http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (12 กรกฎาคม 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครราชสีมา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวน
คนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. ....
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541
รวม 3 ฉบับ
4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนมะเขือแจ้
จังหวัดลำพูน พ.ศ. ....
5. เรื่อง หลักการในการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณา
อนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558
6. เรื่อง การจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 เศรษฐกิจ สังคม 7. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
ครั้งที่ 1/2565
8. เรื่อง ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุน
ในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2565 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
9. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าปรับปรุงซ่อมแซม
อาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นให้กับโรงเรียนที่ประสบภัย
ธรรมชาติในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
10. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรกรณี โค - กระบือป่วยด้วยโรคลัมปี สกิน 11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 12/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 และครั้งที่ 18/2565 12. เรื่อง การขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามภารกิจ ของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) [ร่างประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการโอน และการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด] 13. เรื่อง มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรม
ที่เกี่ยวเนื่อง
14. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ
เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
และโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า
15. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการ
เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อควบคุมโรคลัมปี สกินในโค กระบือ
ต่างประเทศ
16. เรื่อง ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วย การพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ประจำปี ค.ศ. 2022 17. เรื่อง ผลการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ 27 18. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน สมัยพิเศษ (AEMs? Special Meeting) ณ เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย แต่งตั้ง 19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงสาธารณสุข)
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงอุตสาหกรรม)
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)
23. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมปศุสัตว์ (ครั้งที่ 1)
(กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ) 25. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชาและสีประจำสาขาวิชาของสาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาวิชารัฐศาสตร์ และสาขาวิชาเทคโนโลยี ซึ่งสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว 2. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ มท. เสนอว่า 1. ในปัจจุบันการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยของชาวต่างชาตินับได้ว่ามีความสำคัญต่อสังคมไทย โดยมีเหตุผลที่ต้องการเข้ามามีถิ่นที่อยู่ถาวรในประเทศไทยหลายประการ เช่น เข้ามาเพื่อทำงาน เพื่อการลงทุน เพื่ออยู่กับครอบครัว คู่สมรส หรือบุตรที่อยู่ในประเทศไทย การสนับสนุนชาวต่างชาติที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาดำเนินธุรกิจหรือลงทุนในประเทศไทย เป็นการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยได้ประการหนึ่ง ทำให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังต้องการการลงทุนจากต่างประเทศ 2. โดยที่มาตรา 40 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดจำนวนคนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ ซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรเป็นรายปี แต่มิให้เกินประเทศละ 100 คนต่อปี และสำหรับคนต่างด้าวไร้สัญชาติมิให้เกิน 50 คนต่อปี และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวที่บัญญัติให้คนต่างด้าวจะเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรมิได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง และด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกอบกับมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 87/2557 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมผู้รักษาการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจ ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 ที่บัญญัติให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการตามพระราชบัญญัติดังกล่าว 3. ดังนั้น เพื่อเป็นการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศไทย และสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาลงทุน อีกทั้งเพื่อเป็นการส่งเสริมให้ครอบครัวมีความมั่นคงและอบอุ่น การให้ถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรแก่คนต่างด้าวจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติที่ต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศไทยได้อย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย มท. จึงเห็นควรประกาศกำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. 2565 4. สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ยกร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดจำนวนคนต่างด้าวซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร ประจำปี พ.ศ. .... ขึ้น และในคราวประชุมคณะกรรมการพิจารณาคนเข้าเมือง เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว และให้เสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สาระสำคัญของร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีและกระทรวงมหาดไทย กำหนดให้คนต่างด้าวที่มีสัญชาติของแต่ละประเทศ ซึ่งจะมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรประจำปี พ.ศ. 2564 มีจำนวนประเทศละไม่เกิน 100 คน และคนต่างด้าวไร้สัญชาติมีจำนวนไม่เกิน 50 คน 3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 รวม 3 ฉบับ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้ 1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพและจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย และเห็นชอบให้ส่งร่างกฎกระทรวงกำหนดชนิดและจำนวนเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ หรือยานพาหนะที่จำเป็นประจำสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาให้สอดคล้องกับร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว แล้วดำเนินการต่อไปได้ 2. ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย 3. ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงกำหนดชื่อสถานพยาบาล และการแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อสถานพยาบาล ผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล อัตราค่ารักษาพยาบาล ค่ายาและเวชภัณฑ์ ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าบริการอื่น และสิทธิของผู้ป่วย(ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว เพื่อรัฐมนตรีสาธารณสุขพิจารณาลงนาม ประกาศในราชกิจจานุเบกษาไปพร้อมกับร่างกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับ ตามข้อ 1 เมื่อสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเสร็จแล้ว สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ สธ. เสนอ (ร่างเดิม) ร่างกฎกระทรวงที่ สธ. แก้ไข ตามคำสั่ง รอง นรม. (นายอนุทินฯ) หมายเหตุ 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ข้อ 5 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นข้อ 12/2 และข้อ 12/3 แห่งกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล พ.ศ. 2558 ?ข้อ 12/2 โรงพยาบาลผู้สูงอายุต้องประกอบด้วยหน่วยบริการและระบบสนับสนุนการให้บริการ ดังต่อไปนี้? (1) แผนกเวชระเบียน ฯลฯ (5) แผนกเภสัชกรรม (6) แผนกกายภาพบำบัด (7) แผนกรังสีวิทยา (8) แผนกเทคนิคการแพทย์ ฯลฯ โรงพยาบาลผู้สูงอายุขนาดเล็กอาจไม่มีหน่วยบริการตาม (5) (7) และ (8) แต่จะต้องจัดให้มีบริการดังกล่าวเท่าที่จำเป็น 1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของสถานพยาบาลและลักษณะการให้บริการของสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม คงเดิม (14) การบริการทันตกรรม โรงพยาบาลผู้สูงอายุขนาดเล็กอาจไม่มีหน่วยบริการตาม (7) และ (8) แต่จะต้องจัดให้มีบริการดังกล่าวเท่าที่จำเป็น - เพิ่มขึ้นใหม่ - ตัด (5) ออก ร่างกฎกระทรวงที่ สธ. เสนอ ตามมติ ครม. (2 มิ.ย. 63) ร่างกฎกระทรวงที่ สธ. แก้ไข ตามคำสั่ง รอง นรม. (นายอนุทินฯ) หมายเหตุ ?ข้อ 12/3 โรงพยาบาลส่งเสริมฟื้นฟูผู้สูงอายุต้องประกอบด้วยหน่วยบริการและระบบสนับสนุนการให้บริการ ดังต่อไปนี้ ? ฯลฯ (4) แผนกเภสัชกรรม ฯลฯ (6) แผนกกิจกรรมบำบัด (7) แผนกรังสีวิทยา (8) แผนกเทคนิคการแพทย์ ฯลฯ (9) ระบบดูแลและส่งต่อผู้ป่วย ฯลฯ (14) หน่วยบริการหรือระบบสนับสนุนการให้บริการอื่นตามที่แจ้งไว้ในการขออนุญาต โรงพยาบาลส่งเสริมฟื้นฟูผู้สูงอายุขนาดเล็กอาจไม่มีหน่วยบริการตาม (4) และ (6) แต่จะต้องจัดให้มีบริการดังกล่าวเท่าที่จำเป็นได้ คงเดิม คงเดิม คงเดิม (7) แผนกโภชนาการ คงเดิม คงเดิม (10) การบริการทันตกรรม คงเดิม คงเดิม โรงพยาบาลส่งเสริมฟื้นฟูผู้สูงอายุขนาดเล็กอาจไม่มีหน่วยบริการตาม (6) แต่จะต้องจัดให้มีบริการดังกล่าวเท่าที่จำเป็นได้ - เพิ่มขึ้นใหม่ - เพิ่มขึ้นใหม่ - ตัด (4) ออก 2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพและจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพในสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีการปรับแก้ไข ดังนี้ ตารางท้ายร่างกฎกระทรวง ร่างเดิม ร่างใหม่ 1. ตารางที่ 5/2 โรงพยาบาลผู้สูงอายุ (ให้บริการช่วงเวลา 08.00 ? 20.00 น.) กำหนดให้มีจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ดังนี้ 1.1 โรงพยาบาลขนาดเล็ก - จำนวนเตียง ไม่เกิน 10 เตียง - จำนวนเตียง 11 ถึง 30 เตียง 1.2 โรงพยาบาลขนาดกลาง - จำนวนเตียง 31 ถึง 60 เตียง - จำนวนเตียง 61 ถึง 90 เตียง 1.3 โรงพยาบาลขนาดใหญ่ - จำนวนเตียง 91 ถึง 120 เตียง กำหนดให้สัดส่วนของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต่อจำนวนเตียงที่เพิ่มขึ้น ดังนี้ 2. ตารางที่ 12 โรงพยาบาลผู้สูงอายุ (ให้บริการช่วงเวลา 20.00 ? 08.00 น.) กำหนดให้มีจำนวนผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ดังนี้ 1.1 โรงพยาบาลขนาดเล็ก - จำนวนเตียง ไม่เกิน 10 เตียง - จำนวนเตียง 11 ถึง 30 เตียง 1.2 โรงพยาบาลขนาดกลาง - จำนวนเตียง 31 ถึง 60 เตียง - จำนวนเตียง 61 ถึง 90 เตียง 1.3 โรงพยาบาลขนาดใหญ่ - จำนวนเตียง 91 ถึง 120 เตียง กำหนดให้สัดส่วนของผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรมต่อจำนวนเตียงที่เพิ่มขึ้น ดังนี้ 1 1 1 2 3 1 คน ต่อ 1 ถึง 60 เตียง 1 (หากมีบริการ) 1 (หากมีบริการ) 1 1 1 1 คน ต่อ 1 ถึง 60 เตียง 1 1 2 3 3 1 คน ต่อ 1 ถึง 60 เตียง 1 1 1 1 1 1 คน ต่อ 1 ถึง 120 เตียง 3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดชนิดและจำนวนเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์หรือยานพาหนะที่จำเป็นประจำสถานพยาบาล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดชนิดและจำนวนเครื่องมือ เครื่องใช้ ยาและเวชภัณฑ์ หรือยานพาหนะที่จำเป็นประจำสถานพยาบาล โรงพยาบาลผู้สูงอายุ และโรงพยาบาลส่งเสริมฟื้นฟูผู้สูงอายุ ให้เป็นไปโดยเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน 4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนมะเขือแจ้ จังหวัดลำพูน พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนมะเขือแจ้ จังหวัดลำพูน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยเป็นผังพื้นที่เปิดใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดลำพูน ซึ่งกำหนดให้ ?ชุมชนมะเขือแจ้เป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม?โดยเฉพาะด้านการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของจังหวัดและภาคเหนือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม มีจุดมุ่งหมายให้ชุมชนน่าอยู่ควบคุมการขยายตัวของชุมชนในทิศทางที่เหมาะสม ส่งเสริมรักษาพื้นที่เกษตรกรรมชั้นดีของจังหวัดลำพูน และสงวนรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 14 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่ง มท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว สาระสำคัญของร่างประกาศ กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลมะเขือแจ้ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนมะเขือแจ้ จังหวัดลำพูน มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนมะเขือแจ้ให้เป็นศูนย์กลางการบริการและการรองรับการขยายตัวด้านอุตสาหกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม 1.2 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจและสังคม 1.3 เพื่อรองรับการขยายตัวและการกระจายตัวของประชากรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต 1.4 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 1.5 สงวนและรักษาพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่โล่งของชุมชนให้มีความอุดมสมบูรณ์ตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน 1.6 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2. กำหนดประเกทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 14 ประเภท ดังนี้ ประเภท วัตถุประสงค์ 1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยแน่นหนาน้อย (สีเหลือง) 2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) 3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) 4. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (สีม่วง) 5. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมทั่วไปที่ไม่เป็นมลพิษต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม และคลังสินค้า (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีม่วง) 6. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) 7. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) 8. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล) 9. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน) 10. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนและเส้นทแยงสีขาว) 11. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก) 12. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีฟ้า) 13. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน) 14. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน) - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบาง มีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูง เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบาง มีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารสูง - เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่มีการสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่พิเศษ - เป็นศูนย์กลางชุมชนเมืองและศูนย์กลางรองในกรณีเมืองมีพื้นที่กว้างจำเป็นต้องมีหลายศูนย์กลาง มีวัตถุประสงค์ให้เป็นบริเวณที่ประกอบพาณิชย์ ธุรกิจ และการค้า ประกอบด้วย ตลาด ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม โดยไม่มีการจำกัดความสูงและพื้นที่ของอาคาร ซึ่งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว - เป็นอุตสาหกรรมที่กำหนดให้อยู่นอกชุมชนเมือง พื้นที่ราบ และอยู่ในบริเวณที่สะดวกแก่การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ การคมนาคมขนส่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประกอบอุตสาหกรรมได้ทุกชนิดและประเภท ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพการทางเศรษฐกิจและการลงทุนภาคเอกชนหรือนโยบายของรัฐบาล - เป็นอุตสาหกรรมที่กำหนดให้สามารถอยู่ใกล้แหล่งชุมชนหนาแน่นน้อยได้ซึ่งต้องเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่เป็นมลพิษต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อมตามที่ได้กำหนดไว้ในบัญชีท้ายข้อกำหนด เช่น โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตผลเกษตรกรรม โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำนม น้ำมันจากพืชหรือสัตว์ หรือไขมันสัตว์ โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับชา กาแฟ โกโก้ ช็อกโกเลต หรือขนมหวาน เป็นต้น - เป็นพื้นที่ฉนวน (Buffer Zone) ของชุมชนเมืองให้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรมมีวัตถุประสงค์ให้เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมประกอบด้วยการประกอบเกษตรกรรม เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ - เป็นพื้นที่ที่มีคุณภาพของดินเหมาะสมเพื่อการเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและอนุรักษ์อาชีพเกษตรกรรมให้มั่นคง - เป็นพื้นที่เขตดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม - เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น สวนป่าสาธารณประโยชน์ - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และพื้นที่ของเอกชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว กรณีที่ดินของป่าไม้ มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบำรุงป่าไม้ ต้นน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำหรับที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้สอดคล้องกับป่าไม้โดยมีการผ่อนปรนให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการดำรงอยู่ได้ เช่น การอยู่อาศัย เกษตรกรรม โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดและความสูงของอาคาร - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียน - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรและทำการประมง และต้องการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชนเมือง - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัด มูลนิธิจิตเมตตาธรรม สำนักสงฆ์ - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น โรงพยาบาล สำนักงานเทศบาล ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมทั่วไปที่ไม่เป็นมลพิษต่อชุมชนหรือสิ่งแวดล้อม และคลังสินค้า (สีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีม่วง) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท 4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ข ถนนสาย ค 1 ถนนสาย ค 2 ถนนสาย ค 3 ถนนสาย ค 4 และ ถนนสาย ค 5 ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยโดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธราณูปการ 4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 4.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ 5. เรื่อง หลักการในการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการในการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 และแผนการเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อเสนอการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ โดยให้รับความเห็นหน่วยงานไปพิจารณาดำเนินการ ก่อนดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนของกฎหมาย สาระสำคัญของเรื่อง ก.พ.ร. รายงานว่า 1. พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ เป็นกฎหมายกลางที่ช่วยแก้ไขปัญหาและอำนวยความสะดวกในการอนุมัติ อนุญาต ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ/ประชาชนได้รับความสะดวกมากขึ้น รวดเร็วมากขึ้น และมีภาระค่าใช้จ่ายที่ถูกลง โดยมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 และโดยที่พระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มาตรา 34 บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบการบังคับใช้กฎหมาย ประเมินผลสัมฤทธิ์อย่างน้อยทุกห้าปีนับแต่วันที่กฎหมายฉบับนั้นมีผลใช้บังคับ ประกอบกับปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทำให้ภาครัฐต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการพัฒนาการให้บริการของภาครัฐซึ่งจะสนับสนุนและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้ทบทวนกฎหมายและจัดทำรายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย1 รวมทั้งศึกษาและจัดทำข้อเสนอในการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ และนำไปฟังความคิดเห็นของประชาชน เอกชน และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 4 ? 30 พฤศจิกายน 2564 โดยจำแนกประเด็นการรับฟังความคิดเห็นออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ภาคประชาชนในฐานะผู้รับบริการ จำนวน 246 คน และภาครัฐในฐานะผู้มีอำนาจอนุมัติ อนุญาต จำนวน 208 คน สรุปความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ ได้ ดังนี้ (1) ควรขยายขอบเขตจากเรื่องการอนุญาตให้ครอบคลุมไปถึงการให้บริการอื่น โดยกำหนดให้ชัดเจนว่าเป็นงานลักษณะใด (2) การเปลี่ยนจากการให้คณะกรรมการมีอำนาจในการอนุญาตเป็นหัวหน้างาน ให้คำนึงถึงความจำเป็น เนื่องจากบางงานยังต้องใช้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ (3) การชำระค่าธรรมเนียมแทนการต่ออายุใบอนุญาตและการทดลองประกอบกิจการชั่วคราวควรดำเนินการในงานที่มีความเสี่ยงต่ำ (4) ระบบการอนุญาตหลัก (Super License) กลุ่มผู้ให้ความเห็นจากภาครัฐเห็นว่าไม่ควรกำหนดให้ตรวจสอบ อนุมัติ/อนุญาตจากหน่วยงานหลักหน่วยงานเดียว เนื่องจากบางใบอนุญาตมีกฎหมายหลายฉบับ (5) การทบทวนขั้นตอนและระยะเวลาในคู่มือสำหรับประชาชนทุก 2 ปี ควรรับฟังความคิดเห็นผู้เกี่ยวข้อง และใช้วิธีที่ประชาชนเข้าถึงได้ แต่กลุ่มผู้ให้ความเห็นจากภาครัฐบางส่วนเห็นว่าเป็นภาระกับหน่วยงาน (6) การอนุญาตโดยปริยาย อาจทำให้หน่วยงานภาครัฐต้องเร่งพิจารณา ซึ่งจะทำให้เกิดข้อผิดพลาดหรืออาจมีการใช้ช่องทางกระทำการทุจริต (7) เอกสารราชการภาษาอังกฤษ ควรจัดทำในงานที่เกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติ และ (8) ควรจัดตั้งหน่วยงานเป็น One Stop Service เพื่อลดความยุ่งยากและลดระยะเวลาในการติดต่อราชการ พร้อมทั้งมีระบบคำขอกลางโดยใช้รูปแบบเดียวกัน และใช้ single form 2. ก.พ.ร. ได้ประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 มีมติเห็นชอบในหลักการและสาระสำคัญของการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ ที่นำผลการรับฟังความคิดเห็นมาปรับปรุงร่วมด้วยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 2.1 การขยายขอบเขตของกฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมงานบริการที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับประชาชน จากเดิมที่ครอบคลุมเฉพาะงานบริการที่เกี่ยวข้องกับการอนุมัติอนุญาต และแก้ไขชื่อให้สอดคล้องกับการขยายขอบเขตการบังคับใช้ เป็น ?พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการติดต่อราชการแก่ประชาชน พ.ศ. ....? 2.2 การพิจารณาความจำเป็นหรือมีมาตรการอื่นแทนการอนุญาต โดยให้ผู้อนุญาตทบทวนกฎหมายที่ให้อำนาจในการอนุญาตทุก 5 ปี ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การปรับเปลี่ยนการอนุญาตเป็นการจดแจ้ง การปรับเปลี่ยนการพิจารณาอนุญาตโดยคณะกรรมการเป็นหัวหน้าหน่วยงาน กรณีที่เป็นการพิจารณาแบบเบ็ดเสร็จในหน่วยงานเดียวหรือเป็นการต่ออายุและสามารถกำหนดให้การอนุญาตที่มีกฎหมายเกี่ยวข้องหลายฉบับเป็นหน้าที่และอำนาจของผู้อนุญาตเพียงกฎหมายฉบับเดียว โดยให้ ก.พ.ร. หรือคณะกรรมการพัฒนากฎหมายสามารถเสนอให้ผู้อนุญาตแก้ไขได้ (เป็นการเพิ่มการกำหนดประเด็นเพื่อใช้ในการพิจารณาทบทวนกฎหมายเพื่อยกเลิกการอนุญาต หรือจัดให้มีมาตรการอื่นแทนการอนุญาต ซึ่งเดิมไม่ได้กำหนดไว้) 2.3 การขยายขอบเขตให้ทุกใบอนุญาตสามารถชำระค่าธรรมเนียมแทนการต่ออายุใบอนุญาตได้ และกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ให้หน่วยงานออกเป็นกฎกระทรวง (จากเดิมที่บัญญัติให้คณะรัฐมนตรีกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตชำระค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาตตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ แทนการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาต สำหรับกิจการหรือการดำเนินการที่มีลักษณะเป็นการประกอบกิจการต่อเนื่อง โดยการตราเป็นพระราชกฤษฎีกา) 2.4 การกำหนดระบบการอนุญาตหลัก (Super License)2 กรณีที่เรื่องใดต้องขออนุญาตจากผู้อนุญาตมากกว่าหนึ่งราย ให้มีการรวมศูนย์อำนาจในการอนุญาตตามกฎหมายหลายฉบับ (เป็นการเพิ่มหลักการใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน กรณีการประกอบกิจการที่ต้องขอรับใบอนุญาตจำนวนมาก) 2.5 การทดลองประกอบกิจการเป็นการชั่วคราวก่อนได้รับใบอนุญาต3 กรณีที่ไม่มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหรือสิ่งแวดล้อมในวงกว้าง (เป็นหลักการที่เพิ่มขึ้นใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยใช้ระบบการแจ้งต่อผู้อนุญาตไปพลางก่อนชั่วคราวได้) 2.6 การยกเลิกอายุใบอนุญาต เพื่อให้เป็นใบอนุญาตถาวร หรือขยายอายุใบอนุญาตที่น้อยกว่า 5 ปี เป็นอย่างน้อย 5 ปี ก็ได้ (เป็นการเพิ่มหลักการใหม่เพื่อลดภาระการต่ออายุใบอนุญาตให้แก่ประชาชน สำหรับกรณีที่คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นว่าอายุใบอนุญาตที่กำหนดในกฎหมายนั้นไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือไม่มีความจำเป็นต้องมีอายุใบอนุญาตอีกต่อไป) 2.7 การอนุญาตโดยปริยาย แก้ไขเพิ่มเติมเรื่องการพิจารณาอนุญาตที่ครบกำหนดเวลาตามที่ระบุไว้ในคู่มือสำหรับประชาชนว่าหากหน่วยงานยังพิจารณาไม่แล้วเสร็จให้ถือว่าเป็นการอนุญาตโดยปริยาย (เดิมไม่มีการกำหนดประเด็นดังกล่าวไว้) 2.8 การดำเนินการกรณีใบอนุญาตชำรุดเสียหาย กำหนดให้กรณีที่ใบอนุญาตหรือหลักฐานการต่ออายุใบอนุญาตชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย ไม่ต้องยื่นหลักฐานที่แสดงการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ (เป็นการเพิ่มหลักการใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับใบอนุญาตไม่ต้องไปแจ้งความเพื่อขอรับใบแทนใบอนุญาต) 2.9 การจัดให้มีแบบฟอร์มภาษาอังกฤษ กำหนดให้หน่วยงานภาครัฐต้องจัดให้มีแบบฟอร์มใบคำขอ ใบอนุญาต หลักฐานการต่ออายุใบอนุญาต และใบแทนใบอนุญาต เป็นภาษาอังกฤษให้แก่ผู้ยื่นคำขอหรือผู้รับใบอนุญาต แล้วแต่กรณี ตามที่ผู้ยื่นคำขอหรือผู้รับใบอนุญาตร้องขอ (เป็นการเพิ่มหลักการใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการต่างชาติหรือผู้ประกอบการไทยซึ่งต้องใช้ในการติดต่อกับหน่วยงานต่างประเทศ) 2.10 การจัดให้มีช่องทางพิเศษแบบเร่งด่วน (Fast track)4 ถือเป็นประโยชน์และเป็นทางเลือกให้กับประชาชนให้ได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น ทั้งนี้ การเพิ่มช่องทางดังกล่าวควรอยู่บนพื้นฐานว่าการให้บริการช่องทางปกติของหน่วยงานต้องมีประสิทธิภาพด้วยเช่นกัน (เป็นการเพิ่มเติมทางเลือกให้แก่ประชาชนให้ได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น) 2.11 การจัดตั้งศูนย์รับคำขอกลางแทนศูนย์รับคำขออนุญาต ทำหน้าที่รับคำขอทางอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้นเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน โดยกำหนดให้สามารถมอบหมายเอกชนเป็นผู้ดำเนินการศูนย์ดังกล่าวได้ (เป็นการปรับเปลี่ยนหลักการเดิมเพื่อให้สอดคล้องกับพัฒนาการทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน โดยกำหนดให้สำนักงาน ก.