทรัพย์รอการขายของกรมบังคับคดี สถาบันการเงินเฉพาะกิจ บรรษัทบริหารสินทรัพย์และธนาคารพาณิชย์ เพื่อส่งสริมสภาพคล่องในตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสองและประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งตลาดอสังหาริมทรัพย์มือสองได้ง่ายขึ้น

1จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) แจ้งว่า ศูนย์ข้อมูลฯ ไม่ได้จัดทำข้อมูลในบางรายการ เช่น มูลค่าเพิ่มขึ้น (ลดลง) ของโครงการที่อยู่อาศัยที่อยู่ในระหว่างการขาย ในช่วงครึ่งหลังปี 2564 ของจังหวัดในภูมิภาค อย่างไรก็ตาม สศค. ได้แจ้งให้ศูนย์ข้อมูลฯ ดำเนินการให้ครบถ้วนในการรายงานครั้งต่อไปแล้ว
2ข้อมูลการโอนกรรมสิทธิ์ฯ ของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นข้อมูลในปี 2564 และของจังหวัดในภูมิภาคเป็นข้อมูลใน 11 เดือนของปี 2564

11. เรื่อง มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 (จำนวน 9 เรื่อง) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 (เรื่อง มติ กก.วล. ให้ถือว่าการประชุม กก.วล. เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องสิ่งแวดล้อม) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 (เรื่อง มติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 ครั้งที่ 11/2548 และครั้งที่ 12/2548) รับทราบมติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ที่ให้นำมติ กก.วล. เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญ และเรื่องที่ กก.วล. พิจารณาได้ข้อยุติแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
เรื่อง          มติ กก.วล.
1. ผลการดำเนินการด้านการจัดการมลพิษทางอากาศในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดผ่านกลไกการปรับลดอัตราการระบายมลพิษทางอากาศ1 ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยพบว่า อัตราการระบายก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานต่อไป เช่น ทบทวนและปรับปรุงข้อมูลอัตราการระบายมลพิษให้เป็นปัจจุบันจัดทำแนวทางในการจัดสรรอัตราการระบายมลพิษในพื้นที่ร่วมกับการพิจารณาค่าระดับผลกระทบที่มีนัยสำคัญ และผลักดันให้มีระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อบริหารจัดการข้อมูลอัตราการระบายมลพิษทางอากาศของพื้นที่มาบตาพุด          รับทราบผลการดำเนินการด้านการจัดการมลพิษทางอากาศในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดผ่านกลไกการปรับลดอัตราการระบายมลพิษทางอากาศฯ

2. แนวทางการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อ               โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พัฒนาเป็นการจัดการแบบรวมศูนย์ สนับสนุนงบประมาณและเร่งรัดให้ อปท. จัดการมูลฝอยติดเชื้อตามหน้าที่ เช่น การจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อและขนส่งไปยังโรงพยาบาลชุมชน
เพื่อพักรอการเก็บขนไปกำจัด แก้ไขปัญหามูลฝอยติดเชื้อล้นระบบ โดยออกประกาศยกเว้นเงื่อนไขทำให้โรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงสามารถรับมูลฝอยติดเชื้อมาเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาเป็นการชั่วคราวได้ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส             โคโรนา 2019 และการพัฒนาระบบกำจัดมูลฝอย           ติดเชื้อแบบรวมศูนย์แห่งใหม่ โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอย              ติดเชื้อมากขึ้น          รับทราบแนวทางการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ตามที่ ทส. โดยกรมควบคุมมลพิษเสนอ ทั้งนี้ ให้กรมควบคุมมลพิษรับความเห็นของ กก.วล. ไปประกอบการพิจารณา พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป เช่น (1) การส่งเสริมภาคเอกชนให้ลงทุนสร้างระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อแห่งใหม่ในพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบ รวมทั้งควรให้ดำเนินการในการเก็บขนด้วยเพื่อช่วยลดงบประมาณภาครัฐและควรให้การสนับสนุนด้านเทคนิคกับ อปท. และ (2) การจัดการขยะจากแหล่งกำเนิดสำหรับแหล่งกำเนิดขนาดเล็กหรือมูลฝอยติดเชื้อจากครัวเรือนที่ไม่ใช่สถานพยาบาล ควรกำหนดเรื่องสถานที่พักขยะติดเชื้อในแต่ละชุมชนก่อนทำการเก็บขนเพื่อนำไปกำจัดให้ชัดเจน

3. การแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหลกลางทะเลจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 โดยได้มีการดำเนินการ เช่น การขจัดคราบน้ำมันในทะเลและชายฝั่ง การประเมินผลกระทบคุณภาพสิ่งแวดล้อม การฟ้องร้องดำเนินคดี การประเมินผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ          รับทราบการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหลกลางทะเล จังหวัดระยอง และให้จังหวัดระยองแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อเร่งรัดติดตามการแก้ไขปัญหาของประชาชน

4. โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทา ระยะที่ 1 วัชรพล-ทองหล่อ ของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร          เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้ง 4 โครงการ โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในรายงานฯ รวมทั้งจัดตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตาม          มาตรการฯ ดังกล่าว และให้มีการดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้ 1) โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทาฯ เช่น ทบทวนการประมาณการผู้โดยสารและค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงความเป็นจริง เพิ่มการตรวจวัดค่า PM2.5  ในระยะก่อสร้าง ติดตามการรายงานคุณภาพอากาศ และปรับปรุงช่วงระยะเวลาการก่อสร้าง
2) โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้าฯ เช่น ให้ทำการก่อสร้างที่มีเสียงดังในช่วงเวลา 08.00-17.00 น. หลีกเลี่ยงการก่อสร้างในช่วงฝนตก และหลีกเลี่ยงการตั้งเสาส่งไฟฟ้าและกองวัสดุก่อสร้างในพื้นที่ที่มีการ  ชะล้างพังหลายของดินสูง 3) โครงการที่พักอาศัยผู้สูงอายุฯ เช่น ให้ตรวจสอบความถูกต้องและปรับ      แก้ไขข้อมูลด้านการระบายน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้ว
โดยควรระบายออกสู่ทะเล เนื่องจากเป็นบริเวณที่ใกล้ที่สุดปรับขนาดของประตูและขนาดห้องพักขยะที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถขนถ่ายขยะได้สะดวกรวดเร็วและรองรับกรณีมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณขยะแต่ละประเภท และพิจารณาก่อสร้างคันดินเพื่อป้องกันน้ำท่วมและการจัดทำผังภูมิทัศน์ และ 4) โครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับฯ เช่น กำหนดมาตรการชดเชยและเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้มี
ความชัดเจนและรวดเร็ว ทบทวนการคาดการณ์เที่ยวบินที่จะใช้สนามบินอู่ตะเภาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งจะมีผลต่อความคุ้มค่าของการลงทุน จัดการประชุมประชาชนและผู้นำชุมชนในพื้นที่รอบโครงการก่อนการก่อสร้าง 1 เดือน เพื่อทำความเข้าใจ
กับชุมชน และกำหนดให้มีตัวแทนภาคประชาชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
5. โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์
ตาก 2-แม่สอด (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ชั้นคุณภาพ             ลุ่มน้ำชั้นที่ 1) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
6. โครงการที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามา-ธนารักษ์
จังหวัดสมุทรปราการ ของบริษัท ธนารักษ์
พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
7. โครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ของกองทัพเรือ และสำนักงานคณะกรรมการ
นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
8. การกำหนดอัตราค่าบริการในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ อปท. ที่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 25352          เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าบริการในการจัดการ               มูลฝอยติดเชื้อของ อปท. จำนวน 4 แห่ง ได้แก่                   1) เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 2) เทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 3) องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี             และ 4) องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จังหวัดระยองตามคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ และเห็นชอบร่างประกาศ กก.วล. เรื่อง            การกำหนดอัตราค่าบริการในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ อปท. ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565
9. การกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ และแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ          เห็นชอบการกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล
ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเสนอ และเห็นชอบร่างประกาศ ทส. เรื่อง การกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล พ.ศ. .... ซึ่งอยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา


1กลไกการปรับลดอัตราการระบายมลพิษทางอากาศ คือ การกำหนดให้โครงการที่จะตั้งใหม่หรือขยายกำลังการผลิตในบริเวณพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดสามารถมีอัตราการระบายมลพิษของก๊ซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และก๊าชซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไม่เกินร้อยละ 80 ของปริมาณการลดการปล่อยมลพิษของโครงการเดิมที่ทำได้จริง เช่น บริษัท A สามารถลดการปล่อยก๊าชซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากการปล่อยในปี 2564 ได้ 100 ตัน โดยจำนวน 20 ตัน บริษัท A จะต้องคืนให้กับรัฐบาลเพื่อนำไปจัดการวางแผนรองรับการลงทุนอื่นต่อไป ส่วนที่เหลืออีก 80 ตัน บริษัท A สามารถนำมาใช้ในการขยายการลงทุนหรือก่อสร้างโรงงานใหม่ต่อไปได้
2มาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 บัญญัติให้ในเขตควบคุมมลพิษหรือเขตท้องที่ใด ซึ่งได้จัดให้มีการก่อสร้าง และดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียรวม หรือระบบกำจัดของเสียรวมของทางราชการโดยเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น และเงินกองทุนซึ่งจัดสรรตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ กก.วล. โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษพิจารณากำหนดอัตราค่าบริการที่จะประกาศใช้ในแต่ละเขตควบคุมมลพิษหรือเขตท้องที่ที่เป็นที่ตั้งของระบบบำบัดน้ำเสียรวม หรือระบบกำจัดของเสียรวมดังกล่าว

