คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุรพงษ์ สืบวงศ์ลี) เสนอ ดังนี้
1. ยุติการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป สำหรับโครงการที่หมู่บ้าน/ชุมชนเสนอไปยังจังหวัดที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบและกลั่นกรองของจังหวัด ให้ยุติการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเช่นเดียวกัน
2. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสำนักงบประมาณ พิจารณาทบทวนงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ที่กระทรวงการคลังยังไม่ได้จัดสรรให้กับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ตามโครงการภายใต้กรอบแผนงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของหมู่บ้าน/ชุมชนจำนวน 3,519 ล้านบาท และงบประมาณสำหรับจัดสรรให้จังหวัดจำนวน 75 จังหวัด เพื่อจัดสรรให้หมู่บ้าน/ชุมชน ที่ยังไม่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณออกจากระบบจำนวน 3,693 ล้านบาท รวมทั้ง ตรวจสอบวงเงินงบประมาณ งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด โดยด่วน เพื่อนำเงินดังกล่าวส่งคืนสำนักงบประมาณ สำหรับนำไปเพิ่มในรายการงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นต่อไป สำหรับงบประมาณที่จัดสรรให้ส่วนราชการ เพื่อใช้ในการสร้างกระบวนการเพื่อยกระดับคุณภาพชุมชน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดตามวิสัยทัศน์ของจังหวัด ค่าบริหารจัดการให้กับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล และค่าใช้จ่ายในการติดตามประเมินผลในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นงบประมาณที่ดำเนินการโดยส่วนราชการในระดับพื้นที่ ซึ่งบางส่วนมีภาวะผูกพันงบประมาณแล้ว ดังนั้น หากรายการใดที่มีการก่อหนี้ผูกพันแล้วให้ดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จต่อไป ส่วนรายการใดที่ยังไม่มีการก่อหนี้ผูกพันให้นำส่งคืนสำนักงบประมาณเช่นเดียวกัน
3. อนุมัติในหลักการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2551 ดังนี้
3.1 ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสรรโดยตรงให้กับหมู่บ้าน/ชุมชนจำนวนประมาณ 78,358 แห่ง ตามโครงการ SML ในวงเงินจำนวน 20,000 ล้านบาท (รวมงบบริหารจัดการ) โดยจัดสรรเพื่อเริ่มดำเนินการโครงการในระยะเร่งด่วน ปีที่ 1 (ปลายเดือนเมษายน) จำนวนไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้ให้จัดสรรจากงบประมาณตามแผนงานหรือโครงการที่ไม่สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 ที่ถูกระงับ และสำหรับงบประมาณส่วนที่ยังขาดอยู่อีกให้สำนักงบประมาณจัดสรรเพิ่มเติมให้เต็มวงเงินต่อไป
3.2 ให้ตั้งงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 20,000 ล้านบาท (รวมงบบริหารจัดการ) เพื่อใช้ในการดำเนินการในปีที่ 1 (ส่วนที่เหลืออยู่) และตั้งงบประมาณอีกจำนวน 10,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการในปีที่ 2 (ส่วนที่พร้อม) และผูกพันงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 อีกจำนวน 10,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการในส่วนที่เหลือของปีที่ 2 โดยให้ตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
3.3 ให้หมู่บ้าน/ชุมชนสามารถดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามโครงการ SML เดิม จำนวน 300,502,285.99 บาท ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--
1. ยุติการดำเนินโครงการยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุข ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป สำหรับโครงการที่หมู่บ้าน/ชุมชนเสนอไปยังจังหวัดที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบและกลั่นกรองของจังหวัด ให้ยุติการพิจารณาจัดสรรงบประมาณเช่นเดียวกัน
2. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับสำนักงบประมาณ พิจารณาทบทวนงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ที่กระทรวงการคลังยังไม่ได้จัดสรรให้กับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ตามโครงการภายใต้กรอบแผนงานยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขของหมู่บ้าน/ชุมชนจำนวน 3,519 ล้านบาท และงบประมาณสำหรับจัดสรรให้จังหวัดจำนวน 75 จังหวัด เพื่อจัดสรรให้หมู่บ้าน/ชุมชน ที่ยังไม่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณออกจากระบบจำนวน 3,693 ล้านบาท รวมทั้ง ตรวจสอบวงเงินงบประมาณ งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด โดยด่วน เพื่อนำเงินดังกล่าวส่งคืนสำนักงบประมาณ สำหรับนำไปเพิ่มในรายการงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นต่อไป สำหรับงบประมาณที่จัดสรรให้ส่วนราชการ เพื่อใช้ในการสร้างกระบวนการเพื่อยกระดับคุณภาพชุมชน และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์อยู่ดีมีสุขระดับจังหวัดตามวิสัยทัศน์ของจังหวัด ค่าบริหารจัดการให้กับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล และค่าใช้จ่ายในการติดตามประเมินผลในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นงบประมาณที่ดำเนินการโดยส่วนราชการในระดับพื้นที่ ซึ่งบางส่วนมีภาวะผูกพันงบประมาณแล้ว ดังนั้น หากรายการใดที่มีการก่อหนี้ผูกพันแล้วให้ดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จต่อไป ส่วนรายการใดที่ยังไม่มีการก่อหนี้ผูกพันให้นำส่งคืนสำนักงบประมาณเช่นเดียวกัน
3. อนุมัติในหลักการตามมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้านและชุมชน (SML) ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2551 ดังนี้
3.1 ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสรรโดยตรงให้กับหมู่บ้าน/ชุมชนจำนวนประมาณ 78,358 แห่ง ตามโครงการ SML ในวงเงินจำนวน 20,000 ล้านบาท (รวมงบบริหารจัดการ) โดยจัดสรรเพื่อเริ่มดำเนินการโครงการในระยะเร่งด่วน ปีที่ 1 (ปลายเดือนเมษายน) จำนวนไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนนี้ให้จัดสรรจากงบประมาณตามแผนงานหรือโครงการที่ไม่สอดคล้องกับแผนบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 ที่ถูกระงับ และสำหรับงบประมาณส่วนที่ยังขาดอยู่อีกให้สำนักงบประมาณจัดสรรเพิ่มเติมให้เต็มวงเงินต่อไป
3.2 ให้ตั้งงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จำนวน 20,000 ล้านบาท (รวมงบบริหารจัดการ) เพื่อใช้ในการดำเนินการในปีที่ 1 (ส่วนที่เหลืออยู่) และตั้งงบประมาณอีกจำนวน 10,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการในปีที่ 2 (ส่วนที่พร้อม) และผูกพันงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 อีกจำนวน 10,000 ล้านบาท เพื่อดำเนินการในส่วนที่เหลือของปีที่ 2 โดยให้ตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
3.3 ให้หมู่บ้าน/ชุมชนสามารถดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณตามโครงการ SML เดิม จำนวน 300,502,285.99 บาท ได้อย่างต่อเนื่องต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--