คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอให้ประเทศไทยให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รวม 11 ฉบับ ดังนี้
1. ภาคผนวก 2 : การจดทะเบียนพาหนะที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ (กรมการขนส่งทางบก)
2. ภาคผนวก 3 : การขนส่งสินค้าเน่าเสียง่าย (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
3. ภาคผนวก 5 : การข้ามแดนของบุคคล (ส่วนที่ 1-4) (กรมการขนส่งทางบก)
4. ภาคผนวก 11 : มาตรฐานและข้อกำหนดสำหรับการออกแบบและก่อสร้างถนนและสะพาน (กรมทางหลวง)
5. ภาคผนวก 12 : จุดผ่านแดนและการอำนวยความสะดวกและdkiให้บริการในการผ่านแดน (กรมศุลกากร)
6. ภาคผนวก 13a : หลักเกณฑ์เรื่องความรับผิดชอบของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ(กรมการขนส่งทางน้ำและ
พาณิชยนาวี)
7. ภาคผนวก 13b : หลักเกณฑ์เรื่องการอนุญาตผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบสำหรับการประกอบการขนส่งข้ามพรมแดน
(กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี)
8. ภาคผนวก 15 : ระบบการจัดแบ่งประเภทพิกัดสินค้า (กรมศุลกากร)
9. ภาคผนวก 16 : หลักเกณฑ์เรื่องใบอนุญาตขับขี่ (กรมการขนส่งทางบก)
10.พิธีสาร 1 : การกำหนดเส้นทางการขนส่งระหว่างประเทศจุดเข้าและออกประเทศ (กรมทางหลวง)
11.พิธีสาร 2 : ค่าธรรมเนียมผ่านแดน (กรมทางหลวง) กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. ในการประชุมคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมีนาคม 2550 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ประชุมได้ให้การรับรองแถลงการณ์ร่วมซึ่งระบุแผนงานการดำเนินงานตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross-Border Transport Agreement : CBTA) โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลงฯ ในปี 2551 เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2553 ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
2. โดยที่ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีบทบาทนำในกรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง กระทรวงคมนาคมจึงเห็นควรเร่งดำเนินการให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS Cross-Border Transport Agreement : CBTA) ในส่วนที่ประเทศไทยมีความพร้อมก่อน เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2553 ประกอบกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำ GMS (GMS Summit) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2551 ณ กรุงเวียงจันทน์ จึงเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติการให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสาร จำนวน 11 ฉบับ ดังกล่าว เพื่อที่ประเทศไทยจะสามารถแจ้งความคืบหน้าในเรื่องนี้ต่อที่ประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3 ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--
1. ภาคผนวก 2 : การจดทะเบียนพาหนะที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศ (กรมการขนส่งทางบก)
2. ภาคผนวก 3 : การขนส่งสินค้าเน่าเสียง่าย (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
3. ภาคผนวก 5 : การข้ามแดนของบุคคล (ส่วนที่ 1-4) (กรมการขนส่งทางบก)
4. ภาคผนวก 11 : มาตรฐานและข้อกำหนดสำหรับการออกแบบและก่อสร้างถนนและสะพาน (กรมทางหลวง)
5. ภาคผนวก 12 : จุดผ่านแดนและการอำนวยความสะดวกและdkiให้บริการในการผ่านแดน (กรมศุลกากร)
6. ภาคผนวก 13a : หลักเกณฑ์เรื่องความรับผิดชอบของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ(กรมการขนส่งทางน้ำและ
พาณิชยนาวี)
7. ภาคผนวก 13b : หลักเกณฑ์เรื่องการอนุญาตผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบสำหรับการประกอบการขนส่งข้ามพรมแดน
(กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี)
8. ภาคผนวก 15 : ระบบการจัดแบ่งประเภทพิกัดสินค้า (กรมศุลกากร)
9. ภาคผนวก 16 : หลักเกณฑ์เรื่องใบอนุญาตขับขี่ (กรมการขนส่งทางบก)
10.พิธีสาร 1 : การกำหนดเส้นทางการขนส่งระหว่างประเทศจุดเข้าและออกประเทศ (กรมทางหลวง)
11.พิธีสาร 2 : ค่าธรรมเนียมผ่านแดน (กรมทางหลวง) กระทรวงคมนาคมรายงานว่า
1. ในการประชุมคณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมีนาคม 2550 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ประชุมได้ให้การรับรองแถลงการณ์ร่วมซึ่งระบุแผนงานการดำเนินงานตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS Cross-Border Transport Agreement : CBTA) โดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion : GMS) ให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลงฯ ในปี 2551 เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2553 ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
2. โดยที่ประเทศไทยถือเป็นประเทศที่มีบทบาทนำในกรอบความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง กระทรวงคมนาคมจึงเห็นควรเร่งดำเนินการให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสารแนบท้ายความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง(GMS Cross-Border Transport Agreement : CBTA) ในส่วนที่ประเทศไทยมีความพร้อมก่อน เพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในปี 2553 ประกอบกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำ GMS (GMS Summit) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2551 ณ กรุงเวียงจันทน์ จึงเห็นควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติการให้สัตยาบันภาคผนวกและพิธีสาร จำนวน 11 ฉบับ ดังกล่าว เพื่อที่ประเทศไทยจะสามารถแจ้งความคืบหน้าในเรื่องนี้ต่อที่ประชุม GMS Summit ครั้งที่ 3 ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีชุดนายสมัคร สุนทรเวช (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 มีนาคม 2551--จบ--