พ.ร. มีหน้าที่จัดให้มีศูนย์รับคำขอกลางขึ้น แต่สามารถมอบให้เอกชนดำเนินการโดยสำนักงาน ก.พ.ร. กำกับดูแลก็ได้) 2.12 การปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ ให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ?.5 เพื่อให้กฎหมายมีความสอดคล้องและเป็นมาตรฐานเดียวในการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (เช่น การเพิ่มเรื่องการยื่นคำขอโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์) 3. ประโยชน์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น จากข้อเสนอการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ เมื่อนำมาประเมินความคุ้มค่าหากมีการดำเนินการตามกฎหมายดังกล่าวจะสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามแนวทางของธนาคารโลก ซึ่งแบ่งการวิเคราะห์เป็น 3 ด้าน ได้แก่ การบริการที่รวดเร็วขึ้น (Faster) การบริการที่ง่ายขึ้น (Easier) และการบริการที่ถูกลง (Cheaper) มีผลการวิเคราะห์สรุปได้ ดังนี้ 3.1 การบริการที่รวดเร็วขึ้น (Faster) 1) การปรับเปลี่ยนการพิจารณาอนุญาตโดยคณะกรรมการเป็นหัวหน้าหน่วยงาน คาดว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนกระบวนงานที่มีการพิจารณาโดยคณะกรรมการจาก 604 งาน เหลือเพียง 43 งาน ซึ่งเป็นกระบวนงานที่เบ็ดเสร็จในหน่วยงานเดียว หรือเป็นการต่ออายุและมีความเสี่ยงต่ำ เช่น การออกใบอนุญาตถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย การต่ออายุใบอนุญาตประกอบการขนส่งระหว่างประเทศประเภทไม่ประจำทางด้วยรถโดยสาร ทำให้สามารถลดเวลาการพิจารณาได้เฉลี่ย 22 วันทำการ/งานบริการ 2) การนำระบบการอนุญาตหลัก (Super License) มาใช้ในการอนุญาตจะส่งผลให้ผู้ประกอบการสามารถทำธุรกิจได้เร็วขึ้น เช่น การขออนุญาตของธุรกิจค้าปลีกจากเดิมที่ต้องติดต่อไม่น้อยกว่า 13 หน่วยงาน ใช้ระยะเวลา 284 วันทำการ เหลือเพียงติดต่อ 1 ช่องทาง ใช้เวลา 185 วันทำการ และกิจการสปา จากเดิมต้องติดต่อไม่น้อยกว่า 9 หน่วยงาน ใช้ระยะเวลา 120 วันทำการ เหลือเพียงติดต่อ 1 ช่องทาง ใช้ระยะเวลา 96 วันทำการ 3.2 การบริการที่ง่ายขึ้น (Easier) 1) การทดลองประกอบกิจการเป็นการชั่วคราวก่อนได้รับใบอนุญาต คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ จำนวน 19 กิจการ ในกิจการที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่นกิจการขายอาหารสัตว์ กิจการสปา 2) การขยายจำนวนใบอนุญาตที่สามารถดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมแทนการต่ออายุใบอนุญาต จากปัจจุบันดำเนินการได้ 31 ใบอนุญาต เป็น 154ใบอนุญาต เช่น ใบอนุญาตมัคคุเทศก์ ใบอนุญาตค้าโบราณวัตถุ จะทำให้ผู้ประกอบการได้รับประโยชน์จากมาตรการนี้ประมาณ 890,315 ราย ภาครัฐได้รับค่าธรรมเนียมได้เร็วขึ้นประมาณการขั้นต่ำ 253.25 ล้านบาท/ปี 3) การขยายอายุใบอนุญาตเป็นไม่น้อยกว่า 5 ปี หรือไม่มีอายุใบอนุญาต คาดว่าจะดำเนินการได้ไม่น้อยกว่า 19 ใบนุญาต ซึ่งเป็นใบอนุญาตที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น การออกใบอนุญาตขายปุ๋ย การขออนุญาตการจดทะเบียนประกอบธุรกิจขายตรงจะทำให้ผู้ประกอบการได้รับความสะดวกที่ไม่ต้องไปติดต่อราชการเพื่อขอต่ออายุใบอนุญาตทุกปี ประมาณ 764,850 ราย /ปี และลดภาระค่าใช้จ่ายรวมของประชาชนในการติดต่อราชการประมาณ 590.02 ล้านบาท/ปี (เมื่อคิดเป็นประมาณการค่าเดินทางไป - กลับในอัตรา 100 บาท) 3.3 การบริการที่ถูกลง (Cheaper) 1) การปรับเปลี่ยนระบบการอนุญาตเป็นการจดแจ้งเพื่อลดระยะเวลาในการขออนุญาตในกิจการที่ไม่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบ คาดว่าจะสามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนจากการอนุญาตเป็นจดแจ้งได้ จำนวน 11 ใบอนุญาต และจดแจ้งเป็นจดแจ้งออนไลน์ได้จำนวน 72 งานบริการ จาก 336 งานบริการ มีผู้รับบริการประมาณ 15.85 ล้านราย/ปี จะทำให้ลดค่าใช้จ่ายรวมของประชาชนในการติดต่อราชการประมาณ 1585.12 ล้านบาท/ปี (เมื่อคิดเป็นประมาณการค่าเดินทางไป - กลับในอัตรา 100 บาท) 2) การกำหนดให้เมื่อใบอนุญาตชำรุด สูญหาย ไม่ต้องแจ้งความ คาดว่าจะช่วยลดจำนวนการแจ้งความ จำนวน 66,000 ใบแจ้งความ/ปี ทำให้สามารถลดค่าเดินทางรวมของประชาชนประมาณ 6.60 ล้านบาท/ปี (เมื่อคิดเป็นประมาณการค่าเดินทางไป - กลับในอัตรา 100 บาท) 4. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดทำแผนการเตรียมความพร้อมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามข้อเสนอการปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน โดยจัดลำดับตามความเหมาะสมของเรื่องที่จะดำเนินการพร้อมทั้งกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้ เรื่อง แนวทางการดำเนินการ ระยะเวลา หน่วยงานที่รับผิดชอบ 1. การขยายรายชื่อใบอนุญาตที่จะดำเนินการชำระค่าธรรมเนียม แทนการขอต่ออายุใบอนุญาต ศึกษารายชื่อใบอนุญาตที่มีความเสี่ยงต่ำและความพร้อมของหน่วยงานที่จะดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมแทนการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตเพิ่มเติม เมษายน ? กันยายน 2565 สำนักงาน ก.พ.ร. สคก. และหน่วยงานที่ให้บริการต่ออายุใบอนุญาต 2. ระบบ การอนุญาตหลัก (Super License) ทดลองนำร่องดำเนินการในกิจการที่ดำเนินการได้เบ็ดเสร็จในหน่วยงานเดียว เมษายน ? กันยายน 2565 สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) และหน่วยงานผู้อนุญาต 3. การทบทวน การอนุมัติอนุญาต ส่งเสริมหน่วยงานนำร่องในการทบทวนการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุญาตตามแนวทางที่กำหนดไว้ เช่น การปรับเปลี่ยนรูปแบบจากการอนุมัติอนุญาตเป็นการจดแจ้ง การยกเลิกการพิจารณาโดยคณะกรรมการ ตุลาคม 2565 ? กันยายน 2566 สำนักงาน ก.พ.ร. สคก. และหน่วยงานผู้อนุญาต 1นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบรายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ เมื่อวันที่ 28 พฤษกาคม 2564 โดยมีข้อสั่งการเพิ่มเติมว่าจะต้องดำเนินการสื่อสารสร้างการรับรู้ให้ประชาชนรับทราบและสามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์ของตนตามกฎหมายทุกฉบับ รวมถึงเข้าใจวิธีการเข้ารับการบริการต่าง ๆ จากภาครัฐได้อย่างทั่วถึงทุกกลุ่มอาชีพ 2เป็นระบบการอนุญาตหลักของการประกอบกิจการหรือดำเนินการเรื่องที่ต้องขออนุญาตจากผู้อนุญาตมากกว่าหนึ่งราย ซึ่งเป็นหลักการใหม่เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตหลักสามารถประกอบกิจการนั้นได้เลย โดยถือเสมือนว่าได้รับใบอนุญาตรองครบถ้วนด้วยแล้ว ทั้งนี้ ผู้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตทุกใบให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด 3การทดลองประกอบกิจการเป็นการชั่วคราวก่อนได้รับใบนุญาต จะต้องแจ้งต่อผู้อนุญาตก่อนเริ่มประกอบกิจการเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน และหากประชาชนที่ประกอบกิจการชั่วคราวนั้นประสงค์จะประกอบกิจการต่อไป ให้ยื่นคำขอต่อผู้อนุญาตภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เริ่มประกอบกิจการชั่วคราว 4การจัดให้มีช่องทางพิเศษแบบเร่งด่วนกำหนดขึ้นสำหรับกรณีที่ผู้ยื่นคำขอชำระค่าธรรมเนียมพิเศษหรือค่าบริการพิเศษตามที่ผู้อนุญาตกำหนด ทั้งนี้ หากผู้อนุญาตดำเนินการไม่แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาให้คืนค่าธรรมเนียมพิเศษให้แก่ผู้ยื่นคำขอ 5มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้การทำธุรกรรมระหว่างประชาชนกับหน่วยงานรัฐ การติดต่อระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน และระหว่างเจ้าหน้าที่ภายในหน่วยงานรัฐ สามารถใช้วิธีการอิเล็กทรอนิกส์ได้โดยชอบด้วยกฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีปัจจุบัน อีกทั้งเป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติ (30 มีนาคม 2564) เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปรัฐสภาเพื่อพิจารณาแล้ว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการ (สภาผู้แทนราษฎร) 6. เรื่อง การจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 พ.ศ. .... ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเป็นการล่วงหน้าแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญ 1. การจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติ มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึก ในพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่พระองค์ทรงเป็นแม่ของแผ่นดินที่มีพระคุณอันประเสริฐยิ่งของราษฎร ทรงเป็นศูนย์รวมของราษฎรทั่วแผ่นดิน และทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจนานัปการ เพื่อประโยชน์สุขของราษฎรและความอุดมสมบูรณ์แก่แผ่นดินตลอดมา ตลอดจนการส่งเสริมศิลปาชีพในงานหัตถศิลป์หลากหลายแขนง ก่อให้เกิดการทำนุบำรุง สืบทอดงานศิลปะอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่องจนศิลปะไทยอันเป็นเอกลักษณ์หนึ่งของไทยสร้างชื่อเสียงไปยังนานาประเทศทั่วโลก และเป็นการยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทย 2. กระทรวงการคลังได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสดังกล่าว และสำนักพระราชวังได้นำรูปแบบเหรียญฯ กราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลี พระบาทแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แบบเหรียญเฉลิมพระเกียรติฯ ทั้งนี้ กระทรวงการคลังเห็นควรจัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ซึ่งคณะกรรมการเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก ตามพระราชบัญญัติเหรียญเฉลิม พระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. 2548 มาตรา 3 และมาตรา 4 มีมติให้ความเห็นชอบให้จัดทำแล้ว ทั้งนี้ กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ได้กำหนดให้จัดทำเหรียญเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 เป็นเหรียญเงิน ชนิดบุรุษและสตรี ผลิตจำนวนไม่เกิน 300,000 เหรียญ ดังนี้ ลักษณะ เป็นเหรียญกลม ส่วนผสม เงินร้อยละ 92.5 ทองแดงร้อยละ 7.5 ขนาด เส้นผ่าศูนย์กลาง 32 มิลลิเมตร น้ำหนัก เหรียญละ 23 กรัม ลวดลาย ด้านหน้า กลางเหรียญมีพระรูปสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงกุณฑลเพชร ทรงฉลองพระองค์ชุดไทย ทรงผ้าทรงสะพักประจำเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ เฉวียงพระอังสา ทรงสายสร้อยมหาจักรี ดาราจักรี และสายสะพายจักรี พระอังสาเบื้องซ้ายประดับดวงตราปฐมจุลจอมเกล้า และเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 9 ชั้นที่ 1 ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่าง มีข้อความว่า ?สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง? ด้านหลัง กลางเหรียญมีอักษรพระนามาภิไธย ?ส.ก.? อยู่ภายใต้พระมหามงกุฎ ภายในวงขอบเหรียญเบื้องล่างมีข้อความว่า ?เฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565? ขอบนอกเหรียญ ด้านหน้าเบื้องบนมีอักษรพระนามาภิไธย ?ส.