12. เรื่อง รายงานตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2560
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้
                    1. รับทราบรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2564 และรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เสนอ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้พิจารณาดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่ปรากฏในรายงานผลการประเมินสถานการณ์ฯ แล้วแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการด้วย
                    2. ให้ส่งความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงวัฒนธรรม สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สำนักงานศาลยุติธรรม และสำนักงานอัยการสูงสุด ให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กสม. รายงานว่า
                    1. รายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทย ปี 2564 มีสาระสำคัญเกี่ยวกับภาพรวมสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยแบ่งการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนออกเป็น 4 ด้าน 19 ประเด็นย่อย ประกอบด้วย
                              1.1 ด้านสิทธิมนุษยชนในสถานการณ์เฉพาะ ได้แก่ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และสถานการณ์ที่เกี่ยวกับการใช้เสรีภาพในการชุมนุม ปี 2564
                              1.2 ด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ได้แก่ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม (เช่น ยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงการช่วยเหลือตามกฎหมายและการดำเนินคดีที่ล่าช้า) การกระทำทรมานและการบังคับให้สูญหาย (เช่น ยังไม่มีความคืบหน้าในการติดตามตัว) นักปกป้องสิทธิมนุษยชน (เช่น ไม่มีมาตรการที่ชัดเจนในการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน) สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (เช่น ยังคงมีสถานการณ์การก่อเหตุรุนแรงเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ) โทษประหารชีวิต (เช่น ยังคงมีการกำหนดโทษประหารชีวิตไว้ในกฎหมายหลายฉบับ) และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเสรีภาพของสื่อมวลชน (เช่น ยังคงมีการดำเนินคดีอันเนื่องมาจากการแสดงความคิดเห็น)
                              1.3 ด้านสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ได้แก่ สิทธิแรงงาน (เช่น การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ปัญหาแรงงานประมง) สิทธิในสุขภาพ (เช่น การเข้าถึงบริการสาธารณสุขของแรงงานข้ามชาติ การขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์) สิทธิด้านการศึกษา (เช่น การจัดการศึกษารูปแบบออนไลน์เป็นเวลานานอาจมีผลกระทบต่อโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา การหลุดจากระบบการศึกษา) สิทธิชุมชนในการจัดการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (เช่น ปัญหาความเหลื่อมล้ำในที่ดินทำกิน การจัดสรรที่ดินให้กับชุมชนล่าช้า) และธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (เช่น การนำเรื่องสิทธิมนุษยชนมาเป็นเงื่อนไขในการกำกับดูแลหรือส่งเสริมภาคธุรกิจ
                              1.4 ด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มบุคคล ได้แก่ สิทธิเด็ก สิทธิผู้สูงอายุ สิทธิคนพิการ สิทธิสตรีและความเสมอภาคทางเพศ ผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิ และสิทธิของกลุ่มชาติพันธุ์
                    2. รายงานผลการปฏิบัติงาน กสม. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีผลการดำเนินงานในภาพรวมสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 การตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน จำนวน 153 เรื่อง โดยประเด็นที่มีการร้องเรียนมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม สิทธิในเสรีภาพและร่างกาย และสิทธิพลเมือง
                              2.2 การจัดทำรายงานผลการประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศ                  ปี 2563 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 รับทราบรายงานดังกล่าวแล้ว
                              2.3 การเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในปี 2564 กสม. ได้มีรายงานข้อเสนอแนะฯ รวมทั้งการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือคำสั่งใด ๆ เพื่อให้สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 8 เรื่อง เช่น การแก้ไขปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญาและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 กระบวนการบริหารจัดการทะเบียนประวัติอาชญากร และนักปกป้องสิทธิมนุษยชนหรือผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน
                              2.4 การสร้างเสริมทุกภาคส่วนของสังคมให้ตระหนักถึงความสำคัญของสิทธิมนุษยชน เช่น การจัดอบรมเพื่อเสริมสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชนให้กับกลุ่มเป้าหมายต่าง ๆ และการพัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและชุมชนในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
                              2.5 การศึกษาวิจัยด้านสิทธิมนุษยชน จำนวน 3 เรื่อง ได้แก่ สิทธิมนุษยชนกับการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพ การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชนผู้ต้องขังสูงอายุ และการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในบริบทของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารออนไลน์
                              2.6 การส่งเสริมความร่วมมือการประสานงานด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เช่น การเข้าร่วมประชุมกับสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของประเทศต่าง ๆ ภายใต้กรอบความร่วมมือทั้งในระดับโลกและระดับภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนและปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศและในภูมิภาค
                              2.7 การดำเนินงานของสำนักงาน กสม. ซึ่งได้รับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เป็นงบเงินอุดหนุน 211.73 ล้านบาท มีผลการใช้จ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น 180.84 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85
                              2.8 ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายใน                   2 ประเด็น ได้แก่ (1) การที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 247 (4) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย กสม. มาตรา 26 (4) บัญญัติให้ กสม. มีหน้าที่ในการชี้แจงและรายงานข้อเท็จจริงที่ถูกต้องโดยไม่ชักช้าในกรณีที่มีการรายงานสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นธรรม เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไปนั้น คณะอนุกรรมการประเมินสถานะของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (Sub-Committee on Accreditation: SCA1) เห็นว่าหน้าที่และอำนาจดังกล่าวไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานการปฏิบัติหน้าที่ของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติตามหลักการปารีส และอาจมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติหน้าที่ทั้งที่อาจเกิดขึ้นจริงหรือที่เป็นการรับรู้ และ (2) กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้อำนาจแก่ กสม. ในการดำเนินการให้คู่กรณีทำความตกลงเพื่อประนีประนอมและแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นหน้าที่ที่สอดคล้องกับหลักการปารีสและจะช่วยให้ กสม. สามารถแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ กสม. จะได้ประสานงานกับฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อันจะส่งผลให้ กสม. ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
????????????_______________________
1 SCA เป็นคณะอนุกรรมการภายใต้กรอบความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรระดับโลกว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ทำหน้าที่ประเมินสถานะของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติที่เป็นสมาชิก (ทั้งนี้ กสม. ได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว เมื่อปี 2547) เพื่อให้ได้มาตรฐานสอดคล้องกับหลักการปารีส ที่กำหนดกรอบการทำงานเชิงบรรทัดฐานในเรื่องสถานะ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ องค์ประกอบ และวิธีการปฏิบัติงานของสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ

13. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางฯ) เพื่อดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 6 โครงการ วงเงินจำนวน 338.80 ล้านบาท ให้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (จังหวัดสตูล ตรัง ภูเก็ต พังงา และกระบี่) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ ทั้งนี้ มท. จะได้แจ้งให้กลุ่มจังหวัดดังกล่าวในฐานะหน่วยรับงบประมาณจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ รวมถึงประมาณการค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงศักยภาพและความสามารถในการใช้จ่าย ความคุ้มค่า ประหยัด เป้าหมาย และประโยชน์ที่ทางราชการและประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ ตลอดจนปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ให้ถูกต้องครบถ้วนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งระยะเวลาดำเนินการ และความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในทุกมิติต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางฯ) เพื่อดำเนินโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 จำนวน 6 โครงการ วงเงินจำนวน 338.80 ล้านบาท ให้กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน (จังหวัดสตูล ตรัง ภูเก็ต พังงา และกระบี่) ซึ่งนายกรัฐมนตรีพิจารณาและเห็นชอบวงเงินดังกล่าวด้วยแล้ว ดังนี้
โครงการ          รายละเอียด          วงเงิน (ล้านบาท)
1. โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม                  เกาะหลีเป๊ะ รองรับการท่องเที่ยวนานาชาติ จังหวัดสตูล          เป็นการปรับปรุงอาคารของโรงพยาบาลเสริมสร้างสุขภาพตำบลบ้านเกาะหลีเป๊ะให้สามารถรองรับประชาชนในพื้นที่และนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้ รวมทั้งเป็นการจัดหาครุภัณฑ์ทางการแพทย์          80.75
2. โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้อนุรักษ์ฟื้นฟูพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก จังหวัดตรัง          เป็นการปรับปรุงศูนย์เรียนรู้ อนุรักษ์ฟื้นฟูพะยูนและสัตว์ทะเลหายาก จังหวัดตรังให้มีความทันสมัยและดึงดูดนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสาน รวมทั้งปรับปรุงศูนย์อนุบาลสัตว์น้ำด้วย          68.80
3. โครงการ Phuket Health Sandbox จังหวัดภูเก็ต          เป็นการจัดทำแพลตฟอร์มออนไลน์สำหรับให้บริการด้านสุขภาพ ทั้งการให้คำปรึกษา เรียกรถพยาบาล ดูประวัติการรักษาของตนเอง รวมทั้งการจัดตั้ง Digital Health Post เพื่อ
เป็นจุดสำหรับตรวจสุขภาพเบื้องต้นและพบหมอทางออนไลน์ด้วย          25.25
4. โครงการศูนย์กลางการท่องเที่ยวและนันทนาการชายฝั่งแห่งเมืองพังงา จังหวัดพังงา          เป็นการก่อสร้างอาคารศูนย์กลางการท่องเที่ยวและลานกิจกรรมนันทนาการ เช่น ลานกิจกรรม ทางวิ่ง ทางเท้า เป็นต้น เพื่อให้เป็นสถานที่รองรับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนและนักท่องเที่ยวด้วย          80.00
5. โครงการปรับปรุงท่าเทียบเรือโดยสาร ? ท่องเที่ยวปากคลองจิหลาด จังหวัดกระบี่          เป็นการปรับปรุงท่าเทียบเรือและอาคารที่ใช้สำหรับรองรับผู้โดยสารและนักท่องเที่ยวให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครัน รวมทั้งรองรับต่อผู้ใช้บริการทุกประเภท โดยเฉพาะผู้ใช้บริการที่เป็นผู้พิการ          35.00
6. โครงการพัฒนาแหล่งสปาวารีบำบัดน้ำพุร้อนคลองท่อมเมืองสปา จังหวัดกระบี่          เป็นการปรับปรุงและพัฒนาสปาวารีบำบัดน้ำพุร้อนคลองท่อมให้มีภูมิทัศน์ที่สะอาด สวยงาม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมากขึ้น รวมทั้งปรับปรุงให้ยังคงมีสภาพเดิมเป็นไปตามธรรมชาติด้วย          49.00
รวม          338.80

