http://www.thaigov.go.th
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
วันนี้ (16 สิงหาคม 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้ กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้างสามล้อ
และรถจักรยานยนต์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. ....
2. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน
เขตการปกครอง และเมืองหลวง เศรษฐกิจ สังคม
3. เรื่อง ขออนุมัติเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง ประจำปีงบประมาณ 2565 ของการยาสูบ แห่งประเทศไทย 4. เรื่อง ขออนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโครงการเสริมสภาพคล่อง เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ของกรมประมง 5. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนคลองเกาะผี ท้องที่ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต
จังหวัดภูเก็ต เพื่อการกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครภูเก็ต
จังหวัดภูเก็ต
6. เรื่อง แผนปฏิบัติการด้านควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565
- 2570)
7. เรื่อง การขอใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อชดเชย
รายได้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา
เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง
8. เรื่อง การเรียกให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของ
ทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2565
9. เรื่อง ผลการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน
พ.ศ. 2565
10. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มี
ผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในห้วงตุลาคม 2564-มีนาคม 2565
11. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาอนุมัติวงเงินโครงการสินเชื่อ
EXIM Biz Transformation Loan
12. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 22/2565
13. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 ต่างประเทศ 14. เรื่อง ผลการประชุมระดับสูงว่าด้วยทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ
?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018-2028 ครั้งที่ 2
15. เรื่อง ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความ ร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวง
สิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท แห่งสหราชอาณาจักร
16. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2565
และเอกสารที่เกี่ยวข้อง
17. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศของรัฐบาล
สาธารณรัฐอินเดีย ว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
และเทคโนโลยีดิจิทัล
18. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคี
ไทย ? อินเดีย ครั้งที่ 9
19. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้
ครั้งที่ 5 (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry :
MMRF5)
20. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุข
และเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12
21. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค
ครั้งที่ 11
แต่งตั้ง
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ
ระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
23. เรื่อง รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการ 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่อง
มาจากพระราชดำริ)
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงแรงงาน)
26. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ครั้งที่ 2) 27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี 29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ
แทนตำแหน่งที่ว่าง
30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง
(กระทรวงพาณิชย์)
31. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ
การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ครบกำหนดออกตามวาระ)
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396 กฎหมาย 1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้างสามล้อ และรถจักรยานยนต์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. .... คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์บริการ รถยนต์สาธารณะ และรถจักรยานยนต์สาธารณะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงคมนาคมรับความเห็นของกระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงคมนาคมเสนอ เป็นการลดอัตราภาษีรถประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้างสามล้อ และรถจักรยานยนต์สาธารณะที่ครบกำหนดเสียภาษีรถประจำปีระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 โดยให้ลดอัตราภาษีลงร้อยละ 90 ของอัตราภาษีประจำปีท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นการช่วยเหลือเยียวยาและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบอาชีพขับรถสาธารณะที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และราคาน้ำมันพลังงานปรับตัวสูงขึ้นจากสถานการณ์การสู้รบระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและประเทศยูเครน เช่น รถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) รถที่ใช้ปกติทั่วไปมีน้ำหนักรถ 1,300 กิโลกรัม เสียภาษี 68.50 บาท (เดิม 685 บาท) น้ำหนักรถ 2,000 กิโลกรัม เสียภาษี 106 บาท (เดิม 1,060 บาท) รถยนต์รับจ้างสามล้อ น้ำหนักรถ 500 กิโลกรัม เสียภาษี 18.50 บาท (เดิม 185 บาท) และรถจักรยานยนต์สาธารณะ เสียภาษี 10 บาท (เดิม 100 บาท) การลดอัตราภาษีประจำปีในครั้งนี้จะส่งผลให้สูญเสียรายได้ประมาณ 70,257,501.07 บาท คิดเป็นร้อยละ 0.197 ของภาษีของรถทุกประเภท ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนภาษีรถ เงินเพิ่มและค่าธรรมเนียมทั้งหมดที่กรมการขนส่งทางบกจัดเก็บได้ ดังนั้น จึงคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของกรุงเทพมหานครและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการนำไปจัดทำบริการสาธารณะให้กับประชาชนเพียงเล็กน้อย แต่จะเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบอาชีพขับรถสาธารณะ สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ลดอัตราภาษีรถประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้าง รถยนต์รับจ้างสามล้อ และรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่ครบกำหนดเสียภาษีรถประจำปีระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 โดยให้ลดอัตราภาษีลงร้อยละ 90 ของอัตราภาษีประจำปีท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มีอัตราภาษีประจำปี ดังนี้ อัตราภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้าง (แท็กซี่) รถยนต์รับจ้างสามล้อ และรถจักรยานยนต์สาธารณะ ประเภทรถ น้ำหนักรถ (กิโลกรัม) อัตราภาษี ท้าย พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 (บาท) อัตราภาษีตามร่าง พ.ร.ฎ. (จัดเก็บร้อยละ 10) (บาท) 1. รถจักรยานยนต์ (ข) รถจักรยานยนต์สาธารณะ - 100 10 2. รถยนต์รับจ้าง (รถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) และ รถยนต์รับจ้างสามล้อ) ไม่เกิน 500 501 - 750 751 - 1,000 1,001 - 1,250 1,251 - 1,500 1,501 - 1,750 1,751 - 2,000 2,001 - 2,500 2,501 - 3,000 3,001 - 3,500 3,501 - 4,000 4,001 - 4,500 4,501 - 5,000 5,001 - 6,000 6,001 - 7,000 7,001 ขึ้นไป 185 310 450 560 685 875 1,060 1,250 1,435 1,625 1,810 2,000 2,185 2,375 2,560 2,750 18.5 31 45 56 68.5 87.5 106 125 143.5 162.5 181 200 218.5 237.5 256 275 2. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ของสำนักงานราชบัณฑิตยสภาที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ สาระสำคัญของร่างประกาศ 1. ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 2. ให้ใช้ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง ลงวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565 เพื่อให้ทางราชการถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งได้ปรับปรุงชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง เพิ่มเติมจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวัน 15 กุมภาพันธ์ 2565 3. ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป รายชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวงที่มีการปรับปรุง ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภาฯ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 (มติ ครม 15 ก.พ. 65) ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภาฯ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 (คกอ. คณะที่ 2 พิจารณา) ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภาฯ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2565 (คกอ. คณะที่ 2 พิจารณา) ประเทศ เมืองหลวง ประเทศ เมืองหลวง ประเทศ เมืองหลวง - - Order of Malta : Sovereign Military Order of Malta ออเดอร์ออฟมอลตา : รัฐอธิปไตยทหารออร์เดอร์ ออฟมอลตา - - - Congo Republic : Republic of the Congo สาธารณรัฐคองโก Brazzaville บราซาวีล Congo : Republic of the Congo คองโก : สาธารณรัฐคองโก Brazzaville บราซาวีล - - Congo : Democratic Republic of Congo คองโก : สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก Kinshasa กินชาซา DR Congo : Democratic Republic of the Congo ดีอาร์คองโก : สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก Kinshasa กินชาซา - - Sudan : Republic of Sudan ซูดาน :สาธารณรัฐซูดาน Khartoum คาร์ทูม Sudan : Republic of the Sudan ซูดาน :สาธารณรัฐซูดาน Khartoum คาร์ทูม - - Turkey : Republic of Turkey ตุรกี : สาธารณรัฐตุรกี Ankara อังการา Turkey : Republic of Turkey ตุรกี : สาธารณรัฐตุรกี Ankara อังการา T?rkiye : Republic of T?rkiye ตุรกี, ทูร์เคีย : สาธารณรัฐตุรกี, สาธารณรัฐ ทูร์เคีย Ankara อังการา Sweden : Kingdom of Sweden สวีเดน :ราชอาณาจักรสวีเดน Stockholm สต็อกโฮล์ม Sweden : Kingdom of Sweden สวีเดน :ราชอาณาจักรสวีเดน Stockholm สต็อกโฮล์ม Sweden : Kingdom of Sweden สวีเดน :ราชอาณาจักรสวีเดน Stockholm สต็อกโฮล์ม เศรษฐกิจ สังคม 3. เรื่อง ขออนุมัติเงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่อง ประจำปีงบประมาณ 2565 ของการยาสูบแห่งประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอให้การยาสูบแห่งประเทศไทย (ยสท.) จัดหาแหล่งเงินกู้ระยะสั้น วงเงิน 1,500 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินสำหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินกิจการทั่วไปของ ยสท. ทั้งนี้ วงเงินกู้ดังกล่าวอยู่ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2565 แล้ว สาระสำคัญของเรื่อง กค. รายงานว่า 1. ยสท. มีผลประกอบการในปี 2562 ? 2565 สรุปได้ ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท ผลการดำเนินงาน ปี 2562 ปี 2563 ปี 2564 ปี 2565 (6 เดือน) รายได้รวม 50,839 45,901 48,439 17,748 ค่าใช้จ่ายรวม 50,326 45,351 47,398 17,783 กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 513 550 1,041 (35) 2. ยสท. ได้จัดทำประมาณการเงินสดรับ - จ่าย ประจำปีงบประมาณ 2565 ? 2566 กรณีที่ประมาณการยอดจำหน่ายบุหรี่ในประเทศต่ำที่สุด (Worst Case) โดยในปีงบประมาณ 2565 ยสท. คาดการณ์ว่าจะจำหน่ายบุหรี่ในประเทศได้จำนวน 12,050 ล้านมวน ซึ่งเป็นการประมาณการจากผลการดำเนินงาน (ยอดจำหน่าย) จริง เดือนตุลาคม 2564 - มีนาคม 2565 และผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ 2562 จนถึงปัจจุบัน ที่ส่งผลให้สภาพเศรษฐกิจถดถอยและผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง ประกอบกับปัญหาจากการปรับขึ้นราคาน้ำมันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าขนส่ง ค่าสาธารณูปโภค และอื่น ๆ ที่ ยสท. ต้องนำมาใช้ในการผลิตสินค้ายาสูบและดำเนินกิจกรรมในองค์กรเพิ่มขึ้นอย่างมาก รวมถึงปัญหาการแพร่กระจายของบุหรี่ผิดกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลให้ ยสท. มีรายรับรวม 38,338 ล้านบาท รายจ่ายรวม 44,571 ล้านบาท (ขาดทุน 6,233 ล้านบาท) และเงินสดปลายงวดคงเหลือจำนวน 2,684 ล้านบาท สำหรับปีงบประมาณ 2566 ยสท. คาดการณ์ว่าจะจำหน่ายบุหรี่ในประเทศได้จำนวน 11,552 ล้านมวน โดยพิจารณาจากผลกระทบที่ต่อเนื่องมาจากปี 2565 ซึ่งจะส่งผลให้ ยสท. มีรายรับรวม 36,711 ล้านบาท รายจ่ายรวม 40,323 ล้านบาท (ขาดทุน 3,612 ล้านบาท และเงินสดปลายงวดติดลบจำนวน 928 ล้านบาท ดังนั้น ยสท. จึงมีความต้องการจัดหาแหล่งเงินกู้ระยะสั้นโดยวิธีกู้เบิกเกินบัญชี (Overdraft: OD)1 วงเงินไม่เกิน 1,500 ล้านบาท เพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินและใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน รวมทั้งเป็นการบริหารความเสี่ยงในกรณีที่ยอดจำหน่ายบุหรี่ในปีงบประมาณ 2565 - 2566 ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ยสท. จะได้นำวงเงินดังกล่าวมาใช้ในการดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยมีรายละเอียดเงื่อนไขเงินกู้ ดังนี้ เงื่อนไขเงินกู้ รายละเอียด วงเงินกู้ ไม่เกิน 1,500 ล้านบาท อายุเงินกู้ 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2565 - 16 มีนาคม 2566 วันที่ยื่นซองเสนอ อัตราดอกเบี้ย ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 11.00 น. โดยสถาบันการเงินที่ยื่นข้อเสนอค่าใช้จ่ายรวมต่ำสุดและตกลงกันได้ในการต่อรองเป็นข้อเสนอที่ดีที่สุดจะได้รับการพิจารณา ทั้งนี้ ยสท. จะลงนามในสัญญากู้เงินหลังจากได้รับความเห็นชอบให้กู้เงินจากคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว การเสนออัตราดอกเบี้ย (ร้อยละต่อปี) ใช้อัตราดอกเบี้ยอ้างอิงระยะสั้นตลาดกรุงเทพ (Bangkok Interbank Offered Rate: BIBOR)2 ระยะข้ามคืน (Overnight: O/N) ตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นฐานในการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ การกำหนดอัตรา ดอกเบี้ย ใช้อัตราดอกเบี้ย BIBOR O/N ณ วันที่เบิกเงินกู้ และปรับอัตราดอกเบี้ย BIBOR หากมีการเปลี่ยนแปลง กำหนดวันเบิกเงินกู้ ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2565 - 16 มีนาคม 2566 การชำระคืนเงินกู้ และดอกเบี้ย ชำระดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือนของวงเงินที่เบิกจ่ายและชำระคืนเงินต้นคงค้างทั้งจำนวนพร้อมดอกเบี้ยเมื่อครบกำหนดอายุเงินกู้ (สามารถชำระคืนต้นเงินกู้ก่อนครบกำหนดทั้งจำนวนหรือบางส่วนได้โดยไม่คิดค่าธรรมเนียม) โดย ยสท. เป็นผู้รับภาระชำระคืนต้นเงินและดอกเบี้ยทั้งหมด (กค. ไม่ค้ำประกันต้นเงินและดอกเบี้ย) ค่าธรรมเนียม ไม่มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ หมายเหตุ : ยสท. จะจัดหาแหล่งเงินกู้ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในครั้งนี้ 1OD คือ สินเชื่อรูปแบบหนึ่งซึ่งเป็นวงเงินพร้อมใช้เพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนและเสริมสภาพคล่องให้แก่ธุรกิจ โดยจะคิดดอกเบี้ยเฉพาะส่วนของเงินต้นส่วนที่เบิกออกมา วงเงินส่วนที่ยังไม่เบิกออกมาก็จะยังไม่คิดดอกเบี้ย และเมื่อนำเงินต้นใส่คืนเข้าไปที่ธนาคาร ดอกเบี้ยก็จะหยุดทันที 2เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการกู้ยืมเงินระยะสั้นระหว่างธนาคารด้วยกันเอง (Interbank Loan) ในตลาดกรุงเทพฯ แบบไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน โดย ธปท. จะประกาศอัตราดอกเบี้ย BIBOR เป็นประจำทุกวัน 4. เรื่อง ขออนุมัติจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ของกรมประมง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอจัดสรรเงินจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมประมงยืมเพื่อไปดำเนินการตามโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ของกรมประมง มีกำหนดชำระคืนภายใน 3 ปี ระยะเวลาโครงการ พ.ศ. 2565 ถึง พ.ศ. 2567 โดยอนุมัติวงเงิน จำนวน 510 ล้านบาท เป็นเงินยืม (เงินหมุนเวียน) จำนวน 500 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด จำนวน 10 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ของกรมประมงเพื่อเสริมสภาพคล่องในด้านปัจจัยการผลิต (ค่าอาหารและค่าลูกพันธุ์กุ้ง) ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลและสร้างความมั่นคงทางอาชีพ อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปี สาระสำคัญของเรื่อง กษ. รายงานว่า 1. สถานการณ์ผลผลิตกุ้งทะเลของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงในช่วงที่ผ่านมา โดยปัจจุบันมีปริมาณผลผลิตกุ้งทะเลไม่เกิน 300,000 ตันต่อปี ทำให้มีผลผลิตไม่เพียงพอต่อการผลิตและการส่งออก ห้องเย็นไม่สามารถรับคำสั่งซื้อล่วงหน้าได้ ส่งผลให้ประเทศไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกให้กับประเทศผู้ผลิตคู่แข่ง หากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนจะส่งผลกระทบต่อเนื่องและขยายเป็นวงกว้างสู่ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมกุ้งทะเล ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของภาคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของประเทศไทย กษ. จึงมีนโยบายฟื้นฟูผลผลิตกุ้งทะเลของประเทศไทยให้กลับมาอยู่ในระดับ 320,000 ตัน ในปี พ.ศ. 2565 และเป้าหมาย 400,000 ตัน ภายในปี พ.