ก.? อยู่ภายใต้พระมหามงกุฎ ด้านหลังขอบนอกเหรียญมีห่วงสำหรับบุรุษใช้ห้อยกับแพรแถบ กว้าง 32 มิลลิเมตร สำหรับสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบดังกล่าว ผูกเป็นรูปแมลงปอ ความหมายของแพรแถบ แพรแถบกว้าง 32 มิลลิเมตร พื้นของแพรแถบเป็นสีฟ้า อันเป็นสีประจำวันพระราชสมภพ มีริ้วสีขาว หมายถึง น้ำพระราชหฤทัยอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง เปี่ยมไปด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่แผ่ไพศาลไปยังพสกนิกร และมีริ้วสีน้ำเงิน หมายถึงสีประจำสถาบันพระมหากษัตริย์ กำหนดออกใช้ จะเริ่มจำหน่ายจ่ายแลกแก่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า และประชาชนทั่วไป ตั้งแต่พระราชกฤษฎีกาออกตามความในพระราชบัญญัติว่าด้วยเหรียญเฉลิมพระเกียรติและเหรียญที่ระลึก พ.ศ. 2548 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ราคา ได้กำหนดราคาจำหน่ายเหรียญเฉลิมพระเกียรติฯ ทั้งชนิดบุรุษ และชนิดสตรี ราคา เหรียญละ 1,600 บาท (หนึ่งพันหกร้อยบาทถ้วน) เศรษฐกิจ สังคม 7. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติเสนอสรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (1 ตุลาคม 2562) ที่เห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ติดตามการดำเนินงานยุทธศาสตร์สับปะรด และรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ ประเด็น มติการประชุม 1. สถานการณ์สับปะรดโรงงาน ปี 2565 รับทราบสถานการณ์การผลิตสับปะรด (พันธุ์ปัตตาเวีย) ปี 2565 ซึ่งคาดว่ามีผลผลิต 1.772 ล้านตัน (เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 2.68) โดยมีการส่งออกปี 2565 (เดือนมกราคม-มีนาคม) 140,019 ตัน (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 8.05 มูลค่า 6,954 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 28.79) และรับทราบแนวทางการดำเนินการบริหารจัดการสับปะรด ปี 2565 โดยใช้กลไกคณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาเกษตรกรอันเนื่องมาจากผลผลิตการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) และคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัดบริหารจัดการอุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ภายในจังหวัดที่สอดคล้องกับ 5 แนวทาง ได้แก่ (1) การเชื่อมโยงตลาดล่วงหน้า (2) การกระจายผลผลิต (3) การส่งเสริมการบริโภค (4) การส่งเสริมการแปรรูป และ (5) การส่งเสริมการผลิตสับปะรดเพื่อบริโภคสด โดยประธานกรรมการฯ ได้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ แจ้งกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงพาณิชย์ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธาน คพจ. และพาณิชย์จังหวัดในฐานะคณะทำงานด้านการตลาดระดับจังหวัดติดตามสถานการณ์และดำเนินการตามแนวทางการบริหารจัดการผลผลิตสับปะรดดังกล่าว 2. การแก้ไขปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมสับปะรด รับทราบความก้าวหน้าการปรับปรุงบันทึกข้อตกลงด้านการจ้างงานและบันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือด้านแรงงานไทยกับประเทศคู่ภาคี (เมียนมา ลาว กัมพูชา และเวียดนาม) โดยให้มีการจ้างงานแรงงานต่างด้าวระยะสั้นคราวละไม่เกิน 1 ปี 3. การทำบันทึกความตกลงความร่วมมือซื้อขายสับปะรดโรงงานระหว่างเกษตรกรและโรงงานแปรรูป รับทราบความก้าวหน้าการทำบันทึกข้อตกลงฯ และแนวทางการส่งเสริมการจัดทำบันทึกข้อตกลงฯ ได้แก่ จัดหาแหล่งเงินทุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ สินเชื่อปลอดดอกเบี้ยให้แก่เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกสับปะรดกับกรมส่งเสริมการเกษตรและทำข้อตกลงซื้อขายกับโรงงาน รวมทั้งสนับสนุนการร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในและต่างประเทศ 4. การจัดทำแผนพัฒนาด้านสับปะรด พ.ศ. 2566-2570 เห็นชอบการปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาสับปะรด โดยเพิ่มเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือผู้แทนเป็นอนุกรรมการและเพิ่มอำนาจหน้าที่การจัดทำแผนพัฒนาด้านสับปะรด รวมทั้งได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนฯ ยกร่างแผนพัฒนาด้านสับปะรดโดยนำโครงร่างหัวข้อแผนพัฒนาด้านสับปะรด พ.ศ. 2566-2570 จุดยืนและประเด็นการพัฒนาด้านสับปะรด* ไปใช้ประกอบการพิจารณาด้วย 5. เรื่องอื่น ๆ 5.1 การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ รับทราบประเด็นการปรับค่าจ้างขั้นต่ำอัตรา 492 บาท/วัน โดยเห็นว่าอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนของภาคอุตสาหกรรมสับปะรด และได้มอบหมายให้กระทรวงแรงงานพิจารณาและรายงานประเด็นดังกล่าวต่อไป 5.2 การเพิ่มกำลังการผลิต ขอความร่วมมือโรงงานแปรรูปสับปะรดเพิ่มกำลังการผลิตโดยเพิ่มเวลาการทำงานวันละ 1 ชั่วโมง ในช่วงเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตออกสู่ตลาดจำนวนมาก *จากการประสานข้อมูลกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จุดยืนและประเด็นการพัฒนาด้านสับปะรด เช่น การเสริมสร้างขีดความสามารถแก่เกษตรกรในด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด และระบบการบริหารจัดการการเกษตรที่ทันสมัยและยั่งยืน การสร้างสมดุลความต้องการสับปะรดของภาคอุตสาหกรรม และการบริโภคภายในประเทศและการเสริมสร้างความสามารถในการเป็นผู้นำการส่งออกสับปะรด 8. เรื่อง ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2565 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2565 จำนวน 5 แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม 10,863 ล้านบาท โดยให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นรายปีจนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จ ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. กฟภ. ขอกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี 2565 จำนวน 5 แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม 10,863 ล้านบาท โดย กฟภ. จะทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นจนกว่างานจะแล้วเสร็จ ซึ่งคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 มีมติเห็นชอบให้ กฟภ. กู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนในแผนงานดังกล่าว ทั้งนี้ แผนงานดังกล่าวเป็นแผนงานภายใต้กรอบและงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (21 กันยายน 2564) เห็นชอบด้วยแล้ว 2. รายละเอียดของแผนงานภายใต้กรอบและงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 5 แผนงาน สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท แผนงานระยะยาวใหม่ ระยะเวลา ดำเนินการ (พ.ศ.) วงเงิน เต็มแผนงาน แหล่งเงินทุน เงินกู้ในประเทศ เงินรายได้ 1) แผนงานสนับสนุนการดำเนินงานระยะที่ 5 : เป็นการจัดหาสิ่งสนับสนุนในการดำเนินงาน (เช่น ที่ดิน อาคาร ยานพาหนะ เครื่องมือเครื่องใช้ในการก่อสร้างและบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า) ให้เพียงพอกับความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มสูงขึ้นตามการขยายตัวของกิจการอุตสาหกรรมและชุมชน และเพื่อให้การปฏิบัติงานของ กฟภ. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถให้บริการลูกค้าได้ทันต่อความต้องการได้มากขึ้น ได้รับความสะดวกรวดเร็วในการติดต่องาน สร้างความพึงพอใจและเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อ กฟภ. การดำเนินการ: - จัดหาที่ดิน (14 แห่ง) - ก่อสร้างอาคารสำนักงานและสิ่งประกอบ (97 แห่ง) - จัดซื้อยานพาหนะทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค (452 คัน) - เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น อุปกรณ์ฮอตไลน์ (2,159 รายการ) 2565 ? 2567 (3 ปี) 7,320.00 5,490.00 1,830.00 2) แผนงานระยะยาวงานปรับปรุงระบบป้องกันและควบคุมในสถานีไฟฟ้า: (1) เพื่อให้สถานีไฟฟ้ามีความพร้อมสำหรับการให้บริการส่งผ่านกำลังไฟอย่างต่อเนื่อง โดยลดผลกระทบจากความผิดพลาดของอุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานยาวนานด้วยการเปลี่ยนทดแทนอุปกรณ์ที่เสื่อมสภาพ และ (2) ปรับปรุงระบบป้องกันและควบคุมภายในสถานีไฟฟ้าให้เป็นไปตามมาตรฐานที่ กฟภ. นำมาใช้ในปัจจุบัน (เช่น มาตรฐาน IEC61850) ซึ่งเป็นระบบที่มีการรับส่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านทางระบบสื่อสารทำให้รีเลย์1 อยู่ตำแหน่งต่างกันสามารถทำงานร่วมกันได้ รวมถึงระบบควบคุมต่าง ๆ สามารถที่จะรับส่งข้อมูลผ่านทางระบบสื่อสารกับตัวรีเลย์และอุปกรณ์ป้องกันที่รองรับมาตรฐานดังกล่าว) การดำเนินการ : ปรับปรุงระบบป้องกันและควบคุมในสถานีไฟฟ้าจำนวน 40 สถานี 2565 - 2568 1,266.36 949.00 317.36 3. แผนงานปฏิบัติการดิจิทัลด้านสื่อสารและโทรคมนาคมของ กฟภ. ปี 2565: เป็นการพัฒนาระบบสื่อสารของ กฟภ. ให้มีช่องสัญญาณเพียงพอต่อการใช้งาน เพิ่มช่องทางการให้บริการปรับเปลี่ยนกระบวนการบริการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลให้มีความรวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของสายงานอื่น ๆ ช่วยสนับสนุนกระบวนการทำงานภายในให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และยกระดับการบริการลูกค้าให้สะดวกรวดเร็ว และมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น การดำเนินการ: - งานจัดซื้อพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ IP Core Router และอุปกรณ์ DWDM2 เพื่อขยาย Bandwidth และเพิ่มประสิทธิภาพโครงข่าย Core Network - งานพัฒนาโครงข่าย IP Access Network จำนวน 39 Nodes - งานขยายโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง ระยะทาง 1,300 กิโลเมตร - งานบำรุงรักษาและให้บริการเครือข่าย WAN (ตรวจซ่อมและปรับปรุงสายเคเบิลใยแก้วนำแสง) - งานพัฒนาระบบโทรศัพท์ของ กฟภ. (จัดซื้อพร้อมติดตั้ง เครื่อง Video Phone และ IP Phone) 2565 ? 2567 (3 ปี) 781.83 586.00 195.83 4) แผนงาน Big Data Platform: (1) เพื่อให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการตัดสินใจและการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างถูกต้องและรวดเร็ว รวมทั้งสามารถนำมาปรับปรุงการดำเนินงานและพัฒนาขีดความสามารถได้อย่างต่อเนื่อง (2) เพื่อให้การกำกับดูแลและการบริหารจัดการข้อมูลมีมาตรฐาน ถูกต้อง แม่นยำ รักษาความเป็นส่วนบุคคลเชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมั่นคง ปลอดภัย ตั้งแต่การสร้าง จัดเก็บ ประมวลผล การนำไปใช้ การเปิดเผย และการทำลายข้อมูล และ (3) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลโดยการเชื่อมโยงฐานข้อมูล ระบบงานให้เป็นแพลตฟอร์มข้อมูลขององค์กร แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อต่อยอดให้เกิดประโยชน์ในการยกระดับคุณภาพงานบริการขององค์กรและรองรับการเปิดเผยข้อมูลขององค์กร การดำเนินการ: ศึกษา จัดทำ และติดตั้งเครื่องมือบริหารจัดการการเชื่อมโยงเรียกใช้ข้อมูล และจัดทำแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการเปิดเผยข้อมูล 2565 ? 2567 (3 ปี) 120.00 90.00 30.00 5) แผนงานจัดหา พัฒนา ติดตั้ง และดูแลบำรุงรักษา ระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กรและระบบสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้าของ กฟภ. : เป็นการจัดหา พัฒนา ติดตั้ง และดูแลบำรุงรักษาระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กรและระบบสาธารณูปโภคของ กฟภ. การดำเนินการ: จัดซื้อจัดจ้าง เพื่อจัดหา พัฒนา และติดตั้งระบบบริหารจัดการทรัพยากรองค์กรระบบสาธารณูปโภคด้านไฟฟ้า และระบบงานสำหรับใช้บริหารจัดการดำเนินงานของ กฟภ. 2565 ? 2567 (3 ปี) 4,998.47 3,748.00 1,250.47 รวมทั้งสิ้น 5 แผนงาน 14,486.66 10,863.00 3,623.66 3. มท. แจ้งว่า กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และ สศช.พิจารณาแล้วเห็นชอบ/เห็นสมควรที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ กฟภ. ดำเนินการกู้เงินในประเทศ เพื่อใช้สำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ ปี พ.ศ. 2565 จำนวน 5 แผนงาน ภายในกรอบวงเงิน 10,863 ล้านบาท โดย สงป. เห็นควรให้ กฟภ. เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการชำระหนี้เงินกู้และให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นจนกว่างานจะแล้วเสร็จ 1รีเลย์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งทำหน้าที่เปรียบเสมือนสวิตซ์ไฟที่ใช้แรงดันไฟฟ้าในการเปิดและปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าเพื่อควบคุมวงจรต่าง ๆ ในกรณีนี้รีเลย์ระบบป้องกันเป็นอุปกรณ์หลักที่ทำหน้าที่ในการส่งสัญญาณเพื่อสั่งการให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำการเปิดวงจรเพื่อแยกส่วนที่เกิดการบกพร่องออกจากระบบ ดังนั้น ระบบการจ่ายไฟจึงต้องมีระบบป้องกันทำงานตลอดเวลา 2DWDM (Dense Wavelength Division Multiplexing) เป็นเทคนิคการส่งข้อมูลบนเส้นไฟเบอร์ออปติกโดยใช้วิธีส่งข้อมูลไปบนหลาย ๆ ช่วงความยาวคลื่นของเส้นไฟเบอร์ออปติก 1 เส้น ดังนั้น DWDM จึงเป็นเทคนิคที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการส่งข้อมูลให้แก่เครือข่ายไฟเบอร์ออปติก 9. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นให้กับโรงเรียนที่ประสบภัยธรรมชาติในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นให้กับโรงเรียนที่ประสบภัยธรรมชาติในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กรอบวงเงิน 395,237,200 บาท ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง ศธ. รายงานว่า 1. สพฐ. เป็นหน่วยงานที่ดูแลด้านการศึกษาและสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนให้กับโรงเรียนในสังกัดอย่างมีประสิทธิภาพ แต่เนื่องจากในปีงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีโรงเรียนที่ประสบภัยธรรมชาติในสังกัด สพฐ. จำนวนมากและได้รายงานผลกระทบและความเสียหายจากสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นมายัง สพฐ. ดังนี้ (1) อาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่นไม่มีความพร้อมในการใช้งาน และเป็นอุปสรรคต่อการจัดการเรียนการสอน (2) ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านความปลอดภัยของครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนในการใช้สถานที่สำหรับจัดการเรียนการสอน และสร้างความกังวลใจให้กับผู้ปกครองและประชาชนโดยรอบที่ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียน และ (3) หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของทางราชการ ซึ่ง สพฐ. ไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับใช้ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นให้กับโรงเรียนที่ประสบภัยธรรมชาติให้กลับสู่สภาพปกติอย่างเร่งด่วน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการเตรียมความพร้อมทางด้านอาคารสถานที่ของโรงเรียนและสถานศึกษารองรับการเปิดภาคเรียน รวมทั้งเพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มรูปแบบ 2. ศธ. (สพฐ.) ได้มีหนังสือไปยังสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นให้กับโรงเรียนที่ประสบภัยธรรมชาติในสังกัด สพฐ. โดย สงป. ได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ ศธ. โดย สพฐ. ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 395,237,200 บาท เพื่อเป็นค่าปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบ และสิ่งก่อสร้างอื่นให้กับโรงเรียนที่ประสบภัยธรรมชาติในสังกัด สพฐ. จำนวน 1,071 รายการ (กรุงเทพมหานคร และ 67 จังหวัด) และให้ ศธ. นำเรื่องดังกล่าวขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3) ต่อไป 10. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรกรณีโค-กระบือป่วยด้วยโรคลัมปี สกิน คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เป็นเงินทั้งสิ้น 203,104720 บาท เพื่อช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรกรณีโค-กระบือป่วยด้วยโรคลัมปี สกิน ตั้งแต่มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2565 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญ 1. สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคระบาดสัตว์ชนิดโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease : LSD) ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศไทย เป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบในโค ? กระบือสัตว์เคี้ยวเอื้อง ต่าง ๆ และมีการรายงานข้อมูล ณวันที่ 30 เมยายน 2564 พบการระบาดสะสมตั้งแต่ 1 มีนาคม 2564 - 30 เมษายน 2565 รวม 69 จังหวัด เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 276,057 ราย เป็นโค-กระบือที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 1,830,535 ตัว เป็นโค - กระบือที่ป่วย จำนวน 625,862 ตัว เป็นโค-กระบือที่ป่วยตาย จำนวน 69,618 ตัว โดยส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน มาก่อน จึงทำให้มีการระบาดรุนแรงและเป็นวงกว้างไปทั่วประเทศ ส่งผลให้เกษตรกรโดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยได้รับผลกระทบสร้างความเดือนร้อนเป็นอย่างมาก ซึ่งจากสถานการณ์การระบาดของโรคดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้มีการจัดการควบคุมโรคและแมลงพาหะ รวมถึงขอความร่วมมือเกษตรกรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมการเคลื่อนย้าย โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ แหล่งรวมสัตว์ และตลาดนัดค้าสัตว์ รวมทั้งช่องทางการนำเข้าสัตว์ตามแนวชายแดน โดยให้เข้มงวดการตรวจรอยโรคในโค กระบือ ที่เคลื่อนย้ายผ่านจุดตรวจทุกตัวและงดการซื้อขายโค กระบือที่มาจากแหล่งที่เกิดโรค หรือจากพื้นที่ในรัศมี 50 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค และได้ให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ได้แก่ 1) รักษาพยาบาลสัตว์ป่วยแก่เกษตรกร จำนวน 164,875 ราย 2) หยอดหรือราดยาป้องกันแมลงแก่กษตรกร จำนวน 32,390 ราย 3) พ่นยากำจัดแมลงแก่เกษตรกร จำนวน 120,746 ราย 4) พ่นยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรคแก่เกษตรกร จำนวน 137,117 ราย 5) แจกยากำจัดแมลงแก่เกษตรกร จำนวน 112,643 ราย และ 6) ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่เกษตรกร จำนวน 304,324 ราย 2. คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมโรคลัมปี สกิน เป็นเงินทั้งสิ้น 684,218,000 บาท ดังนี้ 1) ค่าตอบแทนอาสาปศุสัตว์ เป็นเงิน 14,510,000 บาท 2) ค่าจัดซื้อวัคซีนโรคลัมปี จำนวน 5,000,000 โด๊ส เป็นเงิน 230,138,000 บาท 3) ค่าจัดซื้อเวชภัณฑ์เพื่อการฆ่าเชื้อในฟาร์มและพาหนะในการเคลื่อนย้ายสัตว์ เป็นเงิน 24,000,000 บาท 4) ค่าจัดซื้อเวชภัณฑ์เพื่อการรักษาโค กระบือ จำนวน 200,000 ตัว เป็นเงิน 361,000,000 บาท และเพื่อการฟื้นฟูบำรุงสุขภาพสัตว์เลี้ยงของเกษตรกร จำนวน 200,000 ตัว เป็นเงิน 39,800,000 บาท 5) ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์เพื่อการแพทย์ สำหรับการเก็บตัวอย่าง ฉีดวัคซีนและรักษา เป็นเงิน 14,770,000 บาท ซึ่งยังไม่มีค่าช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจาก โค-กระบือที่ป่วยตายด้วย โรคลัมปี สกิน แต่อย่างใด 3. ได้มีการสำรวจข้อมูลผลกระทบจากการระบาดของโรคลัมปี สกิน ในช่วงเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่เตือนมีนาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2565 พบว่ามีการรายงานการเกิดโรคดังกล่าว จำนวน 69 จังหวัดโดยมีเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบสัตว์ป่วยตายทั้งหมด 64 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบยื่นแบบรับความช่วยเหลือผ่านสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด รวม 55 จังหวัด เกษตรกร จำนวน 60,696 ราย มีโค-กระบือ ป่วยตาย จำนวน 67,656 ตัว วงเงินขอรับความช่วยเหลือ 1,640,757,630 บาท โดยปัจจุบัน กรมปศุสัตว์ ได้รับเอกสารขอรับความช่วยเหลือผ่านสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด แล้ว รวม 55 จังหวัด เกษตรกร 61,959 ราย รวม 69,360ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 1,415,827,540 บาท ซึ่งได้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 แล้วรวม 41 จังหวัด เกษตรกร จำนวน 52,170 ราย มีโค-กระบือป่วยตาย จำนวน 57,884 ตัว วงเงินขอรับความช่วยเหลือ 1,212,722,820บาท คงเหลือยังไม่สามารถให้ความช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2565 ได้เนื่องจากอยู่นอกพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ รวม 19 จังหวัด เกษตรกร 9,789 ราย รวม 11,422 ตัว เป็นเงินทั้งสิ้น 203,104,720 บาท 4) เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือทุกรายที่ได้รับความเสียหายจากโรคลัมปี สกิน ในระยะเร่งด่วน เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่เกษตรกรว่า รัฐบาลเห็นความสำคัญของอาชีพเกษตรกรและมีความห่วงใยความเป็นอยู่ของเกษตรกร จึงได้พิจารณาแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรที่เข้าข่ายตามหลักเกณฑ์ ดังนี้ เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ ที่มีสัตว์ป่วยตายด้วยโรคลัมปี สกิน ช่วงเกิดภัย ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 ถึง 2 มีนาคม 2565 หรือวันที่ก่อนคณะรัฐมนตรีอนุมัติ ในพื้นที่เกิดภัยทั่วประเทศ และเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมปศุสัตว์ หากเกษตรกรรายใดที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน ให้ขึ้นทะเบียนพร้อมแจ้งความเสียหายตามแบบขอรับความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบภัยธรรมชาติด้านปศุสัตว์ (กษ 01) โดยกำหนดอัตราการช่วยเหลือตามจริง ไม่เกิน 5ตัว/ราย จำแนกตามช่วงอายุ ดังนี้ 4.1 อัตราการช่วยเหลือโค อายุน้อยกว่า 6 เดือน อัตรา 13,000 บาท/ตัว อายุมากกว่า 6 เดือน - 1 ปี อัตรา 22,000 บาท/ตัว อายุมากกว่า 1 - 2 ปี อัตรา 29,000 บาท/ตัว อายุมากกว่า 2 ปี อัตรา 35,000 บาท/ตัว 4.2 อัตราการช่วยเหลือกระบือ อายุน้อยกว่า 6 เดือน อัตรา 15,000 บาท/ตัว อายุมากกว่า 6 เดือน - 1 ปี อัตรา 24,000 บาท/ตัว อายุมากกว่า 1 - 2 ปี อัตรา 32,000 บาท/ตัว อายุมากกว่า 2 ปี อัตรา 39,000 บาท/ตัว ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 และครั้งที่ 18/2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2565 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และครั้งที่ 18/2565 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ดังนี้ 1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2565 1.1 อนุมัติให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัด รองรับและบรรเทาภัยจากโรคติดเชื้อโควิด-19 และเป็นไปตามมาตรฐานด้านการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาล (โครงการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานหอผู้ป่วยและห้องผ่าตัดฯ) ของโรงพยาบาลตำรวจ โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นเดือนสิงหาคม 2565 และปรับลดกรอบวงเงินโครงการ จากเดิม 31.9000 ล้านบาท เป็น 28.4500 ล้านบาท ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 1.2 อนุมัติให้กรมทรัพยากรน้ำเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการปรับปรุง พัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และการเกษตร (โครงการปรับปรุง พัฒนาแหล่งน้ำฯ) โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นเดือนพฤศจิกายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 1.3 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1.1 - 1.2 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว และเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) 1.4 รับทราบผลการดำเนินโครงการปรับโครงสร้างการผลิต การรวบรวมและการแปรรูปของสถาบันเกษตรกร รองรับผลผลิตทางการเกษตร (โครงการปรับโครงสร้างการผลิตฯ) ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ พร้อมทั้งรับทราบการขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างการผลิตฯ จากเดิมเดือนกันยายน 2564 เป็นเดือนกันยายน 2565 1.5 มอบหมายให้กรมส่งเสริมสหกรณ์กำกับติดตามการดำเนินงานและการเบิกจ่ายของสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างการผลิตฯ ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่เสนอ พร้อมทั้งกำกับให้สหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบที่เกี่ยวข้องและจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป 2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 และครั้งที่ 18/2565 2.1 อนุมัติโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 (ครั้งที่ 3) รวม 29 จังหวัด จำนวน 1,138 โครงการ กรอบวงเงินรวม 1,973.3050 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 31 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินการตามความเห็นของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ข้อ 3.2.1 (3) โดยเคร่งครัด 2.2 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ จำนวน 29 จังหวัด (ตามข้อ 2.1) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการและดำเนินการจัดทำแผนความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) โดยเคร่งครัด 2.3 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาค สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กำกับติดตามให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งนำเข้าข้อมูลในระบบ eMENSCR ของโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ได้รับการจัดสรรงบประมาณและสามารถดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จได้ภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ต่อไป 2.4 อนุมัติให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากระดับจังหวัดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (โครงการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากระดับจังหวัดฯ) โดยเปลี่ยนแปลงการจัดหาครุภัณฑ์สำหรับสกัดสมุนไพรของโครงการ จากเดิมใช้กระบวนการ ?สกัดน้ำมันจากสมุนไพร? เป็น ?การทำแห้งแบบแช่เยือกแข็ง? ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 2.5 มอบหมายให้สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยเร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็วและเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด 1 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) 12. เรื่อง การขอลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) [ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด] คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์การลดหย่อนค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเป็นพิเศษ ตามประมวลกฎหมายที่ดินสำหรับกรณีการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ในภารกิจของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามที่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (บจธ.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ร่างประกาศที่สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) เสนอ เป็นการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 สำหรับการบริหารจัดการธนาคารที่ดินของสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) เกี่ยวกับค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ จากอัตราร้อยละ 2 และร้อยละ 1 ตามลำดับ เหลืออัตราร้อยละ 0.01 ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ถึงวันที่ 7 มิถุนายน 2568 เนื่องจากสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) ยังคงมีภารกิจที่ต้องดำเนินการโครงการเพื่อให้เกษตรกรได้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง รวมทั้งป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิในที่ดินของเกษตรกร การกระจายการถือครองที่ดินที่เป็นธรรมและยั่งยืน มีการใช้ประโยชน์ในที่ดินอย่างเหมาะสม รวมทั้งการดำเนินงานตามภารกิจของ บจธ. ในอนาคต เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ตลอดจนเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ทั้งนี้ ได้เคยออกประกาศทำนองเดียวกันนี้มาแล้ว รวม 3 ครั้ง และประกาศฯ ครั้งที่ 3 ได้พ้นกำหนดการใช้บังคับในวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้เห็นชอบด้วย สาระสำคัญของร่างประกาศ ลดหย่อนค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 47 (พ.ศ. 2541) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 สำหรับการบริหารจัดการธนาคารที่ดินของ บจธ. เกี่ยวกับค่าจดทะเบียนการโอนและค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ จากอัตราร้อยละ 2 และร้อยละ 1 ตามลำดับ เหลืออัตราร้อยละ 0.01 ตามราคาประเมินทุนทรัพย์ ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ถึงวันที่ 7 มิถุนายน 2568 ในกรณีดังนี้ 1. การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่เจ้าของที่ดินโอนให้แก่ บจธ. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ของ บจธ. ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรหรือผู้ยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง หรือมีแต่ไม่เพียงพอ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในส่วนที่ผู้โอนและผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ต้องชำระ 2. การโอนอสังหาริมทรัพย์ที่ บจธ. โอนอสังหาริมทรัพย์ให้แก่เกษตรกรหรือผู้ยากจน ในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร หรือผู้ยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองหรือมีแต่ไม่เพียงพอ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในส่วนที่ผู้โอนและผู้รับโอนอสังหาริมทรัพย์มีหน้าที่ต้องชำระ 3. การจำนองอสังหาริมทรัพย์ที่ บจธ. เป็นผู้รับจำนองจากเกษตรกรหรือผู้ยากจน ในส่วนที่ผู้ขอจดทะเบียนมีหน้าที่ต้องชำระ 13. เรื่อง มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศและร่างพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ 2. เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้าภายในประเทศ และร่างพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ สาระสำคัญ 1. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดอบรมสัมมนาภายในประเทศ 1.1 วัตถุประสงค์ เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจภายในประเทศ และสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานด้านการท่องเที่ยว อีกทั้งสนับสนุนการบริโภคและส่งเสริมการจ้างงาน 1.2 กลุ่มเป้าหมาย บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 1.3 ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 1.4 วิธีการดำเนินงาน 1) สิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายค่าห้องสัมมนา ค่าห้องพัก ค่าขนส่ง หรือรายจ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องในการอบรมสัมมนาภายในประเทศที่จัดขึ้นให้แก่ลูกจ้าง หรือค่าบริการของผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยวตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เพื่อการอบรมสัมมนาดังกล่าวที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ได้ดังนี้ 1.1) 2 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในจังหวัดท่องเที่ยวรองหรือในเขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นใดที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดโดยคำแนะนำของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 1.2) 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง สำหรับการอบรมสัมมนาที่จัดในท้องที่อื่นนอกจากท้องที่ตามข้อ 1.1) 1.3) ในกรณีที่การจัดอบรมสัมมนาครั้งหนึ่ง ๆ เกิดขึ้นในท้องที่ตามข้อ 1.1) และข้อ 1.2) ต่อเนื่องกัน ให้หักรายจ่ายที่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใดตามข้อ 1.1) หรือข้อ 1.2) แล้วแต่กรณี และให้หักรายจ่ายที่ไม่สามารถแยกได้ว่าเกิดขึ้นในท้องที่ใดได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายตามที่จ่ายจริง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด 2) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข 2.1) เป็นไปในทำนองเดียวกันกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 405) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้จ่ายเป็นค่าอบรมสัมมนาของลูกจ้างภายในประเทศ 2.2) พื้นที่ 2.2.1) จังหวัดท่องเที่ยวรอง (อ้างอิงจากพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 656) พ.ศ. 2561 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่ท่องเที่ยวสำหรับการอบรมสัมมนา และการเดินทางท่องเที่ยวและที่พักเพิ่มเติมจากจังหวัดท่องเที่ยวรอง) โดยแบ่งเป็นพื้นที่ทั้งจังหวัด 55 จังหวัด และพื้นที่บางอำเภอในจังหวัด 15 จังหวัด 2.2.2) เขตพื้นที่ท่องเที่ยวอื่นที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด โดยคำแนะนำของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 2.2.3) ท้องที่อื่นนอกจากข้อ 2.2.1) และข้อ 2.2.2) ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะต้องตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน 1 ฉบับ 1.5 สูญเสียรายได้ ประมาณการสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวน 334 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจำนวนประมาณ 1,700 ราย เป็นจำนวนเงินประมาณ 1,670 ล้านบาท 2. มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดนิทรรศการ งานแสดงสินค้าภายในประเทศ 2.1 วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสนับสนุนการจัดนิทรรศการและงานแสดงสินค้าภายในประเทศ อีกทั้งสนับสนุนการจ้างงาน 2.2 กลุ่มเป้าหมาย บริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล 2.3 ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 2.4 วิธีการดำเนินงาน 1) สิทธิประโยชน์ทางภาษี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายค่าเช่าพื้นที่หรือค่าบริการในการเข้าร่วมงานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าภายในประเทศ ที่จ่ายไปตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ได้ 2 เท่าของรายจ่ายที่จ่ายจริง ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด 2) หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข 2.1) งานออกร้าน งานนิทรรศการ หรืองานแสดงสินค้าภายในประเทศต้องเริ่มจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 (เริ่มจัดภายในช่วงเวลาดังกล่าวและอาจจัดถึงภายหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ก็ได้) 2.2) ต้องมีหนังสือรับรองจากผู้จัดงานว่าได้เข้าร่วมจัดงานจริง 2.3) ต้องจ่ายค่าเช่าพื้นที่หรือค่าบริการตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะต้องตราพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน 1 ฉบับ 2.5 สูญเสียรายได้ ประมาณการสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลจำนวน 121 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีจำนวนประมาณ 6,050 บูธ เป็นจำนวนเงินประมาณ 605 ล้านบาท 14. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่า เป็นงบประมาณทั้งสิ้น 753,045,572.02 บาท สำหรับค่าชดใช้ราคาสุกรและค่าชดใช้ราคาสิ่งของที่ถูกทำลาย ดังนี้ 1. ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลายที่ยังคงค้างชำระ ซึ่งได้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2564 ? 31 มีนาคม 2565 จำนวนเงินทั้งสิ้น 231,339,948.52 บาท 2. ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลายที่ยังคงค้างชำระ ซึ่งได้ดำเนินการก่อนวันที่ 16 ตุลาคม 2564 จำนวนเงินทั้งสิ้น 18,605,623.50 บาท 3. ค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลายตามแผนการดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรค อหิวาต์แอฟริกาในสุกร และโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 3 ของฟาร์ม ของจำนวนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย - รายเล็ก ซึ่งมีประมาณ 100,000 ราย คิดเป็นจำนวนเกษตรกรทั้งสิ้น 3,000 ราย จำนวนสุกร 60,000 ตัว จะต้องใช้งบประมาณในการจ่ายค่าชดใช้ราคาสัตว์ที่ถูกทำลายเพิ่มเติมอีก 402,300,000 บาท 4. ค่าชดใช้ราคาสิ่งของที่ถูกทำลาย (อาหารสัตว์) เป็นเงิน 100,800,000 บาท (คำนวนที่สุกรขุน 1 ตัว กินอาหารวันละประมาณ 3 กิโลกรัม/ตัว/วัน ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 20บาท สำรองอาหารไว้ 28 วัน) ทั้งนี้ ตามข้อ 3 และ 4 กรมปศุสัตว์จะจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเป็นรายเดือนพร้อมทั้งรายละเอียดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงเพื่อขอทำความตกลงกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป 15. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อควบคุมโรคลัมปี สกินในโค กระบือ คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อควบคุมโรคลัมปี สกินในโค กระบือ ตามข้อมูลที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ในวงเงินงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 231,950,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการควบคุมโรลัมปี สกินในโค กระบือ ดังนี้ 1. ค่าจัดซื้อวัคซีนโรคลัมปี สกิน จำนวน 6,300,000 โด๊ส เป็นเงิน 226,800,000 บาท 2. ค่าจัดซื้อวัสดุวิทยาศาสตร์เพื่อการแพทย์ในการฉีดวัคซีน เป็นเงิน 5,150,000 บาท ต่างประเทศ 16. เรื่อง ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ประจำปี ค.ศ. 2022 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีของการประชุมเวทีหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (High-Level Political Forum on Sustainable Development: HLPF) ประจำปี ค.ศ. 2022 (ร่างปฏิญญาฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และ/หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ร่วมรับรองร่างปฏิญญาฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ [คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Economic and Social Council: ECOSOC) จัดการประชุม HLPF ประจำปี ค.ศ. 2022 ระหว่างวันที่ 5 ? 15 กรกฎาคม 2565 ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยจะมีการรับรองร่างปฏิญญาฯ ในการประชุมดังกล่าวในวันที่ 15 กรกฎาคม 2565] สาระสำคัญของเรื่อง 1. ECOSOC มีกำหนดการจัดการประชุม HLPF ประจำปี ศ.ศ. 2022 ภายใต้หัวข้อหลัก ?การพื้นฟูให้กลับมาดีกว่าเดิมจากโรคโควิด 19 และยกระดับการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 อย่างเต็มที่ [Building back better from the coronavirus disease (COVD - 19) while advancing the full implementation of the 2030 Agenda for Sustainable Development]? โดยจะหารือเชิงลึกเกี่ยวกับ SDGs 5 เป้าหมาย ได้แก่ เป้าหมายที่ 4 การศึกษาที่มีคุณภาพ (Quality Education) เป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality) เป้าหมายที่ 14 ทรัพยากรทางทะเล (Life below Water) เป้าหมายที่ 15 ระบบนิเวศบนบก (Life on Land) และเป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships for the Goals) เพื่อกำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการขับเคลื่อน SDGs ตลอดจนเตรียมการสำหรับการประชุม 2030 SDG Summit ในเดือนกันยายน 2566 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาทั้งนี้ ในการประชุม HLPF ประจำปี ค.