14. เรื่อง ข้อเสนอการดำเนินการเพื่อยกเว้นการยื่นรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ต.ม. 6) กรณีการเดินทางผ่านด่านท่าอากาศยาน เป็นการชั่วคราว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบข้อเสนอการดำเนินการเพื่อยกเว้นการยื่นรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ต.ม. 6) กรณีการเดินทางผ่านด่านท่าอากาศยาน เป็นการชั่วคราว ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการข้อเสนอการดำเนินการเพื่อยกเว้นการยื่นรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม. 6) เฉพาะกรณีการเดินทางผ่านด่านท่าอากาศยาน โดยประเมินผลสักระยะหนึ่งแล้วจึงพิจารณาใหม่ ส่วนการกรอกข้อความในแบบ ต.ม. 6 สำหรับการเดินทางทางบก (รถยนต์ รถไฟ) และทางน้ำ (เรือ) ควรดำเนินการต่อไปเพราะมีจำนวนไม่มากอย่างมีนัยสำคัญ และยังคงเป็นประโยชน์ด้านการป้องกันอาชญากรรมและการติดตามตัวผู้ติดเชื้อ
                    2. มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการออกประกาศให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อให้เกิดผลทางปฏิบัติโดยเร็วต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) รายงานว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รับไปตรวจสอบข้อร้องเรียนและปัญหาความล่าช้าที่เกิดขึ้นเพื่อลดความแออัดและอำนวยความสะดวกให้กับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยเฉพาะการเดินทางผ่านด่านท่าอากาศยาน ในช่วงของการเปิดประเทศและต้องกรอกข้อความในใบ ต.ม. 6 นั้น
                    เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 65 ได้เชิญผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ                 ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง พร้อมด้วยคณะ) ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย (สำนักกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง) มาหารือปัญหาดังกล่าว โดยมี พล.ต.ท. พิจาร จิตติรัตน์ ที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี เข้าร่วมประชุมด้วย สรุปประเด็นผลการหารือและข้อเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าว ดังนี้
                    1. ข้อเท็จจริง
                              1.1 กรณีความแออัดที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง บริเวณท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตได้รับการชี้แจงจาก สตม. ว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการคัดกรองผู้เดินทางเข้าประเทศบริเวณนั้นเป็นการทำงานร่วมกันของ 2 หน่วย คือ สตม. (ด่านตรวจคนเข้าเมือง) ที่คัดกรองจากแบบ ต.ม. 6 และเจ้าพนักงานควบคุมโรคประจำด่านควบคุมโรคที่จะตรวจสอบข้อมูลการรับวัคซีน คัดกรองโรคและประทับตราบนแบบ ต.ม. 6 ซึ่งปกติแล้วการตรวจเฉพาะของเจ้าหน้าที่ สตม. จะใช้เวลาประมาณไม่เกิน 1 นาทีต่อราย แต่ความแออัดที่เกิดขึ้นดังกล่าว สืบเนื่องจากมีเที่ยวบินล่าช้าจึงมีจำนวนผู้เดินทางที่ตกค้างสมทบกับเที่ยวบินที่ลงจอดตามเวลาปกติ จำนวนผู้เดินทางเข้าหน้าด่านจึงมีปริมาณสะสม และผู้เดินทางบางส่วนมิได้กรอกเอกสารไว้ล่วงหน้าตามที่แจกให้บนเครื่องบิน จึงทำให้เสียเวลาและเกิดเป็นภาพความแออัดดังกล่าวขึ้น
                              1.2 แบบ ต.ม. 6 เป็นเอกสารที่กำหนดขึ้นตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 18 ที่กำหนดให้ผู้เดินทางเข้ามาหรือออกไปนอกราชอาณาจักรต้องผ่านการตรวจของเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง ปัจจุบันเฉพาะคนต่างด้าวเท่านั้นที่ต้องกรอกและยื่นแบบ ต.ม. 6 ดังกล่าว (กรณีคนไทย ได้ยกเลิกการกรอกแบบ ต.ม. 6 โดยคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 42/2560) โดยข้อมูลที่ต้องกรอกในแบบ ต.ม. 6 ด้านหน้าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เดินทาง (เช่น ที่อยู่ วัตถุประสงค์ของการเดินทาง สถานที่ที่จะเข้าพำนัก ระยะเวลาที่พำนัก) ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญเพื่อการตรวจคนเข้าเมือง ด้านหลังจะเป็นข้อมูลเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น ลักษณะของเที่ยวบิน (เที่ยวบินพาณิชย์/ Charter flight) ประเภทของการท่องเที่ยว (ท่องเที่ยวเอง/กรุ๊ปทัวร์) ประเภทที่พัก รายได้ต่อปีของผู้เดินทาง                  ซึ่งรับทราบจากเจ้าหน้าที่ว่าข้อมูลด้านหลังนี้ ก.ก. (โดย ททท.) จะเข้ามาประสานขอจัดเก็บข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านสถิติ และได้มีการประสานเพื่อขอแก้ไขเพิ่มเติมประเภทข้อมูลที่จัดเก็บเพื่อเป็นประโยชน์ทางการท่องเที่ยวเป็นระยะ
                              1.3 แบบ ต.ม. 6 ดำเนินการจัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์ตำรวจ ตามความต้องการของสตม.                สายการบิน และผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว โดยมีงบประมาณจัดพิมพ์ในราคาแผ่นละ 0.70 บาท จัดพิมพ์ล่าสุดในปี 63 จำนวน 17.1 ล้านใบ คิดเป็นเงิน 11.9 ล้านบาท หากประมาณการงบประมาณจัดพิมพ์ จำนวน 65 ล้านใบ จะคิดเป็นเงิน 45.5 ล้านบาท (ไม่ใช่หลักร้อยล้านบาท)
                              1.4 ข้อมูลในแบบ ต.ม. 6 มีความจำเป็นเพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นด้านความมั่นคง (ตร./มท/ยธ.) เพื่อให้ทราบ สืบค้น และติดตามการแจ้งที่พักอาศัยของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรโดยเฉพาะที่ผ่านมาช่วงที่มีการระบาดของโรคโควิด - 19 ที่มาจากต่างประเทศ แบบ ต.ม. 6 จะเป็นเอกสารเบื้องต้นที่สำคัญในการติดตามตัวผู้ที่มีความเสี่ยงของโรค และข้อมูลด้านการท่องเที่ยว (กก.) ที่นำข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการจัดทำสถิติ
                    2. ข้อเสนอแนวทางแก้ไข
                    ปัจจุบันการจัดเก็บและตรวจสอบข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลลักษณะทางกายภาพของผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรได้มีการจัดเก็บเป็นระบบผ่านระบบไบโอเมตริกซ์ อีกทั้งข้อมูลในแบบ ต.ม. 6 เป็นเพียงข้อมูลที่ให้ผู้เดินทางกรอกในเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งบางครั้งข้อมูลนั้น เช่น โรงแรมที่พักก็ไม่ถูกต้องตรงต่อความจริง การนำข้อมูลมาใช้งานจริงหน่วยงานจึงจำเป็นต้องตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง ในส่วนของข้อมูลการท่องเที่ยวสามารถจัดเก็บข้อมูลได้จากผู้ประกอบการท่องเที่ยวและสายการบินอยู่แล้ว ที่ประชุมจึงเห็นว่า การยกเว้นการกรอกและยื่นเอกสารแบบ ต.ม. 6 เฉพาะการเดินทางเข้าราชอาณาจักรเฉพาะที่ผ่านด่านท่าอากาศยานซึ่งมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมากอย่างมีนัยสำคัญจะเป็นการช่วยลดภาระแก่ผู้เดินทาง ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่ในการจัดเก็บเอกสาร ทำให้การตรวจลงตราหน้าด่านตรวจเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของท่าอากาศยานซึ่งเป็นประตูด่านแรกที่สะท้อนภาพลักษณ์ของประเทศ
ต่างประเทศ