ศ. 2566 กรมประมงจึงได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานเชิงพื้นที่ในการฟื้นฟูผลผลิตกุ้งทะเลของประเทศไทย ซึ่งรวมถึงแนวทางการจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อเกษตรกร ผ่านโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 ที่ กษ. เสนอมาในครั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงกุ้งทะเลแต่ขาดสภาพคล่องมีแหล่งทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพ เป็นแรงจูงใจและสนับสนุนให้เกษตรกรลงกุ้งและบริหารจัดการการเลี้ยงกุ้งให้ประสบความสำเร็จ รวมถึงรักษาความมั่นคงทางอาชีพเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลของคนไทยและอุตสาหกรรมกุ้งทะเลให้คงอยู่ต่อไป อีกทั้งยังเป็นการช่วยเหลือผู้เกี่ยวข้องในธุรกิจเกี่ยวเนื่องตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยโครงการฯ ที่เสนอมาครั้งนี้เป็นโครงการนำร่องในการแก้ไขปัญหาสภาพคล่องให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลในระยะเร่งด่วน หากโครงการฯ ระยะที่ 1 บรรลุตามวัตถุประสงค์ กษ. จะเสนอโครงการฯ ระยะที่ 2 เพื่อขยายผลการช่วยเกษตรกรด้านสภาพคล่องในการประกอบอาชีพเลี้ยงกุ้งทะเลต่อไป 2. โครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1 มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ รายละเอียด วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเสริมสภาพคล่องในด้านปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล 2. เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล เป้าหมาย เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล จำนวน 1,000 ราย ในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงกุ้งทะเล รวม 33 จังหวัด หน่วยงานรับผิดชอบ กรมประมง กษ. 1. กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการฯ ภาพรวม 2. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง (ระดับจังหวัด) ในพื้นที่ เป็นหน่วยงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบในการแนะนำให้ความรู้ และติดตามผลการเลี้ยงกุ้งของเกษตรกร 3. สำนักงานประมงจังหวัด เป็นหน่วยงานในพื้นที่ที่รับผิดชอบในการรับสมัครเกษตรกรและผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลเข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งบริหารสินเชื่อของโครงการฯ แนวทางการดำเนินการ ที่สำคัญ 1. สำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่เปิดรับสมัครเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล ตามคุณสมบัติที่กำหนด เพื่อคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ 2. กรมประมงจัดส่งรายชื่อพร้อมเอกสารหลักฐานของเกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการไปยังสถาบันการเงิน [ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)] เพื่อใช้ในการวิเคราะห์วงเงินกู้ของเกษตรกร และสถาบันการเงินส่งข้อมูลการวิเคราะห์กลับมายังกรมประมง เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการอนุมัติรายชื่อเกษตรกรเข้าร่วมโครงการฯ 3. คณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับพื้นที่ (มีประมงจังหวัดเป็นประธานกรรมการ) ประเมินคุณสมบัติเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล และพิจารณาอนุมัติรายชื่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลที่มีคุณสมบัติและพร้อมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด (ตามข้อ 4) เข้าร่วมโครงการฯ 4. กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจัดอบรมเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานโครงการฯ และเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ 5. ในการขอกู้เงิน ให้เกษตรกรที่ผ่านการอนุมัติเข้าร่วมโครงการฯ จัดทำเอกสารประกอบแผนการขอกู้เงินตามแบบฟอร์มที่กรมประมงกำหนด จัดทำสัญญากู้ยืมเงิน และหนังสือค้ำประกันเงินกู้ (ถ้ามี) 6. การจัดหาปัจจัยการผลิต (ลูกพันธุ์กุ้งทะเล และอาหารกุ้งทะเล) 6.1 เกษตรกรเลือกซื้อลูกพันธุ์กุ้งทะเลจากผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลที่ผ่านการอนุมัติเข้าร่วมโครงการฯ และเลือกซื้ออาหารกุ้งทะเลที่มีการขึ้นทะเบียนถูกต้องโดยเกษตรกรทำการตกลงซื้อขายกับผู้จำหน่ายอาหารกุ้งทะเล และต้องจัดทำเอกสารสัญญาซื้อขายระหว่างผู้จำหน่ายและเกษตรกร 6.2 เมื่อเลือกซื้อปัจจัยการผลิตได้แล้ว เกษตรกรขอเบิกเงินจากคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ระดับพื้นที่ 7. ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งในพื้นที่ ติดตามตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำการเลี้ยงกุ้งแก่เกษตรกรในโครงการฯ โดยกำหนดการติดตามผลการดำเนินโครงการฯ ไม่น้อยกว่า 2 ครั้งต่อรอบการผลิต เพื่อเป็นหลักประกันความสำเร็จของโครงการฯ ว่าเกษตรกรสามารถเลี้ยงกุ้งได้ประสบความสำเร็จ หรือสามารถใช้เงินกู้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ 8. เกษตรกรส่งคืนเงินกู้ยืมมายังกรมประมงตามวงเงินและระยะเวลาที่โครงการฯ กำหนด 9. กรมประมงนำเงินกู้ยืมพร้อมดอกผลที่เกิดขึ้นส่งคืนกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร (ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารที่อาจเกิดขึ้นจากเงินต้นที่กรมประมงยืมมาจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร) ระยะเวลาดำเนินการ 1. ระยะเวลาโครงการ 3 ปี นับจากวันที่ได้รับเงินกู้จากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร 2. ระยะเวลากู้ยืมเงินของเกษตรกร ไม่เกิน 2 ปี นับจากวันที่เริ่มทำสัญญาเงินกู้ กับกรมประมง งบประมาณ รวมทั้งสิ้น 510 ล้านบาท แบ่งเป็น 1. เงินกู้ยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 500 ล้านบาท กรมประมงยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเพื่อให้นำไปให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลที่เข้าร่วมโครงการฯ กู้ยืมเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิต จำนวน 1,000 ราย รายละไม่เกิน 500,000 บาท 2. เงินจ่ายขาด จำนวน 10 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 2 ของวงเงินกู้) ให้กรมประมงเป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง (ค่าฝึกอบรม ค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างสถาบันการเงินวิเคราะห์วงเงินกู้และจัดทำสัญญา ค่าประชาสัมพันธ์และติดตามการดำเนินงาน โดยมีรายละเอียดตามข้อ 3 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ตัวชี้วัดผลผลิต : เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลมีสภาพคล่องในการประกอบอาชีพ 2. ตัวชี้วัดผลลัพธ์ : อาชีพการเลี้ยงกุ้งทะเลและธุรกิจเกี่ยวเนื่องมีความมั่นคงสามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ 3. รายละเอียดงบประมาณ งบประมาณรวม 510 ล้านบาท จำแนกเป็นกู้ยืม 500 ล้านบาท และเงินจ่ายขาด 10 ล้านบาท ดังนี้ 3.1 เงินกู้ยืมจากกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร จำนวน 500 ล้านบาท ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเลที่เข้าร่วมโครงการฯ กู้ยืมเพื่อจัดหาปัจจัยการผลิต จำนวน 1,000 ราย รายละไม่เกิน 500,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้ รายการ ราคาต่อราย (บาท) จำนวน (ราย) งบประมาณ (บาท) 1. ค่าลูกพันธุ์กุ้ง 85,000 1,000 85,000,000 2. ค่าอาหารกุ้ง 415,000 1,000 415,000,000 รวมเงินกู้ 500,000 1,000 500,000,000 3.2 เงินจ่ายขาด จำนวน 10 ล้านบาท (คิดเป็นรอยละ 2 ของวงเงินกู้) ให้แก่กรมประมง เป็นค่าใช้จ่ายดังนี้ รายการ งบประมาณ (บาท) 1. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแก่เกษตรกร (แบบออนไลน์) วิทยากร 4 ราย (จำนวน 2 วัน) จำนวน 2 ครั้ง 21,600 2. ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะการจัดการฟาร์มเลี้ยงกุ้งแก่เกษตรกร (แบบออนไลน์) วิทยากร 4 ราย (จำนวน 2 วัน) จำนวน 10 ครั้ง (5 ภูมิภาค ภูมิภาคละ 2 ครั้ง) 108,000 3. ค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างนักวิชาการส่งเสริมและเจ้าหน้าที่ผู้ประสานงานโครงการฯ 3.1 นักวิชาการส่งเสริมการเลี้ยงกุ้งทะเล 12 ราย ค่าใช้จ่าย 18,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 24 เดือน รวม 5,184,000 บาท 3.2 ผู้ประสานงานส่วนกลาง 1 ราย ค่าใช้จ่าย 15,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 36 เดือน รวม 540,000 5,724,000 4. ค่าใช้จ่ายในการจัดจ้างสถาบันการเงิน วิเคราะห์วงเงินกู้ (2,040 บาทต่อสัญญา) และจัดทำนิติกรรมสัญญาเงินกู้ (1,000 บาทต่อสัญญา) 3,040,000 5. ค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการฯ ได้แก่ การประชาสัมพันธ์โครงการ การประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานระดับต่าง ๆ วัสดุสำนักงานและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ 1,106,400 รวมเงินจ่ายขาด 10,000,000 หมายเหตุ : หน่วยงานสามารถถัวจ่ายค่าใช้จ่ายได้ทุกกิจกรรม 4. คุณสมบัติและเงื่อนไขของเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล และผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลที่เข้าร่วมโครงการ 4.1 เกษตรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล 4.1.1 คุณสมบัติ (1) เป็นผู้เลี้ยงกุ้งทะเลที่จดแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (จสค.) (2) ฟาร์มต้องได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม [ได้แก่ (1) มาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) หรือ (2) มาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC) หรือ (3) มาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ.) จากกรมประมงหรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)] หรืออยู่ในระหว่างการต่ออายุการรับรองมาตรฐาน หรืออยู่ในระหว่างการยื่นขอการรับรองมาตรฐานที่ตรวจรับรองโดยกรมประมง หรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจาก มกอช. หรือได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มอื่นใดที่สากลยอมรับ เช่น Best Aquaculture Practices (BAP) หรือ Aquaculture Stewardship Council (ASC) เป็นต้น และไม่อยู่ระหว่างถูกพักใช้ใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม (3) เป็นผู้เลี้ยงกุ้งทะเลที่เข้าใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (Application for Aquatic Animal Purchasing Document: APD ในกิจกรรมการเลี้ยงกุ้งทะเล (4) เกษตรกรต้องเสนอรูปแบบการเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประสบความสำเร็จสำหรับเป็นแนวทางการเลี้ยงกุ้งภายหลังจากได้รับการอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการฯ (5) เป็นเกษตรกรที่มีขนาดพื้นที่บ่อเลี้ยงกุ้งรวมทั้งหมดอยู่ระหว่าง 4 - 10 ไร่ 4.1.2 เงื่อนไข (1) เกษตรกรต้องยินยอมให้เจ้าหน้าที่กรมประมงเข้าไปตรวจสอบกิจกรรมในฟาร์ม (2) สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ ได้ (3) หลักประกันการกู้ โดย (3.1) ใช้หลักทรัพย์ค้ำประกันตามวงเงินกู้ หรือ (3.2) ใช้หลักทรัพย์ร่วมกับใช้บุคคลค้ำประกัน หรือ (3.3) ใช้บุคคลตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปค้ำประกันหนี้ โดยให้กู้ได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/ราย และสามารถจับกลุ่มค้ำประกันเองได้ 4.1.3 แผนการคืนเงินของเกษตรกร เกษตรกร 1 ราย สามารถเบิกเงินกู้ยืมในแต่ละรอบการผลิตได้ไม่เกินค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อลูกพันธุ์กุ้ง (ตามใบจองลูกพันธุ์กุ้ง) และการจัดซื้ออาหารกุ้งตามความต้องการใช้จริง โดยมีวงเงินกู้ได้สูงสุดรายละไม่เกิน 500,000 บาทต่อรอบการผลิต โดยสามารถยื่นกู้กับกรมประมงได้รายละไม่เกิน 3 รอบการผลิต ภายในระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่เริ่มทำสัญญาเงินกู้กับกรมประมง โดยมีเงื่อนไข คือ เกษตรกรต้องชำระหนี้เงินกู้ทั้งหมด (ปลอดดอกเบี้ย) ในแต่ละรอบการผลิต คืนกรมประมงให้เสร็จสิ้นภายใน 30 วัน นับจากวันที่จับกุ้งจำหน่าย จึงได้รับสิทธิ์ในการขอรับเงินกู้ในรอบถัดไปได้ (1 รอบการผลิต ใช้ระยะเวลาการเลี้ยงประมาณ 3 - 4 เดือน) 4.2 ผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล มีคุณสมบัติ ดังนี้ 4.2.1 เป็นผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล ที่จดแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ประเภทกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล (จสค.) 4.2.2 โรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเล ต้องได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์ม (GAP หรือ CoC หรือ มกษ.) หรืออยู่ในระหว่างการต่ออายุการรับรองมาตรฐานที่ตรวจรับรองโดยกรมประมง หรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจาก มกอช. หรือได้รับการรับรองมาตรฐานฟาร์มอื่นใดที่สากลยอมรับ เช่น BAP เป็นต้น และไม่อยู่ระหว่างถูกพักใช้ใบรับรองมาตรฐานฟาร์ม 4.2.3 เป็นผู้ประกอบการโรงเพาะฟักฯ ที่เข้าใช้งานระบบโปรแกรมประยุกต์การออกหนังสือกำกับการซื้อขายสัตว์น้ำ (APD) ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา นับจากวันสมัคร 4.2.4 ต้องอยู่ในบัญชี White List Hatchery ของกรมประมง (คือ บัญชีรายชื่อผู้ประกอบการโรงเพาะฟักลูกกุ้งทะเลที่ผ่านการตรวจโรคลูกกุ้งทะเลจากกรมประมง) 4.2.5 สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการฯ ได้ 5. ประมาณการต้นทุนและรายได้ของเกษตรกร 1 ราย เนื้อที่ 5 ไร่ โดยโครงการฯ สนับสนุนเงินกู้ยืมเป็นค่าอาหารและค่าลูกพันธุ์ ส่วนค่าเบ็ดเตล็ด (ค่าน้ำมัน ไฟฟ้า ยา สารเคมี แรงงานจับ ค่าปรับปรุงบ่อ) เป็นรายจ่ายที่เกษตรกรต้องจัดหาเอง ปีที่ รุ่นที่ ต้นทุนค่าใช้จ่าย (บาท) รายได้จาก การขาย (บาท) รายได้ หลังหักค่าใช้จ่าย (บาท) ค่าลูกพันธุ์ ค่าอาหาร ค่าเบ็ดเตล็ด รวมค่าใช้จ่าย 0 85,000.00 415,000.00 315,265.00 815,265.00 - 815,265.00 1 1 85,850.00 427,450.00 321,570.30 834,870.30 1,240,000.00 405,129.70 2 85,850.00 427,450.00 321,570.30 834,870.30 1,240,000.00 405,129.70 2 1 86,700.00 440,315.00 328,001.70 855,016.70 1,200,000.00 344,983.30 2 86,700.00 440,315.00 328,001.70 855,016.70 1,200,000.00 344,983.30 รวม 430,100.00 2,150,530.00 1,614,409.00 4,195,039.00 4,880,000.00 684,961.00 6. การวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ (ทั้งโครงการ) กษ. แจ้งว่าโครงการมีความคุ้มค่า โดยได้เสนอผลการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการ ดังนี้ 6.1 มูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ (Net Present Value: NPV) เท่ากับ 490,410,537.79 บาท 6.2 อัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) เท่ากับ ร้อยละ 23.63 6.3 อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน [Benefit-to-cost (B/C) ratio] เท่ากับ 1.13 7. คณะกรรมการสงเคราะห์เกษตรกร [ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีคำสั่งมอบหมายให้หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอภัย สุทธิสังข์) เป็นประธานกรรมการ] ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 มีมติเห็นชอบโครงการฯ และให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการจัดสรรเงินกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรให้กรมประมง วงเงินกู้ยืม 500 ล้านบาท โดยจัดเก็บดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 0 ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี (พ.ศ. 2565 ? 2567) และขออนุมัติเงินจ่ายขาด 10 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการเสริมสภาพคล่องเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งทะเล ปี 2565 ระยะที่ 1ของกรมประมง 5. เรื่อง ขอยกเว้นมติคณะรัฐมนตรีห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน ในการขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนคลองเกาะผี ท้องที่ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เพื่อการกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ การขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีห้ามใช้ประโยชน์ป่าชายเลน จำนวน 4 ฉบับ ดังนี้ (1) 15 ธันวาคม 2530 (เรื่อง การจำแนกเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าชายเลน ประเทศไทย (2) 23 กรกฎาคม 2534 (เรื่อง รายงานการศึกษาสถานภาพปัจจุบันของป่าไม้ชายเลนและปะการังของประเทศ) (3) 22 สิงหาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) (4) 17 ตุลาคม 2543 (เรื่อง มติคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ ครั้งที่ 3/2543 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจัดการพื้นที่ป่าชายเลน) เพื่อขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนคลองเกาะผี ท้องที่ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ตจังหวัดภูเก็ต ในการกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงมหาดไทยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (15 ธันวาคม 2530 23 กรกฎาคม 2534 22 สิงหาคม 2543 และ 17 ตุลาคม 2543) ที่ห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลน เพื่อขอใช้ประโยชน์พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าเลนคลองเกาะผี ท้องที่ตำบลวิชิต อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ในการทำระบบกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียของเทศบาลนครภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต ซึ่งเดิมพื้นที่ดังกล่าวคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2535 ให้จังหวัดภูเก็ตผ่อนผันการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2527 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2530 และเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 เป็นระยะเวลา 30 ปี (ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2536 จนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2566) เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย เพื่อเข้าใช้ประโยชน์สำหรับการจัดทำระบบกำจัดมูลฝอยด้วยวิธีฝังกลบ แต่เนื่องจากปัจจุบัน ปริมาณขยะมูลฝอยของจังหวัดภูเก็ตที่ต้องกำจัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปี พ.