คณะรัฐมนตรีเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย มอบหมายให้ผู้ลงนามเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
2. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการในการออกหนังสือมอบอำนาจ (Full Power)
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทยลงนามในความตกลงฯ ดังกล่าว
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า รัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Patenership-AJCEP) ตั้งแต่ ปี 2546 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะเจรจาและผู้ประสานงานหลักของไทย โดยคณะเจรจาทั้งสองฝ่ายได้สรุป การเจรจาและยกร่างความตกลงฯ เสร็จสมบูรณ์แล้ว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน และรัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่นเป็นผู้ลงนาม และกำหนดจะลงนามโดยวิธีเวียนความตกลงฯ ให้ แต่ละประเทศลงนามภายในสิ้นเดือนมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน 2551 เนื่องจากญี่ปุ่นจะต้องนำความตกลงฯ เสนอต่อ รัฐสภาให้ทันการประชุมครั้งสุดท้ายในเดือนพฤษภาคม 2551 มิฉะนั้น จะต้องรอไปอีก 1 ปี ญี่ปุ่นจึงจะให้สัตยาบันเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับได้
สรุปสาระสำคัญของความตกลง AJCEP
1. ความตกลง AJCEP เป็นความตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาคระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งการรวมความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศกับญี่ปุ่นเข้าไว้ด้วยกัน โดยอาเซียนได้ ผลักดันญี่ปุ่นให้ความตกลงนี้มีประโยชน์เพิ่มเติมจากความตกลงทวิภาคีได้เป็นผลสำเร็จ
2. ความตกลง AJCEP มีสาระครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น ประกอบด้วย การเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน กฎระเบียบต่าง ๆ เช่น กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า มาตรการด้านสุขอนามัย มาตรการปกป้อง การระงับข้อพิพาท เป็นต้น และความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ อีกกว่า 14 สาขา
3. ในด้านการค้าสินค้า ญี่ปุ่นจะลด/ยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าร้อยละ 96.7 ของมูลค่านำเข้าของญี่ปุ่นจากอาเซียนทั้งหมด โดยมีสินค้าที่นำมาลดภาษีเป็นศูนย์ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90 ในขณะที่ อาเซียนมีรายการสินค้าลด/ยกเลิกภาษีประมาณร้อยละ 90 ของมูลค่านำเข้าของอาเซียนจากญี่ปุ่น โดยที่ไทยไม่ได้เปิดตลาดสินค้ามากไปกว่าที่ตกลงไว้ในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ที่มีผลใช้บังคับแล้วในปัจจุบัน
4. ในด้านบริการและการลงทุนนั้น ไม่ได้มีการเปิดตลาดเพิ่มจากที่ได้ตกลงไว้ในความตกลง JTEPA เนื่องจากอาเซียน-ญี่ปุ่นเห็นว่ามีในความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศอาเซียนส่วนใหญ่และญี่ปุ่นอยู่แล้ว จึงเป็นความตกลง แต่เพียงในกรอบกว้าง ๆ ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการเจรจากันในอนาคตเพื่อหาช่องทางเปิดเสรีด้านการค้าบริการและการลงทุนเพิ่มมากขึ้นต่อไป
5. ในด้านกฎระเบียบต่าง ๆ ได้กำหนดให้สอดคล้องกับความตกลงภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WHO)
6. กำหนดให้มีความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ เช่น การอำนวยความสะดวกทางการค้า สภาพแวดล้อมทาง
ธุรกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา พลังงาน สารสนเทศและการสื่อสาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางการท่องเที่ยว การขนส่งและโลจิสติกส์ การเกษตร ประมงและป่าไม้ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--
1. เห็นชอบร่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย มอบหมายให้ผู้ลงนามเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
2. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการในการออกหนังสือมอบอำนาจ (Full Power)
ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทยลงนามในความตกลงฯ ดังกล่าว
กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า รัฐบาลประเทศสมาชิกอาเซียนและรัฐบาลญี่ปุ่นได้ดำเนินการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (ASEAN-Japan Comprehensive Economic Patenership-AJCEP) ตั้งแต่ ปี 2546 ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะเจรจาและผู้ประสานงานหลักของไทย โดยคณะเจรจาทั้งสองฝ่ายได้สรุป การเจรจาและยกร่างความตกลงฯ เสร็จสมบูรณ์แล้ว เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2551 ปัจจุบันทั้งสองฝ่ายได้ตกลงให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน และรัฐมนตรีต่างประเทศของญี่ปุ่นเป็นผู้ลงนาม และกำหนดจะลงนามโดยวิธีเวียนความตกลงฯ ให้ แต่ละประเทศลงนามภายในสิ้นเดือนมีนาคม-ต้นเดือนเมษายน 2551 เนื่องจากญี่ปุ่นจะต้องนำความตกลงฯ เสนอต่อ รัฐสภาให้ทันการประชุมครั้งสุดท้ายในเดือนพฤษภาคม 2551 มิฉะนั้น จะต้องรอไปอีก 1 ปี ญี่ปุ่นจึงจะให้สัตยาบันเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับได้
สรุปสาระสำคัญของความตกลง AJCEP
1. ความตกลง AJCEP เป็นความตกลงการค้าเสรีระดับภูมิภาคระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเสมือนหนึ่งการรวมความตกลงการค้าเสรีทวิภาคีระหว่างสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศกับญี่ปุ่นเข้าไว้ด้วยกัน โดยอาเซียนได้ ผลักดันญี่ปุ่นให้ความตกลงนี้มีประโยชน์เพิ่มเติมจากความตกลงทวิภาคีได้เป็นผลสำเร็จ
2. ความตกลง AJCEP มีสาระครอบคลุมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่น ประกอบด้วย การเปิดเสรีการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน กฎระเบียบต่าง ๆ เช่น กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า มาตรการด้านสุขอนามัย มาตรการปกป้อง การระงับข้อพิพาท เป็นต้น และความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ อีกกว่า 14 สาขา
3. ในด้านการค้าสินค้า ญี่ปุ่นจะลด/ยกเลิกภาษีนำเข้าสินค้าร้อยละ 96.7 ของมูลค่านำเข้าของญี่ปุ่นจากอาเซียนทั้งหมด โดยมีสินค้าที่นำมาลดภาษีเป็นศูนย์ทันทีที่ความตกลงมีผลบังคับคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90 ในขณะที่ อาเซียนมีรายการสินค้าลด/ยกเลิกภาษีประมาณร้อยละ 90 ของมูลค่านำเข้าของอาเซียนจากญี่ปุ่น โดยที่ไทยไม่ได้เปิดตลาดสินค้ามากไปกว่าที่ตกลงไว้ในความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ที่มีผลใช้บังคับแล้วในปัจจุบัน
4. ในด้านบริการและการลงทุนนั้น ไม่ได้มีการเปิดตลาดเพิ่มจากที่ได้ตกลงไว้ในความตกลง JTEPA เนื่องจากอาเซียน-ญี่ปุ่นเห็นว่ามีในความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศอาเซียนส่วนใหญ่และญี่ปุ่นอยู่แล้ว จึงเป็นความตกลง แต่เพียงในกรอบกว้าง ๆ ซึ่งเปิดโอกาสให้มีการเจรจากันในอนาคตเพื่อหาช่องทางเปิดเสรีด้านการค้าบริการและการลงทุนเพิ่มมากขึ้นต่อไป
5. ในด้านกฎระเบียบต่าง ๆ ได้กำหนดให้สอดคล้องกับความตกลงภายใต้กรอบองค์การการค้าโลก (WHO)
6. กำหนดให้มีความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ เช่น การอำนวยความสะดวกทางการค้า สภาพแวดล้อมทาง
ธุรกิจ ทรัพย์สินทางปัญญา พลังงาน สารสนเทศและการสื่อสาร การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วิสาหกิจขนาดย่อมและขนาดกลางการท่องเที่ยว การขนส่งและโลจิสติกส์ การเกษตร ประมงและป่าไม้ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--