15. เรื่อง ผลการประชุมสุดยอดด้านการบินชางงี 2565
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมสุดยอดด้านการบินชางงี 2565 ระหว่างวันที่ 17 ? 18 พฤษภาคม 2565 ณ สาธารณรัฐสิงคโปร์ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (10 พฤษภาคม 2565) ที่เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนภาคการบิน และนวัตกรรมที่ทั่วถึง และอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี                     (นายอนุทินฯ) หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบิน และนวัตกรรมที่ทั่วถึง] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                     1. การหารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญด้านการบินภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส                  โคโรนา 2019 (โควิด-19) และการสร้างความยั่งยืนด้านการบินและสิ่งแวดล้อม โดยมีผู้แทนเข้าร่วมประชุมฯ จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์การระหว่างประเทศด้านการบิน พร้อมด้วยรัฐมนตรีขนส่งของอาเซียน จาก 7 ประเทศ ได้แก่ เนการาบรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย มาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ และประเทศไทย โดยได้หารือในประเด็นสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็นการหารือ          สาระสำคัญ
(1) การฟื้นฟูและการกลับมาของความเชื่อมโยงด้านการบินจากผลกระทบของโควิด-19 และแนวทางการฟื้นฟูการเดินทางระหว่างประเทศ           - การฟื้นฟูภาคการบินต้องอาศัยการบูรณาการการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในการสร้างความยั่งยืน เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในอนาคตและการนำเทคโนโลยีระบบไร้การสัมผัสมาใช้ในขั้นตอนการเดินทางเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้โดยสาร
- การบริหารจัดการข้อจำกัดในการเดินทางระหว่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญในการลดอุปสรรคของมาตรการและพิธีการต่าง ๆ ในการเดินทาง ซึ่งหน่วยงานภาครัฐจากประเทศต่าง ๆ จะต้องร่วมมือและปรับปรุงมาตรการและกฎระเบียบให้สอดคล้องกันเพื่อเชื่อมโยงภาคการบินระหว่างประเทศให้กลับมาเป็นปกติ
(2) ความสดใสและท้องฟ้าที่สะอาดในอนาคต          - ภาคการบินมีส่วนสำคัญในการดำเนินการเพื่อรับมือกับความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ ได้มีการเริ่มพัฒนาภาคการบินที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดจากกิจกรรมในภาคการบิน รวมทั้งการสร้างความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมในภาคการบิน เช่น การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ในภาคการบินและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทินฯ) นำเสนอวิสัยทัศน์ว่าไทยตระหนักถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและจะดำเนินการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคการบิน โดยไทยได้ยื่นแผนปฏิบัติการต่อองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization : ICAO) เป็นระยะ เพื่อยืนยันความมุ่งมั่นด้านสิ่งแวดล้อมของภาคอุตสาหกรรมการบินพลเรือนของไทย ประกอบด้วย 4 มาตรการ ได้แก่ (1) เทคโนโลยีอากาศยาน (2) การพัฒนาท่าอากาศยาน (3) การพัฒนาการปฏิบัติการของอากาศยาน และ (4) มาตรการทางการลด รวมทั้งมีการดำเนินมาตรการย่อยที่สอดคล้องกับแผนงานการตลาด และการชดเชยการปล่อยคาร์บอนสำหรับการบินระหว่างประเทศ ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือ ICAO และความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ ไทยมีเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการบินระหว่างประเทศในช่วง 5 ปี ที่อัตราร้อยละ 0.3 จากปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกรณีฐาน และยังได้จัดทำแนวทางในการพัฒนาเชื้อเพลิงการบินที่ยั่งยืน เพื่อสนับสนุนสายการบินในการนำเชื้อเพลิงชีวภาพมาใช้สำหรับการปฏิบัติการบิน
(3) ประเด็นด้านสาธารณสุข           รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทินฯ) ได้เชิญชวนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาและให้การรับรองใบรับรองการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งนำมาสู่การรับรองเอกสาร ?การสนับสนุนร่วมเพื่อการฟื้นฟูภาคการบินพลเรือน? (Joint Support For The Recovery Of The Civil Aviation Sector) โดยมีประเด็นสำคัญคือ การมุ่งดำเนินการให้ร่วมกันยอมรับใบรับรองวัคซีนโควิด-19 ของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งมีเนื้อหาสอดคล้องกับเอกสารแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบิน และนวัตกรรมที่ทั่วถึง ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 อย่างไรก็ตาม ไทยได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ไม่ขัดข้องในหลักการของเอกสารการสนับสนุนร่วมฯ แต่โดยที่ไทยได้รับร่างเอกสารกระชั้นชิดกับการประชุมฯ ดังนั้น เมื่อไทยได้ดำเนินการตามกระบวนการภายในในการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว คค. จะได้แจ้งฝ่ายสิงคโปร์ทราบในโอกาสแรก ทั้งนี้ คค. จะเสนอเอกสารดังกล่าวเพื่อให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบโดยด่วนต่อไป
(4) การลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยโครงการฝึกอบรมร่วมระหว่างสิงคโปร์และประเทศกำลังพัฒนาของ ICAO           รัฐมนตรีคมนาคมสิงคโปร์และประธาน ICAO ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างกันแล้ว อย่างไรก็ตาม สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยจะประสาน ICAO เพื่อจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทยกับ ICAO เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการฝึกอบรมด้านการบินในภูมิภาค
ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมฯ ได้มีการออกแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยการฟื้นฟูภาคการบิน ความยั่งยืนด้านการบิน และนวัตกรรมที่ทั่วถึง ซึ่งเป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565
                     2. การหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทยกับรัฐมนตรีคมนาคมมาเลเซีย เพื่อสานต่อความร่วมมือด้านการเชื่อมโยงคมนาคมและประเด็นด้านการขนส่งต่าง ๆ ดังนี้
                               2.1 ด้านการบิน ทั้งสองฝ่ายแสดงความยินดีที่ได้เปิดเที่ยวบินแบบเปิดรับนักท่องเที่ยวระหว่างกันโดยไม่ต้องกักตัว (Vaccinated Travel Lane: VTL) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 เพื่อฟื้นฟูการเดินทางทางอากาศระหว่างสองประเทศ ซึ่งสอดรับกับการเปิดประเทศของมาเลเซียเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 และการเปิดประเทศของไทยเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2565 โดยมีการผ่อนคลายมาตรการทางสาธารณสุขแล้ว
                               2.2 การเชื่อมโยงรถไฟความเร็วสูง มาเลเซียอยู่ระหว่างทบทวนแผนงานโครงการรถไฟความเร็วสูงสิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพมหานคร ซึ่งหากเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ ไปยังชายแดนไทย-มาเลเซียสำเร็จ จะเกิดประโยชน์ต่อการคมนาคมของทั้ง 3 ประเทศ โดยขณะนี้เส้นทางรถไฟสิงคโปร์-คุนหมิงได้มีการเชื่อมต่อจากสาธารณรัฐประชาชนจีนมายังเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวแล้ว ทั้งนี้ ไทยเสนอให้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านการคมนาคมระหว่างสองประเทศทั้งในระดับนโยบายและระดับคณะทำงาน โดยฝ่ายมาเลเซียไม่ขัดข้อง
                               2.3 การเชื่อมโยงพื้นที่ชายแดน ไทยได้ขอให้มาเลเซียเร่งพิจารณาโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโก-ลก แห่งที่ 2 (สุไหงโก-ลก-รันเตาปันยัง) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการหารือด้านเทคนิค และเสนอให้จัดตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อศึกษารายละเอียดโครงการพัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงจังหวัดสตูล-เปอร์ลิส ซึ่งเป็นโครงการภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย ทั้งนี้ มาเลเซียจะแจ้งหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการทราบต่อไป นอกจากนี้ ไทยได้ผลักดันให้มีการก่อสร้างถนนเชื่อมระหว่างด่านศุลกากรสะเดาแห่งที่ 2-บูกิตกายูฮิตัม ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือด้านเทคนิคของทั้งสองฝ่ายเพื่อปรับแนวถนนให้มีการเชื่อมต่อที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถเปิดใช้ด่านศุลกากรแห่งที่ 2 ได้โดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดความแออัดของการจราจรบริเวณหน้าด่านและเพิ่มความคล่องตัวในการขนส่งสินค้า
                               2.4 การอำนวยความสะดวกการขนส่งข้ามพรมแดนทางถนน ไทยขอให้มาเลเซียเร่งพิจารณาร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขนส่งสินค้าข้ามพรมแดนและร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดน เพื่อประโยชน์ในการอำนวยความสะดวกการขนส่งระหว่างสองประเทศ ซึ่งฝ่ายมาเลเซียแจ้งว่าอยู่ระหว่างการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                     3. ความเห็นและข้อสังเกตของ คค. การประชุมสุดยอดด้านการบินมีการจัดขึ้นเป็นประจำทุก 2 ปี โดยการจัดประชุมฯ ครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อปี 2561 เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้การประชุมสุดยอดด้านการบินชางงีในปี 2565 เป็นการประชุมแบบเต็มรูปแบบครั้งแรกภายหลังโควิด-19 ซึ่งการเข้าร่วมการประชุมฯ ครั้งนี้ เป็นการแสดงความมุ่งมั่นของไทยในการร่วมมือกับประชาคมโลกด้านการบินในการฟื้นฟูภาคอุตสาหกรรมการบินให้กลับคืนสู่สภาวะปกติ รวมทั้งตอบสนองต่อความเติบโตของการขนส่งทางอากาศในอนาคตอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ภาครัฐและเอกชนได้มีการหารือทวิภาคีคู่ขนานกับการประชุมฯ เพื่อเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรและกระชับความสัมพันธ์ในภาคอุตสาหกรรมการบินและการคมนาคมในภาพรวมให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

