สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 สิงหาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday August 2, 2022 16:36 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (2 สิงหาคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้


กฎหมาย
                    1.            เรื่อง            ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม                                                  ควบคุม (ฉบับที่ ..)
                    2.          เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..)

พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม)

                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน                                         พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    4.           เรื่อง          การต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ของสำนักงาน

ธนานุเคราะห์

                    5.           เรื่อง           นโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
                    6.           เรื่อง           ร่างแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2559 - 2565) ฉบับ                                                  ปรับปรุง มาตรฐานสถิติ และการปรับปรุงคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดย

มติคณะรัฐมนตรี

                    7.           เรื่อง           รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2565
                    8.           เรื่อง           รายงานผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    9.           เรื่อง           สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการ                                                  นายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 14 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2565)
                    10.           เรื่อง           การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                                        งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการ                                                  โครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม
                    11.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน                                         และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2565 ? 2570
                    12.           เรื่อง            รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคม 2565
                    13.           เรื่อง            ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม

ครั้งที่ 13/2565 และครั้งที่ 14/2565

                    14.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้  ภายใต้พระราช                                                  กำหนดฯ เพิ่มเติม  พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2565

ต่างประเทศ
                    15.            เรื่อง           ร่างบันทึกความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับ                                                  กระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยการจัดนายทหารติดต่อของ

กองทัพไทยประจำกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด ? แปซิฟิก

                    16.            เรื่อง            ขอความเห็นชอบต่อร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญา                                                  มิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเดนมาร์ก กรีซ                                                   เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเตส์ และ
                    17.            เรื่อง            ร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่ง                                                  ราชอาณาจักรไทยและกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น                                         ว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัล

แต่งตั้ง
                    18.            เรื่อง            การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    19.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง                                                   (กระทรวงยุติธรรม)
?

กฎหมาย
1.  เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่ ..)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่ ..) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ  ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว  และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
1.          โดยที่ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขออนุญาต การอนุญาต การต่อ
อายุใบอนุญาต การโอนใบอนุญาต การออกใบรับรองและการออกใบแทนตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน จึงได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดแบบคำขออนุญาต ใบอนุญาต ใบรับรอง คำสั่ง และแบบหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2564 เพื่อปรับปรุงแบบคำขออนุญาต แบบใบอนุญาต แบบใบรับรอง แบบคำสั่งและแบบหนังสือตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2528) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้สอดคล้องกัน โดยในส่วนของแบบคำขอต่าง ๆ ได้กำหนดให้ต้องแนบหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมหรือวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมที่ออกโดยสภาสถาปนิกหรือสภาวิศวกร แล้วแต่กรณี เป็นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมพร้อมกับคำขอ รวมทั้งได้กำหนดแบบหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมหรือสถาปัตยกรรมควบคุมไว้ด้วย ประกอบกับมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร  พ.ศ. 2522  และที่แก้ไขเพิ่มเติม  บัญญัติให้ผู้ใดจะก่อสร้าง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามแบบที่คณะกรรมการควบคุมอาคารกำหนดพร้อมด้วยเอกสารและหลักฐานซึ่งรวมถึงหนังสือรับรองการได้รับใบญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร โดยอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับหลักฐานรับรองการได้รับอนุญาตดังกล่าว กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2544 กำหนดให้กรณีบุคคลธรรมดา ฉบับละ        500 บาท และนิติบุคคล ฉบับละ 5,000 บาท
                    2. สภาวิศวกรเห็นว่า เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนและสมาชิกสภาวิศวกร เห็นสมควรแก้ไขค่าธรรมเนียมหลักฐานรับรองการได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสำหรับบุคคลธรรมดา ในกรณีหนังสือรับรองการได้รับใบอนุญาต  ซึ่งต้องใช้เป็นหลักฐานในการยื่นคำต่าง ๆ ตามกฎกระทรวงกำหนดแบบคำขออนุญาต ใบอนุญาต ใบรับรอง คำสั่ง  และแบบหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2564  จากเดิมฉบับละ 500 บาท  แก้ไขเป็นฉบับละ 20 บาท และแยกการกำหนดค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ซึ่งต้องใช้เป็นหลักฐานในการแจ้งต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 รวมทั้งหนังสือรับรองที่จะนำไปใช้เป็นหลักฐานในกรณีอื่น ๆ โดยคงอัตราเดิม ฉบับละ 500 บาท จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่..)  พ.ศ. .... ขึ้น และได้จัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกสภาวิศวกรและประชาชนด้วยแล้ว โดยส่วนใหญ่เห็นพ้องกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าว
                    3. สภาวิศวกรได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ                    พ.ศ. 2561 แล้ว โดยรายงานว่าการลดค่าธรรมเนียมหลักฐานรับรองการได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสำหรับบุคคลธรรมดา เป็นการบริหารจัดการรายได้ของสภาวิศวกรตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 การลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวมิได้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือการบริหารจัดการรายได้ของสภาวิศวกรหรือผลกระทบต่อรัฐแต่อย่างใด โดยการลดค่าธรรมเนียมดังกล่าว                  ยังสามารถครอบคลุมในเรื่องค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์การให้บริการออกหลักฐานรับรองการได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลักได้อย่างเหมาะสม
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    แยกการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในส่วนของค่าใบแทนใบอนุญาต และค่าหลักฐานรับรองการได้รับอนุญาต โดยกำหนดค่าหลักฐานรับรองการได้รับอนุญาตสำหรับบุคคลธรรมดาออกเป็น 2 ประเภทให้ชัดเจน คือ 1) หนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม เพื่อนำไปใช้ประกอบเป็นหลักฐานตามกฎกระทรวงกำหนดแบบคำขออนุญาต ใบอนุญาต ใบรับรอง คำสั่ง และแบบหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2564   ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และ 2) หนังสือรับรองการได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือหนังสือรับรองการได้รับใบอนุญาตเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในกรณี อื่น ๆ โดยมีค่าธรรมเนียม ดังนี้
                    1. แก้ไขค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สำหรับบุคคลธรรมดา เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานตามกฏกระทรวงกำหนดแบบคำขออนุญาต ใบอนุญาต ใบรับรอง คำสั่ง และแบบหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จากเดิมฉบับละ 500 บาท เป็นฉบับละ 20 บาท
                    2. คงเดิมค่าธรรมเนียมหนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สำหรับบุคคลธรรมดา เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร             พ.ศ. 2522 หรือเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในกรณีอื่น ๆ ฉบับละ 500 บาท

กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม พ.ศ. 2544          ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....           หมายเหตุ
(4) ค่าใบแทนใบอนุญาตหรือหลักฐานรับรองการได้รับใบอนุญาต
          บุคคลธรรมดา ฉบับละ 500 บาท
          นิติบุคคล  ฉบับละ 5,000 บาท           (4) ค่าใบแทนใบอนุญาตหรือหลักฐานรับรองการได้รับใบอนุญาต ดังนี้
          (ก) ค่าใบแทนใบอนุญาต
             บุคคลธรรมดา ฉบับละ 500 บาท
             นิติบุคคล       ฉบับละ 5,000 บาท
          (ข) ค่าหลักฐานรับรองการได้รับอนุญาต
             (1) บุคคลธรรมดา
                ก) หนังสือรับรองการได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานตามกฎกระทรวงกำหนดแบบคำขออนุญาต ใบอนุญาต  ใบรับรอง คำสั่ง และแบบหนังสือตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร   พ.ศ. 2564 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522                     ฉบับละ 20 บาท
                ข) หนังสือรับรองการได้รับใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานตามมาตรา 39 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หรือหนังสือรับรองการได้รับใบอนุญาตเพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานในกรณีอื่น ๆ         ฉบับละ 500 บาท
             2) นิติบุคคล       ฉบับละ 5,000 บาท





   แยกการกำหนด ค่าหลักฐานรับรองการได้รับอนุญาต สำหรับบุคคลธรรมดา เป็น 2 ประเภทให้ชัดเจน


    แก้ไขค่าธรรมเนียม       (จากเดิม ฉบับละ 500 บาท)


   คงเดิม
   คงเดิม




2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง (ฉบับที่ ..)                พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงยุติธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุด ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16 การปฏิรูปประเทศ ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                    2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ
                    3. ให้สำนักงานศาลปกครองรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุด ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่สำนักงานศาลปกครองเสนอ เป็นการเพิ่มเติมบทนิยามคำว่า                        ?คดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม? แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขในการฟ้องคดีกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ เพิ่มเติมเงื่อนไขในการฟ้องคดีกรณีผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มเติมอำนาจให้ศาลปกครองกำหนดวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มเติมให้คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีผลผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในเหตุแห่งการฟ้องคดีหรือหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น               ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายด้วยก็ได้ เพิ่มเติมอำนาจให้ศาลปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้มีอำนาจกำหนดคำบังคับในคำพิพากษาเกินกว่าหรือแตกต่างจากคำขอของผู้ฟ้องคดีได้ มีอำนาจกำหนดในคำพิพากษาถึงการสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำบังคับในคำพิพากษานั้น และมีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ รวมทั้งให้มีการจัดตั้งสำนักพัฒนาระบบคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นในสำนักงานศาลปกครอง ซึ่งการที่ศาลปกครองได้มีเครื่องมือหรือกลไกพิเศษในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จะเป็นการอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองได้ง่ายยิ่งขึ้น และประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายในคดีปกครอง โดยเฉพาะคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจะได้รับการเยียวยาแก้ไขความเดือดร้อนเสียหายอันเป็นผลจากมูลแห่งคดีได้ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริงได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งจะทำให้สามารถออกคำบังคับให้หน่วยงานทางปกครองอื่นที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมแก้ไขปัญหาที่เกิดจากมูลแห่งคดีได้อย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการดูแลรักษาและฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ                       มีประสิทธิภาพต่อไป และคณะกรรมการบริหารศาลปกครองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    สำหรับการจัดตั้งสำนักพัฒนาระบบคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ศาลปกครองจะออกกฎหมายลำดับรอง คือ ร่างประกาศ ก.บ.ศป. เรื่อง การแบ่งส่วนราชการและอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการในสำนักงานศาลปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อจัดตั้งสำนักพัฒนาระบบคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นในสำนักงานศาลปกครอง ส่วนอัตรากำลังจะใช้อัตรากำลังที่มีอยู่แล้ว ทำให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแต่อย่างใด
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    1. เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า ?คดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม?
                    2. แก้ไขเพิ่มเติมเงื่อนไขในการฟ้องคดีกรณีที่มีกฎหมายกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการสำหรับแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องใดไว้โดยเฉพาะ เพิ่มเติมเงื่อนไขในการฟ้องคดีกรณีผู้มีสิทธิฟ้องคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มเติมการฟ้องคดีแบบกลุ่ม และเพิ่มเติมอำนาจให้ศาลปกครองกำหนดวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม โดยต้องคำนึงถึงหลักการป้องกันหรือหลักข้อควรระวังความเสียหายอย่างร้ายแรงที่จะเกิดแก่ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือแก่สุขอนามัยของประชาชนประกอบด้วย
                    3. เพิ่มเติมให้คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีผลผูกพันบุคคลภายนอกซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในเหตุแห่งการฟ้องคดีหรือหน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอื่น ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องตามกฎหมายด้วยก็ได้ และเพิ่มเติมให้ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้บุคคลใช้เงินหรือให้ส่งมอบทรัพย์สินหรือให้กระทำการหรืองดเว้นกระทำการ โดยจะกำหนดระยะเวลาและเงื่อนไขอื่น ๆ ไว้ด้วยก็ได้
                    4. เพิ่มเติมการกำหนดคำบังคับของศาลปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ให้ศาลปกครองคำนึงถึงหลักการป้องกันหรือหลักข้อควรระวังความเสียหายอย่างร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นแก่ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม หรือแก่สุขภาพอนามัยของประชาชนประกอบด้วย และเพิ่มเติมอำนาจให้ศาลปกครองในคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้มีอำนาจกำหนดคำบังคับในคำพิพากษาเกินกว่าหรือแตกต่างจากคำขอของผู้ฟ้องคดีได้             มีอำนาจกำหนดในคำพิพากษาถึงการสงวนไว้ซึ่งสิทธิที่จะแก้ไขคำบังคับในคำพิพากษานั้นอีกภายในระยะเวลาที่             ศาลปกครองกำหนด มีอำนาจกำหนดค่าเสียหายเพื่อการลงโทษ และมีอำนาจออกคำสั่งให้คู่กรณีดำเนินการกำจัดมลพิษภายในระยะเวลาที่กำหนด
                    5. กำหนดให้มีการจัดตั้งสำนักพัฒนาระบบคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขึ้นใน ศป. และกำหนดให้บทบัญญัติเกี่ยวกับคดีปกครองเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัตินี้มิให้ใช้บังคับกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุดในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานป้องกันและปราบปราม            การฟอกเงิน พ.ศ. .... ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) เสนอ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                    ทั้งนี้ สคก. เสนอว่า
                    1. โดยที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559 ได้มีผลใช้บังคับ ส่งผลให้ภารกิจที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เพิ่มมากขึ้น จึงสมควรปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของสำนักงาน ปปง. เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจที่เพิ่มขึ้นและเหมาะสมกับสภาพงานที่เปลี่ยนแปลงไป อันจะทำให้การปฏิบัติภารกิจตามหน้าที่และอำนาจมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
                    2. ในคราวประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน               พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในของสำนักงาน ปปง. ตามข้อ 1 และ  ให้ส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้ สคก. ตรวจพิจารณา ซึ่ง สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเสร็จแล้ว โดยสำนักนายกรัฐมนตรี (สำนักงบประมาณ สำนักงาน ก.พ. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ) และสำนักงาน ปปง. ได้ยืนยันให้ความเห็นชอบกับการแก้ไขเพิ่มเติมร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้มีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงาน ปปง. ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2556 และที่แก้ไขเพิ่มเติม          ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. .... ที่เสนอ ในครั้งนี้          หมายเหตุ
(1) สำนักงานเลขานุการกรม          (1) สำนักงานเลขานุการกรม          -
(2) กองกฎหมาย          (2) กองกฎหมาย          - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายทุกฉบับที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักงาน ปปง.
(3) กองกำกับและตรวจสอบ          (3) กองกำกับและตรวจสอบ          - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
- เพิ่มหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการตรวจสอบและเก็บรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อดำเนินคดีกับผู้มีหน้าที่รายงานการทำธุรกรรมตามกฎหมาย
(4) กองข่าวกรองทางการเงิน          (4) กองข่าวกรองทางการเงิน          - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
(5) - (7) กองคดี 1 - 3          (5) - (9) กองคดี 1 - 5          - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้ครอบคลุมถึงการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดฐาน           ฟอกเงินที่อาศัยเทคโนโลยีในการกระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน
- เพิ่มกองคดี 4 - 5 โดยการกำหนดเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของแต่ละกองคดีให้เป็นไปตามที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกำหนด
(8) กองความร่วมมือระหว่างประเทศ          (10) กองความร่วมมือและพัฒนามาตรฐาน          - เพิ่มกองความร่วมมือและพัฒนามาตรฐานโดยยุบรวมภารกิจของกองความร่วมมือระหว่างประเทศให้เป็นของกองที่เพิ่มขึ้นใหม่แทน
- ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง มาตรฐานสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศ
- เพิ่มหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการวางระบบพัฒนามาตรฐาน และรวบรวมข้อมูลหรือสถิติที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริม สร้างองค์ความรู้ เผยแพร่ข้อมูล และประสานความร่วมมือเพื่อสนับสนุนเครือข่ายภาคประชาสังคมและการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน รวมทั้งดำเนินการเกี่ยวกับรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
(9) กองนโยบายและยุทธศาสตร์          (11) กองนโยบายและยุทธศาสตร์          - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
- เพิ่มหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงระดับชาติที่เกี่ยวกับการฟอกเงิน และการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
(10) กองบริหารจัดการทรัพย์สิน          (12) กองบริหารจัดการทรัพย์สิน          - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
          (13) กองป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย          - เพิ่มกองป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย โดยมีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
     1. พัฒนามาตรการหรือแนวทาง พัฒนาฐานข้อมูล ดำเนินการเกี่ยวกับการรายงานการตรวจสอบ และการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
     2. ปฏิบัติการและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานระหว่างประเทศหรือหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อสืบสวน ตรวจสอบ และเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเกี่ยวกับการดำเนินคดีผู้กระทำความผิดฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และฐานสนับสนุนทางการเงินแก่การแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลาย  ล้างสูง
     3. ดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ให้ถ้อยคำ ผู้ที่แจ้งเบาะแสหรือข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของคณะกรรมการธุรกรรม
     4. ดำเนินการเกี่ยวกับอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด และยุทธภัณฑ์ของสำนักงาน ปปง.
     5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการพิจารณากำหนดรายชื่อตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง
(11) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ          (14) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ          - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง

เศรษฐกิจ-สังคม
4. เรื่อง การต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ของสำนักงานธนานุเคราะห์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ ให้ พม. ต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาท ออกไปอีก 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 เพื่อเป็นเงินทุนสำรองสำหรับหมุนเวียนรับจำนำและสำหรับใช้จ่ายในการบริหารเงินให้เกิดสภาพคล่องในกิจการ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พม. รายงานว่า
                    1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 เห็นชอบให้ พม. ต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของสำนักงานธนานุเคราะห์ สธค. จำนวน 500 ล้านบาท โดยสัญญาดังกล่าวจะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2565 แต่เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ประชาชนมาทำธุรกรรมการรับจำนำอย่างต่อเนื่อง สธค. จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีเงินทุนสำรองหมุนเวียนรับจำนำและสำหรับใช้จ่ายในการบริหาร เพื่อให้มีสภาพคล่องในกิจการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ? 2567 โดยการกู้เงินประเภท            เบิกเงินเกินบัญชีนั้น หาก สธค. ไม่ได้เบิกมาจะไม่เสียดอกเบี้ยจ่าย ซึ่ง สธค. มีความสามารถในการชำระหนี้เงินกู้ได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถนำส่งเงินรายได้แผ่นดิน ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) กำหนด จึงไม่ส่งผลกระทบต่อการบริหารทางการเงินการคลังของรัฐบาลในภาพรวม ทั้งนี้ คณะกรรมการอำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์ ในการประชุมครั้งที่ 12 ปีงบประมาณ 2564 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบการต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 30 กันยายน 2565 ออกไปอีกเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 ด้วยแล้ว
                    2. พม. แจ้งว่า กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า การดำเนินกิจการของ สธค. โดยปกติจะมีเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชี จำนวน 500 ล้านบาท เพื่อรองรับการดำเนินงานและลดความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการให้บริการประชาชน โดย สธค. ยังคงมีผลประกอบการที่มีกำไร และมีความสามารถในการชำระหนี้อยู่ในระดับที่ค่อนข้างมั่นคง ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจึงให้ความเห็นชอบให้ พม. ต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 500 ล้านบาท ออกไปอีก 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 โดย กค. ไม่ค้ำประกัน ตามนัยมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยพิจารณาอัตราดอกเบี้ยการกู้เงิน เพื่อให้ได้เงื่อนไขที่ดีที่สุด รวมทั้งการกู้เงินดังกล่าวต้องกระทำด้วยความรอบคอบ และคำนึงถึงความคุ้มค่า ความสามารถในการชำระหนี้และการกระจายภาระการชำระหนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 รวมทั้งดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้เห็นชอบการต่ออายุสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคารออมสิน วงเงิน 500 ล้านบาท ของ สธค. แล้ว แต่โดยที่ สธค. เป็นรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่นิติบุคคล หากมีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อใช้ดำเนินกิจการ ให้กระทรวงเจ้าสังกัดมีอำนาจกู้ให้ได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ หากเป็นการกู้เงินเกินห้าสิบล้านบาท จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีด้วย ตามนัยมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548

5. เรื่อง นโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการต่อนโยบายด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยระยะแรกสมควรปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง พร้อมทั้งกำหนดสิทธิประโยชน์ให้เหมาะสม โดยแบ่งกิจการที่ต้องการส่งเสริมเป็น 3 ประเภท ได้แก่ (1) กลุ่มกิจการสำรวจแร่ (2) กลุ่มกิจการทำเหมืองแร่ และ/หรือแต่งแร่ และ (3) กลุ่มกิจการถลุงแร่หรือประกอบโลหกรรม
                    2. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) และ อก. ประสานความร่วมมือหรือปรึกษาหารือกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อก. รายงานว่า
                    1. ความสำคัญและทิศทางของอุตสาหกรรมแร่
                    แร่เป็นทรัพยากรที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรมแร่ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และวัตถุดิบสำหรับการผลิตในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันความต้องการใช้แร่ขยายตัวขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสู่รูปแบบดิจิทัล ซึ่งครอบคลุมแร่กลุ่มโลหะพื้นฐาน (base metal)1 โลหะแอลคาไลน์ (alkali metal)2 โลหะมีค่า (precious metal)3 แร่หายาก (rare earth)4 และแร่อุตสาหกรรม นอกจากนี้ การปรับตัวสู่การใช้พลังงานสะอาดของหลายประเทศ และการขยายตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องยังช่วยก่อให้เกิดการขยายตัวของการใช้แร่อย่าง                ก้าวกระโดด
                    2. สถานการณ์แร่ในปัจจุบันของประเทศไทย
                    ประเทศไทยมีทิศทางการเติบโตของแร่สอดคล้องกับทิศทางความต้องการของโลก ทั้งในส่วนของแร่โลหะพื้นฐาน โลหะมีค่า แร่หายาก และแร่อุตสาหกรรมอื่น ๆ จากนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนในการผลิตไฟฟ้า และการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า นอกจากนี้ความต้องการใช้แร่ในกลุ่มอโลหะ เช่น หินอุตสาหกรรมเพื่อการก่อสร้างสูงขึ้นเช่นกัน จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด 19 โดยการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ทั้งนี้ ในปี 2563 มูลค่าเพิ่มของการทำเหมืองแร่คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และภาคอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากแร่ (forward linkage) อาทิ อุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมเคมี ตลอดจนภาคการเกษตร ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและก่อให้เกิดการจ้างงานจำนวนมาก


