สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 กรกฎาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday July 5, 2022 17:06 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (5 กรกฎาคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการ                                                  กองทัพอากาศ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการ

กรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. ....

                    3.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี                                         พ.ศ. ....  (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี

พ.ศ. 2553)

                     4.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้                                        โดยสะดวก พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำ                                                  พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม

                    7.           เรื่อง           การขออนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570                                         ต่อคณะรัฐมนตรี
                    8.           เรื่อง           การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน                                                  การเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3
                    9.           เรื่อง           โครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565
                    10.           เรื่อง           ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง                                         รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อแก้ไขหรือเยียวยาความ                                                  เดือดร้อนเสียหายในบางกรณี การจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ เพื่อบรรเทา                                                  ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยกรมบัญชีกลาง และการจ่ายเงินสดให้ผู้สูงอายุ

โดย สถ. กทม. และเมืองพัทยา

                    11.           เรื่อง            การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และ                                                  เวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกัน                                                  และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019


ต่างประเทศ

                    12.           เรื่อง           องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียขอความเห็นชอบการผนวกสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง                                         B-17 & C-19 และพื้นที่ว่าง (แปลง B-17-02) เข้ากับสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง                                         B-17-01 โดยการออกสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) ขอสัญญาแบ่งปันผลผลิต                                                  แปลง B-17-01
                    13.           เรื่อง           องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียขอความเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3                                                   สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01 ในพื้นที่                                                  พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (ฉบับแก้ไข)
                    14.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่ง                                                  ราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งราชอาณาจักร                                        กัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call Center และ

Hybrid Scam

                    15.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลาง                                                  อาเซียน+3 ครั้งที่ 25
                    16.           เรื่อง           การเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ The Asia initiative และการลงนามในปฏิญญา                                         The Asia Initiative (The Asia Initiative Declaration)
                    17.            เรื่อง           การจัดทำแถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์                                                  ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา

แต่งตั้ง
                    18.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (กระทรวงสาธารณสุข)
                     19.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี


?

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพอากาศ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของ             ส่วนราชการกองทัพอากาศ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพอากาศ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างและภารกิจของส่วนราชการกองทัพอากาศ ในส่วนของกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ เปลี่ยนชื่อกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ เป็น ?กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ? และแก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของส่วนราชการดังกล่าว จากเดิมเฉพาะทางอากาศ เป็น ให้ครอบคลุมการปฏิบัติการทั้ง 3 มิติ ได้แก่ (1) ทางอากาศ (2) ทางอวกาศ และ                 (3) ทางไซเบอร์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพการบัญชาการและควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ทางอวกาศ และทางไซเบอร์ รองรับภารกิจการปฏิบัติการทางทหารทั้งการรบและมิใช่การรบ และสนับสนุนภารกิจอื่นของรัฐในการพัฒนาประเทศ การป้องกันและแก้ไขปัญหาจากภัยพิบัติและการช่วยเหลือประชาชน อันเป็นการรองรับการปฏิบัติการของอากาศยานรบ ยุคที่ 5 ที่วางแผนจะจัดหาในอนาคต และเป็นการสร้างสมดุลของระบบเตรียมกำลัง และระบบใช้กำลังกองทัพอากาศ ทั้งยังส่งผลดีต่อการสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจของเหล่าทัพและกองทัพไทย ซึ่งคณะกรรมการตรวจและร่างกฎหมายประจำกระทรวงกลาโหมและสภากลาโหมได้เห็นชอบด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

                    แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพอากาศ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552 โดยปรับปรุงโครงสร้างและภารกิจของส่วนราชการกองทัพอากาศ ในส่วนของกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ โดยเปลี่ยนชื่อ ?กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ? เป็น ?กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ? และแก้ไขเพิ่มเติมหน้าที่ของส่วนราชการดังกล่าวเพื่อให้ครอบคลุมการปฏิบัติการ            ทั้ง 3 มิติ ได้แก่ (1) ทางอากาศ (2) ทางอวกาศ และ (3) ทางไซเบอร์ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านความมั่นคงและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีสาระสำคัญดังนี้
ประเด็น          พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพอากาศ กองทัพไทย กห. พ.ศ. 2552          ร่าง พ.ร.ฎ. ที่ กห. เสนอ
เปลี่ยนชื่อ          มาตรา 3 ให้แบ่งส่วนราชการกองทัพอากาศ กองทัพไทย กห. ดังต่อไปนี้



(17) กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ           มาตรา 3 ให้ยกเลิกความใน (17) ของมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพอากาศ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
? (17) กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ?
เพิ่มเติมหน้าที่



มาตรา 20 กรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศมีหน้าที่เตรียมและดำเนินการเกี่ยวกับระบบควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ การลาดตระเวนทางอากาศ การลำเลียงทางอากาศ การค้นหาและช่วยชีวิต การจราจรทางอากาศ และการข่าวอากาศ กับมีหน้าที่จัดการความรู้ ควบคุมประเมินผล และตรวจตรากิจการในสายวิทยาการด้าน                การลาดตระเวน การค้นหาและช่วยชีวิต     การบังคับการบิน การควบคุมอากาศยานและแจ้งเตือนอากาศยานและการอุตุนิยมวิทยา มีผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ           มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 20 แห่งพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการและกำหนดหน้าที่ของส่วนราชการกองทัพอากาศ กองทัพไทย กระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
?กองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศมีหน้าที่เตรียมและดำเนินการเกี่ยวกับการบัญชาการและควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ ทางอวกาศ และทางไซเบอร์ และดำเนินการด้านการป้องกันทางอากาศ การปฏิบัติการทางอากาศ การข่าวกรองการเฝ้าตรวจและลาดตระเวน การสนับสนุน                การบัญชาการและควบคุมการจราจรทางอากาศ และการข่าวอากาศ กับมีหน้าที่จัดการความรู้ ควบคุมประเมินผลและตรวจตรากิจการใน                  สายวิทยาการด้านการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ มีผู้บัญชาการกองบัญชาการควบคุมการปฏิบัติทางอากาศเป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ?

2. เรื่อง ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ                  พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ยธ. เสนอ เป็นการยกเลิกกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2559 และปรับปรุงเครื่องแบบพิเศษข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษเพิ่มเติม จากเดิมจำนวน 4 ชนิด เป็น 6 ชนิด ได้แก่ 1) เครื่องแบบปฏิบัติงานปกติเสื้อนอกคอแบะ (เพิ่มใหม่) 2) เครื่องแบบปฏิบัติงานปกติ 3) เครื่องแบบปฏิบัติงานลำลอง 4) เครื่องแบบปฏิบัติงานสนามสีเทาดำ (เพิ่มใหม่) 5) เครื่องแบบปฏิบัติงานสนามสีกรมท่า และ 6) เครื่องแบบปฏิบัติงานสนามสีพรางเทาแกมดำ เพื่อให้สอดคล้องกับหน้าที่และภารกิจในปัจจุบันของกรมสอบสวนคดีพิเศษที่มีความหลากหลาย โดยเครื่องแบบปฏิบัติงานปกติเสื้อนอกคอแบะเป็นเครื่องแบบที่ใช้สำหรับพิธีการ หรือวาระสำคัญต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมกรมสอบสวนคดีพิเศษไม่มีเครื่องแบบที่ใช้สำหรับกรณีนี้ จึงเป็นการกำหนดเพิ่มเติมให้มีความเหมาะสมกับโอกาสดังกล่าว และในกรณีเครื่องแบบปฏิบัติงานสนามสีเทาดำเป็นเครื่องแบบที่ใช้ในการปฏิบัติราชการทั่วไป โดยกำหนดมาเพื่อตอบสนองเรื่องความยืดหยุ่นในกรณีที่มีการลงพื้นที่ปฏิบัติงานนอกสถานที่ ซึ่งมีความเหมาะสมและคล่องตัว อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานมากกว่าเครื่องแบบเดิม และมีการปรับปรุงสิ่งประกอบเครื่องแบบ โดยมีการเพิ่มหมวกทรงอ่อนไม่มีกะบัง (หมวกเบเร่ต์) สีเทา และหมวกปีกรอบสีกากีแกมเขียว และรองเท้าทางยุทธวิธีสีดำ เพื่อใช้จำแนกหน้าที่ กลุ่ม และกองงานเฉพาะและเพื่อให้มีความเหมาะสมในการปฏิบัติการ อีกทั้งมีการแก้ไขอินทรธนูเพิ่มเติมเป็น 3 แบบ ได้แก่ อินทรธนูแข็ง อินทรธนูอ่อน (โลหะ) และอินทรธนูอ่อน ให้สอดคล้องกับภารกิจงานและเครื่องแบบพิเศษที่มีการปรับปรุงใหม่ เนื่องจากอินทรธนูแบบเดิมมีลักษณะแข็งแตกหักง่าย ราคาสูง มีวิธีการดูแลรักษายาก ซึ่งหากดูแลรักษาไม่ดีจะทำให้มีสภาพเก่า สีหมองคล้ำ ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของหน่วยงาน จึงมีการเพิ่มอินทรธนูแบบอ่อน (โลหะ) และอินทรธนูแบบอ่อน เนื่องจากมีความยืดหยุ่นมากกว่า ราคาต่ำกว่า และดูแลรักษาง่ายกว่าอินทรธนูแบบเดิม

สาระสำคัญของร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี

1. ยกเลิกกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการ กรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2559

                     2. ปรับปรุงเครื่องแบบพิเศษข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ จากเดิม จำนวน 4 ชนิด เป็น             6 ชนิด ได้แก่ 1) เครื่องแบบปฏิบัติงานปกติเสื้อนอกคอแบะ (เพิ่มใหม่) 2) เครื่องแบบปฏิบัติงานปกติ 3) เครื่องแบบปฏิบัติงานลำลอง 4) เครื่องแบบปฏิบัติงานสนามสีเทาดำ (เพิ่มใหม่) 5) เครื่องแบบปฏิบัติงานสนามสีกรมท่า และ             6) เครื่องแบบปฏิบัติงานสนามสีพรางเทาแกมดำ และปรับปรุงสิ่งประกอบเครื่องแบบ โดยเพิ่มหมวกทรงอ่อนไม่มีกะบัง (หมวกเบเร่ต์) สีเทา หมวกปีกรอบสีกากีแกมเขียว และรองเท้าทางยุทธวิธีสีดำ

3. ปรับปรุงแก้ไขเครื่องหมายอินทรธนู โดยการเพิ่มอินทรธนูจากเดิมมีเพียง 1 แบบ เป็น 3 แบบ ได้แก่ อินทรธนูแข็ง อินทรธนูอ่อน (โลหะ) และอินทรธนูอ่อน และมีการแก้ไขรูปพระอาทิตย์ที่ประดับบนอินทรธนูและรูปแบบให้มีความสวยงามและเหมาะสม

3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. ....                      (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. 2553)

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของร่างประกาศ

แก้ไขเพิ่มเติมข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในพื้นที่บางบริเวณ ให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินได้เพิ่มขึ้น จาก ไม่เกินร้อยละ 5 เป็น ไม่เกินร้อยละ 10 ของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณในกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. 2553 เนื่องจากพบว่าพื้นที่อนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงผังเมืองรวมเมืองอุดรธานีฯ มีแนวโน้มไม่เพียงพอต่อการรองรับการขยายตัวของเมือง โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. 2553          ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองอุดรธานี พ.ศ. ....
ข้อ 14 ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละห้าของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ           ข้อ 14 ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม สถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่น ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละห้าของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ เว้นแต่ที่ดินในบริเวณหมายเลข 7.1, หมายเลข 7.2, หมายเลข 7.3, หมายเลข 7.5, หมายเลข 7.6, หมายเลข 7.7, หมายเลข 7.8, หมายเลข 7.9, หมายเลข 7.10, และหมายเลข 7.13, ให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละสิบของที่ดินประเภทนี้ในแต่ละบริเวณ

4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงาน                สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. กำหนดนิยาม ขอบเขตการใช้บังคับกฎหมาย และวัตถุประสงค์ของกฎหมาย

1.1 กำหนดบทนิยาม (ร่างมาตรา 4) เช่น

?การรวบรวมกฎหมาย? หมายความว่า การนำกฎหมายและกฎที่เป็นเรื่องเดียวกัน เกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวเนื่องกัน มารวบรวมไว้ในแหล่งเดียวกันในรูปแบบสิ่งพิมพ์ ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือรูปแบบอื่น เพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ หรือเพื่อการใช้ประโยชน์ของประชาชนหรือหน่วยงานของรัฐ

                              ?การจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ? หมายความว่า การนำกฎหมายและกฎที่เป็นเรื่องเดียวกัน เกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวเนื่องกัน ที่บังคับใช้อยู่ มาบัญญัติรวมไว้เป็นประมวลกฎหมายและกฎ ทั้งนี้ โดย                  ไม่เปลี่ยนแปลงหลักการ เนื้อความ สาระสำคัญ และลำดับศักดิ์ของกฎหมายและกฎที่นำมาประมวลนั้น

1.2 กำหนดให้กระบวนการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎตามร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่การจัดทำประมวลกฎหมายที่ต้องยกร่างกฎหมายขึ้นใหม่ หรือการแก้ไขเพิ่มเติมหรือปรับปรุงประมวลกฎหมายดังกล่าว (ร่างมาตรา 3)

                              1.3 กำหนดวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัตินี้เป็นการรวบรวมกฎหมายเพื่อจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                    ในการดำเนินการให้ประชาชนเข้าถึงตัวบทกฎหมายต่าง ๆ ได้โดยสะดวก และสามารถเข้าใจกฎหมายได้ง่ายเพื่อปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง (ร่างมาตรา 6)
                    2. กำหนดหลักการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ โดยเป็นการนำกฎหมายและกฎมารวบรวมไว้เป็นประมวลกฎหมายและกฎ โดยต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงหลักการ เนื้อความ สาระสำคัญ และลำดับศักดิ์ของกฎหมายและกฎที่นำมาประมวล เว้นแต่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำที่บกพร่องผิดพลาด ถ้อยคำล้าสมัย ถ้อยคำฟุ่มเฟือย ถ้อยคำที่ประสงค์ให้มีความหมายเดียวกันแต่ใช้ไม่สอดคล้องกัน หรือถ้อยคำกำกวมหรือก่อให้เกิดความ           ไม่ชัดเจน หรือเป็นการแก้ไขโครงสร้างของบทบัญญัติกฎหมายหรือกฎ เพื่อให้บทบัญญัติในประมวลกฎหมายและ            กฎเข้าใจได้ง่ายและสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น เช่น ยุบรวมบทบัญญัติหลายมาตราเป็นมาตราเดียวหรือแยกบทบัญญัติมาตราเดียวเป็นหลายมาตรา (ร่างมาตรา 7)

3. กำหนดให้มี ?คณะกรรมการนโยบายการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ? ซึ่งเรียกโดยย่อตามบทนิยามว่า ?คณะกรรมการนโยบาย? ประกอบด้วย (1) กรรมการโดยตำแหน่ง จำนวน 6 คน ได้แก่ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เลขาธิการวุฒิสภา เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม และอัยการสูงสุด (2) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง จำนวน 8 คน มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

3.1 จัดทำแผนงานหรือโครงการเกี่ยวกับการรวบรวมกฎหมายและการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ รวมทั้งพิจารณาเห็นชอบร่างประมวลกฎหมายและกฎที่ดำเนินการแล้วเสร็จเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ

                              3.2 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และขอบเขตเนื้อหาในการรวบรวมกฎหมายและการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ รวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการเผยแพร่การรวบรวมกฎหมายและประมวลกฎหมายและ            กฎต่อสาธารณะ
(ร่างมาตรา 12 และร่างมาตรา 17)

4. ให้คณะกรรมการนโยบายตามข้อ 3 แต่งตั้งคณะกรรมการ ดังนี้

                              4.1 คณะกรรมการรวบรวมกฎหมายคณะหนึ่งหรือหลายคณะในแต่ละคณะ ประกอบด้วย                        (1) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในกฎหมายเรื่องนั้นซึ่งคณะกรรมการนโยบายคัดเลือกจำนวน 1 คน เป็นประธานกรรมการ            (2) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้รักษาการตามกฎหมายที่จะนำมารวบรวม กรณีที่กฎหมายใดไม่มีผู้รักษาการ ให้ผู้แทน สคก. เป็นกรรมการแทน (3) ผู้แทนหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง และ (4) ผู้แทน สคก.

4.1.1 มีหน้าที่และอำนาจ ดังต่อไปนี้

(1) ตรวจสอบ ศึกษา และวิเคราะห์ กฎหมายหรือกฎที่เป็นเรื่องเดียวกัน เกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวเนื่องกัน เพื่อดำเนินการรวบรวมไว้ในแหล่งเดียวกัน

(2) กำหนดขอบเขตเนื้อหาและรูปแบบของการรวบรวมกฎหมายเสนอ ต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อพิจารณาเห็นชอบ

(3) ดำเนินการรวบรวมกฎหมายตามขอบเขตเนื้อหาที่คณะกรรมการ นโยบายเห็นชอบ (ร่างมาตรา 21 และร่างมาตรา 22)

4.1.2 กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรวบรวมกฎหมาย โดยเมื่อคณะกรรมการรวบรวมกฎหมายดำเนินการจัดทำการรวบรวมกฎหมายเสร็จแล้ว ให้เสนอรายงานและร่างการรวบรวมกฎหมายดังกล่าว พร้อมความเห็นต่อคณะกรรมการนโยบายว่าควรจัดทำเป็นประมวลกฎหมายและกฎต่อไปหรือไม่ หรือควรดำเนินการอย่างใดต่อไป ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการรวบรวมกฎหมายส่งร่างการรวบรวมกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายไปยัง สคก. เพื่อนำไปเผยแพร่ต่อสาธารณะต่อไป ทั้งนี้ ต้องวิเคราะห์บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องหรือที่มาของกฎหมายหรือกฎที่จะนำมารวบรวม และขอบเขตเนื้อหาของกฎหมายหรือกฎที่จะนำมารวบรวม

นอกจากนี้ คณะกรรมการนโยบายอาจกำหนดขอบเขตเนื้อหาของกฎหมายหรือกฎที่จะนำมารวบรวมเพิ่มเติมก็ได้ เช่น หนังสือเวียน หนังสือสั่งการ แนวปฏิบัติในการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ การตีความกฎหมาย การตอบข้อหารือ บรรดาที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมาย คำสั่ง คำพิพากษา คำวินิจฉัยของศาล คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท หรือคณะกรรมการอื่น รวมทั้งข้อมูลกฎหมายอื่นซึ่งคณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด (ร่างมาตรา 25 และร่างมาตรา 26)

                              4.2 คณะกรรมการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎคณะหนึ่งหรือหลายคณะ ในแต่ละคณะประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในกฎหมายเรื่องนั้นจำนวนไม่เกิน 2 คน (2) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจาก             ผู้รักษาการตามกฎหมายที่จะนำมารวบรวมกรณีที่กฎหมายใดไม่มีผู้รักษาการ ให้ผู้แทน สคก. เป็นกรรมการแทน            (3) ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งมีความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ และผลงานที่ประจักษ์ และ (4) ผู้แทน สคก.                     (ร่างมาตรา 28)

4.2.1 มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

(1) กำหนดขอบเขตเนื้อหาของประมวลกฎหมายและกฎเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเพื่อพิจารณาเห็นชอบ

(2) ดำเนินการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎตามขอบเขตเนื้อหาที่คณะกรรมการนโยบายเห็นชอบ (ร่างมาตรา 28 และร่างมาตรา 30)

4.2.2 ในการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ ห้ามแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงหลักการ เนื้อความ สาระสำคัญ และลำดับศักดิ์ของกฎหมายและกฎที่นำมาประมวล เพื่อให้บทบัญญัติในประมวลกฎหมายและกฎเข้าใจได้ง่ายและสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น เช่น ยุบรวมบทบัญญัติหลายมาตราเป็นมาตราเดียว หรือแยกบทบัญญัติมาตราเดียวเป็นหลายมาตรา และเพื่อประโยชน์ในการแสดงประเภทและศักดิ์ของกฎหมายและกฎที่นำมารวบรวมไว้ในประมวลกฎหมายและกฎ ให้ระบุชื่อย่อของกฎหมายหรือกฎไว้หน้าเลขมาตรานั้นด้วย ได้แก่ พระราชบัญญัติให้ใช้ชื่อย่อว่า ?พรบ.? พระราชกำหนด ให้ใช้ชื่อว่า ?พรก.? และพระราชกฤษฎีกา ให้ใช้ชื่อย่อว่า ?พรฎ.? ทั้งนี้ การจัดทำประมวลกฎหมายและกฎให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด และขยายระยะเวลาต่อคณะกรรมการนโยบายออกไปได้คราวละไม่เกิน 90 วัน ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้

(1) เมื่อคณะกรรมการนโยบายเห็นชอบกับร่างประมวลกฎหมายและกฎดังกล่าวแล้ว ให้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้ประมวลกฎหมายและกฎต่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ แล้วจึงเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้ประมวลกฎหมายและกฎต่อไป ทั้งนี้ หากสภาผู้แทนราษฎรลงมติไม่เห็นชอบภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้รับร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้ประมวลกฎหมายและกฎ ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้ประมวลกฎหมายและกฎนั้นตกไป ร่างพระราชกฤษฎีกาให้ใช้ประมวลกฎหมายและกฎที่ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรหรือที่แก้ไขให้ถูกต้องตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด แล้วแต่กรณี ให้นายกรัฐมนตรีนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย และเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้ โดยมีผลเป็นการยกเลิกบทบัญญัติของกฎหมายและกฎที่นำมารวบรวมในประมวลกฎหมายและกฎ