ศ. 2566 คาดว่าจะมีปริมาณขยะที่จะต้องกำจัดมากกว่า 1,200 ตัน/วัน (โรงเตาเผาขยะมูลฝอยปัจจุบันรองรับการกำจัดขยะมูลฝอยได้เพียงวันละ 700 ตัน/วัน) ประกอบกับจังหวัดภูเก็ต (เทศบาลนครภูเก็ต) ไม่สามารถสรรหาพื้นที่อื่นที่เหมาะสมในการกำจัดขยะมูลฝอยได้ ดังนั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับการห้ามใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่เดิมเพื่อดำเนินการระบบกำจัดขยะมูลฝอยและบำบัดน้ำเสียต่อไป 6. เรื่อง แผนปฏิบัติการด้านควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2570) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ (คณะกรรมการฯ) เสนอ ดังนี้ 1. แผนปฏิบัติการด้านควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับชาติ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2565 - 2570) (แผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2) 2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 ไปดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการฯ รายงานว่า 1. สืบเนื่องมาจากมาตรา 8 (1) แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 บัญญัติให้คณะกรรมการนโยบายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แห่งชาติ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการ มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แผนงานและการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เกี่ยวกับมาตรการด้านภาษี รวมทั้งมาตรการต่าง ๆ ในการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตลอดจนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสภาพผู้ติดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์นโยบายแอลกอฮอล์ระดับชาติ ซึ่งเป็นแผนสำหรับปี 2554 - 2563 (10 ปี) 2. ภายหลังการสิ้นสุดของแผนยุทธศาสตร์ฯ พ.ศ. 2554 - 2563 คณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 21 ซึ่งมีกลยุทธ์สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ฯ เพื่อความต่อเนื่องและสอดคล้องกับเป้าหมายที่ยังไม่บรรลุตามที่กำหนดไว้ โดยเน้นการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อจะได้เป็นแผนที่สามารถนำสู่การปฏิบัติในพื้นที่ได้อย่างเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น 3. แผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 ที่คณะกรรมการฯ เสนอมาในครั้งนี่ เป็นแผนระดับที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมขนาดและความรุนแรงของปัญหาที่เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสังคมไทย โดยมีระยะเวลาของแผน 6 ปี (พ.ศ. 2565 - 2570) และมีเป้าหมาย 4 ประการ ได้แก่ (1) ควบคุมและลดปริมาณการบริโภคของประชาชน (2) ป้องกันนักดื่มหน้าใหม่และควบคุมจำนวนผู้บริโภค (3) ลดความเสี่ยงจากการบริโภค ทั้งในมิติของปริมาณการบริโภค รูปแบบการบริโภค และพฤติกรรมหลังการบริโภค (4) จำกัดและลดความรุนแรงของปัญหาจากการบริโภค และประกอบด้วย 7 กลยุทธ์ ซึ่งมีมาตรการหรือกิจกรรมหลักภายใต้กลยุทธ์ที่อ้างอิงและปรับปรุงจากมาตรการแนะนำสำหรับการจัดการปัญหาแอลกอฮอล์ที่ควรดำเนินการและมีความคุ้มค่าที่สุด (SAFER)2 ขององค์การอนามัยโลก ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยภายใต้กรอบวงเงิน 339.30 ล้านบาท3 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ หัวข้อ สาระสำคัญ กลยุทธ์ที่ 1 ควบคุมและจำกัดการเข้าถึง เป้าหมายกลยุทธ์ เพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยรวมและในประชากรกลุ่มเสี่ยงผ่านกลไกการควบคุมให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสินค้าราคาแพง หาซื้อยาก และเพิ่มสัดส่วนจำนวนประชากรต่อใบอนุญาตในการเข้าถุงจุดจำหน่ายของประชาชนขึ้นจากปี 2562 ตัวชี้วัดหลัก สัดส่วนจำนวนประชากรต่อใบอนุญาตจำหน่ายสุราเพิ่มขึ้น ค่าเป้าหมายรายปี ปี 2565 2566 2567 2568 2569 2570 (คน/ใบอนุญาต) 138 152 167 184 202 245 งบประมาณ 96.70 ล้านบาท โครงการสำคัญ - โครงการควบคุมจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังการจำหน่ายสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (51.68 ล้านบาท) และการพัฒนาระบบ GIS เพื่อการจัดการข้อมูลร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร [ใช้งบประมาณของกรุงเทพมหานคร (กทม.)] หน่วยงานรับผิดชอบ: กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนและ กทม. - โครงการพัฒนาระบบและกลไกการบังคับใช้กฎหมาย (45 ล้านบาท) โดยดำเนินการผ่านกิจกรรม เช่น (1) การประชาสัมพันธ์และการลงพื้นที่ตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมายการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานประกอบการ รวมถึงบริเวณรอบสถานศึกษา (2) การทบทวนและพัฒนากฎหมายควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมควบคุมโรค สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กทม. กรมสรรพสามิต กลยุทธ์ที่ 2 ควบคุมพฤติกรรมการขับขี่หลังการดื่ม เป้าหมายกลยุทธ์ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่ยานพาหนะภายหลังการดื่มแอลกอฮอล์ ตัวชี้วัดหลัก (1) ร้อยละของผู้ขับขี่/ผู้โดยสารที่ประสบอุบัติเหตุทางถนนอันเกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลง (2) จำนวนการสุ่มตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในลมหายใจเพิ่มขึ้น (3) ร้อยละของผู้ขับขี่ที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนได้รับการตรวจวัดระดับแอลกอฮอล์ในเลือดเพิ่มขึ้น ค่าเป้าหมายรายปี ปี 2565 2566 2567 2568 2569 2570 (1) (ร้อยละ) 15.5 15 14.5 14 13.5 13 (2) (ครั้ง) 98,000 99,000 100,000 101,000 102,000 103,000 (3) (ร้อยละ) 50 60 70 80 90 100 งบประมาณ 15 ล้านบาท ตัวอย่าง โครงการสำคัญ - โครงการควบคุมพฤติกรรมการขับขี่หลังการดื่ม โดยมีกิจกรรม เช่น (1) การพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ตำรวจและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการตั้งด่านตรวจระดับแอลกอฮอล์ทางลมหายใจอย่างสุ่ม (1 ล้านบาท) และ (2) การฟื้นฟูผู้ถูกคุมความประพฤติเนื่องจากขับรถขณะเมาสุราแบบเข้มข้น (13.5 ล้านบาท) หน่วยงานรับผิดชอบ: กรมควบคุมโรค กรมคุมประพฤติ ตช. โครงการพัฒนาระบบการเก็บข้อมูล กรณีเมาแล้วขับ โดยการจัดการข้อมูลวิชาการและกระบวนการขับเคลื่อนการควบคุมพฤติกรรมการขับขี่หลังการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (5 แสนบาท) หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมควบคุมโรค กลยุทธ์ที่ 3 คัดกรองและบำบัดรักษาผู้มีปัญหาจากสุรา เป้าหมายกลยุทธ์ เพื่อจัดการให้ผู้มีปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้รับการดูแลรักษา ตามมาตรฐานที่เหมาะสม ตัวชี้วัดหลัก (1) ร้อยละของผู้มารับการบริการในสถานบริการสุขภาพ อายุ 15 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น (2) ร้อยละของผู้ที่มีพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ระดับความเสี่ยงปานกลางและความเสี่ยงสูงได้รับบริการบำบัดรักษาเพิ่มขึ้น ค่าเป้าหมายรายปี ปี 2565 2566 2567 2568 2569 2570 (1) (ร้อยละ) 45 50 55 60 65 70 (2) (ร้อยละ) 10 15 20 25 30 40 งบประมาณ 22.20 ล้านบาท ตัวอย่าง โครงการสำคัญ - โครงการพัฒนาหลักเกณฑ์และระบบติดตามผลการบำบัด ฟื้นฟูสภาพ โดยมีกิจกรรม เช่น (1) จัดทำหลักเกณฑ์การบำบัดรักษาผู้มีปัญหาจากสุรา (4.30 ล้านบาท) และ (2) พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการตามสิทธิการรักษาพยาบาล (2.40 ล้านบาท) หน่วยงานรับผิดชอบ: กรมควบคุมโรค - โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการบำบัดและผู้ดูแลรักษาผู้มีปัญหาจากสุรา ผ่านการดำเนินกิจกรรม เช่น การพัฒนาศักยภาพบุคลากรเรื่องการคัดกรอง ให้คำปรึกษาเทคนิคการบำบัดแบบสั้น (2.1 ล้านบาท) เป็นต้น หน่วยงานที่รับผิดชอบ: กรมการแพทย์ กรมสุขภาพจิต - โครงการพัฒนาและสนับสนุนการจัดบริการบำบัดรักษานอกระบบบริการสุขภาพ ผ่านกิจกรรม เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด (สายด่วน 1413) (12 ล้านบาท) เป็นต้น หน่วยงานที่รับผิดชอบ: ศูนย์ปรึกษาเพื่อการเลิกสุราและการเสพติด กลยุทธ์ที่ 4 ควบคุมการโฆษณาส่งเสริมการขายและการให้ทุนอุปถัมภ์ เป้าหมายกลยุทธ์ สามารถเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายควบคุมการโฆษณาและการสื่อสารการตลาดของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามเจตนารมณ์ของกฎหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อคุ้มครองสังคมและเยาวชนมิให้เป็นนักดื่มหน้าใหม่ ตัวชี้วัดหลัก (1) ร้อยละของเรื่องร้องเรียนด้านโฆษณา การสื่อสารการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา (2) ร้อยละความสำเร็จของการตรวจสอบโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้าข่ายผิดกฎหมายมากขึ้นจากปีที่ผ่านมา (3) ร้อยละของหน่วยงานของรัฐที่ไม่รับทุนอุปถัมภ์จากธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ค่าเป้าหมายรายปี ปี 2565 2566 2567 2568 2569 2570 (1) (ร้อยละจากปีก่อนหน้า) 10 10 10 10 10 10 (2) (ร้อยละจากปีก่อนหน้า) 15 20 25 30 35 40 (3) (ร้อยละจากปีก่อนหน้า) 10 10 10 10 10 10 งบประมาณ 141.20 ล้านบาท ตัวอย่าง โครงการสำคัญ - โครงการติดตามเฝ้าระวังการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย ประกอบด้วยกิจกรรม เช่น (1) จัดเวทีสัมมนาสร้างความร่วมมือให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (3 ล้านบาท) (2) พัฒนาบุคลากร (เครือข่ายภาคประชาชน) ด้านกฎหมายควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการร้องเรียนผ่านระบบสารสนเทศเพื่อเฝ้าระวังการละเมิดกฎหมายควบคุมยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (Tobacco & Alcohol Surveillance System: TAS (6 ล้านบาท) เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบ: กรมควบคุมโรค - โครงการส่งเสริมการรับรู้ให้รู้เท่าทันกลยุทธ์การโฆษณาและสื่อสารการตลาดของธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เชิงรุก ซึ่งมีกิจกรรม เช่น (1) รณรงค์เชิงรุกสะท้อนปัญหาการโฆษณาสื่อสารการตลาด (45.6 ล้านบาท) (2) จัดทำข้อตกลง (MOU) ร่วมกับหน่วยงานราชการและเสนอหน่วยงานราชการดีเด่นรับรางวัลในวันงดดื่ม (15 ล้านบาท) เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบ: กรมควบคุมโรค - โครงการเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีกิจกรรม เช่น (1) อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากร (พนักงานเจ้าหน้าที่) ด้านการจัดการข้อร้องเรียนและบังคับใช้กฎหมาย ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 (6 ล้านบาท) (2) ลงพื้นที่ปฏิบัติงานเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 รวมถึงการติดตามผลการดำเนินงาน โดยมีแผนการปฏิบัติงานเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ได้แก่ การเฝ้าระวังทางสื่อและการลงพื้นที่ตรวจสอบสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 24 ครั้ง/ปี/จังหวัด (39 ล้านบาท) เป็นต้น หน่วยงานรับผิดชอบ: กรมควบคุมโรค กลยุทธ์ที่ 5 ขึ้นราคาผ่านระบบภาษี เป้าหมายกลยุทธ์ เพื่อพัฒนากลไกด้านมาตรการภาษีและราคาโดยมีระบบการคิดภาษีที่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และโปร่งใสตรวจสอบได้ รวมถึงมีมาตรการกำหนดราคาขั้นต่ำ (minimum unit pricing) ตามปริมาณแอลกอฮอล์ในเครื่องดื่ม การผูกอัตราภาษีกับเงินเฟ้อ และลดการสนับสนุนจากภาครัฐไปยังธุรกิจแอลกอฮอล์ ตัวชี้วัดหลัก มีระบบการคิดภาษีมาใช้ในการขึ้นภาษีให้เหมาะสม ค่าเป้าหมาย มีระบบการคิดภาษีที่เหมาะสม 1 ระบบ ในปี 2568 งบประมาณ - ตัวอย่าง โครงการสำคัญ - โครงการสนับสนุนการพัฒนากลไกด้านมาตรการภาษี และราคาที่มีระบบคิดภาษีที่เหมาะสม โดยจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายแนวทางการขึ้นภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หน่วยงานรับผิดชอบ: กรมควบคุมโรค ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา - โครงการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นอกระบบภาษี โดยดำเนินการสกัดกั้นการลักลอบขนส่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่นำเข้าผิดกฎหมายจากต่างประเทศในช่วงเทศกาลสำคัญ หน่วยงานรับผิดชอบ: กรมศุลกากร กลยุทธ์ที่ 6 สร้างค่านิยมเพื่อลดการดื่ม เป้าหมายกลยุทธ์ ประชาชนให้คุณค่าเพิ่มมากขึ้นต่อการตัดสินใจที่จะไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตัวชี้วัดหลัก ค่าเฉลี่ยการให้คุณค่าต่อการตัดสินใจที่จะไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชน (ข้อมูลจากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน: สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) ค่าเป้าหมายรายปี อ้างอิงค่าเฉลี่ยฯ ปี 2564 เป็นค่าเฉลี่ยฯ ฐาน (baseline) ปี 2567 2570 ค่าเฉลี่ยฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จาก baseline เพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จาก baseline งบประมาณ 47.60 ล้านบาท ตัวอย่าง โครงการสำคัญ - โครงการสื่อสาร รณรงค์ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่แสดงถึงผลกระทบต่อตนเองและสังคมจากการดื่มแอลกอฮอล์ ผ่านการดำเนินกิจกรรม เช่น จัดตั้งเครือข่ายการสื่อสารสร้างค่านิยมลดการดื่ม (Alcohol Voice) (3 ล้านบาท) ทำความเข้าใจต่อรากเหง้าของปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในแต่ละบริบทสังคม (3 ล้านบาท) ทำให้สังคมตระหนักถึงปัญหาภัยเหล้ามือสอง ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม (3 ล้านบาท) ร่วมมือกับสื่อสารมวลชนและกลุ่มคนที่มีอิทธิพลต่อความคิดและการตัดสินใจ (Influencer) ในการสร้างความตระหนักต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชาชนทุกกลุ่ม หน่วยงานรับผิดชอบ: กรมควบคุมโรค กรมประชาสัมพันธ์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า - โครงการสร้างทางเลือก มาตรการเชิงบวก และเพิ่มโอกาสในการไม่ดื่ม โดยมีกิจกรรม เช่น ส่งเสริมงานบุญประเพณีเทศกาล งานเลี้ยงปลอดเหล้า (9 ล้านบาท) รณรงค์งดเหล้าเข้าพรรษาและพัฒนาการรณรงค์งดเหล้าโดยไม่ใช้หลักศาสนา (12 ล้านบาท) หน่วยงานรับผิดชอบ: กรมควบคุมโรค กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กลยุทธ์ที่ 7 ระบบสนับสนุนและบริหารจัดการที่ดี เป้าหมายกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เข้มแข็ง สามารถจัดการปัญหาแอลกอฮอล์รวมถึงขยายผลได้ และสร้างกลไกจัดการปัญหาแอลกอฮอล์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อลดจำนวนผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตัวชี้วัดหลัก จำนวนจังหวัดที่สามารถลดสัดส่วนผู้ดื่มแอลกอฮอล์ได้เทียบกับปีที่ผ่านมา ค่าเป้าหมายรายปี ปี 2565 2566 2567 2568 2569 2570 (จังหวัด) 45 50 55 60 65 70 งบประมาณ 16.60 ล้านบาท ตัวอย่าง โครงการสำคัญ - โครงการพัฒนาระบบและกลไกสนับสนุนการดำเนินนโยบายในระดับต่าง ๆ โดยมีกิจกรรม เช่น พัฒนาการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการควบคุมและลดปัญหาจากแอลกอฮอล์ (9 ล้านบาท) พัฒนาช่องทางการสื่อสารที่รวดเร็ว ชัดเจน ทั้งสื่อกระแสหลักและสื่อสังคมออนไลน์สำหรับสร้างความเข้าใจนโยบายสาธารณะ (1.6 ล้านบาท) พัฒนาระบบการจัดสรรทรัพยากรและงบประมาณให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา หน่วยงานรับผิดชอบ: กรมควบคุมโรค สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า - โครงการพัฒนาองค์ความรู้และการติดตาม ประเมินผลเชิงระบบการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประเทศ (6 ล้านบาท) โดยมีกิจกรรม เช่น พัฒนาระบบรายงานและจัดเก็บข้อมูลระดับจังหวัดออนไลน์ให้เข้าถึงได้ง่าย พัฒนาตัวชี้วัดที่สำคัญระดับประเทศและจังหวัด หน่วยงานรับผิดชอบ: กรมควบคุมโรค ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา 4. การควบคุมปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 จะส่งผลกระทบเชิงบวกทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เช่น (1) ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่เกิดจากโรคทุกโรคที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลดลง (2) ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ลดลงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม และอุบัติเหตุทางถนนลดลงด้วย และ (3) ประเทศไทยได้รับการยอมรับการเป็นหนึ่งในผู้นำการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับนานาชาติ 5. สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒนาฯ) ในคราวประชุมครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของแผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 เพื่อเป็นกรอบทิศทางในการขับเคลื่อนการลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ได้ตามเป้าหมาย นำไปสู่การสร้างสุขภาวะที่ดีของประชาชนและลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการสูญเสียเนื่องมาจากโรคและความรุนแรงที่เกิดจากการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ในที่สุด โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค) ได้ดำเนินการปรับแก้ไข แผนปฏิบัติ การฯ ระยะที่ 2 ตามข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาฯ เรียบร้อยแล้ว4 และคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีมติเห็นชอบการดำเนินการปรับแก้ไขดังกล่าวด้วยแล้ว ?______________________________ 1 เปลี่ยนชื่อจาก ?แผนยุทธศาสตร์? เป็น ?แผนปฏิบัติการ? เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 (เรื่อง การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ) 2 มาตรการ SAFER ประกอบด้วย (1) ควบคุมการเข้าถึง (Strengthen restrictions on alcohol availability) (2) ควบคุมพฤติกรรมการขับขี่หลังการดื่ม (Advance and enforce drink driving counter measures) (3) อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงการตรวจคัดกรองและการบำบัดรักษา (Facilitate access to screening, brief interventions and treatment) (4) ควบคุมการโฆษณา ส่งเสริมการขาย และการให้ทุนอุปถัมภ์ (Enforce bans or comprehensive restrictions on alcohol advertising, sponsorship, and promotion) (5) ขึ้นราคาผ่านระบบภาษี และนโยบายด้านราคา (Raise prices on alcohol through excise taxes and pricing policies) 3 ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 4 แผนปฏิบัติการฯ ระยะที่ 2 กำหนดกลุ่มเป้าหมายของตัวชี้วัด ความชุกของผู้บริโภคในประชากรอายุ 15 - 19 ปี ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อเสนอแนะของสภาพัฒนาฯ ในส่วนดังกล่าว ที่เสนอแนะให้เพิ่มเติมแนวทางที่เฉพาะเจาะจงให้สอดรับกับพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มเป้าหมายประชากรอายุ 18 - 24 ปี ทั้งนี้ เนื่องจากประชากรอายุ 15 - 19 ปี เป็นกลุ่มอายุที่กฎหมายกำหนดมิให้ผู้ใดขายแอลกอฮอล์ให้ การกำหนดตัวชี้วัดสำหรับประชากรกลุ่มนี้ทำให้สามารถประเมินประสิทธิภาพของการควบคุมการเข้าถึงของเยาวชนได้ ตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ที่ต้องการป้องกันเด็กและเยาวชนมิให้เข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้โดยง่าย 7. เรื่อง การขอใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อชดเชยรายได้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละประเภทใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 1,970.13 ล้านบาท เพื่อชดเชยรายได้ให้แก่ กทม. เมืองพัทยา เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปี พ.