สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 สิงหาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday August 9, 2022 15:38 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (9 สิงหาคม 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2                                         หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ที่ให้สันนิษฐานไว้                                        ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    3.           เรื่อง           ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 เรื่อง การดำเนินโครงการ

ใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า

                    4.           เรื่อง           ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงิน                                        สำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการ                                        บริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง

ปี 2565/2566

                    5.           เรื่อง           การปรับปรุงแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม
                    6.           เรื่อง            ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่าย                                        ภาครัฐ ครั้งที่ 2/2565
                    7.            เรื่อง            รายงานประจำปีผลการดำเนินงานคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน

ชุดที่ 3 ปีที่ 2

                    8.           เรื่อง            รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270                                         ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 15 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2565)
                    9.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย                                         ประจำปี 2564
                    10.           เรื่อง           ขออนุมัติให้ยกเลิกโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ                                        ภาค 2 และงานประกอบ ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี

1 อาคาร

                    11.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมิถุนายน 2565
                    12.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม 2565
ต่างประเทศ

                    13.           เรื่อง           การเปลี่ยนชื่อประเทศของสาธารณรัฐตุรกี
                    14.            เรื่อง            ร่างพิธีสารว่าด้วยการทบทวนบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร                                        ไทยกับรัฐบาลแห่งมองโกเลียว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการหารือว่าด้วยความร่วมมือ

ทวิภาคี

                    15.           เรื่อง           ร่างแผนความร่วมมือระยะ 5 ปี ไทย-มองโกเลีย (พ.ศ. 2565 ? 2570)
                    16.            เรื่อง           ร่างบันทึกการประชุมของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือ
                                        ทวิภาคี ครั้งที่ 14 และการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วม                                        สำหรับพื้นที่ชายแดน ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
                    17.           เรื่อง           ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ ณ กรุงวอชิงตัน
                    18.           เรื่อง           สรุปผลการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ช่วงที่ 2 และการ                                        ประชุมสมัยพิเศษ เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่ง                                                  สหประชาชาติ
                    19.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานบิมสเทค ครั้งที่ 3
                    20.           เรื่อง           ร่างปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริม                                        ผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน

แต่งตั้ง

          21.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก

(กระทรวงการต่างประเทศ)

                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงการต่างประเทศ)
                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและ                                        นวัตกรรม)
                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี





?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของกระทรวงการคลัง (กค.) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของกรมศุลกากร เช่น จัดตั้งสำนักงานศุลกากรมาบตาพุด เพื่ออำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การจัดเก็บภาษีอากรและรายได้อื่นสำหรับสินค้านำเข้าและส่งออก และจัดตั้งสำนักงานศุลกากรภาคที่ 5 เพื่อรองรับการอำนวยความสะดวกในการนำของเข้า การส่งของออก และการขยายตัวของระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ รวมทั้งเพิ่มหน้าที่และอำนาจของสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานและท่าเรือในการตรวจสอบบันทึก บัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้า หรือส่งของออก ณ ที่ทำการของผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปราบปรามการฉ้อฉลทางการค้าภายใน เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจและเหมาะสมกับสภาพงานที่เปลี่ยนแปลงไป
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง                         ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง พ.ศ. 2562 ดังนี้
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
กรมศุลกากร กค. พ.ศ. 2562          ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
กรมศุลกากรฯ          หมายเหตุ
(1) สำนักงานเลขานุการกรม          (1) สำนักงานเลขานุการกรม          คงเดิม
(2) กองกฎหมาย          (2) กองกฎหมาย          คงเดิม
(3) กองตรวจสอบอากร          (3) กองตรวจสอบอากร          คงเดิม
(4) กองบริหารจัดการและพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์          (4) กองบริหารจัดการและพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์          คงเดิม
(5) กองบริหารทรัพยากรบุคคล          (5) กองบริหารทรัพยากรบุคคล          คงเดิม
(6) กองพิกัดอัตราศุลกากร          (6) กองพิกัดอัตราศุลกากร          คงเดิม
(7) กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร          (7) กองมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร           คงเดิม
(8) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน          (8) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน          คงเดิม
(9) กองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร          (9) กองสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร          คงเดิม
(10) กองสืบสวนและปราบปราม          (10) กองสืบสวนและปราบปราม          คงเดิม
(11) ด่านศุลกากร ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด          (11) ด่านศุลกากร ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด          คงเดิม
(12) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร          (12) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร          คงเดิม
(13) สำนักงานศุลกากรกรุงเทพตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด          (13) สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด          เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการตรวจสอบบันทึก บัญชี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้า หรือส่งของออก ณ ที่ทำการของผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปราบปรามการฉ้อฉลทางการค้าภายใน
(14) สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ          (14) สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(15) สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ          (15) สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
(16) สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด           (16) สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
(17) สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด          (17) สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด          คงเดิม
ไม่มีการเพิ่มหน้าที่และอำนาจ
(18) สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด          (18) สำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด           เพิ่มหน้าที่และอำนาจในการตรวจสอบบันทึก บัญชี และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้า หรือส่งของออก ณ ที่ทำการของผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อปราบปรามการฉ้อฉลทางการค้าภายใน
(19) สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมือง          (19) สำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมือง
-          (20) สำนักงานศุลกากรมาบตาพุด          จัดตั้งใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การจัดเก็บภาษีอากรและรายได้อื่นสำหรับสินค้านำเข้าและส่งออกสินค้าถ่ายลำ สินค้าผ่านแดน
(20) - (23) สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 - 4 ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด          (21) - (25) สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 - 5 ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด          จัดตั้งสำนักงานศุลกากรภาคที่ 5 ขึ้นใหม่ เพื่อรองรับการอำนวยความสะดวกในการนำของเข้า การส่งของออก และการขยายตัวของระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. ....
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงาน ป.ป.ส. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า
                     1. พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ประมวลกฎหมายยาเสพติด และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2564 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป โดยประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 107 บัญญัติให้การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ในปริมาณเล็กน้อย ซึ่งไม่เกินปริมาณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดในกฎกระทรวง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ สธ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ                 พ.ศ. .... เพื่อกำหนดชื่อยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ และกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ เพื่อประกอบการพิจารณาให้โอกาสแก่ผู้เสพยาเสพติดที่ครอบครองยาเสพติด หรือวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อการเสพ โดยไม่ถือเป็นโทษความผิดร้ายแรง และพิจารณาให้รับการบำบัดรักษาแทน ทั้งนี้ ยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์แต่ละประเภทตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยการเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดประกาศกำหนด ดังนี้
                                1.1 ชื่อยาเสพติดให้โทษ
                                         (1) ประเภท 1 เช่น เฮโรอีน (heroin), เมทแอมเฟตามีน (methamphetamine หรือ methamfetamine), แอมเฟตามีน (amphetamine หรือ amfetamine) (ยาบ้า)
                                         (2) ประเภท 2 เช่น โคคาอีน (cocaine), ฝิ่นยา (medicinal opium)
                                         (3) ประเภท 5 เช่น พืชฝิ่น, เห็ดขี้ควายหรือพืชเห็ดขี้ควาย, สารสกัดจากทุกส่วนของพืชกัญชาหรือกัญชง
                               1.2 ชื่อวัตถุออกฤทธิ์
                                         (1) ประเภท 1 เช่น คาทิโนน (cathinone), ไซโลซีน (psilocine หรือ psilotsin), ไซโลไซบีน (psilocybine)
                                         (2) ประเภท 2 เช่น คีตามีน (ketamine), ซูโดอีเฟดรีน (pseudoephedrine),               ไนตราซีแพม (nitrazepam)
                     2. การกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ตามร่างกฎกระทรวงในข้อ 1. โดยอ้างอิงปริมาณตามกฎหมายเดิม กล่าวคือ กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดลักษณะ ชนิด ประเภท และปริมาณยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2547 เป็นการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษสำหรับความผิดฐานเสพและมีไว้ในครอบครอง ความผิดฐานเสพและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และความผิดฐานเสพและจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษ และกฎกระทรวงกำหนดปริมาณวัตถุออกฤทธิ์ซึ่งสันนิษฐานว่าผลิต นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย พ.ศ. 2561 เป็นการกำหนดปริมาณวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการผลิต นำเข้า ส่งออก นำผ่านหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อขาย โดยกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวเป็นกฎหมายเดิมที่กำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 ตามลำดับ และได้ถูกยกเลิกแล้วโดยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ดังนั้น หากเป็นการครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 ในปริมาณตามที่กำหนดตามร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ
                     3. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการอำนวยการและดำเนินการตามร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด และร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด รวมทั้งได้รับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (http://mnfda.fda.moph.go.th) และเว็บไซต์ สธ. (http://ncmc.moph.go.th) ระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ? 4 พฤศจิกายน 2564 และรับฟังความคิดเห็นผ่านหนังสือแจ้งเวียนอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างวันที่ 23 กันยายน 2564 ? 4 พฤศจิกายน 2564 ทั้งนี้ สธ. ได้รวบรวมความคิดเห็นดังกล่าวเสนอคณะกรรมการอำนวยการและดำเนินการตามร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. .... และร่างประมวลกฎหมายยาเสพติด และร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดียาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อพิจารณาด้วยแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     เป็นการกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ประเภท 2 หรือประเภท 5 หรือวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 หรือประเภท 2 เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาให้โอกาสแก่ผู้เสพยาเสพติดที่ครอบครองยาเสพติดหรือวัตถุออกฤทธิ์ไว้เพื่อการเสพ โดยไม่ถือเป็นโทษความผิดร้ายแรงและพิจารณาให้รับการบำบัดรักษา อาทิ
ยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์          ปริมาณ
ยาเสพติดให้โทษ
1) ประเภท 1 เช่น
   - เฮโรอีน (heroin)
   - เมทแอมเฟตามีน (methamphetamine หรือ methamfetamine)

   - แอมเฟตามีน (amphetamine หรือ amfetamine) (ยาบ้า)
2) ประเภท 2 เช่น
   - โคคาอีน (cocaine)
   - ฝิ่นยา (medicinal opium)
3) ประเภท 5

วัตถุออกฤทธิ์
1) ประเภท 1 เช่น
   - คาทิโนน (cathinone)
   - ไซโลซีน (psilocine หรือ psilotsin)
   - ไซโลไซบีน (psilocybine)
 2) ประเภท 2 เช่น
   - คีตามีน (ketamine)
   - ซูโดอีเฟดรีน (pseudoephedrine)
   - ไนตราซีแพม (nitrazepam)

- มีน้ำหนักสุทธิไม่เกินสามร้อยมิลลิกรัม
- มีปริมาณไม่ถึงสิบห้าหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงหนึ่งจุดห้ากรัม หรือคำนวณเป็นน้ำหนักสารบริสุทธิ์ไม่ถึงสามร้อยเจ็ดสิบห้ามิลลิกรัม
- มีปริมาณไม่ถึงสิบห้าหน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่ถึงหนึ่งจุดห้ากรัม

- มีน้ำหนักสุทธิไม่เกินหกร้อยมิลลิกรัม
- มีน้ำหนักสุทธิไม่เกินสิบห้ากรัม
- มีน้ำหนักสุทธิไม่เกินหนึ่งร้อยสามสิบห้ากรัม



- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินศูนย์จุดห้ากรัม
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินศูนย์จุดหนึ่งกรัม
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินศูนย์จุดหนึ่งกรัม

- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินศูนย์จุดห้ากรัม
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินห้ากรัม
- คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ไม่เกินศูนย์จุดสามกรัม


เศรษฐกิจ-สังคม
3. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 เรื่อง การดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 เรื่อง การดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐที่มีความจำเป็นจะต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
จากเดิม          เป็น
?ในกรณีที่การดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐ มีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่า และจะต้องมีการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ด้วย ให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดสรร/อนุมัติงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนให้กับหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ดำเนินการปลูกป่าตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) กำหนด โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของโครงการนั้น ๆ ด้วย?          ?ในกรณีการดำเนินโครงการใด ๆ ของหน่วยงานของรัฐมีความจำเป็นต้องเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าและจะต้องมีการปลูกป่าทดแทนเพื่อการอนุรักษ์หรือรักษาสภาพแวดล้อมของพื้นที่ด้วย ให้ สงป. พิจารณาจัดสรร/อนุมัติงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการปลูกป่าทดแทนให้กับหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้ดำเนินการปลูกป่าตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่ กก.วล. กำหนดโดยถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของโครงการนั้น ๆ ด้วย โดยยกเว้นหน่วยงานของรัฐ หรือโครงการบางประเภทที่ไม่ต้องจัดสรรงบประมาณค่าปลูกป่าทดแทน ดังนี้
(1) โครงการเพื่อสร้างศาสนสถานและสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา
(2) โครงการที่มีวัตถุประสงค์เป็นไปเพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
(3) โครงการเพื่อการจัดที่ดินที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
(4) โครงการที่เข้าใช้พื้นที่ป่าก่อนได้รับอนุญาตตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563 (เรื่อง การเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ และขอผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2523 ในกรณีที่ปรากฏว่ายังมีส่วนราชการใดเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ก่อนได้รับอนุญาต) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 (เรื่อง ขอขยายเวลาในการยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563)?

                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า
                    1. กรมป่าไม้ได้มีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เรื่อง การกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การปลูกป่าทดแทนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 จำนวน 2 ครั้ง ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นควรให้มีการกำหนดเงื่อนไข และหลักเกณฑ์การปลูกป่าทดแทนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 โดยมีการกำหนด ดังนี้
                              1.1 ค่าปลูกป่าทดแทน ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องจัดสรรงบประมาณโดยถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของโครงการ โดยพิจารณาตามการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ (1) ป่าสงวนแห่งชาติ (2) ป่าตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 (3) ป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ (ป่าไม้ถาวร) และ (4) พื้นที่กำหนดเขตคุณภาพลุ่มน้ำตามมติคณะรัฐมนตรี
                              1.2 หน่วยงานของรัฐ หรือโครงการบางประเภทที่ไม่ต้องจัดสรรงบประมาณค่าปลูกป่าทดแทนตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
                    2. กก.วล. ในการประชุม ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบกับการกำหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์ การปลูกป่าทดแทน ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ตามที่ ทส. เสนอ และมอบหมายให้ ทส. โดยกรมป่าไม้นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่งการกำหนดเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              2.1 กำหนดเงื่อนไขการปลูกป่าทดแทน ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้จะต้องจัดสรรงบประมาณ โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งของโครงการ โดยพิจารณาตามการจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ (1) ป่าสงวนแห่งชาติ (2) ป่าตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 (3) ป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ (ป่าไม้ถาวร) และ (4) พื้นที่กำหนดเขตคุณภาพลุ่มน้ำตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้
ประเภทพื้นที่          จำนวนการปลูกป่าทดแทน
กลุ่มที่ 1 คือ
(1) ในเขตพื้นที่เขตป่าเพื่อเกษตรกรรม (โซน A) เขตพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ (โซน E)
(2) ป่าตามมาตรา 4 (1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
(3) ป่าที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รักษาไว้เป็นสมบัติของชาติ (ป่าไม้ถาวร)          1 เท่าของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต
กลุ่มที่ 2 คือ ในเขตพื้นที่ป่าที่จำแนกไว้เป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม (โซน C)          2 เท่าของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต (เนื่องจากโซน C มีมาตรการห้ามมิให้มีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น)
กลุ่มที่ 3 คือ ในเขตพื้นที่ป่าที่จำแนกไว้เป็นป่าเพื่อการอนุรักษ์เพิ่มเติม (โซน C) และอยู่ในเขตกำหนดชั้นคุณภาพพื้นที่ลุ่มน้ำ ชั้นที่ 1 เอ หรือ 1 บี          3 เท่าของพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต
                                        โดยมีอัตราค่าปลูกป่าและบำรุงป่าที่กรมป่าไม้กำหนดตาม สงป. ปัจจุบันมีอัตราค่าปลูกป่าและบำรุงป่า จนครบอายุ 10 ปี เป็นเงินอัตราไร่ละ 10,960 บาท แบ่งเป็น
ระยะเวลา          อัตราต่อไร่ต่อปี (บาท)          รวม (บาท)
- งานปลูกป่า (อายุ 1 ปี)          3,900 (1 ปี)          3,900
- งานบำรุงป่า 5 ปี (อายุ 2 - 6 ปี)          1,020 (5 ปี)          5,100
- งานบำรุงป่า 4 ปี (อายุ 7 - 10 ปี)          490 (4 ปี)          1,960
รวม          10,960
                              2.2 กำหนดหน่วยงานของรัฐ หรือโครงการบางประเภทที่ไม่ต้องจัดสรรงบประมาณค่าปลูกป่าทดแทนตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 [ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ตามข้อเสนอ ทส.] ดังนี้
                                        2.2.1 โครงการเพื่อสร้างศาสนสถานและสถานที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา
                                        2.2.2 โครงการที่มีวัตถุประสงค์เป็นไปเพื่อการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                                        2.2.3 โครงการเพื่อการจัดที่ดินที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
                                        2.2.4 โครงการที่เข้าใช้พื้นที่ป่าก่อนได้รับอนุญาตตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่               23 มิถุนายน 2563 (เรื่อง การเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ และขอผ่อนผันตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2523 ในกรณีที่ปรากฏว่า ยังมีส่วนราชการใดเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ก่อนได้รับอนุญาต) และมติคณะรัฐมนตรี            เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 (เรื่อง ขอขยายเวลาในการยื่นคำขออนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2563) เนื่องจากส่วนราชการที่เข้าดำเนินการในพื้นที่ป่าไม้ก่อนได้รับอนุญาตได้ดำเนินการก่อสร้างและใช้งบประมาณไปแล้วจึงไม่สามารถจัดสรรงบประมาณ/ของบประมาณเพื่อเป็นค่าปลูกป่าทดแทนได้
                    3. โดยที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 กำหนดให้ สงป. พิจารณาจัดสรร/อนุมัติงบประมาณให้กับหน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการ หรือหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ดำเนินการปลูกป่า ทำให้มีหน่วยงานของรัฐหรือโครงการบางประเภท ที่ไม่สามารถจัดสรรงบประมาณในการปลูกป่าทดแทนให้ ทส. ได้ หรือเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบนิเวศทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว อาจทำให้การดำเนินโครงการซ้ำซ้อนกัน ดังนั้น เพื่อไม้ให้เกิดปัญหากับหน่วยงานของรัฐในการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว             จึงขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว

4. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้กรอบวงเงิน 4,019.80 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 จำนวน 1,361 รายการ ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ โดยรายละเอียดของแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ (สงป.)