ศ. 2022 จะมีการนำเสนอรายงานการทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ระดับชาติโดยสมัครใจ (Voluntary National Review: VNR) จาก 44 ประเทศ ซึ่งมีประเทศสมาชิกอาเซียน 1 ประเทศ คือ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 2. ร่างปฏิญญาฯ มีเนื้อหาเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกสหประชาชาติที่จะร่วมกันดำเนินการเพื่อบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development : 2030 Agenda) และตอบสนองและฟื้นฟูจากวิกฤตโควิด 19 ในระดับโลก รวมทั้งเป็นการสะท้อนผลการประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินการตาม SDGs ทั้ง 5 เป้าหมาย (ตามข้อ 1) ที่จะมีการหารือเชิงลึกในปีนี้ 17. เรื่อง ผลการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ 27 คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2565 และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการเยือนญี่ปุ่นฯ ต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง กต. รายงานว่า 1. เมื่อวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2565 นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเยือนญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ 27 ภายใต้หัวข้อ ?การทบทวนบทบาทของเอเชียในโลกที่แบ่งฝ่าย? เพื่อแสดงวิสัยทัศน์ของไทยภายใต้บริบทความท้าทายของภูมิภาคในปัจจุบัน และได้หารือกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (นายคิชิดะ ฟูมิโอะ) ประธานสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (เคดันเรน) และผู้ว่าการธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation: JBIC) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ/ผลการหารือฯ (1) การกล่าวปาฐกถาของนายกรัฐมนตรี ภายใต้หัวข้อ ?การทบทวนบทบาทของเอเชียในโลกที่แบ่งฝ่าย? เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 นายกรัฐมนตรีได้แบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับสถานการณ์ความท้าทายและความชะงักงันในภูมิภาคและในโลกว่า ภูมิภาคเอเชียควรจะต้องยืดหยุ่นต่อการปรับตัวและสนับสนุนความยั่งยืน รวมทั้งสร้างสังคมที่ครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในช่วงสองปีที่ผ่านมาทำให้ประเทศต่าง ๆ ได้เรียนรู้ว่า ความยืดหยุ่นปรับตัวต่อความชะงักงันใด ๆ เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการประคับประคองและการเจริญเติบโต ในการนี้นายกรัฐมนตรีได้เสนอประเด็นที่ไทยเชื่อว่าประเทศในภูมิภาคเอเชียจะร่วมมือกันได้เพื่อก้าวข้ามความท้าทายที่เผชิญในปัจจุบัน ได้แก่ (1) การกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2) การสนับสนุนระบบพหุภาคีต่อไป เนื่องจากไม่มีประเทศใดที่สามารถรับมือและจัดการกับความท้าทายต่าง ๆ ได้เพียงลำพัง และ (3) การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจจะต้องเกิดควบคู่กับความยั่งยืน ซึ่งแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model: BCG Model) ของไทยจะมีส่วนช่วยส่งเสริมแนวทางนี้ได้ (2) การพบหารือกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (นายคิชิดะฯ) เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2565 นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (นายคิชิดะฯ) เพื่อย้ำความสำคัญของการขับเคลื่อนประเด็นต่าง ๆ ตามผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 ให้มีความคืบหน้าและเกิดผลเป็นรูปธรรม สรุปได้ ดังนี้ (2.1) การยกระดับความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันที่จะตั้งเป้าหมายการยกระดับความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น เป็น ?หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน? เพื่อสะท้อนพัฒนาการของความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและรอบด้านในช่วงที่ผ่านมา โดยจะประกาศเรื่องนี้ในโอกาสการหารือทวิภาคีครั้งต่อไปห้วงการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเปคในเดือนพฤศจิกายน 2565 (2.2) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ (2.2.1) แผนยุทธศาสตร์ร่วมด้านเศรษฐกิจ ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกันที่จะให้ไทยและญี่ปุ่นประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ร่วมด้านเศรษฐกิจในการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในระยะ 5 ปี ในห้วงการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 6 (Thailand-Japan High Level Joint Commission: HLJC) ช่วงเดือนกันยายน 2565 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (2.2.2) การขยายการลงทุนจากญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย เช่น 1) ขยายการลงทุนของญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคตของไทย [เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) เคมีภัณฑ์ และเศรษฐกิจ BCG] 2) ขอรับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยต่อความสนใจของเอกชนญี่ปุ่นที่จะลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) (เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา) และ 3) ขยายจำนวนสถาบันโคเซ็นในไทยและจัดตั้ง KOSEN Education Center (2.2.3) การท่องเที่ยว นายกรัฐมนตรีขอบคุณที่รัฐบาลญี่ปุ่นเลือกไทยเป็น 1 ใน 4 ประเทศเป้าหมายสำหรับการทดลองเปิดรับนักท่องเที่ยวกลุ่มเล็กเดินทางเข้าญี่ปุ่น และเชิญชวนชาวญี่ปุ่นเดินทางมาท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้น (2.3) ความร่วมมือในกรอบพหุภาคีและในประเด็นสถานการณ์ในภูมิภาค นายกรัฐมนตรีแจ้งว่า ไทยได้รับมติเห็นชอบจากอาเซียนในการเป็นที่ตั้งสำนักเลขาธิการของศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่และสำนักงานด้านการตอบสนอง และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้ยืนยันการสนับสนุนไทยในการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปคในปีนี้ และการเดินทางมาไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมฯ ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้แสดงความพร้อมของไทยที่จะหารือกับสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศต่าง ๆ เกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ในเมียนมาและสถานการณ์ในยูเครนที่ยืดเยื้อ และย้ำความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนของทั้งสองประเทศ (3) การพบหารือกับประธานสมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น (เคดันเรน) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 นายกรัฐมนตรีได้หารือกับประธานเคดันเรน (นายโทคุระ มาซาคาสึ) และประธานคณะกรรมการการค้าและเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ไทย (นายซูซูกิ โยชิฮิสะ) ภายใต้เคดันเรน เกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ดังนี้ (3.1) ประธานเคดันเรนเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับไทยมีลักษณะเกื้อกูลกัน และไทยเป็นหนึ่งในฐานการผลิตที่สำคัญของญี่ปุ่นในอาเซียนโดยความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อเดือนมกราคม 2565 ได้ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันและเห็นว่าควรกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจผ่านความร่วมมือด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรม และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยญี่ปุ่นยินดีที่จะสนับสนุนไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีสนับสนุนให้ญี่ปุ่นขยายการลงทุนในไทย และเห็นว่าทั้งสองประเทศควรร่วมมือกันลงทุนในอุตสาหกรรมใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มเพื่อรองรับสถานการณ์ในอนาคต พร้อมแจ้งว่า เป้าหมายของไทยคือการพัฒนาด้านเศรษฐกิจผ่านยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง จึงสนับสนุนให้ญี่ปุ่นขยายห่วงโซ่อุปทานเพื่อเชื่อมโยงไปยังประเทศเพื่อนบ้านของไทยตามนโยบาย Thailand+1 (3.2) ประธานคณะกรรมการการค้าและเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ไทยแจ้งแผนการนำสมาชิกกว่า 70 บริษัทภายใต้คณะกรรมการฯ เยือนไทยในห้วงเดือนพฤศจิกายน 2565 หรือต้นปี 2566 เพื่อพบหารือกับคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) และเยี่ยมชมภาคอุตสาหกรรม โดยประสงค์เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีด้วย (4) การพบหารือกับผู้ว่าการ JIBC และที่ปรึกษาพิเศษนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 นายกรัฐมนตรีได้หารือกับผู้ว่าการ JBIC (นายมาเอดะ ทาดาชิ) และที่ปรึกษาพิเศษนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (นายมุราอิ ฮิเดกิ) โดยนายกรัฐมนตรีได้ขอรับความร่วมมือ JBIC ในการสนับสนุนการดำเนินการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยง 3 สนามบิน กับ EEC เพื่อให้เป็นตัวอย่างความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จระหว่าง 3 ฝ่าย (ไทย-จีน-ญี่ปุ่น) รวมทั้งการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับไทยในฐานะศูนย์กลางการลงทุนของญี่ปุ่นในอาเซียน ซึ่งผู้ว่าการ JBIC แจ้งว่า เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ที่ได้มาเยือนไทย ได้แจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งมีบริษัทวิสาหกิจเริ่มต้นของญี่ปุ่นและบริษัทปิโตรนาสของมาเลเซียและเอกชนของอิตาลีเข้าร่วมด้วย โดยเห็นว่าโครงการดังกล่าวมีศักยภาพสำหรับไทยและเอกชนด้านพลังงานของไทย (5) การศึกษาดูงาน ณ Haneda Innovation (HI) City นายกรัฐมนตรีได้ศึกษาดูงานด้านเมืองอัจฉริยะ ณ HI City กรุงโตเกียว ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมศูนย์วิจัยและการทดลองเทคโนโลยีล้ำสมัยด้านการเดินทางและขนส่งอัจฉริยะ เทคโนโลยีหุ่นยนต์อัจฉริยะ เทคโนโลยีทางการแพทย์ สถานีไฮโดรเจน และแหล่งรวมของร้านค้า โรงแรม สำนักงาน และศูนย์จัดการประชุม โดยขอให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องนำตัวอย่างความสำเร็จจาก HI City ไปใช้พัฒนาเมืองอัจฉริยะในไทยต่อไป 2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการเยือนญี่ปุ่นฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ประเด็น การดำเนินการที่สำคัญ หน่วยงานที่รับผิดชอบ (1) การยกระดับสถานะความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น เป็น ?หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน? หารือกับฝ่ายญี่ปุ่นเกี่ยวกับแนวทางการประกาศการยกระดับความสัมพันธ์ เป็น ?หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน? ในห้วงการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเปคในเดือนพฤศจิกายน 2565 กต. (2) การจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ร่วมด้านเศรษฐกิจในการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ระยะ 5 ปี หารือกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องของไทยและฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นในการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ ฉบับสมบูรณ์ และหารือเกี่ยวกับช่วงเวลาและแนวทางการในประกาศแผนยุทธศาสตร์ฯ ในห้วงการประชุม HLJC ในเดือนกันยายน 2565 กต. กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) และสำนักงานคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) (3) การส่งเสริมการลงทุนจากญี่ปุ่นในไทย ดำเนินการเพื่อดึงดูดการลงทุนจากญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมเป้าหมายแห่งอนาคตของไทย เช่น สาขา EV และเคมีภัณฑ์ สาขาเศรษฐกิจ BCG การแพทย์ ดิจิทัล และเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงพื้นที่ EEC กค. กต. อว. กษ. ดศ. พน. สธ. อก. สกท. สกพอ. และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (4) การพัฒนา EEC พิจารณาข้อเสนอแนะของญี่ปุ่นเกี่ยวกับความสนใจของเอกชนญี่ปุ่นที่จะลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานใน EEC เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และโครงการท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา โดยคำนึงถึงความคุ้มค่า ประโยชน์ และความเหมาะสมในด้านต่าง ๆ กค. กต. คค. และ สกพอ. (5) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หารือรายละเอียดเพื่อจัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมเกี่ยวกับการขยายจำนวนการจัดตั้งสถาบันโคเซ็นในไทยเพิ่มเติมและการจัดตั้ง KOSEN Education Center และเสนอฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณา กค. กต. อว. ศธ. และ อก. (6) ความร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อสร้างสังคมที่ปลอดคาร์บอน ภายใต้ข้อริเริ่ม Asia Zero-Emissions Community หารือกับฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อดำเนินการร่วมมือภายใต้แนวคิด Asia Zero-Emissions Community ของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เพื่อบรรลุเป้าหมายสังคมปลอดคาร์บอน กต. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พน. และ อก. (7) การเยือนไทยของคณะกรรมการการค้าและเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ไทย ภายใต้เคดันเรน หารือกับเคดันเรนเพื่อเตรียมการสำหรับการเยือนไทยของประธานคณะกรรมการการค้าและเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ไทยและสมาชิกกว่า 70 บริษัทภายใต้คณะกรรมการฯ เพื่อพบหารือกับ กกร. และเยี่ยมชมภาคอุตสาหกรรมในห้วงเดือนพฤศจิกายน 2565 หรือต้นปี 2566 กต. อว. ดศ. พน. อก. สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.) สกท. สกพอ. และ กกร. (8) การศึกษาดูงาน ณ HI City ดำเนินการศึกษา HI City และนำตัวอย่างความสำเร็จที่เหมาะสมมาปรับใช้ในการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยต่อไป กต. อว. คค. ดศ. และ พน. 18. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน สมัยพิเศษ (AEMs? Special Meeting) ณ เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน สมัยพิเศษ (ASEAN Economic Ministers? Special Meeting: AEMs? Special Meeting) ณ เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2565 โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (นายสรรเสริญ สมะลาภา) เข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. ผลการประชุม AEMs? Special Meeting มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ ประเด็น สาระสำคัญ (1) สถานการณ์เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจของอาเซียนมีการฟื้นฟูและมีแนวโน้มเติบโตร้อยละ 4.9 ในปี 2565 และร้อยละ 5.2 ในปี 2566 โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มมีการเปิดประเทศและประชากรได้รับการฉีดวัคซีนประมาณร้อยละ 70 แต่เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองโลกยังมีความท้าทาย เช่น สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสาธารณรัฐประชาชนจีน การชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ที่ประชุมฯ จึงเห็นว่าอาเซียนต้องเพิ่มความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคโดยเร่งดำเนินการข้อริเริ่มภายใต้กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนและพัฒนาภูมิภาคให้ก้าวไปสู่ทิศทางสำคัญในอนาคตทั้งในด้านความเป็นดิจิทัลและด้านความยั่งยืน (2) ความร่วมมือในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก หารือเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework: IPEF)1 ของสหรัฐอเมริกาและยุทธศาสตร์เพื่อความร่วมมือในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นเวทีใหม่ที่ทั้งสองประเทศต้องการมีส่วนร่วมในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะในประเด็นใหม่ ๆ เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พลังงานสะอาด ดิจิทัล ห่วงโซ่อุปทาน โดยที่ประชุมฯ ยืนยันหลักการของอาเซียนตามเอกสารมุมมองของอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก ที่มุ่งเน้นการเป็นภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส ยึดมั่นในหลักเกณฑ์และความเป็นแกนกลางของอาเซียน และในส่วนการเข้าร่วมประกาศความร่วมมือในกรอบ IPEF ขอให้ประเทศสมาชิกระมัดระวังท่าทีในการพิจารณาเข้าร่วมเพื่อรักษาความสมดุลในภูมิภาคและยึดหลักการเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat: ASEC) ประเมินโอกาสและประเด็นท้าทายของ IPEF และระบุสาขาที่อาเซียนจะได้รับประโยชน์จากกรอบดังกล่าว (3) การให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียจะสามารถแจ้งการให้สัตยาบันความตกลง RCEP ได้ภายในไตรมาสที่สามของปีนี้และมีการตกลงท่าทีร่วมของอาเซียนแล้ว โดยประเทศสมาชิก RCEP สามารถพิจารณาวันที่ที่ความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา2 แตกต่างกันได้และแจ้ง ASEC เพื่อให้แจ้งประเทศสมาชิกทราบต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบในหลักการให้มีการประชุมรัฐมนตรี RCEP และการประชุมสุดยอด RCEP ในปีนี้ (ครบรอบ 10 ปี การประกาศเริ่มเจรจาความตกลง RCEP) โดยราชอาณาจักรกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนจะหารือในรายละเอียดร่วมกับ ASEC ต่อไป (4) การประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 12 (the Twelfth Ministerial Conference of World Trade Organization: MC12) หารือเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุม MC 12 ที่จะจัดในเดือนมิถุนายน 2565 ณ นครเจนีวา โดยเน้นย้ำข้อตกลงร่วมของประเทศสมาชิกที่จะต้องมีความโปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติและให้ความสำคัญกับระบบการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้างและยึดถือกฎเกณฑ์ทางการค้าเป็นพื้นฐานสำคัญ (5) การค้ากับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้องของสหภาพยุโรป ได้แก่ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน กฎหมายว่าด้วยการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและกฎหมายว่าด้วยสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งมาตรการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน เช่น ภาระทางต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตสินค้า การใช้เงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเชื่อมโยงกับการค้าและเป็นประเด็นสำคัญในเวทีโลกโดยเน้นย้ำว่าการใช้นโยบายด้านการค้าที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและหลักการที่ยอมรับโดยทั่วไป รวมถึงหลักการภายใต้องค์การการค้าโลก ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ ASEC ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการของสหภาพยุโรปเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับอาเซียนต่อไป (6) ข้อริเริ่มโครงการพื้นฐานอาเซียนในอนาคต หารือแนวทางพัฒนาความร่วมมือในโครงการอุตสาหกรรมของอาเซียนซึ่งเดิมมุ่งเน้นในอุตสาหกรรมพื้นฐาน เช่น ปุ๋ยยูเรีย เหมืองแร่ทองแดง โดยเสนอให้พิจารณาโครงการอุตสาหกรรมใหม่ ๆ ที่อาเซียนจะสามารถเพิ่มการค้าภายในภูมิภาคและส่งเสริมห่วงโซ่มูลค่าโลก โดยเฉพาะในสาขาสำคัญที่จะช่วยรับมือกับประเด็นความมั่นคงทางอาหารและสาธารณสุข เช่น อาหาร วัคซีน ยา และเครื่องมือแพทย์ โดยคำนึงถึงความสนใจและความเชี่ยวชาญของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ ASEC ศึกษาความเป็นไปได้ของอุตสาหกรรมที่อาเซียนจะสามารถจัดตั้งโครงการหรือข้อริเริ่มความร่วมมือร่วมกัน โดยคำนึงถึงประเด็นใหม่ ๆ เช่น เศรษฐกิจหมุนเวียน เทคโนโลยี และการประเมินความพร้อมของประเทศสมาชิก 2. พณ. มีความเห็น/ข้อสังเกตว่าอินโดนีเซียพยายามผลักดันสมาชิกอาเซียนให้มีท่าทีและยุทธศาสตร์ร่วมกันในเรื่องความร่วมมือในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศได้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดตัวกรอบ IPEF ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล3 1 กรอบความร่วมมือ IPEF เป็นแนวคิดริเริ่มของสหรัฐฯ ร่วมกับประเทศหุ้นส่วนในภูมิภาคเพื่อเป็นกรอบความร่วมมือระดับพหุภาคี มีจุดประสงค์หลักในการยกระดับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันและเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อรับมือกับประเด็นท้าทายรูปแบบ ใหม่ ๆ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ประกอบด้วยความร่วมมือ 4 เสาหลัก ได้แก่ (1) การค้า (2) ห่วงโซ่อุปทาน (3) พลังงานสะอาด การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และโครงสร้างพื้นฐาน และ (4) ภาษีและการต่อต้านการทุจริต 2 เมียนมาได้ให้สัตยาบันในความตกลง RCEP แล้ว แต่ ASEC ยังไม่มีการเวียนสัตยาบันของเมียนมาแก่ประเทศสมาชิก RCEP ครบทุกประเด็น เนื่องจากประเทศสมาชิก RCEP ยังมีข้อกังวลที่เมียนมายังไม่สามารถบรรลุฉันทามติอาเซียนทั้ง 5 ข้อในการจัดการปัญหาการเมืองภายในประเทศ 3 ประเทศที่เข้าร่วมการเปิดตัวกรอบ IPEF ประกอบด้วย 13 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐอินเดีย เครือรัฐออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี เนการาบรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและเมียนมาไม่ได้รับเชิญ) แต่งตั้ง 19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอแต่งตั้ง นางเพชรรัตน์ เสรีพันธ์พานิช ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ) สำนักงบประมาณ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายโอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้ง นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เสนอ รับโอน พลตำรวจตรี เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ ข้าราชการตำรวจ ตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 6 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มาบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป ทั้งนี้ ข้าราชการดังกล่าวได้ผ่านการประเมินสมรรถนะหลักทางการบริหารจากสำนักงาน ก.พ. เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 และผู้มีอำนาจสั่งบรรจุทั้งสองฝ่ายได้ตกลงยินยอมการโอนแล้ว 23. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของอธิบดีกรมปศุสัตว์ (ครั้งที่ 1) (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 ต่อไปอีก (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 ทั้งนี้ นายสรวิศ ธานีโต จะเกษียณอายุราชการในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอการแต่งตั้ง นางสาวสมปรารถนา วิกรัยเจิดเจริญ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป 25. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการสภาการศึกษา จำนวน 28 รูป/คน ดังนี้ 1. นายบุญเลี้ยง ไขษรศักดิ์ กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรเอกชน 2. นายนุชากร มาศฉมาดล กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. ศาสตราจารย์เกียรติคุณอมร ลีลารัศมี กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรวิชาชีพ 4. พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กรรมการที่เป็นพระภิกษุซึ่งเป็นผู้แทนคณะสงฆ์ 5. พระธรรมวิสุทธาจารย์ (แสวง ธมฺเมสโก) กรรมการที่เป็นพระภิกษุซึ่งเป็นผู้แทนคณะสงฆ์ 6. นายสมัย เจริญช่าง กรรมการที่เป็นผู้แทนคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย 7. นายชัชวัสส์ เศรษฐี กรรมการที่เป็นผู้แทนองค์กรศาสนาอื่น 8. นางสาวกรองทอง บุญประคอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศึกษา) 9. ศาสตราจารย์บังอร เสรีรัตน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศึกษา) 10. นายบุญรักษ์ ยอดเพชร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศึกษา) 11. นายอำนาจ วิชยานุวัติ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการศึกษา) 12. ศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านกฎหมาย) 13. นายอดุลย์ พิมพ์ทอง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านกฎหมาย) 14. รองศาสตราจารย์สุริยเดว ทรีปาตี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านศาสนา วัฒนธรรม และภูมิปัญญา) 15. นายบัณฑิตย์ ศรีพุทธางกูร กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการกีฬา กิจการเยาวชน ลูกเสือ ยุวกาชาด และเนตรนารี) 16. นายสุรศักดิ์ มุกประดับ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการกีฬา กิจการเยาวชน ลูกเสือ ยุวกาชาด และเนตรนารี) 17. นายเหมพงศ์ ทวีกาญจน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการกีฬา กิจการเยาวชน ลูกเสือ ยุวกาชาด และเนตรนารี) 18. นางปัทมา วีระวานิช กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา และการวัดและประเมินผลการศึกษา) 19. รองศาสตราจารย์ดนุวัศ สาคริก กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ธุรกิจและการบริการ) 20. นายสกล กิตติ์นิธิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านพัฒนาสังคมและสิทธิมนุษยชน) 21. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประมา ศาสตระรุจิ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร) 22. ศาสตราจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร) 23. ศาสตราจารย์อภิชาติ จิตต์เจริญ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการสื่อสาร) 24. นางสาวนิรมล เมธีสุวกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านสื่อสารมวลชน) 25. นายคมสัน โพธิ์คง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเมืองการปกครอง) 26. นายชาติชาย เกตุพรหม กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม) 27. นายวิริยะ รามสมภพ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านส่งเสริมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต) 28. นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป