คณะรัฐมนตรีอนุมัติมติคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ ครั้งที่ 1/2551 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม 2551 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. สาระสำคัญและความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้
สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 — 2554 โดยมีแผนงานโครงการที่มีลำดับความสำคัญตามนโยบายเร่งด่วนและนโยบาย 4 ปี ดังนั้น ในการผลักดันขับเคลื่อนนโยบายและแผนงานโครงการภายใต้แผนการบริหารราชการแผ่นดินฯ ดังกล่าว จึงได้นำเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ พิจารณาโครงการที่มีลำดับความสำคัญสูง รวม 3 โครงการ ดังนี้
1.1 โครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
1) กระทรวงศึกษาธิการเสนอขอปรับอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัวสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกระดับ ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน เนื่องจากที่ผ่านมางบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอ และไม่สะท้อนค่าใช้จ่ายจริง จึงเป็นปัญหาทั้งต่อการจัดการเรียนการสอน การบริหารสถานศึกษา และมีผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาอีกด้วย ส่งผลให้โรงเรียนต้องแก้ปัญหาด้วยการขอรับเงินบริจาคจากผู้ปกครองตามความสมัครใจ ในการนี้ กระทรวงศึกษาธิการจึงขอรับการอุดหนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพิ่มให้เต็มตามอัตราที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการไว้แล้วเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 โดยให้จ่ายให้ครบในปี 2551 เริ่มตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2551 วงเงินรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,917,323,376 บาท
2) คณะกรรมการฯ เห็นถึงความจำเป็นในการปรับอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัวสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทันในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โดยให้มีมาตรการกำกับ ดูแล และดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ มิให้มีการเรียกเก็บเงินเพิ่มเติมจากผู้ปกครองอีก
1.2 โครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center)
1) โครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) เป็นโครงการตามนโยบายเร่งด่วนในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 — 2554 ประกอบกับปัจจุบันประชาชนกำลังเผชิญกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น การเร่งรัดดำเนินโครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) จะสามารถช่วยลดรายจ่ายของประชาชนและช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน จากการที่ได้รับคำแนะนำถ่ายทอดความรู้ในการใช้ ดูแล รักษา และซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์การประกอบอาชีพ เครื่องใช้ในครัวเรือน รวมตลอดทั้งจากการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับชุมชนและวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและระบบรับรองและตรวจสอบคุณภาพในขั้นต้นของสินค้าชุมชน โดยที่การดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวจะสามารถเชื่อมโยงกับการดำเนินนโยบายการจัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (SML) และเชื่อมโยงกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้
2) คณะกรรมการฯ เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาปรับเป้าหมายโครงการ โดยให้มีศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนเป็นการถาวรอย่างน้อย 1 จุดในทุกตำบล และให้ดำเนินการนำร่องในปี 2551 รวม 500 จุด วงเงิน 150,000,000 บาท สำหรับในปี 2552 — 2554 ให้ดำเนินการปีละ 2,500 จุด จนครบเป้าหมายรวม 4 ปี จำนวน 8,000 จุด ในทุกตำบลทั่วประเทศ ภายในวงเงินงบประมาณรวม 1,600,000,000 บาท ทั้งนี้ ควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดทำรายละเอียดแผนการดำเนินงานและทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
1.3 โครงการกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต
1) การดำเนินโครงการกองทุนให้กู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคตเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่เยาวชนในการศึกษาต่อ ที่เชื่อมโยงกับนโยบายการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถของประเทศ นับเป็นเครื่องมือสำคัญทางนโยบายในการพัฒนากำลังคนของประเทศ ซึ่งคณะกรรมการฯ เห็นด้วยในหลักการ และเห็นว่าควรมีการจัดระบบการกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มีเพียงระบบเดียวที่มีเอกภาพ
2) เพื่อให้การดำเนินการให้กู้ยืมเริ่มได้ทันในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จึงเห็นควรให้ดำเนินโครงการกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) สำหรับผู้กู้ยืมที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ที่เน้นสาขาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนร่วมกับภาคเอกชนเป็นลำดับแรก เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ ปิโตรเคมี ฯลฯ โดยใช้ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษาฉบับที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
3) นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษา คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการรับไปปรับปรุงและเตรียมความพร้อมในทุกด้าน เช่น กฎหมายและระเบียบปฏิบัติ เป้าหมายและสาขาวิชา คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้กู้ยืม ระบบข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนความยั่งยืนทางการเงินของกองทุนในระยะยาว เพื่อนำไปสู่การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่มีเอกภาพเพียงระบบเดียว ทั้งนี้ ให้ทันสำหรับภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
2. มติคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้
2.1 เห็นชอบให้ปรับเพิ่มงบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัวสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามอัตราที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการไว้แล้วเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 โดยให้จ่ายให้ครบในปีการศึกษา 2551 เริ่มตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2551 โดยใช้งบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินจำนวน 2,917,323,376 บาท และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการกำหนดมาตรการกำกับ ติดตาม และดำเนินการตรวจสอบ มิให้มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้ปกครองอีกต่อไป
2.2 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาปรับเป้าหมายและดำเนินการตามข้อ 1.2 โดยในปี 2551 ให้นำร่องใน 500 จุด โดยใช้งบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินจำนวน 150,00,000 บาท และดำเนินการขอจัดตั้งงบประมาณในปี 2552 และปีต่อ ๆ ไป เพื่อดำเนินการปีละ 2,500 จุด จนครบเป้าหมายรวม 4 ปี จำนวน 8,000 จุดในทุกตำบลทั่วประเทศ ภายในวงเงินงบประมาณรวม 1,600,000,000 บาท
2.3 เห็นชอบในหลักการโครงการกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต โดย
1) ให้ดำเนินโครงการกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ขึ้นมาใหม่สำหรับผู้กู้ยืมที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ที่เน้นสาขาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนร่วมกับภาคเอกชนเป็นลำดับแรก เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ ปิโตรเคมี ฯลฯ โดยใช้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2549 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่บังคับใช้ในปัจจุบันไปพลางก่อน โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขระเบียบเพื่อรองรับการให้กู้สำหรับผู้กู้ยืมในรูปแบบเงินกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคตในสาขาดังกล่าวต่อไป
2) ให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษา คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการปรับปรุงและเตรียมการในการแก้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อให้มีการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่มีเอกภาพเพียงระบบเดียวที่สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ ให้ทันสำหรับภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--
1. สาระสำคัญและความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้
สืบเนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 — 2554 โดยมีแผนงานโครงการที่มีลำดับความสำคัญตามนโยบายเร่งด่วนและนโยบาย 4 ปี ดังนั้น ในการผลักดันขับเคลื่อนนโยบายและแผนงานโครงการภายใต้แผนการบริหารราชการแผ่นดินฯ ดังกล่าว จึงได้นำเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้ พิจารณาโครงการที่มีลำดับความสำคัญสูง รวม 3 โครงการ ดังนี้
1.1 โครงการส่งเสริมการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
1) กระทรวงศึกษาธิการเสนอขอปรับอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัวสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกระดับ ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน เนื่องจากที่ผ่านมางบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้รับการจัดสรรไม่เพียงพอ และไม่สะท้อนค่าใช้จ่ายจริง จึงเป็นปัญหาทั้งต่อการจัดการเรียนการสอน การบริหารสถานศึกษา และมีผลกระทบต่อคุณภาพการศึกษาอีกด้วย ส่งผลให้โรงเรียนต้องแก้ปัญหาด้วยการขอรับเงินบริจาคจากผู้ปกครองตามความสมัครใจ ในการนี้ กระทรวงศึกษาธิการจึงขอรับการอุดหนุนค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานเพิ่มให้เต็มตามอัตราที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการไว้แล้วเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 โดยให้จ่ายให้ครบในปี 2551 เริ่มตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2551 วงเงินรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,917,323,376 บาท
2) คณะกรรมการฯ เห็นถึงความจำเป็นในการปรับอัตราเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัวสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ทันในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โดยให้มีมาตรการกำกับ ดูแล และดำเนินการติดตาม ตรวจสอบ มิให้มีการเรียกเก็บเงินเพิ่มเติมจากผู้ปกครองอีก
1.2 โครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center)
1) โครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) เป็นโครงการตามนโยบายเร่งด่วนในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2551 — 2554 ประกอบกับปัจจุบันประชาชนกำลังเผชิญกับภาวะค่าครองชีพที่สูงขึ้น การเร่งรัดดำเนินโครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) จะสามารถช่วยลดรายจ่ายของประชาชนและช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน จากการที่ได้รับคำแนะนำถ่ายทอดความรู้ในการใช้ ดูแล รักษา และซ่อมบำรุงเครื่องมืออุปกรณ์การประกอบอาชีพ เครื่องใช้ในครัวเรือน รวมตลอดทั้งจากการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงกับชุมชนและวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมและระบบรับรองและตรวจสอบคุณภาพในขั้นต้นของสินค้าชุมชน โดยที่การดำเนินโครงการฯ ดังกล่าวจะสามารถเชื่อมโยงกับการดำเนินนโยบายการจัดสรรงบประมาณตามขนาดประชากร (SML) และเชื่อมโยงกับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้