16. เรื่อง (ร่าง) ข้อเสนอปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจีดพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) ต่อที่ประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) ข้อเสนอการปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) ข้อเสนอฯ ต่อวาระการประชุมดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยให้เป็นดุลยพินิจของอธิบดีกรมประมงเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับมาเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. จระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย (Crocodylus siamensis) เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ ตามกฎกระทรวงกำหนดชนิดของสัตว์ป่าคุ้มครองให้เป็นสัตว์ป่าชนิดที่เพาะพันธุ์ได้ พ.ศ. 2546 และอยู่ในบัญชี 1 ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (CITES) ซึ่งเป็นบัญชีสำหรับชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่มีสถานภาพใกสัสูญพันธุ์มตั้งแต่ปี 2518 เนื่องจากประชากรจระเข้ตามธรรมชาติในประเทศไทยมีจำนวนน้อย  ต่อมาประเทศไทยเริ่มมีการเพาะพันธุ์จระเข้และมีการค้าขายกันเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น ในการประชุมภาคีอนุสัญญา CITES ครั้งที่ 16 (CITES CoP16) เมื่อเดือนมีนาคม 2556 ประเทศไทยจึงเสนอขอปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย จากบัญชี 1 ตามอนุสัญญา CITES เป็นบัญชี 2 เพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งออกจระเข้ไปยังต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมฯ เนื่องจากประเทศภาคีสมาชิกบางประเทศ (สหรัฐอเมริกาและแคนาดา) มีความกังวลต่อจำนวนประชากรจระเข้น้ำจืดของประเทศไทยในธรรมชาติ โดยในครั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) ข้อเสนอการปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทย ซึ่งเป็นการดำเนินการลักษณะเดียวกันกับเมื่อปี 2556 โดยได้มีการเพิ่มและปรับปรุงข้อมูลในส่วนแนวทางการคุ้มครองจระเข้ตามธรรมชาติของประเทศไทยให้เป็นปัจจุบัน เช่น การเพิ่มกฎหมายสำหรับคุ้มครองชนิดพันธุ์จระเข้ของประเทศไทยเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภัยคุกคามต่อจระเข้ตามธรรมชาติ เป็นต้น เพื่อให้ประเทศภาคีอนุสัญญา CITES มั่นใจว่าจระเข้ตามธรรมชาติจะได้รับการคุ้มครองและจะไม่มีการทำการค้าโดยเด็ดขาด และการค้าจระเข้จะมาจากฟาร์มเพาะพันธุ์ของเกษตรกรที่ได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น
                    2. การปรับลดบัญชีจระเข้น้ำจืดพันธุ์ไทยเป็นการอำนวยความสะดวกให้สามารถส่งออกจระเข้ไปยังต่างประเทศได้สรุป ดังนี้
อนุสัญญา CITES
บัญชี 1          บัญชี 2
- ชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่มีสถานภาพ
- ใกล้สูญพันธุ์
- ห้ามมีการส่งออกเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้า แต่หากชนิดพันธุ์ดังกล่าวสามารถเพาะพันธุ์และมีศักยภาพในการค้าขายเชิงพาณิชย์ได้ให้สามารถส่งออกได้ ภายใต้เงื่อนไขคือ (1) ต้องเป็นฟาร์มที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักเลขาธิการ CITES แล้ว และ (2) ต้องขอใบอนุญาคส่งออก ใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์จระเข้ และใบอนุญาตให้ค้าจระเข้เช่นเดียวกับบัญชี 2          - ชนิดพันธุ์ของสัตว์ป่าและพืชป่าที่มีสถานภาพ
- ยังไม่ใกล้สูญพันธุ์
- สามารถส่งออกเพื่อวัตถุประสงค์ทางการค้าได้โดยจะต้องมีใบอนุญาตส่งออก ใบอนุญาตให้เพาะพันธุ์จระเข้ และใบอนุญาตให้ค้าจระเข้ (ไม่ต้องขึ้นทะเบียนฟาร์มกับสำนักเลขาธิการ CITES)


                    3. ที่ผ่านมาในประเทศไทยมีฟาร์มที่ขึ้นทะเบียนฟาร์มเพาะพันธุ์เพื่อการค้าระหว่างประเทศกับสำนักเลขาธิการ CITES ตามบัญชี 1 เพียง 29 แห่ง จากทั้งหมด 928 แห่ง ส่งผลให้การค้าขายจระเข้ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการภายในประเทศซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาประเทศไทย แต่เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางเข้ามาในประเทศไทยได้ ปริมาณจระเข้ที่มีการเพาะเลี้ยงในประเทศจึงมีมากเกินความต้องการของตลาด (ปี 2564 มีจระเข้เพาะพันธุ์จำนวนประมาณ 1.26 ล้านตัว ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ที่มีจำนวนประมาณ 0.73 ล้านตัว) ส่งผลให้เกษตรกรต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงจระเข้ ก่อนหน้าคณะรัฐมนตรีจึงมีมติ (13 กรกฎาคม 2565) อนุมัติในหลักการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงจระเข้และผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวเนื่องเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรจากสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งการปรับลดบัญชีในครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรรายย่อยมีช่องทาง                    ในการส่งออกสินค้าจระเข้ไปยังต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันผู้ที่สามารถส่งออกได้จะเป็นฟาร์มเพาะพันธุ์ขนาดใหญ่ (29 แห่ง) เท่านั้น

17. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ กับ The Cyberspace Administration of the People?s Republic of China สาธารณรัฐประชาชนจีน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) กับ The Cyberspace Administration of the People?s Republic of China (CAC) สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม/สกมช. ดำเนินการได้โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อสนับสนุนวัตกรรมทางเทคโนโลยี การเดิบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาสังคมผ่านความร่วมมือด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เข้มแข็ง              (2) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านกิจการไซเบอร์ให้เป็นไปตามกฎหมายภายในประเทศ นโยบาย ขั้นตอน มาตรฐาน และพันธกรณีระหว่างประเทศของคู่สัญญา (3) เพื่อให้ความร่วมมือในการริเริ่มการแลกเปลี่ยนข้อมูล ทักษะส่วนบุคคล และประสบการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ เพื่อประโยชน์ร่วมกัน (4) เพื่อสะท้อนถึงความปรารถนาในการส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในมิติทางไซเบอร์ ลดความเสี่ยงของอาชญากรรมทางไซเบอร์ และเพิ่มโอกาสการเติบโตทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองผ่านการค้าดิจิทัล โดยมีขอบเขตความร่วมมือ ประกอบด้วย การแลกเปลี่ยนข้อมูลและการฝึกปฏิบัติร่วมกันในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ความร่วมมือเพื่อเสถียรภาพทวิภาคี และการพัฒนาขีดความสามารถ

18. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อการร่วมรับรองปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคอินโด ? แปซิฟิก               ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อการร่วมรับรองปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (ปฏิญญาร่วมฯ) ที่รับรองในการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก (Ministerial Forum for Cooperation in the Indo - Pacific) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กต. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาและดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. ให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายในฐานะผู้แทนรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ แจ้งฝ่ายสหภาพยุโรปว่าไทยร่วมรับรองปฏิญญาร่วมฯ             ในนามประเทศไทย
                    3. ให้ กต. แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง [เช่น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สำนักงาน กสม.) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) เป็นต้น] เกี่ยวกับการร่วมรับรองปฏิญญาร่วมฯ เพื่อนำไปขยายผลให้เกิดประโยชน์เป็นรูปธรรมต่อการดำเนินการของประเทศไทยด้านความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. สหภาพยุโรปและสาธารณรัฐฝรั่งเศสในฐานะประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปวาระเดือนมกราคม - มิถุนายน 2565 ได้ร่วมจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก                เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส เพื่อย้ำเจตนารมณ์ของฝ่ายสหภาพยุโรปในการยกระดับความร่วมมือกับภูมิภาคอินโด ? แปซิฟิก1 ให้แน่นแฟ้นมากขึ้นในประเด็นความมั่นคง การเชื่อมโยงและประเด็นระดับโลก เช่น สาธารณสุข การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ              โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เดินทางไปเข้าร่วมด้วย
                    2. ปฏิญญาร่วมฯ เป็นหนึ่งในเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมดังกล่าวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินการร่วมกันเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งไม่มีผลผูกมัดใด ๆ ในด้านกฎหมายหรือสร้างพันธกรณีระหว่างประเทศต่อประเทศที่ร่วมรับรอง โดยฝ่ายสหภาพยุโรปและสาธารณรัฐฝรั่งเศสได้ทาบทามให้ประเทศในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิกจำนวนหนึ่ง ซึ่งประเทศไทยเป็น 1 ใน 13 ประเทศของภูมิภาคอินโด - แปซิฟิกที่ร่วมรับรองปฏิญญาร่วมฯ เนื่องจากประเทศไทยมีความร่วมมือด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกับสหภาพยุโรปมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการจัดทำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นกรอบกฎหมายที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับกฎระเบียบของสหภาพยุโรปว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (General Data Protection Regulation: GDPR) ดังนั้น การรับรองปฏิญญาร่วมฯ จึงถือเป็นการต่อยอดความร่วมมือดังกล่าวและปูทางไปสู่การเจรจาเพื่อบรรลุข้อมติของคณะกรรมาธิการยุโรปรับรองมาตรฐานการรับ - ส่งข้อมูลระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป (Adequacy Decision) ในอนาคต ทั้งนี้ ได้เปิดให้มีการร่วมรับรองภายหลังได้โดยไม่มีกำหนดเวลา เนื่องจากเป็นการทาบทามประเทศต่าง ๆ อย่างกระชั้นชิด และตระหนักว่าแต่ละประเทศมีกระบวนการภายในที่ต้องดำเนินการ
                    3. ปฏิญญาร่วมฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1) การพัฒนาทางเทคโนโลยีได้สร้างคุณประโยชน์ต่อทั้งเศรษฐกิจและสังคม แต่ก็นำมาซึ่งความท้าทายใหม่ต่อความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย เพราะหากในระดับปัจเจกบุคคลและระดับชุมชนไม่ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ ๆ หรือหน่วยงานภาครัฐลังเลที่จะแบ่งปันข้อมูลส่วนบุคคลกับหุ้นส่วนต่างชาติจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาได้ และทำให้สังคมของเราไม่สามารถเปิดรับหรือได้ประโยชน์จากการปฏิวัติทางดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น การส่งเสริมให้เกิดความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยในการส่งข้อมูล โดยให้ความสำคัญกับการเคารพสิทธิในความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจะเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจดิจิทัลได้อย่างเต็มที่
                              2) เห็นพ้องร่วมกันต่อวิสัยทัศน์การเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลที่มีคนเป็นศูนย์กลาง โดยคำนึงว่าการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่มีประสิทธิภาพเป็นปัจจัยสำคัญในการนำไปสู่ความร่วมมือข้ามพรมแดน
                              3) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนมาตรฐานระดับสูงในด้านการคุ้มครองข้อมูลและความเป็นส่วนตัว โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานขององค์ประกอบที่ได้รับการยอมรับร่วมกันในภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก เช่น (1) การมีกรอบกฎหมายและนโยบายที่ครอบคลุมสำหรับทั้งภาคเอกชนและภาครัฐ (2) การคำนึงถึงหลักการสำคัญ (อาทิ ความชอบด้วยกฎหมาย ความเป็นธรรม ความโปร่งใส การจัดเก็บข้อมูลเฉพาะที่จำเป็น) (3) การใช้สิทธิของปัจเจกบุคคลเพื่อดำเนินการกับข้อมูลของตนเองได้ (อาทิ การเข้าถึง การแก้ไข การลบ และความคุ้มครองเกี่ยวกับการตัดสินใจอัตโนมัติ) (4) การรักษาความปลอดภัยสำหรับการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างประเทศเพื่อให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลข้ามพรมแดนได้ โดยมีหลักประกันว่าระบบรักษาความปลอดภัยจะติดตามไปกับข้อมูลที่ส่งออก  (5) การกำกับดูแลที่เป็นอิสระโดยหน่วยงานของรัฐเป็นการเฉพาะและมีระบบการชดเชย/เยียวยาที่มีประสิทธิภาพ
                              4) ส่งเสริมและต่อยอดการหารือเกี่ยวกับนโยบายระหว่างประเทศและความร่วมมือด้านการคุ้มครองข้อมูลและการไหลเวียนของข้อมูลข้ามพรมแดนอย่างน่าเชื่อถือโดยหารือผ่านทั้งทางทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์ร่วมและความสอดประสานในการทำงานด้านการคุ้มครองข้อมูลร่วมกัน รวมทั้งหน่วยงานกำกับดูแลของภาครัฐจะต้องร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแต่ละฝ่าย
??????????????________________________________
1ภูมิภาคอินโด - แปซิฟิก (Indo - Pacific) เป็นพื้นที่ที่รวมภูมิภาคต่าง ๆ ของสองน่านน้ำมหาสมุทร ได้แก่ ?มหาสมุทรอินเดีย? และ ?มหาสมุทรแปซิฟิก? จึงทำให้มีพื้นที่หลายภาคส่วนของภูมิภาคต่าง ๆ ได้แก่ เอเชียตะวันออก [สาธารณรัฐประชาชนจีน ประเทศญี่ปุ่น ประเทศมองโกเลีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) สาธารณรัฐไต้หวัน] เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ประเทศไทย เนการาบรูไน ดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐอินโดนีเชีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต) เอเชียใต้ (สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปตยศรีลังกา สาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐประชาธิปไตยเนปาล ราชอาณาจักรภูฏาน สาธารณรัฐมัลดีฟส์) เครือรัฐออสเตรเลีย และประเทศนิวซีแลนด์

19. เรื่อง ร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent: LOI) ว่าด้วยความร่วมมือในสาขาเศรษฐกิจดิจิทัลและเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และการกีฬาของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือผ่านสถานเอกอัครราชทูต สหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย และเครือข่ายการค้าดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent: LOI) ว่าด้วยความร่วมมือในสาขาเศรษฐกิจดิจิทัล และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และการกีฬาของสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ ผ่านสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทยและเครือข่ายการค้าดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Letter of Intent between Ministry of Digital Economy and Society of the Kingdom of Thailand and the Department for Digital, Culture, Media & Sport of the United Kingdom of Great Britain and Northern Ireland on Collaboration in the Fields of Digital Economy and Digital Technologies via the British Embassy Bangkok and the UK?s Asia Pacific Digital Trade Network) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฉบับดังกล่าวตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างหนังสือแสดงเจตจำนงฯ (LOI) มีดังนี้
                    1. เพื่อรองรับความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจดิจิทัลที่เพิ่มมากยิ่งขึ้น ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหราชอาณาจักร
                    2. เพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนในสาขาเทคโนโลยีดิจิทัล และเสริมสร้างความร่วมมือด้านกฎระเบียบ เทคโนโลยี และการค้าเพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ สำหรับธุรกิจของราชอาณาจักรไทยและสหราชอาณาจักร
                    3. ตระหนักถึงความร่วมมือที่กำลังดำเนินการอยู่ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหราชอาณาจักร ทั้งด้านเศรษฐกิจดิจิทัล รัฐบาลดิจิทัล เทคโนโลยีดิจิทัล และการนำความชำนาญด้านดิจิทัลไปใช้ในภาคส่วนสำคัญ อาทิ การค้า บริการทางการเงิน และพลังงาน
                    4. ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายบรรลุความเข้าใจร่วมกันว่า วัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้จะช่วยชี้นำความร่วมมือที่เหมาะสมระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยขึ้นอยู่กับกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศที่เกี่ยวข้องของผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ้าย และขึ้นอยู่กับความพร้อมด้านทรัพยากรที่เหมาะสม โดยวัตถุประสงค์ที่ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายมีร่วมกัน ได้แก่
                              1) ส่งเสริมและยกระดับการเชื่อมโยงธุรกิจและความร่วมมือที่อาศัยดิจิทัลและสำรวจโอกาสในการทำการค้าและเศรษฐกิจในสาขาเทคโนโลยีดิจิทัลร่วมกันในอนาคต
                              2) สำรวจการทำงานร่วมกันและการแบ่งปันความรู้ โดยรวมถึงการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ ในสาขาที่มิได้จำกัดเพียง สตาร์ทอัพดิจิหัลและวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย การค้าดิจิทัลและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กฎระเบียบและมาตรฐานด้านการค้าดิจิทัล การกำกับดูแลด้านดิจิทัล และการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัล
                              3) สนับสนุนความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจดิจิทัล และเทคโนโลยีที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือในฐานะประเทศคู่เจรจารายใหม่ของอาเซียน