                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สทนช. รายงานว่า
                    1. สืบเนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหาอุทกภัยเกือบทุกปีที่ผ่านมาและยังประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากในหลายพื้นที่ รวมทั้งจากการคาดการณ์สภาพอากาศของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่าร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ในช่วงเดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2565 กองอำนวยการน้ำแห่งชาติจึงได้ประเมินสถานการณ์น้ำฝนจากการคาดการณ์ของหน่วยงานดังกล่าว พบว่าปริมาณฝนตกสะสมต่อเนื่องอาจส่งผลทำให้เกิดน้ำหลาก น้ำท่วมฉับพลัน และดินถล่ม ประกอบกับปัจจุบันสถานการณ์โรคโควิด 19 ส่งผลให้ประชาชนว่างงานและอพยพกลับสู่ภูมิลำเนาเพิ่มขึ้น จึงทำให้ความต้องการใช้น้ำทั้งในภาคเกษตรกรรมและภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น
                    2. สทนช. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมถอดบทเรียนการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ปี 2564 และได้บูรณาการร่วมกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดมาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 จำนวน 13 มาตรการ [เช่น              (1) คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ (2) ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำ สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน (3) ปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ (4) ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา และ (5) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ เป็นต้น] เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ทันต่อสถานการณ์ เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2565
                    3. สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้จัดทำโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 เพื่อให้การดำเนินการสอดคล้องตามมาตรการตามข้อ 2 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างเป็นระบบและบรรเทาความเสียหายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย พร้อมทั้งสนับสนุนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ มีรายละเอียดที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              3.1           วัตถุประสงค์โครงการ
                                        3.1.1           เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือเตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย ปี 2565
                                        3.1.2           เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหา บรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนจากพื้นที่เสี่ยงการเกิดอุทกภัย
                                        3.1.3           เพื่อเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566
                                        3.1.4           เพื่อซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ ให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน
                              3.2           พื้นที่เป้าหมาย
                                        3.2.1           พื้นที่เสี่ยงเกิดอุทกภัย/ภัยแล้ง ตามที่ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด
                                        3.2.2           พื้นที่เสี่ยงที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการแก้ไข/บรรเทาปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งโดยเร่งด่วนตามที่หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดเสนอผ่านคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด
                              3.3           ระยะเวลาดำเนินการ
                                        120 วัน นับตั้งแต่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
                              3.4           ข้อกำหนดในการเสนอแผนงานโครงการ เช่น
                                        3.4.1           แผนงานโครงการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำหรือเพื่อป้องกันบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัย หรือ เพื่อการเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือ เตรียมพร้อมรับสถานการณ์อุทกภัย ปี 2565 หรือ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566
                                        3.4.2           เป็นแผนงานโครงการบันทึกข้อมูลผ่านระบบบริหารจัดการแผนงานโครงการและฐานข้อมูลสำหรับบูรณาการแผนเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (ระบบ Thai Water Plan : TWP) ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัด และรัฐมนตรีต้นสังกัดให้ความเห็นชอบ
                                        3.4.3           มีตัวชี้วัดที่สอดคล้องกับการดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี
                                        3.4.4           แผนงานโครงการมีรายละเอียดความพร้อมสามารถดำเนินการได้ทันทีหลังจากได้รับการจัดสรรงบประมาณ สามารถระบุพิกัดที่ตั้งของโครงการได้ถูกต้องชัดเจน มีแบบรูปรายการ เอกสารประมาณราคาค่าก่อสร้าง รวมทั้งได้รับอนุญาตด้านการใช้ที่ดินแล้ว
                                        3.4.5           ไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงานโครงการที่ส่วนราชการดำเนินการแล้ว [จากฐานข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี (2563 - 2564) และงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2565]
                              3.5           กลุ่มประเภทโครงการ
                                        แบ่งได้เป็น 5 กลุ่มประเภทโครงการ ได้แก่
                                        3.5.1           การซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์
                                                  เป็นงานซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การควบคุม การระบายน้ำ และการเก็บกักน้ำ ให้เกิดประสิทธิภาพรองรับสถานการณ์น้ำหลาก เช่น ซ่อมแซม/ปรับปรุงพนังกั้นน้ำ คันกั้นน้ำ ประตูระบายน้ำ คลองส่ง/ระบายน้ำ อาคารบังคับน้ำ สถานีโทรมาตร เป็นต้น
                                        3.5.2           การปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ และกำจัดผักตบชวา
                                                  เป็นงานที่ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้าง และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งสิ่งกีดขวางที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การระบายน้ำ การจัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ เช่น การกำจัดผักตบชวา/วัชพืชน้ำ เป็นต้น
                                        3.5.3           การขุดลอกคูคลอง
                                                  เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เช่น ขุดลอกคู คลอง ลำน้ำ แก้มลิง เป็นต้น
                                        3.5.4           การเตรียมความพร้อมวางแผนเครื่องจักรเครื่องมือ
                                                  เป็นการเตรียมความพร้อมเครื่องจักรเครื่องมือที่มีอยู่แล้วให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานรองรับสถานการณ์น้ำหลาก เช่น ซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำ ซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องจักร ซ่อมแซมยานพาหนะขนย้ายเครื่องมือเครื่องจักร เป็นต้น
                                        3.5.5           การเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนเพื่อเก็บกักไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง
                                                  เป็นการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อรองรับน้ำส่วนเกินในช่วงฤดูฝนสำรองไว้ใช้ในช่วงเวลาฤดูแล้งถัดไป เช่น สระ/อ่างเก็บน้ำ ระบบกระจายน้ำ ธนาคารน้ำใต้ดิน ขุดเจาะบ่อบาดาล ปฏิบัติการฝนหลวง เป็นต้น
                    4. คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 วันที่ 14 มีนาคม 2565 ที่มี              รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานกรรมการ ได้มีมติเห็นชอบมาตรการฤดูฝน ปี 2565 จำนวน 13 มาตรการ และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 โดยรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ได้มีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป และคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (3 พฤษภาคม 2565) รับทราบและเห็นชอบด้วยแล้ว
                    5. สทนช. ได้แจ้งให้หน่วยงานเสนอแผนงานโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนสอดคล้องกับโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ดังกล่าว โดยแผนงานโครงการได้ผ่านคณะอนุกรรมการทรัพยากรน้ำจังหวัดพิจารณาความเหมาะสม พร้อมทั้งจัดลำดับความสำคัญของแผนงานโครงการแล้วตามลำดับ ต่อมา สทนช. ได้ดำเนินการรวบรวมตรวจสอบ และกลั่นกรองแผนงานโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีแผนงานโครงการที่ต้องดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถบรรเทาและป้องกันความเสียหายจากอุทกภัยและภัยแล้ง จำนวน 4,428 รายการ ในกรอบวงเงินงบประมาณ 8,242.53 ล้านบาท
                    6. สงป. ได้นำแผนงานโครงการตามข้อ 5 กราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว นายกรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการให้หน่วยรับงบประมาณดำเนินการตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 จำนวน 5 กระทรวง 13 หน่วยงาน จำนวน 1,361 รายการ ภายในกรอบงบประมาณ 4,019.80 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สามารถจำแนกตามกระทรวงและหน่วยงาน ได้ดังนี้
หน่วยงาน          จำนวน
(รายการ)          วงเงิน
(ล้านบาท)
กระทรวงกลาโหม (กห.)          32          23.31
          กองทัพบก          1          6.80
          หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา          31          16.51
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)          2          76.45
          สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)          2          76.45
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)           411          1,190.43
          กรมชลประทาน          410          1,149.57
          กรมฝนหลวงและการบินเกษตร           1          40.86
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)          139          432.91
          กรมทรัพยากรน้ำ          57          378.93
          กรมทรัพยากรน้ำบาดาล          82          53.98
กระทรวงมหาดไทย (มท.)          777          2,296.70
          เทศบาลเมือง          1          3.50
          เทศบาลตำบล          52          166.21
          เทศบาลนคร          2          880.00
          จังหวัด          34          24.75
          องค์การบริหารส่วนจังหวัด          477          611.73
          องค์การบริหารส่วนตำบล          211          610.51
รวมทั้งสิ้น          1,361          4,019.80
                              ทั้งนี้ สงป. ขอให้พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
                              6.1 ให้หน่วยรับงบประมาณ ได้แก่ กรมชลประทาน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร              กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทยโดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนาจังหวัด 10 จังหวัด องค์การบริหารส่วนจังหวัด 10 แห่ง เทศบาลเมือง                 1 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นผู้เสนอขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยตรงตามขั้นตอนของระเบียบและแนวทางที่เคยปฏิบัติต่อไป
                              6.2 สำหรับโครงการของจังหวัดซึ่งต้องบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานจังหวัดและกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ พ.ศ. 2551 หากยังมิได้กำหนดอยู่ในแผนพัฒนาจังหวัด เห็นควรให้ไปดำเนินการบรรจุในแผนพัฒนาจังหวัดให้ครบถ้วนตามขั้นตอนต่อไปด้วย ทั้งนี้ ในส่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตรวจสอบ หากพบว่าเป็นหน่วยรับงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ให้ขอรับการจัดสรรงบประมาณได้โดยตรง หากมิใช่ ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สทนช. ได้กำหนดในหลักเกณฑ์การเสนอแผนงานโครงการเพื่อให้เป็นไปตามภารกิจของหน่วยรับงบประมาณเรียบร้อยแล้ว)
                              6.3 ให้หน่วยรับงบประมาณที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และให้เร่งรัดดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2565 และเร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน โดยให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและ    แผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อขอทำความตกลงในรายละเอียดกับ สงป. ตามขั้นตอนต่อไป
                              6.4 ให้ สทนช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการเพื่อรายงานผลสัมฤทธิ์หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินโครงการต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อทราบด้วย
                    7. เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะมีพื้นที่รับประโยชน์ประมาณ 35,723 ไร่ มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นประมาณ 34.02 ล้านลูกบาศก์เมตร ประชาชนได้รับประโยชน์ประมาณ 36,735 ครัวเรือน และสามารถกำจัดผักตบชวา/วัชพืชน้ำได้ประมาณ 4.74 ล้านตัน รวมถึงสามารถซ่อมแซม/ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ให้สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ จำนวน 394 แห่ง อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มการลงทุนภาครัฐโดยการช่วยกระตุ้นการซื้อวัสดุและจ้างแรงงานคนในท้องถิ่นด้วย
                    8. สทนช. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 ของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ด้วยแล้ว และจะแจ้งให้หน่วยรับงบประมาณเร่งรัดดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2565 และการกักเก็บน้ำเพื่อฤดูแล้ง ปี 2565/2566 ให้เป็นไปตามความเห็นของ สงป. ให้แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หนังสือเวียน มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเป็นสำคัญต่อไป

5. เรื่อง การปรับปรุงแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 (เรื่อง การมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรม) และวันที่ 2 มกราคม 2562 (เรื่อง การทบทวนข้อเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐตามแผนการปฏิรูปประเทศ)
                    2. เห็นชอบแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม และขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) ในกรณีการขอจัดตั้งส่วนราชการระดับต่ำกว่ากรม โดยไม่เพิ่มจำนวนกองในภาพรวมของส่วนราชการ (rearrange) ให้ส่วนราชการดำเนินการตามขั้นตอนที่ ก.พ.ร. กำหนด
                    3. ให้สำนักงาน ก.พ. นำข้อเสนอของ ก.พ.ร. เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการ กรณีที่ส่วนราชการมีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการใหม่เสนอต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์ฯ (ตามที่กำหนดในหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 5 ลงวันที่                        20 กุมภาพันธ์ 2562) ต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรมเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่มุ่งให้ภาครัฐมีขนาดเล็กลง เหมาะสมกับภารกิจ รวมทั้งรองรับภารกิจใหม่ ๆ ที่ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศ และนำมาผนวกกับหลักการใหม่ที่ ก.พ.ร. ได้กำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติแก่หน่วยงาน สรุปได้ ดังนี้
แนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม
กรณีการมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรม
โดยไม่เพิ่มจำนวนกอง (rearrange)          กรณีการเสนอจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มใหม่
1. หลักการและเหตุผล
เป็นการปรับปรุงเงื่อนไขหลักการมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรมให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดย ก.พ.ร. จะมอบอำนาจให้ส่วนราชการพิจารณาจัดโครงสร้างส่วนราชการระดับต่ำกว่ากรมได้เอง โดยไม่เพิ่มจำนวนกองในภาพรวมของส่วนราชการ และจำนวนกองที่ปรากฏในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการยังเท่าเดิม [ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 ที่เดิมกำหนดให้สามารถยุบรวมหรือยุบเลิกได้เฉพาะภารกิจหลักและไม่สามารถ rearrange ข้ามประเภทหน่วยงานได้ เป็น สามารถนำภารกิจหลัก/ภารกิจสนับสนุน/หน่วยงานราชการในส่วนภูมิภาคมายุบเลิกหรือยุบรวมเพื่อจัดตั้งกองใหม่ในส่วนกลางได้ (ไม่รวมถึงหน่วยงานภายในที่ส่วนราชการจัดตั้งตามคำสั่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เช่น ท่าอากาศยาน)]          ต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนทั้งในด้านภารกิจและงบประมาณ รวมทั้ง การนำ Digital Technology มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือนำมาทดแทนเพื่อลดภาระงานที่มีอยู่เดิม [ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562 (เรื่อง การทบทวนข้อเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐตามแผนการปฏิรูปประเทศ) และนำหลักการข้อเสนอการยุบเลิกหรือยุบรวมภารกิจของส่วนราชการอื่น (X-In, Y-Out) ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 (เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงบประมาณ) มารวมไว้เป็นหลักการเดียวกันสำหรับการขอจัดตั้งหน่วยงานเพิ่ม)]
2. เงื่อนไขในการแบ่งส่วนราชการ
2.1 ราชการส่วนกลาง
ยุบเลิก/
ยุบรวมกองเดิมที่เป็น          เพื่อจัดตั้งกองใหม่ที่เป็น
(1) ภารกิจหลัก          ภารกิจหลัก
(2) ภารกิจสนับสนุน          ภารกิจหลัก
(3) ภารกิจสนับสนุน          ภารกิจสนับสนุน
(4) ราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งในภูมิภาค: เขต/ศูนย์/พื้นที่/ภาค          กองที่เป็นราชการ
ส่วนกลางใหม่
ที่เป็นภารกิจหลัก
2.2 ราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งในภูมิภาค เช่น การจัดพื้นที่จังหวัดที่อยู่ในความรับผิดชอบใหม่ รวมถึงการย้ายสถานที่ตั้งของสำนักงานจากจังหวัดหนึ่งไปยังอีกจังหวัดหนึ่ง
2.3 หน่วยงานในต่างประเทศ ต้องเป็นสำนักงานตามกฎหมายหรือตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เช่น การย้ายสถานที่ตั้งของสำนักงานจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่งซึ่งอยู่ในกลุ่มประเทศประเภทเดียวกันหรือจากเมืองหนึ่งไปยังอีกเมืองหนึ่งภายในประเทศเดียวกัน
          ส่วนราชการสามารถจัดทำข้อเสนอให้ยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานที่มีอยู่เดิม หรือถ่ายโอนภารกิจเพื่อประกอบคำขอกรณีการเสนอขอจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มใหม่ได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
1) ข้อเสนอให้ยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานในสังกัดที่มีอยู่เดิม (One-In, X-Out) เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนทั้งในด้านภารกิจและงบประมาณ
2) ข้อเสนอการถ่ายโอนภารกิจหลัก (core function) ให้ภาคส่วนอื่นรับไปดำเนินการแทน หรือข้อเสนอการถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ (ต้องไม่เพิ่มอัตรากำลังภายในระยะเวลา 3 ปี)
3) ข้อเสนอยุบเลิกภารกิจหรือยุบรวมหน่วยงานของส่วนราชการอื่น (X-In, Y-Out) สำหรับกรณีภารกิจที่มี Value Chain เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงหลายส่วนราชการ ซึ่งไม่อาจพิจารณาเฉพาะส่วนราชการใดส่วนราชการหนึ่งได้
3. การจัดทำคำขอและขั้นตอน
กรณีที่หน่วยงานดำเนินการภายใต้เงื่อนไขข้างต้น (ในข้อ 2.1 - 2.3) ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มจำนวนกอง สามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่ ก.พ.ร. เสนอมาในครั้งนี้ [เป็นการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) เนื่องจากต้องการปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินการให้สั้น กระชับขึ้น (ลดระยะเวลาได้ 2 เดือน)] ดังนี้
1) ลดระยะเวลาการรอหนังสือตอบความเห็นจากหน่วยงานกลาง โดยให้ผู้แทนหน่วยงานกลางนำความเห็นของส่วนราชการมาในวันประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวง
2) ลดขั้นตอนการเสนอ ก.พ.ร. เพื่อพิจารณา โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการแล้วให้แจ้งผลส่วนราชการดำเนินการต่อไปได้ คู่ขนานกันไปกับการรายงานให้          อ.ก.พ.ร. และ ก.พ.ร. ทราบต่อไป
3) การจัดทำคำชี้แจงประกอบการแบ่งส่วนราชการฯ : ยกเลิกการจัดทำเอกสารรายละเอียดคำชี้แจงการแบ่งส่วนราชการฯ จากเดิม 7 หัวข้อ และให้ส่วนราชการจัดทำคำชี้แจงเฉพาะสาระสำคัญในรูปแบบบทสรุปผู้บริหาร โดยตอบคำถามสำคัญใน 3 ประเด็น เช่น ส่วนราชการต้องแสดงให้เห็นถึงการทบทวนภารกิจโดยภาพรวมเพื่อระบุให้เห็นถึงผลกระทบ สถานการณ์ และ/หรือ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่แสดงถึงเหตุผลความจำเป็นในการแบ่งส่วนราชการ          กรณีการจัดตั้งกองซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนกองทั้งกองที่เป็นภารกิจหลัก/ภารกิจสนับสนุนในราชการส่วนกลาง/การจัดตั้งหน่วยงานของราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งในภูมิภาค/ราชการส่วนภูมิภาค/หน่วยงานในต่างประเทศ (ตามเงื่อนไขข้างต้น) ส่วนราชการจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 และหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด (ตามข้อ 2.1) เช่น
1) ส่วนราชการถามความเห็นหน่วยงานกลางเพื่อให้จัดทำความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการของกระทรวง
2) รัฐมนตรีส่งข้อเสนอการแบ่งส่วนราชการและรายละเอียดตามคำชี้แจงพร้อมแนบรายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวง มายังสำนักงาน ก.พ.ร.
เพื่อเสนอ ก.พ.ร. พิจารณา
3) การจัดทำคำชี้แจงประกอบการแบ่งส่วนราชการฯ : ประกอบด้วย 7 หัวข้อ ได้แก่ (1) การทบทวนบทบาทภารกิจภาพรวมของส่วนราชการ (2) เหตุผลความจำเป็นในการขอจัดตั้ง (3) ภารกิจของส่วนราชการที่จะมีการแบ่งส่วนราชการใหม่ (4) อัตรากำลังเจ้าหน้าที่                   (5) ปริมาณงาน (6) แสดงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่เป็นผลจากการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างและภารกิจของส่วนราชการ/ส่วนราชการระดับต่ำกว่ากรมใหม่ และ            (7) ค่าใช้จ่าย
4. อื่น ๆ
- ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการ กรณีที่ส่วนราชการมีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการใหม่ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถคงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตามจำนวนตำแหน่งและระดับตำแหน่งที่ส่วนราชการมีอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการมอบอำนาจดังกล่าว
- ส่วนราชการจะต้องนำเสนอผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการมีหน่วยงานนั้น ๆ รวมทั้งตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ภายในกรอบระยะเวลา 1 - 5 ปี เพื่อให้ ก.พ.ร. พิจารณา หากผลการประเมินปรากฏว่าไม่เกิดผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าต่อราชการ ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อยุบหน่วยงานดังกล่าวต่อไป