(2) เมื่อประมวลกฎหมายและกฎมีผลใช้บังคับแล้ว ผู้รักษาการตามกฎหมายและกฎที่นำมารวบรวมเป็นประมวลกฎหมายและกฎมีหน้าที่จัดทำรายงานผลการบังคับใช้ประมวลกฎหมายและกฎ และเสนอแนะแนวทางแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิกบทบัญญัติของประมวลกฎหมายและกฎในส่วนที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และอำนาจของตน ให้คณะกรรมการนโยบายทราบปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการนโยบายมีหน้าที่พิจารณาทบทวนความเหมาะสมของเนื้อหา โครงสร้าง และหมวดหมู่ของประมวลกฎหมายและกฎอย่างน้อยทุก 5 ปี และกรณีการแก้ไขเพิ่มเติม ปรับปรุง หรือยกเลิกบทบัญญัติของประมวลกฎหมายและกฎในส่วนที่เป็นกฎหมาย ให้ดำเนินการโดยตรากฎหมาย สำหรับบทบัญญัติในส่วนที่เป็นกฎให้ดำเนินการโดยตรากฎซึ่งมีลำดับศักดิ์เดียวกันหรือสูงกว่าหรือโดยตรากฎหมาย (ร่างมาตรา 39 ร่างมาตรา 41 ร่างมาตรา 44 และร่างมาตรา 45)

5. กำหนดให้คณะกรรมการนโยบาย คณะกรรมการรวบรวมกฎหมาย คณะกรรมการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ และคณะอนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุมและประโยชน์ตอบแทนอื่น ส่วนบุคคลที่คณะกรรมการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎแต่งตั้งเพื่อพิจารณาหรือปฏิบัติหน้าที่อย่างหนึ่งอย่างใดแทนหรือตามที่มอบหมายให้ได้รับประโยชน์ตอบแทนอื่น ทั้งนี้ ตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด (ร่างมาตรา 10)

6. กำหนดหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานของรัฐและ สคก. ในการรวบรวมกฎหมายและการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ ดังนี้

6.1 หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่รับผิดชอบข้อมูลกฎหมาย กฎ มติคณะรัฐมนตรี หนังสือเวียน หนังสือสั่งการ แนวปฏิบัติในการดำเนินการของหน่วยงาน การตีความกฎหมาย การตอบข้อหารือ บรรดาที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมาย คำสั่ง คำพิพากษา คำวินิจฉัยของศาล คณะกรรมการวินิจฉัยข้อพิพาท หรือคณะกรรมการอื่น รวมทั้งข้อมูลกฎหมายอื่นซึ่งคณะกรรมการนโยบายประกาศกำหนด จัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูลตามที่คณะกรรมการนโยบายกำหนด เพื่อการรวบรวมกฎหมายและการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ

6.2 สคก. มีอำนาจในการเรียกดู เข้าถึง หรือเชื่อมโยงข้อมูล ตามข้อ 6.1 เพื่อประโยชน์ในการรวบรวมกฎหมายหรือการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ

6.3 กรณีข้อมูลกฎหมายหรือกฎขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีหน้าที่และอำนาจในการเรียกดู เข้าถึง หรือเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมกฎหมายหรือการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ และเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เห็นว่ามีความพร้อมเท่านั้นที่จะดำเนินการจัดส่งหรือเชื่อมโยงข้อมูล

7. กำหนดให้ สคก. มีหน้าที่ปฏิบัติงานธุรการ งานประชุม งานวิชาการ การศึกษาหาข้อมูล การสอบถามความคิดเห็น การประสานงานกับหน่วยงานของรัฐ และกิจการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้แก่คณะกรรมการนโยบายการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ คณะกรรมการรวบรวมกฎหมาย คณะกรรมการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎ และคณะอนุกรรมการตามพระราชบัญญัตินี้ นอกจากนี้ สคก. อาจจัดตั้งหน่วยงานขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่อรับผิดชอบการดำเนินการดังกล่าว (ร่างมาตรา 9 และร่างมาตรา 11)

8. กำหนดบทเฉพาะกาล

8.1 การแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ

                              8.2 ภายในระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายชุดแรก                    ให้คณะกรรมการนโยบายจัดทำแผนงานหรือโครงการในการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎอย่างน้อยปีละ 2 เรื่อง

8.3 ให้ สคก. สำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงบประมาณและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดทำโครงสร้าง สคก. กรอบอัตรากำลังข้าราชการและพนักงานราชการ และกำหนดงบประมาณ รวมทั้งการดำเนินการอื่นใดอันจำเป็น เพื่อรองรับการดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจของ สคก. ตามพระราชบัญญัตินี้ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ร่างมาตรา 46 ร่างมาตรา 47 และร่างมาตรา 48)

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ และสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ ดศ. เสนอว่า

                    1. สืบเนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับแล้ว ในวันที่             1 มิถุนายน 2565 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ กลไกและมาตรการกำกับดูแลเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นหลักการทั่วไปในการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล การร้องเรียน รวมถึงความรับผิดทางแพ่ง โทษอาญา และโทษทางปกครอง แต่โดยที่พระราชบัญญัติในเรื่องนี้อาจมีเนื้อหาสาระสำคัญที่มีผลกระทบต่อการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ การจัดเก็บภาษีของหน่วยงานรัฐ การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ การดำเนินการของหน่วยงาน ศาล อัยการ และผู้บังคับใช้กฎหมายอันเป็นเรื่องจำเป็นที่กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในระดับสากลจะกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้

2. ในคราวการประชุมหารือผู้แทนหน่วยงานด้านการรักษาความมั่นคง เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ได้พิจารณาและมีข้อยุติว่า สาระสำคัญของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายว่าด้วยข่าวกรองแห่งชาติมีผลกระทบต่อการดำเนินงานเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติ จำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ

                    3. โดยที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 4 วรรคสอง บัญญัติให้การยกเว้นไม่ให้นำบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนมาใช้บังคับแก่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในลักษณะใด กิจการใด หรือหน่วยงานใดทำนองเดียวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอื่นใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ดศ. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. .... ขึ้น เพื่อยกเว้นการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ไม่ให้บังคับใช้กับลักษณะหรือกิจการ หรือหน่วยงานบางส่วนได้ หากเป็นการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ การจัดเก็บภาษีของหน่วยงานรัฐ                         การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ การดำเนินการของหน่วยงาน ศาล อัยการ และผู้บังคับใช้กฎหมาย
                    4. ในคราวประชุมคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อวันที่ 23  พฤษภาคม 2565 ได้พิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ยกเว้นมิให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับ พ.ศ. .... แล้ว มีมติเห็นชอบให้ ดศ. นำร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสนอ                ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา

กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล* สามารถดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ การจัดเก็บภาษีของหน่วยงานรัฐ การดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศ การดำเนินการของหน่วยงาน ศาล อัยการ และผู้บังคับใช้กฎหมาย โดยมิให้นำบทบัญญัติในหมวด 2 (การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) หมวด 3 (สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล) หมวด 5 (การร้องเรียน) หมวด 6 (ความรับผิดทางแพ่ง) และหมวด 7 (บทกำหนดโทษ) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทั้งหมดมาใช้บังคับกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้

1. เมื่อได้รับการร้องขอจากหน่วยงานรัฐ หน่วยงานราชการที่มีกฎหมายเฉพาะหรือกฎหมายรองรับอำนาจ หากหน่วยงานดังกล่าวดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์หรือภารกิจ ดังต่อไปนี้

1.1 การป้องกันประเทศ การรักษาความมั่นคงและปลอดภัยของประเทศ การข่าวกรอง การรักษาความปลอดภัยแห่งชาติ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางการคลังและเศรษฐกิจของประเทศ การรักษาความปลอดภัยของประชาชน และความมั่นคงปลอดภัยสาธารณะ การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ยาเสพติด ภัยคุกคามข้ามชาติ การก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ การค้ามนุษย์ การต่อต้านการทุจริต การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การดำเนินการด้านสาธารณสุข สุขอนามัย เพื่อป้องกันโรคระบาด ชีวิต สุขภาพ และทรัพย์สินของประชาชน

1.2 การจัดเก็บภาษีตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมสรรพากร กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต การดำเนินการใด ๆ อันเกี่ยวกับการบังคับแก่บรรดาธรรมเนียมทางภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียม หรือค่าอากรใด ๆ ให้แก่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง และการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับประกันสังคม รวมถึงการเก็บรวบรวมใช้เปิดเผยหรือประมวลผล หรือส่งผ่านข้อมูลเพื่อดำเนินการดังกล่าวและการดำเนินการตามพันธกรณี หรือความร่วมมือระหว่างประเทศ

1.3 การป้องกันความเสี่ยง การตรวจสอบ การเฝ้าระวัง มาตรการเพื่อบรรเทา การรักษาเยียวยาฟื้นฟูความเสียหายที่เกิดจากภัยคุกคามต่อความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ซึ่งดำเนินการโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ หน่วยงานรัฐที่มีกฎหมายรองรับสิทธิเพื่อป้องกันภัยสาธารณะ หรือภัยคุกคามใด ๆ ที่ส่งผลต่อสาธารณชนในวงกว้าง

                    2. เก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ให้แก่หน่วยงานรัฐหน่วยงานราชการ           เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อเป็นการดำเนินการตามพันธกรณีความร่วมมือหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ ทวิภาคีหรือพหุภาคีหรืออนุสัญญาระหว่างประเทศ

3. เก็บรวมรวม ใช้ เปิดเผย ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ในการพิจารณาพิพากษาคดีทุกประเภทของศาล การดำเนินการของศาล ผู้พิพากษา พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวน ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายหรือองค์กรหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมและบังคับคดี หรือการดำเนินการเพื่อความร่วมมือทางศาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องกระบวนการยุติธรรมในประเทศและระหว่างประเทศ

* ?ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล? หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                    1. ตามที่ มท. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (วันที่ 3 มีนาคม 2563 และวันที่ 9 มิถุนายน 2563) โดย มท. ได้มีมาตรการในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) โดยออกกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2563 เพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมเป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ซึ่งโดยปกติผู้ประกอบธุรกิจโรงแรม                 ต้องชำระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม ปีละ 40 บาท ต่อห้องพัก ทั้งนี้ มาตรการในการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมดังกล่าวสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่จะต้องชำระค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมคิดเป็นเงินจำนวน 47,354,200 บาท
                    2. แม้ว่าปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)                จะคลี่คลายลง และศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19)              ก็มีมาตรการผ่อนคลายกิจการ/กิจกรรมหลายอย่างให้สามารถเปิดบริการได้ แต่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจต้องใช้ระยะเวลาไปอีกระยะหนึ่ง ในขณะที่กฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2563 จะสิ้นผลใช้บังคับในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 ดังนั้น เพื่อให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) มีความต่อเนื่อง                 จึงเสนอร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. .... โดยกำหนดให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม เป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567
                    3. มท. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรมให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมเป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 ซึ่งจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ เฉลี่ยประมาณปีละ 24,893,080 บาท (พิจารณาจากจำนวนห้องพักของโรงแรมประจำปี พ.ศ. 2565 จำนวน 622,327 ห้อง ค่าธรรมเนียม ปีละ 40 บาทต่อห้องพัก) อย่างไรก็ตามการยกเว้นอัตราค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อน ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมประกอบธุรกิจโรงแรม ปีละ 40 บาทต่อห้องพัก ตามข้อ 1 (7)                          แห่งกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ และวิธีการชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม พ.ศ. 2551 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียม หลักเกณฑ์ และวิธีการชำระค่าธรรมเนียมสำหรับการประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567

