แท็ก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คณะรัฐมนตรี
พระราชดำรัส
อันดามัน
ภาคใต้
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานตามพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เสนอ ดังนี้
สืบเนื่องจาก การเกิดธรณีพิบัติภัย คลื่นยักษ์สึนามิ ในบริเวณพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันทางภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีความห่วงใยและทรงเสด็จพระราชดำเนินไปยังอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 12-13 มีนาคม 2551 เพื่อติดตามการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนชาวมอแกน ซึ่งได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยดังกล่าว และทรงมีพระราชดำรัสในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1. การดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตและอนุรักษ์วิถีชีวิตของชุมชนชาวมอแกน
2. ปัญหาแสงสะท้อนจากอาคารที่ตั้งอยู่ใกล้พระราชวังสระปทุม
3. ปัญหาเสียงรบกวนจากเรือหางยาวโดยสารรับจ้างในคลองแสนแสบ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินงานตามแนวพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แล้ว โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
1. การดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตและอนุรักษ์วิถีชีวิตของชุมชนชาวมอแกน
1.1 ชุมชนชาวมอแกนที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สุรินทร์ จังหวัดพังงา เป็นชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเดิมเป็นเผ่าแร่ร่อนทางทะเล ที่อาศัยอยู่ตามเกาะและชายฝั่งทะเลอันดามันมาเป็นระยะเวลาร้อยปี โดยหมู่เกาะสุรินทร์ จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหลักของชุมชนดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีประชากรประมาณ 60 ครัวเรือน จำนวน 224 คน
1.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวมอแกน ที่อาศัยอยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ดังนี้
1) จัดสร้างศูนย์การศึกษาและเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนชาวมอแกน เมื่อปี พ.ศ. 2549
2) การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและสนับสนุนเครื่องมือในการประกอบอาชีพใน 2 พื้นที่หลัก ได้แก่
- บริเวณอ่าวบอนใหญ่ บนเกาะสุรินทร์ใต้ มีแผนการก่อสร้างห้องสุขา อาคารอาบน้ำรวม บ้านเรือนแถวครู โรงครัว-อาหาร ระบบโซล่าเซลล์ ปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย รวมทั้ง จัดภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบหมู่บ้านชาวมอแกน
- บริเวณอ่าวช่องขาด บนเกาะสุรินทร์เหนือ มีแผนการก่อสร้างสถานพยาบาล และศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งอาคารบางส่วนใช้เป็นอาคารสถานพยาบาลได้
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้ดำเนินการปรับปรุงแบบสิ่งก่อสร้างและกำหนดผังที่ตั้งให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ภายใต้โครงการก่อสร้างห้องน้ำบริเวณชุมชนชาวมอแกน ดังนี้
- การก่อสร้างห้องสุขาและห้องอาบน้ำจำนวน 3 จุด บริเวณใกล้ชุมชนมอแกน (แต่ละจุดประกอบด้วย ห้องสุขา 4 ห้อง ห้องอาบแยกหญิงชายน้ำ 2 ห้อง)
- การก่อสร้างระบบน้ำอุปโภคและบริโภค โดยจัดสร้างถังพักน้ำ
- ปรับและซ่อมแซมฝายเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้
3) สนับสนุนและส่งเสริมอาชีพชาวมอแกน โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้ว่าจ้างชาวมอแกนเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการบริการนักท่องเที่ยว
1.3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำแผนการบริหารจัดการชุมชนชาวมอแกน ที่อาศัยอยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งขณะนี้ได้นำเสนอรองผู้อำนวยการโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (คุณกิตติ ขันธมิตร) เพื่อพิจารณากำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาและอนุรักษ์วิถีชีวิตชาวมอแกนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ แบบบูรณาการและสอดคล้องกับโครงการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยแผนการดังกล่าวจะเน้นในการบริหารจัดการชุมชนใน 4 ประเด็นหลัก คือ
1) แผนพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