6. เรื่อง  ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 2/2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเสนอ  ผลการประชุมคณะกรรมการฯ  ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน  2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ  ในคราวประชุม                       ครั้งที่ 1/2565 เช่น
                              1.1 กรมบัญชีกลางได้ซักซ้อมความเข้าใจการเตรียมการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560  เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และสามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                              1.2 คณะกรรมการฯ ได้จัดสัมมนาผู้แทนกระทรวงการคลัง (กค.) ในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ บริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ และกิจการที่รัฐถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 โดยขอความร่วมมือให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงกระบวนการต่าง ๆ เช่น การเตรียมความพร้อมของโครงการล่วงหน้า การกำกับให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามแผนงาน การปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้น และการกำกับติดตามการเบิกจ่าย            งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ร้อยละ 95
                    2. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
                              2.1 ภาพรวมการเบิกจ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ
จนถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 มีการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 2,464,723 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ          วงเงินงบประมาณ/แผนการใช้จ่าย          เบิกจ่ายแล้ว          ร้อยละเบิกจ่าย
งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25651          3,100,000          1,849,332          59.66
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี1          237,475          147,065          61.93
เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ) 2          309,091          133,534          43.20
โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท) 3          106,909          79,056          73.95
โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564  (กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท) 3          307,207          255,736          83.25
รวม          4,060,682          2,464,723          60.70
                    ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่มูลค่าโครงการตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป รวม 103 โครงการ มูลค่าโครงการทั้งหมด 2.51 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 83,508 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.36 ของแผนการใช้จ่ายเงิน (1 ตุลาคม 2564-30 เมษายน 2565)
                              2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน
                                        2.2.1 กระทรวงที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ส่วนกระทรวงที่มีผลการเบิกจ่ายต่ำสุด เช่น กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์  กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรม
                                        2.2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่สำคัญ ได้แก่

รายการ          จำนวน
(รายการ)          วงเงิน
(ล้านบาท)           เบิกจ่ายแล้ว
(ล้านบาท)          คิดเป็น (ร้อยละ)
รายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินต่อรายการเกิน 1,000 ล้านบาท           18          30,055          16,033          53.35
รายจ่ายลงทุนรายการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณใหม่ที่มีวงเงินรวม 1,000 ล้านบาทขี้นไป           8          3,524          -          -
หน่วยงานที่ได้รับรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท และ           มีผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 39 (ไม่รวมงบกลาง)           20          147,849          39,049          26.41
(ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2565)
                                        2.2.3 ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินการและการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ดังนี้ (1) การเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินโครงการ เช่น มีการปรับแบบรูปรายการหรือแบบแปลนงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับพื้นที่จริงเนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่หรืออยู่ระหว่างขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ (2) การดำเนินงาน เช่น หน่วยรับงบประมาณต้องหารือกับหน่วยงานต้นสังกัดหรือทบทวนราคากลางเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ หรือกรณีมีผู้เสนอราคารายเดียวหรือไม่มีผู้เสนอราคา ทำให้ต้องยกเลิกการประกวดราคาและประกาศเชิญชวนใหม่ และ  (3) ความล่าช้าของโครงการที่เกิดจากผู้รับจ้างสามารถขยายเวลาดำเนินการและการคิดค่าปรับในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวร้สโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางได้แจ้งมาตรการและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้หน่วยงานถือปฏิบัติ ดังนี้ (1) ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้หน่วยงานเตรียมการในขั้นตอนที่เป็นเรื่องภายในของหน่วยงานไว้ก่อนและเมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณจะสามารถดำเนินการได้ทันทีและสามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ  (2) กรณีมีผู้เสนอราคารายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายรายแต่ถูกต้องตามเงื่อนไขเพียงรายเดียว  คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ดุลยพินิจให้ดำเนินการต่อไปได้และกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือมีแต่ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข หัวหน้าส่วนราชการสามารถใช้ดุลยพินิจให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง และ (3) แก้ไขระยะเวลามาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงโควิด-19 ในอัตราค่าปรับร้อยละ 0 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 25654  ส่วนสัญญาฯ ที่ได้ลงนามภายหลังวันที่ 30 มิถุนายน 2565 จะไม่ได้รับความช่วยเหลือและให้อัตราค่าปรับเป็นไปตามเงื่อนไขเดิมในสัญญาก่อนได้รับความช่วยเหลือ
                              2.3 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
                                        2.3.1 รัฐวิสาหกิจมีกรอบลงทุนปี 2565 ณ สิ้นเดือนเมษายน 2565 จำนวน 338,126 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายสะสม 99,703  ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 100 ของแผนเบิกจ่ายสะสม (99,478            ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของกรอบลงทุนทั้งปี โดยแบ่งเป็น (1) รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ มีผลการเบิกจ่ายสะสม 7 เดือน (เดือนตุลาคม 2564-เมษายน 2565) จำนวน 56,981 ล้านบาท  คิดเป็นร้อยละ 99 ของแผนเบิกจ่ายสะสม (57,629 ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของกรอบลงทุนทั้งปี และ (2) รัฐวิสาหกิจปีปฏิทินมีผลการเบิกจ่ายสะสม 4 เดือน (เดือนมกราคม-เมษายน 2565) จำนวน 42,722 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 102 ของแผนเบิกจ่ายสะสม(41,849 ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของกรอบลงทุนทั้งปี
                                        2.3.2 รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาการเบิกจ่ายงบลงทุนล่าช้า ณ สิ้นเดือนเมษายน 2565 ได้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) และองค์การเภสัชกรรม  (อภ.) ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
                                        2.3.3 การดำเนินการตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนขนาดใหญ่ (จำนวน 17 แห่ง) เช่น

มาตรการ          การดำเนินการ          ข้อจำกัด
(1) การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการลงทุนโดยเฉพาะที่ส่งผลให้กรอบวงเงินลงทุนลดลง ควรเป็นผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือที่รัฐวิสาหกิจไม่สามารถควบคุมได้หรือเป็นการดำเนินการเชิงนโยบายเท่านั้น          มีการปรับปรุงกรอบวงเงินลงทุนที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ผลกระทบจากโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกการดำเนินนโยบายของรัฐ          ไม่มี
(2) การจัดหาโครงการลงทุนอื่นทดแทนการปรับลดกรอบการลงทุน          ดำเนินการได้บางส่วน          การปรับลดกรอบการลงทุนของโครงการที่มีขนาดใหญ่ไม่สามารถหาโครงการลงทุนอื่นมาทดแทนได้
(3) การปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2565          ดำเนินการได้บางส่วน          สามารถดำเนินการได้เฉพาะรายการครุภัณฑ์หรือที่มีวงเงินไม่สูงส่วนงานก่อสร้างจะมีการวางแผนการเบิกจ่ายตามงวดงาน จึงไม่สามารถเบิกจ่ายให้เร็วขึ้นได้
(4) การให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายงบลงทุน โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีกรอบงบลงทุนสูงและมีปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้าในปี 2564           ? แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามเร่งรัดและรายงานต่อผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงจากการก่อสร้าง
? กำหนดมาตรการเร่งรัดเพื่อให้ผู้รับจ้างสามารถดำเนินการได้ตามแผน          ไม่มี
(5) การเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เช่น การจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการ      การเตรียมความพร้อมของพื้นที่ก่อนเริ่มดำเนินการจริง  การเตรียมรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดทำร่างขอบเขตและร่างสัญญาโดยคำนึงถึงความเกี่ยวเนื่องกับโครงการอื่นหรือหน่วยงานของรัฐอื่น           ? จัดเตรียมร่างขอบเขตงานเพื่อให้สามารถเริ่มลงนามในสัญญาได้เมื่อเริ่มปีบัญชีถัดไป
? เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจอนุมัติงบประมาณแล้ว  ให้ดำเนินการด้านพัสดุโดยยังไม่ก่อหนี้ผูกพันสัญญาก่อนปีงบประมาณได้
? จัดทำการออกแบบรายละเอียดและเสนอขออนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการเสนอโครงการต่อ สศช.
? วางแผนบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง           ไม่มี

                    ทั้งนี้ โครงการสำคัญส่วนใหญ่สามารถลงนามผูกพันสัญญาได้ยกเว้นแผนงานขนาดเล็กหรือบางสัญญาภายใต้โครงการขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าในบางโครงการยังมีความล่าช้าซึ่งอาจส่งผลให้รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณบางแห่งมีการเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 95 ของกรอบลงทุนปี 2565 เช่น โครงการพัฒนา               ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของ ทอท. และแผนการก่อสร้างคลังยาและเวชภัณฑ์แห่งใหม่ ของ อภ.
                                        2.4.3 ข้อเสนอแนะ (1) กระทรวงเจ้าสังกัดกำกับติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบวงเงินอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน และ (2) กระทรวงเจ้าสังกัดกำกับติดตามรัฐวิสาหกิจที่ยังไม่สามารถลงนามผูกพันสัญญาได้ครบถ้วนหรือมีความคืบหน้าของงานล่าช้า หรือคาดว่าจะไม่สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ เพื่อให้สามารถลงนามผูกพันสัญญาให้แล้วเสร็จโดยเร็วและเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมาย
                              2.4 การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป
                                        2.4.1 โครงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่มีจำนวน 103 โครงการ มูลค่า 2.51 ล้านล้านบาท และมีมูลค่าการลงทุนในปี 2565 จำนวน 192,602 ล้านบาท (ไม่รวมโครงการที่ใช้เงินงบประมาณทั้งหมดของส่วนราชการ) โดยแหล่งเงินลงทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป  สรุปได้ ดังนี้
                                                                                                              หน่วย:ล้านบาท


หน่วยงาน          แหล่งเงิน
          การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน          เงินกู้ต่างประเทศ          เงินกู้ในประเทศ          เงินรายได้          งบประมาณ          กองทุน          รวม
ส่วนราชการ          24,876          14,048          -          -          31,123          -          70,047
รัฐวิสาหกิจ          296,031          84,282          1,495,981          365,229          139,938          43,537          2,424,998
รวม          320,907          98,330          1,495,981          365,229          171,061          43,537          2,495,045
(ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2565)
                                        2.4.2 สถานะการดำเนินการของโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป มีดังนี้
โครงการ          จำนวน (โครงการ)          มูลค่า (ล้านบาท)
โครงการที่รัฐดำเนินการเอง          82          2,090,000
-  ลงนามในสัญญาแล้ว          36          846,592
-  ลงนามในสัญญายังไม่ครบหรือยังไม่ได้ลงนามในสัญญา          46          1,240,000
โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน          21          424,339
-  ลงนามในสัญญาแล้ว          4          125,390
-  ยังไม่ลงนามในสัญญา          17          298,949
(ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2565)

                              2.5  การเบิกจ่ายโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563              (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท) ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 จำนวน 1,108 โครงการ วงเงิน 982,343 ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน 948,691 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 97 ของวงเงินอนุมัติ โดยในปีงบประมาณ 2565 มีแผนการเบิกจ่ายสะสม                    (เดือนตุลาคม 2564-18 พฤษภาคม 2565) วงเงินรวม 106,431 ล้านบาท และมีผลการเบิกจ่ายสะสม (เดือนตุลาคม 2564-18 พฤษภาคม 2565) จำนวน 714 โครงการ วงเงินรวม 79,056 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74 ของแผนการเบิกจ่ายปีงบประมาณ 2565 และร้อยละ 74 ของแผนการเบิกจ่ายสะสมโดยการดำเนินการดังกล่าวมีปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น
ประเด็น          ปัญหา/อุปสรรค          แนวทางแก้ไขปัญหา
(1) แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด?19           ? ความล่าข้าในการก่อสร้าง เนื่องจากอาคารเก่าไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการติดตั้งครุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมาก เช่น โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย
? ความล่าช้าในการส่งมอบครุภัณฑ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดอุปกรณ์ของบริษัทคู่สัญญา เช่น เครื่องเขย่าหลอดทดลองซึ่งต้องผ่านการพิจารณา            ขอคณะกรรมการตรวจรับพัสดุก่อน          ? เร่งรัดการปรับปรุงงานก่อสร้างและจัดเตรียมเอกสารให้พร้อมต่อการเบิกจ่าย ทั้งนี้ ได้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาโครงการออกไปสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2565 แล้ว
? เร่งรัดการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
(2) แผนงานหรือโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด?19           ? กลุ่มโครงการระดับจังหวัดภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 6 บางโครงการยังไม่เริ่มเบิกจ่ายและสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว โดยมีสาเหตุจากการแพร่ระบาดของ           โควิด-19 การได้รับจัดสรรงบประมาณจากแหล่งอื่น5 และการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า          ได้เร่งรัดการดำเนินโครงการฯ ที่มีปัญหาให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2565 แล้ว

                              2.6  การเบิกจ่ายโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม               พ.ศ. 2564 (กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท) ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการภายใต้            พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 จำนวน 69 โครงการ วงเงิน 425,961 ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน 365,533 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 86 ของวงเงินอนุมัติ  โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีแผนการเบิกจ่ายวงเงินรวม 307,207 ล้านบาท และมีแผนเบิกจ่ายสะสม (เดือนตุลาคม 2564- 18 พฤษภาคม 2565) วงเงินรวมจำนวน 280,067 ล้านบาท และมีผลการเบิกจ่ายจำนวน 69 โครงการ วงเงินรวม 255,736 ล้านบาท  คิดเป็นร้อยละ 83 ของแผนการเบิกจ่ายปีงบประมาณ 2565 และร้อยละ 91 ของแผนเบิกจ่ายสะสมตามลำดับ โดยการดำเนินการดังกล่าวมีปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น
ประเด็น          ปัญหา/อุปสรรค          แนวทางแก้ไขปัญหา
(1) แผนงานหรือโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด?19           แนวโน้มความต้องการวัคซีนของประเทศลดลง ส่งผลให้วัคซีนที่จัดหาตามแผนและวัคซีนที่ได้รับจากการบริจาคมีจำนวนมากกว่าความต้องการ จึงต้องชะลอการสั่งซื้อวัคซีน AstraZeneca          พิจารณาจัดหาสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี้) ชนิดออกฤทธิ์ยาวทดแทนการจัดหาวัคซีน AstraZeneca บางส่วนภายใต้กริบวงเงินเดิม
(2) แผนงานหรือโครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ  โควิด-19           ? ความล่าช้าและความซ้ำซ้อนของการตรวจสอบรายชื่อผู้รับสิทธิ์ส่งผลให้ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามแผน เช่น โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
? จำนวนผู้รับสิทธิ์ของโครงการ     ต่ำกว่าเป้าหมาย ส่งผลให้ไม่สามารถ
เบิกจ่ายได้ตามแผน เช่น โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายย้ายไปศึกษาต่อที่อื่น          ได้โอนเงินช่วยเหลือเสร็จสิ้นแล้วและอยู่ระหว่างส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายไปยัง สบน.
1ข้อมูลจากการรวบรวมของกรมบัญชีกลาง  ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2565
2ข้อมูลจากการรวบรวมของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและจากการประสานกับรัฐวิสาหกิจและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ณ  วันที่ 17 พฤษภาคม 2565
3ข้อมูลจากการรวบรวมของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2565
4จากการประสานข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 สบน. แจ้งว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงโควิด-19 ในอัตราค่าปรับร้อยละ 0 เดิมที่มีกำหนดสิ้นสุดจนถึงวันก่อนวันที่มีการประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน  ตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ)  0405.2/ว 693 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2564 เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
5จากการประสานข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 สบน. แจ้งว่า หน่วยงานได้มีการของบประมาณจากแหล่งอื่นด้วย จึงทำให้ไม่มีการเบิกจ่ายงบประมาณจากกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากพระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563

7.  เรื่อง  รายงานประจำปีผลการดำเนินงานคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน ชุดที่ 3 ปีที่ 2
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอรายงานประจำปีผลการดำเนินงานคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน ชุดที่ 3 ปีที่ 2  (วันที่ 4 ตุลาคม 2563-3 ตุลาคม 2564) [เป็นการดำเนินการตามนัยมาตรา 28 (5) แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน  พ.ศ. 2553 ที่บัญญัติให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ติดตามตรวจสอบการดำเนินการที่เกี่ยวกับงานที่รับไปทำที่บ้านจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และเสนอรายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และเผยแพร่ต่อสาธารณชน] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
เรื่อง          ผลการดำเนินงาน
1. การประชุมคณะกรรมการฯ                                  ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
          คณะกรรมการฯ มีการประชุม 3 ครั้ง ในประเด็นสำคัญ ๆ ดังนี้
1.1) จัดทำรายงานประจำปีผลการดำเนินงานคณะกรรมการฯ ชุดที่ 3 ปีที่ 1
1.2) จัดทำ ?แผนปฏิบัติการด้านการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้านประจำปี 2564 และปี 2565? และ ?แผนปฏิบัติการด้านการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2566-2570?
1.3) จัดทำรายงานประจำปีผลการดำเนินงานคณะกรรมการฯ  ชุดที่ 3 ปีที่ 2พิจารณาผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนต่อร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองฯ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.* และแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์และขับเคลื่อนนโยบายการรับงานไปทำที่บ้าน
2. การพัฒนากลไกในการพัฒนาการคุ้มครองงานที่รับไปทำที่บ้าน           คณะกรรมการฯ ได้แต่งตังคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษา วิเคราะห์ แก้ไข ปรับปรุง และยกร่างกฎหมาย รวมทั้งแนวทางการคุ้มครอง ส่งเสริม พัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน รวม 2 คณะ ดังนี้
2.1) คณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้านได้ดำเนินการประชุม 2 ครั้ง เพื่อพิจารณาประเด็นข้อเสนอแนะผลการรับฟังความคิดเห็นต่อ       ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองฯ
2.2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและส่งเสริมงานที่รับไปทำที่บ้าน                  ได้ดำเนินการประชุม 2 ครั้ง เพื่อพิจารณาแผนปฏิบัติการด้านคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้านและพิจารณาสัญญาจ้างในงานที่รับไปทำที่บ้าน
3. การส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน          คณะกรรมการฯ ได้ส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้านเพื่อให้มีความรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีอาชีพเสริมเพิ่มจากอาชีพหลักมีรายได้ที่มั่นคง มีงานทำอย่างต่อเนื่อง สามารถเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐ หลักประกันทางสังคม และสิทธิประโยชน์ตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเข้มแข็ง และยั่งยืน โดยมีการดำเนินกิจกรรม/โครงการ ดังนี้
3.1) โครงการสร้างเครือข่ายการคุ้มครองแรงงานนอกระบบในสังคมสูงวัย เป้าหมาย 450 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 458 คน  คิดเป็นร้อยละ 102 ของเป้าหมาย
3.2) โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เป้าหมาย 1,420 คน  มีผู้เข้าร่วมโครงการ 1,461 คน คิดเป็นร้อยละ 103 ของเป้าหมาย
3.3) กิจกรรมสร้างความเข้มแข็งชมรมแรงงานนอกระบบ เป้าหมาย 1,520 คน              มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1,575 คน คิดเป็นร้อยละ 104 ของเป้าหมาย
3.4) กิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานแก่เครือข่ายแรงานนอกระบบ เป้าหมาย 760 คน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 935 คน  คิดเป็นร้อยละ 123 ของเป้าหมาย
3.5) การตรวจแรงงานนอกระบบ เป้าหมาย 33,000 คน ผ่านการตรวจ 33,480
คน คิดเป็นร้อยละ 101.5 ของเป้าหมาย
3.6) โครงการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ การเลือกกรรมการผู้แทนผู้จ้างงาน กรรมการผู้แทนผู้รับงานไปทำที่บ้านในคณะกรรมการฯ เพื่อเป็นการสรรหาและเลือกบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่บ้านมาแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ กรรมการผู้แทนผู้จ้างงาน และกรรมการผู้แทนผู้รับงานไปทำที่บ้านในคณะกรรมการฯ ชุดที่ 4
4. การรับฟังความคิดเห็นต่อ             ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองฯ          กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) เปิดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อ     ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองฯ 3 ครั้ง ในรูปแบบออนไลน์และแบบเอกสาร ใน              10 ประเด็น เช่น วันบังคับใช้กฎหมาย การแก้ไขเพิ่มเติมนิยาม ?งานที่รับไปทำที่บ้าน? และการกำหนดเพิ่มอายุขั้นต่ำในการจ้างงานผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยมี            ผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น 205 คน
5. การติดตามตรวจสอบการดำเนินการที่เกี่ยวกับงานที่รับไปทำที่บ้าน           กสร. ได้ติดตามตรวจสอบผลการดำเนินการที่เกี่ยวกับงานที่รับไปทำที่บ้านจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยหน่วยงานที่ดำเนินการคุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนางานที่รับไปทำที่บ้านสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้แผนปฏิบัติการ
ด้านการบริการจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2563-2565  เพื่อให้กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านได้รับสิทธิประโยชน์ตามกฎหมาย มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะเพิ่มขึ้น รวมทั้งเกิดความเข้มแข็ง ยั่งยืน และมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยมีการดำเนินการตรวจสอบผลการดำเนินการโครงการ/กิจกรรม เช่น โครงการพัฒนาการตลาดสินค้ากลุ่มผู้ทำการผลิตที่บ้านหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ


ไวรัสโคโรนา 2019 กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านและโครงการฝึกอบรมแรงงานกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ
?????????????____________________
* อยู่ระหว่างการเสนอร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองฯ ต่อที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณากฎหมายของ รง.

8. เรื่อง  รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ              ครั้งที่ 15 (เดือนมกราคม-มีนาคม 2565)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เสนอ รายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ครั้งที่ 15 (เดือนมกราคม - มีนาคม 2565) และเสนอรัฐสภาเพื่อทราบต่อไป
                    รายงานดังกล่าวประกอบด้วยสาระสำคัญรวม 4 ส่วน ได้แก่ 1) สรุปภาพรวมการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 2) ความคืบหน้าการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 3) ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษและ 4) การดำเนินการในระยะต่อไป     สรุปได้ดังนี้
                    1. สรุปภาพรวมการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง)
                    สศช. ได้รวบรวมและประมวลผลข้อมูลการดำเนินการปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ จากการที่หน่วยงานรับผิดชอบหลักได้รายงานความคืบหน้าของการดำเนินการกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง              ต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) ที่มีการระบุเป้าหมายย่อยของความสำเร็จ (Milestone : MS) ระดับความสำเร็จตามระยะเวลาแล้วเสร็จ ปัญหาและอุปสรรคและข้อเสนอแนะในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) โดยมีสถานะความคืบหน้าการดำเนินการของกิจกรรม Big Rock รวมทั้งสิ้น 62 กิจกรรม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการกำกับติดตามและเร่งรัดการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์
ของรัฐธรรมนูญฯ ที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย 1) กิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผนรวม 55 กิจกรรม และ                  2) กิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผน รวม 7 กิจกรรม สรุปได้ดังนี้
                              1.1 ด้านการเมือง ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรมโดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 3 กิจกรรม และกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนฯ รวม 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0103) การสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 (BR0104) การส่งเสริมการพัฒนาพรรคการเมือง โดยกิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0103) ซึ่งสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์สำคัญทางการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง โดยศึกษาเปรียบเทียบจากทฤษฎี เอกสารทางวิชาการ เหตุการณ์ความขัดแย้ง และวิธีการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ โดยหน่วยงานจะต้องเร่งสรุปผลการศึกษาต่าง ๆ สำหรับใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำข้อเสนอในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของประชาชนและขจัดความขัดแย้งทางการเมืองในสังคม เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 2 (MS2) ที่กำหนดให้มีชุดความรู้ และข้อมูลเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งและการสร้างความสามัคคีปรองดอง ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
                              1.2 ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0203) ปรับเปลี่ยนการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐสู่ระบบเปิด เพื่อให้ได้มาและรักษาไว้ซึ่งคนเก่ง ดี และมีความสามารถอย่างคล่องตัวตามหลักคุณธรรม ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ ) ได้จัดทำ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2565  และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 เพื่อให้มีหลักเกณฑ์การพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ ๆ ซึ่งในปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำคู่มือคำอธิบายกฎ ก.พ. ฉบับดังกล่าว เพื่อวางแนวทางการดำเนินการให้แก่ส่วนราชการที่สนใจเข้าร่วมพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้มีการศึกษาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐที่สนับสนุนให้เกิดการหมุนเวียน สับเปลี่ยน ถ่ายเทกำลังคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                              1.3 ด้านกฎหมาย ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 3 กิจกรรม และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนฯ รวม 2 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 (BR0302) จัดให้มีกลไกทางกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย เพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และกิจกรรมที่ 5              (BR0305) จัดทำประมวลกฎหมายเพื่อรวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกันเพื่อความสะดวกในการใช้งานโดยกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 (BR0305) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ส่งร่างพระราชบัญญัติการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก พ.ศ. ....  ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565  โดยเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้วจะต้องนำเสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อรัฐสภาตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่ให้เสนอร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดทำประมวลกฎหมายและกฎเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงได้โดยสะดวก พ.ศ. ?. ต่อรัฐสภา และคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
                              1.4 ด้านกระบวนการยุติธรรม ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 4 กิจกรรม และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนฯ รวม 1 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0403)  การจัดหาทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจให้ครบทุกสถานีทั่วประเทศ ซึ่งปัจจุบันสภาทนายความได้จัดให้มีทนายความให้คำปรึกษาในสถานีตำรวจเรียบร้อยแล้ว จำนวน 203สถานี คิดเป็นร้อยละ  13.70 ของสถานีตำรวจทั่วประเทศ จาก 1,482 สถานี ซึ่งหน่วยงานควรหารือกับกระทรวงยุติธรรมถึงความเป็นไปได้ในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้ขยายผลให้มีทนายความให้คำปรึกษาในสถานีตำรวจ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของสถานีตำรวจทั่วประเทศ และคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
                              1.5 ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0503) การเพิ่มโอกาสของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็กในอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย ซึ่งบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ได้มีการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยผ่านโครงการค้ำประกันสินเชื่อเพื่อผู้ประกอบการ Micro Entrepreneurs ระยะที่ 4 (MICRO 4) วงเงินค้ำประกัน 25,000 ล้านบาท โดยมีวงเงินอนุมัติค้ำประกันสะสม ณ ไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 23,361 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายสะสมที่กำหนดไว้ที่ 7,500 ล้านบาท  อยู่จำนวน 15,861 ล้านบาท และมีจำนวนลูกค้า SME จำนวน 193,028 ราย ได้รับสินเชื่อจากสถาบันการเงินจากการค้ำประกัน 23,455 ล้านบาท        ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) การเข้าถึงแหล่งเงินทุนของ SME
                              1.6 ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด                4 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 4 (BR0604) ปฏิรูประบบการบริหารจัดการเขตควบคุมมลพิษ กรณีเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด ซึ่งกรมควบคุมมลพิษว่าจ้างศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษาในโครงการประเมินผลเพื่อยกเลิกเขตควบคุมมลพิษตามแผนการปฏิรูปประเทศโดยที่ปรึกษาฯ อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล และจัดการหารือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4 กลุ่มย่อย
(Focus Group) ประกอบด้วย (1) ภาคประชาชน (2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (3) หน่วยงานในคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและติดตามผลการดำเนินงานพื้นที่เขตควบคุมมลพิษจังหวัดระยองและ (4) ภาคอุตสาหกรรม เพื่อวิเคราะห์การรับรู้และความคิดเห็นต่อการยกเลิกเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 2 (MS2) ที่กำหนดให้มีการประกาศยกเลิกเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด
                              1.7 ด้านสาธารณสุข ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0703)การปฏิรูประบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุด้านการบริบาลการรักษา พยาบาลที่บ้าน/ชุมชน และการดูแลสุขภาพตนเองในระบบสุขภาพปฐมภูมิเชิงนวัตกรรม โดยกระทรวงสาธารณสุข มีการจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบูรณาการการสร้างและบริหารจัดการผู้บริบาลผู้สูงอายุ และเครือข่ายความร่วมมือการสร้างผู้บริบาลผู้สูงอายุที่เชื่อมโยงระดับพื้นที่ รวมทั้งมีการพัฒนาระบบโปรแกรม Long Term Care (3C) เพื่อรองรับการลงทะเบียนของผู้บริบาลผู้สูงอายุ และออกแบบเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่กำหนดให้มีระบบและกลไกการสร้างและบริหารจัดการผู้บริบาลผู้สูงอายุแบบบูรณาการ
                              1.8 ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด              3 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 (BR0802)                การกำกับดูแลสื่อออนไลน์ ซึ่งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีการดำเนินการเฝ้าระวังเว็บไซต์ผิดกฎหมาย และ Facebook Fanpage ?อาสา จับตา ออนไลน์? เพื่อการแก้ปัญหาข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคง (สถาบันพระมหากษัตริย์) และอาชญากรรมอื่น ๆ ที่แพร่หลายมากมายในโลกโซเชียล ซึ่งประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบเฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแสข้อมูลเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนสื่อออนไลน์ โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ซึ่งหน่วยงานสามารถเฝ้าระวังติดตาม กำกับดูแลเนื้อหาของข้อมูลข่าวสารในสื่อทุก                        รูปแบบอย่างเข้มข้น ทันสถานการณ์ คุ้มครองสิทธิของผู้ผลิตเนื้อหา และจัดเก็บพยานหลักฐานการกระทำความผิดบนโลกออนไลน์อย่างเป็นระบบ และเป้าหมายย่อยที่ 2 (MS2) สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบเฝ้าระวัง และแจ้งเบาะแสข้อมูลเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมบนสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น
                              1.9 ด้านสังคม ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรมโดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 3 (BR0903) การปฏิรูปการขึ้นทะเบียนคนพิการ เพื่อให้คนพิการได้รับสิทธิสวัสดิการและความช่วยเหลือได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง ซึ่งกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคุณภาพคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีการปรับคำนิยาม ?คนพิการ? ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และการจัดทำระบบการเชื่อมโยงข้อมูลด้านสิทธิ สวัสดิการคนพิการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีแผนจะขยายหน่วยงานเชื่อมโยงข้อมูลเพิ่มเติม โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่ให้มีการกำหนดคำนิยาม  ?คนพิการ? ซึ่งปัจจุบันมีความแตกต่างกันแต่ละหน่วยงาน และเป้าหมายย่อยที่ 4 (MS4) ระบบฐานข้อมูลคนพิการสามารถเชื่อมโยงระหว่างสถานพยาบาลกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ภายในปี 2565
                              1.10 ด้านพลังงาน ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock รวม 5 กิจกรรมโดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 (BR1001) ศูนย์อนุมัติอนุญาตเบ็ดเสร็จ          One-Stop-Service ด้านกิจการไฟฟ้าที่แท้จริงซึ่งกระทรวงพลังงานมีการปรับปรุง Licensing Scheme กระบวนการอนุญาตประกอบกิจการไฟฟ้าและกิจการก๊าชธรรมชาติ เพื่อปรับปรุงประเภทใบอนุญาตให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน
และปรับลดระยะเวลา ขั้นตอน และเอกสารการขอรับใบอนุญาต โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1                (MS1) ที่ให้มีการจัดตั้งเป็น One Stop Service อย่างแท้จริง
                              1.11 ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ รวม 3 กิจกรรม และมีกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้ากว่าแผนฯ รวม 2 กิจกรรมได้แก่ กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 (BR1102) การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ และกิจกรรมปฏิรูปที่ 4 (BR1104) การพัฒนาระบบราชการไทยให้โปร่งใสไร้ผลประโยชน์ โดยกิจกรรมปฏิรูปที่ 2 (BR1102) ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีอยู่ระหว่างการนำ (ร่าง) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการเพื่อพิจารณาอีกครั้งก่อนนำเสนอต่อสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) และนำเสนอต่อรัฐสภาต่อไป โดยหน่วยงานจะต้องเร่งรัดการแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ และข้อคิดเห็นของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบให้แล้วเสร็จ และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป เพื่อให้เป็นไปตาม
ที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 1 (MS1) ที่ประชาชนในวงกว้างสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้โดยสะดวกผ่านการผลักดันการออกกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารสาธารณะที่ประชาชนควรได้รับทราบข้อมูลข่าวสารโดยไม่ต้องร้องขอและหน่วยงานภาครัฐต้องเปิดเผยข้อมูลในครอบครองผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้
                              1.12 ด้านการศึกษา ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรมโดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมที่เป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 1 (BR1201) การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัย ซึ่งกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาได้มีระบบหลักประกันโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาที่มีการเชื่อมโยงระบบข้อมูลสารสนเทศขนาดใหญ่ (Big Data) โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กยากจนพิเศษ กลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่เข้ามาสู่ระบบการคัดกรอง (PMT) โดยได้มีระบบการบูรณาการข้อมูลสารสนเทศ              อย่างต่อเนื่องและได้นำไปใช้ประโยชน์ รวมถึงการเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลผู้มีรายได้น้อยของกระทรวงการคลัง และการส่งต่อข้อมูลของนักเรียนกลุ่มยากจนพิเศษ/ด้อยโอกาสไปยังหน่วยงานที่สามารถรับช่วงต่อในการดูแลต่อไป โดยเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 4 (MS4) มีการสร้างระบบหลักประกันโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
                              1.13 ด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วยกิจกรรม Big Rock ทั้งหมด 5 กิจกรรม โดยมีสถานะความคืบหน้าของกิจกรรมเป็นไปตามแผนฯ ทั้งหมด เช่น กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 (BR1302) การพัฒนาการเรียนรู้และเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรมแบบบูรณาการ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมมีการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนฐานวัฒนธรรม โดยการกระตุ้นและส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทยสู่สากล รวมทั้งได้มีการเปิดพื้นที่ให้กับความสร้างสรรค์การแสดงสินค้าและการสร้างนวัตกรรม             ใหม่ ๆ ที่ใช้แรงบันดาลใจจากเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม ซึ่งเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในเป้าหมายย่อยที่ 3 (MS3) ที่กำหนดให้มีการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมให้เป็นสินค้าทางวัฒนธรรมที่กลับมาสร้างรายได้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับท้องถิ่น ผ่านการทำงานแบบบูรณาการที่มีการปฏิรูปกระบวนการนำโครงการทางวัฒนธรรมลงสู่พื้นที่เป็นหลัก
                    2. ความคืบหน้าการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) จำนวน 45 ฉบับ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2565 ซึ่งมีสถานะความคืบหน้าของกฎหมาย ประกอบด้วย (1) ดำเนินการแล้วเสร็จ รวม 4 ฉบับ โดยเป็นกฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ณ เดือนธันวาคม 2564 จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล พ.ศ. 2564  และกฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จเพิ่มเติม จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ประกาศ กฎ ก.พ. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2565 โดยได้ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่                10 มีนาคม 2565 และประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำ/            ข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (TPA Framework Guideline) โดยได้ประกาศบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 (2) อยู่ระหว่างการดำเนินการ รวม 41 ฉบับ ซึ่งมีกฎหมายที่มีสถานะการจัดทำ ปรับปรุงคืบหน้ากว่ารอบรายงาน ครั้งที่ 14 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564) จำนวน 5 ฉบับ ทั้งนี้ ยังมีกฎหมายที่อยู่ระหว่างหน่วยงานของรัฐจัดทำร่างกฎหมาย จำนวน 28 ฉบับ โดย สศช. จะดำเนินการประสานหน่วยงานผู้รับผิดชอบ เพื่อติดตามและเร่งรัดการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) และเสนอตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
                    3. ความคืบหน้าของประเด็นที่รัฐสภาให้ความสนใจเป็นพิเศษ
                    สมาชิกวุฒิสภา และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้อภิปรายตั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อการรายงานความคืบหน้าฯ ครั้งที่ 13 (เดือนกรกฎาคม - กันยายน 2564 และครั้งที่ 14 (เดือนตุลาคม - ธันวาคม 2564) ซึ่ง สศช. ได้สรุปความเห็นและประเด็นอภิปรายในภาพรวม ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการรายงานฯ ให้สามารถแสดงให้เห็นความคืบหน้าของการปฏิรูปประเทศที่ชัดเจนและแสดงให้เห็นผลสัมฤทธิ์การดำเนินการในแต่ละประเด็นการปฏิรูปที่เห็นผลได้อย่างเป็นรูปธรรม การเร่งรัดผลความก้าวหน้าของการยกร่างและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศเพื่อลดอุปสรรคในการดำเนินงานและเกิดประโยชน์ต่อประชาชนอย่างแท้จริง เช่น ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดการข้อมูลข่าวปลอม พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. .... ตลอดจนให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินการในระยะต่อไปของการปฏิรูปประเทศ ซึ่งหน่วยงานของรัฐจะต้องนำประเด็นปฏิรูปไปดำเนินการตามภารกิจปกติของหน่วยงานให้การปฏิรูปประเทศสัมฤทธิ์ผลตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ โดย สศช. จะนำความเห็นและประเด็นอภิปรายดังกล่าว รวมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่ได้จากคณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศและการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ในการประชุมวุฒิสภาสมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง ทุกวันจันทร์สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนไปเป็นแนวทางประกอบการเร่งรัด กำกับ และติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนตามแผนการปฏิรูปประเทศให้บรรลุเป้าหมาย และใช้เป็นข้อมูลประกอบการรายงานความคืบหน้าฯ ในรอบการรายงานต่อไป
                    4. การดำเนินการในระยะต่อไป
                    สศช. จะดำเนินการประสานการติดตามและเร่งรัดการขับเคลื่อนการดำเนินการตามกิจกรรม              Big Rock ภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) ทั้ง 13 ด้าน ร่วมกับคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ เพื่อให้หน่วยงานรับผิดชอบหลัก และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในกรอบระยะเวลาที่กำหนด เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ ตลอดทั้งผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะบรรลุในปี 2565 ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯรวมทั้งกำกับติดตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าข้อมูลแผนงาน/โครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ให้ครบถ้วน พร้อมทั้งรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการในระดับโครงการ และหน่วยงานรับผิดชอบหลักต้องประมวลผลความก้าวหน้าของโครงการในภาพรวมกิจกรรม Big Rock โดยรายงานความก้าวหน้าในระดับเป้าหมายย่อย (MS) ระดับความสำเร็จเปรียบเทียบกับระยะเวลาที่กำหนด ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ รวมทั้งข้อเสนอแนะในระบบ eMENSCR อย่างต่อเนื่องในทุกสิ้นไตรมาส และ สศช. จะดำเนินการสรุปประมวลผลข้อมูลดังกล่าวประกอบการจัดทำรายงานความคืบหน้าฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีและรายงานรัฐสภาทราบในรอบการรายงานต่อไป

9. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของประเทศไทย ประจำปี 2564 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 40 ที่บัญญัติให้ พม. จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับสถานการณ์ จำนวนคดี การดำเนินการของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการดำเนินงานในอนาคตเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์เสนอต่อคณะรัฐมนตรี] ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในคราวประชุมฯ ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานได้เห็นชอบรายงานฯ ด้วยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. สรุปผลการดำเนินงานฯ ประจำปี 2564
เรื่อง          สาระสำคัญ
การจัดสรรงบประมาณ
การจัดสรรงบประมาณ          รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตั้งแต่ปี 2560-2564 รวมยอดสะสมทั้งสิ้น 4,460.55 ล้านบาท โดยในปี 2564 ได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.69
ด้านการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย
1.สถิติการดำเนินคดี/
จับกุมผู้กระทำผิด/ช่วยเหลือผู้เสียหาย          ? จับกุมและเริ่มการดำเนินคดีอาญา จำนวน 188 คดี เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 41.35 (ที่มีจำนวน 133 คดี) (คดีค้าประเวณี จำนวน 135 คดี คดีบังคับใช้แรงงาน/นำคนลงเป็นทาส*/ขูดรีด จำนวน 30 คดี คดีผลิตหรือเผยแพร่วัตถุ สื่อลามก จำนวน 13 คดี และคดีอื่น ๆ จำนวน 10 คดี) ทั้งนี้ พบว่า เป็นคดีที่มาจากการสืบสวนสอบสวนช่องทางออนไลน์ จำนวน 107 คดี คิดเป็นร้อยละ 56.91 ของจำนวนคดีค้ามนุษย์ในชั้นสืบสวนทั้งหมด (คดีการโฆษณาจัดหางานผิดกฎหมายและหลอกลวงแรงงานทางสื่อออนไลน์ จำนวน 74 คดี และคดีเกี่ยวกับสื่อลามกเด็ก จำนวน 33 คดี)
? จับกุมผู้กระทำความผิดเพิ่มขึ้นจากปี 2563 จำนวน 208 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้มีสัญชาติไทย รองลงมาเป็นสัญชาติเมียนมา ซึ่งในคดีส่วนมากเจ้าหน้าที่สามารถจับกุมผู้ต้องหาในความผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์จากการแสวงหาประโยชน์ทางเพศที่มีผู้ต้องหาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปมากขึ้น และส่วนใหญ่เป็นการแสวงหาประโยชน์ทางเพศในช่องทางออนไลน์
? ช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จำนวน 414 คน เพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 79.22 (ที่มีจำนวน 231 คน) เป็นสัญชาติไทย จำนวน 312 คน และสัญชาติอื่น ๆ จำนวน 102 คน (เป็นสัญชาติเมียนมา จำนวน 94 คน)
2. การดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่รัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์          ดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นจำนวน 17 คน (อยู่ระหว่างการสอบสวน/ไต่สวน จำนวน 11 คน อยู่ระหว่างพิจารณาของพนักงานอัยการ จำนวน 4 คน อยู่ระหว่างพิจารณาของศาล จำนวน 1 คน และศาลยกฟ้อง จำนวน 1 คน)
3. การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศและความร่วมมือกับภาคประชาสังคม          จัดตั้งศูนย์ประสานงานระหว่างพนักงานอัยการ ผู้เสียหาย และหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำงานในการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุ เพื่อประสานกับทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคมทั้งภายในประเทศ ต่างประเทศ และในระดับระหว่างประเทศ ในการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายคดีค้ามนุษย์และให้คำแนะนำปรึกษาปัญหาข้อกฎหมาย รวมทั้งเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคดีค้ามนุษย์
ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ
1. การคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีค้ามนุษย์          ? คุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการที่เข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครอง จำนวน 148 คน แบ่งเป็น เพศหญิง จำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 81.1 และเป็นเพศชาย จำนวน 28 คน                คิดเป็นร้อยละ 18.9 เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ จำนวน 146 คน และผู้เสียหายจากการบังคับใช้แรงงานหรือบริการ จำนวน 2 คน
? ลดระยะเวลาการคุ้มครองในสถานคุ้มครองจาก 158 วันในปี 2563 เป็น 143 วันในปี 2564 ทั้งนี้ เนื่องจากประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินคดีที่รวดเร็วประกอบกับการวางแผนและการประเมินร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้เสียหายอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เสียหายไม่ต้องอยู่ในสถานคุ้มครองนานเกินความจำเป็น
? ให้อิสระในการเดินทางเข้าออกสถานคุ้มครองของผู้เสียหาย โดยออกบัตรประจำตัวให้ผู้เสียหายที่เข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครอง จำนวน 77 คน ประกอบด้วย ผู้เสียหายสัญชาติเมียนมา จำนวน 35 คน กัมพูชา จำนวน 1 คน ลาว จำนวน 1 คน และโรฮีนจา จำนวน 40 คน สำหรับการเดินทางออกไปทำงานนอกสถานคุ้มครองได้ แม้ในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทำให้สถานประกอบการหลายแห่งปิดรับผู้เสียหายที่ออกไปทำงานภายนอกจากการทำงานร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่ ผู้เสียหาย และสถานประกอบการ ในลักษณะของการอยู่กับนายจ้าง และจะมีทีมนักสังคมสงเคราะห์ของสถานคุ้มครองคอยติดตามดูแลเป็นระยะ
2. การมีส่วนร่วมขององค์กรภายนอกภาครัฐในการช่วยเหลือทางด้านกฎหมาย          เตรียมความพร้อมให้กับผู้เสียหายเข้าสู่กระบวนการทางศาลอย่างเหมาะสม โดยความร่วมมือระหว่างทีมสหวิชาชีพทั้งจากภาครัฐรวมถึงพนักงานอัยการและองค์กรนอกภาครัฐได้เข้ามามีส่วนร่วม เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้เสียหายที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมที่เป็นมิตร
3. การเยียวยาชดเชยผู้เสียหายและพยานในคดีอาญา          สนับสนุนค่าใช้จ่ายในการคุ้มครองพยานเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ถึงร้อยละ 153.02 และผู้เสียหายได้รับเงินเยียวยาชดเชยในฐานะผู้เสียหายและพยานในคดีอาญาเพิ่มขึ้นจากปี 2563 ร้อยละ 123.9 รวมทั้งได้พัฒนาคู่มือสิทธิผู้เสียหายและจำเลยในคดีอาญา 5 ภาษา เพื่อสร้างความมั่นใจว่าผู้เสียหายจะทราบถึงสิทธิอื่น ๆ ของตนเองได้
4. การพัฒนากลไกการส่งต่อการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ระดับชาติ          ขับเคลื่อนและพัฒนากลไกการทำงานเพื่อสร้างระบบการคุ้มครองช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพและเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ทั้งการให้ความรู้เกี่ยวกับกลไกการส่งต่อระดับชาติ การคิดรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมในห้วงระยะเวลาการฟื้นฟูไตร่ตรอง รวมถึงการสร้างช่องทางเรียนรู้สำหรับผู้ปฏิบัติงานผ่าน e-learning
ด้านการป้องกัน
1. การพัฒนากฎหมายสำคัญ เช่น          ? แก้ไขกฎกระทรวงคุ้มครองแรงงานในงานประมงทะเล พ.ศ. 2557 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มมาตรการคุ้มครองลูกจ้างที่ไปทำการประมงนอกน่านน้ำให้ได้รับการคุ้มครองเกี่ยวกับค่าจ้าง สวัสดิการและความปลอดภัย และกำหนดให้มีการจดทำสัญญาจ้างที่มี 2 ภาษา เป็นไปตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 188 ว่าด้วยการทำงานในภาคประมง ค.ศ. 2007 ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล
? พัฒนากฎหมายที่สำคัญเกี่ยวกับสิทธิคนต่างด้าวในการจัดตั้งสหภาพแรงงานตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้สอดคล้องกับอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาตอ่รอง เพื่อยกระดับมาตรฐานด้านแรงงานสัมพันธ์ให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน และส่งเสริมเสรีภาพและรับรองสิทธิแรงงานในการร่วมเจรจาต่อรองให้สอดคล้องกับมาตรฐานแรงงาน ILO
2. การสร้างความตระหนักรู้ให้คนหางาน          สร้างความตระหนักรู้ให้คนหางานผ่านการประชาสัมพันธ์การรณรงค์ในรูปแบบสื่อวิดีทัศน์ ?การค้ามนุษย์ใกล้ตัวกว่าที่คิด? โดยถอดบทเรียนจากผู้เสียหายที่ถูกหลอกผ่านสื่อออนไลน์ไปเป็น SCAMER ที่มีสถิติการถูกหลอกผ่านระบบออนไลน์ โดยมีจำนวนผู้เข้าชม 187,297 ครั้ง ยอดแสดงความรู้สึก (Like) 1,859 ครั้ง และได้แสดงความคิดเห็นเชิงป้องกัน (Comment) 51 ครั้ง
3. การบริหารจัดการแรงงาน
ต่างด้าว          พิจารณาคำขอและจัดทำทะเบียนคนต่างด้าวที่ยื่นขอรับใบอนุญาตทำงาน โดยมีแรงงานต่างด้าวยื่นขอและได้รับอนุญาตทำงาน จำนวน 401,708 คน/730,606 ครั้ง ตรวจสอบการทำงานคนต่างด้าว จำนวน 741,357 คน และสถานประกอบการ จำนวน 56,186 แห่ง และสร้างความตระหนักรู้และจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในภาคประมง โดยส่งเสริมแรงงานประมงและนายจ้างให้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้องตามกฎหมายไม่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์ จำนวน 179,595 คน
4. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย          ส่งเสริมพัฒนาและกำกับดูแลแรงงานกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จำนวน 43,932 คน พัฒนาศักยภาพสถานประกอบกิจการตามแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี จำนวน 729 แห่ง และส่งเสริมให้ความรู้แก่แรงงานนอกระบบเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จำนวน 100 คน
                    2.แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป เช่น
ด้าน          แผนการดำเนินงาน
1. ด้านการดำเนินคดีและบังคับใช้กฎหมาย          - เพิ่มขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและบริบทต่าง ๆ โดยการสร้างองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพผู้บังคับใช้กฎหมายเพื่อดำเนินการเชิงรุกในการดำเนินคดีและตัดสินลงโทษผู้ค้ามนุษย์ด้านแรงงาน และการสืบสวนสอบสวนคดีค้ามนุษย์ให้ครอบคลุมทุกรูปแบบ และเพิ่มศักยภาพหน่วยปราบปรามการค้ามนุษย์แก่ตำรวจในระดับพื้นที่
- ใช้แนวทางการการยึดผู้เสียหายเป็นศูนย์กลางและคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจ นอกจากนี้ ให้มีการคุ้มครองช่วยเหลือเด็กที่ตกเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ทางอินเทอร์เน็ต
- ควรมีการประชุมถอดบทเรียนแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในแผนฯ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานและแนวทางการขับเคลื่อนแผนฯ
2. ด้านการคุ้มครองช่วยเหลือ          - ขับเคลื่อนแนวทางกลไกการส่งต่อระดับชาติ และระยะเวลาการฟื้นฟูและไตร่ตรองอย่างเป็นรูปธรรมและนำไปสู่การปฏิบัติ
- สร้างความมั่นใจสำหรับผู้เสียหายกลุ่มผู้ใหญ่ที่จะเข้ารับการคุ้มครองในสถานคุ้มครองว่าจะมีอิสระในการเดินทางเข้าออกและอิสระในการติดต่อสื่อสารรวมถึงมีแนวทางการส่งต่อบริการและเพิ่มโอกาสการทำงานเมื่อผู้เสียหายพร้อมจะเข้าสู่ระบบการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม
- สร้างความมั่นใจว่าสถานคุ้มครองของรัฐและเอกชนจะให้บริการกับผู้เสียหายโดยคำนึงถึงบาดแผลทางจิตใจของผู้เสียหาย โดยการฝึกอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ของสถานคุ้มครองให้ครบทุกคน
- ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งอัยการและองค์กรนอกภาครัฐเพื่อให้ผู้เสียหายได้รับการเตรียมการสำหรับกระบวนการทางศาลอย่างเหมาะสม
3. ด้านการป้องกัน          - ยกระดับศูนย์บัญชาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงานโดยได้มีแผนการจัดสรรอัตรากำลังเพิ่มเติมให้กับสำนักงานเลขานุการศูนย์ฯ เป็นแผนงานที่เร่งด่วนเพื่อให้การปฏิบัติงานมีความคล่องตัวมากขึ้น
- จัดทำระบบรับเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียนการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน การบริหารจัดการข้อมูล และการส่งต่อคดี โดยได้เร่งดำเนินการเพื่อเชื่อมโยงกับระบบรับเรื่องร้องทุกข์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
- จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจต่อต้านการค้ามนุษย์ด้านแรงงานเพื่อให้การดำเนินงานตามนโยบายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ของรัฐบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อยคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ
*การนำคนลงเป็นทาสเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบประเภทหนึ่งตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์               พ.ศ. 2551 ซึ่งมีลักษณะเป็นการที่ผู้หนึ่งผู้ใดได้อ้างสิทธิเหนือบุคคลอีกคนหนึ่งโดยเด็ดขาดในการจำกัดเสรีภาพในร่างกายโดยความไม่สมัครใจของผู้นั้น

10. เรื่อง ขออนุมัติให้ยกเลิกโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 และงานประกอบ ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 1 อาคาร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอให้ยกเลิกโครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 และงานประกอบ ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 1 อาคาร วงเงิน 42.2 ล้านบาท
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สทนช. รายงานว่า
                    1. ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติ วันที่ 20 ตุลาคม 2563* ต่อมาเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2564 สทนช. ได้รับอนุมัติจากรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ให้ขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการดังกล่าว จากเดิม 2 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2565) เป็น 3 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2566) โดยไม่เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพัน
                    2. สทนช. ได้ว่าจ้างผู้รับจ้างให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารที่ทำการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 และงานประกอบ ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 1 อาคาร ตามสัญญาลงวันที่ 13 สิงหาคม 2564 วงเงินตามสัญญา 39.99 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 450 วัน นับจากวันแจ้งเริ่มปฏิบัติงาน ซึ่ง สทนช.                 ยังไม่ได้แจ้งให้เริ่มปฏิบัติงานและยังไม่มีการเบิกจ่ายงบประมาณแต่อย่างใด
                    3. เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 สทนช. ได้รับหนังสือจากสำนักงานธนารักษ์พื้นที่สระบุรี แจ้งให้ชะลอการเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ สบ.655 โฉนดที่เดินเลขที่ 64752 ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี เนื้อที่ 1- 0 - 24 ไร่ ที่ใช้เป็นทางเข้า ? ออก ในการก่อสร้างอาคารที่ทำการและงานก่อสร้างอื่น ๆ อีก 3 รายการ เนื่องจากผู้บริจาคที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวแจ้งความประสงค์ขอคืนที่ดินเนื่องจากราชการไม่ได้ใช้ประโยชน์ ปัจจุบันกรมธนารักษ์อยู่ระหว่างพิจารณาเรื่องดังกล่าวซึ่งยังไม่ได้ข้อสรุปและไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจน โดยหากการพิจารณายืดเยื้อต่อไปผู้รับจ้างอาจเรียกร้องค่าเสียหายตามสิทธิ เนื่องจาก สทนช. ได้ลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้างแต่ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้างได้ ประกอบกับ สทนช. ได้พิจารณาทางเข้า ? ออก เพื่อดำเนินการก่อสร้างแล้วปรากฏว่าไม่มีทางสาธารณะอื่นใดที่จะเข้าไปในพื้นที่ก่อสร้างได้ ดังนั้น เพื่อมิให้ราชการต้องเสียประโยชน์จึงได้บอกเลิกสัญญาและข้อตกลง จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
                              3.1 สัญญาจ้างก่อสร้างอาคารที่ทำการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 และงานประกอบ ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 1 อาคาร ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2564 วงเงิน 39.99 ล้านบาท และสัญญาจ้างก่อสร้างงานผังบริเวณ และสิ่งก่อสร้างประกอบ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 และงานประกอบ ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 1 งาน ลงวันที่ 13 กรกฎาคม 2564 วงเงิน 5.55 ล้านบาท ซึ่งผู้รับจ้างได้รับทราบและยินดีที่จะยกเลิกการดำเนินงานตามสัญญารวมทั้งยืนยันไม่เรียกร้องค่าเสียหายใด ๆ เพิ่มเติมจากการยกเลิกงานในครั้งนี้
                              3.2 ข้อตกลงในการดำเนินงานขยายเขตไฟฟ้า ประปา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 และงานประกอบ ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี 1 งาน วงเงินค่างาน 1.45 ล้านบาท ซึ่งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสระบุรีได้คืนเงินล่วงหน้างวดแรก (ร้อยละ 50) จำนวน 0.73 ล้านบาท ให้กับสทนช. เรียบร้อยแล้ว
                              3.3 สทนช. ได้พิจารณาดำเนินการเพื่อหาสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับใช้เป็นพื้นที่ก่อสร้างอาคารที่ทำการแห่งใหม่ด้วยแล้ว ซึ่งคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงจุดที่ตั้งอาคารที่ทำการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 เป็นจังหวัดอื่นแทน



*อนุมัติรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณสำหรับรายการงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ ซึ่งรวมถึงรายการค่าก่อสร้างอาคารที่ทำการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติภาค 2 และงานประกอบ ตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี กรอบวงเงิน 44.3 ล้านบาท

11. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมิถุนายน 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมิถุนายน 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
                              1.1 สศช. ได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติผ่านการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยทุกหน่วยงานของรัฐต้องจัดทำร่างข้อเสนอโครงการฯ ที่ตรงโจทย์การพัฒนา ซึ่ง สศช. ได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินให้คะแนนร่างข้อเสนอโครงการฯ ดังนี้ (1) โครงการที่ส่งผลต่อปัจจัยและองค์ประกอบหลักภายใต้ห่วงโซ่คุณค่าของเป้าหมายแผนแม่บทย่อยและการบรรลุเป้าหมายของแผนแม่บทฯ และยุทธศาสตร์ชาติ (2) ความจำเป็นต้องมีหรือไม่มีโครงการ (3) การจัดทำโครงการมีการอ้างอิงหลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ (4) โครงการมีวัตถุประสงค์ ผลผลิต ผลลัพธ์ และกลุ่มเป้าหมายผู้รับประโยชน์ที่ชัดเจน (5) โครงการมีแผนการดำเนินงานและกิจกรรมที่ชัดเจน (6) โครงการมีตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของโครงการได้อย่างเป็นรูปธรรม และ (7) โครงการไม่เป็นไปเพื่อการจัดตั้งกองทุนและคณะกรรมการ จัดตั้งหน่วยงาน ปรับปรุงซ่อมแซม ก่อสร้างอาคารสำนักงาน และจัดซื้อครุภัณฑ์เป็นการเฉพาะ หรือหากจำเป็นจะต้องส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ หน่วยงานจะต้องนำเข้าข้อเสนอโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน -                 10 กรกฎาคม 2565 และจะเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีต่อไป
                              1.2 สศช. ได้ปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยยึดหลักการและแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ที่ให้มีการปรับปรุงตัวชี้วัดค่าเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาให้มีความชัดเจนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ เมื่อ สศช. ดำเนินการแล้วเสร็จจะมีการรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ฉบับปรับปรุง) ในเดือนกรกฎาคม 25651 เพื่อนำความคิดเห็นมาประกอบการปรับปรุงแผนแม่บทฯ ให้มีความครบถ้วนสมบูรณ์ และจะเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2565 รวมทั้งประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                              1.3 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) สศช. ได้เร่งจัดเก็บข้อมูลตามแบบสอบถามเพื่อการพัฒนาคนทุกช่วงวัยในระดับครัวเรือนและบุคคลตามหลักการของดัชนีการพัฒนาคนหลากหลายมิติ และผลักดันแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 (เรื่อง การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง) ผ่านกลไก ศจพ. ในระดับจังหวัดและระดับอำเภอ รวมทั้งทีมปฏิบัติการในพื้นที่ นอกจากนี้ สศช. ได้หารือร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติเกี่ยวกับการพัฒนากรอบกิจกรรมความร่วมมือในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยตามแนวทางของ ศจพ. เพื่อหาต้นแบบการทำงานร่วมกันอย่างบูรณาการของภาคีต่าง ๆ ในพื้นที่เพื่อให้สามารถสนับสนุนการแก้ปัญหา ลดความยากจน และนำไปสู่การออกแบบสวัสดิการและความคุ้มครองทางสังคม เพื่อพัฒนาคนตลอดช่วงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
                    2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ
                              2.1 สศช. ได้รายงานความคืบหน้าตามแผนการปฏิรูปประเทศ (รอบเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2564 และรอบเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564) ต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 และรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศประจำปี 2564 ต่อวุฒิสภา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2565 โดยมีสรุปความเห็นและประเด็นอภิปราย ดังนี้ (1) พัฒนารูปแบบการรายงานฯ โดยแสดงความคืบหน้าที่ชัดเจนและมีผลการดำเนินการในแต่ละประเด็นการปฏิรูปที่เป็นรูปธรรม (2) เร่งรัดการยกร่างและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ เช่น ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดการข้อมูลข่าวปลอม พ.ศ. ....2 และร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. ....3 รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินการในระยะต่อไปของการปฏิรูปประเทศ โดยหน่วยงานของรัฐจะต้องนำประเด็นปฏิรูปไปดำเนินการตามภารกิจปกติของหน่วยงาน เพื่อให้การปฏิรูปประเทศสัมฤทธิ์ผลตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทั้งนี้ สศช. จะนำความเห็นและประเด็นอภิปราย รวมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าวไปประกอบการเร่งรัด กำกับ และติดตามการดำเนินการขับเคลื่อนตามแผนการปฏิรูปประเทศในระยะต่อไป
                              2.2 ความคืบหน้าแผนการปฏิรูป (รอบเดือนมกราคม - มีนาคม 2565) มีกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) รวม 62 กิจกรรม โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการเป็นไปตามแผนการปฏิรูปประเทศ 55 กิจกรรม และกิจกรรมที่ดำเนินการล่าช้า 7 กิจกรรม ซึ่งจำเป็นต้องเร่งรัด กำกับ ติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้สามารถดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ได้แก่
ด้าน          กิจกรรม
การเมือง          (1) การสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ
(2) การส่งเสริมการพัฒนาพรรคการเมือง
กฎหมาย          (3) การจัดให้มีกลไกทางกฎหมายเพื่อให้มีการพิจารณาปรับเปลี่ยนโทษทางอาญาที่ไม่ใช่ความผิดร้ายแรงให้เป็นโทษปรับเป็นพินัย เพื่อลดผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
(4) การจัดทำประมวลกฎหมายเพื่อรวบรวมกฎหมายเรื่องเดียวกันไว้ด้วยกันเพื่อความสะดวกในการใช้งาน
กระบวนการยุติธรรม          (5) การจัดหาทนายความอาสาประจำสถานีตำรวจให้ครบทุกสถานีทั่วประเทศ
การป้องกันและปราบปราม
การทุจริตและประพฤติมิชอบ          (6) การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ
(7) การพัฒนาระบบราชการไทยให้โปร่งใสไร้ผลประโยชน์
และในส่วนของความคืบหน้าของกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) 45 ฉบับ ได้มีกฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 4 ฉบับ4 และร่างกฎหมายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา 3 ฉบับ5
                    3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ได้เผยแพร่ข้อมูลจากระบบ eMENSCR ในรูปแบบ JSON (Java Script Object Notation)6 เพื่อให้หน่วยงานหรือผู้ที่สนใจนำข้อมูลโครงการและการดำเนินการของหน่วยงานของรัฐที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับ 2 ไปใช้ประโยชน์และพัฒนาต่อยอดในการวิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผลในมิติต่าง ๆ ตามภารกิจของแต่ละหน่วยงาน โดยสามารถเรียกดูได้ผ่านทางเว็บไซต์ยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ
                    4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ (ร่าง) พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้จัดสรรงบประมาณ รวมวงเงินทั้งสิ้น 3,185,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อพิจารณาวงเงินงบประมาณตามประเด็นของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเทียบกับค่าสถานะการบรรลุเป้าหมายในปี 2565 จากรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปี 2564 พบว่า ประเด็นแผนแม่บทฯ ที่มีวงเงินงบประมาณสูงสุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ (1) ความเสมอภาคและหลักประกันทางสังคม มีค่าสถานะการบรรลุเป้าหมายอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (2) พลังทางสังคม มีค่าสถานะการบรรลุเป้าหมายแล้ว และ (3) โครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล มีค่าสถานะการบรรลุเป้าหมายแล้ว อีกทั้งในรายงานสรุปผลฯ มีประเด็นแผนแม่บทฯ อื่น ๆ ที่ควรให้ความสำคัญในการจัดสรรงบประมาณเพื่อให้ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายที่มีความเสี่ยงรวมอยู่ด้วย ดังนั้น หน่วยงานของรัฐควรใช้ข้อมูลค่าสถานะการบรรลุเป้าหมาย ประเด็นท้าทาย และข้อเสนอแนะ                  จากรายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีตามยุทธศาสตร์ชาติมาประกอบการวิเคราะห์ความเหมาะสมและความจำเป็นในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่าและตอบโจทย์การพัฒนาประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม
1 จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 สศช. แจ้งว่าได้เปิดรับฟังความคิดเห็นในรูปแบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2565 ผ่านเว็บไซต์ สศช.
2 จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 สศช. แจ้งว่ามีการเปลี่ยนแปลงการจัดทำ ?ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดการข้อมูลข่าวปลอม พ.ศ. ....? เป็น ?ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ พ.ศ. ....? ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (1 กุมภาพันธ์ 2565) เห็นชอบในหลักการแล้ว
3 จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 สศช. แจ้งว่าอยู่ระหว่างการหารือร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4 กฎหมายที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 4 ฉบับ ได้แก่ (1) พระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 (2) ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยคณะกรรมการชุมชนของเทศบาล พ.ศ. 2564 (3) ประกาศคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์และแนวทางการจัดทำข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (TPA Framework Guideline) และ (4) กฎ ก.พ. ว่าด้วยการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล พ.ศ. 2565
5 ร่างกฎหมายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา 3 ฉบับ ได้แก่ (1) (ร่าง) กฎหมายว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. .... (2) (ร่าง) พระราชบัญญัติระยะเวลาในการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. .... และ (3) (ร่าง) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ....
6 JSON (JavaScript Object Notation) คือ รูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีลักษณะเป็นข้อความ (text) สามารถเข้าใจได้ง่ายและใช้ได้กับการเขียนโปรแกรมทุกภาษา

12. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกรกฎาคม 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
                              1.1 สศช. ได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติผ่านการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่หน่วยงานของรัฐได้จัดทำและนำเข้าข้อมูลในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน - 10 กรกฎาคม 2565 จำนวน 2,618 โครงการ ซึ่ง สศช. มีข้อสังเกต ดังนี้ (1) ข้อเสนอโครงการฯ ยังไม่ครอบคลุมทั้ง 140 เป้าหมายแผนแม่บทย่อยของแผนแม่บทฯ เนื่องจากไม่มีการจัดทำข้อเสนอโครงการฯ 2 เป้าหมาย ได้แก่ 1) ประเด็นการท่องเที่ยว : เป้าหมายสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและบริการทางการแพทย์ได้รับมาตรฐานเพิ่มขึ้น และ 2) ประเด็นการพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต : เป้าหมายมีคนไทยที่มีความสามารถและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศเข้ามาทำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มขึ้น (2) ข้อมูลความเกี่ยวข้องของหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานในแต่ละปัจจัยภายใต้ห่วงโซ่คุณค่าแห่งประเทศไทยของเป้าหมายแผนแม่บทย่อยยังไม่สอดคล้องกับข้อเสนอโครงการฯ ที่หน่วยงานได้จัดทำขึ้น เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลักไม่ได้จัดทำข้อเสนอโครงการฯ รองรับการขับเคลื่อนเป้าหมายแผนแม่บทย่อยนั้น ๆ หรือข้อเสนอโครงการฯ จัดทำขึ้นโดยหน่วยงานที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อมูลความเกี่ยวข้องของหน่วยงาน และ (3) ข้อเสนอโครงการฯ ยังไม่ตอบโจทย์ปัจจัยและประเด็นที่จำเป็นต้องดำเนินการขับเคลื่อนให้บรรลุผลได้ตามเป้าหมายในห้วงปี 2566 - 2570 เนื่องจากข้อเสนอโครงการฯ ส่วนใหญ่เป็นการดำเนินงานตามภารกิจปกติของหน่วยงานที่ไม่ได้นำข้อมูลปัจจัยและประเด็นที่ควรขับเคลื่อนในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ทั้ง 3 ระดับ1 สำนักงบประมาณ (สงป.) และ สศช.                  จะพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการฯ ที่หน่วยงานได้จัดทำขึ้นและ สศช. จะวิเคราะห์ความสำคัญของโครงการฯ                 เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีต่อไป
                              1.2 สศช. ได้ทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้เผยแพร่ (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ [ช่วงที่ 2 ของยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566 - 2580)] (ฉบับปรับปรุง) ผ่านทางเว็บไซต์ของ สศช. เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมภายในวันที่              3 สิงหาคม 2565 เพื่อจะได้นำความคิดเห็นมาประกอบการปรับปรุงแผนแม่บทฯ ให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์และจะเสนอต่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะรัฐมนตรีต่อไป
                              1.3 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) สศช. และ ศจพ. ได้พัฒนากรอบความร่วมมือในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายการพัฒนาในพื้นที่เพื่อผลักดันแนวทางการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วยวัยฯ ให้สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนได้อย่างทั่วถึงและตรงประเด็น โดยได้พัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อดำเนินกิจกรรมพัฒนาระบบข้อมูลและการแสดงผลข้อมูล (Dashboard) ออกแบบแนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันของภาคีต่าง ๆ และประเมินผลมาตรการ/ความคุ้มครองทางสังคม ทั้งนี้ ได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายใน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี สระบุรี และนครสวรรค์ เพื่อเป็นพื้นที่ต้นแบบในการสนับสนุนการแก้ปัญหาและลดความยากจนและนำไปสู่การออกแบบสวัสดิการและความคุ้มครองทางสังคมเพื่อพัฒนาคนตลอดช่วงวัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ
                              สศช. ได้จัดทำรายงานความคืบหน้าตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (รอบเดือนมกราคม - มีนาคม 2565) เพื่อเสนอต่อรัฐสภา โดยแสดงผลสัมฤทธิ์ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา 257 และ 258 ที่ประชาชนได้รับจากการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 13 ด้าน ดังนี้
ด้าน          ผลสัมฤทธิ์ที่ประชาชนได้รับ เช่น
1) การเมือง          - ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองของไทย
- การมีส่วนร่วมทางการเมืองในการกำหนดนโยบายสาธารณะและตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ
2) การบริหารราชการแผ่นดิน          - การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงบริการของรัฐ
- ภาครัฐมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
3) กฎหมาย          - การดำรงชีวิตและการประกอบธุรกิจโดยปราศจากอุปสรรคที่เกิดจากกฎหมาย
- ความสะดวกในการเข้าถึงกฎหมายและกระบวนการเสนอกฎหมาย
4) กระบวนการยุติธรรม          - การอำนวยความยุติธรรมที่ไม่ล่าช้าและสามารถติดตามความคืบหน้าของคดีได้ในทุกขั้นตอน
- ความคุ้มครอง การช่วยเหลือ และการให้คำแนะนำในการดำเนินคดีอย่างทั่วถึง
5) เศรษฐกิจ          - ผู้ประกอบการและกำลังแรงงานของประเทศมีศักยภาพและความพร้อมในการแข่งขันในตลาดโลก
- ประชาชนมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
6) ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม          - การอนุรักษ์ คุ้มครอง ฟื้นฟูฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ
- ความปลอดภัยในการดำรงชีวิตจากปัญหามลพิษ
7) สาธารณสุข          - สิทธิประโยชน์และการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ สะดวก และทัดเทียมกันในทุกพื้นที่
- ผู้สูงอายุได้รับการคุ้มครองและสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีคุณภาพตามความต้องการเมื่อเข้าสู่ภาวะพึ่งพิง
8) สื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ          - ความรู้เท่าทันและสามารถเลือกเสพสื่อที่มีประสิทธิภาพได้
- การดูแลและคุ้มครองตามสิทธิที่พึงมีในการทำธุรกรรมในการสื่อสาร
9) สังคม          - แรงงานมีระบบการออมและสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งมีคุณภาพหลังวัยเกษียณ
- กลุ่มคนพิการได้รับความช่วยเหลือและเข้าถึงสวัสดิการแห่งรัฐได้อย่างครอบคลุมและสะดวก
- เกษตรกรและคนยากจนได้รับหลักประกันในการเข้าถึงแหล่งทุน
10) พลังงาน          การใช้พลังงานในราคาที่เป็นธรรมและการได้รับคุณภาพและการบริการที่ดีขึ้น
11) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ          - การมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบในพื้นที่โดยตรง โดยผู้แจ้งเบาะแสได้รับการคุ้มครองที่มีประสิทธิภาพ
- การเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
12) การศึกษา          - เด็กปฐมวัยได้รับการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการที่สมวัยและกลับเข้าสู่ระบบการศึกษา
- ผู้เรียนทุกระดับมีความรู้และได้รับการพัฒนาตามความถนัดและความสนใจ
- ครูและบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะสูงและมุ่งเน้นออกแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียน
- ผู้สำเร็จการศึกษามีอาชีพและทักษะที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงาน
13) วัฒนธรรม กีฬา แรงงาน
และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์          - การเสริมสร้างเชิงคุณธรรมจริยธรรมที่สร้างสรรค์และเหมาะสมด้วยการใช้พลังทางวัฒนธรรมที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านพลังบวก (Soft Power)
- ชุมชนมีแหล่งเรียนรู้ทางศิลปวัฒนธรรมที่สร้างรายได้และอาชีพ
- แรงงานในประเทศได้รับการพัฒนาทักษะและยกระดับศักยภาพอย่างเหมาะสมตลอดช่วงชีวิต
ทั้งนี้ ได้มีการเน้นย้ำกิจกรรมที่ดำเนินงานล่าช้า โดยสรุปประเด็นปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเร่งรัด กำกับ ติดตาม และแก้ไขปัญหาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของแผนการปฏิรูปประเทศได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดด้วย
                    3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีการนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานในระบบ eMENSCR จำนวน 14,666 โครงการ โดยในส่วนแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2565 หน่วยงานได้นำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานในระบบ eMENSCR จำนวน 301 แผน ทั้งนี้ หน่วยงานที่มีข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานน้อยที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ หน่วยงานของศาล กระทรวงพลังงาน และกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งยังพบว่ามีข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานบางส่วนที่ยังไม่มีการนำเข้าในระบบ eMENSCR [เมื่อเทียบกับรายการโครงการตามรหัสงบประมาณในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ของแต่ละหน่วยงานที่ได้รับจัดสรรงบประมาณให้ดำเนินการ] ดังนั้น จึงขอให้ทุกหน่วยงานของรัฐตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานที่นำเข้าในระบบ eMENSCR โดยใช้ข้อมูลอ้างอิงจากรายการตามรหัสงบประมาณของระบบ GFMIS ในระดับ 16 หลัก
                    4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ของแผนแม่บทฯ มีความชัดเจนและสามารถถ่ายระดับเป้าหมายของแผนแม่บทฯ และแผนระดับที่ 2 อื่นที่เกี่ยวข้องไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงขอให้ทุกหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญในการจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2566 รวมทั้งแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ตามแนวทางของคู่มือการจัดทำแผนระดับที่ 3 เพื่อให้สามารถประกาศใช้ได้ก่อนปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และใช้เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงาน โดยขอให้หน่วยงานนำเข้าข้อมูลแผนปฏิบัติราชการฯ รายปีและราย 5 ปี ในระบบ eMENSCR ภายใน 30 วัน นับจากวันที่แผนฯ ประกาศใช้ และเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของแผนปฏิบัติราชการฯ ให้จัดทำรายงานผลสัมฤทธิ์ฯ และนำเข้าข้อมูลในระบบ eMENSCR เพื่อใช้ในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป
1 เจ้าภาพขับเคลื่อนทั้ง 3 ระดับ หมายถึง หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานเจ้าภาพ จ.1 (เจ้าภาพระดับประเด็นแผนแม่บทฯ) จ.2 (เจ้าภาพระดับเป้าหมายประเด็นฯ) และ จ.3 (เจ้าภาพระดับเป้าหมายย่อย)

ต่างประเทศ

13. เรื่อง การเปลี่ยนชื่อประเทศของสาธารณรัฐตุรกี
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอการเปลี่ยนชื่อประเทศ จาก Republic of Turkey (สาธารณรัฐตุรกี) เป็น Republic of T?rkiye (สาธารณรัฐตุรกี หรือสาธารณรัฐทูร์เคีย) เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการเปลี่ยนชื่อประเทศดังกล่าวในภาษาอังกฤษ โดยผู้ใช้สามารถเลือกใช้ชื่อใดชื่อหนึ่งในภาษาไทยได้ตามที่เห็นควร ทั้งนี้  รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้ให้ความเห็นชอบด้วยแล้ว
                     โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                     1. คณะผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า คณะผู้แทนถาวรสาธารณรัฐตุรกีประจำสหประชาชาติได้แจ้งเวียนสำเนาหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐตุรกี ถึง เลขาธิการสหประชาชาติ แจ้งให้ทราบการเปลี่ยนชื่อประเทศสาธารณรัฐตุรกีอย่างเป็นทางการในภาษาอังกฤษ จาก Republic of Turkey เป็น Republic of T?rkiye โดยขอให้รัฐสมาชิกและผู้สังเกตการณ์พิจารณาใช้ Republic of T?rkiye หรือเรียกแบบสั้นในภาษาอังกฤษว่า T?rkiye ในทุกโอกาสและทุกวัตถุประสงค์ รวมทั้งในการติดต่อและประสานงานด้านทวิภาคี ซึ่งต่อมาสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐตุรกีประจำประเทศไทยได้แจ้งยืนยัน            การเปลี่ยนชื่อประเทศดังกล่าว
                     2. กต. ได้มีหนังสือขอให้สำนักงานราชบัณฑิตยสภา (รภ.) พิจารณาถอดทับศัพท์ชื่อประเทศ Republic of T?rkiye และชื่อเรียกอย่างสั้น T?rkiye เป็นภาษาไทย โดยให้ข้อคิดเห็นว่าน่าจะพิจารณาถอดชื่อว่า สาธารณรัฐตุรกี และชื่อเรียกอย่างสั้น ตุรกี ไว้เช่นเดิม เมื่อคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ของสาธารณชนไทยเป็นสำคัญ โดยเป็นชื่อที่สาธารณชนไทยคุ้นเคย มีการใช้อย่างแพร่หลายและได้เคยปรากฏในพระราชสาส์น สาร หรือเอกสารสำคัญในราชการ
                     3. รภ. พิจารณาเห็นควรเขียนทับศัพท์ Republic of T?rkiye ว่า สาธารณรัฐตุรกี หรือสาธารณรัฐ            ทูร์เคีย และ T?rkiye ว่า ตุรกี หรือทูร์เคีย โดยสามารถพิจารณาเลือกใช้ชื่อใดชื่อหนึ่งตามที่เห็นควร

14.  เรื่อง  ร่างพิธีสารว่าด้วยการทบทวนบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งมองโกเลียว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการหารือว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างพิธีสารว่าด้วยการทบทวนบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาล                แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งมองโกเลียว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการหารือว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (ร่างพิธี            สารฯ)  รวมทั้งอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างพิธีสารฯ ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทนให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้ผู้ลงนามดังกล่าว โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างพิธีสารฯ   ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างพิธีสารว่าด้วยการทบทวนบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งมองโกเลียว่าด้วยการจัดตั้งกลไกการหารือว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (ร่างพิธีสารฯ) ตามที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติ (23 เมษายน 2556) เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวไว้แล้ว และได้มีการลงนามแล้วเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2556 โดยบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งกลไกหารือทวิภาคีเพื่อหารือ ทบทวน และผลักดันความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ เช่น การเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม การค้า การลงทุน อุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และความร่วมมือทางวิชาการให้มีความเป็นรูปธรรม โดยในข้อ 3 ของบันทึกความเข้าใจฯ ได้กำหนดกลไกหารือทวิภาคีดังกล่าวจะมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นหัวหน้าคณะ แต่โดยที่ฝ่ายมองโกเลียเสนอแก้ไขข้อ 3 ของบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อให้สอดคล้องกับกฎหมายว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการของมองโกเลียฉบับปรับปรุง ปี ค.ศ. 2017 โดยปรับเปลี่ยนประธานร่วมการประชุมกลไกหารือฯ จาก ?ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่าย? เป็น ?ไม่ระบุตำแหน่งของประธานร่วม? เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในตำแหน่งของผู้ที่จะทำหน้าที่ประธานร่วม ตามที่ทั้งสองฝ่ายจะเห็นชอบร่วมกันในแต่ละครั้ง เพื่อให้สามารถจัดการ              ประชุมฯ ได้อย่างต่อเนื่อง
                    สาระสำคัญของร่างพิธีสารฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มั่นใจว่าจะมีการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ อย่างมีประสิทธิภาพ
                    การแก้ไขข้อ 3 ของร่างบันทึกความเข้าใจฯ
ถ้อยคำเดิม          ถ้อยคำใหม่
?กลไกหารือนี้จะมีปลัดกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยและปลัดกระทรวงการต่างประเทศแห่งมองโกเลียเป็นหัวหน้าคณะและองค์ประกอบของกลไกการหารือจะกำหนดโดยคู่ภาคี กลไกการหารือจะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงจาก กต. กระทรวง และหน่วยงานภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง?          ?คู่ภาคีจะตกลงระดับของหัวหน้าคณะของกลไกการหารือก่อนการประชุมแต่ละครั้งผ่านทางหนังสือทางการทูต องค์ประกอบของกลไกหารือจะกำหนดโดยคู่ภาคี และกลไกหารือจะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงจาก กต. รวมถึงกระทรวงและหน่วยงานภาครัฐอื่นที่เกี่ยวข้อง?