                    3. ยุทธศาสตร์และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการแร่
                    พระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 บัญญัติให้มียุทธศาสตร์และแผนแม่บทการบริหารจัดการแร่ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแร่ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) โดยระยะ 10 ปีแรก5 มุ่งเน้นที่การปฏิรูปและสร้างความมั่นคงของกลไกการบริหารจัดการแร่ รวมถึงพัฒนากรอบนโยบายการบริหารจัดการแร่ให้ต่อเนื่องชัดเจนทั้งเชิงพื้นที่และชนิดแร่ ตลอดจนมุ่งพัฒนาองค์ความรู้ นวัตกรรม เทคโนโลยีในการบริหารจัดการแร่และเยียวยาผลกระทบ                 ต่อสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของประชาชน
                    4. ปัญหาอุปสรรคของการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศไทย
                              4.1 ขาดข้อมูลแหล่งแร่ที่มีศักยภาพ เนื่องจากการสำรวจแร่เป็นกิจกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ใช้เวลาและเงินลงทุนจำนวนมาก อีกทั้งประเทศไทยมีข้อจำกัดด้านความพร้อมของบุคลากร และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง แหล่งแร่ในประเทศไทยส่วนใหญ่จึงเป็นแหล่งแร่ในระดับตื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีศักยภาพในการเป็นแหล่งแร่หายากหลายชนิด จึงต้องการสำรวจแหล่งแร่เพิ่มเติมเพื่อใช้รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต
                              4.2 การวิจัยพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่มในประเทศต่ำ เนื่องจากการวิจัยและพัฒนาใช้เงินลงทุนและมีความเสี่ยงสูง การทำเหมืองในประเทศส่วนใหญ่จึงเป็นแร่ที่มีมูลค่าไม่สูง เช่น ยิปซัม ดินขาว ในขณะที่             แร่มูลค่าสูง เช่น แร่โลหะพื้นฐาน โลหะมีค่า และแร่หายาก ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเป็น             หลัก ภาคการผลิตที่ต้องพึ่งพาแร่มูลค่าสูงเหล่านี้ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า จึงอยู่ภายใต้ความเสี่ยงทั้งในแง่ของราคาและปริมาณ เนื่องจากยังไม่มีการผลิตวัตถุดิบเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเหล่านี้อย่างเพียงพอ
                              4.3 ต้นทุนในการทำเหมืองแร่ที่สูงขึ้น เนื่องจากพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2560 และ              อนุบัญญัติที่เกี่ยวข้องมีบทบัญญัติที่เข้มงวดและให้ความสำคัญกับประเด็นสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน อาทิ กำหนดให้มีกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชน กองทุนเพื่อรับประกันความเสี่ยงต่าง ๆ หรือการประกอบกิจการตามมาตรการกำกับดูแลสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่องจึงต้องใช้เงินลงทุนสูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อความคุ้มค่าของโครงการเหมืองแร่
                              4.4 ขาดการลงทุนเพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ช่วยเพิ่มผลิตภาพในการผลิต อาทิ ระบบติดตามการทำงานของเครื่องจักรแบบอัตโนมัติ หรือระบบข้อมูลแบบดิจิทัลและประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ และขาดการลงทุนในเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อลดผลกระทบจากการประกอบการต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ เช่น การใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงาน การเทคโนโลยีแร่สมัยใหม่ เพื่อลดปริมาณของเสีย ลดการใช้สารเคมีอันตราย หรือลดการปล่อยมลพิษสู่อากาศ
                    5. แนวทางการแก้ไขปัญหาการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของประเทศไทย
                    ปัจจุบันภาครัฐไทยได้กำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นช่วงกลางของห่วงโซ่การผลิต อย่างไรก็ตามยังไม่มีการกำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนที่ครอบคลุมไปถึงวัตถุดิบที่เป็นต้นน้ำ ประเทศไทยจึงมีความเสี่ยงจากการพึ่งพาการนำเข้าแร่และวัตถุดิบจากตลาดโลก นอกจากนี้ อุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง ใช้เงินลงทุนสูง และใช้ระยะเวลานานในการคืนทุน (capital intensive industry) ดังนั้น เพื่อสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงด้านวัตถุดิบโดยการจัดหาแหล่งแร่และวัตถุดิบให้ครอบคลุมทั้งห่วงโซ่อุปทาน และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมเหมืองแร่ผ่านการลงทุนใหม่หรือลงทุนเพิ่มเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตเหมืองให้มีความทันสมัย ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชน สอดคล้องกับบริบทของโลกและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงควรกำหนดนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยระยะแรกสมควรปรับปรุงมาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง พร้อมทั้งกำหนดสิทธิประโยชน์ให้มีความเหมาะสม โดยแบ่งประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
                              5.1 กลุ่มกิจการสำรวจแร่6 ครอบคลุมทั้งการสำรวจแร่ทั่วไปและแร่ศักยภาพที่จำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรม
                              5.2 กลุ่มกิจการทำเหมืองแร่ และ/หรือแต่งแร่7 ครอบคลุมการทำเหมืองสำหรับแร่ศักยภาพ เช่น โลหะพื้นฐาน โลหะแอลคาไลน์ โลหะมีค่า แร่หายากและแร่โพแทช
                              5.3 กลุ่มกิจการถลุงแร่หรือประกอบโลหกรรม8
ในการนี้ การกำหนดนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมเหมืองแร่และอุตสาหกรรมต่อเนื่องผ่านการส่งเสริมการลงทุนจะก่อให้เกิดประโยชน์สำคัญ อาทิ ความมั่นคงของประเทศสูงขึ้นจากการลดการพึ่งพาการนำเข้าแร่จากต่างประเทศ เกิดการจ้างงานในพื้นที่และการพัฒนาสาธารณูปโภคในพื้นที่ห่างไกล ตลอดจนภาครัฐมีรายได้สูงขึ้นจากค่าภาคหลวง ภาษี และเศรษฐกิจประเทศที่ดีขึ้น ทั้งนี้ ข้อเสนอเชิงนโยบายข้างต้นเกี่ยวข้องกับภารกิจของส่วนราชการต่าง ๆ อาทิ สกท. ทส. และ อว. ซึ่งต้องบูรณาการร่วมกันเพื่อกำหนดเป้าหมายและศึกษารูปแบบและวิธีดำเนินการที่คุ้มค่าเพื่อให้การส่งเสริมการลงทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความยั่งยืน
1โลหะพื้นฐาน อาทิ ทองแดง สังกะสี ดีบุก
2โลหะแอลคาไลน์ อาทิ ลิเทียม โซเดียม โพแทสเซียม
3โลหะมีค่า อาทิ ทองคำ เงิน (Silver)
4แร่หายาก อาทิ ซีเซียม ดิสโพรเซียม เออร์เบียม
5สำหรับระยะ 20 ปี มุ่งเน้นการพัฒนาบนฐานของความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตในภาพรวมเป็นอุตสาหกรรมสีเขียว การทำเหมืองตามหลักธรรมาภิบาลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green and Smart Mining) มีความยั่งยืนภายใต้ดุลยภาพเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน
6สำรวจแร่ หมายถึง การเจาะหรือขุด หรือกระทำด้วยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งหลายวิธี เพื่อให้รู้ว่าในพื้นที่มีแร่อยู่หรือไม่เพียงใด
7การแต่งแร่ หมายถึง การกระทำใด ๆ เพื่อทำแร่ให้สะอาด หรือเพื่อให้แร่ที่ปนกันอยู่ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปแยกออกจากกัน และหมายความรวมถึงการบดแร่ หรือการคัดขนาดแร่
8โลหกรรม หมายถึง การถลุงแร่หรือการทำแร่ให้เป็นโลหะด้วยวิธีอื่นใด และหมายความรวมตลอดถึงการทำโลหะให้บริสุทธิ์ การผสมโลหะ การผลิตโลหะสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปชนิดต่าง ๆ โดยวิธีหลอม หล่อ รีด หรือวิธีอื่นใด

6. เรื่อง ร่างแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2559 - 2565) ฉบับปรับปรุง มาตรฐานสถิติ และการปรับปรุงคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2559 - 2565) ฉบับปรับปรุง             (ร่างแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุง) เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนางานด้านสถิติของประเทศให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสอดคล้องตามยุทธศาสตร์ชาติ
                    2. เห็นชอบการปรับปรุงกลไกการบริหารจัดการระบบสถิติ โดยเปลี่ยนชื่อจากคณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน (ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) (คณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน ฯ) เป็น ?คณะกรรมการสถิติประเทศไทย? พร้อมทั้งปรับปรุงองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ รวมทั้งปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการ เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์และแนวทางการดำเนินงานในปัจจุบัน
                    3. เห็นชอบการจัดประเภทผลิตภัณฑ์กลางประเทศไทย ปี 2563 และมาตรฐานการผลิตสถิติ                  ตัวแปร: สกุลเงิน เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดทำข้อมูสสถิติของหน่วยงาน โดยให้อ้างอิงการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2562 ที่ได้เห็นชอบมาตรฐานสถิติที่ดำเนินการแล้วเสร็จและประกาศใช้ไปแล้ว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ (1) ร่างแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 2 (2559 - 2565) ฉบับปรับปรุง ซึ่งเป็นการปรับปรุงแผนแม่บทระบบสถิติประเทศไทย ฉบับที่ 2 เดิม ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาสถิติที่มุ่งเน้นการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) มากขึ้น รวมถึงผลกระทบและความท้าทายต่อการผลิตสถิติจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ทำให้การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลเป็นไปได้ยากมากขึ้น ในขณะที่ผู้ใช้สถิติมีความต้องการข้อมูลที่ละเอียด รวดเร็ว และแม่นยำมากขึ้นในการประเมินสถานการณ์ดังกล่าวซึ่งมีความไม่แน่นอนสูง เพื่อประกอบการตัดสินใจในระดับต่าง ๆ ประกอบกับเป็นการปรับปรุงระยะเวลาของแผนแม่บทให้สอดคล้องกับห้วงเวลาของยุทธศาสตร์ชาติซึ่งเป็นแผนพัฒนาประเทศด้วย (2) การปรับปรุงองค์ประกอบและหน้าที่และอำนาจบางส่วนของคณะกรรมการ 2 ชุด ได้แก่ คณะกรรมการจัดระบบสถิติประเทศไทย 3 ด้าน (เสนอขอเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ เป็น คณะกรรมการสถิติประเทศไทย) และคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการ ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับระบบและการพัฒนาสถิติของประเทศ โดยเป็นการปรับปรุงเพื่อให้กลไกมีองค์ประกอบที่สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาสถิติในปัจจุบัน รวมถึงสะท้อนการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริง และเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ (3) มาตรฐานสถิติ 2 มาตรฐาน ได้แก่ การจัดประเภทผลิตภัณฑ์กลางประเทศไทย พ.ศ. 2563 และมาตรฐานการผลิตสถิติ ตัวแปร: สกุลเงิน ที่ สสช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำขึ้นให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เพื่อให้ข้อมูลสถิติมีความเป็นมาตรฐาน สะดวกต่อการนำไปบูรณาการและใช้ประโยชน์ต่อไป

7. เรื่อง รายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานภาวะและแนวโน้มเศรษฐกิจไทยประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2565 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2565) ของคณะกรรมนโยบายการเงิน (กนง.) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 พฤษภาคม 2563) ที่ให้ กนง. ประเมินภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มของประเทศและรายงานต่อคณะรัฐมนตรีเป็นรายไตรมาส] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การดำเนินนโยบายการเงินในช่วงไตรมาสที่ 2 ปี 2565
                       ที่ประชุม กนง. มีมติเมือ่วันที่ 8 มิถุนายน 2565 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 โดยเห็นว่าเศรษฐกิจในระยะต่อไปจะฟื้นตัวได้ต่อเนื่องตามที่คาดการณ์และประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องและมีโอกาสฟื้นตัวดีกว่าที่ประเมินไว้จากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ             ที่เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้จากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันและการส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จึงทำให้การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายในระดับปัจจุบันมีความจำเป็นลดลง ทั้งนี้ กนง. จะพิจารณาช่วงเวลาที่เหมาะสมในการทยอยปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้สอดคล้องกับแนวโน้มและความเสี่ยงของเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป
                    2. การประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจการเงินเพื่อประกอบการดำเนินนโยบายการเงิน
                       2.1 เศรษฐกิจโลก โดยเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าของไทยมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.4 และ 3.1 ในปี 2565 และ 2566 ตามลำดับ ซึ่งขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้เนื่องจากผลกระทบของอัตราเงินเฟ้อ            ที่เร่งตัวสูงในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักและผลกระทบจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่เข้มงวดในสาธารณรัฐประชาชนจีน ส่วนอัตราเงินเฟ้อโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นสูงตามราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับสูงจากความขัดแย้งระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและยูเครนรวมทั้งปัญหาห่วงโซ่อุปทานจากมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในจีน ส่งผลให้ธนาคารกลางหลายแห่งมีแนวโน้ม             ที่จะดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจประเทศคู่ค้ามีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงในปี 2566
                       2.2 ภาวะการเงินและเสถียรภาพระบบการเงินไทย พบว่า (1) ภาวะการเงินโดยรวมยัง                ผ่อนคลาย ส่วนต้นทุนการระดมทุนอยู่ในระดับต่ำและปริมาณการระดมทุนยังขยายตัวได้ดี โดยต้นทุนการระดมทุนมีแนวโน้มตึงตัวขึ้นตามความผันผวนของตลาดการเงินโลกที่สูงขึ้นส่วนอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจากสิ้นไตรมาสก่อน ซึ่ง กนง. คาดการณ์ว่าอาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการระดมทุนของภาคธุรกิจที่สูงขึ้นไม่กระทบต่อการระดมทุนในภาพรวม โดยภาคธุรกิจได้ทยอยระดมทุนไปในช่วงก่อนหน้าและมีแนวโน้มระดมทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ (2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงในช่วงต้นไตรมาสที่ 2 (เดือนเมษายน-มิถุนายน) ปี 2565 จากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาอาจดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังยืดเยื้อ และ (3) ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพแต่การกระจายสภาพคล่องมีความแตกต่างกันในแต่ละภาคเศรษฐกิจ โดยภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจบางกลุ่มยังเปราะบาง กนง. จึงให้ความสำคัญกับการติดตามความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือน โดยเฉพาะในกลุ่มครัวเรือนรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นและมีภาระหนี้อยู่ในระดับสูง
                       2.3 แนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อของไทย
                            2.3.1 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.3 และร้อยละ 4.2 ในปี 2565 และ 2566 ตามลำดับ จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมทั้งการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนและกำลังซื้อของกลุ่มรายได้สูง ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวสูงกว่าที่ประเมินไว้จากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศดีกว่าที่คาดการณ์
                            2.3.2 มูลค่าการส่งออกสินค้าของไทยในปี 2565 มีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 7.9 สูงกว่าประมาณการเดิมที่ร้อยละ 7.0 และในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.1 สูงกว่าประมาณการเดิมที่     ร้อยละ 1.5 เนื่องจากปัจจัยด้านราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ ขณะที่ด้านปริมาณขยายตัวลดลงเล็กน้อยตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้าในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักและจีนที่ชะลอลง
                            2.3.3 ประมาณการจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2565 อยู่ที่ 6 ล้านคน สูงกว่าประมาณการเดิมที่ 5.6 ล้านคน เนื่องจากการเปิดประเทศของไทยและต่างประเทศเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และในปี 2566 จะมีจำนวนอยู่ที่ 19 ล้านคน โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากการคลี่คลายของสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก
                            2.3.4 การบริโภคภาคเอกชนปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.9 จากการฟื้นตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและภาคบริการ แต่ในระยะถัดไปยังมีปัจจัยลบจากต้นทุนค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 จากสถานการณ์โควิด-19 ที่คลี่คลายและการจ้างงานที่ทยอยฟื้นตัวตามภาคการท่องเที่ยว
                            2.3.5 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 และ 2566 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.2 และ 2.5 ตามลำดับ โดยสูงเกินกรอบเป้าหมายตลอดปี 2565 ก่อนที่จะปรับลดลงเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี 2566 ทั้งนี้ กนง. ประเมินว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อเป็นผลจากแรงกดดันด้านอุปทานเป็นสำคัญ ราคาพลังงานในประเทศที่ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมทั้งการส่งผ่านต้นทุนภายในประเทศที่สูงขึ้นและกระจายตัวในหมวดสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น