- ด้านที่อยู่อาศัย / การก่อสร้างห้องสุขาเพิ่มเติม
- ด้านสังคม
- ด้านการดำรงชีวิต
2) แผนสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุข
- การจัดการด้านสาธารณสุข
- การจัดการด้านสุขภาพ
- การจัดการขยะมูลฝอย และน้ำเสีย
3) แผนการส่งเสริมอาชีพและรายได้
- การส่งเสริมและการพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืน
- การเพิ่มประสิทธิภาพด้านอาชีพ
- การจัดการเรื่องการตลาด
- การส่งเสริมความรู้และประชาสัมพันธ์เพื่อความยั่งยืนของการส่งเสริมอาชีพ
4) แผนพัฒนาการศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ด้านการศึกษา
- การแลกเปลี่ยนความรู้
- การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชุมชนมอแกน
- การรักษาภูมิปัญญาพื้นบ้าน
2. ปัญหาแสงสะท้อนจากอาคารที่ตั้งอยู่ใกล้พระราชวังสระปทุม
2.1 อาคารที่ตั้งอยู่ใกล้พระราชวังสระปทุมและก่อให้เกิดผลกระทบจากการสะท้อนแสงของกระจกไปยังเขตพระราชฐาน คือ โครงการแมคเคนนาอพาร์เม้นท์ ของบริษัท แมคเคนนาแลนด์ จำกัด ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระราชวังสระปทุม ซึ่งปัจจุบันได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงเป็นโรงแรม โดยการขอเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันและแก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงการดังกล่าว
2.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน) และคณะ ได้เข้าไปตรวจสอบกรณีดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2551 และได้สั่งการให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง บริษัท แมคเคนนาแลนด์ จำกัด ให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1) ให้ปรับแบบภายนอกอาคาร โดยลดการใช้กระจกเงาสะท้อนแสงด้านทิศใต้ ที่ตรงกับเขตพระราชฐานให้มากที่สุด หรือใช้วัสดุอื่นที่ไม่สะท้อนแสงแทน
2) ให้พิจารณาติดตั้งแผงบังตาบริเวณหน้าต่างกระจกทุกบาน เพื่อลดการเห็นกิจกรรมต่างๆ ในเขตพระราชฐาน
3) ให้พิจาณาติดตั้งกระจกที่มีค่าการสะท้อนแสงต่ำ (ร้อยละ 70) แทนที่กระจกทั่วไปที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน (การสะท้อนแสงไม่เกินร้อยละ 30)
4) ให้ปรับปรุงการออกแบบภายนอกใหม่ เพื่อลดมุมสะท้อนของแสงที่มีผลต่ออาคารใกล้เคียง
5) ให้มีการหารือร่วมกันระหว่าง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และภาคธุรกิจเอกชน เพื่อทำการศึกษาและกำหนดมาตรฐานเรื่องการสะท้อนแสงของกระจก และมาตรฐานการใช้กระจกของอาคารขนาดใหญ่
6) ให้หารือร่วมกับกรุงเทพมหานคร ในการประกาศเขตห้ามก่อสร้างอาคารสูง และประเภทของอาคารใกล้เขตพระราชฐาน
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะได้ดำเนินการและติดตามผลการแก้ไขปัญหาแสงสะท้อนของอาคารโครงการแมคเคนนาอพาร์เม้นท์ ของบริษัท แมคเคนนาแลนด์ จำกัด ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างต่อเนื่อง
3. ปัญหาเสียงรบกวนจากเรือหางยาวโดยสารรับจ้างในคลองแสนแสบ
3.1 คลองแสนแสบ ได้มีการให้บริการเรือโดยสารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรทางบกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ครอบครัวขนส่ง ได้ขออนุญาตเดินเรือจากกรมการขนส่งและพานิชย์นาวี มีเส้นทางวิ่งจากต้นทางท่าวัดศรีบุญเรือง ย่านถนนสุขาภิบาล 3 ไปจนถึงท่าประตูน้ำ จากท่าประตูน้ำผ่านพระราชวังสระปทุม ไปจนถึงท่าผ่านฟ้า ให้บริการระหว่างเวลา 05.00 — 20.00 น. เรือโดยสารส่วนใหญ่เป็นเรือประเภทหางยาว ปัญหาหลักจากการเดินเรือที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนริมคลอง คือ เสียงดัง และคลื่นทำให้เกิดตลิ่งพัง ซึ่งเป็นผลจากการใช้ความเร็วของเรือ
3.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษพิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยจัดทำป้ายขอความร่วมมือผู้ขับเรือชะลอความเร็วเพื่อลดเสียง ลักษณะป้ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามี 2 ขนาด คือ ขนาดกว้าง 0.8 เมตร ยาว 1.5 เมตร และขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาว 1.8 เมตร ทำด้วยวัสดุไม่เป็นสนิม ตัวอักษรบนป้ายระบุข้อความ “เขตพระราชฐาน โปรดชะลอความเร็ว งดใช้เสียง” จุดที่จะทำการติดตั้งมีอยู่ 3 บริเวณ ได้แก่ บริเวณสะพานหัวช้าง บริเวณตรงข้ามเขตพระราชฐานวังสระปทุม และบริเวณสะพานข้ามคลองแสนแสบหลังห้างสยามพารากอน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--