ศ. 2563 จำนวน 227 แห่ง ประกอบด้วย 1) กทม. จำนวนเงินชดเชย 1,245.75 ล้านบาท 2) เมืองพัทยา จำนวนเงินชดเชย 37.73 ล้านบาท 3) เทศบาลนคร 30 แห่ง จำนวนเงินชดเชย 332.10 ล้านบาท 4) เทศบาลเมือง 195 แห่ง จำนวนเงินชดเชย 354.55 ล้านบาท รวมจำนวนเงินชดเชย 1,970.13 ล้านบาท สำหรับเงินชดเชยรายได้ฯ ส่วนที่เหลือ เห็นควรพิจารณาชดเชยตามสมควรต่อไป โดยขึ้นอยู่กับสภาวะเศรษฐกิจและฐานะทางการเงินการคลังของรัฐบาล ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ สาระสำคัญของเรื่อง กระทรวงมหาดไทย เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงินจำนวน 1,970.13 ล้านบาท เป็นเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อชดเชยรายได้ให้แก่กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา เทศบาลนคร และเทศบาลเมืองที่ได้รับผลกระทบจากการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประจำปี พ.ศ. 2563 รวมทั้งสิ้น 227 แห่ง เนื่องจากหน่วยงานดังกล่าวได้รับผลกระทบจากการลดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบางประเภท สำหรับปีภาษี พ.ศ. 2563 ทำให้รายได้จากการจัดเก็บภาษีดังกล่าวลดลงเป็นจำนวนมาก (จำนวน 21,890.49 ล้านบาท เมื่อเทียบกับรายได้ที่จัดเก็บได้ในปี พ.ศ. 2562) ซึ่งส่งผลกระทบต่อประมาณการรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกอบกับที่ผ่านมา อปท. กลุ่มนี้ยังไม่ได้รับการชดเชยรายได้ดังกล่าว ในขณะที่ อปท. ประเภทอื่นที่ได้รับผลกระทบในลักษณะเดียวกัน ได้แก่ เทศบาลตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบเงินอุดหนุนทั่วไปเพื่อชดเชยรายได้ดังกล่าวแล้ว จำนวน 10,067.59 ล้านบาท ดังนั้น ในครั้งนี้ อปท. กลุ่มนี้จึงมีความจำเป็นต้องขอรับการจัดสรรงบประมาณข้างต้น เพื่อให้มีรายได้เพียงพอที่จะดูแลและจัดทำบริการสาธารณะและกิจการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนและท้องถิ่น ซึ่งคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีมติเห็นชอบ และสำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่า นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ อปท. ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นภายในวงเงิน 1,970.13 ล้านบาทด้วยแล้ว 8. เรื่อง การเรียกให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียน ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการเรียกให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียน ปีบัญชี 2565 จำนวนเงินทั้งสิ้น 14,377.57 ล้านบาท ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินโดยเร็วหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน (คณะกรรมการฯ) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง คณะกรรมการฯ รายงานว่า กรมบัญชีกลาง [กระทรวงการคลัง (กค.)] ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ได้เสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามนัยมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาการกำหนดจำนวนเงินสะสมสูงสุด และการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน พ.ศ. 2561 ซึ่งในคราวประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน จำนวนเงินทั้งสิ้น 14,377.57 ล้านบาท1 1กรมบัญชีกลางในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า ปีบัญชี 2565 มีทุนหมุนเวียนที่มีทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนที่ต้องนำส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินตามมาตรา 6 มาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาการกำหนดจำนวนเงินสะสมสูงสุด และการนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน พ.ศ. 2561 รวมทั้งสิ้นจำนวน 30 ทุน คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 44,419.64 ล้านบาท (รวมถึงกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานที่เสนอในครั้งนี้) ทั้งนี้ สำหรับทุนหมุนเวียนที่เหลืออีกจำนวน 29 ทุน ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ จะได้นำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการฯ พิจารณาก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป 9. เรื่อง ผลการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน พ.ศ. 2565 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ รายงานผลการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน พ.ศ. 2565 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (17 มิถุนายน 2545) ให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ (สสช.) จัดเก็บข้อมูลและสถิติตัวเลข รวมทั้งสำรวจและสอบถามประชาชนเกี่ยวกับนโยบายหลัก ๆ ของรัฐบาลแล้วรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ] ทั้งนี้ ดศ. โดย สสช. ได้ดำเนินการจัดทำโครงการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน พ.ศ. 2565 โดยจัดเก็บข้อมูล จากผู้นำหมู่บ้าน/ชุมชน และบันทึกข้อมูลผ่านเว็บไซต์ http://tns.nso.go.th ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์-15 มีนาคม 2565 ซึ่งใช้กรอบบัญชีหมู่บ้าน/ชุมชนของกระทรวงมหาดไทย 87,573 หมู่บ้าน/ชุมชน (หมู่บ้าน 55,827 แห่ง และชุมชน 31,746 แห่ง) โดย 5 อันดับแรกของปัญหาความเดือดร้อน คือ ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ ร้อยละ 42.7 รายได้ไม่พอกับรายจ่าย ร้อยละ 26.8 ว่างงาน/ตกงาน ร้อยละ 23.9 สินค้าราคาแพง ร้อยละ 23.3 และค่าครองชีพสูง ร้อยละ 15.8 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. สรุปผลการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน พ.ศ. 2565 1.1 ความเดือดร้อนของคนในหมู่บ้าน/ชุมชน ประเด็น สรุปผลสำรวจ (1) ผลผลิตทางการเกษตรราคาตกต่ำ พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยละ 72.4 บึงกาฬ ร้อยละ 71.0 บุรีรัมย์ ร้อยละ 68.4 ลำพูน ร้อยละ 68.3 และพิษณุโลก ร้อยละ 68.1 (2) รายได้ไม่พอกับรายจ่าย พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดตรัง ร้อยละ 62.4 ภูเก็ต ร้อยละ 53.3 ราชบุรี ร้อยละ 48.4 นราธิวาส ร้อยละ 43.4 และตราด ร้อยละ 46.7 (3) ว่างงาน/ตกงาน พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต ร้อยละ 72.5 นราธิวาส ร้อยละ 46.2 ปัตตานี ร้อยละ 45.3 อุดรธานี ร้อยละ 44.4 และกระบี่ ร้อยละ 39.4 (4) น้ำใช้ทำการเกษตรไม่เพียงพอ พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย ร้อยละ 42.8 แพร่ ร้อยละ 32.5 สิงห์บุรี ร้อยละ 29.7 ลำปาง ร้อยละ 28.6 และอุตรดิตถ์ ร้อยละ 24.3 (5) น้ำสำหรับอุปโภค-ลริโภคในครัวเรือนไม่ เพียงพอ พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้อยละ 21.5 เชียงราย ร้อยละ 21.3 น่าน ร้อยละ 9.2 อุตรดิตถ์ ร้อยละ 8.7 และกระบี่ ร้อยละ 8.5 (6) ยาเสพติดแพร่ระบาด พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ร้อยละ 17.7 ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 10.6 สตูล ร้อยละ 9.6 นราธิวาส ร้อยละ 7.7 และบึงกาฬกับกาพสินธุ์มีสัดส่วนเท่ากัน ร้อยละ 7.5 (7) ถนนเป็นลูกรัง/เส้นทางสัญจรไม่สะดวก พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้อยละ 19.7 เชียงราย ร้อยละ 6.5 ตาก ร้อยละ 6.3 กระบี่ ร้อยละ 6.0 และนครราชสีมา ร้อยละ 5.6 (8) ไม่มีเอกสารสิทธิ์ในที่ดินทำกิน พบว่า 5 อันดับแรกของจังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ร้อยละ 16.5 น่าน ร้อยละ 15.3 ตาก ร้อยละ 5.7 อุตรดิตถ์ ร้อยละ 4.5 และแพร่ ร้อยละ 4.0 1.2 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประโยชน์ต่อคนในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีประโยชน์ต่อคนในหมู่บ้าน/ชุมชนมากที่สุด คือ โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ร้อยละ 97.6 รองลงมา ได้แก่ โครงการคนละครึ่ง ร้อยละ 96.5 โครงการ ม. 33 เรารักกัน ร้อยละ 74.8 โครงการเราเที่ยวด้วยกัน ร้อยละ 38.3 โครงการยิ่งใช้ ยิ่งได้ ร้อยละ 31.1 ทัวร์เที่ยวไทย ร้อยละ 31.0 และช้อปดีมีคืน ร้อยละ 30.1 1.3 แนวทาง/มาตรการป้องกันให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ได้มากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ฉีดวัคซีนเข็มแรก ร้อยละ 81.4 ปฏิบัติตัวตามมาตรการของสาธารณสุข ร้อยละ 80.3 ขอความร่วมมือประชาชนงดเดินทางหากไม่จำเป็น ร้อยละ 61.7 ปิดสถานบริการ/ร้านค้าที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ร้อยละ 40.0 และแจก ATK ให้ทุกครัวเรือน ร้อยละ 38.0 2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย จากผลการสำรวจความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน พ.ศ. 2565 เพื่อให้รัฐบาลและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องใช้ติดตาม ประเมินผลโครงการต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนได้อยู่ดีมีสุข มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายที่สำคัญ เช่น 2.1 ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ เพื่อให้สามารถพึ่งตัวเองได้ 2.2 ควรมีการสนับสนุนวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนแหล่งน้ำในพื้นที่การเกษตร เช่น การทำฝนเทียม ขุดลอกหนอง บึง สระเก็บน้ำ และอุโมงค์ผันน้ำ 2.3 ควรส่งเสริมและสนับสนุนประชาชนในพื้นที่ขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคให้รู้ถึงวิธีการนำน้ำที่ใช้แล้วกลับมาใช้ประโยชน์อย่างรู้คุณค่า 2.4 ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยี เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งโครงการของภาครัฐ (โครงการเน็ตประชารัฐ) ได้ดำเนินการให้สิทธิ์เกษตรกรเข้าไปใช้งานอินเทอร์เน็ตนานกว่ากลุ่มอาชีพอื่น ๆ 2.5 ควรมีการติดตาม ตรวจสอบ และแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชนในระดับพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว และทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่ 10. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในห้วงตุลาคม 2564-มีนาคม 2565 คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) รายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในห้วงเดือนตุลาคม 2564-มีนาคม 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 มาตรา 9 (12) ที่บัญญัติให้ กมช. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญหรือแนวทางการพัฒนามาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ให้คณะรัฐมนตรีรับทราบ] ซึ่งในการประชุม กมช. ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้รายงานเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ 1. สถิติเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ สามารถจำแนกประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ศูนย์ประสานรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (ศปช.) ได้ดำเนินการสนับสนุนการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์และตรวจพบมากที่สุด ดังนี้ ประเภทภัยคุกคามทางไซเบอร์ จำนวน (เหตุการณ์) (1) Hacked Website [การพนันออนไลน์ การปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูล (Website Phishing) การโจมตีเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลเผยแพร่หน้าเว็บไซต์ (Website Defacement)] 52 (2) ข้อมูลรั่วไหล 26 (3) จุดอ่อนช่องโหว่ 23 (4) Ransomware1 11 (5) อื่น ๆ 32 รวม 144 2. สถิติการปฏิบัติในการรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ ดังนี้ การดำเนินการ จำนวน (1) แจ้งเตือนเหตุการณ์ ให้คำปรึกษา และแนะนำในการแก้ไขปัญหา 124 เหตุการณ์ (2) การแจ้งเตือนข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ 11 รายงาน (3) การประเมินความเสี่ยงและทดสอบการเจาะระบบ 2 หน่วยงาน (4) การตอบสนองและรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ 7 เหตุการณ์ (5) การเผยแพร่ข้อมูลภัยคุกคามและข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ 158 รายงาน (6) การจัดอบรมเพื่อสร้างความตระหนักรู้ 71 หน่วยงาน รวม 373 3. ประเภทของหน่วยงานที่ถูกโจมตีด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์มากที่สุด 5 อันดับแรก ดังนี้ ประเภทหน่วยงาน (แบ่งตามภารกิจหรือบริการ) จำนวน (เหตุการณ์) (1) หน่วยงานด้านการศึกษา 36 (2) หน่วยงานด้านสาธารณสุข 29 (3) หน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ 24 (4) หน่วยงานด้านพลังงานและสาธารณูปโภค 8 (5) ผู้ประกอบกิจการให้เช่าพื้นที่เว็บไซต์หรือที่เป็นดาต้าเซ็นเตอร์ 7 รวม 104 4. เหตุการณ์สำคัญในห้วงเดือนตุลาคม 2564-มีนาคม 2565 ดังนี้ 4.1 ข้อมูลของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษรั่วไหล โดยเป็นข้อมูลส่วนบุคคล เช่น รหัสสถานพยาบาล ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน 108,000 ข้อมูล ถูกเผยแพร่ลงบนเว็บไซต์ RaidForums จากเหตุการณ์ดังกล่าว ศปช. ได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนเร่งด่วนไปยังสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษให้รับทราบถึงสถานการณ์ เพื่อแนะนำการแก้ไขและป้องกันเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้ถูกโจมตีซ้ำ 4.2 เปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ (สนง. ศร.) โดยผู้โจมตีเว็บไซต์ได้ทำการเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บไซต์เป็นวิดีโอจากผู้ใช้ YouTube ที่ชื่อว่า ?Death Grips? ชื่อเพลง Guillotine (It goes Yah) เข้าแทนที่ โดย สนง. ศร. ได้ดำเนินการตรวจสอบและได้สร้างหน้าเว็บไซต์แบบคงที่ (Website Static) เพื่อใช้งานแทนตามคำแนะนำของ ศปช. 4.3 แฝงเว็บไซต์พนันออนไลน์บนเว็บไซต์สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน (สผผ.) โดยเป็นการโจมตีเว็บไซต์เพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูลเผยแพร่หน้าเว็บไซต์ (Website Defacement) ทำให้หน้าเว็บไซต์กลายเป็นการโฆษณาเว็บไซต์การพนัน จากเหตุการณ์ดังกล่าว ศปช. ได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนเร่งด่วนไปยัง สผผ. ให้รับทราบสถานการณ์ เพื่อดำเนินการตรวจสอบแก้ไขหน้าเว็บไซต์และระบบที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามมาตรฐานและมีความมั่นคงปลอดภัย 4.4 เฝ้าระวังสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ จากกรณีความขัดแย้งระหว่างประเทศ จากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียกับประเทศยูเครน ทำให้เกิดปฏิบัติการที่เรียกว่า ?สงครามไฮบริด? ซึ่งมีการปฏิบัติการโจมตีทางทหารและการโจมตีทางไซเบอร์ระหว่างประเทศคู่ขัดแย้งกันเองและประเทศที่เป็นพันธมิตร จากกรณีความขัดแย้งดังกล่าวสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติได้จัดประชุมเตรียมการป้องกันรับมือด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ร่วมกับหน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแลและ ศปช. เพื่อประมวลสถานการณ์และแนวทางป้องกันรับมือการโจมตีทางไซเบอร์ โดยมีหน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแลเข้าร่วม 19 หน่วยงาน และ ศปช. เข้าร่วม 5 ศูนย์ 4.5 การโจมตีทางไซเบอร์ต่อระบบ MOPH Immunization Center (หมอพร้อม) พบหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ (IP Address) ที่น่าสงสัย 2 หมายเลขที่มีการโจมตีระบบหมอพร้อมเป็นจำนวนมากจนผิดปกติ ศปช. จึงประสานไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ระงับการโจมตีจากแหล่งที่มาของหมายเลขดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่พบว่ามีข้อมูลรั่วไหล 5. แนวโน้มเหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ในอนาคต คาดการณ์ว่าการโจมตีด้วยการปลอมแปลงหน้าเว็บไซต์จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูล (Website Phishing) จะมีโอกาสพบบ่อยครั้งและอาจมีรูปแบบที่แตกต่างไปขึ้นอยู่กับสถานการณ์ และช่องทางการโจมตี (เช่น ช่องทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์) หรือการโจมตีบนคลาวด์ก็อาจเกิดขึ้นได้ เพราะเป็นการโจมตีที่ทำได้ง่ายและมีโอกาสประสบความสำเร็จสูง ซึ่งวิธีการมักอิงกับสถานการณ์ปัจจุบันหรือข่าวสารในช่วงเวลานั้น ๆ เช่น การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยผู้ไม่หวังดีจะใช้วิธีการแอบอ้างการติดตามยอดผู้เสียชีวิตหรือยอดผู้ติดเชื้อเพื่อหลอกล่อให้เหยื่อหลงกล สำหรับกรณีข้อมูลรั่วไหลในอนาคตมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นและจะก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายแก่องค์กรเป็นจำนวนมาก 6. แนวทางการจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ ศปช. ได้มีการแนะนำแก่หน่วยงานต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกัน โดยสอดคล้องกับมาตรฐานหรือแนวทางปฏิบัติสากลที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) การเตรียมการและป้องกันการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การจัดเตรียมข้อมูลให้พร้อม การจัดตั้งและฝึกอบรมบุคลากรและทีมงานและการจัดหาเครื่องมือและทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำเป็น (2) การตรวจจับและวิเคราะห์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การจัดให้มีกลไกที่สามารถตรวจจับสิ่งบ่งชี้หรือลักษณะเบื้องต้นของการเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้ในเวลาอันเหมาะสม และการวิเคราะห์ข้อมูลและประวัติการใช้งานเครือข่ายและระบบงาน (3) การระงับภัยคุกคามไซเบอร์ การปราบปรามภัยคุกคามทางไซเบอร์และการฟื้นฟูระบบงานที่ได้รับผลกระทบ เช่น การลบมัลแวร์ และการปิดการใช้งานบัญชีของผู้ใช้งานที่ถูกละเมิด และ (4) การดำเนินการกิจกรรมภายหลังการระงับภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การกำหนดขั้นตอน วิธีปฏิบัติ หรือกำหนดนโยบายภายในที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีแนวทางที่ชัดเจนและการเก็บรักษาข้อมูลและพยานหลักฐานที่จำเป็นเพื่อใช้ในกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์หรือใช้ในกรณีที่ต้องการร้องทุกข์หรือดำเนินคดี 1 คือ มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (โปรแกรมประสงค์ร้ายที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อทำอันตรายกับข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ โดยสามารถเข้ารหัสลับข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อได้) 11. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาอนุมัติวงเงินโครงการสินเชื่อ EXIM Biz Transformation Loan คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอขยายระยะเวลาอนุมัติวงเงินโครงการสินเชื่อ EXIM Biz Transformation Loan (โครงการ EXIM Bizฯ) ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ซึ่งจะช่วยให้สามารถดำเนินการส่งเสริมผู้ประกอบการและให้บริการสินเชื่อได้ตามเป้าหมายภายในกรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท (ปัจจุบันมีสินเชื่อที่อยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติอีกประมาณ 3,049 ล้านบาท) รวมถึงยังเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการในการประกอบธุรกิจ และพัฒนาศักยภาพการผลิตในภาคการส่งออกของประเทศไทย สาระสำคัญของเรื่อง กค. รายงานว่า 1. ผลการดำเนินโครงการ EXIM Bizฯ ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ธสน. ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ว จำนวน 55 ราย เป็นจำนวนเงิน 1,583 ล้านบาท และ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 มียอดเบิกใช้วงเงินจำนวน 15 ราย จำนวนเงิน 299 ล้านบาท และอยู่ระหว่างการพิจารณาอนุมัติสินเชื่ออีกจำนวน 3,049 ล้านบาท 2. เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจที่ผ่านมามีความไม่แน่นอนสูงจากผลกระทบของสงครามรัสเซีย - ยูเครน และค่าเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบต่อการนำเข้าเครื่องจักรใหม่ ทำให้ผู้ประกอบการชะลอการลงทุนออกไป จึงทำให้ผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดไว้ อย่างไรก็ดี สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง มีการผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น และจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยคาดการณ์ว่า การลงทุนในภาคเอกชนในปี 2565 - 2566 จะขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 4.70 - 4.80 ส่งผลให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันมีผู้ประกอบการแจ้งความประสงค์และยื่นคำขอสินเชื่อโครงการ EXIM Bizฯ เป็นวงเงินรวมประมาณ 3,049 ล้านบาท ดังนั้น ธสน. จึงมีความจำเป็นต้องขยายระยะเวลาอนุมัติวงเงินโครงการ EXIM Bizฯ จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 โดยคาดว่า จะสามารถดำเนินการส่งเสริมผู้ประกอบการและให้บริการสินเชื่อได้ตามเป้าหมายภายใต้กรอบวงเงิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะมีส่วนช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการให้สามารถประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาอนุมัติวงเงินโครงการ EXIM Bizฯ ไม่ได้ก่อให้เกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังอยู่ภายใต้กรอบงบประมาณชดเชยเดิม รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ ยังคงเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2564 12. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 22/2565 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 22/2565 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ดังนี้ 1. อนุมัติโครงการเยียวยาศิลปินที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) (โครงการเยียวยาศิลปินที่มีอายุเกิน 65 ปีฯ) จำนวนรวม 2,459 คน กรอบวงเงินรวม 12.2950 ล้านบาท โดยใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 (แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 2) ของสำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (สป.วธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว 2. มอบหมายให้ สป.วธ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1 และดำเนินการจัดทำแผนความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) โดยเคร่งครัดต่อไป 3. รับทราบรายงานผลการคืนเงินกู้เหลือจ่ายของหน่วยงานรับผิดชอบโครงการจำนวน 16 โครงการ 17,427.4909 ล้านบาท ที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 แล้ว ทำให้กรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 คงเหลือ ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2565 เพิ่มขึ้นจาก 26,764.8384 ล้านบาท เป็น 44,192.3293 ล้านบาท 4. รับทราบแผนการเสนอผลการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ตามข้อ 2 (2) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่อยู่ระหว่างการจัดทำข้อเสนอโครงการที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และมีความจำเป็นเร่งด่วน เร่งจัดส่งข้อเสนอโครงการดังกล่าวให้ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว สาระสำคัญของเรื่อง คกง. รายงานว่า ที่ประชุม คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 22/2565 เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 มีมติเกี่ยวกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และรายงานสรุปผลการคืนเงินกู้เหลือจ่าย รวมถึงกรอบระยะเวลาในการเสนอผลการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงาน/โครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้ 1. ข้อเสนอโครงการเยียวยาศิลปินที่มีอายุเกิน 65 ปีฯ ของ วธ. มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเครือข่ายศิลปินที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค โควิด19 ซึ่งไม่สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ กรอบวงเงิน ตามข้อเสนอ กลุ่มเป้าหมาย แผนการใช้จ่าย และการดำเนินโครงการ มติ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 18.520 ล้านบาท (รายละ 5,000 บาท) - ศิลปินที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่เป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่เข้าข่ายผู้ประกันตนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ จำนวน 3,704 คน1 - ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 เดือน (ปีงบประมาณ 2565)2 - เห็นควรให้ความเห็นชอบโครงการเยียวยาศิลปินที่มีอายุเกิน 65 ปีฯ จำนวน 2,459 คน (ลดลง 1,245 คน) กรอบวงเงิน 12.2950 ล้านบาท (ลดลง 6.225 ล้านบาท)2 ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 - มอบหมายให้ สป.วธ. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ และดำเนินการตามข้อ 2 2. รายงานสรุปผลการคืนเงินกู้เหลือจ่าย รวมถึงกรอบระยะเวลาในการเสนอผลการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงาน/โครงการเพื่อขอใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ประเด็น รายละเอียด (1) ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา - หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ จำนวน 16 โครงการ ได้รายงาน คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ว่าได้ดำเนินโครงการเสร็จสิ้นและการคืนเงินกู้เหลือจ่ายให้ สบน. และส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายเข้าบัญชีรวมทั้งสิ้น 17,427.4909 ล้านบาท ตามขั้นตอนข้อ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 แล้ว ทำให้กรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 คงเหลือ ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2565 เพิ่มขึ้นจาก 26,764.8384 ล้านบาท เป็น 44,192.3293 ล้านบาท - กระทรวงการคลัง (กค.) จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการกู้เงินประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแผนงาน/โครงการให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาการกู้เงินตามมาตรา 3 แห่งพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ต้องเสนอผลการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในวันที่ 13 กันยายน 2565 - เพื่อให้ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 มีข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญของแผนงาน/โครงการ ซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงเห็นควรมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐที่อยู่ระหว่างการจัดทำข้อเสนอโครงการที่มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 และมีความจำเป็นเร่งด่วน เร่งจัดส่งข้อเสนอโครงการดังกล่าวให้คณะกรรมการฯ พิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเร็ว (2) มติ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 - รับทราบรายงานผลการคืนเงินกู้เหลือจ่ายของหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ จำนวน 16 โครงการ รวม 17,427.4909 ล้านบาท (รายละเอียดตามข้อ 3) - รับทราบแผนการเสนอผลการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของข้อเสนอแผนงานหรือโครงการเพื่อขอใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (รายละเอียดตามข้อ 4) 1 ประกอบด้วย (1) ศิลปินที่เกี่ยวกับสถานบันเทิงในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 23 จังหวัด จำนวน 1,140 คน (2) ศิลปินที่เกี่ยวกับสถานบันเทิงนอกพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 23 จังหวัด จำนวน 1,319 คน และ (3) ศิลปินประเภทอื่น ๆ ทั่วประเทศ จำนวน 1,245 คน 2 คณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของโครงการภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้กับประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 และแผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 (คณะอนุกรรมการฯ) ได้มีความเห็นประกอบการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ว่าเห็นควรเยียวยาเฉพาะกลุ่มศิลปินที่มีอายุเกิน 65 ปี ที่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ทำงานเกี่ยวกับสถานบันเทิงที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ทั่วประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 รวมทั้งให้ สป.วธ. ปรับปรุงระยะเวลาดำเนินการ แผนการดำเนินงานและแผนการใช้จ่ายเงินให้สอดคล้องกับการดำเนินการจริง โดยในส่วนของระยะเวลาดำเนินโครงการที่ชัดเจนนั้น เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ จะชี้แจงในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ต่อไป ทั้งนี้ หากปรับปรุงกลุ่มเป้าหมายตามความเห็นของคณะอนุกรรมการฯ จะทำให้กลุ่มเป้าหมายลดลงจาก จำนวน 3,704 คน เป็น จำนวน 2,459 คน และส่งผลทำให้กรอบวงเงินโครงการลดลงจาก 18.5200 ล้านบาท เป็น 12.2950 ล้านบาท 13. เรื่อง ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สองของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้ 1. ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2565 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.5 ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สองของปี 2565 ขยายตัวจากไตรมาสแรกของปี 2565 ร้อยละ 0.7 (QoQ_SA) รวมครึ่งแรกของปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 2.4 1.1 ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกบริการขยายตัวเร่งขึ้น การส่งออกสินค้า การใช้จ่ายภาครัฐ และการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวลง ขณะที่การลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลงต่อเนื่อง การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 6.9 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลให้พฤติกรรมการใช้จ่ายของประชาชนปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้นและมาตรการสนับสนุนการใช้จ่ายของภาครัฐ โดยการใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 13.7 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มนันทนาการและวัฒนธรรมร้อยละ 56.9 และร้อยละ 6.8 ตามลำดับ และการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 1.9 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.4 ในไตรมาสก่อนหน้าตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายหมวดเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้าร้อยละ 1.0 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 2.7 ชะลอลง จากการขยายตัวร้อยละ 3.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอลงของการใช้จ่ายกลุ่มไฟฟ้าและก๊าซฯ ที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.4 ในไตรมาสก่อนหน้า และการใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 3.4 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 4.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะร้อยละ 10.7 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 14.1 ในไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในไตรมาสนี้ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 34.9 จากระดับ 37.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามความกังวลเกี่ยวกับการเพิ่มขึ้นของภาระค่าครองชีพท่ามกลางความยืดเยื้อของสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ขยายตัวร้อยละ 2.4 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 7.2 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยรายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้าและบริการในระบบตลาดขยายตัวร้อยละ 17.0 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 87.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) และค่าซื้อสินค้าและบริการขยายตัวร้อยละ 1.3 และร้อยละ 0.1 ตามลำดับ สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 22.9 รวมครึ่งแรกของปี 2565 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.2 และการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 4.7 การลงทุนรวม ลดลงร้อยละ 1.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 0.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของการลงทุนภาครัฐร้อยละ 9.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 4.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการลดลงของการลงทุนรัฐบาลร้อยละ 15.1 ขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 2.9 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 18.0 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 15.1 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 20.5 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน) ส่วนการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.3 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 2.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการชะลอตัวของการลงทุนเครื่องมือเครื่องจักรที่ขยายตัวร้อยละ 3.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 5.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนก่อสร้างลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ร้อยละ 1.3 แต่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 8.0 ในไตรมาสก่อนหน้า และหมวดการก่อสร้างเอกชนอื่น ๆ ปรับตัวลดลงร้อยละ 40.9 ตามการลดลงของกิจกรรมการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีชมพูซึ่งอยู่ในช่วงสุดท้ายของการก่อสร้างก่อนที่จะเริ่มเปิดให้บริการบางส่วนในปีนี้ รวมครึ่งแรกของปี 2565 การลงทุนรวมลดลงร้อยละ 0.1 โดยการลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 6.8 ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 2.6 1.2 ด้านภาคต่างประเทศ การส่งออกสินค้า มีมูลค่า 74,523 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 9.7 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 14.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และร้อยละ 5.1 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 และร้อยละ 4.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เคมีภัณฑ์และปิโตรเคมี (ร้อยละ 4.9) เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 7.0) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ร้อยละ 9.4) ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 3.8) อุปกรณ์และเครื่องมือด้านการแพทย์ (ร้อยละ 8.0) อาหารสัตว์ (ร้อยละ 21.6) ข้าว (ร้อยละ 46.6) ยางพารา (ร้อยละ 3.0) และน้ำตาล (ร้อยละ 113.6) เป็นต้น กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 48.3) รถกระบะฯ (ลดลงร้อยละ 9.6) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 10.1) ผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 13.1) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดส่งออกหลักขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดจีน ฮ่องกง และออสเตรเลียลดลง เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 9.9 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 20.5 การนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 69,353 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 22.4 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 16.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณและราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5 และร้อยละ 13.9 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 5.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (178.4 พันล้านบาท) รวมครึ่งแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 147,811 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 12.0 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 133,359 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 19.4 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 14.5 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (485.0 พันล้านบาท) การขยายตัวทางเศรษฐกิจ มูลค่าการส่งออกของประเทศ และอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ (%YoY) GDP มูลค่าการส่งออกสินค้า อัตราเงินเฟ้อ 2563 2564 2565 2563 2564 2565 2564 2565 สูงสุดในรอบ (เดือน) ทั้งปี Q4 ทั้งปี Q1 Q2 ทั้งปี Q4 ทั้งปี Q1 Q2 ทั้งปี Q1 Q2 พ.ค. มิ.ย. ก.ค. สหรัฐฯ -3.4 5.5 5.7 3.5 1.6 -13.5 22.9 23.3 18.6 22.9 4.7 8.0 8.6 8.6 9.1 8.5 487 (มิ.ย.) ยูโรโซน -6.3 4.8 5.4 5.4 4.0 -7.1 7.5 17.9 8.8 6.91/ 2.6 6.1 8.0 8.1 8.6 8.9 307 สหราชอาณาจักร -9.3 6.6 7.4 8.7 2.9 -12.2 10.1 9.8 11.0 1.6 2.6 6.2 9.2 9.1 9.4 402 ออสเตรเลีย2/ -2.2 4.4 4.8 3.1 -7.4 27.2 37.3 23.3 27.4 2.9 5.1 6.1 84 (Q) ญี่ปุ่น -4.5 0.4 1.7 0.4 -9.1 6.4 17.9 4.4 -2.3 -0.2 0.9 2.4 2.4 2.3 87 (เม.ย.) จีน 2.2 4.0 8.1 4.8 0.4 4.0 22.7 29.7 15.6 12.8 0.9 1.1 2.2 2.1 2.5 2.7 24 อินเดีย -6.6 5.4 8.3 4.1 -14.8 41.0 43.1 29.2 24.5 5.1 6.3 7.3 7.0 7.0 95 (เม.ย.) เกาหลีใต้ -0.7 4.2 4.1 3.0 2.9 -5.5 24.5 25.7 18.4 13.0 2.5 3.8 5.4 5.4 6.0 6.3 284 ไต้หวัน 3.4 5.3 6.6 3.1 3.1 4.9 26.0 29.3 23.5 15.4 2.0 2.8 3.5 3.4 3.6 3.4 166 (มิ.ย.) ฮ่องกง -6.5 4.7 6.3 -3.9 -1.3 -0.5 23.2 26.0 2.8 -3.3 1.6 1.5 1.5 1.2 1.8 6 สิงคโปร์ -4.1 6.1 7.6 3.8 4.4 -4.1 25.9 22.1 17.1 20.9 2.3 4.6 5.9 5.6 6.7 165 อินโดนีเซีย -2.1 5.0 3.7 5.0 5.4 -2.7 45.6 41.9 35.3 38.8 1.6 2.3 3.8 3.6 4.3 4.9 80 มาเลเซีย -5.5 3.6 3.1 5.0 8.9 -2.3 26.9 27.5 18.3 23.3 2.5 2.2 2.8 2.8 3.4 12 ฟิลิปปินส์ -9.5 7.8 5.7 8.2 7.4 -8.1 5.2 14.5 9.9 4.4 3.9 3.4 5.5 5.4 6.1 6.4 45 เวียดนาม 2.9 5.2 2.6 5.1 7.7 6.9 19.0 18.9 13.3 21.3 1.8 1.9 3.0 2.9 3.4 3.1 23 (มิ.ย.) ไทย -6.2 1.8 1.5 2.3 2.5 -5.9 23.1 17.4 14.8 10.8 1.2 4.7 6.5 7.1 7.7 7.6 167 (มิ.ย.) ที่มา: CEIC รวบรวมโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หมายเหตุ: 1/ ข้อมูลถึงเดือนพฤษภาคม 2565 2/ อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียเป็นรายไตรมาส 1.3 ด้านการผลิต สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่ง ขายปลีก และการซ่อมแซมฯ และสาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวเร่งขึ้น สาขาเกษตรกรรมและสาขาการไฟฟ้าและก๊าซฯ ชะลอตัว ในขณะที่สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมและสาขาการก่อสร้างปรับตัวลดลง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 4.4 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย และปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น เช่น ข้าวเปลือก (ร้อยละ 35.6) กลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 26.9) อ้อย (ร้อยละ 7.6) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ 6.7) และไก่เนื้อ (ร้อยละ 1.0) เป็นต้น ส่วนดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ลดลง เช่น สุกร (ลดลงร้อยละ 9.0) ปาล์มน้ำมัน (ลดลงร้อยละ 8.9) มันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 9.6) กุ้งขาวแวนนาไม (ลดลงร้อยละ 10.0) และยางพารา (ลดลงร้อยละ 0.7) เป็นต้น ดัชนีราคาสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 โดยสินค้าเกษตรที่ดัชนีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น สุกร (ร้อยละ 28.9) ปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 85.1) ไก่เนื้อ (ร้อยละ 22.9) อ้อย (ร้อยละ 15.4) และยางพารา (ร้อยละ 9.4) เป็นต้น ส่วนสินค้าเกษตรที่ดัชนีราคาปรับตัวลดลง เช่น กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 23.4) เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของทั้งดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 16.3 รวมครึ่งแรกของปี 2565 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ขยายตัวร้อยละ 4.6 สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.5 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการลดลงของทุกกลุ่มการผลิต ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่การผลิตและการค้าโลก สอดคล้องกับการลดลงของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 0.7 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.0 ต่อเนื่องจากการลดลงร้อยละ 0.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) ลดลงร้อยละ 0.3 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.2 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 ? 60 ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 61.08 ต่ำกว่าร้อยละ 66.53 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 62.65 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น การผลิตคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 29.6) การผลิตพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ลดลงร้อยละ 11.6) การผลิตเหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ลดลงร้อยละ 10.6) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 14.6) การผลิตยานยนต์ (ร้อยละ 1.6) การผลิตผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ (ร้อยละ 12.2) เป็นต้น รวมครึ่งแรกของปี 2565 สาขาการผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 0.7 และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.81 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 44.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 33.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงและการเร่งขึ้นของการท่องเที่ยวในประเทศและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยในไตรมาสนี้ รายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยรวม 1.55 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ร้อยละ 85.5 เป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการผ่อนคลายการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของภาครัฐ ความคืบหน้าในการกระจายวัคซีน และการดำเนินมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่วนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยมีจำนวน 1,582,257 คน เพิ่มขึ้นในเกณฑ์สูงจากฐานที่ต่ำในปีก่อน โดยเป็นผลจากการผ่อนคลายมาตรการเดินทางเข้าประเทศแก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ การเปิดพรมแดนประเทศทุกช่องทาง ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการเดินทางออกนอกประเทศของหลายประเทศ อัตราเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 42.09 สูงกว่าร้อยละ 36.15 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 8.24 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวมครึ่งแรกของปี 2565 การผลิตสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 39.3 โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศมีจำนวน 2.08 ล้านคน และอัตราการเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 39.12 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 5 ร้อยละ 3.1 เร่งขึ้นจากการขยายตัว ร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการปรับตัวดีขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและการท่องเที่ยว รวมครึ่งแรกของปี 2565 การผลิตสาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 2.9 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 5.3 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 4.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของบริการขนส่งทางอากาศและบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียง เป็นสำคัญ รวมครึ่งแรกของปี 2565 การผลิตสาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าขยายตัวร้อยละ 4.7 1.4 เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.37 ต่ำกว่าร้อยละ 1.53 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 1.89 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 6.5 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.3 สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 8.6 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (29.7 หมื่นล้านบาท) คิดเป็นการขาดดุลร้อยละ 7.0 ของ GDP ขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 อยู่ที่ 2.2 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2565 มีมูลค่าทั้งสิ้น 10,204,305.4 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 61.1 ของ GDP 2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2565 เศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.7 ? 3.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการปรับตัวดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชนและภาคการท่องเที่ยว รวมทั้งการส่งออกสินค้าที่ขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.9 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.4 และร้อยละ 3.1 ตามลำดับ ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 6.3 ? 6.8 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 1.6 ของ GDP รายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2565 ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้ 2.1 การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.4 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 0.3 ในปี 2564 และเป็นการปรับขึ้นจากร้อยละ 3.9 ในการประมาณการครั้งก่อน โดยเป็นผลจากการขยายตัวของการบริโภคในช่วงครึ่งแรกของปีที่สูงกว่าประมาณการ เป็นสำคัญ และยังมีแนวโน้มขยายตัวในเกณฑ์ดีต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลังตามฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น และมาตรการสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศของภาครัฐ และ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในปี 2564 และเท่ากับการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการคงสมมติฐานอัตราการเบิกจ่ายงบประจำภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 ร้อยละ 98 ของวงเงินงบประมาณ รวมทั้งการเบิกจ่ายภายใต้แผนงานและโครงการที่ได้รับการอนุมัติภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท 2.2 การลงทุนรวม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 เทียบกับร้อยละ 3.4 ในปี 2564 และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในประมาณการครั้งก่อน โดย (1) การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.1 เทียบกับร้อยละ 3.3 ในปี 2564 และปรับลดจากร้อยละ 3.5 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับลดประมาณการการส่งออก และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงเร็วกว่าสมมติฐานการประมาณการครั้งที่ผ่านมา และ (2) การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.0 เทียบกับร้อยละ 3.8 ในปี 2564 และปรับลดลงจากร้อยละ 3.4 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในช่วงสามไตรมาสแรกของปีงบประมาณที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน และการปรับลดประมาณการอัตราการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ 2.3 มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 7.9 เทียบกับร้อยละ 19.2 ในปี 2564 และปรับเพิ่มจากร้อยละ 7.3 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาส่งออกจากเดิมร้อยละ 3.3 ? 4.3 ในการประมาณการครั้งก่อนเป็นร้อยละ 4.0 ? 5.0 ในการประมาณการครั้งนี้ ในขณะที่ปรับลดประมาณการปริมาณการส่งออกสินค้าจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 ในการประมาณการครั้งก่อนเป็นร้อยละ 3.4 ตามการปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก เมื่อรวมกับการปรับเพิ่มปริมาณการส่งออกบริการตามการปรับเพิ่มสมมติฐานจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2565 มีแนวโน้มที่จะขยายตัวร้อยละ 9.0 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 8.3 ในการประมาณการครั้งก่อน และร้อยละ 10.4 ในปี 2564 3. ประเด็นการบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2565 การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในช่วงที่เหลือของปี 2565 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การติดตามและดูแลกลไกตลาดเพื่อให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต ควบคู่ไปกับการดูแลกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและกลุ่มที่มีความเปราะบางต่อการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและภาระดอกเบี้ย แบบมุ่งเป้า (2) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดยให้ความสำคัญกับ (i) การบรรเทาผลกระทบแก่เกษตรกรจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบและปัญหาต้นทุนการผลิต (ii) การเตรียมการและป้องกันปัญหาจากอุทกภัย และ (iii) การเพิ่มส่วนแบ่งของเกษตรกรในรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตขั้นสุดท้าย (3) การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้รายย่อยท่ามกลางแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ทั้งภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) (4) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้า โดย (i) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้าสำคัญไปยังตลาดหลักและการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ (ii) การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า (iii) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความ ตกลงการค้าที่อยู่ในขั้นตอนการเจรจา และเตรียมศึกษาเพื่อเจรจากับประเทศคู่ค้าสำคัญใหม่ ๆ และ (iv) การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงเพื่อรองรับความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน (5) การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดย (i) การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูง (ii) การพิจารณามาตรการสินเชื่อและมาตรการสนับสนุนอื่น ๆ ให้ผู้ประกอบการในภาคการท่องเที่ยวสามารถกลับมาประกอบธุรกิจ (iii) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง และ (iv) การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ (6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2562 - 2564 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (ii) การแก้ไขปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต (iii) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (iv) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปแล้ว รวมถึงขับเคลื่อนพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษในแต่ละภูมิภาค (v) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญ ๆ และ (vi) การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูง (7) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ และ (8) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ต่างประเทศ 14. เรื่อง ผลการประชุมระดับสูงว่าด้วยทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ ?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018-2028 ครั้งที่ 2 คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอผลการประชุมระดับสูงว่าด้วยทศวรรษระหว่างประเทศแห่งการดำเนินการ ?น้ำสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน? ค.ศ. 2018 - 2028 ครั้งที่ 2 (The Second High - Level International Conference on the International Decade for Action ?Water for Sustainable Development?, 2018-2028 หรือ Second Dushanbe Water Action Decade Conference) ณ กรุงดูซานเบ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน เมื่อวันที่ 6 - 9 มิถุนายน 2565 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (7 มิถุนายน 2565) เห็นชอบร่างปฏิญญา (Final Declaration) ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ] โดย สทนช. ในฐานะผู้แทนฝ่ายไทยได้เข้าร่วมการประชุมฯ ผ่านระบบการประชุมทางไกล สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้ 1. การประชุมฯ จะมุ่งเน้นไปที่วิธีการที่รัฐบาล องค์การสหประชาชาติ องค์กรระหว่างประเทศและระดับภูมิภาค สถาบันการเงินระหว่างประเทศ และภาคส่วนต่าง ๆ ดำเนินการให้เป็นไปตามเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 และเป้าหมายที่เกี่ยวข้องกับน้ำของวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 [เช่น กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (The Paris Climate Agreement) และกรอบการดำเนินงานเซนได เพื่อการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (The Sendai Framework for Disaster Risk Reduction)] และได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญของน้ำ การสุขาภิบาล และสุขอนามัยในการแก้ไขปัญหาวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และภัยคุกคามด้านสาธารณสุขอื่น ๆ จากโรคที่เกิดจากน้ำ ตลอดจนความเชื่อมโยง ที่สำคัญระหว่างน้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในบริบทของการจัดการทรัพยากรน้ำเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับตัวและบรรเทาสภาพอากาศ 2. รับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ที่ได้รวบรวมมุมมองที่สำคัญของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการดำเนินการหลักและความเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญในวาระการประชุมด้านน้ำนำส่งต่อทั่วโลกและเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการจัดเตรียมการประชุม UN 2023 Water Decade Conference: การประชุมด้านน้ำแห่งสหประชาชาติ (การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการทบทวนการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของทศวรรษสากลว่าด้วยการดำเนินการ ?น้ำเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ปี ค.ศ. 2018 ? 2028?) ในเดือนมีนาคม 2566 ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งรัฐบาลทาจิกิสถานและเนเธอร์แลนด์เป็นเจ้าภาพร่วมและจะถูกนำเสนอในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 77 (The 77th session of the United Nations General Assembly) ในเดือนกันยายน 2565 และการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (The United Nations High - Level Political Forum on Sustainable Development) ในเดือนกรกฎาคม 2565 โดยมีสาระสำคัญ 4 เรื่อง สรุปได้ ดังนี้ 1) เรื่องน้ำสำหรับสุขภาพและประชาชน สร้างความมั่นใจว่าทุกคนสามารถเข้าถึงน้ำดื่มและการสุขาภิบาลที่ปลอดภัยและเท่าเทียม ซึ่งรวมถึงบริการที่เกี่ยวข้องและสุขอนามัยสำหรับทุกคน โดย (1) เพิ่มการเชื่อมโยงด้านสุขภาพอนามัยกับด้านน้ำเพื่อตอบสนองต่อความท้าทายของโลกภายหลังวิกฤตการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน (2) สนับสนุนความเข้มแข็งภาครัฐในการกำหนดนโยบาย การลงทุนที่เพียงพอ รวมทั้งเร่งรัดการเข้าถึงน้ำประปา ระบบสุขาภิบาลและสุขอนามัยโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง และ (3) สร้างกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านน้ำทั้งในเขตเมืองและชนบท 2) เรื่องน้ำ ความสำคัญเพื่อการดำรงชีวิต ความเท่าเทียม และการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างทั่วถึง โดย (1) ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติในทุกระดับ (2) เร่งส่งเสริมแนวทางความเชื่อมโยงด้านน้ำ-พลังงาน-อาหาร และ (3) เสริมสร้างความร่วมมือการจัดการน้ำข้ามพรมแดนและระดับภูมิภาค 3) เรื่องการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างน้ำ สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดย (1) ส่งเสริมการแก้ปัญหาด้านน้ำโดยใช้หลักธรรมชาติ การจัดการคุณภาพน้ำ และการรักษาระบบนิเวศเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (2) ลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการฟื้นคืนสภาพและการสร้างใหม่ของโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงจัดให้มีกลไกการเผชิญเหตุที่เหมาะสม และ (3) เสริมสร้างความเชื่อมโยงและการสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างแหล่งน้ำ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของทรัพยากรน้ำ 4) เรื่องการส่งเสริมความร่วมมือข้ามภาคส่วน พัฒนาความรู้ การศึกษา รวมถึงเครื่องมือและเทคโนโลยี โดย (1) ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์ การแก้ปัญหาและแนวปฏิบัติที่ดี (2) สนับสนุนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคส่วนและมุ่งเน้นการบูรณาการทุกระดับ และ (3) พัฒนาความรู้การศึกษา และการสื่อสารที่มีคุณภาพและเข้าถึงได้ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงการศึกษาระดับอุดมศึกษา รวมทั้งฝึกอบรมและการพัฒนาศักยภาพในการแก้ปัญหาน้ำสำหรับคนทุกรุ่น 3. สาระสำคัญสำหรับการประชุมด้านน้ำแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2566 โดยรวบรวมความมุ่งมั่นโดยสมัครใจจากประเทศสมาชิก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และองค์กรพันธมิตรทั่วโลกจากภายในและภายนอกภาคน้ำที่เร่งรัดดำเนินการและติดตามประเมินการดำเนินการด้านน้ำตามวาระการพัฒนาภายในปี 2573 และหลังจากปี 2573 เช่น (1) ความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการเพื่อความยั่งยืนด้านน้ำ รวมถึงน้ำดื่มและการสุขาภิบาล และการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติภายใต้ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม การขาดแคลนน้ำ และมลภาวะจากการเกษตร การบำบัดของเสีย และสารเคมี (2) เร่งดำเนินการตามเป้าหมายและมุ่งเป้าไปที่การเสริมสร้างการเจรจาทางการเมืองและทางเทคนิคเกี่ยวกับน้ำในระดับสูงตามความเหมาะสม (3) เสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคและน้ำข้ามพรมแดน โดยใช้ประโยชน์จากองค์กรและกลไกระดับภูมิภาคตามข้อตกลงและการจัดการระดับภูมิภาค (4) เน้นย้ำความจำเป็นในการบูรณาการและจัดลำดับความสำคัญด้านน้ำอย่างเข้มแข็ง สอดคล้องกัน และชัดเจนในนโยบายเศรษฐกิจของประเทศและแผนการลงทุน (5) สนับสนุนการวางแผนความจำเป็นเพื่อขอรับการสนับสนุนทรัพยากรทางการเงินและเพื่อพัฒนากลไกการสร้างรายได้โดยให้ความสำคัญกับผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด (6) สนับสนุนให้ใช้เครื่องมือตรวจสอบการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 และเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง (7) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมให้เยาวชนมีบทบาทในการประชุมด้านน้ำแห่งสหประชาชาติ พ.ศ. 2566 และประเด็น ?วาระการพัฒนาเยาวชนด้านน้ำและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ? และ (8) สนับสนุนการประกาศให้ปี 2568 เป็นปีสากลแห่งการอนุรักษ์ธารน้ำแข็งและการเสริมสร้างกลไกระหว่างประเทศเพื่ออำนวยการเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลา 15. เรื่อง ขอความเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท แห่งสหราชอาณาจักร คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับกระทรวงสิ่งแวดล้อม อาหาร และกิจการชนบท แห่งสหราชอาณาจักร โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดข้องต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทวิภาคด้านการเกษตร พืชสวน การเลี้ยงสัตว์ การประมง การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การแปรรูปอาหารและนโยบายการเกษตร ตลอดจนประเด็นอื่น ๆ ที่สนใจร่วมกันระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรมีลักษณะความร่วมมือ เช่น การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี การฝึกอบรม การสนับสนุนความร่วมมือทางเทคนิคและส่งเสริมการวิจัย ส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร และลดอุปสรรคที่มิใช่ภาษี เป็นต้น โดยมีการประชุมหารือด้านการเกษตรเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจนี้จะเป็นการลงนามในระดับปลัดกระทรวงและไม่อยู่ภายใต้คณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ของกระทรวงพาณิชย์ (พณ.) ซึ่งเป็นความร่วมมือ ด้านเศรษฐกิจและการค้าในภาพรวมระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร (ตามมติคณะรัฐมนตรี 23 มีนาคม 2564) ตลอดจนไม่ถือเป็นสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาลของแต่ละประเทศ ไม่กระทบต่อภาระผูกพันภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีที่มีอยู่ระหว่างทั้งสองฝ่าย และไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อก่อให้เกิดสิทธิหรือภาระผูกพันทางกฎหมายของทั้งสองฝ่าย 16. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2565 และเอกสารที่เกี่ยวข้อง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้ 1. เห็นชอบในหลักการต่อเอกสารผลลัพธ์ 3 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2565 (ร่างปฏิญญาฯ) (2) ร่างแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค สำหรับการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 (ร่างแถลงการณ์ประธานฯ) และ (3) ร่างแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 (ร่างแผนปฏิบัติการฯ) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดข้องต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ กษ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก 2. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย (1) ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์ ได้แก่ ร่างปฏิญญาฯ และร่างแผนปฏิบัติการฯ หรือ (2) ออกประกาศแถลงการณ์ประธานฯ และรับรองแผนปฏิบัติการฯ สาระสำคัญของเรื่อง 1. เอเปค (Asia Pacific Economic Cooperation: APEC) เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2532 ประกอบด้วยสมาชิก จำนวน 21 เขตเศรษฐกิจ มีเป้าหมายหลักคือการส่งเสริมการค้าและการลงทุน รวมถึงความร่วมมือในมิติด้านต่าง ๆ ซึ่งสมาชิกสามารถพิจารณาให้ความร่วมมือตามความสมัครใจ โดยที่ผ่านมาประเทศไทยให้การสนับสนุนและดำเนินงานความร่วมมือด้านเกษตรและความมั่นคงอาหารในกรอบเอเปคมาโดยตลอด ซึ่งในครั้งนี้ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 ในวันที่ 26 สิงหาคม 2565 ณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานการประชุม 2. เรื่องนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุม 3 ฉบับ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยแล้ว ดังนี้ ผลลัพธ์ สาระสำคัญ 1. ร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2565 (ร่างปฏิญญาฯ) เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับรัฐมนตรีเพื่อส่งเสริมความร่วมมือเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงอาหารใน 5 ประเด็น ได้แก่ (1) การสนับสนุนความปลอดภัยอาหารและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (2) การปรับปรุงการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี (3) การส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ (4) การส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีในภาคเกษตร - อาหาร (5) สร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และรับรองว่าจะร่วมกันดำเนินการตามร่างแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ ปี ค.ศ. 2030 (ที่จะมีการรับรองในการประชุมครั้งนี้เช่นกัน) 2. ร่างแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 (ร่างแผนปฏิบัติการฯ) จัดทำขึ้นเพื่อขับเคลื่อนแผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ ปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) ที่มีการรับรองในการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 6 เมื่อปี 2564 แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม (2) ด้านผลิตภาพ (3) ด้านความครอบคลุม (4) ด้านความยั่งยืน (5) ด้านความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน และ (6) ด้านการกำหนดเป้าหมายที่ชาญฉลาด และการดำเนินการตามแผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 และมีการกำหนดกิจกรรมที่มอบหมายให้แต่ละประเทศดำเนินการรวมทั้งสิ้น 27 กิจกรรม ทั้งนี้ ในส่วนของประเทศไทยได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ 2 กิจกรรมได้แก่ การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 (กษ. แจ้งว่า ได้จัดประชุมดังกล่าวไปแล้วเมื่อเดือนมีนาคม 2565) และการกำหนดกิจกรรมและจัดลำดับความสำคัญของการดำเนินการตามร่างแผนปฏิบัติการฯ 3. ร่างแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคสำหรับการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 (ร่างแถลงการณ์ประธานฯ) มีสาระสำคัญเหมือนกับร่างปฏิญญาฯ โดยจะมีการประกาศร่างแถลงการณ์ประธานฯ เฉพาะในกรณีที่ที่ประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคไม่สามารถบรรลุฉันทามติรับรองร่างปฏิญญาฯ ได้ 17. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศของรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย ว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัล คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงอิเล็กทรอนิกส์และสารสนเทศของรัฐบาลสาธารณรัฐอินเดีย ว่าด้วยความร่วมมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวรวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฉบับดังกล่าวตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ สาระสำคัญของเรื่อง 1. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างสถาบันและความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมในเรื่องทางเทคนิค การเงินและทรัพยากรบุคคล เพื่อพัฒนาความร่วมมือทางเทคโนโลยี ตลอดจนให้ความช่วยเหลือการให้คำปรึกษา และบริการฝึกอบรมด้านเทคนิคที่มุ่งเน้นพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาไอซีที และดิจิทัลเทคโนโลยี 2) อำนวยความสะดวกในการระบุโครงการเฉพาะกิจ และความร่วมมือระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายที่นำไปสู่ความร่วมมือด้านการวิจัยและนวัตกรรม 2. ขอบเขตความร่วมมือภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ได้แก่ 1) การเสริมสร้างความร่วมมือทางธุรกิจระหว่างผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายในสาขาต่าง ๆ เช่น กลุ่มชอฟต์แวร์ อุทยานเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์และบริการด้านไอที รัฐบาลดิจิทัลและการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างสมาคมอุตสาหกรรมไอซีที 2) การแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดีในสาขานโยบายไอซีที เทคโนโลยี และกรอบการทำงานของสถาบัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาการแข่งขันในระดับสากลของอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการไอซีที 3) การสำรวจการวิจัยและนวัตกรรมสาขาไอซีทีและเทคโนโลยีดิจิทัล 4) การแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญในสาขาการประกันคุณภาพของแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์และการบริการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และรัฐบาลดิจิทัล 5) การสำรวจและสนับสนุนความต้องการสาขาการวิจัยและการดำเนินการในสาขาเศรษฐกิจดิจิทัล เมืองอัจฉริยะ การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ และศูนย์การแพทย์ทางไกล 6) การส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนากรอบไอซีทีสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยใช้ช่องทางการเชื่อมต่อโปรแกรมแบบเปิด (open API) และแพลตฟอร์มที่ทำงานร่วมกันได้ 7) การอำนวยความสะดวกในกิจกรรมสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น เช่น การแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับตัวเร่ง กลุ่มทุน ศูนย์บ่มเพาะการเริ่มต้นเทคโนโลยีและการสนับสนุนสำหรับการแลกเปลี่ยนวิสาหกิจเริ่มต้นพร้อมด้วยตัวเร่งและศูนย์บ่มเพาะของผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่าย 8) การร่วมจัดอบรมเชิงปฏิบัติการทางเทคนิค การสัมมนา ทัศนศึกษา และการฝึกอบรม 9) ความร่วมมือในสาขาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และสำรวจความเป็นไปได้ของความร่วมมือในสาขาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระหว่างหน่วยงานระดับชาติว่าด้วยความพร้อมสาขาการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ได้แก่ CERT- In และ Thailand CERT 10) สาขาความร่วมมืออื่น ๆ ที่ผู้เข้าร่วมทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องร่วมกัน 3. ร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ไม่ถือเป็นสนธิสัญญาหรือก่อให้เกิดสิทธิและพันธกรณีใด ๆ ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ 4. บันทึกความเข้าใจจะมีผลบังคับใช้ในวันที่มีการลงนาม และจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี เว้นแต่ผู้เข้าร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งความประสงค์การยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ให้ผู้เข้าร่วมอีกฝ่ายรับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 6 เดือน ก่อนการยกเลิก 18. เรื่อง ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อความร่วมมือทวิภาคีไทย ? อินเดีย ครั้งที่ 9 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ เพื่อเป็นกรอบในการหารือกับฝ่ายอินเดียในวันที่ 17 สิงหาคม 2565 รวมทั้งอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามในเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าวร่วมกับนายสุพรหมณยัม ชัยศังกระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าวในส่วนที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินความสัมพันธ์แต่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยให้กระทรวงการต่างประเทศและคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมฯ สามารถพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ สาระสำคัญ 1. ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือทวิภาคีที่ทั้งสองประเทศดำเนินการร่วมกัน และประเด็นที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะแก้ไข พัฒนา และ/หรือผลักดันให้เกิดความคืบหน้าเพื่อประโยชน์ของการดำเนินความสัมพันธ์ โดยประเด็นหลักที่จะหยิบยกขึ้นหารือระหว่างการประชุมข้างต้น ได้แก่ ความร่วมมือด้านการทหารและความมั่นคง เศรษฐกิจ ความเชื่อมโยงการท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษา ประชาชน สาธารณสุข วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กงสุล และประเด็นสถานการณ์ในภูมิภาค 2. ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ของไทยและอินเดียที่จะมุ่งส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ในด้านต่าง ๆ โดยมิได้มีเจตนาให้เป็นความตกลงที่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมดังกล่าวจึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 19. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry : MMRF5) คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อเอกสารผลลัพธ์ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ?ถ้อยแถลงเชียงใหม่? และ (2) ร่างถ้อยแถลงประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดข้องต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.)ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ต่อไป ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ 1. สาระสำคัญของเรื่อง 1.1 คณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษา เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 มีมติอนุมัติให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมป่าไม้ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry : MMRF5) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้องในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี พ.ศ. 2565 1.2 การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง จะจัดประชุมระหว่างวันที่ 23 - 25 สิงหาคม 2565 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเอกสารผลลัพธ์ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ?ถ้อยแถลงเชียงใหม่? (กรณีที่รัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจเอเปคไม่มีข้อขัดข้อง) (2) ร่างถ้อยแถลงประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 (กรณีที่เขตเศรษฐกิจเอเปคไม่สามารถเห็นชอบร่วมกันเพื่อรับรองเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 1.2 (1)) 2. สาระสำคัญของเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 และ การประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง สรุป ดังนี้ 2.1 ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ?ถ้อยแถลงเชียงใหม่? : กล่าวถึงผลสำเร็จของการดำเนินงานด้านป่าไม้ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสำเร็จในการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ 27.9 ล้านเฮกตาร์ รวมไปถึงการดำเนินงานการต่อต้านการลักลอบตัดไม้ที่ผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการค้าผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีการเก็บเกี่ยวจากป่าอย่างถูกกฎหมาย 2.2 ร่างถ้อยแถลงประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 : ในกรณีที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ไม่สามารถมีฉันทามติรับรองเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 1.2 (1) จะมีเอกสารผลลัพธ์ ได้แก่ ถ้อยแถลงประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ซึ่งมีสาระสำคัญโดยที่ประชุมได้รับทราบแนวคิดหลักของไทยในการเป็นเจ้าภาพ คือ ?Open. Connect Balance.? หรือ ?เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยง สู่สมดุล? ซึ่งใช้แนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy : BCG Model) ที่จะสร้างความสมดุลระหว่างการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อการบริการทางระบบนิเวศ และการพัฒนาทางเศรษฐกิจผ่านการส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย 20. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 1.3 (1) - (2) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์ ตามข้อ 1.3 (1) หรือออกประกาศแถลงการณ์ประธานการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 ตามข้อ 1.3 (2) ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ 1. สาระสำคัญของเรื่อง 1.1 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ประจำปี พ.ศ. 2565 ภายใต้หัวข้อหลัก Open. Connect. Balance ?เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล? 1.2 กระทรวงสาธารณสุขจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 (12th APEC High Level Meeting on Health and the Economy) ภายใต้หัวข้อหลัก ?เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์กับภาคี เชื่อมโยงกันกับโลก สู่สมดุลระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ? (Open to Partnership. Connect with the World. Balance Health and the Economy) ระหว่างวันที่ 25 - 26 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรม มิลเลนเนียม ฮิลตัน กรุงเทพ 1.3 การประชุมดังกล่าวจะมีเอกสารผลลัพธ์ ได้แก่ (1) แถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 (กรณีที่รัฐมนตรีสาธารณสุขเอเปค และผู้แทนทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจเอเปคไม่มีข้อขัดข้อง) (2) แถลงการณ์ประธานการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 (กรณีที่เขตเศรษฐกิจเอเปคไม่สามารถเห็นชอบร่วมกันเพื่อรับรองเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 1.3 (1)) 2. สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ 2.1 ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 ถือเป็นเอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญาณถึงความร่วมมือด้านสาธารณสุขในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ในการสร้างสมดุลระหว่างสุขภาพและเศรษฐกิจ และการเพิ่มการลงทุนในการสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพโลก รวมถึงยังเป็นผลลัพธ์ความสำเร็จของการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปีนี้ที่จะสนับสนุนบทบาทเด่นของไทยในเวทีนานาชาติด้วย 2.2 ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 มีสาระสำคัญ ได้แก่ (1) สร้างสมดุลระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ โดยเน้นการดำเนินงานตามมาตรการทางด้านสาธารณสุข และการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและตอบโต้ต่อภัยคุกคามสุขภาพรวมทั้งโรคระบาด การสร้างเสริมความเข้มแข็งของระบบสุขภาพและการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาวัคซีน เครื่องมือในการตรวจวินิจฉัยโรค และยารักษาโรค ในการป้องกันและรักษาโควิด 19 และโรคติดต่ออุบัติใหม่และอุบัติซ้ำที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อป้องกันผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจ (2) สนับสนุนการเพิ่มการลงทุนในด้านความมั่นคงด้านสุขภาพโลกโดยเฉพาะการเสริมสร้างขีดสมรรถนะด้านการป้องกัน ตรวจจับและตอบโต้โรคระบาด การเสริมสร้างระบบสุขภาพให้เข้มแข็งและการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้ระบบสาธารณสุขมีความพร้อมรับมือต่อภาวะคุกคามด้านสุขภาพและมีความยืดหยุ่นต่อวิกฤติการด้านสาธารณสุข และสนับสนุนการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลที่เพิ่มประสิทธิภาพของระบบสุขภาพ และ (3) สนับสนุนความร่วมมือที่จะเกิดรูปธรรมระหว่างเขตเศรษฐกิจเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดจากความเชื่อมโยงระหว่างสุขภาพและเศรษฐกิจ 2.3 ร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 2.3.1 ในกรณีที่ที่ประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 มีฉันทามติรับรองเอกสาร 1.3 (1) จะมีเอกสารผลลัพธ์ ได้แก่ ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 2.3.2 ในกรณีที่ที่ประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 ไม่มีฉันทามติรับรองเอกสาร 1.3 (1) จะมีเอกสารผลลัพธ์ ได้แก่ ร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมระดับสูงเอเปคว่าด้วยสาธารณสุขและเศรษฐกิจ ครั้งที่ 12 โดยอาจมีประเด็นอ่อนไหวหรือประเด็นที่ยังไม่มีฉันทามติจากทุกเขตเศรษฐกิจเพื่อสะท้อนเหตุการณ์การเมืองระหว่างประเทศและแสดงจุดยืนของไทยต่อเอเปค 2.4 กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 1.3 ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้ว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศแจ้งข้อคิดเห็นว่า ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองระดับรัฐมนตรีด้านสาธารณสุขของเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในการรับมือกับ COVID-19 และโรคระบาดใหม่ที่อาจจะมีในอนาคต ซึ่งการรับมือกับโรคระบาดใหญ่ทั่วโลกนั้นก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างยิ่งยวด จึงเป็นที่ตระหนักร่วมกันว่าจะต้องมีแนวทางในการเตรียมความพร้อมและรับมือกับโรคระบาดใหญ่ ตลอดจนการส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้าถึงวัคซีนอย่างเท่าเทียม โดยร่างถ้อยแถลงร่วมดังกล่าวไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กอปรกับไม่มีการลงนามในร่างเอกสารดังกล่าว ดังนั้น ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 21. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ ตามข้อ 1.2 (1) - (4) และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าว ในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินการได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 1) ร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์ ตามข้อ 1.2 (1) - (3) หรือ 2) ออกประกาศแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 ตามข้อ 1.2 (4) (เฉพาะกรณีเขตเศรษฐกิจไม่สามารถมีฉันทามติให้ออกเสียงแถลงการณ์ร่วมฯ ได้ ตามข้อ 1.2 (3)) ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ 1. สาระสำคัญของเรื่อง 1.1 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในวันที่ 14 - 20 สิงหาคม 2565 ณ กรุงเทพมหานคร 1.2 การประชุมดังกล่าวจะมีเอกสารผลลัพธ์ ได้แก่ (1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม : การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (APEC Policy Recommendations for Tourism of the Future: Regenerative Tourism) (2) คู่มือเอเปคสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว ฉบับปรับปรุง (APEC Guidelines for Tourism Stakeholders) (3) แถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 (กรณีที่รัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปคทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจไม่มีข้อขัดข้องต่อร่างแถลงการณ์ร่วมฯ) หรือ (4) แถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 (กรณีที่เขตเศรษฐกิจเอเปคไม่สามารถมีฉันทามติให้ออกแถลงการณ์ร่วมตามข้อ 1.2 (3)) 2. สาระสำคัญของเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 มีสรุปสาระสำคัญ ดังนี้ 2.1 ร่างข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม : การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (APEC Policy Recommendations for Tourism of the Future: Regenerative Tourism) ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปุตราจายา 2040 (APEC Putrajaya Vision 2040) และโมเดลเศรษฐกิจ BCG ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวจะต้องมีความมุ่งมั่นของผู้กำหนดนโยบายที่พร้อมจะนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง 2) การสร้างระบบการจัดเก็บข้อมูลเพื่อให้เกิดการวัดผลได้และจัดการได้อย่างมีประสิทธิผล 3) การสร้างความร่วมมือในการเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นและให้คุณค่ากับภูมิปัญญาและชุมชนเพื่อกระตุ้นตลาดนักท่องเที่ยวในประเทศ และตลาดนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่ ๆ 2.2 ร่างคู่มือเอเปคสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว (APEC Guidelines for Tourism Stakeholders) มีสาระสำคัญ ได้แก่ เป็นการกำหนดขอบเขต หลักการ และแนวทางสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการท่องเที่ยว ในการฟื้นสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคแบบองค์รวมโดยครอบคลุมการลงทุน การสร้างโอกาสในการจ้างงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาตรฐานวิชาชีพ รวมถึงการอบรมและการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรม การท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเปค รวมทั้งยังเป็นการต่อยอดสาระของเอกสาร APEC Guide on Ensuring Tourist Safety ที่ได้รับการรับรองโดยที่ประชุมรัฐมนตรีเอเปค เมื่อปี ค.ศ. 2012 2.3 ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 มีสาระสำคัญ เช่น ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภูมิภาคผ่านการส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุม รวมไปถึงการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา 2040 และแผนปฏิบัติการ ?เอาทีอารอ? (Aotearoa Plan of Action) เพื่อขับเคลื่อนภูมิภาคเอเปคไปสู่ยุคหลังโควิด-19 ที่มีความยั่งยืน และสมดุลผ่านการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Model) ให้บรรลุวิสัยทัศน์การเป็นประชาคมเอเชียแปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลวัต ยืดหยุ่นและสงบสุขภายในปี พ.ศ. 2583 เพื่อความมั่งคั่งของประชาชนและคนรุ่นต่อไป 2.4 ร่างแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ตามข้อ 2.3 หากแต่เป็นเอกสารสำหรับประธานการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 ใช้แถลงผลการประชุมฯ แทนแถลงการณ์ร่วมฯ โดยจะใช้เฉพาะในกรณีที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปคไม่สามารถมีฉันทามติให้ออกแถลงการณ์ร่วมฯ ได้ 2.4.1 ในกรณีที่ที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปคมีฉันทามติรับรองเอกสาร ตามข้อ 1.2 (3) จะมีเอกสารผลลัพธ์ ดังนี้ - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม : การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (APEC Policy Recommendations for Tourism of the Future: Regenerative Tourism) - คู่มือเอเปคสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว (APEC Guidelines for Tourism Stakeholders) - ร่างแลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 2.4.2 ในกรณีที่ที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปคไม่สามารถมีฉันทามติรับรองเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 1.2 (3) จะมีเอกสารผลลัพธ์ ดังนี้ - ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม : การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (APEC Policy Recommendations for Tourism of the Future: Regenerative Tourism) - คู่มือเอเปคสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว (APEC Guidelines for Tourism Stakeholders) - ร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 แต่งตั้ง 22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 1. นายสรายุทธ แก้วกุลปรีชา รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการปกครอง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 8 ตุลาคม 2564 2. นายชัยณรงค์ วาสนะสมสิทธิ์ รองอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านความมั่นคง (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 23. เรื่อง รายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาของส่วนราชการ คณะรัฐมนตรีรับทราบรายชื่อผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา (ปคร.) ของส่วนราชการ จำนวน 4 ราย ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้ สาระสำคัญของเรื่อง 1. เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมา ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ของส่วนราชการบางแห่ง ประกอบด้วย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) และสำนักข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.) มีการเกษียณอายุราชการและโยกย้ายเปลี่ยนตำแหน่ง ซึ่งส่วนราชการที่มีการเปลี่ยนแปลง ปคร. ดังกล่าว ได้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ ปคร. ใหม่ และแจ้งให้ สลค. ทราบเพิ่มเติมเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ จำนวน 4 ราย ดังนี้ ส่วนราชการ รายชื่อ ปคร. 1. พม. นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2. ดศ. นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 3. วธ. นายกฤษฎา คงคะจันทร์ รองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 4. สขช. นายฐนัตถ์ สุวรรณานนท์ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ 2. สลค. ได้ตรวจสอบคุณสมบัติของ ปคร. ทั้ง 4 ราย ดังกล่าวแล้ว เป็นไปตามข้อ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยผู้ประสานงานคณะรัฐมนตรีและรัฐสภา พ.ศ. 2551 24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เสนอแต่งตั้ง นายปวัตร์ นวะมะรัตน รองเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงแรงงาน) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ดังนี้ 1. นายนันทชัย ปัญญาสุรฤทธิ์ รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง 2. นายสมาสภ์ ปัทมะสุคนธ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 26. เรื่อง ขออนุมัติต่อเวลาการดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี (ครั้งที่ 2) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของนายวิชวุทย์ จินโต ตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อไปอีกเป็นเวลา 1 ปี (ครั้งที่ 2) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูง เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการและสับเปลี่ยนหมุนเวียน จำนวน 7 ราย ดังนี้ 1. แต่งตั้งนายธัญญา เนติธรรมกุล รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ) 2. แต่งตั้งนายปิ่นสักก์ สุรัสวดี รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมควบคุมมลพิษ (ทดแทนนายอรรถพล) 3. แต่งนายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมควบคุมมลพิษ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ) 4. แต่งตั้งนางอรนุช หล่อเพ็ญศรี รองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมทรัพยากรธรณี (ทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ) 5. แต่งตั้งนายสมศักดิ์ สรรพโกศลกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (ทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ) 6. แต่งตั้งนายเถลิงศักดิ์ เพ็ชรสุวรรณ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ) 7. แต่งตั้งนายกุศล โชติรัตน์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (แทนนายปิ่นสักก์) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีอีกหนึ่งวาระ จำนวน 6 ราย ดังนี้ 1. นายวิชาวัฒน์ อิศรภักดี ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม 2565 2. นายสรรเสริญ สมะลาภา ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2565 3. นายอนุชา สะสมทรัพย์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2565 4. นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2565 5. พลตำรวจโท ณัฐพิชย์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2565 6. นายธีระยุทธ วานิชชัง ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2565 29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ แทนตำแหน่งที่ว่าง คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นายพลวัฒน์ ศุภภัทรเศรษฐ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนวัตกรรมแห่งชาติ แทน นายสุพันธุ์ มงคลสุธี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป โดยให้ผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว 30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง นายกีรติ รัชโน รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง 31. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (ครบกำหนดออกตามวาระ) คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งประธานคณะกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ดังนี้ 1. นายสราวุธ ทรงศิริวิไล ประธานกรรมการ 2. นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3. พลโท พิเชษฐ คงศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เผ่าภัค ศิริสุข กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 5. นายพิชญะ จันทรานุวัฒน์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป