คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า พ.ศ. 2551-2554 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ ดังนี้
ดำเนินงานตามตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า พ.ศ. 2551-2554 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1. การติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน พบว่า ในช่วงระหว่าง 4-10 มีนาคม 2551 มีการเกิดหมอกควันขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง แต่คาดการณ์ว่าสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง จะไม่รุนแรงเหมือนที่เกิดขึ้นใน ปี 2550
2. การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขหมอกควันและไฟป่า ปี 2551 กระทรวงที่เกี่ยวข้องได้ปรับการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อนำมาใช้จ่ายตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน
3. การควบคุมไฟป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ได้มีการดำเนินมาตรการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ไฟป่า โดยประสานกับจังหวัดในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เพื่อจัดตั้งศูนย์ประสานงานจัดการไฟป่าระดับจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ และประสานงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการควบคุมไฟป่า รวมทั้ง ออกประกาศกำหนดเขตควบคุมไฟป่าที่ชัดเจน
4. การควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดทำโครงการนำร่องสาธิตการใช้มาตรการควบคุม การเผาในที่โล่งพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น
5. การปฏิบัติการฝนหลวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ได้ประสานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างความชุมชื้นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
6. การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศกรณีมลพิษหมอกควันข้ามแดน กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมคณะทำงานด้านหมอกควันและไฟป่าอนุภูมิภาค แม่น้ำโขง ครั้งที่ 1 (1st TWG Mekong) และการประชุมคณะกรรมการภายใต้ข้อตกลงอาเซียน เรื่อง มลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ครั้งที่ 2 (COM-2) ณ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 4-7 มีนาคม 2551 ที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันให้มีการดำเนินการความร่วมมือในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนให้เกิดผล ในทางปฏิบัติและมอบหมายให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาศักยภาพการป้องกันและควบคุมไฟป่าและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการดับไฟป่าร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน
7. การประสานความร่วมมือกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการประสานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ที่ตรวจพบว่ามีจุดความร้อน (Hotspots) จำนวนมากหรือบริเวณที่มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐานจำนวนมาก เช่นเชียงใหม่ ลำปาง และเพชรบูรณ์ เป็นต้น เพื่อแจ้งไปยังหน่วยงานระดับพื้นที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเฝ้าระวังไฟป่า รวมทั้งควบคุมกิจกรรมการเผาในที่โล่งต่างๆ
8. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการป้องกันหมอกควันและไฟป่า ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2551 ดังนี้
8.1 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ลดการเผาในที่โล่งเพื่อลดภาวะโลกร้อน ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน
ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ และอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 1,500 คน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเผาในที่โล่งและสามารถถ่ายทอดไปสู่สาธารณชนได้อย่างถูกต้อง
8.2 พิธีปล่อยกองกำลังผสมเพื่อป้องกันรักษาป่า ควบคุมไฟป่า และมลภาวะทางอากาศในช่วงฤดูแล้ง 2551 ณ บริเวณจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก โดยกองกำลังผสมประกอบด้วย กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และมวลชนราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) จำนวน 6,000 คน
9. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างการประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า พ.ศ. 2552-2554 เพื่อให้ทบทวนแผนงานและแผนงบประมาณ และจะนำ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--
ดำเนินงานตามตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า พ.ศ. 2551-2554 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1. การติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์หมอกควันในพื้นที่ 8 จังหวัด ภาคเหนือตอนบน พบว่า ในช่วงระหว่าง 4-10 มีนาคม 2551 มีการเกิดหมอกควันขึ้น โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่และลำปาง แต่คาดการณ์ว่าสถานการณ์ไฟป่าและหมอกควันในอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง จะไม่รุนแรงเหมือนที่เกิดขึ้นใน ปี 2550
2. การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขหมอกควันและไฟป่า ปี 2551 กระทรวงที่เกี่ยวข้องได้ปรับการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อนำมาใช้จ่ายตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน
3. การควบคุมไฟป่า กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ได้มีการดำเนินมาตรการเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ไฟป่า โดยประสานกับจังหวัดในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง เพื่อจัดตั้งศูนย์ประสานงานจัดการไฟป่าระดับจังหวัด จัดทำแผนปฏิบัติการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ และประสานงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการสร้างเครือข่ายการมีส่วนร่วมของประชาชนในการควบคุมไฟป่า รวมทั้ง ออกประกาศกำหนดเขตควบคุมไฟป่าที่ชัดเจน
4. การควบคุมการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดทำโครงการนำร่องสาธิตการใช้มาตรการควบคุม การเผาในที่โล่งพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับสภาพปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น
5. การปฏิบัติการฝนหลวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ ได้ประสานไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ณ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างความชุมชื้นในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน
6. การประสานความร่วมมือระหว่างประเทศกรณีมลพิษหมอกควันข้ามแดน กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมคณะทำงานด้านหมอกควันและไฟป่าอนุภูมิภาค แม่น้ำโขง ครั้งที่ 1 (1st TWG Mekong) และการประชุมคณะกรรมการภายใต้ข้อตกลงอาเซียน เรื่อง มลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ครั้งที่ 2 (COM-2) ณ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 4-7 มีนาคม 2551 ที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันให้มีการดำเนินการความร่วมมือในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาหมอกควันข้ามแดนให้เกิดผล ในทางปฏิบัติและมอบหมายให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการพัฒนาศักยภาพการป้องกันและควบคุมไฟป่าและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการดับไฟป่าร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน
7. การประสานความร่วมมือกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการประสานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นที่ที่ตรวจพบว่ามีจุดความร้อน (Hotspots) จำนวนมากหรือบริเวณที่มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเกินมาตรฐานจำนวนมาก เช่นเชียงใหม่ ลำปาง และเพชรบูรณ์ เป็นต้น เพื่อแจ้งไปยังหน่วยงานระดับพื้นที่และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเฝ้าระวังไฟป่า รวมทั้งควบคุมกิจกรรมการเผาในที่โล่งต่างๆ
8. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการป้องกันหมอกควันและไฟป่า ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ณ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2551 ดังนี้
8.1 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ลดการเผาในที่โล่งเพื่อลดภาวะโลกร้อน ในพื้นที่ 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน
ณ โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นกลุ่มสื่อสารมวลชนแขนงต่างๆ และอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 1,500 คน เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการเผาในที่โล่งและสามารถถ่ายทอดไปสู่สาธารณชนได้อย่างถูกต้อง
8.2 พิธีปล่อยกองกำลังผสมเพื่อป้องกันรักษาป่า ควบคุมไฟป่า และมลภาวะทางอากาศในช่วงฤดูแล้ง 2551 ณ บริเวณจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก โดยกองกำลังผสมประกอบด้วย กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และมวลชนราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) จำนวน 6,000 คน
9. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างการประสานหน่วยงานที่รับผิดชอบการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาหมอกควันและไฟป่า พ.ศ. 2552-2554 เพื่อให้ทบทวนแผนงานและแผนงบประมาณ และจะนำ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--