          เศรษฐกิจ-สังคม

7. เรื่อง การขออนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 ต่อคณะรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอดังนี้
                    1. อนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564 - 2570 (แผนการป้องกันฯ)
                    2. มอบหมายให้กระทรวง กรม องค์กร และหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่น ๆ ถือปฏิบัติตามแผนการป้องกันฯ
                    3. มอบหมายให้สำนักงบประมาณ (สงป.) หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ อปท. พิจารณาให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยและผลักดันให้มีงบประมาณเชิงบูรณาการด้าน                การจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
                    4. มอบหมายให้หน่วยงานแต่ละระดับจัดทำแผนปฏิบัติการรองรับยุทธศาสตร์และบรรจุแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยไว้ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีด้วย
                    5. มอบหมายให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สนับสนุนที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญในการประเมินมูลค่าความเสียหายในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่เกิดจากผลกระทบทางตรงและทางอ้อมจากสาธารณภัยในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับด้านสาธารณสุข การผลิต การเกษตร การศึกษา ที่อยู่อาศัย สาธารณูปโภคที่สำคัญ การให้บริการขั้นพื้นฐาน โบราณสถาน และการท่องเที่ยว
                    6. มอบหมายให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สนับสนุนที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความคุ้มค่า (cost effective analysis) ในการลงทุนเพื่อการลดความเสี่ยงจาก                  สาธารณภัย
                    7. มอบหมายให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค             การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาครวบรวมข้อมูลผลกระทบที่เกิดจากสาธารณภัยส่งให้คลังข้อมูล               สาธารณภัยแห่งชาติ เพื่อการประเมินมูลค่าความเสียหาย เพื่อการลงทุนด้านสาธารณภัยในอนาคต
                    8. มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยส่งเสริมการจัดทำการประกันสำหรับสาธารณภัยในราคาที่เหมาะสมกับประชาชน เพื่อลดมูลค่าการจ่ายค่าชดเชยความเสียหายจากรัฐบาล
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย              พ.ศ. 2564 - 2570 ซึ่งเป็นแผนที่ต่อเนื่องมาจากแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2558 ซึ่งสิ้นสุดไปเมื่อปี พ.ศ. 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางสำหรับจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยของประเทศ ภายใต้แนวคิดการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยแบบอัจฉริยะ (Resilience by Smart DRM for 3s) โดยมีเป้าหมาย เช่น 1) ลดความเสี่ยงที่มีอยู่เดิมและป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงใหม่ และ 2) ประยุกต์ใช้งานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยี และภูมิปัญญา เพื่อให้ทุกภาคส่วนรู้เท่าทันการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย เป็นแนวคิดและวิธีปฏิบัติในการลดโอกาสที่จะได้รับผลกระทบทางลบจากสาธารณภัย ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารจัดการและการประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านสาธารณภัยเป็นการนำระบบบริหารจัดการและนวัตกรรมมาใช้เพิ่มศักยภาพในการป้องกันและจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย เป็นการพัฒนาศักยภาพการจัดการสาธารณภัยตามหลักสากลและส่งเสริมบทบาทของประเทศในฐานะแกนนำด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการในภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการ เป็นการกำหนดแนวทางของการจัดตั้งองค์กรปฏิบัติในการจัดการภาวะฉุกเฉินและแนวทางปฏิบัติในการสนับสนุนการปฏิบัติงาน และยุทธศาสตร์ที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน เป็นการดำเนินงานภายหลังเกิดภาวะฉุกเฉินเพื่อให้ชุมชนหรือสังคมสามารถฟื้นฟูกลับมาได้อย่างยั่งยืน ทั้งนี้              ที่ประชุมคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติและสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เห็นชอบแผนการป้องกันดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว

8. เรื่อง การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฯ) เข้าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (บัญชีสะสมฯ) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพิ่มเติม จำนวน 4,031 ล้านบาท เพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยที่ กค. กู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมจำนวนทั้งสิ้น 6,531 ล้านบาท
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า ในเดือนพฤษภาคม 2565 กองทุนฯ ได้รับเงินปันผลจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)รวมจำนวน 4,031 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการจัดการกองทุนในการประชุมเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ได้มีมติเห็นควรให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้โอนเงินของกองทุนดังกล่าว เพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 สำหรับปีงบประมาณ 2565 เพิ่มเติมทั้งจำนวน ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จะมีเงินของกองทุนฯ ที่นำส่งเข้าบัญชีสะสมฯ เพื่อชำระต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 รวมจำนวนทั้งสิ้น 6,531 ล้านบาท [2,500 ล้านบาท(ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่        23 พฤศจิกายน 2564) + 4,031 ล้านบาท (จำนวนเงินที่ กค. ขออนุมัติโอนต่อคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้)] โดยข้อมูล              ณ วันที่ 30 เมษายน 2565 ยอดหนี้ต้นเงินกู้ FIDF 1 และ FIDF 3 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายงาน          จำนวนเงิน
ยอดรวมต้นเงินกู้ที่รับมาดำเนินการตามพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่ กค. กู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555          1,138,305.89
ยอดชำระหนี้สะสมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 - เมษายน 2565 (เงินต้น จำนวน 438,954.39 ล้านบาท ดอกเบี้ย จำนวน 336,331.42 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการ จำนวน 12.60 ล้านบาท)          775,298.41
ยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือนเมษายน 2565 (รวมการลดภาระหนี้จากบัญชี Premium FIDF* จำนวน 14,347 ล้านบาท)          685,004.50
ที่มา : รายงานการบริหารหนี้ตามพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เริ่มดำเนินการถึงวันที่ 30เมษายน 2565

9. เรื่อง โครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอดังนี้
                    1. อนุมัติการดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 ทั้งนี้ ในการดำเนินการโครงการฯ จะพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสำหรับการส่งออกเฉพาะ                  น้ำมันปาล์มดิบ เมื่อระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่า 300,000 ตัน และราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก
                    2. อนุมัติวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 รวมทั้งสิ้น 309 ล้านบาท
                    3. เห็นชอบหลักเกณฑ์การขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ               ตามโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
                    1. ในปี พ.ศ. 2563 ? 2564 ที่ผ่านมา พณ. โดยกรมการค้าภายในได้ดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2564 เป้าหมาย 300,000 ตัน ภายในเดือนมีนาคม 2564 เพื่อสนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกน้ำมันปาล์ม กิโลกรัมละ 2 บาท วงเงิน 618 ล้านบาท จากงบประมาณกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร (เป็นการดำเนินการที่ไม่ได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ แต่คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ที่เกี่ยวข้องแล้ว ตามมติ กนป. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2563  เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2563 ต่อมา กนป. มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 เห็นชอบการขยายระยะเวลาส่งออก จากเดิมภายในเดือนมีนาคม 2564 ออกไปเป็นเดือนกันยายน 2564 ทั้งนี้ ให้พิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการการส่งออกเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil: CPO) เมื่อระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่า 300,000 ตัน และราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าตลาดโลก
                    2. ผลการดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2564 ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 ? ธันวาคม 2564 มีดังนี้
รายละเอียด          เป้าหมาย          ผลการดำเนินการ
ปริมาณ          300,000 ตัน          142,816.14 ตัน
(ร้อยละ 47.61)
วงเงิน          618 ล้านบาท          285.63 ล้านบาท
(ร้อยละ 47.61)
มีผู้ส่งออกได้รับการสนับสนุน รวม 9 ราย
                    3. สถานการณ์ตลาดปาล์มน้ำมันในปัจจุบัน
                              3.1 สถานการณ์การผลิตในปี 2565 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดการณ์ว่าจะมีผลผลิตออกสู่ตลาด 17.59 ล้านตัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 จากปี 2564 (16.79 ล้านตัน) ทั้งนี้ ปัจจุบันราคาผลปาล์มน้ำมันมีแนวโน้มลดลง จากกิโลกรัมละ 10.70 ? 12.10 บาท (ข้อมูลเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565) เป็นกิโลกรัมละ 8.00 ? 9.80 บาท (ข้อมูลเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565) หรือลดลงเฉลี่ยร้อยละ 22 เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง
                              3.2 ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มภายในประเทศชะลอตัวลงบางส่วนจากผลกระทบของโรคโควิด 19 ที่ยังมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลาซึ่งทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมในประเทศลดลง ประกอบกับราคาน้ำมันปาล์มอยู่ในระดับสูงกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น รวมทั้งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)                     มีมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยปรับลดสัดส่วนการใช้ B100 ในน้ำมันดีเซล ทั้ง B7 B10 และ B20 เหลือไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 โดยปริมาตร ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบใน              ภาคพลังงานลดลง
                              3.3 สถานการณ์ด้านการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศยังคงมีความผันผวนอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนปาล์มกว่า 380,000 ครัวเรือนทั่วประเทศ จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 เพื่อใช้เป็นกลไกในการบริหารจัดการสมดุลอุปทานในประเทศ และเป็นมาตรการรองรับในกรณีที่มีปริมาณน้ำมันปาล์มดิบส่วนเกินสะสมอยู่ในระบบเพิ่มขึ้น และส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพด้านราคาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มของประเทศ
                    4. การดำเนินการที่ผ่านมา
                              4.1 พณ. โดยกรมการค้าภายใน ได้ประชุมหารือร่วมกับ สงป. เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 และที่ประชุมมีมติรับทราบเหตุผลและความจำเป็นในการขอรับการจัดสรรเงินจากงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 เนื่องจากกรมการค้าภายในไม่สามารถเจียดจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีซึ่งมีจำนวนจำกัดได้ รวมทั้งงบประมาณจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่คงเหลืออยู่จำเป็นต้องสำรองไว้ใช้กับสินค้าเกษตรชนิดอื่นที่มีแนวโน้มราคาตกต่ำในปี 2565 และเห็นควรให้ พณ. นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอรับการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว โดยคงกรอบรายละเอียดของมาตรการและกรอบวงเงินงบประมาณ ตามที่ กนป. ได้มีมติเห็นชอบแล้วในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565
                              4.2 พณ.โดยกรมการค้าภายในได้มีหนังสือลงวันที่ 23 มีนาคม 2565 ถึง สงป. เพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับดำเนินโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 วงเงิน 309 ล้านบาท พร้อมทั้งนำเสนอร่างหลักเกณฑ์               การขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบตามโครงการฯ ซึ่ง สงป. แจ้งว่าได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีแล้ว นายกรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้ พณ. ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 309 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ พณ. เสนอ โดยให้เบิกจ่ายในงบรายจ่ายอื่น และให้ พณ. นำเรื่องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3) ต่อไป และขอให้ พณ. เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณกับ สงป.เป็นรายงวดตามค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงและได้มีการตรวจสอบแล้วภายในกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ ทั้งนี้ สงป. มีข้อสังเกตเพิ่มเติม โดยเห็นควรมอบหมายให้กรมการค้าภายในและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานการตรวจสอบปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มคงเหลือภายในประเทศ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาใน   การผลักดันการส่งออกให้มีความสัมพันธ์ในแต่ละห้วงเวลา เพื่ออุดหนุนการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบให้กับผู้ประกอบการเท่าที่จำเป็นอย่างเหมาะสม ตลอดจนคำนึงถึงสถานการณ์ด้านพลังงาน ซึ่งอาจมีความจำเป็นต้องใช้             ไบโอดีเซลเพิ่มขึ้น จากผลกระทบของราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนปาล์ม ให้สามารถประกอบอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้ผลผลิตที่มีปริมาณมากและคุณภาพสูง ใช้ต้นทุนต่ำไม่ขาดทุน และการปลูกปาล์มตามความเหมาะสมของพื้นที่ (Zoning) อันสอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของตลาด โดยในช่วงเปลี่ยนผ่านและระยะยาวควรเร่งดำเนินการลดพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันโดยการปรับเปลี่ยน           การเพาะปลูก การปลูกพืชเสริมหรือประกอบอาชีพอื่น ตลอดจนการกำหนดมาตรการให้ภาคเอกชนรับซื้อปาล์มน้ำมันจากเกษตรกรในพื้นที่ปลูกปาล์มที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น รวมทั้งการพิจารณาถึงผลกระทบต่อราคาตลาด             ในประเทศที่อาจลดต่ำจากราคารับซื้อปาล์มดิบที่ไม่สอดคล้องกับราคาตลาดโลก
                    5. โครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565
                              5.1 รายละเอียดโครงการ
หัวข้อ          รายละเอียด
เป้าหมาย          สนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil : CPO) ปริมาณเป้าหมาย 150,000 ตัน ภายในเดือนกันยายน 2565
วัตถุประสงค์          1. เพื่อลดปริมาณน้ำมันปาล์มส่วนเกินในประเทศให้เข้าสู่ระดับสมดุล
2. เพื่อยกระดับราคาผลปาล์มทะลายที่เกษตรกรขายได้ให้สูงขึ้น และรักษาเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในประเทศ
ผู้เข้าร่วมโครงการ          เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจเป็นผู้ผลิต ผู้ใช้ผู้ค้า                 ผู้จัดเก็บ หรือผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มหรือผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมัน
เงื่อนไขการจ่ายเงินสนับสนุน          1. สนับสนุนค่าบริหารจัดการสำหรับการส่งออก เช่น ค่าขนส่ง ค่าคลังจัดเก็บ ค่าปรับปรุงคุณภาพ ค่าเอกสาร และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นต้น ในอัตรากิโลกรัมละ 2 บาท
2. จะพิจารณาสนับสนุนค่าบริหารจัดการสำหรับการส่งออก เมื่อระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่า 300,000 ตัน และราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก
    มีรายละเอียดตามร่างหลักเกณฑ์การขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบตามโครงการฯ (ตามข้อ 5.2)
ระยะเวลาโครงการ          1. ระยะเวลาส่งออก: ตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ - กันยายน 2565
2. ระยะเวลาโครงการ: ตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ - ธันวาคม 2565
วงเงินโครงการ          รวมทั้งสิ้น 309 ล้านบาท
1. ค่าบริหารจัดการการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบให้ผู้ส่งออก 300 ล้านบาท
2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานส่วนราชการ 9 ล้านบาท (ร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ)
แหล่งที่มา
ของงบประมาณ          งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย           เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                              5.2 ร่างหลักเกณฑ์การขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบตามโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565
                                                  5.2.1 พณ. โดยกรมการค้าภายใน แต่งตั้งคณะทำงานบริหารกำกับดูแลโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 เพื่อทำหน้าที่กำหนดวิธีการและเงื่อนไขในการขอรับการสนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบตามโครงการฯ การตรวจสอบและให้ความเห็นชอบเอกสารหลักฐาน และการจัดสรรปริมาณการส่งออกที่จะให้การสนับสนุน ก่อนเสนออธิบดีกรมการค้าภายในอนุมัติ รวมทั้งกำกับดูแลให้การดำเนินงานเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวัตถุประสงค์ของโครงการ
                                                  5.2.2 สนับสนุนค่าบริหารจัดการสำหรับการส่งออกเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบ (Crude Palm Oil: CPO) พิกัดอัตราศุลกากร 1511.10.00 ในอัตรากิโลกรัมละ 2 บาท เช่น ค่าขนส่ง ค่าคลังจัดเก็บ ค่าปรับปรุงคุณภาพ ค่าเอกสาร และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เป็นต้น โดยจะพิจารณาสนับสนุนค่าบริหารจัดการสำหรับการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ เมื่อเป็นไปตามเงื่อนไขการจ่ายเงินสนับสนุนทั้ง 2 เงื่อนไข ดังนี้ 1) ระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่า 300,000 ตัน โดยพิจารณาจากปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มดิบคงเหลือรายเดือนที่ประมวลจากการแจ้งของผู้ประกอบการ ตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ซึ่งกรมการค้าภายในประมวลสรุปเป็นรายเดือน และได้รับความเห็นชอบจากกรมการค้าภายในแล้ว และ 2) ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก โดยราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ พิจารณาจากราคาน้ำมันปาล์มดิบของไทย (ณ ตลาดกรุงเทพมหานคร) เฉลี่ยรายวัน ที่เผยแพร่โดยกรมการค้าภายใน สำหรับราคาน้ำมันปาล์มดิบตลาดโลก พิจารณาจากราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียเฉลี่ยรายวันที่เผยแพร่โดย Malaysian Palm Oil Board (MPOB)
                                                  5.2.3 คณะทำงานบริหารกำกับดูแลโครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565 พิจารณาเงื่อนไขการจ่ายเงินสนับสนุนทุก 1 งวดเดือน
                                                            (1) กรณีไม่เป็นไปตามเงื่อนไขการจ่ายเงินตามข้อ 5.2.2 ให้คณะทำงานฯ ออกประกาศชะลอการจัดสรรเงินสนับสนุน
                                                            (2) กรณีเป็นไปตามเงื่อนไขตามข้อ 5.2.2 ให้คณะทำงานฯ ออกประกาศจัดสรรเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบในปริมาณที่รวมทุกรายแล้วต้องไม่เกินปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มดิบ ส่วนที่เกินกว่า 300,000 ตัน โดยผู้ประกอบการที่มีคุณสมบัติต้องยื่นแบบคำขอรับการสนับสนุนตามโครงการฯ พร้อมด้วยเอกสารหลักฐานที่ครบถ้วน ภายในระยะเวลายื่นแบบคำขอฯ และได้มีการส่งออกจริงภายในระยะเวลาที่คณะทำงานฯ กำหนดในแต่ละงวดเดือน ในส่วนของรายละเอียดเกี่ยวกับระยะเวลาการส่งออก การยื่นแบบคำขอรับการสนับสนุน การพิจารณาระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ ราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศ และตลาดโลก ให้เป็นไปตามที่คณะทำงานฯ กำหนด
                                                  5.2.4 การตรวจสอบ และการเบิกจ่ายเงิน
                                                            (1) คณะทำงานฯ ตรวจสอบเอกสารหลักฐานเมื่อสิ้นสุดระยะเวลายื่นแบบคำขอฯ ในแต่ละงวดเดือน ให้ความเห็นชอบเอกสารหลักฐาน และจัดสรรเงินสนับสนุน ก่อนเสนออธิบดีกรมการค้าภายในพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินสนับสนุนค่าบริหารจัดการการส่งออกน้ำมันปาล์มดิบตามโครงการฯ
                                                            (2) กรมการค้าภายในนำเสนอ สงป. เพื่อขอเบิกจ่ายเงินจาก                งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในแต่ละงวดภายใต้กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้

10. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อแก้ไขหรือเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายในบางกรณี การจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อแก้ไขหรือเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายในบางกรณี                   การจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ จำนวน 10,946,646 คน วงเงิน 8,382,201,000 บาท เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการให้จ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ                        (26 เมษายน 2565) พม. (กรมกิจการผู้สูงอายุ) ได้ดำเนินการ ดังนี้
                              1.1 ประสานกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และเมืองพัทยา เพื่อตรวจสอบข้อมูลผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้อง ครบถ้วน และเป็นปัจจุบัน โดยจากการยืนยันข้อมูลจากหน่วยงานข้างต้น พบว่ามีผู้สูงอายุกลุ่มเป้าหมายจำนวน 10,946,646 คน เพิ่มขึ้นจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่                 26 เมษายน 2565 จำนวน 50,202 คน ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นตามจำนวนผู้ลงทะเบียนของกลุ่มผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุที่นับรวมถึงผู้สูงอายุที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2565 (เกิดเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน) งบประมาณรวมทั้งสิ้น 8,382,201,000 บาท (ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2565)
                              1.2 จัดทำโครงการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจให้กับผู้สูงอายุที่มีสิทธิ 4 กลุ่ม ตามอัตราที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ (26 เมษายน 2565) โดยมีรายละเอียดโครงการ สรุปได้ ดังนี้
                                        1.2.1 กำหนดการจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ โดยพิจารณาจากฐานข้อมูลผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุของ สถ. กทม. และเมืองพัทยา ในข้อ 1.1 รวมทั้งสิ้น 10,946,646 คน งบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 8,382,201,000 บาท เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2565 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

กลุ่มผู้สูงอายุ/ช่วงอายุ (ปี)          สถ. (คน)          กทม. (คน)          พัทยา (คน)          รวม 3
หน่วยงาน (คน)          อัตราเงินช่วยเหลือ (บาท/เดือน)          งบประมาณ
6 เดือน (บาท)
(1)          (2)          (3)          (4)          (5) = (2) +
(3) + (4)          (6)          (7) = (5) x (6) x 6 เดือน
60 - 69          5,949,055          552,341          8,196          6,509,592          100          3,905,755,200
70 ? 79          2,765,640          254,290          3,184          3,023,114          150          2,720,802,600
80 - 89          1,121,884          94,837          835          1,217,556          200          1,461,067,200
90 ปีขึ้นไป          182,388          13,890          106          196,384          250          294,576,000
รวม          10,018,967          915,358          12,321          10,946,646                    8,382,201,000
หมายเหตุ : ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะที่จะได้รับการช่วยเหลือต้องเป็นบุคคลที่มีอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และมีสัญชาติไทย และเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ณ เดือนเมษายน-กันยายน 2565 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                                        1.2.2 แหล่งเงินงบประมาณ กรอบวงเงินงบประมาณ และแผนการใช้จ่ายเงิน พม. จะขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อแก้ไขเยียวยาความเดือดร้อนเสียหายในบางกรณีจำนวน 8,382,201,000 บาท โดยกำหนดแผนการใช้จ่ายเงินให้กับผู้สูงอายุจำนวน 3 ครั้ง ดังนี้

แผนการใช้จ่าย          รายละเอียดการจ่าย
ครั้งที่ 1 (19 กรกฎาคม 2565)          สำหรับเดือนเมษายน ? กรกฎาคม 2565
(จ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษครั้งเดียวสำหรับ 4 เดือน)
ครั้งที่ 2 (19 สิงหาคม 2565)          สำหรับเดือนสิงหาคม 2565
ครั้งที่ 3 (19 กันยายน 2565)          สำหรับเดือนกันยายน 2565
                                        1.2.3 วิธีการดำเนินการ การจ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุจะดำเนินการทั้งในรูปแบบการจ่ายเข้าบัญชีธนาคาร โดยกรมบัญชีกลาง และการจ่ายเงินสดให้ผู้สูงอายุ โดย สถ. กทม. และเมืองพัทยา

11. เรื่องการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ เรื่อง การบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อรองรับการฟื้นฟูประเทศภายหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดังนี้
                    1. เห็นชอบการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่                   13 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประสงค์จะทำงานต่อไป สามารถอยู่และทำงานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 โดยต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคนต่างด้าวดังกล่าวประกอบด้วย
                              1.1 คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2563
                              1.2 คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 ได้แก่ คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 และคนต่างด้าวกลุ่มที่การอนุญาตทำงานสิ้นสุดโดยผลของกฎหมาย
                              1.3 คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564
                              1.4 ผู้ติดตามคนต่างด้าวตามข้อ 1.1 ข้อ 1.2 และข้อ 1.3
                              ทั้งนี้ คนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ซึ่งได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 แล้ว แต่ยังไม่ได้จัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ให้ไปดำเนินการจัดทำบัตรดังกล่าวภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 จึงจะสามารถดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวต่อไปได้
                    2. เห็นชอบการบริหารจัดการคนต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ที่ประสงค์จะทำงานและมีนายจ้าง สามารถอยู่และทำงานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคนต่างด้าวดังกล่าวประกอบด้วย
                              2.1 คนต่างด้าวซึ่งการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรและทำงาน สิ้นสุดโดยผลของกฎหมาย และมีเอกสารประจำตัวซึ่งมีอายุหรือหมดอายุ และมีรอยตราประทับ หรือเคยจัดทำ หรือปรับปรุงทะเบียนประวัติ
                              2.2 คนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ถูกต้อง และทำงานอยู่กับนายจ้างก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบ
                              2.3 คนต่างด้าวซึ่งมีเอกสารประจำตัวและมีรอยตราประทับ โดยระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดลง แต่ไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร (Over Stay) ซึ่งทำงานอยู่กับนายจ้างก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบ
                              ทั้งนี้ กรณีคนต่างด้าวสัญชาติเวียดนามต้องมีหนังสือเดินทางที่มีอายุและมีรอยตราประทับทุกกรณี
                    3. เห็นชอบการบริหารจัดการคนต่างด้าวตามข้อ 2 ที่ดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว ที่ประสงค์จะทำงานต่อไปสามารถอยู่และทำงานเป็นการชั่วคราวได้ไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 โดยต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทยและประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้อง
                    ทั้งนี้ ในการประกันสุขภาพของคนต่างด้าวที่ดำเนินการตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 3 สามารถประกันสุขภาพได้กับโรงพยาบาลที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยในประเทศ ดังนี้                 1) กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างในกิจการซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ต้องซื้อประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข และ 2) กรณีคนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างในกิจการต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม ในระหว่างที่ยังไม่เกิดสิทธิประกันสังคมต้องซื้อประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข หรือซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยเอกชน ซึ่งต้องได้รับสิทธิประโยชน์ไม่น้อยกว่าสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากการทำประกันสุขภาพกับกระทรวงสาธารณสุข
                    4. เห็นชอบการดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
                              4.1 กระทรวงมหาดไทย ออกประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ดังนี้
                                        1) อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 1.1 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษจนถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประสงค์จะทำงานต่อไป ให้ไปขอรับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (VISA) ภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
                                        2) อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 1.2 ข้อ 1.3 ที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่                13 กุมภาพันธ์ 2566 แต่ยังไม่ได้ยื่นขอตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (VISA) ภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 หากคนต่างด้าวดังกล่าวประสงค์จะทำงานต่อไป ให้ไปขอรับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (VISA) ภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
                                        3) อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 2 อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษถึงวันที่                13 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล หากคนคนต่างด้าวดังกล่าวประสงค์จะทำงานต่อไปให้ไปขอรับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (VISA) ภายในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
                                        4) อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 และข้อ 2 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประสงค์จะทำงานต่อไปอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ดังนี้
                                                  (1) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565   หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานต่อไป ให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ถึงวันที่                13 กุมภาพันธ์ 2568
                                                  (2) คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 หลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2565 (ระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม 2565 - 13 กุมภาพันธ์ 2566) หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานต่อไป ให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ครั้งแรกไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 และครั้งที่สองไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
                                        ทั้งนี้ ในกรณีที่หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสิ้นอายุ ให้คนต่างด้าวดำเนินการให้ได้มาซึ่งเอกสารดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตหรือย้ายรอยตราประทับอนุญาต รวมถึงขยายระยะเวลาอนุญาตตามสิทธิให้แก่คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยยกเว้นเปรียบเทียบปรับในช่วงที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
                                        5) ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวตามข้อ 1 และข้อ 2 ที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิของคนต่างด้าวซึ่งเป็นบิดาหรือมารดา
                                        6) มิให้นำมาตรา 12 (10) และมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง                พ.ศ. 2522 และคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ที่ 1/2558 เรื่อง การไม่อนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาในราชอาณาจักร ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2558 มาใช้บังคับแก่คนต่างด้าวดังกล่าว รวมถึงกำหนดการสิ้นผลของการอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
                                        ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยที่เกี่ยวข้อง จำนวน 7 ฉบับ ดังนี้ 1) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่             29 ธันวาคม 2563 (ฉบับที่ ..) 2) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 (ฉบับที่ ..)                    3) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 (ฉบับที่ ..) 4) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง                การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา    ซึ่งใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 (ฉบับที่ ..) 5) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 (ฉบับที่ ..) 6) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... และ 7) ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ...
                              4.2 กระทรวงแรงงาน ออกประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 14 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
                                        1) อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 2 ที่นายจ้างดำเนินการยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าว (Name List) และอยู่ระหว่างการยื่นคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าวสามารถทำงานไปพลางก่อนได้ โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 60 วันนับจากวันสิ้นสุดการยื่นบัญชีรายชื่อ
                                        2) อนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 2 ใช้ใบรับคำขออนุญาตทำงานแทนคนต่างด้าว         คู่กับใบเสร็จรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าคนต่างด้าวได้รับการผ่อนผันให้ทำงานจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตทำงาน หรือไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
                                        3) อนุญาตให้คนต่างด้าวดังต่อไปนี้ ได้รับอนุญาตทำงานไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
                                                  (1) คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และได้รับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปภายในวันที่              1 สิงหาคม 2565 อนุญาตให้ทำงาน ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
                                                  (2) คนต่างด้าวตามข้อ 1 ที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และได้รับการตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป หลังจากวันที่                  1 สิงหาคม 2565 (ระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม 2565 - 13 กุมภาพันธ์ 2566) อนุญาตให้ทำงานครั้งแรก ถึงวันที่                  13 กุมภาพันธ์ 2567 และอนุญาตให้ทำงานได้อีกครั้งถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
                                                  (3) คนต่างด้าวตามข้อ 2 ที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และหากคนต่างด้าวดังกล่าวประสงค์จะทำงานต่อไปถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 จะอนุญาตทำงานได้อีกสองครั้ง ครั้งแรกอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 และครั้งที่สองอนุญาตให้ทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
                                        4) ให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตทำงาน มีสิทธิทำงานกับนายจ้างได้ทุกประเภทงานที่มิได้ประกาศห้ามคนต่างด้าวทำ โดยให้นำประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ              ลงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2563 และประกาศกรมการจัดหางาน เรื่อง เงื่อนไขการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกรรมกรและงานขายของหน้าร้านกับนายจ้าง ลงวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2563 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
                                        5) ให้คนต่างด้าวซึ่งได้รับอนุญาตทำงานถ้าออกจากงานจะต้องทำงานกับนายจ้างใหม่ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่เลิกทำงานกับนายจ้างเดิม
                                        6) ให้คนต่างด้าวได้รับการยกเว้นไม่ต้องแจ้งข้อมูลการเข้าทำงานกับนายจ้างให้นายทะเบียนทราบตามมาตรา 64/2 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
                                        7) ให้คนต่างด้าวที่ทำงานประมงทะเลดำเนินการเพิ่มนายจ้างตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง
                                        ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องจำนวน               6 ฉบับ ดังนี้ 1) ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 (ฉบับที่ ..) 2) ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 (ฉบับที่ ..) 3) ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าวสิ้นสุดลงโดยผลของกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 (ฉบับที่ ..) 4) ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 (ฉบับที่ ..) 5) ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ... และ 6) ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวทำงานในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม ซึ่งได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ???????
                              4.3 กระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ และสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ดำเนินการตรวจสุขภาพให้กับคนต่างด้าวดังกล่าว โดยตรวจโรคต้องห้ามตามกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของคนต่างด้าวที่จะขอรับใบอนุญาตทำงาน พ.ศ. 2563 และขายประกันสุขภาพให้คนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างในกิจการซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และคนต่างด้าวที่ทำงานกับนายจ้างในกิจการต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมตามกฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม                  ในระหว่างที่ยังไม่เกิดสิทธิประกันสังคม เว้นแต่คนต่างด้าวที่อยู่ระหว่างการเข้าสู่ระบบประกันสังคม ซึ่งผ่านการตรวจโรคต้องห้ามฯ ที่ได้ซื้อประกันสุขภาพกับบริษัทประกันภัยเป็นระยะเวลา 4 เดือนแล้ว โดยอัตราเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทประกันภัย ทั้งนี้ รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวตามข้อ 1 ข้อ 2 และข้อ 2 ที่มีอายุไม่เกิน               สิบแปดปีบริบูรณ์
                              4.4 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ดำเนินการดังนี้
                                        1) ตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว หรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปให้คนต่างด้าวตามข้อ 1.1 ที่ประสงค์จะทำงานต่อไป ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
                                        2) ตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว หรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปให้คนต่างด้าวตามข้อ 1.2 และข้อ 1.3 ที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 แต่ยังไม่ได้ยื่นขอตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป (VISA) ภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ที่ประสงค์จะทำงานต่อไป ให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
                                        3) จัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล ให้คนต่างด้าวตามข้อ 2 หากคนต่างด้าวดังกล่าวประสงค์จะทำงานต่อไป ให้ตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว และประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว หรือตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไปไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566
                                        4) ตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวตามข้อ 1 และข้อ 2 ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ประสงค์จะทำงานต่อไปอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 ดังนี้
                                                  (1) ตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ภายในวันที่ 1 สิงหาคม 2565 หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานต่อไป ให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
                                                  (2) ตรวจอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 หลังจากวันที่ 1 สิงหาคม 2565 (ระหว่างวันที่ 2 สิงหาคม 2565 - 13 กุมภาพันธ์ 2566) หากประสงค์จะอยู่ในราชอาณาจักรเพื่อทำงานต่อไป ให้อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป ครั้งละไม่เกิน 1 ปี ครั้งแรกไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 และครั้งที่สองไม่เกินวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
                              ทั้งนี้ ในกรณีที่หนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสิ้นอายุให้คนต่างด้าวดำเนินการให้ได้มาซึ่งเอกสารดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองตรวจลงตราหรือตรวจอนุญาตหรือย้ายรอยตราประทับอนุญาต รวมถึงขยายระยะเวลาอนุญาตตามสิทธิให้แก่คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ โดยยกเว้นเปรียบเทียบปรับในช่วงที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ
                                        5) ผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวตามข้อ 1 และข้อ 2 ที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์ มีสิทธิอยู่ในราชอาณาจักรตามสิทธิของคนต่างด้าวซึ่งเป็นบิดาหรือมารดา
                                                  4.5 กรมการปกครอง และกรุงเทพมหานคร ดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ที่สำนักงานเขตกรุงเทพมหานคร ศูนย์บริหารการทะเบียนภาคสาขาจังหวัด หรือสถานที่อื่นที่กรมการปกครองกำหนด ให้กับคนต่างด้าวตามข้อ 2 และคนต่างด้าวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2563 ซึ่งได้รับอนุญาตทำงานถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 แล้ว แต่ยังไม่ได้จัดทำบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ทั้งนี้ รวมถึงคนต่างด้าวตามข้อ 1 และข้อ 3 ที่ประสงค์จะจัดทำหรือปรับปรุงทะเบียนประวัติฯ และผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของคนต่างด้าวที่มีอายุไม่เกินสิบแปดปีบริบูรณ์
                    5. เห็นชอบการปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเงื่อนไขการทำงานกับนายจ้างรายใหม่ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ และการยกเว้นหน้าที่การแจ้งข้อมูลการเข้าทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2 เพื่อให้สิทธิคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานอย่างถูกต้องตาม             พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีความสอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันเช่นเดียวกับคนต่างด้าวที่บริหารจัดการตามมติคณะรัฐมนตรี
                    ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 2 ฉบับ ได้แก่                 ร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขการทำงานกับนายจ้างรายใหม่สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา ซึ่งได้รับอนุญาตให้เข้ามาทำงานในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศ และร่างประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การยกเว้นหน้าที่การแจ้งข้อมูลการเข้าทำงานของคนต่างด้าวตามมาตรา 64/2


ต่างประเทศ

12. เรื่อง องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียขอความเห็นชอบการผนวกสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17 & C-19 และพื้นที่ว่าง (แปลง B-17-02) เข้ากับสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01 โดยการออกสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม          (ฉบับที่ 3) ขอสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้
                    1. การผนวกสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17 & C-19 และพื้นที่ว่าง (แปลง B-17-02) เข้ากับสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01 โดยการออกสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) ของสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01 (สัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฯ)
                    2. การเปลี่ยนแปลงอัตราการหักค่าใช้จ่าย1 จากเดิมสูงสุดไม่เกินร้อยละ 50 หรือ 602 เป็นสูงสุด               ไม่เกินร้อยละ 75 สำหรับค่าใช้จ่ายของน้ำมันดิบ (Cost Oil) และก๊าซธรรมชาติ (Cost Gas) ในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) ของสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01
                    3. ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) ของสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01 ระหว่างองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (องค์กรร่วมฯ) กับบริษัทผู้ได้รับสัญญา ได้แก่บริษัท PETRONAS Carigali (JDA) Sdn. Bhd.                 (PC JDA) และบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชันแนล จำกัด (ปตท.สผ. อินเตอร์)
                    4. ให้องค์กรร่วมฯ โดยหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ เป็นผู้ลงนามในสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) ของสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01 กับบริษัทผู้ได้รับสัญญาและให้รองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ ลงนามในฐานะพยาน
1 การหักค่าใช้จ่ายเป็นการกระตุ้นให้บริษัทฯ มีเงินหมุนเวียนเพื่อนำกลับมาใช้ในการลงทุน
2 อัตราฯ ไม่เกินร้อยละ 50 สำหรับการหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำมันดิบในสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17-01 และอัตราฯ ไม่เกินร้อยละ 60 สำหรับการหักค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตก๊าซธรรมชาติในสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01 และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตน้ำมันดิบในสัญญาแบ่งปันผลผลิตแปลง B-17 & C-19

13. เรื่อง องค์กรร่วมไทย-มาเลเซียขอความเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขาย                       ก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (ฉบับแก้ไข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้
                    1. ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง              B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3ฯ) (ฉบับแก้ไข) นี้ เพื่อให้ออกเป็นร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3ฯ
                    2. ให้องค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (องค์กรร่วมฯ) โดยหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ ลงนามในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3ฯ กับกลุ่มผู้ซื้อก๊าซธรรมชาติและรองหัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารองค์กรร่วมฯ   ลงนามในฐานะพยาน
                    สาระสำคัญ
                    1. กระทรวงพลังงานขอความเห็นชอบในร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3 สัญญาซื้อขาย                 ก๊าซธรรมชาติแปลง B-17 & C-19 และแปลง B-17-01 ในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (ร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3ฯ) (ฉบับแก้ไข) เพื่อให้ออกเป็นร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3ฯ ซึ่งเป็นสัญญาระหว่างองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย (องค์กรร่วมฯ) และบริษัทผู้ประกอบการ คือ บริษัท Petronas Carigali (JDA) Sdn. Bhd. และบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในฐานะกลุ่มผู้ขายก๊าซ กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัท เปโตรนาส ในฐานะกลุ่มผู้ซื้อก๊าซ โดยร่างสัญญาดังกล่าวเป็นฉบับแก้ไขจากที่เคยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่               15 กันยายน 2563 แต่ยังไม่ได้มีการลงนามในร่างสัญญา เนื่องจากกลุ่มผู้ซื้อและกลุ่มผู้ขายก๊าซธรรมชาติมีความประสงค์จะทำการทบทวนปริมาณการผลิตและส่งขายก๊าซธรรมชาติเพื่อให้มีความสอดคล้องกับผลการประเมินปริมาณสำรองที่แน่นอนก่อน โดยร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3ฯ (ฉบับแก้ไข) มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและเงื่อนไขที่สำคัญจากสัญญาเดิมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงปริมาณการซื้อขายก๊าซธรรมชาติส่วนเพิ่ม (Total Committed Gas Volume) การส่งมอบก๊าซธรรมชาติก่อนกำหนด การขยายระยะเวลาสำหรับการหยุดผลิตเพื่อบำรุงรักษาประจำปี และการเพิ่มข้อกำหนดเกี่ยวกับการแก้ไขที่เป็นผลสืบเนื่องจากการผนวกสัญญาแบ่งปันผลผลิต (Annexation) แปลง B-17 & C-19 เข้ากับแปลง B-17-01
                    2. คณะกรรมการองค์กรร่วมฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 137 เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบร่างสัญญาแก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 3ฯ (ฉบับแก้ไข) ดังกล่าว และให้นำเสนอเพื่อขอความเห็นชอบจากรัฐบาลของทั้งสองประเทศต่อไป รวมทั้งสำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง

14. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงการไปรษณีย์และโทรคมนาคมแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam (Memorandum of Understanding between the Ministry of Digital Economy and Society of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Post and Telecommunications of the Kingdom of Cambodia on Cooperation for Suppressing Call Center Gang and Hybrid Scam) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฉบับดังกล่าวตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam  มีวัตถุประสงค์เป็นการกำหนดกรอบความร่วมมือเพื่อให้ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมและมีความสอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศ ส่งเสริมความร่วมมือ                  อันใกล้ชิดและแลกเปลี่ยนข้อมูลสำหรับปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam1 แต่งตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชา เพื่อผลักดันมาตรการต่าง ๆ ร่วมกัน โดยมีขอบเขต           การดำเนินงาน ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายให้ความร่วมมือเพื่อป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางไซเบอร์ภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ โดยคำนึงถึงกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และนโยบายภายในประเทศ รวมถึงความพร้อมของเงินทุนและทรัพยากรของผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย และบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ได้กำหนดกิจกรรมความร่วมมือโดยผ่านการตัดสินใจร่วมกันของทั้งสองฝ่าย ดังนี้ (1) แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญเชิงเทคนิค และแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศในการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam ภายใต้ระบบและกรอบการทำงานที่ดำเนินงานร่วมกันได้ อาทิ กลไกสนับสนุนที่ส่งเสริมการส่งผ่านข้อมูลข้ามพรมแดน (2) การแต่งตั้งผู้ประสานงานเพื่ออำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสืบหาหลักฐานในไทยและกัมพูชา และขยายการสืบสวนเพื่อให้ได้ตัวผู้กระทำความผิด (3) การประสานงานและอำนวยความสะดวกในกระบวนการส่งผู้ร้ายข้ามแดน ตามสนธิสัญญาระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรกัมพูชาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน รวมทั้งกฎหมายและกฎระเบียบภายในประเทศของผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย (4) ตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องของทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายกัมพูชา และ (5) ความร่วมมืออื่น ๆ ตามที่ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน
                    ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ว่าด้วยความร่วมมือด้านการปราบปรามแก๊ง Call Center และ Hybrid Scam ไม่ได้เป็นส่วนประกอบหรือก่อให้เกิด และไม่ได้มีเจตนาจะเป็นส่วนประกอบหรือก่อให้เกิดพันธะทางกฎหมายใด ๆ ภายใต้กฎหมายภายในประเทศหรือกฎหมายระหว่างประเทศ และจะไม่ส่งเสริมกระบวนการทางกฎหมายใด ๆ และจะไม่ถือว่าเป็นส่วนประกอบหรือสร้างสิทธิใด ๆ ที่บังคับใช้ตามกฎหมาย หรือสร้างภาระผูกพัน  ไม่ว่าจะโดยการแสดงออกอย่างชัดแจ้งหรือโดยผู้เข้าร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง (ตามที่ระบุไว้ในวรรคที่ 6 ย่อหน้าที่ 2 ของร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้)
1 เป็นรูปแบบการหลอกเหยื่อผ่านสื่อสังคมออนไลน์โดยคนร้ายจะแอบอ้างเป็นชาวต่างชาติยุโรป อเมริกัน หรือตะวันออกกลาง ที่มีฐานะร่ำรวย จากนั้นคนร้ายจะอ้างว่าจะส่งทรัพย์สินมีค่ามาให้เหยื่อ และจะมีผู้ร่วมขบวนการอ้างว่าติดต่อมาจากกรมศุลกากรหรือบริษัทขนส่งพัสดุและหลอกให้เหยื่อโอนค่าภาษีหรือค่าธรรมเนียม หรือในบางกรณีคนร้ายจะหลอกเหยื่อว่าได้มรดก/สัมปทานธุรกิจกับรัฐแล้วหลอกให้เหยื่อโอนค่าภาษีมรดกหรือภาษีสัมปทานมาให้คนร้าย เป็นต้น

15. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 25
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 25 (ASEAN+3 Finance Ministers? and Central Bank Governors? Meeting: AFMGM+3) ผ่านการประชุมรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (10 พฤษภาคม 2565) เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM+3 ครั้งที่ 25 และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. สรุปผลการประชุม AFMGM+3 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO) รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชียและรองกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ร่วมกันหารือในประเด็นต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
(1) พัฒนาการและแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาค          - รับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจจากผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ ซึ่งเห็นพ้องว่าเศรษฐกิจโลกและภูมิภาคอาเซียน+3 ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่องจากมาตรการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019   (โควิด-19) นโยบายการสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและจำนวนผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้น โดย IMF คาดการณ์ว่า ในปี 2565 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 และเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 ส่วนในปี 2566 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 และเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวร้อยละ 5.1 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียน+3 ยังคงเผชิญความท้าทายจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทาน การเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและพลังงาน และการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีน จึงควรดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและมีนโยบายการคลังที่สนับสนุนกลุ่มเปราะบาง รวมทั้งสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อระดมทุนสำหรับโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจของไทยว่ามีการฟื้นตัวต่อเนื่องจากการดำเนินมาตรการทางการเงินและการคลัง เพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 การกระตุ้นภาคการบริโภคในประเทศ และมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยคาดว่าในปี 2565 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.5
(2) การเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินของภูมิภาค          - AMRO ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามภารกิจหลักของ AMRO ได้แก่ การเฝ้าระวังเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 การสนับสนุนการดำเนินการภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี* (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM) และการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการกับประเทศสมาชิกอาเซียน+3 และมอบหมายให้ AMRO จัดทำทิศทางเชิงยุทธศาสตร์ฉบับใหม่เพื่อยกระดับการดำเนินงานและสนับสนุนกลไก CIMM ในอนาคต
- CIMM ที่ประชุมได้เน้นย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของ CIMM ให้เป็นกลไกการให้ความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาคอาเซียน+3 รวมทั้งรับทราบข้อสรุปร่วมของประเทศสมาชิกในประเด็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงใหม่สำหรับ CIMM และการนำเงินสกุลท้องถิ่นมาสมทบใน CIMM และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสกระทรวงการคลังและธนาคารกลางอาเซียน+3 พิจารณากำหนดทิศทางการดำเนินการเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของ CIMM ในอนาคต
- มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าของ ABMI ในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางการเงิน การสร้างระบบนิเวศสำหรับการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ และการส่งเสริมการสร้างมาตรฐานและการประสานกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับตลาดตราสารหนี้ และมอบหมายคณะทำงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อสนับสนุนการออกตราสารหนี้เงินสกุลท้องถิ่นของอาเซียน+3 โดยเฉพาะการออกตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนและตราสารหนี้สีเขียว เพื่อเป็นกลไกทางการเงินในการสนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืน
- ทิศทางความร่วมมือทางการเงินอาเซียน+3 ในอนาคต ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินการที่สำคัญ ได้แก่ (1) การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน (2) การพัฒนากลไกเพื่อแก้ปัญหาด้านมหภาคและปัญหาเชิงโครงสร้าง (3) การเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการเงินเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ และ (4) การส่งเสริมความร่วมมือด้านนโยบายเพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และเห็นชอบให้เรื่องการเงินดิจิทัลและการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนเป็นหัวข้อความร่วมมือทางการเงินใหม่ของอาเซียน+3
                    ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างครอบคลุมและยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาตลาดพันธบัตรของภูมิภาคอาเซียน+3 โดยการส่งเสริมการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนเพื่อเป็นการระดมทุนสำหรับโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนความคิดริเริ่มในการหารือเกี่ยวกับประเด็นเทคโนโลยีทางด้านการเงินและการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน เนื่องจากอาเซียน+3 สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีทางการเงินในการพัฒนาประสิทธิภาพของกลไกความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาค อีกทั้งการเงินเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนสามารถสนับสนุนให้สมาชิกบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ นอกจากนี้ ทั้ง 2 ประเด็นดังกล่าวยังมีความสอดคล้องกับประเด็นสำคัญของกรอบ                 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปคประจำปี 2565 ในวาระที่ไทยดำรงตำแหน่งเจ้าภาพเอเปคด้วย
                    2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ได้เห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม AFMGM+3 ในรูปแบบแถลงการณ์ร่วม AFMGM+3 ครั้งที่ 25 ซึ่งที่ประชุมได้มี                การปรับปรุงถ้อยคำเพื่อให้มีความเหมาะสมและสะท้อนข้อเท็จจริงมากขึ้น โดยไม่ให้กระทบหรือขัดต่อผลประโยชน์ของไทยและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 เช่น การเพิ่มข้อความเพื่อแสดงการสนับสนุนโครงการกองทุนประกันภัยพิบัติของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อสะท้อนจุดยืนร่วมกันในการสร้างความร่วมมือด้านการเงินในการรับมือกับความเสี่ยงด้านภัยพิบัติ และการเพิ่มข้อความเน้นย้ำความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพการวิเคราะห์เศรษฐกิจและนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้แก่ประเทศสมาชิกของ AMRO
* มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (CIMM) คือ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

16. เรื่อง การเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ The Asia initiative และการลงนามในปฏิญญา The Asia Initiative (The Asia Initiative Declaration)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการ The Asia Initiative ของ Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes และเห็นชอบในสารัตถะของร่างปฏิญญา The Asia Initiative และให้แก้ไขได้กรณีที่มีการแก้ไขในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนามเป็นผู้ลงนามในร่างปฏิญญาดังกล่าว โดยให้กระทรวงการต่างประเทศนำส่งปฏิญญาฉบับที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนามแล้วผ่านช่องทางการทูต เพื่อให้เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐอินโดนีเซียเข้าร่วมพิธีส่งมอบปฏิญญาดังกล่าวให้คณะเลขานุการ Global Forum ในวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ณ เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซียโดยให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางของเอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐอินโดนีเซียและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากงบประมาณของกระทรวงการต่างประเทศตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. โครงการ The Asia Initiative มีระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่ปี 2565 (ค.ศ. 2022) ถึงปี 2569               (ค.ศ. 2026) เขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียทั้งหมดที่เป็นสมาชิก Global Forum ได้รับเชิญให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวโดยการลงนามในร่างปฏิญญาฯ ที่กำหนดสาระสำคัญเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรฐานสากลด้านความโปร่งใสทางภาษีที่ Global Forum กำหนดอย่างเต็มศักยภาพ และก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อขจัดการหลบเลี่ยงภาษีและการทำธุรกรรมทางการเงินระหว่างประเทศที่ผิดกฎหมาย รวมถึงการสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นภายในประเทศผ่านความร่วมมือระหว่างสมาชิกในภูมิภาคเอเชียในการร่วมกันกำหนดมาตรฐานเพื่อสร้างความโปร่งใสทางภาษีที่สอดคล้องกับมาตรฐานของ Global Form การร่วมกันจัดกิจกรรมพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยจัดเก็บภาษีในภูมิภาคเอเชีย และการใช้ประโยชน์สูงสุดจากการเข้าร่วมเป็นภาคีในความตกลงพหุภาคีว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการบริหารภาษี (Multilateral Convention on Mutual Administrative Assistance in Tax Matters : MAC) (ความตกลง MAC) ผ่านความร่วมมือระหว่างสมาชิก
                    2. โครงสร้างการบริหารโครงการ The Asia Initiative คือ ประธานร่วม (Co-chair) เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูง (Senior Official) จากหน่วยจัดเก็บภาษีหรือกระทรวงการคลังที่ได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิกเพื่อปฏิบัติงานเป็นเวลา 2 ปี ทำหน้าที่พิจารณาแผนการปฏิบัติงานประจำปี และแผนการประชุมระหว่างสมาชิกเพื่อดำเนินการตามวัดถุประสงค์ของโครงการ สำหรับปี 2565 สาธารณรัฐอินโดนีเซียในฐานะเจ้าภาพ G20 ได้รับการเสนอให้เป็น               Ad hoc Chair และเป็นประธานร่วมในปี 2566 โดยมีคณะเลขานุการ Global Forum เป็นฝ่ายเลขานุการของโครงการดังกล่าว
                    3. โครงการ The Asia Initiative ถือเป็นกรอบความร่วมมือในระดับภูมิภาคที่มิได้เป็นพันธกรณีเพิ่มเติม ไม่มีภาระผูกพันหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกของโครงการ โดยเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียทั้งหมดที่เข้าร่วมการประชุม The First Asia Initiative Meeting ได้ตอบรับการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการดังกล่าว
                    ทั้งนี้การเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ The Asia Initiative ของประเทศไทยจะส่งผลในทางที่ดี           ต่อประเทศไทย เช่น  ปัจจุบันประเทศไทยเป็นสมาชิก Global Forum และเป็นภาคีความตกลง MAC ด้วยแล้ว การเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ The Asia Initiative จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถยกระดับ การดำเนินการด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอและการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการเงินแบบอัตโนมัติตามมาตรฐาน CRS ให้เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้การบริหารจัดเก็บภาษีระหว่างประเทศมีประสิทธิภาพสูงสุดรวมถึงใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดจากการเป็นภาคีความตกลง MAC ผ่านความร่วมมือในระดับภูมิภาค

17.  เรื่อง การจัดทำแถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา (Thailand - United States Communiqu? on Strategic Alliance and Partnership) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างแถลงการณ์ฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมลงนามในร่างแถลงการณ์ว่าด้วยความเป็นพันธมิตรและหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยและสหรัฐอเมริกา (Thailand - United States Communiqu? on Strategic Alliance and Partnership) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ฯ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเน้นย้ำความเป็นพันธมิตรเก่าแก่และความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยกับสหรัฐฯ และยืนยันความพร้อมในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันในประเด็นสำคัญต่าง ๆ ที่เป็นเป้าหมายร่วมในเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการและค่านิยมร่วมกันทั้งในระดับ           ทวิภาคี อนุภูมิภาค และภูมิภาค โดยประเด็นสำคัญในร่างแถลงการณ์ ซึ่งครอบคลุมการเสริมสร้างความร่วมมือใน ด้านต่าง ๆ ได้แก่ การยึดมั่นในหลักการร่วมกัน ส่งเสริมหลักการและค่านิยมร่วมกัน การฟื้นฟูเศรษฐกิจ การเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเป็นพันธมิตรทางสนธิสัญญาส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงบนพื้นฐานค่านิยมและผลประโยชน์ร่วมกัน การบังคับใช้กฎหมาย ความมั่นคงทางไซเบอร์และความร่วมมือด้านเทคโนโลยี การส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาค ความร่วมมือด้านสาธารณสุข การส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน การเพิ่มความสามารถการทำงานด้านการทูต
                    ทั้งนี้ ร่างแถลงการณ์ฯ สะท้อนให้เห็นถึงเจตนารมณ์และวิสัยทัศน์ของทั้งสองฝ้ายในการกระชับความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐฯ และแนวทางนโยบายในด้านต่าง ๆ  โดยไม่มีการระบุถ้อยคำหรือบริบทใดที่             มุ่งก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้ระเบียบ/ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เข้าข่ายเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                   พ.ศ. 2560

แต่งตั้ง
18. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                     (กระทรวงสาธารณสุข)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางศศิธร                  ตั้งสวัสดิ์ ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) ระดับสูง] กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน สาขาโรคไม่ติดต่อ) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

19. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง นายเกชา                          ศักดิ์สมบูรณ์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