คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปรายงานภาวะสังคมไตรมาสสี่และภาพรวมปี 2550 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำรายงานภาวะสังคม และได้จัดแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับการรายงานภาวะสังคมไตรมาสสี่ และภาพรวมปี 2550 เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2551 สาระสำคัญประกอบด้วย ภาวะสังคมไทยใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพคน ด้านความมั่นคงทางสังคม ด้านความเป็นอยู่และพฤติกรรมของคนและด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องเด่นประจำฉบับ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ (ต.ค. — ธ.ค.) ภาพรวมปี 2550
มิติด้านคุณภาพคน สถานการณ์การมีงานทำในไตรมาสสี่และภาพรวมทั้งปีมีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้น การขยายตัวสูงในสาขาอุตสาหกรรม การค้า โรงแรมและภัตตาคาร แต่มีผู้ว่างงานในไตรมาสสี่ลดลงเฉลี่ย 4.1 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 1.1 ขณะที่ทั้งปีมีผู้ว่างงาน ร้อยละ 1.4 ผู้สมัครงานที่มีการศึกษาระดับประถมหรือต่ำกว่าจะได้รับการบรรจุงานในสัดส่วนที่น้อยกว่าระดับการศึกษาอื่น ๆ เด็กไทยยังมีปัญหาด้อยคุณภาพการศึกษาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการ
ประเมินคุณภาพการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ระหว่างปี 2543 — 2549 พบว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนด้านสุขภาพประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง 11 โรค และโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น สาเหตุมาจาก พฤติกรรมและแบบแผนการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมทั้งการใช้สารเคมีทั้งปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชในปริมาณมากทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค
มิติด้านความมั่นคงทางสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยลดลง คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ คดีชีวิต ร่างกายและเพศ รวมทั้งคดียาเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เด็กและเยาวชนกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์และ ยาเสพติดเพิ่มขึ้น และการกระทำผิดซ้ำมีถึงร้อยละ 11.8 เป็นเพศชายสูงถึงร้อยละ 91.1 และเป็นนักเรียนระดับมัธยมต้นร้อยละ 40 สำหรับอุบัติเหตุทางบกไตรมาสสี่ในช่วง 7 วันอันตรายในวันสิ้นปีเก่าและขึ้นปีใหม่ (28 ธ.ค.50 — 3 ม.ค.51) ลดลง เนื่องจากการรณรงค์ป้องกันและตั้งจุดตรวจของตำรวจและหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีสาเหตุหลักคือเมาแล้วขับ ขณะที่ ทั้งปีลดลงร้อยละ 8.1 แต่มูลค่าทรัพย์สินที่เสียหายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.8 ส่วนการมีหลักประกันทางสังคมครอบคลุม ประชากรได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังมีแรงงานนอกระบบประมาณ 24 ล้านคน ยังไม่ได้การคุ้มครองทางสังคม
มิติด้านพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน ค่าใช้จ่ายในการบริโภคยาสูบและแอลกอฮอล์ในไตรมาสสี่และภาพรวมทั้งปีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านการจำหน่ายเบียร์มีปริมาณเพิ่มมากกว่าสุรา สาเหตุหนึ่งมาจากกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ผลิตที่แข่งขันกันสร้างแบรนด์ใหม่ ๆ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับล่างในชนบทห่างไกล ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาพบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงในการชอบดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน และสูบบุหรี่ ส่วนเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการโฆษณาและการขายตรง
มิติด้านสิ่งแวดล้อม ในไตรมาสสี่มลพิษทางเสียงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ และสระบุรี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่เห็นได้ชัดคือการสูญเสียการได้ยินทั้งชั่วคราวและถาวร ด้านคุณภาพอากาศ ปริมาณฝุ่นและก๊าซโอโซนยังคงเกินมาตรฐาน ส่วนภาพรวมทั้งปีพบว่าสิ่งแวดล้อมในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ และเขตเมืองอุตสาหกรรม ยังคงมีปัญหาในเรื่องระดับเสียง ปริมาณขยะ และคุณภาพแหล่งน้ำโดยเฉพาะแม่น้ำลำตะคองตอนล่าง เป็นแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก ด้านคุณภาพอากาศ ไฟป่าเป็นมหัตภัยที่ก่อให้เกิดมลพิษที่ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งป้องกันได้โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจและประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี
เรื่องเด่นประจำฉบับ : กวดวิชากับระบบการศึกษาไทย
โรงเรียนกวดวิชาเกิดขึ้นมานานกว่า 40 ปี และยังเป็นที่นิยมของนักเรียนทุกยุคทุกสมัย การขยายตัวของธุรกิจกวดวิชาเริ่มจากการเรียนเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นกวดวิชาทั้งปีเพื่อสอบเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ มีรูปแบบหลากหลาย ทั้งสอนสดโดยอาจารย์ ผสมผสานระหว่างสอนจริงและผ่านทางวีดีโอ อินเทอร์เน็ต เน้นวิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ และเคมี สถาบันกวดวิชาบางแห่งทำเป็นธุรกิจที่มีสาขาทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โรงเรียนกวดวิชาที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในปี 2547 มีจำนวน 864 แห่ง และเพิ่มขึ้นเป็น 967 แห่ง ในปี 2550 หรือร้อยละ 12 และมีนักเรียนเข้าเรียนกว่า 3 แสนคน ในปี 2549 โดยมีค่าใช้จ่ายในการเรียนกวดวิชา ที่ประมาณการไว้ในปี 2550 เป็น 6,039 ล้านบาท ครัวเรือนในกรุงเทพฯ มีค่าใช้จ่ายสูงสุด และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางประมาณ 200 บาทต่อคนต่อเดือน รวมถึงการมีนักเรียนบางส่วนเดินทางจากต่างจังหวัดมาเรียนพิเศษในกรุงเทพฯ ช่วง วันเสาร์ — อาทิตย์
เสียงสะท้อนของผู้ที่เกี่ยวข้อง การกวดวิชาเกี่ยวข้องทั้งระดับปัจเจก สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งแต่ละกลุ่มอาจจะมีพฤติกรรมและความเห็นที่สอดคล้องและแตกต่างกันในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ต้องการมีผลการเรียนดีขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อ ส่วนผู้ปกครอง ครูที่สอนกวดวิชาและสถาบันกวดวิชาต่างมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่าเด็กจำเป็นต้องเรียนกวดวิชา เพราะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในวิชาที่เรียนมากขึ้น ได้เทคนิคการทำข้อสอบ โดยเฉพาะในส่วนของผู้ปกครองแม้มีค่าใช้จ่ายสูงแต่คิดว่าคุ้มค่าในการส่งบุตรหลานเรียนกวดวิชาประมาณ 1,000 — 3,000 บาทต่อเดือน
จุดอ่อนของระบบการศึกษา การกวดวิชาเป็นที่นิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขณะที่ระบบการศึกษา ยังมีจุดอ่อนที่สำคัญคือ ปัญหาคุณภาพครูผู้สอนที่ไม่จบระดับปริญญาตรีและสอนไม่ตรงวุฒิกว่า 30,000 คน ประกอบกับ การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบางแห่งมีปัญหาการขาดแคลนครูรายสาขาวิชา ส่งผลกระทบให้ครูที่มีอยู่ต้องสอนในวิชาที่ไม่ตรงตามวุฒิการศึกษาและหลักสูตรการเรียนการสอนมีเนื้อหาโดยทั่วไปมากเกินไป แต่ไม่สอดคล้องกับความรู้ที่ใช้ในการสอบคัดเลือกในระดับต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องกวดวิชาเพิ่มเติม
ทางออกสำหรับระบบการศึกษาไทย การกวดวิชาและคุณภาพการศึกษาควรมีแนวทางการดำเนินงาน ที่มุ่งพัฒนามาตรฐานด้านการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยปรับเนื้อหาหลักสูตรให้มีความเชื่อมโยงระหว่างระดับชั้นการศึกษา และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเรียนต่ออย่างสัมฤทธิผล รวมทั้งใช้ในโลกของการทำงานได้ สร้างโอกาสและความมั่นใจให้แก่เด็กนักเรียน โดยการเผยแพร่เนื้อหาสาระวิชาที่มีความเข้มข้นและมีเทคนิคการเรียนการสอนที่ทัดเทียมโรงเรียนกวดวิชา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศถ่ายทอดไปยังโรงเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและจัดรายการกวดวิชาทางสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องและกำกับดูแลมาตรฐานโรงเรียนกวดวิชาโดยจดทะเบียนโรงเรียนเหล่านี้ ทุกแห่งให้ถูกต้องตามกฎหมายและตรวจสอบการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้จัดทำรายงานภาวะสังคม และได้จัดแถลงข่าวแก่สื่อมวลชนเกี่ยวกับการรายงานภาวะสังคมไตรมาสสี่ และภาพรวมปี 2550 เมื่อวันจันทร์ที่ 10 มีนาคม 2551 สาระสำคัญประกอบด้วย ภาวะสังคมไทยใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพคน ด้านความมั่นคงทางสังคม ด้านความเป็นอยู่และพฤติกรรมของคนและด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงเรื่องเด่นประจำฉบับ มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
ภาวะสังคมไทยไตรมาสสี่ (ต.ค. — ธ.ค.) ภาพรวมปี 2550
มิติด้านคุณภาพคน สถานการณ์การมีงานทำในไตรมาสสี่และภาพรวมทั้งปีมีการจ้างงานรวมเพิ่มขึ้น การขยายตัวสูงในสาขาอุตสาหกรรม การค้า โรงแรมและภัตตาคาร แต่มีผู้ว่างงานในไตรมาสสี่ลดลงเฉลี่ย 4.1 แสนคน คิดเป็นร้อยละ 1.1 ขณะที่ทั้งปีมีผู้ว่างงาน ร้อยละ 1.4 ผู้สมัครงานที่มีการศึกษาระดับประถมหรือต่ำกว่าจะได้รับการบรรจุงานในสัดส่วนที่น้อยกว่าระดับการศึกษาอื่น ๆ เด็กไทยยังมีปัญหาด้อยคุณภาพการศึกษาที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากการ
ประเมินคุณภาพการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์ ระหว่างปี 2543 — 2549 พบว่ายังอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนด้านสุขภาพประชาชนเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง 11 โรค และโรคไม่ติดต่อเพิ่มขึ้น สาเหตุมาจาก พฤติกรรมและแบบแผนการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมทั้งการใช้สารเคมีทั้งปุ๋ยและสารกำจัดศัตรูพืชในปริมาณมากทำให้เกิดสารเคมีตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรอันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค
มิติด้านความมั่นคงทางสังคม ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของคนไทยลดลง คดีประทุษร้ายต่อทรัพย์ คดีชีวิต ร่างกายและเพศ รวมทั้งคดียาเสพติดเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เด็กและเยาวชนกระทำผิดเกี่ยวกับทรัพย์และ ยาเสพติดเพิ่มขึ้น และการกระทำผิดซ้ำมีถึงร้อยละ 11.8 เป็นเพศชายสูงถึงร้อยละ 91.1 และเป็นนักเรียนระดับมัธยมต้นร้อยละ 40 สำหรับอุบัติเหตุทางบกไตรมาสสี่ในช่วง 7 วันอันตรายในวันสิ้นปีเก่าและขึ้นปีใหม่ (28 ธ.ค.50 — 3 ม.ค.51) ลดลง เนื่องจากการรณรงค์ป้องกันและตั้งจุดตรวจของตำรวจและหน่วยงานต่าง ๆ โดยมีสาเหตุหลักคือเมาแล้วขับ ขณะที่ ทั้งปีลดลงร้อยละ 8.1 แต่มูลค่าทรัพย์สินที่เสียหายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 26.8 ส่วนการมีหลักประกันทางสังคมครอบคลุม ประชากรได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ยังมีแรงงานนอกระบบประมาณ 24 ล้านคน ยังไม่ได้การคุ้มครองทางสังคม
มิติด้านพฤติกรรมและความเป็นอยู่ของคน ค่าใช้จ่ายในการบริโภคยาสูบและแอลกอฮอล์ในไตรมาสสี่และภาพรวมทั้งปีเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ด้านการจำหน่ายเบียร์มีปริมาณเพิ่มมากกว่าสุรา สาเหตุหนึ่งมาจากกลยุทธ์ทางการตลาดของผู้ผลิตที่แข่งขันกันสร้างแบรนด์ใหม่ ๆ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าระดับล่างในชนบทห่างไกล ในกลุ่มนักเรียนนักศึกษาพบว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงในการชอบดื่มสุรา เที่ยวกลางคืน และสูบบุหรี่ ส่วนเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภค ประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในการซื้อสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวกับการโฆษณาและการขายตรง
มิติด้านสิ่งแวดล้อม ในไตรมาสสี่มลพิษทางเสียงมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ และสระบุรี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ที่เห็นได้ชัดคือการสูญเสียการได้ยินทั้งชั่วคราวและถาวร ด้านคุณภาพอากาศ ปริมาณฝุ่นและก๊าซโอโซนยังคงเกินมาตรฐาน ส่วนภาพรวมทั้งปีพบว่าสิ่งแวดล้อมในบางพื้นที่ของกรุงเทพฯ และเขตเมืองอุตสาหกรรม ยังคงมีปัญหาในเรื่องระดับเสียง ปริมาณขยะ และคุณภาพแหล่งน้ำโดยเฉพาะแม่น้ำลำตะคองตอนล่าง เป็นแหล่งน้ำที่อยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมมาก ด้านคุณภาพอากาศ ไฟป่าเป็นมหัตภัยที่ก่อให้เกิดมลพิษที่ส่วนใหญ่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ซึ่งป้องกันได้โดยการสร้างความรู้ความเข้าใจและประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการอย่างถูกวิธี
เรื่องเด่นประจำฉบับ : กวดวิชากับระบบการศึกษาไทย
โรงเรียนกวดวิชาเกิดขึ้นมานานกว่า 40 ปี และยังเป็นที่นิยมของนักเรียนทุกยุคทุกสมัย การขยายตัวของธุรกิจกวดวิชาเริ่มจากการเรียนเพื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นกวดวิชาทั้งปีเพื่อสอบเข้าเรียนในระดับต่าง ๆ มีรูปแบบหลากหลาย ทั้งสอนสดโดยอาจารย์ ผสมผสานระหว่างสอนจริงและผ่านทางวีดีโอ อินเทอร์เน็ต เน้นวิชาหลัก คือ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ และเคมี สถาบันกวดวิชาบางแห่งทำเป็นธุรกิจที่มีสาขาทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โรงเรียนกวดวิชาที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในปี 2547 มีจำนวน 864 แห่ง และเพิ่มขึ้นเป็น 967 แห่ง ในปี 2550 หรือร้อยละ 12 และมีนักเรียนเข้าเรียนกว่า 3 แสนคน ในปี 2549 โดยมีค่าใช้จ่ายในการเรียนกวดวิชา ที่ประมาณการไว้ในปี 2550 เป็น 6,039 ล้านบาท ครัวเรือนในกรุงเทพฯ มีค่าใช้จ่ายสูงสุด และมีค่าใช้จ่ายในการเดินทางประมาณ 200 บาทต่อคนต่อเดือน รวมถึงการมีนักเรียนบางส่วนเดินทางจากต่างจังหวัดมาเรียนพิเศษในกรุงเทพฯ ช่วง วันเสาร์ — อาทิตย์
เสียงสะท้อนของผู้ที่เกี่ยวข้อง การกวดวิชาเกี่ยวข้องทั้งระดับปัจเจก สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งแต่ละกลุ่มอาจจะมีพฤติกรรมและความเห็นที่สอดคล้องและแตกต่างกันในกลุ่มนักเรียน/นักศึกษา ส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่า ต้องการมีผลการเรียนดีขึ้น และเป็นการเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อ ส่วนผู้ปกครอง ครูที่สอนกวดวิชาและสถาบันกวดวิชาต่างมีความเห็นที่สอดคล้องกันว่าเด็กจำเป็นต้องเรียนกวดวิชา เพราะทำให้นักเรียนมีความเข้าใจในวิชาที่เรียนมากขึ้น ได้เทคนิคการทำข้อสอบ โดยเฉพาะในส่วนของผู้ปกครองแม้มีค่าใช้จ่ายสูงแต่คิดว่าคุ้มค่าในการส่งบุตรหลานเรียนกวดวิชาประมาณ 1,000 — 3,000 บาทต่อเดือน
จุดอ่อนของระบบการศึกษา การกวดวิชาเป็นที่นิยมและขยายตัวอย่างรวดเร็ว ขณะที่ระบบการศึกษา ยังมีจุดอ่อนที่สำคัญคือ ปัญหาคุณภาพครูผู้สอนที่ไม่จบระดับปริญญาตรีและสอนไม่ตรงวุฒิกว่า 30,000 คน ประกอบกับ การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนบางแห่งมีปัญหาการขาดแคลนครูรายสาขาวิชา ส่งผลกระทบให้ครูที่มีอยู่ต้องสอนในวิชาที่ไม่ตรงตามวุฒิการศึกษาและหลักสูตรการเรียนการสอนมีเนื้อหาโดยทั่วไปมากเกินไป แต่ไม่สอดคล้องกับความรู้ที่ใช้ในการสอบคัดเลือกในระดับต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องกวดวิชาเพิ่มเติม
ทางออกสำหรับระบบการศึกษาไทย การกวดวิชาและคุณภาพการศึกษาควรมีแนวทางการดำเนินงาน ที่มุ่งพัฒนามาตรฐานด้านการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยปรับเนื้อหาหลักสูตรให้มีความเชื่อมโยงระหว่างระดับชั้นการศึกษา และสามารถนำความรู้ไปใช้ในการเรียนต่ออย่างสัมฤทธิผล รวมทั้งใช้ในโลกของการทำงานได้ สร้างโอกาสและความมั่นใจให้แก่เด็กนักเรียน โดยการเผยแพร่เนื้อหาสาระวิชาที่มีความเข้มข้นและมีเทคนิคการเรียนการสอนที่ทัดเทียมโรงเรียนกวดวิชา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศถ่ายทอดไปยังโรงเรียนหรือแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและจัดรายการกวดวิชาทางสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องและกำกับดูแลมาตรฐานโรงเรียนกวดวิชาโดยจดทะเบียนโรงเรียนเหล่านี้ ทุกแห่งให้ถูกต้องตามกฎหมายและตรวจสอบการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--