20. เรื่อง รายงานผลการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย - ลาว ครั้งที่ 27
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ รายงานผลการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป (General Border Committee: GBC) ไทย - ลาว ครั้งที่ 27  เมื่อวันที่ 7 ถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพมหานคร โดยนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม/ประธานคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไปไทย - ลาว ได้มอบหมายให้ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้แทนในการเป็นประธานร่วม                       สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป ไทย ? ลาว                    ครั้งที่ 27 ได้ปรึกษา หารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รวมทั้งทบทวนและประเมินผลการดำเนินความสัมพันธ์และความร่วมมือของทั้งสองประเทศ ซึ่งมีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีมติที่ประชุมที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
                              1.1 ที่ประชุมได้แสดงความยินดีต่อผลสำเร็จของการปฏิบัติงานในห้วงที่ผ่านมา ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดน ฉบับลงวันที่ 17 ธันวาคม 2558  โดยมีการจัดการประชุมในระดับต่าง ๆ และกิจกรรมการเสริมสร้างความสัมพันธ์ อาทิ การแลกเปลี่ยนการเยือน    การแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและกีฬา การแลกเปลี่ยนดูงานของนายทหารระดับกลาง การให้ที่นั่งการศึกษาหลักสูตรทางการแพทย์ หลักสูตรทางทหาร และการอบรมในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
                              1.2 สองฝ่ายยืนยันที่จะดำรงความต่อเนื่อง และพัฒนาความร่วมมือที่มีอยู่ให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเห็นชอบที่จะให้มีการปรับปรุงบันทึกความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
                              1.3 ที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกันที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติดตามชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และชุดประสานงานประจำพื้นที่ชายแดนไทย - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดรวมทั้งสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
                    2. ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุมคณะกรรมการร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนทั่วไป ไทย - ลาว ครั้งที่ 27 พลเอก จันสะหมอน จันยาลาด รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้เข้าเยี่ยมคำนับนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม                  ณ ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ยืนยันที่จะดำเนินความร่วมมือด้านความมั่นคงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในด้านการรักษาความสงบเรียบร้อย รวมถึงการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน ตลอดจนได้ชื่นชมความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างกัน และขอให้พัฒนาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น
                    ทั้งนี้ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะได้นำผลการประชุมไปดำเนินการตามความรับผิดชอบต่อไป

21. เรื่อง การขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ครั้งที่ 16 และการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ครั้งที่ 9
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ ดังนี้
                    1. ร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม 16th ADMM และ 9th ADMM-Plus จำนวน 9 ฉบับ ได้แก่
                              1) ร่างวิสัยทัศน์พนมเปญว่าด้วยบทบาทของฝ่ายทหารในการสนับสนุนการฟื้นฟูจาก COVID-19
                              2) ร่างปฏิญญาร่วมของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศในการเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อมิตรภาพด้านความมั่นคง                                                  3) ร่างปฏิญญาร่วมของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา ว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศในการเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อมิตรภาพด้านความมั่นคง
                              4) ร่างเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกองทัพประเทศสมาชิกอาเซียน ในการควบคุมโรคระบาดข้ามพรมแดน
                              5) ร่างเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการส่งเสริมกลไกสนับสนุนสตรีผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพของอาเซียน
                              6) ร่างเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการด้านการป้องกันประเทศของอาเซียน
                              7) ร่างเอกสารเพื่อการหารือ เรื่องการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างความร่วมมือการบังคับใช้กฎหมายทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางทะเล ในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา
                              8) ร่างเอกสารเพื่อการหารือ เรื่องการสะท้อนประวัติศาสตร์ทางทหารเพื่อการส่งเสริมสันติภาพอย่างยั่งยืน
                              9) ร่างขอบเขตการปฏิบัติงานของศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านข้อมูลข่าวสารและความมั่นคงไซเบอร์อาเซียน
                    ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงกลาโหมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. มอบหมายให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม หรือผู้แทน เป็นผู้รับรองหรือลงนามร่างเอกสารผลลัพธ์ฯ ดังกล่าว
                    สาระสำคัญของร่างเอกสารผลลัพธ์ จำนวน 9 ฉบับ ซึ่งจะมีการเสนอให้ที่ประชุม 16th ADMM และ 9th ADMM-Plus ให้การรับรอง สรุปได้ดังนี้
                    1. ร่างวิสัยทัศน์พนมเปญว่าด้วยบทบาทของฝ่ายทหารในการสนับสนุนการฟื้นฟูจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เสนอโดยกระทรวงกลาโหมราชอาณาจักรกัมพูชา และกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐสิงคโปร์               มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างบทบาทความร่วมมือของกองทัพในการจัดการและฟื้นฟูภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาด และส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารบริเวณแนวชายแดนตลอดจนเสริมสร้างความร่วมมือกับกลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายใต้กรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                    2. ร่างปฏิญญาร่วมของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศในการเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อมิตรภาพด้านความมั่นคง เสนอโดยกระทรวงกลาโหมราชอาณาจักรกัมพูชา มีสาระสำคัญ เพื่อแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการส่งเสริม และขับเคลื่อนความร่วมมือด้านความมั่นคงให้มีความต่อเนื่อง โดยยึดมั่นความเป็นแกนกลางของอาเซียน รวมทั้งการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านความมั่นคงของภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม
                    3. ร่างปฏิญญาร่วมของรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจาว่าด้วยความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศในการเสริมสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อมิตรภาพด้านความมั่นคง เสนอโดยกระทรวงกลาโหมราชอาณาจักรกัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา ในการส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจ และความเป็นแกนกลางของอาเซียน รวมทั้งเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงของภูมิภาคให้เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน
                    4. ร่างเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกองทัพประเทศสมาชิกอาเซียน ในการควบคุมโรคระบาดข้ามพรมแดน เสนอโดยกระทรวงกลาโหมราชอาณาจักรกัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการตอบสนองต่อโรคระบาดข้ามพรมแดน การรับมือกับภัยคุกคามและความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดจากการแพร่ระบาด การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารอย่างทันเวลา ตลอดจนยกระดับความร่วมมือระหว่างทหารและพลเรือนในการสนับสนุนการจัดการกับโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม
                    5. ร่างเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการส่งเสริมกลไกสนับสนุนสตรีผู้ปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพของอาเซียน เสนอโดยกระทรวงกลาโหมราชอาณาจักรกัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนบทบาทของสตรีในการเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพขององค์การสหประชาชาติ
                    6. ร่างเอกสารแนวความคิดว่าด้วยการจัดตั้งความร่วมมือระหว่างสถาบันวิชาการด้านการป้องกันประเทศของอาเซียน เสนอโดยกระทรวงกลาโหมราชอาณาจักรกัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถและสร้างเครือข่ายของสถาบันการศึกษาทางทหารของประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านโครงการแลกเปลี่ยนการศึกษา การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ และทรัพยากรต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมคุณภาพของสถาบันการศึกษาให้ได้มาตรฐานระดับสากล
                    7. ร่างเอกสารเพื่อการหารือ เรื่องการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างความร่วมมือการบังคับใช้กฎหมายทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางทะเล ในกรอบการประชุมรัฐมนตรีกลาโหมอาเซียนกับรัฐมนตรีกลาโหมประเทศคู่เจรจา เสนอโดยกระทรวงกลาโหมราชอาณาจักรกัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างความร่วมมือการบังคับใช้กฎหมายทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กับคณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางทะเล ในกรอบการประชุม ADMM-Plus
                    8. ร่างเอกสารเพื่อการหารือ เรื่องการสะท้อนประวัติศาสตร์ทางทหารเพื่อการส่งเสริมสันติภาพอย่างยั่งยืน เสนอโดยกระทรวงกลาโหมราชอาณาจักรกัมพูชา มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกลไกการหารือที่เปิดกว้าง การศึกษาวิจัย รวมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ทหารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนแสวงหาแนวทางการส่งเสริมสันติภาพที่ยั่งยืนผ่านการเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ทหาร การแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ และบทบาทของกองทัพในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งเพื่อให้เกิดความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                    9. ร่างขอบเขตการปฏิบัติงานของศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านข้อมูลข่าวสารและความมั่นคงไซเบอร์อาเซียน เสนอโดยกระทรวงกลาโหมสาธารณรัฐสิงคโปร์ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งกลไกการดำเนินงานของศูนย์แห่งความเป็นเลิศด้านข้อมูลข่าวสารและความมั่นคงไซเบอร์ ภายใต้กรอบการประชุม ADMM ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร การวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารและภัยคุกคามด้านไซเบอร์ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความไว้เนื้อเชื่อใจและพัฒนาขีดความสามารถด้านความมั่นคงไซเบอร์ของอาเซียน
                    ทั้งนี้ ร่างวิสัยทัศน์ฯ และร่างปฏิญญาร่วมฯ ตามข้อ 1 - 3 เป็นการแสดงเจตนารมณ์เชิงนโยบายร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาในการสร้างความ              ไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะเป็นการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านความมั่นคงของภูมิภาคได้อย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุมในทุกมิติ รวมทั้งเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาคมอาเซียนอย่างยั่งยืน

22. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับรัฐบาลออสเตรเลียว่าด้วยข้อริเริ่มออสเตรเลียสำหรับอนาคตของอาเซียน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับรัฐบาลออสเตรเลียว่าด้วยข้อริเริ่มออสเตรเลียสำหรับอนาคตของอาเซียน และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ และให้กระทรวงการต่างประเทศแจ้งสำนักเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตาว่า รัฐบาลไทยให้ความยินยอมให้เลขาธิการอาเซียนหรือผู้แทนลงนามในเอกสารดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในฐานะที่เป็นองค์การระหว่างประเทศกับรัฐบาลออสเตรเลีย โดยมิได้ก่อให้เกิดพันธกรณีระหว่างไทยกับออสเตรเลียตามกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจึงไม่ใช่กรณีที่ไทยทำสนธิสัญญาและไม่เป็นการทำหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย นอกจากนี้ โดยที่วรรคที่ 10 ของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระบุว่า ร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ หรือกฎหมายภายในแต่อย่างใด ดังนั้น การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ จึงไม่เข้าข่ายเป็นการทำความตกลงระหว่างประเทศโดยอาเซียน จึงไม่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยการทำความตกลงระหว่างประเทศโดยอาเซียน ค.ศ. 2011 (2011 Rules of Procedure for the Conclusion of International Agreements by ASEAN)

23. เรื่อง ท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ไทย ? สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบท่าทีไทย (ตามข้อ 1) เพื่อใช้เป็นกรอบในการหารือสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ไทย ? สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
                    2. เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้าไทย-สหราชอาณาจักร และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ดังกล่าว เพื่อใช้เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ ครั้งที่ 1
                    3. เห็นชอบร่างแผนการดำเนินงานสหราชอาณาจักร - ไทย และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างเอกสารดังกล่าว
          ทั้งนี้ หากในการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ดังกล่าว มีผลให้มีการปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสาร หรือมีการตกลงในประเด็นอื่น ๆ ด้านเศรษฐกิจการค้าที่นอกเหนือจากข้อ 1 และ 2 ที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยหรือช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าสองฝ่าย โดยไม่มีการจัดทำเป็นความตกลงหรือหนังสือสัญญาขึ้นมา ให้กระทรวงพาณิชย์และผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบในภายหลัง
                    4. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจ
และการค้า (JETCO) ไทย - สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
                    สาระสำคัญ
                    1. ท่าทีไทยที่จะหยิบยกในการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (JETCO) ไทย - สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 กระทรวงพาณิชย์ได้จัดการประชุมเตรียมการฝ่ายไทยกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล เพื่อพิจารณาประเด็นที่ฝ่ายไทยเห็นควรหยิบยกผลักดันภายใต้กรอบการประชุม JETCO  ดังนี้  (1) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร (2) การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน (3) การส่งเสริมความร่วมมือของภาคเอกชนไทย ? สหราชอาณาจักร
                    2. เอกสารผลลัพธ์สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (JETCO) ไทย - สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 กระทรวงพาณิชย์ได้หารือกับกระทรวงการค้าระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรเพื่อดำเนินการจัดทำร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมฯ และแผนการดำเนินงาน (Work plan) ซึ่งระบุถึงกิจกรรมและความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการร่วมกัน เพื่อใช้เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ โดยสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อร่างเอกสารข้างต้นเป็นระยะ เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ได้ส่งร่างเอกสารดังกล่าวให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณา และได้ปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารฯ ให้เป็นไปตามความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วยแล้ว ดังนี้
                              2.1 ร่างแถลงการณ์ร่ววของการประชุมคระกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้าไทย ? สหราชอาณาจักร (Joint Statement on Thailand - UK Joint Economic and Trade Committee) เพื่อใช้เป็นสรุปผลของการประชุมฯ โดยมีเนื้อหาที่แสดงถึงเจตนารมณ์ร่วมกันของฝ่ายไทยและฝ่ายสหราชอาณาจักรเรื่องความร่วมมือในอนาคต และการขับเคลื่อนกิจกรรมความร่วมมือ ผ่านการจัดทำแผนการดำเนินงานระหว่างกันเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ แก้ไขอุปสรรคทางการค้า และขยายความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายทั้งในระดับภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจะเป็นช่องทางสำคัญที่จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยสองฝ่ายรับทราบแนวทางความร่วมมือ และแผนการดำเนินงานในสาขาที่สองฝ่ายมีศักยภาพและให้ความสนใจร่วมกัน เช่น  ความร่วมมือของภาคเอกชน   ดิจิทัล   เกษตร อาหารและเครื่องดื่ม สุขภาพ   บริการทางการเงิน และกิจกรรมส่งเสริมการค้าและการลงทุน ครอบคลุมสาขาต่าง ๆ รวมถึงการศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน และพลังงาน
                              2.2 ร่างแผนการดำเนินงานสหราชอาณาจักร - ไทย (UK-TH Workplan) ระบุถึงกิจกรรมและสาขาความร่วมมือที่สองฝ่ายจะดำเนินการร่วมกันภายใต้กรอบ JETCO ในช่วง 1 ปี - 1 ปีครึ่งต่อจากนี้ เช่น  ความร่วมมือด้านการค้า  ความร่วมมือด้านการเกษตร  ความร่วมมือด้านดิจิทัล
                              2.3 องค์ประกอบคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และคณะผู้แทน
                    ทั้งนี้ ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ไทย - สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง จะส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้า และการลงทุนที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญ มีศักยภาพและเป็นประโยชน์ร่วมกัน และช่วยแก้ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันซึ่งสนับสนุนการนำไปสู่การยกระดับและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง ซึ่งนอกจากจะสามารถตอบสนองต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติแล้ว ยังเป็นช่องทางสำคัญในการผลักดันไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันตามที่นายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่ายได้หารือกันไว้ และเป็นการวางรากฐานเพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงทางการค้าร่วมกันในอนาคต

24. เรื่อง ร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons - TPNW) ครั้งที่ 1 (First Meeting of States Parties ? 1MSP)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมรัฐภาคีสนธิสัญญาห้ามอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Prohibition of Nuclear Weapons - TPNW) ครั้งที่ 1 (First Meeting of States Parties ? 1MSP) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างปฏิญญาฯ ดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยให้คณะผู้แทนไทยที่เดินทางเข้าร่วมประชุม TPNW 1MSP ดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งเห็นชอบให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมฯ หรือผู้แทน ร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                     สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฯ  เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐภาคี TPNW ดังนี้
                    1. ร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินการตามพันธกรณีของสนธิสัญญาฯ โดยเน้นให้เห็นถึงผลกระทบทางมนุษยธรรมจากการใช้อาวุธนิวเคลียร์ ซึ่งเป็นภัยต่อความมั่นคงของประชาคมโลกและเป็นความรับผิดชอบร่วมกันที่จะต้องขจัดอาวุธนิวเคลียร์ให้หมดสิ้นไป
                    2. แสดงความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการทำให้สนธิสัญญาฯ บรรลุเป้าหมาย รวมถึงรัฐที่ไม่ใช่ภาคีของสนธิสัญญาฯ และยินดีที่จะร่วมขับเคลื่อนวาระการลดอาวุธนิวเคลียร์กับรัฐภาคีสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Treaty on the Non-Proliferation of Nuclear Weapons - NPT)รวมทั้งสนับสนุนสนธิสัญญาและมาตรการที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    3. เรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมสนธิสัญญาฯ ในโอกาสแรก รวมถึงร่วมกันดำเนินการเพื่อนำไปสู่โลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์
                    ทั้งนี้ การประชุม TPNW 1MSP มีกำหนดจัดระหว่างวันที่ 21 ? 23 มิถุนายน 2565 โดยร่างปฏิญญาฯ ถือเป็นหนึ่งในเอกสารผลลัพธ์ (outcome document) ซึ่งรัฐภาคีจะมีการพิจารณารับรองร่างปฏิญญาฯ ในช่วงการประชุมฯ ดังกล่าว

แต่งตั้ง

25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นายชุมพล เด็จดวง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ) สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2564
                     2. นายสารสิน ศิริถาพร ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ) สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2565
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ              พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                     1. นางทิพย์วรรณ ศุภมิตรกิจจา กงสุลใหญ่ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู สาธารณรัฐประชาชนจีน ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงดาการ์ สาธารณรัฐเซเนกัล
                     2. นางอุรษา มงคลนาวิน อัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร               บริเตนใหญ่และไอร์แลน์เหนือ ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ สาธารณรัฐโปแลนด์
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศทั้ง 2 ราย ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการต่างประเทศ)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอการแต่งตั้ง              นายนันทิวัฒน์ สามารถ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นายพุ่งพงษ์ สุวรรณเลิศ                ที่ปรึกษาด้านข่าวกรองความมั่นคงและสถาบันหลัก (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นายพันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่                  15 มกราคม 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป

30. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง ศาสตราจารย์    จิรประภา อัครบวร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