15. เรื่อง ร่างแผนความร่วมมือระยะ 5 ปี ไทย-มองโกเลีย (พ.ศ. 2565 ? 2570)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแผนความร่วมมือระยะ 5 ปี ไทย-มองโกเลีย (พ.ศ. 2565 ? 2570) (ร่างแผนความร่วมมือฯ) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างแผนความร่วมมือฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างแผนความร่วมมือระยะ 5 ปี ไทย-มองโกเลีย (พ.ศ. 2565 ? 2570) (ร่างแผนความร่วมมือฯ) โดยมีเนื้อหาครอบคลุมความร่วมมือ 5 สาขา (การค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม การเกษตร และความร่วมมือทางวิชาการ) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนี้ (1) การค้า: เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าทวิภาคีเป็น 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี พ.ศ. 2570 (2) การลงทุน: เพื่อเพิ่มมูลค่าการลงทุนสะสมรวมระหว่างกันเป็น 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี พ.ศ. 2570 (3) การท่องเที่ยวและวัฒนธรรม: เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสองทางและส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างกัน (4) การเกษตร: ส่งเสริมการค้าด้านการเกษตรและกระชับความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการในด้านการเกษตร และ (5) ความร่วมมือทางวิชาการ: เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ตลอดจนกระชับความร่วมมือทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ร่วมกันในสาขาเป้าหมาย เช่น สุขภาพ การท่องเที่ยว ซึ่งร่างแผนความร่วมมือฯ จะมีผลใช้บังคับในวันที่ฝ่ายไทยมีหนังสือแจ้งเสร็จสิ้นการดำเนินการตามกระบวนการภายในของฝ่ายไทยไปยังฝ่ายมองโกเลีย ทั้งนี้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนพิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้อง

16.  เรื่อง ร่างบันทึกการประชุมของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี ครั้งที่ 14 และการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 ระหว่างไทยกับมาเลเซีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกการประชุม (Record of Discussion) ของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (The Joint Commission for Bilateral Cooperation: JC )               ครั้งที่ 14 (ร่างบันทึกการประชุม JC) และร่างบันทึกการประชุม (Record of Discussion) ของการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน [The Joint Development Strategy (JDS) for Border Areas] ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 (ร่างบันทึกการประชุม JDS) ระหว่างไทยกับมาเลเซีย ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างบันทึกการประชุมดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรับรองร่างบันทึกการประชุมทั้ง 2 ฉบับข้างต้น ในวันที่ 10 สิงหาคม 2565 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. กระทรวงการต่างประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างบันทึกการประชุมของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือทวิภาคี (The Joint Commission for Bilateral Cooperation: JC) ครั้งที่ 14 (ร่างบันทึกการประชุม JC) และร่างบันทึกการประชุมของการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมสำหรับพื้นที่ชายแดน [The Joint Development Strategy (JDS) for Border Areas] ระดับรัฐมนตรี                    ครั้งที่ 5 (ร่างบันทึกการประชุม JDS) ระหว่างไทยกับมาเลเซีย และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรับรองร่างบันทึกการประชุมทั้ง 2 ฉบับข้างต้น ในช่วงการะประชุมคณะกรรมาธิการ JC และคณะกรรมการ JDS ระหว่างวันที่ 9 - 10 สิงหาคม 2565 ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งร่างบันทึกการประชุม JC ครั้งที่ 14                มีสาระสำคัญเป็นการสรุปผลการหารือของการประชุมคณะกรรมาธิการ JC เกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำเนินความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ อาทิ การเมืองและความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม และความร่วมมือสาขาใหม่ ๆ ส่วนร่างบันทึกการประชุม JDS ครั้งที่ 5 มีสาระสำคัญเป็นการสรุปผลการหารือคณะกรรมการ JDS เกี่ยวกับความคืบหน้าของการดำเนินงานภายใต้กรอบคณะกรรมการดังกล่าว และแสดงเจตนารมณ์ที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนไทย ? มาเลเซีย
                    2. การประชุม JC และการประชุม JDS สำหรับพื้นที่ชายแดน ระดับรัฐมนตรีมีการว่างเว้นมานานกว่า 6 ปี โดยการประชุมครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 21 - 22 ตุลาคม 2558 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ดังนั้น การประชุมในครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสในการรักษาและขับเคลื่อนพลวัตความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซีย และให้ทั้งสองฝ่ายได้ติดตามประเด็นผลประโยชน์สำคัญที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ รวมทั้งกำหนดทิศทางความร่วมมือในอนาคต โดยเฉพาะการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) และความท้าทายในโลกปัจจุบัน ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะจัดทำร่างบันทึกการประชุมเพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมทั้งสองกลไกดังกล่าว
                    3. ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดทำร่างบันทึกการประชุม JC ครั้งที่ 14 และร่างบันทึกการประชุม JDS              ครั้งที่ 5 รวมทั้ง กต. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วโดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                              1) ร่างบันทึกการประชุม JC ครั้งที่ 14 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือระหว่างไทยกับมาเลเซียอย่างรอบด้าน และแสดงเจตนารมณ์ร่วมของรัฐบาลทั้งสองประเทศที่จะขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างกันในทุกระดับทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมาเลเซียมีความใกล้ชิดยิ่งขึ้น อันจะนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองและก่อประโยชน์แก่ประชาชนของทั้งสองฝ่ายอย่างสูงสุด ได้แก่ ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ความร่วมมือในสาขาใหม่
                              2) ร่างบันทึกการประชุม JDS ครั้งที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานภายใต้กรอบคณะกรรมการ JDS ทั้งในระดับเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงาน เจ้าหน้าที่ระดับสูง และระดับคณะทำงาน และแสดงเจตนารมณ์ร่วมของทั้งสองประเทศในการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ชายแดนไทย - มาเลเซีย เพื่อมุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ชายแดนบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ได้แก่ การจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์คณะกรรมการ JDS สำหรับพื้นที่ชายแดนไทย ? มาเลเซีย ปี ค.ศ. 2022 ? 2026 การส่งเสริมความเชื่อมโยงระหว่างไทยกับมาเลเซียบริเวณชายแดน เขตเศรษฐกิจพิเศษ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และความร่วมมือด้านการเงินและการธนาคาร

17. เรื่อง ผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ ณ กรุงวอชิงตัน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐอเมริกา สมัยพิเศษ ณ กรุงวอชิงตัน ระหว่างวันที่ 12 - 13 พฤษภาคม 2565 และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    1. เมื่อวันที่ 12 - 13 พฤษภาคม 2565 นายกรัฐมนตรี ผู้นำ/ผู้แทนประเทศสมาชิกอาเซียน และเลขาธิการอาเซียนได้เข้าร่วมกำหนดการพบหารือกับฝ่ายสหรัฐฯ (ประธานาธิบดีสหรัฐฯ รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประธานสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ รัฐมนตรีและผู้แทนระดับสูงของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจและด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของสหรัฐฯ และผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทชั้นนำของสหรัฐฯ เช่น Boeing Chevron และ Google) โดยได้หารือเกี่ยวกับแนวทางในการขับเคลื่อนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมและเป็นผลประโยชน์ร่วมกันในอนาคต เพื่อมุ่งสู่การเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership) ซึ่งมีการหารือที่ครอบคลุมหลายมิติ และเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคและทุกภาคส่วนของไทยสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

ประเด็น          สาระสำคัญ/ผลการหารือฯ
(1) ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ          (1.1) อาเซียนเน้นย้ำถึงความสำคัญของบทบาทที่สร้างสรรค์ของสหรัฐฯ ในภูมิภาค ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และความสามารถของภูมิภาคในการรับมือกับความท้าทายรูปแบบใหม่ โดยไทยเสนอให้สหรัฐฯ ทำงานร่วมกับอาเซียนและผู้เล่นสำคัญอื่น ๆ ในภูมิภาคผ่านการส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมบนพื้นฐานของหลักการภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (ASEAN Outlook on the Indo-Pacific AOIP) ซึ่งจะเอื้อให้ทุกประเทศสามารถฟื้นตัวจากผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และก้าวสู่ยุคความปกติถัดไป (Next Normal) ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน
(1.2) สหรัฐฯ ยืนยันถึงความสำคัญของอาเซียนและย้ำถึงความมุ่งมั่นของสหรัฐฯ ในการส่งเสริมความเป็นแกนกลางของอาเซียนในฐานะหัวใจของการดำเนินยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิกของสหรัฐฯ ซึ่งมีเป้าหมายในการเสริมสร้างภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ที่เสรี เปิดกว้าง มีเสถียรภาพ มั่งคั่ง เข้มแข็ง และปลอดภัย โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของกฎกติกาและค่านิยมร่วมกัน
(2) การฟื้นฟูเศรษฐกิจ
          (2.1) อาเซียนเน้นย้ำความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การพัฒนาทุนมนุษย์ และการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ทั้งนี้ ไทยได้ผลักดันความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการพัฒนาศักยภาพกำลังคนดิจิทัลในอาเซียน โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย และธุรกิจดิจิทัลสตาร์ทอัพ ตลอดจนเน้นย้ำศักยภาพของไทยและอาเซียนในการเป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่อุปทานของสหรัฐฯ โดยเฉพาะในสาขายานยนต์ไฟฟ้า อุตสาหกรรมการแพทย์และเวชภัณฑ์ เทคโนโลยีชีวภาพอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เซมิคอนดักเตอร์ และกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง โดยทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของสหรัฐฯ แสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนอาเซียนในการเสริมสร้างความร่วมมือข้างต้นให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรม
(2.2) สหรัฐฯ ไม่ได้กล่าวถึงข้อริเริ่มกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework: IPEF) โดยตรง แต่ระบุถึงวิสัยทัศน์ที่จะสร้างระบบเศรษฐกิจโลกที่ตั้งอยู่บนมาตรฐานสูง โดยในชั้นนี้ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้แก่ เนการาบรูไนดารุสซาลาม สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และไทย ได้ร่วมสนับสนุนข้อริเริ่ม IPEF แล้ว
(3) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ          (3.1) การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นที่ทั้งอาเซียนและสหรัฐฯ ให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดและสังคมคาร์บอนต่ำ โดยสหรัฐฯ แสดงความพร้อมที่จะสนับสนุนแหล่งเงินและความช่วยเหลือทางเทคนิคให้แก่อาเซียนสำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน ตลอดจนการกระชับความเป็นหุ้นส่วนในด้านการคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน การอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ และการแบ่งปันข้อมูลดาวเทียมเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศในอนาคต
(3.2) ไทยเน้นย้ำความสำคัญของการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการรักษาสิ่งแวดล้อม ตลอดจนความร่วมมือเพื่อผลักตันแนวคิดใหม่ ๆ ในการขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างสมดุล เช่น โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model: BCG Model) โดยไทยพร้อมจะร่วมมือกับสหรัฐฯ ในฐานะเจ้าภาพ
(4) ความร่วมมือทางทะเล          อาเซียนและสหรัฐฯ เห็นพ้องกันถึงความสำคัญของการรักษาเสรีภาพในการเดินเรือและการรักษาสิ่งแวดล้อมทางทะเล โดยสหรัฐฯ ประกาศข้อริเริ่มใหม่ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อขยายความร่วมมือทางทะเลกับอาเซียน โดยเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยยามฝั่งของสหรัฐฯ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของอาเซียนในด้านการบังคับใช้กฎหมายทางทะเล ความร่วมมือด้านความตระหนักรู้สถานการณ์ทางทะเล และความร่วมมือในการต่อต้านการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม
(5) ประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ          (5.1) ทะเลจีนใต้ ทั้งสองฝ่ายย้ำถึงความสำคัญของการรักษาสันติภาพ เสถียรภาพ ความปลอดภัย และเสรีภาพในการเดินเรือและบินผ่าน โดยสหรัฐฯ สนับสนุนท่าทีของอาเซียนต่อการเจรจาประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ที่มีประสิทธิภาพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุม และสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งเคารพสิทธิของประเทศที่สาม
(5.2) ความสัมพันธ์สหรัฐฯ-สาธารณรัฐประชาชนจีน สหรัฐฯ ย้ำว่า การแข่งขันระหว่างสหรัฐฯ กับจีนเป็นความเป็นจริงของสถานการณ์โลกในปัจจุบัน รวมทั้งมีมาตรการรองรับเพื่อควบคุมวิกฤตและลดความเสี่ยงจากผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น
(5.3) สถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สหรัฐฯ สนับสนุนการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ ของผู้นำอาเซียน การมีปฏิสัมพันธ์และการหารือระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงกลุ่มที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลเพื่อนำเมียนมากลับสู่สันติภาพและความมั่นคง โดยสหรัฐฯ และพันธมิตรจะยังคงมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมาต่อไป
(5.4) สถานการณ์ในยูเครน สหรัฐฯ กล่าวประณามการรุกรานยูเครนของสหพันธรัฐรัสเซียอย่างรุนแรงและชัดเจน โดยเห็นว่า เป็นการก่อสงครามที่โหดร้าย ปราศจากการยั่วยุ และละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานและห่วงโซ่อุปทานอาหารของโลก และเรียกร้องให้อาเซียนถอยห่างจากการมีปฏิสัมพันธ์กับรัสเซีย ขณะที่อาเซียนแสดงความห่วงกังวลต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งไทยได้ย้ำถึงความจำเป็นที่ทุกฝ่ายต้องหันมาให้ความสำคัญกับข้อพิจารณาด้านมนุษยธรรมเพื่อเยียวยาผู้ที่เดือดร้อนจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งวิกฤตพลังงาน ความยากจน และการขาดแคลนสินค้าอุปโภคที่จำเป็น แทนความขัดแย้ง
(6) ผลลัพธ์ของการประชุม          (6.1) ผู้นำอาเซียนและสหรัฐฯ ร่วมรับรองแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมฯ เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันเพื่อมุ่งสู่ความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านในอนาคต
(6.2) สหรัฐฯ ประกาศข้อริเริ่มใหม่ 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อขยายความร่วมมือกับอาเซียนในด้านต่าง ๆ ได้แก่ 1) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 2) การศึกษา  3) ความร่วมมือทางทะเล และ 4) ความมั่นคงด้านสาธารณสุข โดยมีข้อริเริ่มด้านเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น ?Trade Winds Business Forum? ซึ่งสหรัฐฯ จะนำคณะนักธุรกิจขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เดินทางเยือนภูมิภาคอาเซียนในปี 2566 โดยใช้ไทยเป็นฐานในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการจัดตั้ง ?U.S.-ASEAN Institute for Rising Leaders? ที่ Johns Hopkins School of Advanced International Studies (SAIS) โดยการสนับสนุนจากภาคเอกชนสหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศสมาชิกอาเซียน
(6.3) สหรัฐฯ ประกาศการเสนอชื่อนายโจฮานเนส อะเบเบ อับราฮัม ซึ่งเป็นที่ปรึกษาใกล้ชิดของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ให้เป็นเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำอาเซียน

18. เรื่อง สรุปผลการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ช่วงที่ 2 และการประชุมสมัยพิเศษ เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ
          คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ช่วงที่ 2                   (The Resumed Session of fifth Session of the United Nations Environments Assembly: UNEA 5.2) และการประชุมสมัยพิเศษเนื่องในวาระครบรอบ 50 ปี ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environments Programme: UNEP) (UNEP@50) และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
ทส. รายงานว่า การเข้าร่วมประชุม UNEA 5.2 ภายใต้หัวข้อหลัก ?Strengthening Actions for Nature to Achieve the Sustainable Development Goals? ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-2 มีนาคม 2565 และการประชุมสมัยพิเศษ UNEP@50 ภายใต้หัวข้อหลัก ?Strengthening UNEP for the Implementation of the Environmental Dimension of the 2030 Agenda for Sustainable Development? ระหว่างวันที่ 3-4 มีนาคม 2565 ณ กรุงไนโรบี สาธารณรัฐเคนยา ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน่ไทย พร้อมทั้งผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมการประชุม มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
          1. การประชุม UNEA 5.2
                    1.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวถ้อยแถลงโดยเน้นย้ำว่า การประชุม UNEA 5.2 จะเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความยืดหยุ่นในการรับมือกับโรคระบาดใหญ่และวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมโลกในอนาคต โดยประชาคมโลกจะต้องผลักดันพันธกรณีที่มีอยู่ให้เป็นนโยบาย กฎหมาย และการลงทุนอย่างเร่งด่วน สำหรับประเทศไทยได้ปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจพร้อมกับพื้นฟูระบบนิเวศด้วยโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economic Model: BCG Model ซึ่งใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของประเทศในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนประเทศไทยเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยธรรมชาติ นอกจากนี้ ยังมุ่งมั่นขับเคลื่อนคาร์บอนเครดิตที่ได้มาจากการบริหารจัดการแบบองค์รวมที่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในธรรมชาติ รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพเป็นพื้นฐานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net zero Greenhouse Gas Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 รวมทั้งยังสนับสนุนหลักการจัดตั้งคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐ (Intergovernmental Negotiating Committee) ซึ่งเป็นกลไกสำหรับการเจรจาจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศฉบับใหม่ต่อไป
                    1.2 การเสวนาของผู้แทนระดับสูง (Leadership Dialogues) ในหัวข้อ ?Strengthening Actions for Nature to Achieve SDGs? ประเทศไทยได้เน้นย้ำความสำคัญและความจำเป็นของการประสานงานระหว่าง UNEP และสำนักงานเลขาธิการของข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นกลไกลดความขัดแย้งที่สำคัญและลดภาระของประเทศที่มีทรัพยากรจำกัดในการดำเนินการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเน้นย้ำให้ UNEP แสดงบทบาทสำคัญในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการในทุกระดับ และเสริมสร้างการใช้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ในการกำหนดนโยบายซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จ นอกจากนี้ ได้เรียกร้องให้สมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติในฐานะหน่วยงานสูงสุดแสดงบทบาทผู้นำในการสนับสนุนการดำเนินการตามข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยเป็นที่ตั้งของสำนักงาน UNEP ประจำภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก จึงพร้อมที่จะสนับสนุนกิจกรรมของ UNEP โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกต่อไป
          2. การประชุมสมัยพิเศษ UNEP@50 นายกรัฐมนตรีร่วมกล่าวถ้อยแถลง โดยชื่นชม UNEP ที่สนับสนุนประเทศสมาชิกในการดูแลสิ่งแวดล้อมและพร้อมจะร่วมดำเนินงานกับ UNEP และประชาคมโลกในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก ซึ่งประเทศไทยมีความพยายามในการจัดการกับปัญหาสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด โดยการบังคับใช้กฎหมายและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น รวมถึงเน้นการสร้างความสมดุลของสรรพสิ่งควบคู่กับการใช้นวัตกรรมเพิ่มคุณค่า เพื่อนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริม BCG Model ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติและหวังว่า UNEP จะสนับสนุนประเทศสมาชิกในการแสวงหาแนวทางและนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงศักยภาพของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน และพร้อมสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกของ UNEP ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทยอย่างเต็มที่เพื่อร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก
          3. เอกสารผลลัพธ์การประชุม
เอกสารผลลัพธ์          สาระสำคัญ
1. ปฏิญญาระดับรัฐมนตรี ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินงานร่วมกันเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติอย่างยั่งยืนและมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)           ได้มีการรับรองในการประชุม UNEA5.2 เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565 โดยมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำซึ่งไม่ได้เป็นการแก้ไขสาระสำคัญของเอกสารให้เปลี่ยนแปลงไปและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชัดไว้    (22 กุมภาพันธ์ 2565) เช่น (1) การเพิ่มถ้อยคำเพื่อสะท้อนถึงการยืนยันหลักการต่าง ๆ ที่ประชาคมโลกได้ตกลงร่วมกันไว้แล้ว (2) การเพิ่มถ้อยคำในการส่งเสริมความเชื่อมโยงของระบบนิเวศและสนับสนุนการประเมินทางวิทยาศาสตร์ในเวทีระหว่างประเทศต่าง ๆ ในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
2. ปฏิญญาทางการเมือง ซึ่งเน้นย้ำถึงการให้คำมั่นที่จะเสริมสร้างการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถให้ทุกภาคส่วนดำเนินงานเพื่อบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 และให้การรับรองบทบาทของ UNEA ในฐานะหน่วยงานหลักในการกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมระดับโลก          ได้มีการรับรองในการประชุมสมัยพิเศษ UNEA@50 เมื่อวันที่ 3  มีนาคม 2565 โดยมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำซึ่งไม่ได้เป็นการแก้ไขสาระสำคัญของเอกสารให้เปลี่ยนแปลงไปและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ (22 กุมภาพันธ์ 2565) เช่น (1) การเพิ่มถ้อยคำเพื่อสะท้อนถึงข้อมติสมัชชาสหประชาชาติและข้อมติของคณะมนตรีที่เกี่ยวข้องที่ได้ตกลงร่วมกันไว้แล้ว (2) การเพิ่มถ้อยคำเพื่อเน้นย้ำความสำคัญของการขจัดความยากจนเพื่อบรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน (3) การเพิ่มถ้อยคำการสร้างความเข้มแข็งและเสริมสร้างบทบาทของสำนักงานภูมิภาคและสำนักงานใหญ่ของ UNEP                   (4) การปรับถ้อยคำให้การบริจาคเงินสมทบกองทุนสิ่งแวดล้อมของ UNEP โดยคำนึงถึงสถานการณ์ของแต่ละประเทศ และ (5) การเพิ่มถ้อยคำเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับหุ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการดำเนินนโยบายสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
3. ข้อมติและข้อตัดสินใจ เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับนโยบายของแต่ละประเทศเพื่อให้ประเทศสมาชิกนำไปใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน          ได้มีการรับรองข้อมติ จำนวน 14 ข้อ และข้อตัดสินใจ จำนวน 1 ข้อ [ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนข้อมติจากเดิมที่คณะรัฐนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้                   (22 กุมภาพันธ์ 2565) จาก 16 ข้อ เป็น 14 ข้อ แต่สาระสำคัญยังคงเดิม] ในการประชุม UNEA 5.2 เพื่อปกป้อง ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และเน้นย้ำความเร่งด่วนในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก กับความท้าทายของการพัฒนาที่ยั่งยืนในสาขาความร่วมมือต่าง ๆ เช่น มลพิษจากพลาสติก การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน รวมถึงการจัดการสารเคมีและของเสียอย่างเหมาะสม รวมทั้งการฟื้นฟูที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมภายหลังสถานการณ์โควิด-19 โดยประเทศไทยได้ร่วมอุปถัมภ์ข้อมติ 4 ข้อ ได้แก่ (1) การจัดการสารเคมีและของเสีย (2) Science-Policy Panel เพื่อจัดการสารเคมีและของเสียและป้องกันมลพิษ (3) มิติด้านสิ่งแวดล้อมในการฟื้นฟูหลังโควิด-19 อย่างยั่งยืน ยืดหยุ่น และครอบคลุม และ (4) การสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนในการผลิตและบริโภค
หมายเหตุ : การปรับเปลี่ยนถ้อยคำของปฏิญญาทั้ง 2 ฉบับ เป็นประโยชน์ต่อประเทศสมาชิก รวมถึงประเทศไทยในการดำเนินงานด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามบริบทและขีดความสามารถของแต่ละรัฐสมาชิกบนพื้นฐานของความสมัครใจและสอดคล้องกับการดำเนินการตามนโยบายของแต่ละประเทศรวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 ตลอดจนการดำเนินการตามข้อตกลงพหุภาคีด้านสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยเข้าร่วมและมีการดำเนินการตามข้อตกลงมาอย่างต่อเนื่อง

19. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานบิมสเทค ครั้งที่ 3
          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ผลการประชุมรัฐมนตรีพลังงานบิมสเทค (The Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) ครั้งที่ 3 โดยมีเนปาลเป็นเจ้าภาพผ่านการประชุมทางไกล ระหว่างวันที่ 19-20 เมษายน 2565 และมีปลัดกระทรวงพลังงาน (นายกุลิศ สมบัติศิริ) เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (19 เมษายน 2565) เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีพลังงานบิมสเทค ครั้งที่ 3 และหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างถ้อยแถลงร่วมของการประชุมในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ พน. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย]                  สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
          1. ความคืบหน้าของโครงการด้านพลังงานภายใต้กรอบความร่วมมือบิมสเทค สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          ความคืบหน้า
(1) การจัดทำบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าบิมสเทค          ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ แล้ว เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2561
(2) การจัดตั้งคณะกรรมาธิการประสานงานด้านการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าบิมสเทค          จัดตั้งคณะกรรมาธิการและจัดประชุมคณะกรรมาธิการครั้งที่ 1 แล้ว เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564
(3) การจัดทำการศึกษาแผนแม่บทการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าบิมสเทค          อยู่ระหว่างหารือเกี่ยวกับเอกสารเชิงหลักการและขอบเขตการดำเนินโครงการร่วมกับธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (Asian Development Bank: ADB)
(4) การจัดตั้งศูนย์พลังงานบิมสเทค          ลงนามในบันทึกความตกลงแล้วเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2554
          2. การแสดงวิสัยทัศน์และนำเสนอนโยบายด้านพลังงาน และแนวทางความร่วมมือภายใต้กรอบบิมสเทคของรัฐมนตรีและผู้แทนรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
รัฐมนตรี/ผู้แทนรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก          สาระสำคัญ
(1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและทรัพยากรแร่ของบังกลาเทศ          ภูมิภาคบิมสเทคกำลังเผชิญกับความท้าทายทางพลังงานในด้านต่าง ๆ ซึ่งการยกระดับความร่วมมือกับประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์ฉุกเฉินจะสามารถเปลี่ยนความท้าทายให้เป็นโอกาสในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาคได้ นอกจากนี้ บิมสเทคต้องร่วมมือกันสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ การรักษาสภาพแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศด้วยการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีพลังงานสะอาดให้มากขึ้นในภูมิภาค
(2) ปลัด พน. ของภูฏาน          พร้อมสนับสนุนความร่วมมือเพื่อการเปลี่ยนผ่านจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาดเพื่อส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาทางพลังงานอย่างยั่งยืนของภูมิภาคบิมสเทค โดยภูฏานเป็นประเทศที่มีศักยภาพด้านพลังงานน้ำและปัจจุบันกระแสไฟฟ้าทั้งหมดในภูฏานเป็นไฟฟ้าพลังน้ำ อย่างไรก็ตาม ภูฎานมีความสนใจในแหล่งพลังงานหมุนเวียนอื่น ๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม ซึ่งภูมิภาคบิมสเทคเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนสูง โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนั้น การส่งเสริมการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาพลังงานทดแทน การจัดตั้งการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าบิมสเทค และการส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าภายในภูมิภาคจะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานและความเป็นอยู่ที่ดีต่อประชาชนของภูมิภาคอย่างยั่งยืน
(3) รัฐมนตรี พน. ของอินเดีย          ปัจจุบันอินเดียกำลังประสบปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงได้ประกาศเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนให้ได้ร้อยละ 50 และกำหนดเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ไม่เกิน 1 ล้านตัน ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) และเห็นว่าเป้าหมายหลักของความร่วมมือของประเทศสมาชิกบิมสเทคได้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศผ่านการส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานสะอาดร่วมกันด้วย อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกบิมสเทคมีศักยภาพด้านพลังงานหมุนเวียนที่แตกต่างกันไป ดังนั้น การส่งเสริมการจัดตั้งความเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าในภูมิภาคจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทุกประเทศสามารถเข้าถึงไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาดได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ อินเดียได้มีการดำเนินนโยบาย ?หนึ่งดวงอาทิตย์ หนึ่งโลก หนึ่งโครงข่ายไฟฟ้า? ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงพลังงานแสงอาทิตย์เข้าสู่ระบบโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อไปยังนานาชาติ โดยเชื่อว่าจะช่วยให้ทุกประเทศเข้าถึงพลังงานแสงอาทิตย์ได้และเป็นการส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศที่ตั้งไว้
(4) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานของเมียนมา          การลงนามในบันทึกความเข้าใจด้านการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าบิมสเทคของประเทศสมาชิกจะเป็นการส่งเสริมการจัดตั้งความเชื่อมโยงโครงข่ายไฟฟ้า           บิมสเทค ทั้งนี้ เมียนมามีสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานน้ำและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างเร่งพัฒนาโครงการด้านพลังงานสะอาดต่าง ๆ เช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งบนหลังคา โครงการพลังงานแสงอาทิตย์ทุ่นลอยน้ำ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เมียนมาสามารถบรรลุเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศที่ตั้งไว้ได้
(5) ปลัดกระทรวงพลังงานทรัพยากรน้ำและการชลประทานของเนปาล          ความร่วมมือด้านพลังงานในภูมิภาคบิมสเทคเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของภูมิภาค เนื่องจากประเทศสมาชิกบิมสเทคมีศักยภาพด้านพลังงานที่แตกต่างและหลากหลายซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและเทคโนโลยีพลังงานใหม่ ๆ ในภูมิภาค โดยเนปาลอยู่ระหว่างเร่งดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานและส่งเสริมการใช้พลังงานที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งจะทำให้เนปาลมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเนปาลจะมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำที่เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าภายในประเทศและสามารถส่งต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคผ่านการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าและการซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาคได้
(6) ปลัด พน. ของศรีลังกา          ศรีลังกาให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสภาพภูมิอากาศและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยได้ตั้งเป้าหมายการเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนในการผลิตกระแสไฟฟ้าให้ได้ร้อยละ 70 ภายในปี 2573 (ค.ศ. 2030) และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) ซึ่งการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวจะต้องพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานต่าง ๆ ควบคู่กัน เช่น การพัฒนาโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าและการพัฒนาแบตเตอรี่และระบบกักเก็บไฟฟ้าสูบกลับ ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ การลงทุนด้านเทคโนโลยีพลังงานสะอาด รวมทั้งการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าระหว่างภูมิภาคเป็นสิ่งที่จำเป็นในการพัฒนาภาคพลังงานของภูมิภาคบิมสเทคให้ตอบสนองต่อเป้าหมายความมั่นคงทางพลังงานอย่างยั่งยืน และเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันในภูมิภาค
(7) ปลัด พน. ของไทย          ปัจจุบันประชาคมโลกกำลังเผชิญสถานการณ์ด้านพลังงานที่มีความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่น ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านค่าครองชีพที่สูงขึ้นและเกิดความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนพลังงาน ดังนั้น ภูมิภาคบิมสเทคจึงต้องเร่งการร่วมมือกันเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยพัฒนาพลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลและเชื้อเพลิงพลังงานสะอาดอย่างสมดุล อีกทั้งศักยภาพและความมุ่งมั่นของภูมิภาคบิมสเทคในการร่วมมือกันจัดตั้งศูนย์พลังงานบิมสเทคและการจัดตั้งการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าในภูมิภาคจะเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันให้เกิดความมั่นคง ยืดหยุ่น และยั่งยืนทางด้านพลังงาน ทั้งนี้ ไทยได้ประกาศเป้าหมายการบรรลุการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2608 (ค.ศ.2065) รวมทั้งได้มีการกำหนดเป้าหมายดังกล่าวในร่างแผนพลังงานชาติ ในปี 2565 เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการด้านพลังงานให้สามารถบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ นอกจากนี้ ไทยพร้อมสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานสะอาดและการส่งเสริมการเชื่อมโยงโครงข่ายสายส่งไฟฟ้า รวมทั้งพร้อมแบ่งปันองค์ความรู้และประสบการณ์จากการดำเนินโครงการซื้อขายไฟฟ้าแบบพหุภาคีระหว่างสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ไทย สหพันธรัฐมาเลเซีย และสาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการเชื่อมโยงและซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาคบิมสเทคต่อไป

20. เรื่อง ร่างปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน เพื่อกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะได้แจ้งรับรองไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียนต่อไป โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรีของประเทศไทย มีหนังสือแจ้งความเห็นชอบรับรองร่างปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียนไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียน ภายหลังจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สรุปสาระสำคัญของร่างปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน (Declaration on Building A More Sustainable, Inclusive and Resilient Future: Unlocking Women?s Entrepreneurship in ASEAN ) ดังนี้
                    1. อาเซียนสนับสนุนคำมั่นของอาเซียนในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรีและเด็กผู้หญิง ยืนยันถึงความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 และวาระการพัฒนาแห่งสหประชาชาติเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 เน้นย้ำความจำเป็นในความพยายามเพื่อส่งเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรี และการพัฒนาผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน เน้นย้ำถึงผลกระทบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนและในระยะยาวของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่มีต่อสตรี ยกย่องความพยายามอย่างแน่วแน่ในการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง                เพื่อพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการสตรี ยอมรับว่าสตรีเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ และตระหนักถึงการสร้างความยั่งยืนที่มากขึ้นอนาคตที่ครอบคลุม และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง
                    2. ประเทศสมาชิกอาเซียน ดำเนินการเพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการสตรีในภูมิภาค ดังนี้
                              1) ระบุอุปสรรคเชิงสถาบันและเชิงโครงสร้างที่สตรีประสบ โดยเฉพาะสตรีพิการและสตรีที่อยู่ในสถานการณ์เปราะบางในการจะเป็นผู้ประกอบการ และการเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจในวงกว้าง
                              2) เสริมสร้างนโยบายและกรอบกฎหมายที่สนับสนุนการพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการสตรี ความยืดหยุ่น และการเสริมพลังทางเศรษฐกิจ
                              3) ส่งเสริมการลงทุนที่มีมุมมองมิติเพศภาวะซึ่งรวมถึงส่วนประกอบของการลงทุนในธุรกิจที่สตรีเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้นำธุรกิจ
                              4) ส่งเสริมมาตรการที่กำหนดเป้าหมายเพื่อให้ผู้หญิงปรับตัว รับมือ และฟื้นตัวจากวิกฤต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                              5) ลงทุนในการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์แบบเพศภาวะ สร้างแผนปฏิบัติการ และการติดตามความก้าวหน้าของธุรกิจที่มีสตรีเป็นเจ้าของและสตรีผู้นำ
                              6) ส่งเสริมแนวทางที่ครอบคลุมและตอบสนองทางเพศภาวะซึ่งจะควบคุมบทบาทของผู้ประกอบการสตรีเพื่อความก้าวหน้าในการพัฒนาอย่างยั่งยืน
                              7) สนับสนุนบริการที่มีมุมมองมิติเพศภาวะและการบริการสนับสนุนความเป็นผู้ประกอบการที่เข้าถึงง่ายสำหรับสตรี
                              8) ตระหนักและให้คุณค่าของงานการดูแลที่ไม่ได้รับค่าจ้าง และงานในครัวเรือนของสตรี
                              9) เสริมสร้างความร่วมมือข้ามสาขา และข้ามเสาในชุมชนอาเซียน
                    แต่งตั้ง

21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                          (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงบประมาณเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นายอนุชา ภาระนันท์ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ)                    สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 22 ธันวาคม 2564
                     2. นางสาวเพ็ญแข จันทร์สว่าง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ) สำนักงบประมาณ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2564
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

22. เรื่อง การแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก (กระทรวงการต่างประเทศ)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งสมาชิกฝ่ายไทยในศาลประจำอนุญาโตตุลาการ ณ กรุงเฮก จำนวน 2 ราย เพื่อให้ดำรงตำแหน่งสืบต่อไปอีกวาระหนึ่ง และทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตามลำดับ โดยมีวาระดำรงตำแหน่ง 6 ปี ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
                     1. นายธนะ ดวงรัตน์
                     2. นายวีรพันธุ์ วัชราทิตย์
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวง                         การต่างประเทศ)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเสนอแต่งตั้งข้าราชการ               พลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการและสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                     1. นายเชิดเกียรติ อัตถากร รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา
                     2. นายณัฐพล ขันธหิรัญ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโดฮา รัฐกาตาร์ ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    3. นางสาวบุษฎี สันติพิทักษ์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา เครือรัฐออสเตรเลีย ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     4. นางสาวมรกต ศรีสวัสดิ์ เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย ให้ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                    ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ซึ่งการแต่งตั้งข้าราชการให้ไปดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตประจำต่างประเทศ ตามข้อ 1 และ 4 ได้รับความเห็นชอบจากประเทศผู้รับ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอการแต่งตั้ง นายดนุช ตันเทอดทิตย์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

25. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษ แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง นางสาวประภา ปูรณโชติ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการเงินการธนาคาร) ในคณะกรรมการคดีพิเศษ แทน นายสราวุธ เบญจกุล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป
                     โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ยังอยู่ในตำแหน่ง ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงยุติธรรมดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคดีพิเศษให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)

26. เรื่อง การแต่งตั้งผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอการแต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ธีระเดช เจียรสุขสกุล เป็นผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ตามความในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 2541 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายมานิต นพอมรวดี เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายประสาน หวังรัตน ปราณี และ นายนภินทร ศรีสรรพางค์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีอีกหนึ่งวาระ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2565

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