8. เรื่อง รายงานผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) เสนอ รายงานผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 [เป็นการดำเนินการตามมาตรา 5/8 (10) แห่งพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่บัญญัติให้ กพม. มีอำนาจหน้าที่จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการบริหาร การพัฒนา และการประเมินผลขององค์การมหาชนเสนอต่อคณะรัฐมนตรี] ซึ่ง กพม.            ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบรายงานผลการประเมินองค์การมหาชนดังกล่าวแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. กรอบการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 (กพม. มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2563) ประกอบด้วย 3 ส่วน ดังนี้




                              1.1 ส่วนที่ 1 องค์ประกอบการประเมินผลการปฏิบัติงาน จำนวน 4 องค์ประกอบ ดังนี้
องค์ประกอบการประเมิน
          น้ำหนัก
(ร้อยละ)          จำนวนตัวชี้วัด
องค์ประกอบที่ 1 ประสิทธิผลการดำเนินงาน :
เป็นการประเมินการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์จัดตั้ง ประเด็นการปฏิรูปประเทศของกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และนโยบายสำคัญหรือเร่งด่วนของรัฐบาล          40          - ตัวชี้วัดที่ครอบคลุมทุกวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง (ไม่จำกัดจำนวนตัวชี้วัด)
- ตัวชี้วัดที่เสนอโดยองค์การมหาชน (1 องค์การมหาชน 1 ประเด็นการปฏิรูปประเทศอย่างน้อย 1 ตัวชี้วัด และอาจเสนอตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับนโยบายสำคัญหรือเร่งด่วนของรัฐบาลเพิ่มได้อีก 1 ตัวชี้วัด)
องค์ประกอบที่ 2 ประสิทธิภาพและความคุ้มค่า
ในการดำเนินงาน : เป็นการประเมินประสิทธิภาพในการบริหารงานและความคุ้มค่าในการดำเนินงานการลดภาระค่าใช้จ่ายภาครัฐ ความคุ้มค่าในการบริหารและใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด          30          - ตัวชี้วัดที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการบริหารงานความคุ้มค่าในการดำเนินงาน (อย่างน้อย 2 ตัวชี้วัด)
- ตัวชี้วัดบังคับ 1 ตัวชี้วัด คือ ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชน

องค์ประกอบที่ 3 ศักยภาพขององค์การ          มหาชน :
เป็นการประเมินการพัฒนาศักยภาพองค์การสู่การเป็นระบบราชการ 4.0 ในด้านการพัฒนาองค์การสู่ดิจิทัลและประเมินสถานะของหน่วยงานในการเป็นระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0)          20          ตัวชี้วัดบังคับ 1 ตัวชี้วัด คือ ผลการพัฒนาศักยภาพองค์การสู่การเป็นระบบราชการ 4.0

องค์ประกอบที่ 4 การควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน : เป็นการประเมินบทบาทและการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการองค์การมหาชนเพื่อกำหนดทิศทางและนโยบายการปฏิบัติงานขององค์การมหาชนให้ตอบสนองต่อสภาพการณ์ปัจจุบันเละความต้องการของผู้รับบริการ          10          ตัวชี้วัดบังคับ 1 ตัวชี้วัด คือ ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน

รวม          100
                              1.2 ส่วนที่ 2 ตัวชี้วัดประกอบการประเมิน ได้แก่ การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน โดยสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้รับผิดชอบการประเมินซึ่งไม่นำมาคำนวณคะแนน
                              1.3 ส่วนที่ 3 ตัวชี้วัด monitor คือ ตัวชี้วัดที่แสดงผลกระทบจากการดำเนินงานขององค์การมหาชนเพื่อติดตามผลสำเร็จขององค์การมหาชนรายปี โดยให้องค์การมหาชนรายงานผลตามตัวชี้วัดมายังสำนักงาน ก.พ.ร. (ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพม.) เพื่อเป็นข้อมูลสะสมสำหรับการประเมินความคุ้มค่าในการจัดตั้งองค์การมหาชน โดยไม่นำมาคำนวณคะแนน
                    2. สรุปผลการประเมินองค์การมหาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งมีองค์การมหาชนที่เข้าระบบการประเมิน จำนวน 45 แห่ง ได้แก่ (1) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน              พ.ศ. 2542และที่แก้ไขเพิ่มเติม จำนวน 35 แห่ง และ (2) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ จำนวน 10 แห่ง สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 ผลการประเมินองค์การมหาชนในภาพรวม
ระดับผลการประเมิน
(คะแนนเฉลี่ยทุกองค์ประกอบ)          องค์การมหาชนที่จัดตั้ง
ตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชนฯ          องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ
          ประเมินผลตามกรอบการประเมินฯ          ประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานเป็นการเฉพาะ1
ระดับดีมาก : 90 คะแนนขึ้นไป          23 แห่ง2          3 แห่ง          6 แห่ง
ระดับดี : ตั้งแต่ 75-84.99 คะแนน          4 แห่ง          2 แห่ง          4 แห่ง
ระดับพอใช้ : ตั้งแต่ 60-74.99 คะแนน          2 แห่ง          1 แห่ง          -
ระดับต้องปรับปรุง : ต่ำกว่า 60 คะแนน          -          -          -
รวม          29 แห่ง          6 แห่ง          10 แห่ง

                              2.2 ผลการประเมินตามตัวชี้วัดบังคับที่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สรุปได้ ดังนี้

ตัวชี้วัด
          ผลการประเมินเฉลี่ย
          องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชนฯ3          องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ          ค่าเฉลี่ยของผลการประเมินองค์การมหาชน
ร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชน          ร้อยละ 22.77          ร้อยละ 28.16          ร้อยละ 25.46
ร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน           ร้อยละ 97.48          ร้อยละ 91.80          ร้อยละ 94.64
ร้อยละความพึงพอใจในการให้บริการขององค์การมหาชน4          ร้อยละ 85.66          ร้อยละ 88.91          ร้อยละ 87.28
หมายเหตุ : ผลการประเมินเฉลี่ยในส่วนของร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรและร้อยละความสำเร็จของการพัฒนาด้านการควบคุมดูแลกิจการของคณะกรรมการองค์การมหาชน ไม่รวมองค์การมหาชนที่ต้องติดตามประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานเป็นการเฉพาะ
                              นอกจากนี้ การประเมินสถานะขององค์การมหาชนในการเป็นระบบราชการ 4.0              (คะแนนเต็ม 500 คะแนน) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดบังคับภายใต้องค์ประกอบที่ 3 การประเมินศักยภาพขององค์การมหาชน มีผลการประเมิน ดังนี้ (1) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน ฯ มีผลคะแนนสูงกว่า 250 คะแนน จำนวน 16 แห่ง  และมีคะแนนต่ำกว่า 250 คะแนน จำนวน 13 แห่ง และ (2) องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ มีคะแนนสูงกว่า 250 คะแนน จำนวน 9 แห่ง และมีคะแนนต่ำกว่า 250 คะแนน จำนวน                    1 แห่ง
                              2.3 ปัญหาอุปสรรคที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานขององค์การมหาชนในภาพรวม เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) มาอย่างต่อเนื่องทำให้มีการกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19  ซึ่งส่งผลกระทบต่อองค์การมหาชน เช่น การประกาศยกเลิก/เลื่อนการจัดงานประชุมและนิทรรศการ ของสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) การปิดสถานที่และงดให้บริการอุทยานหลวงราชพฤกษ์ ของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) และการปิดด่านชายแดนระหว่างประเทศส่งผลกระทบต่อการพัฒนาโครงการที่เป็นการดำเนินการร่วมระหว่างองค์การมหาชนและประเทศเพื่อนบ้าน ของสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) ซึ่งจากเหตุปัจจัยดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของตัวชี้วัดที่กำหนดทำให้ในภาพรวมมีองค์การมหาชนขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายมากถึง 19 แห่ง
                    3. ในการประชุมฯ กพม. ได้เห็นชอบให้ยกเว้นการคัดเลือกองค์การมหาชนดีเด่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และมีข้อสังเกตว่า ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ยังคงประสบปัญหาการแพร่ระบาดของ               โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานในภาพรวมขององค์การมหาชน และยังส่งผลต่อเนื่องไปยังการคัดเลือกองค์การมหาชนดีเด่นที่ไม่สามารถคัดเลือกได้ จึงควรพิจารณาคัดเลือกและให้รางวัลกับองค์การมหาชนที่มีผลงานสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือองค์การมหาชนที่มีผลงานโดดเด่นด้าน             อื่น ๆ ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์เพื่อเป็นแรงจูงใจในเชิงบวกแก่องค์การมหาชนแทนการคัดเลือกองค์การมหาชนดีเด่น นอกจากนี้ ยังได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางการกำหนดตัวชี้วัดขององค์การมหาชนในอนาคตว่า ควรพิจารณาความเหมาะสมของพันธกิจตามกลไกสำคัญในระบบนิเวศน์และห่วงโซ่ผลการดำเนินงานของ            แต่ละองค์การมหาชน เพื่อให้ทราบทิศทางในการดำเนินงานและการกำหนดคุณภาพตัวชี้วัดที่สร้างผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ ซึ่งสำนักงาน ก.พ.ร. จะนำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะดังกล่าวไปดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ต่อไป
1คณะอนุกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (อ.กพม.) เป็นผู้พิจารณาตัวชี้วัดที่ใช้ประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานเป็นการเฉพาะ เช่น การประเมินความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์การมหาชนที่อยู่ระหว่างดำเนินการหรือยังไม่สามารถดำเนินการได้เต็มรูปแบบตามวัตถุประสงค์การจัดตั้ง หรือองค์การมหาชนที่ต้องมีการปรับบทบาทภารกิจให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับองค์การมหาชน จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ (1) สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (2) สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) (3) สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) (4) สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) (5) ศูนย์คุณธรรม (องค์การมหาชน) และ (6) สำนักงานพัฒนาพิงคนคร (องค์การหาชน)
2องค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชนฯ ที่ประเมินผลตามกรอบการประเมินฯ และมีผลการประเมินอยู่ในระดับดีมาก (90 คะแนนขึ้นไป) เช่น (1) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (2) โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ (3) สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (4) ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (5) สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (6) สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) และ (7) สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
3การกำหนดร้อยละค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรขององค์การมหาชนไม่เกินร้อยละ 30 ของงบประมาณค่าใช้จ่ายตามแผนการใช้จ่ายเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการองค์การมหาชนในปีงบประมาณ ยกเว้นองค์การมหาชนที่มีมติคณะรัฐมนตรีกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งเป็นการดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2561
4จากการประสานสำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า ร้อยละความพึงพอใจในการให้บริการขององค์การมหาชน เป็นประเด็นการประเมินภายใต้องค์ประกอบที่ 4 ที่สะท้อนให้เห็นถึงความพึงพอใจของผู้รับบริการ

9. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 14 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2565)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ             ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 14 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 พฤษภาคม 2565) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. นโยบายหลัก 11 ด้าน ประกอบด้วย
นโยบายหลัก          มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์          1.1) เปิดโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ?Giving Light มอบแว่นตา มอบแสงแห่งชีวิต? เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา (28 กรกฎาคม 2565) เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 เพื่อให้บริการตรวจวัดสายตาและประกอบแว่นสายตาให้แก่กลุ่มเปราะบางในพื้นที่กรุงเทพมหานคร             3 รุ่น รุ่นละ 400 คน และดำเนินโครงการแว่นตาผู้สูงวัยในสมเด็จพระกนิษฐา            ธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดตาก โดยให้บริการแก่ผู้สูงวัยที่ไม่สามารถประกอบอาชีพได้และมีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไปที่ต้องการความช่วยเหลือด้านสายตาให้เข้ารับบริการตรวจวัดสายตาและประกอบแว่นตา รวม 400 คน
1.2) จัดกิจกรรมจิตอาสาสานพลังรักน้ำปิง รักวิถีชุมชน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในโอกาสเฉลิม             พระชนมพรรษาวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ณ จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในพื้นที่ในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ลดการทิ้งสิ่งปฏิกูลหรือการระบายสิ่งสกปรกสงสู่แม่น้ำ
2) การสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยของประเทศ และความสงบสุขของประเทศ          ขับเคลื่อนนโยบายป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการลักลอบเข้ามาทำงานในประเทศ โดยศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า-ออก จังหวัดระนอง ได้แจ้งผลการเข้า-ออกของเรือ 4,418 ครั้ง แจ้งการเข้าของแรงงาน 22,017 คน และแจ้งการออกของแรงงาน 22,050 คน ทั้งนี้ สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัดระนองมีแรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตทำงานอยู่ในพื้นที่ 34,111 คน
3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม          3.1) เปิดอุทยานประวัติศาสตร์สด๊กก๊อกธม จังหวัดสระแก้ว ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของไทย พร้อมจัดสร้างศูนย์บริการข้อมูลปราสาทสถาปัตยกรรมวัฒนธรรมเขมร ศิลาจารึกชิ้นสำคัญ นำเสนอการอนุรักษ์และบูรณะปราสาทสด๊กก๊อกธม โดยเปิดให้เข้าชมตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป
3.2) จัดงานมหกรรมวัฒนธรรมแห่งชาติ วิถีถิ่น วิถีไทย ?สืบศิลป์ถิ่นอีสาน ESAN DO DEE? เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและงานวิสาขปุณณมีปูชา ประเพณีสรงน้ำพระธาตุยาคู ทะเลธุงอีสาน ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 13 - 17 พฤษภาคม 2565 ณ โบราณสถานเมืองฟ้าแดดสงยาง            พระธาตุยาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ มีผู้เข้าร่วมงาน 220,945 คน มีรายได้หมุนเวียน 52.09 ล้านบาท
3.3) ให้ทุนสนับสนุนเพื่อพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวม 132 โครงการ/กิจกรรม วงเงิน 299.12 ล้านบาท
4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก          4.1) กิจกรรมการเปิดตัวกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework: IPEF) เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 โดยไทยได้ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความร่วมมือภายในภูมิภาคเพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนเร่งขับเคลื่อนประเทศและประชาชนไปสู่อนาคต  ที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน เสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุลและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG ใช้พลังงานสะอาด ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และสร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ยึดมั่นระบบการค้าเสรีและเปิดการค้าเสรีกับหลายประเทศ
4.2) เข้าร่วมประชุม International Conference on the Future of Asia (Nikkei Forum) ครั้งที่ 27* ระหว่างวันที่ 26 - 27 พฤษภาคม 2565                        ณ ประเทศญี่ปุ่น โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงเหตุผลหลักในการเข้าร่วมประชุม เช่น ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ความพร้อมของไทยในการร่วมมือกับญี่ปุ่นและประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน และการแบ่งปันมุมมองของไทย รับฟัง และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่มีประโยชน์กับทุกฝ่าย ซึ่งไทยได้แบ่งปันมุมมองของไทย            ที่เอเชียจะร่วมกันเพื่อมุ่งให้เกิดสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค
5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย          5.1) พัฒนาภาคอุตสาหกรรม เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 ได้มีพิธีลงนามข้อตกลงระหว่างกรมสรรพสามิตกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถจักรยานยนต์แบบพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vehicle: BEV) รายแรกที่เข้าร่วมสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมมาตรการฯ จะได้สิทธิประโยชน์จากภาษีสรรพสามิตอัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 1 และเงินอุดหนุน 18,000 บาทต่อคัน สำหรับการนำเข้ารถจักรยานยนต์ BEV ในปี 2565-2566 และผลิตรถจักรยานยนต์ BEV ในปี 2565-2568 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 ทั้งนี้ ได้วางแผนที่จะผลิตรถจักรยานยนต์ BEV ในปี 2565 จำนวน 32,000 คัน ปี 2566 จำนวน 38,400 คัน ปี 2567 จำนวน 46,400 คัน และปี 2568 จำนวน 56,000 คัน
5.2) พัฒนาภาคเกษตร เช่น ผลักดันการส่งออกสินค้าเกษตรไทย ส่งเสริมความร่วมมือเกษตรอัจฉริยะ พัฒนาพืชผักสมุนไพรเป็นสินค้าเกษตรชนิดพิเศษสีเขียว (SAP-Special Agricultural Products) โครงการหนึ่งประเทศหนึ่งผลิตภัณฑ์ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ขับเคลื่อนการผลิตทุเรียนนนท์ทำให้พื้นที่ปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นเป็น 2,280 ไร่ เกษตรกร 1,162 ครัวเรือน
5.3) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว เช่น ดำเนินโครงการ Amazean Jungle Trail เพื่อจัดการแข่งขันกีฬาวิ่งเทรลและส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองเบตง จังหวัดยะลา ระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2565 และจัดกิจกรรม ?1 โรงเรียน 1 ลานกีฬา? โดยมอบลานกีฬา อุปกรณ์กีฬา และปรับปรุงอาคารเรียนให้กับโรงเรียนเทศบาล 4 บ้านกาแป๊ะฮูลู จังหวัดยะลา
5.4) พัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้าการบริการและการลงทุนในภูมิภาค เช่น จัดประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค 2022 ภายใต้หัวข้อ ?เปิดกว้างสร้างความสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล? ระหว่างวันที่ 21-22 พฤษภาคม 2565 จัดงานแสดงสินค้าและเครื่องดื่ม ?THAIFEX-ANUGA ASIA 2022? มีผู้ประกอบการไทยและต่างชาติเข้าร่วมแสดงสินค้า 1,603 บริษัท มีผู้เข้าชมงาน 83,099 คน เกิดมูลค่าการสั่งซื้อกว่า 66,169 ล้านบาท และส่งเสริมการขนส่งผลไม้ทางอากาศ เพื่อระบายผลไม้ฤดูกาลผลิตปี 2565 ออกสู่ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ
5.5) พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น กำหนดเพิ่มเส้นทางให้ใช้อัตราความเร็วไม่เกิน 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง และไม่ต่ำกว่า 100 กิโลเมตร/ชั่วโมง ระยะที่ 3 เพิ่ม 3 สายทาง โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 ประกอบด้วย           (1) ทล.4 เขาวัง-สระพระ จังหวัดเพชรบุรี (เป็นช่วง ๆ) (2) ทล.9 บางแค-คลองมหาสวัสดิ์ ระหว่าง กม.23+400-กม.31+600 กรุงเทพมหานคร และ (3) ทล.35 นาโคก-แพรกหนามแดง จังหวัดสมุทรสงคราม (เป็นช่วง ๆ)
5.6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ เช่น ขับเคลื่อนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูล (d-DATA) ของไทย เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมไทยในยุคดิจิทัล และเสนอผลงานด้านการพัฒนาดิจิทัลสำคัญของไทยในเวทีประชุม ?Huawei APAC Digital Innovation Congress? ณ ประเทศสิงคโปร์
5.7) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม เช่น พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการปิเปตต์ใช้ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์สำหรับการตรวจหาเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ช่วยลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์ และต่อยอดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตมันสำปะหลัง ?อุบลโมเดล? ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่ ?อุบลโมเดลพลัสนวัตกรรม? เพื่อปรับเปลี่ยนการปลูกมันสำปะหลังอินทรีย์ให้ได้คุณภาพดี โดยในปี 2564 สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้ 1.30 ล้านบาท
6) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก          6.1) พัฒนาศักยภาพและเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ OTOP  ผ้าไทย (Coaching ผ้าขิดลายนารีรัตนราชกัญญา) โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ประเภทผ้าและช่างทอผ้าจาก 4 ภูมิภาค 480 กลุ่ม/ราย
6.2) จัดงาน ?DIPROM ยกระดับสินค้าชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากนำสู่รายได้คืนถิ่นชุมชน? เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565 เพื่อพัฒนาทักษะการผลิตผลิตภัณฑ์และสร้างรายได้ให้ชุมชน เช่น การทำน้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน และการออกบูทให้คำปรึกษาแนะนำต่าง ๆ
6.3) พัฒนาทักษะดิจิทัลให้ชุมชนสร้างโอกาสทางการตลาดออนไลน์ เพื่อยกระดับขีดความสามารถหมู่บ้านอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์บ้านนาต้นจั่น จังหวัดสุโขทัย จัดทำคอนเทนต์เพื่อเล่าเรื่องของชุมชน ส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน เพิ่มช่องทางการจำหน่ายและเพิ่มรายได้ โดยนำระบบดิจิทัลมาผสานกับวิถีชีวิตดั้งเดิมจะช่วยดึงจุดเด่นของชุมชน เพื่อสร้างอาชีพและรายได้ให้เพิ่มขึ้น
7) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย          7.1) ดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพ 349 แห่ง ภายใต้กรอบการดำเนินงานและจุดเน้น 8 ด้าน เช่น ความปลอดภัยของผู้เรียน ระบบประกันคุณภาพ หลักสูตรสมรรถนะการพัฒนาครู การเรียนการสอน และการวัดและประเมินผล
7.2) ปรับปรุงแก้ไขประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เพื่อให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระหนี้สิน และเสริมสภาพคล่องด้านการบริหารจัดการศึกษาเอกชนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยให้โรงเรียนเอกชนในระบบขนาดเล็กขอกู้ยืมเงินจากกองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบได้
7.3) สร้างเครือข่าย สร้างอนาคตให้แรงงานไทย ภายใต้โครงการ 3 ม. ?มีงาน มีเงิน มีวุฒิการศึกษาเพิ่ม? ได้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกรมการจัดหางาน สถาบันการศึกษา 4 แห่ง และสถานประกอบการภาคเอกชน 13 แห่ง และเปิดงานมหกรรม สร้างงาน สร้างอาชีพสู่ EEC ณ วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคตะวันออก ได้เตรียมตำแหน่งงานว่าง 1,700 อัตรา จากสถานประกอบการ 20 แห่ง โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผู้สมัครงาน 1,778 คน และได้รับการบรรจุงาน 1,357 คน
8) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม          8.1) จัด ?มหกรรมคุณภาพ ทุ่งพญาไท? ครั้งที่ 9 ภายใต้แนวคิด ?การพัฒนาระบบบริการสุขภาพในสถานการณ์โควิด-19? มีโรงพยาบาลและสถาบันทางการแพทย์ในพื้นที่ทุ่งพญาไทและย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี 11 แห่ง เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและพัฒนาคุณภาพงานบริการ ทั้งนี้ มีโรงพยาบาลในย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี 4 แห่ง เริ่มแบ่งปันทรัพยากรด้านสุขภาพให้ผู้ป่วย 4 โรค (โรคไส้ติ่งอักเสบ โรคมะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และโรคหัวใจขาดเลือด) เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษามากขึ้น
8.2) ขยายการออกใบรับรองสุขภาพดิจิทัล สำหรับคลินิกเวชกรรม คลินิก             ทันตกรรม คลินิกเทคนิคการแพทย์ ร้านยา และโรงพยาบาลเอกชน เพื่อพัฒนา Digital Health Platform ให้รองรับการใช้งานของประชาชนได้อย่างครอบคลุมทั้งประเทศ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและไม่จำกัดจำนวนผู้ลงนามเป็นเวลา 2 ปี
8.3) กำหนดให้ ?โรคฝีดาษวานร? เป็นโรคติดต่อเฝ้าระวัง โดยศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข กรมควบคุมโรค เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 เนื่องจากยังไม่มีผู้ป่วยในประเทศและยังไม่มีการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง
9) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน          9.1) ดำเนินโครงการก่อสร้างระบบกระจายน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์หนองคลองก่าม และโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูลำปึกบ้านดอนหัน ตำบลหนองไผ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ โดยสามารถเก็บกักน้ำได้ 514,000 ลูกบาศก์เมตร มีประชาชนได้รับประโยชน์ 213 ครัวเรือน และสนับสนุนพื้นที่การเกษตร 480 ไร่
9.2) องค์การอนามัยโลกมอบรางวัล World No Tobacco Day 2022 Awards ความสำเร็จในการขับเคลื่อนนโยบายชายหาดปลอดบุหรี่เป็นต้นแบบให้ทั่วโลกให้กับไทย เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 เนื่องจากการดำเนินนโยบายขับเคลื่อนและผลักดันการสร้างสิ่งแวดล้อง สถานที่ท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ                     ให้ปลอดบุหรี่อย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
10) การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ          ร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 เห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติฯ เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ แก่ผู้ประกันตนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนมีสิทธิเลือกรับบำเหน็จบำนาญชราภาพเป็นหลักประกันการกู้เงินกับสถาบันการเงินได้ และนำเงินกรณีชราภาพที่ตนเองสมทบอยู่ในกองทุนประกันสังคมออกมาใช้ก่อนบางส่วนได้ ตลอดจนรองรับสังคมผู้สูงอายุ
11) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม          ผลการปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตทั่วประเทศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ระหว่างวันที่ 6-11 พฤษภาคม 2565) พบการกระทำผิด 608 คดี คิดเป็นเงินค่าปรับ 10.06 ล้านบาท โดยมีของกลางแยกเป็น น้ำสุรา 2,195.029 ลิตร ยาสูบ 8,556 ซอง ไพ่ 238 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน 13,900 ลิตร รถจักรยานยนต์ 14 คัน
                    2. นโยบายเร่งด่วน 9 เรื่อง ประกอบด้วย
นโยบายเร่งด่วน          มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน          เช่น (1) ลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซล 5 บาทต่อลิตร ระยะเวลา 2 เดือน (ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม - 20 กรกฎาคม 2565) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนและภาคธุรกิจ (2) ดำเนินโครงการ ?พาณิชย์ลดราคา ช่วยประชาชน? เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2565 (3) ให้การช่วยเหลือด้านหนี้สินแก่สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้ได้รับการลดภาระดอกเบี้ย 976 แห่ง 353,274 ราย (4) บริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ด้อยโอกาส มีเกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน 13,946 ราย และ (5) ลดอุปสรรคการประกอบอาชีพประมงพาณิชย์และประมงชายฝั่ง รวมถึงดูแลประมงพื้นบ้านให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น ควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมงให้เป็นไปตามกฎหมาย 279 ครั้ง ตรวจสอบระบบตรวจสอบย้อนกลับของโรงงาน 168 แห่ง ออกใบรับรองการจับสัตว์น้ำและ Annex IV จำนวน 3,391 ฉบับ และสุ่มตรวจชนิดและปริมาณวัตถุดิบสัตว์น้ำหน้าสถานประกอบการ 1,083 ครั้ง
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน          สนับสนุนการพัฒนาและสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน 1,222 กองทุน ครอบคลุมสมาชิก 1.07 ล้านคน ในการจัดสวัสดิการพื้นฐานให้สมาชิกตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย เพื่อสร้างหลักประกันความมั่นคงของคนในชุมชนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
3) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม          ดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2565 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 เห็นชอบการดำเนินโครงการฯ มีพื้นที่เป้าหมายรวมของค่าเบี้ยประกันภัยพื้นฐานและอัตราเบี้ยประกันภัยแบบสมัครใจ 29 ล้านไร่ วงเงิน 1,925.065 ล้านบาท
4) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน           ส่งเสริมการส่งแรงงานไทยไปทำงานรัฐอิสราเอล 208 คน ทั้งนี้ ภาพรวมในปี 2565 ได้จัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศในทุกประเทศ รวม 17,512 คน มีรายได้กลับเข้าประเทศประมาณ 82,506 ล้านบาท
5) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต          (1) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 11 หน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนเมืองพัทยาสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านภาพยนตร์ของยูเนสโกและศูนย์กลางอุตสาหกรรมในการดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ สู่การขยายฐานสร้างรายได้กับชุมชนและเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ และ (2) สนับสนุนการลงทุนเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 มีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง 183 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 93,972 ล้านบาท
6) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21          (1) แก้ไขปัญหาข่าวปลอม ข่าวบิดเบือน โดยในเดือนพฤษภาคม 2565 ศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม (Anti-Fake News Center: AFNC) ได้ตรวจสอบข้อความข่าว 306 เรื่อง (ข่าวปลอม 63 เรื่อง ข่าวจริง 219 เรื่อง ข่าวบิดเบือน 24 เรื่อง) และนำไปเผยแพร่ 187 เรื่อง และรอดำเนินการเผยแพร่ 119 เรื่อง และ (2) เฝ้าระวังเว็บไซต์ผิดกฎหมาย ได้มีคำสั่งศาลให้ระงับการแพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย 11 คำสั่งศาล รวม 271 URLs
7) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้          ในเดือนพฤษภาคม 2565 กองกำลังป้องกันชายแดนได้สกัดกั้นและปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติด สามารถจับกุมผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติด 108 ครั้ง ผู้ต้องหา 108 คน ยึดได้ของกลางยาบ้า 14,409,967 เม็ด ไอซ์ 10 กิโลกรัม เฮโรอีน 0.265 กิโลกรัม คีตามีน 132 กิโลกรัม ฝิ่น 1.272 กิโลกรัม กัญชาแห้ง 3,250.246 กิโลกรัม และดอกกัญชาแห้ง 27 กิโลกรัม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จับกุมคดียาเสพติด 22,205 คดี ผู้ต้องหา 22,771 คน ยึดของกลางยาบ้า 62,077,221 เม็ด ไอซ์ 545.78 กิโลกรัม เฮโรอีน 1.12 กิโลกรัม กัญชา (แห้ง) 5,653.46 กิโลกรัม โคเคน 1.55 กิโลกรัม เคตามีน 137.56 กิโลกรัม และ   ยาอี 42,474 เม็ด
8) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน          อยู่ระหว่างปรับปรุงเงื่อนไขวีซ่าประเภทพิเศษ ?Smart Visa? เพื่อขยายขอบข่ายการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแก่บุคลากรทักษะสูง/ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหาร และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศผ่านวีซ่าประเภทพิเศษ SMART Visa ให้กว้างและจูงใจมากขึ้น รวมถึงผ่อนปรนหลักเกณฑ์ที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤษภาคม 2565 มีผู้ขอรับรองคุณสมบัติ 234 คำขอ และมีผู้ผ่านการรับรองฯ 164 คำขอ
9) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย          ได้มีการสำรวจและซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนที่ประสบวาตภัยในพื้นที่ 23 จังหวัด มีบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 1,490 หลังคาเรือน ดำเนินการซ่อมแซมแล้ว 1,395 หลังคาเรือน
* คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 รับทราบผลการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้าร่วมการประชุม Nikkei Forum ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 26-27 พฤษภาคม 2565 และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ

10. เรื่อง การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินการโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,249.296 ล้านบาท ให้กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) เพื่อดำเนินงานโครงการพัฒนาอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม ตามความเห็นของ                 สำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อก. รายงานว่า
                    1. การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมของไทย ทำให้การว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น กำลังซื้อภายในประเทศจึงปรับตัวลดลงตามไปด้วยเนื่องจากรายได้ของครัวเรือนลดลง นอกจากนี้ภาคเกษตรไทยยังมีแนวโน้มที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว รุนแรง และบ่อยครั้งขึ้น รัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับการเยียวยา               ผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และการฟื้นฟูกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม                ให้กลับเข้าสู่สภาวะปกติโดยเร็ว โดยเฉพาะการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจฐานรากภายในประเทศ (Local Economy) ควบคู่ไปกับการกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคเพื่อให้เติบโตอย่างยั่งยืน
                    2. อก. ได้นำนโยบายไปปฏิบัติ โดยมุ่งเป้าการพัฒนาชุมชนให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในวิถีปกติใหม่เป็น ?ชุมชนดีพร้อม? ที่มีความเข้มแข็ง สามารถสร้างรายได้อย่างยั่งยืนผ่านกลไก ?7 วิธีปั้นชุมชนดีพร้อม? ดังนี้
7 วิธี ปั้นชุมชนดีพร้อม          รายละเอียดโดยสรุป
1. แผนชุมชนดีพร้อม          เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ ในประเด็นเศรษฐกิจฐานราก ที่มีการวิเคราะห์ศักยภาพเฉพาะของแต่ละพื้นที่ และจุดเด่นของแต่ละชุมชน อย่างมีส่วนร่วมกับคนในท้องถิ่น
2. คนชุมชนดีพร้อม          - คนต้องมีอาชีพและอาชีพเสริมที่สร้างรายได้อย่างพอเพียงได้
- นักศึกษาต้องมีโอกาสและอาชีพในชุมชนบ้านเกิด
- สร้างความเข้มแข็งและเครือข่ายให้กับผู้นำชุมชนในแต่ละระดับ
- ขยายผลตามโมเดลดีพร้อมฮีโร่ (DIPROM HEROES) หรือโครงการสร้างเครือข่ายผู้นำธุรกิจยุคใหม่เพื่อสร้างไทยยั่งยืนที่เป็นการพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมให้เป็นกลไกการพัฒนาชุมชน
3. แบรนด์ชุมชนดีพร้อม          สร้างแบรนด์ให้ชุมชนจากอัตลักษณ์อันเป็นจุดเด่นในพื้นที่ ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้ว อาทิ ชุมชนสรรพยา อำเภอสรรพยา โดยใช้โรงพักสรรพยา 100 ปี ชุมชนตลาดย้อนยุคสรรคบุรี อำเภอสรรคบุรี เป็นต้น
4. ผลิตภัณฑ์ชุมชนดีพร้อม          ต่อยอดผลิตภัณฑ์เด่นหรือมีอัตลักษณ์ในพื้นที่เพื่อเสริมความน่าสนใจและจุดเด่นให้ชุมชนและกระตุ้นความต้องการของผู้ซื้อและนักท่องเที่ยวให้แก่ชุมชน
5. เครื่องจักรชุมชนดีพร้อม          ยกระดับการผลิตในภาคเกษตรอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์ชุมชนสู่กระบวนการผลิตแบบ 4.0 ในแต่ละชุมชน โดยพัฒนาเครื่องจักรที่ออกแบบมาอย่างเฉพาะทาง มีการให้บริการเครื่องจักรแปรรูปและเครื่องจักรกลเกษตรอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ผ่าน Application IAID และศูนย์ดีพร้อมเซ็นเตอร์ทั่วประเทศ
6. ตลาดชุมชนดีพร้อม          สร้างโอกาสให้ผลิตภัณฑ์ชุมชน สามารถเข้าสู่ช่องทางการตลาดในร้าน Modern Trade และตลาดออนไลน์
7. เงินหมุนเวียนดีพร้อม          มีมาตรการสินเชื่อระยะสั้นสำหรับผู้ประกอบการ ร่วมกับการเสริมอาวุธความรู้ทางธุรกิจและการจัดการเงิน
ซึ่งสำหรับกลไก ?คนชุมชนดีพร้อม? อก. โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ได้เริ่มดำเนินโครงการ ?พัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อม? เพื่อเสริมทักษะในการประกอบธุรกิจใน 7 พื้นที่นำร่อง1 อก.จึงมีข้อเสนอในการขยายผลโครงการให้ครอบคลุมทั้งประเทศ (ข้อเสนอในครั้งนี้) โดยขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อดำเนินงานโครงการ วงเงิน 1,249.296 ล้านบาท โดยโครงการมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 วัตถุประสงค์ : ส่งเสริมและพัฒนาคนในชุมชนให้มีองค์ความรู้และทักษะที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ และพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนเพื่อขับเคลื่อนฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ
                              2.2 กลุ่มเป้าหมาย
                                        2.2.1 ผู้รับประโยชน์โดยตรง : คนในชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 (ผู้ประกอบการ OTOP กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ราษฎรที่เกี่ยวข้อง) ผู้ที่ถูกเลิกจ้างและกลับคืนถิ่น ตลอดจนประชาชนที่สนใจเพิ่มทักษะองค์ความรู้ให้ตนเองกว่า 700,000 คน
                                        2.2.2 ผู้รับประโยชน์โดยอ้อม : ชุมชนอย่างน้อย 400 พื้นที่ทั่วประเทศได้รับการส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งภายหลังโควิด 19
                              2.3 ผลสัมฤทธิ์ : เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 12,490 ล้านบาท
                              2.4 ระยะเวลาดำเนินการ : 3 เดือน ระหว่างกรกฎาคม - กันยายน 2565
                              2.5 การดำเนินการ : จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานและทักษะอาชีพที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ โดยแบ่งหลักสูตรการพัฒนาออกเป็น 4 หลักสูตร ดำเนินการผ่านศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 12 แห่ง และส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) และมีค่าบริหารจัดการโครงการ ได้แก่
หลักสูตร          จำนวน (คน)          วงเงิน (ล้านบาท)
หลักสูตรที่ 1 พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการผลิต
เช่น กลุ่มอาชีพการทำของใช้ในครัวเรือน (ไม้กวาดทางมะพร้าว น้ำยาล้างจาน เป็นต้น) กลุ่มอาชีพหัตถกรรมพื้นบ้าน (งานจักรสาน เครื่องประดับและของที่ระลึก เป็นต้น)           350,000          529.900
หลักสูตรที่ 2 พัฒนาทักษะอาชีพพื้นฐานด้านการบริการ
เช่น กลุ่มอาชีพช่าง (ซ่อมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ซ่อมรถ ซ่อมแอร์ เป็นต้น)
กลุ่มอาชีพบริการ (ช่างเย็บผ้า ช่างตัดผม เป็นต้น)
          40,000          67.560
หลักสูตรที่ 3 พัฒนาด้านผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์หรืออัตลักษณ์และแบรนด์สินค้า เพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์มีความโดดเด่น สอดรับกับความต้องการของตลาดและสามารถกระจายสินค้าและบริการได้อย่างกว้างขวาง          270,000          476.280
หลักสูตรที่ 4 พัฒนาต่อยอดทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ
เช่น การบริหารจัดการเงินในภาคครัวเรือน/ภาคธุรกิจ การจัดทำแผนธุรกิจ
การบัญชี การตลาด เป็นต้น          40,000          48.560
ค่าบริหารจัดการโครงการ เช่น ค่าประชาสัมพันธ์โครงการ ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม (ค่าเบี้ยเลี้ยง ที่พัก พาหนะ) ค่าใช้จ่ายในการติดตามและประเมินผลโครงการโดยบุคคลภายนอก ค่าเปิดตัวโครงการ (Kick Off) ค่าจ้างเหมาบุคลากรเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน          -          126.996
รวม          700,000          1,249.296
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายของหลักสูตรที่ 1 - 4 เช่น ค่าจัดประชุม หรือจัดกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในชุมชน และกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้ารับการพัฒนาได้มากกว่า 1 หลักสูตร
                    3. สำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นชอบในหลักการให้ อก. (กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 1,249.296 ล้านบาท เพื่อดำเนินงานโครงการดังกล่าว โดยให้พิจารณาปรับลดวงเงินและเป้าหมายการดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่เหลือภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และตามศักยภาพในการดำเนินงานของหน่วยงาน โดยขอทำความตกลงรายละเอียดค่าใช้จ่ายกับ สงป. ตามขั้นตอน (อก. ได้ปรับปรุงรายละเอียดโครงการให้สอดคล้องกับความเห็นของ สงป. เรียบร้อยแล้ว)
* 7 พื้นที่นำร่อง ประกอบด้วย จังหวัดสุโขทัย พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท สงขลา ชลบุรี และยะลา

11. เรื่อง ขอความเห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. 2565 - 2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เสนอ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย [ยุทธศาสตร์ด้าน Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Tourism: AML/CFT)] พ.ศ. 2565 - 2570 เพื่อให้สำนักงาน ปปง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักงาน ปปง. รายงานว่า เนื่องจากยุทธศาสตร์ด้าน AML/CFT พ.ศ. 2560 - 2564 ได้สิ้นสุดระยะเวลาลงแล้ว สำนักงาน ปปง. จึงได้จัดทำ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ด้าน AML/CFT พ.ศ. 2565 - 2570 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและความท้าทายต่าง ๆ รวมทั้งให้สามารถรับมือกับความเสี่ยงและภัยคุกคามจากอาชญากรรมการฟอกเงิน การสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงรูปแบบใหม่ ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ และต่อมาสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในคราวประชุมเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ โดยขอให้สำนักงาน ปปง. ปรับปรุง (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ ตามความเห็นของที่ประชุมให้มีความชัดเจน สามารถใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานด้าน AML/CFT ของประเทศไทย และปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องจากการประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลอย่างเป็นระบบ ซึ่งสำนักงาน ปปง. ได้ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมการประสานและกำกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้าน AML/CFT ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุฯ) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ฯ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. วิสัยทัศน์
                              เป็นเลิศด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน การต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Money Laundering, Terrorism Financing and Proliferation Financing: ML/TF/PF) อย่างมีมาตรฐานสากล
                    2. พันธกิจ
                              2.1 ขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
                              2.2 เสริมสร้างความร่วมมือทุกภาคส่วนในการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF
                              2.3 ส่งเสริมการกำกับดูแลของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ผู้มีหน้าที่รายงานปฏิบัติตามมาตรการด้าน AML/CFT
                              2.4 เสริมสร้างองค์ความรู้ที่หลากหลายเพื่อมุ่งสู่การดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ในรูปแบบดิจิทัล
                              2.5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อกำหนดประเด็นทางสังคมด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF สู่ภาคประชาสังคม
                              2.6 เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการองค์กรและทุนมนุษย์ด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ให้มีประสิทธิผลตามหลักธรรมาภิบาล
                    3. ยุทธศาสตร์ : ยุทธศาสตร์ด้าน AML/CFT พ.ศ. 2565 - 2570 ใช้เป็นกรอบการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยยึดหลักการดำเนินงานในเชิงบูรณาการอย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ซึ่งสำนักงาน ปปง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องใช้ยุทธศาสตร์ด้าน AML/CFT เป็นแผนแม่บทในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบด้าน AML/CFT และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการในปี 2566-2570 ต่อไป ดังนี้
เป้าประสงค์ เช่น          กลยุทธ์          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ผลักดันมาตรการเชิงรุกด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ของประเทศไทยให้มีประสิทธิผลตามมาตรฐานสากล
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีการประเมินความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF และสามารถนำผลการประเมินความเสี่ยงมาใช้ในการกำหนดนโยบาย มาตรการ หรือกลไกในการกำกับดูแลและปฏิบัติตามให้สอดคล้องกับนโยบายด้าน AML/CFT ของไทย          - สร้างความตระหนักแก่หน่วยงาน        ที่เกี่ยวข้องถึงผลกระทบที่สำคัญที่เกี่ยวกับความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF
- พัฒนาแนวปฏิบัติแก่ผู้ปฏิบัติงานในหน่วนที่เกี่ยวข้องในทุกมูลฐาน          สำนักงาน ปปง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง [เช่น สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)]
2. ส่งเสริมมาตรการเชิงรุกในการป้องกันอาชญากรรมที่มีความเสี่ยงสูง          - พัฒนามาตรการเชิงรุกในการป้องกันอาชญากรรมที่มีความเสี่ยงสูง          หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ     มูลฐานความเสี่ยงสูง
(เช่น สำนักงาน ปปง.)
3. หน่วยข่าวกรองทางการเงินและ  หน่วยข่าวกรองด้านความมั่นคงมีการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์และข่าวกรองเชิงรุกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ และส่งต่อข้อมูลข่าวสารและผลการวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการด้าน AML/CFT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ          - จัดทำระบบ/กลไกของหน่วยข่าวกรองทางการเงิน ระบบการรักษาความมั่นคง ความปลอดภัยและความลับของข้อมูลที่น่าเชื่อถือเพื่อสนับสนุนการวิเคราะห์เชิงยุทธศาสตร์สำหรับการปฏิบัติการด้าน AML/CFT
- พัฒนามาตรฐานกลไก หรือกระบวนการการรักษาความมั่นคงความปลอดภัยและความลับของข้อมูลทางการเงินอย่างเป็นระบบและน่าเชื่อถือ          สำนักงาน ปปง. และผู้มีหน้าที่รายงาน (เช่น สถาบันการเงินตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และกรมที่ดิน)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 บูรณาการการดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ทั้งในและต่างประเทศ    ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
1. เครือข่ายความร่วมมือครอบคลุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศและภาคประชาสังคม          - แสวงหาเครือข่ายความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือความช่วยเหลือทางอาญา และการส่งผู้ร้ายข้ามแดนเชิงรุก/ตามคำขอให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ          อส. กรมสนธิสัญญาและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย [เช่น สำนักงาน ปปง. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)]
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความร่วมมือและประสานเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศอย่างเหมาะสมในการดำเนินการด้าน AML/CFT           - พัฒนาความร่วมมือและการประสานงานเพื่อต่อต้าน ML/CF/PF ที่มีประสิทธิผล
- แลกเปลี่ยนข้อมูลหรือทรัพยากรกับเครือข่ายทั้งในและต่างประเทศในการปฏิบัติการด้าน AML/CFT
- เสริมสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายในการป้องกันและปราบปราม ML/CF/PF ของไทย          อส. หน่วยงานด้านความมั่นคง [เช่น สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ] และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย (เช่น สำนักงาน ปปง. และ ตช.) หน่วยงานกำกับดูแลด้านเสถียรภาพทางการเงิน [เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.)]
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมมาตรการและระบบการกำกับดูแลของหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีหน้าที่ในการป้องกันและปราบปราม ML/ธF/PF พร้อมทั้งส่งเสริมให้ผู้มีหน้าที่รายงานปฏิบัติตามมาตรการด้าน AML/CFT
1. หน่วยกำกับดูแลสถาบันการเงินและ  ผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีความร่วมมือในการกำกับดูแลและมีระบบการกำกับดูแลที่สอดคล้องกับความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF รวมทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากเทคโนโลยีใหม่ เช่น สินทรัพย์ดิจิทัล          - ส่งเสริมและพัฒนากลไกหรือมาตรการในการตรวจสอบและการกำกับร่วมที่สอดคล้องกับความเสี่ยงของหน่วยกำกับดูแล
- ส่งเสริมให้สมาคมภาคธุรกิจมีการรวมตัวเพื่อพัฒนาการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้าน AML/CFT
- เพิ่มศักยภาพหน่วยกำกับดูแลในการดำเนินการตรวจสอบรายงานธุรกรรมต้องสงสัยจากสถาบันการเงิน          สำนักงาน ปปง. หน่วยงานกำกับดูแลด้านเสถียรภาพทางการเงิน (เช่น ธปท. และสำนักงาน ก.ล.ต.) และผู้มีหน้าที่รายงาน (เช่น สถาบันการเงินฯ และกรมที่ดิน)
2. สถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีความเข้าใจลักษณะและระดับความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF เป็นอย่างดี          - ส่งเสริมการพัฒนาสถาบันการเงินและผู้ประกอบอาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงินให้มีความรู้ความเข้าใจความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
3. หน่วยงานกำกับดูแลมีระบบป้องกันไม่ให้องค์กรไม่แสวงหากำไรถูกใช้เป็นช่องทาง ML/TF/PF          - พัฒนากลไกมาตรการในการกำกับดูแลองค์กรไม่แสวงหากำไรที่สอดคล้องกับความเสี่ยง
- ส่งเสริมให้องค์กรไม่แสวงหากำไรเข้ามาอยู่ในระบบการกำกับดูแล          หน่วยงานกำกับดูแล (เช่น สำนักงาน ปปง. และกรมการปกครอง)
4. นิติบุคคล และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมีความตระหนักและมีความเข้าใจความเสี่ยงด้าน ML/TF/PF           - เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจความเสี่ยงแก่นิติบุคคล และหน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง          กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์ใหม่ และแนวทางการประกอบธุรกิจแบบใหม่ เพื่อมุ่งสู่การดำเนินงานด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ในรูปแบบดิจิทัล
1. มีองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม/เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการสนับสนุนการดำเนินงานหรือขับเคลื่อนภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญด้าน AML/CFT อย่างมีประสิทธิภาพ          - พัฒนา/นำองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม/เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญด้าน AML/CFT           ทุกหน่วยงาน
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเครือข่ายมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านนวัตกรรม/เทคโนโลยีใหม่ ๆ           - ส่งเสริมการจัดทำองค์ความรู้เพื่อขับเคลื่อนภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ที่สำคัญด้าน AML/CFT
- พัฒนากลไกความร่วมมือในการแลกเปลี่ยน ส่งต่อ เชื่อมโยง และบูรณาการองค์ความรู้ด้าน AML/CFT ร่วมกัน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 สร้างความร่วมมือและเผยแพร่ข้อมูลด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF สู่ภาคประชาสังคม
1. ประชาชนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจด้าน AML/CFT          - ส่งเสริมองค์ความรู้ด้าน AML/CFT
- เพิ่มประสิทธิภาพด้านการประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้าน AML/CFT และพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย          สำนักงาน ปปง.
2. ประชาชนมีความตื่นตัวและร่วมมือในด้าน AML/CFT ของไทย          - ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมมือในด้าน AML/CFT ของไทย          สำนักงาน ปปง. และหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย (เช่น สำนักงาน ปปง. และ ตช.)
ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาองค์กรสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง (High Performance Organization) ด้านการป้องกันและปราบปราม ML/TF/PF ของไทยให้มีประสิทธิผล
1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีโครงสร้างที่สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจด้าน AML/CFT           - ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจด้าน AML/CFT เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง          ทุกหน่วยงาน
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีอัตรากำลังที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการดำเนินงานด้าน AML/CFT           - ทบทวนและปรับปรุงกรอบอัตรากำลังด้าน AML/CFT ให้มีความเหมาะสมและรองรับการเปลี่ยนแปลง
3. บุคลากรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติภารกิจงานด้าน AML/CFT ได้          - พัฒนาบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้าน AML/CFT ให้มีความเป็นมืออาชีพ
- สร้างแพลตฟอร์มที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกันของบุคลากรด้าน AML/CFT
4. มีฐานข้อมูลเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้าน AML/CFT ที่สามารถใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในระดับนโยบายได้          - พัฒนาระบบ Big Data/Data Analytics เพื่อใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการดำเนินงานในทุกมูลฐาน          สำนักงาน ปปง.
                    4. ตัวชี้วัด ประกอบด้วย (1) ไทยมีผลการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT ที่ดีขึ้น และได้ปรับระดับจากกลุ่มติดตามแบบเฝ้าระวัง เป็นกลุ่มที่มีการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลในระดับดี โดยมีความสอดคล้องด้านกรอบกฎหมายอย่างน้อย 33 ข้อ จาก 40 ข้อ และด้านประสิทธิผลอย่างน้อย 5 ด้าน จาก 11 ด้าน และ (2) ประมาณการมูลค่าทรัพย์สินจากการยึดทรัพย์สินคดีที่มีความเสี่ยงสูงเพิ่มมากขึ้น

12. เรื่อง  รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ  รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนพฤษภาคม 2565 โดยเป็นการรายงานดัชนีอุตสาหกรรม  รวมถึงภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและแนวโน้มในสาขาอุตสาหกรรมที่สำคัญ  เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการติดตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศ
                    สาระสำคัญ
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวร้อยละ 2.1 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่อุปทานโลก ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบบางรายการ
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนพฤษภาคม 2565 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
                    1. ยานยนต์ หดตัวร้อยละ 9.11 จากการขาดแคลนชิ้นส่วนและเซมิคอนดักเตอร์ที่ใช้ผลิตรถยนต์บางรุ่น รวมทั้งผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ทำให้การส่งออกหดตัว
                    2. Hard Disk Drive หดตัวร้อยละ  29.74 จากการขาดแคลนวัตถุดิบซึ่งส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบของมาตการการควบคุมโควิด-19 ของประเทศจีน
                    3. เม็ดพลาสติก หดตัวร้อยละ 15.59 จากการปิดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ยังขยายตัวในเดือนพฤษภาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน
                    1. การกลั่นน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.06 เนื่องจากหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด -19 ทำให้การเดินทางท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทั้งทางบกและทางอากาศ โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น ทั้งการท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ
                    2. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.29 ตามความต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ในตลาดโลกที่ขยายตัวต่อเนื่อง

13. เรื่อง  ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2565                และครั้งที่ 14/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 13/2565 และครั้งที่ 14/2565 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ) ดังนี้
                    1. อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญโครงการพัฒนาศักยภาพระบบบริการสุขภาพ รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (A001) รอบที่ 1 และรอบที่ 2 ของหน่วยงานส่วนภูมิภาค โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการจากเดือนมิถุนายน 2565 เป็นเดือนกันยายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    2. อนุมัติให้กรมควบคุมโรค เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุข เพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องมาจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และโครงการค้นหาเชิงรุกสำหรับกลุ่มเสี่ยงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในระดับพื้นที่ โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการ เป็นเดือนสิงหาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                    3. เห็นควรมอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และกรมควบคุมโรค เร่งรัดการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ขอขยายอย่างเคร่งครัด รวมถึงให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการฯ ในระบบ eMENCER ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการ สำหรับรายการที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีความประสงค์จะยกเลิกรายการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เห็นควรดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 19 และ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563

14. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้  ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม                พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2565
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้  ภายใต้    พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2565 ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คณะกรรมการฯ) เสนอ ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอแนวทาวงการดำเนินการตามมาตรา 6 แห่งพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ครั้งที่ 8) การพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนี้
          1. อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (3) มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (1) เพิ่มเติม (ครั้งที่ 2) จำนวน 2,021.4692 ล้านบาท เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการแก้ปัญหาการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
          2. อนุมัติโครงการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ค่ารักษาพยาบาลแก่กลุ่มผู้ไร้สิทธิการรักษาพยาบาลโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงิน 1,923.1426 ล้านบาท สำหรับเป็นการจ่ายชดเชยค่าบริการแก่บุคคลไร้สิทธิการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริงและได้ดำเนินการไปแล้วในช่วงเดือนตุลาคม 2564-เดือนมิถุนายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
          3. อนุมัติโครงการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ค่าฉีดวัคซีนกลุ่มบุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิ รวมทั้งผู้ที่ไม่ใช่ประชาชนไทย) ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรอบวงเงิน 98.3266 ล้านบาท สำหรับเป็นการจ่ายชดเชยค่าบริการฉีดวัคซีนแก่บุคคลที่มีปัญหาสถานะและสิทธิและบุคคลที่ไม่ใช่คนไทยที่เกิดขึ้นจริงและได้ดำเนินการไปแล้วในช่วงเดือนตุลาคม 2564-มิถุนายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
          4. มอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 2 และ 3 ดำเนินการจัดทำแผนความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 โดยเคร่งครัดต่อไป
          5. เห็นชอบในหลักการของโครงการในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข จำนวน 6 โครงการ กรอบวงเงิน 14,510.3059 ล้านบาท จ่ายค่าตอบแทน/ค่าเสี่ยงภัย แก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่
                    1) โครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019                (COVID-19) ของกองสาธารณสุขฉุกเฉิน
                    2) ค่าตอบแทนบุคลากรนอกเหนือภารกิจปกติ ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
                    3) โครงการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหาและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกรมการแพทย์
                    4) โครงการจ่ายค่าตอบแทนการเสี่ยงภัยในการปฏิบัติงานบริการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
                    5) โครงการจ่ายค่าตอบแทนการเสี่ยงภัยในการปฏิบัติงานบริการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของกรมสุขภาพจิต
                    6) โครงการสนับสนุนการจัดบริหารทางการแพทย์และสารธารณสุขรองรับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)  ของกรมอนามัย
 เพื่อเป็นการชำระค่าตอบแทน/เสี่ยงภัยแก่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขจากภารกิจที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข เร่งดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการฯ และปฏิบัติตามขั้นตอนของระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

ต่างประเทศ
15.  เรื่อง ร่างบันทึกความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยการจัดนายทหารติดต่อของกองทัพไทยประจำกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด ? แปซิฟิก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยการจัดนายทหารติดต่อของกองทัพไทยประจำกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด ? แปซิฟิก (ร่างบันทึกความตกลงฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงรายละเอียดของร่างบันทึกความตกลงฯ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญให้กระทรวงกลาโหม (กห.) พิจารณาดำเนินการได้ตามความเหมาะสม รวมทั้งให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความตกลงฯ โดยให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers)                 ให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ร่วมลงนามในร่างบันทึกความตกลงฯ ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
(ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและผู้บัญชาการกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด ? แปซิฟิก มีกำหนดลงนามร่วมกันในร่างบันทึกความตกลงฯ ในเดือนสิงหาคม 2565)

                    สาระสำคัญของเรื่อง
          สหรัฐอเมริกาได้เสนอร่างบันทึกความตกลงฯ ให้ฝ่ายไทย (กองบัญชาการกองทัพไทย: บก.กองทัพไทย) พิจารณาในการประชุมความร่วมมือทางทหารระหว่างไทย - สหรัฐอเมริกา ระดับฝ่ายเสนาธิการอาวุโส (Thai - American Consultation Senior Staff Talks: THAI TAC SST) ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 12 - 17 สิงหาคม 2562 ณ มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเอกสารที่กำหนดรายละเอียดในการส่งนายทหารติดต่อของกองทัพไทยไปปฏิบัติหน้าที่ ณ กองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด ? แปซิฟิก (ณ มลรัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา) โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมพิจารณาปรับแก้ถ้อยคำจนได้ข้อยุติแล้ว
          กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงกลาโหมแห่งสหรัฐอเมริกา ว่าด้วยการจัดนายทหารติดต่อของกองทัพไทยประจำกองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด ? แปซิฟิก (ร่างบันทึกความตกลงฯ) ซึ่งเป็นเอกสารที่กำหนดรายละเอียดในการส่งนายทหารติดต่อของกองทัพไทย (ข้าราชการทหารหรือพนักงานพลเรือนของกองทัพไทยผู้ซึ่งจะได้รับอนุมัติหรือการรับรองจาก กห. สหรัฐอเมริกาโดยได้รับมอบอำนาจจาก กห. ให้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนอย่างเป็นทางการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแผนงาน โครงการ หรือเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลของคู่ภาคี)               ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ กองกำลังสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นอินโด ? แปซิฟิก ซึ่งมีรายละเอียด เช่น (1) หน้าที่และการปฏิบัติของนายทหารติดต่อ: จะต้องปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย และข้อบังคับทั้งปวงของรัฐบาลภาคีสหรัฐอเมริกา และจะไม่เผยแพร่หรือเปิดเผยข้อมูลที่นายทหารติดต่อเข้าถึงได้ต่อบุคคล บริษัท องค์กร หรือรัฐบาล              อื่นใดโดยไม่ได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากภาคีเจ้าภาพก่อน (2) ข้อตกลงทางการเงิน : กห. จะรับผิดชอบต้นทุนและค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นของนายทหารติดต่อ เช่น ค่าตอบแทนและค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทาง ค่าครองชีพที่เกิดขึ้นทั้งหมด (3) การระงับข้อพิพาท : จะได้รับการแก้ไขผ่านการหารือระหว่างคู่ภาคีเท่านั้นและจะไม่ถูกนำไปอ้างถึงต่อบุคคล ศาลภายในประเทศและศาลระหว่างประเทศหรือเวทีรูปแบบอื่นใดเพื่อการยุติข้อขัดแย้งนั้น และ                (4) การมีผลบังคับใช้และการสิ้นสุด: ตั้งแต่วันที่ลงนามเป็นระยะเวลา 10 ปี

16.  เรื่อง  ขอความเห็นชอบต่อร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเตส์ และยูเครน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และยูเครน รวมทั้งให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย                  ลงนามในร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และยูเครน ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ตั้งแต่ปลายปี 2563 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้เห็นชอบให้รัฐต่าง ๆ เข้าเป็นอัครภาคีสนธิสัญญาฯ รวม 6 รัฐ ได้แก่ เดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ นอกจากนี้ คาดว่ารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะเห็นชอบให้ยูเครนเข้าเป็นอัครภาคีสนธิสัญญาฯ ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 ในวันที่ 3 สิงหาคม 2565 โดยเล็งเห็นประโยชน์ว่า การเข้าเป็นอัครภาคีสนธิสัญญาฯ ถือเป็นการแสดงท่าทีของยูเครนที่จะยอมรับในหลักการพื้นฐานของอาเซียนที่ระบุไว้สนธิสัญญาฯ โดยมิได้มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอกอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงรัสเซีย
                    โดยปกติเมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนให้ความเห็นชอบให้รัฐใดเข้าเป็นอัครภาคีสนธิสัญญาฯ แล้ว ประธานอาเซียนจะจัดพิธีลงนามตราสารสนธิสัญญาฯ รวม 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ตราสารขยายจำนวนอัครภาคีสนธิสัญญาฯ (Instrument of Extension) ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนทั้งสิบประเทศ และ (2) ตราสารภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ (Instrument of Accession) ให้รัฐมนตรีต่างประเทศของรัฐที่จะเข้าเป็นอัครภาคีสนธิสัญญาฯ ลงนาม
                    ปัจจุบัน กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนอยู่ระหว่างขอรับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเพื่อให้สามารถจัดพิธีลงนามตราสารภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ ได้ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยสำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดทำต้นแบบหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพิจารณาใช้ประโยชน์ และเพื่อให้หนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ ของแต่ละประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

17.  เรื่อง  ร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น ว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ                     การสื่อสาร และดิจิทัล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น ว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัล ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือฉบับดังกล่าวตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างบันทึกความร่วมมือฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัล บนหลักการของความเท่าเทียม การต่างตอบแทน การเคารพซึ่งกันและกัน และผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย
2. ขอบเขตการดำเนินงานของร่างบันทึกความร่วมมือฯ ได้แก่
                              (1) การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในด้านการตรวจสภาพอากาศและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ
                              (2) การส่งเสริมการแบ่งปันความรู้ในด้านเทคโนโลยี นวัตกรรม การบริการและแอพพลิเคชั่น ในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและดิจิทัล
                              (3) การส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสารและดิจิทัล รวมถึงศูนย์ความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
                               (4) การส่งเสริมความร่วมมือด้านไปรษณีย์ภายใต้บันทึกความร่วมมือในสาขาไปรษณีย์ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น
                              (5) การส่งเสริมความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีการสื่อสารทางวิทยุที่ทันสมัย ได้แก่ การปรับใช้และใช้งาน 5G แบบเปิดกว้างและปลอดภัย และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                              (6) การส่งเสริมการเร่งลงทุนในประเทศไทยของบริษัทด้านไอซีทีของญี่ปุ่น
                              (7) ความร่วมมืออื่น ๆ  ในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และดิจิทัลที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงร่วมกัน
                    3. กิจกรรมความร่วมมือภายใต้ร่างบันทึกความร่วมมือฯ ได้แก่
                              (1) ความร่วมมือด้านนโยบายและเทคโนโลยี
                              (2) การกำหนดและการอำนวยความสะดวกในโครงการร่วม
                              (3) การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ และผู้แทน
                              (4) การสนับสนุนการประสานงานกับหน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ และองค์การด้านอุตสาหกรรม วิชาการ และองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในสาขาที่สนใจ
                              (5) การร่วมจัดการทดลองสาธิต นิทรรศการ สัมมนา การประชุมทางวิชาการและการเข้าร่วมอบรม
                              (6) รูปแบบความร่วมมืออื่น ๆ ที่ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกัน โดยจะมีการหารือเพิ่มเติมระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายสำหรับแต่ละกิจกรรม
                    4. บันทึกความร่วมมือฉบับนี้ไม่ใช่เอกสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายและไม่ก่อให้เกิดสิทธิและ             ข้อผูกพันระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย
                    5. ความร่วมมือภายใต้บันทึกความร่วมมือฉบับนี้จะมีผลเป็นระยะเวลา 5 ปี และอาจจะมีการต่ออายุ โดยการตกลงร่วมกันของผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายไปเป็นระยะเวลาอีก 5 ปี เว้นแต่จะมีการบอกเลิกโดยผู้เข้าร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแบบเป็นลายลักษณ์อักษรแก่ผู้เข้าร่วมอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นระยะเวลา 6 เดือน ก่อนวันที่มีผลบังคับใช้
                    6. ผู้ลงนามฝ่ายไทยคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และผู้ลงนาม                ฝ่ายญี่ปุ่นคือ นายคาเนโกะ ยาซูชิ รัฐณตรีว่าการกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น

แต่งตั้ง
18.  เรื่อง  การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ               (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ แต่งตั้ง นายวิฑูร                  เอี่ยมโอภาส ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการกระจายอำนาจ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ จำนวน              2 ราย ดังนี้
                    1. นายวีระกิตติ์ หาญปริพรรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ประเภทบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (ประเภทบริหาร ระดับสูง) กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม
                     2. พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล ที่ปรึกษาเฉพาะด้านนโยบายและการบริหารงานยุติธรรม (ประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงยุติธรรม แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ (ประเภทบริหาร ระดับสูง) สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม
                     ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