2) คณะกรรมการฯ เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาปรับเป้าหมายโครงการ โดยให้มีศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชนเป็นการถาวรอย่างน้อย 1 จุดในทุกตำบล และให้ดำเนินการนำร่องในปี 2551 รวม 500 จุด วงเงิน 150,000,000 บาท สำหรับในปี 2552 — 2554 ให้ดำเนินการปีละ 2,500 จุด จนครบเป้าหมายรวม 4 ปี จำนวน 8,000 จุด ในทุกตำบลทั่วประเทศ ภายในวงเงินงบประมาณรวม 1,600,000,000 บาท ทั้งนี้ ควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาจัดทำรายละเอียดแผนการดำเนินงานและทำความตกลงกับสำนักงบประมาณต่อไป
1.3 โครงการกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต
1) การดำเนินโครงการกองทุนให้กู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคตเป็นการเพิ่มโอกาสให้แก่เยาวชนในการศึกษาต่อ ที่เชื่อมโยงกับนโยบายการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถของประเทศ นับเป็นเครื่องมือสำคัญทางนโยบายในการพัฒนากำลังคนของประเทศ ซึ่งคณะกรรมการฯ เห็นด้วยในหลักการ และเห็นว่าควรมีการจัดระบบการกู้ยืมเพื่อการศึกษาให้มีเพียงระบบเดียวที่มีเอกภาพ
2) เพื่อให้การดำเนินการให้กู้ยืมเริ่มได้ทันในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 จึงเห็นควรให้ดำเนินโครงการกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) สำหรับผู้กู้ยืมที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ที่เน้นสาขาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนร่วมกับภาคเอกชนเป็นลำดับแรก เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ ปิโตรเคมี ฯลฯ โดยใช้ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษาฉบับที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบันไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย
3) นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ เห็นควรให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษา คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการรับไปปรับปรุงและเตรียมความพร้อมในทุกด้าน เช่น กฎหมายและระเบียบปฏิบัติ เป้าหมายและสาขาวิชา คุณสมบัติและเงื่อนไขของผู้กู้ยืม ระบบข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนความยั่งยืนทางการเงินของกองทุนในระยะยาว เพื่อนำไปสู่การกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่มีเอกภาพเพียงระบบเดียว ทั้งนี้ ให้ทันสำหรับภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
2. มติคณะกรรมการพัฒนาระบบการศึกษาและการเรียนรู้
2.1 เห็นชอบให้ปรับเพิ่มงบประมาณเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายต่อหัวสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามอัตราที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการไว้แล้วเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2549 โดยให้จ่ายให้ครบในปีการศึกษา 2551 เริ่มตั้งแต่ภาคเรียนที่ 1/2551 โดยใช้งบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินจำนวน 2,917,323,376 บาท และมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการกำหนดมาตรการกำกับ ติดตาม และดำเนินการตรวจสอบ มิให้มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมจากผู้ปกครองอีกต่อไป
2.2 เห็นชอบให้ดำเนินโครงการขยายบทบาทศูนย์ซ่อมสร้างเพื่อชุมชน (Fix-it Center) และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาปรับเป้าหมายและดำเนินการตามข้อ 1.2 โดยในปี 2551 ให้นำร่องใน 500 จุด โดยใช้งบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินจำนวน 150,00,000 บาท และดำเนินการขอจัดตั้งงบประมาณในปี 2552 และปีต่อ ๆ ไป เพื่อดำเนินการปีละ 2,500 จุด จนครบเป้าหมายรวม 4 ปี จำนวน 8,000 จุดในทุกตำบลทั่วประเทศ ภายในวงเงินงบประมาณรวม 1,600,000,000 บาท
2.3 เห็นชอบในหลักการโครงการกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต โดย
1) ให้ดำเนินโครงการกองทุนเงินกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ขึ้นมาใหม่สำหรับผู้กู้ยืมที่เข้าเรียนในชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ที่เน้นสาขาที่เป็นความต้องการหลักและมีความชัดเจนของการผลิตกำลังคนร่วมกับภาคเอกชนเป็นลำดับแรก เช่น วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์ ปิโตรเคมี ฯลฯ โดยใช้ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการบริหารกองทุนเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2549 และฉบับที่แก้ไขเพิ่มเติม ที่บังคับใช้ในปัจจุบันไปพลางก่อน โดยมอบหมายให้กระทรวงการคลังไปดำเนินการปรับปรุงแก้ไขระเบียบเพื่อรองรับการให้กู้สำหรับผู้กู้ยืมในรูปแบบเงินกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคตในสาขาดังกล่าวต่อไป
2) ให้กระทรวงการคลัง คณะกรรมการกองทุนเพื่อการศึกษา คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการปรับปรุงและเตรียมการในการแก้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อให้มีการกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาที่มีเอกภาพเพียงระบบเดียวที่สามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ด้านต่าง ๆ ได้ ทั้งนี้ ให้ทันสำหรับภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--