สืบเนื่องจาก การเกิดธรณีพิบัติภัย คลื่นยักษ์สึนามิ ในบริเวณพื้นที่ 6 จังหวัดชายฝั่งทะเลอันดามันทางภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในการนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีความห่วงใยและทรงเสด็จพระราชดำเนินไปยังอุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 12-13 มีนาคม 2551 เพื่อติดตามการดำเนินการของหน่วยงานต่างๆ ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนชาวมอแกน ซึ่งได้รับผลกระทบจากธรณีพิบัติภัยดังกล่าว และทรงมีพระราชดำรัสในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนี้
1. การดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตและอนุรักษ์วิถีชีวิตของชุมชนชาวมอแกน
2. ปัญหาแสงสะท้อนจากอาคารที่ตั้งอยู่ใกล้พระราชวังสระปทุม
3. ปัญหาเสียงรบกวนจากเรือหางยาวโดยสารรับจ้างในคลองแสนแสบ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินงานตามแนวพระราชดำรัสของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แล้ว โดยมีผลการดำเนินงานดังนี้
1. การดำเนินการพัฒนาคุณภาพชีวิตและอนุรักษ์วิถีชีวิตของชุมชนชาวมอแกน
1.1 ชุมชนชาวมอแกนที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะ สุรินทร์ จังหวัดพังงา เป็นชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเดิมเป็นเผ่าแร่ร่อนทางทะเล ที่อาศัยอยู่ตามเกาะและชายฝั่งทะเลอันดามันมาเป็นระยะเวลาร้อยปี โดยหมู่เกาะสุรินทร์ จะเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหลักของชุมชนดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมีประชากรประมาณ 60 ครัวเรือน จำนวน 224 คน
1.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกับมูลนิธิชัยพัฒนา ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวมอแกน ที่อาศัยอยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ดังนี้
1) จัดสร้างศูนย์การศึกษาและเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนชาวมอแกน เมื่อปี พ.ศ. 2549
2) การปรับปรุงระบบสาธารณูปโภคและสนับสนุนเครื่องมือในการประกอบอาชีพใน 2 พื้นที่หลัก ได้แก่
- บริเวณอ่าวบอนใหญ่ บนเกาะสุรินทร์ใต้ มีแผนการก่อสร้างห้องสุขา อาคารอาบน้ำรวม บ้านเรือนแถวครู โรงครัว-อาหาร ระบบโซล่าเซลล์ ปรับปรุงซ่อมแซมที่อยู่อาศัย รวมทั้ง จัดภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบหมู่บ้านชาวมอแกน
- บริเวณอ่าวช่องขาด บนเกาะสุรินทร์เหนือ มีแผนการก่อสร้างสถานพยาบาล และศูนย์บริการนักท่องเที่ยวซึ่งอาคารบางส่วนใช้เป็นอาคารสถานพยาบาลได้
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้ดำเนินการปรับปรุงแบบสิ่งก่อสร้างและกำหนดผังที่ตั้งให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ภายใต้โครงการก่อสร้างห้องน้ำบริเวณชุมชนชาวมอแกน ดังนี้
- การก่อสร้างห้องสุขาและห้องอาบน้ำจำนวน 3 จุด บริเวณใกล้ชุมชนมอแกน (แต่ละจุดประกอบด้วย ห้องสุขา 4 ห้อง ห้องอาบแยกหญิงชายน้ำ 2 ห้อง)
- การก่อสร้างระบบน้ำอุปโภคและบริโภค โดยจัดสร้างถังพักน้ำ
- ปรับและซ่อมแซมฝายเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้
3) สนับสนุนและส่งเสริมอาชีพชาวมอแกน โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชได้ว่าจ้างชาวมอแกนเป็นเจ้าหน้าที่ด้านการบริการนักท่องเที่ยว
1.3 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำแผนการบริหารจัดการชุมชนชาวมอแกน ที่อาศัยอยู่บริเวณอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ซึ่งขณะนี้ได้นำเสนอรองผู้อำนวยการโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (คุณกิตติ ขันธมิตร) เพื่อพิจารณากำหนดกรอบแนวทางการพัฒนาและอนุรักษ์วิถีชีวิตชาวมอแกนในพื้นที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ แบบบูรณาการและสอดคล้องกับโครงการของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยแผนการดังกล่าวจะเน้นในการบริหารจัดการชุมชนใน 4 ประเด็นหลัก คือ
1) แผนพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต
- ด้านที่อยู่อาศัย / การก่อสร้างห้องสุขาเพิ่มเติม
- ด้านสังคม
- ด้านการดำรงชีวิต
2) แผนสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุข
- การจัดการด้านสาธารณสุข
- การจัดการด้านสุขภาพ
- การจัดการขยะมูลฝอย และน้ำเสีย
3) แผนการส่งเสริมอาชีพและรายได้
- การส่งเสริมและการพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืน
- การเพิ่มประสิทธิภาพด้านอาชีพ
- การจัดการเรื่องการตลาด
- การส่งเสริมความรู้และประชาสัมพันธ์เพื่อความยั่งยืนของการส่งเสริมอาชีพ
4) แผนพัฒนาการศึกษาและภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ด้านการศึกษา
- การแลกเปลี่ยนความรู้
- การเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับชุมชนมอแกน
- การรักษาภูมิปัญญาพื้นบ้าน
2. ปัญหาแสงสะท้อนจากอาคารที่ตั้งอยู่ใกล้พระราชวังสระปทุม
2.1 อาคารที่ตั้งอยู่ใกล้พระราชวังสระปทุมและก่อให้เกิดผลกระทบจากการสะท้อนแสงของกระจกไปยังเขตพระราชฐาน คือ โครงการแมคเคนนาอพาร์เม้นท์ ของบริษัท แมคเคนนาแลนด์ จำกัด ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของพระราชวังสระปทุม ซึ่งปัจจุบันได้ขออนุญาตเปลี่ยนแปลงเป็นโรงแรม โดยการขอเปลี่ยนแปลงดังกล่าวต้องยื่นรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม มาตรการป้องกันและแก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงการดังกล่าว
2.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน) และคณะ ได้เข้าไปตรวจสอบกรณีดังกล่าว เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2551 และได้สั่งการให้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง บริษัท แมคเคนนาแลนด์ จำกัด ให้มีการดำเนินการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1) ให้ปรับแบบภายนอกอาคาร โดยลดการใช้กระจกเงาสะท้อนแสงด้านทิศใต้ ที่ตรงกับเขตพระราชฐานให้มากที่สุด หรือใช้วัสดุอื่นที่ไม่สะท้อนแสงแทน
2) ให้พิจารณาติดตั้งแผงบังตาบริเวณหน้าต่างกระจกทุกบาน เพื่อลดการเห็นกิจกรรมต่างๆ ในเขตพระราชฐาน
3) ให้พิจาณาติดตั้งกระจกที่มีค่าการสะท้อนแสงต่ำ (ร้อยละ 70) แทนที่กระจกทั่วไปที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน (การสะท้อนแสงไม่เกินร้อยละ 30)
4) ให้ปรับปรุงการออกแบบภายนอกใหม่ เพื่อลดมุมสะท้อนของแสงที่มีผลต่ออาคารใกล้เคียง
5) ให้มีการหารือร่วมกันระหว่าง สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ กรุงเทพมหานคร กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และภาคธุรกิจเอกชน เพื่อทำการศึกษาและกำหนดมาตรฐานเรื่องการสะท้อนแสงของกระจก และมาตรฐานการใช้กระจกของอาคารขนาดใหญ่
6) ให้หารือร่วมกับกรุงเทพมหานคร ในการประกาศเขตห้ามก่อสร้างอาคารสูง และประเภทของอาคารใกล้เขตพระราชฐาน
ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะได้ดำเนินการและติดตามผลการแก้ไขปัญหาแสงสะท้อนของอาคารโครงการแมคเคนนาอพาร์เม้นท์ ของบริษัท แมคเคนนาแลนด์ จำกัด ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งรายงานผลการปฏิบัติการดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีทราบอย่างต่อเนื่อง
3. ปัญหาเสียงรบกวนจากเรือหางยาวโดยสารรับจ้างในคลองแสนแสบ
3.1 คลองแสนแสบ ได้มีการให้บริการเรือโดยสารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรทางบกโดยห้างหุ้นส่วนจำกัด ครอบครัวขนส่ง ได้ขออนุญาตเดินเรือจากกรมการขนส่งและพานิชย์นาวี มีเส้นทางวิ่งจากต้นทางท่าวัดศรีบุญเรือง ย่านถนนสุขาภิบาล 3 ไปจนถึงท่าประตูน้ำ จากท่าประตูน้ำผ่านพระราชวังสระปทุม ไปจนถึงท่าผ่านฟ้า ให้บริการระหว่างเวลา 05.00 — 20.00 น. เรือโดยสารส่วนใหญ่เป็นเรือประเภทหางยาว ปัญหาหลักจากการเดินเรือที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนริมคลอง คือ เสียงดัง และคลื่นทำให้เกิดตลิ่งพัง ซึ่งเป็นผลจากการใช้ความเร็วของเรือ
3.2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษพิจารณาแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยจัดทำป้ายขอความร่วมมือผู้ขับเรือชะลอความเร็วเพื่อลดเสียง ลักษณะป้ายเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามี 2 ขนาด คือ ขนาดกว้าง 0.8 เมตร ยาว 1.5 เมตร และขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาว 1.8 เมตร ทำด้วยวัสดุไม่เป็นสนิม ตัวอักษรบนป้ายระบุข้อความ “เขตพระราชฐาน โปรดชะลอความเร็ว งดใช้เสียง” จุดที่จะทำการติดตั้งมีอยู่ 3 บริเวณ ได้แก่ บริเวณสะพานหัวช้าง บริเวณตรงข้ามเขตพระราชฐานวังสระปทุม และบริเวณสะพานข้ามคลองแสนแสบหลังห้างสยามพารากอน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--